ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
16-01-2025, 00:52
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ตอบ login แฟนคลับเฉพาะกิจ เรื่องการกู้หนี้พอกขึ้นเรื่อยๆ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ตอบ login แฟนคลับเฉพาะกิจ เรื่องการกู้หนี้พอกขึ้นเรื่อยๆ  (อ่าน 1292 ครั้ง)
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« เมื่อ: 09-02-2007, 18:20 »

4)  การใช้ประโยชน์จากเงินกู้
   (1)  หมุนเวียนในการประกอบอาชีพ การผลิต ค้าขาย หรือบริการ  ร้อยละ  81.3
   (2)  บรรเทาเหตุฉุกเฉิน/ความเดือดร้อนในครัวเรือน  ร้อยละ  14.5
   (3)  ใช้หนี้แหล่งเงินกู้นอกระบบ  ร้อยละ  3.2
   (4)  อื่น ๆ  ร้อยละ  1.0

Cool  การชำระหนี้คืนกองทุน
   (1)  สามารถชำระคืนได้ทั้งหมด  ร้อยละ 93.6
   (2)  ชำระได้บางส่วน  ร้อยละ 3.1
   (3)  เจรจาขอผ่อนผัน  ร้อยละ  2.9
   (4)  คาดว่าชำระคืนไม่ได้  ร้อยละ  0.4
http://www.cdd.go.th/cddoc/fund/fund49.htm


เงินให้ชาวบ้านกู้ผ่านกองทุนหมู่บ้านไม่แย่อย่างที่เค้าให้ข่าวกันนะ

หาที่ตอบ TheBlueCat ไม่เจอ มาแปะตรงนี้แล้วกันนะ


ขอเข้ามาตอบคุณชอบแถโดยเฉพาะ

ข้อมูลเรื่องจริงคือ
เพื่อนที่อยู่ฝ่ายสินเชื่อธนาคารเล่าว่า
นายดำ (นามสมมุติ) มาขอให้ช่วยทำเรื่องกู้เงินธนาคาร 4 หมื่น

ใต่ถามได้ความว่า
นายดำเริ่มต้นกู้เงินกองทุนหมู่บ้านไป 2 หมื่น
ครบกำหนดแล้ว ไม่สามารถใช้หนี้คืนได้ทั้งต้นและดอก
รวมเบ็ดเสร็จก็น่าจะประมาณ 3 หมื่น
ถ้ากู้ได้ ก็จะเอาไปล้างหนี้ และเหลืออีกนิดหน่อย
จะได้เอามาหมุนสำรองใช้จ่ายเป็นค่าเทอมลูก

เพื่อนคนที่ว่าถาม.. แล้วนายดำจะใช้หนี้ธนาคารไหวเหรอ
(ก็ที่ผ่านมา 2 หมื่น ยังไม่มีปัญญาใช้)
นายดำตอบง่ายๆว่า คืนเงินกองทุนแล้วก็กู้ใหม่ได้อีก
ครั้งนี้จะกู้สัก 6 หมื่น...!!!


นายดำคนนี้เป็นช่างรับจ้างทาสีได้ค่าแรงวันละประมาณ 200-250 บาท
มีลูก เมียที่ต้องเลี้ยงดู ไม่มีธุรกิจอันใด

ไม่เพียงแต่เฉพาะนายดำ
มีชาวบ้านอีกมากมายที่กู้เงินกองทุนแล้วไม่สามารถใช้คืน
เมื่อครบกำหนดก็กู้เงินจากระบบอื่นไปใช้
แล้วก็กู้ใหม่ เป็นหนี้จำนวนที่พอกขึ้นเรื่อยๆ
......

เพื่อไม่ให้ไปอยู่ผิดกระทู้ (เป็นคำตอบไร้หลักแหล่ง) เนื่องจากกระทู้ร้อนแรงต้นเรื่องโดน mod บ้าอำนาจลบไปแล้ว

การจะเป็นหนี้ในลักษณะกู้ต่อเนื่องเอาไปโปะหนี้เก่า ถ้าเป็นหนี้ในระบบจะทำได้ยากขึ้นจนถึงขั้นทำไม่ได้เนื่องจากมี
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 http://www.lawamendment.go.th/ow.asp?ID=2346
หรือ credit bereau เกิดขึ้น และระเบียบของธนาคารต่างๆ ก็ต้องปรับเข้าหา ข้อมูลเครดิตกลาง จึงเป็นไปได้ยากที่จะ
กู้ธนาคารแห่งที่สองโดยธนาคารไม่ทราบว่าเคยกู้ที่อื่นไปเท่าไหร่แล้ว เนื่องจากจะเป็นความผิดของผู้ให้กู้ด้วย ส่วนการ
จะกู้จากนอกระบบ มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะรัฐบาลที่แล้วก็มีนโยบายให้กู้ในระบบจะเห็นได้จากบริษัท ให้กู้เงินราย
ย่อยเช่น easy buy ฯลฯ ซึ่งบริษัท เหล่านี้ก็มีกฎระเบียบในการให้กู้ ไม่ปล่อยส่งเดชโดยที่คิดว่าจะไม่ได้คืน เพราะ
บริษัทก็ต้องอยู่ด้วยผลกำไร เนื่องจากเป็นบริษัทถูกกฎหมายจะไม่มีการทวงโดยเอามีดดาบไปฟันแขนลูกหนี้ แต่จะ
ฟ้องตามกระบวนการทางกฎหมาย และการเช็คข้อมูลการกู้ก็ต้องผ่าน credit bereau ด้วยเช่นกัน ก็มีกรณีเดียวที่จะ
อ้างได้ว่ากู้ไปเรื่อยๆ คือ นอกระบบ คงต้องนับจำนวนแขนขาหละมั้งว่าจะกู้ได้กี่ครั้ง
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 09-02-2007, 19:41 »

เคยเห็นคนมีบัตรเครดิตหลายใบไหม ???  แต่ละใบวงเงินไม่เกินกำหนดเมื่อคิดจากรายได้ตามระเบียบทั้งสิ้น แต่พอมีเกินกว่าหนึ่งใบ วงเงินจะเกินความสามรถที่จะชดใช้เสมอๆ  บางคนมีมันทุกเจ้าเลย ทั้งบัตรเครดิตธนาคาร และบัตรเงินกู้ ดังนั้นระบบของเครดิตบูโร จะใช้ได้ในการกูยืมเงินรายใหญ่ๆเท่านั้น

คนโกงบัตรเครดิตเจ้าหนึ่ง ยังมีบัตรเจ้าอื่นๆด้สบาย ทั้งๆที่มีเครดิตบูโรแล้ว

กองทุนหมู่บ้าน ไม่เข้าระบบเครดิตบูโร เพราะหมู่บ้านกู้ไปปล่อยกันอีกทอดหนึ่ง ไม่มีระบบอะไรที่จะให้เครดิตบูโรได้รับรูว่าใครเป็นลูกหนี้บ้าง เพราะมันเป็นเงินหว่านหาเสียงของพรรคชั่วอย่างไทยรักไทย

การทวงเงินของบริษัทปล่อยกู้ ไม่มีการไล่ฟันแขนฟันขา เขาทำเพียงโทรไปด่าแม่ทุกวัน โทรไปประจานที่ทำงาน ส่งคนตามไปรังควาน และการทำชั่วเหล่นนั้น  คิดเงิน  ค่าทวงหนี้  อะไรมันจะสนุกสนานปานนั้น ด่าแม่ประจานคนแล้วยังได้เงิน  ระบบของไอ้เหลี่ยมนี่มันชั่วจริงๆ

เจ้าหนีที่ระมัดระวัง กลัวลูกหนี้ไม่มีตังใช้นั้น หาได้ตามแบ็งค์ใหญ่ๆบางแห่ง นอกนั้นเขากลัวคนไม่กู้ ดินจึงพอกหางหมูกันจนแทบขาดหมดแล้ว นี่แหละระบบชั่วของไอ้เหลี่ยม 
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #2 เมื่อ: 10-02-2007, 09:46 »

สนธิ ลิ้มฯ ชอบด่าโพสต์ทูเดย์ ว่า ชอบลงข่าวเอาใจเหลี่ยม ....แต่มาลงข่าวงี้ได้ไง ?

ลองอ่านที่คุณนนท์โพสต์ไว้ หลายเดือนก่อน.........

http://forum.serithai.net/index.php?topic=3843.0



ลูกหนี้คิดว่ารัฐแจกให้ฟรี‘อีสาน’ครองแชมป์ชักดาบ
โพสต์ทูเดย์ — หนี้เน่าประชานิยมเบิกบาน ทั้งโครงการธนาคารประชาชน และหนี้สินเกษตรกร ลูกหนี้ชักดาบเพราะคิดว่าเป็นเงินแจกฟรี ภาคอีสานครองแชมป์หนี้เน่าสูงสุดของประเทศ

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า จากการศึกษาของ สศค. พบว่า การผิดชำระหนี้ของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีการผิดชำระหนี้ หรือเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น โดยหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นมากเป็นดับ 1 อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามมาด้วยภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้

นอกจากนี้ยังพบว่า หากภาคครัวเรือนมีหนี้สะสมจาก ธ.ก.ส. และธนาคารพาณิชย์ หรือเงินกู้นอกระบบมากขึ้น จะทำให้ครัวเรือนผิดชำระหนี้กับ ธ.ก.ส.เพิ่มสูงขึ้น แต่จะไม่ผิดนัดชำระกับแหล่งเงินกู้อื่น แรงจูงใจสำคัญที่ไม่ชำระหนี้ให้ ธ.ก.ส.เพราะรัฐบาลมักจะมีนโยบายให้ ธ.ก.ส.ผ่อนผันการชำระหนี้ให้ครัวเรือนอยู่บ่อยครั้ง
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า ครัวเรือนที่มีการกู้เป็นกลุ่มจะมีการผิดชำระหนี้กับ ธ.ก.ส.น้อยกว่ากลุ่มเป็นรายครัวเรือน เนื่องจากการรวมกลุ่มมีการคัดสรรครัวเรือนที่มีฐานะการเงินมั่นคง สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา

“สศค.ไม่ได้หาสาเหตุว่าหนี้เสียของ ธ.ก.ส.ที่เกิดขึ้นมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาจากนโยบายประชานิยมของรัฐบาลหรือไม่ และ สศค.ยังไม่มีข้อเสนอแนวทางให้ ธ.ก.ส.ควรดำเนินการอย่างไรเพื่อลดหนี้เสียและลดการ ชักดาบของลูกหนี้ที่เริ่มสูงขึ้น โดยสถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือนมีสัดส่วน 30% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งถือว่ายังเป็นระดับที่ไม่สูงจนน่าเป็นห่วง” นายนริศ กล่าว

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลังได้ทำรายงานให้ นาย ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง รับทราบถึงสถานการณ์ประชานิยมในจังหวัดหนึ่งพบว่า โครงการปล่อยกู้บ้านเอื้ออาทรของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ให้กับผู้มีรายได้น้อย ที่ผ่อนชำระเดือนละไม่เกิน 1 พันกว่าบาท มีลูกหนี้ขาดผ่อนชำระ 3 เดือนจำนวนมาก ทำให้การเคหะแห่งชาติต้องซื้อบ้านคืนตามสัญญาที่ทำได้ไว้กับ ธอส.

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ในจังหวัดนั้นมีจำนวนหมู่บ้าน 80% ของหมู่บ้านทั้งหมดเบิกเงินกองทุนหมู่บ้านไปดำเนินการ และเงินในบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวอีกเลย ซึ่งแสดงว่าเป็นหนี้เสีย ชาวบ้านไม่มีการใช้หนี้เงินกองทุนหมู่บ้านเพราะคิดว่าเป็นเงินที่รัฐบาลให้เปล่า และไม่มีใครกล้า ไปทวงถาม ทางด้าน นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารเร่งแผนการปรับโครงสร้างหนี้ในโครงการธนาคารประชาชน เนื่องจากพบว่าขณะนี้ยอดหนี้ไม่ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 10% หรือประมาณ 600–700 ล้านบาท เนื่องจากยอดสินเชื่อหมุนเวียนลดลงจากเดิมที่เคยอยู่ที่ระดับ 3 หมื่นล้านบาท ได้ปรับลดลงเหลือ 6 พันล้านบาทในปัจจุบัน

สำหรับแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้แยกเป็น 2 กรณี คือ รายที่ไม่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ จะถูกคิดเบี้ยปรับ 18% และดำเนินการฟ้องร้อง หากยังไม่สามารถชำระได้ก็จะถูกตัดเป็นหนี้สูญ โดยถือเป็นครั้งแรกของธนาคารที่เริ่ม นำกระบวนการดังกล่าวมาใช้นับตั้งแต่เริ่มโครงการ ซึ่งจากการประเมินสถานะของลูกหนี้เบื้องต้นพบว่า น่าจะมีลูกหนี้ประมาณ 50% ที่ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ส่วนรายที่เหลืออีก 50% คาดว่าจะยังสามารถนำเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ปรับโครงสร้างหนี้ได้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=news&id=107443




สงสัยผู้ตรวจราชการ เอาเรื่องโกหกไปเล่าให้คุณศุภรัตน์ ควัฒน์กุล.......
อันนี้โพสต์โดยคุณ ไทยทรูธ.......
http://forum.serithai.net/index.php?topic=4972.0

ชำแหละธ.ก.ส.ติดหล่มหนี้เน่า8หมื่นล.
"ประชาชาติธุรกิจ" ได้ตรวจสอบการดำเนินนโยบายประชานิยมของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดำเนินการผ่านธนาคารรัฐหลายแห่ง ล่าสุดจากรายงานประจำปี 2548 (31 มีนาคม 2548-มีนาคม 2549) ของธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พบว่าธนาคารมี....

ยอดให้สินเชื่อทั้งสิ้น 421,701 ล้านบาท

คิดเป็น

สินเชื่อแก่เกษตรกร 345,194 ล้านบาท
สหกรณ์การเกษตร 17,762 ล้านบาท
กลุ่มเกษตรกร 40 ล้านบาท
เงินให้สินเชื่อนโยบายรัฐ 32,183 ล้านบาท
เงินให้สินเชื่อประเภทอื่นๆ 26,522 ล้านบาท


ทั้งนี้งบดุลปี 2548 มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งสิ้น 81,295 ล้านบาท
ขณะที่ปีก่อนมีการตั้งสำรองฯ 66,471 ล้านบาท
โดยหนี้สงสัยจะสูญนี้เป็นหนี้ที่เกิดจากการให้กู้แก่เกษตร และโครงการนโยบายรัฐสูงถึง 62,676 ล้านบาท

อาทิ โครงการพักชำระหนี้ 5,686 ล้านบาท หนี้เกษตรกร 12,279 ล้านบาท หนี้ธรณีพิบัติสึนามิ 6 จังหวัด หนี้ 501 ล้านบาท มาตรการช่วยเหลือ 3 จังหวัดภาคใต้ 2,647 ล้านบาท ไข้หวัดนกปี 2546 จำนวน 200 ล้านบาท ภัยแล้งปี 2547 จำนวน 2,887 ล้านบาท จำนำข้าวเปลือก 482 ล้านบาท เป็นต้น

นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.ได้ชี้แจงในประเด็นนี้ว่า ที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้มีการติดตามทวงเงินชดเชยความเสียหายมาตลอด แต่ก็ไม่ทราบว่าจะได้รับการชำระหนี้เมื่อไร โดยเม็ดเงินที่จะมาชดเชยความเสียหายให้กับ ธ.ก.ส.ส่วนหนึ่งจะมาจากเงินงบประมาณแผ่นดินและอีกส่วนหนึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ อคส. อ.ต.ก.จะเป็นผู้ที่จ่ายเงินชดเชยให้กับ ธ.ก.ส.แต่อย่างไรก็ตาม ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบกับฐานะการเงินหรือความมั่นคงของธนาคาร เพราะการดำเนินการตามโครงการนโยบายรัฐ ทุกเรื่องจะมีมติคณะรัฐมนตรีรองรับ ธ.ก.ส. ไม่ได้ดำเนินการเอง โดยพลการหากมีความเสียหายเกิดขึ้นรัฐบาลจะจัดงบประมาณมาชดเชยให้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งในขณะนี้ ธ.ก.ส.มีสถานะเป็น เจ้าหนี้ของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ให้กับ ธ.ก.ส.



http://www.matichon.co.th/prachachart/prachachart_detail.php?s_tag=02p0104170749&day=2006/07/17


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-02-2007, 09:52 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: