ทั้งหมดนี้คือการต่อสู้ระหว่างทุนใหม่กับระบบเก่า ซึ่งชาตินิยมอย่างเดียว คลื่นนี้
ต้อง กลับมาเป็นของรัฐ จะยังไงก็ได้ ให้ช่องมันมีรายการที่ห่วยแตกก็ช่างมัน แต่
คลื่นต้องเป็นของรัฐ ของเรา ของคนไทย
สัมภาษณ์ ม.ล.ปลื้ม (ณัฏฐกรณ์ เทวกุล): เกมอำนาจ ช่วงชิง
ทีวีสาธารณะ ประชาชนอยู่ตรงไหน?http://www.prachatai.com/05web/th/home/10914จากบทความที่คุณเขียนลงหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (1) มีการเปรียบเทียบว่า
การยึดสถานี TITV เพื่อทำเป็นทีวีสาธารณะ คือการต่อสู้ในสงครามระหว่าง ศักดินา
และ ทุนใช่ แ่ต่เรื่องที่เกิดขึ้นกับทีไอทีวีมันก็ไม่ใช่ตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบที่สุดของสงคราม
นี้นะ เท่าที่ผมไล่เรียงดูคือ ไอทีวี ตอนที่เป็น ทีวีเสรี ช่วงแรกๆ กลุ่มเนชั่นกับกลุ่ม
ของไทยพาณิชย์พยายามบริหาร แต่สัมปทานที่มี ที่ทำกันขึ้นมาในตอนนั้น มันเป็น
สัมปทานที่โหดร้ายทารุณมากกับภาคเอกชนที่เข้าไปบริหาร เพราะคุณต้องให้เงินคืน
กับสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีเยอะมาก ปีหนึ่งคุณต้องจ่ายพันล้านบาท ใครจะไปทำได้
เพราะฉะนั้น ทั้งเนชั่น และ SCB ต้องการถอยออกมา เพราะถ้าถือไอทีวีต่อไปก็จะเป็น
NPL เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และไม่มีทางที่จะทำอะไรกับมันได้ บริษัทเดียวใน
ตอนนั้นที่มีทุนมากพอ และกล้าพอที่จะเข้าไป รวมถึงมีเงินสดเหลือเยอะมาก ก็คือ ชิน
คอร์ป ซึ่งนั่นเป็นจังหวะที่ทักษิณก็ต้องการมีสื่ออยู่ในมือด้วย เพราะเขากำลังต้องการ
ที่จะเป็นนายกฯ
สิ่งที่ผิด คือ ความต้องการของทักษิณที่จะเป็นนายกฯ แล้วดันอยากจะไปมีช่อง
โทรทัศน์ของตัวเอง แต่สิ่งที่ถูกในตอนนั้นคือ มันไม่มีทุนไหนกล้าเข้าไปอุ้มไอทีวี
เพราะถ้าเข้าไปก็จะต้องแบกรับภาระหนี้สิน ชินฯ ก็เลยเข้าไป เพราะฉะนั้น อาจจะ
มองได้ว่านี่คืออำนาจของ ทุน ซึ่งมาจากกลุ่มคนที่เติบโตขึ้นมาในยุคสิบกว่าปีที่
ผ่านมา รวยขึ้นมาจากสัมปทานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น โทรคมนาคม คน
ที่มีทุนก็เข้าไปยึดคลื่นนี้ได้ ถ้าให้เปรียบเทียบ นั่นก็คือการ ชกหมัดแรก ของทุน
ใหม่ แล้วก็ได้คลื่นนี้มา มีสื่ออยู่ในครอบครอง ซึ่งก็จะมีอิทธิพลกับประชาชน ถ้ามอง
อย่างนั้นก็คือไอทีวีโดนทุนครอบงำ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ ไม่ผิด สำหรับผม เพราะว่าถ้า
คุณไม่มีเงิน คุณทำทีวีไม่ได้ เมื่อทักษิณเข้ามาตอนนั้น สัมปทานก็ต้องแก้ ให้มี
รายการบันเทิงมากขึ้น ไม่งั้นมันจ่ายเงินให้สำนักปลัดนายกฯ ปีละเป็นพันล้านบาท
ไม่ได้ ก็แก้ไปแล้ว จบไปแล้ว ปรากฎว่าทำอีท่าไหนไม่รู้ ตอนหลังสำนักปลัดนายก-
รัฐมนตรีถามว่า ที่แก้สัมปทานนี่ เอาสิทธิ์ที่ไหนไปแก้ ซึ่งจริงๆ ตอนนั้น ความผิด
ในการแก้สัมปทานอยู่ที่สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี เพราะสำนักปลัดฯ ไม่ได้เอาเรื่อง
แก้สัมปทานเข้าประชุม ครม.
ประเด็นคือว่่า สัมปทานไอทีวีมันถูกแก้ บริษัทไอทีวีกับสำนักปลัดนายกฯ ตกลงแล้ว
ว่าแก้ เซ็นสัญญาจบแล้วก็หมายความว่าไอทีวีสามารถปรับผังได้ทันที เป็นบันเทิง
50 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เป็นข่าว 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้รายได้ไอทีวีสูงขึ้น
มากพอที่จะจ่ายส่วนที่ต้องจ่ายให้กับสำนักปลัดนายกฯ ได้ในแต่ละปี คือ win-win
ทั้งคู่ สำนักปลัดนายกฯ ได้รายได้เข้ามาทุกปีโดยที่บริษัทไอทีวีก็ไม่เจ๊ง ทีนี้
สำนัก-
ปลัดนายกฯ ตอนนั้นผิด ตรงที่ไม่นำเรื่องนี้เข้าประชุมคณะรัฐมนตรี ผมไม่รู้ว่าปลัด
สำนักนายกฯ คนไหนที่ทำเรื่องตรงนี้ แต่อย่างเดียวก็คือ เมื่อมีการเปลี่ยนปลัดสำนัก-
นายกฯ ก็มีการยื่นฟ้องกับศาลปกครอง นำมาสู่ค่าปรับอะไรต่างๆ โดยบอกว่า ไอทีวี
ปรับผังไม่ได้ เพราะว่าเรื่องนี้สัมปทานยังไม่ได้แก้ ยังไม่ได้นำเรื่องเข้าสู่การประชุม
ครม.
พอเป็นอย่างนี้สำนักนายกฯ ก็เลยปรับเงินไอทีวี แต่สัญญามันเซ็นว่า ต้องปรับ 10
เปอร์เซ็นต์ของค่าสัมปทานต่อวัน ซึ่ง 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าสัมปทานก็คือ 100 ล้าน
เพราะค่าสัมปทานต่อปีต้องจ่าย 1 พันล้าน แล้ว 10 เปอร์เซ็นต์ของ 1 พันล้านคือ
100 ล้าน แต่เขาให้ปรับต่อวัน ก็เลยต้องเอาหนึ่งร้อยล้านมาคูณจำนวนวันที่ไอทีวี
ทำผิดสัญญา
คนที่ห่วยก็คือคนร่างสัญญา ค่าปรับบ้าอะไร ตั้งสิบเปอร์เซ็นต์ แล้ว
คูณจำนวนของวันอีก ทีนี้บริษัทไอทีวีก็ไม่ยอมจ่ายค่าปรับ มันก็เป็นดินพอกหางหมู
ค่าปรับก็สูงขึ้นๆ จนมันไม่มีทางจ่ายได้ เป็นเงินถึงแสนล้าน ตอนนั้นขายก็ไม่มีใครซื้อ
เพราะค่าปรับมันมหาศาล คือ
มันเป็น เกม ตั้งแต่แรก เกมที่รู้ว่าไอทีวีทำผิดสัญญา
แล้ว ก็ล็อกให้อยู่ใน situation ที่จะนำไปสู่การ ยึดคลื่น ให้ได้ เพราะอะไรถึงมองว่าเป็นความต้องการของรัฐที่จะยึดคลื่นไอทีวี หรือทีไอทีวี คืนมาคือถ้าสำนักปลัดนายกฯ มี sense ตามปกติ ก็ต้องเลี้ยงไอทีวีให้เหมือนเป็นลูกหนี้
คือ ค่าปรับสูงขนาดนี้ สูงถึงแสนล้าน ถ้าคุณมีลูกหนี้หนึ่งแสนล้าน คุณต้องทำอะไร
กับเขา? คุณต้องให้เขามีชีวิตต่อไป เพราะว่าเขาจะได้จ่ายคืนหนี้ให้คุณได้ในที่สุด
กลวิธีตามปกติที่สำนักนายกฯ จะมองในเรื่องของรายได้ของรัฐ ก็คือต้องเลี้ยงให้
ไอทีวีอยู่ต่อไป จนในที่สุดก็จ่ายค่าปรับได้ครบแสนล้านได้ คือมันต้องมีการประนี-
ประนอมกันในเรื่องของหนี้ แต่ว่าจุดยืนของสำนักนายกฯ ตอนนี้ไม่ต้องการประนี-
ประนอมเรื่องหนี้ เหมือนกับที่ไม่ต้องการประนีประนอมเรื่องค่าปรับ แ่ต่ต้องการที่
จะปูทาง เพื่อให้ในที่สุด มันจะนำไปสู่การ ยึดคลื่น เพราะยึดกลับมาแล้ว เขาจะ
เดินยังไงต่อไปก็ได้ คือสำนักปลัดนายกฯ ไม่ใช่องค์กรทางธุรกิจ ถ้าเป็นองค์กร
ทางธุรกิจ เขาจะไม่มีวันทำอย่างนี้ เขาจะต้องเลี้ยงลูกหนี้ให้อยู่ต่อไป
โดยรวมแล้ว ผมมีปัญหากับทิศทางการบริหารประเทศใน 3 ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า
การที่ทักษิณเข้ามาตั้งแต่แรกเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดีก็คือการคอรัปชั่น ซึ่งมันเกิดขึ้น
ในรัฐบาลเขา แต่สิ่งที่ดีคือ ความเปลี่ยนแปลง คือเขาเป็นคนเดียวที่มีศักยภาพพอ
ที่จะดึงอำนาจจากขั้วอำนาจเดิมในประเทศ คือทหาร, เทคโนแครต, องคมนตรี...
อะไรพวกนี้ ทักษิณเป็นคนเดียวที่ กล้า หรือ บ้า พอที่จะดึงอำนาจมาเพื่อ balance
หรือมาถ่วงดุลกับอำนาจที่มีอยู่ ซึ่งโอเค... อำนาจนั่นมันก็ได้มาจากการที่ประชาชน
ลงคะแนนเสียงให้เขาเยอะ การที่เขามีเสน่ห์ การที่เขามีเงินเยอะ มันก็เป็นปัจจัยหนึ่ง
แต่เมื่อเขามาอยู่ในอำนาจ แล้วไปลุแก่อำนาจนี่ มันก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ คือที่มันมี
หลายๆ โครงการโกงกันในช่วงรัฐบาลเขา ถ้ามันเกิดขึ้นอย่างนั้นจริงๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่
ควรทำ แต่ว่าโดยรวมแล้ว
มันเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ ต้องมี ในเมืองไทย เพราะ
เมืองไทยมันล้าหลัง ดูอย่างการบริหารงานในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์สิ มันชัดเลย
ว่ามันหมดยุคไปแล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น อย่างที่เกิดกับทีไอทีวี มันเป็นสิ่งที่
สะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างทุนกับอำนาจเดิมๆ ซึ่งต้องดึงอำนาจรัฐมาช่วย
เพราะว่าไม่มีทุน
...