รายงานข่าวอย่างละเอียด (มาก) จากค่ายกรุงเทพธุรกิจครับ ตัดส่วนของคดีฮั้วท่อร้อยสายไฟมาก่อน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คตส.ฟ้อง'สุริยะ-ศรีสุข-สมชัย' ฟัน'ทักษิณ-โอ้ค'รับทรัพย์จากยักยอกhttp://www.bangkokbiznews.com/2008/06/02/news_263197.phpคตส.มีมติฟ้อง"สุริยะ-ศรี สุข-สมชัย"คดีฮั้วท่อร้อยสาย สั่งฟัน"ทักษิณ-พานทองแท้-กาญจนา-พ่อศิธา"
ฐานรับของโจรเงินกู้ธ.กรุงไทยให้ เครือกฤษดามหานครกว่า1หมื่นล้าน ส่งให้อัยการใน14วันกรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.)
แถลงภายหลังการประชุมใหญ่คณะกรรมการคตส. ว่าที่ประชุมมีมติสั่งฟ้อง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาม และประธาน บทม. และพล.อ.สมชัย สมประสงค์ รองประธานกรรมการ บทม.รักษาการ
กรรมการใหญ่ผู้จัดการใหญ่ บทม.และเลขานุการคณะกรรมการ บทม. ในข้อหาทุจริตโครงการระบบจ่ายไฟและเครือข่ายท่อร้อยสายไฟ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นายสัก กล่าวว่า ผลการไต่สวนของคตส.พบว่า บทม. ได้ว่าจ้างบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิสเซล จำกัด (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ
เป็นบริษัท เพอรี่ จำกัด) และบริษัท เฟลโลว์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ จำกัด ทำการออกระบบและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการ
จ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อย สายฯ ตามสัญญาเลขที่ SBIA 5/2539 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2539 ผู้รับจ้างได้ออกแบบเบื้องต้น
(PRELIMINARY DESIGN) และ บทม. ได้อนุมัติให้มีการรับแบบเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2540
โดยในแบบเบื้องต้นได้ออกแบบตาม TOR กำหนดคือ ได้กำหนดให้ใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าเป็น PVC หรือ HDPE หุ้มด้วยคอนกรีต
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2541 บริษัท เฟลโลว์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ จำกัด ได้ถอนตัวจากการรับจ้างออกแบบ โดยทำหนังสือ
เป็นข้อตกลงกับบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิสเซล จำกัด
ดังนั้น บริษัท อีเล็คโทรวัตต์ฯ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบระบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการจ่ายไฟฟ้า และเครือข่าย
ท่อร้อยสายฯ แต่เพียงผู้เดียว ต่อมา บริษัท อีเล็คโทรวัตต์ฯ โดยนายมงคล แน่งน้อย นายจำเนียร ฝั่นระหันต์ วิศวกรของบริษัทผู้ออกแบบ
ได้ร่วมกับนายประสงค์ เพิ่มอริยวงศ์ ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟลูอิดโฮดิ้ง จำกัด ตัวแทนจำหน่ายขายท่อยี่ห้อ FRE (นำเข้าจาก
ประเทศแคนาดา) ได้ร่วมมือกันเขียนแบบร่วมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา (TENDER DOCUMENT)
โดยใช้สเป็คของท่อยี่ห้อ FRE ซึ่งเป็นท่อไฟเบอร์กลาส ฝังตรงไม่หุ้มคอนกรีต เป็นแบบและเป็นข้อกำหนดในการประกวดราคาจ้างเหมา
โครงการระบบจ่ายไฟฟ้าและ เครือข่ายท่อร้อยสายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งในการประกวดราคา ได้กำหนดให้ใช้ท่อที่เป็นผลิตภัณฑ์
ภายในประเทศไทย
ต่อมานายประสงค์ เพิ่มอริยวงศ์ ได้ก่อตั้งบริษัท ไทยคอมโพสิท จำกัด และบริษัท จี อาร์ อี คอมโพสิท จำกัด ผลิตและจำหน่าย
ท่อร้อยสายไฟฟ้า ยี่ห้อ GRE โดยมีสเป็คและคุณสมบัติเช่นเดียวกับยี่ห้อ FRE ของประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นท่อยี่ห้อเดียวที่สามารถ
นำมาใช้ก่อสร้าง ในโครงการดังกล่าวได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ของ บทม.รู้เห็นเป็นใจในการกระทำดังกล่าว สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
มีหนังสือที่ ตผ 0044/9341 ลงวันที่ 10ตุลาคม 2545 ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ประกอบการตรวจสอบข้อเท็จจริง
กรณีการประกวดราคาของ บทม.ไม่เปิดกว้าง และหนังสือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ 0004/3485 ลงวันที่ 10กันยายน 2545
ถึงปลัดกระทรวงคมนาคม ว่าได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่าการออกแบบและกำหนดเงื่อนไขการจัดหางานก่อ สร้างระบบจ่ายไฟฟ้า
และเครือข่ายท่อร้อยสายดังกล่าว "มีลักษณะเจาะจงไม่เปิดกว้าง" แต่ทั้งสองกลับไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กลับปล่อยให้มีการ
ดำเนินการจนก่อให้เกิดความเสียหายกับ บทม.
นายสัก กล่าวว่า ผลการพิจารณาคดีของคณะกรรมการตรวจสอบ ฯ ได้พิจารณาแล้วมีมติ เห็นชอบร่วมกันว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้รับหนังสือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ 0004/3941 ลงวันที่ 10 ตุลาคม
2545 แต่ไม่ได้ดำเนินการสั่งการใด ๆ จนล่วงเลยวันเปิดซองและวันพิจารณาการประกวดราคา ทำให้ทางราชการเสียหาย
ดังนั้น การกระทำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ส่วนนายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานกรรมการ บทม.ในขณะนั้น ได้รับหนังสือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ที่ ตผ 0004/3485 ลงวันที่ 10 กันยายน 2545 แจ้งว่า การออกแบบและกำหนด เงื่อนไขการจัดหางานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและ
เครือข่ายท่อร้อยสายดังกล่าว" มีลักษณะเจาะจงไม่เปิดกว้าง"ซึ่งคือการล็อคสเป็ค กลับละเว้นไม่ดำเนินการ เพื่อให้มีการยกเลิกการ
ดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคา ในโครงการนี้
นายสักกล่าวว่า การกระทำของนายศรีสุข ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานกรรมการ บทม.จึงมีมูลความผิดตาม พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152มาตรา147 มาตรา 341 และมาตรา 83
ส่วนพล.อ.สมชัย สมประสงค์ รองประธานกรรมการ บทม. รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม.และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ
บทม. ในขณะนั้น มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติ และพิจารณาเกี่ยวกับการออกแบบและ เสนอราคาการประมูลในโครงการนี้ รับรู้ข้อเท็จจริง
จากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แต่ไม่ปรับเปลี่ยนราคากลาง และโดยไม่เลื่อนกำหนดวันเปิดซองประกวดราคา จากวันที่ 29 ตุลาคม
2545 ออกไปก่อน จึงถือว่าเป็นการกำหนดเงื่อนไขอันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคา โดยมุ่งหมายมิให้มีการเสนอราคา อย่างเป็นธรรม
โดยทุจริต ทั้งมีลักษณะเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่นมิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการ เสนอราคาอย่างเป็นธรรม
"การกระทำของรองประธานกรรมการ บทม. รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม. และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ บทม.
มีมูลความผิดตามข้อกล่าวหาตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3
และ 11 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542ตามมาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 10
และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา 341 และมาตรา 83"
สำหรับในส่วนของคณะกรรมการตรวจการ จ้างออกแบบนั้น นายสัก กล่าวว่าได้ทราบถึงข้อเท็จจริงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงแบบท่อ
มาโดยตลอด แต่มีมติตรวจรับแบบ จึงมีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. 2502 มาตรา 3 และ 11 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542ตามมาตรา 4
มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152มาตรา 157 มาตรา 341 และมาตรา 83 ประกอบด้วย
นายจรัล พลเสน ในฐานะประธานกรรมการตรวจการจ้างงานออกแบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคา นายเพิ่มศักดิ์ พัฒนพงษ์
นายอดิเทพ นาคะวิสุทธิ์
ยกเว้น เรืออากาศเอกสมหมาย ฉัตรเท เรืออากาศโทประสิทธิพร เรืองฉาย นายวิสิฏฐ์ บาลี และ นายอมฤต ทองสิริประภา ซึ่งร่วมเป็น
กรรมการตรวจการจ้างออกแบบ แต่ไม่ทราบข้อเท็จจริง เรื่องการ เปลี่ยนแปลงชนิดของท่อจาก PVC หุ้มคอนกรีตเป็นท่อชนิด FRE.
ฝังตรงมาก่อน จึงให้ ข้อกล่าวหาตกไป
นายสัก ยังกล่าวอีกว่า ส่วนคณะกรรมการกำหนดราคากลาง คตส.เห็นควรให้ดำเนินคดีเฉพาะประธานกรรมการกำหนดราคากลาง
เนื่องจากทราบข้อเท็จจริง ว่าการเปลี่ยนแปลงวัสดุ มีผลกระทบถึงราคากลาง ที่เปลี่ยนแปลงไปรวม 2 ครั้ง เป็นราคาลดลง
ถึงเกือบ 80,000,000 บาท แต่ไม่เคยแจ้ง หรือสั่งการให้มีการทบทวนราคากลางดังกล่าวแต่อย่างใด การกระทำ ของประธาน
กรรมการกำหนดราคากลาง มีมูลความผิดตามข้อกล่าวหาพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิด ของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ.2502 มาตรา 3 และ 11 และพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 5
มาตรา 7มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152มาตรา157 มาตรา 341 และมาตรา 83
ส่วนการกระทำของคณะกำหนดราคากลางคน อื่นประกอบด้วย นายสุรจิต สุรพลชัย นายสุรธัส สุธรรมมนัส และนางสุชาดา ซ่อนเจริญ
พยานหลักฐานที่ปรากฏยังไม่เพียงพอรับฟัง ว่า มีมูลความผิดทางอาญา จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
โฆษก คตส. ยังกล่าวอีกว่า กลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายท่อ และผู้ทำการแทน ประกอบด้วย นายประสงค์ เพิ่มอารยวงศ์ ในฐานะ
กรรมการผู้จัดการบริษัทฟลูอิด โฮลดิ้งจำกัด กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยคอมโพสิทจำกัด กรรมการผู้จัดการบริษัทจีอาร์อี คอมโพสิทจำกัด
และบริษัทประกอบด้วย บริษัทฟลูอิด โอลดิ้ง บริษัทจีอาร์อี คอมโพสิทจำกัด ในฐานะเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่าย และผู้ผลิตท่อร้อย
สายไฟฟ้ายี่ห้อจีอาร์อี นั้น จะมีมูลความผิดอาญาฐานร่วมกันสนับสนุนเจ้าพนักงาน พนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตาม พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152มาตรา 157 มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86
"สำหรับกลุ่มผู้ออกแบบประกอบด้วย นายมงคล แน่งน้อย ผู้จัดการโครงการของบริษัทอิเลคโทรวัตต์ คอนเซ้าติ้ง เซอร์วิสเซสประเทศไทย
จำกัด หรือบริษัทเพอรี่อินฟรา จำกัด และบริษัทอิเลคโทรวัตต์ ในฐานะผู้ออกแบบจ้างเหมาก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟฟ้าและเครือข่าย
ท่อร้อยสาย พบว่ามีการกระทำในลักษณะเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่นและให้ประโยชน์กับ บริษัทผู้จำหน่ายท่อตามข้อ 6
จึงมีความผิดอาญา ฐานร่วมกันสนับสนุนเจ้าพนักงาน พนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ
การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 5 มาตรา 7มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา341 ประกอบมาตรา 83และมาตรา 86 ” นายสักกล่าว
นายสักกล่าวว่า ในส่วนของนายจำเนียร ฝั่นระหันต์ ในฐานะผู้รับผิดชอบร่วมออกแบบระบบท่อร้อยสายไฟฟ้าฯพยานหลักฐานตามที่ปรากฏ
ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า มีเจตนาทุจริตหรือร่วมรู้เห็น จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป