ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
03-12-2024, 00:03
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  คิดเห็นเป็นอย่างไรกับบทความนี้ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
คิดเห็นเป็นอย่างไรกับบทความนี้  (อ่าน 1844 ครั้ง)
อบเชย
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 56



« เมื่อ: 29-04-2006, 19:39 »

จาก หนังสือพิมพ์มติชน  วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10276

Unseen...ระบอบทักษิณ
โดย บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ e-mail:bcheewatragoongit@yahoo.com

หลังจากติดตามข่าวสารบ้านเมืองมาเป็นเวลาหลายเดือน ต้องยอมรับว่าไม่ค่อยมีนักคิดกล้าพอที่จะเขียนถึงอีกด้านหนึ่งของท่านนายกฯทักษิณ ส่วนใหญ่จะเทกระแสไปทางด้านมืด วันนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงด้านสว่างของท่านบ้าง

ผู้อ่านต้องสัญญา (กับตนเอง) ก่อนว่า จะอ่านบทความนี้ต่อไปอย่างผู้ที่บรรลุนิติภาวะทางอารมณ์แล้ว ไม่อ่านโดยยึดเอา โลภะ โมหะ โทสะ (รักคนโน้น เกลียดคนนี้ ฤๅ เห็นแต่ประโยชน์ข้างใดข้างหนึ่ง) เป็นที่ตั้ง

เมื่อเตรียมตัวเตรียมใจแล้ว ก็ขอเชิญอ่านบทความต่อไปได้เลย

ถ้าคนไทยไม่ใจไม้ไส้ระกำจนเกินไป คงต้องยอมรับว่า ท่านรักษาการนายกฯที่ได้ประกาศจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองในสมัยต่อไปท่านนี้ ได้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศในองค์รวมเอาไว้ไม่น้อยเลย

คำว่า "องค์รวม" ในที่นี้จึงไม่ได้หมายว่าจะเป็นแต่เฉพาะ "ชาวชนบทฤๅรากหญ้า" อย่างที่พูดถึงกัน หากหมายรวมถึง "ชาวรากแก้ว" ที่ส่วนหนึ่งก็ออกมาเดินขบวนขับไล่ท่าน เอาไว้ในนั้นด้วย

ผลงานที่ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง มีดังนี้

1) การนำเอาการจัดการอย่างมี "ยุทธศาสตร์" เข้ามาใช้ในการบริหารประเทศ

ถ้าจำไม่ผิด 3 เดือนแรกหลังจากเข้ารับตำแหน่งในสมัยที่ 1 นายกฯทักษิณทำอยู่เรื่องเดียวคือ การจัด Workshop พัฒนายุทธศาสตร์ของแต่ละกระทรวง ทบวง กรม เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดินไทย

แต่ไหนแต่ไรมา ประเทศไทยของเรามีนักวางแผนมาจัดทำแผนงาน โครงการ ก็จริง แต่เป็น "แผน" ที่กระจัดกระจาย กระทรวงใครกระทรวงมัน ไม่เคยมีการ "บูรณาการ" ให้เป็นหนึ่งเดียว เหมือนอยู่กันคนละประเทศ

สภาพัฒน์เองทำแผนแม่บท 5 ปีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ยุค ฯพณฯ ท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่แผนนั้นก็ถูกนำมาเชื่อมต่อกับฝ่ายปฏิบัติการ คือรัฐบาล ไม่มากเท่าที่ควร สาเหตุใหญ่มาจาก "ผู้นำประเทศ" ที่พวกเราเลือกๆ กันมานั้น ยังขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์ด้านการจัดการ จึงได้แต่รอให้ข้าราชการประจำชงเรื่องกันขึ้นมา จนมีการแซวกันอย่างเจ็บๆ เกิดขึ้นให้ได้ยินอยู่เสมอ ว่านายกฯประเทศไทยทำหน้าที่ได้เพียงแค่ "ปลัดประเทศ" เท่านั้น

"การจัดการอย่างมียุทธศาสตร์" นั้น มีนัยสำคัญอยู่อย่างเดียวคือ ทำอย่างไรจึงจะใช้ทรัพยากร (Resources) ที่ประเทศมีอยู่อย่างมี "จุดมุ่งหมาย" หรือ "วัตถุประสงค์" ซึ่งนักยุทธศาสตร์เรียกให้หรูว่า วิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission)

ด้วยเหตุนี้ นายกฯทักษิณจึงเร่งจัดทำ "วิสัยทัศน์ของประเทศไทย" ขึ้น จากนั้นก็ได้กำหนดพันธกิจ หรือภารกิจที่ต้องทำเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์นั้น จำไม่ได้ว่ามีอยู่ 7 หรือ 8 ภารกิจนี่แหละ

จากนั้นทุกกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ (ผู้ดำเนินกิจกรรม และใช้ทรัพยากร) ก็จะต้องยึดเอาวิสัยทัศน์ และพันธกิจของประเทศเป็นที่ตั้ง แล้ววางยุทธศาสตร์ (Strategies) และโครงการแผนงาน (Work Program) ที่เมื่อปฏิบัติแล้วก็จะนำพาประเทศไปสู่วิสัยทัศน์นั้น

พึงทราบว่า ในอดีตหน่วยงานราชการไทยของเรามักใช้เงินไปโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย ค่าที่การจัดการงานราชการขาดหัวเรือที่จะคอยชี้นำว่าเราควรมุ่งเดินไปในทางใด การใช้เงินงบประมาณแผ่นดินโดยไม่มีวัตถุประสงค์นั้น แม้จะไม่มีการทุจริต แต่ประเทศชาติก็คงไปไม่ถึงไหน เพราะขาดเป้าหมายในการใช้ทรัพยากร

(นี่คือเหตุผลที่ผู้เขียนเรียกร้องพรรคประชาธิปัตย์ และโดยเฉพาะคุณอลงกรณ์ มาตลอดว่า อย่าไปเสียเวลาจับผิดเรื่องทุจริตเลย เพราะนั่นเป็นความผิดในระดับ "เทคนิค" อันควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. หรือ สตง. ซึ่งเขามีหน้าที่โดยตรงอยู่แล้ว ส่วนนักการเมืองระดับชาติอย่างพวกท่าน ควรเน้นดูแลความไม่ชอบมาพากลในระดับ "ยุทธศาสตร์" ของรัฐบาล เช่นว่า นายกรัฐมนตรีแลรัฐบาลกำลังนำพา "นาวาสยาม" มุ่งหน้าไปผิดทางหรือไม่ ถ้าควบคุมกันตรงนั้น ประเทศไทยของเราก็จะเข้มแข็งยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ)

เรื่องใช้ทรัพยากรโดยขาดจุดมุ่งหมายนี้ ทำให้หน่วยงานราชการไทยผลาญเงินงบประมาณแผ่นดินไปแล้วไม่รู้เท่าไร แม้การใช้จ่ายเงินนั้นจะไม่มีเรื่องทุจริตเลย

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ก็คือการเร่งใช้เงินตามงบฯที่ได้รับอนุมัติ (แบบเก่า) ในเดือนท้ายๆ ก่อนสิ้นปีงบประมาณ เพียงเพื่อรักษาสถานภาพงบประมาณของหน่วยงาน ไม่ให้ต่ำกว่าที่ได้ขอไป ไม่เช่นนั้นก็จะถูกตัดงบฯในปีต่อไป หน่วยงานราชการจำนวนมากจึงต้องพยายามใช้เงินให้ "หมดๆ ไป" ด้วยการจัดสัมมนา ทัศนศึกษา หรือซื้อของในหมวด "วัสดุสิ้นเปลือง" ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องมีหลักฐานหลงเหลือ อันเป็นเรื่องราวที่พวกเราก็ได้ยินกันมานาน

ผลงานแบบนี้ จะเรียกว่าเป็น "ระบอบการจัดการ" ของใคร ท่านผู้อ่านกรุณาต่อท้ายด้วยชื่อนายกฯในอดีตเข้าไปได้ตามใจชอบ

ด้วยแนวคิดด้านการจัดการอย่างมียุทธศาสตร์ ที่นายกฯทักษิณได้ริเริ่มนำมาใช้กับระบบราชการไทยนี้ จึงทำให้สำนักงบประมาณต้องพัฒนาวิธีการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting System) ขึ้นมารองรับแนวทางการจัดการดังกล่าว

ซึ่งหน่วยราชการจะทำงานแบบสุกเอาเผากิน หรือไร้เป้าหมายและวัตถุประสงค์เช่นเคยไม่ได้อีกต่อไป

2) การ "ปฏิรูประบบราชการ" (อย่างเอาจริงเอาจัง)

ต้องยอมรับว่าหลายปีมานี้ข้าราชการยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น มองประชาชนผู้มารับบริการเป็นผู้เป็นคนขึ้น เหตุที่ข้าราชการทำงานดีก็เพราะมี "คู่แข่งขัน" ซึ่งก็คือ "benchmark" ที่นายกฯทักษิณผลักดันให้มีขึ้น (งานนี้ข้าราชการบางส่วนอาจไม่พอใจ แต่ใน "องค์รวม" ประเทศดีขึ้นมาก ประชาชนได้รับการต้อนรับจากราชการชนิดที่เรียกว่าอย่างเป็นนัยสำคัญได้เลยทีเดียว)

"benchmark" นั้นคือการตั้งตัวดัชนีชี้วัด หรือ "KPIs" เพื่อใช้วัดผลการดำเนินงานของหน่วยราชการ การทำงานของทุกหน่วยงานจะต้องมี "ผลผลิต" และ "ต้นทุน" ถ้าใครบริหารแล้ว "ต้นทุน" สูง ก็อาจมีคู่แข่งเข้ามาทำ subcontract กับรัฐบาล ดังกรณีโรงพยาบาลเอกชนที่บริหารงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐ ได้เริ่มเสนอตัวเข้ามาแข่งขัน โดยจะรับรักษาโรคบางโรคที่โรงพยาบาลรัฐอ้างว่าให้บริการ ณ ราคานั้นไม่ได้

กทม.ถ้าตามความคิดนายกฯทักษิณนั้น ก็จะมองเห็นโดยทะลุปรุโปร่ง ว่าหน่วยงานสาธารณูปโภคทั้งหลาย ที่เป็น supplier ให้คนกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นการประปา การไฟฟ้า การโทรศัพท์ การจิปาถะต่างๆ ล้วนแต่จะต้องเสนอบริการอันเปี่ยมคุณภาพ และราคายุติธรรม ให้แก่ กทม.ทั้งสิ้น ค่าที่ตนเป็นลูกค้ารายใหญ่ ประกอบด้วยประชากรร่วม 10 ล้านคน นี่การณ์กลับตรงกันข้าม นอกจากไม่มี "น้ำยา" อะไรที่จะไปต่อรองกับรัฐวิสาหกิจเหล่านั้นแล้ว วันดีคืนดียังถูก "พี่ท่าน" ขู่จะตัดน้ำตัดไฟอยู่นั่นแล้ว ไม่รู้บริหารกันด้วย "ระบอบ" อะไร รู้แต่ว่าเป็นเวรกรรมของคน กทม.โดยแท้

กลับมาที่การปฏิรูประบบราชการใหม่ ตอบแรกหน่วยงานของรัฐนึกว่านายกฯจะไม่เอาจริง อย่างไรเสียก็คงเป็นแค่กระแส "ไฟไหม้ฟาง" ดังเช่นรัฐบาลชุดที่แล้วๆ มา ครั้นเห็นท่านทักษิณรุกเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ก็ลุกขึ้นมาทำกันกุลีกุจอเชียว

ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วม (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) อยู่ในคณะทำงานเพื่อพัฒนาระบบงานด้านยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง จึงเห็นว่าทิศทางที่ระบบราชการไทยกำลังเดินไปอยู่ในขณะนี้ จะเป็นผลดีกับประเทศชาติในระยะยาว และเป็นผลดีต่อองค์รวม (ไม่ว่าจะเป็นรากแก้ว หรือรากหญ้า) อย่างแน่แท้ทีเดียว

3) เรื่องอื่นๆ อันเป็นด้านบวกของนายกฯทักษิณ ก็เช่น การยกระดับมาตรฐานการเมืองไทย จากจุดขาย (Selling Point) แบบโบราณที่มุ่งขาย "ตัวบุคคล" (อาทิ ตรังต้องชวนสระแก้วต้องเสนาะ พิจิตรต้องสนั่น ฯลฯ) มาเป็นการขาย "นโยบาย" แทน หรือเปลี่ยนค่านิยมให้คนไทยหันมาสนใจ "การทำมาค้าขาย" กันมากขึ้น (OTOP 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องการย้ายสิ่งผิดกฎหมายใต้ดินให้ขึ้นมาบนดิน การปราบปรามยาเสพติดอย่างเอาจริงเอาจัง เป็นต้น

สังคมไทยนั้นขาดผู้นำที่ "เอาจริงเอาจัง" มานานแล้ว ประเทศไทยจึงไปไม่ถึงไหนสักที รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ถ้ายังจำกันได้ ส.ส.ร.ภายใต้ความเห็นชอบของประชาชนในขณะนั้นก็ได้ช่วยกันผลักดันให้ประเทศมี "การนำ" ที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด (โดยประชาชนเลือกตั้งขึ้นมา-ย้ำ) ด้วยการวางคอนเซ็ปต์ ให้บ้านเมืองมีรัฐบาลเสียงข้างมาก ซึ่งผลก็ออกมาเป็นพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของท่านนายกฯ ทักษิณ

จะเห็นได้ว่า รัฐบาลพรรคไทยรักไทยนั้น เป็นผลผลิตของสังคมไทย ถ้าเราไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อ 7-8 ปีก่อน เราก็คงจะยังมีรัฐบาลแบบเดิม มีนายกฯที่ต้องดูแลรัฐบาลผสม 4 พรรคบ้าง 5 พรรคบ้าง เมื่อเปลี่ยนกระบวนการ (Process) ก็ย่อมให้ผลผลิต (Output) ที่เปลี่ยนไป ถ้าไม่พอใจผลผลิตปัจจุบัน พวกเราก็กลับไปปรับปรุงกระบวนการใหม่ เรื่องก็มีเท่านี้เอง

ผู้เขียนเห็นว่า "ระบอบทักษิณ" นั้นไม่มีสิ่งที่พวกเราอยู่กับมัน แท้จริงแล้วคือ "ผลลัพธ์ของสังคมไทย" (ซึ่งก็มีทั้งแง่บวกและแง่ลบดังที่ได้จาระไนมานี้) เป็นผลลัพธ์ตามคุณภาพของประชาชนในขณะนั้นๆ ภายใต้ปรัชญาแห่งระบอบประชาธิปไตย

พวกเราต้องยอมรับจุดนี้

ครั้นเห็นอะไรไม่เข้าท่าก็ต้องกลับไปพัฒนาคุณภาพของประชาชน เพื่อจะได้สร้างกระบวนการ (Process) ที่ดี อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ (Output) ที่ดีขึ้นมาใหม่ แทนที่จะมามัวคิดล้ม "ระบอบ ก.ไก่" หรือ "ระบอบ ข.ไข่" ซึ่งก็ไม่รู้ว่า คืออะไรอยู่ในขณะนี้
บันทึกการเข้า
narong
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 654



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 29-04-2006, 19:44 »

คนเรามีทั้งดีทั้งเสีย แต่ส่วนดีเมื่อชั่งน้ำหนักกับส่วนเสียแล้ว
เราขอค่อยๆพัฒนากันไปดีกว่า เพราะมาถึงตรงนี้เขาหลงทางมากเกินไปแล้ว
กับการพยายามเร่งการแข่งขันโดยพื้นฐานของคนไทยตามไม่ทัน
ถ้าท่านอยู่อนาคตคนไทยได้แค่เป็นขี้ข้าต่างชาติ
บันทึกการเข้า

ผู้ที่ไม่สามารถจะใช้คนดี
ก็ย่อมจะใช้คนไม่ดีหรือคนเลว
ถ้าไม่เชื่อผู้ซื่อสัตย์หวังดีต่อตน
ก็จะต้องไปเชื่อคนประจบสอพลอ
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #2 เมื่อ: 29-04-2006, 20:04 »

ช่วงแรกตั้งพรรค อุดมการณ์ดีมากค่ะ "คิดใหม่ทำใหม่"
ไปรวบรวมหัวกะทิ ยอดฝีมือ นักวิชาการ ในแต่ละวงการ ให้มาช่วยกันทำงานเพื่อชาติ
แต่พอนานไปเริ่ม นโยบายดูด ส.ส. น้ำเน่า มาควบรวม เพื่อเสถียรภาพของรัฐบาล ไม่ให้ฝ่ายค้านมีเสียงพอตรวจสอบได้
น้ำดีก็เลยหายหมด เพราะไม่มีใครอยากปนเปื้อนไปด้วย เลยยิ่งเน่าลงๆ เพราะนักการเมืองแบบเก่าๆ ชนิด "ยี้"

น่าเสียดายค่ะ หากท่านจะใช้ความเก่งกาจ ความรู้ความสามารถ ทำเพื่อประเทศชาติ มากกว่า ทำเพื่อตัวเองและพวกพ้อง
เราก็ไม่ต้องมาเหนื่อยไล่ "ทักษิณ ออกไป" กันอย่างทุกวันนี้   Neutral
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
(-O-)Koka
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 562



« ตอบ #3 เมื่อ: 29-04-2006, 23:08 »

หลายอย่างเป็นทฤษฎีที่ไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม
หลายอย่างล้มเหลว
หลายอย่างสร้างความเสียหาย

ฟังดูดีในการบรรยาย แต่เวลาปฏิบัติจริงต้องดูผลลัพธ์และความเชื่อมโยงในด้านอื่นๆ อีกหลายอย่าง

ผมว่าความผิดพลาดของแนวทางโดยรวมคือคิดว่าประเทศเป็นบริษัท
และวิธีการแบบ CEO ไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าไหร่

อาจเพราะดูสิงคโปร์เป็นต้นแบบมากไป
บันทึกการเข้า


อหิงสาคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความขี้ขลาด
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 30-04-2006, 00:21 »

เก่งแค่ใหน ถ้าไม่มีจิตใจประชาธิปไตย...ผมไม่เอาด้วย
บันทึกการเข้า

enjoylife
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 114



« ตอบ #5 เมื่อ: 30-04-2006, 01:44 »

ขอบคุณ จขกท ที่ช่วยนำบทความนี้มาโพส พอดีกับที่มีคำถามและความคิดหลากหลายหลังจากอ่านในมติชน
ซึ่งก็ตรงกับที่หลายท่านโพสมาก่อน โดยเฉพาะที่คุณ (-O-)Koka บอกว่า
"หลายอย่างเป็นทฤษฎีที่ไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม
หลายอย่างล้มเหลว
หลายอย่างสร้างความเสียหาย
ฟังดูดีในการบรรยาย แต่เวลาปฏิบัติจริงต้องดูผลลัพธ์และความเชื่อมโยงในด้านอื่นๆ อีกหลายอย่าง"

ถ้าให้ยกตัวอย่างในระยะสั้นเท่าที่นึกออก เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการปฏิรูประบบในแบบ Unseen มีเยอะแยะ
เช่น O-net A-net ดังทั่วประเทศว่าดึงดันจะทำทั้งๆที่ยังไม่พร้อม
เรื่องที่ยังซุกๆซ่อนๆอยู่ รอวันด่ากันข้างหน้า (เมื่อพรรคนี้ลุกไป)
 เช่น  e Government หรือ GFMIS ระบบจัดซื้อจัดจ้าง งบประมาณ การเงิน ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ที่ลงทุนไปนับพันล้านบาทแล้ว ยังไม่เห็นว่า ประเทศไทยได้อะไร ประชาชนได้อะไร และแม้แต่ตัวข้าราชการผู้ปฏิบัติ ได้อะไร
ถ้าติดตามฟังดูอาจจะได้ข่าวบ้างว่า ทำมาตั้งแต่ปี 2547 แล้ว จนต้นปีนี้ก็เพิ่งจะแอะกันมาแล้วว่า การประมูลผ่าน net นั้น เป็นช่องทางการฮั้วสำคัญ
ที่เนติบ๋อยบอกว่าให้ระงับใช้ไปจนกว่าจะปรับปรุงระบบสำเร็จ...  เดี๋ยวนี้ก็ยังเงียบอยู่
สองเรื่องนี้ก็คล้ายกับระบบcomputer ในกระทรวงสาธารณสุขที่ ปชป กำลังคุ้ยกันอยู่
ติดตามดูจะพบความเหมือนๆกันว่าเป็นเรื่องการพัฒนาโปรแกรมงานระดับ megaproject ของรัฐ
ที่เอื้อประโยชน์กับพวกพ้อง  ซึ่งถ้ามีความสามารถจริง ก็คงพอจะกล้อมแกล้มตะกุกตะกักกันไปอีกสัก 4-5 ปี กว่าจะลงตัว
แต่ถ้าไปเจอพวกอ่อนหัด ก็ต้องหน้าแตกอย่าง Anet Onet

คำถามยังคงมีอีกเยอะเรื่องปฏิรูประบบข้าราชการ
เรื่อง early retire รอบแรกๆที่ทำให้คนดีๆหลุดออกไปมากมาย
เรื่องกำจัดข้าราชการออก 5 % ที่ชลอไว้เพราะไม่อยากเสียฐานเสียงช่วงเลือกตั้ง
เรื่องดัชนีชี้วัด เช่น ของมหาดไทยจับเรื่องยาเสพติดเป็นตัวชี้วัดผู้ว่า CEO  ลองตามดูสิว่า รายงานกันได้ตามความเป็นจริงหรือไม่
เรื่องทำ workshop กับข้าราชการ แล้วก็มาปรับกระทรวง กันจนยังมั่วไม่เลิก
อย่างกลาโหมก็ผ่าน deadline มาจะ 2 ปีแล้ว ก็ยังปรับไม่จบ ยังทะเลาะเรื่องการชิงอำนาจกันไม่เลิก

เรื่องเหล่านี้ สรุปได้ด้วยปรัชญาของกลุ่มทักกี้ ที่ว่าแนวทางบริหารของ CEO
จะต้องเขย่าให้แหลกก่อน แล้วส่งคนของตัวเข้าไปจัดการ
แนวทางเหล่านี้จะไม่ยอมรับการตรวจสอบใดๆ
ถ้าผู้ถือหุ้นตรวจสอบได้เมื่อไหร่ ก็จะพบร่องรอยของการโกง ทุจริต ของฝ่ายบริหาร
เทคนิคนี้ก็พื้นๆนั่นแหละ ไม่ได้เด็ดดวงใด
แค่ใช้ถ้อยคำหรูๆ หลักการเลิศๆ มาลวงประชาชนไปวันๆเท่านั้น

ที่น่าสงสัยความเป็นสื่อของมติชนก็คือ
ล่วงมาถึงวันนี้แล้วยังจะปล่อยให้ลวงกันไปถึงไหน
บันทึกการเข้า
enjoylife
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 114



« ตอบ #6 เมื่อ: 30-04-2006, 02:06 »

ขอต่ออีกประเด็นก็คือ มติชน มักจะมีบทความในทำนอง discredit ปชป เสมอๆ
หลายครั้งที่ชัดเจนกว่าบทความนี้
จริงอยู่ ปชป สร้างผลงานที่ทำให้ประชาชนเข็ดหลาบไว้มากพอควร
แม้ว่าเมื่อนำมาเทียบกับผลงานทักษิณแล้ว เรื่องเหล่านั้นเหมือนงานคัดลายมือของเด็กอนุบาล
เอาไปเทียบกับวิทยานิพนธ์ของดอกเตอร์ไม่ได้

แต่ ปชป ก็เป็นพรรคการเมืองเดียวเท่านั้นที่พอจะต่อสู้ระบอบทักษิณได้
และควรที่สื่อมวลชน ควรที่จะประคับประคองไว้บ้าง
พอที่จะให้ประชาชนวางใจที่จะมอบหน้าที่ในการคานอำนาจและตรวจสอบทักษิณได้

ดังที่หลายๆท่านในเวบนี้บอกแล้วว่า
ลองให้โอกาส ปชป หรือ คุณอภิสิทธิ์ ดูก่อน ถ้ายังไม่เข้าท่า เราก็มาไล่กันอีกรอบ

นี่คือแนวทางประชาธิปไตย ที่ต้องสงวนอำนาจอธิปไตยของปวงชนไว้
ไม่ปล่อยให้อยู่ในกำมือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาก หรือ นาน เกินไป
โดยต้องสามารถตรวจสอบได้อย่างสม่ำเสมอ เป็นธรรมชาติ เป็นปกติ
ไม่ต้องออกมาก่อม๊อบกันมากมาย

แต่เรื่องตรวจสอบนี้ ดูว่า บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ ผู้เขียน Unseen...ระบอบทักษิณ
ค่อนข้างจะคิดและทำเหมือนกับทักษิณ คือ discredit ผู้ตรวจสอบ
โดยอ้างแนวคิดทันสมัยวิลิศมาหรา
อย่างที่คุณ(-O-)Koka บอกนั่นแหละครับ  "อาจเพราะดูสิงคโปร์เป็นต้นแบบมากไป"
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 30-04-2006, 02:21 »

ความคิดเห็นของผมคือ ไม่น่าเชื่อว่าจะมาจาก "มติชน"
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
enjoylife
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 114



« ตอบ #8 เมื่อ: 30-04-2006, 02:26 »

ยังมีต่ออีกนิด
เกี่ยวกับนโยบายหรือทิศทางในการพัฒนาชาติไทย
ทักกี้และผู้นิยมชมชอบเขาต่างก็พากันชื่นชมเงินทอง อยากให้ไหลมาเทมา เข้ากระเป๋าของตนและพวกพ้อง
อาจจะยอมให้เศษเล็กน้อยตกหล่นกระเด็นไปให้รากหญ้าได้บ้าง (แค่นั้นก็เป็นบุญคุณเหลือล้นแล้ว)
พระเจ้าอยู่หัวจะมีพระราชกระแสเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" กี่ครั้ง ดูจะไม่เห็นการตอบสนองจากคนเหล่านั้น

ที่จริงในยุคของ ปชป เราอาจเคยได้ยินกันบ้าง เรื่อง "ชุมชนเข้มแข็ง"
ซึ่งสอดคล้อง ไปกันได้ดี ภายใต้ "เศรษฐกิจพอเพียง"

ช่วงหลังๆนี้ ก็เริ่มได้ยิน"เศรษฐกิจพอเพียง" จาก ปชป มากขึ้น
ถ้าเขาเอาจริงก็ขอเชียร์
อย่างน้อยๆ แนวคิดนี้จะแก้ปัญหา ทฤษฏี สองนครา ได้เหมาะสมกว่า แนวคิดทุนนิยม
เพราะคนชนบทก็จะพึ่งตนเองได้มากขึ้น
เป็นอิสระมากขึ้นจากการซื้อเสียง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (ด้วยนโยบายประชานิยม)
ความแตกต่างในการเลือกและตรวจสอบนักการเมืองก็จะเข้ามาใกล้กับคนชั้นกลางในเมืองได้มากขึ้น
ทั้งนี้ คนในเมือง นักวิชาการ สื่อมวลชน ก็ต้องยอมรับกับ"เศรษฐกิจพอเพียง" ของประเทศไปด้วย

ไม่ต้องรีบร้อนพัฒนา ก้าวไปช้าๆ แต่มั่นคง
พร้อมๆกับเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชนบทก้าวตามให้ทัน
จะได้มาช่วยกันตรวจสอบและขับไล่นักการเมืองเลว+ข้าราชการร้าย
ซึ่งยังไม่หมดไปจากเมืองไทยได้ง่ายๆหรอก
บันทึกการเข้า
enjoylife
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 114



« ตอบ #9 เมื่อ: 30-04-2006, 02:33 »

อ้าว เพิ่งเห็นคุณ RiDKuN
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นของผมคือ ไม่น่าเชื่อว่าจะมาจาก "มติชน"

คิดว่าเข้าใจความหมายนะ แต่ไม่อยากตีความเอง
จะดีใจมากครับหากจะเพิ่มเติมอีกสักหน่อย
 ขอบคุณครับ
 
บันทึกการเข้า
จูล่ง_j
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,901



« ตอบ #10 เมื่อ: 30-04-2006, 02:35 »

คนๆนี้ ขาเชียร์ทักษินมานานแล้ว จะกลับลำได้อย่างไร
เห็นเขียนหนังสือ ผู้นำ CEO แล้วก็ชื่นชมทักษินเป็นการใหญ่
บันทึกการเข้า

samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« ตอบ #11 เมื่อ: 30-04-2006, 23:08 »

ก็มีดีมีเสีย แต่ ถ้า ปชป.หายจากระบบการเมืองไทยไป คงจะไม่ได้เห็นพรรคฝ่ายค้านที่พร้อมเป้นฝ่ายค้านไปอีกนานเท่าไหร่
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 30-04-2006, 23:12 »

มติชน เคยมีบทความของ รมตทรท เขียนลงด้วยครับ

บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
HILTON (ปาล์มาลี)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,310



« ตอบ #13 เมื่อ: 30-04-2006, 23:35 »

นี้หรือที่เรียกเก่ง  เอาดวามได้เปรียบทุกด้าน  โกหกทุกเม็ด  หน้าทำอะไรไม่อายฟ้าดิน เล่นพรรคเล่นพวก   มีดีอยู่อย่างเดียว  มีเงิน !
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: