Can ไทเมือง
|
 |
« เมื่อ: 03-05-2008, 21:38 » |
|
วันเสาร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2551 ชำแหละพฤติกรรม สมัคร ข่มขู่ - บิดเบือน - ชวนทะเลาะ Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 27 , 19:34:04 น.
ชำแหละพฤติกรรม 'สมัคร' 'ข่มขู่ - บิดเบือน - ชวนทะเลาะ'
เนื่องจากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) หรือองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก องค์กรวิชาชีพสื่อได้ร่วมกันจัดงานและเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ในงานดังกล่าวมีการแถลงผลการศึกษาเรื่อง '(วิ)วาทกรรมสมัครกับสื่อ' ซึ่งชี้ให้เห็นกลวิธีต่างๆของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีใช้ในการหลีกเลี่ยงการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว เช่น การบิดเบือนประเด็น การโจมตีคำถาม การโจมตีผู้สัมภาษณ์ การใช้วาจาหยาบคาย การใช้ภาษาท่าทาง การใช้ภาษาข่มขู่รุนแรง
กลวิธีต่างๆเหล่านี้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรม-แบบแผนและกลวิธีการสื่อสารของนายสมัคร ของนายสมัครได้เป็นอย่างดี
เนื้อหาต่อไปนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งและบทคัดย่อของรายงานการศึกษาทั้งหมดที่มีทั้งหมด 146 หน้า ------------------------------------------- การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 'พฤติกรรม-แบบแผนและกลวิธีการสื่อสาร' ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อสื่อมวลชน ว่า มีลักษณะเสริมสร้างและเป็นประโยชน์ต่อการรายงานข่าวเพื่อการพัฒนาสังคมระบอบประชาธิปไตยเช่นไร
โดยคัดเลือกหน่วยศึกษาจากคำสัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ช่วงที่เข้ามารับเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนจนถึงปัจจุบัน ทั้งจากในรายการข่าวโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือในรายการนายกสมัครพบประชาชน (ช่วงเดือน ตุลาคม 2550- เมษายน 2551)
กลยุทธ์การสื่อสารที่นายสมัครใช้ คือ ทำให้การสื่อสารสองทางเป็นการสื่อสารทางเดียว การใช้ภาษาข่มขู่ รุนแรง ดุเดือด การเลี่ยง/เบี่ยงเบน/บิดเบือน/ทำให้หลงประเด็น การพูดความจริงบางส่วน หรือ พูดความไม่จริงบ่อยๆ การทำให้ชอบธรรมกลายเป็นความไม่ชอบธรรม การลดทอนน้ำหนักของประเด็นคำถาม การสร้างเรื่องใหม่ขึ้นมากลบเกลื่อนประเด็นสำคัญด้วยการใช้เทคนิคการสร้างบท(วิ)วาทกรรมกับสื่อมวลชน
1. ประเด็นการตอบคำถาม
นายสมัคร สุนทรเวช มักตอบคำถามของผู้สื่อข่าวด้วยการให้คำตอบใน 2 ลักษณะที่ชัดเจน คือ
1) ตอบคำถามไม่ตรงประเด็น และ 2) ตอบคำถามที่ไม่ใช่คำตอบ
ในขณะเดียวกันการตอบคำถามที่ตรงประเด็นของนายสมัครส่วนใหญ่ จะที่ให้รายละเอียดของข้อมูลที่มีความสำคัญเพียงเล็กน้อย มีลักษณะที่สั้น ห้วน ตัดบท เพื่อให้การตอบคำถามนักข่าวสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว แต่หากเป็นคำตอบยาว ๆ ก็มักขาดสาระสำคัญของคำตอบที่ตรงประเด็น เช่น
เขาคิดว่ายังจะมีการเปลี่ยนแปลงกันได้ เขาก็คิดทำกัน แต่มันไม่มีเหตุผล ดังนั้นอย่าให้ความสนใจ ผมถึงไม่ประเมิน คือใครจะทำ ไอ้คนทำก็น่าอายแล้วกัน
ผมไม่ทราบเรื่องนี้
คำถามแบบนี้คุยกันไม่สนุก,
คำถามนี้ไม่ตอบ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปพูดในสภา,
ถามแบบนี้แล้วรู้หรือไม่ว่า พรุ่งนี้ฝนตกหรือแดดออก,
คำถามนี้ผมไม่ใช่หมอดู ไม่ใช่กรมอุตุนิยมวิทยาที่จะมาตอบในสิ่งที่ถามล่วงหน้า,
คำถามยาว ไม่อยากตอบ ก็บอกย้ำแล้ว ยังจะต้องการอะไรอีก,
นี่มันถามเรื่องปกติธรรมดา เหมือนถามว่าถ้าเราหิวข้าวต้องกินข้าวใช่มั๊ย
ผมยังไม่เห็น ทำไม ผมจำไม่ได้ เอามาให้ดูหน่อย
โฮ้โห! นั่นหรือผม ผมยังไม่รู้เลย ผมไม่เห็น ผมไม่ได้รับรูปนี้
เอ้า! เรื่องอื่น
2. กลวิธีการตอบคำถาม
พบว่า นายสมัคร สุนทรเวช มีกลวิธีการเลี่ยงการตอบ คือ การโจมตีคำถาม การโจมตีผู้สัมภาษณ์ การเปิดประเด็นทางการเมือง การบอกปัดหรือปฏิเสธที่จะตอบ การตั้งคำถามเอากับตัวคำถาม การรับรู้ว่ามีคำถามแต่ไม่อยากตอบคำถามนั้น โดยใช้รูปแบบภาษา คือ การพูดเป็นนัย การพูดโดยให้ผู้อื่นตีความ การพูดแบบประชดประชัน การละคำพูดเอาไว้ และการโกหก เช่น
เรื่องนี้ไม่ต้องมาถามอีก ขอให้มีสิทธิเข้าไปทำหน้าที่ก่อน,
ถามอะไรโง่ๆ แบบนี้ เป็นคำถามโง่เง่าที่สุดที่เคยได้ยินมา,
พวกคุณเขียนกันเองน่ะสิ หนังสือพิมพ์ไปเขียนนั่งเก้าอี้ซ้อนกัน มันเป็นความคิดของคนระดับพวกคุณเท่านั้นแหละ ขอย้ำเลยนะ เพราะพวกคุณคิดกันอย่างนั้น ต้องกระแทกแดกดัน พูดจาเสียดสี ให้เสียให้หาย ทำไมคิดกันได้แค่นั้นเอง ความคิดมีอยู่ระดับแค่นั้นหรือ ทำไมไม่คิดอย่างคนธรรมดาเขาควรคิดบ้างล่ะ
แล้วมันเป็นไง... แต่ก่อนเนี่ยวิ่งมาหาผมหรือเปล่า ก็ไม่เคยวิ่ง ทีนี้ไปเขียน โอ้โห! ต่อไปนี้บ้านจันทร์ส่องหล้าคนจะเนืองแน่น จะไม่ไปบ้านผม บ้านผมก็ไม่เคยมีใครมา คุณไปเฝ้า บ้านผมก็ไม่มีใครมา
เขาไม่คิดแบบพวกคุณ เขามีสติปัญญา ความคิด ถามเขายังไม่กล้าถามเลย แต่พวกคุณคิดกันเลอะเทอะ เปรอะเปื้อน น่าอาย น่าขายหน้า ที่คิดที่แสดงออกมาให้คนอ่านได้เห็น มันน่าอายน่าขายหน้า ทำไมเป็นผู้สื่อข่าวมีความคิดเพียงเท่านี้เองหรือ
เรื่องนี้ไม่ขอตอบ เพราะถือว่า เป็นเรื่องภายในของพรรค
ผมไม่มีหน้าที่ต้องมาแถลง และพวกที่ถามอย่างนี้มีใครไหว้วานมาหรือไม่ ผมจะไม่ตอบ
อย่ามาแคะแกะเกา เพื่อต้องการทำให้เกิดความเสียหายแก่พรรค ซึ่งผมจะตั้งข้อกล่าวหาและฟ้องร้องทุกคน พวกคุณรับจ้างใครมาถามหรือไม่
ผมก็ตอบในส่วนที่ผมรู้ คือ ไม่ตอบไง แต่ยังมาตะบันถามอยู่เรื่อย...คุณอย่ามาล่อผมเลยนะ ไม่สำเร็จหรอก จะบอกให้ฟัง นับอายุพวกคุณก่อนทั้งสามคนนี้ว่าทั้งหมดกี่ขวบ ต่างคนต่างมีหน้าที่อะไร จะมาแคะให้พรรคพังใช่หรือไม่...ไปๆ มาๆ ข่าววันนี้ จะออกว่าอย่างไร รู้มั้ย สมัครรวนผู้สื่อข่าวหรือไม่ ทั้งที่ความจริง พวกคุณรวนผม ผมจะตั้งข้อกล่าวหาไว้ก่อน
ต่อไปนี้ใครถามอะไรมาจะบอกว่าไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่เห็น อย่างนี้สนุกดีและจะได้ไม่มีเรื่อง
สื่อสารมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ชื่อครึ่งไทยครึ่งฝรั่ง เขียนบทความด่าผมหยาบคาย ต่ำช้า พูดจาน่าเกลียดน่าชัง
คนเก่ง ๆ รู้ทุกอย่าง อ่านคอลัมน์หน้า 4 สิครับ รู้ทุกอย่างเก่งทุกอย่าง ทั้งสั่งทั้งสอนทั้งสับทั้งโขก ไปทำหนังสือพิมพ์หมดครับ ไอ้คนโง่อย่างผมเท่านั้นมาทำงานการเมือง
มีไอ้คนโง่อย่างผมเท่านั้น กับพรรคพวกผมโง่ ๆ ดันมาทำการเมือง ถูกเขาสับเขาโขกเขาว่าเขากล่าว
ผมไม่ออกชื่อใครทั้งนั้น แต่มี ผมอ่านทุกวัน เขียนบทความว่ากล่าวกันแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ ตั้งใจจะด่าก็ด่าตั้งใจจะว่าก็ว่า ตั้งใจจะเขียนต่าง ๆ
ไอ้คนโง่อย่างผมเท่านั้นมาทำงานการเมือง นักการเมืองหน้าโง่อย่างผมเท่านั้นครับที่ได้ไปเจรจากับประเทศ
ไม่ สำหรับผมไม่มีใครเสียชีวิต ยกเว้นชายผู้โชคร้ายคนหนึ่งที่ถูกทำร้าย และถูกเผาที่สนามหลวง มีผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียวในวันนั้น
เวลานี้มัน 31 ปีแล้ว ผมจำไม่ได้ว่าผมพูดอะไรอย่างนั้น ทำไมพูดอย่างนั้นผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน คือถ้าผมพูดเรื่องนั้นจริง ผมคงไม่พูดอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่ทราบ
3. การใช้ภาษา
จากการศึกษาพบว่า นายสมัคร สุนทรเวช มักพูดเสียดสี โดยพาดพิง เปรียบเปรยว่า กระทบกระทั่ง และเหน็บแนมฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ที่มีแนวคิด รวมไปถึงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ที่มีแตกต่างไปจากตนเองอย่างสม่ำเสมอ และถือเป็นกลวิธีที่นายสมัครใช้มากที่สุด
รองลงมาคือการพูดอุปลักษณ์(พูดเรื่องไม่สำคัญ) การพูดจาอ้อมค้อมวกวนในเรื่องผลงานของรัฐบาล การพูดให้เป็นเรื่องตลก ทั้งหมดก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเลี่ยงประเด็นการถูกตรวจสอบ เพราะเน้นแต่จะชี้แจงเรื่องที่มีปัญหากับสื่อมวลชนเท่านั้น
ใช้ภาษาที่รุนแรงเพื่อโต้ตอบสื่อมวลชน น้อยมากที่นายสมัครจะใช้ภาษารุนแรงต่อสาระการดำเนินงานของรัฐบาล เช่น
รัฐบาลจะปรับขึ้นเงินเดือน ไม่เป็นข่าว จะมีใครตายไหมที่โรงพิมพ์ คือไม่เสนอข่าวว่าจะขึ้นเงินเดือน คือมาช่วยกัน ช่วยสังคมไทย ถ้าไม่ได้พาดหัวว่าขึ้นเงินเดือน แล้วจะเป็นอย่างไรไหม
ที่ด่ามานั้นน่าอายสำหรับวงการสื่อสารมวลชนทั้งหมด ว่านี่หรือสื่อสารมวลชน สติปัญญาเพียงเท่านี้หรือ ด่าเขาโดยยังไม่มีเหตุผล ด่าตั้งแต่ยังไม่ทำงาน
เท่านั้นแหละครับ เป็นข่าวกัน จะเป็นจะตาย
ตอบคำถามต้องระมัดระวังนะต่อไปนี้ เพราะว่าพูดผิดเดี๋ยวเกิดเรื่องอีก
นี่สำนวนสมัคร ถามเลยว่าถ้าขายวันจันทร์จะมีใครตายไหม
ชอบมาเสนอความเห็นชนิดที่ว่านึกว่าตัวเองแน่ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ก็เป็นไปเถอะครับ แต่มาเสนอความคิดแบบว่าเพียงแต่คิดจะเอาน้ำมาให้เราก็โง่แล้ว มันแย่จริง ๆ
ถามว่าอย่างนี้บ้าหรือเปล่า
ผมต้องตำหนิคนทางสื่อสารมวลชน ต้องไปหมั่นสัมมนากันหน่อยครับ
ลองไปนับดูว่าผ่านมา 31 ปีแล้ว แล้วคุณกี่ขวบ ผมไม่อยากพูด เพราะพูดทีไรก็ทะเลาะ มีเรื่องกันทุกครั้ง
แต่เชื่อไหมครับ พูดเสร็จ อธิบายความเสร็จ ไม่มีสิ่งที่ผมพูดในหนังสือพิมพ์ ในรายงานทุกชนิด กลัวจะได้ประโยชน์ทางการเมือง กลัวว่าการรายงานความคิดเห็นของผมจะเป็นประโยชน์ในทางการเมือง
ใครเป็นคนเสนอข่าว คุณรับผิดชอบ น่าประหลาดตรงพวกเสนอข่าวไม่ต้องรับผิดชอบ คือ เต๊าเอาข่าวออกมา เอามาให้เสียหาย
4. การให้ความร่วมมือในการสนทนา
พบว่า นายสมัคร สุนทรเวช มักมีท่าทีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับสื่อมวลชนในการสนทนา หรือการสัมภาษณ์ โดยใช้กลวิธีการหลีกเลี่ยงคำตอบ หรือตอบไม่ตรงประเด็น และเมื่อพิจารณาในคุณภาพของคำตอบ ก็มักไม่สมบูรณ์ เพราะ
1) ไม่ให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็น เพราะมักบ่ายเบี่ยงตีรวนชวนทะเลาะกับผู้สื่อข่าวจนทำให้ไม่ได้ข้อมูลเหตุผล-เหตุการณ์ที่จำเป็น
และ 2) การประโยคซ้ำความ เพราะมักเลือกพูดประโยคซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นคำตอบต่อสื่อหรือคำถามกลับต่อสื่อมวลชน เช่น
ผมไม่มีหน้าที่ต้องมาแถลง พวกที่ถามอย่างนี้มีใครไหว้วานมาหรือไม่ ผมจะไม่ตอบ
คุณไปได้รายงานนั้นมาจากไหน
ตอนนั้นคุณอายุเท่าไหร่...อายุเท่าไหร่...คุณเกิดหรือยัง?
ถ้าผมพูดว่า ...นักข่าวอย่างคุณเป็นผู้หญิงที่น่ารังเกียจ คุณฆ่าคน คุณจะต้องเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ไม่ ไม่
ผู้หญิงอย่างคุณ เดินทางมาแสนไกล เพื่อมาถามคำถามแบบนี้เนี่ยนะ แม้แต่คนไทย ยังไม่กล้าถามคำถามแบบนี้กับผมเลย
คุณอย่ามาล่อผมเลยนะ ไม่สำเร็จหรอก จะบอกให้ฟัง
5. ภาษาท่าทาง
จากการศึกษา พบว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่มีความโดดเด่นในการแสดงออกทางอวัจนะภาษา โดยแบ่งลักษณะการใช้อวัจนะภาษาออกเป็น 4 ลักษณะ
1. สีหน้าและสายตา มักแสดงขมวดคิ้ว ทำหน้าบึ้งตึงอย่างเห็นได้ชัดในยามที่นักข่าวถามคำถามที่ไม่เข้าหู และบ่อยครั้งมักแสดงสีหน้าอวดดี หงุดหงิด เมื่อต้องการกล่าวโจมตีคู่แข่งขันทางการเมือง หรือในขณะที่กล่าวดูหมิ่นดูแคลนสื่อมวลชน แต่หากอยู่ในช่วงของการเริ่มสัมภาษณ์หรือเริ่มรายการสนทนาประสาสมัคร นายสมัครมักแสดงสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส กล่าวได้ว่า ผู้ที่สัมภาษณ์สามารถรู้ได้ทันทีว่า นายกรัฐมนตรีกำลังมีความรู้สึกใดอยู่ในขณะนั้น
2 ท่าทาง มักยกมือทั้งสองข้างประกอบการพูดคุยกับสื่อมวลชน อีกทั้งยังพบกรณีที่นายสมัครใช้นิ้วชี้หน้านักข่าวที่กำลังปะทะคารมอยู่ด้วย และท่าทางแข็งกร้าว
3 น้ำเสียง พบว่า น้ำเสียงของนายสมัคร สุนทรเวช ถือเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัด และสะท้อนบุคลิกโผงผาง ดุดัน นายสมัครมักให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนด้วยน้ำเสียงแข็งกร้าว ห้วน กระชับ ชัดเจน พูดเร็วหรือบางครั้งเรียกได้ว่า พูดรัว มักไม่มีหางเสียงคำว่าครับ บ่อยครั้งที่มักพูดด้วยน้ำเสียงกระแทกแดกดันในกรณีที่กล่าวกระทบกระเทียบบุคคลที่ 3 หรือนักข่าว
4 อารมณ์ พบว่า มักแสดงอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา เช่น หากไม่พอใจก็จะมีสีหน้าบึ้งตึง คิ้วขมวด โดยเฉพาะเมื่อวิพากษ์สื่อ หรือหากอารมณ์ดี ก็จะมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาด้วยน้ำเสียงที่อ่อนลงกว่าปกติ
6. เนื้อหาสาระจากรายการสนทนาประสาสมัคร
พบเนื้อหา 4 ประเด็นเนื้อหา คือ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และเนื้อหาด้านอื่นๆ ที่ส่วนมากเป็นการโต้ตอบ วิพากษ์กลับ แฝงเนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ที่ดี การดำเนินงาน และการแก้ไขปัญหาที่ราบรื่นในรัฐบาลของนายสมัคร ซึ่งถือได้ว่า เป็นการนำสื่อมาใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์และโฆษณาชวนเชื่อ
ทั้งนี้ รายการสนทนาประสาสมัครยังถูกใช้เป็นพื้นที่ทางเกมการเมือง เพื่อโต้ตอบกลับกับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับตน เช่น สื่อหนังสือพิมพ์-โทรทัศน์ นักการเมืองฝ่ายค้าน นักวิชาการ และกลุ่มพันธมิตประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
7. การใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ
พบว่า การใช้ภาษาของนายสมัครนั้น มักเป็นคำพูดที่ไม่มีความสุภาพ หยาบกระด้าง และไม่มีหางเสียงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้พบว่า ลักษณะคำพูดของนายสมัคร จะมีระดับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับอารมณ์ที่ไม่คงเส้นคงวา และโมโหฉุนเฉียวอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดความไม่พอใจในคำถามต่าง ๆ หรือเมื่อต้องการต่อว่า เหน็บแนบ และพาดพิงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เช่น
หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ชื่อครึ่งไทยครึ่งฝรั่ง เขียนบทความด่าผมหยาบคาย ต่ำช้า พูดจาน่าเกลียดน่าชัง พูดจาเหมือนกับตดออกมาจากตูดพูด
ต้องถามว่าอย่างนี้บ้าหรือเปล่า
ผมจะถามว่านี่บ้าอะไรกันขนาดนี้ครับ
เป็นสันดานโทรทัศน์ เลวทราม ต่ำช้า ให้มันรู้ไป ถ้าออกไปแล้วคนจะไม่เลือก นี่แหละผม รู้จักนิสัย นายสมัคร แท้ๆ จะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ดัดจริต พูดปากตรงกับใจ แล้วสื่อเป็นอย่างไร เป็นพ่อคนทั้งเมืองหรือไง
โธ่ไอ้บ้า คิดมาได้อย่างไร ตอนนี้สื่อก็มากล่าวหาผม ไอ้พวกสื่อสารมวลชนใจทรามต่ำช้า พวกมึงบ้าหรือเปล่าที่มากล่าวหาผม ว่าพูดคำว่าเสพเมถุน
รัฐธรรมนูญ เฮงซวย
ผมว่าใครแรง ๆ แสดงอาการไม่เข้าท่า ผมบอกไอ้นี่มันสมองเท่าหัวแม่เท้า
เมื่อคืนไปร่วมเมถุนกับใครหรือไม่
ถามทำหอกอะไร ?
8. วิวาทกรรมสมัครกับสื่อ
วาทกรรมของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ใช้กับสื่อ เพื่อสื่อความหมายไปยังผู้รับสาร คือ ประโยค ข้อความใดก็ตามที่จะทำให้ผู้รับสารเชื่อว่า สื่อมวลชนไทยไม่น่าเชื่อถือ มีปัญหา เป็นพวกตีรวนชวนทะเลาะ ไม่มีมาตรฐานการรายงานข่าว จ้องทำลายล้มรัฐบาล เกลียดตนเอง ไม่เป็นกลาง และจ้องแต่จะคิดขายข่าวจนไม่สนใจข้อเท็จจริง เต้าข่าวเขียนข่าวขึ้นมาเอง ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จแก่สาธารณะ และไม่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคม
ทั้งหมดคือ 'ความมุ่งหมาย' ของ 'วาทกรรม' ที่สมัครใช้ในการ 'วิวาทะ' กับสื่อ
ด้วยการใช้กลวิธีการสื่อสารที่ไม่ให้ความร่วมมือ การตอบคำถามเพื่อบ่ายเบี่ยง เลี่ยงประเด็น การใช้กลวิธีทางภาษาโต้ตอบกลับในลักษณะคำถามกลับ เช่น มีปัญหาอะไรกับเรื่องนี้ ถามหาอะไร มีใครตายจากเรื่องนี้ สติปัญญาสื่อมีแค่นี้ ซึ่งเป็นบทสนทนาที่ไม่สุภาพ เพื่อควบคุมเกมการสนทนา ทำให้เป็นการสื่อสารทางเดียวเพื่อที่ตนจะไม่ต้องให้ข้อมูล
หลังจากนั้นจึงใช้ภาษาเชิงโน้มน้าวใจว่า ตนถูกรังแก ถูกให้ร้าย และวาทกรรมที่นายสมัครสร้างและมักใช้มากที่สุดคือ คือขอเวลาให้ตนได้ทำงาน ขณะที่ก็ปิดท้ายว่ากล่าวตักเตือนคนที่มาวิพากษ์วิจารณ์ตนกลับว่าไม่มีจริยธรรม หยาบคาย และเป็นผู้ร้าย เช่น
สติปัญญานักข่าวมีคิดได้เท่านี้เหรอ มันน่าอายจริงๆ นะคิดได้ยังงี้เนี่ย
ผมรู้สึกว่าพวกคุณน่ะมีความคิดอ่านกันเพียงเท่านี้หรือ ระดับความคิดมีแค่นี้เท่านั้นใช่ไหม
กระทบกระแทกแดกดันพูดจาเสียดสีให้เสียให้หาย ทำไมคิดกันได้แค่นั้นเอง ความคิดมีอยู่ในระดับแค่นั้นเองหรือ
ผมก็ไม่ได้พูดจาอย่างนี้มานานแล้ว ก็ฟัง ก็อ่าน แล้วผมก็อมยิ้มว่าทำไมสติปัญญาในการแสดงความคิดเห็นมีได้เพียงแค่นี้ เอาผมถามจริงๆ ว่ามีได้เพียงแค่นี้หรือ"
ผลการศึกษาสรุปว่า นายสมัคร สุนทรเวช ขาดความเข้าใจเรื่องบทบาท สถานภาพ และหน้าที่ของตนและผู้อื่น เพราะนายสมัคร (ในฐานะผู้พูด) มีกลวิธีการสื่อสารความที่ไม่เป็นมิตรกับสื่อ และไม่สร้างเสริมประโยชน์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะข้อความที่สื่อได้จากการทำข่าวนั้นไม่สามารถสร้างผลประโยชน์ได้ ไม่นำไปสู่กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตรวจสอบรัฐบาลได้ ไม่ว่าจะเป็น
(1) แง่มุมของการให้ความร่วมมือ (none cooperate in conversation/inetview) ทั้งจากการไม่ตอบคำถาม การบ่ายเบี่ยงเลี่ยงประเด็น การให้เหตุผลแก้ตัว การปฏิเสธความผิด การฟ้องร้องและกล่าวโทษผู้อื่น การย้อมคำถามกลับไปยังตัวผู้ถาม การควบคุมบทสนทนาและการสื่อสารให้เป็นไปในทางเดียว
(2) การให้ความคิดเห็น ความรู้สึกมิใช่ข้อเท็จจริง (fact) ทั้งจากคุณภาพของข้อมูลที่เป็นเท็จ ไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงแต่เน้นให้ความคิดเห็นส่วนตัว การแสดงอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวเช่นหงุดหงิด โกรธ และใช้กระบวนการตีรวนชวนทะเลาะมาบังหน้าการสนทนาเพื่อปกปิดข้อมูล-คำตอบ ซึ่งบางครั้งก็ใช้วิธีการการปฏิเสธว่าตนไม่สามารถให้ข้อมูลได้ การอ้างว่าคำถามของนักข่าวมิสามารถจะถามได้และเป็นการไม่สมควรถาม
(3) การให้ข้อมูลที่จำเป็น ถูกต้อง ครบถ้วน (accuracy) ทั้งจากการให้ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์และตรงกับคำถาม ให้ข้อมูลเพียงบางส่วนหรือเพียงครึ่งเดียว การปกปิด เบี่ยงประเด็น การยกตัวอย่างเปรียบเทียบที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่จำเป็นกับคำตอบ การให้ข้อมูลมากเกินความจำเป็น
(4) การใช้ภาษาที่ไม่เป็นมิตร ขาดความสุภาพและขาดน่าเชื่อถือ (Aggressive, Impolite and incredibility) ทั้งจากภาษาพูด และอวัจนะภาษาที่แสดงออกถึงความก้าวร้าว รุนแรง ดุเดือด การใช้คำพูด เสียดสี ประชดประชัน สำนวนโวหารเหน็บแนม การใช้จากจังหวะคำพูดที่สะท้อนให้เห็นความต้องการปกปิด เบี่ยงเบนข้อเท็จจริง การให้ข้อมูลด้านเดียว
(5) การสื่อสารเพื่อเล่นเกมทางการเมือง ทั้งจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์รัฐบาล การปกป้องและแก้ต่างรัฐมนตรี การโน้มน้าวใจผู้ฟังให้เชื่อ การกล่าวโจมตีกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งไม่ได้ส่งผลประโยชน์โดยตรงไปยังการดำเนินงานกิจการการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง ขาดเนื้อหาการดำเนินงานของรัฐตามนโยบายที่ประกาศหาเสียง (politics game not public interest)
(6) ความไม่เข้าใจในสถานภาพและบทบาทของตนในกระบวนการสื่อสารทางการเมือง ไม่สอดคล้อง-ส่งเสริมต่อการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งจากพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่ให้ความร่วมมือกับสื่อมวลชนในการรายงานข่าว ไม่ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ ไม่นำเอาคำวิจารณ์มาปรับปรุงแก้ไข ไม่เข้าใจธรรมชาติของสื่อ แทรกแซงสื่อด้วยการไม่ให้ความร่วมมือกับสื่อในการให้ข้อมูล ปกปิด เบี่ยงเบน เลี่ยงประเด็น มีพฤติกรรมคุกคามสื่อในลักษณะขู่ ท้าทายไปยังตัวบุคคลและสื่อหลายองค์กรว่าจะเอาเรื่อง เป็นพฤติกรรมคุกคามสื่อ ส่งผลต่อคุณภาพข้อมูลข่าวสารและความต้องการรู้ของประชาชน เท่ากับเป็นการแทรกแซงสื่อโดยอ้อม
และด้วยรูปแบบ พฤติกรรมการสื่อสารของนายสมัคร สุนทรเวช แสดงออกถึงความเพิกเฉย ไม่สนใจ มองไม่เห็นคุณค่าของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย ด้วยการไม่เคารพศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของสื่อ ( ขอบคุณมติชน )
ผมแทบจะไม่ต้องคอมเม้นท์อะไรเพิ่มเติม
รู้แต่ว่า เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ จากกลุ่มมอนิเตอร์สื่อ จัดเรตติ้งให้รายการสนทนาประสาสมัคร
ว่าควรติด ฉ.ฉิ่ง คือ ฉุกเฉิน หรือ รายการเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น ถือซะว่านี่เป็นอีกบันทึกหนึ่งซึ่งไม่ค่อยแปลกใจอะไร เพราะรู้กันอยู่ว่าทัศนคติ วิถีพูดจาของนายสมัครเป็นแบบไหน
แบบว่า...ไม้แก่ ดัดยากอะครับ....อย่าไปหวังให้เค้าเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
แคน ไทเมือง http://www.oknation.net/blog/canthai/2008/05/03/entry-1
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Aha555
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: 03-05-2008, 21:50 » |
|
|
|
|
|
nominee
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: 03-05-2008, 22:23 » |
|
ขอบคุณครับ ตั้งใจอ่านจนจบ เพราะนึกว่าตอนท้ายจะมีข้อเสนอว่า สื่อจะดำเนินการเพื่อรับมืออย่างไรต่อไป  ถ้าไม่มีคนไปสัมภาษณ์ซักเดือนนึง นักการเมืองจะเป็นจะตายไหม จะมีใครตายไหมที่ทำเนียบ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: 03-05-2008, 23:28 » |
|
เป็นรายงาน "ผลการศึกษา" 146 หน้า
คงไม่กล้าเสนออะไรมั๊งครับ
แก่ขนาดนั้น ไม่กลัวใครแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
RiDKuN
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: 04-05-2008, 00:18 » |
|
มีสรุปตอนท้ายด้วยหรือเปล่าครับ ว่านายสมัครไม่เคยตอบอย่างอื่นเลยนอกจากคำตอบไร้แก่นสารที่ประมวลมาทั้งหมดในผลการศึกษาฉบับนี้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
|
|
|
jrr.
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: 04-05-2008, 00:27 » |
|
ค่อยยังชั่วหน่อย....หัดออกมาตอบโต้ให้มันเป็นเรื่องเป็นราวบ้าง ......................แม้จะช้าไปหน่อยแต่ก็ยังดี
มีปากก็หัดเถียงมันไปบ้าง...ไม่ใช่เอาแต่ยื่นไมค์จ่อปาก แล้วก็เอาข่าวมาขายอย่างเดียว ไปยกระดับให้นักการเมืองมันสูงส่งเกินความเป็นจริง...ท่านอย่างโน้น ท่านอย่างนี้...มันทั้งนั้นแหละ !!! .....................จนลืมไปเลยว่า ตัวเองก็มีศักดิ์ศรี ปล่อยให้มันสำรอกใส่อยู่ได้เป็นสิบๆปี รุ่นแล้วรุ่นเล่า
ที่ว่านี่ ก็หมายถึงนักการเมืองทุกพรรคนั่นแหละ คนธรรมดาทั้งนั้น อบ่าไปยกย่องเกินเหตุ .....................จนตัวมันเองพลอยเคลิ้มไปจริงๆว่า มันใหญ่จริง แล้วจะไปโทษใครล่ะ
ลองลบภาพนักการเมืองผูกไทค์ใส่สูทออก....แล้วนึกภาพว่ามันนุ่งผ้าขะม้าผืนเดียวดูดิ
.....................มันจะสง่าน่าเกรงขาม..ตรงไหน ???
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
justy
|
 |
« ตอบ #6 เมื่อ: 04-05-2008, 01:46 » |
|
ขอบคุณครับ ตั้งใจอ่านจนจบ เพราะนึกว่าตอนท้ายจะมีข้อเสนอว่า สื่อจะดำเนินการเพื่อรับมืออย่างไรต่อไป  ถ้าไม่มีคนไปสัมภาษณ์ซักเดือนนึง นักการเมืองจะเป็นจะตายไหม จะมีใครตายไหมที่ทำเนียบ" สื่อก็กลัวไม่มีของจะขายเหมือนกันค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
พรรคไทยรักไทยมิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง ควรต้องสร้างความยั่งยืนให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมั่นคงกับหลักการที่ว่า กฎหมายต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ด้วยว่า พรรคไทยรักไทย มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ นอกเหนือจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อ
|
|
|
รวงข้าวล้อลม
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: 04-05-2008, 11:03 » |
|
เนื้อในของคนเปลี่ยนยาก ...กว่าจะเป็นเนื้อในของคนแต่ละคน มันมาจากหลายส่วนผสมกัน
ยีนส์บรรพบุรุษ ยีนส์พ่อแม่ .ธาตุเนื้อแท้ของคนที่ธรรมชาติให้มา การอบรมเลี้ยงดูไม่ว่าในครอบครัว
สถาบันการศึกษา และสถาบันรอบข้าง สังคม สิ่งแวดล้อม เพาะบ่มคนๆนั้น ...ตั้งแต่อ้อนแต่ออด จนอายุ 60 - 70 ....มันบ่มจนสุกงอมขนาดไหน ....
ภาพลักษณ์ภายนอกที่เสริมแต่งให้ดูดี ย่อมเป็นได้แค่ชั่วคราว ...แต่สิ่งเนื้อในที่อยู่ซ่อนลึก มักจะโผล่มาได้เสมอ เมื่อยามเผลอ....
โทษใครไม่ได้หรอก ......ต้องโทษมวลรวม ทั้งหมดที่ประกอบคนๆนั้นขึ้นมา
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-05-2008, 11:11 โดย รวงข้าวล้อลม »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Aha555
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: 04-05-2008, 11:08 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-05-2008, 11:11 โดย Aha555 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คนบ้า
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: 04-05-2008, 11:40 » |
|
ช่างมานเหอะ คนหอกพรรค์นั้นไม่รู้ผมจะพูดทำหอกทำไมว่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
อั้นอยู่นั่นแหละ อักเสบหมดแล้ว ไม่ได้เรื่อง
|
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: 04-05-2008, 21:00 » |
|
วันอาทิตย์ ที่ 4 พฤษภาคม 2551 ขึ้นราคาหาหอกอะไรครับตอนนี้...หรือจะให้มันบรรลัยวายวอดกันไปข้าง Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 7 , 21:20:48 น.
งานวิจัยวันเสรีภาพสื่อ '(วิ)วาทกรรมสมัครกับสื่อ' บอกว่า
กลยุทธ์การสื่อสารที่นายสมัครใช้ คือ ทำให้การสื่อสารสองทางเป็นการสื่อสารทางเดียว การใช้ภาษาข่มขู่ รุนแรง ดุเดือด การเลี่ยง/เบี่ยงเบน/บิดเบือน/ทำให้หลงประเด็น การพูดความจริงบางส่วน หรือ พูดความไม่จริงบ่อยๆ การทำให้ชอบธรรมกลายเป็นความไม่ชอบธรรม การลดทอนน้ำหนักของประเด็นคำถาม การสร้างเรื่องใหม่ขึ้นมากลบเกลื่อนประเด็นสำคัญด้วยการใช้เทคนิคการสร้างบท(วิ)วาทกรรมกับสื่อมวลชน
ประเด็นการตอบคำถาม
นายสมัคร สุนทรเวช มักตอบคำถามของผู้สื่อข่าวด้วยการให้คำตอบใน 2 ลักษณะที่ชัดเจน คือ
1) ตอบคำถามไม่ตรงประเด็น และ 2) ตอบคำถามที่ไม่ใช่คำตอบ
คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ตั้งข้อสังเกตว่า นายสมัครอาจจะเป็นโรคเบาหวาน เพราะขึ้นราคาน้ำตาลหลังฤดูหีบอ้อยในช่วงเวลานี้
อ้อยที่เป็นผลประโยชน์ของเกษตรกรได้ตกถึงมือโรงงานน้ำตาลหมดสิ้นแล้ว
นั่นหมายความว่า การขึ้นราคา เกือบ 20 % ผลประโยชน์มิได้ตกถึงมือเกษตรกรแต่อย่างใด
เพราะกว่าจะถึงฤดูหีบอ้อย ซื้อขายอ้อยจากเกษตรกรอีกครั้ง ก็ต้องถึงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
ดังนั้นผู้ที่รับประโยชน์จาก ราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นคือผลพวงที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้ประโยชน์โรงงานน้ำตาลรับไป"เนื้อๆ"
การตั้งข้อสังเกตของผู้คนในสังคมจึงชอบด้วยเหตุผลด้วยประการทั้งปวง เพราะในห้วงข้าวยากหมากแพงเช่นในปัจจบัน อะไรที่เป็นผลกระทบต่อประชาชน "รัฐบาลที่ดี" ควรเลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เป็นการกระหน่ำซ้ำเติมประชาชน...ใช่หรือไม่
มีคนบอกว่า นายกรวยขึ้น 500 ล้านจากการขึ้นราคาน้ำตาล แทนที่จะแก้ข้อกล่าวหาตรงๆ
หรือให้มีการตรวจสอบตามกระบวนการ ตามรัฐธรรมนูญ
แต่นายสมัครกลับสาบานว่า หากมีผลประโยชน์ขอให้ "บรรลัยวายวอด"
หากนักข่าวเขียนไม่จริง ก็ให้ "บรรลัยวายวอด" เช่นกัน
นี่หรือคือการ "แก้ตัว" ที่ควรจะเป็น
หากการตรวจสอบสมัยดาวเทียมยังมีเรื่องสาบานเป็นหลักแบบนี้
ก็ต้องยกเลิกศาล ยกเลิก ปปช. ยกเลิก สตง. กันไปเลยดีมั๊ย
ใช้วิธีสาบานอย่างเดียวกันไปเลย ขอพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันไปเลยดีมั๊ย
เออ...นายสมัครยังบอกว่ากว่าจะถึงเดือนพฤศจิกายน อาจไม่ได้เป็นรัฐบาล...แน๊ะ...รู้อนาคตซะอีก
ไหนๆ ก็ไหน ๆ...ขึ้นมันซะตอนที่กำลังมีอำนาจนี่แหละ...ง่ายดีเน๊าะ
แหม...ถ้าไม่ขึ้นราคาน้ำตาลในช่วงนี้
มันจะตายกันทั้งครม. หรือยังไง...
ถามจริงๆเถอะ...ขึ้นราคาน้ำตาลหาหอกอะไรกันตอนนี้ หรือกำลังจะเป็นโรค "เบาหวาน"
ประชาชนแบกรับภาวะข้างแพงค่าแรงถูกกันมานาน
หรือจะให้มันบรรลัยวายวอดกันไปข้างระหว่างประชาชนและรัฐบาล
เอางั้นเลยมั๊ย....จอมสาบาน
แคน ไทเมืองhttp://www.oknation.net/blog/canthai/2008/05/04/entry-1
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-05-2008, 21:39 โดย CanCan »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ชัย คุรุ เทวา โอม
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: 04-05-2008, 21:03 » |
|
* เวลาอยู่ในสภาถ้ามีอภิปรายอะไร..... ลุงหมัก ก็เหมือนนักโต้วาที ที่พูดเอามันส์อย่างเดียว
ส่วนเวลาให้สัมภาษณ์ .... ก็เป็น นายก ที่ปากตลาดที่สุดเท่าที่เคยมีมา ( ปากนำหน้า แม้ว นิดนึง )
ถ้าเราจะดู แก๊งค์ลูกกรอก ...... พ่นน้ำลายไปวัน ๆ รับรองไม่ผิดหวังสำหรับเรื่องนี้
แต่ถ้าอยากเห็นผลงาน ..... คงต้องนั่งทบทวนสัก 3 วัน เผื่อนึกออกว่ามีอะไรที่ทำแล้วดีขึ้นมั่ง
ปล. ดูเหมือนว่าวันนี้ ลุงหมัก จะเปรย ๆ ในรายการแกว่า อยากทำรายการเกี่ยวกะ > สนทนาเรื่องภาษาไทย <
คือ แกอยากสอนวิธีใช้ อักขร ฉันทลักษณ์ของภาษาที่ถูกต้องแก่เยาวชน
ไม่รู้แกจะทำจริงหรือเปล่า ..... สงสารเด็กจัง !!!
ฝากถามแกด้วยว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในไทยอยู่ที่ไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..." คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน (How the Steel Was Tempered) นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933 ******************************* เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ http://www.oknation.net/blog/amalit1990
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #14 เมื่อ: 06-05-2008, 05:23 » |
|
วิวาทะกรรม'สมัคร'(4):การใช้ภาษาของนักการเมือง พูดเสียดสี-วกวน-ตลก-เลี่ยงประเด็น มติชน วันที่ 05 พฤษภาคม 2551 - เวลา 23:53:27 น. '(วิ)วาทกรรมนายกฯสมัครกับสื่อ' ตอนที่ 4 วิธีในการใช้ภาษาของนายสมัคร เช่น การพูดเสียดสี การพูดอุปลักษณ์การพูดอ้อมค้อมวกวน การพูดให้เป็นเรื่องตลก การพูดเลี่ยงประเด็น
หมายเหตุ 'มติชนออนไลน์'- รายงานผลการศึกษาเรื่อง '(วิ)วาทกรรมนายกฯสมัครกับสื่อ' ความยาว 146 หน้าที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยนำมาเผยแพร่ในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมาชี้ให้เห็นกลวิธีต่างๆของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีใช้ในการหลีกเลี่ยงการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว เช่น การบิดเบือนประเด็น การโจมตีคำถาม การโจมตีผู้สัมภาษณ์ การใช้วาจาหยาบคาย การใช้ภาษาท่าทาง การใช้ภาษาข่มขู่รุนแรง
กลวิธีต่างๆเหล่านี้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรม-แบบแผนและกลวิธีการสื่อสารของนายสมัคร ได้เป็นอย่างดี
ที่ผ่านมา'มติชนออนไลน์'นำบทคัดย่อของรายงานผลการศึกษาซึ่งทำให้เห็นภาพรวมพฤติกรรมของนายสมัคร และผลการศึกษา ประเด็นแรก คือกลยุทธการตอบคำถาม
จากนี้ไป'มติชนออนไลน์' จะนำเสนอผลศึกษาที่เหลือ ประกอบด้วย 2.กลวิธีการตอบคำถาม 3.การใช้ภาษาของนักการเมือง 4.การความร่วมมือในการสนทนา 5.การใช้อวัจนะภาษา 6.เนื้อหาสาระจากรายการสนทนาประสาสมัคร 7.การใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ 8.วิวาทกรรมสมัครกับสื่อ
3. การใช้ภาษาของนักการเมือง
โดยกรอบการวิเคราะห์ของโอเบง (Obeng) พบลักษณะภาษาที่นักการเมืองส่วนใหญ่นิยมใช้ ได้แก่ การพูดเสียดสี การพูดอุปลักษณ์ การพูดอ้อมค้อมวกวน การพูดให้เป็นเรื่องตลก และการพูดเลี่ยงประเด็น ซึ่งนายสมัครก็มักใช้ลักษณะภาษาเหล่านี้ในการพูดและตอบคำถามสื่อมวลชนเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจน ดังนี้
3.1 การพูดเสียดสี
จากการศึกษาพบว่า นายสมัครมักพูดเสียดสี โดยพาดพิง เปรียบเปรยว่ากระทบกระทั่ง และเหน็บแนมฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ที่มีแนวคิด รวมไปถึงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ที่มีแตกต่างไปจากตนเองอย่างสม่ำเสมอ และถือเป็นกลวิธีที่นายสมัครใช้มากที่สุด ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 แล้วเราจะตกลงกันได้ไหมครับว่าสื่อสารมวลชนต่อไปนี้ รัฐบาลจะปรับขึ้นเงินเดือน ไม่เป็นข่าว จะมีใครตายไหมที่โรงพิมพ์ คือไม่เสนอข่าวว่าจะขึ้นเงินเดือน คือมาช่วยกัน ช่วยสังคมไทย ถ้าไม่ได้พาดหัวว่าขึ้นเงินเดือน แล้วจะเป็นอย่างไรไหม รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2551
ตัวอย่างที่ 2 นี่หรือครับสื่อสารมวลชน พอเริ่มคิดให้ฟังเท่านั้น บอกกำหนดเลยว่าวันนี้เสร็จ ๆ มีรัฐบาลไหนทำล่ะครับ แสดงความคิดปั๊บให้ประกาศเลยวันนี้เสร็จ วันนี้เสร็จถึงจะเก่งจริง ผมไม่เก่งละครับ แต่ด่าผมหยาบคายเสียหาย ที่ด่ามานั้นน่าอายสำหรับวงการสื่อสารมวลชนทั้งหมด ว่านี่หรือสื่อสารมวลชน สติปัญญาเพียงเท่านี้หรือ ด่าเขาโดยยังไม่มีเหตุผล ด่าตั้งแต่ยังไม่ทำงาน ผมก็ทีละนิดละหน่อยต้องบอกให้ฟัง คนที่ทำอะไรไม่ดีจะได้รู้สึกบ้าง จะได้ไม่ทำอะไรตามใจชอบ ผู้อ่านเขาก็ซื้ออ่าน แต่อายคนอ่านเขาบ้าง ด่าเขาโดยไม่มีเหตุผล หยิบยกอะไรมาไม่เข้าท่า ถนัดติเรือทั้งโกลนก็นึกถึงสุภาษิตคนโบราณเขาบ้าง ยังไม่ทันจะเสนอความคิดเท่านั้น ฉับ ๆ ๆ ดูหมิ่นดูแคลนอะไรต่ออะไร เยาะเย้ยถากถางกันแล้ว ทำไมละครับ ทำไมบ้านเมืองเราถึงเป็นอย่างนี้ รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2551
ตัวอย่างที่ 3 ผมคิดอย่างคนไทยธรรมดา และอย่าให้มากเรื่อง บอกว่าจะทำได้ไหม บอกว่าน่าจะทำได้ เท่านั้นแหละครับ เป็นข่าวกัน จะเป็นจะตาย แบ่งฝ่ายรบกันเองทันที คนนั้นเอา คนนี้ไม่เอา คนนั้นสนับสนุน ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ก็ไม่ทราบบ้านเมืองของเรา อะไรก็ไม่ได้ นิดหนึ่งก็ไม่ได้ หน่อยก็ไม่ได้ แต่เวลาด่ากัน ว่ากล่าวกัน ว่ากันโครม ๆ ไม่คิดเลย ผมเชื่อว่าคนรายงานข่าวก็ไม่คิด คนที่มาบอกว่าให้รัฐบาลนี้ระวังอย่าลำพอง อย่าเหลิงอำนาจ อย่าไปแทรกแซงตุลาการ ขอย้ำนะครับ คนที่พูดนั้นคิดหน่อยสิครับ รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2551
ตัวอย่างที่ 4 ตอบคำถามต้องระมัดระวังนะต่อไปนี้ เพราะว่าพูดผิดเดี๋ยวเกิดเรื่องอีก มานั่งจ้องกันไม่ทำอะไรหรอกครับ ดูสิว่าจะพลาดพลั้งตรงไหน รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2551
ตัวอย่างที่ 5 ผมบอกให้ฟังว่าเป็นนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเขา สมัยก่อนผมมาเป็นผู้ว่าฯ เขาที่นั่นบอกว่าเขาหยุดวันพุธ เขาขายหยุดวันพุธ ผมบอกว่าเลือกผม ผมไม่ค่อยหยุด ผมเลือกวันพุธ ผมมาอยู่ 4 ปีเขาขายกันตลอด 24 ชั่วโมง เพราะกินทุกวันนี่ครับ นี่มาหยุดวันจันทร์ ผมก็ถามว่าช่วยสังเกตหน่อยสิว่าวันจันทร์ผู้ว่าฯ เขาไม่กินข้าวหรืออย่างไร ค้าขาย อะไรกันนักหนา บอกว่าจะล้างถนน ก็ล้างบางถนนล้างให้เห็นหน้า ความจริง 90 เปอร์เซ็นต์ไม่ล้างหรอกครับ จะหยุดเพราะนโยบาย ผมถามครับว่าถ้าขายวันจันทร์จะมีใครตายไหม นี่สำนวนสมัคร ถามเลยว่าถ้าขายวันจันทร์จะมีใครตายไหม รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม
ตัวอย่างที่ 6 แต่มีหลายคนเป็นศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บอกเพียงแต่คิดก็โง่แล้ว แล้วจะทำอย่างไรครับ ให้มันแล้งต่อไปอย่างนั้นหรือ พวกคนไม่มีความคิดนี่ละครับ ชอบมาเสนอความเห็นชนิดที่ว่านึกว่าตัวเองแน่ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ก็เป็นไปเถอะครับ แต่มาเสนอความคิดแบบว่าเพียงแต่คิดจะเอาน้ำมาให้เราก็โง่แล้ว มันแย่จริง ๆ ผมยืนยันลงในหนังสือพิมพ์ ฉบับไหนที่ลงโฆษณาให้เขาลองไปอ่านดูด้วยครับ ลงบทความให้เขา ลงท้ายเลยบอกว่า เรื่องการผันน้ำอย่างที่นายสมัครคิด เพียงแต่คิดก็โง่แล้ว จะดูสิครับว่าใครโง่ใครฉลาดกันแน่ รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2551
ตัวอย่างที่ 7 มีคนคิดว่าอยากจะให้มีปฏิวัติ พูดแค่นั้นเอง ดูนี่ สมัครปูดขบวนการจ้องปฏิวัติ มีชาร์ตรายชื่อครบ... ดูคนนี้ สมัครปูดกลุ่มล้มรัฐบาลไม่เลิก คิดปฏิวัติอีก จ้องป่วน ล่อกองทัพออกมา... นี่ผมพูดหรือครับ ผมพูดชัดเจนว่าไม่เกี่ยวกับทหาร ก็ยังจะบอกอย่างนั้น ดูคำนี้สิครับ หมักจุดไฟปฏิวัติ ! ... นี่หนังสือพิมพ์ไทยนะครับ ชื่อไทยโพสต์ ต้องถามว่าอย่างนี้บ้าหรือเปล่า มาถามข่าวแล้วบอกว่ายังมีคนคิดกันอยู่ ไม่ใช่ทหาร เท่านั้นไม่ได้หรือ ดูอันนี้ ธุรกิจช็อกปูดปฏิวัติ... ผมจะถามว่านี่บ้าอะไรกันขนาดนี้ครับ นี่วงการสื่อสารมวลชนนะครับทำกันอย่างนี้ นี่มาเมื่อเช้าทันสมัยนะครับ จี้หมักล่าไอ้โม่งล้มรัฐบาลจับเท็จปฏิวัติ ปชป.ฮึ่มอย่าทำเฉยผิดรัฐธรรมนูญ เห็นไหมครับ ดูครับ ไทยโพสต์มาอีกวันนี้เช้า หมักเลี้ยงแกะปฏิวัติ ลุ้นออกทีวีตีหน้าเศร้าเล่าความทุกข์ วันนี้หน้าเศร้าหรือครับ เล่าความทุกข์เป็นเรื่องที่ผมจะคุยตอนท้าย ว่าทุกข์ของนายกรัฐมนตรีหน้าใหม่ ยังไม่ทันได้เล่าเลยครับ นี่มาแล้ว ลุ้นออกทีวีตีหน้าเศร้าเล่าความทุกข์ จับตาทักษิณนายกฯ ตัวจริงมาแล้ว เป็นทำนองสถานการณ์อย่างนี้นายกทักษิณต้องกระโดดเข้ามาด้วย นี่บ้าอะไรกันอย่างนี้ครับ รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2551
ตัวอย่างที่ 8 เอากันแล้วหรือครับนี่ น่าเสียดายจริง ๆ ครับ คนดีมีสติปัญญาไม่พูดจาอะไรดูให้ผมทำงานสักพัก ถ้าทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงอะไรอย่างไรก็ยังไม่ว่า นี่ยังไม่ได้ทันทำอะไรเลยครับ มาคุย ผมต้องตำหนิคนทางสื่อสารมวลชน ต้องไปหมั่นสัมมนากันหน่อยครับ เอากันแบบนี้ละครับ มาถามว่าได้เห็นว่ามีคนแจกใบปลิว มีอะไรอย่างไร บอกผมไม่ได้รับใบปลิว แล้วคุยอย่างนี้พูดชัดเจนว่าไม่ใช่ทหาร รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2551
ตัวอย่างที่ 9 เอาเก่งจริงลองช่วยทายสิครับว่า วันอาทิตย์หน้าผมจะมาออกอากาศได้หรือเปล่า ลองทายดูสิครับ เอาให้ถึงสิ้นเดือนนี้ ถ้าผมอยู่เกินว่าอย่างไร อยู่เกินหมอไปแขวนคอตายไหม ถ้าทำไม่ได้ ทำนายทำไมครับ เกินเหตุ เกินหน้าที่ของหมอ บอกไว้รู้ไว้เท่านั้นแหละครับ รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2551
ตัวอย่างที่ 10. การพูดเสียดสีผู้ให้สัมภาษณ์ หมัก ฉุนถูกถามเรื่อง 6 ตุลา 19 โลกวันนี้ กุมภาพันธ์ 2551
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวถึงกรณีที่ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นถึงยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่บอกว่ามีเพียง 1 คน ว่า คุณจะเอาเรื่องนี้อีกแล้วหรือ ลองไปนับดูว่าผ่านมา 31 ปีแล้ว แล้วคุณกี่ขวบ ผมไม่อยากพูด เพราะพูดทีไรก็ทะเลาะ มีเรื่องกันทุกครั้ง อย่างวันก่อนผู้สื่อข่าวจากสถานีโทรทัศน์อัลจาซีรามาสัมภาษณ์ผม แต่กลับมาตั้งข้อหาให้ผม เลยพูดจาไม่ดี เพราะตอนนั้นเขายังไม่เกิด แต่มากล่าวหาผม เพราะฉะนั้นผมก็พูดตามที่ผมรู้ ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาใครเขียนผมไม่รู้ แต่ผมพูดในสิ่งที่ผมรู้ เพราะผมยังมีชีวิตอยู่ ผู้เกี่ยวข้องก็ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าผมเป็นคนเลวคงมาไม่ได้ไกลขนาดนี้ ถ้าผมมีส่วนเกี่ยวข้องคงไม่ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน้ามาถึงป่านนี้
ตัวอย่างที่ 2 สะท้อนการใช้ภาษาในลักษณะเสียดสี แดกดันผู้สัมภาษณ์ที่ถามย้ำกรณีนายสมัครให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ กรณีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ขณะเดียวกันก็กล่าวให้ตนเองดูดีขึ้นด้วย
ตัวอย่างที่ 11
ถัดไปผมจะเล่าให้ฟังเรื่องที่ยังไม่ลงรายละเอียด ผมเลี้ยงข้าวนักข่าวที่บ้าน บอกคุยได้ทุกอย่างยกเว้นเรื่องคณะรัฐมนตรี เขาก็ถาม ผมก็คุยเรื่องที่อยากจะได้คุย คือต่อไปนี้ไม่ได้คุยแบบที่หาเสียงไว้ ไม่ต้องคุยแล้ว เพราะตอนหาเสียงผมคุยเรื่องอื่น ไม่ใช่นโยบายไม่ใช่วิธีการ ถึงคราวนี้ผมมีหน้าที่แล้ว ผมต้องคุยเรื่องที่จะคิดจะทำ คุยให้เขาฟังเรื่องระบบขนส่งมวลชน ผมจะทำรายละเอียดเรื่องนี้ รายการพิเศษเลย เฉพาะ เปิดมาก็คุยเรื่องนี้เลย ผมจัดรายการเรื่องนี้ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ซอยสุขุมวิท 24 สถานที่นี้ดี คนไปฟังพอสมควร แต่เชื่อไหมครับ พูดเสร็จ อธิบายความเสร็จ ไม่มีสิ่งที่ผมพูดในหนังสือพิมพ์ ในรายงานทุกชนิด กลัวจะได้ประโยชน์ทางการเมือง กลัวว่าการรายงานความคิดเห็นของผมจะเป็นประโยชน์ในทางการเมือง ก็ท้าบอกให้ไปคุยด้วย พอผมคุยซีกเดียวของผม ไม่รายงาน ผมจะทำเรื่องนี้อีกทีหนึ่ง รายการสนทนาประสาสมัคร วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551
ตัวอย่างข้างต้นสะท้อนการแดกดันสื่อมวลชนโดยไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ในกรณีที่สื่อไม่เสนอข่าวเกี่ยวกับนโยบายเรื่องระบบขนส่งมวลชนตามที่นายสมัครตั้งใจนำเสนอ และยังเป็นการตำหนิสื่อในทางอ้อมด้วย
ตัวอย่างที่ 12 ขอร้องสื่อไม่ควรเสนอข่าวขึ้นเงินเดือน แล้วเราจะตกลงกันได้ไหมครับว่าสื่อสารมวลชนต่อไปนี้ รัฐบาลจะปรับขึ้นเงินเดือน ไม่เป็นข่าว จะมีใครตายไหมที่โรงพิมพ์ คือไม่เสนอข่าวว่าจะขึ้นเงินเดือน คือมาช่วยกันช่วยสังคมไทย ถ้าไม่ได้พาดหัวว่าขึ้นเงินเดือนแล้วจะเป็นอย่างไรไหม ขอประทานโทษเมื่อสักครู่นี้ วันนี้จะต้องถูกคนด่าอีก ไปถามว่าถ้าไม่ได้พาดหัวเงินเดือนขึ้นจะมีใครโรงพิมพ์ตายไหม ขอถอนครับเมื่อสักครู่นี้ เดี๋ยวก็ว่าอีก นี่เป็นแบบของผม ที่ว่าอดไม่ได้ต้องพูดกระแทกแดกดันไปอย่างนี้ รายการสนทนาประสาสมัคร วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2551
ตัวอย่างข้างต้น สะท้อนลีลาการใช้ภาษาในลักษณะกระทบกระเทียบ แดกดันสื่ออย่างรุนแรง แม้ภาษาที่ใช้จะไม่มีคำหยาบคายเลย แต่คำพูดก็สะท้อนว่า นายสมัคร มีท่าทีก้าวร้าวต่อสื่ออย่างชัดเจน
ส่วนคำพูดหลบเลี่ยง มักพบในลักษณะเริ่มตอบแต่ไม่ได้ตอบให้ชัดเจน หรือไม่ก็ตอบในบริบทเดียวกัน แต่ไม่ใช่คำตอบที่ตรงประเด็น เช่น กรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช ชี้แจงในรายการสนทนาประสาสมัคร เกี่ยวกับกระแสสังคมที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ และเตือนรัฐบาลเรื่องการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกับพวก
ตัวอย่างที่ 13 การพูดหลบเลี่ยง "สุธรรม"สะเทือนใจ ผู้นำพูดไม่รับผิดชอบ เว็บไซต์มติชน 23 กุมภาพันธ์ 2551
เมื่อปี 2520 นายกรัฐมนตรีเคยบอกว่ามีผู้เสียชีวิต 48 กว่าคน
เวลานี้มัน 31 ปีแล้ว ผมจำไม่ได้ว่าผมพูดอะไรอย่างนั้น ทำไมพูดอย่างนั้นผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน คือถ้าผมพูดเรื่องนั้นจริง ผมคงไม่พูดอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่ทราบ
ตัวอย่างข้างต้นสะท้อนวิธีการตอบคำถามแบบหลบเลี่ยงของนายสมัคร สุนทรเวช ด้วยการไม่ตอบรับหรือปฏิเสธว่า ตนได้พูดว่า เมื่อปี 2520 มีผู้เสียชีวิต 48 กว่าคน จริง โดยใช้วิธีการสมมติว่า หากตนพูดจริง ก็คงไม่พูดถ้อยคำดังกล่าว และลงเอยด้วยการตอบว่าไม่ทราบในที่สุด
3.2 การพูดอุปลักษณ์
ตัวอย่างที่ 1 ประเทศอเมริกาไม่ล่มสลายเพราะไม่เสนอข่าวเงินเดือนขึ้น ไม่ล่มสลาย เพราะไม่จำเป็นต้องเสนอข่าวเงินเดือนขึ้น 3 หน ทำไมประเทศอเมริกาไม่ล่มสลายที่ว่าเงินเดือนเป็นความลับของแต่ละคน ประเทศอเมริกานั้นสิทธิเสรีภาพอยู่เหนือสิ่งอื่นใดเลย ใครได้เท่าไร ใครไม่ได้เท่าไร คุณไม่ต้องถามคนอื่น คุณเอา Paycheck มาเปิดไม่ได้เลยว่าใครเขาได้เท่าไร ใครมาอ้างเท่าไร เราจะมีธรรมเนียมนี้ไหม ว่าต่อไปนี้เงินเดือนนั้นเป็นความลับ ไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2551
ตัวอย่างดังกล่าวสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นายสมัครได้ใช้วิธีการเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยและสื่อมวลชนของสหรัฐอเมริกา ด้วยการอุปลักษณ์แทนการพูดอย่างตรงไปตรงมา เพื่อตำหนิการทำหน้าที่รายงานข่าวสารของสื่อมวลชนไทย เนื่องจากการเสนอข่าวการปรับขึ้นเงินเดือนในภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศต่อสาธารณชน จะส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
ตัวอย่างที่ 2 ผมเหมือนเรือน้อยล่องลอยอยู่เวลานี้ ต้องต่อสู้แรงลมประสมคลื่น ต้องทนทานหวานสู้อมขมสู้กลืน นี่เขาแดกดันกันทุกวันทุกฉบับ ทุกคอลัมน์ ต้องทนทานหวานสู้อมขมสู้กลืนครับ ต้องจำฝืนสู้ภัยไปทุกวัน เพราะว่าไม่รู้ว่าพรรคพลังประชาชนจะถูกยุบวันไหน คิดดูแล้วกันครับ รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2551
จากตัวอย่างดังกล่าว นายสมัครต้องการเปรียบเปรยว่า การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองในเวลานี้ ต้องประสบกับความลำบากและเหน็ดเหนื่อย ในขณะเดียวกันสื่อมวลชนก็ไม่ให้ความร่วมมือในการทำหน้าที่ของรัฐบาล อีกทั้ง ยังคอยเสียดสีและต่อว่าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพูดแบบอุปลักษณ์แทนการพูดอย่างตรงไปตรงมานี้ ยังเป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากคำพูดของนักการเมือง เพื่อเบี่ยงเบนจากประเด็นจากการทำหน้าที่ที่บกพร่อง แปรเปลี่ยนเป็นความรู้สึกสงสารและเห็นอกเห็นใจการทำหน้าที่ของรัฐบาลจากประชาชนได้อย่างแนบเนียน
3.3 การพูดอ้อมค้อมวกวน
ตัวอย่างที่ 1 คำถาม ค่าจอดรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ที่สนามบินสุวรรณภูมิราคาแพงมาก ประชาชนเดือดร้อน นายกรัฐมนตรี ผมอยากเรียนครับ สนามบินสุวรรณภูมิคือเขาเป็นสถานที่ที่เขาเรียกเป็น International เพราะฉะนั้นราคาเขาตั้งเอาไว้ เขามีราคาไทยราคาเทศไม่ได้ครับ บะหมี่ชามละ 170 บาท แล้วคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่าไร เอา 30 ไปหาร ประมาณมาถึง 6 เหรียญ 5 เหรียญครึ่ง ก็ราคาสากล บะหมี่ที่แอร์พอร์ตราคา 5 เหรียญครึ่ง ปกติ ฝรั่งกินของเราได้ 6 ชาม ต้องขอความกรุณาครับ ถ้าแพง ถ้าหิวอย่างไรก็ต้องกินครับ เดี๋ยวไปอดตายที่นั่น แต่ว่าถ้าไม่จำเป็น ไม่กิน ผมนาน ๆ ก็กินที 170 บาทถึงได้รู้ราคา ราคาที่นั่นแพงทุกอย่าง เพราะเขาทำสำหรับคนที่เดินทาง ในกระเป๋าเขาไม่ใช่เงินไทย ต้องขอความกรุณาจริง ๆ นี่ไม่ได้ไปออกรับแทน ค่าจอดรถนี้จะตรวจสอบหน่อย เพราะว่าเขาจะคิดเอาทุนคืนค่าสนามบินหรือเขาต้องการจะไม่ให้คนจอดมาก มีนักคิดครับ แพงเพราะไม่ต้องการให้ไปจอดมาก แพงเพราะว่าจะได้ไปหลาย ๆ คนได้รวมกันไป จะไปส่งเพื่อนคนหนึ่งมีเพื่อนตามไป 5 คน รถจอด 5 6 คัน อย่างนี้ควรจะคิดว่าต้องจ่ายเท่าไร จะไปคันเดียวกันก็จ่ายคันเดียว นี่ผมช่วยคิดแทนให้ แต่จะรับไปดูให้ว่าแพงอย่างไร พอสมควรไหม ถ้าผมมีความรู้สึก ผมจะมาเล่าให้ฟังด้วย รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551
ตัวอย่างดังกล่าวพบว่า นายสมัครได้พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการตอบคำถามของประชาชนที่ถามมายังรายการสนทนาประสาสมัครอย่างชัดเจน ซึ่งเห็นได้ว่า ประชาชนถามถึงค่าจอดรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ เนื่องจากได้รับความเดือดร้อน ในขณะเดียวกันนายสมัครกลับพูดอ้อมค้อมวกวน โดยการอธิบายถึงราคาบะหมี่ที่สนามบิน เพื่อเลี่ยงการตอบคำถามในประเด็นสำคัญที่ประชาชนต้องการจะทราบจริง ๆ
ตัวอย่างที่ 2 "สมัคร"บ่นดักคอ คนคิดปฏิวัติรอบใหม่ มติชน 29 มีนาคม 2551 ๏ ไม่กลัวว่าจะถูกปฏิวัติใช่หรือไม่ คุณกลัวหรือ คนจะทำเขาต้องคิดมาก คิดหน้า คิดหลัง คิดแล้ว คิดอีก ทำไปทำไม ทำเพื่อใคร มีใครทำร้ายบ้านเมืองในเวลานี้หรือ กล่าวหาอะไรกันได้แล้วหรือ บ้านเมืองสุกงอม ถ้าไม่ทำต้องนองเลือดหรือ ไม่มีท่าทั้งนั้นเลย เหยื่ออย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หมดแล้ว อย่างนายสมัครนี่มันเป็นเหยื่อแห้ง ไม่มีราคา การตอบคำถามดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า นายสมัครมีความเข้าใจในคำถาม แต่กลับยอกย้อนผู้สัมภาษณ์ ประกอบกับใช้สำนวนการตอบที่อ้อมค้อมวกวน สะท้อนให้เห็นถึงเจตนาที่ต้องการเลี่ยงการตอบคำถามอย่างชัดเจน เนื่องจากไม่สามารถชี้ให้เห็นใจความสำคัญหลักจากคำตอบได้อย่างเด่นชัด ซึ่งผู้รับสารต้องตีความเองว่า นายสมัครต้องการสื่อความหมายใด
3.4 การพูดให้เป็นเรื่องตลก
ตัวอย่างที่ 1
บิ๊กบัง'ปิดปากโผทหาร เดลินิวส์ 8 มีนาคม 2551 ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ที่กระทรวงสาธารณสุขมีม็อบออกมาทั้งสนับสนุนและไม่สนับ สนุนการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ นายสมัคร ตอบว่า แสดงว่าเจ๊ากัน เพราะมีทั้งคนสนับสนุนและคนต่อต้าน
การตอบคำถามดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า นายสมัครไม่ได้มีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องม็อมกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นประเด็นอยู๋ในสังคมอย่างจริงจัง แต่กลับหลีกเลี่ยงการตอบคำถามโดยใช้กลวิธีการพูดให้เป็นเรื่องตลกและไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำถามแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษาในลักษณะนี้ จัดว่าเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดผลทางด้านบวกมากกว่าด้านลบ
3.5 การพูดเลี่ยงประเด็น
จากการศึกษาพบว่า นายสมัครมักใช้การพูดแบบเลี่ยงประเด็นในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่วิธีที่พบมาก คือ การตั้งคำถามกลับ เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบคำถามต่าง ๆ ทว่าไม่ได้ต้องการคำตอบใด ๆ การต่อว่าผู้ตั้งคำถาม ว่าไม่สมควรจะถามคำถามลักษณะนี้ขึ้นมา หรือแม้แต่การปฏิเสธที่จะตอบคำถาม
ตัวอย่างที่ 1 ผมบอกเลยว่าคุณไปเอาต้นตอ ถามกับใคร บอกว่าสิว่าใครต้นตอ ฉบับไหน คนไหนที่พูดเรื่องนี้ ตอบไม่ได้ครับ อย่างนี้เขาเรียก เต๊า กัน เต๊าแล้วเอามาเล่นอย่างนี้ เสียหายครับ ผมพูดเฉียดไปหน่อยเดียวว่า เอาสักครึ่งทาง ก็ดูเรื่อง 111 คนที่จะไปนิรโทษกรรม เท่านั้นแหละโดนว่าแล้วครับ ว่าผมก็ไม่พูด ตามใจ ผมบอกเลยว่าผมไม่เห็นด้วย และผมก็ไม่ใช่ต้นตอไปคิด คุณบอกมาว่าใครคิด ก็บอกได้เลยว่าใครจะมีตัวคนคิดสุดแท้แต่ แต่เขาต้องปิดแหล่งข่าว คุณปิดไว้สิไม่ว่า แต่ว่านายกฯ พูด รัฐมนตรีคลังก็ต้องยืนยันต่อไปด้วยว่า ไม่มี คิดยังไม่คิดเลยครับ แล้วไปเสนอข่าวอย่างไร แปลว่าเสนอข่าวให้พรรคพลังประชาชนเสียหาย เสนอข่าวให้รัฐบาลเสียหาย ใครจะคิดออกมา ไม่คิด แต่เสนอข่าวกันแล้ว ผมไม่เห็นด้วย 111 คน ผิด แต่ถ้าสภาพสังคมเป็นอย่างนี้ ผมก็ไม่หยิบต้องมา ปล่อยเขาไปอย่างนั้น ยังไม่ต้องยุ่ง วันนี้ที่พูดต้องการย้ำว่า ไม่ ใครเป็นคนเสนอข่าว คุณรับผิดชอบ น่าประหลาดตรงพวกเสนอข่าวไม่ต้องรับผิดชอบ คือ เต๊าเอาข่าวออกมา เอามาให้เสียหาย รายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2551
ตัวอย่างดังกล่าวพบว่า นายสมัครได้ใช้การตั้งคำถามกลับ ซึ่งลักษณะคำถามที่ใช้นั้น ก็ไม่ได้ต้องการคำตอบแต่อย่างใด แต่เพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการชี้แจงประเด็นเรื่องแนวคิดการให้กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน เข้ามาเป็นบอร์ดบริหารรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ทั้งนี้ นายสมัครยังใช้วิธีการต่อว่าและโจมตีการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนร่วมด้วย โดยต้องการชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจว่า กรณีที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพียงการนำหน้าที่รายงานงานข่าวสารที่บกพร่องของสื่อมวลชนเท่านั้น
ตัวอย่างที่ 2 ตั้งทีมรื้อสื่อรัฐ เด้งอธิบดีพ้นกรมประชา ปราโมช ปลงตก เฉลิม ไม่รู้เรื่องลูกวัน นั่งเลขาฯ รมช.สาธารณสุข บ้านเมือง 12 กุมภาพันธ์ 2551 เมื่อถามว่า มีความกังวลในการทำงานร่วมกับ ผบ.เหล่าทัพหรือไม่ นายสมัคร ย้อนถามว่า ทำไมถึงต้องกังวล ท่านมาก็พูดคุยกันดีทุกอย่าง ไม่ต้องแบกความกังวลอะไรมาเลย และคนที่คุยกันยาวที่สุด คือ พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้พูดคุยเรื่องงานไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ซึ่งตนได้ถามหลายคำถามและ พล.อ.สพรั่งรู้เรื่องดีกว่าเพื่อน เพราะท่านมีประสบการณ์มาก การหารือในวันนี้ ไม่ใช่เป็นการให้นโยบาย แต่เป็นการคุยว่ามีปัญหาอะไรอย่างไร ส่วนเป้าหมายในการทำงานคือจะต้องให้กองทัพอยู่กับบ้านเมืองให้เรียบร้อย และปัญหาที่หนักที่สุด คือปืนที่อยู่ข้างหน้า อย่างไรก็ตาม รู้สึกประหลาดใจว่าทำไมกระทรวงกลาโหมพื้นที่ข้างในถึงโล่งขนาดนี้ และตนได้เข้านั่งในห้องทำงานและจุดธูปจุดเทียนแล้ว ซึ่งเป็นห้องโบราณอายุถึง 123 ปี เมื่อถามว่า ได้มีการหารือการโยกย้ายช่วงเดือนเม.ย.หรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ทำไมคุณคิดแต่เรื่องพรรค์นี้ เดือนนี้แค่เดือน ก.พ.ทำไมถึงหายใจจดจ่อเรื่องโยกย้ายเพียงอย่างเดียว
จากตัวอย่างพบว่า นายสมัครได้ใช้การตั้งคำถามกลับ สะท้อนให้เห็นว่า นายสมัครไม่ได้ต้องการตอบแต่อย่างใด แต่เพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการชี้แจงประเด็นเรื่องการทำงานร่วมกับกองทัพเท่านั้น ทั้งนี้ ยังใช้วิธีการต่อว่าและโจมตีนักข่าวร่วมด้วย เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงการตอบคำถามในประเด็นดังกล่าว
ตัวอย่างที่ 3 "สมัคร"บ่นดักคอ คนคิดปฏิวัติรอบใหม่ มติชน 29 มีนาคม 2551 ๏ ล่าสุดบุคคลที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าชักใยอยู่เบื้องหลัง (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) ได้ออกมาปฏิเสธแล้ว ยังมีอะไรน่าห่วงอีก ผมไม่ทราบเรื่องนี้
จากตัวอย่างสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นายสมัครมีความเข้าใจในคำถาม แต่พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการตอบ ด้วยการสำนวนที่แสดงการปฏิเสธที่จะตอบคำถามอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา โดยไม่ใส่ใจถึงการกระทำหน้าที่ตามบทบาทของนายกรัฐมนตรีแม้แต่น้อย ทั้งยังไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนอีกด้วย
ตัวอย่างที่ 4 New prime minister speaks his mind Source - Bangkok Post Website (Eng) Monday, February 11, 2008
Rivers: Do you think he's (Thaksin) guilty? Samak: Oh, anyone can be guilty of something if it can be proved.
Rivers: You don't think he's guilty? Samak: I don't think anyone can do something wrong if they don't think it is wrong... So ask Thaksin, or ask his wife; they don't think they ever committed anything wrong.
ตัวอย่างข้างต้นเป็นบทสัมภาณ์ระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช กับนักข่าว ซีเอ็นเอ็น เรื่องการกลับมาขอ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนายแดน ริเวอร์ส ถามว่า คุณคิดว่าทักษิณ มีความผิดหรือไม่ แต่นายสมัครก็เลี่ยงตอบคำถามนี้ และบอกว่า ใครๆ ก็สามารถทำผิดได้ ถ้ามีหลักฐานพิสูจน์ และแดน ริเวอร์สก็ถามอีกครั้ง ว่าคุณคิดว่าทักษิณผิดหรือเปล่า นายสมัครก็ยังคงเลี่ยงตอบคำถามดังกล่าวเหมือนเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปุถุชน
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: 06-05-2008, 09:38 » |
|
ถ้าสื่อมวลชน จะไม่สัมภาษณ์'นายกฯ หมัก เมถุน','หัวหน้าพรรคนอมินี' ของ'นักประชาธิปไตยแม๊วๆ' วันอังคาร วันพฤหัส จะตายหรือไง... การให้สัมภาษณ์ไร้สาระ กัดนักข่าว กัดคนที่ท้วงติงนั้น มีอะไรเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ เศรษฐกิจไทย สังคมไทย และคนไทย...ปล. ยอดขายหนังสือพิมพ์ไม่ลดลงหรอก เพราะโพลล์บอกแล้วว่า ความนิยม'หมัก เมถุน'ของประชาชน'ต่ำต้อย'กว่าคนอื่นๆ....
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-05-2008, 09:40 โดย ปุถุชน »
|
บันทึกการเข้า
|
หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด
อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
|
|
|
|