พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend a personal God and avoid dogmas and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising , from the experience of all things, natural and spiritual as a meaningful unity.
Buddhism answers this description.. If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism.
ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือ พระเจ้าที่มีตัวตนและควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุม ทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจาก ประสบการณ์ตรงต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวม ที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ ..
ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัย ปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา
Albert Einstein ( อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ )
นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฎีสัมพันธภาพ
อ้างอิง. Eistien , 1879- 1955,
Great personalities on Buddhism, By K. Dhammananda,Thera , Kuala Lumpur, Malaysia : Buddhist Missionary Society, 1965, p.87.
ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธ เกิดจากความกลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย ต้องการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง และต้องการเข้าถึงสุขแท้สุขถาวรที่ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีก (1)
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษาพระองค์เสด็จออกประพาสอุทยาน ขณะที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น พระองค์ได้พบกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิตนั่นคือ คนแก่ คนเจ็บและคนตาย ทำให้พระองค์ทรงหวั่นวิตกว่า อีกไม่นานเราเองก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอย่างนี้เหมือนกัน ทำอย่างไรหนอ เราจะรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้? เมื่อมีร้อนก็มีหนาวแก้ เมื่อมีมืดก็มีสว่างแก้ เมื่อมีความแก่ความเจ็บและความตาย ก็ต้องมีวิธีแก้อย่างแน่นอน เราจะหาวิธีการนั้นให้พบให้จงได้ จากนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยทิ้งราชสมบัติ ทิ้งกองเงินกองทองออกจากพระราชวังไปนั่งให้ยุงกัดอยู่กลางป่า(2)
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?
พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน(3) ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก(4) บางชาติเกิดเป็นเทวดา บางชาติเป็นมนุษย์ บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย บางชาติต้องตกนรก ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญ ทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น(5)
เมื่อเรายังต้องเกิดอีก สิ่งที่จะตามมาด้วย คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความทุกข์กายทุกข์ใจ ดั่งพระจาลาภิกษุณีกล่าวว่า ความตายย่อมมีแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว ผู้ที่เกิดมาแล้วย่อมประสบทุกข์ เพราะเหตุนี้แลเราจึงไม่ชอบความ เกิด(6)
ฉะนั้น วิธีที่จะรอดพ้นจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความทุกข์ทั้ง ปวงได้ ก็มีอยู่เพียงวิธีเดียวเท่านั้น นั่นก็คือการไม่เกิดอีก เพราะเมื่อไม่เกิดอีก เราก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ต้องทุกข์อีกต่อไป(7)
จุดมุ่งหมายพระพุทธศาสนา
เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ เจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุเข้าสู่ มรรค ผล นิพพาน ตัดกระแสธรรมชาติให้ขาดสะบั้นลงได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง กำจัดสาเหตุที่ก่อให้เกิดการถือกำเนิดในภพใหม่(
สิ่งที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องเกิดอีกไม่มีที่สิ้นสุดก็คือความต้องการของสรรพสัตว์เองหรือที่เรียกว่า กิเลสตัณหา(9)
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า อานนท์ กรรมชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่ายางเหนียวในเมล็ดพืช วิญญานดำรงอยู่ได้ เพราะธาตุหยาบของสัตว์ มีความหลงไม่รู้ความจริงเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหา เป็นเชื้อเครื่องผูกเหนี่ยวใจไว้ การเกิดใหม่จึงมีต่อไปอีก(10) ตัณหาทำให้สัตว์ต้องเกิดอีก จิตของสัตว์ย่อมแล่นไป สัตว์ที่ยังต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์ย่อมไม่อาจ หลุดพ้นจากทุกไปได้(11)
เมื่อมนุษย์เจริญวิปัสสนาจนเกิดมรรคจิตครบ ๔ ครั้ง ก็จะกำจัดกิเลสตัณหา ในจิตของตนเองให้หมดสิ้นไปได้อย่างสิ้นเชิง(12) เขาจะไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์มะม่วงที่มียางเหนียวอยู่ภายใน ถ้านำไปปลูกจะงอกเป็น ต้นมะม่วงได้อีก แต่ถ้านำไปต้มกำจัดยางเหนียวให้หมดไป จากนั้นนำไปปลูกโดย วิธีใดก็ตามจะไม่งอกอีกแล้ว กิเลสตัณหาในดวงจิตของเราก็เช่นกัน
แต่ถ้าหากไม่สามารถทำมรรคจิตให้เกิดครบ ๔ ครั้งได้ แม้เกิดเพียงครั้งเดียวก็จัดว่าเข้าสู่กระแสแล้ว(โสดาบัน) ก็ไม่ต้องตกนรก/ทุกข์ในอบายอีกต่อไป และจะบรรลุอรหันต์ได้เองโดยอัตโนมัติภายในระยะเวลาไม่เกิน ๗ ชาติ(13)
กรรมฐาน
กรรมฐาน เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีอยู่ในจักรวาลเหมือนกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ต่างกันแต่ศาสตร์นี้ต้องศึกษาวิจัยในห้องแลปร์คือจิตล้วน ๆ และ มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ความหลุดพ้นจากทุกทั้งปวง ศาสตร์นี้เป็นกลไกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ยากที่มนุษย์จะเข้าถึงได้ สิ่งที่สามารถเข้าถึงและแทงตลอดกฏเกณฑนี้ได้มีเพียงอย่างเดียว นั่นก็คือจิตที่ทรงพลานุภาพ ตามธรรมดาแล้วมนุษย์ล้วนมีจิตกันทุกคน แต่จิตธรรมดาจะกลายเป็นจิตที่ทรง พลานุภาพได้นั้นต้องอาศัยการบ่มเพาะเป็นเวลานาน คัมภีร์อรรถกถาบอกว่า ต้องใช้เวลานานถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัปเลยทีเดียว(14) ด้วยเหตุนี้ นาน ๆ จึงจะมีดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิสักครั้งหนึ่ง โลกใบนี้อุบัติขึ้นประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านปีมาแล้ว ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานมาก แต่ดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิแค่เพียง ๔ ครั้งเท่านั้น(15) ครั้งสุดท้ายมาปฏิสนธิ เมื่อ ๒๖๒๗ ปีก่อนนี้เอง ผู้นั้นเราเรียกกันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เรื่องกรรมฐานนี้ มนุษย์ทั่วโลกได้พยายามค้นคว้าและเข้าถึงมานานแล้ว แต่เนื่องด้วยบารมีไม่เพียงพอจึงเข้าถึงได้เพียงครึ่งเดียว คนกลุ่มนั้นก็คือพวก ฤษีและศาสดาต่าง ๆ พวกท่านสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีฤทธิ์เดชมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสในจิตตนเองให้หมดไปได้(16) ยังมีความรัก โลภ โกรธ หลงอยู่ ท่านเหล่านี้เข้าถึงได้เพียงแค่ระดับฌานสมาบัติเท่านั้น ยังไม่สามารถเข้าถึงวิปัสสนาปัญญา บรรลุมรรค ผล นิพพานได้(17)
สมถกรรมฐาน(18) คือ การกำหนดจิตอยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่เหมาะสม เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นต้น(19) ใส่ใจแต่เฉพาะอาการเข้า อาการออกของลมหายใจเท่านั้น โดยไม่สนใจสิ่งอื่น แม้แต่ความคิดก็ไม่สนใจหายใจเข้า หายใจออกตามปกติธรรมด่า มีสติระลึกรู้อยู่ในขณะปัจจุบัน มีสติระลึกรู้อยู่อย่างนี้นับร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้งจนจิตตั้งมั่น แนบแน่นอยู่ กับลมหายใจนิ่งเป็นสมาธิ แล้วกำหนดรู้อาการนิ่งสงบของจิต จนนิ่งเป็นอุเบกขา เมื่อถึงขั้นนี้จะน้อมจิตไปทำสิ่งใดก็จะสำเร็จได้ดั่งใจหมาย เช่น สามารถ กำหนด รู้ความคิดของคนอื่นได้เป็นต้น(20)
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ไปศึกษาศาสตร์นี้จากสำนักฤษีต่างๆ ที่มีอยู่ในสมัยนั้นจนหมดความรู้อาจารย์ แต่เมื่อออกจากสมาธิ กิเลสตัณหาก็ยังมีอยู่เท่าเดิม ยังมีความกลัวความกังวลอยู่ พระองค์จึงตัดสินพระทัยศึกษาค้นคว้าหาวิธีดับทุกข์ด้วยพระ องค์เอง ด้วยการเจริญวิปัสสนา(21)
เมื่อเกิดวิปัสสนาปัญญญารู้แจ้งอยู่ไปตามลำดับครบ ๑๖ขั้นจะบรรลุ โสดาบัน เที่ยวที่ ๒ บรรลุสกทาคามี เที่ยวที่ ๓ บรรลุอนาคามี เที่ยวที่ ๔บรรลุพระอรหันต์เข้าถึงพระนิพพาน(22) ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป เมื่อไม่ต้องเกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ต้องทุกข์ กายทุกข์ใจอีกต่อไป การตายอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย จึงเรียกว่าดับขันธปรินิพพาน ดับทั้งกายดับทั้งจิต ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
อ้างอิง..พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(เล่มที่ / หน้าที่)
1ไตรปิฎก.๒๕/๔๗๖,๓๑/๔๐๐
2 ดูรายละเอียดใน ไตรปิฎก.๑๐/๑-๑๐
3 ไตรปิฎก.๑๖/๒๒๓
4 ไตรปิฎก๑๖/๒๒๗
5 ไตรปิฎก๑๔/๓๕๐-๓๖๕
6 ไตรปิฎก๑๕/๒๒๓
7 ไตรปิฎก๑๙/๕๓๔
8ไตรปิฎก.๑๑/๒๒๒ ,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๑๖๔
9 ไตรปิฎก๑๕/๖๘
10 ไตรปิฎก.๒๐/๓๐๑
11 ไตรปิฎก๑๕/๗๐
12 ไตรปิฎก.๓๑/๙๗
13 ไตรปิฎก.๑๙/๕๔๔, ๑๔/๑๘๖, ๒๐/๓๑๕, ๒๕/๑๒
14 วิสุทฺธชนวิลาสินี(บาลี)๑/๑๒๐
15 ไตรปิฎก.๓๓/๗๒๓
16 ไตรปิฎก.๒๐/๓๘๐
17 ไตรปิฎก.๑๓/๓๙๖,อรรถกถามัชฌิมนิกาย(บาลี) ๑/๑๙๙
18 วิสุทฺธิมรรค(บาลี)๑/๑๓๒-๑๔๙
19 ไตรปิฎก.๑๒/๑๐๑
20 ไตรปิฎก.๑๐/๑๔๒, ๒๒/๓๖
21 ไตรปิฎก.๑๙/๔๖๑,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๘๑๓๓
22 ไตรปิฎก.๓๑/๑-๑๖,๒๕/๗๒๐
http://dungtrin.com/ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการเรียกร้องของพระสงฆ์ แต่ไม่เห็นด้วยกับการเข้าไปร่วมกับพีทีวี
....ขอเรียกร้องตรงนี้ว่า พระสงฆ์ทั้งปวงอย่าได้เข้าไปร่วมประท้วงกับพีทีวีเลยนะครับ.. มิฉะนั้นแล้วจะมีแต่ผลเสีย มิใช่ผลดี.. มิใช่ว่าพีทีวีชั่วร้ายนะครับ แต่การทำแบบนั้นเป็นการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันเกินไป อาจทำให้บ้านเมืองแตกแยกได้
.....และขอเรียกร้องไปยังพีทีวี.. ว่า อย่าได้นำพระสงฆ์มาเรียกร้องทางการเมืองเลยนะครับ.. เห็นแก่ความสงบสุขขอบ้านเมืองเถอะนะ.....
......พระสงฆ์เรียกร้องทางการปกครอง(แต่มิใช่ทางการเมือง) ได้ แต่ต้องไม่ฝักไผ่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ควรตั้งอยู่ในฐานะครูบาอาจารย์ของบ้านเมือง..ที่เห็นว่าอะไรควรทำที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้..
ควรทำเหมือนกับพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ออกมาคลื่นไหวเรียกร้องขอชีวิตให้กับแม่ทัพนายกอง ที่จะต้องถูกประหารชีวิต ...ทำให้พระนเรศวรยังเหลือแม่ทัพนายกองไว้ป้องกันประเทศต่อไปได้...
..แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ยังเคยเสด็จไปห้ามกองทัพของพระเจ้าวิฑูฑภะถึง ๒ ครั้ง ๒คราว
.........กษัตริย์ ๒ เมืองทะเลาะแย่งน้ำกัน จนประจันหน้ากันแล้ว ..พร้อมที่จะทำสงครามแย่งน้ำกันโดยฉับพลัน ..พระองค์จึงเสด็จไปในระหว่างกองทัพทั้ง ๒ ฝ่าย แล้วทรงเตือนให้สติ ว่า เลือดมีค่ามากกว่าน้ำ
ประเทศมาเลเซีย ประกาศศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งที่มีประชากรชาวมุสลิมเพียงแค่ 65 %
ชื่อทางการ มาเลเซีย
ประมุข สมเด็จพระราชาธิบดี ตนกู ไซด์ ซีราจุดดิน ไซด์ ปุตรา จูมาลูลลาอิล
พื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชากร 23.8 ล้านคน
สกุลเงิน ริงกิต
ศาสนา อิสลาม 65% พุทธ 16% เต๋า 10% ฮินดู 6%
ภาษา บาฮาสา มาเลเซีย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%...%B8%B5%E0%B8%A2http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=164รัฐธรรมนูญของมาเลเซีย
(1) Islam is the religion of the Federation; but other religions may be practised in peace and harmony in any part of the Federation.
(2) In every State other than States not having a Ruler the position of the Ruler as the Head of the religion of Islam in his State in the manner and to the extent acknowledged and declared by the Constitution, all rights, privileges, prerogatives and powers enjoyed by him as Head of that religion, are unaffected and unimpaired; but in any acts, observance or ceremonies with respect to which the Conference of Rulers has agreed that they should extend to the Federation as a whole each of the other Rulers shall in his capacity of Head of the religion of Islam authorize the Yang di-pertuan Agong to represent him
(3) The Constitution of the States of Malacca, Penang, Sabah and Sarawak shall each make provision for conferring on the Yang di-Pertuan Agong shall be Head of the religion of Islam in that State
(4) Nothing in this Article derogates from any other provision of this Constitution
(5) Notwithstanding anything in this Constitution the Yang di-Pertuan Agong shall be the Head of the religion of Islam in the Federal Territories of Kuala Lumpur and Labuan; and for this purpose Parliament may by law make provisions for regulating Islamic religious affairs and for constituting a Council to advise the Yang di-Pertuan Agong in matters relating to the religion of Islam.
http://www.malaysianmonarchy.org.my/portal...ial%20Functionsของอินโดนีเซีย
Chapter XI. Religion
Article 29
1. The State shall be based upon the belief in the One and Only God
2. The State guarantees all persons the freedom of worship, each according to his/her own religion or belief
นำมาให้อ่านครับ...
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย... ในมุมมองมุสลิม(คนหนึ่ง)
http://www.oknation.net/blog/unussorn/2007/04/18/entry-1ทีแรกผมเฉยๆ กับประเด็นนี้ ไม่ได้ติดตามเพราะไม่เห็นว่ามันสำคัญ แต่เมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่านคอลัมน์หนึ่งในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ดร.ธีรวิทย์ ภิญโญณัฐกานต์ อดีตที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ผู้เขียนคอลัม์นี้ ท่านเห็นด้วยกับการบัญญัติให้ระบุคำว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ลงในรัฐธรรมนูญ
ด้วยเหตุผลที่ว่า ในประเทศมุสลิมหลายประเทศ ยังระบุเลยว่า อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แล้วทำไมพุทธศาสนิกชนถึงไม่กล้าระบุเช่นนั้นบ้าง ท่านยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญของประเทศมุสลิมประเทศหนึ่ง Islam is the Religion of the Federation but other religion may be practiced in peace and harmony in any part of the Federation (อิสลามเป็นศาสนาแห่งสมาพันธรัฐ แต่ศาสนาอื่นได้รับการปฏิบัติโดยสันติและกลมกลืน ในส่วนใดของสมาพันธรัฐก็ได้) และประเทศมุสลิมอื่นๆ อีกหลายประเทศที่ระบุเนื้อหาทำนองนี้ลงในรัฐธรรมนูญของตน
อ่านจบแล้วผมก็ เออ... จริงด้วย ประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนมากเขายังทำกันเลย แล้วทำไมประเทศไทยที่มีพุทธศาสนิกชนมากถึง 90% จะทำแบบนั้นไม่ได้
ผมเห็นด้วยกับเขาครับ ซึ่งตรงนี้ขอออกตัวก่อนว่าอาจจะเป็นความเห็นที่ต่างจากมุสลิมท่านอื่น แต่ผมรู้สึกแบบนั้นจริงๆ เพราะผมเห็นข้อดีของการยืดอกประกาศตัวแบบนี้ ความภูมิใจในความเป็นอัตลักษณ์ของตัวเองท่ามกลางความเน่าเฟะของลัทธิบริโภคนิยมถือว่าเป็นเจตนารมณ์ที่น่ายกย่อง
หากประเทศไทยของผมหาญกล้าที่จะประกาศให้รู้ว่า บ้านนี้เมืองนี้มีพุทธศาสนิกชนเป็นสมาชิกส่วนมาก เพราะฉะนั้นอบายมุขต่างๆ อย่าได้หวังเข้าครอบงำประเทศนี้ ในศีล 5 ข้อที่เป็นชุดศีลเบื้องต้น ศาสนาพุทธห้ามดื่มสุรา สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกฺขาปะทัง สมาทิยามิ ประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติจะไม่มีสุราจำหน่ายโดยถูกกฎหมาย ไม่มีผับไม่มีบาร์ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ต่อต้านการพนัน ประเทศนี้จะไม่มีกฎหมายใดๆ รองรับการพนันในทุกประการ, จะออกกฎหมายปราบปรามการค้าประเวณีอย่างถึงที่สุด
ถ้าประเทศไทยของผมมีรัฐธรรมนูญที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นรูปธรรมชัดเจน แล้วนำคุณธรรมทางพุทธศาสนามาแปรรูปเป็นกฎหมายจรรโลงสังคม เหมือนหลายประเทศในตะวันออกกลาง ผมว่าประเทศไทย(ในความเห็นของผม) คงจะน่าอยู่กว่าปัจจุบัน ที่กฎหมายถูกผลิตขึ้นจาก กิเลส ของสังคม ไม่ได้เกิดขึ้นจาก ศีลธรรม อย่างที่ควรจะเป็น
แต่ถ้าแนวคิดการระบุศาสนาประจำชาติ เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นในสถาบันของตน หรือเกิดขึ้นเพื่อสนองความสะใจตน, เอาชนะคะคานกันและกันโดยที่ไม่มีผลทางการปรับปรุงสังคม ผมถือว่ามันไร้สาระ ไม่ควรค่ากับการเสียเวลาทุ่มเถียง มันเป็นการเชิดชูศาสนาด้วยตัวอักษร หาใช่การเชิดชูศาสนาด้วยแก่นของศาสนาแต่อย่างใด