ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-09-2024, 02:25
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ไม่ยึดหลักกฎหมาย บ้านเมืองลุกเป็นไฟ กกต.จะต้องรับผิดชอบ (เจิมศักดิ์ขอคิดด้วยฅน) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ไม่ยึดหลักกฎหมาย บ้านเมืองลุกเป็นไฟ กกต.จะต้องรับผิดชอบ (เจิมศักดิ์ขอคิดด้วยฅน)  (อ่าน 2251 ครั้ง)
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« เมื่อ: 17-03-2008, 08:56 »

 จุดเริ่มต้นในวิกฤติของบ้านเมือง อันนำไปสู่กระบวนการทุจริตโดยนโยบาย การฉ้อฉล และกลโกงของระบอบทักษิณทั้งหลายทั้งปวง ก็เริ่มจากทำอะไรมั่วๆ แล้วอ้างว่าเป็น “หลักรัฐศาสตร์” เพื่ออุ้มทักษิณ ในคดีซุกหุ้น มิใช่หรือ?

 ขณะนี้ มีกรณีสำคัญ 2 กรณี อยู่ระหว่างการวินิจฉัยขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ “กกต.” โดยล่าสุด ข่าวแว่วว่า มีคนอ้างจะใช้ “หลักรัฐศาสตร์” ในการพิจารณาวินิจฉัยการกระทำผิดกฎหมาย

 จะเอาอีกแล้วหรือ !

 1. กรณียุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย

 ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า มีกรรมการบริหารพรรคของพรรคชาติไทย และกรรมการบริหารพรรคของพรรคมัชฌิมาฯ เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งร้ายแรง จนถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง)

 ข้อกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 บัญญัติว่า

 “ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทําการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทําให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าว...

 ...ถ้าการกระทําของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทํานั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเปนไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทําการเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา 68 และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกําหนดเวลาห้าปนับแต่วันที่มีคําสั่งให้ยุบพรรคการเมือง”

 ข้อพิจารณา ในบรรดากรรมการบริหารพรรคของพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ มีผู้ใดมีส่วนรูเห็น หรือปลอยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทําของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคตนที่ถูกใบแดงนั้นแลว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือไม่ ?

ถ้ามี ก็จะต้องดำเนินการเพื่อยุบพรรคการเมืองนั้น สถานเดียว !   ข้อบิดเบือน ปรากฏข่าวว่า คณะอนุกรรมการของ กกต. ที่ทำหน้าที่สืบสวนเรื่องนี้ (นายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธานฯ) จะสรุปว่า พรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาฯ ไม่ผิด ไม่ต้องถูกดำเนินการยุบพรรค อ้างว่า

 1.พรรคชาติไทย ได้ประชุมแจ้งต่อกรรมการบริหารพรรคและผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนแล้วว่า ขอให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย โดยผู้สมัครทุกคนก็ได้ลงนามรับทราบ หลังจากนั้น ผู้ใดไม่ทำตามกฎหมายจึงถือว่าเป็นความผิดเฉพาะตัว กรณีนายมณเฑียร สงฆ์ประชา กรรมการบริหารของพรรค กระทำผิดจนได้ใบแดง จึงไม่เกี่ยวกับพรรค พรรคไม่ต้องรับผิดชอบ

 2.พรรคมัชฌิมาฯ มีความขัดแย้งภายใน แตกเป็นเสี่ยง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม เชื่อว่า เงินที่นำมาซื้อเสียงของนายสุนทร วิลาวัลย์ กรรมการบริหารพรรค เป็นเงินส่วนตัว ไม่ใช่เงินที่นำมาจากหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรครายอื่นก็ไม่มีส่วนรู้เห็น จึงไม่เกี่ยวกับพรรค พรรคไม่ต้องรับผิดชอบ

 ข้ออ้างเช่นนี้ ไม่อาจรับฟังได้ และน่าจะขัดแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะเปิดช่องให้มีการกระทำผิด บิดเบือน ชำเรารัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่มีเจตนาให้องค์กรต้องรับผิดชอบต่อการกระทำคนในองค์กร โดยเฉพาะคนระดับผู้บริหารองค์กรก็ถูกทำลาย

 ถ้าอ้างอย่างนี้ได้ ต่อไป ทุกพรรคการเมืองก็คงจะออกมติในลักษณะนี้ คือ ออกมติเป็นเอกสารห้ามกรรมการบริหารพรรคทำผิดกฎหมาย เพื่อหวัง "ตัดตอนความผิด" มิให้มาถึงพรรคได้ ส่วนกรรมการบริหารพรรคจะไปทำเลวอย่างไร ชั่วอย่างไร ผิดกฎหมายอย่างไร แม้กฎหมายจะบัญญัติให้พรรคการเมืองต้องรับผิดชอบ พรรคก็ไม่ต้องรับผิดชอบ

 เท่ากับว่า เอามติพรรคหรือความสัมพันธ์ทางการเมืองภายในพรรค มางดเว้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ !

 พิจารณาในรายงานการประชุมของ สสร. ครั้งที่ 34/2550 เมื่อวันอังคาร 26 มิถุนายน 2550 หน้า 38-51 บันทึกไว้ชัดเจนว่า นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และคณะ เป็นผู้ขอแปรญัตติเติมข้อความในวรรคสอง มาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญ และได้ปรากฏเจตนารมณ์ตามที่ได้มีการอภิปราย คือ ต้องการให้พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคลที่รับผิดชอบต่อผู้สมัครของพรรคการเมืองในการควบคุมพฤติกรรมของคนของพรรค ไม่ให้กระทำผิด เปรียบเสมือนบริษัทจะต้องควบคุมพฤติกรรมของพนักงาน เจ้าหน้าที่ของบริษัท ไม่ให้กระทำผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องให้กรรมการบริษัทควบคุมพฤติกรรมของคนในบริษัท ซึ่งน่าจะทำให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด เช่นเดียวกับกรรมการบริหารของพรรค ซึ่งถ้ารู้เห็นหรือรู้การกระทำแล้วต้องแก้ไขเยียวยา ไม่ปล่อยปละละเลย กรรมการบริหารพรรคต้องทำหน้าที่บริหารจริงๆ ไม่ใช่ใส่ชื่อไว้เพื่อเป็นเกียรติ ไม่ต้องทำงาน

 และหากกรรมการบริหารพรรคคนใด (ผู้ใด) รู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบการกระทำนั้นแล้วมิได้ยับยั้งแก้ไข ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อันเป็นเหตุให้ยุบพรรค

 หากยึดหลัก “นิติศาสตร์” และ “รัฐศาสตร์” ที่แท้จริง โดยคำนึงถึงความเป็น “นิติรัฐ” และ “หลักการปกครองบ้านเมืองโดยความยุติธรรม” กรณีทั้ง 2 พรรคการเมืองนี้ ก็ไม่ยากที่จะสอบสวน

 1.รัฐธรรมนูญ กำหนดว่า “ถ้าการกระทำ... ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า” ไม่ต้องถึงกับต้องพิสูจน์จนสิ้นสงสัย ไม่เหมือนการพิจารณาคดีอาญาอื่นใด แค่เชื่อได้ว่า ก็ต้องดำเนินการยุบพรรค

 2. ประเด็นการพิสูจน์ คือ เชื่อได้ว่า มีกรรมการบริหารพรรคผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทํานั้นแล้วมิได้ยับยั้งหรือแก้ไข หรือไม่ ?

 3.วิธีการพิสูจน์

 กรณีพรรคชาติไทย ก็โดยการสอบถามกรรมการบริหารของพรรคชาติไทย คือ นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ว่าได้รูเห็นหรือทราบถึงการกระทําของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครของพรรคแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเยียวยา จนกระทั่งความผิดสำเร็จ เพราะเหตุใด

 กรณีพรรคมัชฌิมาฯ ก็คล้ายกัน ให้สอบถามกรรมการบริหารของพรรคมัชฌิมาฯ คือ นายสุนทร วิลาวัลย์ ว่าได้รู้เห็นหรือทราบถึงการกระทําของนายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครของพรรคแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเยียวยา จนกระทั่งความผิดสำเร็จ เพราะเหตุใด

 ถ้าปฏิเสธว่าไม่รู้เห็น ก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ทั้ง 2 คน เป็นกรรมการบริหารพรรค มิได้มีส่วนรู้เห็น หรือทราบถึงการกระทำของตนเอง (จะเป็นไปได้อย่างไร) !!!

 หากอนุกรรมการของ กกต.อ้างว่า การกระทำความผิดของกรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 คน 2 พรรค เป็นความผิดส่วนตัว ไม่สามารถจะเอาผิดพรรค ย่อมเป็นการอ้างที่ฟังไม่ขึ้น และน่าจะขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติกำหนดว่า “กรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด” ซึ่งไม่จำเป็นว่า หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดจะต้องรับรู้ เนื่องเพราะต้องการให้กรรมการบริหารพรรคแต่ละคนจะต้องทำหน้าที่สอดส่องดูแล ตรวจสอบพฤติกรรมของคนในพรรค และไม่ทำชั่วเสียเอง

 2. กรณีนอมินี (Nominee) พรรคไทยรักไทย

 กรณีนี้ เริ่มมีเรื่องแปลกๆ แปร่งๆ ฟังดูชอบกล

 มีข่าวถึงขนาดว่า กกต.บางคน ให้สัมภาษณ์ทำนองว่า จากการสอบสวน พบว่า พรรคพลังประชาชนมีพฤติการณ์เข้าลักษณะเป็นนอมินี (ตัวแทน) ของพรรคไทยรักไทย แต่อาจจะไม่สามารถทำอะไรได้ เอาผิดไม่ได้ เพราะไม่มีคำว่านอมินี (Nominee) ในกฎหมาย ไม่มีการระบุโทษของการเป็นนอมินีในกฎหมาย !!!

 โปรดตั้งหลักกันบนพื้นฐานข้อเท็จจริง เหตุและผล

 ในความเป็นจริง ปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยกระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 กระทำการเพื่อใหไดมาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรค ด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเป็นที่ยุติ

 หากปรากฏหลักฐานชัดว่า ไม่ว่าจะเป็น พยานหลักฐานต่างๆ ซึ่งประจักษ์ต่อสาธารณะ และได้จากการสอบสวนของ กกต. อาทิ พ.ต.ท.ทักษิณพูดในวีซีดีว่าให้เลือกพรรคพลังประชาชนเพราะพวกเรารวมกันตั้งพรรคชื่อใหม่ – นางสุดารัตน์แถลงว่าได้ติดต่อให้ทักษิณเจรจากับนายสมัคร- นายสมัครรับว่าเป็นนอมินี – การใช้ที่ทำการพรรคเดิมของไทยรักไทย – การใช้โลโก้คล้ายกัน - การที่กรรมการบริหารพรรคเดิมเข้าเลือกคนลงสมัคร ฯลฯ
  ก็เท่ากับว่า พรรคไทยรักไทยยังทำงานการเมือง จัดส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง โดยเพียงเปลี่ยนชื่อพรรคเท่านั้น ในสาระสำคัญทุกอย่างเหมือนเดิม ทั้งๆ ที่ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคไปแล้ว เพื่อมิให้กระทำความเสียหายแก่บ้านเมืองซ้ำอีก

 ไม่เห็นจำเป็นว่า ต้องมีคำว่า “นอมินี” ในกฎหมาย หรือไม่

 ไม่เห็นจำเป็นว่า กฎหมายต้องมีการระบุโทษของการเป็น “นอมินี” หรือไม่

 โดยไม่จำเป็นว่า จะต้องมีคำว่า “นอมินี” ในคำวินิจฉัย

 แค่วินิจฉัยอย่างตรงไปตรงมา อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ข้อเท็จจริง เจตนารมณ์ วิญญาณของกฎหมาย

 ไม่ใช่แบบศรีธนญชัย หรือนิติอักษรศาสตร์ ที่ชอบตีความตามตัวอักษรลูกเดียว
 กกต. จะใช้อำนาจตามอำเภอใจ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มิได้ !
[/size] [/color]

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง


http://www.naewna.com/news.asp?ID=100309
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 17-03-2008, 10:40 »

สายใยไทยทั้งเมือง


วันจันทร์ ที่ 17 มีนาคม 2551
แบ่งข้าง แยกขั้ว กลับไปเหมือนตอนก่อนปฏิวัติ....ระมัดระวังกันด้วย
Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 18 , 08:37:11 น.   

ไปเจอบทความถูกใจจาก"มติชน" เรื่องการเมือง 2551 แบ่งข้างแยกขั้ว
สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคมกลับไปยืนในจดก่อนเกิดเหตุ 19 กันยา 2549 ยังไงยังงั้น

*****************

"ทั้งพรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช คีย์แมนคนสำคัญของพรรคก็ล้วนแล้วแต่เคยสังกัดพรรคไทยรักไทยเป็นส่วนใหญ่"


เพียงการเริ่มต้นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 สถานการณ์ประเทศไทยก็แจ่มชัดขึ้น

เป็นสถานการณ์ที่แจ่มชัดว่า ประเทศไทยในปี 2551 มีสภาพมิได้แตกต่างจากสถานการณ์เมื่อก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

หากใครยังจำสถานการณ์เมื่อปี 2548 ได้ คงระลึกได้ว่า ขณะนั้นคนในชาติเกิดความแตกแยก

ฝ่ายการเมืองตั้งหน้าตั้งตาที่จะห้ำหั่นกัน จนถึงขั้นปฏิเสธหนทางการเลือกตั้ง

วุฒิสภาเกิดความแตกแยก ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง

มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในการคัดเลือกกรรมการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

ขณะที่การเคลื่อนไหวด้านนอกสภา ก็บังเกิดกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นมาขับไล่รัฐบาล เผชิญหน้ากับกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาล

หากใครยังจำได้ สถานการณ์บ้านเมืองในช่วงนั้น ไม่มีใครกล้าแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ เพราะอาจจะถูกด่าว่า หรือไม่ก็ถูกทำร้าย

และการเผชิญหน้ากันยังเป็นเหตุให้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ใช้เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร

นั่นเป็นสถานการณ์เมื่อปี 2548-2549

และเมื่อนำสถานการณ์ในช่วงดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ ณ เวลานี้ ดูเหมือนว่าหลายสิ่งหลายอย่างกำลังหมุนเวียนกลับไปที่เดิม

เมื่อปี 2548 ประเทศไทยมีรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล ส่วนพรรคชาติไทยเป็นพรรคร่วม ส่วนปี 2551 แม้รัฐบาลจะเป็นรัฐบาลผสมพรรคพลังประชาชน แต่เมื่อตรวจสอบเนื้อในแล้วล้วนแล้วแต่เป็นพลพรรคไทยรักไทยเดิมแทบทั้งสิ้น

ทั้งพรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช คีย์แมนคนสำคัญของพรรคก็ล้วนแล้วแต่เคยสังกัดพรรคไทยรักไทยเป็นส่วนใหญ่

โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน !

พร้อมกันนั้น การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการที่ผ่านมา ก็พอจะทำให้แลเห็นได้ว่า "อำนาจกำลังเปลี่ยนขั้ว"

ขณะที่ทางฝ่ายวุฒิสภา แม้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 จะกำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภา 2 ระบบ คือ ระบบสรรหา และระบบเลือกตั้ง โดยมีเป้าหมายให้สมาชิกวุฒิสภามีความเป็นตัวของตัวเอง

แต่กลับปรากฏว่า ในการเลือกประธานวุฒิสภาที่ผ่านมา กลับมีการแบ่งแยกขั้ว และตีแผ่เบื้องหน้าเบื้องหลังกันอย่างไม่ผิดเพี้ยนกับวุฒิสภาชุดเลือกตั้ง

เช่นเดียวกับการสมัครเข้าเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่แม้เพิ่งเริ่มต้น แต่ก็มีข่าวคราวเกี่ยวกับการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย

ยิ่งเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยเดินทางกลับประเทศ บรรยากาศแห่งการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายยิ่งคมชัดขึ้น

ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มประชาชนที่ชูป้ายสนับสนุนการกลับมาของ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้ง นักการเมืองที่ "ตบเท้า" ไปต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ

อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จับกลุ่มรวมตัวกันออกแถลงการณ์ กล่าวหารัฐบาลใช้อำนาจแทรกแซงฝ่ายตุลาการ

ซึ่งการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนี้ ได้ไปกระตุ้นให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ หรือ นปก. เตรียมตัวออกมาเคลื่อนไหว

ขณะที่บรรยากาศการเมืองภายในประเทศ เริ่มมีการงัดเอาข้อกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นมาห้ำหั่นกัน

ทั้งประเด็นเรื่องการกล่าวหาว่ากรรมการบริหารพรรคทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง อันมีเหตุนำไปสู่การยุบพรรค

ไม่ว่าจะเป็นพรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย หรือแม้กระทั่งพรรคพลังประชาชน

ทั้งประเด็นการกล่าวหาเรื่อง "นอมินี" ของพรรคการเมือง ซึ่งกำลังเป็นที่โจษขานกันถึงคดียุบพรรค

ทั้งประเด็นคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาในคดีหวยบนดินว่าสมควรจะต้องหยุดพักการทำงานไปก่อนหรือไม่

จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ได้ตอกย้ำให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่า สถานการณ์ของประเทศในขณะนี้มีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากสถานการณ์ประเทศไทยเมื่อปี 2548-2549

ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจและพลังงาน ยิ่งทำให้แลเห็นชัดขึ้นว่า สถานการณ์ในขณะนี้ไม่แตกต่างจากสถานการณ์เมื่อปี 2548-2549 จริงๆ

เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสถานการณ์ที่แสดงถึงความแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย

จาก "ไทยรักไทย" กับ "ประชาธิปัตย์" เปลี่ยนมาสู่ "พลังประชาชน" กับ "ประชาธิปัตย์"

จากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ เป็น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ เหมือนเดิม

จากปัญหาภายในที่รุมเร้า จนไม่มีเวลาแก้ไขปัญหาภายนอก กลายมาเป็น ปัญหาภายในที่รุมเร้า จนไม่มีเวลาแก้ไขปัญหาภายนอก เหมือนเก่า

สถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นสถานการณ์ที่เหมือนเดิม

เป็นสถานการณ์ที่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย จ้องทำร้ายซึ่งกันและกัน

เป็นสถานการณ์ที่คนไทยต้องปลง และเวทนาตัวเอง ที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้

***ที่มา หนังสือพิมพ์ มติชน

**************************

นี่คือสถานการณ์ทดสอบภูมิปัญญาของคนไทยทั้งชาติ
ที่จะต้องช่วยกันมองปัญหา และนำเสนอทางออก ทางแก้ให้กับสังคม
เพราะไม่ว่าผลจะออกมายังไง มันก็คือผลดี/ผลเสียของประเทศชาติโดยรวม

โผโยกย้ายทหารรับทราบว่า"ลงตัว"ในระดับหนึ่ง
ผบ.ทร. บอกพันธมิตรว่า อย่าเอาคนจำนวนหมื่นไปตัดสินใจแทนคนไทย 70 ล้าน
ผบ.ทบ. บอกว่า "ลดราวาศอกกันบ้าง"

กลุ่มนปก.และพลังประชาชาบอกว่าพร้อมจัดม้อบชน ถ้าล้นห้องประชุมจะไปสนามหลวง

กลุ่มพันธมิตรบอกว่า เป็นการจัดสัมนาเชิงวิชาการ มีการจัดรายการ 4 ทุ่มก็เลิก ไม่ยืดเยื้อ

ห่วงแต่ มท.1 เดือดร้อนอะไรนักหนา ถ้ารู้จัก "หุบปาก" ไม่สร้างราคา คิดว่าปัญหาไม่ขยายวง

กำลังคิดว่าจะนั่งบนภู ดูหมูกัดกันไม่ได้ซะแล้ว ก็แค่ต่างคนต่างทำหน้าที่

ทำอะไรในที่ตั้งของตน ไม่เผชิญหน้า ปัญหาที่ว่ายิ่งใหญ่ มันมีทางออกของมันเองอยู่แล้ว

ตราบใดที่เข้าใจคำว่า "ประชาธิปไตย สิทธิ หน้าที่" อย่างถูกต้องลึกซึ้ง

ปัญหาทั้งหมดมันก็จะคลี่คลายไปเอง

ไม่ใช่เพราะจัดม้อบต้านม้อบดอกหรือ อำนาจอื่นเค้าถึงเข้ามาจัดการ

สันดานเจ็บไม่รู้จักจำแบบนี้ มีประเทศเดียวในโลก


แคน ไทเมือง

http://www.oknation.net/blog/canthai/2008/03/17/entry-1
 


ฝากแปะด้วยครับ
บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #2 เมื่อ: 18-03-2008, 18:21 »

ผมช่วยเอากฏหมายมาแปะ....เผื่อ กกต. จะกำลังยุ่ง ไม่มีเวลาเปิดอ่าน.....


http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/sapa13-upload/cons_book.pdf



อยู่ที่หน้า 227  มาตรา 237 .......อ่านแล้วไม่ต้องตีความ....อ่านแล้ว ไม่ต้องไปถามพรรค ว่า รู้เห็นด้วยหรือปล่าว  ถ้า ไม่อยากยุบพรรค กกต.กรุณา ยกเลิกใบแดง กรรมการบริหารพรรคด้วยครับ

ปล. ผมไม่รู้วิธี ตัดแปะ รายละเอียด ในมาตรา 237 ถ้าใครทำเป็น ขอความกรุณาด้วยครับ



บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #3 เมื่อ: 18-03-2008, 18:30 »

มาตรา ๒๓๗ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่น
กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศ
ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและ
เที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้า
พรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย
หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดย
สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจใน
การปกครองประเทศโดยวิ

เจตนารมณ์ เพื่อกำหนดการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่
กระทำการหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการทุจริต บทลงโทษดังกล่าวครอบคลุมถึง
หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค


การกำหนดโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค รวมทั้ง
การยุบพรรค เป็นผลมาจากการที่พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคล จึงถือว่าหัวหน้าพรรคการเมือง
เป็นผู้แทนนิติบุคคล ส่วนกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นผู้มีอำนาจบริหารพรรค ฉะนั้น
หากสมาชิกพรรคกระทำการทุจริต บุคคลเหล่านี้ควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการกระทำนั้นด้วย

หมายเหตุ
๑) หลักการดังกล่าวบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นครั้งแรก
๒) รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๓๔/๒๕๕๐ (เป็นพิเศษ) วันอังคารที่
๒๖ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #4 เมื่อ: 18-03-2008, 18:37 »

มาตรา ๒๓๗ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่น
กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศ
ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและ
เที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้า
พรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย
หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดย
สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจใน
การปกครองประเทศโดยวิ

เจตนารมณ์ เพื่อกำหนดการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่
กระทำการหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการทุจริต บทลงโทษดังกล่าวครอบคลุมถึง
หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค


การกำหนดโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค รวมทั้ง
การยุบพรรค เป็นผลมาจากการที่พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคล จึงถือว่าหัวหน้าพรรคการเมือง
เป็นผู้แทนนิติบุคคล ส่วนกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นผู้มีอำนาจบริหารพรรค ฉะนั้น
หากสมาชิกพรรคกระทำการทุจริต บุคคลเหล่านี้ควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการกระทำนั้นด้วย

หมายเหตุ
๑) หลักการดังกล่าวบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นครั้งแรก
๒) รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๓๔/๒๕๕๐ (เป็นพิเศษ) วันอังคารที่
๒๖ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๐

ขอบคุณครับ คุณล็อคอิน....ประเด็นที่ผมจะชี้ให้เห็น คือ ตรงนี้ครับ


ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้า
พรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย
หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดย
สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ


อ่านแล้ว ไม่ต้องไปถามหัวหน้าพรรค ให้ยุ่งยาก...ไม่ต้องไปสืบว่า พรรคมีส่วนรู้เห็นหรือป่าว....

 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #5 เมื่อ: 18-03-2008, 19:14 »

ผมช่วยเอากฏหมายมาแปะ....เผื่อ กกต. จะกำลังยุ่ง ไม่มีเวลาเปิดอ่าน.....

http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/sapa13-upload/cons_book.pdf

อยู่ที่หน้า 227  มาตรา 237 .......อ่านแล้วไม่ต้องตีความ....อ่านแล้ว ไม่ต้องไปถามพรรค ว่า รู้เห็นด้วยหรือปล่าว  ถ้า ไม่อยากยุบพรรค กกต.กรุณา ยกเลิกใบแดง กรรมการบริหารพรรคด้วยครับ

ปล. ผมไม่รู้วิธี ตัดแปะ รายละเอียด ในมาตรา 237 ถ้าใครทำเป็น ขอความกรุณาด้วยครับ

กำลังอยากหาเอกสารสรุป เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ได้จากคุณ 55555 พอดี
สรุปว่ากรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 อย่างชัดเจน

ไม่ทราบว่า คุณ 55555 ใช้โปรแกรมอะไรเปิดเอกสารครับ ผมใช้ Acrobat 8.0 เปิดเอกสาร
ก็สามารถใช้เมาท์ลากเพื่อ copy และ paste ข้อความในเอกสารได้ตรงๆ นะครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #6 เมื่อ: 18-03-2008, 19:41 »

พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. ๒๕๕๐

ส่วนที่ ๑๐

การดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

               มาตรา ๑๐๓ ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนสอบสวน

แล้วเห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญนี้ หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือมีพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่า

ผู้สมัครผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำ สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าว หรือรู้ว่ามี

การกระทำดังกล่าวแล้วไม่ดำเนินการเพื่อระงับการกระทำนั้น ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าการ

กระทำนั้นน่าจะมีผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง

สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครที่กระทำการเช่นนั้นทุกรายเป็นเวลาหนึ่งปี โดยให้มีผลนับแต่วันที่

คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่ง

               ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรค

การเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลยหรือทราบถึงการ

กระทำนั้นแล้วมิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรค

การเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม

วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ยุบพรรคการเมืองนั้น


ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

ของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่ง

ให้ยุบพรรคการเมือง


               ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง

ไม่ว่าเป็นการกระทำของผู้ใด ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้ใดหรือพรรคการเมืองใดจะได้รับประโยชน์จาก

การกระทำนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสั่งให้ผู้สมัครผู้นั้นหรือพรรคการเมืองนั้นระงับหรือ

ดำเนินการใด เพื่อแก้ไขความไม่สุจริตและเที่ยงธรรมนั้นภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่ผู้สมัครผู้นั้น

หรือพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร

ให้สันนิษฐานว่าผู้สมัครผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำนั้น พรรคการเมืองนั้นมีส่วนรู้เห็นในการ

กระทำนั้น เว้นแต่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นพิสูจน์ได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าว

               มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรานี้ให้เป็นไปตาม

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

               เมื่อมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครผู้ใดหรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิ

เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดแล้วให้พิจารณาดำเนินการ

ให้มีการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้สมัคร หัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้นั้นด้วย

ในการนี้ ให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

               ในกรณีที่มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรานี้ภายหลังวันลงคะแนนเลือกตั้งแต่ก่อนวัน

ประกาศผลการเลือกตั้ง และผู้สมัครที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต

เลือกตั้งที่ได้คะแนนเลือกตั้งในลำดับซึ่งจะเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการ

การเลือกตั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้ได้ผู้รับเลือกตั้งครบจำนวนที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น
บันทึกการเข้า
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #7 เมื่อ: 18-03-2008, 19:49 »

พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
พ.ศ. ๒๕๕๐

หมวด ๔
การสิ้นสภาพ การเลิกและการยุบพรรคการเมือง
ส่วนที่ ๓
การยุบพรรคการเมือง


               มาตรา ๙๔ เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญ

สั่งยุบพรรคการเมือง


               (๑) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไป

ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกระทำการตามที่รัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้

ได้มาซึ่งอำนาจโดยวิธีการดังกล่าว

               (๒) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการ

การเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม


               (๓) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

               (๔) กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร

หรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ

               (๕) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๓ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ มาตรา ๖๙

หรือมาตรา ๑๐๔
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #8 เมื่อ: 18-03-2008, 23:50 »

ขอบคุณครับ คุณล็อคอิน....ประเด็นที่ผมจะชี้ให้เห็น คือ ตรงนี้ครับ


ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้า
พรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย
หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดย
สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ


อ่านแล้ว ไม่ต้องไปถามหัวหน้าพรรค ให้ยุ่งยาก...ไม่ต้องไปสืบว่า พรรคมีส่วนรู้เห็นหรือป่าว....

 



กรรมการบริหารพรรคฯ เป็นผู้กระทำเสียเอง
แล้วต้องไปสอบถามใครอีก..............ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #9 เมื่อ: 19-03-2008, 13:12 »

กกต.ยอมรับเห็นค้านกับมติอนุฯยุบพรรค มฌ.ชท.

นายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวถึงกรณีที่กกต.ยังไม่มีมติให้ยุบหรือไม่ยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยและพรรคชาติไทยว่า สาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถลงมติได้ เป็นเพราะกกต.มีความเห็นสวนทางกับมติของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวน กรณียุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยและพรรคชาติไทย ที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน ทั้งนี้ เห็นว่ามาตรา 103 (2) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ระบุชัดว่า เมื่อกรรมการบริหารพรรคทำผิด ให้ถือว่าพรรคการเมืองต้องมีส่วนรับผิดชอบ โดยกฎหมายได้ระบุผูกมัดไว้อย่างชัดเจน กกต.จึงมีมติให้คณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย กกต. ที่มีนายสุพล ยุติธาดา เป็นประธาน ตีความว่ากฎหมายดังกล่าวจะสามารถแปลเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่

'ในเมื่อหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคคนอื่นกระทำความผิดแล้ว มันไม่มีทางเลือก เอาอย่างนี้ดีกว่า พูดกันตรงๆ เลย' นายสุเมธ กล่าว

นายสุเมธ กล่าวถึงกรณีที่มีการโยกย้ายพล.ต.ต.ชัยยะ ศิริอัมพันธ์กุล รองผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ซึ่งเป็นอดีตพนักงานสอบสวนสำนวนทุจริตการเลือกตั้ง ที่จ.เชียงราย ของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปช่วยราชการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า จ.ยะลา ว่า ไม่ทราบเรื่องนี้ แต่คิดว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกับการให้ใบแดงนายยงยุทธ

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=24067
บันทึกการเข้า
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 19-03-2008, 13:21 »

คุณบุญทัน ไม่ทำให้ผิดหวังจริง ๆ ครับ
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 19-03-2008, 13:29 »

กกต. ชอบเอาเรื่องการเมือง มาผูกโยงกับการลงมติหรือตัดสินใจ

ความเชื่ยวชาญในข้อกฎหมาย ไม่มีข้อสงสัยอยู่แล้ว เพราะมาจากระดับผู้พิพากษาทั้งสิ้น

แค่ตัดสินไป ตามที่กฎหมายบัญญั มันก็ไม่สร้างปัญหายืดเยื้อ กลัวอะไรกันนักหนา


เห็นบอกว่าจะขอให้ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ตีความช่วย กกต.

โธ่...ท่านทั้งหลาย ความรู้ความสามารถอยู่ในตัว มีตำแหน่ง มีหน้าที่ก็ทำไปซีครับ

ทำแล้วมีเหตุผลรองรับ คนเค้าก็ต้องเชื่อตามนั้น มีอำนาจแล้วใช้ไม่เป็นก็ลาออกดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า

democrazy
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 42


« ตอบ #12 เมื่อ: 19-03-2008, 18:52 »

จะยุบหรือไม่ยุบ มันก็มีปัญหาทั้งนั้น ดังนั้น ทำไปตามข้อเท็จจริง ตามตัวบทกฎหมายนั่นแหละดีที่สุด

มัวแต่หาช่องลอดกัน มันถึงได้อิรุงตุงนังมาถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #13 เมื่อ: 19-03-2008, 19:01 »

ผมยังเชื่อใจ กกต. ชุดนี้อยู่ว่า มีความจริงใจ ในการทำงาน....แต่ ไม่กล้าตัดสินใจ ยุบพรรค เพราะ กลัวแรงกดดันทางการเมือง.....ระวังน๊ะครับ...ผู้คนจะมองว่า กกต. ไม่มีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม
อ้างถึง
ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้า
พรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด
มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย
หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดย
สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ




คำว่า หัวหน้าพรรคการเมือง หรือ กรรมการบริหารของพรรคการเมือง ผู้ใด ...มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย .....

หมายถึง คนใดคนหนึ่ง ไม่ได้ หมายถึง ทั้งจะต้องทั้งสองคน......

กรรมการบริหารพรรคการเมือง ทำผิดกฏหมายโดนใบแดง  ก็ไม่ต้องไปถามแล้ว ว่า กรรมการผู้นั้นมีส่วนรู้เห็น หรือ ปล่อยปละละเลยหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องไปถามแล้วว่า พรรค ฯ มีส่วนรู้เห็นหรือไม่....กฏหมายอันนี้ คนที่พออ่านหนังสือเป็น พอจะเข้าใจภาษาไทย ก็ไม่ต้องตีความอะไรแล้วครับ...ในตัวบทกฏหมาย ก็พูดไว้ชัดเจน ไม่ได้คลุมเครื่ออะไร..ไม่มีสองแง่ สองง่าม......

ศาลฏีกา ก็เช่นกัน...หาก กกต. ไม่กล้ายุบพรรค พปช. กรุณา ยกเลิก ใบแดง ของคุณยงยุทธ ด้วยครับ...กกต. จะได้ไม่อึดอัด.เรื่องยุบพรรค พปช.

บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #14 เมื่อ: 19-03-2008, 19:16 »

ยุบไปเล้ยย.. ไม่ต้องลีลา Twisted Evil
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #15 เมื่อ: 19-03-2008, 20:41 »

ถ้าดูตามข้อกฎหมาย

กกต. ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ สถานเดียว


เมื่อถึงศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็พิจารณา ได้สองทางแค่นั้นเองว่า

1 กกต. แจกใบแดง กรรมการบริหารพรรค ชอบหรือไม่ ถ้าแจกโดยมิชอบ กกต. ก็จะโดนฟ้องแน่ ๆ

2 ยุบพรรค หรือไม่

มีสองทางเลือก ไม่มีทางเลือกอื่นอีก
บันทึกการเข้า
p
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


« ตอบ #16 เมื่อ: 19-03-2008, 21:36 »

คุณบุญทัน ไม่ทำให้ผิดหวังจริง ๆ ครับ
ถ้าจะเปรียบกับต้นไม้แล้ว
คุณบุญทันเหมือนกับต้นไม้ที่ไร้แก่นครับ
หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่า
คุณบุญทันไม่ต่างอะไรไปจากพวกเถาวัลย์
ที่คอยปีนป่ายหรือเกี่ยวเกาะพวกไม้ยืนต้นน้อยใหญ่ทั้งหลาย
บางที่สังคมอาจจะมองเห็นว่าคุณบุญทันเป็นคนหัวก้าวหน้า
เป็นนักวิชาการที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมืองอยู่บ่อยๆ
แต่มีใครสักกี่คนที่เคยได้ยินคุณบุญทันวิพากษ์วิจารณ์"นายทุน"
มีไหมครับที่เคยได้ยินคุณบุญทันวิพากษ์วิจารณ์"นายทุน"
ถ้ามีกรุณาบอกมาได้เลยครับ
มีรางวัลงามๆให้ครับ

 
บันทึกการเข้า

ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #17 เมื่อ: 19-03-2008, 23:24 »

ไม่ยึดหลักกฎหมาย บ้านเมืองลุกเป็นไฟ กกต.จะต้องรับผิดชอบ (เจิมศักดิ์ขอคิดด้วยฅน) ....

ถ้ายึดหลักกฎหมาย สุจริตชนจะให้การสนับสนุนกำจัดลิ่วล้อทั้งสองฝ่าย..... Exclamation


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #18 เมื่อ: 19-03-2008, 23:26 »

ถ้าจะเปรียบกับต้นไม้แล้ว
คุณบุญทันเหมือนกับต้นไม้ที่ไร้แก่นครับ
หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่า
คุณบุญทันไม่ต่างอะไรไปจากพวกเถาวัลย์
ที่คอยปีนป่ายหรือเกี่ยวเกาะพวกไม้ยืนต้นน้อยใหญ่ทั้งหลาย

บางที่สังคมอาจจะมองเห็นว่าคุณบุญทันเป็นคนหัวก้าวหน้า
เป็นนักวิชาการที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมืองอยู่บ่อยๆ
แต่มีใครสักกี่คนที่เคยได้ยินคุณบุญทันวิพากษ์วิจารณ์"นายทุน"
มีไหมครับที่เคยได้ยินคุณบุญทันวิพากษ์วิจารณ์"นายทุน"
ถ้ามีกรุณาบอกมาได้เลยครับ
มีรางวัลงามๆให้ครับ

 



ใกล้ด่าง เป็นด่าง...
ใกล้เกลือ เป็นเกลือ......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #19 เมื่อ: 19-03-2008, 23:30 »

ศาลฯเหมือนพระ
ชงอะไรมา ก็ต้องกิน....

ดังนั้น'นายใหญ่' และ'ลิ่วล้อ'
จึงต้องย้าย'คนชง'....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #20 เมื่อ: 20-03-2008, 11:45 »

อ้างถึง

รับเห็นสวนทางอนุฯชุด 'บุญทัน'

เมื่อถามว่า สรุปว่า กกต.ยึดความผิดตามมาตรา 94 (1) ใช่หรือไม่ นายสุเมธกล่าวว่า ข้อกฎหมายบอกว่าถ้ากรรมการบริหารพรรคทำผิด ''ให้ถือว่า''  ได้การปกครองประเทศโดยการกระทำที่ไม่ชอบ เข้ามาตรา 94 (1) จึงไม่มีทางมองเป็นอย่างอื่นได้ ทั้งนี้ หากที่ปรึกษากฎหมายมีมติเหมือนกับอนุกรรมการก็คงต้องดูว่าจะพิจารณาอย่างไร ในที่ประชุม กกต.ตนได้เสนอว่า เมื่อข้อกฎหมายยังไม่ชัดเจนควรส่งให้ที่ปรึกษากฎหมายดูว่า มองประเด็นข้อกฎหมายเหมือนกับตนหรือไม่ เพราะเมื่อกฎหมายมาตรา 94 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองเขียนไว้อย่างนั้นก็ไม่มีทางที่จะเห็นเป็นอย่างอื่น นอกจากส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าที่ปรึกษากฎหมายมีทางออกที่ดีและเห็นว่าหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นไม่เกี่ยว กกต.อาจจะไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าไม่มีทางออกอื่น กกต.ก็คงต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งยุบพรรคแล้ว แต่สมาชิกพรรคคนอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องก็สามารถไปหาพรรคอื่นสังกัดได้ภายใน 60 วัน

'' ยอมรับว่าความคิดของผมสวนทางกับการสรุปสำนวนของคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี กกต.มีเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (พรรคชาติไทย-มัชฌิมาธิปไตย) ส่วนตัวเห็นว่าตามกฎหมายไม่มีทางที่จะให้คิดเป็นอย่างอื่นได้ เขามัดคอผมว่าต้องส่งไปศาลรัฐธรรมนูญ คล้ายกับว่าขีดเส้นให้ผมเดิน ซึ่งในที่ประชุมก็เห็นเหมือนกันหมด ไม่อย่างนั้นก็คงไม่มีมติส่งให้ที่ปรึกษากฎหมายพิจารณา เพราะหากพบว่ามีกรรมการบริหารพรรคกระทำความผิด กฎหมายไม่ได้เปิดทางให้ยกคำร้องได้'' นายสุเมธกล่าว และว่า การพิจารณาของ กกต.จะต้องนำเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่อยากให้กรรมการบริหารพรรคเป็นตัวอย่างที่ดีจึงเขียนเอาไว้ว่าเมื่อกรรมการบริหารพรรคกระทำผิด พรรคก็ต้องรับผิดไปด้วยมาพิจารณาด้วย


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=24175&catid=1


มิน่าเล่า คุณลุงบรรหาญถึงได้หายหงุดหงิด ไปอาทิตย์สองอาทิตย์....ที่ แท้ ท่านอนุ ฯ ลืมอ่านกฏหมาย มาตรา 237  นี่เอง....คุณลุงบรรหาญ ถึงสบายใจ....

รบกวนท่าน อนุฯ ลองอ่านอีกที ครับ...เสียเวลา แค่ 2-3 นาที เอง

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=24128&catid=1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-03-2008, 11:58 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #21 เมื่อ: 20-03-2008, 11:59 »

แน่ใจแล้วหรือว่ากฏหมายเขียนไว้ชัด...ความเห็นของนายสุเมธถูกแน่หรือ...

ในมุมมองนักกฏหมายหลายๆคนยังคิดว่ากฏหมายเขียนไว้ไม่ชัด กฏหมายไม่ได้เขียนไว้เลยว่าถ้า หัวหน้าพรรค หรือ กรรมการบริหารพรรคทำผิดเสียเองแม้ว่าจะกระทำในฐานะส่วนตัว ก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำของพรรค...

การที่กฏหมายเขียนแต่เพียงว่า หัวหน้า หรือ กรรมการ รู้เห็นเป็นใจ ปล่อยปละละเลย ไม่แก้ไข ให้ถือว่าเป็นการกระทำของพรรค การเขียนแต่เพียงแค่นี้ จึงยังมีข้อให้สงสัยว่าจะคลอบคลุมถึงตัวหัวหน้า หรือกรรมการ กระทำผิดเองด้วยหรือไม่ เพราะจากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า น่าจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยสองคนเป็นอย่างน้อย คือ ผู้กระทำผิด แล้วตัวหัวหน้า หรือ กรรมการ มารู้เห็น ไม่ห้ามปราม ซึ่งแบบนี้ก็พอเข้าใจได้ว่า พรรคมีส่วนผิดด้วย แต่ในกรณีที่ตัว กรรมการกระทำผิดเอง แต่ตัวหัวหน้า หรือ กรรมการอื่นไม่รู้เห็นด้วย จึงไม่อาจจะรับฟังได้โดยถนัดนักว่า พรรครู้เห็นเป็นใจด้วย จะไปยุบพรรคก็ดูแปลกๆ เพราะยังไม่มีการกระทำของพรรคเลย

ในกรณีปัญหาหากมี หัวหน้า หรือ กรรมการอื่นที่ไม่ใช่คนที่ถูกใบแดงมารู้เห็นด้วย จะไม่เกิดปัญหาเลย แต่เมื่อกรรมการ ที่กระทำผิด และกรรมการที่รู้เห็น เป็นคนๆเดียวกัน จึงมีข้อให้น่าคิดอยู่อีก ดังนั้นการส่งดำเนินการของ กกต. ที่ไม่ด่วนสรุป แต่ส่งตีความก่อน น่าจะเป็นการกระทำที่รอบคอบแล้ว ....
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #22 เมื่อ: 20-03-2008, 12:25 »

แน่ใจแล้วหรือว่ากฏหมายเขียนไว้ชัด...ความเห็นของนายสุเมธถูกแน่หรือ...

ในมุมมองนักกฏหมายหลายๆคนยังคิดว่ากฏหมายเขียนไว้ไม่ชัด กฏหมายไม่ได้เขียนไว้เลยว่าถ้า หัวหน้าพรรค หรือ กรรมการบริหารพรรคทำผิดเสียเองแม้ว่าจะกระทำในฐานะส่วนตัว ก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำของพรรค...

การที่กฏหมายเขียนแต่เพียงว่า หัวหน้า หรือ กรรมการ รู้เห็นเป็นใจ ปล่อยปละละเลย ไม่แก้ไข ให้ถือว่าเป็นการกระทำของพรรค การเขียนแต่เพียงแค่นี้ จึงยังมีข้อให้สงสัยว่าจะคลอบคลุมถึงตัวหัวหน้า หรือกรรมการ กระทำผิดเองด้วยหรือไม่ เพราะจากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า น่าจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยสองคนเป็นอย่างน้อย คือ ผู้กระทำผิด แล้วตัวหัวหน้า หรือ กรรมการ มารู้เห็น ไม่ห้ามปราม ซึ่งแบบนี้ก็พอเข้าใจได้ว่า พรรคมีส่วนผิดด้วย แต่ในกรณีที่ตัว กรรมการกระทำผิดเอง แต่ตัวหัวหน้า หรือ กรรมการอื่นไม่รู้เห็นด้วย จึงไม่อาจจะรับฟังได้โดยถนัดนักว่า พรรครู้เห็นเป็นใจด้วย จะไปยุบพรรคก็ดูแปลกๆ เพราะยังไม่มีการกระทำของพรรคเลย

ในกรณีปัญหาหากมี หัวหน้า หรือ กรรมการอื่นที่ไม่ใช่คนที่ถูกใบแดงมารู้เห็นด้วย จะไม่เกิดปัญหาเลย แต่เมื่อกรรมการ ที่กระทำผิด และกรรมการที่รู้เห็น เป็นคนๆเดียวกัน จึงมีข้อให้น่าคิดอยู่อีก ดังนั้นการส่งดำเนินการของ กกต. ที่ไม่ด่วนสรุป แต่ส่งตีความก่อน น่าจะเป็นการกระทำที่รอบคอบแล้ว ....

ในความเป็นจริง...ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เค้ามีเจตนา กีดกันนักการเมืองชั่ว และ พวกศรีธนนชัย อยู่แล้วครับ...คนที่ แปร ญัตติ ก็ อ.เจิม ที่เขียนบทความในกระทู้นั่นแหละครับ..ที่ผมเน้น ม.237 เพราะ เห็นว่า มีการต่อสู้ กันว่า ทำส่วนตัวไม่เกี่ยวกับพรรค..ครับ


ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้า
พรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย
หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดย
สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ


คำว่า หรือ ย่อมต่างกับคำว่าและ ในภาษาไทยอยู่แล้ว...ครับ.........แค่คนเดียว ก็พอแล้วครับ...

มันมีมาตราที่ใช้ประกอบอยู่หลายมาตราครับ ตามลิ้งค์นี้ ลุงม้วน ลองกลับไปอ่านอีกครั้งน๊ะครับ อาจจะกำลังอ่านตอนที่ผมกำลังนำ ลิ้งไปใส่เพิ่ม เลยไม่ทันได้เห็น...

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=24128&catid=1

บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #23 เมื่อ: 20-03-2008, 12:48 »

ขอบคูณครับคุณ 5 5

อ่านแล้วครับ ก็แล้วแต่การตีความนะครับ ในส่วนตัวผมเอง ก็ยังเห็นว่าไม่ชัดอยู่ดี...

คำว่า หรือ กับ และ แตกต่างกันอยู่แล้วครับ แต่ในความหมายของผม สองคนหมายถึง

   1. หัวหน้า หรือ กรรมการ (คนใด คนหนึ่งก็ได้)

   2. ตัวผู้กระทำความผิด

แต่เรื่องนี้ตาม ข้อ 1. และ 2. ดันเป็นคนๆเดียวกัน ก็อย่างที่บอกละครับ กฏหมายไม่เขียน

ไว้ให้ชัดเลยว่า "ถ้าผู้กระทำผิดเป็น หัวหน้า เป็นกรรมการบริหาร แม้จะกระทำในฐานะส่วนตัว

ก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำของพรรค" เมื่อไม่เขียนไว้ให้ชัดมันก็มีสิทธิ์ที่จะสงสัยไปในอีกทางหนึ่งได้

ก็ขึ้นอยู่กับการตีความน่ะครับ
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #24 เมื่อ: 21-03-2008, 10:45 »

"นพ.สุรพงษ์"เตรียมเดินสายรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณีบทลงโทษยุบพรรค อ้างส่งผลรกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ ไม่มั่นใจเสถียรภาพรัฐบาล บอกต้องชัดเจนก่อนโรดโชว์

http://www.bangkokbiznews.com/2008/03/21/WW10_WW10_news.php?newsid=240959


จะกลัวทำไมครับ....กฏหมายเรื่องยุบพรรค เค้ามีตั้งแต่ รัฐธรรมนูญปี 40 แล้ว.......

ระบอบทักษิณ อยู่มา 5-6 ปี ไม่เห็นกลัว.....พอกฏหมายเริ่ม เอาจริง กลับมากลัว อ้างเรื่องการลงทุน

ไม่ได้ทำผิดอะไร ก็ไม่ต้องกลัว.......เค้า แก้ เรื่อง ซื้อเสียง เรื่องโกงเลือกตั้ง กันมาเป็นชาติแล้ว

ไม่มีวิธีอื่น นอกจาก ให้ ทุกอย่างเป็นไปตามกฏหมาย....อย่าไปกลัวครับ หมอเลี๊ยบ ....

ถ้าไม่ได้ทำผิดอะไร.....กฏหมาย ก็ เป็น แค่ เศษกระดาษ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: