สสร.แนะศาลสนองรับพระราชดำรัสในหลวง-จวก76 นักวิชาการไม่เข้าใจแก่นแท้ รธน.50
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤษภาคม 2550 21:34 น.
รู้ทันประเทศสนองรับพระราชดำรัสในหลวง เตือนให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใช้ความรอบคอบ เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตัดสินตามหลักการที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันอัดยับ 76 นักวิชาการคว่ำร่าง รธน.ระบุไม่เข้าใจแก่นแท้และวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เผยมุ่งหวังเห็นการเขียน รธน.บนซากศพของประชาชนเพียงเท่านั้น
รายการรู้ทันประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี คืนวันที่ 25 พฤษภาคม ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้สนทนากับ นายวิชา มหาคุณ และ นายปกรณ์ ปรียากร สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มีนายสันติสุข มะโรงศรี เป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยในช่วงแรก ดร.เจิมศักดิ์ ได้อันเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานต่อตุลาการศาลปกครองเมื่อเดือนเมษายน 2549 และเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ที่ผ่านมานำเสนออีกครั้ง โดย ดร.เจิมศักดิ์ ระบุว่า กระแสพระราชดำรัสของพระองค์ท่านที่พระราชทานต่อตุลาการศาลปกครอง แสดงให้เห็นความเป็นห่วงวิกฤติของบ้านเมือง ซึ่งพระองค์ท่านต้องการให้ตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่อย่างถูกต้อง และตรงไปตรงมา
ทางด้านนายวิชา กล่าวในประเด็นเดียวว่า พระองค์ท่านทรงชี้แนะให้ตุลาการศาลปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง ไม่ใช่มีบทบาทเฉพาะในศาล กระแสพระราชดำรัสของพระองค์ท่านยังตรงกับกับสิ่งที่ตุลาการทั่วโลกออกมาเคลื่อนไหว คือ หากเกิดวิกฤติ ฝ่ายบริหารไม่สามารถทำงานได้ ฝ่ายตุลาการต้องเข้ามาแทรกแซง แต่การแทรกแซงนั้นต้องไม่เป็นการเข้าไปยุ่งยาก หรือทำลายระบบประชาธิปไตยให้ล่มสลายลง นายวิชา กล่าวต่อว่า อยากให้ทุกฝ่ายเริ่มตระหนักและคิดอย่างถี่ถ้วน พร้อมทั้งหาหนทางตามที่พระองค์ท่านได้ตรัสและทรงเตือนเอาไว้ อย่างไรก็ตามหากมองย้อนกลับพระองค์ท่านเคยมีกระแสพระราชดำรัสกับตุลาการศาลปกครองมาแล้วครั้งหนึ่ง มันเป็นวิกฤติที่ต่อเนื่องมาจากเดือนเมษายน 2549 พระองค์ท่านอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ตนจึงอยากให้ทุกฝ่ายหันมาน้อมรับในกระแสพระราชดำรัสในสองครั้งที่ผ่านมา อย่าไปสร้างความขัดแย้งทางด้านการเมืองขนานใหญ่ ทำกันถึงขนาดมีการปลุกระดม จะล้อมศาลกลางจังหวัด มีการเดินขบวน ทั้งหมดก็มุ่งหวังที่จะเห็นการนองเลือด
นายวิชา กล่าวอีกว่า วิพากษ์วิจารณ์ได้ ดังนั้นลักษณะอย่างนี้การให้ความรู้กับประชาชน และความคิดเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า นวัตกรรมในระบบตุลาการ ที่ไม่ใช่กระบอกเสียงของฝ่ายนิติบัญญัติ คือพูดง่ายๆ คือไม่สามารถผิดกั้นตัวเองได้ อย่างที่ตนเคยพูดอยู่เสมอว่า ตุลาการยึดหลักมาในอดีต
นอกจากนี้ นายวิชา ยังกล่าวถึงกรณี 76 นักวิชาการลงชื่อในแถลงการณ์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า หากบอกว่าการเขียนร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นเป็นสิ่งที่มิชอบ เราก็ต้องล้มล้างสิ่งที่เราทำมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นยึดอำนาจในอดีต ไม่มีกระบวนการอะไรที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างขนานใหญ่ หรือว่าท่านอยากให้นองเลือดแบบนั้นก่อนหรือไม่ เป็นสิ่งที่เราถามตัวเองอยู่เสมอ หรือต้องการเขียนรัฐธรรมนูญบนซากศพของประชาชน นายวิชา กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ที่ผ่านมาเราเห็นมาแล้วรัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นดี แต่กลับกันมันยังมีช่องเปิดโอกาสให้โกงกินกันอย่างมโหฬารมากที่สุด องค์กรอิสระถูกแทรกแซง เกิดสภาผัว-เมีย เราอยากเห็นภาพเช่นนั้นกลับมาใหม่หรือไม่ หรือรอเวลาให้ประชาชนคิดและต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงก่อนจึงจะมีการเขียนรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากรอให้ประชาชนคิดและริเริ่มการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าในการเขียนรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน ประชาธิปไตยก็จะเดินไปอย่างช้าๆ ขณะที่ นายปกรณ์ กล่าวว่า
กระแสการเคลื่อนไหวก่อนการตัดสินคดียุบพรรคของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมันมีแรงกดดันจากหลายฝ่าย ซึ่งคราวนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นเหมือนครั้งการตัดสินคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่มีการกดดันจนบางครั้งดูเหมือนจะมีผลกระทบต่อการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตนไม่เข้าใจ ทำไมประเทศไทยจะไม่มีองค์กรที่เข้มแข็งพร้อมที่จะยืนหยัดในความถูกต้องแม้จะต้องเผชิญวิกฤติ แต่ก็พร้อมทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ถือเป็นการชี้ทางสว่าง และเป็นบทเรียนที่ชัดเจนที่สุด นายปกรณ์ กล่าวว่า วันนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ยุติธรรม ต้องทำหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามวันนี้ตนเริ่มรู้สึกแปลกใจในการทำหน้าที่ของพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคการเมืองบางพรรคพยายามใช้วิธีการที่แปลกมาก หากคนที่ทำหน้าที่สูงสุดของบ้านเมืองไปโอนอ่อนหรือเอนเอียงตามแล้วนั้น ประเทศก็จะถูกนำไปสู่ภาวะวิกฤติโดยง่ายดาย
นายปกรณ์ กล่าวต่อว่า
เราจะต้องเคารพต่อคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถึงแม้จะออกมาแล้วไม่ตรงกับความต้องการของฝ่ายใด อย่าพยายามสร้างความกดดันจนนำไปสู่การพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง มันอาจทำให้ภาพของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเกิดความเสียหายได้ ตนหวังว่าจะเห็นคำตัดสินที่บริสุทธิ์และยุติธรรม อีกทั้งต้องเป็นไปตามพยานหลักฐานที่ชี้ชัดว่าผิดหรือถูกอีกด้วย นอกจากนี้ก็ควรพิจารณาด้วยหลักที่เป็นธรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่ศาลหากระบบราชการใช้หลักความเป็นธรรม วิกฤติมันก็จะผ่อนคลายลง ดังที่เราเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน ที่มีหลักคิดที่แน่วแน่และมั่นคง หากนำไปยึดถือในการทำงานก็จะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง
ส่วนกรณี 76 นักวิชาการลงชื่อในแถลงการณ์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น นายปกรณ์ บอกว่า มันไม่ใช่ประเด็นและมีเหตุผลเพียงพอที่นักวิชาการเหล่านั้นจะออกมาคว่ำร่างรัฐธรรมนูญในเวลานี้ ทำไมเราจะต้องมาเสียเวลากับการย้อนหลังสู่การเริ่มต้นใหม่ การเข้ามาของ สสร.ก็เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ได้เข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์หรือเขียนรัฐธรรมนูญให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทั้งนี้อยากให้นักวิชาการเหล่านี้ไปอ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ให้ดี ซึ่งก็จะรู้และทราบถึงความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญปี 2540 โดยเฉพาะเรื่องหลักสิทธิเสรีภาพ ที่ถูกเขียนลงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างชัดเจน
ผมมีโอกาสไปร่วมรับฟังในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำให้ผมรู้ว่า การมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญในฉบับนี้มีความชัดเจนมาก โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมโดยตรงของประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เขียนและกำหนดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งก็ชัดเจนจนกระทั้งบางคนมองว่า หากกฎหมายฉบับนี้ออกมา พรรคการเมืองแทบไม่ต้องทำอะไรเลย เป็นความคิดที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนอย่างมาก เนื่องจากเวลานี้ทุกสิ่งทุกอย่างมันเท่ากันหมดแล้ว ผมอยากให้นักวิชาการ และสื่อมวลชนเดินทางเหมือนพวกเรา ต้องรับรู้และเข้าใจรัฐธรรมนูญให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้นายปกรณ์ กล่าว
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000060544หลังจากศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดี"ซุกหุ้นI"ของทักษิณด้วยคะแนน (4+4):7...
เราได้รับฟังการให้ปากคำของอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในฐานะ"พยาน"ในคดีหนึ่งว่า
เขาวินิจฉัยตามการกดดันและเกรงอันตรายจะได้รับจาก"ม๊อบทักษิณ" หน้าที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ.....
เขาเป็นหนึ่งในเสียงข้างมากที่ตัดสินว่า "ทักษิณไม่ได้ซุกหุ้น"......