ใช้เวลาถ่ายทำนานถึง 2 ปี สำหรับภาพยนตร์แอนิเมชั่นสามมิติเรื่องแรกของไทย "ก้านกล้วย" โดยผู้กำกับมากฝีมืออย่าง "คมภิญญ์ เข็มกำเนิด" พร้อมทีมแอนิเมเตอร์ทั้งชาวไทยและต่างชาติกว่า 300ชีวิต งานนี้ "เสี่ยตั้ม" บอสใหญ่ "กันตนา" ระดมทุนสร้างสูงสุดกว่า 150 ล้านบาทเลยทีเดียว
ได้ผู้กำกับฝีมือดีที่มีความเชียวชาญด้านแอนิเมชั่นโดยเฉพาะอย่าง "ป้อน คมภิญญ์" มานั่งแท่นควบคุมการผลิตทั้งหมดโดยเจ้าต้องขอออกมาการันตีด้วยตัวเองถึงคุณภาพว่าถึงแม้เป็นหนังการ์ตูนแอนิเมชั่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์แต่รับรองดูสนุกไม่เครียด ที่สำคัญไม่ใช่หนังการ์ตูนขำก๊ากอย่างที่ผ่านมาแน่นอน
"เรื่องนี้เป็นหนังการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องแรกของกันตนาหลังจากที่้ทำหนังใหญ่มาแล้วอย่างกาเหว่า ที่ บางเพลง ที่เราหยิบยกเรื่องช้างขึ้นมาเพราะเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทย เป็นช้างของพระนเรศวรที่ใช้ในสงครามยุทธหัตถีมีลักษณะดี หลังโค้งแบนเหมือนก้านกล้วย ทีนี้ทางผู้บริหารคุณตั้ม เป็นคนที่สนใจด้านประวัติศาสาตร์เรื่องของช้าง น่าจะเป็นสิ่งที่คนไทยจะได้รับรู้ ตอนแรกทางคุณตั้มตั้งใจให้เป็นทีวีซีรีส์ก่อน เสร็จแล้วบทออกมามันมีความเหมาะสม สร้างทีมงานมาถึงจุดหนึ่งแล้วเราอยากทำหนังใหญ่ที่คนไทยทำ"
"ปกติเราดูหนังต่างชาติอยู่เรื่อยๆ ถึงเวลาพร้อม ทีมงานพร้อม ทุนเราก็พร้อมเรามีเรื่องที่ดีอยู่ในมือ สร้างออกมาเป็นเรื่อง สร้างเป็นสัตว์พิเศษและเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดเหมือนกัน มองตาใสซื่อบริสุทธิ์ที่สามารถสื่อสารกับคนได้ แล้วในโลกแอนนิเมชั่นปัจจุบันก็ยังไม่มีใครเอาเรื่องช้างมาทำเป็นจริงเป็นจัง แล้วเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของไทยเป็นพื้นฐานของเรา เรื่องที่จะทำควรจะเป็นเรื่องที่อยู่บนฐานรู้จักกับมันจริงๆ ก่อน และเป็นประโยชน์ต่อทีมงานด้วย มันเหมือนจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจภาพรวมของตัวเองได้มากขึ้น หนังเรื่องนี้ออกไปคนดูก็จะได้อะไรกลับมาด้วย"
ใช้โครงเรื่องประวัติศาสตร์ ทว่าส่วนใหญ่จะเกิดจากการผูกเรื่องขึ้นมาเอง
"ไม่ใช่ประวัติศาสตร์จ๋า คือเราผูกเรื่องเองมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์แล้วเอาเรื่องราวประวัติศาสตร์รวมเข้าไปด้วย ตัวเมนของเราคือก้านกล้วยเป็นเมนหลัก อยู่กับแม่ในป่าไม่มีพ่อ มารู้ว่าพ่อเป็นช้างรบเป็นช้างป่าเลยออกไปตามหาพ่อ เราก็ยังเดินตามก้านกล้วยเขาไปเรียนรู้ว่าสมัยนั้นเป็นยังไง ยังไม่มีเมืองไทยมีแต่อยุธยา หงสาวดี ก้านกล้วยมีโอกาสได้เข้าไปรู้จักกับพระนเรศวร ดึงคนดูตามก้านกล้วยเข้าไป จนถึงไคลแมกซ์ของเรื่องคือสงครามยุทธหัตถีแต่มันจะเป็นภาพที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน เป็นแอนิเมชั่นเราสามารถใส่อะไรเข้าไปได้เยอะเป็นพิเศษ พอเข้าไปดูปุ๊ปเห็นภาพประวัติศาสตร์ของไทยเราไม่ซีเรียสแต่สนุกสนาน"
"ด้วยความที่เป็นแอนิเมชั่นเราพยายามทำให้เรื่องมันสนุกไม่เอาเรื่องของประวัติศาสตร์มาใส่ให้ซีเรียสมากเว้นไว้ ตรงนั้นที่เป็นข้อมูลจำเป็นจริงๆ เราก็เอามาปรับทำให้เหมาะสม คือถ้าหวังจะดูหนังประวัติศาสตร์เลยคงไม่ขนาดนั้น แต่มันมีเกร็ดของประวัติศาสตร์หล่นมาเป็นระยะๆ เป็นจุดๆ อันนี้คงต้องอยู่ที่คนดูต้องไปสานต่อเอาเอง"
เน้นวิธีการเล่าแบบไทย แต่นำเสนอในรูปแบบที่เป็นสากลมากขึ้น นั่นคือจุดที่น่าสนใจของการร์ตูนเรื่องนี้
"เวลาทำอะไรเราทำถึงกึ๋นทำจากภายใน การแสดงการเคลื่อนไหว การพูดคุยทำอะไรต่างๆ เรียกว่าเป็นคุณภาพของเรา คือตรงนั้นฝรั่งทำอะไรก็เป็นฝรั่ง ฝรั่งเขียนลายไทยก็ยังดูเป็นฝรั่ง คนไทยเขียนลายไทยก็ดูเป็นไทยเพราะทุกอย่างมันออกมาจากข้างไหน หนังเรื่องนี้มันเป็นไทยทั้งเรื่อง ทั้งดีไซน์ วิธีการแสดงออก ชีวิตความเป็นอยู่ การตอบโต้ การคิดอะไรต่าง แต่เราก็พยายามทำให้มันเป็นสากลมากที่สุด ยกระดับมาตรฐานวิธีการเล่าเรื่องที่มันสากลใครๆ ดูสามารถเข้าใจ มีส่วนร่วมไปได้คือมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนที่อื่น"
"วิธีกรเล่าเรื่อง เล่าเรื่องแบบไทย สื่อเรื่องราวออกมาให้เป็นสากลคนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ คือบางทีลายไทยมีลักษณะของไทย แต่จริงๆ แล้ววิถีชีวิตต่างหากที่เป็นไทย ปัจจุบันที่เป็นอยู่เราไม่จำเป็นต้องลายไทย ใส่เสื้อผ้าแบบฝรั่งแต่วิธีประกอบ วิธีการแสดงออกต่างหากที่เป็นไทย อย่างเช่นปฏิกิริยาสัมพันธ์กัน ฝรั่งก็มีไม่เหมือนไทย ป่าที่เราทำก็ไม่เหมือนที่ไหนในโลกเป็นป่าของเมืองไทย ต่างชาติมาดูก็จะรู้สึกไม่เหมือนที่ไหนในโลก"
รวมไปถึงรายละเอียดทุกขั้นตอนศึกษาข้อมูลจากสถานที่จริง สร้างสรรค์ตัวละคร อีกทั้งเฟ้นหาทีมงานที่เหมาะสมมานานร่วมปี
"เรายังไม่มีบุคลากรที่สามารถนำมาใช้ได้ในทันที ก็มีการเทรนกันขึ้นในกันตนาเองก็มีเปิดแอนิเมชั่นสคูลอาจารย์ทั้งจากของไทยและต่างประเทศมาสอน เพราะส่วนหนึ่งเราได้อิทธิพลมาจากตะวันตกนะเยอะ ได้ครูฝรั่งที่มีฝีมือทางด้านนี้หลายปีมาสอน โดยเปิดให้กับบุคคลที่สนใจจากภายนอกและพนักงานเองด้วย ส่วนขั้นตอนในการเตรียมทีมงานเราใช้ภาพยนตร์สั้นเรื่องซนที่ถ่ายจบไปแล้วทางช่อง 7 เป็นการเทรนทีมงานการทำฟิล์มโปรดักชั่น การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มถ้ามันไม่ประสบความสำเร็จเราก็แก้ไข"
"กว่าจะมั่นใจ มันเป็นสิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน ก่อนหน้าที่ผมทำอยู่บลูสกายสตูดิโอที่อเมริกา ก็เป็นบริษัทการทำงานคล้ายๆ กับกันตนาที่ทำโฆษณามาก่อน เสร็จแล้วมีโปรเจ็กต์ที่จะทำหนังใหญ่เรื่องแรก โอกาสที่จะคัดคนเขาก็มีสูงคนที่มีประสบการณ์ 4 - 5 ปี แต่ในขณะเดียวกันของเราโอกาสที่จะได้คนลักษณะนั้นมันยาก เพราะว่ามันต้องใช้คนที่มีฝีมือมากๆ ในเรื่องของการจัดการ ทั้งตัวอาร์สติสท์ด้วยในเรื่องของเทคนิกด้วยที่เป็นเรื่องช้างทั้งโขลง คือช้างมันยากนิดนึงที่จะทำการเคลื่อนไหวไม่เหมือนคน ช้างจะตัวใหญ่มี 4 ข้าง ยากมากต้องหาการออกแบบที่เหมาะสมจึงจะสามารถสร้างอารมณ์ขึ้นมาได้"
"ถ่ายที่เขาใหญ่เป็นหลัก เพราะที่เขาใหญ่มีโขลงช้างป่าที่ได้รับการอนุรักษ์อยู่หรือวิถีชีวิตของช้างป่ามันเป็นยังไงบ้าง การเลี้ยงช้างคนกับช้างอยู่ด้วยกันยังไง แต่ช้างป่ากับช้างบ้านไม่เหมือนกันเข้าไปเขาใหญ่เพื่อจะไปดูวิถีชีวิตของช้างป่า แต่ไม่รู้เป็นโชคดีหรือโชคร้ายที่เราไม่มีโอกาสได้เจอช้างป่าเราพยายามที่จะรวมเอาบรรยากาศทั้งหมดหาข้อมูลมาได้มากที่สุด ธรรมชาติมันเป็นแม่แบบที่สำคัญที่สุด ทุกรูปต้องสวยต้องเนียน ต้องเนี้ยบหมด รูปมันต้องใช้ราคามีกระบวนการในการออกแบบ อย่างที่บอกว่าเราคิดว่าตรงนี้เวิร์กแล้วแม้ว่าตรงนี้เราทำไปแล้วบางที่ก็ต้องดึงออก บางทีนั่งดูเรารู้สึกได้นะ"
ไม่เว้นมีแต่ทีมพากย์ที่มีการเลือกเฟ้นมาเป็นอย่างดี
"เราต้องใช้ทีมพากย์ตรงนี้เรามีทีมพากย์ซึ่งเป็นของกันตนาอยู่แล้ว มีคุณแอน นันทนาบุญหลงมาเป็นผู้ควบคุม กำกับเสียงเราก็เสนอแลกไอเดียกันว่าคนที่มีลักษณะนี้ เราอยากได้เสียงแบบนี้ ตอนเด็กก้านกล้วยก็ซน แก่นอยากรู้อยากเห็น ถูกแม่ควบคุมความประพฤติหน่อยลึกๆ ยังมีบุคลิกของตัวเอง เราก็ต้องหาตัวละครที่มีบุคลิกแบบนั้น ตัวละครแบบนั้น ก็ได้น้องเก็ท(แฟนฉัน)ซึ่งมีประสบการณ์ทั้งถ่ายโฆษณา และถ่ายภาพยนตร์มาก่อน เราเคสมาหลายคนสุดท้ายมาจบที่น้องเก็ทเพราะเขามีความเป็นก้านกล้วยในตัวสูงมาก เขาจะอินสั่งปุ๊บได้เลย"
"ก้านกล้วยมี 3 ระดับตั้งแต่เป็นเด็กมากเราก็ต้องก่ารสียงเด็กที่อายุยังน้อยพอสมควร ก็ให้ลูกของทีมงานมาพากย์ ตอนที่เป็นช่วง 9 - 12 ก็ได้น้องเกรซ พอเติบโตถึงช่วงฉกรรจ์ 18 - 19 เราได้คุณภูริมา เพราะเขาจะมีเสียงที่ค่อนข้างขึ้นจมูกนิดนึงในเบื้องต้นเราก็ได้คุณแอนมาเป็นไกด์ดูโครงเรื่องทั้งหมดก่อนว่าเรื่องราวเป็นยังไง"
เผย เสียเวลา 3 ปีทำการ์ตูนแอนิเมชั่น ถือว่าคุ้มค่ากับคุณภาพของงานที่จะออกมาสู่คนดู
"อยากให้ไปเห็นกระบวนการทำงานว่าละเอียดทำงาน เราให้เวลาในการทำน่าจะประมาณ 3 ปี ส่วนหนึ่งต้องรับว่าเป็นเรื่องของการลองผิดลองถูกด้วย ทุกอย่างมันเป็นไปตามสเต็ปเป็นการเรียนรู้ คือถ้าจะพูดถึงหนังไทย 3 ปีมันก็ดูยาว แต่ในแอนิเมชั่นรายละเอียดระดับนี้มันก็ประมาณนี้แหละครับ"
"ผมถือว่าของเราก็อยู่ในระดับสากลได้ ผมก็ติดต่อกับเพื่อนร่วมงานสมัยทำอยู่บลูสกายสตูดิโอ เขาดูก็พอใจ ทึ่งไม่รู้มาก่อนว่าคนไทยจะสามารถทำได้ขนาดนี้ เขาไม่เคยเห็น มาตรฐานมันคืออะไร"
ไม่ได้เน้นความตลกเป็นหลัก
"ไม่ใช่หนังเด็กเข้าไปดูแล้วหาก๊ากอย่างเดียวหนังมันเริ่มซีเรียสมากขึ้น แต่มันเป็นซีเรียสในระดับที่เด็กรับได้แน่นอน ไม่มีโหดร้ายแต่สเกลมันก็ดูใหญ่ขึ้น เพราะมันเริ่มเข้าสู่สงครามยุทธหัตถีผู้ชายเขาสู้กันเราก็ทำให้มันพอดี มันสอนเรื่องของความรักชาติ หนังแอนิเมชั่นเรื่องแรกของไทยที่มันเป็นอาวุธทางวัฒนธรรมซึ่งทุกวันนี้เราได้เห็นหนังต่างชาติได้เรียนรู้วัฒนธรรมของเขาแต่ว่ารากของเราอยู่ที่ไหน รักชาติแบบรู้ว่ากำพืดของตัวเองคืออะไร เหง้าของเราอยู่ที่ไหน การที่หยิบเรื่องประวัติศาสตร์ขึ้นมาทำคงเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง"
วอนวงการหนังไทยให้ความสำคัญกับการ์ตูนแอนนิเมชั่นมากขึ้น
"ภาพยนตร์เป็นภาษาที่ผมยังหาคำตอบให้กับตัวเองไม่ได้เหมือนกัน ตัวผมชอบงานแอนิเมชั่นมาตั้งแต่เด็กๆ เห็นพัฒนาการของเขา หลังจากจบที่ ม.ศิลปากรก็มีเราอยู่คนเดียวที่สามารถทำด้านนี้ต่อมาได้ คนอื่นก็เหมือนกับว่าทำได้แต่ไม่มีความพร้อม เราทำได้เพราะโอกาสดีกว่าเขา คนสนใจมากแต่มันไม่ช่องทางให้ทำจริงๆ ตอนที่ผมจบจากศิลปากรใหม่ๆ โอกาสที่จะได้ทำเอาเข้าจริงแค่งานโฆษณา นานๆ จะเจอสักชิ้นแต่ไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ ผมเลยเลือกที่จะไปเรียนต่อและไปทำงานที่โน่นมันมีโอกาสมากกว่า"
"ปัจจัยหนึ่งที่ผมมองคือว่าการเข้ามาของคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกเข้ามามันเป็นโอกาสให้กับเด็กสร้างจินตนาการได้มากขึ้น อีกส่วนหนึ่งคือการให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ตรงนี้มันทำให้เกิดการครีเอทการสร้างงาน สมัยก่อนสมมติว่าเราเป็นซื้อหนังเข้ามาครั้งละ 20,000กับสร้างหนังเองครั้งละ 20,0000 ถ้าจะเอาง่าย เอาคุณภาพเขาคงเลือกซื้อหนังที่ประสบความสำเร็จแน่"
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9490000058355ขออนุญาติเชียร์บริษัทเก่าหน่อยครับจะได้มีกำลังใจพัฒนางานแอนนิเมชั่นออกมาเรื่อยๆ