ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
06-07-2025, 21:19
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สกู๊ป-เปิดพิรุธ 'ปมร้อน' สถานี NBT ละเลงผลประโยชน์ 45 ล้าน? ไม่นำส่งเข้าคลัง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สกู๊ป-เปิดพิรุธ 'ปมร้อน' สถานี NBT ละเลงผลประโยชน์ 45 ล้าน? ไม่นำส่งเข้าคลัง  (อ่าน 2224 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 20-05-2008, 22:04 »

สกู๊ป-เปิดพิรุธ 'ปมร้อน' สถานี NBT ละเลงผลประโยชน์ 45 ล้าน? ไม่นำส่งเข้าคลัง
     วันที่ 20 พฤษภาคม 2551 - เวลา 09:57:38 น. 
 
เหตุผลหนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะใช้ในการยื่นถอดถอนนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คือ การที่กรมประชาสัมพันธ์ให้บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง ร่วมผลิตรายการข่าวประจำในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย(สทท.) ช่อง 11 เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551-31 มีนาคม 2553 และแปลงโฉมเป็นสถานีโทรทัศน์ NBT

 


การเข้าร่วมโครงการผลิตรายการข่าวของบริษัท ดิจิตอล มีเดียฯได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาแต่แรกเริ่มเพราะมีข่าวมาตั้งแต่ต้น จะดึงทีมนักข่าวทีไอทีวีเก่าเข้าร่วมซึ่งเท่ากับว่า เป็นการ'ล็อกสเป๊ก'ไม่เปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนรายอื่นที่มีความสามารถและเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่กรมประชาสัมพันธ์ดีกว่า เข้าร่วมแข่งขัน

นอกจากนั้น ขั้นตอนการพิจารณาบริษัทที่ให้เข้าร่วมโครงการยังถูกมองว่า ทำอย่างรวบรัดและมีการตระเตรียมไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี  และหลังจากเข้าร่วมโครงการผลิตรายการแล้ว ยังมีข้อพิรุธหลายข้อ ที่สำคัญมีดังนี้

หนึ่ง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีออกรายการ 'สนทนาประสาสมัคร' ครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 และมีการพูดถึงการจัดตั้งสภถานีโทรทัศน์สาธารณะที่ดีกว่า ไทยพีบีเอส แต่ไม่ได้บอกรูปแบบที่ชัดเจน

แต่ปรากฏว่า บริษัท ดิจิตอลมีเดียฯโดย นายอดิศักดิ์ ชื่นชม กรรมการผู้จัดการ ทำหนังสือลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 (หลังจากที่นายสมัครพูดเพียง 15 วัน) ถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ขอร่วมผลิตรายการข่าวประจำวันกับ สทท.  11 ทั้งๆที่กรมประชาสัมพันธ์ยังไม่มีการออกประกาศหรือหลักเกณฑ์ใดๆเกี่ยวกับโครงการร่วมผลิตรายการข่าวประจำวันแต่อย่างใด

หนังสือของบริษัท ดิจิตอล มีเดียฯเริ่มต้นหนังสือดังกล่าวว่า 'ตามที่ ฯพณฯนายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช มีนโยบายที่จะปรับปรุงและพัฒนารายการข่าวประจำวันของ สทท. ช่อง 11 ...โดยเปิดโอกาสให้บุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการผลิตและนำเสนอข่าวโทรทัศน์เข้าร่วมผลิตรายการ...

'บริษัท ดิจิตอลมีเดียฯซึ่งเป็นบริษัทที่มีความพร้อมทางด้านการผลิตข่าวโทรทัศน์ มีบุคคลากรที่มีความสามารถและมีประสบการณ์ด้านการผลิตข่าวและการบริหารรายการข่าวประจำวัน สถานีโทรทัศน์ ITV สถานีโทรทัศน์TITV มีความสนใจขอเข้าร่วมผลิจรายการข่าวประจำวัน...'

กรมประชาสัมพันธ์ลงทะเบียนรับหนังสือของบริษัท ดิจิตอลมีเดียฯเวลา 11.40 น.วันที่ 5มีนาคม 2551 หนังสือถูกส่งถึง สทท. 11 เวลา13.50 น. โดยนายเผชิญ ขำโพธิ์ รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เกษียณท้ายหนังสือถึง ผู้อำนวยการ สทท.ว่า 'ด่วนมาก พิจารณาดำเนินการ/นำเสนอด่วน'

สอง วันที่ 11 มีนาคม 2551 นายสริยงค์ หุณฑสาร รักษาการ ผู้อำนวยการ สทท.11 ทำบันทึกด่วนที่สุดถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เสนอผลการพิจารณาบริษัทที่เสนอตัวเข้าร่วมผลิตรายการข่าวประจำวันเพียง 1 หน้ากระดาษว่า มีบริษัท 2 บริษัท ที่เสนอเข้าร่วมผลิตรายการข่าวประจำวันคือ บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้งเสนอให้สิทธิประโยชน์แก่ สทท.11 เป็นเงินปีละ  36 ล้านบาท และ บริษัท เคแอลทีเอ็ม มีเดีย โปรดักส์(จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท) เสนอสิทธิประโยชน์เป็นเงินปีละ 30 ล้านบาท

'สทท.11 พิจารณาข้อเสนอของผู้ขอร่วมผลิตรายการข่าวทั้ง 2 ราย แล้ว ขอเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้

2.1 ผู้ขอเข้าร่วมผลิตรายการข่าวทั้ง 2 ราย มีรูปแบบรายการและข่าวที่น่าสนใจ เน้นการเจาะลึก ให้ข้อมูลที่รอบด้าน แต่บริษั ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด มีผู้นำเสนอเป็นที่รู้จักของสังคม(บริษัทเพิ่งจดทะเบียนจัดตั้ง 2 ตุลาคม 2550)ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มผู้ชมให้ความสนใจติดตามข่าวและรายการได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเสนอสิทธิประโยชน์ให้ สทท.11 สูงกว่า บริษัท เคแอลทีเอ็ม มีเดีย โปรดักส์...'

'จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติให้บริษัท ดิจิตอล มีเดียฯเป็นผู้ร่วมผลิตรายการข่าวประจำวันและมอบให้ ผอ. สทท.เจรจาต่อรองกับบริษัทให้ราชการได้รับประโยชน์สูงสุด...'

จากนั้นเรื่องถูกส่งผ่านถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์และอนุมัติเสร็จสิ้นในวันเดียวกัน

สาม มีการประชุมคณะทำงานเจรจาร่วมกันระหว่าง สทท.11 กับบริษัท เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 โดยบริษัท ดิจิตอลมีเดียฯ จ่ายผลประโยชน์ให้แก่ สทท 11 เพิ่มเป็นเงิน 40 ล้านบาทโดยอ้างว่า เพื่อพัฒนาบุคคลากร อุปกรณ์ การจัดจ้างบุคคลากรผู้ปฏิบัติงานและการพัฒนาการผลิตรายการ
 
นอกจากนั้นยังจ่ายอีก 5 ล้านบาท(รวมเป็น 45 ล้านบาท)สนับสนุนเป็นสวัสดิการ สำหรับค่าใช้จ่ายลูกจ้างร่วมผลิตรายการไม่สามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้

หลังจากนั้น อีก 3 วันคือ วันที่ 17 มีนาคม 2551 มีการลงนามในสัญญาร่วมผลิตรายการข่าวประจำวันระหว่าง นายสริยงค์หุณฑสาร รักษาการ ผู้อำนวยการ สทท.11 กับบริษัทดิจิตอล มีเดียฯ และรายงานให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ทราบในวันที่ 18 มีนาคม 2551

เบ็ดเสร็จใช้เวลาในการดำเนินการอย่างรวดเร็วเพียง 7 วัน

จนมีการนำไปพูดกันว่า ถ้าหน่วยราชการไทยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงเช่นเดียวกับกรมประชาสัมพันธ์ ประเทศไทยคงเจริญก้าวหน้ากว่านี้อีกมาก

สี่  เป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า บริษัทดิจิตอล มีเดียฯกับบริษัทเคแอลทีเอ็มมีเดียฯซึ่งเป็นคู่แข่งในการเสนอเข้าร่วมผลิตรายการข่าวประจำวันนั้น มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่เดียวกันคือ 731 ถนนอโศก -ดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง(หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลขที่ สจ.3043922ของบริษัทดิจิตอล มีเดียฯและหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลขที่ สจ.3043914 ของบริษัท เคแอลทีเอ็มมีเดีย หนังสือรับรองทั้งสองฉบับลงวันเดียวกันคือ 15 พฤษภาคม 2551 )

แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ ทั้งสองบริษัทข้างต้นตั้งอยู่เลขทีเดียวกันกับบริษัท สำนักข่าวประชาทรรศน์(ดูหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์)คือ 731 PM ทาวเวอร์ชั้น 15  ถ.อโศก ดินแดง แขวงดินแดง  กรุงเทพ

ทั้งนี้ ในแวดวงการเมืองวิพากษ์วิจารณ์กันว่า สำนักข่าวประชาทรรศน์นำเสนอข่าวและบทความสนับสนุนกลุ่มการเมืองที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีอย่างชัดเจน

อาจมีการแก้ว่า เป็นความบังเอิญที่บริษัททั้งสามแห่งไปตั้งอยู่เลขที่เดียวกันเพราะ อาคารPM เป็นอาคารให้เช่า

แต่กลับมีข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ว่า ไม่ใช่ความบังเอิญที่บริษัทดิจิตอลมีเดียฯกับสำนักข่าวประชาทรรศน์ตั้งอยู่เลขทีเดียวกัน

ในหนังสือของบริษัท ดิจิตอล มีเดียฯที่ทำถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เสนอขอร่วมผลิตรายการข่าวประจำวันลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 ท้ายหนังสือฉบับดังกล่าวลงเลขที่โทรสาร(แฟกซ์)ของบริษัทว่า  02-642-9914

จากการตรวจสอบหมายเลขโทรสารดังกล่าวจาก บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)พบว่า เป็นหมายเลข โทรศัพท์ ของนายอุดมศักดิ์ เสาวนะ บรรณาธิการนิตยสารประชาทรรศน์และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท สำนักข่าวทรรศน์ฯถึง 800,000 หุ้นหรือร้อยละ 80 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด

นอกจากนั้นยังมีอีกบริษัทหนึ่งที่ผลิตรายการให้ สทท.11 มีที่อยู่เดียวกับทั้งสามบริษัทข้างต้นด้วย

ช่างเป็นความบังเอิญอย่างประหลาดสุดสุดๆที่บริษัททั้ง4 แห่ง เสนอขอร่วมผลิตรายการกับ สทท.11 ตั้งอยู่ที่เดียวกันทั้งหมด

ห้า เงินผลประโยชน์ 45 ล้านบาทที่บริษัท ดิจิตอลมีเดียฯเสนอให้ สทท. 11นั้น ในที่สุดแล้ว มีการตั้งข้อสงสัยว่า เงินก้อนดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่รัฐจริงหรือ

เพราะกรมประชาสัมพันธ์ได้ทำหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2551 ถึงกรมบัญชีกลางขออนุมัติไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ขอเก็บไว้ใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตรายการและข่าวของ สทท.11  ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เป็นเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งนางอรอนงค์ มณีกาญจน์ ที่ปรึกษาพัฒนาระบบการเงินการคลัง รักษาราชการแทนอธิดบีกรมบัญชีกลางทำหนังสือลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 แจ้งให้ทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาตให้กรมประชาสัมพันธ์นำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายได้โดยให้กรมประชาสัมพันธ์ออกระเบียบกำหนดเกี่ยวกับการใช้เงินดังกล่าวเพื่อขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้อำนวยการสำนักงบประมาณตามมาตรา 24 วรรคห้า พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ  พ.ศ. 2502

ดูเผินๆแล้วอาจไม่มีปัญหา แต่ถ้าพลิกดูสัญญาระหว่างกรมประชาสัมพันธ์กับ บริษัท ดิจิตอล มีเดียฯพบว่า แม้บริษัท ดิจิตอลมีเดียจะให้ผลตอบแทน สทท.11 เป็นเงิน 45 ล้านบาทต่อปี แต่ สทท.11 ก็ให้เวลา กับบริษัท ชั่วโมงละ 7 นาทีไปจัดหาผู้สนับสนุนรายการ(โฆษณา)ในอัตราที่บริษัท ดิจิตอลมีเดียฯกำหนด(ข้อ 5.1)

ด้วยเวลา 7 นาทีต่อชั่วโมงน่าจะทำให้บริษัทดังกล่าวหากำไรจากฆษณาได้ไม่ยาก ยิ่งมีตัวช่วยจากกลุ่มผู้มีอำนาจบางกลุ่ม หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งมีงบประมาณจำนวนมากก็ยินดีเป็นผู้สนับสนุนรายการให้อยู่แล้ว

ในสัญญายังระบุถึงค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการว่า บริษัท ดิจิตอลมีเดียฯต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างฉาก ผลิตเทปไตเติ้ล เทปเครดิตและจิงเกิลคั่นรายการ(ข้อ 4.5)

แต่ในการขอนำเงิน 45 ล้านบาทไม่ต้องนำส่งคลังนั้น  กรมประชาสัมพันธ์จะนำเงินจำนวนนี้มาจัดทำรายการต่างๆ เช่น ค่าจ้างทำฉากใหม่ 580,000 บาท  ค่าทำกราฟฟิกหน้าจอ 2,461,000 บาท ค่าจ้างบุคคลากร พนักงานร่วมผลิต ค่าตอบแทนผู้ประกาศข่าว ค่าทีมแต่งหน้าฯลฯรวมแล้ว 29.1 ล้านบาท  จัดซื้อและบำรุกรักษาอุปกรณ์ 6 ล้านบาท 

ทำให้เกิดข้อสงสัยการนำเงิน 45 ล้านบาทดังกล่าาวมาใช้ในลักษณะนี้เท่ากับนำเงินจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายแทนให้แก่บริษัทหรือไม่

ทั้งหมดนี้คือ ปมร้อนๆของสถานีโทรทัศน์ NBT ที่ทางกรมประชาสัมพันธ์ต้องให้ความกระจ่าง


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=31836&catid=1

'จักรภพ' อ้างไม่รู้ล็อคสเปกจ้างเอกชนผลิตข่าว NBT คลังยัน กปส.ยังไม่มีสิทธิ์ใช้เงิน 45ล้าน
มติชน     วันที่ 20 พฤษภาคม 2551 - เวลา 15:54:32 น. 
 
 
 
สตง.พบข้อพิรุธในการที่กรมประชาสัมพันธ์ว่าจ้างบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ร่วมผลิตรายการข่าว ช่อง 11 เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ฮั้ว เล็งเชิญ 'สมัคร-จักรภพ'ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม

'จักรภพ' อ้างไม่รู้เรื่องล็อคสเป็คจ้าง 'ดิจิตอล มีเดีย'

เมื่อเวลา 13.45 น. วันที่ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรปีระจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ ที่ตึกบัญชาการ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกระแสข่าวการล็อคสเป็คจัดจ้างบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โอลดิ้ง ร่วมผลิตรายการข่าวประจำในสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.1) ช่อง 11 ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นเอ็นบีที เป็นเวลา 2 ปี ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่า ซึ่งนายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ  ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งกระทู้ถามตนแล้ว

เมื่อถามว่า ทราบหรือไม่ว่า มีเบอร์แฟกซ์เป็นเบอร์เดียวกับสำนักข่าวประชาทรรศน์ นายจักรภพ กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องนี้เลย ขอให้ไปถามนายเผชิญ ขำโพธิ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้

คลังยัน กปส.ยังไม่มีสิทธิ์ใช้เงิน 45 ล้านบาท

นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ ที่ปรึกษาพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง เปิดเผยเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมว่า การอนุมัติให้กรมประชาสัมพันธ์ไม่นำเงินผลประโยชน์ จำนวน 45 ล้านบาท ที่ได้จากบริษัท ดิจิตอล มีเดียฯ  ส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ขอเก็บไว้ใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตรายการและข่าวของ สทท.11 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เป็นเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์นั้นทำถูกต้องตามขั้นตอนทางกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติทุกประการ ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานตามปกติที่ส่วนราชการต่าง ๆสามารถดำเนินการได้ ตามมาตรา 24 วรรคห้า พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502

“เวลาที่ส่วนราชการได้รับเงินงบประมาณไม่เพียงพอกับที่ต้องการ เมื่อมีรายได้พิเศษเข้ามาก็มีสิทธิจะขอเงินส่วนนั้นในการนำไปกิจกรรมต่าง ๆของส่วนราชการได้ ซึ่งกรณีนี้กรมประชาฯก็แจ้งมาว่าต้องการที่จะนำเงินก้อนดังกล่าวไปใช้ในการผลิตรายการให้ดีขึ้น เป็นเงินที่เสริมขึ้นมาจากงบประมาณปกติ ซึ่งกรมบัญชีกลางก็ได้นำเรื่องเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาอนุมัติ”

นอกจากนี้ตามระเบียบของกรมบัญชีกลางเมื่อมีการอนุมัติให้นำเงินที่ได้รับไปใช้ ก็จะต้องมีการวางระเบียบร่วมกันระหว่างกรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบในการนำเงินไปใช้ว่าสามารถนำเงินไปทำอะไรได้บ้าง ไม่ไช่ว่าเป็นการปล่อยให้นำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ แต่การนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการผลิตรายการแล้วเป็นรายการที่ดีหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องของกรมประชาฯ

“ปัจจุบันเงินจำนวนดังกล่าวจะต้องอยู่ที่กรมประชาฯ เพราะตามหนังสือที่ส่งไปนั้นเป็นหนังสือที่ระบุว่ากรมบัญชีกลางอนุมัติไม่ให้นำส่งเท่านั้น เพราะตามระเบียบของการนำส่งรายได้นั้นเมื่อส่วนราชการได้รายได้มาจะต้องส่งภายใน 3 วัน แต่หากกรมประชาฯจะนำเงินไปใช้ต้องมีการออกระเบียบว่าด้วยการใช้เงินร่วมกับกรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณก่อน ซึ่งปัจจุบันกรมประชาฯยังไม่ได้ส่งร่างระเบียบดังกล่าวมาให้กรมแต่อย่างใด”

นายพิศิษฐ์  ลีลาวชิโรภาส  รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ถึงกรณีที่มีการตรวจพบข้อพิรุธในการที่กรมประชาสัมพันธ์ว่าจ้างบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ร่วมผลิตรายการข่าวประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) ช่อง 11 ว่า ในส่วนของ สตง. อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรวบรวมในขณะนี้ ก็ใกล้เคียงกับข้อมูลที่ปรากฏในสื่อมวลชน ไม่ว่า จะเป็นระยะเวลาในการดำเนินการที่มีลักษณะรวบรัดรวมจนเกินไป รวมถึงความสัมพันธ์ของนิติบุคคลที่เข้ามารับว่าจ้างงาน ซึ่งถูกระบุว่า มีสถานที่ตั้งเดียวกัน  ซึ่งก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกว่า มีรายละเอียดเป็นอย่างไรและเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว หรือไม่

“อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น นอกจากตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานหลักฐานเอกสารต่างๆแล้ว ในเร็วๆนี้ สตง. อาจจะต้องมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องโดยตรง อาทิ รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เข้ามาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร และในการสืบสวนหากพบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย ได้แก่ นายจักรภพ เพ็บแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เข้ามาให้ข้อมูลด้วยก็คงจำเป็นต้องขอความอนุเคราะห์กับบุคคลเหล่านี้ให้เข้ามาชี้แจงด้วย”

นายพิศิษฐ์ ยังกล่าวว่า ข้อมูลที่สื่อมวลชนระบุว่า มีการตรวจพบ บริษัทเอกชนที่เข้ามารับงานกับ สทท.11 ว่า อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทเอกชนอีก 3 แห่ง ทั้งในส่วนของบริษัทที่เข้ามาร่วมประมูลด้วย รวมถึงบริษัทที่ผลิตรายการ ให้ สทท.11 และบริษัทสื่อแห่งหนึ่ง   ในข้อเท็จจริงดังกล่าวก็พอรับฟังได้ว่าจ ะมีพฤติการณ์ที่ส่อว่าจะมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นเนื่องจากในส่วนของบริษัทที่เข้ามาแข่งขันกัน แต่ในข้อเท็จจริงจะอ้างว่า ไปเช่าตึกเดียวกันทำสำนักงานอยู่ แต่มันก็เป็นเรื่องความบังเอิญเกินไปรวมถึงการปรากฎข้อมูลว่า มีบริษัทบางแห่งใช้หมายเลขโทรสารเดียวกันด้วย ซึ่งในการตรวจสอบข้อมูลทางสตง.อาจจะต้องมีการประสานไปยัง บริษัท ทีโอที จำกีด (มหาชน) เพื่อให้ยืนยันข้อมูลอย่างเป็นทางการอีกครั้งด้วย 


http://www.matichon.co.th/news_title.php?id=2083
บันทึกการเข้า

999
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,022



« ตอบ #1 เมื่อ: 20-05-2008, 22:56 »


เรื่องใช้จ่ายเงินทอง ผมว่าผู้ที่เกี่ยวข้องรัดกุมหน่อยก็ดีครับ

ขอบคุณสื่อที่ทำเรื่องตรวจสอบเหล่านี้ แม้จะไม่ร้อนแรงเหมือนประเด็นเกมการเมืองก็ตาม

แต่ก็สามารถทำประเด็นตรวจสอบให้การใช้เงินให้เป็นสิ่งที่อ่านง่ายเข้าใจง่าย มีสีสันชวนติดตามได้เหมือนกัน

ก็อาศัยเทคนิคการนำเสนอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-05-2008, 23:03 โดย 999 » บันทึกการเข้า

THE THIRD WAY
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,821


Love looks not with eyes, but with the mind.


« ตอบ #2 เมื่อ: 20-05-2008, 23:00 »

ผมไม่ได้อ่านข้างบนไม่จบครับ...ยาว
ขอโทษท่านด้วย
 
แต่ที่ผ่านหูผ่านตา
นี่คือพัฒนาการจากระบอบหมอนั่น
คือสัญญาว่าจ่าย๔๕ล้าน
ฝ่ายนี้ก็ตกลง
พอตกลงเสร็จก็ขออนุมัติหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ก.คลัง)
ว่าไอ้(ภาษานายกฯ)๔๕ล้านนเนี่ยนะไม่ต้องส่งรัฐ
เอามาพัฒนาสถานี
สรุปว่า ได้ฟรีครับ

การที่คนเราจะบ้า......
ต้องไปขออนุญาตที่ไหนครับ
ผมจะบ้าแล้ว

กระซิบดังๆ
แต่ละบริษัทที่มายื่นแบบ
ที่อยู่เดียวกัน
ที่อยู่ต่าง เบอร์โทร.เดียวกัน
อนุญาตให้ผมบ้าได้ยัง.....หือ?
 
บันทึกการเข้า

ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้
************************
การขับไล่ทรราช เป็นภารกิจของเจ้าของประเทศ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20-05-2008, 23:22 »

เรื่อง ดิจิต้อลมีเดีย พวกเราเล่นกระทู้เมื่อ 2 เดือนที่แล้ว ในเรื่องความไม่โปร่งใสในการประมูลงาน หรือทำสัญญาร่วมงานกับ ช่อง 11

ส่วนเรื่อง 45 ล้าน ที่นำมาใช้ปรับปรุงสถานี เป็นประเด็นใหม่

คือแทนที่จะเอามาปรับปรุงสถานี กลับนำไปปรับปรุงรายการที่ดิจิต้อลมีเดียวทำนั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า

TheBluECaT
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 824


"แมวน้อยสีน้ำเงิน..."


« ตอบ #4 เมื่อ: 21-05-2008, 11:24 »

อัตยายซื้อขนมยาย...

บอกจะให้ 45 ล้านแต่ขอนำไปใช้พัฒนาสถานีก่อน

แล้วอย่างงี้มรึงจะประมูลทำพระแสงง้าวทำไมครับ...

ยุบสถานีเก่าตั้งสถานีใหม่ใช้เวลา 7 วัน  โอ้...แม่เจ้า!!! ทำไปได้...


ปล. ชอบประโยคนี้จัง...

  "ถ้าหน่วยราชการไทยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูง
เช่นเดียวกับกรมประชาสัมพันธ์ ประเทศไทยคงเจริญก้าวหน้ากว่านี้อีกมาก"
บันทึกการเข้า

"ยามบุญมากาไก่กลายเป็นหงส์  ยามบุญหลงหงส์เป็นกาน่าฉงน...
ยามบุญมาหมูหมากลายเป็นคน  ยามบุญหล่นคนเป็นหมาน่าอัศจรรย์"
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 21-05-2008, 11:33 »

'จักรภพ-อธิบดีกปส.'โบ้ยกันอุตลุดล็อกสเปกผลิตข่าวสถานีNBT-ดิจิตอลฯปัดโยงประชาทรรศน์
มติชน    วันที่ 21 พฤษภาคม 2551 - เวลา 09:53:49 น. 

'จักรภพ-อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์'โยนกลองกันอุตลุดเรื่อล็อกสเป๊กร่วมผลิตรายการข่าวสถานีNBT-เชื่อมโยงสำนักข่าวประชาทรรศน์ กรรมการดิจิตอลมีเดียปฏิเสธไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่หลักฐานยันชัดเบอร์โทรศัพท์เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ สตง.เล็งเรียก'สมัคร-รมต.สำนักนายกฯ'สอบปากคำ

นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรปีระจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมกรณีที่ข่าวว่า กรมประชาสัมพันธ์ล็อคสเป็คในการคัดเลือกบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โอลดิ้ง เข้าร่วมผลิตรายการข่าวประจำในสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.)11 เป็นเวลา 2 ปีและแปลงโฉมเป็น NBTว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่า ซึ่งนายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ  ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งกระทู้ถามตนแล้ว

เมื่อถามว่า ทราบหรือไม่ว่า มีเบอร์โทรสาร(แฟกซ์)ของบริษัท ดิจิตอลมีเดียฯเป็นของบรรณาธิการนิตยสารประชาทรรศน์  บริษัทสำนักข่าวประชาทรรศน์ นายจักรภพ กล่าวว่า ไม่ทราบ ขอให้ไปถามนายเผชิญ ขำโพธิ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม นายเผชิญ ขำโพธิ์ รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีปัญหา แต่รายละเอียดต้องถามนายจักรภพ

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตถึงความรวดเร็วผิดปกติในการทำสัญญาเพียง 7 วัน นายเผชิญกล่าวว่า ต้องเร็วอยู่แล้ว เพราะการทำข่าวไม่เร็วไม่ได้ ยืนยันว่า การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสทุกประการ

ส่วนกรณีบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง และบริษัท เคแอลทีเอ็ม มีเดีย ซึ่งเป็นคู่แข่งเสนอตัวเข้าร่วมผลิตรายการและหนังสือในเครือประชาทรรศน์มีที่ตั้งอยู่ที่เดียวกันนั้น นายเผชิญกล่าวว่า ในอาคารบางแห่งมีถึงร้อยบริษัทอยู่ร่วมกันได้

เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่า งบประมาณ 45 ล้านบาท ที่กรมประชาสัมพันธ์ไม่ขำนำส่งคลัง มีการนำไปจ่ายแทนให้บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง ในการผลิตรายการต่างๆ นายเผชิญกล่าวว่า รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ตนจำไม่ได้ ต้องถามผู้รับผิดชอบ แต่เรื่องนี้ได้คุยกับกรมบัญชีกลางมาก่อน รวมทั้งได้ส่งร่างระเบียบการใช้เงินให้กรมบัญชีกลางเรียบร้อยแล้ว

ด้านนายพรเลิศ ยนตร์ศักดิ์สกุล กรรมการบริษัทดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง ให้สัมภาษณ์ปฏิเสธว่า บริษัทดิจิตอล มีเดียฯไม่เกี่ยวข้องกับสำนักข่าวประชาทรรศน์แต่อย่างใด เบอร์แฟ็กซ์ของบริษัทก็ไม่ใช่เบอร์ 0-2642-9914 ที่ปรากฏในข่าว ส่วนที่ตั้งของบริษัทนั้นเดิมอยู่ในซอยอารีสัมพันธ์ แต่ที่ย้ายมาอยู่ 731 PM ทาวเวอร์ เพราะเจ้าของเดิมไม่ให้เช่าต่อ ส่วนตัวแล้วไม่รู้จักและไม่เกี่ยวข้องกับสำนักข่าวประชาทรรศน์เลย ตนมาจากไอทีวี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเอกสารของบริษัทดิจิตอลมีเดียฯซึ่งเสนอตัวขอเข้าร่วมผลิตรายการข่าวประจำวันต่อกรมประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่25 กุมภาพันธ์ 2551 ปรากฎหมายเลขโทรสารว่า 0-2642-9914 อย่างชัดเจน(ดูรูป)ซึ่งจากการตรวจสอบจากบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)พบว่า เจ้าของคือ นายอุดมศักดิ์ เสาวนะ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทสำนักข่าวประชาทรรศน์ถึงร้อยละ 80และเป็นบรรณาธิการนิตยสารประชาทรรศน์



นายพิศิษฐ์  ลีลาวชิโรภาส  รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวว่า ในส่วนของ สตง. อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรวบรวมในขณะนี้ ก็ใกล้เคียงกับข้อมูลที่ปรากฏในสื่อมวลชน ไม่ว่า จะเป็นระยะเวลาในการดำเนินการคัดเลือกบริษัทดิจิตอลมีเดียฯที่มีลักษณะรวบรัดรวมจนเกินไป รวมถึงความสัมพันธ์ของนิติบุคคลที่เข้ามารับว่าจ้างงาน ซึ่งถูกระบุว่า มีสถานที่ตั้งเดียวกัน  ซึ่งก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกว่า มีรายละเอียดเป็นอย่างไรและเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว หรือไม่

'เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น นอกจากตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานหลักฐานเอกสารต่างๆแล้ว ในเร็วๆนี้ สตง. อาจจะต้องมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องโดยตรง อาทิ รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เข้ามาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงว่า เป็นอย่างไร และในการสืบสวนหากพบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย ได้แก่ นายจักรภพ เพ็บแขและนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เข้ามาให้ข้อมูลด้วยก็คงจำเป็นต้องขอความอนุเคราะห์กับบุคคลเหล่านี้ให้เข้ามาชี้แจงด้วย'นายพิศิษฐ์กล่าว

นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า ข้อมูลที่สื่อมวลชนระบุว่า มีการตรวจพบ บริษัทเอกชนที่เข้ามารับงานกับ สทท.11 ว่า อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทเอกชนอีก 3 แห่ง ทั้งในส่วนของบริษัทที่เข้ามาร่วมประมูลด้วย รวมถึงบริษัทที่ผลิตรายการ ให้ สทท.11 และบริษัทสื่อแห่งหนึ่ง   ในข้อเท็จจริงดังกล่าวก็พอรับฟังได้ว่าจะมีพฤติการณ์ที่ส่อว่า จะมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นเนื่องจากในส่วนของบริษัทที่เข้ามาแข่งขันกัน แต่ในข้อเท็จจริงจะอ้างว่า ไปเช่าตึกเดียวกันทำสำนักงานอยู่ แต่มันก็เป็นเรื่องความบังเอิญเกินไปรวมถึงการปรากฎข้อมูลว่า มีบริษัทบางแห่งใช้หมายเลขโทรสารเดียวกันด้วย ซึ่งในการตรวจสอบข้อมูลทาง สตง.อาจจะต้องมีการประสานไปยัง บริษัท ทีโอที จำกีด (มหาชน) เพื่อให้ยืนยันข้อมูลอย่างเป็นทางการอีกครั้งด้วย 

ด้านนางอรอนงค์ มณีกาญจน์ ที่ปรึกษาพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรมบัญชีกลางกล่าวว่า การอนุมัติให้กรมประชาสัมพันธ์ไม่นำเงินผลประโยชน์ จำนวน 45 ล้านบาท ที่ได้จากบริษัท ดิจิตอล มีเดียฯ  ส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ขอเก็บไว้ใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตรายการและข่าวของ สทท.11 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เป็นเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์นั้น ทำถูกต้องตามขั้นตอนทางกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติทุกประการ ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานตามปกติที่ส่วนราชการต่างๆสามารถดำเนินการได้ ตามมาตรา 24 วรรคห้า พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502

'เวลาที่ส่วนราชการได้รับเงินงบประมาณไม่เพียงพอกับที่ต้องการ เมื่อมีรายได้พิเศษเข้ามาก็มีสิทธิจะขอเงินส่วนนั้นในการนำไปกิจกรรมต่าง ๆของส่วนราชการได้ ซึ่งกรณีนี้กรมประชาฯก็แจ้งมาว่าต้องการที่จะนำเงินก้อนดังกล่าวไปใช้ในการผลิตรายการให้ดีขึ้น เป็นเงินที่เสริมขึ้นมาจากงบประมาณปกติ ซึ่งกรมบัญชีกลางได้นำเรื่องเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาอนุมัติ'นางอรอรอนงค์กล่าว

นางอรอนงค์กล่าวว่า ตามระเบียบของกรมบัญชีกลางเมื่อมีการอนุมัติให้นำเงินที่ได้รับไปใช้ จะต้องมีการวางระเบียบร่วมกันระหว่างกรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบในการนำเงินไปใช้ว่า สามารถนำเงินไปทำอะไรได้บ้าง ไม่ไช่ว่าเป็นการปล่อยให้นำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ แต่การนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการผลิตรายการแล้วเป็นรายการที่ดีหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องของกรมประชาฯ

'ปัจจุบันเงินจำนวนดังกล่าวจะต้องอยู่ที่กรมประชาฯ เพราะตามหนังสือที่ส่งไปนั้นเป็นหนังสือที่ระบุว่า กรมบัญชีกลางอนุมัติไม่ให้นำส่งเท่านั้น เพราะตามระเบียบของการนำส่งรายได้นั้นเมื่อส่วนราชการได้รายได้มาจะต้องส่งภายใน 3 วัน แต่หากกรมประชาฯจะนำเงินไปใช้ต้องมีการออกระเบียบว่าด้วยการใช้เงินร่วมกับกรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณก่อน ซึ่งปัจจุบันกรมประชาฯยังไม่ได้ส่งร่างระเบียบดังกล่าวมาให้กรมแต่อย่างใด'นางอรอนงค์กล่าว

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า จะยื่นถอดถอนนายจักรภพในวันที่ 21 พฤษภาคม ต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา โดยข้อกล่าวหาแรกเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 เรื่องการแทรกแซงสื่อ เช่น กรณีการยึดคลื่นสถานีวิทยุบางแห่ง ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่า มีพฤติกรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีนี้ด้วยตัวเอง ส่วนการใช้อำนาจขัดต่อกฎหมาย คือ กรณีการเข้าไปบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ที่รัฐมนตรีเข้าไปเป็นธุระจัดหาบริษัทร่วมผลิต ซึ่งเข้าข่ายการฮั้วประมูลหรือการเข้าไปจัดการวิทยุชุมชน ทั้งๆ ที่ไม่มีอำนาจ มั่นใจในเอกสาร และพยานต่างๆ ว่าจะสามารถเอาผิดได้

 *************
ฝ่ายค้านยื่นถอดถอน'จักรภพ'ให้ปธ.สภาสูงแล้ว 'บุญสร้าง' ลั่นบิ๊กทัพเปล่านัดถกการเมืองนอกรอบ แค่คุยกันฉันท์ทหาร 'บิ๊กจิ๋ว' ปัดช่วย'จักรภพ'เคลียร์คดีหมิ่นสถาบัน ต้องรับผิดชอบเอง เผย ทักษิณ' ห่วงใย ระบุคนไทยยอมไม่ได้ ถ้ามีการหมิ่นเบื้องสูง


ฝ่ายค้านยื่นถอดถอน'จักรภพ'ให้ปธ.สภาสูงแล้ว
มติชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พ.ค. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) ได้นำรายชื่อ ส.ส.จำนวน 164 รายชื่อ ยื่นต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เพื่อขอถอดถอนนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมาย และส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น กรณีการกำกับดูแลสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT กรณีการประชุมผู้ประกอบการวิทยุชุมชน และกรณีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ล่าช้า และกรณีออกระเบียบห้ามสื่อของรัฐสนับสนุนการรัฐประหาร เป็นต้น

นายประสพสุข กล่าวว่า จะสามารถตรวจสอบเอกสารของฝ่ายค้านได้แล้วเสร็จภายในวันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม หรืออย่างช้าที่สุด ภายในวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคมนี้ จากนั้นจะเร่งส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ส่วนความคืบหน้าการยื่นเรื่องถอดถอนนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายชื่อและยังไม่ได้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.

ขณะที่นายสาทิตย์ กล่าวว่า นายจักรภพ ถือเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ฝ่ายค้านยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่ง และเห็นว่าที่ผ่านมา หลังมีข่าวยื่นถอดถอนนายจักรภพ ก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนั้นหลังจากนี้ แม้จะลาออกจากตำแหน่ง หรือถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีก็ยังจำเป็นต้องตรวจสอบการกระทำความผิดด้านกฎหมายต่อไป


 
บันทึกการเข้า

นพดวยขายชาติ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 102


« ตอบ #6 เมื่อ: 21-05-2008, 17:44 »

โอ้ ช่วงนี้เจ๊เพ็ญมาแรง 
บันทึกการเข้า
1ktip
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,457



« ตอบ #7 เมื่อ: 21-05-2008, 19:24 »

อดีตอธิบดีคงอดโล่งใจไม่ได้ ที่ตนเองโดนเด้งพ้นวงโคจร NBT

เรื่องฮั้วประมูล จะปัดไม่รู้ไม่ชี้คงดูไม่งาม เวลาประมูลงานกับองค์กรใหญ่
เค้าเช็คประวัติกันละเอียดยิบ ข้อเสนอก็ต้องต่อรองแล้วต่อรองอีกกว่าจะได้งาน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: