ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ********Q******** ที่ 26-10-2006, 23:59



หัวข้อ: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 26-10-2006, 23:59
อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549

คณะองคมนตรีชุดปัจจุบัน  http://kanchanapisek.or.th/ohmpc/list.php

(เมษายน ๒๕๔๙ - )

(http://kanchanapisek.or.th/ohmpc/images/ohmpc-03.jpg)

๑. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
๒. นายเชาวน์ ณศีลวันต์ องคมนตรี
๓. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี
๔. พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช องคมนตรี
๕. พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี
๖. พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี
๗. พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี
๘. นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี
๙. นายจำรัส เขมะจารุ องคมนตรี
๑๐. หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล องคมนตรี
๑๑. นายศักดา โมกขมรรคกุล องคมนตรี
๑๒. นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี
๑๓. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี
๑๔. นายสวัสดิ์ วัฒนายากรุ องคมนตรี
๑๕. นายสันติ ทักราล องคมนตรี
๑๖. พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ องคมนตรี  

--------------------------------------------------------------------------------
พัฒนาข้อมูลโดยเครือข่ายกาญจนาภิเษก
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๗ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 00:03

ภาพองคมนตรีที่มาเป็นนายกฯ รักษาการชุดปฏิรูปฯชุดปัจจุบัน

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี  

(http://www.saithaharn.com/Webboard/picpost/Q23.jpg)                                                                       (http://img152.imageshack.us/img152/9236/q23me3.jpg)



หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 00:07

• องคมนตรี
ความเป็นมาและรายชื่อ
คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031106&tag950=03you30230548&show=1

องคมนตรีมีกี่ท่าน รายนามด้วยครับ /ลูกชายกก

ตอบ"องคมนตรี" หมายถึงผู้มีตำแหน่งที่ปรึกษาส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์

ความเป็นมาเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงแต่งตั้งข้าราชการระดับกลาง 12 คน เป็นสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทำหน้าที่หนักไปในทางนิติบัญญัติ ปีเดียวกันทรงแต่งตั้งที่ปรึกษาในพระองค์ 49 คน ทั้งพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ทรงมอบให้ดำเนินราชการแทนพระองค์


ต่อมา พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงบัญญัติคำว่า "องคมนตรี" ขึ้นใช้แทนที่ปรึกษาในพระองค์ และได้พระราชทานตำแหน่งองคมนตรีแก่ข้าราชการระดับพระยาพานทอง หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควร มีจำนวน 227 คน แต่มิได้ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินแต่ประการใด

ครั้นมีพระราชดำริที่จะให้ข้าราชการได้ทดลองและปลูกฝังการศึกษาวิธีดำเนินงานแบบรัฐสภาให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองในขณะนั้น จึงได้ทรงเลือกจากองคมนตรี 40 คน ตั้งเป็นสภากรรมการองคมนตรี แต่ส่วนใหญ่เป็นการพิจารณาร่างกฎหมายที่จะออกบังคับใช้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ.2470 และให้เพิกถอนตำแหน่งองคมนตรีตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 เป็นต้นไป

หลังจากมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 ฉบับชั่วคราว ได้มีบทบัญญัติแต่งตั้งคณะอภิรัฐมนตรีขึ้น 5 คน เป็นผู้บริหารราชการในพระองค์ และถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่เสมือนคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์ และเป็นคณะองคมนตรีที่ปรึกษาไปด้วยในขณะเดียวกัน

เป็นจุดเริ่มต้นของการมีตำแหน่งที่ปรึกษาพระมหากษัตริย์ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก ต่อมารัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 เปลี่ยนชื่อคณะอภิรัฐมนตรี เป็นคณะองคมนตรี แยกตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ออกต่างหาก คณะองคมนตรีจึงปฏิบัติหน้าที่เพียงถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์เพียงหน้าที่เดียวนับแต่นั้นจนปัจจุบัน

มาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บัญญัติไว้สรุปความว่า พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี มีหน้าที่ถวายความเห็นในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย


รายนามองคมนตรี (16 มีนาคม 2548) 1.พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี 2.นายเชาว์ ณ ศีลวันต์ 3.นายธานินท์ กรัยวิเชียร 4.พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช 5.พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ 6.พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา 7.นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 8.พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ 9.นายอำพล เสนาณรงค์ 10.นายจำรัส เขมะจารุ 11.หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ 12.หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล 13.นายศักดา โมกขมรรคกุล 14.นายเกษม วัฒนชัย 15.นายพลากร สุวรรณรัฐ 16.นายสวัสดิ์ วัฒนายากร 17.พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 18.นายสันติ ทักราล 19.พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์

(23 พฤษภาคม 2548)


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 27-10-2006, 00:07
ตรงกลางห้องนั้นน่าจะมีแชนเดอเลีย ซะหน่อยนะครับ :slime_sentimental: :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 00:10

ึคณะองคมนตรีคือคณะบุคคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้เป็นผู้ถวายความเห็นในเรื่องต่างๆ

คุณสมบัติและหน้าที่ขององคมนตรี ตามที่ปรากฏรัฐธรรมนูญ: ฉ.2540 http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=benjapol&topic=2807

หมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์

มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรี อื่นอีกไม่เกินสิบแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี
คณะองคมนตรีคนหนึ่งที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๑๑
การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีก็ดี การให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งก็ดีให้เป็นไปตามพระราช-อัธยาศัย
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือ ให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง

มาตรา ๑๒
องคมนตรีต้องไม่เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ

มาตรา ๑๓
ก่อนเข้ารับหน้าที่องคมนตรี ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
"ข้าพระพุทธเจ้า(ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่าข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน
ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"

มาตรา ๑๔
องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
 
โดย W [17 ก.พ. 2549 , 19:39:45 น.] 

คณะองคมนตรี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Privy Council (ไพรวี่ เคาน์ซิล)

คำว่า องคมนตรี ภาษาอังกฤษ Privy Councillor (ไพรวี่ เคาน์ซิลเลอร์)

ยกเว้นพลเอกเปรมซึ่งเป็นประธานองคมนตรี ต้องเรียกว่า Chairman of the Privy Council

สถานที่ทำงานของคณะองคมนตรี คือ ทำเนียบองคมนตรี ถนนสราญรมย์ กทม. ค่ะ


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 00:17
(http://kanchanapisek.or.th/ohmpc/images/sidebar.jpg)
http://kanchanapisek.or.th/ohmpc/history.php

ความเป็นมา

องคมนตรีมีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกนั้นยังไม่ได้เรียก “องคมนตรี” แต่จะใช้คำว่า “ปรีวีเคาน์ซิล” “ปรีวีเคาน์ซิลลอร์” หรือ “ที่ปฤกษาในพระองค์” ส่วนคำว่า “องคมนตรี” เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน ทั้งนี้ในรายงานการประชุมเสนาบดีเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๑ (พ.ศ. ๒๔๓๕) และใน “ประกาศการพระราชพิธีศรีสัจปานกาล พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก แลเครื่องราชอิศริยาภรณ์ แลตั้งองคมนตรี” เมื่อ ร.ศ. ๑๑๑ ปรากฏว่ามีการใช้คำว่า “องคมนตรี” แล้ว

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตั้งปรีวีเคาน์ซิลหรือที่ปรึกษาในพระองค์หลายครั้ง ทั้งนี้ “...จำนวรที่ปฤกษาในพระองค์นั้น มากน้อยเท่าใดไม่มีกำหนด ตามแต่พระราชประสงค์...แล้วต้องรับตำแหน่งที่อยู่จนสิ้นแผ่นดิน...” (“พระราชบัญญัติปรีวีเคาน์ซิลคือที่ปฤกษาในพระองค์ ประกาศมา ณ วันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๗, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑, ปีจอฉศก ๑๒๓๖ แผ่นที่ ๑๗, หน้า ๑๕๘) ต่อเมื่อทรงเห็นว่าผู้ใดมีความเหมาะสมก็จะทรงตั้งเพิ่มเติม และมีการผลัดเปลี่ยนได้ตามแต่จะทรงเห็นสมควร

ในรัชสมัยต่อมา แบบอย่างการแต่งตั้งองคมนตรียังคงเป็นไปตามเดิม ไม่มีการแก้ไขแต่ประการใด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งองคมนตรีขึ้นใหม่ตามพระราชอัธยาศัย แต่ทั้งนี้ ทรงตั้งประเพณีไว้อย่างหนึ่ง คือในเดือนมีนาคมให้กระทรวงมุรธาธรทำบัญชีผู้ได้รับพระราชทานพานทองเครื่องยศ ในคราวพระราชพิธีฉัตรมงคลเดือนพฤศจิกายนขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงเลือกเป็นองคมนตรี แล้วจะทรงตั้งเป็นองคมนตรีในวันที่ ๔ เมษายน เนื่องในพระราชพิธีศรีสัจปานกาล

ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตั้งองคมนตรีเป็นประจำทุกปี เป็นผลให้จำนวนองคมนตรีในรัชกาลนี้มีจำนวนมากถึง ๒๓๓ คน และอยู่ในตำแหน่งไปจนสิ้นรัชกาล

ครั้นถึงรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยึดแบบอย่างการแต่งตั้งองคมนตรี ตามแบบประเพณีในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ อย่างไรก็ตาม การเลือกสรรองคมนตรีในสมัยนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย คือทรงเลือกผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานเครื่องยศชั้นพานทองด้วย

เนื่องจากองคมนตรีมีจำนวนมากจึงไม่สะดวกในการเรียกประชุม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง สภากรรมการองคมนตรี ขึ้นตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ และทรงคัดเลือกองคมนตรีที่ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ จำนวน ๔๐ คน เข้ามาเป็นกรรมการองคมนตรี เพื่อทำหน้าที่ “ประชุมปรึกษาหารือข้อราชการตามแต่จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานลงมาให้ปรึกษา” (พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ : คำแปลพระราชบัญญัติภาษาอังกฤษ และข้อบังคับสภากรรมการองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๒ ฉบับกรมราชเลขาธิการ, (พระนคร : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ), ๒๔๗๒, หน้า ๕) นอกจากนี้ยังมีพระราชดำริจะให้สภากรรมการองคมนตรี เป็นที่ประชุมตัวอย่างสำหรับการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเสรีอีกด้วย

ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สภากรรมการองคมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่ และทำการประชุมอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงได้มีการประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ เป็นผลให้องคมนตรีและสภากรรมการองคมนตรีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ พ้นจากตำแหน่งและหน้าที่ไป

ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๐ ในรัชกาลปัจจุบัน ได้มีประกาศแต่งตั้งอภิรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ ซึ่งมีรายละเอียดที่บัญญัติไว้ดังนี้ “มาตรา ๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งสำหรับถวายคำปรึกษาในราชการแผ่นดิน มาตรา ๑๐ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง จะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้แต่งตั้งอภิรัฐมนตรีขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถ้าพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้ง หรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ ก็ให้คณะอภิรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ในหน้าที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทันที” และ “มาตรา ๑๓ อภิรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งประจำมีห้านาย เป็นผู้บริหารราชการในพระองค์ และถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์” อภิรัฐมนตรีจึงเป็นทั้งที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ และเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปในขณะเดียวกัน

ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ ได้บัญญัติถึงบทบาท และหน้าที่ขององคมนตรีไว้ดังนี้ “พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอีกไม่มากกว่าแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี... ...คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้...” นับเป็นการวางพื้นฐานบทบาท และหน้าที่ขององคมนตรีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

มีข้อที่น่าสังเกตคือ แม้ว่าคณะองคมนตรีปัจจุบันจะมีรากเหง้ามาจากคณะที่ปรึกษาในพระองค์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เรียกว่า “ปรีวีเคาน์ซิล” (THE PRIVY COUNCIL) อย่างของประเทศอังกฤษก็ตาม แต่โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะองคมนตรีทั้งสองประเทศนี้ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คณะองคมนตรีของไทยนั้นพระมหากษัตริย์ทรงเลือก และทรงแต่งตั้งด้วยพระองค์เองทุกคน มีจำนวนไม่เกิน ๑๙ คน และมีอำนาจหน้าที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งตามรัฐธรรมนูญ ส่วนคณะองคมนตรีของประเทศอังกฤษ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี จากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในวงราชการ วงการศาสนา หรือวงการเมือง เช่น ผู้พิพากษาศาลสภาขุนนาง สมเด็จพระสังฆราช นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี เป็นต้น ทั้งที่อยู่ในตำแหน่ง และที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ ๕๐๐ คน องคมนตรีของอังกฤษดำรงตำแหน่งชั่วชีวิต

คณะองคมนตรีของอังกฤษมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับพิธีการต่าง ๆ เช่น ลงนามในประกาศพระบรมราชโองการ การขึ้นเสวยราชสมบัติของพระประมุขของประเทศพระองค์ใหม่ การอภิเษกสมรสของพระประมุขของประเทศ การเปิดและปิดสมัยประชุมรัฐสภา การยุบรัฐสภา เป็นต้น และยังมีคณะกรรมการที่สำคัญคณะหนึ่ง ในคณะองคมนตรีของอังกฤษ คือ คณะกรรมการตุลาการของคณะองคมนตรี (The Judicial Committee of the Privy Council) ทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดของบรรดาประเทศ และอาณานิคมทั้งหลายในเครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันมีบทบาทน้อยมาก เช่นเดียวกันกับคณะองคมนตรีของอังกฤษทั้งคณะ

คณะองคมนตรีในปัจจุบัน

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงเลือก และทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี (มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง) การเลือก และแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง)

องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ต้องไม่ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น ต้องไม่เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ (มาตรา ๑๔) ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อพระมหากษัตริย์ (มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง)

 

--------------------------------------------------------------------------------
พัฒนาข้อมูลโดยเครือข่ายกาญจนาภิเษก
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๗ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 00:19

หน้าที่ของคณะองคมนตรี http://kanchanapisek.or.th/ohmpc/duty.php

ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๑. คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา ๑๒ วรรคสอง)
๒. ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งไว้ ในเมื่อจะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ หรือในกรณีที่ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น (มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง)
๓. ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว ในระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว ในกรณีที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ (มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่งและสอง)
๔. ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็น หรือทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมนตรีคนหนึ่ง ขึ้นทำหน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราว (มาตรา ๒๐ วรรคสาม)
๕. เมื่อมีพระราชดำริประการใด เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาล แก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อมีพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบ และทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรี ดำเนินการแจ้งประธานรัฐสภา เพื่อแจ้งรัฐสภาทราบต่อไป (มาตรา ๒๒ วรรคสอง)
๖. ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อรัฐสภา เพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ (มาตรา ๒๓ วรรคสอง)


งานที่คณะองคมนตรีปฏิบัติถวายเป็นประจำ

๑. พิจารณาและถวายความเห็นประกอบร่างกฎหมายทั้งปวง ที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อขอพระราชทานพระมหากรุณาทรงลงพระปรมาภิไธย
๒. พิจารณาและถวายความเห็นประกอบการกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและให้พ้นจากตำแหน่ง ของข้าราชการฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า รวมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง ตามที่กฎหมายกำหนด
๓. พิจารณาและถวายความเห็นประกอบเรื่องที่นักโทษ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ภายหลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ถวายความเห็นแล้ว
๔. พิจารณาและถวายความเห็นประกอบเรื่องที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานความเป็นธรรมบางเรื่อง ซึ่งสำนักราชเลขาธิการขอให้พิจารณา
๕. ถวายความเห็นสนองพระราชกระแสเรื่องอื่น ๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิจารณา
๖. ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ในงานที่เป็นทางการตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เช่น ไปในการบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันมาฆบูชา อาสาฬหบูชา และวิสาขบูชา ไปมอบถ้วยพระราชทาน ในการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ให้คณะบุคคลเข้าพบในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
๗. ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์ ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เช่น เชิญพวงมาลาหลวง และพวงมาลาของพระบรมวงศ์ ไปวางหน้าโกศศพหรือหีบศพ เชิญดอกไม้หรือสิ่งของพระราชทาน ไปมอบแก่บุคคลในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
๘. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรีทุกคนเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล คณะองคมนตรีจึงปฏิบัติหน้าที่บริหารงานในมูลนิธิฯ ด้วย
๙. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีบางคนเป็นกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา บางคนดูแลโครงการหลวง และบางคนดูแลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านการเกษตร การชลประทาน การพัฒนาชนบท และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
๑๐. ปฏิบัติสนองพระราชกระแสทุกเรื่องที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางและหลากหลาย
๑๑. เฝ้าฯ ตามตำแหน่งหน้าที่ในงานพระราชพิธี รัฐพิธี และในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในการ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ในโอกาสที่สถาบัน องค์กร สมาคมต่างประเทศ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สมาชิกภาพ และรางวัลต่าง ๆ เป็นต้น


ภารกิจโดยรวมของคณะองคมนตรีนั้น อาจกล่าวได้ว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นงานกลั่นกรองพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ในเบื้องต้น ถวายแด่พระมหากษัตริย์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการหลวง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นงานบริหารจัดการ หรือดูแลโครงการต่างพระเนตรพระกรรณ ส่วนการปฏิบัติงานผู้แทนพระองค์ หรือสนองพระราชกระแสเฉพาะเรื่องนั้น เป็นการแบ่งเบาพระราชภารกิจน้อยใหญ่ลงส่วนหนึ่ง

 

--------------------------------------------------------------------------------
พัฒนาข้อมูลโดยเครือข่ายกาญจนาภิเษก
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๗ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗  


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 00:23

ทำเนียบองคมนตรี  http://kanchanapisek.or.th/ohmpc/pc-house.php

(http://kanchanapisek.or.th/ohmpc/images/ohmpc-01.jpg)
                       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เปิดอาคารทำเนียบองคมนตรี


(http://kanchanapisek.or.th/ohmpc/images/ohmpc-02.jpg)

เนื่องจากสำนักราชเลขาธิการมีพื้นที่ใช้สอยจำกัดและคับแคบ เป็นผลให้สถานที่ทำการเดิมของคณะองคมนตรี ซึ่งอยู่ในอาคารสำนักราชเลขาธิการ (อาคารกลาง) และอาคารสำนักราชเลขาธิการ (เดิม) บริเวณพระบรมมหาราชวัง ต้องจำกัดและคับแคบตามไปด้วย ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานของคณะองคมนตรีซึ่งมีจำนวน ๑๙ คน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ด้วยเหตุนี้ คณะองคมนตรีจึงไม่มีห้องทำงานเป็นสัดส่วน ต้องใช้ห้องทำงานรวมกัน ประกอบกับห้องประชุมของคณะองคมนตรีที่ใช้งานอยู่นั้น ไม่สามารถขยายและต่อเติมออกไปได้อีก ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง เพราะขณะนี้ปริมาณงานที่เข้าสู่การพิจารณา ของคณะองคมนตรีมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นงานพิจารณา และถวายความเห็นประกอบร่างกฎหมาย และการแต่งตั้งข้าราชการ งานพิจารณา และถวายความเห็นประกอบฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษ และขอพระราชทานความเป็นธรรม ฯลฯ

ดังนั้น นายอาสา สารสิน ราชเลขาธิการ จึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันพุธ ที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ดำเนินการก่อสร้างสถานที่ทำการของคณะองคมนตรี ในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ ซึ่งเดิมเคยใช้เป็นสถานที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักราชเลขาธิการ ดำเนินการก่อสร้างสถานที่ทำการสำหรับคณะองคมนตรีแล้ว รัฐบาลจึงได้สนับสนุนงบประมาณการก่อสร้าง ในปีงบประมาณประจำปี ๒๕๔๕ ในวงเงิน จำนวน ๒๔๕ ล้านบาท จากนั้นเมื่อวันจันทร์ ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร (ลักษณะอาคารเป็นรูปตัวยู (U) สูง ๓ ชั้น มีชั้นใต้ดินและดาดฟ้า รวมเนื้อที่ ๘,๑๓๔ ตารางเมตร นายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าคณะสถาปนิกผู้ออกแบบ) การก่อสร้างสถานที่ทำการแห่งนี้แล้วเสร็จเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระมหากรุณาพระราชทานชื่ออาคารว่า “ทำเนียบองคมนตรี” และเสด็จฯ ไปทรงเปิด “ทำเนียบองคมนตรี” ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ ในวันอังคาร ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ในโอกาสนี้ ได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะองคมนตรี และพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ช่างภาพฉายพระบรมรูปร่วมกับคณะองคมนตรี

 

--------------------------------------------------------------------------------
พัฒนาข้อมูลโดยเครือข่ายกาญจนาภิเษก
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๗ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗




หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 00:41
ตรงกลางห้องนั้นน่าจะมีแชนเดอเลีย ซะหน่อยนะครับ :slime_sentimental: :slime_sentimental:

ครับ คุณคิล ลองหารูปที่คิดว่าสวยงามเหมาะสมเกียรติ มาแปะดูสิครับ !   :slime_smile: :slime_cool: :slime_v:


หัวข้อ: สัมมนา 30 ปี ประชาชาติธุรกิจ องคมนตรี ห่วงวิกฤต เงินนิยม ธรรมนิยมหาย-โกงไม่รู้สึ
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 02:02
สัมมนา 30 ปี ประชาชาติธุรกิจ องคมนตรี ห่วงวิกฤต เงินนิยม ธรรมนิยมหาย-โกงไม่รู้สึกบาป  

มติชนรายวัน วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10309  http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006june01p7.htm

ร่วมงาน "30 ปี ประชาชาติธุรกิจ" คึกคัก ฟังสัมมนา "ยุคทุนนิยมไล่ล่า" องคมนตรีชี้ประเทศวิกฤต เพราะธรรมนิยมหาย กลายเป็นเงินนิยม โกงไม่รู้สึกบาป ห่วงทุนนิยมสามานย์ ระบุใช้นโยบายประชานิยมไร้กฎเกณฑ์อันตราย เตือนผู้อาสาทำงานให้สาธารณะต้องรู้จักพอ อย่ามากอบโกย ด้าน"บัณฑูร"แนะอย่าทำธุรกิจเกินตัว และอารยะขัดขืนกับกระแสที่ไม่ดี ขณะที่สำนักงานสถิติเผย เม.ย.แรงงานนอกภาคเกษตรลดกว่า 4.4 แสนคน ขณะที่ภาคเกษตรกลับเพิ่มเกือบ 1 ล้านคน

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ จัดงานสัมมนาพิเศษโอกาสครบรอบ 30 ปี ในหัวข้อ "วิกฤตประเทศไทย ยุคทุนนิยมไล่ล่า" โดยมี นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมอภิปราย

ซึ่งมีประชาชนกว่า 1,000 คน ให้ความสนใจร่วมฟังอย่างหนาแน่นเต็มห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ

นพ.เกษม วัฒนชัย กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นวิกฤตกับประเทศ เพราะระบบธรรมนิยมหายไป กลายเป็นเงินนิยม คนส่วนใหญ่มีทัศนคติว่าเงินสามารถซื้ออะไรได้หมด ฉะนั้น จึงไม่รู้สึกบาปกับพฤติกรรมการโกง เพราะว่าทำให้รวยได้ นอกจากนี้คำสั่งสอนก็เปลี่ยนจากมัธยัสถ์ นิยมที่สอนให้คนรู้จักเก็บออม เป็นบริโภคนิยม รวมถึงการหันไปชื่นชมต่างชาติ มากกว่าไทยด้วยกันเอง

"สิ่งที่น่าวิตกที่สุดคือ ผลสำรวจทัศนคติเด็กไทยส่วนใหญ่พบว่า เด็กๆ รับได้ถ้าคอร์รัปชั่นแล้วมีผลงาน ซึ่งน่าเป็นห่วงอนาคตของประเทศชาติ หากทุกคนคิดแบบนี้ประเทศจะมีปัญหา" นพ.เกษมกล่าว และว่า การพัฒนาที่ดีการเป็นทุนนิยม จะต้องมีเป้าหมายเพื่อการอยู่ดีมีสุขของคนทั้งชาติ และยึดความมั่นคงของประชาชนและประเทศชาติ

นพ.เกษมกล่าวว่า แนวทางประยุกต์ใช้ของทุนนิยม มี 2 ขั้ว คือ 1.ทุนนิยมสามานย์ ที่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง เล่นพรรคเล่นพวก ที่จะได้ผลดีเมื่อกลไกการตรวจสอบอ่อนแอ การปฏิบัติหลายมาตรฐาน และการใช้นโยบายประชานิยมแบบไร้กฎเกณฑ์ ถือเป็นอันตรายกับประเทศ 2.ทุนนิยมชอบธรรม ที่สอนให้คนรู้จักเสียสละเพื่อแผ่นดิน รับผิดชอบต่อกฎหมายและศีลธรรม โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเพื่อสาธารณะ

นพ.เกษมกล่าวว่า คนไทยขาดการสอนเรื่องการยึดถือความสัตย์จริง ไม่โกหก เพราะตอนนี้เด็กส่วนใหญ่จะโกหกโดยไม่รู้สึกว่าผิด โดยเฉพาะผู้ที่อาสาทำงานให้สาธารณะต้องรู้จักพอในสิ่งที่ได้ สิ่งที่มี และสิ่งที่เป็น ไม่ใช่ว่าเข้ามาทำงานสาธารณะเพื่อโกยหรือได้อำนาจ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดอย่างยิ่ง แต่กลับแพร่หลายในขณะนี้

"ประเทศไทยควรยึดสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาสนาและสถาบันครอบครัวให้มั่นคง เพื่อสร้างพื้นฐานทางจิตใจของคนไทย ให้มั่นคง จะได้เกิดสติปัญญา ไม่เช่นนั้นอาจจะบาดเจ็บจากระเบียบการเมืองของโลกใหม่ การค้า การเงิน การลงทุนที่ปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบเสรีมากขึ้น" นพ.เกษมกล่าว

นายธีรยุทธ บุญมี กล่าวว่า ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทุนนิยมเฟื่องฟู โดยกลุ่มทุนสามารถเข้ากุมอำนาจฝ่ายบริหาร รัฐสภา และองค์กรตรวจสอบต่างๆ ได้ ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน การคอร์รัปชั่น ทำให้สังคมเสียดุลยภาพและเกิดวิกฤตทางการเมือง การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 1 ยิ่งทำให้การเมืองเสียสมดุลมากขึ้น (อ่านรายละเอียด น.2)

ด้านนายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทุนนิยมอยู่ในชีวิตคนไทยมาโดยตลอด เพราะเป็นระบบเศรษฐกิจที่ประเทศไทยเลือกใช้ทุนนิยมเป็นตัวกระตุ้นให้คนตื่นเช้า ลุกขึ้นไปทำงาน เพราะมีความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต แต่ก็มีความกดดันตามมาที่ต้องทำงานให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ทุกคนต้องแข่งขันเพื่อให้ชีวิตมีคุณภาพด้านวัตถุที่ดีขึ้น ถ้าไม่มีทุนนิยมเป็นตัวกระตุ้นก็จะไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่เกิดความพยายามให้ผลิตสินค้าที่ดีขึ้น

"ตอนแรกทุนนิยมเหมือนเป็นเด็กตัวน้อยที่มีดวงตาสดใส มีพลังชีวิตบริสุทธิ์ แต่พอเติบใหญ่ไปกลายเป็นอสุรกายที่น่ากลัว มีแรงและมีฤทธิ์มาก นำไปสู่ความหลากหลายของความเป็นเจ้าของ จากธุรกิจเล็กๆ กลายเป็นบริษัทมหาชน เพราะธุรกิจมีการขยายตัวขึ้น หากไม่ระวังจะกลายเป็นอสุรกายเพราะมีความกดดันจากผู้ถือหุ้น" นายบัณฑูรกล่าว

นายบัณฑูรกล่าวว่า ธรรมชาติของทุนนิยมคือ ใครทำงานได้ดีกว่าจากความกดดันที่มีมากขึ้น หน้าที่ของผู้บริหารคือทำให้ธุรกิจมีกำไรสูงสุด ความสำเร็จไม่เคยตัดสินด้วยตัวอื่นเลย ทำเพื่อกำไรอย่างเดียว ความดีในอดีตไม่พูดถึงเมื่อพ้นไปแล้วก็ผ่านไป ต้องทำปีหน้าให้ดีขึ้น ซึ่งคือความกดดัน

"เมื่อทุนนิยมมาถึงจุดหนึ่งแล้วไม่สามารถหยุดได้ เมื่อมีการผลิตได้มากขึ้น คนที่อยู่ในระบบก็อยากได้ส่วนแบ่งมากขึ้น โลกนี้ตัดสินว่าคนเก่งมีประเภทเดียวคือหาเงินเก่ง ถ้าไม่ระวังจะเกิดความคิดว่าคนดี คนเก่ง มีประเภทเดียวคือคนมีทรัพย์ และปัญหาที่ตามมาคือ จะไม่มีความปราณีในการทำธุรกิจ เอาชีวิตของตัวเองเป็นเดิมพันถ้าไม่สามารถทำงานได้ก็จะอยู่ไม่ได้" นายบัณฑูรกล่าว

นายบัณฑูรกล่าวว่า ปัญหาที่ตามมาคือการแบ่งไม่เท่ากัน มีคนได้กับคนไม่ได้ แม้ว่าโดยรวมอาจมีผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่จะทำให้มีการแบ่งไม่เท่ากันมากขึ้น ความกดดันที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันทำให้ต้องเปิดตลาดเสรี ตะวันตกมีความต้องการแสวงหาประโยชน์ให้ได้มากขึ้นจากทั่วโลก ซึ่งก็สามารถทำได้เพราะเก่งกว่า มีเทคโนโลยีที่ดีกว่า ทำให้ได้ผลประโยชน์มากขึ้นจากการค้าเสรีที่ตะวันตกเรียกว่า WIN WIN Strategy (กลยุทธ์ชนะทั้งสองฝ่าย) ซึ่งแปลว่า ฝรั่ง WIN ฝรั่ง WIN หรือคนตัวใหญ่กว่าไล่เตะคนตัวเล็กกว่า

นายบัณฑูรกล่าวอีกว่า ธนาคารกสิกรไทยก็ประสบมาเมื่อวิกฤตปี 2540 ที่ไม่สามารถโทษใครได้ เพราะเกิดจากการคนไทยทำเอง เป็นความลืมตัว อยู่บนความฟุ้งเฟ้อ แต่หลังจากที่ผ่านพ้นไปแล้วสิ่งที่เหลืออยู่มากมายคือ สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ หนี้เสียมหาศาลในระบบการเงินไทย ซึ่งไม่สามารถเอาคืนมาได้ โดยหนี้เสียดังกล่าวผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงินก็ต้องเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบตามระบบทุนนิยมที่จัดการไม่ได้ และที่เหลือจากนั้นประชาชนผู้เสียภาษีก็ต้องรับผิดชอบโดยการนำเงินงบประมาณมาชดใช้

"ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือ ผู้ที่อาสามารับจัดการสินทรัพย์ด้อยค่า ซึ่งส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ โดยเรียกตัวเองว่า Distress Asset Management หรือเรียกเป็นภาษาไทยง่ายๆ ได้ว่า "แร้งลง" เพราะประเทศไทยไม่ได้เตรียมพร้อมจะเผชิญการแก้ปัญหามหาศาล ทุกคนต้องแก้ปัญหาครั้งแรกในชีวิต และเมื่อไม่พร้อมก็เป็นการเปิดช่องให้คนที่รู้เรื่องมาซื้อหนี้เสียในราคาถูก ซึ่งเมื่อเวลาผ่านมา 7-8 ปี ก็พิสูจน์ว่าสินทรัพย์ที่เสียหายได้คืนมาเพียง 60% หมายความว่ามีผู้ได้รับประโยชน์ฟรีๆ 40% ซึ่งเป็นต่างชาติ เป็นบทเรียนที่แสดงให้เห็นว่า ที่ใดมีความอ่อนแอจะมีคนตัวใหญ่กว่า มีกำลัง มีความรู้มากกว่ามาหาประโยชน์จากความอ่อนแอ" นายบัณฑูรกล่าว

นายบัณฑูรกล่าวว่า ขณะนั้นธนาคารมีเอ็นพีแอล (หนี้เสีย) มากมาย และมีคนอาสาซื้อหนี้เสียของธนาคารออกไป ซึ่งคิดว่าจำเป็นต้องทำเพราะไม่เคยเจอปัญหาลักษณะนี้ แต่เมื่อมีการประเมินสินทรัพย์และมีการตีราคาให้เหลือ 20% ต้องตัดทุน 80% แม้ว่าจะเป็นการตัดเนื้อร้ายทิ้ง แต่ก็ทำให้เลือดไหลมากไป จึงตอบไปว่าไม่เอา แต่นึกไม่ถึงว่าจะมากรี๊ดกร๊าดใส่ว่าธนาคารจะต้องเพิ่มทุน จึงโกรธมากคิดในใจว่า "ไอ้ฝรั่งตาน้ำข้าวถือดียังไงมากรรโชกทรัพย์ในบ้านของกู บ้านนี้เมืองนี้เคยเป็นเมืองขึ้นของมึงเมื่อไร" จากนั้นก็ไม่เคยร่วมสังฆกรรมร่วมกับเขาอีกเลย เพราะถือเป็นความร้ายกาจของทุน

นายบัณฑูรกล่าวว่า ตะวันตกคิดเสมอว่าบรรดาทรัพย์สินที่มีอยู่ในโลกตะวันตกควรจะได้เท่าไร และส่วนที่เหลือพวกผิวเหลือง ผิวน้ำตาล ผิวดำก็ไปแบ่งกันเอง การแบ่งสินทรัพย์ที่ไม่ลงตัวนำไปสู่ความแตกหักของโลกมนุษย์ บางส่วนที่ไม่ยินยอม หากตัวใหญ่ก็ส่งเสียงสู้กันได้ แต่ถ้าตัวเล็กอย่างประเทศไทยก็เป็นปัญหา ทุนนิยมไม่ได้สนองความต้องการของมนุษย์ทุกคน แต่สนองเฉพาะมนุษย์ที่มีสตางค์เท่านั้น ปัญหาของทุนนิยมคือทำให้มีความแตกต่างเกิดขึ้นในโลกมากขึ้น เช่นประเทศจีนมีเศรษฐกิจโดยรวมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก แต่มีความแตกต่างมากขึ้น ทุนนิยมทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้น

นายบัณฑูรกล่าวว่า ข้อคิดของธุรกิจไทยมี 4 ประเด็นคือ 1.ต้องเรียนรู้ให้เร็วขึ้น รู้เทคโนโลยี รู้ศาสตร์ของการจัดการ ซึ่งความรู้ยังเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย 2.อย่าทำเกินตัว อย่าบริโภคเกินตัว อย่ากู้เกินตัว 3.ต้องคงความเป็นชนชาติไทย 4.ต้องทำอารยะขัดขืน โดยขัดขืนกระแสที่ไม่ดี ทุนที่แท้จริงไม่มีคำว่าบุญคุณ เมื่อเกิดมาอยู่บนโลกใบนี้ไม่มีทางเลี่ยงจึงต้องสู้ไม่เช่นนั้นจะถูกกลืนด้วยทุนนิยมไล่ล่า

วันเดียวกัน สำนักงานสถิติแห่งชาติ แจ้งผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนเมษายน 2549 ว่า จากจำนวนผู้มีงานทำ 34.94 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรม 12.06 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 22.88 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 พบว่า มีผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นประมาณ 5.4 แสนราย ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นในภาคเกษตรกรรมประมาณ 9.8 แสนคน จาก 11.08 ล้านคน เป็น 12.06 ล้านคน ส่วนนอกภาคเกษตรกรรมลดลงประมาณ 4.4 แสนคน จาก 23.32 ล้านคน เหลือ 22.88 ล้านคน

สำหรับการลดลงของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรมในเดือนเมษายนพบว่า มาจากภาคการขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ และของใช้ส่วนบุคคลและครัวเรือนมากที่สุดประมาณ 2.9 แสนคน รองลงมาเป็นสาขาขนส่ง คมนาคม และคลังสินค้า และสาขาการบริหารราชการแผ่นดิน รวมประกันสังคมภาคบังคับ ประมาณ 1.1 แสนคน และสาขาโรงแรมและภัตตาคารประมาณ 2 หมื่นคน เป็นผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อที่ทยอยปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจน สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่นิ่ง

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรมได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 4 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ที่มีผู้มีงานทำ 21.92 ล้านคน เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2548 ที่มีผู้มีงานทำ 21.97 ล้านคน เดือนกุมภาพันธ์ 2549 มีผู้มีงานทำ 22.72 ล้านคน เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ที่มีผู้มีงานทำ 22.83 ล้านคน เดือนมีนาคม 2549 มีผู้มีงานทำ 22.9 ล้านคน เทียบกับเดือนมีนาคม 2548 ที่มีผู้มีงานทำ 23.17 ล้านคน และเดือนเมษายน 2549 มีผู้มีงานทำ 22.88 ล้านคน เทียบกับเดือนเมษายน 2548 ที่มีผู้มีงานทำ 23.32 ล้านคน


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 02:36


หัวข้อ: ประวัติพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  (อ่าน 356 ครั้ง) http://www.chaleefm97.com/webboard/index.php?topic=230.msg520;topicseen#new 

97 team
ทีมงาน FM 97
สมาชิกเก่า

กระทู้: 91


   ประวัติพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
« เมื่อ: กันยายน 20, 2549, 02:59:59 AM » 

--------------------------------------------------------------------------------
ประวัติพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Jump to: navigation, ค้นหา
สารานุกรมประเทศไทย...
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ที่จังหวัดสงขลา เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 16 ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531และเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกในฐานะนายกรัฐมนตรีผู้มีจริยธรรมและคุณธรรมสูง เป็นที่รักและศรัทธาของคนไทย เป็นผู้วางรากฐานความสงบในภาคใต้เป็นทำให้ภาคใต้สงบเวลายาวนานและเป็นผู้ออกนโยบายเพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์

[แก้]
ประวัติ
 ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 6 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ จบการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า (โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)

พลเอกเปรม จบการศึกษาหลักสูตรพิเศษโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2484 และเข้ารบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ ปอยเปต กัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2485-2488 ที่เชียงตุง

ภายหลังสงคราม พลเอกเปรมรับราชการอยู่ที่อุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ ฟอร์ท นอกซ์ มลรัฐเคนตักกี พร้อมกับพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกวิจิตร สุขมาก เมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี

พลเอกเปรมได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อ พ.ศ. 2511 และย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคทึ่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2517

[แก้]
ลิงก์ภายนอก
ชีวประวัติ พลเอกเปรม จาก เว็บสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 
 
 แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล    บันทึกการเข้า 
 
 
 
 
หน้า: [1]    ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์   
 
เว็บบอร์ด FM 97.0 MHz > หมวดหมู่ทั่วไป > อาสาคลายทุกข์ > หัวข้อ: ประวัติพลเอกเปรม ติณสูลานนท์


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 14:08


ท่านใดจะค้นประวัติ องคมนตรีท่านอื่นๆออกมานำเสนอก็ย่อมได้และน่ายินดี แต่ควรเป็นเรื่องที่ยืนยันหรือเชื่อถือได้ครับ :slime_cool:


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 20:28
(http://www.numtan.com/nineboard/picupload/2648.jpg)
http://www.numtan.com/nineboard/view.php?id=2648
เป็นที่ทราบกันดีว่า พระมหากษัตริย์ของไทยทรงมีพระราชภารกิจมากมาย ทั้งในด้านราชการและสังคม ทรงพระวิริยะอุตสาหะช่วยเหลือประชาชนในทุก ๆ เรื่อง พร้อมทรงติดตามผลอย่างใกล้ชิด เมื่อทรงมีพระราชภารกิจมากมายเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องมีผู้รับสนองเบื้องพระยุคลบาท แบ่งเบาภารกิจไปทำเท่าที่จะทำได้
และนี่เองคือที่มาของตำแหน่ง "องคมนตรี" หรือ "ที่ปรึกษาในพระองค์พระมหากษัตริย์" ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานถวาย ในหลากหลายชิ้นงาน อาทิ พิจารณาและถวายความเห็นประกอบร่างกฎหมายทั้งปวง ที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อขอพระ ราชทานพระมหากรุณาทรงลงพระปรมาภิไธย พิจารณาและถวายความเห็นประกอบการกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการ ฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ถวายความเห็นสนองพระราชกระแสเรื่องอื่น ๆ ที่ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิจารณา รวมถึงการดูแลโครงการหลวง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านการเกษตร การชลประทาน การพัฒนาชนบท และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ตำแหน่ง "องคมนตรี" มีประวัติความเป็นมาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองแล้ว ได้ทรงแต่งตั้งที่ปรึกษาในพระองค์ขึ้นทั้งพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เพื่อสอดส่องเหตุการณ์บ้านเมือง ทุกข์สุขของราษฎรและกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ โดยในระยะแรกนั้นยังไม่ได้เรียกว่า "องคมนตรี" แต่จะใช้คำว่า "ปรีวีเคาน์ซิล" (Privy Council) หรือ "ที่ปรึกษาในพระองค์" แทน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติคำว่า "องคมนตรี" ขึ้นใช้แทน "ที่ปรึกษาในพระองค์" มีการตั้งองคมนตรีขึ้นใหม่ตามพระราชอัธยาศัย และได้พระราชทานตำแหน่งองคมนตรีแก่ข้าราชการผู้ได้รับพระราชทานพานทองเครื่องยศ หรือผู้ที่ ทรงเห็นสมควร โดยตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตั้งองคมนตรีเป็นประจำทุกปี เป็นผลให้จำนวนองคมนตรีในรัชกาลนี้มีจำนวนมากถึง 233 คน และอยู่ในตำแหน่งไปจนสิ้นรัชกาล

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เนื่องจากองคมนตรีมีจำนวนมาก ไม่สะดวกในการเรียกประชุม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง สภากรรมการองคมนตรี ขึ้นตามพระ ราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 และทรงคัดเลือกองคมนตรีที่ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ จำนวน 40 คน เข้ามาเป็นกรรมการองคมนตรี เพื่อทำหน้าที่ประชุมปรึกษาหารือข้อราชการตามแต่จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานลงมาให้ปรึกษา
ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สภากรรมการองคมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่และทำการประชุมอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จึงได้มีการประกาศยก เลิกพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 เป็นผลให้องคมนตรีและสภากรรมการ องคมนตรีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นพ้นจากตำแหน่งไป

จวบจนรัชกาลปัจจุบัน ตามรัฐธรรม นูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ใช้บังคับอยู่ได้บัญญัติเกี่ยวกับคณะองคมนตรีไว้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี โดยการเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย และก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อเสียชีวิต ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง.

คณะองคมนตรีชุดปัจจุบัน
1.พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

2.นายเชาวน์ ณศีลวันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา กรรมการ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ฯลฯ

3.นายธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ที่ปรึกษาพิเศษขององค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฯลฯ

4.พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช อดีตประธานกรรมการบริษัทเครดิตอุตสาหกรรมสยาม จำกัด ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและเหรัญญิกมูลนิธิอานันทมหิดล ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

5.พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล ประธานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ รองประธานมูลนิธิโครงการหลวง ฯลฯ

6.พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

7.นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประธานกรรมการบริหารโครงการพัฒนาต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

8.พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล ที่ปรึกษาพิเศษขององค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

9.นายอำพล เสนาณรงค์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯลฯ

10.นายจำรัส เขมะจารุ อดีตประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล กรรมการกฤษฎีกา ฯลฯ

11.หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ อดีตราชเลขาธิการ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

12.หม่อมราชวงศ์เทพ เทวกุล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

13.นายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล กรรมการกฤษฎีกา

14.นายเกษม วัฒนชัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล กรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ฯลฯ

15.นายพลากร สุวรรณรัฐ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ฯลฯ

16.นายสวัสดิ์ วัฒนายากร อดีตตุลาการศาลปกครองสูงสุด ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล รองประธานกรรมการบริหารในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

17.พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

ศิริรัตน์ สาโพธิ์สิงห์/ เรื่อง
สำนักงานเลขาธิการองคมนตรี



    โดย : พี่เก่ง     เมื่อ : 3/11/2004 07:24 PM
 
 
   
 
ความคิดเห็นที่: 1
ตอบคำถาม

เงินเดือนองคมนตรีเท่าไหร่?

ประธานองคมนตรี 100,000 บาท
องคมนตรี 87,000 บาท

อายุราชการนานเท่าใด?

องคมนตรีปัจจุบัน มีอายุงานคือ จนกว่าจะถึงแก่อสัญกรรม เนื่องจากสมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ กราบบังคมทูลลาขอลาออกเพื่อดูแลสุขภาะ แต่ได้รับโปรดเกล้าฯให้พักรักษาตัวได้แต่ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนอสัญกรรม

เกียรติยศขององคมนตรีมีเท่าใด?

สำหรับคนไทย เป็นเกียรติอันสูงสุดในชีวิตที่ได้เข้ารับใช้เบื้องยุคลบาทอย่างใกล้ชิด
การคัดเลือกบุคคลดำรงตำแหน่งองคมนตรี เป็นพระราชอำนาจโดยพระราชวิจารณญาณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่เพียงพระองค์เดียว ผู้ที่จะได้รับโปรดเกล้าฯจะได้รับการจับตามองเป็นระยะเวลานานหลายๆปี เมื่อโอกาสอันสมควร ก็จะได้รับการโปรดเกล้าฯผ่านสำนักพระราชวัง

    โดย : พี่เก่ง     เมื่อ : 3/11/2004 07:34 PM
 
 
 
พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์ อายุ 61 ปี เคยเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร บิดาเป็นนายทหารเรือ คือ พล.ร.ต.แชน อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์
(http://www.numtan.com/nineboard/picupreply/2648-2-1110996851.gif)
พล.ร.อ.ชุมพล จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 13 เรียนต่อโรงเรียนนายเรือรุ่น 10 ผ่านการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่น 39 วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 26 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 40

ก่อนเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ เมื่อเดือนตุลาคม 2546 นั้น พล.ร.อ.ชุมพลผ่านประสบการณ์ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในกองทัพเรือ อาทิ ผู้บังคับการเรือหลวงตองปลิว เรือหลวงพระทอง เรือหลวงตาปี เป็นหัวหน้าแผนกยุทธการ รองเสนาธิการกองเรือดำนำ ผู้บัญชาการกองเรือป้องกันฝั่ง เขต 3 และเสนาธิการกองทัพเรือ

พล.ร.อ.ชุมพล เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2487 สมรสกับ พ.อ.หญิงทรรศนีย์ มีบุตร 2 คน บุตรชายเป็นนายทหารเรือ ได้แก่ เรือโทวรฐ ปัจจุสานนท์ และ น.ส.ปณิตา

องคมนตรีคนใหม่ มีเคล็ดลับในการรักษาสุขภาพด้วยการวิ่งออกกำลังกายวันละ 4 กิโลเมตร วิ่งมานานกว่า 30 ปีแล้ว


โดย ... นสพ. มติชน วันที่ 16 มีนาคม 2548



    โดย : น้ำตาล     เมื่อ : 16/03/2005 06:14 PM
 
 

ความคิดเห็นที่: 3
องคมนตรีคนใหม่



นายสันติ ทักราล อายุ 63 ปี อดีตดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา เป็นชาวแพร่ บิดามารดามีอาชีพขายผ้า เข้ามาเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ จากนั้นหันมาสนใจด้านกฎหมาย เรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน 2 เหตุผล คือ ชอบเป็นการส่วนตัวและญาติพี่น้องถูกโกง โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อจึงรู้สึกว่า "ไม่เป็นธรรม"

หลังสำเร็จ "นิติศาสตร์บัณฑิต" ศึกษาต่อเนติบัณฑิต ก่อนไปเป็นทนายความเนื่องจากมีอายุน้อยเกินกว่าจะสอบไปเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ

เมื่ออายุ 25 ปี สอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา ผ่านการอบรมจากสถาบันกฎหมายอเมริกาและกฎหมายระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา และทุนฝึกอบรมผู้พิพากษาศาลสหรัฐ

นายสันติดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา ประจำศาลต่างๆ อาทิ ผู้พิพากษาศาลแพ่ง ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง รองประธานศาลฏีกา จนกระทั่งเป็นประธานศาลฎีกา

หลังเกษียณอายุราชการ ยังเข้ารับตำแหน่งผู้พิพากษาภาษีอากรกลาง และได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นองคมนตรี


*** หาภาพในข่าวไม่มี ท่านใดมีช่วยโพสให้หน่อยนะคะ .... ขอบคุณมากๆ นะคะ :-)


โดย ... นสพ. มติชน วันที่ 16 มีนาคม 2548


    โดย : น้ำตาล     เมื่อ : 16/03/2005 06:29 PM
 
 


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 27-10-2006, 20:32
เยี่ยมมาก เดี๋ยวให้เด็ก ๆ ก้อบไปให้เพื่อน ๆ อ่าน...อิ๊บเล้ย...


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: THE THIRD WAY ที่ 27-10-2006, 20:48
ข้อสังเกตุ
พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์
ไม่น่าจะเคยดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารเรือครับ


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 21:37
ข้อสังเกตุ
พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์
ไม่น่าจะเคยดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารเรือครับ

 ขอบคุณครับ เดี๋ยวเช็คดูครับ คิดว่าไม่ใช่ตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือครับ  :!:  :slime_cool:


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 27-10-2006, 21:49
เส้นทางของ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ นั้น เรียกได้ว่า "เกือบได้" มาโดยตลอด

 ปี 2547 ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ก็พลาดเก้าอี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ให้แก่ พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์ เพราะได้แรงดันจาก พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ โสมาภา อดีต ผบ.ทร.
..................................................

ส่วนท่าน  พล.ร.อ.ชุมพล  ปัจจุสานนท์  นั้น  คงไม่จำเป็นต้องอธิบาย-ขยายความถึงคุณงามความดี  เพราะตำแหน่ง "แม่ทัพเรือ" สุดท้ายก่อนอำลาชีวิตราชการ นั่นย่อมเป็นสิ่งบ่งบอก

.................................................
ใน ๑๗ ก.ย.๔๗ เวลา ๑๐๕๐ พล.ร.อ.สมทัต อัตตะนันท์ ผบ.ทหารสูงสุด เดินทางมาประกอบพิธี เยี่ยมอำลากองทัพเรือ
ในโอกาสเกษียณอายุราชการ ณ ร.ล.นเรศวร ท่าเรือแหลมเทียน ฐท.สส. โดยมี พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์ ผบ.ทร.ให้การรับรอง


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองคมนตรี และคณะองคมตรีชุดปัจจุบัน ตค.2549
เริ่มหัวข้อโดย: THE THIRD WAY ที่ 27-10-2006, 22:47
ถูกต้องแล้วครับ
ขออภัย