ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
15-05-2025, 12:04
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  จอนบุกสภา แถลงข่าวพ.ร.บ.เอาผิดคอมพิวเตอร์ ลิดรอนสิทธิอย่างแรง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
จอนบุกสภา แถลงข่าวพ.ร.บ.เอาผิดคอมพิวเตอร์ ลิดรอนสิทธิอย่างแรง  (อ่าน 1522 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 08-12-2006, 00:08 »

จอนบุกสภา แถลงข่าวพ.ร.บ.เอาผิดคอมฯ ลิดรอนสิทธิอย่างแรง   
 


ประชาไท – 7 ธ.ค. 49 นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตส.ว.กทม. เดินทางไปยังห้องสื่อมวลชน อาคารรัฐสภา แถลงข่าวร่วมกับนายภัทระ  คำพิทักษ์ สนช. คัดค้านเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ... ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติรับหลักการไปแล้ว

 

อดีตส.ว.กทม.กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวแม้จะมีส่วนดีบ้าง  แต่ก็มีส่วนที่น่าเป็นห่วงในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน หากสภาสนช.รับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวในวาระ 2 และ 3 โดยไม่มีการแก้ไขข้อความใดๆ จะเป็นกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางอินเตอร์เน็ตอย่างร้ายแรงมาก

 

เนื่องจากมาตรา13 ระบุข้อความไว้ครอบจักรวาลว่า คนใดที่นำข้อความสู่ระบบอินเตอร์เน็ตหรือสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือทำให้เกิดความตื่นตระหนกแก่สังคม ต้องระวางโทษปรับและจำคุก ซึ่งเป็นการเขียนที่ตีความยากว่าหมายถึงเรื่องใดบ้าง จะส่งผลให้คนที่สนใจเผยแพร่ความคิดทางการเมืองของตัวเองอาจมีความผิด อีกทั้งยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศไว้มากแบบครอบจักรวาล จึงจำเป็นต้องแก้ไขถ้อยคำให้ชัดเจน

 

การแถลงข่าวครั้งนี้ มีนายภัทระ คำพิทักษ์ สนช. อดีตนายกสมาคมนักข่าว เข้าร่วมนั่งแถลงข่าวกับนายจอน อึ๊งภากรณ์ด้วย โดยนายภัทระ เป็นผู้ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ทำให้นายจอนซึ่งมิได้เป็นสมาชิก สามารถเข้าไปแถลงข่าวในอาคารรัฐสภาได้

 

นายภัทระให้สัมภาษณ์ว่า คราวที่กฎหมายฉบับนี้เข้าสภาวาระแรก สนช.อภิปรายกันมากว่า มันลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ส่งผลกระทบไปถึงผู้ใช้เวบไซต์ทั้งหมด และอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความลับทางค้าได้  บ้างก็อภิปรายว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ กำลังจะกลายเป็น ป.ร. 42 ฉบับดิจิตอล (ป.ร. 42 - คําสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 ในยุคของเผด็จการทหารที่มีพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ให้อํานาจที่สามารถสั่งปิดหนังสือพิมพ์ได้ทันที หากหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเสนอข่าว บทความ วิพากษ์วิจารณ์ที่รัฐบาลเห็นว่าอาจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐ)

 

เขากล่าวว่า ในวันนั้น มีการอภิปรายกันมาก แต่ที่น่าสงสัยคือ เรื่องนี้ไม่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อเท่าไรนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาเองก็ยังงงอยู่

 

“ผมก็อภิปรายท้วงติง ว่ามันเป็นปัญหาสิทธิเสรีภาพ และให้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่มากเกินไป” นายภัทระกล่าว และเพิ่มเติมว่า เมื่อผ่านวาระแรกแล้ว ก็ต้องรอแก้ไขผ่านกระบวนการแปรญัตติ ซึ่งก็มีตัวแทนจากสมาคมผู้ดูแลเวบเข้าไปนั่งเป็นกรรมาธิการอยู่ด้วย



 http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=6134&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

  ไปอ่าน"ประชาไท" เห็นบทความนี้ น่าสนใจและมีผลกระทบกับคนในโลกอินเตอร์เนท จึงนำมาให้อ่าน เพื่อวิพากษ์วิจารณ์กันบ้าง  ก่อนที่ พรบ.นี้จะผ่านสภา สนช. เป็นกฎหมายใช้บังคับ.....


 
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #1 เมื่อ: 08-12-2006, 01:11 »

ได้มีการอภิปรายไว้บ้างแล้ว ในกระทู้ของคุณ รวงข้าวล้อลม
(กด link ที่กรอบ quote ไปยังกระทู้นั้นได้ค่ะ)

ขอนำเนื้อหา มาตรา 13 ที่ อ.จอน กล่าวถึงข้างบน มาขยายความแบบเต็มๆ
และเน้นสีแดงกับขีดเส้นใต้เพิ่มเติมในประเด็นที่คิดว่าสำคัญ


               มาตรา ๑๓ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้

               (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเป็นของบุคคลที่สามหรือจัดทำโดยบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลที่สามนั้นหรือประชาชนเสียหาย
               (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน
               (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
               (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันมีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
               (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

               ถ้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามกตาม (๔) เป็นภาพของบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #2 เมื่อ: 08-12-2006, 01:24 »

ได้มีการอภิปรายไว้บ้างแล้ว ในกระทู้ของคุณ รวงข้าวล้อลม
(กด link ที่กรอบ quote ไปยังกระทู้นั้นได้ค่ะ)

ข้อความโดย: snowflake


ขอบคุณครับ....

กระทู้วันที่ 15 เดือนพฤศจิกายน.... Exclamation

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
สี่หามสามแห่
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,460



« ตอบ #3 เมื่อ: 08-12-2006, 04:03 »

สงสัยกลัว ประชาไท จะซวย เป็นกล้วยปิ้ง โดนทับ.. 555+

ออกมาจริง ประชาไท ไม่รอดก่อนเพื่อน

บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #4 เมื่อ: 08-12-2006, 09:07 »

ความเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ จะวัดเป็นหน่วยอะไรดีหว่า

convert เป็นเงิน แล้วกำหนดว่าเกินเท่าไหร่ถึงเรียกว่าเสียหาย

ส่วนความตื่นตระหนกของประชาชน คงต้องให้หมอมาวัดอัตรา

การเต้นของหัวใจและปริมาณฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นเมื่อได้อ่านข้อความ

ในอินเตอร์เน็ต
บันทึกการเข้า
1ktip
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,457



« ตอบ #5 เมื่อ: 08-12-2006, 11:01 »

ร่างกฎหมายนี้ดูจะเหวี่ยงแหมากไปหน่อย ถ้าจะใช้จริงคงต้องปรับปรุงอีกหลายจุด
บันทึกการเข้า
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 09-12-2006, 14:21 »

เห็นด้วยเรื่องเสรีภาพ แต่ก็ไม่คิดว่าเสรีภาพจะไร้ขอบเขต
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #7 เมื่อ: 09-12-2006, 14:26 »

สงสัยกลัว ประชาไท จะซวย เป็นกล้วยปิ้ง โดนทับ.. 555+

ออกมาจริง ประชาไท ไม่รอดก่อนเพื่อน



ถ้าเป็น"ประชาไท"(เจ้าเก่า)คงไม่เป็นไร แต่"ประชาไท"ยุคนี้ กำลังเลียนแบบ"ราชดำเนิน"ก่อน 19 กันยายน.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #8 เมื่อ: 09-12-2006, 15:32 »

คอลัมน์ 108 วิถีทัศน์ : โรคหวาดผวาสังคมออนไลน์

กรุงเทพธุรกิจ 22 พฤศจิกายน 2549

ยุกติ มุกดาวิจิตร

หลังการรัฐประหาร เวบไซต์ของสำนักข่าว CNN และ BBC ที่รายงานข่าวการรัฐประหาร
ถูกปิดกั้น คนไทยอ่านคำแนะนำหนังสือเล่มสำคัญเกี่ยวกับประเทศไทยในสำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเยล และร้านหนังสือออนไลน์ amazon.com ไม่ได้ ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร

ส่วนเวบไซต์ในประเทศอย่าง "มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน" ที่อุดมไปด้วยบทความทาง
วิชาการและการแลกเปลี่ยนความเห็นที่ก้าวหน้าที่สุดของไทย ถูกปิดหลายครั้งทั้งก่อน
และหลังรัฐประหาร

เช่นเดียวกันกับเวบของเครือข่ายต่อต้านรัฐประหารอย่าง "19sep.org " ถูกก่อกวน
หลายครั้งอย่างไร้ผู้รับผิดชอบ

ล่าสุดมีรายงานว่า มีเวบไซต์กว่า 35,000 เวบถูกปิดกั้น และยังมีการแทรกแซงเวบให้ดู
ราวกับว่าไม่ใช่การกระทำของทางการอีกจำนวนมาก (ดูข่าวใน prachatai.com)

ทั้งหมดนี้ รัฐอ้างว่าเพราะเวบเหล่านั้น "มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ" แต่
ผู้เขียนมองว่า นั่นคืออาการโรค "online-phobia" ของรัฐไทย

ทำไมรัฐไทยจึงหวาดผวาสังคมออนไลน์

ส่วนหนึ่งเพราะการไม่เข้าใจว่า อินเทอร์เน็ตเป็นมากกว่าเพียง "สื่อ" แต่ยังเป็นสังคม
ในเครือข่ายออนไลน์ การมองอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงสื่อเป็นการแยกเครื่องมือการสื่อสาร
ออกจากสังคม ทำให้มองไม่เห็นคน ไม่เห็นการปฏิสังสรรค์กันในเน็ต รัฐอ้างว่าจัดการกับ
ตัวสื่อ ทั้งที่อันที่จริงแล้วกำลังไม่เคารพต่อสิทธิของ "ประชาสังคมออนไลน์"

ยิ่งกว่านั้น การมองเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมักมองไม่เห็นการโยงใยเกี่ยวข้องกันระหว่าง
สังคมออนไลน์และสังคมออฟไลน์นอกเครือข่าย เชื่อว่าอะไรที่สื่อผ่านเน็ตเป็นสิ่งที่อยู่
ใต้ดิน ไม่มีระบบ ไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีตัวตนที่จับต้องได้ ใต้ดิน ใต้น้ำ ตลอดจนไม่เห็นด้วย
ว่า ในโลกออนไลน์เองก็มีระเบียบสังคมอยู่

หากมองให้ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก จะพบว่ารัฐไทยเกลียดกลัวสังคมออนไลน์ เพราะสังคม
ออนไลน์มีลักษณะที่ขัดกับภาพสังคมที่รัฐไทยวาดหวัง สังคมออนไลน์เปิดโอกาสให้เกิด
สังคมประชาธิปไตยในแบบที่ประชาธิปไตยของรัฐไทยไม่ต้องการหลายๆ ประการ

ประการแรก สังคมออนไลน์มีลักษณะ "ข้ามชาติ"
รัฐจึงกลัวว่าเน็ตจะเป็นภัยต่อรัฐและชาติ ข้อมูลเลวร้ายจะถูกลักลอบส่งเข้ามาทำลาย
ความมั่นคงของรัฐและชาติ สิ่งนี้เกิดขึ้นได้จริงๆ อย่างง่ายดาย โดยที่รัฐไม่มีทางที่จะ
ควบคุมอย่างไรได้

ในสังคมออนไลน์ คนสามารถส่งสำเนาสารต้องห้ามได้ในหลายๆ ลักษณะ เช่น อีเมล MSN
หรือนำสำเนาไปฝากไว้ในพื้นที่ให้บริการฟรีที่มีอยู่หลายแห่งนับไม่ถ้วน ให้ใครก็ได้สามารถ
เข้าไปดึงเอกสารมาโดยไม่ล่วงรู้ว่าใครเป็นคนนำไปฝากไว้ เหล่านี้ทำให้พระราชบัญญัติ
การพิมพ์ พ .ศ. 2484 กลายเป็นเรื่องขำๆ ไป

แต่สังคมออนไลน์ก็มีส่วนสร้างชุมชนชาติขึ้นมาได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือกรณี
การเคลื่อนไหวต่อต้านอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่เป็นเครือข่ายในชาติและข้ามชาติขนาดมหึมา
ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐ ม็อบออนไลน์นี้สร้างความรู้สึกร่วมกันของชุมชนคนไทย
ทั้งในและนอกประเทศ กลายเป็นการสื่อสารทางการเมืองที่ทรงพลังเหนือม็อบมือถือเมื่อ
15 ปีก่อนมากมาย

สังคมเน็ตจึงสามารถช่วยสร้างจินตนาการรัฐไทยและความเป็นไทยได้เช่นกัน เพียงแต่
ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียวกับที่รัฐต้องการให้เป็น

ประการที่สอง ลักษณะ "ลักปิดลักเปิด"
ด้านหนึ่ง สังคมออนไลน์มีการสนทนากันระหว่างกลุ่มคนจำกัด อาจมีการนินทาคนอื่น
เฉพาะในกลุ่มได้ แต่สังคมออนไลน์ก็มีลักษณะเป็นสังคมเปิด เมื่อเรื่องที่นินทากันถูกส่ง
ต่อๆ ไปเป็นจดหมายลูกโซ่ ก็จะกลายเป็นการล่วงละเมิดกันไปได้

อย่างไรก็ดี ข้อดีประการหนึ่งของการลักปิดลักเปิดของสังคมออนไลน์คือ การเปิดให้มีการ
แสดงออกโดยที่ไม่ต้องกังวลกับมาตรฐานทางสังคมทั่วไป ที่บุคคลต้องระวังในสังคมออฟไลน์
เมื่อความอาวุโส หญิงชาย หน้าตาในสังคม ถูกลดทอนลง ทำให้การแสดงความเห็นเป็นไปได้
อย่างเปิดเผยมากขึ้น ตรงไปตรงมามากขึ้น เอื้อต่อความเสมอภาคทางความเห็นมากขึ้น

ลักษณะก้ำกึ่งนี้เกิดขึ้นเช่นกันในพื้นที่แสดงความเห็นหรือกระดานข่าว ที่คนสามารถคุยกันได้
โดยไม่ต้องเปิดเผยตัว เพื่อกันการละเมิด บางเวบไซต์จึงบังคับให้ผู้แสดงความเห็นลงทะเบียน
เป็นการเปิดเผยตัวให้มีความรับผิดชอบ แต่บางแห่งต้องการคงเสรีภาพการแสดงออกไว้ จึง
เพียงแสดงตัวเลขไอพีที่สามารถระบุที่อยู่ของผู้แสดงความเห็นได้ แต่มาตรการนี้ก็ทำได้แค่ขู่
ไม่สามารถหาเจ้าของความเห็นนั้นได้จริง แต่บางแห่งที่ไม่ได้มีมาตรการที่เข้มงวดอย่างใด
ก็สามารถมีการแลกเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ได้ โดยผู้เข้าร่วมสนทนาดูแลตักเตือนกันเอง
ถ้าละเมิดกันรุนแรงก็แจ้งผู้ดูแลเวบ

สังคมออนไลน์จึงดูแลกันเองได้ ไม่จำเป็นที่รัฐจะต้องเข้ามาควบคุมเหมือนมีตำรวจมานั่ง
คอยจับผิดคนพูดคุยกันตามร้านกาแฟ

ประการที่สาม "ความไร้รากทางวัฒนธรรม" ของสารในสังคมออนไลน์
ทำให้สารที่ถูกมองว่าไม่ผิดศีลธรรมในมาตรฐานของสังคมหนึ่ง เล็ดลอดเข้ามายังสังคม
ที่ไม่ต้องการสารนั้นได้

แต่หากเรายอมรับข้อเท็จจริงว่า การกำจัดสารลามกไม่ได้หมายความว่า จะสามารถกำจัด
ความลามกในใจคนออกไปได้ การที่ภาพเปลือยลามกของสตรีสูงศักดิ์ของบางสังคมที่ถ่าย
โดยสามีนางเอง ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอยู่เนืองๆ ในสื่อออนไลน์ แสดงให้เห็นได้ดีอยู่แล้ว
ว่า ความเสื่อมของคนในสังคม ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการควบคุมสื่อลามก

ประการที่สี่ "ความกำกวมของผู้ผลิตกับผู้เสพ"
ในสังคมออนไลน์ นอกจากเราจะเป็นผู้เสพสื่อแล้ว ใครก็สามารถผลิตและนำเสนอสารได้
มีพื้นที่ฟรีมากมายสำหรับให้คนสร้างสื่อนำสื่อมาเสนอได้อย่างเสรี สังคมออนไลน์จึงทำให้
ความเป็นผู้ผลิตกับผู้บริโภครางเลือน สังคมออนไลน์จึงมีธรรมชาติของความเป็นแหล่ง
ข้อมูลเปิด (open sources) อยู่ในตัว ผู้เผยแพร่ทำไปเพื่อให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
ทางอินเทอร์เน็ตอย่างเสมอภาค หรือเพื่อเผยแพร่ความคิด อุดมการณ์ของตน โดยไม่จำเป็น
ต้องมุ่งหวังกำไร

เมื่อใครก็เป็นสื่อมวลชนได้ รัฐก็ควบคุมสารไม่ได้ รัฐสามารถควบคุมทีวีไม่ให้ออกข่าวการ
ชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร หรือข่าวการตายของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ได้ แต่รัฐไม่มีทาง
ควบคุมผู้สื่อข่าวอาสาสมัครที่นำภาพข่าวเหล่านี้มาออกในเน็ตได้

จะเห็นว่าสังคมออนไลน์มีพื้นฐานหลายๆ ประการ ที่สอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตย
วัฒนธรรมการเมืองที่ขัดขวางการพัฒนาและการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ย่อมเกรงกลัวสังคมออนไลน์ และจ้องออกกฎหมายที่ขัดขวางเสรีภาพของสังคมออนไลน์

รัฐที่จินตนาการให้สังคมอยู่ในระบบของบุญบารมี รัฐที่สร้างจินตนาการให้ตนเองปกครอง
ประชาสังคมแบบพ่อ-แม่ปกครองลูก รัฐที่มุ่งภาพความสามัคคีเหนือสิ่งอื่นใด รัฐที่อ้าง
คุณธรรมแต่ไม่รู้จักส่งเสริมความเสมอภาคในทุกๆ ด้าน ย่อมขยาดกลัวสังคมออนไลน์
 
http://www.bangkokbiznews.com/viewOpinionNews.jsp?newsid=130810
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 10-12-2006, 14:07 »

ทองแท้ไม่กลัวไฟลน รัฐบาลที่ดีย่อมไม่กลัวการวิพากษ์วิจารณ์
พรบ. ฉบับนี้ สมควรจะมีการปฏิรูปขนานใหญ่ เพราะ พรบ. ฉบับนี้ เกิดขึ้นเพื่อเสริมความมั่นคงของรัฐบาล
ไม่ใช่เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ โดยปกติสื่อจำพวกดิจิตอลนั้นก็สามารถใช้กฎหมายทั่วไปเพื่อเอาผิดได้อยู่แล้ว
แต่ในบางครั้งเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายสามารถกระทำได้ จึงจำเป็นต้องบังคับให้มีการดำเนินการบางอย่าง
เช่นการเก็บประวัติการใช้งานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือการเตรียมการต่างๆ ทางเทคนิคที่จำเป็น

ทว่าการที่ พรบ. ให้อำนาจการใช้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานในการที่จะดำเนินการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ย่อมไม่ต่างอะไรกับการให้อำนาจแบบเผด็จการกับรัฐ ในการที่จะตัดสินว่าอะไรสมควรปิด อะไรไม่สมควร
รธน. ปี 40 ระบุชัดเจนว่าห้ามสั่งปิดโรงพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ ทั้งนี้ในทุกกรณีและโดยไม่มีเงื่อนไข
สื่ออินเตอร์เนทถ้าดูกันโดยหลักการ ก็ไม่ต่างกับวิทยุหรือโทรทัศน์ เพียงแต่ส่งเป็นตัวอักษร แทนที่จะเป็นภาพหรือเสียง
ดังนั้นในหลักการแล้วการระบุให้รัฐบาลสามารถเข้ามามีอำนาจเหนือสื่อในอินเตอร์เนท ก็ขัดกับจุดประสงค์ของรัฐธรรมนูญปี 40
ที่ไม่ต้องการให้เกิดการปิดหูปิดตาประชาชนขึ้นมาได้อีก

ดังนั้น พรบ. ฉบับนี้ ไม่ควรให้อำนาจเจ้าพนักงานในการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารใดๆ ในอินเตอร์เนททั้งสิ้น
ควรมีอำนาจเพียงแค่การตรวจสอบหรือเข้าถึงข้อมูลในกรณีที่จำเป็นสำหรับการบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ
เช่นทางการทหาร การข่าว ความมั่นคง หรือในกรณีที่เป็นคดีความในศาลเป็นต้น
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #10 เมื่อ: 10-12-2006, 18:40 »

ส่วนเวบไซต์ในประเทศอย่าง "มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน" ที่อุดมไปด้วยบทความทาง
วิชาการและการแลกเปลี่ยนความเห็นที่ก้าวหน้าที่สุดของไทย ถูกปิดหลายครั้งทั้งก่อน
และหลังรัฐประหาร

เช่นเดียวกันกับเวบของเครือข่ายต่อต้านรัฐประหารอย่าง "19sep.org " ถูกก่อกวน
หลายครั้งอย่างไร้ผู้รับผิดชอบ

ล่าสุดมีรายงานว่า มีเวบไซต์กว่า 35,000 เวบถูกปิดกั้น และยังมีการแทรกแซงเวบให้ดู
ราวกับว่าไม่ใช่การกระทำของทางการอีกจำนวนมาก
(ดูข่าวใน prachatai.com)

ทั้งหมดนี้ รัฐอ้างว่าเพราะเวบเหล่านั้น "มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ" แต่
ผู้เขียนมองว่า นั่นคืออาการโรค "online-phobia" ของรัฐไทย

ข้อความโดย: snowflake


เวบไซต์กว่า 35,000 เวบถูกปิดกั้น เพราะคัดค้านการรัฐประหาร คมช.และรัฐบาลนี้.... Question

นับว่าจำนวนอักโขอยู่สำหรับกลุ่มนักรักประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ หรือไม่ Question

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #11 เมื่อ: 10-12-2006, 19:02 »

เรื่องดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่คงเป็นปัญหาหนักใจของผู้ปฏิบัติงานอย่างมากในยุคต่อไป
ที่ประเทศเดินไปตามแนวทางจริยธรรมจอมปลอมที่เริ่มต้นจากรัฐบาลนี้ หลังจากที่ได้มี
การแจ้งข้อกล่าวหาผู้ใช้ดุลยพินิจว่าน้องให้หุ้นพี่ผิด ทำให้ต้องพิจารณาโทษทางอาญา
จนถึงขั้นให้ออกจากราชการ แม้นายสมหมาย ภาษี(ผู้มีเบื้องหลังแปลก) ยังกล่าวว่าข้า
ราชการเสียกำลังใจจากกรณีนี้มากแต่ก็เป็นชะตากรรมและกรรมเก่าแม้ 5 คนที่ถูกพิจารณา
โทษจะมีชื่อเสียงในความใจซื่อมือสะอาด ในหมู่ข้าราชการด้วยกัน ถ้ากฎหมายดิจิตอล
ออกมาในลักษณะนี้ใครจะการันตีความซวยของผู้ปฏิบัติงานได้
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #12 เมื่อ: 10-12-2006, 20:40 »

**** ชี้ "ศิโรตม์" ไม่ควรมาปฏิบัติหน้าที่แล้ว


ทางด้านนายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โดยมารยาท เมื่อ ป.ป.ช. มีคำตัดสินแล้ว วันนี้(8 ธ.ค. 49) นายศิโรตม์และพวก ก็ไม่ควรมาปฏิบัติหน้าที่แล้ว หลังจากนี้คณะอนุกรรมการพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการของกระทรวงการคลัง ที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เป็นประธาน จะมีการหารือเพื่อพิจารณาดำเนินการสรรหาบุคคลที่จะมาดำรงอธิบดีกรมสรรพากรแทน นายศิโรตม์ต่อไป โดยมั่นใจว่า จะสามารถหาบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาดำรงตำแหน่งได้ ซึ่งขณะนี้รอเพียงเอกสารตัดสินคดีของ ป.ป.ช. ที่จะส่งมาถึงกระทรวงการคลังเท่านั้นก็สามารถดำเนินการได้ทันที


"หลังจากที่มีคำสั่งในลักษณะนี้ออกมา จะต้องนำเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการของกระทรวงการคลัง (อกพ.) และในช่วงที่ยังอยู่ระหว่างการแต่งตั้ง ให้รองผู้อาวุโสสูงสุดของหน่วยงานเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งนั้นไปก่อน โดยในส่วนของผู้ที่จะเข้ามารักษาราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรคือ นาย ช.นันท์ เพ็ชญไพศิษฏ์ ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ กรมสรรพากร(ระดับ10) ส่วนผู้รักษาราชการแทนผอ.สคร.(สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) คือ นายอารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม รองผอ.สคร. "


ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่าในการนำเรื่องผลการสอบสวนของป.ป.ช.เข้าสู่การประชุมของอกพ.นั้น อกพ.จะเป็นผู้พิจารณาและออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทั้ง 5 นั้นต้องออกจากราชการหรือไม่ ซึ่งการออกจากราชการจะแยกเป็น 2 กรณี คือ ให้ออกโดยยังได้รับบำเหน็จบำนาญ และอีกกรณี คือ ไล่ออก ซึ่งจะไม่ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบใดเลย แต่คาดว่าทั้ง 5 รายดังกล่าวจะเข้าข่ายกรณีให้ออก

http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=T0121732&issue=2173


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #13 เมื่อ: 10-12-2006, 21:20 »

นอกเรื่องหน่อย เรื่องนายสมหมาย ภาษี

http://www.prachatai.com/05web/th/board/showboard.php?QID=44855&TID=5
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: