ถ้าศาลอุธรณ์ตัดสินยืนตามศาลชั้นตน นายสมัครจะฎีกาได้อีกหรือไม่ครับ หรือว่า ติดคุกเลย
เรื่องนี้อยู่ใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 - 224 ครับ
คดีของคุณสมัครมีผู้วิเคราะห์ว่า หากศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จะไปตกกรณี
ห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งหากเกิดกรณีดังกล่าว และคุณสมัครไม่สามารถหาประเด็น มาฎีกาในปัญหา
ข้อกฎหมายได้ด้วย ก็จะเท่ากับฎีกาไม่ได้เลย และต้องถือว่าคดีถึงที่สุด
โดยมีผู้วิเคราะห์เชื่อว่า คดีนี้ไม่น่าจะฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายได้ครับ
ปล. ควรพิจารณามาตรา 221 ร่วมด้วยนะครับ ว่ายังมีช่องให้เกิดการอุทธรณ์ได้เหมือนกัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาhttp://www.lawyerthai.com/law/articles.php?articleid=14&cat=572หมวด1 หลักทั่วไปมาตรา 216 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 217 ถึง 221 คู่ ความมีอำนาจฎีกา
คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษา
หรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่าย ที่ฎีกาฟังฎีกานั้น ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา 200
และ 201 มาบังคับโดยอนุโลม
มาตรา 217 ในคดีซึ่งมีข้อจำกัดว่า ให้คู่ความฎีกาได้แต่เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย
ข้อจำกัดนี้ให้บังคับแก่คู่ความและบรรดาผู้ที่ เกี่ยวข้องในคดีด้วย
มาตรา 218 ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือ เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย
และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือ ปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี
ห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไข เล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี
ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่น ด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.17 พ.ศ.2532)มาตรา 219 ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย ไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้
ห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้แก่จำเลยในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ใขมาก
และเพิ่มเติมโทษจำเลยหมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.17 พ.ศ.2532)มาตรา 219ทวิ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือ คำสั่งในข้อเท็จจริง
ในปัญหาเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยแต่ อย่างเดียว แม้คดีนั้นจะไม่ต้องห้ามฎีกาก็ตาม
ในการนับกำหนดโทษจำคุกตามความใน มาตรา 218 และ 219 นั้นห้ามมิให้คำนวณกำหนดเวลาที่ศาลมีคำพิพากษา
หรือคำสั่งเกี่ยว กับวิธีการเพื่อความปลอดภัยรวมเข้าด้วย
มาตรา 219ตรี ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก หรือเปลี่ยนโทษกักขัง
เป็นโทษจำคุก หรือคดีที่เกี่ยวกับการกักขัง แทนค่าปรับหรือกักขังเกี่ยวกับการริบทรัพย์สิน ถ้าศาลอุทธรณ์มิได้
พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง
มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.17 พ.ศ.2532)มาตรา 221 ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดย มาตรา 218 , 219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายนี้
ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือ ลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์
เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอัน ควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อ
รับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้ รับฎีกาไว้พิจารณาต่อไปมาตรา 222 ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้น
ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาล อุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
มาตรา 223 ให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจฎีกาว่าควรจะรับส่ง ขึ้นไปยังศาลฎีกาหรือไม่
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน
มาตรา 224 เมื่อศาลชั้นต้นไม่ยอมรับฎีกา ผู้ฎีกาอาจฎีกาเป็น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของ
ศาลนั้นต่อศาลฎีกาได้ คำร้องเช่นนี้ให้ยื่นที่ ศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้านับแต่วันฟังคำสั่ง แล้วให้ศาลนั้นรีบ
ส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลฎีกาพร้อมด้วยฎีกาและคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรตรวจสำนวนเพื่อสั่งคำร้องเรื่องนั้น ก็ให้ สั่งศาลชั้นต้นส่งมาให้
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.17 พ.ศ.2532)