:: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
:: ส่วนที่4 คณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา 138 การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการ การเลือกตั้ง ให้ดำเนินการ ดังนี้
(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนสิบคน ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือก กันเองให้เหลือสี่คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน ทำหน้าที่ พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตาม มาตรา 137 ซึ่งสมควรเป็นกรรมการ การเลือกตั้ง จำนวนห้าคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอ พร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการเสนอชื่อ ดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการ สรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(2) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการ การเลือกตั้งจำนวนห้าคนเสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อม ความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น
(3) การเสนอชื่อตาม (1) และ (2) ให้กระทำภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาตาม (1) ไม่ อาจเสนอชื่อได้ภายใน เวลาที่กำหนด หรือไม่อาจเสนอชื่อได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนด ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาเสนอชื่อแทนจนครบจำนวนภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องเสนอชื่อตาม (1) (4) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกผู้ได้ รับการเสนอชื่อตาม (1) (2) และ (3) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนน ลับ ในการนี้ ให้ห้าคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาเป็นผู้ได้รับ เลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้งแต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งดังกล่าว มีไม่ครบห้าคนให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกนั้นมาให้ สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป และ ในกรณีนี้ ให้ถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจน ครบห้าคน เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้งในครั้งนี้ ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือก เกินห้าคน ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
(5) ให้ผู้ได้รับเลือกตาม (4) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภา ทราบ
และให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้ง ต่อไป http://www.kodmhai.com/m1/m1-136-148.html:: ส่วนที่5 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง
มาตรา 168 ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือ สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบจะมีการประชุมวุฒิสภามิได้
เว้นแต่เป็นกรณี ดังต่อไปนี้ (1) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาตาม มาตรา 19 มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 และ มาตรา 223 โดยถือคะแนน เสียงจากจำนวนสมาชิก
ของวุฒิสภา
(2) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตาม มาตรา 138 มาตรา 143
มาตรา 196 มาตรา 199 มาตรา 257 มาตรา 261 มาตรา 274 (3) มาตรา 277 มาตรา 278 มาตรา 279 (3) มาตรา 297 มาตรา 302 และ มาตรา 312
(3) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่พิจารณาและมีมติให้ ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
http://www.kodmhai.com/m1/m1-149-192.html************************************************