ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
08-04-2025, 11:34
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ชายคาพักใจ  |  แด่พระผู้สถิตในดวงใจนิรันดร์ (กระทู้เนื่องในปีมหามงคล) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
แด่พระผู้สถิตในดวงใจนิรันดร์ (กระทู้เนื่องในปีมหามงคล)  (อ่าน 3389 ครั้ง)
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« เมื่อ: 20-09-2007, 18:26 »

   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นคีตกวีและนักดนตรีที่ชาวโลกยกย่อง ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี พระราชนิพนธ์เพลง และเรียบเรียงเสียงประสาน ทรงเป็นครูสอนดนตรีแก่ข้าราชบริพารใกล้ชิด และทรงซ่อมเครื่องดนตรีได้ด้วยพระองค์เอง รวมทั้งทรงเชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่างๆ อย่างแท้จริง สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาว่า "อัครศิลปิน"
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มเรียนดนตรีเมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ขณะประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับครูชาวอัลซาส ชื่อ นายเวย์เบรชท์ (Wey-brecht) โดยทรงเรียนเป่าแซกโซโฟน วิชาการดนตรี การเขียนโน้ต และสเกลต่าง ๆ ในแนวดนตรีคลาสสิค ต่อมา จึงเริ่มฝึกดนตรีแจ๊ส และทรงดนตรีสากล โดยทรงหัดเป่าแซกโซโฟนกับเพลงจากแผ่นเสียงของวงดนตรีที่มีฝีมือ เช่น John Hodges และ Sidney Bechet เป็นต้น จนทรงมีความชำนาญจึงทรงเป่าสอดแทรกกับแผ่นเสียงของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้เป็นอย่างดี ทรงโปรดดนตรีประเภท Dixieland Jazz มาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องดนตรีได้ดี หลายชนิด ทั้งประเภทเครื่องลม เช่น แซกโซโฟน คลาริเนต และประเภทเครื่องทองเหลือง เช่น ทรัมเปต รวมทั้งเปียโนและกีตาร์ที่ทรงฝึกเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประกอบการพระราชนิพนธ์เพลงและเพื่อทรงดนตรีร่วมกับ วงดนตรีส่วนพระองค์


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลง เมื่อมีพระชนมพรรษาได้ ๑๘ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงพระราชนิพนธ์เพลง "แสงเทียน" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกและจนถึงปัจจุบัน มีเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น ๔๘ เพลง ทุกเพลงล้วนมีทำนองไพเราะ ประทับใจผู้ฟัง สอดคล้องกับเนื้อร้อง ซึ่งมีคตินานัปการ และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย ในยามที่บ้านเมืองไม่สงบสุข ก็พระราชทานเพลงปลุกใจเพื่อเป็นกำลังใจแก่ ข้าราชการ ทหาร พลเรือน และประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ มิให้เกิดความย่อท้อในการทำความดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ต่อตนเองและต่อสังคม ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้น (อัมพรสถาน) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ เพื่อเป็นสื่อกลางในการให้ความบันเทิง สารประโยชน์ และข่าวสารต่าง ๆ แก่ประชาชน ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้นักดนตรีรุ่นหนุ่ม ๆ มาเล่นปนกับรุ่นลายคราม ซึ่งเล่นดนตรีไม่ค่อยไหวตามอายุ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดวงดนตรี "อ.ส.วันศุกร์" ขึ้น ปัจจุบันสถานีวิทยุ อ.ส. ได้ย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณ สวนจิตรลดา


ลักษณะพิเศษของ "วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์" นี้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงร่วมบรรเลงกับสมาชิกของวง ออกกระจายเสียงทางสถานีวิทยุเป็นประจำทุกวันศุกร์ เป็นการเปิดโอกาสให้พสกนิกรได้ติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ง่ายขึ้น ทรงจัดรายการเพลงและทรงเลือกแผ่นเสียงเอกในระยะแรก บางครั้งก็โปรดเกล้าฯ ให้มีการขอเพลงด้วยและจะทรงรับโทรศัพท์ด้วยพระองค์เอง ในช่วงเวลาเมื่อ ๒๐ ปีก่อน ขณะที่สถานีโทรทัศน์ยังไม่มีบทบาททางการบันเทิงมากเช่นในปัจจุบันนี้ "วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์" จึงมีส่วนสร้างความรื่นเริงในหมู่ประชาชนผู้สนใจในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์มหาวาตภัย แหลมตะลุมพุก ได้อาศัยวงดนตรี อ.ส. ประกาศชักชวนประชาชนบริจาคทรัพย์ สิ่งของ ฯลฯ ช่วยผู้ประสบภัย ท้ายสุดจึงกำเนิดมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เครื่องดนตรีเป็นสื่อผูกพันสถาบันพระมหากษัตริย์กับนิสิต นักศึกษาโดยเสด็จฯ ไปทรงดนตรีร่วมกับนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งเป็นสื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศกับนานาประเทศได้อย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เช่นเมื่อครั้งที่เสด็จฯ เยือนกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งมีชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของนักดนตรีที่สำคัญ และคีตกวีเอกของโลก ได้ยกย่องพระปรีชาสามารถด้านการดนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ คือ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนประเทศสาธารณรัฐออสเตรีย อย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ วงดุริยางค์ซิมโฟนี ออเคสตร้า แห่งกรุงเวียนนาได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ชุด " มโนราห์ " " สายฝน " " ยามเย็น " " มาร์ชราชนาวิกโยธิน " และ " มาร์ชราชวัลลภ " ไปบรรเลง ณ คอนเสิร์ตฮอลล์ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ พร้อมกันนี้สถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐบาลออสเตรียได้ส่งกระจายเสียงเพลง และเสนอข่าวนี้ไปทั่วประเทศ หลังจากนั้นอีก ๒ วัน คือ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗   

      สถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา(ปัจจุบันเปลี่ยนญานะเป็นมหาวิทยาลียการดนตรีและศิลปะการแสดง)ได้ถวายพระเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลขที่ ๒๓ ดังปรากฏพระปรมาภิไธย "ภูมิพลอดุลยเดช" จารึกบน แผ่นหินอ่อนของสถาบันอันเก่าแก่ของยุโรปแห่งนี้ โดยประธานสถาบันได้กล่าวสดุดีพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นผู้สร้างสัมพันธ์อันดียิ่งระหว่างดนตรีตะวันออกกับดนตรีตะวันตก และทรง พระราชนิพนธ์เพลงด้วยพระปรีชาสามารถ นับเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์แห่งทวีปเอเชีย ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่ง ณ ศูนย์กลางแห่งการดนตรีในทวีปยุโรป ทรงเป็นชาวเอเชียพระองค์แรกที่ทรงได้รับการถวาย พระเกียรติให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ขณะที่ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง ๓๗ พรรษา พสกนิกรชาวไทยทุกคนไม่เพียงแต่ชื่นชมในพระเกียรติยศทางดนตรีที่ทรงได้รับจากนานาประเทศเท่านั้น แต่ยังภาคภูมิใจ ในความสำเร็จจากการเสด็จพระราชดำเนินกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศด้วย


ในส่วนของกองทัพเรือนั้น เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ พระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช "ราชนาวิกโยธิน" เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๒ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จึงได้ถือเอาวันดังกล่าวเป็น "วันทหารนาวิกโยธิน" จนถึงปัจจุบัน สำหรับความเป็นมาที่กองทัพเรือได้รับพระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ชราชนาวิกโยธิน สรุปได้ดังนี้
        "วันหนึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน ๒๕๐๒ นาวาเอก สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน ได้ปฏิบัติหน้าที่เวรราชองครักษ์ ณ ศาลาเริง พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเกษมสำราญกับการทรงดนตรีอยู่นั้น ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ นาวาเอก สนอง นิสาลักษณ์ ขึ้นไปร้องเพลงนาวิกโยธิน นาวาเอก สนองฯ ได้กราบบังคมทูลว่า "เพลงนาวิกโยธิน" ยังไม่มีและได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำหน่วยทหารนาวิกโยธินต่อพระองค์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เหล่าทหารนาวิกโยธิน ต่อมาในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช "ราชนาวิกโยธิน" แก่ทหารนาวิกโยธิน โดยคณะนายทหารนาวิกโยธิน ได้ร่วมกันประพันธ์คำร้องขึ้น และวงโยธวาทิตของนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาและวงดุริยางค์ราชนาวี ได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช "ราชนาวิกโยธิน" บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นปฐมฤกษ์ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๒ นับแต่นั้นมา เพลง มาร์ช "ราชนาวิกโยธิน" จึงเป็นเพลงประจำหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินที่มีคุณค่ายิ่งแก่ทหารนาวิกโยธิน



นอกจากทรงพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์เพลง และทรงดนตรีแล้ว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ยังทรงเป็น "ครูใหญ่" สอนดนตรีแก่แพทย์ ราชองครักษ์ และข้าราชบริพารใกล้ชิดซึ่งเล่นดนตรี ไม่เป็นเลย จนเล่นดนตรีเป็น สามารถบรรเลงในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ได้ ต่อมา จึงได้เกิด "วงสหายพัฒนา" มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์หัวหน้าวง
 ทางดนตรีไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าวิชาดนตรีไทยเป็นศิลปะที่สำคัญของชาติ สมควรที่จะได้รวบรวมเพลงไทยเดิมต่างๆ ไว้มิให้เสื่อมสูญและผันแปรไปจากหลักเดิม โดยมีการบันทึกโน้ตเพลงให้ถูกต้องละจัดพิมพ์ขึ้นไว้เป็นหลักฐาน เพราะในการบันทึกแนวเพลงเป็นโน้ตสากลแต่เดิมนั้น ยังมิได้มีการบันทึกไว้อย่างครบถ้วนและจัดพิมพ์ให้เป็นการสมบูรณ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ กรมศิลปากรรับเรื่องนี้ไปดำเนินการ ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดพิมพ์โน้ตเพลงไทยชุดนี้ เป็นการรักษาศิลปะดนตรีอันสำคัญของไทยไว้มิให้เสื่อมสูญ และยังเป็นการเผยแพร่วิชาดนตรีของไทยออกไปในหมู่ประชาชนผู้สนใจให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้นอีกด้วย

http://www.navy.mi.th/sctr/redcross/35/king.php

*********************************************************************************
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2007, 19:37 โดย amalit1990 » บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #1 เมื่อ: 20-09-2007, 18:28 »


The coolest king in the land

เมื่อปี 20 ปีก่อน หลังจากร่วมเล่นดนตรีกับในหลวงของเรา Lionel Hampton นักดนตรีแจ๊ซแห่งตำนานคนหนึ่งเอ่ย.. “He is simply the coolest king in the land”

นักดนตรีแจ๊สชื่อก้องโลกอีกมากมายได้มีโอกาสร่วมแสดงดนตรีกับพระเจ้าอยู่หัว อาทิ Benny Goodman, Stan Getz, และ Benny Carter ผู้ซึ่งอยู่ในภาพถ่ายนี้ร่วมกับในหลวง นับเป็นครั้งที่ 2 ที่เค้าได้รับเชิญให้ไปเล่นดนตรีในวัง

นักดนตรีชั้นนำเหล่านี้รู้ดีว่าถ้าพระองค์ไม่ได้เป็นกษัตริย์ ท่านต้องเป็นนักดนตรีแนวหน้าของโลกแน่นอน

“I’m sure if he didn’t have the job he has now, he’d be successful as a bandleader.”

Les Brown หัวหน้าวงดังซึ่งได้เคยขอพระราชทานบรรเลงและบันทึกบทเพลงพระราชนิพนธ์ กล่าว

บทเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกคือ “Candlelight Blues” และเพลงที่เป็นที่ติดหูคอเพลงแจ๊ซต่างชาติก็คือ “Love at Sundown” และ “Falling Rain”
*********************************************************************************************
Lionel Hampton คือนักดนตรีแจ็สที่เล่นVibraphone หรือระนาดไฟฟ้า คนแรกๆ นับว่าเป็นตำนานคนหนึ่ง

Benny Goodman, Stan Getz, และ Benny Carter คือนักดนตรีแจ็สในตำนาน ทั้งหมดน่าจะเคยร่วมงานกับ GRP ของ Dave Grusin(เขียนจากความทรงจำครับผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้)

Les Brown คือหัวหน้าวงแจ็สBig Band ที่เคยร่วมงานกับ Tony bannett 'Bob hope' และ Dean Martin

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2007, 19:11 โดย amalit1990 » บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #2 เมื่อ: 20-09-2007, 18:30 »

กระทู้นี้ผมจะอัพ บทความ บทวิเคราะดนตรี และพระราชดำรัสของพระองค์ท่านที่มีต่อดนตรี

รวมทั้งผมจะนำเสนออัลบั้ม Tribute ที่น่าเก็บด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #3 เมื่อ: 20-09-2007, 18:51 »

แผ่นแรกนะครับที่ผมแนะนำ

Jazz Legends Salute king bhumibol แด่พระผู้สถิตในดวงใจนิรันดร์

เป็นบันทึกการแสดงสดที่โรงแรม สยาม อินเตอร์ คอนติแนลตัน วันที่วันที่ 26 มกราคม 2539

โดยวงที่มาTribute นั้นคือวง The count basie orchetra ร่วมกับทาง CU Band

1.แสงเทียน     / The candle Light Blues    / Diane Schuur Trio with Roger Hines&Jim Zimmerman
2.อาทิตย์อับแสง     / Blue Day       / Diane Schuur Trio with Roger Hines&Jim Zimmerman
3.ในดวงใจนิรันดร์   /  Still on My Mind       / Diane Schuur & The Count Basie Orchestra
4.แสงเดือน    / Magic Beams       / Christopher Murrell & The Count Basie Orchestra
5.ยามเย็น     / Love at Sundown       / Christopher Murrell & The Count Basie Orchestra
6.ใกล้รุ่ง       /  Near Dawn       / Benny Carter & Frank Foster and His Non-Electric Co.
7.สายลม    / I Think of You                   / The Count Basie Orchestra & CU Band
8.ชะตาชีวิต     / H.M. Blues       / Benny Carter & Frank Foster and His Non-Electric Co.
9.ไกลกังวล    /  When           / Benny Carter & Frank Foster and His Non-Electric Co.
10.มหาจุฬาลงกรณ์   / Maha Chulalongkorn     / The Count Basie Orchestra
(รูปวง-ทรัมเพ็ท4 ทรอมโบน5 แซกโซโฟน5 เปียโน เบส กลอง กีต้าร์)

แผ่นนี้น่าเก็บมากๆครับ เนื่องจากเป็นบันทึกการแสดงสด ที่ถึงใจมากๆ
การเล่น แบบ Big band พร้อมเสียงร้องสูงมาก ของ Diane Schuur ทำให้ในช่วง Improvite ของเสียงร้องทำได้ยาวนานและถึงใจมาก
แม้ผมจะไม่ค่อยชอบการเล่นแบบ Big band หรือ Dixieland Jazz มากนัก แต่ก็ต้องยอมรับว่า ผมเปิดแผ่นนี้จนนับครั้งไม่ถ้วน
ในช่วง Rhythm ฟังได้สบายตามแบบของ แจ็สในวงใหญ่ โดยการ Improvite ตามแบบแผนและมีจังหวะ ไม่โดดไปในแบบ
Bebop แบบ FreeJazz
อัลบั้มนี้ได้ได้อารมณ์แบบLIVE ได้อย่างเต็มที่
สำหรับ 10 ในเวลาเกือบๆชั่วโมง นับว่าดีมากครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2007, 19:33 โดย amalit1990 » บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #4 เมื่อ: 20-09-2007, 19:24 »

ในกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายหลังที่สถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรเกียรติคุณชั้นสูง ให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์หมายเลข 23 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสตอบเป็นภาษาเยอรมัน ( ต่อมา ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ได้แปลและถ่ายทอดเป็นภาษาไทย) กล่าวถึงความสำคัญของดนตรีว่า

".......ดนตรีทุกชนิดเป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่ง มนุษย์เกือบทั้งหมดชอบและรู้จักดนตรี ตั้งแต่เยาว์วัยคนเริ่มรู้จักดนตรีบ้างแล้ว ความรอบรู้ทางดนตรีอย่างกว้างขวางย่อมขึ้นกับเชาวน์ และสามารถในการแสดงของแต่ละคน อาศัยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า ในระหว่างศิลปะนานาชนิด ดนตรีเป็นศิลปะที่แพร่หลายกว่าศิลปะอื่นๆ และมีความสำคัญในด้านการศึกษาของประชาชนทุกประเทศด้วย.........."

***************************************************************************

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ปล.จบของวันนี้แล้วครับ เป็นอย่างไรบ้างติชมหน่อยนะครับ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #5 เมื่อ: 20-09-2007, 20:03 »



      ขอพระองค์ทรงพระเจริญ   และสถิตย์เป็นมิ่งขวัญปวงชนชาวไทยตราบชั่วนิรันดร์


             
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2007, 23:49 โดย nammatum » บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
อธิฏฐาน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,912


รักษาประเทศชาติ เป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคน


« ตอบ #6 เมื่อ: 20-09-2007, 20:18 »

ในกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายหลังที่สถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรเกียรติคุณชั้นสูง ให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์หมายเลข 23 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสตอบเป็นภาษาเยอรมัน ( ต่อมา ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ได้แปลและถ่ายทอดเป็นภาษาไทย) กล่าวถึงความสำคัญของดนตรีว่า

".......ดนตรีทุกชนิดเป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่ง มนุษย์เกือบทั้งหมดชอบและรู้จักดนตรี ตั้งแต่เยาว์วัยคนเริ่มรู้จักดนตรีบ้างแล้ว ความรอบรู้ทางดนตรีอย่างกว้างขวางย่อมขึ้นกับเชาวน์ และสามารถในการแสดงของแต่ละคน อาศัยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า ในระหว่างศิลปะนานาชนิด ดนตรีเป็นศิลปะที่แพร่หลายกว่าศิลปะอื่นๆ และมีความสำคัญในด้านการศึกษาของประชาชนทุกประเทศด้วย.........."

***************************************************************************

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ปล.จบของวันนี้แล้วครับ เป็นอย่างไรบ้างติชมหน่อยนะครับ


หลานสาวจะสมัครเรียนเตรียมดุริยางคศิลป์ สาขาดนตรีตะวันตก ตอนนี้ซ้อมไวโอลินอยู่ค่ะ  คุณน้าลุ้นเต็มที่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2007, 20:36 โดย อธิฏฐาน » บันทึกการเข้า

หยุด...สัมปทานอุทยานแห่งชาติ
http://www.oknation.net/blog/sandstone
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #7 เมื่อ: 20-09-2007, 20:30 »

หลานสาวจะสมัครเรียนเตรียมดุริยางศิลป์ สาขาดนตรีตะวันตก ตอนนี้ซ้อมไวโอลินอยู่ค่ะ  คุณน้าลุ้นเต็มที่
เล่นดนตรีเป็นเรื่องดีมากครับ ผมก็เล่น Saxophone อยู่

"ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานว่าเป็นคนชอบกลนัก"
           บทพระราชนิพนต์ในรัชกาลที่6
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
หน้า: [1]
    กระโดดไป: