..... ประเทศไทยในขณะนี้หากกล่าวถึงชื่อ สนธิ ลิ้มทองกุล ใครที่ไม่รู้จักเป็นไม่มี
แน่นอน...เขานี่แหละที่ทำให้คนหลายล้านคนเคลิบเคลิ้ม ประดุจอยู่ในความฝัน สยบยอมรับสถานะภาพของ
สนธิ ลิ้มทองกุล เสมือน "
อัศวิน" ที่ขี่ม้าขาวมากลางอากาศ ช่วยชำระสะสางความโป้ปดมดเท็จ ความฉ้อฉลของนักการเมืองที่เลวทรามต่ำช้า...เขาก้าวเข้ามากำจัดคนทุจริตคอรัปชั่น และเป็นแกนนำในการ "
กู้ชาติ "
....ใช่ คนส่วนใหญ่ที่ได้รับชมASTV ที่ถ่ายทอดตลอดมาเป็นเวลา 3 เดือน ไม่มีวันหยุด ก็คิดเช่นนั้น...และเข้าร่วมการชุมนุมบุกยึดทำเนียบรัฐบาล ปิดล้อมรัฐสภา ตามคำสั่งของ สนธิ ลิ้มทองกุล
..... ไม่เพียงเท่านั้น สนธิ ยังมีกองกำลังพร้อมอาวุูธ อีกหลายร้อยคน พร้อมยอมตาย พลีชีพเพื่อสนธิ ลิ้มทองกุล หากมีการจับกุมคุมขัง ในกรณี "
กบฏ"
สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ยอมรับอำนาจกฏหมาย ปฏิเสธหมายจับ แถมประกาศท้าทายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาจับกุม ยิ่งไปกว่านั้น... สนธิ ลิ้มทองกุล กล้าประกาศกร้าวต่อคนไทยทั้งในประเทศ และ ชาวต่างประเทศทั่วโลก ให้รับรู้ผ่านทางโทรทัศน์ดาวเทียมASTV ว่า .....
ที่สำคัญ... คือ สนธิ ลิ้มทองกุล สามารถใช้วาทะ ที่ปลุกเร้าความรักชาติ ผ่านเสียงทุ้มหล่อ พร้อมท่วงทำนองที่โดนใจ ผู้เก็บกด จึงทำให้ปลุกระดมคนไทยทั้งในประเทศที่มี "
ความรักชาติ " ออกมาชุมนุม
ยึดสถานที่ราชการ ยึดทำเนียบ ปิดล้อมรัฐสภา เข่นฆ่าผู้ไม่เห็นด้วย ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ตัดไฟรัฐสภาขณะที่รัฐบาลประชุมสภาแถลงนโยบาย ปิดล้อมสนามบิน และหยุดงานทั่วประเทศ ....ซึ่งเขาเรียกว่า "
นี่คือสงครามครั้งสุดท้าย....เพื่อ...กู้ชาติ "
ฉะนั้น... ความหมายของคำว่า "
ชาติ" มีความหมายที่ลึกลงไปในจิตวิญญาณของคนไทยทุกคน ที่มีความรักชาติรักแผ่นดินที่มีชื่อว่าประเทศไทย และนี่คือธรรมชาติของความเป็นคนไทย
แต่ความหมายของคำว่า "
ชาติ " ของสนธิ ลิ้มทองกุล คืออะไร หมายถึง "
ประเทศไทย " ใช่หรือไม่ ?
ข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นคำตอบ....
ในปี พ.ศ.2492 ขณะนั้นประเทศจีนได้เกิดการแบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายประชาธิปไตยซึ่งเป็นรัฐบาลจีนขณะนั้น ภายใต้การนำของนายพล เจียงไคเช็ค พรรคก๊กมินตั๋ง และอีกฝ่ายหนึ่งก็คือฝ่ายคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของ เหมาเจ๋อตง ทั้งสองฝ่ายต่างมีกำลังทหารของตนเองและสู้รบกันเพื่อแย่งชิงประชาชนและอำนาจการปกครองประเทศจีน ฝ่ายของนายพลเจียงไคเช็คมีกำลังทหารส่วนหนึ่งเรียกว่ากองพลหน่วยที่ 93 ได้ปฏิบัติการอยู่แถบคุนหมิง มณฑลยูนาน ทั้งสองฝ่ายต่างรบสู้กันอย่างดุเดือด และในที่สุดฝ่ายคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ก็เป็นผู้ชนะพรรคก๊กมินตั๋งจึงได้ถอยหนีไปอยู่เกาะไต้หวัน และนายพลเจียงไคเช็คก็ได้เป็นประธานาธิบดีของไต้หวันในเวลาต่อมา
กองพลที่ 93 อพยพติดตามไปไต้หวันไม่ทัน หรือโดนเจียงไคเช็คทิ้งก็ไม่อาจทราบได้ จึงตั้งกองกำลังอยู่ที่ยูนาน จากนั้นก็ถูกกองทัพจีนคอมมิวนิสต์คุกคามอย่างหนักจึงต้องสู้ไปพลางถอยไปพลาง สุดท้ายก็ถอยไปเข้าเขตของพม่าตอนบนพม่าก็ไม่ยอมเพราะถือว่าเป็นการรุกล้ำอธิปไตยจึงส่งกำลังมาต่อสู้เพื่อพลักดันให้ออกจากพม่าสู้หลายครั้ง แม้ว่าพม่าจะเป็นฝ่ายรุก กองพล 93 เป็นฝ่ายถอย แต่สุดท้ายก็พลักดันออกจากพม่าไม่สำเร็จ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับไทยด้วย เพราะมีกองกำลังบางส่วนที่ถอยเข้ามาในเขตรอยต่อของไทยกับพม่า
เช่นบริเวณดอนตุง ดอยแม่สลอง เป็นต้น
ในที่สุดพม่าก็เรียกร้องให้สหประชาชาติเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าว สหประชาชาติได้เปิดประชุมและได้กำหนดตัวแทน 4 ฝ่าย เพื่อทำการอพยบทหารกองพล 93และครอบครัวไปที่ประเทศไต้หวัน สำหรับตัวแทนทั้ง 4 ฝ่าย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย พม่า และรัฐบาลจีนคณะชาติ ( ไต้หวัน ) สหประชาชาติได้ให้ทำการอพยบกองพล 93 ไปไต้หวัน โดยเริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ถึง พฤษภาคม ค.ศ.2497 รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยจำนวนผู้อพยพมีประมาณ 12,000 คนซึ่งการอพยพดังกล่าวรัฐบาลไต้หวันได้ส่งเครื่องบินมารับที่ อำเภอท่าฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นรัฐาลไต้หวันก็ไม่รับผู้อพยพเพิ่มอีก

สำหรับการอพยพของกองกำลังที่ 93 มาจากจีนนั้น ในเวลาเดียวกันก็มีชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นกองทหารอพยบตามมาด้วย ทั้งนี้เพราะชาวบ้านเหล่านั้นไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของจีนคอมมิวนิสต์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำทางทหารของกองพลที่ 93 คือ นายพลหลี่มี่เป็นที่นับถือของชาวบ้านในเป็นอย่างมาก ดังนั้นกองพล 93 จึงประกอบไปด้วยทหารของกองพลเอง ชาวบ้าน ชาวไร่ชาวนา และกองกำลังต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายกันไปเพราะถูก คอมมิวนิสต์คุกคาม เข้ามารวมตัวอยู่ด้วยกัน เช่น นายพลหลี่เหวินฝาน ได้นำกองกำลังอาสาสมัครป้องกันหมู่บ้านเข้ามาร่วมกับนายพลหลี่มี่ด้วย การอพยพเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยนั้น กระจายอยู่ตามแนวชายแดนต่าง ๆ คือ อำเภอแม่อาย อำเภอแม่จันอำเภอแม่สรวย อำเภอพาน (จังหวัดเชียงราย) อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่และเทือกเขาบางส่วนในเขตจังหวัดน่าน
ในช่วงที่ไต้หวันทำการอพยพชาวกองพลที่ 93 ไปสู่ประเทศไต้หวันนั้น ได้มีชาวไร่ชาวนาบางส่วนที่มากับพวกทหารของกองพลที่ 93 ไม่ได้อพยพไปด้วย กลับตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองไทย ทั้งนี้เพราะหลายคนมีครอบครัวที่นี่ หลายคนเกิดที่นี่ และคิดว่าตนเองแท้จริงไม่ได้เป็นทหารของกองพลที่ 93 การไปไต้หวันเหมือนกับเป็นส่วนเกินและต้องไปเริ่มต้นใหม่ และหลายคนรักที่จะอยู่ประเทศไทย ช่วงนั้นได้มีขบวนการผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เริ่มเข้ามาในประเทศไทย และชาวบ้านเหล่านี้ก็ไม่ชอบคอมมิวนิสต์ ประกอบกับได้รับการฝึกอบรมแบบทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกตามแบบของโรงเรียนนายร้อยหวังผู่ จึงมีความพร้อมที่จะทำการรบและป้องกันตนเอง รัฐบาลจอมพลถนอมในขณะนั้นได้ทำการติดต่อชาวบ้านเหล่านี้ให้อยู่ที่เมืองไทยเพื่อร่วมกันต่อต้านผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วย จึงปักหลักอยู่ต่อที่ประเทศไทย
รัฐบาลไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเจรจากับไต้หวันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับชาวจีนอพยพที่ยังเหลืออยู่ในเมืองไทย รัฐบาลไต้หวันได้สรุปว่ากลุ่มชาวจีนดังกล่าวให้อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลไทย
รัฐบาลไทยจึงได้สั่งให้กลุ่มชาวจีนที่อพยพอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และ
เชียงราย เพื่อความสะดวกในการควบคุมผู้อพยพ รัฐบาลไทยจึงตั้งให้กองบัญชาการที่ดอยแม่สลอง กองบัญชาการทหารสูงสุดนำโดย
พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เสธฯ บ.ก.ทหารสูงสุด และ
พล.ท. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ รองเสธฯ เป็นผู้ดูแล โดยประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด
มีผู้นำที่มีชื่ออยู่สองคน คือ
นายพลหลี่เหวินฝาน และ
พันเอกเฉินโหม่วซิว ได้เป็นผู้นำของชาวจีนที่เหลืออยู่ในเมืองไทย ขณะนั้นมีการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์เป็นอย่างมาก และเนื่องจากคอมมิวนิสต์ไม่ถูกกับชาวจีนที่อพยพ จึงมักสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ นา ๆเพื่อโยนความผิดให้กับชาวจีนกลุ่มนี้ เช่น ปล้นสะดม ฆ่าผู้นำชนกลุ่มน้อยเผ่าม้งที่จงรักภักดีต่อรัฐบาลไทย โดยคนทั่วไปในขณะนั้นรู้จักชาวจีนกลุ่มนี้ในนามของกองพลที่ 93 แต่แล้วคนไทยก็รู้ว่าหลงกลพวกคอมมิวนิสต์เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ