สุทธิชัย หยุ่น : สิงคโปร์เล่นเกมกับ รัฐบาลไทยเรื่องไอทีวีพาดหัวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งบอกว่า
“ชินคอร์ปพร้อมโบกมือลาไอทีวี” วันเดียวกับที่ ปลัดสำนักนายกฯ จุลยุทธ หิรัณยะวสิต บอกว่าจะขยายเวลาให้ไอทีวีอีก 30 วันเพื่อจ่ายค่าสัมปทาน 2,210 ล้านบาทซึ่งเดิมครบกำหนดไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา
“หากภายหลังการแจ้งเตือนครั้งที่ 2 แล้วไอทีวียังไม่ชำระหนี้ สปน.ก็สามารถเลิกสัญญาได้ แต่สำหรับกรณีนี้ คงให้เป็นการตัดสินใจของ ครม.” คือจุดยืนของท่านปลัด
แล้วไอทีวีจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร? คุณนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ประธานกรรมการบริหารไอทีวีบอกว่าบริษัทอยู่ระหว่างหาเงินทุนจาก 2 แนวทาง คือการกู้ยืมและหาผู้ร่วมทุนใหม่
“เรากำลังพยายามหาเงินอยู่ เพราะเงินสดเรามีไม่พอ โดย บมจ.ชินคอร์ป ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ยินดีที่จะขายหุ้นออกบางส่วนหรือขายหุ้นทั้งหมดให้ กลุ่มทุนรายใหม่ เพื่อให้ไอทีวี พนักงานและผู้ถือหุ้นอยู่ได้และไม่มีผลกระทบ...”
อ่านข่าวชิ้นนี้แล้วไม่ต้องวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งอะไรมากมายก็พอจะเห็นว่าเท มาเซคของสิงคโปร์ (หุ้นส่วนใหญ่ของชินคอร์ป) เตรียม
“ปล่อยเกาะ” พนักงานคนไทยในไอทีวีแล้ว แต่ยังไม่ยอมปรากฏตัวออกมาให้เห็นชัดเจนว่าจะเอาสัมปทานดาวเทียม โทรศัพท์มือถือและสถานีโทรทัศน์ทั้งหมดคืนให้คนไทยที่เป็นเจ้าของที่แท้ จริงเมื่อไรและอย่างไร
หาก
“อ่านระหว่างบรรทัด” ของข้อเสนอ
“5 แนวทาง” ของไอทีวี (ซึ่งก็คือลูกเล่นของสิงคโปร์ที่สั่งให้ผู้บริหารคนไทยในไอทีวีพูดเล่นเกม ซื้อเวลา) ก็จะเห็นว่านี่คือการยื้อเกมเพื่อหวังว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อีกนั่นแหละ
เพราะแต่ละแนวทางที่ผู้บริหารไอทีวีเสนอนั่นล้วนฟังดู “เพ้อเจ้อ” และไม่มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจทั้งสิ้น เช่น
-ขอจ่ายเป็นเงินสดชำระหนี้ 710 ล้าน และจะมีการออกหุ้นใหม่ประมาณ 1,500 ล้านหุ้น ขายราคาหุ้นละ 1 บาทรวมเป็นเงิน 2,210 ล้านบาท ซึ่งในแนวทางนี้ สปน.จะถือหุ้นทั้งหมด 55.4 เปอร์เซ็นต์
(ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะ สปน.ในฐานะหน่วยงานรัฐบาลจะเอาเงินภาษีของประชาชนเข้าไปซื้อหุ้นใหม่ของ ไอทีวีในภาวะอย่างนี้ได้อย่างไร?) -ให้เอกชนไทยเข้ามาลงทุนโดยจะซื้อหุ้นของไอทีวีในส่วนที่เป็นของชินคอร์ป 638 ล้านหุ้น ถ้าเป็นกรณีนี้ เอกชนรายใหม่จะถือหุ้น 52.9 เปอร์เซ็นต์
(เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกันเพราะไม่มีเอกชนรายไหนจะเข้าไปซื้อหุ้นจากชิน คอร์ปในภาวะเช่นนี้เช่นกัน) -ให้รัฐถือหุ้นทั้งหมด
(ยิ่งบ้าไปใหญ่) -ไอทีวีขอผ่อนหนี้ แต่ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะผ่อนอย่างไร
(แสดงว่าไม่ได้คิดว่านี่เป็นทางออกจริงๆ) -เลิกสัญญา
(ซึ่งไม่ต้องเสนอก็เป็นทางที่กฎหมายกำหนดเอาไว้เมื่อเทมาเซคไม่ได้แสดงท่าทีพร้อมจะทำตามสัญญาแต่อย่างไร) มาถึงจุดนี้เป็นหน้าที่ของนายกฯ สุรยุทธ์ ที่จะตัดสินใจเอาคลื่นความถี่ของประชาชนที่หลุดไปอยู่ต่างประเทศกลับมาเป็น ของประชาชนคนไทย...โดยไม่จำเป็นต้องกระทบกระเทือนต่อพนักงานไอทีวีปัจจุบัน เพราะไม่ว่าใครจะเข้าไปทำ ก็ย่อมต้องการพนักงานที่มีประสบการณ์และคุณภาพอยู่แล้ว
ปล่อยให้สิงคโปร์ลากเรื่องอยู่ต่อไปก็ยิ่งทำให้เกิดความเสียหายหนักหน่วงขึ้น http://www.oknation.net/blog/black/2007/02/06/entry-2