ด้วยระบบที่ทันสมัย ของการเก็บเงินค่าไฟฟ้า ประปา ทางเลือกในการคงค้างเศษสตางค์ ที่ลำบากในการชำระเงิน เพื่อนำไปรวมกับใบแจ้งหนี้ในงวดหน้า และตัดยอดบัญชีให้รับชำระเท่ากับเศษสตางค์ที่มีใช้จริงในท้องตลาด ไม่ใช่เรื่องยาก ผู้ที่คุ้นเคยกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเงินจะทราบดี
แต่ด้วยความชุ่ย และไม่จริงใจต่อประชาชน จึงมีการปัดเศษสตางค์ชุ่ยๆ เอาประโยชน์เข้าใส่ตัว อย่างที่เป็นอยู่ค่ะ
เข้ามาสนับสนุนว่า ไม่ควรมีการปัดเศษสตางค์ ไม่ว่าจะปัดขึ้นหรือลง แต่ให้คงค้างเศษสตางค์ส่วนที่ไม่มีเหรียญจะทอนกัน และไปรวมกับค่าใช้จ่ายในงวดต่อไป แล้วคงค้างเศษสตางค์เช่นนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อความยุติธรรมของประชาชนค่ะ
หากมีผู้ใช้ไฟฟ้าหนึ่งล้านราย แต่ละรายค้างค่าไฟฟ้า 24 สตางค์ ซึ่งสูงสุดที่จะไม่มีเศษสตางค์ทอนให้ เงินที่การไฟฟ้าจะยังไม่ได้รับชำระจากผู้ใช้ไฟฟ้าหนึ่งล้านราย = 1,000,000 * 24 = 24,000,000 สตางค์ หรือเท่ากับ 240,000 บาท เท่านั้นเอง และเงินเหล่านี้ก็จะได้รับชำระในงวดต่อไป ไม่ได้สูญหายไปไหนค่ะ
คืนความยุติธรรมให้ประชาชนด้วย
ใจจริง ผมเองและเชื่อว่าหลายๆคน ก็อยากให้เป็นไปตามที่คุณพรรณกล่าว แต่ผมเองเกรงว่าในทางปฏิบัติ อาจทำไม่ได้และยุ่งยากในการจัด ระบบข้อมูลคงค้าง มากๆ
เพราะไม่เฉพาะค่าไฟฟ้า น้ำประปา แต่ผมกำลังกล่าวรวมถึงรายการชำระอื่นๆไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ระหว่างรัฐ กับ ประชาชน หรือ เอกชน กับประชาชน
ผมจึงอยากให้มีการกำหนดระบบปัดเศษ ออกเป็นกฏหมายใช้บังคับกันไปเลย
แน่นอนว่า ปกติก่อนที่จะมีกฏหมายกำหนดระบบที่ผมว่า เราก็ต้องจ่ายเกินกันอยู่แล้ว ไม่มากก็น้อย
แต่ที่ห่วงก็คือ ส่วนเกินนั้น ถูกนำมาเป็นรายได้ในการเสียภาษีหรือไม่ หรือแจ้งเฉพาะรายรับที่ได้รับจากตัวเลขในบิลแจ้งหนี้
มันต่างกันนะครับ...........
............สรรพากรสอบถึงหรือไม่? ผมเกรงว่าอาจไม่มีการสอบด้วยซ้ำไป
ยังมีองค์กรมากมายของรัฐ และเอกชนที่เป็นแบบนี้
แต่หากเราทำให้ชัดเจนด้วยการตรากฏหมายกำหนดการปัดเศษ
ทุกอย่างก็โปร่งใส และเข้ากับระบบอัตราเงินเราได้
เรามีกษาปณ์ต่ำสุด 25 สตางค์ และระดับเหนือไป ขั้นละ 25 สตางค์ นั่นคือระบบอัตราเงินที่ใช้จริง
แต่ระบบการคิดคำนวณ กลับไม่เป็นเช่นนั้น
จำนวนสุดท้ายมันก็เป็นเศษ ไม่สัมพันธ์กับ ระบบอัตราเงินอยู่ดี
ทางออกที่น่าจะดีที่สุดและโปร่งใส ก็คือ การตรากฏหมายระบบปัดเศษนี่แหละครับ เมื่อทั่วทั้งประเทศใช้ระบบเดียวกัน ก็จะไม่มีปัญหาใดๆ
เช่น หากอยู่ตั้งแต่ 1-13 สตางค์ให้ปัดลง
14-24 ให้ปัดขึ้น เพื่อความเป็นธรรมต่อประชาชน ไม่ใช่ปัดขึ้นหรือลงอย่างเดียว
เช่นนี้โปรแกรมจะทำได้ง่ายและชัดเจนมาก แต่ต้อง ฟอร์แมทให้ทำหลังผลลัพธ์ตัวเลขสุดท้ายออกมา อีกรายการหนึ่ง
เช่นรายการรวมเป็น 278.71 บาท ต้องโชว์ไว้ และมีช่องผลของระบบปัดเศษโชว์อีกช่องหนึ่ง เป็น 278.75 แทน
เช่นนี้ จะโปร่งใสและตรวจสอบได้
ต้องใช้เป็นกฏหมายครับ เพราะ ต้องคลุมทั้งรัฐ และเอกชน ให้เป็นระบบเดียวกัน ข้อย่งยากจะหมดไป และการตรวจสอบบัญชีการเงินจะชัดเจนมากๆครับ
จึงได้เสนอ