ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
08-01-2025, 00:23
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  กมธ.คลอดกรอบรัฐธรรมนูญใหม่ ปลดแอกส.ส.พ้นพรรคการเมือง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
กมธ.คลอดกรอบรัฐธรรมนูญใหม่ ปลดแอกส.ส.พ้นพรรคการเมือง  (อ่าน 1145 ครั้ง)
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« เมื่อ: 30-01-2007, 09:38 »

กมธ.คลอดกรอบรัฐธรรมนูญใหม่
ปลดแอกส.ส.พ้นพรรคการเมือง

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 29 มกราคม ที่ห้องประชุมงบประมาณ อาคารรัฐสภา 3 มีการประชุมของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณากรอบการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

โดย น.ต.ประสงค์ กล่าวก่อนเข้าสู่วาระการประชุมว่า ขอให้กรรมาธิการทุกคนช่วยกันยกร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จตามเวลาที่ได้กำหนดไว้ เพราะถ้าไม่ทันจะเกิดความเสียหาย และขออย่าหวั่นไหวกับเสียงวิจารณ์ที่เกิดขึ้น ให้ถือเป็นเพียงความเห็นหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งที่จะมาชี้นำหรือบังคับให้ต้องทำตาม

จากนั้นที่ประชุมจึงพิจารณาและมีมติตั้งอนุกรรมาธิการขึ้นมา 3 คณะ ประกอบด้วย

1.คณะอนุกรรมาธิการสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ มี นายชูชัย ศุภวงศ์ เป็นประธาน มีกรอบในการพิจารณายกร่างครอบคลุมประเด็นเรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หน้าที่ของปวงชนชาวไทย แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและการกระจายอำนาจ

2.คณะอนุกรรมาธิการด้านสถาบันการเมือง มี นายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดกรอบการพิจารณายกร่างในประเด็นเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง และคุณธรรมจริยธรรมของข้าราชการกับนักการเมือง

3.คณะอนุกรรมาธิการด้านองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล มี นายวิชา มหาคุณ เป็นประธาน พิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับศาล การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ในระหว่างการประชุม นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการ กมธ. ยังได้นำเสนอ

แนวทางหลักในการร่างทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีทั้งหมด 10 ประเด็น คือ
1.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
2.ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทรงเป็นจอมทัพไทย
3.พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใดมิได้
4.ประเทศไทยปกครองด้วยระบบนิติรัฐ
5.ประเทศไทยปกครองด้วยระบบรัฐสภา
6.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
7.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
8.เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครอง
9.ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเสมอภาค การมีส่วนร่วมของประชาชนและอำนาจของชุมชน ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครอง และ
10.ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในพิจารณาและพิพากษาอรรถคดีทั้งหลาย


พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้รับรองแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญในแต่ละด้าน เพื่อให้คณะอนุกรรมาธิการชุดต่างๆ ใช้เป็นกรอบในการยกร่างฯ ประกอบด้วย

ด้านสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ
1.ควรขยายสิทธิและเสรีภาพให้มากกว่าเดิม
2.ให้ประชาชนใช้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.ควรบัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่างๆไว้ในรัฐธรรมนูญ
4.ส่งเสริมการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


ด้านสถาบันการเมือง
1.ควรเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งทั้งส.ส.และส.ว.
2.ส.ส.ควรเป็นอิสระจากพรรคการเมืองในการทำหน้าที่นิติบัญญัติ 
3.ควรมี 2 สภา
4.นายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส.
5.ให้ฝ่ายบริหารถูกตรวจสอบง่ายขึ้น
6.มีบทบัญญัติว่าด้วยคุณธรรมจริยธรรมของนักการเมืองและข้าราชการรวมทั้งบทกำหนดโทษ
7.กำหนดความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการ


ด้านองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล
1.ควรคงองค์กรตรวจสอบและศาลไว้ทั้งหมด โดยปรับปรุงอำนาจหน้าที่ให้เหมาะสมขึ้น
2.ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรอิสระให้มีความอิสระและเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ควรให้วุฒิสภาเป็นองค์กรทำหน้าที่แต่งตั้งองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียว
3.ควรมีระบบตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ


ส่วนเรื่องอื่นๆประกอบด้วย
1.ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ง่ายขึ้น และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขได้ และ
2.บทเฉพาะกาลให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ในปัจจุบันอยู่จนครบวาระ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะได้ข้อสรุปเป็น 10 แนวทางหลักได้มีการถกเถียงและแก้ไขกันในหลายประเด็น อาทิ ฝ่ายเลขานุการได้เสนอให้ส่วนราชการเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น แต่ปรากฏได้รับเสียงคัดค้านจากกมธ.ภาคสังคม โดยเฉพาะ นายวิทยา งานทวี เสนอให้ ให้ตัดราชการส่วนภูมิภาคทิ้งไปแล้วควรให้อำนาจกับท้องถิ่นมากขึ้น เนื่องจากการปกครองรูปแบบเก่าทำให้เกิดปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจากชาวบ้าน และช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน

จนในที่สุด นายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธาน กมธ.ได้เสนอว่า ควรกำหนดเรื่องนี้ไว้ใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแทน ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดการโต้เถียงวุ่นวายระหว่างคน 2 กลุ่ม ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่ง นายสมคิด ยอมรับที่จะตัดออก

ขณะที่ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กมธ. ได้เสนอให้เพิ่มอำนาจขององค์กรอิสระ ให้เป็นอำนาจอธิปไตยที่ 4 จากที่เคยมี 3 ทางคืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ เพราะบทบาทขององค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ หรือ ศาลปกครอง มีอำนาจหักล้างมติของหลายหน่วยงานทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ เช่น การตัดสินการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ยกเลิกการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) อำนาจองค์กรอิสระจึงต้องเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย

"แม้การเขียนรัฐธรรมนูญจะต้องคำนึงถึงมรดกที่ตกทอดมา แต่ก็ต้องรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามาด้วย เรื่องอำนาจอธิปไตย 3 ทาง ถูกเสนอมา 200 กว่าปีแล้ว วันนี้เมื่อสภาไว้ใจไม่ได้ ก็ต้องเพิ่มอำนาจองค์กรอิสระ ให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของการเมืองการปกครองโลก"นายนครินทร์ กล่าว

ทั้งนี้ในตอนท้ายของการประชุม น.ต.ประสงค์ จึงกำชับให้คณะอนุกรรมาธิการชุดต่างๆ แยกย้ายกันนำแนวทางหลักที่ได้ข้อสรุปร่วมกันไปพิจารณา แล้วนำกลับมาเสนอต่อที่ กมธ.ชุดใหญ่ในการประชุมครั้งต่อไปในวันพุธที่ 31 มกราคม เวลา 09.30 น.

"ขอฝากเอาไว้ว่า อย่าให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยุ่งกว่าเก่า เพราะของเก่าก็ยุ่งอยู่แล้ว และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือเขียนแล้วชาวบ้านอ่านไม่เข้าใจ อยากให้ครั้งนี้เขียนให้เข้าใจง่าย" น.ต.ประสงค์ กล่าว

ขณะที่ นายวิชา มหาคุณ รองประธาน กมธ. เผยว่า อยากให้ยกเลิกข้อบังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง เพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่บังคับเรื่องดังกล่าว ส่วนที่มาของ ส.ว.นั้น ขึ้นอยู่กับหน้าที่ที่ต้องการให้ ส.ว.ทำ แต่ไม่ควรให้อำนาจมากในการถอดถอนตรวจสอบรัฐบาล และคัดเลือกองค์กรอิสระ โดยให้เป็นอำนาจของ ส.ส.หรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองแทน

http://www.naewna.com/news.asp?ID=45900

ดูกรอบเคร่าๆแล้ว รธน 2550 น่าจะดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-01-2007, 09:46 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
รวงข้าวล้อลม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 31-01-2007, 15:12 »

  ---เป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน  และน่าชื่นชมนะคะ--สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้า เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ส่งแบบสำรวจไปสู่ประชาชนและอดีตผู้เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองย้อนหลัง 5 ปี จำนวน 30,000 ชุด พร้อมเปิดเว็บไซต์ www.lawamendment.go.th เพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และส่งมอบให้สภาร่างรัฐธรรมนูญภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ไอซีทีเปิดเว็บ www.lawamendment.go.th รับความเห็นร่าง รธน.
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 มกราคม 2550 15:01 น.
 
 
       สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้า เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ส่งแบบสำรวจไปสู่ประชาชนและอดีตผู้เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองย้อนหลัง 5 ปี จำนวน 30,000 ชุด พร้อมเปิดเว็บไซต์ www.lawamendment.go.th เพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และส่งมอบให้สภาร่างรัฐธรรมนูญภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้
        นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวหลังเป็นประธานการลงนาม ว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้ความสำคัญกับช่องทางดังกล่าว เพราะถือเป็นความเห็นของประชาชนโดยแท้จริง ขณะเดียวกัน สำนักงานสถิติแห่งชาติยังมีบทบาทเป็น 1 ในคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและการทำประชามติของสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วย จึงเชื่อว่าจะส่งผลให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับของประชาชนมากขึ้น พร้อมทั้งเชิญชวนคนไทยเข้ามาแสดงความเห็นและความต้องการที่มีต่อรัฐธรรมนูญผ่านเว็บไซต์ที่เปิดขึ้น
 
 
บันทึกการเข้า

&..หลายๆทำไม ..คุณตอบได้ไหม ?
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2008/05/27/entry-4
หน้า: [1]
    กระโดดไป: