คณิน ชี้คณะตุลาการรธน.ไม่มีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมือง เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานการให้ความคิดเห็นของ
คณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภา
ร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่กล่าวถึงคดียุบพรรคการเมือง 5 พรรคที่อยู่ในระหว่างการ
พิจารณาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจสั่งยุบ 5
พรรคการเมือง เพราะคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2540 และศาลรัฐธรรมนูญ
ไปแล้วเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา ถือเป็นพันธะความรับผิดชอบในทางการเมือง
ต้องสิ้นสุดลง รวมทั้งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กระบวนการที่นำไปสู่การเสนอให้ศาล
รัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง 5 พรรค ก็ควรจะยุติลงไปด้วย ดังนั้น ข้อกล่าวหาสำคัญ
ที่นำไปสู่การเสนอให้ยุบพรรค ซึ่งได้แก่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง
ประเทศโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่ระบุไว้ในมาตรา 63 ของ
รัฐธรรมนูญปี 2540 รวมทั้งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการสั่งยุบพรรคการเมืองก็จะ
ต้องสิ้นสุดลงไปด้วย
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง การจัดตั้งและการยุบพรรคการเมือง
ความยึดโยงระหว่างพรรคการเมืองกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
ในการสั่งยุบพรรคการเมือง อำนาจของอัยการสูงสุดในการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค
การเมือง หรือแม้แต่องค์กรศาลรัฐธรรมนูญล้วนมีที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ทั้งสิ้น ดังนั้น
เมื่อรัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกฉีกทิ้งไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ยึดโยงและมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ
ดังกล่าวก็ต้องสิ้นสุดลงไปด้วยโดยปริยาย ถึงแม้จะมีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และรัฐธรรมนูญชั่วคราวสั่งให้
ดำเนินการต่อก็ต่อไม่ติด เหมือนพระภิกษุสงฆ์ที่สึกไปแล้ว ถ้าบวชใหม่พรรษาก็ต่อไม่ติด
เพราะขาดไปแล้ว นายคณิน กล่าว
นายคณิน กล่าวอีกว่า รัฐธรรมนูญเปรียบเหมือนกฎหมายแม่ ส่วนกฎหมายประกอบ
รัฐธรรมนูญที่บัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อัยการ
สูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองเป็นกฎหมายลูก ดังนั้น
เมื่อกฎหมายแม่ตายไปแล้ว กฎหมายลูกจะมีผลใช้บังคับต่อไปได้อย่างไร อย่าลืมว่าการ
สั่งยุบพรรคการเมืองหมายถึงการตัดสิทธิ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จากการเป็นสมาชิกพรรค
การเมือง ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ถ้าเป็นการ ตัดสิทธิ โดยไม่มี
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่รองรับ จึงไม่สามารถทำได้
คณะปฏิรูปได้ออกคำสั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2540 และยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญไปด้วย
ในคราวเดียวกัน ต่อมาเกิดนึกขึ้นมาได้ก็ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อให้มาทำหน้าที่
แทนศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในทางกฎหมายมันแทนกันไม่ได้ เพราะองค์กรศาลรัฐธรรมนูญ
ตายไปแล้ว พร้อมๆ กับรัฐธรรมนูญปี 2540 ด้วยคำสั่งของคณะปฏิรูป ดังนั้น ถึงแม้จะตั้ง
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ
และเมื่อไม่ใช่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอำนาจที่จะไปพิจารณาคดี ซึ่งกฎหมายประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองระบุไว้ชัดเจนว่า เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น
จึงสรุปว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไร้ซึ่งอำนาจในการพิจารณาหรือมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นข้อหาใด นายคณิน กล่าว
ด้าน
นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงกรณีว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญ
ชุดนี้
มีอำนาจพิจารณาคดียุบพรรคได้อย่างแน่นอน เพราะมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดย
ในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ บัญญัติว่า บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้
เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ผ่าน
มา ตุลาการรัฐธรรมนูญ ยังไม่เคยประชุมหารือกันในประเด็นที่ว่า มีอำนาจพิจารณาคดี
ยุบพรรคหรือไม่ เพราะเห็นว่าไม่จำเป็น เนื่องจากมั่นใจว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุด
นี้ มีอำนาจที่จะพิจารณาคดียุบพรรคได้อย่างแน่นอน
............................................................
เรียบเรียงจาก : เว็บไซต์คมชัดลึก / สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5893&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thaiยุบพรรคไม่ได้ แล้วลงโทษตัวบุคคลได้หรือเปล่า?
หรือมาสำเภาเดียวกัน? ![](http://oldforum.serithai.net/Smileys/default/slime_doubt.gif)