-----ทุกครั้งเมื่อมีการเลือกตั้ง----ไม่ได้สนใจอะไรมากหรอก
แค่ชอบคนไหน พิจารณาว่าคนไหนดีมากกว่าคนอื่นก็เลือกคนนั้นล่ะ
--ส่วนปาร์ตี้ล๊ง ปาตี้ลีสต์ ไม่ค่อยได้สนใจ อะไรมาก ก็เลือกๆ
ไปงั้นล่ะ ตามที่แฟนบอก ไม่ค่อยเข้าใจมากนักหรอกว่า เลือกไปแล้ว
มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และยังไม่ชัดเจนเหมือนกันว่า ทำไมต้องมีปารณ์ตี้ลิสต์
--ใครเข้าใจเรื่องนี้ รบกวนช่วยอธิบายหน่อยสิคะ--------------------------------------------------------------------------------------------------
"
จรัญ"ยันโละทิ้ง"ปาร์ตี้ลิสต์" กันบ้าอำนาจ-อ้างชาวบ้านจรัญ ภักดีธนากุล
ปธ.อนุฯยกร่างกลุ่มสถาบันการเมืองยันแนวคิดโละปาร์ตี้ลิสต์ ชี้เปิดช่องนายทุนเป็น ส.ส.-รมต. มิหนำซ้ำยังทำให้พวกบ้าอำนาจนำเสียงชาวบ้านมากล่าวอ้าง "เกริกเกียรติ"ชี้ ส.ส.อิสระละเอียดอ่อน ต้องดูข้อดี-ข้อเสียอีกเยอะ
**จรัญยันโละปาร์ตี้ลิสต์กันบ้าอำนาจ นายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และประธานอนุ กมธ.กลุ่มสถาบันการเมือง ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 มกราคม ถึงการยกร่างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า จะนำรายงานผลการวิจัยจากสถาบันต่างๆ มาศึกษาเปรียบเทียบหาข้อดี ข้อเสีย และหาจุดเหมาะสมกับสังคมไทยมากที่สุด จากนั้นจะนำเสนอกับสังคมอีกครั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพื่อหาความแตกต่างและจุดบกพร่อง
"ส่วนตัวยังยืนยัน นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.ระบบแบ่งเขต และจะไม่เลือกตั้งซ่อมในเขตที่ผู้แทนมาเป็นนายกฯ ส่วนตำแหน่งรัฐมนตรีจะคัดเลือกจาก ส.ส.แบ่งเขตเช่นกัน แต่อาจจะไม่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.ซึ่งแล้วแต่รายละเอียดที่จะระบุ และยังไม่มีข้อสรุป เป็นเพียงแนวทางและข้อเสนอแนะ" นายจรัญกล่าว
นายจรัญกล่าวย้ำอีกครั้งว่า ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ ไม่เหมาะสมกับสังคมไทย เพราะยังไม่เห็นว่าระบบนี้จะมีประโยชน์อะไรกับประชาชน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ได้ลงไปสัมผัสชาวบ้านอย่างจริงจัง จึงไม่รู้ปัญหาของชาวบ้าน แค่มีเงินหรือทุนก็เข้ามาเป็น ส.ส.เป็นรัฐมนตรีได้ง่ายๆ "ที่สำคัญทำให้คนบางคนรู้สึกว่าบ้าอำนาจมากเกินไป คิดว่ามาจากประชาชน 19 ล้านเสียง จะทำอะไรก็ได้ไม่ผิด ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดอย่างสิ้นเชิง" นายจรัญกล่าว
**เกริกเกียรติชี้ส.ส.อิสระละเอียดอ่อนนายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอนุกรรมาธิการสถาบันการเมือง เปิดเผยว่า เห็นด้วยกัแนวคิดของฝ่ายเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯที่เสนอเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ใหม่ คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน แต่เท่าที่ได้หารือกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยังไม่ตกลงอย่างเป็นทางการว่าจะลดเหลือเท่าใด วิธีการเลือกเป็นอย่างไร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อจะมีต่อไปหรือไม่ แต่มองเรื่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ โน้มเอียงไปในทางที่ไม่มีจะดีกว่า สำหรับระบบเขต ควรกลับไปใช้แบบ 1 เขตไม่เกิน 3 เบอร์ เพราะเขตเดียวเบอร์เดียวมีลักษณะเป็นชัยชนะบนความสูญเสียของผู้อื่น ทำให้เกิดการห้ำหั่นดุเดือด และใช้เงินเพื่อให้ได้ผล
นายเกริกเกียรติกล่าวว่า ประเด็นการกำหนดให้ ส.ส.เป็นอิสระจากพรรคการเมือง (ตามการเสนอของนายวิชา มหาคุณ กมธ.ยกร่างฯ) ในการทำหน้าที่นิติบัญญัติ เรื่องนี้ต้องพูดกันในรายละเอียดมาก มองว่าอาจแบ่ง 2 ส่วน คือ ถ้าสังกัดพรรคมาก่อนและจะย้ายพรรคไม่ได้ ส่วนถ้า ส.ส.อิสระก็ต้องอิสระไปตลอดและห้ามไปสังกัดพรรคภายหลัง "เรื่องนี้ละเอียดอ่อน ต้องมาดูข้อดีข้อเสียกันชัดๆ อีกครั้ง สำหรับ ส.ว. เห็นว่าน่าจะมาจากการสรรหา ซึ่งก็ต้องมีระบบสรรหาที่ดีทำนองการสรรหาสมาชิกสภาร่างฯที่มาหลายขั้น แต่ต้องมาดูด้วยว่าจะปรับเปลี่ยนอำนาจหน้าที่อย่างไรบ้าง" นายเกริกเกียรติกล่าว
**เล็งโมเดลออสซี่สกัดแทรกแซงขรก. นายเกริกเกียรติกล่าวว่า ในส่วนที่ถือว่าใหม่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการ เพราะที่ผ่านมาเรื่องนี้ถือเป็นจุดอ่อน โดยรัฐธรรมนูญ 2540 ไม่มีกลไกปกป้องข้าราชการที่สุจริตและตรงไปตรงมา ซึ่งได้เสนอแนวคิดนี้ต่อ กมธ.ยกร่างฯ โดยมองโมเดลจากออสเตรเลีย ที่มีสถาบันข้าราชการประจำ ซึ่งทำให้ระบบราชการแข็ง การเมืองแทรกแซงยาก ซึ่งจะปรับใช้กับประเทศไทยอย่างไร ค่อยพิจารณาอีกที ทั้งนี้ กลไกนี้จะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้ดี และข้าราชการจะโตได้โดยไม่ต้องพึ่งนักการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกลไกคุ้มครองแล้วก็ต้องมีกลไกตรวจสอบการทำงานของราชการด้วยเช่นกัน
**อภิสิทธิ์ค้าน-ส.ส.อิสระต่อรองขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงแนวคิดนายวิชาว่า ที่ผ่านมา ส.ส.ไม่สังกัดพรรคไม่ได้ช่วยอะไรดีให้ดีขึ้น ไม่ได้ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ และไม่ช่วยให้เกิดความโปร่งใสในสภา ที่สำคัญหากไม่มีพรรคกำกับทำให้ ส.ส.มีอำนาจต่อรองตัวเอง แทนที่จะเป็นอำนาจของประชาชนควบคุม ส.ส.ผ่านพรรคการเมือง และระบบรัฐสภาต้องให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง แต่ถ้าพรรคการเมืองใดที่มีปัญหาก็ต้องไปแก้ไขไม่ให้พรรคการเมืองเป็นของกลุ่มทุนหรือคนกลุ่มเดียว นอกจากนี้ ควรมีมาตรการคุ้มครองการทำงานของ ส.ส. โดยกำหนดให้ผู้สมัคร ส.ส.สังกัดพรรคครบ 90 วัน เพื่อเสริมความเข้มแข็งของพรรคการเมือง แต่มีข้อยกเว้นกรณี ส.ส.คนใดที่อึดอัดต่อพรรคตัวเอง และการดำเนินการของพรรคขัดกับอุดมการณ์ส่วนตัว ให้ ส.ส.คนดังกล่าวลาออกจากพรรคนั้นได้ และไปสังกัดพรรคใหม่ได้ทันที เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง
**วิปให้แต่ละชุดทำงานสอดคล้องกันนายเสรี สุวรรณภานนท์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลการประชุม กมธ.กิจการสมาชิกสภาร่างฯ หรือวิปสภาร่าง ว่า ที่ประชุมมีมติตั้งตนเป็นประธานกรรมาธิการ และให้นายเดโช สวนานท์ รองประธานสภาร่างฯเป็นประธานที่ปรึกษา กมธ. มีนายพิฑูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นเลขานุการ และมีนายกฤษฎา ให้วัฒยานุกูล เป็นโฆษก
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดทิศทางให้การทำงานแต่ละชุดของ กมธ.ต้องสอดคล้องกัน โดยเฉพาะการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เมื่อประชาชนเสนอความเห็นเข้ามา สำนักงานเลขาธิการสภาร่างฯจะทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นส่งให้ กมธ.รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดย กมธ.รับฟังความคิดเห็นฯจะประสานกับสำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อนำข้อมูลดิบสรุปเป็นแนวคิดเชิงนโยบายในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นเมื่อมีการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดแล้วจะส่งให้ กมธ.ยกร่างเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
**หนุนลงโทษโกงลงประชามตินายเสรีกล่าวว่า ที่ประชุมยังได้หารือถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ในการทำประชามติ โดยเห็นว่าควรมีสภาพบังคับ จึงจะประสานกับ กมธ.ยกร่างหลักเกณฑ์วิธีออกเสียงประชามติและการออกเสียงประชามติ เพื่อพิจารณาให้ร่างหลักเกณฑ์วิธีการออกเสียงออกมาในลักษณะที่เป็น พ.ร.บ.เพื่อมีสภาพบังคับซึ่งจะมีบทลงโทษในประเด็นการขัดขวางการทำประชามติหรือมีการซื้อสิทธิขายเสียงทำให้การลงประชามติไม่สุจริต แต่จะไม่มีบทลงโทษในกรณีที่ประชาชนไม่ไปลงประชามติเพราะถือเป็นสิทธิของประชาชน โดยหลังจากการยกร่าง พ.ร.บ.แล้วให้ กมธ.ยกร่างหลักเกณฑ์ออกเสียงฯ เสนอกลับมาโดยเร็วเพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้นำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
ส่วนประเด็นการแก้ไขต่างๆที่ฝ่ายเลขาฯ กมธ.ยกร่างฯนำเสนอต่อที่ประชุมนัดที่ผ่านมานั้น นายเสรีกล่าวว่า คาดว่า กมธ.ยกร่างฯจะพิจารณาความชัดเจนเรื่องนี้อีกครั้ง เนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ 29 มกราคม เป็นเพียงการพิจารณากรอบแนวคิดตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอมา
**ครส.เรียกร้องใช้ฉบับปี"40ต้นแบบนายเมธา มาสขาว ผู้ประสานงานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) แถลงที่ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน ว่า ขอเรียกร้อง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และสภาร่างฯนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพื่อใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเฉพาะต้องคงสิทธิเสรีภาพของพลเมืองตามเดิมไว้ และขอเสนอให้ยกเลิกการจำกัดวุฒิการศึกษา ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้ง และนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือมาจาก ส.ส.
**พรรคเล็กอ้าง"ธรรมรักษ์"จ้างลงส่วนการไต่สวนคดียุบพรรคไทยรักไทยนั้น คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีที่อัยการสูงสุดยื่นขอให้ตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย ตามความผิดในมาตรา 66 (1) และ (3) ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง โดยเป็นการสืบพยานฝ่ายผู้ร้องนัดที่ 3 ซึ่งได้ยื่นบัญชีพยานไว้ 5 ปาก ประกอบด้วย 1.นายทวี สุวรรณพัฒน์ สื่อมวลชนที่อ้างว่าใกล้ชิดกับ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 2.นายยุทธพงศ์ หรือพงษ์ศรี ศิวาโมกข์ 3.นายธีรชัย หรือต้อย จุลพัฒน์ 4.นายชวการ โตสวัสดิ์ และ 5.น.ส.หนึ่งฤทัย ปลิวลอย อย่างไรก็ตาม ตุลาการรัฐธรรมนูญผู้ทำหน้าที่ดำเนินการไต่สวนคือ นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ ซึ่งได้เบิกความเพียง 2 ปากเท่านั้น คือ นายชวการ และนายทวี
**ทรท.ซักรู้จัก"เทือก"-บงการจัดฉากนายชวการให้การโดยกล่าวหา พล.อ.ธรรมรักษ์ให้เงินช่วยเหลือคนละ 1 แสนบาท และ 3 ล้านบาท ตามลำดับ ในการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งตามแต่โอกาสที่จะได้รับเลือก เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ 2 โดยไปรับเงินที่กระทรวงกลาโหม "ในส่วนของค่าใช้จ่ายส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขต 33 คน นั้น มีการจ่ายให้ภายหลัง โดยใส่มาในซองจำนวน 38 ซอง ซองละ 20,000 บาท ซึ่งได้แจกจ่ายไปให้ผู้สมัครทุกคนส่วนอีก 5 ซองที่เหลือเป็นของผู้ดำเนินการ" นายชวการให้การ
ขณะที่นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากพรรคไทยรักไทย ได้ซักค้านทำลายความน่าเชื่อถือของพยาน โดยพยายามชี้ให้เห็นว่านายชวการรู้จักกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน ละยังไปพักอยู่ที่บ้านนายสุเทพเพื่อจัดฉากให้เกิดเหตุการณ์ทั้งหมดเพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย โดยนายชวการอ้างว่า ไปพักที่บ้านนายสุเทพเนื่องจากหวั่นเกรงจะไม่ปลอดภัย
**ทรท.เปิดเทปพิสูจน์ปากคำชวการนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายคดียุบพรรค ให้สัมภาษณ์ว่า พรรคพยายามจะขออนุญาตคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้เปิดเทปเพื่อแสดงข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ แต่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากตุลาการจะไปเปิดดูกันเอง แต่เพื่อให้ความจริงปรากฏจะขอนำภาพเคลื่อนไหวที่เป็นที่มาของภาพนิ่ง 9 ภาพ ที่มีการกล่าวหา พล.อ.ธรรมรักษ์เป็นผู้ว่าจ้าง ที่นายสุเทพเคยนำมาเปิดเผยแล้วนั้น ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหว 30 นาที เปิดให้สื่อมวลชนได้รับทราบ ที่ทำการพรรคไทยรักไทย ในวันที่ 31 มกราคม โดยภาพดังกล่าวไม่มีการตัดต่อ ดังนั้น จะได้เห็นกันจะๆ เสียทีว่าความจริงอะไรเป็นอะไร เกิดอะไรขึ้นระหว่างภาพนิ่งภาพที่ 1 ถึงภาพที่ 9 ที่นายสุเทพเคยนำมาแถลงข่าว
**รอ"ทักษิณ"ไฟเขียวร่างคำให้การส่วนการประสานให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ทำคำให้การต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ นายพงศ์เทพกล่าวว่า ได้ประสานงานกับ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว พร้อมกับได้เตรียมร่างคำให้การของ พ.ต.ท.ทักษิณไว้บางส่วน แต่ต้องส่งให้ พ.ต.ท.ทักษิณดู เนื่องจากต้องให้ลงนามรับรองคำให้การ นอกจากนี้ ก็มีการสอบถามถึงข้อเท็จจริงในส่วนต่างๆ เพิ่มเติมด้วย เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง "ผมยอมรับว่าเรื่องนี้มีความลำบากพอสมควรในการประสาน เพราะอยู่กันคนละประเทศ" นายพงศ์เทพกล่าว
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0115310150&day=2007/01/31§ionid=0147