ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ********Q******** ที่ 19-10-2006, 17:08



หัวข้อ: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-10-2006, 17:08
"เศรษฐกิจพอเพียง" ไม่พอ ต้องคู่กับ "การเมืองพอเพียง"

17 ตุลาคม 2549 18:16 น.
เรากำลังเรียกร้องให้มีแนวคิด 'เศรษฐกิจพอเพียง' เพื่อให้ประเทศชาติเติบโตอย่างมีคุณภาพ มั่นคง และโปร่งใส แล้ว ก็ควรจะต้องป่าวประกาศให้ผู้คนในบ้านเมืองนี้มีปรัชญา 'การเมืองพอเพียง' ไปพร้อมๆ กัน เพราะการเมืองแบบแสวงหาอำนาจและฉวยโอกาสนั้นได้ทำร้ายประเทศไทยเรามามากพอแล้ว
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :


     'การเมืองพอเพียง' หมายถึง การมองทะลุว่าสังคมจะเจริญไปในทางที่มีคุณธรรมได้นั้น คนในสังคมจะต้องรู้จักจำกัดความต้องการและความใฝ่ฝันทางการเมืองของตัวเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะที่ควร...หรือ

พูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือ จะต้องไม่ให้อำนาจทางการเมืองมาครอบงำสังคมจนกลายเป็นว่าการดิ้นรนต่อสู้ของผู้คนต่างๆ นั้น คือ การยื้อแย่งอำนาจทางการเมือง และเป้าหมายของการได้อำนาจมานั้นก็เพียงเพื่อจะสำแดงบทบาทของตนเองไปในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเท่านั้น

สิ่งที่ยืนอยู่ตรงกันข้ามกับ 'เศรษฐกิจพอเพียง' คือ 'ประชานิยมสุดขั้ว' และศัตรูตัวสำคัญของ 'การเมีองพอเพียง' นั้น ก็คือ 'การเมืองเพื่ออำนาจ'

การเมืองพอเพียงย่อมหมายความว่าเราจะใช้การเมืองเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตน และการเมืองพอเพียงย่อมหมายความว่าเราจะไม่ให้ตำแหน่งทางการเมืองมาเป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้งในการเดินหน้าเพื่อสร้างสังคมใหม่

การเมืองพอเพียง คือ การไม่ยอมรับตำแหน่งทางการเมือง เมื่อเห็นว่าตำแหน่งหน้าที่นั้นจะให้อำนาจที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในบทบาททางอาชีพของตนกับส่วนอื่นๆ ของสังคม...และการเมืองพอเพียงย่อมหมายถึงการไม่อ้างเหตุผลเฉพาะกิจหรือเฉพาะตนมาเป็นเครื่องตัดสินใจว่าจะเข้าไปมีบทบาททางการเมืองนั้น

การเมืองพอเพียง หมายถึง การรู้ว่าตำแหน่งแห่งหนทางการเมืองของตนอาจจะเป็นฉนวนแห่งความขัดแย้งในสังคมโดยไม่จำเป็น เพราะการเมืองพอเพียงนั้นไม่ได้แปลว่าเราจะต้องมีตำแหน่งทางการเมืองแล้วจึงจะสามารถรับใช้ชาติได้

นายกฯ กับ 'นาย ก.' นั้น มีระยะห่างกันมากทางการเมืองเรื่องอำนาจก็จริง แต่ในกติกาของ 'การเมืองพอเพียง' นั้น สองคนนี้ต่างมีบทบาทต่อสังคมไม่ได้น้อยไปกว่ากันเท่าไรเลย...หัวโขน และอำนาจที่มอบให้ชั่วครั้งชั่วคราวกับคนเป็น 'นายกฯ' นั้น พอหมดภาระหน้าที่ในตำแหน่งนั้นก็กลับกลายมาเป็น 'นาย ก.' เหมือนเดิม

การทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริตของ 'นาย ก.' ทั่วประเทศต่างหากเล่าที่มีความสำคัญมากกว่าหากคนที่เป็น 'นายกฯ' ไม่มีความรู้สึก 'พอเพียง' ในอำนาจอย่างที่เกิดมาแล้วตลอดเวลา 5 ปี ของระบอบทักษิณ

วันนี้ ข้อโต้แย้งระหว่างคนที่มีความหวังดีต่อประเทศชาติว่าใครควรจะอยู่ในตำแหน่งใดในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงควรจะต้องหันมามองหลักการ 'การเมืองพอเพียง' ที่สอดคล้องกับ 'เศรษฐกิจพอเพียง'

หากมองบนพื้นฐานของ 'การเมืองพอเพียง' ผมจะไม่แปลกใจเลยที่คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ จะประกาศไม่รับตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติ เพราะถ้ารับ ตัวเองก็จะเป็นประเด็นการเมืองโดยไม่จำเป็น...และจะว่าไปแล้ว คุณมีชัย ก็ได้ผ่านจุดสูงสุดแห่งอาชีพของการเป็นนักกฎหมายอันดับต้นๆ ของประเทศมาแล้ว

ความ 'เพียงพอ' ของอัตตานั้น จะนำมาซึ่งความ 'พอเพียง' ของสังคมอย่างยิ่ง

อีกแง่หนึ่งของ 'การเมืองพอเพียง' ย่อมหมายถึงการ 'รักษาระยะห่าง' ระหว่างตัวเองกับอำนาจทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากจริยธรรมแห่งวิชาชีพของตนนั้นกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบผู้มีอำนาจการเมืองและ 'เป็นหูเป็นตา' ให้กับสังคม

บนหลักการ 'การเมืองพอเพียง' อีกเช่นกัน หาก 'ระยะห่าง' ระหว่างอำนาจการเมืองกับผู้ประกอบอาชีพที่ต้องเป็นดุลถ่วงอำนาจการเมืองกลายเป็นประเด็นแห่งสังคมและสร้างความสงสัยคลางแคลงหรืออึดอัดใจในผู้หวังดีบางกลุ่ม ก็ไม่ควรที่จะมีความลังเลใจที่จะทบทวนความสั้นยาวของระยะห่างนั้น เพื่อคงไว้ซึ่งศรัทธาของสังคมต่อคนในอาชีพนั้น ๆ

ผมจึงไม่แปลกใจเลยหากตัวแทนของสมาคมสื่อหนังสือพิมพ์และวิทยุโทรทัศน์ จะประกาศถอนตัวเองออกจากสภานิติบัญญัติ ซึ่งเป็น 'ขั้วอำนาจ' หนึ่ง ที่เป็นผลพวงแห่งการยึดอำนาจรัฐด้วยกำลังทหาร (ไม่ว่าจะเห็นพ้องกับการขับไล่ทักษิณอย่างไรก็ตาม)...และเรียกร้องสิทธิของการมีส่วนร่วมก็เฉพาะในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อยืนยันเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเท่านั้น

สังคมที่ต้องการจะปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจัง จำเป็นต้องมีคนยืนอยู่ข้างนอกเพื่อแสดงความเห็นแย้งด้วยเหตุและผลของความพอดีและพอเพียง

และ 'การเมืองพอเพียง' เท่านั้น ที่จะทำให้คนดีๆ ไม่เสียผู้เสียคนกับอำนาจและสิ่งเย้ายวนทางการเมืองทั้งหลายทั้งปวง

เมื่อเรารู้ว่า 'ความพอดี' ของการเมืองอยู่ที่จุดไหน และต้องมุ่งมั่นที่จะไม่ข้ามเส้นนั้นไป นั่นคือ จุดเริ่มต้นของ 'การเมืองพอเพียง'

..............
เห็นด้วยในเรื่องการเมืองแบบพอเพียง การรักษาจุดยืนที่ดี่พอเหมาะ การข้ามเส้นเข้าไปมีบทบาททางการเมืองใดๆของสื่อ เป็นเรื่องที่ควรแยกให้ชัดว่าไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะสื่อ แต่เป็นเพียงใช้ความสามารถส่วนบุคคลรับใช้ชาติชั่วคราว สื่อที่แท้จริงควรมีความเที่ยงธรรมในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร แม้แต่ความคิดต่างๆครับว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง ไม่ไหลไปตามกระแสเหมือน สื่อเทียมๆ ที่แอบอิงห้อยโหนกระแสไปตามเรื่องตามราว

 :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-10-2006, 17:33
จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์  http://www.thaipressasso.com/conduct/conduct.htm

เพื่อให้สถาบันหนังสือพิมพ์ เป็นที่เชื่อถือของประชาชนจึงเห็นสมควรกำหนด จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพ หนังสือพิมพ์ ขึ้น ดังต่อไปนี้

1. การส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นภาระกิจอันมีความสำคัญ เหนืออื่นใด สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์

2.การเสนอข่าว ภาพ หรือการแสดงความคิดเห็น ต้องเป็นไปด้วยความสุภาพ สุจริต ปราศจากความมุ่งหวังในประโยชน์ส่วนตน หรือ อามิสสินจ้างใดๆ

3.การเสนอข่าว ต้องเสนอแต่ความจริงพึงละเว้นการต่อเติมเสริมแต่งหากปรากฎว่าข่าวใดไม่ตรงต่อความจริง ต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว

4.การที่จะให้ได้ข่าว ภาพหรือข้อมูลอย่างใดๆมาเป็นของตน ต้องใช้วิธีการที่สุภาพ และซื่อสัตย์

5.ต้องเคารพต่อความไว้วางใจ ที่ได้รับมอบหมาย จากการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของตน

6.ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตน  โดยถือเอาสาธารณประโยชน์ เป็นสำคัญ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ แสวงหาประโยชน์ส่วนตน หรือหมู่คณะโดยมิชอบ

7.ต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการบั่นทอนเกียรติคุณของวิชาชีพ หรือ ความสามัคคี ของเพื่อนร่วมวิชาชีพ

ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พุทธศักราช 2519 


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 19-10-2006, 17:39
 :slime_sentimental:

แล้วก็ต้องมีหน่วยงานตรวจสอบสื่อ

ห้ามสื่อใดออกข่าวเกินจากกำหนดเด็ดขาด

ไม่งั้นภายในสัปดาห์เดียวแข่งกันกระจาย

สื่อไหนสนิทกะคนในรัฐก็ได้ข่าวก่อน

ขายข่าวได้ลึกกว่า เร็วกว่า คนก็ซื้อ


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-10-2006, 17:56


ฉบับที่ 2458 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2544    http://72.14.235.104/search?q=cache:6MWbkpleBqkJ:www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp%3Fstcolumnid=th&gl=th&ct=clnk&cd=31
บทความ-สารคดี
โดย  สุดสงวน
 ภาษาในยุคเวิร์กช็อป : มืออาชีพ-จรรยาบรรณ
            เมื่อไม่นานมานี้ได้ยินนายกรัฐมนตรีคนที่ชอบพูดภาษาฝรั่งแทรกภาษาไทยบ่อยๆ ท่านอบรมพวกสื่อมวลชนว่าให้งดเว้นข่าวและเรื่อง “ไร้สาระ” (เช่น วิพากษ์วิจารณ์การตัดสินคดี “ซุกหุ้น” ของนายกรัฐมนตรีที่มีความเห็นแย้งกันระหว่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝ่ายเสียงข้างมาก ๘ เสียง กับตุลาการฝ่ายเสียงข้างน้อย ๗ เสียง รวมทั้งการวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนและนักวิชาการกับนักการเมืองฝ่ายค้าน) แล้วกำชับว่าสื่อมวลชนควรจะทำหน้าที่ของตนให้ดีแบบ “มืออาชีพ” และมี “จรรยาบรรณ”

            คำว่า “มืออาชีพ” และ “จรรยาบรรณ” นี้ เวลาที่ใครเป็นนักการเมืองฝ่ายบริหาร (พูดง่ายๆ ก็คือฝ่ายรัฐบาล) มักจะนำมาใช้กับสื่อมวลชนเสมอ และมักจะเห็นว่าสื่อมวลชนที่ไม่ “เชียร์” รัฐบาลแต่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล (ตามความเป็นจริงหรือมีอคติแอบแฝงก็แล้วแต่) ว่าเป็นพวกไม่มี “จรรยาบรรณ” บ้าง พยายามล้มล้างรัฐบาลบ้าง พยายามลดศรัทธา (ที่มักจะใช้ว่า discredit หรือ ดิสเครดิต) รัฐบาลบ้าง

            คำว่า “มืออาชีพ” นี้ คนยุคใหม่มักหมายถึงคนที่ทำอะไรได้ดี มีความชำนิชำนาญในเรื่องนั้นๆ พอเป็นแบบอย่าง พออ้างอิงได้ เป็นที่ยอมรับของคนในวงการหรือนอกวงการว่าเก่งในงานนั้น โดยเอาไปเทียบกับคำภาษาอังกฤษที่ว่า “professional”

            ความจริงนั้นที่มีความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งเป็นอย่างดีนั้น ภาษาไทยเรามีคำที่ยืมมาจากภาษาบาลีว่า “เอตทัคคะ” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ”

            แต่ถ้าไม่ชอบคำบาลีที่ว่านั้นเพราะบรรยากาศเป็น “ภาษาวัด” มากไปหน่อย ก็จะใช้ภาษาไทยที่ไม่ต้องแปลก็ได้ เพราะเรามีคำใช้อยู่แล้วคือ “ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ ผู้ชำนาญงาน” หรือศัพท์เฉพาะใช้ว่า “ผู้ชำนัญพิเศษ” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษที่ใช้ว่า specialist, expert ก็ได้

            ย้อนกลับไปพูดถึงคำว่า “มืออาชีพ” หรือ professional ความหมายที่ลึกไปจริงๆ นั้น หมายถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้นๆ และยึดเอางานนั้นเป็นงานเลี้ยงชีพ บางทีคำแปลจากคำ professional ของฝรั่งจึงเป็น “ผู้มีวิชาชีพ” ในศัพท์บัญญัติทางการศึกษาของไทย แต่ถ้าเทียบกับพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานแล้ว ท่านให้ความหมายว่า “วิชาชีพ” (ซึ่งเทียบกับภาษาอังกฤษได้ทั้ง ๒ คำ คือ profession หรือ professional)

            คราวนี้มาว่าถึง “จรรยาบรรณ” ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันทั่วๆ ไป โดยไม่ค่อยได้แบ่งแยกถึงความหมายแท้จริง และควรใช้อย่างไร

            ที่ผู้เขียนกล่าวดังนี้ เพราะคำว่า “จรรยาบรรณ” มาจากคำ ๒ คำ คือ “จรรยา” กับ “บรรณ” ซึ่งเราควรจะแยกออกมาดูให้ดี

            คำว่า “จรรยา” มาจากภาษาสันสกฤต ถ้าเป็นบาลีก็ใช้ “จริยา” ซึ่งไทยเรานำมาใช้ทั้ง ๒ คำ ในความหมายที่ใกล้เคียงกันคือหมายถึง “ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ”

            ที่ว่า “ความประพฤติ” นั้น ทั้ง “จรรยา” และ “จริยา” เราจะใช้ในความหมายในทางที่ดี เช่น

             “ไม่มีจรรยา” ก็หมายถึง ผู้ที่ประพฤติในทางไม่ดี

            จริยธรรม - ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ (ซึ่งก็ย่อมเป็นไปในทางที่ดี ศีลธรรม กฎศีลธรรม)

            จริยวัตร, จริยาวัตร - ความประพฤติ ท่วงทีวาจาและกิริยามารยาท หรือหน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ

            จริยศาสตร์ - ปรัชญาสาขาที่ว่าด้วยความประพฤติและการครองชีวิตว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรถูกอะไรผิด อะไรควรไม่ควร ฯลฯ (เทียบภาษาอังกฤษว่า ethics)

            จริยศึกษา - การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและการปฏิบัติตนให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม (เทียบภาษาอังกฤษว่า moral education

            จริยาปิฎก - คัมภีร์ (= ตำรา) ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วงแล้ว

            จากตัวอย่างที่ยกมาจากพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานดังกล่าว จะเห็นว่าคำ จรรยา-จริย-จริยา เพียงคำเดียวก็พอบอกแนวทางความประพฤติว่าเป็น “แนวทางประพฤติปฏิบัติในทางดี” คือกินความหมายกว้างกว่าความหมายในภาษาเดิมที่ว่า “ความประพฤติ การปฏิบัติ” เท่านั้น

            ดังนั้น เราจึงเห็นว่าเมื่อใช้ “จรรยา” หรือ “จริยา” แล้วอาจไม่จำเป็นต้องมี “บรรณ” ซึ่งมาจากสันสกฤต บาลีใช้ ปัณณ หรือ บัณณ) อันแปลว่า “ปีก ใบไม้ หนังสือ)

            ในภาษาไทย เราใช้คำ “บรรณ” ในรูปสันสกฤตอยู่หลายคำ เช่น บรรณกุฎี - กระท่อมที่มุงด้วยใบไม้ บรรณพิภพ หรือ บรรณโลก - วงการหนังสือ บรรณศาลา- สำนักหรือที่พำนักของฤษีหรือผู้บำเพ็ญพรต (ความหมายเดียวกับบรรณกุฎี เพราะถือว่ามุงด้วยใบไม้)

            บรรณสาร คำโบราณ หมายถึง หนังสือราชการ

            บรรณาการ - สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือหรือด้วยไมตรี

            บรรณาคม - ห้องหนังสือ

            บรรณาธิกร - รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์ (ความจริงคำนี้เป็นคำกริยา แต่ไทยเรานำมาใช้ในลักษณะที่เป็นคำนาม ซึ่งความจริงคือ บรรณาธิการ ซึ่งหมายถึง ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบในเรื่องการพิมพ์

            คำ “บรรณาธิการ” นี้ ในกฎหมายการพิมพ์จะกำหนดไว้ว่า เป็น “บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจ แก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์”

            ดังนั้น คนที่จะเป็น “บรรณาธิการ” จึงต้องเป็นคนที่มีภูมิปัญญา มีความรอบรู้ มีประสบการณ์ มีวิจารณญาณ มีสามัญสำนึกและวิสามัญสำนึกอันรอบด้าน และที่สำคัญต้องมี จรรยา (ไม่ต้องมีคำว่า “บรรณ” ต่อท้ายก็ได้ความ หรือถ้าจะใช้ว่า “จรรยาบรรณ” ก็ต้องใช้ว่า “ต้องยึดจรรยาบรรณ” จึงจะถูกต้อง)

            บรรณานุกรม - บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบค้นคว้าบัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้นๆ ประกอบ

            บรรณารักษ์ - ผู้พิทักษ์รักษา บริหารและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หนังสือในห้องสมุด วิชาที่ว่าด้วยเรื่องนี้จึงเรียกว่า บรรณารักษศาสตร์ (อ่านว่า บัน-นา-รัก-สะ-ลาด)

            ที่ยกตัวอย่างคำ จรรยา-จริยา และ บรรณ มาให้ดูมากๆ นี้ เพื่อจะเน้นว่า คำ ๒ คำ (จรรยา-บรรณ จริยา-บรรณ) ต่างมีความหมายในตัว ไม่ต้องใช้คำ “จรรยาบรรณ” ในทุกเรื่อง นอกจากจะหมายถึง จริยา หรือ จรรยาที่บัญญัติลงไว้เป็นข้อประพฤติหรือข้อปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร (หรือไม่ก็ได้)

            ที่หนังสือพิมพ์ใช้ว่า “จรรยาบรรณ” ของคนในวงการหนังสือนั้น อาจจะใช้ได้ แต่ถ้าจะให้ถูกคงจะต้องใช้ว่า บรรณจริยา หรือบรรณจรรยา หรือใช้ว่า จรรยาของนักหนังสือพิมพ์ จรรยาของนักข่าว จรรยาของนักสื่อสารมวลชน จรรยาของนักธุรกิจ จรรยาของนักกฎหมาย ฯลฯ น่าจะเหมาะกว่า

            เทียบกับ จรรยาแพทย์ - ข้อประพฤติปฏิบัติของคนที่มีอาชีพแพทย์ ซึ่งเป็นคำที่คนทั่วไปรู้จักดี (เช่น ไม่นำความลับของคนไข้มาเปิดเผย ฯลฯ)

            ผู้เขียนขอสรุปตามที่ พจนานุกรมฯ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “จรรยาบรรณ-ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้”

            โดยขอเน้นว่า ถ้าจะพูดว่าคนในอาชีพใดควรมีความประพฤติหรือปฏิบัติอย่างไรนั้น ควรใช้ว่า “จรรยา” นำหน้าอาชีพนั้นๆ ก็พอ

            แต่ถ้าเป็นกฎหรือข้อความที่มีการเรียบเรียงเป็นแนวประพฤติปฏิบัติไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย (เช่นที่เรียกว่า “จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ ที่สมาคมนักหนังสือพิมพ์เคยบัญญัติไว้หลายปีมาแล้ว ไม่รู้ว่าสื่อมวลชนของเราทุกวันนี้ยังนึกถึงอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้ นั่นแหละควรเรียกว่า “จรรยาบรรณ” ถ้าจะเทียบเป็นภาษาอังกฤษ เขาอาจจะใช้คำว่า code of ethical conduct คงจะเข้ากันได้

            สิ่งที่ประชาชนอย่างเราๆ อยากเห็นมากที่สุดคือ จริยธรรมของนักการเมือง ซึ่งเคยได้ข่าวว่ามีการเสนอในรัฐสภาไทย (ดูเหมือนเสนอในสภาผู้แทนราษฎร) แต่ยังไม่ผ่านออกมาได้ เพราะท่าน ส.ส. ผู้ทรงเกียรติไม่กล้าเขียนหรืออายตัวเองที่จะเขียน หรืออายที่เขียนแล้วมีข้อควรคำนึงมากจนอายที่ปฏิบัติไม่ได้!?

            หมายเหตุ “มองภาษา” ในฉบับ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๔ มีคำผิดซึ่งควรแก้คือ คำว่า “วรี” ในคอลัมน์แรก บรรทัดที่ ๑๓ ที่ถูกคือ “รวี” และนามสกุลของ ร.อ.สะอาด ในบรรทัดที่ ๒๗ ที่ถูกคือ “อินทรสาลี” ไม่ใช่ อินทรสวลี”
 


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-10-2006, 18:06
สรุปการสัมมนา   http://www.adassothai.com/html/community/community_0203_01.htm
โครงการระดมสมองเพื่อเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายโฆษณา ครั้งที่ 5
เรื่อง "จรรยาบรรณ และการกำกับดูแลตนเองของคนโฆษณา 
 

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาโครงการระดมสมองเพื่อเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายโฆษณา ครั้งที่ 5 เรื่อง "จรรยาบรรณและการกำกับดูแลตนเองของคนโฆษณา" เมื่อวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2545 ที่ผ่านมา ณ โรงละคอน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สืบเนื่องจาก การสัมมนาในครั้งที่4 มีการเสนอแนวทางเกี่ยวกับการกำกับดูแลตนเองไว้ ดังนั้น การจัดสัมมนาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิพากษ์ร่างการกำกับดูแลตนเอง ที่ได้เสนอไว้ในครั้งก่อน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการโฆษณา อันจะส่งผลให้แนวทางการดำเนินงานที่มีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากองค์ปาฐก ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการ และเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา มาแสดงปาฐกถาพิเศษ และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมอภิปราย ได้แก่ คุณปารเมศร์ รัชไชยบุญ นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจ แห่งประเทศไทย ภก. โสภณ ฮวบเจริญ ตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อ.ย.) คุณวิโรจน์ ณ บางช้าง นายกสมาคมพลังผู้บริโภคแห่งประเทศไทย คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี หัวหน้าศูนย์ข่าวไทยรัฐ เลขาฯ สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ อ.สุรวัฒน์ ชมภูพงษ์ อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนหนึ่ง

ในช่วงเริ่มต้นของการสัมมนา เป็นการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง จรรยาบรรณ โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ให้ความเห็นโดยสรุปว่า จรรยาบรรณ (Ethics) คือการทำอะไร ที่ถูกต้องบนพื้นฐานของเหตุและผล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะรักษาเกียรติยศ ฐานะ เกียรติคุณของวิชาชีพ ดังนั้นการทำโฆษณาจึงถือว่าเป็นการให้เกียรติกันระหว่างผู้รับ และผู้ส่งสารโฆษณาบนพื้นฐานของสัจธรรม ความเป็นจริงต่างๆ และได้ยกตัวอย่าง หลักจรรยาบรรณและกฎระเบียบเกี่ยวกับโฆษณาในประเทศญี่ปุ่นและฮังการี เพื่อเป็น แนวทางในการพิจารณาเรื่องจรรยาบรรณโฆษณาต่อไป ในตอนท้ายท่านสรุปว่า หลักการที่สำคัญที่สุดของจรรยาบรรณ คือ ความมีจิตสำนึก ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ต่อสังคมและตัวเองในการทำงาน

ในส่วนของการสัมมนา มีการแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆดังนี้

1.ประเด็นเกี่ยวกับเสรีภาพและการควบคุมตนเองของนักโฆษณา
ปัจจุบันสมาคมโฆษณาฯ พบว่า โฆษณามักถูกมองว่าเป็นต้นตอของปัญหาต่างๆ และสร้างอิทธิพลในแง่ลบแก่สังคม งานโฆษณาบางส่วนถูกมองว่าขาดความรับผิดชอบ ซึ่งสมาคมฯ ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่การเข้าไปควบคุม ดูแลยังมีข้อจำกัดเนื่องจาก สมาคมฯ ยังไม่มีอำนาจและบทลงโทษที่ให้คุณให้โทษอย่างชัดเจน ในขณะที่มุมมอง ของฝ่ายผู้บริโภคมองว่า นักโฆษณาควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การโฆษณาอย่างถ่องแท้เพื่อเป็นประโยชน์ในการควบคุมตนเอง นอกจากนี้ยังมีมุมมอง จากตัวแทนภาครัฐ ที่ให้ข้อเสนอแนะว่าเกี่ยวกับประเด็นการควบคุมตนเองนั้น สมาคมฯ มีอุปสรรคหลายประการ ได้แก่ สาเหตุที่นักโฆษณายังคงเป็นแค่ลูกจ้างของบริษัทที่ต้อง ยึดความพอใจของลูกค้าเป็นหลัก และปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรของสมาคมฯ ที่จะมา ดูแลเรื่องจรรยาบรรณ ส่วนใหญ่ยังคงมีงานประจำที่ Agency ต่างๆ ซึ่งภาวะดังกล่าว อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในหน้าที่ เปรียบเสมือนการสวมหมวกสองใบในการทำงาน ในแง่มุมมองจากตัวแทนสื่อมวลชนให้แนวคิดว่า นักโฆษณาจำเป็นต้องมีหน้าที่และ ความรับผิดชอบ โดยวิธีการที่ดีที่สุดคือการควบคุมตนเอง ซึ่งหัวใจของกระบวนการ คือ


1.ต้องเกิดจากความสมัครใจในการถูกตรวจสอบ

2.การควบคุมตนเองช่วยสร้างความระมัดระวังในการทำงาน

3.ต้องมีการลงโทษทางสังคม

ทั้งนี้ได้ยกตัวอย่างถึงกระบวนการควบคุมตนเองของวิชาชีพหนังสือพิมพ์ว่า เริ่มจากการก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เริ่มโดยเซ็นสัตยาบันร่วมกันของหนังสือพิมพ์เพื่อก่อตั้งองค์กร หลังจากนั้นมีการร่างธรรมนูญองค์กร คัดเลือกบุคคลเข้ามาบริหาร ร่างจริยธรรม และร่างกระบวนการรับเรื่องราวร้องทุกข์ตามลำดับ ซึ่งตามแนวคิดคล้ายกับที่สมาคมโฆษณาฯ กำลังดำเนินการอยู่

2.ประเด็นคณะกรรมการจรรยาบรรณควรประกอบด้วยตัวแทนจากฝ่ายใดบ้าง
จากการสัมมนาในครั้งก่อนได้เสนอ 2 แนวทางคือ แนวทางที่ 1 ประกอบด้วย ตัวแทน 7 ฝ่าย แนวทางที่ 2 ประกอบด้วยตัวแทน 5 ฝ่าย (ดูรายละเอียดในสรุปการสัมมนาครั้งที่ 4) ประเด็นนี้ผู้เข้าร่วมอภิปรายจากกลุ่มผู้บริโภคมีความเห็นว่า เห็นด้วยตามแนวทางที่ 1 ซึ่งเน้นให้ดูแลควบคุมกันเองอย่างแท้จริง และมีข้อเสนอแนะว่าตามกระบวนการรับเรื่องร้องทุกข์และการตรวจสอบของคณะกรรมการจรรยาบรรณ ควรเพิ่มคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องเบื้องต้นเข้ามาในกระบวนการ เพื่อช่วยพิจารณาเรื่องเบื้องต้นว่ามีมูลหรือไม่ ถ้ามีจึงส่งต่อให้คณะกรรมการจรรยาบรรณต่อไป หากไม่มีก็ยุติเรื่อง ส่วนเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนมีหน้าที่เพียงรับเรื่องเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ

ในส่วนความเห็นจากตัวแทนสื่อมวลชนเห็นว่าควรมีการจัดตั้งสภาการโฆษณาขึ้นแยกออกจากสมาคมโฆษณาฯ และให้คณะกรรมการจรรยาบรรณขึ้นกับสภาการโฆษณาแทนเพื่อมิให้เกิดปัญหาการซ้อนทับของบทบาทระหว่างการเป็นกรรมการของสมาคมฯกับคณะกรรมการจรรยาบรรณ และให้การดำเนินงานพิจารณามีความโปร่งใสและได้รับการยอมรับ

3.ประเด็นการอุทธรณ์คำตัดสินของคณะกรรมการจรรยาบรรณวิชาชีพโฆษณา ควรให้มีหรือไม่
ในประเด็นนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่มีการแสดงความคิดเห็นของตัวแทนกลุ่มผู้บริโภคว่า โดยหลักการแล้วการอุทธรณ์มีข้อดีคือได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย แต่ข้อเสีย คือ เมื่อมีการอุทธรณ์ คณะกรรมการชุดอุทธรณ์อาจไม่ได้รับฟังข้อมูลละเอียดเท่ากับคณะกรรมการจรรยาบรรณชุดแรกที่มีการอภิปรายกันอย่างแตกฉานแล้ว ดังนั้นส่วนนี้นายกสมาคมพลังผู้บริโภคเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการอุทธรณ์

4.ประเด็นการกำหนดบทลงโทษกรณีที่ละเมิดจรรยาบรรณวิชาชีพ
ตัวแทนจากกลุ่มผู้บริโภคมีความเห็นว่าบทลงโทษที่กำหนดไว้ยังไม่เหมาะสมและไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคณะกรรมการฯมาตรวจสอบโฆษณาก่อน การขอความร่วมมือจากสื่อ ทั้งนี้มีการเสนอแนวทางเกี่ยวกับบทลงโทษ โดยตัวแทนจากสื่อหนังสือพิมพ์ได้ให้ตัวอย่างแนวทางที่สภาการหนังสือพิมพ์ฯใช้คือ มีการลงโทษทางสังคม (social sanction)แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ 1.หากทำความผิดไม่รุนแรง ให้ตีพิมพ์คำวินิจฉัยในวันรุ่งขึ้น 2.หากทำความผิดรุนแรง(หรือซ้ำครั้งที่ 2)จะต้องตีพิมพ์คำวินิจฉัยและประกาศคำขอโทษด้วย ซึ่งโดยทั่วไปสมาชิกจะปฏิบัติตาม แต่หากไม่ทำทางสภาฯ จะเผยแพร่คำตัดสินในสื่อเอง โดยไม่กลัวการฟ้องร้องเนื่องจากมีการให้สัตยาบันร่วมกันไว้แล้ว และสภามิได้เป็นนิติบุคคล ดังนั้นหากต้องการฟ้องจะต้องฟ้องกรรมการทุกคนเป็นส่วนตัว (21 คน) ส่วนกรณีนักข่าวทำผิดจริยธรรม รับสินบน หากมีการพิจารณาว่ามีความผิด จะส่งเรื่องไปต้นสังกัดให้ลงโทษนักข่าวนั้นเอง ซึ่งกระบวนการลงโทษของสภาฯนั้นถือว่าไม่รุนแรง บางกรณีเพียงแค่เรียกตัวแทนหนังสือพิมพ์มาเจรจาชี้แจง หนังสือพิมพ์นั้นก็ยอมลงแก้ไขให้ ซึ่งถือว่าเป็นการเยียวยาความเสียหายเมื่อผู้เสียหายพอใจก็ยุติเรื่องได้ แต่อย่างน้อยกระบวนการลงโทษดังกล่าวก็ทำให้ทุกคนมีความระมัดระวังมากขึ้น ส่วนตัวแทนจาก อ.ย. ให้ความเห็นว่าควรมีการลงโทษแต่ไม่ควรรุนแรงเกินไป เพราะเท่าที่ทราบวงการโฆษณามีเงินหมุนเวียนมหาศาลแต่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง

บทสรุปการสัมมนาในครั้งที่ 5 นี้เห็นได้ว่าวัตถุประสงค์หลัก เป็นการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป ในช่วงท้ายของการสัมมนาผู้ดำเนินรายการสรุปว่า ประการหนึ่งที่สำคัญในการควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพโฆษณา คือบทลงโทษทางสังคมต้องมีความชัดเจนและให้คุณให้โทษแก่นักโฆษณา และการที่สมาคมโฆษณาฯ จะนำรูปแบบ และบทลงโทษที่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ มาเป็นแนวทางควรพิจารณาเป็นเพียงต้นแบบและปรับปรุงให้เหมาะสมกับลักษณะของวิชาชีพโฆษณา เหล่านี้ถือเป็นประเด็นที่ควรพิจารณาในการสัมมนาครั้งต่อไป  


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 15:03


สื่อไม่ปฏิรูปก็จะพบปัญหาทั้งภายนอกภายในองค์กร และอาจเจอปัญหาการรุกคืบ ระดับอภิมหาทุนข้ามชาติด้วย :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 22:11
รายชื่อสื่อประเภทต่างๆในเมืองไทย เท่าที่รวบรวมได้ตอนนี้


ข่าวสาร ไทยรัฐ | ผู้จัดการ | มติชน | เดลินิวส์ | คม ชัด ลึก | สำนักข่าวไทย | กรมประชาสัมพันธ์ | บางกอกโพสต์ | เนชั่น | อสมท. | สำนักข่าว INN | BEC News | สำนักข่าว BBC 

โทรทัศน์ ช่อง 3 |ช่อง 5 | ช่อง 7 | ช่อง 9 | ช่อง 11 | ไอทีวี |UBC | Nation

วิทยุ 102.5 GET | 103 Virgin Soft | BIG 103.5 | 104.5 FAT Radio | 105 Virgin Smooth FM | 105.5 Easy FM | 97.5 Seed FM 

กีฬา GuideBall | Live score | สยามสปอร์ต | Kickoff | ซอกเกอร์ซัค | สกอร์ทูเดย์ | ซอกเกอร์ฮ๊อต | บ้าบอล | บอลฮ๊อต | ฮ็อตลีก | คอบอล


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-10-2006, 00:20
สื่อผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต คือ เวิร์ลไวด์เว็บ

World Wide Web  http://en.wikipedia.org/wiki/World_Wide_Web
From Wikipedia, the free encyclopedia
Jump to: navigation, search
"The Web" and "WWW" redirect here. For other uses, see Web and WWW (disambiguation). For the world's first browser, see WorldWideWeb.
 Internet Portal
 
WWW's historical logo designed by Robert CailliauThe World Wide Web ("WWW" or simply the "Web") is a global, read-write information space. Text documents, images, multimedia and many other items of information, referred to as resources, are identified by short, unique, global identifiers called Uniform Resource Identifiers (URIs) so that each can be found, accessed and cross referenced in the simplest possible way.

The term is often mistakenly used as a synonym for the Internet itself, but the Web is actually something that is available via the Internet, just like e-mail and many other Internet services.



หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 28-10-2006, 00:30
อ่านแล้วยังจับประเด็นไม่ได้...สิ่งที่ต้องการนำเสนอหรือยุให้เกิดการแสดงความเห็นคืออะไร เรื่องอะไร

สื่อตรวจสอบอยู่วงนอก ก็เหมือนตะโกนคนเดียวในบ้านร้าง บางคนบอกน่ารำคาญ

แต่ถ้าไปตะโกนในสภา ไม่ดีกว่าหรือ

เพราะนายกรัฐมนตรคนที่แล้ว....ไม่ยอมอ่านหนังสือพิมพ์


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-10-2006, 01:11
อ่านแล้วยังจับประเด็นไม่ได้...สิ่งที่ต้องการนำเสนอหรือยุให้เกิดการแสดงความเห็นคืออะไร เรื่องอะไร

สื่อตรวจสอบอยู่วงนอก ก็เหมือนตะโกนคนเดียวในบ้านร้าง บางคนบอกน่ารำคาญ

แต่ถ้าไปตะโกนในสภา ไม่ดีกว่าหรือ

เพราะนายกรัฐมนตรคนที่แล้ว....ไม่ยอมอ่านหนังสือพิมพ์


ปัญหาของสื่อก็คือ การอยู่รอด ความเที่ยงตรงในเนื้อหา การสร้างสรรค์สังคม หากสื่อกระโดดเข้าไปในทุกวงการโดยตรง
ก็จะเกิดความเกรงใจบุคคลหรือกลุ่มทุนโดยตรงได้ง่าย และสื่อก็อาจะจะไม่ได้อยู่รอดเพราะความเข้มแข็งของตัวสื่อเอง
ทั้งยังอาจจะเป็นปัญหาอย่างที่เป็นอยู่คือ กลายเป็นสื่อการเมืองเชิงพาณิชย์แอบแฝงได้ครับ
และมีแนวโน้มที่ลูกทีมของสื่อจะเอนเอียงในการนำเสนอข่าวสารตามแนวทางของแกนนำไปด้วย

ส่วนข้อดีก็คือ สื่อมีอำนาจมากขึ้นเข้าใกล้แกนกลางของอำนาจมากขึ้น
สามารถเชื่อมโยงอำนาจต่างๆในระดับลึก และมีความใกล้ชิดเพราะเป็นผู้ปฏิบัติเองในหน้าที่ต่างๆทางการเมือง
ทำให้สามารถเจาะลึกข้อมูลและปัญหาได้ดีกว่าเดิมครับ  

ถ้าเป็นความเห็นผม คิดว่าลาจากงานประจำมาทำหน้าที่ชั่วคราวจะดีกว่าครับ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจค่อยกลับไปทำหน้าที่สื่อตามเดิม


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-10-2006, 08:18


ตัวอย่างสำนักข่าวต่างประเทศ

http://www.foxnews.com/

http://www.timesonline.co.uk/section/0,,2086,00.html

http://www.cnn.com/

http://www.afp.com/english/home/

http://today.reuters.com/news/home.aspx?refresh=true
                                                                                  :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 28-10-2006, 09:08
แปลก...ผมกลับคิดว่า เอาตำรวจ ไปเป็นยามรักษาความปลอดภัย ในสำนักงานธนาคาร

กลับจะส่งผลดีมากกว่า...อย่างน้อย โจรจะได้หวาดเกรงบ้าง

การให้มีสื่อเข้าไปอยู่ใน สภา ผมก็เห็นมีเยอะแยะ ที่คนทำอาชีพสื่อ ไปอยู่ในสภา เช่น ดำรง พุดตาล สมัคร สุนทรเวช สมเกียรติ อ่อนวิมล ฯลฯ

นี่มิใช่ครั้งแรก ที่ "สื่อ" ได้รับการแต่งตั้งเข้าไปมีชื่อเป็นสมาชิกแห่งสภา ( เช่น สว. ครั้งก่อนโน้น )

สื่อการเมืองแอบแฝง มีอยู่คู่เมืองไทยมานานแล้วครับ นักการเมืองตัวจริงเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ก็มีมาแล้ว

ส่วนประชาชนจะชื่อชอบและยอมรับมากน้อยแค่ใหน นั่นขึ้นกับผลงานของสื่อนั้น ๆ เอง

การที่สื่อเข้าไปมีส่วนในทางการเมืองโดยตรง มีมานานแล้วครับ สื่อคอยรับใช้การเมืองก็ยังมีอยู่ในปัจจุบัน

หากคนทำสื่อ( แท้ ) จะเข้าไปทำหน้าที่ นิติบัญญัติ มันไปเกี่ยวข้องกับ "อำนาจ" ตรงใหน เพราะ อำนาจนิติบัญญัติใน 1 ปี ต่อจากนี้ การตรวจสอบอาจอ่อนด้อยด้วยซ้ำ

เพราะเกิดจากการแต่งตั้งของกลุ่มรัฐบาล ผู้แทนหนังสือพิมพ์ เคยได้รับการแต่งตั้งเข้าไปเป็น สว. ก็เคยเกิดขึ้น...นานมาแล้ว...

หากเกรงปัญหาเป็นสื่อที่แอบแฝงผลประโยชน์ทางการเมือง นั่นขึ้นกับความประพฤติส่วนตัวมากกว่า

ถ้าเป็นตัวแทนสื่อในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อ ( เช่นสภาการหนังสือพิมพ์ ) ไม่น่าจะมีปัญหา

ส่วนผู้ที่เข้าไปในนามส่วนตัว ก็คงหนีไม่พ้นการตรวจสอบของประชาชนและเพื่อนพ้องในสายวิชาชีพโดยตรง

หรือสื่อ ไม่คิดจะตรวจสอบพวกเดียวกันเอง เหมือนคำพูดที่ว่า "แมลงวันไม่ตอมแมลงวัน"

ตัวสื่อที่อยู่ภายนอกที่ทำหน้าที่ของตนนั่นต่างหาก ที่ต้องสำรวจตัวเองว่า ทำตัวเป็นแมลงวันตอมแมลงวันหรือไม่

ใช้พลังสื่อของตนเอง ตรวจสอบพวกเดียวกันเองในสภาซีครับ หรือมีปัญหาไม่กล้า เห็นแก่พรรคพวก หรืออะไรก็ว่ามา

ในฐานะที่"สื่อ" ก็เป็นอีกหนึ่งวิชาชีพ ทำไมจะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างกติกาสังคมไม่ได้ จะเข้าไปแก้กฎหมายไม่ได้

เมื่อมีโอกาสเช่นั้น ทำไมไม่เข้าไปทำหน้าที่ "แทนประชาชน" เหมือน คนในอาชีพอื่น ๆ เช่น นักวิชาการ หมอ ครู ทนายความ ทหาร ฯลฯ

ที่สำคัญอย่าลืมว่า สภานี้มีอายุจำกัด และน่าจะทำหน้าที่แก้ไขข้อบกพร่องของกฎหมายมากมาย ต้องยกเลิกหรือสร้างกฎหมายใหม่ ที่ไม่เป็นธรรมหรือล้าสมัย

ทำไมไปเก็บความรู้ความสามารถประสบการณ์ของตนเองไว้แต่เพียงแค่ทำหน้าที่ สื่อ เท่านั้น

ที่สำคัญ คนในอาชีพสื่อเข้าไปทำหน้าที่นิติบัญญัต ก็ใช้วิธีโหวต 1 คน 1 เสียง เท่ากับคนอื่น

ถ้าเช่นนั้นต้องไล่ทหารและข้าราชการออกจากสภาให้หมด ในฐานะที่เป็น "วิชาชีพ" เช่นเดียวกัน

ที่สำคัญ มัยอยู่ที่เรามองว่า ข้าราชการ ทหาร สั่งสภา หรือ สภาสั่งทหารและข้าราชการ

ดังนั้น สื่อควรเข้าไปทำงานตรงนั้นหรือไม่ คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะให้ยึดหลักว่า "หน้าที่ของ สมาชิก สนช." คืออะไร

ขัดกับหน้าที่ของ "สื่อมวลชน" หรือไม่ หากคิดว่า "การตรวจสอบ" เป็นหน้าที่ นั่นกลับจะทำให้การตรวจสอบทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้นมิใช่หรือ

การเป็นหมาเฝ้าบ้าน จะสนใจ "เห่า" แค่นอกบ้าน เลยไม่ยอมเข้าไปดมกลิ่นในบ้าน เห่าในบ้านหรือนำมาเห่านอกบ้าน

ฟังดูแปลก ๆ นะครับ

ที่สำคัญหากเป็น "สื่อที่มีจรรยาบรรณ" จะกลัวทำไมครับแค่เข้าไปในรังโจรหรือเข้าไปตรวจสอบอาบอบนวดหรือในบ่อนการพนัน

เพราะคนมีจรรยาบรรณ ย่อมไม่ตกไปสู่ที่ต่ำ ไม่ลุ่มหลงไปกับอามิสสินจ้าง หรือ ลาภอันมิควรได้

การก้มกินอาจมจากอำนาจที่มีอยู่ย่อมขัดจรรยาบรรณ การเข้าไปมีส่วนร่วมในสภาฯครั้งนี้น่าจะถือว่า นี่คือวิธีใช้ "หินลองทอง" ขัดสีดูซิว่า

คนที่เข้าไปนั้นเป็น "สื่อที่มีจรรยาบรรณ" จริงหรือไม่ พร้อมที่จะยืนหยัดใช้จรรยาบรรณ ต่อต้านสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้จริงหรือไม่

อยากดูบทบาทนั้นมากกว่า เมื่อสื่อลงไปทำหน้าที่ออกกฎหมายจริง ๆ สื่อจะทำหน้าที่แบบใหน อย่างไรมากกว่าครับ

การหยุดทำหน้าที่สื่อ ในขณะที่ทำหน้าที่ สมาชิก สนช. ผมไม่เห็นความแตกต่างอะไร เพราะสื่อคนนั้นก็สามารถให้สัมภาษณ์หรือใช้สื่ออื่น ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก

เพราะกลายเป็น "คนของประชาชน" ไปแล้ว แม้จะดดยการแต่งตั้ง แต่โดยหน้าที่ ก็ต้องทำเพื่อส่วนรวมอยู่แล้ว


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 28-10-2006, 10:10
ถ้าจะวิเคราะห์เรื่องนี้ ต้องเอา "หน้าที่" ของ 2 อาชีพมาว่ากันครับ ว่ามีอะไรที่เป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์บ้าง

พอเอาหลักเข้าจับจริง ๆ พวกนักกฎหมายที่มีอาชีพทนายความ ไม่หนักหนากว่าหรือครับ เพราะเขียนทั้งกฎหมายและใช้กฎหมายเอง

หากเรา่เชื่อว่า ทนายความย่อมไม่แก้กฎหมายหรือเขียนกฎหมายให้เป็นผลประโยชน์แก่ตนมากไปกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม

ก็ย่อมมองได้ว่าสื่อเอง ย่อมไม่เข้าไปเขียนกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของตน มากไปกว่าผลประโยชน์ของประชาชน

แต่เราต้องไม่ลืมว่า หลักการประชาธิปไตย ก็คือการ "ประสานผลประโยชน์" ของกลุ่มทุกกลุ่มในสังคมนั้น ให้อยู่ด้วยกันอย่างสันติและเกิดประโยชน์สูงสุด เป็้นธรรมต่อทุกกลุ่ม ยิ่งมีความหลากหลายในสภา มีสัดส่วนอาชีพของผู้คนในสังคมที่ำอเหมาะ กลับจะเป็นการ"จำลองประเทศไทย" ให้อยู่ในสภาได้ดียิ่งขึ้น

ผมจึงเห็นว่า กลุ่มวิชาชีพสื่อ ไม่จำเป็นต้องกันตัวเองออกจากกลุ่มผู้เขียนกฎหมายแต่อย่างใดครับ มันเป็้นสิทธิืโดยชอบด้วยซ้ำ


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 30-10-2006, 02:16
ถ้าจะวิเคราะห์เรื่องนี้ ต้องเอา "หน้าที่" ของ 2 อาชีพมาว่ากันครับ ว่ามีอะไรที่เป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์บ้าง

พอเอาหลักเข้าจับจริง ๆ พวกนักกฎหมายที่มีอาชีพทนายความ ไม่หนักหนากว่าหรือครับ เพราะเขียนทั้งกฎหมายและใช้กฎหมายเอง

หากเรา่เชื่อว่า ทนายความย่อมไม่แก้กฎหมายหรือเขียนกฎหมายให้เป็นผลประโยชน์แก่ตนมากไปกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม

ก็ย่อมมองได้ว่าสื่อเอง ย่อมไม่เข้าไปเขียนกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของตน มากไปกว่าผลประโยชน์ของประชาชน

แต่เราต้องไม่ลืมว่า หลักการประชาธิปไตย ก็คือการ "ประสานผลประโยชน์" ของกลุ่มทุกกลุ่มในสังคมนั้น ให้อยู่ด้วยกันอย่างสันติและเกิดประโยชน์สูงสุด เป็้นธรรมต่อทุกกลุ่ม ยิ่งมีความหลากหลายในสภา มีสัดส่วนอาชีพของผู้คนในสังคมที่ำอเหมาะ กลับจะเป็นการ"จำลองประเทศไทย" ให้อยู่ในสภาได้ดียิ่งขึ้น

ผมจึงเห็นว่า กลุ่มวิชาชีพสื่อ ไม่จำเป็นต้องกันตัวเองออกจากกลุ่มผู้เขียนกฎหมายแต่อย่างใดครับ มันเป็้นสิทธิืโดยชอบด้วยซ้ำ


พวกทนายความ อัยการ  ตุลาการ  หากอยู่ในอาชีพ ก็มักจะเป็นเรื่องรายคดีความครับ

ถ้ามีส่วนได้เสียทางการเมือง เช่นเคยสังกัดพรรคการเมือง ก็ไม่เห็นด้วยครับ ควรลาออกจากงานประจำชั่วคราว


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 30-10-2006, 02:22
ถ้าไม่เอาเวลาประชุมในสภา ไปนั่งเขียนข่าวหรือนั่งพับนก ก็พอจะรับได้กระมัง

สส. เอาเวลาว่างไปทำรับเหมาก็เยอะแยะ

บางคนเป็นอาจารย์ ไปด้วย เป็น สส.ไปด้วยก็มีนะ

รับราชการด้วยไปสอนหนังสือก็เยอะอีก...ทำไงดีครับ นั่งในสภาทั้งนั้นเลย

ที่เป็นทหารก็มี ให้ลาออกจากกองทัพดีมั๊ยครับ

ข้าราชการต่าง ๆ ก็จมกระเบื้อง ให้ลาออกจากราชการก่อนดีมั๊ยครับ


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 30-10-2006, 02:33
ถ้าไม่เอาเวลาประชุมในสภา ไปนั่งเขียนข่าวหรือนั่งพับนก ก็พอจะรับได้กระมัง

สส. เอาเวลาว่างไปทำรับเหมาก็เยอะแยะ

บางคนเป็นอาจารย์ ไปด้วย เป็น สส.ไปด้วยก็มีนะ

รับราชการด้วยไปสอนหนังสือก็เยอะอีก...ทำไงดีครับ นั่งในสภาทั้งนั้นเลย

ที่เป็นทหารก็มี ให้ลาออกจากกองทัพดีมั๊ยครับ

ข้าราชการต่าง ๆ ก็จมกระเบื้อง ให้ลาออกจากราชการก่อนดีมั๊ยครับ

 

คงไม่ต้องถึงกับลาออกหรอกครับ เอาแค่ว่าลาพักเพื่อทำหน้าที่ อันทรงเกียรตินี้

ผมยังไม่ทราบว่า สมาชิกสนช. ได้รับเงินค่าตอบแทนหรือเปล่า? หากต้นสังกัดจ่ายเงินรายได้ให้ต่อไป

ก็น่าจะถือเป็นรายจ่ายเพื่อสังคม ของทั้งหน่วยราชการและเอกชน ต้นสังกัดเดิม


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 30-10-2006, 02:43
ถ้างั้น คมช. และทหารตำรวจทั้งหลายก็ลาพักไปก่อนด้วยละกัน

เงินเดือน สมาชิก สนช. 100,000 นิด ๆ

รับแต่ส่วนเกินเงินเดือนเก่าเท่านั้น ที่เงินเดือนเก่าก็รับเท่าเดิม

ระเบียบมีอยู่แล้วครับ

ถ้าน้อยกว่าเงินเดือนเก่า ก็ไม่ต้องรับ เว้นแต่เบี้ยประชุมนะ


หัวข้อ: Re: นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ลาออก พร้อมส่งจดหมายเปิดผนึกแจงเหตุผล
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 30-10-2006, 22:24
นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ลาออก พร้อมส่งจดหมายเปิดผนึกแจงเหตุผล

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

                             

 

                                                                          วันที่ 30 ตุลาคม 2549

 

เรื่อง ขอลาออกจากตำแหน่ง

                                                                                                     

เรียน กรรมการบริหารฯ

 

เนื่องจากมีการเปิดเผยเทปการประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ ต่อสาธารณะในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร และมีการเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ ในกรณีที่ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณฯ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งอาจจะนำความเสียหายมาสู่วิชาชีพและสมาคมฯ เพื่อมิให้เรื่องนี้บานปลายเป็นเรื่องการเมืองและเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ของวิชาชีพและสมาคมฯ ผมจึงขอลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมฯ และประธานสถาบันข่าวอิศรา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ผมขอขอบคุณคณะกรรมการทุกคนที่ได้ช่วยกันปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอดและหวังใจว่า คณะกรรมการฯ จะได้ช่วยกันดำเนินงานตามแผนในช่วงระยะเวลาที่เหลือวาระการดำรงตำแหน่งอีก 3 เดือนเศษ ด้วยความรอบคอบและคำนึงถึงประโยชน์ของสาธารณะ ประโยชน์แห่งวิชาชีพและสมาคมฯ เป็นสำคัญ

                                                                                                     

                                                                       ขอแสดงความนับถือ

                                                                      (นายภัทระ คำพิทักษ์)

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5622&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: โจ๊ยเก๋า ที่ 31-10-2006, 13:04
:slime_sentimental:

แล้วก็ต้องมีหน่วยงานตรวจสอบสื่อ

ห้ามสื่อใดออกข่าวเกินจากกำหนดเด็ดขาด

ไม่งั้นภายในสัปดาห์เดียวแข่งกันกระจาย

สื่อไหนสนิทกะคนในรัฐก็ได้ข่าวก่อน

ขายข่าวได้ลึกกว่า เร็วกว่า คนก็ซื้อ
หน่วยงานนี้มีอยู่แล้วครับ น่าจะติดตัวสื่อทุกคนทุกแขนง หน่วยงานนี้เรียกว่า จรรยาบรรณสื่อ


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 31-10-2006, 13:12
ปกติสื่อเค้าก็แข่งขันกันอยู่แล้ว ใครเจาะลึกได้ดีกว่า ก็เข้าใกล้ "ความจริง" ได้มากกว่า

ที่จริงไม่มีหรอกหน่วยงานตรวจสอบห้ามเสนอข่าวเกินหน้าคนอื่น

ต่างคนต่างเจาะลึกกันเอง คงเคยเห็นคำพูดทักษิณในการประชุมพรรคชนิด "คำต่อคำ" ออกมาทาง มติชนและไทยรัฐ

หรือ ข้อความหรือความจริงบางอย่าง จากการประชุม ครม. เรื่องพวกนี้ "นักข่าวระดับอาวุโส" เค้ามี "คอนเน็คชั่น" กันอยู่แล้ว

พูดแบบนี้ สงสาร "เจ๊ยุฯ" ซึ่งเป็นนักข่าวอาวุโสที่ ต้องนอนกับ "ผบ.สูงสุด" ในฐานะ "ภรรยา"

ผมคิดว่าประเด็นพวกนี้ ไม่น่าเกิดขึ้นได้จากเหตุผลปกติ ยกเว้นมีความอิจฉา หรือ ผลประโยชน์อื่นผลักดัน

อ้อ...อาจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ ( หนึ่งในสมาชิก สนช. ) กำลังมีนโยบายขอให้สื่อ หรือ นักข่าว นั่งสังเกตการณ์ในการประชุมคณะกรรมาธิการทุกคณะ ทุกการประชุม

หากเป็นไปได้ ผมกราบงาม ๆ เลยครับ...ที่จริง กรรมาธิการประชุมก็ควรโปร่งใสให้นักข่าวสังเกตการณ์ได้


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 31-10-2006, 13:24
เวลาเรามองถึง "หน้าที่ของสื่อ" เรามักไปพูดเรื่อง "การตรวจสอบ" แต่เพียงแง่เดียว

จริง ๆ แล้ว หน้าที่สื่อ มันมีตั้งแต่รายงานข่าว ให้การศึกษา ให้ข้อเสนอแนะ และตรวจสอบรัฐบาล และให้ความบันเทิง

เราอย่าไปมองด้านใดด้านหนึ่ง ไม่งั้นจะมองผิดไปทั้งหมด

จะว่าไปผมเห็นใจนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ที่จำต้อง "ลาออก"

ทำไงได้ล่ะ ในเมื่อมี "พระบรมราชโองการ" และเป็นโอกาสที่จะได้เข้าไปใช้ความรู้ความสามารถให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

ทำไมต้องไปตั้งแง่กันในเมื่อเค้าก็เป็น "ตะัวแทนวิชาชีพ" เช่นเดียวกับคนในอาชีพอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสภา

ผมไม่ค่อยเข้าใจวิธีคิดของคนที่ "ตั้งแง่" พวกนี้ขึ้นมา

พอ ๆ กับกรณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 31-10-2006, 13:39
:slime_sentimental:

แล้วก็ต้องมีหน่วยงานตรวจสอบสื่อ

ห้ามสื่อใดออกข่าวเกินจากกำหนดเด็ดขาด

ไม่งั้นภายในสัปดาห์เดียวแข่งกันกระจาย

สื่อไหนสนิทกะคนในรัฐก็ได้ข่าวก่อน

ขายข่าวได้ลึกกว่า เร็วกว่า คนก็ซื้อ
หน่วยงานนี้มีอยู่แล้วครับ น่าจะติดตัวสื่อทุกคนทุกแขนง หน่วยงานนี้เรียกว่า จรรยาบรรณสื่อ

นั่นแหละครับที่มันพลาด

โทษจากการผิด จรรยา  คือการไม่ได้การยอมรับใน จรรยาบรรณ

ถ้ามันแลกด้วยเงิน ที่การเป็นนักข่าวปกติทั้งชีวิตก็หาเงินไม่ได้เท่านี้

ใครจะรักษาครับ


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 31-10-2006, 13:43
สภาการหนังสือพิมพ์ครับ ลงโทษไปแล้วหลายคน


หัวข้อ: Re: เห็นด้วยหรือไม่ว่าสื่อควรตรวจสอบการเมืองจากวงนอก
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 05-11-2006, 18:34


สวนดุสิตโพล

 “ ทิศทางของประเทศไทย” สะท้อนจาก“ พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ตลอดปี 2548”

http://dusitpoll.dusit.ac.th/2548/2548_108.html