ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 21-10-2006, 01:23



หัวข้อ: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 21-10-2006, 01:23
มีคนๆหนึ่ง แต่ดันไปอยู่สถาบัน golden retreiver เลยมีสมองแบบนี้

มันบอกว่า  งบประมาณของไทยกำลังถูกใช้เพื่อล้างสมองคนไทยให้เห็นดีเห็นงามกับเศรษฐกิจ......  กระทู้มันเลยถูกลบไปซะ

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว  ใครช่วยมาบอกหน่อยซิว่า โมเดลการพัฒนาประเทศไทย ถ้าไม่อิงเศรษฐกิจพอเพียง มันจะทำกันยังไง


จริงๆแล้ว มันมีวงจรอุบาทว์แบบที่ผมจะพูดถึงนี้แหละ  ในหลวงถึงได้บอกให้บริโภคอย่างพอเพียง

เอ็งมีกำลังผลิตเท่าไหร่ก็อย่าบริโภคให้เกินตัวนัก ไม่งั้นตาย 

อย่าพัฒนาเพื่อจะบริโภคให้เท่าคนอื่น แต่พัฒนาให้เรายืนด้วยตัวเองได้ ในความจำเป็นของเรา

แต่มันยังมีอุบาทว์วิปริตในบ้านในเมืองนี้  โดยมีผู้นำคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมาก่นด่าเล่นด้วยแรงทางการเมือง

ผมเห็นว่า เป็นอาเพศกลียุคอย่างชัดเจนที่สุด



การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ มันต้องค่อยเป็นค่อยไป

แต่การที่ผู้บริหารระดับสูงของประเทศ  ออกมาส่งสัญญาณเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ควรแล้ว

ขอสั้นๆก่อน  วงจรอุบาทว์ในประเทศไทยคืออะไร

๑ ประเทศไทยไม่มีปัญญาเพิ่มมูลค่าทรัพยากรอย่างชาญฉลาด จะโทษใครดีล่ะ ก็สังคมเรามันเป็นอย่างนี้มานานแล้ว

๒ ผู้บุกเบิกธุรกิจแบบไทยๆ (enterprenuer)
พวกนี้ ลืมตาขึ้นมาปั๊บก็อยากจะรวย ซึ่งไม่ผิด แต่บังเอิญคนไทยไม่มีปัญญาใช้ทรัพยากรให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
คนพวกนี้จึงต้องฉวยโอกาสที่มีอยู่  สร้างความรวยโดยการค้าขาย บ้างก็ส่งออก 

บ้างก็นำเข้า  เอาเงินออกนอกประเทศไปนำสินค้าเข้ามา แล้วมาขายคนไทยด้วยกัน ส่วนต่างเข้ากระเป๋าตัวเอง
คุ้นๆมั้ย  ไอ้หัวเหลี่ยมที่บูชากันนักหนา มันก็ทำแบบนี้

๓ กรรมของประเทศ ไอ้พวกพ่อค้านี้ พอมันรวยปั๊บ มันทำยังไง

เล่นการเมือง 

ไม่เคยคิดที่จะ พัฒนาคุณภาพคนทั้งทางสังคมและ know how เพื่อให้สามารถเพิ่มมูลค่าทรัพยากร
จะได้แข่งขันด้วยลำแข้งตัวเองได้ 

การพัฒนาคุณภาพของคนจริงๆต้องมาก่อน know how ซะอีก แต่ปัจจุบัน เก่งแต่โกงก็ได้ คนไทยกูก็จะเอาๆ
แบบนี้ เจริญยาก

ถ้าอยากให้ส่งออกแข็งๆ  พวกนายทุนทั้งหลายนั่นแหละต้องมาลงทุนในภาค high tech กันซะบ้าง
นี่ไม่เคยเห็นหัวคนรวยจะออกหน้าเลย  ไม่งั้น doctor ล้นประเทศ แต่ไม่มี innovation อะไรซักอย่างเลยครับ 

ประจวบเหมาะกับ
ประเทศผู้เจริญเกิดภาวะประชากรมีคุณภาพ ค่าจ้างแรงงานสูงสู้ไม่ไหว มันก็เลยมาล่าอาณานิคม FDI ในประเทศโลกที่สาม

ไอ้นักธุรกิจการเมืองพวกนี้ก็ตีปีกสิ

ยิ่งออกนโยบายกระตุ้นการบริโภค  ทุนต่างชาติยิ่งชอบ  พวกกูพ่อค้าก็ยิ่งกอบโกยเศษเนื้อต่างชาติได้มากขึ้น
ประชาชนจะฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย เสียสันดานแค่ไหน กูไม่สน เพราะกูจะรวยขึ้น
ฟองสบู่จะแตกเมื่อไหร่  กูก็รวยๆๆ

ไอ้หัวเหลี่ยมมันก็ทำแบบนี้เลย
ก่อนการเลือกตั้ง กพ49 มันออกรายการสรยุทธ์  พูดเองชัดๆว่ารากหญ้าเป็นหนี้ไม่เป็นไรหรอก เขาจะได้กระเสือกกระสนใช้หนี้ :slime_doubt:
แทนที่จะคิดพัฒนาคนก่อน เอาเงินไปให้ทีหลัง มันไม่ทำ เพราะกลัวการบริโภคจะตกต่ำ consumption based GDP  :slime_bigsmile:

แถมมันยังนำหุ้นส่วนต่างชาติมาบินขึ้นบินลงในน่านฟ้าไทย แบ่งกำไรออกนอกประเทศ

นี่หรือวะ คนที่พวกกองเชียร์บูชากันนักหนา


นี่ไง เศรษฐกิจพอเพียงจึงจำเป็น


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: so what? ที่ 21-10-2006, 01:38
กระทู้นี้ดีครับ

ประเทศเราจำเป็นต้องยึดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความอยู่รอดและเติบโตแบบมั่นคงถาวร เพราะคุณภาพเฉลี่ยของทรัพยากรมนุษย์ของเรายังด้อยกว่าอีกหลายๆประเทศในโลก แม้แต่ระดับเกาะเล็กๆอย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซีย ขืนจะดันทุรังไปเล่นบริโภคนิยมแข่งกับเขาอย่างเต็มรูปแบบก็คงเป็นได้แต่ฐานให้เขาเหยียบขึ้นไปแหละครับ  :mrgreen: :lol: :mrgreen:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 21-10-2006, 01:56
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับสิ่งที่พระธรรมปิฎก เคยเตือนประเทศนี้ประมาณว่า คนไทยรู้จักแต่จะบริโภคเอาอย่างฝรั่งกับญี่ปุ่นเขา แต่ไม่รู้จักมองอีกด้านว่า ฝรั่งกับญี่ปุ่นมันบริโภคได้ขนาดนั้น เพราะมันผลิตของเองเป็น ก็คือคนไทยพึ่งตัวเองยังไม่ได้ แต่ริอาจจะอยากมีแบบเขา (ไม่เจียมบอดี้) มันถึงได้จนดักดานกันทุกวันนี้ สักแต่ขายทรัพยากรธรรมชาติเปลี่ยนเป็นเงินตรา จะได้ไปมีของโก้หรูอย่างเขา

เวลานี้เมืองไทยเป็นเหมือน "หมาไล่งับเนื้อ" ส่งออกเท่าไร เพิ่มขึ้นปีละกี่สิบ % ทำไมมันไม่รวย ความเป็นอยู่ก็ไม่เห็นจะดีเท่าฝรั่งมังค่าสักทีวะ ครั้งหนึ่งประกาศจะเป็น hub ด้านการแพทย์ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องไปศูนย์สาธารณสุขคุณภาพต่างจากโรงพยาบาลที่เอาไปบริการต่างชาติลิบลับ กลายเป็นต่างชาติมีโอกาสใช้ทรัพยากรของประเทศแบบถูกๆ คนในประเทศแท้ๆกับขาดแคลน เป็นอะไรที่บิดเบี้ยวสุดๆ แปลว่า ต้องกลับมาคิดแล้วว่าเพราะอะไร??


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: อังศนา ที่ 21-10-2006, 08:18
(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/hummingbird.gif)..เคยฟังเทศน์ของพระธรรมปิฎก เรื่อง เราเป็นสังคมเน้นบริโภค เช่นกันค่ะ  :slime_worship:
ท่านว่าเราไม่เจริญเพราะสนับสนุนกันให้บริโภค มากกว่าสนับสนุนให้มีการผลิต

..จริงๆ แล้ว OTOP น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะเป็นการสนับสนุนให้มีการผลิต
แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เกิดการพัฒนาที่ตัวชาวบ้านผู้ผลิตอย่างแท้จริงไม่ว่าจะเป็น
การส่งเสริมความรู้ด้านการออกแบบ เทคโนโลยี่การผลิต หรือการตลาด

..ตามประสาคนไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ ข้าพเจ้ามักแปลกใจว่า คนไทยที่เก่งๆ  :slime_dizzy:
เรื่องประดิษฐ์คิดค้นมีมากมาย แต่ทำไมกลับหานายทุนไทยลงทุนยากจัง อย่างเรื่อง
KU Green (พึ่งจะอ่านจากในมติชนเช้านี้) ซึ่งเป็นโครงการแปรรูปมันสำปะหลังเป็น
ภาชนะบรรจุอาหารแทนโฟมของ ม. เกษตรศาสตร์ (เริ่มวิจัยปี ๓๘ จดสิทธิบัตรปี ๔๑)
ข้าพเจ้าเห็นว่าน่าสนใจ น่าสนับสนุน น่าลงทุนมากๆ แต่ก็ยังเป็นโครงการเล็กๆ อยู่เลย
ทั้งๆ ที่ภาวะขยะ/มลพิษกำลังเป็นปัญหาน่าวิตกของไทยและของโลกด้วย

ขออภัยหากจะเป็นการออกนอกประเด็นไปถึงการลงทุน ..เอาเป็นว่าข้าพเจ้าสนับสนุน  :slime_p:
การผลิตทีพอเพียงเลี้ยงดูโลกให้มีสุขภาวะโดยได้กำไรตามควรก็แล้วกัน.. อิอิ

(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/pink_flowers.gif)


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 21-10-2006, 08:52
เอ่อ จริงๆๆแล้ว ญี่ปุ่น เขาค่อนข้างขะพอเพียงอยู่แล้วค่ะ ไปถามเขาซิว่า คนนั้นมีเงินเก็บห้าล้านเยน เขายังเรียกคนนั้นว่าจนอยู่เลยค่ะ  :slime_bigsmile:

หนูว่า เศรษกิจพอเพียง เป็นประโยชน์ ทั้งในแง่ส่วนบุคคล และสังคมใหญ่ๆๆ ในแง่ส่วนบุคคล มันทำให้คนรู้จักมัธยัส อดออม และไม่เป็นหนี้เป็นสิน คุณภาพของคนดีขึ้น เมื่อคนมันดีขึ้น อะไรๆๆมันก็ดีขึ้นค่ะ

ส่วนในแง่สังคม อย่าให้พูดถึงเลย สังคมเราจะดีขึ้น ถ้าคนมันพัฒนาขึ้น อย่าไปคิดภาพรวมเลย หนูมองว่า เศรษกิจพอเพียงมันพัฒนาที่ตัวคนก่อน ก่อนที่ตะพัฒนาไปสู่สังคมใหญ่ อันนี้แระที่หนูคิดว่ามันสำคัญมากกว่า อภิมหาเมกกะ โปรเจคทั้งหลาย ที่กะจะยิ่งใหญ่ แต่ไม่ดูคุณภาพของคนก่อน  

 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 21-10-2006, 09:36
คนเราเพื่อท่านเหลี่ยม เค้าทำได้ขนาดนี้ เหรอ

อะไรที่มันดี มันถูกต้อง ยังไม่ยอมรับ เห็นผิดเป็นชอบ ก็ไม่รู้ว่า สังคมไทย ทำไมมันบิดเบี้ยวเช่นนี้แล้วครับ

เศรษฐกิจพอเพียง หน่ะ ควรจะเข้าใจให้ตรงกัน มีหลักการคล้ายๆ กัน แต่แต่ละคนใช้ไม่เหมือนกันได้ ปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเรา

ส่วนนโยบายของชาติก็เอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศเพราะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และยืนด้วยตัวเองอย่างมั่นคง แทบจะไม่มีที่ติ เพราะมันเหมาะกับประเทศไทยมาก

มันอยู่ที่คนจะเอาไปประยุคใช้ยังไง

นี่เพื่อท่านเหลี่ยมยังมาโจมตีนโยบายได้ขนาดนี้ มันคงไม่เจริญแน่

ถ้าคนที่อ้างเศรษฐกิจพอเพียง แล้วเอาไปใช้ผิดๆ มันต้องโทษที่คนครับ อย่าโทษนโยบาย เข้าใจไว้ด้วย


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 21-10-2006, 09:43
(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/hummingbird.gif)..เคยฟังเทศน์ของพระธรรมปิฎก เรื่อง เราเป็นสังคมเน้นบริโภค เช่นกันค่ะ  :slime_worship:
ท่านว่าเราไม่เจริญเพราะสนับสนุนกันให้บริโภค มากกว่าสนับสนุนให้มีการผลิต

..จริงๆ แล้ว OTOP น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะเป็นการสนับสนุนให้มีการผลิต
แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เกิดการพัฒนาที่ตัวชาวบ้านผู้ผลิตอย่างแท้จริงไม่ว่าจะเป็น
การส่งเสริมความรู้ด้านการออกแบบ เทคโนโลยี่การผลิต หรือการตลาด
 

ผมคิดว่า OTOP เป็นส่วนที่เล็กมากๆ และยังไม่รู้ว่ามันจะเกิดผลในโลกความจริงขนาดไหน เพราะ
1. ต้องไม่ลืมว่า ความตั้งใจจริงของ OTOP คือให้คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกร เวลาส่วนใหญ่ต้องทุ่มไปกับอาชีพหลักของเขาก่อน จะให้ปุบปับละทิ้งอาชีพเขามาทำ OTOP ทันทีทันใดมันเป็นไปไม่ได้ ก็ทำให้ผลิตได้แค่จำนวนน้อย
2. เมื่อผลิตได้จำนวนน้อย ต้นทุนมันสูงอยู่แล้ว แล้วจะไปตั้งราคาขายสู้กับใคร? และสมมติได้ต้นทุนถูกแต่คุณผลิตได้ไม่กี่ชิ้น แล้วจะต้องขายนานเท่าไรกว่าจะคืนทุน? ผมเคยไปดูเขาผลิตโคมไฟ สวยมากครับ ใกล้ๆกทม.นี่เอง ไปถึงบ้าน กำลังนั่งปะ นั่งดัดอะไรกันอยู่ พอแกล้งถามราคาส่งดู ก็ต้องหนีแล้วครับ บวกขนส่ง ภาษีนำเข้าไปอีก จะไปขายใคร จะกระจายสินค้าออกไปได้ไง หัวหน้ากลุ่มบอกว่า จะให้เพิ่มกำลังผลิตมากกว่านี้เพื่อลดต้นทุน เขาก็ไม่กล้าเสี่ยงกู้หนี้ยืมสิน เขาไม่อยากเอาอนาคตสามีและลูกไปเสี่ยง จะผลิตน้อยก็ไม่พอยาไส้ จบเลยครับ
4. เพราะถ้าประสบความสำเร็จจริง ทำไมที่ผ่านมาต้องไปเอาตัวเลขบริษัทผลิตของมานานแล้ว เอามาโปะ แล้วตัวเลขจริงๆที่เป็นระดับตำบลจริงๆจะเหลือเท่าไร
5. ทักษิณที่เป็นต้นกำเนิดไอเดียนี้ เป็นนักธุรกิจก็จริง แต่ผ่านแต่การทำธุรกิจสัมปทานผูกขาด ฟาดค่าคอม แต่ไม่เคยผลิตเอง หรือไม่ก็แข่งขันน้อยรายแล้วตัวเองครองตลาด 70% ประวัติในอดีตก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเจอคู่แข่งน่ากลัว ทักษิณจะ "หนี" ทันที เช่น เคเบิ้ลทีวี คืออะไรที่ต้องแข่งขันตัวต่อตัว กูไม่ได้เปรียบคนอื่นสุดๆ กูก็ไม่ทำ ........ เห็นอะไรอย่างหนึ่งไหมครับ? ถามว่าแล้วสินค้าประเภทนี้ มีไทยวิเศษถึงขนาดผลิตอยู่เจ้าเดียวในโลกหรือ?
6. เริ่มต้นก็เป็นการไปสร้างความหวังว่า ทำ OTOP แล้วจะรวยเร็วๆ มันก็ผิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปหมดแล้ว

จะเห็นว่า โครงการส่งเสริมศิลปาชีพต่างๆ ที่เดิมมีอยู่แล้ว ไม่ได้มุ่งหวังให้คนไทยรวยทันตา หรือละทิ้งอาชีพตัวเอง ไม่เคยมีเลย แต่บอกให้พอเพียงก่อน มีเวลาเหลือ หรือวัตถุดิบเหลือ จึงค่อยมาผลิตเป็นรายได้เสริมครับ

จริงๆถ้าพวกนักการเมือง ข้าราชการ ทั้งหลายแหล่ มีความพอเพียง ไม่โลภ ไม่โกง ทำตามหน้าที่ตัวเอง คำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศเป็นหลัก ประเทศไทยก็ไปได้แล้ว

สิ่งที่พระธรรมปิฎก สั่งสอน คือ ท่านพูดในระดับ macro เลย ไม่ได้ให้คนไทยต้องผลิตเป็นมันทุกอย่างไปหมด แต่อะไรที่มันต้องใช้แต่เราผลิตไม่ได้ ก็ต้องบันยะบันยัง แล้วพยายามพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง(ถ้ามันมีแววว่าเรามีศักยภาพ) ให้มันยืนด้วยตัวเองให้ได้ ไม่ใช่ซื้อลูกเดียว ดูอย่างจีนแดง ที่มันสร้างรถไฟฟ้า รถแม่เหล็ก มันไม่ใช่อยู่ดีๆไปเรียกฝรั่งมาประมูลสร้าง จ่ายเงิน แล้วก็จบ (แบบเมืองไทยทำ) แต่มันพยายามต่อรอง ส่งคนตัวเองไปเรียนรู้ พยายามพัฒนาคุณภาพคน เพื่อสักวันมันจะได้พึ่งตัวเองได้มากที่สุด คือ พอเพียง

พวกที่พูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงในแง่ลบ เวลานี้น่ะ ควรต้องรู้ไว้ว่า คนที่ชื่นชอบเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้ชื่นชอบเพราะตามกระแสรักพ่อ แต่เพราะเห็นว่าในหลวงทรงมีพระอัจฉริยภาพ พระบรมราโชวาท พระราชดำริ ทั้งหลายที่พระองค์ท่านพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย เป็นสิ่งที่มีเหตุผล และพระองค์ท่านก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วผ่านโครงการพระราชดำริต่างๆที่พระองค์ท่านทรงสร้าง ตลอด 60 ปี ทั้งในด้านการพัฒนาชนบท และการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น ฝนเทียมที่พระองค์ทรงจดสิทธิบัตร เทคนิการป้องกันน้ำท่วมต่างๆ ฯลฯ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 09:55
สมเป็นพ่อพระเอกลิเกจริงจริง เจ้าตัวหยุดสามวันก็เปิดกระทู้อัดมันซะเลย พระเอกรุมเค้าเรียกว่าพิทักษ์คุณธรรมใช่มั้ย
ถ้าผู้ร้ายรุมดันเรียกว่าห-มาหมู่ แบบนี้มาตรฐานพระเอกเค้าเลย

มาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มันควรเป็นเรื่องจากข้างล่างขึ้นไปใช่มั้ย จะเน้นเริ่มต้นจากปัจเจกมาเป็นชุมชนไม่ใช่เหรอ
ถ้าแต่ละคนในชุมชนเริ่มต้นไม่เท่ากัน มียังไม่พอ พอแล้ว เกินพอ อยู่ก่อนจะเริ่มนโยบายหละ จะทำยังไง คนที่เป็น
หนี้มาแต่เก่าก่อน ต้องถูกสมน้ำหน้าที่ไม่เจียมตัว เหมือนในกระทู้ก่อนหน้าที่เปิดล่อเป้าเหรอ คนที่ไม่มีหนี้มาก่อนถึง
จะทำพอเพียงได้เหรอ คนที่ขาด ยังไม่พอ เป็นหนี้ ย่อมต้องการโอกาสในการทำมาหากินมากกว่า เพื่อจะได้ขยับ
ฐานะให้อยู่ในจุดพอแล้วใช่มั้ย จึงจะพอเพียงได้ ถ้ารัฐเล่นมาพอเพียงซะเองจากข้างบนลงมา รัฐจะรู้ได้ยังไงว่าจุด
ไหนคือจุดที่ควรจะพอเพียง ถ้ากำหนดว่าเจริญขึ้นแค่นี้ก็พอแล้ว GDP ขึ้นซะหน่อยไม่ถอยหลัง ไม่ต้องลงทุนเมกะ
โปรเจคท์ใหญ่ๆ ในประเทศให้มากนัก ก็พอเพียง อย่างที่บอกทุกวันนี้ แล้วมันเกิดยังไม่พอเพียงสำหรับคนข้างล่าง
หละ คนข้างล่างจะถูกด่าถูกซ้ำเติมอีกหรือเปล่าว่าไปก่อหนี้ทำไม ทำไมไม่รู้จักพอเพียง อ้าวแล้วเป็นความผิดของ
รัฐบาลก่อนหรือไงที่ไปให้โอกาสมีบ้านมีกิจการเป็นของตนเองโดยการกู้ หรือเป็นความผิดของคนกู้ที่ไปเชื่อรัฐบาล
ก่อน ผลออกมาคือคนกลุ่มนี้หมดโอกาสพอเพียงซะแล้ว เพราะรัฐบาลใหม่ปิดโอกาสด้วยเกณฑ์ความพอเพียงที่
กำหนดเอง

รัฐควรทำหน้าที่ให้ความรู้เรื่องความพอเพียงแก่ประชาชน แต่รัฐก็ควรจะปล่อยให้เศรษฐกิจโตไปตามธรรมชาติ ใน
ลักษณะที่ต้องส่งเสริมด้านอินฟราฯ ก็คือยังไงก็ต้องเมกะโปรเจคท์นั่นเอง ไม่จำเป็นต้องไปบรอนไซประเทศด้วยการ
โฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกวันนี้ มันมาผิดทางชัดๆ สมควรโดนด่า พยายามบอกว่ารัฐบาลที่แล้วทำเกินตัว จริงๆ ไม่ใช่
เพราะประชาชนยังไม่พอต่างหาก ที่เกินตัวมันสมัยชวน 1 โน่น กู้เงินต่างประเทศซี้ซั้วเข้ามากินดอกเบี้ยในนี้นั่นแหละ
ของแท้ หลังจากปี 40 ทุกอย่างมันไม่พอ รัฐก็จัดให้ เยอะขนาดนี้ก็ยังไม่พอ เพราะคนยังไม่อยู่ดีกินดีไม่มีหนี้สินไง
ยังต้องการโอกาสอย่างมาก ดร.เคนอิจิ โอมาเอะ นักเขียนระดับโลกชาวญี่ปุ่น เขียนหนังสือเรื่อง “โลกไร้พรมแดน”
บอกว่ารัฐบาลที่ฉลาดจะต้องรู้จักหาเงินที่มีอยู่มากมายในโลกมาใช้ในการพัฒนาประเทศ และ เก็บเงินภาษีประชาชน
ไว้ใช้ด้านการบริหารและสวัสดิภาพ สวัสดิการประชาชน เพื่อจะได้ไม่เก็บภาษีสูงเกินไป ประชาชนควรจะพอเพียงใน
ขณะที่รัฐไม่ควรจะพอเพียง จนกว่าประเทศจะเข้าจุดสมดุล

ผู้ที่เอาคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้หวังผลทางการเมืองก็คือรัฐบาลชุดปัจจุบันนั่นเอง ความจริงนโยบายรัฐจะทำอะไร
ไม่ต้องเอาคำว่าพอเพียงมาแปะหรอก ทำให้มันเต็มที่ของมัน แล้วสอนให้ประชาชนรู้จักพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง
เอามาเป็นนโยบายรัฐ คงต้องมาตีความ หาจุดพอเพียงกันอุตลุต จะยิ่งทำความเสื่อมเสียให้กับทฤษฎีเข้าไปใหญ่ เหมือน
กับมากำหนดเรื่องศีลห้ามฆ่าสัตว์เป็นรายละเอียดว่าแค่ไหนเรียกว่าสัตว์ ถ้าบอกว่าเฉพาะที่มีวิญญาณแล้วจะพิสูจน์ยังไง
เถียงไปเถียงมาเลิกนับถือศาสนาพุทธกันพอดีหาว่ามั่วไม่กำหนดให้ชัด ก็จะไม่ฆ่าสัตว์ก็คิดไว้ว่าไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนมัน
ก็จบแล้วจะฆ่าเชื้อโรคเหยียบมดอะไรไปก็ช่างแม่มใช่มั้ย ไม่ต้องทะลึ่งไปคิดมาก แต่ถ้ามากำหนดเป็นนโยบายเศรษฐกิจ
มันก็ต้องมาคิดมากมากำหนดขอบเขต มันสมควรมั้ย คำว่าพอเพียงปัจเจกก็มีสามัญสำนึกรู้กันเองอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะไม่
เท่ากัน แต่ก็เป็นเหตุผลของแต่ละคน ใครสมควรโดนด่าพอมองออกหรือยัง พ่อพระเอกลิเก ลองไปอ่านพระราชดำรัส
วันที่ 4 ธันวาคม 48 อย่างละเอียดสิ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 21-10-2006, 09:58
มาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มันควรเป็นเรื่องจากข้างล่างขึ้นไปใช่มั้ย

แค่เริ่มต้นก็ออกทะเลแล้ว


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:02
มาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มันควรเป็นเรื่องจากข้างล่างขึ้นไปใช่มั้ย

แค่เริ่มต้นก็ออกทะเลแล้ว
ถ้าคิดว่าเข้าใจถูกให้เอาหลักฐานมายัน อย่ามั่วครับ คุณไทยตุ๊ด


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 21-10-2006, 10:07
มาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มันควรเป็นเรื่องจากข้างล่างขึ้นไปใช่มั้ย

แค่เริ่มต้นก็ออกทะเลแล้ว
ถ้าคิดว่าเข้าใจถูกให้เอาหลักฐานมายัน อย่ามั่วครับ คุณไทยตุ๊ด

เศรษฐกิจพอเพียง เขาไม่ได้บอกให้ใช้กับคนจน แต่ใช้ได้กับคนทุกระดับ คุณเล่นกล่าวหาคนอื่นก่อน แล้วมาถามหาหลักฐานแกล้งเซ่อ ถามหน่อยคุณชอบแถคุณเป็นลูกผู้ชายหรือเปล่า

อยากรู้ว่าจะลดหนี้ยังไง นี่เลย โทรไปขอคำปรึกษาจาก วีระ ธีรภัทร FM97 บ่าย 2 โมงครึ่ง ไม่งั้นก็อย่ามาบ่น เป็นหนี้ ๆ ๆ ๆ ๆ ทำไมพอเพียงไม่ได้ซะที มันอยู่ที่ใจคุณเอง ก็เขาชี้ทางสว่างให้หมดแล้ว คุณกลับไปด่าเขา ก็สมควรแล้ว


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:09
มาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มันควรเป็นเรื่องจากข้างล่างขึ้นไปใช่มั้ย

แค่เริ่มต้นก็ออกทะเลแล้ว
ถ้าคิดว่าเข้าใจถูกให้เอาหลักฐานมายัน อย่ามั่วครับ คุณไทยตุ๊ด

เศรษฐพอเพียง เขาไม่ได้บอกให้ใช้กับคนจน แต่ใช้ได้กับคนทุกระดับ คุณเล่นกล่าวหาคนอื่นก่อน แล้วมาถามหาหลักฐานแกล้งเซ่อ ถามหน่อยคุณชอบแถคุณเป็นลูกผู้ชายหรือเปล่า

อยากรู้ว่าจะลดหนี้ยังไง นี่เลย โทรไปขอคำปรึกษาจาก วีระ ธีรภัทร FM97 บ่าย 2 โมงครึ่ง ไม่งั้นก็อย่ามาบ่น เป็นหนี้ ๆ ๆ ๆ ๆ ทำไมพอเพียงไม่ได้ซะที มันอยู่ที่ใจคุณเอง ก็เขาชี้ทางสว่างให้หมดแล้ว คุณกลับไปด่าเขา ก็สมควรแล้ว

ข้างล่างคือประชาชน ข้างบนคือรัฐ อย่ามั่ว ไม่มีคนรวย คนจน


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:16
This applies to conduct starting from the level of the families, communities,...


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 21-10-2006, 10:18
ก็ถูกแล้วนี่ ศก.พอเพียงต้องทำจากทุกระดับ
รัฐอยากทำ ศก.พอเพียง แต่ประชาชนไม่รู้เรื่องไม่คิดจะอยู่อย่างพอเพียง
ทำให้ตายกันอีก 10ชาติก็ไม่เห็นผล
ประชาชนอยู่อย่างพอเพียง รัฐกลับทำตรงกันข้ามยิ่งแย่ไปกันใหญ่

ถามจริง แถเนี่ย ไม่รู้ โง่หรือยังแกล้งบ้าอยู่ ถึงยังไม่รู้ว่า ศก.คืออะไร


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 21-10-2006, 10:19
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

      •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
      •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
      •  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ •  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ  
•  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ  
•  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล  


•  เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

•  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ  
•  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต  

•  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 21-10-2006, 10:19
ผมจะบอกคุณชอบแถ อะไรให้อย่าง แม้แต่ตัวคุณเองคุณยังไม่รู้เลยว่า คุณจะดำรงชีวิตไปเพื่ออะไร คุณรู้แต่อยาก อยาก อยาก แล้วก็อยาก แต่คุณแยก "ความอยาก" จาก "ความจำเป็น" ไม่ได้ คุณจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังอะไรแก่ชีวิตคุณเองไม่ได้ แล้วคุณจะมีความสามารถอะไรไปแนะนำรัฐบาล


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 21-10-2006, 10:21
หนูไม่เข้าใจที่คุณชอบแถ กล่าวมา งง หรือความรุหนูไม่ถึง จึงเข้าใจยากจัง
 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:24
ผมจะบอกคุณชอบแถ อะไรให้อย่าง แม้แต่ตัวคุณเองคุณยังไม่รู้เลยว่า คุณจะดำรงชีวิตไปเพื่ออะไร คุณรู้แต่อยาก อยาก อยาก แล้วก็อยาก แต่คุณแยก "ความอยาก" จาก "ความจำเป็น" ไม่ได้ คุณจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังอะไรไม่ได้ แล้วคุณจะมีความสามารถอะไรไปแนะนำรัฐบาล
จะพาไปน่านน้ำไหนครับ ผมจะดำรงชีวิตเพื่ออะไรมันอยู่ทะเลประเทศไหน ความอยากกับความจำเป็น มีเกณฑ์อะไร border line มันกว้าง
อย่ายกตัวอย่างแบบนี้ มันเถียงไม่จบ ถามว่าสีม่วงที่เห็นมีสีน้ำเงินหรือแดงมากกว่ากัน


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 21-10-2006, 10:30
เอ่อ ถ้าคุณ ชอบแถ แยก ความอยาก กับความจำเป็น ไม่ออก

หนูว่า มันเหมือนกับ ให้แยกระหว่างสี่ขาว กับสีดำนะค่ะ  ฮี่ๆๆๆ   :slime_v:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 21-10-2006, 10:31
รัฐควรทำหน้าที่ให้ความรู้เรื่องความพอเพียงแก่ประชาชน ...
ถูกต้องครับ
รัฐบาลนี้และรัฐบาลใหนๆเขาก็ทำกันทั้งนั้น
แต่รัฐบาลทักษิณละเลยเรื่องนี้
เพราะมัวแต่ยุยงส่งเสริมให้รากหญ้าเข้าไปสู่วงจรอุบาทก์ที่มุ่งแต่บริโภคนิยม และวัตถุนิยม
 :mozilla_yell:

... รัฐบาลที่ฉลาดจะต้องรู้จักหาเงินที่มีอยู่มากมายในโลกมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ...
แต่รัฐบาลทักษิณกลับบเอาเงินที่มีอยู่มากมายในโลกมามอมเมารากหญ้าและประชาชนถ้วนทั่วหน้า
 :mozilla_surprised:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:32
เอ่อ ถ้าคุณ ชอบแถ แยก ความอยาก กับความจำเป็น ไม่ออก

หนูว่า มันเหมือนกับ ให้แยกระหว่างสี่ขาว กับสีดำนะค่ะ  ฮี่ๆๆๆ   :slime_v:
รถคันหนึ่งอยากหรือจำเป็น หรือทั้งสองอย่าง ถ้าจำเป็นตัดออปชั่นให้หมดเกียร์ธรรมดา ล้อเหล็ก
ถ้าทั้งอยากทั้งจำเป็นอ้างว่าเผื่อขายต่อก็เอา full option ชัดมั้ย



หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 21-10-2006, 10:33
ผมจะบอกคุณชอบแถ อะไรให้อย่าง แม้แต่ตัวคุณเองคุณยังไม่รู้เลยว่า คุณจะดำรงชีวิตไปเพื่ออะไร คุณรู้แต่อยาก อยาก อยาก แล้วก็อยาก แต่คุณแยก "ความอยาก" จาก "ความจำเป็น" ไม่ได้ คุณจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังอะไรไม่ได้ แล้วคุณจะมีความสามารถอะไรไปแนะนำรัฐบาล
จะพาไปน่านน้ำไหนครับ ผมจะดำรงชีวิตเพื่ออะไรมันอยู่ทะเลประเทศไหน ความอยากกับความจำเป็น มีเกณฑ์อะไร border line มันกว้าง
อย่ายกตัวอย่างแบบนี้ มันเถียงไม่จบ ถามว่าสีม่วงที่เห็นมีสีน้ำเงินหรือแดงมากกว่ากัน

ไม่ได้พาไปไหนหรอกครับ ก็อยู่น่านน้ำนี้นั่นแหละ มันอยู่ที่คุณต้องพิจารณาตัวเอง รู้กำลังความสามารถตัวเอง เช่น เมื่อคุณจะซื้ออะไร จะทำอะไร คุณต้องนึกให้รอบคอบว่า คุณบริโภคไปแล้ว ลงทุนไปแล้ว คุณไม่เดือดร้อน คุณไม่ต้องไปหยิบยืมคนอื่น  หรือถ้า "จำเป็น" ต้องทำจริงๆ มีทางอื่นอีกไหมที่จะไม่ต้องหยิบยืมคนอื่น หรือยืมให้น้อยที่สุด ขีดความสามารถคุณที่จะทนต่อวิกฤตหากสถานการณ์พลิกผันกะทันหัน มันอยู่ตรงไหน นั่นเป็นสิ่งที่คุณต้องตอบตัวเอง จะไปถามหา border line จากคนอื่นได้ไง คุณนั่นแหละที่ต้องรู้ตัวเอง

ถ้าคุณรู้ borderline ของคุณเองจริง  คุณคงไม่มานั่งบ่นเรื่องเป็นหนี ก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียงหรอก จริงไหม คุณชอบแถ  .... "ศิลปะ" มันต้องมีควบคู่ไปกับ "วิทยาศาสตร์"

ของพวกนี้มันไม่จำเป็นต้องเป็นพุทธศาสนิก เป็นคริสตชน หรือมุสลิม อะไรเลย ไม่จำเป็นต้องไปคิดให้มันซับซ้อนอะไรเลย อย่างที่เขาบอกว่า ใช้ธรรม ใช้เหตุผล นำหน้า ก็จบแล้ว


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:34
รัฐควรทำหน้าที่ให้ความรู้เรื่องความพอเพียงแก่ประชาชน ...
ถูกต้องครับ
รัฐบาลนี้และรัฐบาลใหนๆเขาก็ทำกันทั้งนั้น
แต่รัฐบาลทักษิณละเลยเรื่องนี้
เพราะมัวแต่ยุยงส่งเสริมให้รากหญ้าเข้าไปสู่วงจรอุบาทก์ที่มุ่งแต่บริโภคนิยม และวัตถุนิยม
 :mozilla_yell:

... รัฐบาลที่ฉลาดจะต้องรู้จักหาเงินที่มีอยู่มากมายในโลกมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ...
แต่รัฐบาลทักษิณกลับบเอาเงินที่มีอยู่มากมายในโลกมามอมเมารากหญ้าและประชาชนถ้วนทั่วหน้า
 :mozilla_surprised:
เอาอคติ ออกพิจารณาแต่ข้อเท็จจริงมั่ง พ่อคู้ณ

ตรงนี้ไงอคติ ยุยงส่งเสริมให้รากหญ้าเข้าไปสู่วงจรอุบาทก์ที่มุ่งแต่บริโภคนิยม และวัตถุนิยม


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Apothecarian ที่ 21-10-2006, 10:35
พ่อเหลี่ยมไม่ชอบพอเพี่ยง ท่องเป็นอย่างเดียว เอาอีกๆๆๆ รวยขึ้นๆๆๆ โกงก็ไม่เป็นไร โยนเศษเงินให้ทานหน่อยก็มีคนเทิดทูน
ลูกๆพ่อเหลี่ยมก็เห็นตาม

แต่เหลี่ยมไม่ใช่พ่อทุกคนนะ

ให้มันรู้ไปว่าเมืองไทยใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ เพราะจะทำให้ท่านแถไม่มีปัญญาใช้หนี้...




หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:38
ไม่ได้พาไปไหนหรอกครับ ก็อยู่น่านน้ำนี้นั่นแหละ มันอยู่ที่คุณต้องพิจารณาตัวเอง รู้กำลังความสามารถตัวเอง เช่น เมื่อคุณจะซื้ออะไร จะทำอะไร คุณต้องนึกให้รอบคอบว่า คุณบริโภคไปแล้ว ลงทุนไปแล้ว คุณไม่เดือดร้อน คุณไม่ต้องไปหยิบยืมคนอื่น  หรือถ้า "จำเป็น" ต้องทำจริงๆ มีทางอื่นอีกไหมที่จะไม่ต้องหยิบยืมคนอื่น หรือยืมให้น้อยที่สุด ขีดความสามารถคุณที่จะทนต่อวิกฤตหากสถานการณ์พลิกผันกะทันหัน มันอยู่ตรงไหน นั่นเป็นสิ่งที่คุณต้องตอบตัวเอง จะไปถามหา border line จากคนอื่นได้ไง คุณนั่นแหละที่ต้องรู้ตัวเอง

ถ้าคุณรู้ borderline ของคุณเองจริง  คุณคงไม่มานั่งบ่นเรื่องเป็นหนี ก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียงหรอก จริงไหม คุณชอบแถ

ถ้าคุณเช่าบ้านอยู่เดือนละ สามพัน แล้วมีโอกาสกู้ซื้อบ้านได้โดยผ่อนจ่ายเดือนละ สี่พัน นี่คือ อยาก หรือ จำเป็น
ถ้าไม่กู้ซื้อ เดือนหนึ่งต้องจ่ายสามพัน เก็บยังไงชาตินี้ก็ไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของบ้าน ถ้าสี่พัน อาจจะโหนรายได้
นิดหน่อย คนกู้ต้องตัดสินเอง แต่ส่วนมากจะไม่ได้มองความมั่นคงของงาน และอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

กระทู้พูดถึงส่วนรวมไม่ใช่เหรอ ผมไม่ได้เป็นหนี้อะไรใครหรอกนะ แค่ล่อเป้าเอง จริงๆ ยังรวยอยู่
จะให้ผู้ร้ายคนเดียวสู้กับพระเอกสิบคนเลยเหรอ ผดุงคุณธรรมมากไปป่าว


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 21-10-2006, 10:40
เอ่อ ถ้าคุณ ชอบแถ แยก ความอยาก กับความจำเป็น ไม่ออก

หนูว่า มันเหมือนกับ ให้แยกระหว่างสี่ขาว กับสีดำนะค่ะ  ฮี่ๆๆๆ   :slime_v:
รถคันหนึ่งอยากหรือจำเป็น หรือทั้งสองอย่าง ถ้าจำเป็นตัดออปชั่นให้หมดเกียร์ธรรมดา ล้อเหล็ก
ถ้าทั้งอยากทั้งจำเป็นอ้างว่าเผื่อขายต่อก็เอา full option ชัดมั้ย


รถคันหนึ่ง จำเป็นต้องใช้ไหม หรือแค่อยากจะซื้อ ชัดไหมค่ะ

หรือเอาง่ายๆๆ ดิฉันอยากจะซื้อรถเข็นเพื่อคนพิการ แต่คนพิการจำเป็นต้องใช้รถเข็น ชัดไหมค่ะ

หรืออีกอย่าง คุณชอบแถ คุณจำเป็นต้องส่งลูกเรียนแต่ส่งเข้า รร แน่นอน รร.อะไรก็ได้ เพื่อให้เขามีการศึกษา แต่คุณอยากส่งลูกเข้าเรียน โรงเรียน นานาชาติ แต่ชัดไหมค่ะ

 :slime_v: :slime_v:

ที่นี้แยกออกยัง ระหว่าง คำว่า อยาก กับ จำเป็น แหมม พูดไปได้ไง ออฟชั่นของรถ รถไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้ เมื่อมันมีรถเมล์บริการทั่วไทย


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 21-10-2006, 10:40
สมเป็นพ่อพระเอกลิเกจริงจริง เจ้าตัวหยุดสามวันก็เปิดกระทู้อัดมันซะเลย พระเอกรุมเค้าเรียกว่าพิทักษ์คุณธรรมใช่มั้ย
ถ้าผู้ร้ายรุมดันเรียกว่าห-มาหมู่ แบบนี้มาตรฐานพระเอกเค้าเลย

 :slime_smile2:  คำพูดเหมือนบทละครจักรๆวงศ์ๆ แบบนี้แหละลิเกขึ้นสมองของจริง

เออจริงด้วยเป็นวันหยุดยาว  ผมเองก็จะมีเวลาว่างช่วงนี้แหละ  อยากให้หลายๆคนมาคุยกันว่าโมเดลของประเทศเรา มันควรจะเป็นยังไง
ไม่ใช่ทำตัวเป็นเหมือน กาลกิณี  เอาเศรฐกิจพอเพียงมาด่าๆๆๆอย่างเดียว

คุณแถเขียนยาวชิปเป๋ง หลอกให้พวกผมเสียเวลาจับประเด็นรึ

เอาเป็นว่าผมไม่ทิ้งกระทู้แน่นอน  ขอให้ทั้งสองฝ่ายเคี้ยวกันให้มันส์ไปพลางๆก่อนนะครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:43
สมเป็นพ่อพระเอกลิเกจริงจริง เจ้าตัวหยุดสามวันก็เปิดกระทู้อัดมันซะเลย พระเอกรุมเค้าเรียกว่าพิทักษ์คุณธรรมใช่มั้ย
ถ้าผู้ร้ายรุมดันเรียกว่าห-มาหมู่ แบบนี้มาตรฐานพระเอกเค้าเลย

 :slime_smile2:  คำพูดเหมือนบทละครจักรๆวงศ์ๆ แบบนี้แหละลิเกขึ้นสมองของจริง

เออจริงด้วยเป็นวันหยุดยาว  ผมเองก็จะมีเวลาว่างช่วงนี้แหละ  อยากให้หลายๆคนมาคุยกันว่าโมเดลของประเทศเรา มันควรจะเป็นยังไง
ไม่ใช่ทำตัวเป็นเหมือน กาลกิณี  เอาเศรฐกิจพอเพียงมาด่าๆๆๆอย่างเดียว

คุณแถเขียนยาวชิปเป๋ง หลอกให้พวกผมเสียเวลาจับประเด็นรึ

เอาเป็นว่าผมไม่ทิ้งกระทู้แน่นอน  ขอให้ทั้งสองฝ่ายเคี้ยวกันให้มันส์ไปพลางๆก่อนนะครับ
เขียนยาวๆนี่เนื้อทั้งนั้นกลั่นออกจากสมองถั่วนะเนี่ย


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 21-10-2006, 10:44
สมเป็นพ่อพระเอกลิเกจริงจริง เจ้าตัวหยุดสามวันก็เปิดกระทู้อัดมันซะเลย พระเอกรุมเค้าเรียกว่าพิทักษ์คุณธรรมใช่มั้ย
ถ้าผู้ร้ายรุมดันเรียกว่าห-มาหมู่ แบบนี้มาตรฐานพระเอกเค้าเลย

 :slime_smile2:  คำพูดเหมือนบทละครจักรๆวงศ์ๆ แบบนี้แหละลิเกขึ้นสมองของจริง

เออจริงด้วยเป็นวันหยุดยาว  ผมเองก็จะมีเวลาว่างช่วงนี้แหละ  อยากให้หลายๆคนมาคุยกันว่าโมเดลของประเทศเรา มันควรจะเป็นยังไง
ไม่ใช่ทำตัวเป็นเหมือน กาลกิณี  เอาเศรฐกิจพอเพียงมาด่าๆๆๆอย่างเดียว

คุณแถเขียนยาวชิปเป๋ง หลอกให้พวกผมเสียเวลาจับประเด็นรึ

เอาเป็นว่าผมไม่ทิ้งกระทู้แน่นอน  ขอให้ทั้งสองฝ่ายเคี้ยวกันให้มันส์ไปพลางๆก่อนนะครับ

เจ้าของกระทู้หนีเอาตัวรอดแบบนี้ หนุก็หนีไปด้วยดีกว่า ฮี่ๆๆๆ  :slime_v:

โชคดีนะพี่ ไททรูท  :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:45
รถคันหนึ่ง จำเป็นต้องใช้ไหม หรือแค่อยากจะซื้อ ชัดไหมค่ะ

หรือเอาง่ายๆๆ ดิฉันอยากจะซื้อรถเข็นเพื่อคนพิการ แต่คนพิการจำเป็นต้องใช้รถเข็น ชัดไหมค่ะ

หรืออีกอย่าง คุณชอบแถ คุณจำเป็นต้องส่งลูกเรียนแต่ส่งเข้า รร แน่นอน รร.อะไรก็ได้ เพื่อให้เขามีการศึกษา แต่คุณอยากส่งลูกเข้าเรียน โรงเรียน นานาชาติ แต่ชัดไหมค่ะ

 :slime_v: :slime_v:

ที่นี้แยกออกยัง ระหว่าง คำว่า อยาก กับ จำเป็น แหมม พูดไปได้ไง ออฟชั่นของรถ รถไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้ เมื่อมันมีรถเมล์บริการทั่วไทย
แสดงอย่างชัดเจน ว่าคุณมีความเป็นอยู่อย่างสบาย


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 21-10-2006, 10:49
หนูมีความเป็นอยุ่อย่างพอเพียงค่ะ  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

ถ้าเรียกว่า สบาย หนูก็ยอมรับ  :slime_v:



หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 21-10-2006, 10:49
ไม่ได้พาไปไหนหรอกครับ ก็อยู่น่านน้ำนี้นั่นแหละ มันอยู่ที่คุณต้องพิจารณาตัวเอง รู้กำลังความสามารถตัวเอง เช่น เมื่อคุณจะซื้ออะไร จะทำอะไร คุณต้องนึกให้รอบคอบว่า คุณบริโภคไปแล้ว ลงทุนไปแล้ว คุณไม่เดือดร้อน คุณไม่ต้องไปหยิบยืมคนอื่น  หรือถ้า "จำเป็น" ต้องทำจริงๆ มีทางอื่นอีกไหมที่จะไม่ต้องหยิบยืมคนอื่น หรือยืมให้น้อยที่สุด ขีดความสามารถคุณที่จะทนต่อวิกฤตหากสถานการณ์พลิกผันกะทันหัน มันอยู่ตรงไหน นั่นเป็นสิ่งที่คุณต้องตอบตัวเอง จะไปถามหา border line จากคนอื่นได้ไง คุณนั่นแหละที่ต้องรู้ตัวเอง

ถ้าคุณรู้ borderline ของคุณเองจริง  คุณคงไม่มานั่งบ่นเรื่องเป็นหนี ก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียงหรอก จริงไหม คุณชอบแถ

ถ้าคุณเช่าบ้านอยู่เดือนละ สามพัน แล้วมีโอกาสกู้ซื้อบ้านได้โดยผ่อนจ่ายเดือนละ สี่พัน นี่คือ อยาก หรือ จำเป็น
ถ้าไม่กู้ซื้อ เดือนหนึ่งต้องจ่ายสามพัน เก็บยังไงชาตินี้ก็ไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของบ้าน ถ้าสี่พัน อาจจะโหนรายได้
นิดหน่อย คนกู้ต้องตัดสินเอง แต่ส่วนมากจะไม่ได้มองความมั่นคงของงาน และอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

กระทู้พูดถึงส่วนรวมไม่ใช่เหรอ ผมไม่ได้เป็นหนี้อะไรใครหรอกนะ แค่ล่อเป้าเอง จริงๆ ยังรวยอยู่
จะให้ผู้ร้ายคนเดียวสู้กับพระเอกสิบคนเลยเหรอ ผดุงคุณธรรมมากไปป่าว

จะบอกว่าถ้ามีทักษิณอยู่เศรษฐกิจจะไม่มีวันตกต่ำ ว่างั้น?

ผมขอไม่เชื่อก็แล้วกัน มันไสยศาสตร์ไปหน่อย..  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:51
หนูมีความเป็นอยุ่อย่างพอเพียงค่ะ  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

ถ้าเรียกว่า สบาย หนูก็ยอมรับ  :slime_v:
ทายถูกเพราะหนูไปพูดถึงรถเมล์ไง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 21-10-2006, 10:52

จะให้ผู้ร้ายคนเดียวสู้กับพระเอกสิบคนเลยเหรอ ผดุงคุณธรรมมากไปป่าว


ผู้ร้ายเก่งๆ พวกพระเอกเขาต้องรุมค่ะ ไม่งั้นสู้ไม่ได้
เขาอยากชนะ ไม่สนใจวิธีการหรอก บอกทีไร โกรธทีนั้น
แล้วก็สำทับว่าคุณอยากเข้ามาถิ่นพวกเขาเอง
ดังนั้นอย่ามาสำออย

 :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Apothecarian ที่ 21-10-2006, 10:54

[/quote]
ถ้าคุณเช่าบ้านอยู่เดือนละ สามพัน แล้วมีโอกาสกู้ซื้อบ้านได้โดยผ่อนจ่ายเดือนละ สี่พัน นี่คือ อยาก หรือ จำเป็น
ถ้าไม่กู้ซื้อ เดือนหนึ่งต้องจ่ายสามพัน เก็บยังไงชาตินี้ก็ไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของบ้าน ถ้าสี่พัน อาจจะโหนรายได้
นิดหน่อย คนกู้ต้องตัดสินเอง แต่ส่วนมากจะไม่ได้มองความมั่นคงของงาน และอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

กระทู้พูดถึงส่วนรวมไม่ใช่เหรอ ผมไม่ได้เป็นหนี้อะไรใครหรอกนะ แค่ล่อเป้าเอง จริงๆ ยังรวยอยู่
จะให้ผู้ร้ายคนเดียวสู้กับพระเอกสิบคนเลยเหรอ ผดุงคุณธรรมมากไปป่าว
[/quote]

ที่แท้... ท่านแถก็เป็นพวกคนรวยที่ห่วงใยคนจน ชอบคิดแทนชาวบ้าน อืมม เหมือนท่านพ่อเหลี่ยมเลยเนอะ น่าจะไปอยู่ลอนดอนด้วยกันซะเลย

ไอ้พวกคนรวย บ้าวัตถุนิยมเนี่ย มันจะรู้มั้ยนะว่าคำว่า "พอเพียง" มีความหมายยิ่งใหญ่ มากกว่า บ้าน, รถ, เงินทอง เป็นไหนๆ



หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 21-10-2006, 10:55
เอ่อ ถ้าคุณ ชอบแถ แยก ความอยาก กับความจำเป็น ไม่ออก
หนูว่า มันเหมือนกับ ให้แยกระหว่างสี่ขาว กับสีดำนะค่ะ  ฮี่ๆๆๆ   :slime_v:

คุณใบไม้ทะเล ครับ
เขาควรจะกลับไปทำความเข้าใจกัคำว่า NEED และ  WANT ครับ
จะได้เข้าใจว่าอะไรเป็น NEEDS ที่แท้จริงของแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม
แล้วเขาจะได้เข้าใจคำว่า "พอเพียง" ได้อย่างถูกต้อง

 :)


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Neoconservative ที่ 21-10-2006, 10:55
เฮ้อ พอ หรือ ไม่พอ ก็แล้วแต่

หากพิจารณาแล้วว่า เป็นการกระทำ ที่ ไม่มีผลกระทบ ให้ ผู้อื่นเดือดร้อน

ไม่ทำให้ตนเองและ ครอบครัวเดือดร้อน ไม่ทำให้ประเทศชาติเดือดร้อน

ก็มี ความชอบธรรม ที่จะทำกันไป ตาม ศักยะภาพ ของแต่ละคน

สิ่งสำคัญ คือการให้ความรู้ อย่างทั่วถึง

เพื่อให้คนไทย ตัดสินใจ กระทำการใดๆ ที่ไม่ทำให้ ชาติบ้านเมืองและคนในชาติ ต้องเดือดร้อน

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:56
จะบอกว่าถ้ามีทักษิณอยู่เศรษฐกิจจะไม่มีวันตกต่ำ ว่างั้น?

ผมขอไม่เชื่อก็แล้วกัน มันไสยศาสตร์ไปหน่อย..  :slime_hmm:
เอาทางวิทยาศาสตร์แล้วกัน ทักษิณอยู่ เศรษฐกิจ ขึ้นหรือลงก็ได้
แต่ผู้เฒ่าอยู่ เศรษฐกิจ ถ้าขึ้นก็ถูกจำกัดขอบเขตไว้อย่าขึ้นมากเดี่ยวดัชนี happy ไม่สวย แต่ถ้าลงดันไม่ระบุว่าจะทำยังไง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 10:57
เอ่อ ถ้าคุณ ชอบแถ แยก ความอยาก กับความจำเป็น ไม่ออก
หนูว่า มันเหมือนกับ ให้แยกระหว่างสี่ขาว กับสีดำนะค่ะ  ฮี่ๆๆๆ   :slime_v:

คุณใบไม้ทะเล ครับ
เขาควรจะกลับไปทำความเข้าใจกัคำว่า NEED และ  WANT ครับ
จะได้เข้าใจว่าอะไรเป็น NEEDS ที่แท้จริงของแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม
แล้วเขาจะได้เข้าใจคำว่า "พอเพียง" ได้อย่างถูกต้อง

 :)
กลัวภาษาไทยผมไม่กระดิกหูหรือไง ผมเนี่ยะ wants ทุกวันเลยนะ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 21-10-2006, 11:01
พระเอกมักจะคิดว่า ตัวเองเป็นคนร้ายสำหรับนางเอกค่ะ  ละครเรื่องนี้ นางเอกชื่อว่า พอเพียง

มีคนมารุมล้อม รักพอเพียงเยอะมาก ใครๆๆก็อยากได้พอเพียง ใครๆๆก็รักพอเพียง  :slime_smile2:

แต่พระเอกเกิดความหมั่นใส้นางเอกขึ้นมา เลยขออยุ่ฝ่ายตรงข้ามกับพอเพียง เพื่อให้พอเพียงได้สนใจในตัวเขา บ้าง

แต่จนแล้วจนรอด พอเพียงก็ยังไม่หันไปมองพระเอกในคราบของผู้ร้ายสักที  :slime_v:


จบตอน โปรดติดตามตอนต่อไป ว่า พระเอกแต๊ๆ (จขกท)จะมาช่วยพอเพียง อย่างไร


แตร๊นๆๆๆ แตร๋นๆๆๆๆๆๆ พักโฆษณา งับ  :slime_v: :slime_v:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 21-10-2006, 11:02
จะบอกว่าถ้ามีทักษิณอยู่เศรษฐกิจจะไม่มีวันตกต่ำ ว่างั้น?
ผมขอไม่เชื่อก็แล้วกัน มันไสยศาสตร์ไปหน่อย..  :slime_hmm:
เอาทางวิทยาศาสตร์แล้วกัน ทักษิณอยู่ เศรษฐกิจ ขึ้นหรือลงก็ได้
แต่ผู้เฒ่าอยู่ เศรษฐกิจ ถ้าขึ้นก็ถูกจำกัดขอบเขตไว้อย่าขึ้นมากเดี่ยวดัชนี happy ไม่สวย แต่ถ้าลงดันไม่ระบุว่าจะทำยังไง

อคติหรือเปล่าครับชอบแถ  
 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 21-10-2006, 11:04
จะบอกว่าถ้ามีทักษิณอยู่เศรษฐกิจจะไม่มีวันตกต่ำ ว่างั้น?

ผมขอไม่เชื่อก็แล้วกัน มันไสยศาสตร์ไปหน่อย..  :slime_hmm:
เอาทางวิทยาศาสตร์แล้วกัน ทักษิณอยู่ เศรษฐกิจ ขึ้นหรือลงก็ได้
แต่ผู้เฒ่าอยู่ เศรษฐกิจ ถ้าขึ้นก็ถูกจำกัดขอบเขตไว้อย่าขึ้นมากเดี่ยวดัชนี happy ไม่สวย แต่ถ้าลงดันไม่ระบุว่าจะทำยังไง

ก็ไม่มีปัญหาอะไรนี่ ถ้าจะโตช้าหน่อย
เอาแต่เศรษฐกิจโตอย่างเดียวปัญหาสังคมไม่สนใจมันก็แย่สิ

เคยเห็นคนมีเงินเยอะแต่ไม่มีความสุขมั้ย :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 21-10-2006, 11:09
แถบอกว่า (นี่ใช้เวลาตั้งนานหาแก่นในเนื้อนะเนี่ย)  :mrgreen:

รัฐต้องไม่พอเพียงต้องปล่อยให้เศรษฐกิจโตไปตามธรรมชาติ  ส่วนด้านการบริโภครัฐต้องให้ความรู้ประชาชนรู้จักพอเพียง

ผมแปลได้ว่า

แถ คิดว่า การที่ไทยเราใช้ทุนต่างชาติเป็นเครื่องช่วยหายใจ มีเงินมาหมุนกินใช้อยู่ทุกวันนี้ ดีแล้ว ??

แถเลยคิดว่า  นโยบายรัฐต้องเป็นแบบกุมไข่ ไม่งั้นเดี๋ยวนายทุนถอดเครื่องช่วยหายใจออก เราจะตายใช่ป่ะ

เอาเถอะครับ
วิธีทำให้ไทยหายใจด้วยตัวเองได้  พูดไปก็เหมือนไก่กับไข่

แต่ผมถามว่า  ถ้าไม่เริ่มวันนี้แล้วจะรอถึงเมื่อไหร่  ถ้ากลุ่มผู้นำประเทศไม่เป็นผู้ผลักดัน  แล้วจะให้ผีที่ไหนมาผลักเล่าครับ

เดี๋ยวมีมาต่อ ใจเย็นๆ.................


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 21-10-2006, 11:14
เอ่อ ถ้าคุณ ชอบแถ แยก ความอยาก กับความจำเป็น ไม่ออก
หนูว่า มันเหมือนกับ ให้แยกระหว่างสี่ขาว กับสีดำนะค่ะ  ฮี่ๆๆๆ   :slime_v:
คุณใบไม้ทะเล ครับ
เขาควรจะกลับไปทำความเข้าใจกัคำว่า NEED และ  WANT ครับ
จะได้เข้าใจว่าอะไรเป็น NEEDS ที่แท้จริงของแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม
แล้วเขาจะได้เข้าใจคำว่า "พอเพียง" ได้อย่างถูกต้อง
 :)
กลัวภาษาไทยผมไม่กระดิกหูหรือไง ผมเนี่ยะ wants ทุกวันเลยนะ

ด้วยเหตุนี้เองประเทศเราจึงต้องเผชิญกับปัญหาร้อยแปดครับ
จะทำอย่าไรดีหนอจึงจะทำให้คนบางคนหันกลับมาสำรวจ NEEDS ที่แท้จริงของตัวเอง
จะได้ไม่วิ่งตามกระแสของสังคมและแฟชั่นต่างๆมากจนเกินไป


 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 21-10-2006, 11:34
คุณ ชอบแถ เค้าไม่ฟังใครหรอก ครับ อย่าพยายามกันเลย

เรามาดูว่ามีคน ก่นด่า เศรษฐกิจพอเพียง จริงหรือเปล่า

ว่าเค้าเข้าใจ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแบบใหนมากกว่านะครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 21-10-2006, 11:45
ที่ชอบแถกล่าวไว้ว่า

รัฐควรทำหน้าที่ให้ความรู้เรื่องความพอเพียงแก่ประชาชน แต่รัฐก็ควรจะปล่อยให้เศรษฐกิจโตไปตามธรรมชาติ ใน
ลักษณะที่ต้องส่งเสริมด้านอินฟราฯ ก็คือยังไงก็ต้องเมกะโปรเจคท์นั่นเอง  ไม่จำเป็นต้องไปบรอนไซประเทศด้วยการ
โฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกวันนี้ มันมาผิดทางชัดๆ สมควรโดนด่า พยายามบอกว่ารัฐบาลที่แล้วทำเกินตัว จริงๆ ไม่ใช่
เพราะประชาชนยังไม่พอต่างหาก ที่เกินตัวมันสมัยชวน 1 โน่น กู้เงินต่างประเทศซี้ซั้วเข้ามากินดอกเบี้ยในนี้นั่นแหละ
ของแท้ หลังจากปี 40 ทุกอย่างมันไม่พอ รัฐก็จัดให้ เยอะขนาดนี้ก็ยังไม่พอ เพราะคนยังไม่อยู่ดีกินดีไม่มีหนี้สินไง
ยังต้องการโอกาสอย่างมาก  ดร.เคนอิจิ โอมาเอะ นักเขียนระดับโลกชาวญี่ปุ่น เขียนหนังสือเรื่อง “โลกไร้พรมแดน”
บอกว่ารัฐบาลที่ฉลาดจะต้องรู้จักหาเงินที่มีอยู่มากมายในโลกมาใช้ในการพัฒนาประเทศ และ เก็บเงินภาษีประชาชน
ไว้ใช้ด้านการบริหารและสวัสดิภาพ สวัสดิการประชาชน เพื่อจะได้ไม่เก็บภาษีสูงเกินไป ประชาชนควรจะพอเพียงใน
ขณะที่รัฐไม่ควรจะพอเพียง จนกว่าประเทศจะเข้าจุดสมดุล




ผมของแถบ้างว่า

1.เมกกะโปรเจค คือ การอัดฉีดงบประมาณขนาดใหญ่ หรือ อาจเรียกว่ารับใช้ลักษณะ งบประมาณขาดดุล คือ งบประมาณที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ ใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล และลดภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการให้เศรษบกิจเจริญเติบโตตามธรรมชาตินะจ๊ะ เข้าใจผิดแล้วนะจ๊ะ ถ้าเป็นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ น่าจะเป็นแนวคิดของ สำนัก classic มากกว่านะจ๊ะ
 การทำงานของกลไกตลาด (Market Mechanism)

แนวคิดของกลไกตลาดประกอบด้วย  2  ประเด็น คือ

             1. การปล่อยให้เอกชนดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเสรี จึงทำให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุด  รัฐเข้าไปแทรกแซงน้อยที่สุด

             2. การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์โดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ (Economic Man)  จึงคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดเป็นหลัก (Profit  Maximization) จึงทำให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุดโดยอัตโนมัติ (Social Benefit)

ระบบเศรษฐกิจเสรี    มีกลไกที่สำคัญ 2  กลไก  คือ

                   1. กลไกการแข่งขัน (Competitive Mechanism)

                   2. กลไกการปรับเสถียรภาพอัตโนมัติ (Automatic Stability)

1. กลไกการแข่งขัน  (Competitive Mechanism)

      กลไกการแข่งขันจะทำให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุดใน 4 อย่าง

              1.1 ทำให้เกิดการจัดสรรสินค้าและบริการตรงกับความต้องการของสังคมและผู้บริโภคโดยอัตโนมัติ (Allocation Function)

              1.2 ส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต (Efficiency function)

              1.3 ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Factor Utilization Function)

              1.4 ทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth Function)

       ดังนั้น  กลไกตลาด  จะทำให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุดจริงหรือไม่ ?   จึงสรุปได้ว่า   ผู้ประกอบการจะยืนอยู่ในระบบเศรษฐกิจได้จะต้องผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด เช่น การผลิตรถยนต์ สถานการณ์ความต้องการของผู้บริโภคจะเริ่มเปลี่ยนไปโดย จะหันมาชอบรถยนต์คันเล็ก ๆ กินน้ำมันน้อย ๆ เป็นรถยนต์ที่ใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศมาก ดังนั้น ผู้ผลิตก็ต้องหันมาผลิตรถยนต์ตามความต้องการของลูกค้าโดยการผลิตรถยนต์ฮอนด้า,   โตโยต้า  เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ กลไกตลาดจะเป็นตัวบอกว่า ผู้ผลิตควรผลิตอะไร ? เป็นต้น

       การทำงานของกลไกตลาดหากมองแต่ประสิทธิภาพอย่างเดียวจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากลไกรัฐ เพราะว่า กลไกตลาดกระจายอำนาจไปให้ผู้บริโภค แต่ กลไกรัฐนั้น เน้นการวางแผนแบบรวมศูนย์จากส่วนกลาง (Centralization Planing) จนทำให้เกิดภาวะ Over Supply หรือ Under Supply (ผลิตมากเกินไปหรือน้อยเกินไป) นั่นเอง แต่มองในแง่ความเป็นธรรม (Equity) กลไกตลาดจะสู้กลไกรัฐไม่ได้ ความเป็นธรรมต้องให้รัฐฯจัดสรร เช่น การศึกษา สาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นต้น ดังนั้น การส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตกลไกตลาดจะทำให้เกิดการแข่งขันในด้านประสิทธิภาพ ทำให้เกิด Innovation ใหม่ ๆ เนื่องจากหากผลิตสินค้าไม่ดี มีราคาแพงก็จะอยู่ไม่ได้
    ปัจจุบัน ตลาดส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีการแข่งขันสูง แต่ที่มีการผูกขาดมักเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเองหรือให้สัมปทาน No Barriers to entry สินค้ามีราคาสูงขึ้น

การผูกขาด
 No Barriers to entry คือ การผูกขาดโดยรัฐ เป็นการกระทำของรัฐบาลทำให้ไม่มีคู่แข่งรายใหม่เกิดขึ้น  หากเป็นภาคเอกชน การประกอบกิจการที่มีกำไรมาก จะทำให้เกิดคู่แข่งรายใหม่ขึ้น เป็นการลดการผูกขาด    ตัวอย่างเช่น  OPEC ไม่สามารถจะผูกขาดได้เนื่องจาก หลายประเทศสามารถผลิตน้ำมันเองได้ เพียงแต่ต้นทุนสูงกว่าเท่านั้น หาก OPEC ผูกขาด แต่ละประเทศก็จะเร่งผลิตน้ำมันในประเทศของตนขึ้นมาทำให้ OPEC ไม่สามารถขายได้ต้องลดราคาลงมา หรือ  OREC (การร่วมมือการค้าข้าว) เป็นต้น

      นอกจากนี้  กลไกตลาด ทำให้เกิดการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเมื่อประสิทธิภาพในการผลิตเกิดขึ้น จะทำให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประโยชน์สูงสุด หรือการใช้ปัจจัย 3 M นั่นเอง และยังนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะ เมื่อมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้ GDP/GNP สูงขึ้น  สังคมก็จะได้รับประโยชน์สูงสุด (Social Benefit)


2. กลไกการปรับเสถียรภาพอัตโนมัติ (Automatic Stability)

 เมื่อระบบเศรษฐกิจของประเทศขาดเสถียรภาพ สำนัก Classic เชื่อว่า “กลไกตลาด จะค่อย ๆ ปรับตัวให้เกิดเสถียรภาพอัตโนมัติและปัญหาเหล่านี้จะหายหรือหมดไปในระยะยาว อาจเรียกว่า มือที่มองไม่เห็น       ( Invisible Hand ) “  ดังนั้น  จึงทำให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุดเช่นกัน

สำหรับ เมกะโปรเจค น่าจะเป็นแนวคิดแบบ สำนัก เคนส์ มากกว่านะจ๊ะ
 
นักเศรษฐศาสตร์ยุคก่อนหน้าเคนส์ ให้ความสำคัญกับระบบตลาดเสรี และคัดค้านการเข้าไปแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ ของภาครัฐบาล โดยพวกเขาเหล่านั้นเชื่อว่า การทำงานอย่างเสรีของระบบตลาด จะทำให้ระบบเศรษฐกิจบรรลุถึงประสิทธิภาพ และสวัสดิการสูงสุด การเข้าไปแทรกแซงระบบเศรษฐกิจของรัฐบาล รังแต่จะทำให้สิ่งต่างๆ บิดเบือน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ระดับประสิทธิภาพ และสวัสดิการที่ลดลง
แต่เคนส์มีความเชื่อว่า ความคิดของนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มดังกล่าวมีความผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่ระบบเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะตกต่ำ
ในช่วงเวลาดังกล่าวตลาดแรงงาน ไม่สามารถบรรลุถึงระดับค่าจ้างที่ต่ำมาก จนสามารถดึงดูดให้นายจ้าง ทำการจ้างงานแรงงานทั้งหมดได้ นอกจากนั้นระบบเศรษฐกิจโดยรวม ยังขาดอุปสงค์หรือกำลังซื้อในตัวสินค้า ซึ่งจะส่งผลกระทบมาสู่ตลาดแรงงานในอีกทอดหนึ่ง ผลก็คือเกิดการว่างงานขึ้นอย่างมากมายในระบบเศรษฐกิจ
อุปสงค์โดยรวมของระบบเศรษฐกิจ มักขาดเสถียรภาพในตัวของมันเอง โดยมันอาจจะปรับตัวไปหยุดอยู่ในตำแหน่ง ที่จะทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือสภาวะเศรษฐกิจเติบโตได้ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าไม่มีการแทรกแซงจากทางรัฐบาล อุปสงค์โดยรวมของระบบเศรษฐกิจ ก็อาจจะไปหยุดอยู่ในตำแหน่งที่จะทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตลอดไปได้
ภาครัฐบาลจึงควรจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มปริมาณอุปสงค์โดยรวม โดยการเพิ่มความต้องการซื้อสินค้า จะทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว ซึ่งส่งผลให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้ผู้คนในระบบมีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้นได้ในท้ายที่สุด

ดังนั้น ชอบแถ ต้องแยกแยะให้ออกก่อนนะจ๊ะ อย่าเอามาปนกันมั่วซั่วนะจ๊ะ


2.แล้วชอบแถ จะวัดความพอใจของผุ้บริโภคยังไงละจ๊ะ ที่บอกว่าไม่พอ จนรับต้องใช้มาตรการขาดดุล ซึ่งจริงๆแล้วการที่รับบาลต้องเข้าไปดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจและการจัดสรรความเป็นอยู่ในชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นก็เป้นหน้าที่ปกติของรัฐบาลอยู่แล้ว ดังนี้นะจ๊ะ
ระบบเศรษฐกิจและจุดมุ่งหมายในการดำเนินการทางเศรษฐกิจของรัฐบาล 

  รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนภายในประเทศ ในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจตามหลักความมีเหตุผลทางเศรษฐกิจ (Economic Rationality) ของหน่วยเศรษฐกิจแล้ว โดยกำหนดให้ราคา ต้นทุน และข้อจำกัดอื่นในขณะนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ผู้บริโภค (Consumer) จะพยายามแสวงหาอรรถประโยชน์ใส่ตัวให้มากที่สุด (Utility Maximization) โดยมุ่งบริโภคสินค้าให้มากที่สุด ผู้ผลิต (Producer) จะมุ่งหากำไรสูงสุด โดยไม่คำนึงถึงผลตกต้องต่างๆที่ตกแก่ผู้บริโภคและสังคมโดยรวมขณะที่รัฐบาลจะดำเนินการทางเศรษฐกิจโดยมุ่งให้ประชาชนได้รับสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงสุด (Economic Welfare Maximization) หรือการให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดี (Well Being) มีมาตรฐานในการครองชีพ (Standard of living) ที่สูง ซึ่งจะวัดมาตรฐานด้วยปริมาณและมาตรฐานของสินค้าในรูปของปัจจัย 4 ถ้าผู้บริโภคภายในประเทศมีรายได้สูงเพียงพอสำหรับซื้อสินค้าที่มีมาตรฐานดีได้ในปริมาณที่มากเพียงพอ จะถือว่ามาตรฐานในการครองชีพของประชาชนในประเทศนั้นสูง
 นอกจากรัฐบาลใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนโดยออกกฎหมาย เพื่อควบคุมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในประเทศแล้วรัฐบาลยังมีกฎหมายป้องกันการละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (property right) รวมทั้งมีอำนาจครอบงำและหวงกัน การใช้ทรัพยากรที่ไม่มีเจ้าของเพื่อเป็นการป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสภาพนิเวศวิทยา
เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายให้ประชาชนกินดีอยู่ดีและมีมาตรฐานในการครองชีพที่สูง โดยไม่เน้นการแสวงหาผลกำไรจากการดำเนินการทางเศรษฐกิจของรัฐบาล รัฐบาลจึงเข้าแทรกแซงการดำเนินควบคุมดูแล (Regulation) การดำเนินการขององค์กรธุรกิจในการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยในการบริโภครวมทั้งป้องกันการใช้อำนาจเหนือตลาด (Dominant Power) แก่ผู้ผลิตรายอื่นในตลาดในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม

 รัฐบาลยังถือว่า ประชาชนยังเป็นผู้ที่ไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่ดีและเลวออกจากกันได้ (Ignorance) ในการผลิตและบริโภคสินค้า จึงออกกฎหมายและระเบียบบังคับพร้อมทั้งบทลงโทษโดยมีหน่วยงานของทางการเป็นผู้ควบคุมดูให้ปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย   
            นอกจากการควบคุมดูแล (Regulation) ดังกล่าวข้างต้นแล้วรัฐบาลอาจลดการกำกับดูแลองค์กรเอกชน (Deregulation) ในการเข้าดำเนินการในธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตและผู้ขายมากขึ้นซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการ เช่น กรณีธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุน (Finance Company) ทำธุรกิจบางอย่างได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ และถ้ามีการขยายกิจการหรือการเพิ่มทุนของบริษัทเงินทุนโดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถยกฐานะขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ได้ ในกรณีของธนาคารธนชาติ การบังคับให้บริษัทจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ต้องเป็นบริษัทมหาชน (Public Company) เพื่อป้องกันการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใช้อำนาจครอบงำการดำเนินงานการเปิดเสรีทางสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้เกิดการแข่งขันในกิจการโทรศัพท์มือถือและกิจการวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น   

 สำหรับประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยและมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบเศรษฐกิจแบบผสม สภาพแวดล้อมทางสังคมที่อยู่ในระบบอุปถัมภ์ (Patron - Client) และระบบทุนนิยมพรรคพวก (Crony Capitalism) ซึ่งเอื้อผลประโยชน์ธุรกิจระหว่างกันภายในกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้อาจแสวงหาอำนาจทางการเมืองเพื่อใช้อำนาจรัฐในการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ดังที่นาย Anthony Downs ได้เสนอความคิดว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของรัฐบาล คือการแสวงหาการสนับสนุนทางการเมืองให้มากที่สุด วิธีการที่รัฐบาลจะได้เสียงสนับสนุน หรือคะแนนเสียง หรือความนิยมเพิ่มขึ้นหน่วยท้ายสุด (Marginal Vote gain) เท่ากับหรือพอดีกันกับเสียงสนับสนุนหน่วยสุดท้ายที่เสียไป (Marginal Vote loss) 

ศาสตราจารย์ ดร. ผาสุก   พงค์ไพจิตร  เรียกกระบวนการที่นักการเมืองใช้เงินเพื่อให้ตนเองได้เป็นรัฐมนตรีเพื่อจะได้ใช้อภิสิทธิ์จากตำแหน่งดำเนินการ และกำหนดนโยบายเอื้อให้ตนเองและพรรคพวกแสวงหารายได้ และกำไรให้คุ้มกับการลงทุนที่เกิดขึ้น   โดยเรียกว่า ธนกิจการเมือง (Money Politics) แหล่งรายได้สำคัญที่ทำธนกิจการเมือง คือ การเข้าเกาะกุมและจัดสรรค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent)1 ที่มีรูปแบบของใบอนุญาต (Government license) สัมปทาน (Concession) เงินอุดหนุน (Subsidy) และสิทธิพิเศษต่างๆ ที่อำนาจรัฐจะให้สิทธิทำให้นักการเมืองและพรรคพวก สามารถแสวงหากำไรในอัตราที่มากกว่าระดับปกติที่เกิดขึ้นในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ เช่น สิทธิพิเศษลดหย่อนภาษี การลดหย่อนค่าสัมปทาน การจำกัดคู่แข่งรายใหม่ไม่ให้เข้าสู่ตลาด การชะลอนโยบายที่มีผลเสียต่อบริษัทของนักการเมือง การดำเนินการของรัฐบาล โดยกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้น ทำให้สังคมไม่ได้รับสวัสดิการทางเศรษฐกิจที่สูงสุด (Sub optimum) และการกระจายรายได้ (income) และทรัพย์สิน (Wealth) ของบุคคลในสังคมมีความไม่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
 
ซึ่งชอบแถต้องบอกมาก่อนนะจ๊ะว่า ปชช ไม่พอ นี่คือ ไม่พออะไรนะจ๊ะ ไม่งั้นก็ตอบไม่ถูกเหมือนกัน ว่าไม่พออะไร แล้วต้องทำอย่างไรต่อไป

3.งบประมาณสมดุล คือ งบประมาณที่รายรับและรายจ่ายเท่ากัน ใช้เพื่อการจัดสรรทรัพยากรและเพื่อการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม นั้นคือ การเข้าสู่การใช้งบประมาณที่สมดุล

4.ผมยังไม่เคยได้ยินทฤษฎีไหนบอกว่า การที่ปชช มีหนี้มากๆ แสดงถึง ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือ แสดงถึงความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ถ้ามี ทฤษฎีนี้ อ้างอิง ขอให้ชอบแถ ช่วยนำมาแปะ ไว้ให้อ่านด้วยนะจ๊ะ ยังงง อยู่ว่า ลิ้วล้อทั้งหลายทำไมเชื่ออะไรตื้นๆแบบนั้น

 


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 21-10-2006, 12:29
อ่านกันหน่อยซิ จะได้เข้าใจ

หน้าแรก
http://www.sufficiencyeconomy.org/ (http://www.sufficiencyeconomy.org/)

กรอบแนวทางคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=55 (http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=55)

Q&A
http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=7 (http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=7)


มีให้อ่านกันตั้งเยอะ เห็นวิจารณ์กันไปโน่น บ้าบอขนาดว่า ถ้าพอเพียงจะไม่พัฒนา ไม่รู้ว่าเคยอ่านเคยทำความเข้าใจหรือเปล่า เค้าเรียนกันเป็นเรื่องเป็นราวแล้ว

http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=404 (http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=404)

วิชา สพ.700 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา :::
วิชา สพ.700 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา

 วิชา สพ.700 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเป็นวิชาเลือกที่นักศึกษาทุกหลักสูตรทั้ง นักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนได้เป็นวิชาเลือก นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่มีความสนใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชานี้ได้เช่นเดียวกับนักศึกษาของสถาบัน
 โดยวิชานี้สามารถจะช่วยเป็นแนวทางให้นักศึกษาที่สนใจพัฒนากรณีศึกษาหรือการศึกษาอิสระในลักษณะภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ในเรื่องของหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนักศึกษาจะได้สร้างความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมาด้วยตนเอง ทำให้ได้รับความรู้และการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อีกด้วย  นอกจากนี้จะทำให้นักศึกษาได้เรียนการศึกษาด้านการพัฒนาของสาขาวิชาอื่นเป็นพื้นฐานการสร้างวิสัยทัศน์การพัฒนาที่เป็นบูรณาการได้


หัวข้อและลักษณะวิชาโดยสังเขป
(ก) โครงสร้างและเนื้อหาปรัชญา
• ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
• เนื้อหาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
• เงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารจัดการที่ดี
• การดำเนินการขับเคลื่อน และประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(ข) การพัฒนาเศรษฐกิจกับเศรษฐกิจพอเพียง
• เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ : ตัวชี้วัด จุดเด่น จุดด้อย
• วิวัฒนาการของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย
• ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารเศรษฐกิจมหภาค
• ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์จุลภาค
(ค) การพัฒนาสังคมและชุมชนกับเศรษฐกิจพอเพียง
• กระบวนการทางสังคมและการจัดการทางสังคม
• การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาสังคมและชุมชน
(ง) การบริหารจัดการที่ดีกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
• แนวคิดและหลักปฏิบัติการบริหารจัดการที่ดีภาครัฐ (ธรรมาภิบาล)
• แนวคิดและหลักปฏิบัติการบริหารจัดการที่ดีภาคเอกชน (บรรษัทภิบาล)
• การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(จ) ความรู้เบื้องต้นเรื่องการบริหารความเสี่ยง
• ความหมายของความเสี่ยง และความไม่แน่นอน
• การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ
(ฉ) กรณีศึกษาการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
•    การบรรยายของวิทยากรภายนอกและการเสนอ
      รายงานของนักศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ปรัชญา
      ของเศรษฐกิจพอเพียง




ในความเข้าใจส่วนตัว ในทางพุทธ จะใช้คำว่า "ไม่ประมาท"


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 21-10-2006, 13:00
ขออภัย ที่จขกท. เขียนได้สับสน และไม่รู้ ไม่ได้เข้าใจ ภาพรวมดีพอ

ในระยะเฉพาะหน้าก็ต้องปล่อยให้เป็นไปอย่างที่เคยเป็นมา

นั่นคือพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติกันไปก่อน ที่ทุกวันนี้ร่อยหรอลงไปมากแล้ว
(รวมทั้งเรื่องการท่องเที่ยวนั่นด้วย)

ระยะยาวรัฐบาลไทยรักไทยวางแผนเอาไว้แล้วเสร็จสรรพ

และลงมือทำไปแล้วหลายๆอย่าง (ไปหาอ่านกันเอาเอง)

ในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอุตสาหกรรม

สิ่งเหล่านี้มันต้องใช้เวลา ไม่ใช่ดีแต่ปาก วาดวิมานปลอบประโลมชูใจ กันไปวันๆ

แต่ไม่มี ลำดับขั้นตอนในทางปฏิบัติ ก็เปล่าประโยชน์ เปลืองแอร์ เปล่าๆ


ที่จริงแนวคิดพวกนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมโลก เขาขยับปรับตัวกันไปมากแล้ว

แต่บ้านเรายังมะงุมมะงาหรา กันอยู่

เห็นได้จาก จขกท. ที่คิดอะไรสับสนปนเปกันไปหมด สิ่งที่บอกมาว่าควรจะทำน่ะ

ไทยรักไทยเขาทำกันไปหมดแล้วครับ พี่....


ส่วนเรื่องจับโยงกับเศรษฐกิจพอเพียง นั่นยิ่งไปกันใหญ่

ทุกวันนี้ผมก็ยังตั้งหน้าตั้งตารอดูอยู่ว่า เค้าจะเอามายำรวมกับ เศรษฐกิจมหภาค กันได้อย่างไร

หรือว่าเป็นเพียงถ้อยคำสอพลอ ไปอย่างนั้นเอง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 21-10-2006, 13:31
ทำไมไม่ลองเปิดดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติล่ะ ทั้งแผน 9 ทั้ง แผน 10

เค้าบูรณาการไว้ให้เรียบร้อยแล้ว พูดไปก็เหมือนตาบอดคลำช้าง พายเรือในอ่าง

http://www.nesdb.go.th/

ที่คุย ๆ กันมานี่ แสดงว่ายังไม่ได้ศึกษาแม้กระทั่ง "แผน 9 " มาจนเค้าออก "แผน 10" มาใช้แล้ว


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 13:36
จะบอกว่าถ้ามีทักษิณอยู่เศรษฐกิจจะไม่มีวันตกต่ำ ว่างั้น?

ผมขอไม่เชื่อก็แล้วกัน มันไสยศาสตร์ไปหน่อย..  :slime_hmm:
เอาทางวิทยาศาสตร์แล้วกัน ทักษิณอยู่ เศรษฐกิจ ขึ้นหรือลงก็ได้
แต่ผู้เฒ่าอยู่ เศรษฐกิจ ถ้าขึ้นก็ถูกจำกัดขอบเขตไว้อย่าขึ้นมากเดี่ยวดัชนี happy ไม่สวย แต่ถ้าลงดันไม่ระบุว่าจะทำยังไง
ก็ไม่มีปัญหาอะไรนี่ ถ้าจะโตช้าหน่อย
เอาแต่เศรษฐกิจโตอย่างเดียวปัญหาสังคมไม่สนใจมันก็แย่สิ
เคยเห็นคนมีเงินเยอะแต่ไม่มีความสุขมั้ย :slime_bigsmile:
เดี๋ยวนี้ cpu เป็น core 2 duo แล้ว หอยผู้เฒ่าทั้งหลายยังใช้ 8086 กับ dos มันก็ทำได้ทีละอย่างสิครับ

เศรษฐกิจโตแล้วก็แก้ปัญหาสังคมไปด้วยรัฐบาลหนุ่มๆ ทำได้สบาย


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 13:43
ที่ชอบแถกล่าวไว้ว่า
...
ผมของแถบ้างว่า

1.เมกกะโปรเจค คือ การอัดฉีดงบประมาณขนาดใหญ่ หรือ อาจเรียกว่ารับใช้ลักษณะ งบประมาณขาดดุล คือ งบประมาณที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ ใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล และลดภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการให้เศรษบกิจเจริญเติบโตตามธรรมชาตินะจ๊ะ เข้าใจผิดแล้วนะจ๊ะ ถ้าเป็นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ น่าจะเป็นแนวคิดของ สำนัก classic มากกว่านะจ๊ะ
 การทำงานของกลไกตลาด (Market Mechanism)
นี่มาพูดเรื่องเดียวกันหรือจะมาโชว์ตัดแปะครับ ถ้าอยากคุยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่มันไม่เกี่ยวเรื่อง รออาจานจ๊ะวันอังคารดีกว่ามั้ง
เมกาโปรเจคท์ ให้รัฐบาลจัดทำเพื่อเป็นระบบสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนจะได้ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง อย่างรถไฟฟ้า คนจะได้
ไม่ต้องไปซื้อรถส่วนตัว เพิ่งเรียนจบหรือยังไม่จบแล้วร้อนวิชาหรือไงครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 21-10-2006, 14:01
ขออภัย ที่จขกท. เขียนได้สับสน และไม่รู้ ไม่ได้เข้าใจ ภาพรวมดีพอ

ในระยะเฉพาะหน้าก็ต้องปล่อยให้เป็นไปอย่างที่เคยเป็นมา

นั่นคือพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติกันไปก่อน ที่ทุกวันนี้ร่อยหรอลงไปมากแล้ว
(รวมทั้งเรื่องการท่องเที่ยวนั่นด้วย)

ระยะยาวรัฐบาลไทยรักไทยวางแผนเอาไว้แล้วเสร็จสรรพ

และลงมือทำไปแล้วหลายๆอย่าง (ไปหาอ่านกันเอาเอง)

ในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอุตสาหกรรม

สิ่งเหล่านี้มันต้องใช้เวลา ไม่ใช่ดีแต่ปาก วาดวิมานปลอบประโลมชูใจ กันไปวันๆ

แต่ไม่มี ลำดับขั้นตอนในทางปฏิบัติ ก็เปล่าประโยชน์ เปลืองแอร์ เปล่าๆ


ที่จริงแนวคิดพวกนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมโลก เขาขยับปรับตัวกันไปมากแล้ว

แต่บ้านเรายังมะงุมมะงาหรา กันอยู่

เห็นได้จาก จขกท. ที่คิดอะไรสับสนปนเปกันไปหมด สิ่งที่บอกมาว่าควรจะทำน่ะ

ไทยรักไทยเขาทำกันไปหมดแล้วครับ พี่....


ส่วนเรื่องจับโยงกับเศรษฐกิจพอเพียง นั่นยิ่งไปกันใหญ่

ทุกวันนี้ผมก็ยังตั้งหน้าตั้งตารอดูอยู่ว่า เค้าจะเอามายำรวมกับ เศรษฐกิจมหภาค กันได้อย่างไร

หรือว่าเป็นเพียงถ้อยคำสอพลอ ไปอย่างนั้นเอง


killer เข้าใจคำว่า เศรษฐกิจมหภาค อย่างไร ไหนอธิบายมาหน่อยสิจ๊ะ แล้ว แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดของมหภาคด้วยใช่หรือไม่ อย่างไร

ในระยะเฉพาะหน้าก็ต้องปล่อยให้เป็นไปอย่างที่เคยเป็นมา
นั่นคือพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติกันไปก่อน ที่ทุกวันนี้ร่อยหรอลงไปมากแล้ว
(รวมทั้งเรื่องการท่องเที่ยวนั่นด้วย)
ระยะยาวรัฐบาลไทยรักไทยวางแผนเอาไว้แล้วเสร็จสรรพ

killer หมายถึงนโยบายของรัฐบาลระยะสั้นงั้นหรือ นโยบายอะไรกันเหรอที่รัฐบาลที่ผ่านมาหวังจะใช้แต่ทรัพยากรธรรมชาติน่ะ นโยบายทำไร่ทำสวนหรือ นโยบายขุดดินขายอ่ะ มีนโยบายที่บ๊องตื้นอย่างที่ killer พุดด้วยเหรอ ไหนยกตัวอย่างมาหน่อยสิจ๊ะ แต่ก่อนอื่น ลองพยายามเข้าใจคำว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ก่อนดีกว่านะจ๊ะ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจคือบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐบาลในการที่จะพัฒนาประเทศ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ แบบแผน วิธีดำเนินการ และการกำหนดหน่วยปฏิบัติการอย่างเป็นระบบแบบแผน
การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา และพัฒนาแล้วว่ามีความสำคัญในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้ทุกๆ ประเทศในโลกมีความตื่นตัวในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

ประเภทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

แผนระยะยาว (perspection plan) เป็นแผนระยะยาวที่วางกรอบและทิศทางการดำเนินนโยบายอย่างกว้างๆ รวมทั้งมีการประมาณการรายการสำคัญๆอย่างกว้างๆ อาทิ เป้าหมาย ผลผลิตมวลรวม การใช้จ่ายในภาครัฐและเอกชน การบริโภคและการลงทุน รวมถึงการนำเข้าและส่งออก สินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแผนระยะยาวจะเป็นกรอบให้แก่แผนระยะกลาง
แผนระยะกลางหรือแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม (mediumterm or development plan) เป็นแผนระยะ 4-6 ปี ซึ่งเป็นแผนที่วางตามกรอบของแผนระยะยาว
แผนปรับปรุงประจำปี (annual plan) เป็นแผนที่จะต้องจัดทำขึ้นทุกปี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแผนประจำปี เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆทั้งในและต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งสามารถทำให้การดำเนินการและผลที่ได้รับไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้นแผนนี้จึงเป็นแผนที่ใช้ในการปรับให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในขณะนั้นๆให้มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และแผนนี้ยังใช้ประกอบในการจัดทำงบประมาณประจำปีอีกด้วย

คราวนี้เรามาดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลก่อนๆดูบ้างนะจ๊ะ
สรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544)
4. ลักษณะและการใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
4.1 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นแผนชี้ทิศทางการพัฒนาประเทศทั้งในทศวรรษหน้าและในช่วง พ.ศ.2540-2544 ซึ่งเน้นการพัฒนาในลักษณะที่เป็นกระบวนการเพื่อปรับเปลี่ยน
ทิศทางการพัฒนาแบบแยกส่วนหรือตามรายสาขาเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นแบบองค์รวม คือ การพัฒนาแบบรวมส่วนหรือบูรณาการที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพมีความยั่งยืนและคนไทยทั้งหมดได้รับประโยชน์จากการพัฒนามากกว่าที่ผ่านมา
4.2 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาซึ่งกำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นการชี้ทิศทางการพัฒนาตามวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยไม่เน้นรายละเอียดของแนวทางการพัฒนาตามสาขาเศรษฐกิจและสังคม และมาตรการระยะสั้นซึ่งหน่วยงานปฏิบัติต้องดำเนินการตามปกติอยู่แล้ว ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจะต้องนำยุทธศาสตร์และแนวทางทั้งหมดไปใช้เป็นกรอบกำหนดแผนงาน โครงการ และมาตรการ เพื่อให้มีการดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ รวมถึงการกำหนดให้มีเป้าหมายและโครงการที่จะทำให้เกิดผลต่อประชาชน มิใช่องค์กรของรัฐ หรือเป็นโครงการพัฒนาที่ประชาชนตัดสินใจหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ
4.3 การจัดทำแผนงานและโครงการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นั้น ควรจะต้องดำเนิน-การแบบองค์รวม คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกองค์กรจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ มีการประสานการวิเคราะห์ โดยยึดหลักพื้นที่และภารกิจ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้รับผิดชอบเป็นกรอบในการจัดทำแผนงานและโครงการ แผนเงินและแผนคน โดยใช้ยุทธศาสตร์และแนวทางของแผนควบคู่ไปกับพื้นที่ เป็นเครื่องมือในการขอรับสนับสนุนด้านงบประมาณ ตลอดจนการติดตามประเมินผลประจำปี
4.4 การติดตามประเมินผลความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะต้องมีการสร้างดัชนีชี้วัดทั้งในระดับภาพรวมและแผนงานโครงการใน 5 ระดับ คือ
(1) ดัชนีชี้วัดผลกระทบขั้นสุดท้ายของการพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องชี้วัดผลความก้าวหน้าที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านการพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าสามารถดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาประเทศที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาได้มากน้อย
แค่ไหนเพียงใด
(2) ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลของการพัฒนาเฉพาะด้าน สร้างขึ้นเพื่อ
ติดตามประเมินผลการพัฒนาในแต่ละด้านที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสำเร็จและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาในลักษณะผสมผสานระหว่างภารกิจกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเพื่อจะนำไปใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการใน
แต่ละสาขาให้มีประสิทธิภาพ
(3) ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลความสำเร็จหรือความล้มเหลวของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
(4) ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลขององค์กรที่ดำเนินงานพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องชี้วัดขีดความสามารถขององค์กรที่รับผิดชอบในการดำเนินงานแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติในทุกระดับตามแนวทางการประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคน ที่เน้นการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น และการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและผลงานขององค์กร ทั้งในด้านการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนในองค์กร การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ การดำเนินงาน การสร้างระบบการติดตามประเมินผล เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานขององค์กรต่อไป
(5) ดัชนีชี้วัดสถานการณ์ที่เป็นจริงในด้านต่างๆ เป็นการรวบรวม
ข้อมูลเชิงสถิติหรือข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือประสิทธิผลของการพัฒนาในระดับต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น

มันบอกตรงไหนว่าใช้แต่ระยะสั้นและใช้แต่ทรัพยากรธรรมชาติหว่า
แล้ว มาดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้บ้างนะจ๊ะ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๙) เป็น
แผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลัก
ทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไป
สู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ
 
2.1 จุดมุ่งหมายหลัก

มุ่งเน้นให้เกิด “การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย” โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุขถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเอง และก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่ากัน โดยยังคงรักษา
เอกลักษณ์ของความเป็นไทย

2.2 ค่านิยมร่วม

สร้างจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงวิกฤตของประเทศและความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด ทัศนคติ และกระบวนการทำงาน โดยยึด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางเพื่อให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการประเทศที่มุ่งสู่ประสิทธิภาพ คุณภาพ ก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่ากัน โดยมีความสามารถเลือกใช้ความรู้และเทคโนโลยี ได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และมีความยืดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับการเสริมสร้างคนดีที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต



แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 9 ในสมัย ท่านแม้วของ killer นี่ก็เห็นด้วยกับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เหรอจ๊ะ เอ๊ะ แล้ว killer ตกลงจะตะแบงยังไงต่อไปดีล่ะจ๊ะ











หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 14:01
แถบอกว่า (นี่ใช้เวลาตั้งนานหาแก่นในเนื้อนะเนี่ย)
รัฐต้องไม่พอเพียงต้องปล่อยให้เศรษฐกิจโตไปตามธรรมชาติ  ส่วนด้านการบริโภครัฐต้องให้ความรู้ประชาชนรู้จักพอเพียง
ผมแปลได้ว่า
แถ คิดว่า การที่ไทยเราใช้ทุนต่างชาติเป็นเครื่องช่วยหายใจ มีเงินมาหมุนกินใช้อยู่ทุกวันนี้ ดีแล้ว ??
แถเลยคิดว่า  นโยบายรัฐต้องเป็นแบบกุมไข่ ไม่งั้นเดี๋ยวนายทุนถอดเครื่องช่วยหายใจออก เราจะตายใช่ป่ะ
เอาเถอะครับ
วิธีทำให้ไทยหายใจด้วยตัวเองได้  พูดไปก็เหมือนไก่กับไข่
แต่ผมถามว่า  ถ้าไม่เริ่มวันนี้แล้วจะรอถึงเมื่อไหร่  ถ้ากลุ่มผู้นำประเทศไม่เป็นผู้ผลักดัน  แล้วจะให้ผีที่ไหนมาผลักเล่าครับ
เดี๋ยวมีมาต่อ ใจเย็นๆ.................
ตอบคุณพระเอกหลังเขา
การที่ไทยเราใช้ทุนต่างชาติเป็นเครื่องช่วยหายใจ มีเงินมาหมุนกินใช้อยู่ทุกวันนี้ ดีแล้ว  
-- ยังจนอยู่ก็ต้องพึ่งเค้า ที่ว่ามันดีแล้วเพราะไม่มีทางอื่นให้เลือกตะหาก got no choice เข้าใจมั้ย ภาษาไทยทำเป็นอ่านนาน

นโยบายรัฐต้องเป็นแบบกุมไข่ ไม่งั้นเดี๋ยวนายทุนถอดเครื่องช่วยหายใจออก
-- จะไปกุมมันทำหอกอะไรหละครับ เดี๋ยวก็เน่าหมด ก็พยายามให้ผู้คนอยู่อย่างพอเพียงไปสิ แต่ไม่ใช่ปิดประเทศ
   หรือคงกฎอัยการศึกไว้ตราบนานเท่านาน

ถ้าไม่เริ่มวันนี้แล้วจะรอถึงเมื่อไหร่  ถ้ากลุ่มผู้นำประเทศไม่เป็นผู้ผลักดัน  แล้วจะให้ผีที่ไหนมาผลักเล่าครับ
-- รัฐบาลที่แล้วเค้าก็ผลักดันอยู่ คุณไม่สนใจเองต่างหาก โครงการนำร่องก็มี หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงก็มี มันต้องเริ่ม
   จากส่วนย่อยสุด ไม่ใช่ทำจากข้างบน ข้างบนให้ไปสนับสนุนข้างล่างให้มั่นคง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 21-10-2006, 14:15
ที่ชอบแถกล่าวไว้ว่า
...
ผมของแถบ้างว่า

1.เมกกะโปรเจค คือ การอัดฉีดงบประมาณขนาดใหญ่ หรือ อาจเรียกว่ารับใช้ลักษณะ งบประมาณขาดดุล คือ งบประมาณที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ ใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล และลดภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการให้เศรษบกิจเจริญเติบโตตามธรรมชาตินะจ๊ะ เข้าใจผิดแล้วนะจ๊ะ ถ้าเป็นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ น่าจะเป็นแนวคิดของ สำนัก classic มากกว่านะจ๊ะ
 การทำงานของกลไกตลาด (Market Mechanism)
นี่มาพูดเรื่องเดียวกันหรือจะมาโชว์ตัดแปะครับ ถ้าอยากคุยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่มันไม่เกี่ยวเรื่อง รออาจานจ๊ะวันอังคารดีกว่ามั้ง
เมกาโปรเจคท์ ให้รัฐบาลจัดทำเพื่อเป็นระบบสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนจะได้ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง อย่างรถไฟฟ้า คนจะได้
ไม่ต้องไปซื้อรถส่วนตัว เพิ่งเรียนจบหรือยังไม่จบแล้วร้อนวิชาหรือไงครับ

อ่านทั้งหมดก่อนดีกว่ามั้งจ๊ะ ผมจะสื่อว่า ชอบแถมันเอามาปนกัน ระหว่าง คลาสสิก กับ เคนส์ นะจ๊ะ ตรงนี้นะจ๊ะ

รัฐก็ควรจะปล่อยให้เศรษฐกิจโตไปตามธรรมชาติ ใน
ลักษณะที่ต้องส่งเสริมด้านอินฟราฯ ก็คือยังไงก็ต้องเมกะโปรเจคท์นั่นเอง  

killer ต้องรอจานจ๊ะมาตอบเหรอจ๊ะ ไม่ต้องรอหรอกนะจ๊ะ เพราะผมรอ จารย์จ๊ะตอบตั้งแต่เมื่อวานยังไม่โผล่หัวมาเลยนะจ๊ะ แล้วรู้อีกนะจ๊ะว่า จารย์จ๊ะจะมาวันอังคาร ทำงานที่เดียวกันเหรอจ๊ะ

แหม killer จ๊ะ


เมกาโปรเจคท์ ให้รัฐบาลจัดทำเพื่อเป็นระบบสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนจะได้ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง อย่างรถไฟฟ้า คนจะได้
ไม่ต้องไปซื้อรถส่วนตัว
เพิ่งเรียนจบหรือยังไม่จบแล้วร้อนวิชาหรือไงครับ  

อ่อ นี่คือ ความคิดที่ใช้สมองกลั่นกรองมาแล้วเหรอจ๊ะ ขอ ฮากลิ้งหน่อยนะจ๊ะ แหมถ้ารัฐบาลเขาคิดอะไรปัญญาอ่อนแบบนั้นผมว่าอย่ามาเป็นรัฐบาลเลยนะจ๊ะ ไปขายน้ำเต้าหู้ดีกว่านะจ๊ะ แต่บางที คนขายเต้าหู้อาจฉลาดคิดมากกว่านี้นะ จิงๆนะจ๊ะ 555555  เรียนจบมาตั้งแต่ ปีมะโว้แล้วล่ะจ๊ะ วิชาเหรอ คืน จารย์ไปหมดแล้วนะจ๊ะ แต่ ก็ยังขุดๆ แปะๆ มาฝาก เพื่อนๆได้อยู่นะจ๊ะ อีกอย่างมันคงช่วยให้ ลิ้วล้อ หายเซ่อได้บ้างนะจ๊ะ

killer นี่ตัวโจ๊กของจริงนะเนี้ย กร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 21-10-2006, 14:20



ที่ชอบแถกล่าวไว้ว่า
...
ผมของแถบ้างว่า

1.เมกกะโปรเจค คือ การอัดฉีดงบประมาณขนาดใหญ่ หรือ อาจเรียกว่ารับใช้ลักษณะ งบประมาณขาดดุล คือ งบประมาณที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ ใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล และลดภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการให้เศรษบกิจเจริญเติบโตตามธรรมชาตินะจ๊ะ เข้าใจผิดแล้วนะจ๊ะ ถ้าเป็นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ น่าจะเป็นแนวคิดของ สำนัก classic มากกว่านะจ๊ะ
 การทำงานของกลไกตลาด (Market Mechanism)
นี่มาพูดเรื่องเดียวกันหรือจะมาโชว์ตัดแปะครับ ถ้าอยากคุยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่มันไม่เกี่ยวเรื่อง รออาจานจ๊ะวันอังคารดีกว่ามั้ง
เมกาโปรเจคท์ ให้รัฐบาลจัดทำเพื่อเป็นระบบสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนจะได้ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง อย่างรถไฟฟ้า คนจะได้
ไม่ต้องไปซื้อรถส่วนตัว เพิ่งเรียนจบหรือยังไม่จบแล้วร้อนวิชาหรือไงครับ

อ่านทั้งหมดก่อนดีกว่ามั้งจ๊ะ ผมจะสื่อว่า ชอบแถมันเอามาปนกัน ระหว่าง คลาสสิก กับ เคนส์ นะจ๊ะ ตรงนี้นะจ๊ะ

รัฐก็ควรจะปล่อยให้เศรษฐกิจโตไปตามธรรมชาติ ใน
ลักษณะที่ต้องส่งเสริมด้านอินฟราฯ ก็คือยังไงก็ต้องเมกะโปรเจคท์นั่นเอง  

killer ต้องรอจานจ๊ะมาตอบเหรอจ๊ะ ไม่ต้องรอหรอกนะจ๊ะ เพราะผมรอ จารย์จ๊ะตอบตั้งแต่เมื่อวานยังไม่โผล่หัวมาเลยนะจ๊ะ แล้วรู้อีกนะจ๊ะว่า จารย์จ๊ะจะมาวันอังคาร ทำงานที่เดียวกันเหรอจ๊ะ

แหม killer จ๊ะ


เมกาโปรเจคท์ ให้รัฐบาลจัดทำเพื่อเป็นระบบสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนจะได้ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง อย่างรถไฟฟ้า คนจะได้
ไม่ต้องไปซื้อรถส่วนตัว
เพิ่งเรียนจบหรือยังไม่จบแล้วร้อนวิชาหรือไงครับ  

อ่อ นี่คือ ความคิดที่ใช้สมองกลั่นกรองมาแล้วเหรอจ๊ะ ขอ ฮากลิ้งหน่อยนะจ๊ะ แหมถ้ารัฐบาลเขาคิดอะไรปัญญาอ่อนแบบนั้นผมว่าอย่ามาเป็นรัฐบาลเลยนะจ๊ะ ไปขายน้ำเต้าหู้ดีกว่านะจ๊ะ แต่บางที คนขายเต้าหู้อาจฉลาดคิดมากกว่านี้นะ จิงๆนะจ๊ะ 555555  เรียนจบมาตั้งแต่ ปีมะโว้แล้วล่ะจ๊ะ วิชาเหรอ คืน จารย์ไปหมดแล้วนะจ๊ะ แต่ ก็ยังขุดๆ แปะๆ มาฝาก เพื่อนๆได้อยู่นะจ๊ะ อีกอย่างมันคงช่วยให้ ลิ้วล้อ หายเซ่อได้บ้างนะจ๊ะ

killer นี่ตัวโจ๊กของจริงนะเนี้ย กร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

โอ๊ะ ผมจะแซว ชอบแถน่ะคับ ต้องขอโทษ killer ด้วย ลิ้วล้อเยอะจนผมงงไปหมด เอ้าชอบแถ มาแถต่อเร็วๆนะจ๊ะ



ที่ชอบแถกล่าวไว้ว่า
...
ผมของแถบ้างว่า

1.เมกกะโปรเจค คือ การอัดฉีดงบประมาณขนาดใหญ่ หรือ อาจเรียกว่ารับใช้ลักษณะ งบประมาณขาดดุล คือ งบประมาณที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ ใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล และลดภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการให้เศรษบกิจเจริญเติบโตตามธรรมชาตินะจ๊ะ เข้าใจผิดแล้วนะจ๊ะ ถ้าเป็นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ น่าจะเป็นแนวคิดของ สำนัก classic มากกว่านะจ๊ะ
 การทำงานของกลไกตลาด (Market Mechanism)
นี่มาพูดเรื่องเดียวกันหรือจะมาโชว์ตัดแปะครับ ถ้าอยากคุยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่มันไม่เกี่ยวเรื่อง รออาจานจ๊ะวันอังคารดีกว่ามั้ง
เมกาโปรเจคท์ ให้รัฐบาลจัดทำเพื่อเป็นระบบสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนจะได้ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง อย่างรถไฟฟ้า คนจะได้
ไม่ต้องไปซื้อรถส่วนตัว เพิ่งเรียนจบหรือยังไม่จบแล้วร้อนวิชาหรือไงครับ


อ่านทั้งหมดก่อนดีกว่ามั้งจ๊ะ ผมจะสื่อว่า ชอบแถมันเอามาปนกัน ระหว่าง คลาสสิก กับ เคนส์ นะจ๊ะ ตรงนี้นะจ๊ะ

รัฐก็ควรจะปล่อยให้เศรษฐกิจโตไปตามธรรมชาติ ใน
ลักษณะที่ต้องส่งเสริมด้านอินฟราฯ ก็คือยังไงก็ต้องเมกะโปรเจคท์นั่นเอง  

ชอบแถ ต้องรอจานจ๊ะมาตอบเหรอจ๊ะ ไม่ต้องรอหรอกนะจ๊ะ เพราะผมรอ จารย์จ๊ะตอบตั้งแต่เมื่อวานยังไม่โผล่หัวมาเลยนะจ๊ะ แล้วรู้อีกนะจ๊ะว่า จารย์จ๊ะจะมาวันอังคาร ทำงานที่เดียวกันเหรอจ๊ะ

แหม ชอบแถ จ๊ะ


เมกาโปรเจคท์ ให้รัฐบาลจัดทำเพื่อเป็นระบบสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนจะได้ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง อย่างรถไฟฟ้า คนจะได้
ไม่ต้องไปซื้อรถส่วนตัว
เพิ่งเรียนจบหรือยังไม่จบแล้วร้อนวิชาหรือไงครับ  

อ่อ นี่คือ ความคิดที่ใช้สมองกลั่นกรองมาแล้วเหรอจ๊ะ ขอ ฮากลิ้งหน่อยนะจ๊ะ แหมถ้ารัฐบาลเขาคิดอะไรปัญญาอ่อนแบบนั้นผมว่าอย่ามาเป็นรัฐบาลเลยนะจ๊ะ ไปขายน้ำเต้าหู้ดีกว่านะจ๊ะ แต่บางที คนขายเต้าหู้อาจฉลาดคิดมากกว่านี้นะ จิงๆนะจ๊ะ 555555  เรียนจบมาตั้งแต่ ปีมะโว้แล้วล่ะจ๊ะ วิชาเหรอ คืน จารย์ไปหมดแล้วนะจ๊ะ แต่ ก็ยังขุดๆ แปะๆ มาฝาก เพื่อนๆได้อยู่นะจ๊ะ อีกอย่างมันคงช่วยให้ ลิ้วล้อ หายเซ่อได้บ้างนะจ๊ะ

ชอบแถ นี่ตัวโจ๊กของจริงนะเนี้ย กร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 14:22
ไร้สาระ ชื่อใครเป็นใครยังไม่รู้จักหัดดู ยังจะทะลึ่งรีบ post


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 21-10-2006, 14:26
ไร้สาระ ...

 :slime_bigsmile: :slime_p:  :slime_p: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 21-10-2006, 14:29
เปิดนโยบายเศรษฐกิจรากแก้ว
สร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญาไม่ลบทิ้งนโยบายเดิม


[21 ต.ค. 49 - 04:10]

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า  ในการประชุม ครม.สัปดาห์หน้า นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.อุตสาหกรรม จะนำร่างนโยบายรัฐบาลและนโยบายเศรษฐกิจเข้าสู่การพิจารณา โดยแบ่งเป็น 3 ภาค ประกอบด้วย

1. ภาคเศรษฐกิจรากแก้วที่ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย รัฐบาลได้วางแนวนโยบายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง โดยสนับสนุนให้การพัฒนาการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ เป็นทางเลือกสำคัญสำหรับเกษตรกรรายย่อย ขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคเศรษฐกิจรากแก้ว จะดำเนินการควบคู่ไปกับการดูแลผู้ที่ไม่พร้อมหรือยังไม่สามารถจะปรับตัวได้ โดยจัดสวัสดิการสงเคราะห์ และบริการทางสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึง

ส่วนผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้าน จะได้รับการสนับสนุนตามศักยภาพทางการตลาดในระดับต่างๆ คือระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับการส่งออก โดยจัดระบบการบริหารจัดการโครงการแบบบูรณาการควบคู่ไปกับการสนับสนุนด้านการตลาด ด้านแรงงาน จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชนและภาครัฐ ให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาคุณภาพแรงงานระดับต่างๆ ตามความเหมาะสม 

2. ภาคเศรษฐกิจระบบการตลาด รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่จะให้กลไกการตลาดสามารถ ดำเนินการได้อย่างเต็มที่ โดยใช้หลักคุณธรรมและการสร้างความเป็นธรรมในภาคเศรษฐกิจ ขจัดการดำเนินการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคล โดยด้านอุตสาหกรรมนั้นจะส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์   ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และให้ ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางเทคโนโลยี และการบริหารจัดการของประเทศ

ส่วนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะอาศัยความเป็นพันธมิตรระหว่างเอกชน   กับรัฐผนึกกำลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านพลังงานจะส่งเสริมประสิทธิภาพและประหยัดการใช้ พลังงาน การพัฒนาและใช้ประโยชน์พลังงานทดแทน และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด พร้อมวางนโยบายขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผนแม่บทและมีความพร้อมทุกด้าน โดยเน้นการลงทุนประเภทที่จะเพิ่มประสิทธิภาพระบบเครือข่ายการจัดสินค้าและพัสดุ การประหยัดพลังงาน 

ขณะเดียวกัน   รัฐบาลจะจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาขึ้นให้แล้วเสร็จใน 6 เดือน เพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของไทยที่ยังอยู่ในฐานะด้อยกว่าประเทศคู่แข่งอีกหลายประเทศ ด้านการส่งออก จะส่งเสริม และผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการ   โดยมีภาคเอกชนเป็นกลไกขับเคลื่อน   ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจการค้าภายในประเทศ   การดำเนินนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคี 

3. ภาคเศรษฐกิจส่วนรวม จะเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ   ควบคู่ไปกับการวัดการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ หรือจีดีพี เพื่อการนี้รัฐบาลจะจัดทำแผนแม่บทการสร้างเสริมประสิทธิภาพแห่งชาติเป็นแผนร่วมกับเอกชนสำหรับภาคเศรษฐกิจที่สำคัญให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน 

ขณะที่นโยบายด้านการเงินและการคลัง จะดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ และมีการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจในขณะที่จะเสริมสร้างวินัยทางการเงินการคลังภาครัฐโดยการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและประหยัด 

นายปีเตอร์ แวน ฮาเรน ประธานหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทยพร้อมด้วยประเทศที่เป็นสมาชิกฯ 25 ประเทศ อาทิ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เปิดเผยหลังการหารือกับนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมช.อุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า จากการที่หารือนักลงทุนต่างประเทศในประเทศ ไทย ยืนยันตรงกันว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะฝีมือค่อนข้างมาก จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขในจุดนี้พร้อมๆ กับการพัฒนาระบบขนส่งหรือโลจิสติกส์ในการลดต้นทุนการค้าและอุตสาหกรรม.


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 21-10-2006, 14:51
นี่ขนาดยังไม่เข้าสภานะ ซ้อม ๆ อภิปรายไปก่อนละกัน ว่า เค้าจะทำกันในรูปแบบใหน

เชิญครับ เค้าวางโครงไว้ถึง 3 ระดับ

และเชื่อว่าในสภาพนี้ รัฐบาลอื่นมาหลังจากเลือกตังใหม่ก็ต้องสานต่อ

เพราะแผน 10 มันมองภาพรวมไว้ค่อนข้างเป็นระบบ คงดีดดิ้นออกไปนอกกรอบมากไม่ได้


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 21-10-2006, 15:16
มันจะคุยรู้เรื่องได้ยังไงครับ บอกว่าไม่พอ คือ รายรับไม่พอรายจ่าย มันก็พูดไปเรื่องดัชนีความพอใจ

คุยกันไม่รู้เรื่องแล้วแล้วจะเสียเวลาไปทำไม มันเล่นไม่อ่านอะไรเลยพล่ามอย่างเดียว แม้กระทั่งชื่อ

คนที่ post ด้วย ยังไม่อ่าน คุยด้วยแล้วประสาทแดรกครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: type ที่ 21-10-2006, 16:07
เศรษฐกิจพอเพียงคือประชาชน พอเพียง ส่วนรัฐมีหน้าที่ บริหาร
แสวงหา ทรัพยากร มาใช้ หมุนเวียนในระบบ
ไม่ใช่ว่า เราเป็นอยู่ยังไงก็อยุ่อย่างนั้น
ทำไมท่านๆไม่แยกแยะคำว่า เราใช้จ่ายอย่างพอเพียง
กับ รัฐบาลมีหน้าที่บริหารรัฐ ในหลายๆด้าน
แต่เอา คำว่าพอเพียงไปปรับเทียบกับการบริหาร รัฐ
โดยพยายามจะบอกว่า รัฐต้องบริหารงานอย่างพอเพียง

มันคงพอไม่ได้หรอกครับ เมื่อประชาชน ในระดับรากหญ้า ยังพึ่งตนเองไม่ได้


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 21-10-2006, 18:00
สรุปสั้น ๆ เศรษฐกิจพอเพียง คือทุนนิยมเสรีที่ไม่สุดโต่ง ยกเอาความสมเหตุสมผล ไม่เว่อร์

ใช้ให้เต็มประสิทธิภาพ และการป้องกันตนเองหรือต้องมีภูมิคุ้มกัน ( ไม่ประมาท )


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 21-10-2006, 18:05
เฮ้อ พอ หรือ ไม่พอ ก็แล้วแต่

หากพิจารณาแล้วว่า เป็นการกระทำ ที่ ไม่มีผลกระทบ ให้ ผู้อื่นเดือดร้อน

ไม่ทำให้ตนเองและ ครอบครัวเดือดร้อน ไม่ทำให้ประเทศชาติเดือดร้อน

ก็มี ความชอบธรรม ที่จะทำกันไป ตาม ศักยะภาพ ของแต่ละคน

สิ่งสำคัญ คือการให้ความรู้ อย่างทั่วถึง

เพื่อให้คนไทย ตัดสินใจ กระทำการใดๆ ที่ไม่ทำให้ ชาติบ้านเมืองและคนในชาติ ต้องเดือดร้อน

 :slime_fighto:

ความเห็นตรงกับผมเลยครับ  หลักการนี้มันใช้ได้หมดเลย คือจะทำอะไรก็แล้วแต่อย่าทำให้ตัวเองและคนอื่นเดือดร้อน   จุดที่วัดมันก็น่าจะอยู่ตรงนี้  

ที่คุณแถ เคยถามว่าถ้าอยากเป็นคนดีมีจริยธรรมก็ให้หยุดงานไปช่วยน้ำท่วมนั้น  มันก็ใช้หลักการนี้คิดเหมือนกัน คือถ้าคุณสามารถหยุดงานไปช่วยได้มันก็ดี  ถ้าคุณไม่เดือดร้อน   แต่ถ้าคุณหยุดงานแล้วเดือดร้อนมันก็ไม่ควรหยุดเพราะการช่วยเหลือมันมีวิธีอื่นอีกมาก  อย่างการบริจาคสิ่งของหรือเงิน โดยให้คนที่เค้ามีเวลา ไปช่วยก็ทำแทนก็ได้

มาที่เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชน  หลักการมันก็เหมือนกับข้างบน คือถ้าคุณอยากได้อะไรอยากทำอะไรโดยคนอื่นไม่เดือดร้อน  ก็สามารถทำได้  อย่างเรื่องบ้านที่คุณแถว่ามา ผมว่าบ้านมันก็ปัจจัยที่สำคัญต่อชีวิตการจะเป็นหนี้เรื่องบ้านผมว่าไม่ใช่เรื่องน่าเสียหาย  เพราะถ้าจะบอกว่ารอให้มีเงินก่อนค่อยซื้อบ้านก็ไม่รู้ว่าชาตินี้มันจะมีเมื่อไร  ครั้นจะไปอาศัยอยู่บ้านญาตินานๆ มันก็คงไปทำให้คนอื่นเค้าเดือดร้อนอีก  หรือบอกไม่ไปอยู่บ้านใครแต่ไปนอนข้างถนนมันก็ไม่ได้เพราะไปเกะกะคนอื่นเค้าอีก    

ส่วนเรื่องสิ่งของอื่นๆ การจะมีใช้ก็ต้องดูให้ดีว่ามันจำเป็นจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงอยากจะมีเพื่ออวดคนอื่น  อย่างเรื่องรถถ้าอยากจะมีก็ต้องดูว่ามันจำเป็นหรือเปล่า  มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้หรือเปล่า  ยกตัวอย่างที่ทำงานผม บ้านกับที่ทำงานมันก็อยู่ภายในรั้วเดียวกัน ห่างกันไม่กี่ร้อยเมตร  แต่ส่วนใหญ่เสือกขับรถกันมา  ความจริงเดินมาแค่ไม่กี่นาทีมันก็ถึงที่ทำงานแล้ว ต้นไม้ก็ออกครึ้มไม่โดนแดด  อันนี้ก็เรียกว่าไม่พอเพียง  ไม่ฉลาดเลือก

อีกเรื่องที่เห็นได้ชัดก็เรื่องโทรศัพท์มือถือ ผมเห็นว่าคนไทยเสียเงินกันเกินความจำเป็นในเรื่องนี้ เราใช้เทคโนโลยีกันอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย  ยกตัวอย่างที่ทำงานผมอีกเหมือนกัน หน.ที่ทำงานผมมักชอบเอามือถือมาโชว์เปลี่ยนรุ่นใหม่เกือบทุกเดือน  แต่ใช้งานก็แค่โทรเข้าโทรออก  ฟังชั่นอื่นใช้งานไม่เป็น   ความจริงผมก็ไม่น่าจะไปเดือดร้อนอะไรกับแกด้วยหรอก  แต่ที่เดือดร้อนก็คือแกไม่ค่อยสนใจงานมากนัก เพราะเอาแต่เล่นโทรศัพท์คุยโทรศัพท์ ทำให้ผมเดือดร้อนตรงที่ต้องทำงานเหนื่อยหลายเท่า เพราะ หน.งานผม สั่งงานไม่เป็น  สั่งไม่เป็นขั้นเป็นตอน  ทำให้เวลาทำงานต้องเสียเวลาแก้ไขหลายๆครั้ง  

สรุปก็คือหลักเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชนสิ่งที่ต้องรู้คือ รู้ตัวเอง  ซึ่งมีผมแยกเป็นสองอย่างคือ 1.ทุน 2.สมอง  
โดยมีจุดวัดความพอเพียงอยู่ที่การไม่ไปก่อความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น  รวมทั้งไม่ไปเอาเปรียบคนอื่นที่เค้าด้อยกว่าในด้านต่างๆ แม้การเอาเปรียบจะไม่ผิดกฏหมายก็ตาม


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 24-10-2006, 08:37
ขุดขึ้นมาให้อาจานจ๊ะ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 11:54
ก่อนขุดกระทู้อ่านให้เข้าใจหรือยังล่ะ

เดี๋ยวก็ออกมาก่นด่า "เศรษฐกิจพอเพียง" แบบ ไม่ยอมเข้าใจอะไรอีก

ว่าง ๆ ก็ไปนั่งอ่าน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ไว้บ้าง เผื่อจะได้ไม่ต้องอธิบายความซ้ำ ๆ อีก

ไม่ก็ใช้กุ๊กเกิ้ล...ค้นคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" หรือเข้าเว็บกาญจนาภิเษกก็ได้...

เว็บคณะกรรมการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงก็มี ลอง ๆ ค้นดูสิ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 24-10-2006, 11:59
ก่อนขุดกระทู้อ่านให้เข้าใจหรือยังล่ะ

เดี๋ยวก็ออกมาก่นด่า "เศรษฐกิจพอเพียง" แบบ ไม่ยอมเข้าใจอะไรอีก

ว่าง ๆ ก็ไปนั่งอ่าน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ไว้บ้าง เผื่อจะได้ไม่ต้องอธิบายความซ้ำ ๆ อีก

ไม่ก็ใช้กุ๊กเกิ้ล...ค้นคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" หรือเข้าเว็บกาญจนาภิเษกก็ได้...

เว็บคณะกรรมการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงก็มี ลอง ๆ ค้นดูสิ


ทะๆๆๆๆๆๆ...................ถูกต้องแล้วคร๊าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 24-10-2006, 13:46
ตายแล้ว .. อุตส่าห์ไปเอา วิทยานิพนธ์ปนนวนิยาย

ของสภาพัฒนาครกและสากกระเบือแห่งชาติ มาอ้างอิงด้วย....

โปรดทราบด้วยว่าผมก่นด่าประนามสาปแช่งหน่วยงานนี้มาแต่ก่อนที่จะมา พรรคไทยรักไทยเสียอีก



เพราะในอดีตมันเป็นเพียง แบบพิมพ์เขียวเอาไว้ให้เผด็จการทหารและพวกนักการเมืองสิ้นคิด

ไปสรุปย่อเอามาเป็นนโยบายแถลงต่อสภาฯ ส่วนจะปฏิบัติได้จริง ได้มรรคได้ผลแค่ไหน จะมีใครสนใจเล่า

ก็ในเมื่อมันเป็นเพียงแค่นามธรรม....


แต่รัฐบาลไทยรักไทย ที่ปฏิเสธแผนนวนิยายขายดีเหล่านั้น หันมาดำเนินยุทธศาสตร์ของตนเอง

ทำให้เข้าเป้าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเสียยิ่งกว่าด้วยซ้ำ ถ้าจะคิดแบบสอพลอ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 24-10-2006, 14:18
ก่อนขุดกระทู้อ่านให้เข้าใจหรือยังล่ะ
เดี๋ยวก็ออกมาก่นด่า "เศรษฐกิจพอเพียง" แบบ ไม่ยอมเข้าใจอะไรอีก
ว่าง ๆ ก็ไปนั่งอ่าน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ไว้บ้าง เผื่อจะได้ไม่ต้องอธิบายความซ้ำ ๆ อีก
ไม่ก็ใช้กุ๊กเกิ้ล...ค้นคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" หรือเข้าเว็บกาญจนาภิเษกก็ได้...
เว็บคณะกรรมการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงก็มี ลอง ๆ ค้นดูสิ
แผนสิบลุงนี่ รัฐบาลหอยเฒ่าโดยนายปิยสวัสดิ์ยังไม่เอาเลย คำว่าภูมิคุ้มกันสงสัยอ่านไม่เข้าใจ แกจะไปใช้ MTBE อีกแล้ว

อย่าว่าแต่แผนสิบเลย เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็ยังเข้าใจไม่เท่ารัฐบาลทักษิณ นี่ไม่ใช่จะด่าทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงนะ เอา

ไปปฏิบัติมันก็ดีอยู่ แต่ให้คนปฏิบัตินะ รัฐบาลไม่ต้องเจือก แถมยังเอาชื่อมาหากินเป็นชิ้นเป็นอันอีก ไม่สำนึกกันบ้าง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 14:27
นายหน้าเหลี่ยมเอาไปป่าวประกาศหากินที่ยูเอ็นล่ะ...จริง ๆ แล้วรัฐบาลหน้าเหลี่ยมทำอะไรบ้าง

ในแผน 9 น่ะ 5 ปี ของรัฐบาลหน้าเหลี่ยมล้วน ๆ นะ ไปถึงใหน รากหญ้าเข้าใจอะไรขึ้นมาบ้างเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

เอา 5 ปี ที่สูญเสียไปคืนมาได้มั๊ย ให้งบประมาณคณะกรรมการเผยแพร่แนวพระราชดำริไปแค่ใหนเชียว


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 24-10-2006, 14:31
นายหน้าเหลี่ยมเอาไปป่าวประกาศหากินที่ยูเอ็นล่ะ...จริง ๆ แล้วรัฐบาลหน้าเหลี่ยมทำอะไรบ้าง

ในแผน 9 น่ะ 5 ปี ของรัฐบาลหน้าเหลี่ยมล้วน ๆ นะ ไปถึงใหน รากหญ้าเข้าใจอะไรขึ้นมาบ้างเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

เอา 5 ปี ที่สูญเสียไปคืนมาได้มั๊ย ให้งบประมาณคณะกรรมการเผยแพร่แนวพระราชดำริไปแค่ใหนเชียว
โอทอปไง เป็นภูมิคุ้มกันใช่มั้ย


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: สี่หามสามแห่ ที่ 24-10-2006, 15:00
คนละเรื่องเลย แถ เอ้ย

555+


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 24-10-2006, 15:07
^
เขียนสั้นๆ ก็อ่านไม่เข้าใจ ไปอ่านทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงใหม่ดีกว่ามั้ง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 24-10-2006, 15:13
ตายแล้ว .. อุตส่าห์ไปเอา วิทยานิพนธ์ปนนวนิยาย

ของสภาพัฒนาครกและสากกระเบือแห่งชาติ มาอ้างอิงด้วย....

โปรดทราบด้วยว่าผมก่นด่าประนามสาปแช่งหน่วยงานนี้มาแต่ก่อนที่จะมา พรรคไทยรักไทยเสียอีก



เพราะในอดีตมันเป็นเพียง แบบพิมพ์เขียวเอาไว้ให้เผด็จการทหารและพวกนักการเมืองสิ้นคิด

ไปสรุปย่อเอามาเป็นนโยบายแถลงต่อสภาฯ ส่วนจะปฏิบัติได้จริง ได้มรรคได้ผลแค่ไหน จะมีใครสนใจเล่า

ก็ในเมื่อมันเป็นเพียงแค่นามธรรม....


แต่รัฐบาลไทยรักไทย ที่ปฏิเสธแผนนวนิยายขายดีเหล่านั้น หันมาดำเนินยุทธศาสตร์ของตนเอง

ทำให้เข้าเป้าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเสียยิ่งกว่าด้วยซ้ำ ถ้าจะคิดแบบสอพลอ



คนด่ามันโง่เหมือนควายมากกว่ามั้ง


แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจคือบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐบาลในการที่จะพัฒนาประเทศ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ แบบแผน วิธีดำเนินการ และการกำหนดหน่วยปฏิบัติการอย่างเป็นระบบแบบแผน

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา และพัฒนาแล้วว่ามีความสำคัญในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้ทุกๆ ประเทศในโลกมีความตื่นตัวในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ


ประเภทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

แผนระยะยาว (perspection plan) เป็นแผนระยะยาวที่วางกรอบและทิศทางการดำเนินนโยบายอย่างกว้างๆ รวมทั้งมีการประมาณการรายการสำคัญๆอย่างกว้างๆ อาทิ เป้าหมาย ผลผลิตมวลรวม การใช้จ่ายในภาครัฐและเอกชน การบริโภคและการลงทุน รวมถึงการนำเข้าและส่งออก สินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแผนระยะยาวจะเป็นกรอบให้แก่แผนระยะกลาง
แผนระยะกลางหรือแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม (mediumterm or development plan) เป็นแผนระยะ 4-6 ปี ซึ่งเป็นแผนที่วางตามกรอบของแผนระยะยาว
แผนปรับปรุงประจำปี (annual plan) เป็นแผนที่จะต้องจัดทำขึ้นทุกปี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแผนประจำปี เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆทั้งในและต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งสามารถทำให้การดำเนินการและผลที่ได้รับไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้นแผนนี้จึงเป็นแผนที่ใช้ในการปรับให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในขณะนั้นๆให้มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และแผนนี้ยังใช้ประกอบในการจัดทำงบประมาณประจำปีอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

เพิ่มรายได้ประชาชาติและรายได้ที่แท้จริงของบุคคล
ยกระดับมาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น
กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
กระจายรายได้สู่ประชาชนอย่างยุติธรรม
การจ้างงานเพิ่มอัตราสูง ปัญหาการว่างงานลดน้อยลง
การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ มีดุลการค้าและดุลการชำระเงินที่อยู่ในสภาวะเกินดุลหรือขาดดุลน้อยลง


พอเข้าใจเบื้องต้นรึยังว่า เขาต้องมีการออกแผนการพัฒนาเศรษบกิจออกมาเพื่ออะไร ต่อมาลองแหกตาอ่านนี้ดูนะ


สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องมานับตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางทั้งในระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ เริ่มตั้งแต่ขั้นการกำหนดกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันให้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ และเมื่อดำเนินการจัดทำกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ แล้วเสร็จ จึงได้นำเสนอคณะ
รัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
   จากนั้น ดำเนินการในขั้นการจัดทำรายละเอียดของแผน โดยอาศัยกลไกความร่วมมือในหลายรูปแบบ มีหลายหน่วยงานรวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองสาระรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์ จนสามารถประมวลเป็น “ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙” ซึ่งได้มีการปรับปรุงสาระสำคัญมาโดยลำดับอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและขอความเห็นเพิ่มเติมในการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรีกับคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อต้นเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา จากนั้น ได้ปรับปรุง “ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๙” นำเสนอสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็น และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไปพร้อมกับความเห็นของสภาที่ปรึกษาฯ
เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ศกนี้
   ต่อมา สำนักงานฯ จึงได้ปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ นี้ขึ้น และนำเสนอ
ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติอย่างเป็นทางการ และนำกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ต่อไป

      สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

      
      กั น ย า ย น    ๒ ๕ ๔ ๔


ตอนนี้ไอ้แม้วมันเป็น นายกรึเปล่า แล้วมันได้พิจารณาแผนเศรษฐกิจแห่งชาติด้วยรึเปล่าหว่า ลองนึกๆดูหน่อยสิ

คราวนี้มาลองดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 9 ที่เน้นหลักความพอเพียงด้านยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม มาอ่านดูนะ



๑วัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดการระบบบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจให้ปรับตัวเข้าสู่ความมีสมดุล มีภูมิคุ้มกัน มีเสถียรภาพและความมั่นคง เอื้อประโยชน์ต่อคนยากจน และการสร้างงาน สนับสนุนการกระจายรายได้ไปสู่ทุกภาคส่วนของสังคมอย่างเป็นธรรม อันเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการดำเนินงานนโยบายและแนวทางการพัฒนาด้านการเงิน การคลัง และความร่วมมือระหว่างประเทศไว้ดังนี้
๑.๑   เพื่อให้ภาคการเงินมีความเข้มแข็ง มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีสามารถป้องกันวิกฤตการณ์และความผันผวนจากเศรษฐกิจการเงินโลกได้ มีศักยภาพในการสนับสนุนการระดมทุนของระบบเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ และมีส่วนสนับสนุนการกระจายเงินทุนไปสู่ภูมิภาค
   ๑.๒   เพื่อสร้างความมั่นคงทางการคลังในระยะยาว โดยคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการรักษาวินัยการคลังและความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
   ๑.๓   เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง ที่เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ และมีการเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์
๒เป้าหมาย
เพื่อที่จะสนับสนุนวัตถุประสงค์ดังกล่าว เป้าหมายด้านเศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ คือ การพัฒนาให้เศรษฐกิจกลับสู่อัตราการขยายตัวในระดับปานกลาง เพื่อลดปัญหาความยากจนและการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤต สร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาคเอกชน และลดหนี้สาธารณะในระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ แต่ต้องใช้ความพยายามในการดำเนินการสูงและเป็น
เป้าหมายที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับเป้าหมายการพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย โดยเป้าหมายการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่สำคัญ ได้แก่
   ๒.๑   เศรษฐกิจขยายตัวโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๔-๕ ต่อปี
   ๒.๒   เพิ่มการจ้างงานใหม่ในประเทศไม่ต่ำกว่า ๒๓๐,๐๐๐ คนต่อปี
   ๒.๓   อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินประมาณร้อยละ ๓ ต่อปี
   ๒.๔   รักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เฉลี่ยร้อยละ
๑-๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
   ๒.๕   ลดการขาดดุลเงินสดของรัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ ๑-๑.๕ ของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ภายในปี ๒๕๔๙
   ๒.๖   บริหารหนี้สาธารณะของประเทศให้อยู่ในระดับประมาณร้อยละ ๖๐–๖๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และดูแลภาระการชำระหนี้ในงบประมาณให้อยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ ๑๖–๑๘ ของงบประมาณ
๓แนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมในระยะ ๕ ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จะเน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤตอย่างเต็มที่ และสนับสนุนการขยายตัวของฐานเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและเสถียรภาพที่มั่นคง เพื่อนำไปสู่การปรับฐานเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง สามารถขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพได้ในระยะยาว ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการเงิน โดยเฉพาะการกำกับดูแลเงินทุนและสร้างความต่อเนื่องของการแก้ไขปัญหาภาคการเงิน รวมทั้งเพิ่มบทบาทของตลาดทุนให้เป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนของประเทศ ในขณะที่ภาคการคลังต้องเน้นการสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะต้องเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้สามารถรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นการบริหารจัดการและประสานกลไกการเจรจาการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแนวทางการพัฒนาตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
๓.๑   แนวทางการพัฒนาด้านการเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตเศรษฐกิจและช่วยกระจายความเจริญและความเป็นธรรม โดยการดูแลสภาพคล่องในระบบให้พอเพียงและรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม มีการดูแลไม่ให้เกิดวิกฤตทั้งทางด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ตลอดจนมีระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนที่สมดุลมากขึ้นระหว่างระบบธนาคารและตลาดทุน และระหว่างเงินทุนในประเทศและการระดมทุนจากต่างประเทศ มีความสามารถในการเผชิญวิกฤตได้ดีขึ้นจากการสร้างความร่วมมือทางการเงินกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรองรับวิกฤตและจัดตั้งระบบประกันเงินฝาก และระบบการเงินมีส่วนเอื้ออำนวยต่อการกระจายความเจริญและความเป็นธรรมเพื่อสร้างความสมดุลของระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
(๑)   สร้างความเข้มแข็งและระบบระวังภัยของภาคการเงิน โดย
      (๑.๑)   กำหนดเป้าหมายเสถียรภาพราคาที่เหมาะสมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยให้ฝ่ายกำหนดนโยบายการเงินสามารถกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ยที่เอื้อต่อการพัฒนาและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 
      (๑.๒)   แก้ไขปัญหาอุปรรคของสถาบันการเงินให้สามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบเศรษฐกิจให้ลดลง
      (๑.๓)   ดูแลสภาพคล่องให้พอเพียงและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน 
      (๑.๔)   รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและความมั่นคงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
      (๑.๕)   ติดตามและดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงการไหลออกของเงินทุนอย่างฉับพลัน โดยการพัฒนาระบบข้อมูล และพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์ เพื่อสร้างระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและเพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันล่วงหน้า
      (๑.๖)   ควบคุมดูแลเงินบาทในตลาดนอกประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเอื้อประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย และเพื่อไม่ให้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรและโจมตีค่าเงินบาทได้
      (๑.๗)   จัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการเงินเพื่อป้องกันวิกฤตโดยเน้นด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล และระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในยามฉุกเฉิน
(๒)   ปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดย
      (๒.๑)   พัฒนาประสิทธิภาพในการกำกับดูแล และการตรวจสอบสถาบันการเงิน โดยการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้ทันสมัยสอดคล้องกับภาวะการณ์ และให้มี
มาตรฐานการกำกับดูแลในทิศทางที่สอดคล้องกันทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติและตั้งอยู่บนหลักการบริหารจัดการที่ดี สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โปร่งใส ยืดหยุ่น และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลด้านการตรวจสอบ     
      (๒.๒)   ปฏิรูปกฎหมายทางการเงิน เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลและเอื้อต่อการพัฒนาระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
      (๒.๓)   เสริมสร้างระบบสถาบันการเงินให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกประเทศในเรื่องมาตรฐานการบัญชี ความโปร่งใส ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์
      (๒.๔)   จัดให้มีระบบประกันเงินฝากอย่างเป็นขั้นตอนและรอบคอบ เพื่อลดต้นทุนของรัฐบาลในการค้ำประกันเงินฝากและเป็นการสร้างวินัยแก่ทั้งลูกค้าและธนาคารในการบริหารเงินทุน รวมทั้งมีระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสินเชื่อของสถาบันการเงินที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น
(๓)   เพิ่มบทบาทของตลาดทุนในการเป็นแหล่งระดมทุนของประเทศ โดย
      (๓.๑)   ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีการทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี พัฒนาระบบการตรวจสอบและการรายงานผล  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลของภาคเอกชนเอง และเพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับตลาด ช่วยให้ตลาดทุนพัฒนาอย่างมี
ประสิทธิภาพ
      (๓.๒)   พัฒนาตลาดหลักทรัพย์ให้มีทั้งความกว้างและความลึก เพื่อให้เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ และมีสภาพคล่อง เพื่อให้เป็นกลไกที่ช่วยเสริมการระดมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
      (๓.๓)   ส่งเสริมให้มีการแปลงทุนในรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเป็นทุนเรือนหุ้น และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มประเภทและความหลากหลายของหลักทรัพย์ในตลาดทุน
      (๓.๔)   พัฒนาตลาดอนุพันธ์ เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนและเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงของนักลงทุน
      (๓.๕)   พัฒนาตลาดตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นทางเลือกในการระดมทุนของภาคเอกชนและรัฐบาล
(๔)   ปรับปรุงบทบาทของภาคการเงินในการกระจายความเจริญและความเป็นธรรม โดย
         (๔.๑)   ปรับปรุงการดำเนินงานของสถาบันการเงินในกำกับของรัฐให้มี
ประสิทธิภาพในการประกอบธุรกรรมสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทรัพยากรทาง
การเงิน และความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้นและทั่วถึง โดยเฉพาะการสนับสนุนการให้
สินเชื่อรายย่อย การให้สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
      (๔.๒)   กระจายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินไปสู่ภูมิภาคและจัดให้มีระบบการให้สินเชื่อระดับจุลภาค เพื่อส่งเสริมการกระจายสินเชื่อไปสู่ผู้กู้รายย่อยและชุมชนมากขึ้น
๓.๒   แนวทางการพัฒนาด้านการคลัง เพื่อสร้างความมั่นคงของฐานะการคลังและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยเน้นการรักษาวินัยการคลังและบริหารหนี้สาธารณะเพื่อให้สามารถลดหนี้สาธารณะและลดภาระหนี้ในงบประมาณให้กระจายออกไปในระยะเวลาที่ยาวขึ้น ด้วยการควบคุมการก่อหนี้ใหม่ การเข้มงวดการใช้เงินกู้โดยพิจารณาจัดสรร
แก่โครงการลงทุนที่มีความสำคัญและความจำเป็นสูง การพิจารณาทบทวนการจัดลำดับความสำคัญและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนงานและโครงการลงทุนภาครัฐและเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐ การบริหารหนี้ให้มีสกุลเงินที่เหมาะสมและมีสัดส่วนของหนี้ภายในประเทศมากขึ้น การควบคุมรายจ่ายรัฐบาลไม่ให้เพิ่มสูงเกินไปและมีประสิทธิผลในการใช้จ่ายโดยใช้ระบบงบประมาณที่เน้นผลงาน ในขณะเดียวกันมีการสร้างฐานรายได้ ขยายฐานภาษี และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ บริหารทรัพย์สินของรัฐบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน โดยการกระจายอำนาจและถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้การใช้งบประมาณตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น รวมถึงพิจารณาปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิต การลงทุน และส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และปฏิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชน
(๑)   รักษาวินัยการบริหารหนี้สาธารณะ โดย
      (๑.๑)   ควบคุมการก่อหนี้สาธารณะและดำเนินการให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง ลดข้อจำกัดทางงบประมาณ ซึ่งต้องรับภาระการชำระหนี้จากการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
      (๑.๒)   ควบคุมการก่อหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ระดับของภาระหนี้สินที่มีอยู่ ฐานะการคลังและฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ
      (๑.๓)   ปรับปรุงระบบการพิจารณา และการบริหารโครงการเงินกู้ให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการตัดทอนเงินกู้สำหรับโครงการที่มีเงินเหลือจ่ายหรือไม่จำเป็นต้องจ่าย และปรับลดหรือระงับโครงการที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือหมดความจำเป็นในการดำเนินการ
      (๑.๔)   พิจารณาทบทวนการจัดลำดับความสำคัญและหลักเกณฑ์การจัด
ทำแผนงานและโครงการลงทุนภาครัฐเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านการก่อหนี้และภาระงบประมาณ
      (๑.๕)   ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจและเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน มาตรฐานและคุณภาพของการผลิตสินค้าและการให้บริการที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม
      (๑.๖)   ปรับแนวทางการก่อหนี้ต่างประเทศ ให้เป็นหนี้ภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการที่ไม่จำเป็นต้องมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเพิ่มอุปทานตราสารหนี้ภายในประเทศ โดยพิจารณาความเหมาะสมในด้านการกระจายตัวทั้งประเภทและอายุตราสารเพื่อลดต้นทุนการก่อหนี้ภาครัฐโดยรวม
      (๑.๗)   ปรับโครงสร้างเงินกู้ต่างประเทศให้อยู่ในรูปสกุลเงินต่างๆอย่าง
เหมาะสม โดยพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนการกู้ยืม เพื่อลดความเสี่ยงจากความ
ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
   (๑.๘)   พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการก่อหนี้
และการบริหารหนี้รวมทั้งกฎหมายเงินคงคลัง และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นระบบ และเพิ่มความเข้มแข็งของวินัยการคลัง ในขณะเดียวกันเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารหนี้ให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการกู้เพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้
(๒)   ปฏิรูประบบงบประมาณและการบริหารรายจ่าย โดย
      (๒.๑)   ปฏิรูประบบงบประมาณไปสู่ระบบที่มุ่งเน้นผลงาน ให้มีแผนการจัดสรรงบประมาณระยะปานกลาง และมีการประเมินผลผลิตและผลลัพธ์
      (๒.๒)   ให้มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายรวมของภาครัฐที่ครอบคลุม
งบประมาณส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และส่วนท้องถิ่น
      (๒.๓)   มีกลไกประสานแผนงาน แผนเงิน แผนคน เพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้งระบบโดยยึดหลักการของพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม และให้จัดสรรงบประมาณลงสู่ชุมชนหรือองค์กรนอกภาครัฐได้โดยตรง
      (๒.๔)   ปรับปรุงการบริหารรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินให้มีเพียงพอสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาและการผ่อนชำระหนี้ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงระบบเงินประจำงวดและประสิทธิภาพการเบิกจ่าย
      (๒.๕)   จัดระบบกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนที่รัฐบาลสนับสนุนให้มี
ประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในการบริหารการคลังและลดภาระงบประมาณ
 (๓)   ปรับปรุงการจัดการด้านรายได้และนโยบายภาษี โดย
      (๓.๑)   ปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิต การค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งในเวทีอนุภาคอาเซียนและเวทีโลก
      (๓.๒)   ทบทวนและปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้งระบบ
      (๓.๓)   ส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับการยื่นชำระภาษี โดยเฉพาะเร่งรัดการนำมาใช้สำหรับการยื่นชำระภาษีการนำเข้าและส่งออกสินค้า
      (๓.๔)   บริหารรายได้ภาครัฐให้มีเพียงพอกับภาระงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งงบประจำและการชำระหนี้ เช่น การสร้างฐานรายได้ของประเทศ การเพิ่มฐานภาษี
การบริหารการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพ และรักษาอัตราภาษีที่เหมาะสม รวมทั้งบริหารทรัพย์สินของภาครัฐที่มีอยู่ให้มีผลตอบแทนสูงสุด
      (๓.๕)   ปรับปรุงภาษีที่เก็บจากทรัพย์สินเพื่อลดการถือครองทรัพย์สินเพื่อการเก็งกำไร และพิจารณานำภาษีมรดกมาบังคับใช้ เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
      (๓.๖)   พิจารณาจัดเก็บภาษีเพื่อคุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      (๓.๗)   ปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการศึกษา พัฒนาฝีมือแรงงานและการวิจัยและพัฒนา
   (๔)   ส่งเสริมระบบการออมของประเทศ โดยปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคม ให้ครอบคลุมประชากรและผู้ใช้
แรงงานอย่างทั่วถึง โดยให้ความสำคัญกับการออมเพื่อการชราภาพ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางการเงินในระยะยาว
   (๕)   กระจายอำนาจการคลังและถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม โดย
      (๕.๑)   เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการวางแผน การจัดทำและบริหารงบประมาณ เพื่อสามารถสนองต่อความต้องการของชุมชน
      (๕.๒)   ปรับบทบาทและการจัดสรรบุคลากรของส่วนกลางให้สอดคล้องกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่ม
บทบาทในการจัดการบริการสาธารณะตามศักยภาพของตนเองได้มากขึ้น
      (๕.๓)   พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ
จัดเก็บรายได้ โดยเฉพาะประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามศักยภาพของท้องถิ่น เพื่อแบ่งเบาภาระจากส่วนกลาง
๓.๓   แนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศให้อยู่บนทางสายกลาง มีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างรู้เท่าทัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศที่ใช้ความรู้ความสามารถในประเทศมากขึ้น โดยต้องสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจชุมชนในระดับรากหญ้า ภายใต้กรอบของเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพมั่นคง ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
   (๑)   ปรับปรุงระบบการเจรจาทางการค้าทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาคและ
พหุภาคีและปรับกลไกความร่วมมือเศรษฐกิจต่างประเทศในทุกด้าน ให้มีความชัดเจนและเชื่อมโยงกันทั้งด้านการค้า การตลาด การบริการ และการลงทุน เพื่อให้สามารถใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศมาสนับสนุนกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   (๒)   เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะของประเทศ ให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม และมุ่งให้ทุนที่มีคุณภาพสร้างฐานรากในประเทศ และต่อยอดการพัฒนาบนพื้นฐานของทุนภายในประเทศด้านต่างๆ อาทิ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้และภูมิปัญญา ทักษะและฝีมือ ความสามารถในการบริหารจัดการ เทคโนโลยี เป็นต้น
   (๓)   ใช้ประโยชน์จากเวทีความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยสร้างพันธมิตรระหว่างกลุ่มหรือภูมิภาคที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในทวีปเอเซีย ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่จะส่ง
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ อาทิ การพิทักษ์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงเครือข่ายทางโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น

แล้วมาดู นโยบายของพรรคไทยรักไทยด้านเศรษฐกิจ

 

จากการที่เราได้ก้าวเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลก ที่การเคลื่อนไหวของทุนมีอิทธิพลต่อการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งในแง่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และชะตากรรมของคนในสังคมโลก ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแรงกดดันดังกล่าวอย่างรุนแรง ประกอบกับความผิดพลาดเชิงนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและวัฒนธรรมในอดีต ทำให้ประเทศเข้าสู่วิกฤตจนลุกลามไปทุกปริมณฑลของสังคมอยู่ในขณะนี้ และดูเหมือนว่าวิกฤตการณ์ดังกล่าวจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ความรุนแรงของสถานการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้ จะต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขอย่างถูกต้องและทันท่วงที ดังนั้นพรรคจึงเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีนโยบายใหม่ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น และอาจทวีความรุนแรงในอนาคตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างการผลิตและการเงินของประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับการสั่งสมทางปัญญาของสังคมไทย นโยบายใหม่นี้จะสร้างให้คนมีความหวัง มีความรู้สึกภาคภูมิใจรู้สึกว่าตนและประเทศของตนมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี กรอบของนโยบายใหม่นี้จะสอดประสานกันแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวม สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นไปได้โดยจะสามารถบรรลุเป้าหมายในเชิงของการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคมที่กำลังเผชิญอยู่อย่างประสานสอดคล้องไปพร้อมกันไม่ว่าจะเป็น ปัญหาหนี้ต่างประเทศ ความชะงักงันของการส่งออก การถดถอยทางเศรษฐกิจ

   การว่างงาน ปัญหาระบบการเงินและสถาบันการเงิน การศึกษา การกระจายโอกาสในชีวิต การจัดโครงสร้างการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ตลอดจนเสริมสร้างบทบาทของไทยในการเป็นผู้นำของภูมิภาค ที่สามารถเสนอทางเลือกที่จะออกจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ได้อย่างแจ่มชัด และมีความเป็นไปได กรอบของนโยบายใหม่นี้จะสอดรับและ สามารถใช้ประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของข้อมูลข่าวสาร ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและความต้องการของสังคมไทยในอนาคต ปรัชญาของนโยบายเศรษฐกิจ เนื่องจากเป้าหมายสูงสุดของการบริหารราชการแผ่นดินคือ การเพิ่มพูนความอุดมให้กับชีวิตของประชาชน โดยการสร้างและธำรงไว้ซึ่งความเสมอภาคของโอกาสในชีวิตให้ กับประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจก็ต้องสอดคล้องและตอบสนองต่อการสร้างโอกาสดังกล่าว และต้องสามารถปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนให้ถูกกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากความผันผวนทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาแต่อิทธิพลของการเคลื่อนไหวของทุนที่รวดเร็วในระดับโลก

   นโยบายเศรษฐกิจจะต้องเป็นนโยบายที่ยืดหยุ่นโปร่งใส ชอบธรรมและตรวจสอบได้ โดยยึดเอกราชทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางด้านการเงินการคลัง พรรคยึดมั่นในการรักษา "หัวใจ" ของวินัยการเงินการคลัง โดยไม่ให้น้ำหนักกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งจนทำให้เกิดความระส่ำระสายต่อระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง ในโลกปัจจุบันที่การดำเนินนโยบายการเงินการคลังถูกกำหนดโดยปัจจัยภายนอกประเทศ ที่ไม่สามารถควบคุมได้หลายประการ การอ้างการรักษาวินัยโดยให้น้ำหนักกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งอย่างไม่มีความยืดหยุ่นในเชิงปฏิบัติ และไม่คล่องตัวรังแต่จะทำให้การรักษาวินัยนั้นไม่ก่อประโยชน์ที่แท้จริง แต่กลับจะทำให้ไม่สามารถรักษาวินัยได้ในที่สุด วินัยการเงินการคลังดังกล่าวจะต้องก่อประโยชน์ต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แท้จริง เนื่องจากเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงินและการคลัง เป็นเพียงภาพสะท้อนของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งประกอบด้วยเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามศักยภาพของประเทศ

   ระบบเศรษฐกิจของวิสาหกิจขนาดใหญ่ ระบบเศรษฐกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ดังนั้นนโยบายการเงินการคลังต้องมุ่งรักษาสมดุลของพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริง เพื่อลดความเสี่ยงทั้งระบบเศรษฐกิจ นโยบายเร่งด่วนพรรคให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก กับกิจกรรมที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้กับประเทศ ทั้งโดยการเร่งสนับสนุนการส่งออก เร่งวางกรอบในการปรับโครงสร้าง การผลิตภายในประเทศ เพื่อเพิ่มจำนวนและสร้างความแข็งแกร่งให้กับกิจการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ เร่งเพิ่มจำนวนและบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะด้าน อันเป็นกลไกของรัฐให้ส่งเสริมกิจการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเหล่านั้นอย่างเร่งด่วน พรรคให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการใช้นโยบายการเงินการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศโดยที่การกระตุ้นนั้น จะไม่ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่ได้แต่จะเสริมสร้าง

   ศักยภาพให้ธุรกิจในประเทศสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้การลดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิดผลกระทบอันไม่พึงปรารถนา พรรคจะจำกัดการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินบาทและเงินตราต่างประเทศให้น้อยที่สุด เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนสะท้อนความเป็นจริงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวจะสนับสนุนและเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมที่มีศักยภาพ ในการเสริมสร้างรายได้ให้กับประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาต่อสังคมไทย พรรคให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับ การปรับโครงสร้างและปฏิรูประบบการเงินของประเทศทั้งระบบอันได้แก่ การวางกรอบและสนับสนุนให้สถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชน สามารถยกระดับตัวเองทั้งในแง่ของความมั่นคงและมาตรฐาน

   การปฏิบัติงานในระดับสากลและในฐานะที่ระบบสถาบันการเงินปัจจุบันไม่สามารถ ให้ความช่วยเหลือกับกิจการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างเต็มที่ พรรคจึงสนับสนุนให้จัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะด้าน อีกทั้งการออกมาตรการทางด้านตลาดทุนและมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อช่วยให้กิจการเหล่านั้น สามารถก้าวข้ามพ้นขวากหนามทางการเงินโดยเร่งด่วน พรรคให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด กับการเร่งบรรเทาปัญหาคนว่างงาน อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจด้วย การจัดให้มีศูนย์เพิ่มพูนทักษะ สำหรับแรงงานในเมือง ซึ่งเคยทำงานในอุตสาหกรรมและธุรกิจที่ประสบปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาจากอุตสาหกรรมการเงิน และบริการให้ได้รับการฝึกฝนเพื่อให้มีทักษะที่มีประโยชน์ และสามารถเกื้อกูลต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ การฝึกฝนให้สามารถช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษาทั้งในด้านการเงินการบัญชี การบริหารและการจัดการ แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเพื่อเพิ่มพูนการส่งออกซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารสมัยใหม่ อันบั่นทอนความสามารถในการส่งออกอย่างน่าเสียดาย การเร่งรัดโครงการสร้างงานในชนบทตาม โครงการที่ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ อีกทั้งการเร่งรัดและควบคุมให้หน่วยงานรัฐใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในโครงการ ที่ช่วยให้เกิดการจ้างงานทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาค โดยเร่งด่วนนอกจากนั้นพรรคจะสนับสนุนให้เกิดโครงการ "กลับเข้าห้องเรียน"ในระดับประเทศโดยการสำรวจแรงงานฝีมือที่ตกงานทั่วประเทศ แล้วสนับสนุนให้กลับเข้าไปเรียน และฝึกทักษะในด้านต่างๆ ตามวิทยาลัยเทคนิคหรือโรงเรียนอาชีวะศึกษาทั่วประเทศ โดยได้รับค่าตอบแทนพรรค ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด กับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อการส่งออกให้เป็นฐานการผลิตการจ้างงานและการส่งออกของประเทศ หัวใจของนโยบายดังกล่าวจะอยู่ที่ การปรับโครงสร้างการผลิตในระบบเศรษฐกิจไทยเสียใหม่ โดยสนับสนุนวิสาหกิจเหล่านี้ที่ประกอบการอิสระและผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งมีอยู่แล้ว และกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศให้เป็นแกนในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ

   ในอนาคตนอกจากนั้น วิสาหกิจเหล่านี้ยังจะมีบทบาทสำคัญในการดึงเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องให้กับระบบ และเป็นกลไกสำคัญในการกระจายการลงทุนและฐานการผลิตสู่ภาคต่างๆ ของประเทศ เพื่อรองรับการจ้างงานในชนบท และเป็นตัวจักรกลสำคัญในการสร้างทักษะและถ่ายทอดทักษะระหว่างคนงาน ทั้งจากภายนอกประเทศสู่ภายในประเทศและระหว่างผู้ผลิตและคนงานภายในประเทศด้วยกันเอง การพัฒนาและยกระดับทักษะเหล่านี้เอง จะเป็นหนทางอันสำคัญที่จะส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ที่จะสามารถเลือกกระบวนการในการสร้างความมั่งคั่งของตนด้วยตนเอง สอดคล้องกับแนวคิด"เศรษฐกิจพอเพียง" ที่เหมาะสมกับศักยภาพและวิถีชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ต้องควบคู่ไปกับการดูแลไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง ด้วยการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงจนเกินไป แต่ในขณะเดียวกันก็ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเป็นธรรมและข้อเท็จจริง ของความสามารถในการผลิตที่สร้างรายได้อย่างแท้จริงของผู้ประกอบการ นโยบายระยะกลางและระยะยาว ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน พรรคจะสนับสนุนและผลักดันให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่พอเพียง ตามศักยภาพของชุมชนในระดับรากฐานของประเทศตั้งแต่

   การผลิตเพื่อบริโภค และเหลือขายในระดับครอบครัว การรวมตัวเพื่อดำเนินเศรษฐกิจในระดับชุมชน การเชื่อมโยงอย่างเกื้อกูลและสนับสนุนซึ่งกันและกันกับธุรกิจขนาดใหญ่ สู่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศอย่างเป็นระบบ พรรคจะให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับภาคเกษตรกรรม ให้เป็นภาคเศรษฐกิจหลักที่จะต้องเติบโตควบคู่ไปกับภาคอุตสาหกรรมและบริการ และได้รับการเอาใจใส่ในการเพิ่มพูนสมรรถนะการผลิต และยกระดับคุณภาพเพื่อให้ได้ผลผลิตที่พอเพียง เลี้ยงดูประชากรในประเทศ และเหลือเพื่อส่งออก รวมไปถึงเป็นวัตถุดิบอันสำคัญให้กับภาคอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่มีความหลากหลายและมีศักยภาพสูงในตลาดโลก พรรคจะสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรม จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของอุตสาหกรรมเป้าหมายเสียใหม่ เพื่อมุ่งสู่การระดมทรัพยากรเพื่อการผลิตในสิ่งทีเราถนัด และมีความสามารถที่สั่งสมมาเป็นพิเศษ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ทักษะฝีมือที่เรามี ความโดดเด่นเชี่ยวชาญ โอกาสทางการตลาดและความสามารถเชิงแข่งขันในระยะยาว ความสามารถในการขยายขอบข่ายสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมสนับสนุน อีกทั้งการเชื่อมโยงอย่างสมดุลระหว่างอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นแรงงานไปสู่การพัฒนาให้เกิด

   อุตสาหกรรมที่มุ่งใช้ความรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิต ที่จะทวีความสำคัญยิ่งในระยะยาว ยกระดับความสามารถเชิงแข่งขันพร้อมเผชิญกระแสแข่งขันการค้าเสรี พรรคจะสนับสนุนให้มีแผนการสนับสนุน และสร้างเสริมความสามารถเชิงแข่งขันเป็นการเฉพาะในแต่ละอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ พรรคจะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการกำหนดอาณาเขตพื้นที่เป็นการเฉพาะ สำหรับแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นเบ้าหลอมแห่งการเพิ่มขีดความสามารถเชิงแข่งขันที่แท้จริง การคัดเลือกจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ ความสอดคล้องกับทรัพยากร และทักษะของประชากรในพื้นที่ ความสามารถในการจูงใจให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมายเข้ามาลงทุนในพื้นที่ การชักจูงให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสนับสนุนเข้ามาอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ความพรั่งพร้อมของการมีสถานศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อป้อนวิทยาการและบุคลากรแก่ผู้ผลิต ความพรั่งพร้อมของบริการขนส่งตลอดจนความพร้อมของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายแต่ละประเภท ทั้งนี้เพื่อให้ผลผลิตมีคุณสมบัติพร้อมที่จะแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างแท้จริง พรรคจะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการขนาดใหญ่ จำนวนมากพอในแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความแข็งแกร่ง ทั้งในแง่ของเทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง ด้านเงินทุนด้านการผลิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว และด้านการตลาดที่เข้มแข็งเพียงพอในการก้าวสู่ธุรกิจการค้าในระดับโลกในด้านหนึ่งนั้น
 
 
   เพื่อป้องกันมิให้เกิดการผูกขาดรวมศูนย์ในแต่ละอุตสาหกรรม แต่ในอีกด้านหนึ่งทีมีความสำคัญยิ่งก็คือ การกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันอันเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่ง และความสามารถเชิงแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดใหญ่เหล่านี้ ให้สามารถเป็นหัวหอกที่ทรงประสิทธิภาพในการรุกสู่ตลาดโลกของแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ในอนาคตพรรคจะสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกิจการธุรกิจในภาคเอกชนให้มีความโปร่งใส เข้มแข็ง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทัดเทียมระดับมาตรฐานโลกทั้งในเชิงของคุณภาพผู้บริหาร และระบบการจัดการเทคโนโลยีการปรับโครงสร้างการเงิน และโครงสร้างทุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร การเปิดเผยข้อมูลและข้อเท็จจริงของกิจการการ ยกระดับเครื่องจักรและวิทยาการการผลิต ทั้งนี้เพื่อยกระดับศักยภาพและประสิทธิภาพของธุรกิจเอกชนไทยโดยส่วนรวม อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในเชิงของการจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุน และทั้งในเชิงของการเตรียมพร้อมเผชิญกระแสการแข่งขันเสรีในอนาคต พรรคจะเร่งยกระดับความสามารถเชิงการผลิตของประเทศ ด้วยการส่งเสริมและจูงใจให้มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและเครื่องจักร

   การผลิตให้ทันสมัยภายใต้ข้อจำกัดของประเทศ ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต กระบวนการผลิตและการจัดการ ชักจูงให้มีการเคลื่อนย้ายฐานผลิตของอุตสาหกรรมเป้าหมาย จากต่างประเทศ พร้อมทั้งเร่งรัดการพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตลอดจนยกระดับความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เทียบเท่ามาตรฐานโลก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจขนาดใหญ่ที่เข้มแข็งเพียงพอ ที่จะก้าวสู่การแข่งขันในระดับโลก พรรคจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็ง ให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมประเภท สนับสนุนซึ่งมักมีขนาดเล็กและเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ทั้งในฐานะของการเป็นฐานผลิต วัตถุดิบชิ้นส่วน วัสดุ อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงสนับสนุนและเกื้อกูล การสนับสนุนผู้ประกอบการเหล่านี้ ควรมุ่งเน้นในการเพิ่มความเข้มแข็งและขีดความสามารถเชิงแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิต การเงิน เทคโนโลยีและการจัดการยกระดับนโยบายการค้าต่างประเทศ จากการเน้นเพียงเร่งรัดการส่งออกในทุกระดับ สู่การพัฒนาเครือข่ายการตลาดเข้าสู่ระดับโลก เพื่อผนึกและสอดรับเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกอันเข้มแข็งในโลกยุคไร้พรมแดน พรรคสนับสนุนและผลักดันให้ภาคเอกชนยกระดับความพร้อม ในการเผชิญการแข่งขันเสรีในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในด้านการพัฒนาความรอบรู้ในโครงสร้างและกลไกเศรษฐกิจการค้าโลก ทั้งในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค ความรอบรู้ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศและในประเทศ เป้าหมายการใช้แนวคิดการตลาดสมัยใหม่ การพัฒนาองค์กรและบุคลากร การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะ เทคโนโลยีและวิทยาการที่จำเป็นในการแข่งขันระดับโลกอย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งออกของไทยในทุกๆ มิติ ทั้งในมิติของคุณภาพ มิติของการสร้างมูลค่าเพิ่ม มิติของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทักษะหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรใหม่ๆ เพื่อรุกสู่ตลาดต่างประเทศ และในมิติที่สำคัญที่สุดได้แก่ การก้าวจากการเน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นกายภาพ ไปสู่การส่งออกผลิตภัณฑ ์และบริการที่มีสัดส่วนของทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าการขายแรงงาน มุ่งพัฒนาเครื่องหมายการค้าของสินค้าไทย สู่ตลาดโลกให้ต่างประเทศนิยมเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างและพัฒนาเครื่องหมายระดับโลก ในอุตสาหกรรมอาหารอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเสื้อผ้า และสิ่งทอ อุตสาหกรรม เซรามิก และอุตสาหกรรมเครื่องหนัง เป็นต้น ในระยะยาว พรรคจะให้ความสำคัญกับการสนับสนุน ให้กิจการของไทยได้รับประโยชน์จากสภาวะการโลกาภิวัตน์ของทุนทางการเงิน ทุนทางเทคโนโลยี และทุนทางปัญญาซึ่งจะทำให้บางส่วนของเศรษฐกิจไทยที่มีศักยภาพได้ประโยชน์สูงสุด จากบทบัญญัติใหม่ขององค์กรการค้าโลกโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีศักยภาพจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ี่โดยจัดให้เป็นความเร่งด่วนพิเศษในการพัฒนาเครือข่ายการตลาดเข้าสู่ระดับโลก เพื่อผนึกและสอดรับเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกอันเข้มแข็งในโลกยุคไร้พรมแดน ส่งเสริมให้ผู้ส่งออกไทยในทุกระดับ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีศักยภาพเพียงพอทั้งในแง่ของทักษะความสามารถ

   ในการผลิตและมีตลาดรองรับ ให้สามารถก้าวเข้าสู่การเป็นบริษัทระดับโลก ทั้งนี้โดยยึดถือโลกทั้งโลกเป็นตลาดสินค้า เป็นแหล่งวัตถุดิบและสามารถใช้เป็นแหล่งการผลิต หรือประกอบสินค้าโดยเน้นการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต และการจำหน่ายให้ได้ประโยชน์สูงสุดในเชิงต้นทุนและการตลาด การก้าวข้ามจากการเป็นเพียงผู้ส่งออก ไปสู่การสร้างเครือข่ายการผลิตและตลาดในระดับโลก ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาไว้ซึ่งความได้เปรียบในเชิงแข่งขันที่เคยมีเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศอีกด้วย ส่งเสริมให้กิจการของไทยสามารถครอบครองเทคโนโลยี หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มาจากแหล่งอื่น แล้วนำมาทำการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้สามารถทำการผลิตให้มีความหลากหลายกว่าของเดิม ส่งเสริมให้กระทรวงพาณิชย์ปรับปรุงศูนย์พาณิชย์กรรม และสำนักงานการพาณิชย์ในต่างประเทศ ให้เป็นแหล่งระดมทักษะของบุคลากรต่างประเทศ ที่มีศักยภาพในการเข้าร่วมกระบวนการสร้างต้นแบบของสินค้า ที่จะส่งออกไปยังตลาดทั่วไปในโลกและตลาดเฉพาะ โดยต้นแบบนั้นจะต้องสามารถก่อให้เกิดการผลิตขึ้นในประเทศไทย โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สำหรับศูนย์พาณิชยกรรมและสำนักงานการพาณิชย์ในต่างประเทศนั้น จะต้องทำหน้าที่เป็นสถานที่แสดงสินค้า อันเนื่องมาจากทักษะที่พร้อมด้วยข้อมูลประกอบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าต่างประเทศ ในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าจากไทย หรือเข้าร่วมทุนการผลิตกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไทย ศูนย์พาณิชยกรรมและสำนักงานการพาณิชย์ในต่างประเทศ จะต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ในการผลักดันให้รัฐบาลประเทศนั้น ๆ อำนวยความสะดวกต่อการย้ายทุนทางปัญญา ทุนทางเทคโนโลยีและทุนประกอบการ มายังประเทศไทยโดยให้เป็นประโยชน์ร่วมกันแก่ทั้ง สองประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

   ศูนย์พาณิชยกรรมและสำนักงานการพาณิชย์ในต่างประเทศ จะต้องมีบุคลากรที่เหมาะสมกับเป้าหมายของแผนงานดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องใช้ข้าราชการประจำ และการจัดตั้งศูนย์พาณิชยกรรมจะต้องเลือกสถานที่ที่เหมาะสมแก่ลูกค้า บุคลากรที่วิสาหกิจไทยต้องการเพื่อเข้ามามีส่วนในการสร้างสินค้าต้นแบบและพัฒนาสินค้าร่วมกันตลอดไป พรรคสนับสนุนให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริหารราชการของกระทรวงเศรษฐกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจทั้งในเชิงของการวางแผนยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนในด้านการตลาด ด้านข้อมูลข่าวสาร การระบุหรือติดต่อลูกค้าเป้าหมาย ตลอดจนช่วยแก้ไขอุปสรรคการค้าในต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นให้มีการผนวกแนวทาง นโยบายทิศทางการบริหารและแนวทางปฏิบัติงาน ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดพลังผนึกสูงสุดต่อการขยาย และพัฒนาการส่งออกของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ปฏิรูปองค์กรแห่งรัฐ พลิกโฉมใหม่วิสาหกิจไทย พรรคจะเร่งดำเนินการปฏิรูปสถาบัน และองค์กรหลักทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านโครงสร้าง องค์กร ระบบการจัดการ การพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และวิทยาการ ทั้งนี้เพื่อยกระดับความสามารถและศักยภาพขององค์กรแห่งรัฐ ให้สามารถเป็นหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจ ในการชี้นำและกำหนดยุทธศาสตร์ อีกทั้งสามารถสนับสนุนภาคเอกชนให้พร้อมเผชิญกระแส ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อประสานให้เกิดพลังผนึกที่แท้จริงทั้งในระหว่างองค์กรแห่งรัฐด้วยกันและในระหว่าง ภาครัฐกับเอกชน ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ แนวทางนโยบายและการประสานในระดับการปฏิบัติ ให้บังเกิดผลอย่างแท้จริงพร้อมกับการเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานรัฐ จากผู้ควบคุมมาเป็นผู้สนับสนุน พรรคสนับสนุนการเร่งรัดเพิ่มพูนประสิทธิภาพ รัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการนำวิธีการบริหารจัดการแบบเอกชน มาประยุกต์ใช้ในรัฐวิสาหกิจ เพื่อสร้างและพัฒนาองค์กรให้มีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนภาคเอกชนให้ข้ามามีส่วนในการถือครองหุ้นและมีบทบาทร่วมในการบริหารรัฐวิสาหกิจ
 


ไหน killer แยกออกมาหน่อยสิว่า ยุทธศาสตร์ของพรรคไทยรักไทยมีอะไรแหวกแนวตรงไหนที่มันต่างไปจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติบ้างวะ  แหกตาอ่านตรงนี้อีกครั้ง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจคือบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐบาลในการที่จะพัฒนาประเทศ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ แบบแผน วิธีดำเนินการ และการกำหนดหน่วยปฏิบัติการอย่างเป็นระบบแบบแผน

ตกลงพวกลิ้วล้อจะเอายังไงแน่วะ เดี๊ยวก็ด่า เศรษฐกิจพอเพียง เชิดชูทุนนิยม เดียวก็มาชมว่า รัฐบาลแม้วทำเศรษฐกิจพอเพียงได้ดี แถม ดีกว่าแผนพัฒนาเศรษบกิจแห่งชาติอีก (โคตรขำเลยเพราะรู้สึกว่ายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขามีหน้าที่ทำอะไรและมีไว้เพื่ออย่างไร และรัฐบาลเกี่ยวข้องอย่างไร) ตกลงว่า พรรคไทยรักไทยใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงแบบฉบับบตัวเองเหรอไหนๆ ลิ้วล้อ จำแนกมาให้หน่อยสิจ๊ะ  

ตัวอย่างการ แผน และ นโยบายด้านการใช้พลังงานของรัฐบาล ทักสิน  

จากสภาพทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ด้านพลังงานที่เปลี่ยนแปลงส่งผลทำให้ต้องมีการศึกษาถึงกฎหมาย นโยบาย และมาตรฐานต่างๆ
ด้านพลังงานเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ของโลกปัจจุบันและเป็นแนวทางในการวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและ
ยั่งยืน ซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจและควรติดตามดังนี้

1. แผน และนโยบายด้านการพลังงานของรัฐบาล
เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการบริหารและการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศ รวมทั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) อันจะสามารถนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาด้านธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีสิ่ง
ที่น่าสนใจที่ควรจะติดตามศึกษาได้แก่

     1.1 สาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เป็นแผนพัฒนาฯ ที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลาง
     เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกา
     ภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยมีสาระสำคัญในเรื่องต่างๆ ดังนี้



   ก. วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ  มุ่งพัฒนาสู่  “  สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ ” ใน 3 ด้าน  ได้แก่
    ด้านสังคมคุณภาพ  ด้านสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้  และ ด้านสังคมสมานฉันท์ และเอื้อ
    อาทรต่อกัน

ข. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9  มีการกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
    หลัก ดังนี้

           - วัตถุประสงค์   เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ  วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้ม
              แข็ง พึ่งตนเองได้ มีการบริหารการจัดการที่ดี รวมทั้งแก้ปัญหายากจนและเพิ่มโอกาสของ
              คนไทยในการพึ่งพาตนเอง

            - เป้าหมาย ทำให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจ , ยกระดับคุณภาพชีวิต , มีการบริหารการจัด
              การที่ดี และ ลดการยากจนโดยเพิ่มโอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตสามารถพึ่งตนเองได้

ค. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ  แบ่งเป็น 3 กลุ่มยุทธศาสตร์ ได้แก่ การ
    สร้างระบบบริหารการจัดการที่ดี  ให้เกิดขึ้นในทุกภาพส่วนของสังคม ,   การเสริมสร้างฐานราก
    ของสังคมให้เข้มแข็ง ,  การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน

ง. ลำดับความสำคัญของการพัฒนา  ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญ  กับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของ
    ประเทศ  ภายใต้ทรัพยากรภาครัฐที่มีอยู่จำกัด  ต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง มั่นคง  และปรับ
    ฐานเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถขยายตัวต่อเนื่องในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ

จ. การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ    จำเป็นต้องผนึกพลังร่วมจากทุกๆ
    ฝ่ายในสังคม  ในการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การพัฒนาใหม่   ทั้งด้านวิธีคิด   วิธีทำงาน  สา
    มารถสร้างเครือข่าย และประสานความร่วมมือในการแปลงยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนา
    ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
 

     1.2 แนวทางการพัฒนาพลังงานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยเฉพาะในเรื่องการจัดหาพลังงานของประ
     เทศ ในด้าน การจัดหาน้ำมันดิบ , การสำรองน้ำมัน , ก๊าซธรรมชาติ ด้านความต้องการ , การจัดหา และการขยายขีดความสามารถของ
     ระบบท่อส่ง ก๊าซฯในอนาคต

     1.3 คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโย-
     บายของรัฐบาล ที่มุ่งสร้างเสถียรภาพและความมั่งคง ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองของประเทศ รวมทั้ง นโยบายด้าน
      พลังงานของรัฐบาล ซึ่งจะส่งเสริมการใช้พลังงานแบบผสมผสาน สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติ มีการเร่งสำรวจ
      พัฒนาจัดหาพลังงานทดแทน และสนับสนุนการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีแนวใหม่เพื่อการประหยัดพลังงาน

     1.4 ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานของประเทศ จะมีประเด็นที่เกี่ยวกับ ภาพรวมพลังงานที่มีแนวโน้มการใช้และการนำเข้าที่
      เพิ่มขึ้น , การประเมินผลการพัฒนาพลังงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 , ปัญหาอุปสรรค จุดอ่อน และโอกาส , วิสัยทัศน์การพัฒนา
      พลังงานของประเทศ รวมทั้ง แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

     1.5 แผนยุทธศาสตร์ การอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ในช่วงปี 2545-2554 โดยจะมีกรอบแนวคิดหลัก ๆ ได้แก่ การปรับโครงสร้าง
     การบริหารจัดการพลังงานให้เหมาะสม รวมทั้ง แก้ไขกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อโครงสร้างใหม่ , การพัฒนาพลังงานจาก
     เชื้อเพลิงที่เป็นชีวมวลและพลังงานอื่นทดแทน

     1.6 สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปิโตรเลียม



ผมละงงจริงๆว่าลิ้วล้อเหล่านี้จะเอายังไงแน่ เพราะจะตอบอะไรนี่รู้สึกสวนทางกับระบบการทำงานของรัฐบาลทุกที เอ้าตอบมากันชัดๆว่า รัฐบาลทักสิน ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการดำเนินนโยบายต่างๆรึไม่ และ นโยบายของรัฐบาล  ทักสิน สนับสนุนแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ตอบซะแล้วก็จะได้จบๆซะทีนะจ๊ะ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 24-10-2006, 15:36
ขยันแต่โง่ไปหน่อย เขมรแดงมันจับไปยิงทิ้งเสียเยอะแล้วคนพวกนี้

แผนเผินอะไรนั่นก็บอกแล้วว่ามันเป็น วิทยานิพนธ์ ปน นวนิยาย ที่พวกนักวิชาการในองค์กรนั้น

เค้าแต่เรียบเรียงมันให้สวยหรูดูดี หน่วยงานนี้ มันนำพาประเทศชาติไปบรรลัยวายป่วงเมื่อปี 40

ยังจำกันไม่ได้อีกหรือ ก็เพราะทุกๆรัฐบาลเดินตามแนวทางพวกนี้ใช่หรือเปล่าล่ะครับพี่....????

ทุกวันนี้เค้าเอาไว้สำหรับชุบตัวลูกท่านหลานเธอ จบมาจากนอก จะได้มีหน้ามีตาในวงสังคมครับ



ส่วนรัฐบาลไหนจะโง่หยิบฉวยเอามาทำก็เชิญ แต่รัฐบาลไทยรักไทยไม่ครับ

ด้วยเหตุนี้องค์นี้เค้าจึงแสดงอาการรังเกียจหมั่นไส้ ทรท.กันเสียเหลือเกินไงล่ะครับ

ถ้าจะพัฒนากันตามแบบที่องค์กรนี้ แต่งเรียงความเอาไว้ คงต้องใช้งบประมาณมหาศาล

รัฐบาลที่ฉลาดเขาจะมียุทธศาสตร์ อันไหนทำก่อน-หลัง เป็นแทคติคความสามารถเฉพาะตัว

ไม่เหมือนรัฐบาลที่ผ่านๆมา ทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันเลยซักอย่าง ประเทศก็ไม่ได้ขับเคลื่อนไปไหน

เพราะ  "มันโง่ไงครับ" 


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 15:54
สงสัยยังไม่อ่าน นโยบายไทยลากไทย ที่แถลงต่อรัฐสภา...

แค่นี้ก็อภิปรายไม่ไว้วางใจได้ 7 วัน 7 คืน...


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 24-10-2006, 16:24
ขยันแต่โง่ไปหน่อย เขมรแดงมันจับไปยิงทิ้งเสียเยอะแล้วคนพวกนี้

แผนเผินอะไรนั่นก็บอกแล้วว่ามันเป็น วิทยานิพนธ์ ปน นวนิยาย ที่พวกนักวิชาการในองค์กรนั้น

เค้าแต่เรียบเรียงมันให้สวยหรูดูดี หน่วยงานนี้ มันนำพาประเทศชาติไปบรรลัยวายป่วงเมื่อปี 40

ยังจำกันไม่ได้อีกหรือ ก็เพราะทุกๆรัฐบาลเดินตามแนวทางพวกนี้ใช่หรือเปล่าล่ะครับพี่....????

ทุกวันนี้เค้าเอาไว้สำหรับชุบตัวลูกท่านหลานเธอ จบมาจากนอก จะได้มีหน้ามีตาในวงสังคมครับ



ส่วนรัฐบาลไหนจะโง่หยิบฉวยเอามาทำก็เชิญ แต่รัฐบาลไทยรักไทยไม่ครับ

ด้วยเหตุนี้องค์นี้เค้าจึงแสดงอาการรังเกียจหมั่นไส้ ทรท.กันเสียเหลือเกินไงล่ะครับ

ถ้าจะพัฒนากันตามแบบที่องค์กรนี้ แต่งเรียงความเอาไว้ คงต้องใช้งบประมาณมหาศาล

รัฐบาลที่ฉลาดเขาจะมียุทธศาสตร์ อันไหนทำก่อน-หลัง เป็นแทคติคความสามารถเฉพาะตัว

ไม่เหมือนรัฐบาลที่ผ่านๆมา ทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันเลยซักอย่าง ประเทศก็ไม่ได้ขับเคลื่อนไปไหน

เพราะ  "มันโง่ไงครับ" 



อ่านให้ละเอียดเสียก่อนแล้วค่อยมาแสดงความโง่นะครับ KILLER พยายามใช้สมองทำความเข้าใจหน่อยนะครับ คุณไม่สงสัยเหรอว่าทำไม ทุกๆรัฐบาลของโลกจึงใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายต่างๆของประเทศ แล้วคุณมีข้อมูลใดที่มาบอกผมได้บ้างล่ะว่ารัฐบาลที่แล้วไม่ใช้แนวทางของแผนพัฒนาศก.สักนิดเดียวในการดำเนินนโยบายต่างๆ คุณดูตัวอย่างการวางแผนของนโยบายพลังงานของรัฐบาลที่แล้วที่ผมให้อ่านรึยังครับ หรือ ถ้ามีตัวอย่างของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่เขาใช้นโยบายของพรรคที่ไม่อิงนโยบายจากแผนพัฒนาศก.แห่งชาติ มาดำเนินนโยบายต่างๆก็ส่งมาให้ด้วยนะครับ เพื่อเป็นความรู้ ใหม่ KILLER เอาข้อมูลมาดูหน่อยนะครับ ไม่ใช่เอาแต่ แถ อย่างเดียว  


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-10-2006, 16:35
ขี้เกียจให้คุณพี่ไชยา มิตรไชย (พระเอกอะไรน๊า!?!) นำเรื่องเศรษฐกิจไปใช้ลากจูงกับสถาบันฯ เพราะระบบเศรษฐกิจใดก็ตามที่มีวิธีการวัดความสำเร็จของตัวระบบได้อย่างชัดเจนย่อมเป็นที่น่าเชื่อถือ ส่วนระบบเศรฐกิจไหนก็ตามใช้วิธีการวัดความสำเร็จโดยความรู้สึก....ไปคิดเอาเองน๊ะพ่อไชยา!!


อิ อิ... :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 24-10-2006, 16:51
ขี้เกียจให้คุณพี่ไชยา มิตรไชย (พระเอกอะไรน๊า!?!) นำเรื่องเศรษฐกิจไปใช้ลากจูงกับสถาบันฯ เพราะระบบเศรษฐกิจใดก็ตามที่มีวิธีการวัดความสำเร็จของตัวระบบได้อย่างชัดเจนย่อมเป็นที่น่าเชื่อถือ ส่วนระบบเศรฐกิจไหนก็ตามใช้วิธีการวัดความสำเร็จโดยความรู้สึก....ไปคิดเอาเองน๊ะพ่อไชยา!!


อิ อิ... :slime_smile2:


ตอบไม่ได้ก็บอกมาตรงๆเหอะนะ ไม่ต้องอายหรอกนะจ๊ะ แถไม่ออกบอกไม่ถูกแล้วล่ะสิ คิกๆๆ ไหนจะมาฟัดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพียวๆกะผมไม่ใช่เหรอจ๊ะ จารย์จ๊ะ มีคน request ด้วยนะ ชื่อ น้อง ชอบแถ ใช่ไม๊น๊า อีกอย่างตอนนี้ผมฟัดกะ KILLER อยู่ จะออกมาปกป้องเพื่อนร่วมงานเหรอจ๊ะ ช่างแสนรู้จริงๆ เจ้าตัวนี้ น่าเอาไปเลี้ยงดูเนอะ  :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-10-2006, 16:55
ขี้เกียจให้คุณพี่ไชยา มิตรไชย (พระเอกอะไรน๊า!?!) นำเรื่องเศรษฐกิจไปใช้ลากจูงกับสถาบันฯ เพราะระบบเศรษฐกิจใดก็ตามที่มีวิธีการวัดความสำเร็จของตัวระบบได้อย่างชัดเจนย่อมเป็นที่น่าเชื่อถือ ส่วนระบบเศรฐกิจไหนก็ตามใช้วิธีการวัดความสำเร็จโดยความรู้สึก....ไปคิดเอาเองน๊ะพ่อไชยา!!


อิ อิ... :slime_smile2:


ตอบไม่ได้ก็บอกมาตรงๆเหอะนะ ไม่ต้องอายหรอกนะจ๊ะ แถไม่ออกบอกไม่ถูกแล้วล่ะสิ คิกๆๆ ไหนจะมาฟัดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพียวๆกะผมไม่ใช่เหรอจ๊ะ จารย์จ๊ะ มีคน request ด้วยนะ ชื่อ น้อง ชอบแถ ใช่ไม๊น๊า อีกอย่างตอนนี้ผมฟัดกะ KILLER อยู่ จะออกมาปกป้องเพื่อนร่วมงานเหรอจ๊ะ ช่างแสนรู้จริงๆ เจ้าตัวนี้ น่าเอาไปเลี้ยงดูเนอะ  :slime_smile2:


แหม...นึกไม่ถึงจริงๆว่าเหยื่อมันจะติดง่ายขนาดนี้ Thanks so much...dude!!

เอางี้...ขอท้าทายว่า ให้ไปหามาตราวัดความสำเร็จของเศรษฐกิจพอเพียงทีซิว่าเค้าวัดกันอย่างไร.....งานนี้อย่าลบกระท้แล้วกัน!!  อิ อิ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 16:59
นายหน้าเหลี่ยมเอาไปป่าวประกาศหากินที่ยูเอ็นล่ะ...จริง ๆ แล้วรัฐบาลหน้าเหลี่ยมทำอะไรบ้าง

ในแผน 9 น่ะ 5 ปี ของรัฐบาลหน้าเหลี่ยมล้วน ๆ นะ ไปถึงใหน รากหญ้าเข้าใจอะไรขึ้นมาบ้างเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

เอา 5 ปี ที่สูญเสียไปคืนมาได้มั๊ย ให้งบประมาณคณะกรรมการเผยแพร่แนวพระราชดำริไปแค่ใหนเชียว
โอทอปไง เป็นภูมิคุ้มกันใช่มั้ย

อย่าว่าโง้นงี้เลยนะ โอท้อป นั่นไปหยิบเอางาน "ศิลปาชีพ" มาต่อยอด แต่ไม่เคยยกให้เป็นงานของพระองค์ท่าน

จะว่าไปแค่เดินตามรอยก็ไปใกลมากแล้ว ไม่ว่าระบบสหกรณ์ืแบบหุบกระพง หรือแบบหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา

แต่คนมันอยากได้หน้าเกินไปหน่อย

อีกนับพัน ๆ โครงการที่ทรงก่อไว้ ไม่มีรัฐบาลใหนสานต่อให้เป็นจริงเป็นจัง...พูดแล้วละเพลียใจ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-10-2006, 17:05
นายหน้าเหลี่ยมเอาไปป่าวประกาศหากินที่ยูเอ็นล่ะ...จริง ๆ แล้วรัฐบาลหน้าเหลี่ยมทำอะไรบ้าง

ในแผน 9 น่ะ 5 ปี ของรัฐบาลหน้าเหลี่ยมล้วน ๆ นะ ไปถึงใหน รากหญ้าเข้าใจอะไรขึ้นมาบ้างเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

เอา 5 ปี ที่สูญเสียไปคืนมาได้มั๊ย ให้งบประมาณคณะกรรมการเผยแพร่แนวพระราชดำริไปแค่ใหนเชียว
โอทอปไง เป็นภูมิคุ้มกันใช่มั้ย

อย่าว่าโง้นงี้เลยนะ โอท้อป นั่นไปหยิบเอางาน "ศิลปาชีพ" มาต่อยอด แต่ไม่เคยยกให้เป็นงานของพระองค์ท่าน

จะว่าไปแค่เดินตามรอยก็ไปใกลมากแล้ว ไม่ว่าระบบสหกรณ์ืแบบหุบกระพง หรือแบบหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา

แต่คนมันอยากได้หน้าเกินไปหน่อย

อีกนับพัน ๆ โครงการที่ทรงก่อไว้ ไม่มีรัฐบาลใหนสานต่อให้เป็นจริงเป็นจัง...พูดแล้วละเพลียใจ


จริงๆแล้วญี่ปุ่นต่างหากคือ เจ้าแห่ง OTOP และคุณทักษิณก็ไปยืมไอเดียมาจากญี่ปุ่นและมาดัดแปลงให้เข้ากับสภาวะของสังคมไทย


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 24-10-2006, 17:17
รอก่อนนะครับ ผมขอเวลาหน่อย ไม่นานเกินรอครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 24-10-2006, 18:08
มาแล้วครับ เอาเป็นว่าที่ผมเข้าใจก็คือ คุณต้องการถามว่ามาตราวัดความสำเร็จของเศรษฐกิจพอเพียงทีซิว่าเค้าวัดกันอย่างไร ซึ่งคุณต้องการจะเปรียบเทียบกับการคำนวนบัญชีรายได้ประชาชาติ ซึ่งอาศัยพื้นฐานการพิจารณากระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ อันได้แก่ กระแสการหมุนเวียนของเงินตรา (circular flow money) และกระแสการหมุนเวียนของสินค้า (circular flow of commodities) โดยคำนวนจากมาตรฐานชี้วัดทางเศรษฐกิจ ได้แก่

    1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ : GDP (Gross Domestic Product) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในอาณาเขตของประเทศ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ :GNP (Gross National Product) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชาติผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรของประเทศ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    3. ผลิตภัณฑ์ในประเทศสุทธิ : NDP (Net Domestic Product) คือ มูลค่าสุทธิของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในอาณาเขตของประเทศ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    4. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ : NNP (Net National Product) คือ มูลค่าสุทธิของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชาติผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรของประเทศ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    5. รายได้ประชาชาติ : NI (National income) คือ มูลค่าสุทธิของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชาติผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรของประเทศ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังหักภาษีทางอ้อมสุทธิแล้ว
    6. รายได้ส่วนบุคคล : PI (Personal income) คือ รายได้ที่ครัวเรือนได้รับจริงก่อนหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    7. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ : DPI (Disposable Personal income) คือ รายได้ที่ครัวเรือนได้รับหลังหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการได้จริง

ซึ่งผมมองว่า การใช้นโนยบายเศรษบกิจพอเพียงก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถนำตัวเลขมาคำนวนได้นะครับเพราะเมื่อคุณอ่าน เป้าหมาย และ วัตถุประสงค์แล้ว จากแผนนโยบายแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เช่น

1.เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งของภาคการเงิน ความมั่นคงและเสถียรภาพของฐานะการคลัง ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจระดับฐานรากมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น ตลอดจนเพิ่มสมรรถนะของระบบเศรษฐกิจโดยรวมให้สามารถแข่งขันได้และก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่
2.เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่ง
ตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก โดยการพัฒนาคุณภาพคน ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสุขภาพ สร้างระบบคุ้มครองความมั่นคงทางสังคม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่ายชุมชน ให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน มีการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนา


ถ้าหากเราใช้แนวทางเหล่านี้แล้วผมมองว่ามันก็ไม่ต่างการการควบคุมระบบการเงินการคลังในประเทศหรือ การพยายามรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจของประเทศตามปกติเท่าไร ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่ใช้ชี้วัดย่อมไม่น่าจะมีความแตกต่างในการประเมินผลนะครับ ผมยกตัวอย่างเช่น

การคำนวณรายได้ประชาชาติ
เราสามารถคำนวณด้วยวิธีใดก็ได้มูลค่าเท่ากัน 3 วิธี คือ

วิธีการคำนวณด้านผลผลิต
วิธีการคำนวณด้านรายจ่าย
วิธีการคำนวณด้านรายได้

ผมยกตัวอย่างด้านรายจ่าย คำนวนได้จาก

คิดจากรายการค่าใช้จ่ายรวมของประเทศ ได้แก่
รายจ่ายเพื่อการบริโภค ( consumption:C)
รายจ่ายเพื่อการลงทุน (Investment: I)
รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากรัฐบาล (Goverrnment: G)
รายจ่ายเพื่อการนำเข้าและส่งออก (net export : (x-m))

ดังนั้น รายได้ประชาชาติ(y) = C + I + G + ( x-m)

หรือ

คุณจะหาอัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อ  (Inflation Rate)

             r= (p+p t-1/pt-1)*100

              เงินเฟ้อหมายถึงการที่ระดับราคาหรือดัชนีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง  การที่จะดูว่าเงินเฟ้อ  สูงมากน้อยเท่าใด  ดูได้จากอัตราเงินเฟ้อ  ซึ่งคำนวณได้ดังนี้   
                                    โดยที่    r  =  อัตรเงินเฟ้อ

                                                P  =  ดัชนีราคา

                                                t  =  งวดเวลา

* ระดับราคา (Price level) ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์มหภาค  หมายถึงราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการต่างๆ ที่ซื้อขายในระบบเศรษฐกิจ
*  ดัชนีราคา (Price Index) หมายถึงตัวเลขที่แสดงถึงราคาเฉลี่ยของกลุ่มสินค้าและบริการ  ตามปกติเราจะต้องกำหนดราคาของสินค้าโดยให้ปีใดปีหนึ่งเป็นปีฐาน  ซึ่งดัชนีราคามีอยู่หลายประเภท  เช่น  ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index : CPI) ซึ่งคำนวณมาจากราคาในตระกล้าสินค้าที่ประกอบด้วยกลุ่มสินค้าที่ครัวเรือนบริโภคเป็นประจำและดัชนีราคาผู้ผลิต(Producer Price Index:PPI)  ซึ่งคำนวณจากราคาในตระกร้าสินค้าที่มีความสำคัญต่อผู้ผลิต  และคิดตามราคาที่ได้รับ  โดยไม่รวมค่าขนส่งภาษีทางอ้อม  และกำไรของพ่อค้าคนกลางสำหรับ GDP Deflator ก็ถือเป็นดัชนีราคาประเภทหนึ่ง

จากการคำนวนเบื้องต้นดังกล่าว ผมมองว่าการใช้เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ก่อให้เกิดการหาตัวเลขของตัวแปรแต่ละตัวที่ใช้ในการคำนวนรายจ่ายรวมของประเทศหรือ การใช้วัดอัตราเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงได้เลย หรือ คุณจะบอกว่า การชี้วัดทางเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ต้องใช้ตัวแปร เหล่านี้ในการวัด รายได้รายจ่ายทางเศรษฐกิจ ถ้าคุณมองด้าน มหภาค ผมยังมองว่าตัวแปรเหล่านี้ยังคงใช้ได้เสมอในระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ตอนแรกผมก็งงนะว่าคุณจะถามอะไรแต่ถ้าคุณต้องการถามว่า การวัดความสำเร็จนั้นวัดด้วยอะไร ผมก็ขอตอบว่าก็วัดด้วยการคำนวนบัญชีรายได้ประชาชาตินั้นแหละตามปกติเลย เพราะระบบเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการหมุนเวียนทางเศรษบกิจที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่จะเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมระบบเศรษฐกิจในประเทศให้มีความเข็มแข็งและสามารถมีรากฐานที่แข็งแกร่งอันจะเป็นรูปแบบของประเทศนั้นๆให้มีเสถียรภาพที่ยั่งยืนต่อไป เพราะผมเองก็ยังมองไม่ออกว่า ระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะหยุดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจได้อย่างไร หรือ คุณจะแย้งผม ก้เชิญตาคุณแสดงความเห็นต่อจากผมได้ ผมก็รอฟังจากคุณเช่นกัน



หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 24-10-2006, 18:17
ขี้เกียจให้คุณพี่ไชยา มิตรไชย (พระเอกอะไรน๊า!?!) นำเรื่องเศรษฐกิจไปใช้ลากจูงกับสถาบันฯ เพราะระบบเศรษฐกิจใดก็ตามที่มีวิธีการวัดความสำเร็จของตัวระบบได้อย่างชัดเจนย่อมเป็นที่น่าเชื่อถือ ส่วนระบบเศรฐกิจไหนก็ตามใช้วิธีการวัดความสำเร็จโดยความรู้สึก....ไปคิดเอาเองน๊ะพ่อไชยา!!


อิ อิ... :slime_smile2:


แล้วระบบเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้สึกมันเป็นยังไงล่ะครับ ไหนลองยกตัวอย่างมาหน่อยสิครับ หรือ คุณจะไปเทียบกับการวัด มาตรฐานความสุขของประเทศภูฎานหรือ ระบบเศรษบกิจพอเพียงมีนโยบายและ รุปแบบที่ชัดเจนครับ ลองศึกษาดีๆเสียก่อน เอ้าตอบผมมาบ้างดีกว่ามั้งครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 24-10-2006, 18:21
ก็ใช่ไง...นโยบายรัฐบาลมันก็อาจเป็น SubSet ของแผนพัฒนาสากกระเบืออะไรนั่นด้วยก็ได้

ผมไม่เคยอ่านแผนพัฒฯ ของต่างประเทศอะไรหรอกครับ ผมไม่เคยเปรียบเทียบกันหรอก

ว่าของเรากับของเขามันต่างกันยังไง เพราะไม่ได้ทำข้อสอบนี่ครับ

รู้อย่างเดียวว่า แผนพัฒฯ บ้านเรามันคือ วิทยานิพนธ์ ปน นวนิยาย น้ำเน่า ครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 24-10-2006, 18:27
ก็ใช่ไง...นโยบายรัฐบาลมันก็อาจเป็น SubSet ของแผนพัฒนาสากกระเบืออะไรนั่นด้วยก็ได้

ผมไม่เคยอ่านแผนพัฒฯ ของต่างประเทศอะไรหรอกครับ ผมไม่เคยเปรียบเทียบกันหรอก

ว่าของเรากับของเขามันต่างกันยังไง เพราะไม่ได้ทำข้อสอบนี่ครับ

รู้อย่างเดียวว่า แผนพัฒฯ บ้านเรามันคือ วิทยานิพนธ์ ปน นวนิยาย น้ำเน่า ครับ


ไม่หรอกครับ แผนของเราก็เป็นมาตรฐานแล้วล่ะครับ ไม่ใช่นิยายหรอกครับ เชื่อผมเถอะ อย่าไปหลงคำสอนของคนไม่รู้จริงครับจะทำให้เราโง่เปล่าๆ อ่านหนังสือมากๆ และ ศึกษาวิเคราะห์มากๆ ดีกว่าครับ คุณฉลาดพอที่จะเข้าใจอะไรๆได้ดีครับ เชื่อผม


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 24-10-2006, 18:56
ขี้เกียจให้คุณพี่ไชยา มิตรไชย (พระเอกอะไรน๊า!?!) นำเรื่องเศรษฐกิจไปใช้ลากจูงกับสถาบันฯ เพราะระบบเศรษฐกิจใดก็ตามที่มีวิธีการวัดความสำเร็จของตัวระบบได้อย่างชัดเจนย่อมเป็นที่น่าเชื่อถือ ส่วนระบบเศรฐกิจไหนก็ตามใช้วิธีการวัดความสำเร็จโดยความรู้สึก....ไปคิดเอาเองน๊ะพ่อไชยา!!


อิ อิ... :slime_smile2:

โถ โผล่มาโหยหวนเรียกร้องความสนใจตอนใกล้เลิกงาน แล้วก็หาย

ในฐานะที่ผมไม่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์ ผมจะตั้งข้อสังเกตว่า

ถ้าคุณจะด่าเศรษฐกิจพอเพียง ก็ควรจะให้เหตุผลด้วย  ถ้าไม่มีเหตุผล
สักแต่สำเร็จความใคร่บนเว็บบอร์ดอย่างที่เคยทำ  มันสื่อถึงเจตนา
discredit สาดโคลน เล่นการเมือง

และ ผมไม่เห็นว่าการมี หรือไม่มีตัวชี้วัด จะมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไง
ตัวชี้วัดของเศรษฐกิจ แค่ไป search google ก็เจอแล้วว่าคืออะไรบ้าง
จะมาอ้างว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่มีตัวชี้วัด ใช้ความรู้สึก ได้ไง  :slime_mad:
ทุกเศรษฐกิจมันก็ตัวชี้วัดเหมือนกันทั้งนั้น

ที่สำคัญ ยอมรับเถอะว่า คนไทย มีศักยภาพเหมือนคนชาติอื่น แต่ขาดการประสานปัจจัยต่างๆ
เช่นทุน เข้ากับความเก่ง  ทำให้ไม่สามารถใช้ทรัพยากรของตัวเองอย่างคุ้มค่า
ไม่สามารถยืนอยู่บนลำแข้งตัวเองได้  ต้องเอาเงินต่างชาติมาหมุนใช้ไปวันๆ

ก็ตรงนี้แหละ  ผมขอตำหนินักธุรกิจไทย ที่รวยแล้วไม่ยอมเป็นแม่งาน สนับสนุนงานวิจัย hi tech
ทำให้เป็นรูปเป็นร่างพอที่จะขายได้ ลดการนำเข้าได้

ดังนั้น ถ้าเราไม่หยุดค่านิยมพึ่งเงินคนอื่นตั้งแต่รากหญ้า ไม่หยุดค่านิยมรอเงินจากรัฐ
ไม่หยุดบริโภคช้างขี้กูขี้ตาม  แบบนี้รับรองไม่รอด

ใช้ทิศทางเศรษฐกิจพอเพียงดีที่สุด เปลี่ยนค่านิยมด้านการบริโภคซะ 
แล้วลงทุนเฉพาะในกิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่ม 

ไอ้ร้านค้าปลีกขนาดยักษ์น่ะ พอที


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 24-10-2006, 19:04
แล้วระบบเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้สึกมันเป็นยังไงล่ะครับ ไหนลองยกตัวอย่างมาหน่อยสิครับ หรือ คุณจะไปเทียบกับการวัด มาตรฐานความสุขของประเทศภูฎานหรือ ระบบเศรษบกิจพอเพียงมีนโยบายและ รุปแบบที่ชัดเจนครับ ลองศึกษาดีๆเสียก่อน เอ้าตอบผมมาบ้างดีกว่ามั้งครับ

เดี๋ยว จ๊ะ ของจริง ก็จะได้โชว์ภูมิกะเค้าแล้ว 

เชื่อเหอะ เดี๋ยวต้องออกมาบอกว่า ขี้เกียจ ไม่อยากพูด เคารพครูก่อนถึงจะตอบ :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: justy ที่ 24-10-2006, 19:31
เป็นงง พวกที่มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง เขามีลูกเขาจะสอนลูกเขาว่าอย่างไร ?

ตอบหน่อยสิค่ะ คุณขี้เลอะ คุณ ตะกาย คุณ ชอบแถ

ถ้าคุณห้ามลูกว่า ลูกเอ๊ย ใช้จ่ายเบามือหน่อยน่ะลูก อย่าซื้อของแพงนัก  นั่นแหละคือ เศรษฐกิจพอเพียง หรือคุณจะแถอีก

อยากรู้จริงๆ



หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 19:49
นี่ยังไม่รู้กันเลยหรือครับ รัฐบาลใหนมา ก็ต้องเอาแผนของสภาพัฒน์ืเค้าเป็นหลักในการเขียนนโยบายรัฐบาล


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 25-10-2006, 09:59
รอนานแล้วนะจ๊ะ จารย์จ๊ะ มาตอบสักทีดิ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-10-2006, 10:12
รอนานแล้วนะจ๊ะ จารย์จ๊ะ มาตอบสักทีดิ


มาแว้ววววววววว....แสดงว่าเศรษฐกิจพอเพียงใช้มาตราวัดความสำเร็จ/ล้มเหลวแบบเดียวกับระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม เพียงแต่คุณบอกว่าให้ดูที่บัญชีรายได้ประชาชาติ


งั้นคุณบอกหน่อยซิครับว่าบัญชีรายได้ประชาชาติช่วงปี 2544 - 2548 ของประเทศไทยมีสภาพอย่างไร?


ผมเปิดบอลเล่นก่อนเลยล่ะกัน...ฮ่าๆๆ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 25-10-2006, 10:40
ขี้เกียจให้คุณพี่ไชยา มิตรไชย (พระเอกอะไรน๊า!?!) นำเรื่องเศรษฐกิจไปใช้ลากจูงกับสถาบันฯ เพราะระบบเศรษฐกิจใดก็ตามที่มีวิธีการวัดความสำเร็จของตัวระบบได้อย่างชัดเจนย่อมเป็นที่น่าเชื่อถือ ส่วนระบบเศรฐกิจไหนก็ตามใช้วิธีการวัดความสำเร็จโดยความรู้สึก....ไปคิดเอาเองน๊ะพ่อไชยา!!


อิ อิ... :slime_smile2:


แล้วระบบเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้สึกมันเป็นยังไงล่ะครับ ไหนลองยกตัวอย่างมาหน่อยสิครับ หรือ คุณจะไปเทียบกับการวัด มาตรฐานความสุขของประเทศภูฎานหรือ ระบบเศรษบกิจพอเพียงมีนโยบายและ รุปแบบที่ชัดเจนครับ ลองศึกษาดีๆเสียก่อน เอ้าตอบผมมาบ้างดีกว่ามั้งครับ

คุณยังไม่ตอบผมเลยนะครับ ตั้งแต่เมื่อ 18.30 ของเมื่อวาน จนกระทั่งผมรอคุณ ถึง9.50 ผมเห็นคุณออนไลน์อยู่ตั้งแต่เช้าแล้ว ผมรู้นะครับว่าคุณต้องการจะเอาเรื่อง GDP มาเปรียบเทียบ แต่ผมว่าคุณตอบผมก่อนดีกว่า เดี๋ยวผมจะสาธยายให้ฟังนะครับ แล้วอีกอย่างนะครับ คุณเข้าใจระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม(Liberalism) ว่ายังไง ลองตอบให้ผมฟังก่อนดีกว่า แล้วเราค่อยมาถกกันต่อ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 25-10-2006, 10:45
เชิญใช้  principle of economics ที่คุณถนัดตอบได้ตามใจชอบเลยนะครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-10-2006, 11:25
ขออำไพครับ ถึงแม้จ๊ะจะ on-line แต่ก็ไม่ได้เล่นเพราะมัวแต่ทำการบ้าน :roll:

ประกาศอีกครั้ง.....งั้นคุณบอกหน่อยซิครับว่าบัญชีรายได้ประชาชาติช่วงปี 2544 - 2548 ของประเทศไทยมีสภาพอย่างไร?

เปิดบอลแล้วไม่เล่น...แพ้ฟาวล์น๊ะเออ :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 25-10-2006, 11:51
ถ้าคุณไม่ตอบผม ผมก็ไม่ตอบคุณ คุณอย่าเอาแต่ถามผมแล้วไม่ยอมตอบผม ผมรอคำตอบคุณมานานแล้ว เห็นคุณไปตอบกระทู้อื่นได้ แต่กระทู้ผมไม่มาตอบสักที ตอบแต่เบี่ยงไปเบี่ยงมา ผมมีคำตอบให้คุณอยู่แล้วในคำถามที่คณถามผม คุณเอาคำตอบมาให้ผมบ้างจะดีกว่า ถ้าคุณบอกว่าon-line แต่ไม่ตอบเพราะทำการบ้าน แต่คุณมีเวลาไปตอบกระทู้แม่ยาย โดยตอบลุงแคนได้ ทำไมไม่เอาเวลานั้นมาตอบผมบ้างละครับ ผมรอคำตอบของคุณอยู่นะครับ อย่างเบี่ยงประเด็นมั่วนิ่มครับ เอาเนื้อๆ และ เอาหลักวิชาการ สักทีนะครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบตะแบง ที่ 25-10-2006, 12:02
ก็พูดไปให้ชัดๆ ว่าทำงานได้เงินเท่าไหร่
เก็บไว้มั่ง อย่าใช้จนหมด อย่าไปกู้หนี้ยืมสิน
ยกตัวอย่าง เช่น ผมทำงานได้เงินเดือนแสนสอง ค่าน้ำมันแปดพัน
ผมก็เก็บซะเดือนละแสน ใช้แค่สองหมื่นแปดพันบาท
แบบนี้ ผมก็พอเพียงแล้ว
จะเถียงกันไปทำซากอะไร  :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 12:57
หลานจ๊ะ น่าจะถามแม่ยายดูนะ "ครอบครัวคุณภาพ" มันเป็นยังไง

ไม่มีหนี้ มีความสุข หรือ มีหนีตามความเหมาะสมตามศักยภาพของตนเอง มีความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ สามารถนำพาครอบครัวไปสู่จุดที่ดีกว่า

หากมองประเทศทั้งประเทศ ใ้หเหมือนมองครอบครัว ก็จะเห็นเองนั่นแหละ อะไรคือสมเหตุผล อะไรคือไม่เว่อร์ อะไรคือภูมิคุ้มกัน อะไรคือหลักประกันว่า "ครอบครัวจะไม่ล่มสลาย" เมื่อมีภัยคุกคาม

นี่เรากำลังพูดถึงเศรษบกิจพอเพียง และการนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจมาใช้อย่างเต็มที่ ไม่ตะแบงออกข้าง ๆ คู ๆ ด้วยวิชาการตลาด

เรามีคณะกรรมการเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว ตั้งมาหลายปีแล้ว

รัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาทำอะไรบ้าง...ให้งบประมาณหรือมีกิจกรรมใด ที่แสดงให้เห็นว่า จะเดินตามแนวพระราชดำริ

นี่ก็กำลังมอง ๆ รัฐบาล คมช. จะจับเรื่องนี้มาทำอะไรบ้าง รู้สึกยังพายเรือในอ่าง...หยิบเรื่องปลีกย่อยมาละเลงใหม่

ทั้ง ๆ ที่ โครงร่างใหญ่คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ต้องลงไปทำในระดับชุมชน หรือการทำประชาสังคม

นี่ก็เริ่มผิดหวังนิด ๆ แล้วนะ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-10-2006, 13:22
หลานจ๊ะ น่าจะถามแม่ยายดูนะ "ครอบครัวคุณภาพ" มันเป็นยังไง

ไม่มีหนี้ มีความสุข หรือ มีหนีตามความเหมาะสมตามศักยภาพของตนเอง มีความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ สามารถนำพาครอบครัวไปสู่จุดที่ดีกว่า

หากมองประเทศทั้งประเทศ ใ้หเหมือนมองครอบครัว ก็จะเห็นเองนั่นแหละ อะไรคือสมเหตุผล อะไรคือไม่เว่อร์ อะไรคือภูมิคุ้มกัน อะไรคือหลักประกันว่า "ครอบครัวจะไม่ล่มสลาย" เมื่อมีภัยคุกคาม

นี่เรากำลังพูดถึงเศรษบกิจพอเพียง และการนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจมาใช้อย่างเต็มที่ ไม่ตะแบงออกข้าง ๆ คู ๆ ด้วยวิชาการตลาด

เรามีคณะกรรมการเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว ตั้งมาหลายปีแล้ว

รัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาทำอะไรบ้าง...ให้งบประมาณหรือมีกิจกรรมใด ที่แสดงให้เห็นว่า จะเดินตามแนวพระราชดำริ

นี่ก็กำลังมอง ๆ รัฐบาล คมช. จะจับเรื่องนี้มาทำอะไรบ้าง รู้สึกยังพายเรือในอ่าง...หยิบเรื่องปลีกย่อยมาละเลงใหม่

ทั้ง ๆ ที่ โครงร่างใหญ่คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ต้องลงไปทำในระดับชุมชน หรือการทำประชาสังคม

นี่ก็เริ่มผิดหวังนิด ๆ แล้วนะ


ใจเย็นๆหน่อยดิ๊ลุงแคน เดี๋ยวก็เป็นลมหน้ามืดฟุบคาคีย์บอร์ด...แล้วแม่ยายจ๊ะจะอยู่อย่างไรกันเล่า!?!

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเหมาะที่จะนำไปใช้ในสังคมขนาดเล็กเช่น ภูฐาน (สะกด??) เป็นต้น แต่ในโลกเศรษฐกิจเสรีที่ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยภายในประเทศเช่น ประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ตราบใดที่คุณต้องนำเข้าพลังงาน นำเข้าเทคโนโลยี นำเข้าเงินทุน นำเข้าknow-how ฯลฯ เพื่อการพัฒนาประเทศ...แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นๆพึ่งพาตัวเองไม่ได้

ในเมื่อคุณพึ่งพาตัวเองไม่ได้...คุณจะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า!?!


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 13:35
ความคิดจ๊ะ สวนทางกับ "เทคโนแครต" แบบสภาพัฒน์ เมื่อถามหาตัวชี้วัด เค้าก็หามาให้แล้ว

ลอง ๆ ถามแม่ยายดูละกัน...คนไม่มีหนี้ หรือมีหนี้ที่ควบคุมได้...มีความสุขมั๊ย

กับรู้จักแต่กู้ ทำตามกิเลส ความทะยานอยาก รายได้ต่ำ-รสนิยมสูง-ใช้จ่ายเกินตัวมันจะเป็นอย่างไร

เวลาสร้างครอบครัวอย่างมั่นคง - ยั่งยืน เค้าสร้างกันยังไง จะเลี้ยงลูกสาวของแม่ยายไม่ให้ตกต่ำยังไง

ถามแม่ยายดูสิ....

สมัยปี 34-35 เราฮิตคำว่าว่า "ยั่งยืน" ก็บ้ากันไปพัก ๆ มีเกษตรยั่งยืน พัฒนาอย่างยั่งยืน

มายุดนี้นิยมพอเพียงก็ต้องพอเพียงกันทั้งประเทศ

แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่สนับสนุนให้รวยนะ ให้รวยแต่ต้องเป็นไปอย่างมั่นคง

ว่าแต่ว่า...แม่ยายสอนให้ทำบัญชีบา้งหรือยังล่ะ

ทำบัญชีแล้วหายจนนะ....จะบอกให้...อิ อิ



หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 13:43

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเหมาะที่จะนำไปใช้ในสังคมขนาดเล็กเช่น ภูฐาน (สะกด??) เป็นต้น แต่ในโลกเศรษฐกิจเสรีที่ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยภายในประเทศเช่น ประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ตราบใดที่คุณต้องนำเข้าพลังงาน นำเข้าเทคโนโลยี นำเข้าเงินทุน นำเข้าknow-how ฯลฯ เพื่อการพัฒนาประเทศ...แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นๆพึ่งพาตัวเองไม่ได้

ในเมื่อคุณพึ่งพาตัวเองไม่ได้...คุณจะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า!?![/color]

นั่นไง...ก็บอกให้รู้จักใช้เทคโนโลยี่ที่พอเพียง เราก็รู้ไม่ใช่เหรอ ซื้อคอมพ์มาเครื่องหนึ่ง ใช้กันเต็มประสิทธิภาพกันซักกี่คน กี่เครื่อง

ไม่ใช่ไปเห่อ เวอร์ชั่นใหม่ ๆ ให้เค้าหลอกแดกค่าทันสมัย...ไม่มองดูจีนบ้างเล่า...หรือไปดูคอมพิวเตอร์ของเบื้องบน...ใช้มากี่ปีแล้ว...เครื่องนั้น !!

เรื่องของความพอเพียง มันรวมไปถึงหลัก 4 ป. เข้าไปด้วยนะ...

เศรษฐกิจพอเพียงคือการรู้จักตนเอง พึ่งตนเอง....ไม่ใช่พึ่งคนอื่นประเทศอื่น...นี่ไงหลักที่มันแตกต่าง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-10-2006, 13:44
ความคิดจ๊ะ สวนทางกับ "เทคโนแครต" แบบสภาพัฒน์ เมื่อถามหาตัวชี้วัด เค้าก็หามาให้แล้ว

ลอง ๆ ถามแม่ยายดูละกัน...คนไม่มีหนี้ หรือมีหนี้ที่ควบคุมได้...มีความสุขมั๊ย

กับรู้จักแต่กู้ ทำตามกิเลส ความทะยานอยาก รายได้ต่ำ-รสนิยมสูง-ใช้จ่ายเกินตัวมันจะเป็นอย่างไร

เวลาสร้างครอบครัวอย่างมั่นคง - ยั่งยืน เค้าสร้างกันยังไง จะเลี้ยงลูกสาวของแม่ยายไม่ให้ตกต่ำยังไง

ถามแม่ยายดูสิ....

สมัยปี 34-35 เราฮิตคำว่าว่า "ยั่งยืน" ก็บ้ากันไปพัก ๆ มีเกษตรยั่งยืน พัฒนาอย่างยั่งยืน

มายุดนี้นิยมพอเพียงก็ต้องพอเพียงกันทั้งประเทศ

แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่สนับสนุนให้รวยนะ ให้รวยแต่ต้องเป็นไปอย่างมั่นคง

ว่าแต่ว่า...แม่ยายสอนให้ทำบัญชีบา้งหรือยังล่ะ

ทำบัญชีแล้วหายจนนะ....จะบอกให้...อิ อิ


ก็เพราะมีนักวิชาการแบบสภาพัฒน์มิใช่หรือที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต้มยำกุ้งปี2540 ก่อนหน้านี้ก็ไม่เห็นท้วงติงน้าชาติเรื่องปั่นราคาที่ดินสักนิด พอสมัยทักษิณ...พวกนักวิชาการจากสภาพัฒน์เลยโมโหที่ไม่ได้รับเกียรติ์เชิญเข้าร่วมวงกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ

ลุงแคนเองก็เถอะ..มัวแต่หลงระเริงดื่มด่ำกะภาพอดีตของพวกข้าราชการเดิมๆแต่ไม่เนียน คนมีหนี้แต่มีทรัพย์สินเพื่อขึ้น...ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกข์หรอกครับ เพราะถ้าใช้ตรรกะดังกล่าว...ก็น่าจะปิดแบงค์ไม่ต้องให้ออกบัตรเครดิต ยืมเงินกันไปไม่ดีหรอกหรือ?


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 13:52
ต้มยำกุ้ง เกิดจากภาคเอกชน จนแล้วไม่เจียม

กู้เงินระยะสั้นมาหมุนในระยะยาว

อาศัยความแตกต่างของ "ดอกเบี้ย" มาเป็นตัวเล่นเกม...

ไม่ใช่เรื่องเทคโนแครต เพราะเค้าเตือนกันมาหลายทีแล้ว เรื่อง "เครื่องร้อนเกินไป"

ปล่อยให้เกิดฟองสะบู่ เพราะไม่อยู่ในหลัก "พอเพียง" ไงล่ะ....คือไม่สร้างภูมิคุ้มกัน

เศรษฐกิจโตจากการปั่นฟองตีฟอง ไม่ได้เกิดจากภาคการผลิตลงไปจนถึงระดับรากหญ้า

ต้มยำกุ้ง มันพังเพราะส่วนบน ชาวบ้านน่ะ ยังสบาย ๆ กันอยู่เลย...


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-10-2006, 13:58
นั่นไง...ก็บอกให้รู้จักใช้เทคโนโลยี่ที่พอเพียง เราก็รู้ไม่ใช่เหรอ ซื้อคอมพ์มาเครื่องหนึ่ง ใช้กันเต็มประสิทธิภาพกันซักกี่คน กี่เครื่อง

ไม่ใช่ไปเห่อ เวอร์ชั่นใหม่ ๆ ให้เค้าหลอกแดกค่าทันสมัย...ไม่มองดูจีนบ้างเล่า...หรือไปดูคอมพิวเตอร์ของเบื้องบน...ใช้มากี่ปีแล้ว...เครื่องนั้น !!
ประเด็นมันไม่ใช่แค่ซื้อกี่เครื่องถึงจะพอเพียง แต่มันอยู่ที่ยังไงก็ต้องซื้อเพราะไทยเราผลิตเองไม่ได้...ก็ต้องนำเข้าknow-howจากตปท. เรื่องพอเพียงไม่พอเพียง...มันขึ้นกับว่าคุณมีปัญญาผลิตเองไหม  ไม่ใช่แค่ซื้อกี่เครื่องหรือup grade ระบบเหมือนที่ลุงกำลังเปรียบเทียบ

กรณีชัดๆ น้ำมันที่ต้องนำเข้า...คุณจะบอกว่าใช้นำมันเท่าที่จำเป็นได้ไงในเมื่อประเทศต้องพัฒนาด้วยน้ำมันเพราะไทยเรามีแหล่งพลังงานเพียงน้อยนิด



เรื่องของความพอเพียง มันรวมไปถึงหลัก 4 ป. เข้าไปด้วยนะ...[/color]

เศรษฐกิจพอเพียงคือการรู้จักตนเอง พึ่งตนเอง....ไม่ใช่พึ่งคนอื่นประเทศอื่น...นี่ไงหลักที่มันแตกต่าง

พูดไปแนวทางนามธรรมกันมากไปมั้งครับ? พึ่งตนเอง!! ตอนนี้ไทยเราพึ่งตัวเองขนาดไหน...สินค้ายังต้องส่งออกเพื่อให้เศรษฐกิจอยู่ได้ เทคโนโลยีของไทยเราเองแทบไม่มี ระบบการศึกษาไทยเรายังล้าหลัง แล้วจะพึ่งตัวเองแบบไหนกันเอ่ย!?!


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 14:06
พลังงานที่นำเข้า ถ้ารู้จักหลักพอเพียง ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย

ใช้เพื่อให้เกิด "ผลิตภาพ" มันก็ดีแก่เศรษฐกิจมิใช่หรือ

เรื่องการใช้ทรัพยากร มิใช่แค่ดูว่ามาจากต่างประเทศหรือไม่

ต้องดูทั้งการใช้ทรัพยากรในประเทศ ใช้อย่าง "คุ้มค่า" หรือไม่

ตรงนี้ต่างหาก ที่เรากำลังพูดถึงเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"

ที่มันพัง ๆ กันเพราะมันไป"บ้ายี่ห้อ" หลงโฆษณา หลงตราต่างประเทศ

ลองไปดูเรื่องหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยโน่น...หากสั่งนำเข้าสินค้าทุน มันจะเสียหายอะไร...

ก็บอกแล้ว...หลัก 4 ป.


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 14:09
“วัตถุประสงค์ที่นายกฯมอบให้ครม.รับทราบในวันแรกคือ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง - หลัก 4ป.  - คุณธรรม   และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10   

สิ่งเหล่านี้ก็ได้นำมาขยายตามที่นายกฯมอบหมาย  หากนายกฯพิจารณาแล้วเห็นด้วยก็จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมครม.ในสัปดาห์หน้าเลย”นายโฆษิตกล่าว

เมื่อถามว่าจุดเปลี่ยนของนโยบายรัฐบาลชุดนี้คือสิ่งใด นายโฆษิตกล่าวว่ากระชับ สั้น  กะทัดรัด


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: อมพระมาพูด ที่ 25-10-2006, 14:32
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเหมาะที่จะนำไปใช้ในสังคมขนาดเล็กเช่น ภูฐาน (สะกด??)  เป็นต้น แต่ในโลกเศรษฐกิจเสรีที่ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยภายในประเทศเช่น ประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติตราบใดที่คุณต้องนำเข้าพลังงาน นำเข้าเทคโนโลยี นำเข้าเงินทุน นำเข้าknow-how ฯลฯ เพื่อการพัฒนาประเทศ...แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นๆพึ่งพาตัวเองไม่ได้
ในเมื่อคุณพึ่งพาตัวเองไม่ได้...คุณจะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า!?!

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""'
แหมมมมมม. ชอบมามุกแม่ยายจิงวุ้ย สะกดว่า ภูฏาน ... ไม่เห็นด้วยกับความเห็น ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งประเทศเราสามารถนำมาประยุกต์และพึ่งพาตัวเองได้ทั้งนั้น และสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม คุณคงรู้จัก "ภูมิปัญญาชาวบ้าน" หลายตัวที่ที่ไอ่ฝรั่งขี้นกมันชอบแฮ๊บไปเป็นของมันนั่นแหละ
การนำเข้าพลังงาน ยังต้องใช้ ไม่ใช่เฉพาะบ้านเราหรอกประเทศอื่นก้อด้วย เค้าถึงพยายามหาพลังงานอื่นทดแทน เช่น ไบโอดีเซล ในหลวงท่านก้อทรงใช้ให้ดูแล้วไง  ส่วนเงินทุนนอก ใช่เข้ามาจิง แต่ทำอย่างไรให้เงินยังวนเวียนอยู่ในไทย ไม่ไหลไปนอกให้พัฒนาอยูในบ้านเรา ส่วนโนฮาว เราต้องพัฒนาคนของเราด้วย อย่าไปคิดว่าฝรั่งตาน้ำข้าวมันดีกว่าเสมอไป พุทธสุภาษิตก้อบอกแล้ว "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"  รู้จักมะ การพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development !


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 15:11
แต่ในโลกเศรษฐกิจเสรีที่ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยภายในประเทศเช่น ประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติตราบใดที่คุณต้องนำเข้าพลังงาน นำเข้าเทคโนโลยี นำเข้าเงินทุน นำเข้าknow-how ฯลฯ เพื่อการพัฒนาประเทศ...แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นๆพึ่งพาตัวเองไม่ได้ ในเมื่อคุณพึ่งพาตัวเองไม่ได้...คุณจะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า!?!

โอ๊ยโดนใจ ที่ว่า จะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า คือ ตอนนี้ยังไม่พอ ยังขาดอยู่ ไม่ได้แปลว่า มีพอแล้ว แต่ยังโลภอยากได้เพิ่ม


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 15:14

เมื่อถามว่าจุดเปลี่ยนของนโยบายรัฐบาลชุดนี้คือสิ่งใด นายโฆษิตกล่าวว่ากระชับ สั้น  กะทัดรัด
นี่ไงนโยบายกระชับ สั้นมาก

ลอกของเดิม


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 25-10-2006, 15:22
อ่านคำตอบของอะไรจ๊ะแล้ว คันมือขอตอบหน่อย แต่ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเรื่องศกพอเพียงกันเล็กน้อย อ่านบทความส่วนนี้ก่อนครับ นำมาจาก http://www.sufficiencyeconomy.org


"ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency economy) หรือระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีความคิดหลัก คือ ทางสายกลางและมีองค์ประกอบของคำนิยามที่สำคัญ สามประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัว และมีเงื่อนไข ๒ ประการคือความรู้และคุณธรรม เป็นกรอบชี้นำทางปฏิบัติ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความเชื่อมโยงกับทฤษฎีทาง เศรษฐศาสตร์ที่สำคัญหลายทฤษฎี มีทั้งในแง่ที่สอดคล้อง กับบางทฤษฎี และในแง่ที่แตกต่างออกไป
องค์ประกอบทั้งสามของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถ แยกออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ ส่วนที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรในสถานการณ์ที่ปราศจากผลกระทบภายนอก ซึ่งประกอบด้วยความพอประมาณ และความมีเหตุผล และส่วนที่เป็นองค์ประกอบที่เสริมประสิทธิภาพของ การใช้ทรัพยากรให้พร้อมต่อการรองรับผลกระทบจาก ภายนอกซึ่งมีความไม่แน่นอน อันได้แก่ การมีภูมิคุ้มกันในตัว ความพอประมาณหมายถึงความพอใจที่สิ่งที่สมควร ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่น้อยจนเกินไปจนก่อให้เกิดความขัดสน และไม่มากเกินไปจนฟุ่มเฟือยจนเกินกำลังของตน หรือก่อ ให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ซึ่งมีแนวคิดเรื่องความ พอประมาณใน ๒ แนวทางหลักคือ ความพอประมาณ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ทางสังคมที่ถูกกำหนด และ ความพอประมาณโดยเปรียบเทียบกับศักยภาพของตน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมีความหมายครอบคลุมกระบวนการ Optimisation ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ หรือใกล้เคียงกับ แนวคิดเรื่อง bounded rationality นอกจากนี้ยังแสดง ให้เห็นว่า ความพอประมาณสามารถนำมาซึ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน หรือการสร้างให้เกิด
ประสิทธิภาพในเชิงพลวัตร ความมีเหตุมีผลบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นให้ คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำและวิธีการต่าง ๆ แล้วมุ่งให้เลือกกระทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดผลที่ถูกต้องบน พื้นฐานของความรู้และคุณธรรม โดยความถูกต้องในที่นี้ อธิบายได้ โดยผลที่พอประมาณและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ให้เกิดขึ้น ซึ่งแนวคิด Rationality หรือ Rational Expectation หรือ Common Knowledge ไม่สามารถอธิบายความมีเหตุมีผลในบริบทนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ นับว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยรวม กล่าวคือมีลักษณะในการบริหารความเสี่ยง การกระจายความเสี่ยง การป้องกันความเสี่ยง การลดความเสี่ยง การสร้างกลไกที่ก่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อ พิจารณาในรายละเอียดพบว่า ยังมีข้อแตกต่างในด้านของหลักการตัดสินใจ ซึ่งทางสายกลางเป็นทางเลือกหนึ่งที่บุคคล ตลอดจนองค์กรสามารถใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจได้
แทนหลัก Optimization และอาจจะเหมาะสมกว่าภายใต้ข้อจำกัดจากอนาคตที่มีความไม่แน่นอน
องค์ประกอบทั้งสาม มีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างเป็นระบบ โดย ความมีเหตุผลถือได้ว่าเป็นกระบวนการเสริมสร้าง ให้ความพอใจเป็นไปแต่โดยพอประมาณ ระดับของความพอประมาณจำเป็นต้องพอเพียงในเชิงการสร้างภูมิคุ้มกันในตัว อีกทั้งการมีภูมิคุ้มกันในตัวก็เป็นปัจจัยเสริมสร้างให้ การดำเนินกิจกรรมต่างๆทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีเหตุผล ในระยะปานกลางและระยะยาว เงื่อนไข ๒ ประการ คือ เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไข คุณธรรมในระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวเองได้ ทั้งนี้เงื่อนไขความรู้ประกอบด้วยความรู้ ๓ ด้านคือ รอบรู้ในวิชาการต่างๆ
รอบคอบในการเชื่อมโยง และระมัดระวังในการนำความรู้ไปใช้ ส่วนเงื่อนไขคุณธรรมนั้น ต้องมีคุณธรรมในมิติของจิตใจ และการกระทำที่เน้นความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน และความเพียร "



เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเหมาะที่จะนำไปใช้ในสังคมขนาดเล็กเช่น ภูฐาน (สะกด??) เป็นต้น แต่ในโลกเศรษฐกิจเสรีที่ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยภายในประเทศเช่น ประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติตราบใดที่คุณต้องนำเข้าพลังงาน นำเข้าเทคโนโลยี นำเข้าเงินทุน นำเข้าknow-how ฯลฯ เพื่อการพัฒนาประเทศ...แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นๆพึ่งพาตัวเองไม่ได้
ในเมื่อคุณพึ่งพาตัวเองไม่ได้...คุณจะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า!?!

ตอบ 
เศรษฐกิจของประเทศไทยก็มีปัจจัยภายในมากระทบพอๆกับปัจจัยภายนอกครับ ปัจจัยภายในประเทศเช่น ราคาน้ำมัน การศึกษา ปัญหาความยากจน ความต้องการของผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ย หรือ  นโยบายรัฐบาล ก็ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมากเช่นกันครับ ผมว่าดีไม่ดีอาจจะมากกว่าปัจจัยภายนอกด้วยซ้ำ  การอ่านบทความข้างต้นจะพบว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกปกป้องและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนะครับโดยอาศัยหลักความพอประมาณ ความรอบคอบในการดำเนินนโยบายต่างๆ และ ม่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของแต่ละองค์กรอย่างสูงสุดโดยใช้งบประมาณอย่างประหยัดแต่ได้ผลที่สุด ก็ตรงตามหลักเศรษฐศาสตร์นะครับ ดังนั้นผมจึงยืนยันได้เลยว่า ระบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้ประยุกค์ให้กับประเทศไทยและประเทศต่างๆได้เช่นกันครับ ที่บางประเทศเขาไม่ต้องใช้ก้เพราะเขามีกลไกป้องกันเสถียรภาพที่ดี ซึ่งระบบของประเทศเขาเอื้ออำนวยครับ เช่น คอร์รัปชั่น เขาควบคุมได้ดีกว่าไทยใช่ไหมครับ เขาออกนโยบายอะไร เขาควบคุมงบประมาณได้ แต่ไทยทำได้ไหมครับ ที่ผ่านๆมาเคยควบคุมได้หรือไม่ การเน้นย้ำเศรษบกิจพอเพียงก้ย่อมเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมให้ดีขึ้นอีกทางนึงนะครับ ส่วนการนำเข้าknow-how นะครับ ทุกๆประเทศต่างก็ต้องนำเข้ากันทั้งนั้นนะครับ ทั้งอย่าง ญี่ปุ่นก็ยังต้องนำเข้าน้ำมัน อเมริกาเองก็ยังต้องนำเข้าน้ำมัน อย่าง ออสเตรเลีย ก็ยังมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ หรือ การกู้เงินมาเพื่อลงทุน มันก็เป็นเรื่องธรรมดานะครับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเขาพึ่งพาตนเองไม่ได้นี่ครับ แต่มันคือ การแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันมากกว่า เหมือนอย่าง FTA ก็เช่นกันก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำเพราะเราพึ่งพาตนเองไม่ได้ใช่ไหมครับ แต่ต้องทำเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศให้มากขึ้น ไม่มีประเทศไหนเขาปิดประเทศแล้วบอกว่าพึ่งตนเองได้นี่ครับ อย่างระบบเสรษฐกิจพอเพียงก้ไม่ได้หมายความว่าให้คุณไปปิดประเทศนี่ครับ ก็ดำเนินนโยบายต่างประเทศตามปกติ แต่รอบคอบมากขึ้นก็เท่านั้นเอง คุณลองยกตัวอย่างประเทศที่ไม่ต้องมีการนำเข้า know-how ไม่นำเข้าพลังงาน ไม่นำเข้าเงินทุนมาสักประเทศสิครับ


พูดไปแนวทางนามธรรมกันมากไปมั้งครับ? พึ่งตนเอง!! ตอนนี้ไทยเราพึ่งตัวเองขนาดไหน...สินค้ายังต้องส่งออกเพื่อให้เศรษฐกิจอยู่ได้ เทคโนโลยีของไทยเราเองแทบไม่มี ระบบการศึกษาไทยเรายังล้าหลัง แล้วจะพึ่งตัวเองแบบไหนกันเอ่ย!?!

ตอบ
การส่งออกเป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศนะครับ เราส่งออกสินค้าตั้งแต่สมัยอยุทธยาแล้วมั้งครับ การพึ่งตนเองไม่ใช่หมายความว่าเราจะไม่ส่งออกนี่ครับ สับสนอะไรรึเปล่า  เทคโนโลยีของไทยและการศึกษาก็ต้องพัฒนาไงครับ ซึ่งแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็เน้นย้ำอยู่แล้วครับไม่ต้องห่วงนะครับ ถ้าเราพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในประเทศ เช่น รากหญ้าให้มีความรู้มากขึ้น เขาก็จะพึ่งพาตนเองได้ครับ การมีความรู้ก็จะทำให้โดนหลอกได้น้อยลง จริงไหมครับ และ ยังมีแนวคิดใหม่ๆที่จะพัฒนาชุมชนตนเองด้วย


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 15:30
เต็มสิบให้ 1.5 คะแนนขยันแปะ 1 คะแนนตอบได้ตรงคำถาม 0.5 รวม 1.5


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 25-10-2006, 15:31
แต่ในโลกเศรษฐกิจเสรีที่ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยภายในประเทศเช่น ประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติตราบใดที่คุณต้องนำเข้าพลังงาน นำเข้าเทคโนโลยี นำเข้าเงินทุน นำเข้าknow-how ฯลฯ เพื่อการพัฒนาประเทศ...แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นๆพึ่งพาตัวเองไม่ได้ ในเมื่อคุณพึ่งพาตัวเองไม่ได้...คุณจะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า!?!

โอ๊ยโดนใจ ที่ว่า จะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า คือ ตอนนี้ยังไม่พอ ยังขาดอยู่ ไม่ได้แปลว่า มีพอแล้ว แต่ยังโลภอยากได้เพิ่ม

ความต้องการของมนุษย์มีไม่สิ้นสุดนะครับ แนวทางศก.พอเพียงก็ไม่ได้ห้ามให้ไม่ให้มีความต้องการเพิ่มนี่ครับ เพีงแต่จะควบคุมให้มีความรู้จักเพียงพอบ้างนะครับ เข้าใจคำว่าต้องการอย่างพอประมาณโดยมีเหตุผลในความเข้าใจในสิ่งที่ตนเองต้องการและรู้จักรอบคอบที่จะใช้ทุนที่มีอยู่อย่างเหมาะสมไหมครับ คุณเคยเห็นคนใช้เงินเกินตัวแล้วรวยไหมครับ ดู สมรักษ์ คำสิงห์ เป็นตัวอย่าง รวยกว่าตอนได้เงินมาใหม่ๆไหมครับ มีเงินในบัญชีเท่าไรครับ มีหนี้เท่าไร  นี่แหละครับ การไม่รู้จักพอ ส่วน วิจารณ์ พลฤทธิ์ เขารู้จักใช้จ่ายอย่างเพียงพอ ตอนนี้เงินในบัญชีเขา มีกี่สิบล้านครับ  เปรียบเทียบแบบนี้ง่ายดีไหมครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 25-10-2006, 15:37
เต็มสิบให้ 1.5 คะแนนขยันแปะ 1 คะแนนตอบได้ตรงคำถาม 0.5 รวม 1.5


ปัญหามันอยู่ที่ คุณอ่านมันแล้วไม่รู้เรื่องมากกว่านะครับ มันยากเกินกว่าสมองคุณจะรับได้รึเปล่าครับ เหมือนเอาเด็กอนุบาล มาอ่าน หนังสือ พิมพ์ บางกอกโพสถ์ นะครับ ถ้า คุณ เจ๋ง คุณ ก็ตอบคำถามเดิมที่ผมตอบแล้วมาเปรียบเทียบคำตอบกันดีไหมครับ ไม่ใช่เอาแต่ โผล่มา หยิกจิดนึง แล้วก็เงียบไม่มีข้อมูลแย้งสักอย่าง อย่างนี้นะครับ มันเด็กๆครับ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 15:38
นี่คุณ ห้าแสนห้าหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบล้านห้าแสนห้าหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบห้า
พิมพ์มากไม่เมื่อยหรือครับ ประเด็นมันอยู่ที่ ยังไม่พอ ยังอดอยากอยู่ แค่นั้นเอง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-10-2006, 15:57

ตอบ 
เศรษฐกิจของประเทศไทยก็มีปัจจัยภายในมากระทบพอๆกับปัจจัยภายนอกครับ ปัจจัยภายในประเทศเช่น ราคาน้ำมัน การศึกษา ปัญหาความยากจน ความต้องการของผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ย หรือ  นโยบายรัฐบาล ก็ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมากเช่นกันครับ ผมว่าดีไม่ดีอาจจะมากกว่าปัจจัยภายนอกด้วยซ้ำ  การอ่านบทความข้างต้นจะพบว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกปกป้องและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนะครับโดยอาศัยหลักความพอประมาณ ความรอบคอบในการดำเนินนโยบายต่างๆ และ ม่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของแต่ละองค์กรอย่างสูงสุดโดยใช้งบประมาณอย่างประหยัดแต่ได้ผลที่สุด ก็ตรงตามหลักเศรษฐศาสตร์นะครับ ดังนั้นผมจึงยืนยันได้เลยว่า ระบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้ประยุกค์ให้กับประเทศไทยและประเทศต่างๆได้เช่นกันครับ ที่บางประเทศเขาไม่ต้องใช้ก้เพราะเขามีกลไกป้องกันเสถียรภาพที่ดี ซึ่งระบบของประเทศเขาเอื้ออำนวยครับ เช่น คอร์รัปชั่น เขาควบคุมได้ดีกว่าไทยใช่ไหมครับ เขาออกนโยบายอะไร เขาควบคุมงบประมาณได้ แต่ไทยทำได้ไหมครับ ที่ผ่านๆมาเคยควบคุมได้หรือไม่ การเน้นย้ำเศรษบกิจพอเพียงก้ย่อมเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมให้ดีขึ้นอีกทางนึงนะครับ ส่วนการนำเข้าknow-how นะครับ ทุกๆประเทศต่างก็ต้องนำเข้ากันทั้งนั้นนะครับ ทั้งอย่าง ญี่ปุ่นก็ยังต้องนำเข้าน้ำมัน อเมริกาเองก็ยังต้องนำเข้าน้ำมัน อย่าง ออสเตรเลีย ก็ยังมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ หรือ การกู้เงินมาเพื่อลงทุน มันก็เป็นเรื่องธรรมดานะครับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเขาพึ่งพาตนเองไม่ได้นี่ครับ แต่มันคือ การแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันมากกว่า เหมือนอย่าง FTA ก็เช่นกันก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำเพราะเราพึ่งพาตนเองไม่ได้ใช่ไหมครับ แต่ต้องทำเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศให้มากขึ้น ไม่มีประเทศไหนเขาปิดประเทศแล้วบอกว่าพึ่งตนเองได้นี่ครับ อย่างระบบเสรษฐกิจพอเพียงก้ไม่ได้หมายความว่าให้คุณไปปิดประเทศนี่ครับ ก็ดำเนินนโยบายต่างประเทศตามปกติ แต่รอบคอบมากขึ้นก็เท่านั้นเอง คุณลองยกตัวอย่างประเทศที่ไม่ต้องมีการนำเข้า know-how ไม่นำเข้าพลังงาน ไม่นำเข้าเงินทุนมาสักประเทศสิครับ

แหม...ใจดีจังที่ให้น้องจ๊ะเข้าเสียบเข้าเสียบบ๊อยบ่อย คนไรน่ารักจัง :slime_smile2:

สิ่งที่คุณพูดมาทั้งหมดมันก็ตอบตัวเองอยู่แล้วว่าระบบเศรษฐกิจเสรีคือคำตอบสุดท้าย เพราะขนาดเศรษฐกิจพอเพียงยังต้องใช้หลักการสำคัญๆมาจากรากฐานของเศรษฐกิจเสรีทั้งสิ้นไม่ว่าจะเรื่อง GDP, resources, political constraints, investment funds, inter-trades, consumptions etc. เพียงแค่มุมมองของเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานมุมมองส่วนบุคคลว่าขนาดไหนถึงจะเรียกว่าพอเพียง แต่ปราศจากมาตราวัดเป็นตัวเลขเท่านั้นเอง

ดังนั้น ทุกประเทศจึงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจเสรีเหมือนกันหมด ไม่มีประเทศไหนดีเลิศมีพร้อมโดยไม่พึ่งพาการค้าขายจากตปท. แล้วไทยเราที่ว่ามารณรงค์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั่น...คุณมีวิธีการใดที่จะลดการนำเข้าหรือพึ่งพาจากตปท.บ้างหล่ะ? ในเฉพาะกับอเมริการและยุโรปที่ไทยได้ดุลย์การค้ามหาศาล ในขณะที่เราเสียดุลย์กับจีน-ญี่ปุ่นจำนวนมหาศาลเช่นกัน ประเด็นก็คือ ไทยเราต้องยอมรับครับว่าเป็นประเทศที่พึ่งพาตัวเองไม่ได้ ถามว่าวันนี้หากเราโดนอเมริกา+ยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางการค้าอันเนื่องมาจากกฎอัยการศึก...ใครเสียหาย...ถ้าไม่ใช่ประชาชนคนไทยตาดำๆ!?!

ถ้าคิดว่าไทยเราเก่งจริง...ก็ไม่ต้องยกเลิกกฎอัยการศึกซิครับ ลองดูสัก1ปีว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจของไทย แล้วลองดูซิว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยได้ไหม?!?



พูดไปแนวทางนามธรรมกันมากไปมั้งครับ? พึ่งตนเอง!! ตอนนี้ไทยเราพึ่งตัวเองขนาดไหน...สินค้ายังต้องส่งออกเพื่อให้เศรษฐกิจอยู่ได้ เทคโนโลยีของไทยเราเองแทบไม่มี ระบบการศึกษาไทยเรายังล้าหลัง แล้วจะพึ่งตัวเองแบบไหนกันเอ่ย!?!

ตอบ
การส่งออกเป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศนะครับ เราส่งออกสินค้าตั้งแต่สมัยอยุทธยาแล้วมั้งครับ การพึ่งตนเองไม่ใช่หมายความว่าเราจะไม่ส่งออกนี่ครับ สับสนอะไรรึเปล่า  เทคโนโลยีของไทยและการศึกษาก็ต้องพัฒนาไงครับ ซึ่งแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็เน้นย้ำอยู่แล้วครับไม่ต้องห่วงนะครับ ถ้าเราพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในประเทศ เช่น รากหญ้าให้มีความรู้มากขึ้น เขาก็จะพึ่งพาตนเองได้ครับ การมีความรู้ก็จะทำให้โดนหลอกได้น้อยลง จริงไหมครับ และ ยังมีแนวคิดใหม่ๆที่จะพัฒนาชุมชนตนเองด้วย

ผมว่าคุณเพ้อฝันและไม่ยอมรับความจริง


ผมขออนุญาตสรุปสั้นๆน๊ะครับว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือ model ชิ้นหนึ่งภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรี

หรือถ้าใครจะเถียง...จะได้อธิบายกันได้ยาวๆกว่านี้!!



หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 16:21
นี่คุณ ห้าแสนห้าหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบล้านห้าแสนห้าหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบห้า
พิมพ์มากไม่เมื่อยหรือครับ ประเด็นมันอยู่ที่ ยังไม่พอ ยังอดอยากอยู่ แค่นั้นเอง

ไปดูเรื่องการกระจายรายได้สิ

เมื่อไม่พอ ทำยังไงให้พอล่ะ ทำให้เค้าช่วยตัวเองได้

สอนให้หาปลาสิ ให้เบ็ด อย่าให้แต่ปลา

ตกลงจะเอาฝ่ายชาวบ้านหรือเอาฝ่ายในเมือง

จะเอาฝ่ายอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม แยก ๆ กันมองน่าจะพอเข้าใจได้

เรื่องชุมชนเข้มแข็ง นั่นทำไปถึงใหน หรือมัวแต่ส่งกองทุนหมู่บ้านกับ SML ลงไปให้ผลาญกันเล่น

ศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำกันไปถึงใหน...หากบอก"ไม่พอ" ก็เพราะ เอาสินค้าขยะลงไปหลอกเอาเงินชาวบ้านใช่หรือไม่...

ความสำคัญของ "เศรษฐกิจพอเพียง" คือ ต้องลงไปทำให้ชาวบ้านรู้ตัวว่า อย่าตกเป็นเครื่องมือของการโฆษณาชวนเชื่อ

อย่าไปหลอกว่า ซักวันหนึ่งเราจะรวยแบบทักษิณ...อย่าไปเอาตัวทักษิณ คิดแบบทักษิณ ไปใส่หัวชาวบ้าน

ที่บอกว่า ผมประกันชีวิตเพื่อกู้เงินมาลงทุนน่ะ มันนิยายน้ำเน่า....


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 16:29
ไม่สังเกตเหรอว่ามันดีขึ้นมาจากอดีตตั้งเยอะมากแล้ว แต่มันก็ยังไม่พอ เพราะเมื่อก่อนมันจนมากถึงมากที่สุด

ตอนนี้มันเพิ่งเริ่มจะหายจน เพราะนโยบายรัฐบาลทักษิณ แต่ก็ต้องพึ่งพาต่างประเทศไปอีกพักใหญ่ๆ หลายๆ

ปี ถ้าคิดว่าตอนนี้พอเพียงแล้วก็จบ คนจนก็กลับไปจนต่อ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 16:36
ไม่ใช่หรอก...ที่บอกหายจนไปบ้าง เค้าเอาแค่ "รายรับ" เป็นตัวตั้ง ไม่ได้ดูรายจ่ายหรือหนี้ครัวเรือนมาพูดกัน

ที่จริงรุ่นเก่าเค้ามีเรื่อง จปถ. เป็นหลักหรือเป็นดัชนีชี้วัด

เรื่องความยากจน มันพูดกันยาว...ใหนบอก 6 ปี คนไทยจะหายจนไง...

อย่าบอกว่า ผ่านเส้นความยากจนนะ นั่นมันไม่ได้รวมอัตราเงินเฟ้อ ไม่รวมหนี้กองทุนหมู่บ้าน

12 ล้านคน ที่เป็นหนี้กองทุนหมู่บ้านน่ะ หมุนหนี้อยู่เท่าไหร่ ไปหาตัวเลขจริงมาดูกัน


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 16:44
โอยวนลูปอีกแล้ว พูดเรื่องหนี้ ก็พูดเรื่องสินทรัพย์ครัวเรือนอีก รอบที่ร้อยแล้วคร้าบ

ไอ้จับผิดเรื่องคอมมิทเวลาอย่างแก้จราจร อีกหกปีหายจนเนี่ย ไว้โชว์เก๋ากับเด็กๆ

เถอะคร้าบ อนาคตใครจะทำนายได้เป๊ะๆ ก็กะประมาณทั้งนั้นแหละเอาอะไรมาก

ที่เค้าพูดอาจจะหมายถึง 6 ปี กว่าๆ (11 เดือน) ก็ได้ พอดีโดนสอยซะก่อน

เรื่องหาตัวเลขยิ่งไม่มีทาง ตัวเลขทั้งหมดมันไม่มีความน่าเชื่อถือหรอก ตั้งแต่วิธี

การสำรวจแล้ว เอาตัวเลขมั่วมาวิเคราะห์จริงจะได้ผลวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือได้อย่างไร


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 16:50
มันเป็นความจริง....อย่าลืมว่า รัฐบาลหน้าเหลี่ยม ทำร้ายประเทศไทย คนไทยมากแค่ใหน...

หากจะลงไปบอกยังจนอยู่ ไม่พอเพียง นั่นแหละยิ่งต้องรีบลงไปทำให้รู้ว่า "อะไรคือพอเพียง"

ขนาดไปเลี้ยงควายตามท้องไร่ท้องนายังพกมือถือ มันน่าตีมั๊ยละโยม...


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 16:55
ขนาดไปเลี้ยงควายตามท้องไร่ท้องนายังพกมือถือ มันน่าตีมั๊ยละโยม...
ความสุขเล็กน้อย คิดอะไรมาก ใครๆ ก็อยากติดต่อสื่อสาร ตามยุคสมัยทั้งนั้น
เมาเหล้า เล่นการพนัน ติดยา เสียเงินมากกว่าเยอะ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-10-2006, 17:02
มาดตัวเลขการกระจายรายได้ของประเทศไทยกันครับ

                                          2544            2545            2546           2547
คนรวย (สัดส่วน 20%)               56.5             57.8            55.2            48.4
ชนชั้นกลาง (สัดส่วน 60%)         39.3             38.3            40.6            45.2
รากหญ้า (สัดส่วน 20%)              4.2               3.9              4.2              6.4


แสดงให้เหนชัดเจนว่าคนรวยมีผลรายได้มวลรวมลดลง ในขณะที่ชนชั้นกลางและรากหญ้ามีสัดส่วนรายได้มากขึ้น





หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 25-10-2006, 17:05

ตอบ 
เศรษฐกิจของประเทศไทยก็มีปัจจัยภายในมากระทบพอๆกับปัจจัยภายนอกครับ ปัจจัยภายในประเทศเช่น ราคาน้ำมัน การศึกษา ปัญหาความยากจน ความต้องการของผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ย หรือ  นโยบายรัฐบาล ก็ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมากเช่นกันครับ ผมว่าดีไม่ดีอาจจะมากกว่าปัจจัยภายนอกด้วยซ้ำ  การอ่านบทความข้างต้นจะพบว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกปกป้องและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนะครับโดยอาศัยหลักความพอประมาณ ความรอบคอบในการดำเนินนโยบายต่างๆ และ ม่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของแต่ละองค์กรอย่างสูงสุดโดยใช้งบประมาณอย่างประหยัดแต่ได้ผลที่สุด ก็ตรงตามหลักเศรษฐศาสตร์นะครับ ดังนั้นผมจึงยืนยันได้เลยว่า ระบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้ประยุกค์ให้กับประเทศไทยและประเทศต่างๆได้เช่นกันครับ ที่บางประเทศเขาไม่ต้องใช้ก้เพราะเขามีกลไกป้องกันเสถียรภาพที่ดี ซึ่งระบบของประเทศเขาเอื้ออำนวยครับ เช่น คอร์รัปชั่น เขาควบคุมได้ดีกว่าไทยใช่ไหมครับ เขาออกนโยบายอะไร เขาควบคุมงบประมาณได้ แต่ไทยทำได้ไหมครับ ที่ผ่านๆมาเคยควบคุมได้หรือไม่ การเน้นย้ำเศรษบกิจพอเพียงก้ย่อมเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมให้ดีขึ้นอีกทางนึงนะครับ ส่วนการนำเข้าknow-how นะครับ ทุกๆประเทศต่างก็ต้องนำเข้ากันทั้งนั้นนะครับ ทั้งอย่าง ญี่ปุ่นก็ยังต้องนำเข้าน้ำมัน อเมริกาเองก็ยังต้องนำเข้าน้ำมัน อย่าง ออสเตรเลีย ก็ยังมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ หรือ การกู้เงินมาเพื่อลงทุน มันก็เป็นเรื่องธรรมดานะครับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเขาพึ่งพาตนเองไม่ได้นี่ครับ แต่มันคือ การแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันมากกว่า เหมือนอย่าง FTA ก็เช่นกันก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำเพราะเราพึ่งพาตนเองไม่ได้ใช่ไหมครับ แต่ต้องทำเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศให้มากขึ้น ไม่มีประเทศไหนเขาปิดประเทศแล้วบอกว่าพึ่งตนเองได้นี่ครับ อย่างระบบเสรษฐกิจพอเพียงก้ไม่ได้หมายความว่าให้คุณไปปิดประเทศนี่ครับ ก็ดำเนินนโยบายต่างประเทศตามปกติ แต่รอบคอบมากขึ้นก็เท่านั้นเอง คุณลองยกตัวอย่างประเทศที่ไม่ต้องมีการนำเข้า know-how ไม่นำเข้าพลังงาน ไม่นำเข้าเงินทุนมาสักประเทศสิครับ

แหม...ใจดีจังที่ให้น้องจ๊ะเข้าเสียบเข้าเสียบบ๊อยบ่อย คนไรน่ารักจัง :slime_smile2:

สิ่งที่คุณพูดมาทั้งหมดมันก็ตอบตัวเองอยู่แล้วว่าระบบเศรษฐกิจเสรีคือคำตอบสุดท้าย เพราะขนาดเศรษฐกิจพอเพียงยังต้องใช้หลักการสำคัญๆมาจากรากฐานของเศรษฐกิจเสรีทั้งสิ้นไม่ว่าจะเรื่อง GDP, resources, political constraints, investment funds, inter-trades, consumptions etc. เพียงแค่มุมมองของเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานมุมมองส่วนบุคคลว่าขนาดไหนถึงจะเรียกว่าพอเพียง แต่ปราศจากมาตราวัดเป็นตัวเลขเท่านั้นเอง

ดังนั้น ทุกประเทศจึงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจเสรีเหมือนกันหมด ไม่มีประเทศไหนดีเลิศมีพร้อมโดยไม่พึ่งพาการค้าขายจากตปท. แล้วไทยเราที่ว่ามารณรงค์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั่น...คุณมีวิธีการใดที่จะลดการนำเข้าหรือพึ่งพาจากตปท.บ้างหล่ะ? ในเฉพาะกับอเมริการและยุโรปที่ไทยได้ดุลย์การค้ามหาศาล ในขณะที่เราเสียดุลย์กับจีน-ญี่ปุ่นจำนวนมหาศาลเช่นกัน ประเด็นก็คือ ไทยเราต้องยอมรับครับว่าเป็นประเทศที่พึ่งพาตัวเองไม่ได้ ถามว่าวันนี้หากเราโดนอเมริกา+ยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางการค้าอันเนื่องมาจากกฎอัยการศึก...ใครเสียหาย...ถ้าไม่ใช่ประชาชนคนไทยตาดำๆ!?!

ถ้าคิดว่าไทยเราเก่งจริง...ก็ไม่ต้องยกเลิกกฎอัยการศึกซิครับ ลองดูสัก1ปีว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจของไทย แล้วลองดูซิว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยได้ไหม?!?



พูดไปแนวทางนามธรรมกันมากไปมั้งครับ? พึ่งตนเอง!! ตอนนี้ไทยเราพึ่งตัวเองขนาดไหน...สินค้ายังต้องส่งออกเพื่อให้เศรษฐกิจอยู่ได้ เทคโนโลยีของไทยเราเองแทบไม่มี ระบบการศึกษาไทยเรายังล้าหลัง แล้วจะพึ่งตัวเองแบบไหนกันเอ่ย!?!

ตอบ
การส่งออกเป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศนะครับ เราส่งออกสินค้าตั้งแต่สมัยอยุทธยาแล้วมั้งครับ การพึ่งตนเองไม่ใช่หมายความว่าเราจะไม่ส่งออกนี่ครับ สับสนอะไรรึเปล่า  เทคโนโลยีของไทยและการศึกษาก็ต้องพัฒนาไงครับ ซึ่งแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็เน้นย้ำอยู่แล้วครับไม่ต้องห่วงนะครับ ถ้าเราพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในประเทศ เช่น รากหญ้าให้มีความรู้มากขึ้น เขาก็จะพึ่งพาตนเองได้ครับ การมีความรู้ก็จะทำให้โดนหลอกได้น้อยลง จริงไหมครับ และ ยังมีแนวคิดใหม่ๆที่จะพัฒนาชุมชนตนเองด้วย

ผมว่าคุณเพ้อฝันและไม่ยอมรับความจริง


ผมขออนุญาตสรุปสั้นๆน๊ะครับว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือ model ชิ้นหนึ่งภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรี

หรือถ้าใครจะเถียง...จะได้อธิบายกันได้ยาวๆกว่านี้!!



สิ่งที่คุณพูดมาทั้งหมดมันก็ตอบตัวเองอยู่แล้วว่าระบบเศรษฐกิจเสรีคือคำตอบสุดท้าย เพราะขนาดเศรษฐกิจพอเพียงยังต้องใช้หลักการสำคัญๆมาจากรากฐานของเศรษฐกิจเสรีทั้งสิ้นไม่ว่าจะเรื่อง GDP, resources, political constraints, investment funds, inter-trades, consumptions etc. เพียงแค่มุมมองของเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานมุมมองส่วนบุคคลว่าขนาดไหนถึงจะเรียกว่าพอเพียง แต่ปราศจากมาตราวัดเป็นตัวเลขเท่านั้นเอง


ผมไม่ได้หมายถึงระบบเศรษฐกิจเสรีเป็นคำตอบสุดท้ายนี่ครับ เอามาจากส่วนใหนของผมหรือ ผมเพียงแค่จะสื่อว่า ระบบศก แบบพอเพียงก็สามารถชี้วัดได้ต่างหากซึ่งไม่ต่างจากการชี้วัดด้วยระบบศก.แบบเสรีนิยม และ เนื่องจากแนวความคิดที่มีลักษณะไม่แตกต่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ต่างๆประกอบกับมีความครอบคลุมในแนวทฤษฎีหลายๆแบบที่สอดคล้องกัน ดังนั้นการที่เราใช้ศก.แบบพอเพียงจึงไม่ได้ลดทอน การใช้การชี้วัดด้วย GDP หรือ การนำเข้า resources การมีปัจจัยกระทบจาก political constraints การมี investment funds หรือ การที่เราต้องมี inter-trades  หรือ การที่ปชชต้องมีconsumptions  (ไม่รู้จะใช้ภาษาอังกฤษทำไมนะครับ) แต่เมื่อเรามองกรอบความคิดของแนวทฤษฎีแล้ว เราก็จะพบว่ามีส่วนเพิ่มเติมที่มุ้งเน้นย้ำถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัว และมีเงื่อนไข 2 ประการคือความรู้และคุณธรรม อันจะนำมาประกอบกับการวางนโยบายในการบริหารประเทศเป็นหลัก ผมจึงไม่เข้าใจว่า การที่ประเทศไทยใช้ ศก.แบบพอเพียงจะทำให้เกิดการถดถอยของเศรษฐกิจ และ ลดเสถียรถาพทางศก ได้เนื่องจากปัจจัยใดๆในแนวทางของกรอบทฤษฎี เหมือนอย่างที่คุณกล่าวว่า การชี้วัดด้วยความรู้สึก ผมก็อยากถามคุณว่า คุณไปเอาแนวคิดนี้มาได้อย่างไร และ ทำไมถึงคิดเช่นนั้น ดังนั้นผมจึงไม่มองว่า แนวคิด ศก.พอเพียงจะต้องพึ่งพาแนวคิดแบบเสรีนิยม แต่สามารถผสมผสานให้มีความสอดคล้องกันมากขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้นมากกว่า ถ้าคุรคิดว่า แนวคิด ศก.แบบพอเพียงไม่สามารถจะดำเนินการได้ก็ลองให้ตัวอย่างผมมาก่อนดีกว่า ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นในความคิดคุณ


ดังนั้น ทุกประเทศจึงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจเสรีเหมือนกันหมด ไม่มีประเทศไหนดีเลิศมีพร้อมโดยไม่พึ่งพาการค้าขายจากตปท. แล้วไทยเราที่ว่ามารณรงค์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั่น...คุณมีวิธีการใดที่จะลดการนำเข้าหรือพึ่งพาจากตปท.บ้างหล่ะ? ในเฉพาะกับอเมริการและยุโรปที่ไทยได้ดุลย์การค้ามหาศาล ในขณะที่เราเสียดุลย์กับจีน-ญี่ปุ่นจำนวนมหาศาลเช่นกัน ประเด็นก็คือ ไทยเราต้องยอมรับครับว่าเป็นประเทศที่พึ่งพาตัวเองไม่ได้ ถามว่าวันนี้หากเราโดนอเมริกา+ยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางการค้าอันเนื่องมาจากกฎอัยการศึก...ใครเสียหาย...ถ้าไม่ใช่ประชาชนคนไทยตาดำๆ!?!  

ผมงงมากที่คุณเอาเรื่องการพึ่งพาการค้ามาอ้างถึงเพราะผมมองไม่ออกเลยว่านโยบาย ศก.พอเพียงห้ามมีการพึ่งพาและ การทำการค้าจากต่างชาติตรงไหน ยกตัวอย่างมาให้ผมอ่านหน่อยสิครับ คุณสงสัยคุณเข้าใจกรอบความคิดนี้เพียงพอหรือไม่และสามารถขยายไปสู่แนวนโยบายได้หรือไม่ "ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัว และมีเงื่อนไข ๒ ประการคือความรู้และคุณธรรม " การลดการนำเข้าและพึ่งพาจาก ตปท ก็คือ การพัฒนาศักยภาพในการผลิตในประเทศให้เพียงพอกับความต้องการของคนไนประเทศไงครับ คุณ ดู เกาหลีใต้เป็นตัวอย่างนะ เขาแทบไม่นำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศเลย เขาผลิตรถใช้เอง และ ส่งออก เขาพัฒนาศักยภาพการผลิตในประเทศได้ดีพอจนคนในประเทศไม่มีความต้องการที่จะบริโภคสินค้าจากการนำเข้า ถ้าเราพัฒนาศักยภาพภายในประเทศให้สูงนะครับ ทั้งทางภาคอุตสาหกรรม และ การเกษตร เราก็จะลดการพึ่งพาจากต่างชาติได้มากขึ้นครับ เอ่อ ไทยได้ดุลย์การค้ากับ ยุโรปและสหรัฐอย่างมหาศาล คือเราส่งออกได้มากนะครับถึงได้ดุลย์นะครับ ส่วนกับญี่ป่นนี่ เสือกนำเข้ามากไปหน่อยนะครับ  ลดการนำเข้าก็ดีแล้วนี่ครับ แล้วเพิ่มศักยภาพสินค้าเพื่อการส่งออก เราคงยังไม่โดน สหรัฐกับยุโรปตัดสิทธิทางการค้าหรอกครับ ยังไม่ทำกันเลยนี่ ถ้ามีข่าวบอกด้วยนะครับ และขอข้อมูล เอกสารกรอบการเจรจาการค้าเสรีให้ผมด้วยนะ

ตัวอย่าง   สรุปการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศคู่ค้าสำคัญและประเทศที่ไทยเปิดตลาดเสรีการค้า  ช่วง  8   เดือนแรก (มกราคม-สิงหาคม  2549)

ไทย-ญี่ปุ่น     :   ไทยขาดดุลการค้า  6,480.9  ล้านเหรียญสหรัฐ   ขาดดุลลดลงร้อยละ  13.2 มูลค่าการส่งออก  10,632.9  ล้านเหรียญสหรัฐ  เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.7    สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่  แผงวงจรไฟฟ้า   ยางพารา   เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ   รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ   เลนซ์    เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ   เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล     และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม     สินค้าส่งออกที่ลดลง  ได้แก่   อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป     เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ     เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ      อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด   เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน    เม็ดพลาสติก  และเตาอบไมโครเวฟ  เป็นต้น
มูลค่าการนำเข้า  17,113.8  ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงร้อยละ  1.8     เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าสำคัญ   ได้แก่   เคมีภัณฑ์   เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์     ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก   สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์   เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด   ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ   เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน   และวงจรพิมพ์    ส่วนสินค้านำเข้าที่ลดลง   ได้แก่   เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ     เหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์    เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ  แผงวงจรไฟฟ้า     ส่วนประกอบและอุปกรณ์ ยานพาหนะ    ผลิตภัณฑ์โลหะ    เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ     รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก   เป็นต้น            

 
ไทย-สหรัฐอเมริกา     :   ไทยเกินดุลการค้า  7,098.1   ล้านเหรียญสหรัฐ    เพิ่มขึ้นร้อยละ  39.6
มูลค่าการส่งออก  12,900.4  ล้านเหรียญสหรัฐ   เพิ่มขึ้นร้อยละ  17.6   สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่  ได้แก่    เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ   เสื้อผ้าสำเร็จรูป   เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ    อาหารทะเลกระป๋องและสำเร็จรูป    อัญมณีและเครื่องประดับ   ผลิตภัณฑ์ยาง    เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ   และแผงวงจรไฟฟ้า   สินค้าส่งออกที่ลดลง  ได้แก่     เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน  รองเท้าและชิ้นส่วน   เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ      วงจรพิมพ์     หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ    แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า    เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ    เครื่องกีฬาและเครื่องเล่มเกม  เป็นต้น

มูลค่าการนำเข้า   5,802.2   ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงร้อยละ  1.3   ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าสำคัญ    ได้แก่      เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ  เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ   เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ    เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์       ธุรกรรมพิเศษ   ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก     เชื้อเพลิงอื่น ๆ   และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด   ส่วนสินค้านำเข้าที่ลดลง   ได้แก่   แผงวงจรไฟฟ้า   เคมีภัณฑ์    พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช    ด้ายและเส้นใย     เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ    เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์   เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ   ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์   เป็นต้


เราพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นนำเข้าน้อยลงส่งออกมากขึ้นเราก็เกินดุลย์ได้ใช่ไหมครับ

ถ้าคิดว่าไทยเราเก่งจริง...ก็ไม่ต้องยกเลิกกฎอัยการศึกซิครับ ลองดูสัก1ปีว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจของไทย แล้วลองดูซิว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยได้ไหม?!?

ก็ลองดูดีไหมล่ะครับ อย่าเพิ่งวิจารณ์ไปก่อน ดีไหม อีกอย่างถ้าคุณ คิดว่า ศก พอเพียงเป็นหนึ่งใน model ของ ระบบศก ทุนนิยม คุณจะมาเดือดร้อนทำไมล่ะครับ มาแถใหญ่เลย มันจะแปลกๆนะครับ

 
ผมว่าคุณเพ้อฝันและไม่ยอมรับความจริง

ผมขออนุญาตสรุปสั้นๆน๊ะครับว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือ model ชิ้นหนึ่งภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรี

หรือถ้าใครจะเถียง...จะได้อธิบายกันได้ยาวๆกว่านี้!!


ข้อมูลของผมมันมาจากความฝันมั้งครับ แหมคุณสรุปได้สั้นดีจริงๆ เอายาวๆกว่านี้ได้ไหมครับ  พวกรัก สำนักเคนส์เข้าเส้นเลือดรึเปล่าเนี่ย  เท่าที่อ่านมาคุณนี่ท่าจะเกลียด ระบบ ศกแบบพอเพียงเข้าใส้เลยนะครับ เอ๊ะ ใช่ คุณไข้เหลือง รึเปล่าเอ่ย


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:06
ขนาดไปเลี้ยงควายตามท้องไร่ท้องนายังพกมือถือ มันน่าตีมั๊ยละโยม...
ความสุขเล็กน้อย คิดอะไรมาก ใครๆ ก็อยากติดต่อสื่อสาร ตามยุคสมัยทั้งนั้น
เมาเหล้า เล่นการพนัน ติดยา เสียเงินมากกว่าเยอะ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกū
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:08
ไหนๆ Ar-Rai-Ja ก้อมาแล้ว ช่วยมาตอบกระทู้นี้ด้วยครับ
แหล่งที่มาของข้อมูลพี่จ้ะ น่ะครับ

ที่บอกว่าอะไรน๊ะ....รวยกระจุกจนกระจายน๊ะ ช่างเข้าทางพี่จ๊ะอีกแร๊ะ  ชอบมั่ๆอ่ะกับพวกไม่มีข้อมูลแล้วมาเป็นเป้าให้พี่จ๊ะเค้ายิงแบบนี้ ฮ่าๆๆ

                                         2544     2545    2546    2547

คนรวย(มีอยู่20%)                   56.5%  57.5%  55.2%  48.4%
ชั้นกลาง(มีอยู่ 60%)                39.3%  38.3%  40.6%  45.2%
รากหญ้า (มีอยู่ 20%)                 4.2%   3.9%    4.2%    6.4%

เห็นไหมครับว่าปี 2544 คนรวยมีรายได้คิดเป็นสัดส่วนกว่า 50% พอปี 2547 ลดลงไม่ถึง 50% ในขณะที่ชนชั้นกลางกับรากหญ้ามีสัดส่วนของรายได้เพิ่มขึ้น แล้วอย่างนี้แสดงว่ารวยกระจุกจนกระจายใช่ไหม!?!

เรื่องตัวเลข...บอกมาเถอะ...พี่จ๊ะช๊อบชอบ  ฮ่าๆๆๆๆๆ

แหล่งที่มา: วารสารของธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับเดือน เม.ย. 2549 ไปหาอ่านกันเอาเองน๊ะจ๊ะ  อิ อิ


อ่า พี่บอกเป็น ฉบับรายเดือน ไม่ใช่เหรอ (เม.ย. 2549)

แต่นี่


Annual Economics Report ก๊าบบบบบ :slime_p:

อันนี้มีล่าสุดแค่ปี 2548 เองง่ะ

งง?   :slime_dizzy:


เดี๋ยวกระทุ้งให้ตอบที่กระทู้เดิมด้วยนะ จะได้ไม่พลาดคร้าบ
http://forum.serithai.net/index.php?topic=8832.msg126404#msg126404


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 17:09
เอาข้อมูลมาจุดให้แย้งเป็นร้อยจุด ข้อ 1. ค่าพาหนะไม่พูดถึง ค่าเดินทางเอามารวมด้วยทำไม


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 17:11
2. ค่าเหล้า ค่าการพนัน ค่าติดยา สำรวจยังไงไม่ทราบ
3. วิธีสำรวจนี้ ไปรวบรวมใบเสร็จของแต่ละครัวเรื่อน หรือให้เค้าระลึกได้แล้วกรอกเอา
4. ข้อมูลปีไหน แล้วตอนนี้มันปีอะไรแล้ว ทันสมัย หรือเปล่า
5. กลุ่มตัวอย่าง คือ...
6.-100. ขี้เกียจคิดว่ะ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 17:12
แต่ในโลกเศรษฐกิจเสรีที่ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยภายในประเทศเช่น ประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติตราบใดที่คุณต้องนำเข้าพลังงาน นำเข้าเทคโนโลยี นำเข้าเงินทุน นำเข้าknow-how ฯลฯ เพื่อการพัฒนาประเทศ...แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นๆพึ่งพาตัวเองไม่ได้ ในเมื่อคุณพึ่งพาตัวเองไม่ได้...คุณจะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า!?!

โอ๊ยโดนใจ ที่ว่า จะมีความพอเพียงได้อย่างไรเล่า คือ ตอนนี้ยังไม่พอ ยังขาดอยู่ ไม่ได้แปลว่า มีพอแล้ว แต่ยังโลภอยากได้เพิ่ม

ต้องตัดตัว "โลภ" ออกเร็ว ๆ นะ เพราะพอเพียงนั้นคือสันโดษ...ใช้เท่าที่มี สมเหตุสมผล

ถึงบอกไงว่า...เศรษฐกิจพอเพียง มันต้องเริ่มที่ คุณธรรม จริยธรรมและหลักธรรม ที่เป็นทางสายกลาง

ถ้ายังโลภ ไม่มีขีดจำกัด มี 73,000 ล้าน มันยังโลภต่อ ก็พังทั้งนั้นแหละ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:25
1. ค่าพาหนะไม่พูดถึง ค่าเดินทางเอามารวมด้วยทำไม
2. ค่าเหล้า ค่าการพนัน ค่าติดยา สำรวจยังไงไม่ทราบ
3. วิธีสำรวจนี้ ไปรวบรวมใบเสร็จของแต่ละครัวเรื่อน หรือให้เค้าระลึกได้แล้วกรอกเอา
4. ข้อมูลปีไหน แล้วตอนนี้มันปีอะไรแล้ว ทันสมัย หรือเปล่า
5. กลุ่มตัวอย่าง คือ...
6.-100. ขี้เกียจคิดว่ะ

http://service.nso.go.th/nso/g_knowledge/def_censurv.jsp
http://service.nso.go.th/nso/g_knowledge/method.htm

แล้วข้อมูลของ ชอบแถล่ะ เอามาให้ดูหน่อยดิ
โดยเฉพาะข้อมูลของ "เมาเหล้า เล่นการพนัน ติดยา เสียเงินมากกว่าเยอะ" เนี่ย
ดูหน่อยนะๆๆๆๆๆๆ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 17:28
เหล้าขวดละเท่าไหร่ กินให้เมาต้องใช้กี่บาท เอามาคูณเดือน คิดเองได้นะ

ค่ามือถือ เครื่องละสามพัน อายุการใช้งานสองปี หารออกมา ค่าเติมเงินเดือนละสามร้อยบวกเข้าไป

อันไหนเยอะกว่า คิดเอาเอง นี่อย่างหรูแล้วนะ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:33
เหล้าขวดละเท่าไหร่ กินให้เมาต้องใช้กี่บาท เอามาคูณเดือน คิดเองได้นะ

ค่ามือถือ เครื่องละสามพัน อายุการใช้งานสองปี หารออกมา ค่าเติมเงินเดือนละสามร้อยบวกเข้าไป

อันไหนเยอะกว่า คิดเอาเอง นี่อย่างหรูแล้วนะ

สรุปว่า นั่งเทียนคิดเองใช่ไหม
บอกคนอื่นให้สำรวจด้วยวิธีสถิติ

ส่วนตัวเองก็นั่งเทียนเขียน

 :slime_agreed: (ถูกต้องนะคร้าบบบบบบบบบบ)


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 17:37
เออ..ดีจัง เอาแต่รายได้มาคุย ไม่บอกล่ะว่า ปี 46-47 เพิ่มกองทุนหมู่บ้านเป็น กองละ 2 ล้านแล้ว

อย่าคุยลุยแต่รายได้สิ ตัวเลขทางบัญชีน่ะ แม้แต่"เงินกู้" เค้าก็นับเป็น "รายรับ"

โน่นไปเอาหนี้ครัวเรือน หรือ ภาครายจ่ายมาคุยกัน...


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 17:37
เหล้าขวดละเท่าไหร่ กินให้เมาต้องใช้กี่บาท เอามาคูณเดือน คิดเองได้นะ

ค่ามือถือ เครื่องละสามพัน อายุการใช้งานสองปี หารออกมา ค่าเติมเงินเดือนละสามร้อยบวกเข้าไป

อันไหนเยอะกว่า คิดเอาเอง นี่อย่างหรูแล้วนะ

สรุปว่า นั่งเทียนคิดเองใช่ไหม
บอกคนอื่นให้สำรวจด้วยวิธีสถิติ

ส่วนตัวเองก็นั่งเทียนเขียน

 :slime_agreed: (ถูกต้องนะคร้าบบบบบบบบบบ)

สำรวจด้วยวิธีสถิติบางอย่างใช้ไม่ได้หรอกครับ ยกตัวอย่างก็อย่างที่ willing ยกขึ้นมาไง
รวมทั้ง ค่าเหล้า ค่าติดยา ค่าการพนัน เพราะใครจะเก็บข้อมูลที่ถูกต้องมาบอกหละ ในเมื่อตัวเองยังจำไม่ได้
เราจึงต้องใช้เหตุผล ด้วยการนำตัวเลขต่างๆ และเทียนไข มาคำนวณความน่าจะเป็นไงครับ เข้าใจหรือยัง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 17:45
ข้อมูลคุณ willing นำมา

ค่าเหล้า-บุหรี่ เทียบกับการสื่อสารแล้วอยากอ๊วก...

แล้วยายมี ยายเมี้ยน เอามือถือใส่ตะกร้าไปเลี้ยงควายก็ชัดแล้ว...นี่เรื่องจริง...ขี้เกียจเขียนบทสนทนา

ตอนนี้ลูกสาวกำลังส่ง "โปรโมชั่นใหม่" โทรฟรี สี่ทุ่มถึงเที่ยง นี่ยิ่งสนุกเค้าละ

คิดเล่น ๆ แค่ เอาค่าบริการของทั้งวงการสื่อสาร กับ ยอดขายเหล้าบุหรี่ มาเทียบกันคงเห็นได้ชัดขึ้น


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:46
5555 ชอบแถ ยอมรับแล้วววว
เราจึงต้องใช้เหตุผล ด้วยการนำตัวเลขต่างๆ และเทียนไข มาคำนวณความน่าจะเป็นไงครับ เข้าใจหรือยัง

เข้าใจชอบแถ แล้วคร้าบบ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:49
เดี๋ยวผมจะเอาข้อมูลอื่นๆ มาให้ดูครับ
จริงไม่จริง หรือวิเคราะห์ผิด อย่างไร ออกความเห็นกันได้เลย
มาๆ ชอบแถ Killer แล้วก็ พี่จ๊ะ ด้วย

(ได้มาจาก mail)


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:50
...


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:50
...


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:51
...


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 25-10-2006, 17:53
หมดละ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 17:59
ตายแล้ว หลานไรจ๊ะ เอาตัวเลขขาเดียวมาโชว์

โดนชาร์ท หนี้สินประกอบรายได้เข้า...ไปเป็นหรือเปล่าละเนี่ย

แม่ยายจ๋า...ช่วยลูกเขยด้วยยยยย :slime_v:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกū
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 25-10-2006, 18:19
อุแม่เจ้า กระทู้ผม 

ดีใจนะครับ ที่เห็นเพื่อนๆเข้ามา discuss กันแบบนี้  แล้วผมจะสรุปแนวคิดอันเป็นประโยชน์จากกระทู้ไว้ให้ดูนะครับ

ต้องขอโทษด้วยครับ ถ้าจขกท.เข้ามาตอบช้า  ผมมีเวลาว่างค่อนข้างจำกัด

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เท่าที่อ่านดู  ผมว่า จ๊ะ กับ แถ  กำลังหลงประเด็น

ที่ จ๊ะกับแถ บอกว่า ไทยยังต้องนำเข้าน้ำมัน และอื่นๆ --> แปลว่าใช้เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้

ซึ่ง มันไม่จริง ไม่เกี่ยว  เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้แปลว่า เราต้องหยุดการนำเข้า

พวกคุณก็บอกอีกว่า แล้วนำเข้าแค่ไหนล่ะ ถึงจะเรียกว่าพอเพียง 
ผมก็อยากจะบอกว่า  ในโลกนี้ ไม่ได้มีแต่การวัดเชิงปริมาณนะครับ  มันต้องมีเชิงคุณภาพด้วย
ไม่มีเชิงปริมาณ ก็จะมาบอกว่าไม่ดี ใช้ไม่ได้งั้นหรือ  :slime_hmm:

ลุงแคนก็บอกไว้แล้วใน 104
คุณ ห้าาาาาาา เค้าก็อุตส่าห์ยก concept เศรษฐกิจพอเพียงมาให้อ่านกันแล้ว  ผมชอบอยู่อย่างหนึ่ง
"มุ่งให้เลือกกระทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดผลที่ถูกต้องบน พื้นฐานของความรู้และคุณธรรม " ซึ่งคำอธิบายก็ยังมีต่อมาอีก
นี่คือปัจจัยเชิงคุณภาพที่เรามองข้ามไม่ได้เลย

ก่อให้เกิดผลที่ถูกต้อง บนพื้นฐานคุณธรรม  ไม่ใช่อยู่เพื่อความมั่งคั่ง เพื่อการสะสมเพิ่มด้วยโลภไม่มีที่สิ้นสุด
 คนไทยทุกท่าน แปลออกไหมครับ  ผมว่าเยาวชนก็เข้าใจ  ดังนั้น ถ้า doctor ไม่เข้าใจ แสดงว่าจิตมีอคติมากเกินไป

ตัวอย่างการดำเนินธุรกิจด้วยหวังแต่ละโมบโลภมาก

ขอให้จ๊ะกับแถ ลองไปถามเนวิน กับ เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ดู  ว่าการเล่นกลเงินไปให้พวกพ้องมันเป็นยังไง

ลุงแคนก็ยกตัวอย่างให้ดูแล้ว ว่าฟองสบู่มันแตก เพราะ finance ละโมบโลภมาก มันทำการค้าแบบเห็นแก่ตัว
ไปกู้เงินนอกระยะสั้นดอกเบี้ยถูก  มาปล่อยกู้ระยะยาวดอกเบี้ยแพง  คิดแต่จะฟันส่วนต่าง สุดท้ายก็หมุนเงินไม่ทัน

แบบนี้เค้าเรียกว่า  สนใจแต่ตัวเลขผลประกอบการ ความมั่งคั่งของตนและ
พวกพ้องเพียงอย่างเดียว share holders and their beneficiaries
ไม่ได้คิดเลยว่า  ตัวเลขไม่ต้องโดดเด่นมาก แต่ขอให้ธุรกิจยั่งยืน เพื่อ stakeholders


จ๊ะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือ โมเดลชิ้นหนึ่งภายใต้เศรษฐกิจเสรี --> ใครเถียงล่ะ บอกทำไมครับ

ก็เค้าก็บอกอยู่แล้ว ว่าผลที่มุ่งหวังมันต่างกันคือความมั่งคั่ง กับมุ่งหวังความพอดีความเป็นธรรม แต่กระบวนการพื้นฐานก็เหมือนๆกัน

นึ่อยากจะ discredit เศรษฐกิจพอเพียงกันถึงขนาดจะบอกว่ามันไม่มีตัวตน มันก็คือเศรษฐกิจเสรีนั่นเอง อย่างงั้นเลยเหรอ


เศรษฐกิจพอเพียง เน้นให้เห็นประเด็นที่ว่า  เราต้องหวังผลที่ถูกต้อง บนพื้นฐานของความเป็นธรรมนั้น
เป็นสิ่งที่ประเสริฐสำหรับทุกสังคม  โดยเฉพาะสังคมที่อ่อนแออย่างประเทศไทย
จึงสมควรแล้วที่จะนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ
  :slime_worship:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 25-10-2006, 19:56
ต้มยำกุ้ง ปี 40 ระบบพังเพราะ ส่วนบน รากหญ้ายังพอไปได้ พี่น้องยังพอจะกลับไปทำไร่ไถนาหาเลี้ยงชีพได้

ต้มยำรากหญ้า ปี 49 ระบบพังเพราะนโยบายประชานิยม...ของนายหน้าเหลี่ยม

สรุปตอนนี้ก็บอกได้ง่าย ๆ ว่า ปั่นเงินจากรากหญ้าหาหนี้ให้เยอะ ๆ เพื่อมาบำเรอ ส่วนบน ๆ

หนี้สิน 18 เท่าของรายได้ คงไม่น่าพิสมัยเท่าไหร่นักหรอก

บอกได้แค่นี้ว่า "รากหญ้าเน่า" เพราะโดนเป่ากระหม่อมให้ยอมเป็นหนี้ เพื่อพวกนายทุนจะได้สูบแล้วปั่นกันหลาย ๆ รอบ

พวกเราคงได้รับคำตอบกันแล้ว...ชนใดเขียนกฎหมาย ชนใดเข้าปกครองก็ย่อมมองแต่ผลประโยชน์ของชนกลุ่มนั้น

ส่วนรากหญ้ารากเน่า ก็ "บัวแล้งน้ำ" อีกตามเคย...


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 25-10-2006, 20:12

สิ่งดีๆที่ได้เสนอไปแล้วนั้น
"จ๊ะกับแถ"จะยอมรับไหมเนี่ย

:slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 21:15
เดี๋ยวผมจะเอาข้อมูลอื่นๆ มาให้ดูครับ
จริงไม่จริง หรือวิเคราะห์ผิด อย่างไร ออกความเห็นกันได้เลย
มาๆ ชอบแถ Killer แล้วก็ พี่จ๊ะ ด้วย

(ได้มาจาก mail)
นี่ไอ้ข้อมูลพวกนี้อย่าเอามาอ้างอิงเลย สมัยหนุ่มๆ นะน้าแถเนี่ยเซียนรีเกรสชั่นเลย ไปเดินสำรวจข้อมูลใครอยากได้ยังไงบอก

แบบสอบถามใบหลังๆ ขี้เกียจเดินถามก็กรอกเอง พอเข้าเครื่องใช้ SPSS อันไหนมันโด่งทุเรศ ก็เอาข้อมูลออกมาเหลาออกซัก

หน่อย มันก็ได้เส้นกราฟเนียนนุ่มแล้ว ข้อมูลแค่เป็นร้อยก็ไม่มีใครสนใจตรวจข้อมูลดิบแล้ว เค้าก็ดูตรงสรุป ตรงใจที่เค้าคิดไว้ก็จบ

แล้วไอ้ระดับชาติเนี่ย ใครจะมีปัญญาไปตรวจ มั่วได้ทุกขั้นตอน มันเกลียดระบอบไหนกราฟก็ออกมาตามนั้น เชื่อเทียนไขยังดีกว่า


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 25-10-2006, 21:24

สิ่งดีๆที่ได้เสนอไปแล้วนั้น
"จ๊ะกับแถ"จะยอมรับไหมเนี่ย

:slime_bigsmile:

เดี๋ยวผมจะเอาข้อมูลอื่นๆ มาให้ดูครับ
จริงไม่จริง หรือวิเคราะห์ผิด อย่างไร ออกความเห็นกันได้เลย
มาๆ ชอบแถ Killer แล้วก็ พี่จ๊ะ ด้วย

(ได้มาจาก mail)
นี่ไอ้ข้อมูลพวกนี้อย่าเอามาอ้างอิงเลย สมัยหนุ่มๆ นะน้าแถเนี่ยเซียนรีเกรสชั่นเลย ไปเดินสำรวจข้อมูลใครอยากได้ยังไงบอก

แบบสอบถามใบหลังๆ ขี้เกียจเดินถามก็กรอกเอง พอเข้าเครื่องใช้ SPSS อันไหนมันโด่งทุเรศ ก็เอาข้อมูลออกมาเหลาออกซัก

หน่อย มันก็ได้เส้นกราฟเนียนนุ่มแล้ว ข้อมูลแค่เป็นร้อยก็ไม่มีใครสนใจตรวจข้อมูลดิบแล้ว เค้าก็ดูตรงสรุป ตรงใจที่เค้าคิดไว้ก็จบ

แล้วไอ้ระดับชาติเนี่ย ใครจะมีปัญญาไปตรวจ มั่วได้ทุกขั้นตอน มันเกลียดระบอบไหนกราฟก็ออกมาตามนั้น เชื่อเทียนไขยังดีกว่า

ผมว่าไม่ใช่แถไม่รู้หรอกว่าศก.พอเพียงคืออะไร
ก็แค่อยากแถสมชื่อชอบแถไปก็เท่านั้นเอง
ไม่งั้นก็คุยกันรู้เรื่องไปตั้งแต่หลายเดือนที่ก่อนเล้วละ


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 25-10-2006, 21:34
นี่ไอ้ข้อมูลพวกนี้อย่าเอามาอ้างอิงเลย สมัยหนุ่มๆ นะน้าแถเนี่ยเซียนรีเกรสชั่นเลย ไปเดินสำรวจข้อมูลใครอยากได้ยังไงบอก
แบบสอบถามใบหลังๆ ขี้เกียจเดินถามก็กรอกเอง พอเข้าเครื่องใช้ SPSS อันไหนมันโด่งทุเรศ ก็เอาข้อมูลออกมาเหลาออกซักหน่อย ...

ก่อนนี้ผมคิดว่าคุณชอบแถเป็นคนฉลาด เชื่อมั่นในตัวเองสูง มีไหวพริบดี ฯลฯ
แต่มาตอนี้ผมคิดว่าคุณชอบแถเป็นนักวิจัยที่เลวที่สุดเพราะไร้คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ


 :mozilla_yell:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 25-10-2006, 21:41
นี่ไอ้ข้อมูลพวกนี้อย่าเอามาอ้างอิงเลย สมัยหนุ่มๆ นะน้าแถเนี่ยเซียนรีเกรสชั่นเลย ไปเดินสำรวจข้อมูลใครอยากได้ยังไงบอก
แบบสอบถามใบหลังๆ ขี้เกียจเดินถามก็กรอกเอง พอเข้าเครื่องใช้ SPSS อันไหนมันโด่งทุเรศ ก็เอาข้อมูลออกมาเหลาออกซักหน่อย ...

ก่อนนี้ผมคิดว่าคุณชอบแถเป็นคนฉลาด เชื่อมั่นในตัวเองสูง มีไหวพริบดี ฯลฯ
แต่มาตอนี้ผมคิดว่าคุณชอบแถเป็นนักวิจัยที่เลวที่สุดเพราะไร้คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ


 :mozilla_yell:
คนเรากลับใจกันได้ แหมทำไปนิดเดียวเอง ไม่ถึงขั้นเลวที่สุดหรอก

แค่อยากพิสูจน์ว่ามั่วแล้วเค้าจับได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 26-10-2006, 11:17
แค่อยากพิสูจน์ว่ามั่วแล้วเค้าจับได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง

 :slime_bigsmile:
พ่อปลื้ม   สุดยอดเจ้าลัทธแถ  :slime_v:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 26-10-2006, 11:48
เหอ เหอ...มีเหลาข้อมูลให้เนียนด้วย ฮ่า ฮ่า

นักวิจัยสถาบันใหนเนี่ย... :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: camera ที่ 27-10-2006, 20:41
  ผมไม่ห่วงว่าพวกเราในนี้นะเข้าใจ ความหมายของคำนี้ว่าอย่างไร

  (ซึ่งผมว่าเข้าใจกันทุกคน แต่เพราะอยากชนะ อะไรบางอย่าง จึงหาทางชนะกันด้วยตัวอักษร)

  แต่ถ้ามันยังเข้าไม่ถึง ต้องแปลไทยเป็นไทย  ก็ลำบากแล้วครับ 

  เข้าไม่ถึงคนระดังฐานรากแน่นอน 

 


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: สี่หามสามแห่ ที่ 28-10-2006, 03:35
เหอ เหอ...มีเหลาข้อมูลให้เนียนด้วย ฮ่า ฮ่า

นักวิจัยสถาบันใหนเนี่ย... :slime_bigsmile:

สงสัยรับทำ ให้ ไทยรักไทย นะเนี่ย

555+



หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 28-10-2006, 10:30
เจอข้อมูลแบ๊งค์ชาติ ทำเอา แถไม่ออก ฮ่า ฮ่า :slime_v:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 28-10-2006, 11:10
เดี๋ยวผมจะเอาข้อมูลอื่นๆ มาให้ดูครับ
จริงไม่จริง หรือวิเคราะห์ผิด อย่างไร ออกความเห็นกันได้เลย
มาๆ ชอบแถ Killer แล้วก็ พี่จ๊ะ ด้วย

(ได้มาจาก mail)
นี่ไอ้ข้อมูลพวกนี้อย่าเอามาอ้างอิงเลย สมัยหนุ่มๆ นะน้าแถเนี่ยเซียนรีเกรสชั่นเลย ไปเดินสำรวจข้อมูลใครอยากได้ยังไงบอก

แบบสอบถามใบหลังๆ ขี้เกียจเดินถามก็กรอกเอง พอเข้าเครื่องใช้ SPSS อันไหนมันโด่งทุเรศ ก็เอาข้อมูลออกมาเหลาออกซัก

หน่อย มันก็ได้เส้นกราฟเนียนนุ่มแล้ว ข้อมูลแค่เป็นร้อยก็ไม่มีใครสนใจตรวจข้อมูลดิบแล้ว เค้าก็ดูตรงสรุป ตรงใจที่เค้าคิดไว้ก็จบ

แล้วไอ้ระดับชาติเนี่ย ใครจะมีปัญญาไปตรวจ มั่วได้ทุกขั้นตอน มันเกลียดระบอบไหนกราฟก็ออกมาตามนั้น เชื่อเทียนไขยังดีกว่า


อย่างชอบแถน่ะไม่มีปัญญาตรวจอยู่แล้ว เอาแค่ระดับประถมอาจพอไหว


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 28-10-2006, 11:27
สงสารกลัวแถไม่ออก เลยเอามุมมองนี้มาช่วยลิ่วล้อ...คงพอปะทะได้บ้าง แต่ก็แค่...บางประเด็น..
.................................................................................................................
วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1367

เมนูข้อมูล

นายดาต้า

พอได้ พอจ่าย พอใช้หนี้

ชัดเจนไม่ว่าจะเป็น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และขุนพลเศรษฐกิจอีก 2 คนในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และ นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ วางแนวการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารไว้ที่ "เศรษฐกิจพอเพียง"

ความหมายรวบยอดของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ที่การไม่ทำอะไรให้เกินตัว เกินศักยภาพ เกินความสามารถ หรืออย่างน้อยที่สุดให้มีหลักประกันว่าไปได้

รวมความคือ ไม่มุ่งไปที่ความสำเร็จแบบหลับหูหลับตาไปเรื่อย แต่เน้นที่จะต้องไม่ล้มเหลว

ไม่เพียงเท่านั้นรัฐบาลชุดนี้ยังชัดเจนว่าจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจไปในทางที่ทำให้ชีวิตมีความสุขมากกว่ามุ่งไปที่ความร่ำรวย ใช้ดัชนีความสุขมวลรวมแทนผลิตภัณฑ์มวลรวม

เศรษฐกิจครอบครัวจึงเป็นหัวใจของแนวคิดทั้งหมดนี้ ความสุขจะเกิดขึ้นไม่ได้หากครอบครัวยังทุกข์

เริ่มต้นจากการรู้ความเป็นจริงของครอบครัว แล้วพัฒนาให้มุ่งไปในทิศทางที่สร้างสุข

ความจริงของเศรษฐกิจครอบครัวคนไทยเป็นอย่างไร

สำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงผลการสำรวจล่าสุดซึ่งทำระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายนที่ผ่านมา

ตัวเลขสำคัญ คือครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 17,122 บาท โดยเพิ่มจาก ปี 2547 ร้อยละ 7

ขณะรายจ่ายมีค่าเฉลี่ยเดือนละ 14,640 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 85.5 ของรายได้ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 9.1 ต่อปี

อัตราเพิ่มของรายจ่ายมากกว่ารายได้ แต่จ่ายแล้วยังมีเงินเหมือเก็บอยู่บ้าง

เหลือเก็บจริงหรือไม่ดูที่หนี้

ครัวเรือนเกินครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 64.7 มีหนี้สิน คิดเป็นหนี้สินเฉลี่ย 118,434 บาทต่อครัวเรือนหรือประมาณ 6.9 เท่าของรายได้ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 6.4 ต่อปี

ความสุขของครอบครัวอยู่ที่รายได้มั่นคง รายจ่ายที่ไม่ฟุ้งเฟ้อ และหนี้สินที่ไม่ได้เกิดจากความฟุ่มเฟือย

จากผลสำรวจชิ้นนี้ครอบครัวไทยรายได้ส่วนใหญ่คือร้อยละ 70.7 มาจากการทำงาน

ส่วนรายจ่ายร้อยละ 28.7 เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 22.2 เป็นค่าเดินทางและการสื่อสาร ร้อยละ 21.5 เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับค่าอุปโภคบริโภค เช่น ภาษี ของขวัญ เบี้ยประกัน การซื้อหวย ร้อยละ 10.9 เป็นดอกเบี้ยเงินกู้

หนี้สินร้อยละ 35.2 ใช้ซื้อบ้านและที่ดิน ร้อยละ 24.6 เพื่อการอุปโภคบริโภค ร้อยละ 19.9 เพื่อทำธุรกิจ ร้อยละ 13.8 เพื่อทำการเกษตร มีร้อยละ 3.4 เพื่อใช้ในการศึกษา

จากตัวเลขนี้จะเห็นว่า การสร้างรายได้ การใช้จ่าย และการก่อหนี้ อยู่ในวิสัยของความระมัดระวัง

นั้นย่อมหมายถึงข้อโจมตีรัฐบาลชุดที่แล้วว่า ก่อหนี้ให้ประชาชนนั้น เป็นการมองจากมุมของหนี้สิน ไม่ได้มองจากมุมของการสร้างรายได้ และสร้างค่านิยมในการใช้จ่าย

จากตัวเลขนี้จะเห็นว่าครอบครัวไทยส่วนใหญ่ไปได้สบายๆ ในเรื่องเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตัวเองได้

หากรัฐบาลชุดใหม่ต้องการสร้างค่านิยมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงคงทำได้ไม่ยากนัก จากพื้นฐานความเป็นจริงดังกล่าว

เพียงแต่จัดกลไกให้ระมัดระวังในเรื่องค่าใช้จ่ายให้มาก รายได้มีมากกว่าอยู่แล้วจะจัดสรรมาเพื่อใช้หนี้ได้มากขึ้น

เพิ่มค่านิยมการหาความสุขให้ครอบครัวแทนที่จะมุ่งแต่การสร้างความร่ำรวยเข้าไป

ทุกอย่างก็น่าจะรื่น

เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเรื่องการเปลี่ยนวิธีคิด ซึ่งต้องใช้เวลา

รัฐบาลที่มีวาระเพียงแค่ 1 ปีชุดนี้จะทำอย่างไรให้ได้ผล เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถยิ่ง



หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 28-10-2006, 12:36
เหอ เหอ พวกชอบวิเคราะห์ความจริงจากข้อมูลมั่วนิ่ม


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 28-10-2006, 13:47
เหอ เหอ พวกชอบวิเคราะห์ความจริงจากข้อมูลมั่วนิ่ม


ยกตัวอย่างข้อมูลที่ไม่มั่วนิ่มมาหน่อยสิ อยากรู้แหล่งข้อมูลไม่มั่วนิ่มของชอบแถจัง สาดดดดดดด


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 31-10-2006, 22:34
แถกำลังไปเหลาข้อมูลมาแถต่อไง ฮ่า ฮ่า :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Naymoon ที่ 01-11-2006, 00:05
กระทู้นี้น่าสนใจมากเลยครับ กำลังสนใจเศรษฐกิจพอเพียงอยู่

แต่..กำลังคิดว่ามีจุดบกพร่องอยู่ในเรื่อง "ตัวบุคคลที่จะนำมาใช้"
เพราะท้ายที่สุด ระบบดีๆ มักจะพังเพราะคน
 :slime_dizzy:

แต่เยอะมั๊กๆ สงสัยต้อง print มาอ่านก่อน   
กว่าจะใช้เวลาอ่านจบไม่รู้เรื่องนี้ไปถึงไหนแล้ว  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: เนื่องจากมีตัวกาลกิณี มาก่นด่าเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 01-11-2006, 02:28
ยังไม่ไปถึงใหนหรอกครับ ตอนนี้ทางสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ก็ทำเรื่องสุขภาวะกับเศรษฐกิจพอเพียง

เห็นท่าจะต้องอาศัย สสส. เข้ามาช่วยกับกลุ่มสมัชชาสุขภาพเป็้นแกนครับ

การเผยแพร่ เศรษฐกิจพอเพียง มีคณะกรรมการมานานหลายปี แต่ไม่มีงบประมาณเฉพาะ

ลอง ๆ หาข้อมูลจากเว็บเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มเติมได้ครับ