ผมถึงคิดว่าน่าจะมีกลไกปรับค่าแรง ตามค่าใช้จ่ายไงครับ
ซึ่งถ้านึกอะไรไม่ออกจะใช้วิธีอิงกับราคาข้าวสารก็ได้
แต่ก็เป็นแค่ความเห็นนะครับ ทำจริงๆ มีหวังโดนต่อต้าน
เพราะมองระยะสั้นเจ้าของกิจการต่างๆ จะรู้สึกเดือดร้อน
ถ้าทำจริงผลที่เกิดน่าจะทำให้กลุ่มรายได้สูงมีรายได้ลดลง
เพราะกิจการต่างๆ ต้องเฉลี่ยค่าแรงลงมาให้กับระดับล่าง
ที่น่าปวดหัวคือปรับค่าแรงมากอาจทำให้แรงงานต่างชาติ
ทะลักเข้ามาแย่งงานระดับล่างหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าเดิม
ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องคิดมาตรการรับมือให้ดี---
ดูข้อมูลที่ ดร.โสภณ เอามาอ้างอิงในกระทู้ คนจน 10%ฯ
แล้วก็เห็นภาพชัดเจนว่าการกระจายรายได้ของเรามีปัญหา
http://poverty.nesdb.go.th/poverty_new/doc/news/wannee_20071130114433.zipจาก ตารางที่ 36 : รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือน จำแนกตามกลุ่มประชากรตามระดับรายได้ทั่วประเทศฯ
ข้อมูลปี 2549 ระบุไว้แบบนี้ (หมายเหตุ : กลุ่มที่ 1 จนที่สุด ไล่ไปถึง กลุ่มที่ 5 รวยที่สุด)
กลุ่ม 20% ที่ 1 มีรายได้ต่อเดือน 1,003 บาท
กลุ่ม 20% ที่ 2 มีรายได้ต่อเดือน 2,001 บาท
กลุ่ม 20% ที่ 3 มีรายได้ต่อเดือน 3,165 บาท <-- ถึงกลุ่มที่ 3 แล้วรายได้ยังไปไม่ถึงไหน 
กลุ่ม 20% ที่ 4 มีรายได้ต่อเดือน 5,241 บาท
กลุ่ม 20% ที่ 5 มีรายได้ต่อเดือน 14,693 บาทใช้วิธีเดิมคิดก็คือ มีคน 60% ของประเทศที่มีรายได้เท่ากับ 3165 บาท/เดือน หรือต่ำกว่า
คิดเป็น 105.50 บาท/วัน หรือต่ำกว่า
เฉลี่ยรายได้คนจนที่สุด 60% แรกเท่ากับ (1003+2001+3165)/3 = 2105.33 บาท/เดือน
หรือเท่ากับเพียง 70.17 บาท/วัน เท่านั้น 
มันมีข้อเสียตรงที่ว่า......นายจ้างไม่อยากจ่ายนี่สิครับ
แม้จะวางมาตรฐานไว้ดีแค่ไหน ถ้านายจ้างไม่ปฏิบัติก็ไม่มีประโยชน์
ถึงปฏิบัติตาม นายจ้างก็ต้องหาวิธีอื่น บวกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเข้าไป
เพื่อที่จะได้จ่ายเงินเดือนให้น้อยลงอยู่ดี
พบกันครึ่งทาง รัฐควบคุมเงินเฟ้อให้ได้อยู่ในระดับเดียวทุกปีๆ
นายจ้างจ่ายให้เท่ากับเงินเฟ้อ
ลูกจ้างก็ช่วยทำงานให้คุ้มค่าจ้าง ไม่ใช้อู้ได้ก็อู้ แอบรับจ๊อบจนเสียงาน
ดูแล้วคงจะยาก.........
และตัวการที่ทำให้ศก.แย่ในตอนนี้ ผมไม่โทษราคาข้าว
ผมโทษ "น้ำมัน" ตัวเดียวครับ