ประธานสมาพันธ์สวิสฯ เรียกร้องให้ บ.โนวาติส ถอนฟ้องรัฐบาลอินเดีย
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 14:27:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
รูธ เดรฟัส อดีตประธานสหพันแห่งสวิตเซอร์แลนด์ (Ruth Dreifuss, Former President of the Swiss Confederation) ได้ออกมาแสดงถึงความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งในกรณีการยื่นฟ้องรัฐบาลอินเดียของโนวาติส บริษัทยาสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งอาจส่งผลถึงการรักษาของยาช่วยชีวิตทั่วโลก รูธได้ร่วมรณรงค์กับประชากรอีก 3 แสนคนทั่วโลก ซึ่งรวมถึงอาร์คบิชอบ เดสมอน ตูตู (Archbishop Desmond Tutu) แห่งแอฟริกาใต้, สตีเวน เลวิส อดีตผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเอดส์ในทวีปแอฟริกา (former UN Special Envoy for HIV/AIDS in Africa) และนายแพทย์ไมเคิล คันซาทช์คิน ประธานกองทุนโลกคนใหม่ (the new head of Global Fund)
จูเลียน เรอินฮาร์ด ผู้อำนวยการรณรงค์สุขภาพ,องค์กรปฏิญญาเบิร์น (Julien Reinhard, Health Campaign Director at the Berne Declaration) ได้กล่าวว่า “มันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในการที่ขายยาในราคาสูงกับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศอินเดีย และในหลายๆ ประเทศกำลังพัฒนา โนวาติสกำลังจะทำให้สภาพการเข้าถึงยาถูก และยาช่วยชีวิตสำหรับผู้คนในประเทศกำลังพัฒนาเลวร้ายและยุ่งยากมากยิ่งขึ้น” และกล่าวด้วยว่า
“การกระทำของบริษัท โนวาติสเป็นพฤติกรรมที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งมันถึงเวลาแล้วที่โนวาติสจะแสดงความรับผิดชอบ โดยการถอนคดีการยื่นฟ้องรัฐบาลอินเดียในครั้งนี้” คดีนี้มีผลต่อการเข้าถึงการรักษาอย่างมาก โดยบริษัท โนวาติส กำลังท้าทายกับส่วนสำคัญของกฎหมายสิทธิบัตรของประเทศอินเดีย ซึ่งมีหน้าที่ในการวางฐานหลักเกณฑ์ในการให้สิทธิบัตร และถ้าส่วนสำคัญนี้ของกฏหมายถูกยกเลิก ตัวยาที่อยู่ระหว่างการขอสิทธิบัตรจะได้สิทธิบัตรง่ายขึ้นทั้งที่ไม่มีนวัตกรรมหรือการผลิตที่สูงขึ้นซึ่งส่งผลต่อการผลิตยาภายในประเทศ
ซีลีน ฌาเวอเรียต หัวหน้ารณรงค์การค้าที่เป็นธรรม อ็อกซ์แฟม (Celine Charveriat, head of Oxfam’s Make Trade Fair Campaign) กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าโนวาติส จะอ้างว่า การกระทำของบริษัทเป็นการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่ความจริงแล้วเป็นการโจมตีอำนาจขอบเขตที่รัฐบาลอินเดียพึงมีต่อประชาชน ในฐานะบริษัทยา โนวาติส ควรจะวิเคราะห์หาความทางออกเพื่อบรรเทาโรคภัยต่างๆ ที่ผู้คนต้องเผชิญอยู่ มากกว่าที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองและโจมตียาชื่อสามัญที่ประชากรนับล้านกำลังพึ่งพาอยู่”
http://www.bangkokbiznews.com/2007/02/16/WW55_5501_news.php?newsid=5192ข่าวนี้เป็นที่ยินดีของคนในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ที่จะได้ใช้ยาสำคัญต่อการเสียชีวิตจำนวนมากในราคาถูก........
ถึงแม้ว่า'ทรัพย์สินทางปัญญา'จะเป็นสิ่งที่ควรคุ้มครองและปกป้องก็ตาม....
ถ้าใช้เพื่อขัดขวางไม่ให้มนุษย์ในประเทศยากจน ด้อยพัฒนา
ไม่สามารถซื้อหา'ยาแพง'ที่รักษาโรคร้ายอย่างเอดส์
หรือโรคอื่น ๆ ที่สามารถทำลายชีวิตมนุษย์อย่างรวดเร็วและแพร่กระจาย....สังคมโลกควรพิจารณาถึง'คุณค่า'ของชีวิตมากกว่าความมั่งคั่ง ความร่ำรวยมากยิ่งขึ้น...