ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
05-07-2025, 15:52
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  แจ้งเบาะแสนักการเมืองและบีโอไอ ต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบความเสียหายต่อรัฐ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
แจ้งเบาะแสนักการเมืองและบีโอไอ ต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบความเสียหายต่อรัฐ  (อ่าน 1094 ครั้ง)
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« เมื่อ: 27-02-2007, 02:30 »

ตามกฏระเบียบของบีโอไอ ที่ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเครื่องจักร
ภาษีวัตถุดิบ และภาษีรายได้นิติบุคคล ฯลฯ แก่ผู้ลงทุน
โดยการให้สิทธิประโยชน์มากน้อยแบ่งตามโซนที่ผู้ลงทุนไปตั้ง

แต่เกิดเหตุการณ์ประหลาดในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่นักการเมืองและบีโอไอ
ไปเปลี่ยนกฏเกณฑ์ ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้ลงทุน
และที่สำคัญ ทำให้รัฐต้องขาดรายได้อันพึงจะได้ หรือไม่
อยากให้ คตส. ช่วยตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย

..................................................................

โตโยต้าโยกฐาน "ปิกอัพ" มาไทย "สุริยะ"แจงสิทธิเขต 1ทำเพื่อชาติ
 
(กรุงเทพธุรกิจ,7/2/2545)


โตโยต้า มอเตอร์ เตรียมโยกฐานการผลิตรถปิกอัพมาไทย หวังใช้เป็นศูนย์ผลิตหลัก ส่งออกตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมอัดฉีด 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ 150,000 คันต่อปี ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป"สุริยะ"แจงทำเพื่อชาติ ดึงทุนนอกเพิ่มการจ้างงาน ชี้เป็นประเด็นทางการเมือง หากยกเลิกโครงการ ประเทศชาติเสียหาย

หนังสือพิมพ์นิฮอน เคไซ ของญี่ปุ่นรายงาน วานนี้ (6ก.พ.) ว่า โตโยต้า มอเตอร์ ค่ายผลิตรถยนต์ชั้นนำสัญชาติญี่ปุ่น มีแผนที่จะย้ายฐานการผลิตรถปิกอัพทั้งหมดมาไทย เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตรายใหญ่ส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคตะวันออกกลาง

ทั้งนี้ โตโยต้า มอเตอร์ จะทุ่มงบประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มกำลังผลิตรถปิกอัพที่โรงงานของโตโยต้าในเขตสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นปีละ 150,000 คันตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากกำลังการผลิตในปัจจุบัน
ที่ผ่านมา โตโยต้าได้ยื่นขออนุมัติการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อขอยกเว้นภาษีการนำเข้าอุปกรณ์การผลิตต่างๆและคาดว่าจะได้รับคำตอบอย่างเป็นทางการในเดือนนี้

อย่างไรก็ดี โฆษกบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับรายงานของหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจชั้นนำของญี่ปุ่นฉบับนี้ ซึ่งรายงานโดยไม่ได้อ้างแหล่งข่าวใด ๆ ทั้งสิ้นในการเสนอข่าว

ปัจจุบัน โรงงานของโตโยต้าในประเทศไทยทั้งหมดมีกำลังการผลิตรวมกันทั้งสิ้น 240,000 หน่วย โดยเมื่อปีที่แล้ว โตโยต้าประเทศไทยจำหน่ายรถยนต์เก๋งซีดาน และรถปิกอัพจำนวน 83,914 และการประกาศเพิ่มกำลังการผลิตของโตโยต้าครั้งนี้ ช่วยให้โตโยต้ามีความมั่นใจที่จะขยายตลาดในประเทศไทยมากขึ้น
ส่วนความเคลื่อนไหวด้านราคาหุ้นของโตโยต้า ที่ตลาดหุ้นโตเกียว ปรับตัวขึ้น 1.22% แตะที่ 3,310 เยนขณะที่ราคาหุ้นของฮีโน่ มอเตอร์ ปรับตัวลง 2.71% แตะที่ระดับ 323 เยน

ด้านนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว กับรายการ "คมชัดลึก"กรณีถูกฝ่ายค้านกล่าวหานโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขต 1 ที่ระบุว่า ใช้อำนาจสนับสนุนเพื่อให้บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในครอบครัวได้รับประโยชน์ว่า เรื่องนี้เป็นการดิสเครดิตการเมืองที่ตนเข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ถ้าตนไม่ได้นั่งในตำแหน่งนี้เรื่องคงไม่เกิดขึ้น แต่อย่างใดก็ตามตนพร้อมจะชี้แจงในสภา หากฝ่ายค้านจะตั้งกระทู้ถาม

นายสุริยะกล่าวว่า การให้สิทธิพิเศษลดภาษีอากรเครื่องจักรจากเดิม 50% เป็น 100% นั้น เพราะเห็นว่าจะสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศได้กว่า 27,000 ล้านบาท และเพิ่มการจ้างงานจำนวนกว่า 16,000 ราย

การให้สิทธิเป็นไปตามสถานการณ์โลกที่ปรับเปลี่ยนซึ่งต้องสร้างแรงจูงใจจากนักลงทุนให้เข้ามาในประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปโรดโชว์บ่อยครั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่น

ในส่วนของข้อโต้แย้งที่ว่า ให้สิทธิพิเศษแก่เขต 1
จะเป็นการย้อนยุคกับนโยบายของบีโอไอที่ต้องการกระจายรายได้ไปสู่พื้นที่ชนบทและเป็นการได้เปรียบกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ในเขต 2 และ 3 นั้น นายสุริยะ กล่าวว่า เป็นการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยด้านการลดภาษีอากรเครื่องจักร แต่ในส่วนยกเว้นสิทธิพิเศษด้านภาษีนิติบุคคลไม่มีการเปลี่ยนแปลง

"สิทธิพิเศษที่กระจายให้เขต 2 และ 3 มีอยู่แล้ว ถ้าต้องการให้ไปลงทุนก็เพิ่มสิทธิพิเศษได้ อย่างเช่น รัฐบาลที่แล้วพยายามดึงเจอเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) เข้ามาลงทุน และได้ให้สิทธิพิเศษไป รวมทั้งการให้สิทธิอื่นๆ ขณะที่ฟอร์ดมาลงทุนก่อนไม่พอใจ และรัฐบาลก็พยายามชี้แจง มาตอนนี้โตโยต้า เราก็ให้สิทธิพิเศษ เรื่องลดหย่อนภาษีเครื่องจักรเช่นเดียวกับที่รัฐบาลที่แล้วทำเช่นกัน"นายสุริยะกล่าว


(ยังมีต่อ)
บันทึกการเข้า
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #1 เมื่อ: 27-02-2007, 02:37 »

และว่า การที่ระบุว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่นเรียกร้องเรื่องดังกล่าวก็ไม่เป็นความจริง เช่น นายวัชระ พรรณเชษฐ์ จากกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์มิตซูบิชิ ซึ่งเป็นบอร์ดบีโอไอยังให้การสนับสนุน เช่นเดียวกับกลุ่มนิสสัน มอเตอร์ก็สนับสนุนด้วย แม้แต่กลุ่มอีซูซุ ก็เห็นชอบตามที่บีโอไอพิจารณา
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ที่กล่าวว่าเครือญาติของตนจะได้ประโยชน์ตรงนี้ขอยืนยันว่าบริษัทของเครือญาติผลิตป้อนให้โตโยต้าน้อยมาก ส่วนบริษัทผลิตชิ้นส่วนอื่นต่างก็ย้ายฐานไปอยู่ในเขต 3 จำนวนมากแล้ว และการที่ตนลงมาเล่นการเมือง ทำให้ถูกญาติพี่น้องต่อว่าเพราะต้องระมัดระวังตัวและถูกจับตามองมาก

ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่ให้สิทธิพิเศษกับโรงงานที่ในโซน 1 มีสิทธิเทียบเท่ากับโซน 3 เป็นการผิดหลักเกณฑ์หรือไม่
นายสุริยะกล่าวว่า ในสมัยที่มีการพูดจากัน นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ บอกว่าเปลี่ยนเงื่อนไขทำให้ต่างชาติหวั่นไหว เพราะนโยบายเปลี่ยนแปลงไปเปลี่ยนแปลงมา และประเด็นที่มีการพูดกันคือ ทำให้บริษัทรถยนต์ต่าง ๆ ที่มาลงทุนแล้วไม่สบายใจ ซึ่งตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการรถยนต์ ก็เห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์ไม่ได้มีการคัดค้านด้านอุตสาหกรรมรถยนต์

นายสุริยะกล่าวต่อว่า รัฐบาลชุดที่แล้วได้มีการลดเงื่อนไขของอุตสาหกรรมรถยนต์จากที่เคยให้สิทธิประโยชน์ในเรื่องภาษีเงินได้ก็ไม่ให้ ทำให้ไม่เกิดความแตกต่างระหว่างการกระจายไปสู่ภูมิภาค และให้ผลประโยชน์เพิ่มตามลำดับ แต่กลับไปตัดสิทธิให้ช่องว่างตรงนี้ลดลง เพราะตามเงื่อนไข ระยะหลังต้องดูว่างบประมาณและรายได้สมดุลหรือไม่ควรจะทำอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ซึ่งโครงการที่ส่งเสริมให้เขต 1 สามารถได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมมีอยู่ประเด็นเดียวคือ ลดหย่อนอากรขาเข้า ซึ่งปกติก็ลดให้แล้ว 50% ในรัฐบาลก่อน ตอนนี้กลายเป็นลด 100% คือไม่ต้องเสีย ทั้งนี้กรรมการบางท่านในที่ประชุมเสนอว่า จะลดภาษีนิติบุคคลให้กรณีที่บริษัทมาลงทุนแล้วจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งตนชี้แจงไปว่า ไม่ต้องให้สิทธินิติบุคคล
ผมคิดว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นถ้าผมไม่ได้มาเป็นเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ประเด็นนี้คงจะไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาและผมคงจะไม่พูดถึงเรื่องโวหาร แต่จะเอาข้อเท็จจริงมาพิสูจน์

และอยากให้สื่อมวลชนช่วยตรวจสอบในทุกปัญหาที่คิดว่าไม่โปร่งใสและถ้าจะให้ดีขอให้ไปนั่งในห้องประชุมและถามกันทุกประเด็นจะได้ค่อย ๆ ตอบทีละประเด็นอย่างชัดเจน สมมติว่าถ้าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและบังเอิญมีธุรกิจของครอบครัวผมเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยและมีส่วนได้ด้วย และกลายเป็นว่าผมกลัวเรื่องนี้จะเป็นประเด็นทางการเมืองและยกเลิกโครงการนั้นเสียทำให้ผลประโยชน์ของประเทศชาติเสียหายไปด้วย ท่านคิดว่าผมควรจะทำอย่างไร เราควรจะห่วงตัวเราเองมากกว่าห่วงประเทศชาติยกเลิกโครงการนั้นไปเลยดีหรือไม่ รมว.อุตสาหกรรมกล่าว

นายสุริยะกล่าวว่า ความจริงแล้วโครงการนี้ตนเป็นผู้นำมาเปิดเผยเอง เป็นเรื่องของบริษัทโตโยต้าที่จะเข้ามา และข้อมูลที่บริษัทตนมีหุ้นส่วนต่าง ๆ นั้นก็อยู่ในกรมทะเบียนการค้าไปตรวจสอบดูได้และตนก็รู้ว่าตรวจสอบได้
ตนไม่กลัวเพราะรู้ว่าเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักและเราเองก็ยังไม่รู้เลยว่าบริษัทของเราจะได้รับประโยชน์หรือเปล่า ซึ่งตนชี้แจงไปแล้วว่าเราจะเสียประโยชน์

ไม่หวั่นฝ่ายค้านซักฟอกถือหุ้นเกิน 5%
นอกจากนั้น เขายังกล่าวว่ากรณีที่ฝ่ายค้านจะหยิบยกเรื่องการถือหุ้นเกิน 5% ที่มีส่วนได้เสียกับบริษัทประกอบรถยนต์ว่า การถือหุ้นเกิน 5% ในบริษัทอะไหล่รถ ได้ตรวจสอบกับนักกฎหมายแล้วไม่มีปัญหา ถือว่ามีความโปร่งใส ส่วนสมาชิกสภาฯ ถ้าจะยื่นกระทู้ก็ยินดีที่จะตอบ

แต่ต้องถามว่าโครงการนี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติหรือไม่ เพราะมีการลงทุนหลายหมื่นล้านบาท จ้างงานกว่า 10,000 คน รายได้เข้าประเทศปีละ 8,000 ล้านบาท ตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อุตส่าห์เดินทางไปต่างประเทศ เพื่อชักจูงนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน

ส่วนการที่บอกว่าเอื้อประโยชน์ให้กับเครือญาตินั้น นายสุริยะ กล่าวว่าในขณะนี้ยังไม่รู้เลยว่า บริษัทโตโยต้าจะเข้ามาลงทุนหรือไม่ เป็นการคาดเดากันไป การที่บริษัทโตโยต้า มาผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยแล้วขายดี ก็จะแบ่งตลาดบริษัทรถยนต์อื่น ๆ ซึ่งบริษัทเหล่านั้น ตนขายอะไหล่ให้มากกว่าโตโยต้าเสียอีก ธุรกิจของตนก็จะกระทบมากกว่าถ้ายิ่งโตโยต้าขายดี

เมื่อถามว่า ถ้าโครงการนี้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติ และเอื้อประโยชน์ให้ครอบครัวจะเกิดปัญหาหรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า ถ้าโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติแต่บังเอิญว่า เกี่ยวข้องกับธุรกิจของครอบครัวหรือมีส่วนได้เสียกลายเป็นว่าตนกลัว พอจะเป็นประเด็นทางการเมือง ก็จะยกเลิก ถ้าทำให้ประเทศเสียหาย คิดว่าตนควรจะทำอย่างนั้นหรือ เรื่องนี้ตนเป็นคนเปิดเผยด้วยตนเอง ว่าโตโยต้าจะมาลงทุน เพราะคิดว่า เป็นโครงการที่มีประโยชน์

นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เขต 1 มีความแออัดมากแล้วเรียกว่าเน่าเลย ทั้งปัญหามลพิษ การจราจร และรัฐต้องเสียงบประมาณมากในแก้ปัญหาคุณภาพชีวิต จึงไม่ทราบว่าทำไมรัฐบาลจึงให้การส่งเสริม

ขณะที่นโยบายดังกล่าวก็สวนทางย้อนยุคกับการกระจายเศรษฐกิจและความเจริญไปในเขตอื่นที่ไม่ใช่ เขต 1 คือ กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งเมื่อรัฐบาลให้สิทธิเช่นนี้ทำไมจึงไม่ให้แก่ เขต 2 และ 3 ด้วย

นอกจากนี้ในปี 2546 เมื่อเขตการค้าเสรีอาฟตา ครบกำหนดจะส่งผลให้ภาษีด้านการส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลงและจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มบริษัทในเขต 1 นี้อย่างมาก

นายอลงกรณ์ ยังยืนยันด้วยว่า จะยื่นกระทู้สดสอบถามในสภาในเรื่องผลประโยชน์ที่เอื้อต่อกลุ่มบริษัทของรมว.อุตสาหกรรม ในวันนี้ (7ก.พ.) โดยจะเปิดเผยรายชื่อบริษัทและโยงใยให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับ


...
บันทึกการเข้า
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #2 เมื่อ: 27-02-2007, 02:42 »

BOIแจงเหตุเสนอปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์อุตสาหกรรมยานยนต์

(ผู้จัดการรายวัน,4/2/2545)


นายสุนทร วรศักดิ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ ) กล่าวว่า ตามที่ คณะกรรมการบีโอไอ มีมติ ปรับเพิ่มการให้สิทธิประโยชน์แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยให้ตั้งในเขตใดก็ได้นั้น เป็นนโยบายที่เสนอโดยสำนักงานบีโอไอ ไม่ได้มีคำสั่งมาจากรัฐบาล หรือ รมต.คนใดในรัฐบาล สาเหตุที่บีโอไอเสนอนั้น เพราะต้องการดึงดูดการลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ เพราะมีฐานการผลิตชิ้นส่วนเป็นจำนวนมาก โดยโครงการปรับปรุงการส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวได้มีการพิจารณาแล้วว่าไม่กระทบต่อผู้ประกอบการของไทย และที่สำคัญได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าเพื่อให้การลงทุนเกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องเป็นการยื่นขอเข้ามาเป็นโครงการรวม

ซึ่งประกอบด้วยกิจการประกอบรถยนต์และกิจการผลิตชิ้นส่วน โดยจะเป็นกิจการของบริษัทเดียวกันหรือไม่ก็ได้ ต้องมีมูลค่าเงินลงทุนในทุกกิจการไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท และจะต้องมีความชัดเจนว่าเป็นรถยนต์ที่ผลิตเพื่อการส่งออก เพื่อส่งเสริมให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก หรือดีทรอยด์แห่งเอเชียอย่างแท้จริง โดยโครงการนี้ไม่ได้กำหนดสิทธิประโยชน์เฉพาะโตโยต้าแต่อย่างใด แต่เปิดกว้างสำหรับทุกบริษัท

..............................................................................................

http://www.thainr.com/news%20data/automobile_02_2_th.html


 

บันทึกการเข้า
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #3 เมื่อ: 27-02-2007, 03:04 »

ขอตั้งคำถามฝากไว้กับแค่คำถามเดียว ว่าทำไมประเทศไทยจึงผลิตรถยนต์ในแบรนด์ของคนไทยไม่ได้

ทุกวันนี้ผลิตเป็นแค่รถตุ๊กๆ สามล้อ ภูมิใจกันเพียงแค่นี้ก็พอหรือ มาเลเซียเค้ายังสามารถผลิตรถยนต์ออกมาขายได้

หน้าตารูปร่างเหมือนรถอัลฟ่า จากอิตาลี คนไทยโง่กว่าคนชาติอื่นในเอเซียรึไง หรือที่ผ่านมาเราสุดแสนจะบังเอิญ

มีแต่นักการเมืองที่ขลาดเขลามาตลอด
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #4 เมื่อ: 27-02-2007, 13:04 »

BOI ชงงาน บุญคลี เข้าทาง'ชิน-ฮาวคัม

ไทยโพสต์ .. 28 ตุลาคม 2548   


บีโอไอเผยเหตุดึง "บุญคลี" ปรับกลยุทธ์ปลุกอุตสาหกรรมชูแปลกใหม่ พุ่งเป้า "แอนิเมชั่น-ไอทีดีไซน์" อัดทั้งสิทธิประโยชน์ภาษีแถมสิทธิพิเศษระยะยาว


ติงพวกวิจารณ์อย่าโจมตีประธานชินฯ ยันคนดีคนเก่ง รอดูผลงานก่อน ฮือฮาเข้าทาง "ชิน-ฮาวคัม"

นายสาธิต  ศิริรังคมานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า กรณีที่หลายฝ่ายมีความกังวลเกี่ยวกับการแต่งตั้งนายบุญคลี  ปลั่งศิริ  ประธานกรรมการบริหารบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น  จำกัด (มหาชน)  ในฐานะกรรมการบีโอไอเข้ามาเป็นประธานคณะทำงานปรับกลยุทธ์ส่งเสริมการลงทุนเป็นการตีความไปเองก่อน  เพราะตอนนี้บีโอไออยู่ระหว่างปรับกลยุทธ์ดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม   โดยเน้นส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่แปลกใหม่   เช่น   อุตสาหกรรมแอนิเมชั่น หรือไอทีดีไซน์ รวมทั้งอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

สำหรับรูปแบบการส่งเสริมการลงทุนมีทั้งการใช้มาตรการภาษีตามหลักเกณฑ์ของบีโอไอ และเพิ่มมาตรการจูงใจด้านอื่นๆ เช่น สิทธิประโยชน์ด้านการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อให้เกิดการลงทุนในระยะยาว

"ทั้งนี้มองว่า  นายบุญคลีเป็นคนเก่ง  เป็นคนที่มีความคิดทางด้านนี้ดี จึงทำให้มีการแต่งตั้งให้นายบุญคลีเข้ามาทำงานในตรงนี้  แต่คนส่วนใหญ่ก็ตีความไปเอง ตีความไปก่อนว่าเขามาจากไหน แล้วจะเข้ามาเพื่ออะไร  อยากให้ลองดูก่อน เพราะว่าเขาเพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่นาน ควรต้องรอดูผลงานก่อนจะตัดสินใจ" นายสาธิตกล่าว

ทั้งนี้  บีโอไอตั้งเป้าเร่งการเกิดมูลค่าการลงทุนสูงขึ้น   เช่น  การลงทุนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร  การลงทุนด้านชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมการเกษตรครบวงจร ซึ่งจะจูงใจให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม  เช่น  ยางพารา  มันสำปะหลัง  น้ำตาลทราย กุ้ง โดยนับจากนี้ไปบีโอไอเน้นการจูงใจให้เกิดการลงทุนที่ทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าของการลงทุนมากกว่าปริมาณเม็ดเงิน

ส่วนภาวะส่งเสริมการลงทุนช่วง  9   เดือนแรกของปีนี้ มียอดการขอสนับสนุนการลงทุนสูง 561,000  ล้านบาท  จากทั้งหมด 966 โครงการ โดยกิจการในกลุ่มบริการและสาธารณูปโภคยื่นขอรับส่งเสริมสูงสุด  182  โครงการ  วงเงิน  156,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกิจการด้านสาธารณูปโภค  กิจการพื้นฐานขนส่งมวลชนและสินค้าขนาดใหญ่  อันดับ  2  คือ  กิจการในหมวดโลหะ  เครื่องจักรกล อุปกรณ์ขนส่งและยานยนต์ 212  โครงการ  125,400 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบรถยนต์และผลิตรถยนต์แบบแพ็กเกจ   อันดับ  3 กลุ่มอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เซรามิก โลหะขั้นมูลฐาน  34  โครงการ  122,000 ล้านบาท คาดไตรมาส 4 ยอดขอส่งเสริมการลงทุนจะเพิ่มมากขึ้น  รวมทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมาย  700,000 ล้านบาท และปี 2549 ตั้งเป้าถึง 750,000  ล้านบาท เนื่องจากไทยได้รับความเชื่อมั่นสูงขึ้นและกำลังเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุน

เป็นที่น่าจับตามองถึงการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจสาขาดังกล่าว  เนื่องจากบริษัท  ฮาวคัม ของนายพานทองแท้  ชินวัตร  บุตรชายนายกรัฐมนตรี ที่หันมาทำธุรกิจอุตสาหกรรมแอนิเมชั่น ขณะที่ธุรกิจไอทีดีไซน์เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ไอทีเมืองไทยคือบริษัทในเครือชินฯ.

http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=28/Oct/2548&news_id=115108&cat_id=501

...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-02-2007, 13:11 โดย สมชายสายชม » บันทึกการเข้า
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 27-02-2007, 23:38 »

ช่วยกันทำมาหากินดีจริงๆ 
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
หน้า: [1]
    กระโดดไป: