ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
01-02-2025, 13:55
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ขนคนไปลงประชามติ - ไม่ผิด ก.ม. แต่ก็ไม่ควร 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ขนคนไปลงประชามติ - ไม่ผิด ก.ม. แต่ก็ไม่ควร  (อ่าน 1689 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 30-07-2007, 19:22 »

ไม่ผิด ก.ม. แต่ก็ไม่ควร

บทบรรณาธิการ
ไทยรัฐ [30 ก.ค. 50 - 18:30]

 
การที่กระทรวงมหาดไทยยืนยันจะใช้พาหนะขนคนไปลงประชามติ โดยถือว่าเป็น
การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงไม่ผิดกฎหมาย และเรื่องนี้ได้รับไฟเขียวจาก
นายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานข่าวว่าทหารบุกค้นบ้านอดีต ส.ส.กำแพงเพชร
ยึดหลักฐานไปหลายรายการ รวมทั้งหลักฐานการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้
น่าสงสัยว่า เป็นการใช้กฎหมายแบบสองมาตรฐานหรือไม่?

รายงานข่าวดังกล่าว ทำให้รู้สึกว่าถ้าหากเป็นการกระทำ เพื่อสนับสนุนการออกเสียง
ประชามติ หรือสนับสนุนให้รับร่างรัฐธรรมนูญ ฝ่ายที่สนับสนุนอาจจะทำอะไรก็ได้ แต่
ถ้าหากเป็นการรณรงค์เพื่อไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ จะถูกขัดขวางหรือถูกจ้องเอาผิด
จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เหมือนกับ กกต. ชุดก่อน ที่มักจะถือว่าการกระทำของรัฐบาล
ไม่ผิด แต่ ฝ่ายค้านแค่โจมตีรัฐบาล ก็อาจโดนใบแดง

จริงอยู่ กฎหมายการออกเสียงประชามติ ไม่มีบทบัญญัติห้ามขนคนไปลงประชามติ
แต่ก็ต้องดูว่าเป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่? เพราะกฎหมายการเลือกตั้ง ส.ส.
และ ส.ว. ระบุว่า การจัดพาหนะรับส่งผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นความผิดทางอาญา ต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี มีโทษปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิก
ถอนสิทธิเลือกตั้งผู้ฝ่าฝืน มีกำหนดเวลาถึง 5 ปี

การที่กฎหมายเลือกตั้งบัญญัติให้เรื่องนี้เป็นความผิด เพราะเห็นว่าการขนคนไปเลือกตั้ง
อาจเป็นการจูงใจ
ให้เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือไม่เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่งได้ และ
กฎหมายอาจจะถือด้วยว่าการใช้ พาหนะรับส่งคน โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร อาจเข้า
ข่ายเป็นการให้ทรัพย์สินหรือ “ผลประโยชน์ อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้” ซึ่งก็คือ
การซื้อเสียง ในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง

ยิ่งถ้าจะให้ผู้นำท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบจ. อบต. หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้จัดหา
ยานพาหนะรับส่งผู้ออกเสียงประชามติก็ยิ่งเป็นโอกาสที่จะให้มีการจูงใจ เพื่อให้ออก
เสียงตามที่ทางการต้องการ เพราะเป็นที่รู้กันดี ในหมู่ประชาชนทั่วไป ว่าผู้นำท้องถิ่น
เป็นหัวคะแนนมืออาชีพ มีวิธีการที่จะจูงใจให้ประชาชนออกเสียงตามที่ตนต้องการ
เรื่องนี้ไม่ผิดกฎหมาย แต่เหมาะสมหรือไม่?

ในการออกเสียงประชามติครั้งนี้ ฝ่ายที่สามารถทำการรณรงค์ เพื่อให้ประชาชนรับร่าง
รัฐธรรมนูญได้โดยตรง คือ ส.ส.ร. ผู้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนฝ่ายที่จะต้องวางตัวเป็น
กลางอย่างเคร่งครัด คือ คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.
ส่วน คมช. และรัฐบาล
รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ น่าจะทำได้แต่เฉพาะในการรณรงค์ เพื่อให้ประชาชนออกไป
ใช้สิทธิ์ให้ มากที่สุด

การจัดยานพาหนะรับส่งผู้ออกเสียง ควรจะกระทำแต่เฉพาะในพื้นที่ที่มีความจำเป็น
อย่างแท้จริงเท่านั้น
ตามข้อเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี นั่นก็คือจะต้องเป็นท้องถิ่น
ทุรกันดาร ไม่สะดวกในการเดินทาง แต่กระทรวงมหาดไทยก็ไม่ควรทำโดยพลการ
แต่ควรให้มีเจ้าหน้าที่ กกต. กำกับดูแลอยู่ด้วย เพื่อป้องกันข้อครหาเรื่องการจูงใจด้วย
อามิสสินจ้างซึ่งอาจเป็นคดีความในภายหลังได้

http://www.thairath.co.th/news.php?section=politics01&content=55639

ผู้มีอำนาจเหล่านี้ ไม่รู้จัก ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interst)
หรือคิดว่า ทำได้ทุกอย่างตามต้องการ ไม่ต้องสนใจความถูกต้องเหมาะสม
ก็แค่ ทีใครทีมัน หลักการไม่ต้องมี มีแต่ "หลักกู" ?

 

หวังว่าจะรับฟังคำทักท้วง ตามสมควร
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 30-07-2007, 20:35 »

ทำเป็นปัญญาอ่อนอีกละ 

ไปเอาตรรกะการเลือกตั้งทั่วไปมาเทียบได้ยังไง

ที่แบบนี้ละเห่าบอกไม่มีกฏหมายห้าม แต่ไม่ควร

โถ่เอ้ย... กลับไปนั่งทบทวนตัวเองจะดีกว่ามั้ง

พูดไปก็เท่านั้น  ทำตัวเป็นน้ำที่เต็มแก้ว เติมลงไปก็ล้นเปล่าๆ
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 30-07-2007, 21:40 »

คำว่า ไม่ควร มีมาตรฐานอะไรมาตัดสินเอ่ย
ขนาดคำว่าจริยธรรม ยังไม่รู้จัก แล้วจะรู้จักด้วยหรือ ว่าอะไรควรไม่ควร 
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #3 เมื่อ: 30-07-2007, 22:06 »

http://www.innnews.co.th/Breaknews.php?nid=51937

ต่อให้ผิดกฎหมายก็ไม่มีบทลงโทษคงแค่ว่ากล่าวตักเตือน อย่างมากก็ดีดมะกอก
มาตรฐานเผด็จการทหารประเทศไทยก็อย่างงี้แหละ อย่าไปหวังอะไรมาก
บันทึกการเข้า
NA-KORN
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 221


« ตอบ #4 เมื่อ: 30-07-2007, 22:14 »

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง รัฐทำได้แค่อำนวยความสะดวกและรักษาความสงบเรียบร้อยกับความปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยงเช่น 3 จังหวัดชายเดนภาคใต้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
อำนวยความสะดวก = จัดหาสถานที่อุปกรณ์บุคคลากร  ไม่จำเป็นต้องจัดรถรับส่งขนคนไปลงประชามติ เป็นการเปิดทางให้ฝ่ายต่อต้านโจมตีอีกทางหนึ่งได้ 
บันทึกการเข้า
samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« ตอบ #5 เมื่อ: 30-07-2007, 22:31 »

รักษามาตราฐานพูดความข้างเดียวได้ ยาวนาน

ขนคนไปลงประชามติ จขกท.พูดเหมือกนักับว่า จะมีแต่ขนคนไปลงช่องรับ ร่าง ทางเดียวเลยนะครับ ไม่คิดหรือว่า กลุ่มบางกลุ่มก็ขนคนไปลง ไม่รับได้เหมือนกัน เวลาโจมตีก็โจมตีโดยเอาความข้างเดียวมาพูด มองแต่ข้างคนอื่นไม่มองข้างตัวเองทำเลย นะครับ หิมะกระล่อน
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #6 เมื่อ: 31-07-2007, 01:17 »

http://www.innnews.co.th/Breaknews.php?nid=51937

ต่อให้ผิดกฎหมายก็ไม่มีบทลงโทษคงแค่ว่ากล่าวตักเตือน อย่างมากก็ดีดมะกอก
มาตรฐานเผด็จการทหารประเทศไทยก็อย่างงี้แหละ อย่าไปหวังอะไรมาก

ไม่แปะข้อความ เดี่ยวเวบเขาเอาออกไป พวกไปดูไม่ทันจะหาว่ายกเมฆอีกนะ

 

อาจารย์เซ็ง! กม. ประชามติ ไม่ใส่ความผิด จนท. ฟรีทีวี งดถ่ายดีเบต

โดย ทีมข่าว INN News 30 กรกฎาคม 2550 16:35:25 น

นักวิชาการกฎหมาย ม.ธรรมศาสตร์ พ.ร.บ.ประชามติบกพร่อง เพราะไม่บัญญัติความ
ผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ระบุหาก กกต. ไม่เป็นกลาง มีความผิดตามกฎหมาย กกต.


นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวในการเสวนาวิชาการเรื่อง ประชามติที่ดีควรเป็นอย่างไร โดยระบุว่า พ.ร.บ. ว่า
ด้วยความสงบเรียบร้อยในการลงประชามติ มีความบกพร่องที่ไม่บัญญัติความผิดของ
เจ้าหน้าที่รัฐ หากมีการใช้อิทธิพลจูงใจประชาชน ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าไม่เหมาะสม ที่ผู้
ร่างจะเป็นผู้ทำประชามติเอง ซึ่งหาก กกต. แสดงออกไม่เป็นกลาง ก็ถือว่ามีความผิด
ทางอาญา ตาม พ.ร.บ.ประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. มาตรา 24 และมาตรา 42
โดยสาเหตุเรื่องนี้มากจาก คมช. ที่ไม่ควรเอา กกต. มาร่วมร่าง รัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้น

ในขณะที่ น.ส.สิริพรรณ นกสวน อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แสดงความไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลไม่สนับสนุนการถ่ายทอดสดทางฟรีทีวี ในการดีเบตร่าง
รัฐธรรมนูญในวันที่ 3 ส.ค.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31-07-2007, 01:27 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
jrr.
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #7 เมื่อ: 31-07-2007, 01:51 »

ไม่ผิด ก.ม. แต่ก็ไม่ควร

....................................

คำนี้คนเค้าเคยพูดกันปากเกือบฉีกถึงใบหูมาเมื่อปีสองปีที่ผ่านมา
ถึงขนาดเจอทั้งเรื่องผิดกฎหมายและพ่วงด้วยไม่สมควรแล้วก็ตาม

มันก็ยังมีคนช่วยกันอุ้มข่วยกันตะแบงไปด้วยคำที่ว่า....บกพร่องโดยสุจริค
อำนาจหลุดลอยไปนี่....เป็นคนดีขึ้นมาเยอะเลย(ว่ะ) !!!
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #8 เมื่อ: 31-07-2007, 01:55 »

"อารีย์ วงศ์อารยะ" ยุค "ขนคน" ชอบธรรม

คอลัมน์ โครงร่างตำนานคน
โดย การ์ตอง


ชัดเจนไปแล้ว ว่าการจัดพาหนะรับ-ส่งประชาชนมาลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ใน
วันที่ 19 สิงหาคมที่จะถึงนี้ หากทำโดยหน่วยงานราชการถือเป็นความชอบธรรม
เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งตีความว่าเป็นแค่การอำนวยความสะดวก
ให้ประชาชน
ไม่เกี่ยวกับการชี้นำให้กาบัตรไปในทางใดทางหนึ่ง

การตีความเช่นนี้ ฟังแล้วมีเหตุผล เพราะเมื่อจะให้ประชาชนมาร่วมลงประชามติก็ควร
จะหาทางอำนวยความสะดวกให้

อย่างไรก็ตาม เหตุผลนี้ถูกบางฝ่ายโต้แย้ง ว่าเป็นการตีความที่เป็นเพียงแค่อาศัย
อำนาจสร้างความชอบธรรม

ในอดีตการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมาลงคะแนน ไม่ถือว่าเป็นปัญหา

แต่หลังจากการหยิบยกข้อเท็จจริงบางอย่างขึ้นมาเพื่อหาทางให้การเลือกตั้งโปร่งใส
มากขึ้น

ข้อเท็จจริงที่ว่านั้นคือ ผู้สมัครที่มีหัวคะแนนกว้างขวาง และมีอิทธิพลในท้องถิ่น
สามารถทำการขนคนมาลงคะแนนได้มากกว่าผู้สมัครทั่วไป และยิ่งหนักขึ้นไปอีก
คือ หากในหมู่บ้านใดชาวบ้านรับเงิน หรือผลประโยชน์จากหัวคะแนนของผู้สมัคร
ถึงเวลาหัวคะแนนนั้นจะไปขนผู้รับผลประโยชน์นั้นมาลงคะแนนให้ตามที่ตกลงไว้
และสามารถตรวจสอบได้ว่า แต่ละหน่วยเลือกตั้งใครรับประโยชน์ไปแล้วไม่มาลงให้
ซึ่งถือว่าเป็นการหักหลัง ซึ่งจะต้องรับมาตรการตอบโต้ สร้างความเสียหายให้กับ
กระบวนการเลือกตั้ง

หลังจากนั้น เพื่อความโปร่งใส จึงมีการออกกฎหมายห้ามจัดพาหนะรับส่งคนมา
ลงคะแนน ซึ่งรวมถึงหน่วยราชการด้วย
โดยถือเสียว่าการมาลงคะแนนเป็นเรื่อง
"หน้าที่ของประชาชน" ประชาชนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่พลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย

การขนคนมาลงคะแนนจึงถือว่ามีความผิดทั้งสิ้น ไม่ว่าผู้ขนจะเป็นใคร

แต่การลงประชามติครั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยที่มีนายอารีย์ วงศ์อารยะ เป็นรัฐมนตรี
ว่าการได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ประชาชน จัดพาหนะนำ
ประชาชนมาลงประชามติ

ในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายของนายอารีย์ครั้งนี้ แม้จะมีเหตุผลที่ไม่น่าจะ
เป็นปัญหา เพราะกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานราชการ มีภาพของความเป็นกลาง
ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นแค่การอำนวยความสะดวกอย่างบริสุทธิ์ใจ

ซึ่งไม่น่าจะมีข้อกังขาใดๆ

แต่อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องธรรมดาทุกเรื่องราวจะต้องมีคนที่มองต่างมุมออกไป

มุมที่มองต่างก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทางเลือกอยู่แค่ 2 ทาง คือรับ หรือไม่รับ
เท่านั้น

ฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรรับ เป็นหลายกลุ่มที่เห็นว่าเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็น
ไปในทิศทางนำประเทศไปสู่การนำของกลุ่มข้าราชการ หรือที่เรียกขานกันว่า "ระบอบ
อำมาตยาธิปไตย"


ฝ่ายที่แสดงออกชัดเจนว่า "ควรรับ" คือกลุ่มทหาร รัฐบาล และข้าราชการ

คล้ายกับว่า "ประชามติ" ครั้งนี้ เป็นการต่อสู้กันระหว่าง ฝ่ายนิยมอำนาจแบบราชการ
กับฝ่ายที่นิยมอำนาจจากประชาชน


เมื่อกระทรวงมหาดไทย เป็นกลไกสำคัญของราชการ และเป็นที่รับรู้กันว่าประชาชน
ไทยเราส่วนใหญ่ยังถูกชี้นำได้ง่าย

กลไกราชการซึ่งมีสิทธิจัดพาหนะรับส่งประชาชนมาแสดงประชามติ จึงน่าจะเป็นการ
ชี้นำ


อย่างไรก็ตาม เสียงของฝ่ายที่คัดค้าน แสดงออกได้ไม่ดังนัก เพราะการเมืองที่ผ่านมา
เป็นการต่อสู้ระหว่างพรรค ก่อให้เกิดความเคยชินว่า "ข้าราชการเป็นกลไก" ที่เป็นกลาง

ดังนั้น แม้ความรู้สึกของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยจะมอง "ขนคนไปลงเลือกตั้ง" ด้วยความรู้สึก
ว่าไม่ค่อยชอบธรรม

แต่สำหรับประชาชนทั่วไป ดูเหมือนส่วนใหญ่จะขอบคุณกระทรวงมหาดไทยที่ช่วยให้
เดินทางไปคูหากาบัตรได้สะดวกขึ้น

มติชน วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10732

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01soc02290750&show=1&sectionid=0113&day=2007/07/29
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #9 เมื่อ: 31-07-2007, 06:24 »

ไม่แปะข้อความ เดี่ยวเวบเขาเอาออกไป พวกไปดูไม่ทันจะหาว่ายกเมฆอีกนะ

แปะเยอะมันหาว่า เปลืองทรัพยากรบอด แปะน้อยมันก็หาว่าตัดต่อ ไม่รู้จะเอาไงกับแม่ม ไม่แปะมันซะเลย
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #10 เมื่อ: 31-07-2007, 10:19 »

แปะเยอะมันหาว่า เปลืองทรัพยากรบอด แปะน้อยมันก็หาว่าตัดต่อ ไม่รู้จะเอาไงกับแม่ม ไม่แปะมันซะเลย
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11666.msg204718#msg204718
http://forum.serithai.net/index.php?topic=15101.msg200345#msg200345

มาตรฐานแถๆ เอาไปฝากไว้ที่อื่นเหมือนกัน เวลาโพสก็ใช้ตัวอักษรไม่กี่ตัวเท่าๆกัน
กระทู้นึงตัดต่อข้อมูล กระทู้นึงเอารูปมาเต็มๆไม่ตัดซักนิด ยังจะมาอ้างว่าเปลือง แถโง่ๆน่า

การขนคนลงประชามติต่างจากขนคนไปลงคะแนนเยอะ
- ขนคนไปลงคะแนนสส. สว. มีคนที่ได้ประโยชน์ชัดเจน และอาจจะมีการจ่ายเงินซื้อเสียงกันมาล่วงหน้าแล้ว เป็นการต้อนให้คนที่รับเงินมาต้องไปออกเสียงเลือกเขานั่นเอง หรือถึงไม่มีการซ์้อเสียง แต่การขนคนไปลงคะแนนเสียงก็เป็นการสร้างบุญคุณ สร้างภาพพจน์ถือว่าเป็นการเอาเปรียบคู่แข่ง
- ขนคนไปลงประชามติ ไม่ได้มีผลประโยชน์ชัดเจน ไม่มีทางซื้อเสียงได้ทั่วประเทศ จะลงรับหรือไม่รับคนที่ขนคนไป(รัฐ)ก็ไม่ได้มีผลประโยชน์ หรือเสียผลประโยชน์อะไร

เป็นการตีความเอากฎหมายเก่า มาใช้แบบศรีธนญชิน(กฎหมายของกู เพื่อกู)
โดยไม่ไดู้ถึงองค์ประกอบโดยรวม
แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยกับการขนคนไปลงประชามติ เรื่องนี้ผมอยากให้คนที่สนใจเนื้อหา
มีความตั้งใจที่จะไปลงประชามติด้วยตัวเอง มากกว่าขนไปลงแบบไม่รู้เรื่อง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: