ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: *bonny ที่ 16-10-2006, 09:43



หัวข้อ: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 16-10-2006, 09:43
กระทู้นี้เขียนขึ้นเมื่อเดือน ตค.2549 ในขณะที่มีสมาชิกอยู่ประมาณ 2000 คน และถูกขุดขึ้นมาครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กย. 2551 หลังจากว่างเว้นความคิดเห็นไปกว่า 1 ปี เมื่อมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 8800 คน เพื่อใช้อ้างอิงเชิงเปรียบเทียบกรณี พันธมิตรเสนอรูปแบบการเมืองใหม่ที่เรียกว่า ประชาภิวัฒน์  ซึ่งบังเอิญเหลือเกินสอดคล้องกับแบบพิมพ์เขียวของต้นร่างนี้ที่ผมส่งให้กับ สสร.เมื่อเดือน ตค. ปี 2549  โดยเฉพาะรูปแบบ การสรรหาตัวแทนประชาชนจากทุกสาขาอาชีพมาเป็นตัวแทนปวงชนแทนระบบเลือกตั้งทั่วไป  ..การลดจำนวน สส.ในสภา  และการลดจำนวนสส.ในระบบบัญชีรายชื่อ  ..การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน  ..สิทธิของประชาชนในการถอดถอนนักการเมือง   เป็นต้น

ไม่ว่าการเมืองใหม่ที่อาจจะมีการนำเสนอในโอกาสอันใกล้นี้ต่อ สมาชิกสภาผู้แทนฯ  หรือ สสร.ในอนาคตอันใกล้ที่จักต้องเกิดขึ้น จะมีที่มาจากพิมพ์เขียวของชาวเสรีไทยนี้หรือไม่  แต่..สิ่งที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอต่อ ประชาคมในเว็บบอร์ดแห่งนี้ คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งที่เลื่อนลอยอีกต่อไป  ถ้าความคิดเห็นของเราดี และ สสร.เห็นว่ามีประโยชน์ต่อบ้านเมือง พวกเขาจะต้องผลักดันให้เป็นรูปธรรมในที่สุด  ไม่ว่าจะผ่านกลุ่มพันธมิตร หรือกลุ่มพลังมวลชนใดๆ ก็ตาม

อยากให้ชาวเสรีไทยได้อ่าน ได้ศึกษา และได้ถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์เช่นนี้ตลอดไป เพื่อพัฒนาเว็บบอร์ดแห่งนี้ให้เป็นเว็บบอร์ดภิวัฒน์ของการเมืองไทย

************************************

..................เรื่อง รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่อยากเห็น.............................

อนนี้ก็มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ จัดระบบการเมืองใหม่ให้เป็นไปอย่างที่ประชาชนทั้งประเทศต้องการเห็น (อีกครั้งแล้วสินะ)   โดยยึดแนวพระราชดำรัส ให้คนดีได้เข้ามาปกครองบ้านเมืองในสังคมที่มีทั้งคนดีและคนเลวอยู่ปะปนกัน มิใช่การกำจัดคนเลวออกจากสังคม แต่รัฐธรรมนูญจะต้องส่งเสริมบทบาทของคนดีให้มีอำนาจปกครอง และลดบทบาทของคนเลวลง..ให้ได้มากที่สุด

ผมคิดเสมอว่า เสรีไทยเว็บบอร์ดจะอยู่ได้อย่างมั่นคงและได้รับความนิยม ต้องเป็นเว็บบอร์ดที่ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคมและการเมืองอย่างแท้จริง  ไม่ใช่เว็บบอร์ดระบายอารมณ์ใคร่ของคนร่วมอุดมการณ์หรือต่างอุดมการณ์แต่เพียงอย่างเดียว  ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง คณะใดคณะหนึ่ง ในขณะเดียวกันต้องปราศจากการแสวงหาผลประโยชน์จากคนใดคนหนึ่ง คณะใดคณะหนึ่ง  ต้องมีอิสระ เสรีภาพในการแสดงออกอย่างพอประมาณที่ไม่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพของคนอื่น  ที่สำคัญคือ ต้องดำเนินการโดยมีความเป็นอิสระที่ไม่ถูกแทรกแซงจากพรรคการเมืองและนักธุรกิจคนใด คณะใดจนเสียความเป็นอิสระไป

แค่คิดก็ยากแล้วใช่ไหมครับ แต่ตอนทำกลับยากกว่าอีก

นอกจากต้องมีกระทู้ที่มีสาระประโยชน์แล้ว ต้องมีสมาชิกที่มีคุณภาพด้วย  การจะได้มาทั้งสองประการที่กล่าวมานั้น  ต้องสร้างกันขึ้นมาเองด้วยความทุ่มเทของสมาชิกด้วยกันเท่านั้น และขณะเดียวกันก็ต้องลดจำนวนกระทู้ไร้สาระ  กระทู้ด่าทอกันไปมา และสมาชิกที่ไม่มีคุณภาพลงด้วย  วิธีที่จะทำให้สมประสงค์ได้ ก็ต้องมีเว็ปมาสเตอร์ที่ดี มีคุณภาพ และสมาชิกที่มีคุณภาพจำนวนมากจับกลุ่มรวมตัวกันได้

เว็บบอร์ดที่เต็มไปด้วยข้อความที่ขัดแย้ง อาจเป็นเว็บบอร์ดที่ดี
แต่เว็บบอร์ดที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เป็นเว็บบอร์ดที่ไม่ดี และคนที่เดินหนีไปก่อนเพื่อนคือ คนที่มีคุณภาพทั้งความคิดความอ่าน และ คุณภาพความดีอันเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล

คำว่า คุณภาพดูเหมือนจะสำคัญกว่าปริมาณในที่นี้  ในสังคมการเมืองไทยก็เช่นกันกับในเว็บบอร์ดนี้  ความล้มเหลวของสังคมการเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ผ่านมา ก็เพราะพรรคการเมืองไม่มีคนที่มีคุณภาพจำนวนพอเพียงที่จะมีอำนาจต่อรอง การคำนึงถึงแต่ปริมาณ เอาชนะกันด้วยปริมาณสมาชิกในสภา มิได้ด้วยคุณภาพของสมาชิกในสภา เพราะรัฐธรรมนูญระบุให้ ยึดถือ จำนวนเสียงในสภาเป็นหลักในการลงมติ  คนเลว คนดี มีหนึ่งเสียงเท่ากันหมด

ต้องตีความตัวตนกันอีกว่า ใครเลว ใครดี  บางทีตัวเองยังอ่านไม่ออกเลยว่า ตัวเองดีหรือเลว  แต่สาธุชนทั่วไปย่อมอ่านออก จากการแสดงออกของเขา

ผมจะปักหลักอยู่ที่กระทู้นี้ไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นขบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่อยากเห็น เพื่อเสนอมุมมองของผมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อยากเห็น  โดยมีสมาชิกในบอร์ดนี้เป็นผู้ร่วมอภิปราย และนำเอาความคิดเห็นดีๆ ของหลายๆ คนมาประกอบเข้าไว้ด้วยกันเป็น  รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่อยากเห็น

ขอย้ำว่า ผลที่ได้ไม่ใช่ประชามติของเสรีไทยเว็บบอร์ด  แต่เป็นบทบาทหนึ่งของ “ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด” ที่ผมเป็นแกนนำเพื่อจุดประสงค์จะนำเสนอความคิดอ่านต่อสมาชิกเว็บบอร์ดทั้งหมด และสังคมภายนอกเท่านั้นเอง

กระทู้นี้แบ่งออกเป็นสามภาคโดยคร่าว  คือ

1../ ความหมายของประชาธิปไตยในไทย
2../ จุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปี พศ.2540 และพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับ
3../ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี พศ. 2550 ที่อยากเห็น และอนาคตของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เหมือนกับการมีสมัยประชุม โดยผมทำหน้าที่เป็นผู้นำการอภิปรายในหัวข้อต่างๆ และสมาชิกที่สนใจเป็นผู้ร่วมอภิปราย

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

[1] ความหมายของประชาธิปไตยในไทย

ประเทศไทยเคยมีระบอบประชาธิปไตยหรือไม่?

สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่า ประเทศไทยเราไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตยแบบสมบูรณ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 แล้ว  หลายคนบอกว่า ประชาธิปไตยของไทยมีอายุ 75 ปี  ความจริงแล้ว ไม่มีเลยมากกว่า 

ในยุคแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ก็เป็นการปกครองโดยอำนาจเผด็จการทั้งของทหารและพลเรือน  มิได้มีการเลือกตั้งโดยประชาชนทั่วประเทศอย่างเป็นกิจลักษณะ  เพียงแต่เรามีรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็อ้างอีกน่ะแหละว่า เป็นของปวงชนชาวไทย  ทั้งๆ ที่ผู้ที่ยกร่างก็อยู่ในกลุ่มทำงานที่เผด็จการกลุ่มนั้นๆ แต่งตั้งขึ้นมา

ความใกล้เคียงประชาธิปไตยในความหมายมากที่สุด คือ หลังการปฏิวัติของประชาชนเมื่อปี 2516 มีรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยสั้นๆ อยู่สามปี  และหลังจากมีการปฏิรูปการเมืองเมื่อปี 2538 เมื่อมีการยกร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้เมื่อปี 2540 เพราะประชาชนมีส่วนร่วมทางอ้อมในการคัดสรรสมาชิกสภาร่างฯ และลงมติรับรองรัฐธรรมนูญนั่นเอง (แม้ว่า ในจำนวนประชาชนที่มีสิทธิ์ออกเสียงรับรองรธน.ฉบับนี้ จะมีผู้ที่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ถึง 30% และอ่านรัฐธรรมนูญแล้วรู้เรื่อง ไม่ถึง 10% ก็ตาม)

แต่ก็ทำได้แค่ใกล้เคียงระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น  โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับหลังกลับเปิดโอกาสให้บุคคลคนเดียว คณะเดียวสามารถใช้อำนาจเงินที่มีอยู่มหาศาลและความชาญฉลาด ซื้อทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาซึ่งประชามติเพื่อให้ตนเองมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ  แม้แต่การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองอำนาจของตนเอง โดยไม่ผ่านระบบการกลั่นกรองของรัฐสภา และปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์  ซึ่งก็เป็นการดัดแปลงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไปเสียสิ้น  จึงไม่เป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มต้นแสวงอำนาจ (เข้ามาสู่การเมือง) จนถึงจุดสิ้นสุดด้วยการถูกทำรัฐประหาร

การยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า จริงๆ แล้ว อำนาจในการปกครองประเทศมิได้เป็นของประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง เพราะถ้าเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงแล้ว ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ต้องเป็นผู้กำหนดการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ด้วยเสียงส่วนใหญ่  แสดงให้เห็นว่า มีอำนาจที่อยู่เหนือสิทธิ์และเสียงของปวงชนชาวไทย และประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็น้อมรับ นั้นมีอยู่จริง ดังเห็นได้จากการไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ  หรืออาจเพราะไม่อาจแสดงพลังต่อต้านอำนาจนั้นได้

ถ้างั้นเราปกครองด้วยระบอบอะไรมาโดยตลอด?

ถ้าเราจะยอมรับความจริงกันแล้ว ต้องบอกว่า เราปกครองโดยระบอบราชาธิปไตย  ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่มีอยู่ประเทศเดียวในโลกนี้  โดยประชาชนทั่วประเทศมอบความไว้วางใจในการตัดสินใจใดๆ แก่พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจคนไทยทั้งชาติมาตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา

ตัวอย่างในหลายกรณีที่ผ่านมาในอดีตได้ชี้ชัดว่า  แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และทรงมีสถานะอันเป็นที่เคารพสูงสุด ใครละเมิดมิได้ก็ตาม  แต่สิ่งหนึ่งที่รัฐธรรมนูญทุกฉบับคงเอาไว้ให้พระมหากษัตริย์ในภาพรวม คือ การดำรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ  ซึ่งมิได้เป็นของปวงชนชาวไทยตามความหมายของประชาธิปไตย หรือ มิได้มอบให้รัฐบาลนำไปครอบครองเมื่อชนะการเลือกตั้ง

ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง พระองค์ได้ทรงเข้ามายุติความขัดแย้งในการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองหลายครั้ง ซึ่งก็เป็นบทบาทของการใช้พระราชอำนาจอย่างเด็ดขาดที่มิได้กำหนดในรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากการทรงเป็นผู้ที่ลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายทุกฉบับ  รวมทั้งทรงเป็นผู้แต่งตั้ง คณะรัฐบาล ซึ่งพลเรือนที่ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน หรือ ทหารที่มีอำนาจสูงสุดในการยึดอำนาจก็ทำไม่ได้

นี่จึงเป็นความแตกต่างของระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ กับ ประชาธิปไตยทั่วโลก  ซึ่งแตกต่างกันมาตั้งแต่ต้นกำเนิดแล้ว  ดังนั้น เมื่อมีการปฏิวัติ รัฐประหารในไทยทีไร จึงมีคนจำนวนมากนำไปเปรียบเทียบกับประชาธิปไตยของประเทศอื่น ซึ่งความจริงไม่อาจเปรียบเทียบกันได้  เพราะความแตกต่างอยู่ที่ “พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์” ซึ่งประเทศอื่นๆ ไม่มี  ถึงแม้มี ก็มิได้เป็นพระราชอำนาจที่ประชาชนทั้งประเทศยินดียอมรับเช่นกับประเทศไทย

ชาวต่างชาติ หรือ ประชาชนชาวไทยที่ออกมาต่อว่า ต่อต้าน หลังจากที่มีการปฏิวัติทุกครั้งว่าบ้านเมืองนี้ ไม่เป็นประชาธิปไตยแล้ว  ถอยหลังเข้าคลองแล้ว  จึงเป็นความเข้าใจที่ผิดทั้งสิ้น

เพราะเราไม่เคยมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริงมาแต่ไหนแต่ไร และเราก็มิได้ถอยหลังไปไหน ยังอยู่ในระบอบการปกครองเดิมมาตลอด เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการเลือกผู้นำในการบริหารบ้านเมืองเท่านั้นเอง


......../ยังมีต่อ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 17-10-2006, 09:16
[กรอบที่ 2]


ระบอบประชาธิปไตยหรือลัทธิจักรวรรคินิยมกันแน่?

ต้นแบบที่อ้างว่าเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก เป็นการโค่นอำนาจอันยาวนานของสถาบันพระมหากษัตริย์ลงโดยประชาชนที่ถูกกดขี่ แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเผด็จการพลเรือนในยุคต้นก่อนจะพัฒนามาเป็นลำดับจนเป็นเช่นทุกวันนี้
ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันถือเป็นต้นแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่เคยมีระบบการปกครองโดยกษัตริย์มาก่อน  เคยแต่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษในช่วงสั้นๆ ก่อนทำสงครามกับอังกฤษจนได้รับชัยชนะและ ใช้วิธีประกาศเอกราชก่อตัวขึ้นเป็นประเทศ มีสถานะเป็นสมาพันธรัฐ เมื่อวันที่ 4 กค. 1776  ก่อนจะปรับเปลี่ยนเป็นสหพันธรัฐในปี 1779 และกว่าจะมีรัฐธรรมนูญใช้ ก็นู่น ปี 1789

อย่าลืมว่า ก่อนหน้านั้น ชาวอเมริกันก็คือ พลเมืองที่อพยพมาจากอังกฤษและยุโรป  รังเกียจการปกครองในระบอบศักดินาที่ฝังรากลึกมายาวนานในยุโรปและต้องการตั้งรกรากใหม่โดยมีอำนาจปกครองกันเอง  พวกนี้เป็นนักต่อต้านการถูกกดขี่โดยสายเลือด (แต่ไม่ต่อต้านการเป็นผู้กดขี่เสียเอง..ฮ่า) จึงไม่ใช้วิธีสถาปนาใครขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ

ดังนั้น ในบรรดาประเทศต้นแบบประชาธิปไตยที่ยังมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่เหลืออยู่  ก็มีเพียงบางประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ สวีเดน สเปน  เป็นต้น ซึ่งพระมหากษัตริย์ก็เป็นได้เพียง ตราสัญลักษณ์  มิได้ทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองแผ่นดิน แต่อย่างใด

ที่กล่าวมาก็เพื่ออยากให้ผู้ที่ออกมาวิพากษ์ วิจารณ์ทั้งหลายคำนึงถึงความแตกต่างที่มีมาตั้งแต่ ต้นกำเนิด ของประชาธิปไตยนี้ด้วย 
เมื่อคำนึงแล้วจะเห็นว่า  การฉีกรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างระบอบประชาธิปไตยในยุโรปและอเมริกาเป็นเรื่องใหญ่ ร้ายแรงมากถึงขั้นเสียศูนย์ประเทศ  แต่ถ้าเป็นประเทศไทย ผมถือว่า เป็นเรื่องเล็กที่ไม่เป็นปกติ เท่านั้นเอง

การพยายามยัดเยียดการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้ทุกประเทศทั่วโลกของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยอ้างเรื่องสิทธิมนุษยชน  ก็เป็นความต้องการในการเผยแพร่ลัทธิเอาอย่างของพวกเขา เพื่อผลประโยชน์ในการเข้าไปตักตวงทรัพยากรในประเทศนั้นๆ ได้โดยไม่ต้องทำสงครามเท่านั้นเอง

ดูเหมือนเป็นความหวังดีต่อชาวโลก เห็นประเทศไหนทางสัญจรขรุขระ ก็อาสาสร้างถนนให้ฟรีๆ (เงินช่วยเหลือ) เมื่อถนนเสร็จแล้วพวกเขาก็เดินเข้ามาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้โดยง่าย  ทำนองนั้น

ซึ่งก็มิได้มีความแตกต่างไปจากลัทธิล่าอาณานิคมในอดีตเท่าใดนัก  ในอดีตการล่าใช้วิธีการส่งกำลังของตนเข้ายึด แล้วส่งคนไปปกครอง เพื่อดูแลผลประโยชน์ให้มหาอำนาจ  ส่วนปัจจุบัน ไม่ต้องส่งคนไปปกครองแล้ว แต่ให้ผู้ปกครองยึดระบอบการปกครองเดียวกันกับของเขา  ซึ่งก็เท่ากับเป็นการแทรกซึมระบบการเมืองการปกครองทางอ้อม เมื่อระบอบการปกครองจูนให้ตรงกันแล้ว ก็สามารถที่จะแทรกซึมเข้าครอบงำระบบเศรษฐกิจผ่านการให้เงินช่วยเหลือรูปแบบต่างๆ..  สิทธิประโยชน์ทางการค้า.. เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ..  กองทุนการเงินยามทุกข์ยาก..  การลงทุนข้ามชาติเพื่อพัฒนาวัตถุ.. ความร่วมมือทางการทหารเมื่อถูกรุกราน.. และที่กำลังมาแรง คือ การเปิดเสรีการตลาดและการค้า  นั่นเอง

ใครไม่เชื่อเรื่องลัทธิจักรวรรดินิคมของผม ก็ลองพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ดู..
 
ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ไทยได้ดุลการค้าจากสหรัฐปีหนึ่งหลายแสนล้านบาท  ดูเหมือนรัฐบาลและคนในประเทศพอใจกับตัวเลขนี้  แต่ที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลังตัวเลขที่ต้องวิเคราะห์ต่อไป คือ..

เขาส่งออกสินค้าประเภทยา เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ให้เรา  ส่วนเราส่งอาหาร ส่วนประกอบอีเลคโทรนิค และเสื้อผ้าให้เขา  โดยส่วนหนึ่งเราได้ความช่วยเหลือ ในด้านการส่งออกด้วยการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Generalized System of Preferences : GSP   (จีเอสพี)

เคยได้ยินคำพูดของพ่อค้าหัวใสไหมครับ  ..ขายน้อยกำไรมาก  แต่ ขายมากกลับกำไรน้อย  เราขายบะหมี่เกี๊ยว 1,000 ชาม  กำไรสู้เขาขายรถเข็นบะหมี่คันเดียวไม่ได้  ..ฮ่า

เห็นได้ชัดว่า เราได้ดุลการค้าก็จริงแต่คล้ายๆ กับเป็นฐานการผลิตในสินค้าที่ต้องใช้แรงงานและพื้นที่เพาะปลูกเป็นกำลังหลัก  สินค้าเหล่านี้  มีคนรับจ้างผลิตให้ทั่วโลก มีราคาเปรียบเทียบเป็นตาราง  ขึ้น-ลง รายวัน อยู่ที่ว่า วันนี้เขาจะเลือกหยิบซื้อจากที่ไหน (ที่ราคาถูกและคุณภาพดีที่สุด)  โดยมีเครื่องมือต่อรองที่คนซื้อได้เปรียบ คือ จีเอสพี นี่แหละ

ส่วนสินค้าที่เขาส่งมาให้เรา เราผลิตเองไม่ได้แทบทั้งสิ้น เขาจึงบวกกำไรได้ในระดับที่พอใจ
คนหนึ่งใช้ปัญญามนุษย์ในห้องทดลองเป็นต้นทุน บวกกำไรเท่าไรก็ได้ (กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา)  อีกคนใช้แรงงานและทรัพยากรจากดินและน้ำเป็นหลัก  เอามาแลกกัน คุณว่าใครหมดตัวก่อน

ดังนั้น อย่าได้ปลื้มนะครับว่า ตัวเลขดุลการค้าเราชนะ ต้องลองเจาะลึกลงไปในรายละเอียดด้วย  แล้วคุณจะพบว่า เรามันก็แค่ ฐานการผลิตที่รับจ้างส่งอาหารเลี้ยงดูคนในประเทศเขาให้อยู่ดีกินดี เท่านั้นเอง  แล้วมันจะต่างจากการส่งส่วยในสมัยนักล่าอาณานิคมตรงไหน

แต่การจะเป็นประเทศราชของเขานี่ก็ไม่ใช่ง่ายๆ นะครับ ไม่ใช่ว่า ใครก็เป็นได้  เขาเป็นผู้พิจารณาและกำหนดเงื่อนไขให้  เช่น  ต้องมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย  ต้องเป็นประเทศด้อยพัฒนา  และที่สำคัญ คือ ต้องมีทรัพยากรให้เขาตักตวงได้มากที่สุด ประเทศเรายังโชคดีที่มีแรงงานราคาถูกและทรัพยากรการเกษตรอุดมสมบูรณ์  (อิรักนั่นแย่หน่อย ไม่มีอะไรเลยแต่ดันมีน้ำมันเยอะ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่เขาต้องการมากเช่นกัน)
แต่ถ้าเมื่อใดไม่มีอะไรให้เขาตักตวงแล้ว  ประเทศเราก็ต้องพึ่งพาตัวเองครับ แล้วดูซิว่า เราจะอยู่รอดไหม แค่เขาตัดจีเอสพีสินค้าเกษตรของเราและขู่ว่าจะไปซื้อสินค้าจากประเทศอื่น  เราก็แทบจะดิ้นตายกันไปแล้ว

ฉะนั้น การเปิด FTA กับสหรัฐ  ก็เท่ากับเป็นการผูกเงื่อนไขการซื้อ-ขายระยะยาวให้กันและกัน  เหมือนสัญญาประชาคมต่อชาวโลกว่า ..อย่าทิ้งฉันนะ ชีวิตฉันขาดเธอไม่ได้ เท่านั้นเอง
 
ประเทศที่มหาอำนาจไม่เหลียวแลและตัดหางปล่อยวัดแล้ว ผมขอเรียกว่า ซากประเทศ ก็แล้วกัน  ซึ่งขณะนี้ก็มีอยู่ในหลายประเทศที่เหลือทางรอดอยู่อย่างเดียว คือ ต้องแบมือขอ  ไปเรื่อยๆ

นี่ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องความมั่นคงนะครับ  เป็นอีกหนึ่งแขนงของจักรวรรคินิยมทางการทหาร ที่มหาอำนาจใช้เป็นแหล่งขายอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ (และระบายของเก่าให้บางประเทศในภูมิภาคนี้..ฮ่า)  ซึ่งประเทศเราเอาเงินที่ไหนมาซื้อครับ  โคตรแพงอย่างนั้น?  ก็เอาดุลการค้า/ดุลการชำระเงิน ที่เราเกินดุลนั่นแหละ..คืนให้เขาไป  แล้วพูดตามความจริงนะครับ  อาวุธเหล่านี้ มีไว้ประดับกองทัพเท่านั้น ป้องกันการรุกรานได้ในระดับชายแดน  แต่ทำสงครามเต็มรูปแบบกับผู้รุกรานที่มีศักยภาพกว่า ไม่ได้เลย

เขาจึงต้องจับเราเซ็นสัญญาผูกพันกันทางความมั่นคงไงล่ะครับ (หรือเราจับเขาเซ็นก็ไม่รู้..ฮ่า) ซึ่งถ้าประเทศของเราไม่เซ็น ก็จะขาดความมั่นคงไปในทันที

ฉะนั้น..ความภาคภูมิใจที่ประธานาธิบดีสหรัฐ นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช จูเนียร์ ยกย่องต่อหน้าอดีตนายกไทย พตท.ทักษิณ ชินวัตรว่า สหรัฐถือว่า ไทยคือ พันธมิตรนอกนาโต้  ซึ่งนายทักษิณอาจภาคภูมิใจ แต่สำหรับผมแล้ว ถือว่า เป็นรางวัลสำหรับผู้สวามิภักดิ์เท่านั้นเอง  นายทักษิณอาจรู้สึกว่า ประเทศชาติมั่นคงและมีหน้ามีตาขึ้น แต่สำหรับผม ทำให้นึกถึงอดีตกาล สมัยจักรวรรคดินิยมเรืองอำนาจ  ผู้นำสหรัฐ เอามีดดาบประทับบนไหล่ของนายทักษิณที่ย่อตัวลง คุกเข่าข้างหนึ่งพร้อมกับค้อมศรีษะ แล้วพูดว่า..”เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดี  ข้าฯ ขอแต่งตั้งให้เจ้าเป็นบารอน และมอบที่ดิน 250 เอเคอร์เป็นรางวัล”

จริงๆ ในโลกเบี้ยวๆ ใบนี้ มีไม่กี่ประเทศหรอกครับที่มีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  ส่วนใหญ่เป็นการแอบอ้างว่าเป็นประชาธิปไตยทั้งนั้น  แต่สหรัฐและสหภาพยุโรปก็ยังคบหาอยู่  โดยยอมขยิบตาไว้ข้างหนึ่ง  บางประเทศก็ประกาศตัวชัดเจนว่า ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ก็ยังจูบปากกันได้   ได้แก่ จีน .. รัสเซีย..คูเวต..ซาอุดิอารเบีย..กัมพูชา..เวียตนาม..ปากีสถาน เป็นต้น แม้แต่ประเทศอิรัก และอัฟกานิสถาน ที่ป่านนี้ยังคงกำลังทหารเอาไว้หลายหมื่นคน (บ้านเราเขาขอให้เลิกกฎอัยการศึกเร็วๆ..ฮ่า) 

เข้าไปสร้างประชาธิปไตยให้เขาจริงหรือ ในประเทศอาหรับที่ผู้คนทั้งประเทศนับถือศาสนาอิสลาม อเมริกาและอังกฤษจะไปสร้างประชาธิปไตยให้เขาได้อย่างไร  น่าจะเหลียวมองประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อิหร่าน  ซาอุ  จอร์แดน  ซีเรีย  คูเวต  ปาเลสไตน์  ดูบ้างก็ดีนะครับว่า เขาเหล่านั้นปกครองด้วยระบอบอะไรกันแน่ แล้วอิรักจะอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวในระบอบประชาธิปไตยแบบชาวอเมริกันหรือ?

อย่าคิดนะครับว่า การจัดให้มีการแสดงประชามติ มีการเลือกตั้งจะถือว่าเป็นประชาธิปไตยเสมอไป (ระบอบทักษิณชอบอ้างนักหนาว่า.. กติกาประชาธิปไตยต้องวัดกันที่ผลการเลือกตั้ง  แต่กติกาถูกบิดเบือนเจตนารมณ์ไปโดยมิชอบตั้งแต่ต้นด้วยอำนาจรัฐ อำนาจเงิน เพื่อให้ได้รับชัยชนะ ถือว่า ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็น อำนาจนิยม หรือ ธนาธิปไตย)  การจัดให้มีการเลือกตั้งในบางประเทศ ก็เพียงเพื่อ ทำให้ความรู้สึกว่าประเทศตัวเองได้มีพัฒนาการในรูปแบบการเมืองการปกครองที่ดีขึ้นในสายตาชาวโลกเท่านั้นเอง  แม้แต่อิรักในสมัยซัตดัมก็เคยจัดให้มีการเลือกตั้งผู้นำประเทศ แต่สหรัฐไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งเองต่างหาก  เพราะเลือกอีกกี่สิบกี่ร้อยครั้ง ซัตดัมก็ต้องกลับมาเป็นผู้นำประเทศวันยังค่ำ  เพราะการเลือกตั้งในบางประเทศ เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย(จอมปลอม) เท่านั้น

ผมยังไม่เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในประเทศที่มีการเลือกตั้งและอ้างว่ามีประชาธิปไตยอย่าง ปากีสถาน  กัมพูชา หรือ เขตปกครองพิเศษอย่างฮ่องกง กับประเทศที่ปกครองโดยเผด็จการทหารอย่างพม่าเลยพับผ่าสิ
แต่น่าแปลกที่พม่าเป็นประเทศที่ถูกด่าในเวทีโลกมากที่สุด ในขณะที่ประเทศเหล่านั้นรอดตัวไปได้


.../ยังมีต่อ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 18-10-2006, 00:19
เพิ่งเห็นกระทู้นี้ของคุณบอนนี่ครับ... กระทู้ดีๆ แบบนี้ต้องขอติดตามอย่างใกล้ชิดหล่ะครับ

อ่านแบบสแกนแว๊บๆ.... เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ว่าประชาธิปไตยของเรานั้นมีลักษณะที่ค่อนข้างพิเศษ... พระมหากษัตริย์ของเรานั้นทรงมีทศพิศราชธรรมที่ประชาชนจงรักภักดีและสนับสนุนให้ทรงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มที่... ถ้าประชาธิปไตยหมายถึงการใช้เสียงข้างมากเพื่อเลือกรัฐบาลและฝ่ายค้านแล้วหล่้ะก็... เทียบไม่ได้กับเสียงชาวไทยทั้งมวลที่สนับสนุนพระประมุขอย่างเต็มหัวใจทุกดวงในการใช้พระราชอำนาจเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามทั้งมวล

กำลังรออ่านต่อครับ... น่าสนใจมากว่าคุณบอนนี่จะนำจุดเด่นนี้ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เราต้องการได้อย่างไร?


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 18-10-2006, 01:42
ได้พักผ่อนอาบน้ำไปพักใหญ่... กลับมาอ่านชอต 2 แล้วยิ่งมัน.... ประชาธิปไตยที่เป็นเสื้อคลุมวิเศษของทุนนิยมเสรีจักรวรรดินิยม... ประชาธิปไตยศักดินาทุนข้ามชาติ... ประชาธิปไตยที่ไร้ศักดิ์ศรี.. ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่มีคุณค่าควรเอาใจใส่แต่ีอย่างใด

ที่เขียนมานี้ทำให้เข้าใจรากความเป็นมาของประชาธิปไตยที่ไทยเป็นอยู่ในปัจจุบันชัดเจนอย่างยิ่ง... แล้วประชาธิปไตยเสื้อคลุมวิเศษของคุณบอนนี่มีอะไรอยู่ข้างในหนอ?... จะคอยติดตามตอนต่อไปครับ  :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 18-10-2006, 02:08
อืมม สนุกดีๆ  :)

ผมอ่านแล้วเห็นด้วยกับ section
- ประเทศไทยเคยมีระบอบประชาธิปไตยหรือไม่?
- ถ้างั้นเราปกครองด้วยระบอบอะไรมาโดยตลอด?

แต่ไม่เห็นด้วยกับ section
- ระบอบประชาธิปไตยหรือลัทธิจักรวรรคินิยมกันแน่?
โดยเฉพาะในเรื่อง economics, FTA, surplus & deficit

ตอนนี้ขอไม่บอกเหตุผลว่าทำไม
เพราะง่วงแล้ว 5555
ขอตัวไปนอนก่อนครับ

 :slime_sleeping:


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 18-10-2006, 13:57
สวัสดีครับคุณพระพาย

ขอบคุณที่แวะมา
เป็นธรรมดาของกระทู้แนวนี้อยู่แล้วครับ ผมเรียกว่า กระทู้บอร์ดขยาด เพราะหาคนเขียนยาก เนื่องจากต้องใช้เวลาหลายวันในการเตรียมตัว และอีกหลายสิบวันในการเขียน  ส่วนคนอ่านก็หายากไม่แพ้กัน เพราะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการอ่าน และอีกไม่รู้เท่าไรในการทำความเข้าใจและแสดงความคิดเห็น

แต่ถ้าบอร์ดมีแต่กระทู้สามบรรทัดซึ่งเป็นสีสัน ก็จะไม่ค่อยพัฒนาสังคมสักเท่าไร ไม่นานนักก็จะเบื่อๆ กันไป

ผมถือว่า งานเขียนบทความเป็นการบังคับให้ผมต้องอ่านหนังสือมากขึ้นไปในตัว ส่วนจะพัฒนาสังคมนี้ได้หรือไม่เป็นหน้าที่ของผู้อ่านและคุณภาพของผู้ที่อยู่ในสังคมนี้ ซึ่งเป็นตัวแปรที่ผมควบคุมไม่ได้

.........................

คุณwilling..

คุณแสดงความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในบางประเด็น ก็แสดงว่า คุณอ่านจนจบแล้ว แค่นั้นแหละครับที่ผมพอใจเพราะเราได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแล้ว



หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 18-10-2006, 13:58
[กรอบที่ 3]

ทำไมประชาธิปไตยในประเทศโลกที่สามจึงไม่ยั่งยืน?

คุณจะเรียกประเทศไทยว่า ประเทศกำลังพัฒนาที่ฟังดูดีหน่อย หรือประเทศด้อยพัฒนา  หรืออะไรก็ช่างเถอะที่ทำให้คุณเข้าใจความหมายที่แท้จริงของประเทศที่คุณอยู่  แต่ที่แน่ๆ คือ เรายังห่างไกลจากประเทศที่เรียกตัวเองว่า พัฒนาแล้ว

ตัวชี้วัดว่า คุณพัฒนาหรือยัง อยู่ที่คุณภาพความคิดความอ่านของจำนวนประชากร  ไม่ใช่ จี ดี พี หรือ จำนวนผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณโนเบล  ซีไรท์ หรือ แม็กไซไซ หรือ วิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์โอลิมปิก หรือเหรียญทองจากมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ หรอก

ประชากรจะมีความคิดความอ่านที่มีคุณภาพก็ต้องมาจากพื้นฐานการศึกษาที่ดี ซึ่งในที่นี้ก็มิใช่วัดกันที่ วุฒิการศึกษา หรือจำนวนผู้จบปริญญา

พื้นฐานการศึกษาที่ดี ก็วัดกันที่ คุณภาพของการเรียนรู้ที่สามารถทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการทางความคิดที่นำไปใช้ได้จริงในศาสตร์ที่เรียนรู้มา   การปั่นตัวเลขประชากรที่มีวุฒิการศึกษาจึงเป็นวิธีการที่ผิดมาตลอดของรัฐบาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ที่ยังทำกันอยู่ก็เพื่อสนองความต้องการที่จะหลุดพ้นจากนิยามของประเทศด้อยพัฒนาในสายตาชาวโลก และอุปโลกว่า นี่เป็นผลงานของการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล

ยกตัวอย่างเช่น..

รปภ.ปัจจุบันรับวุฒิ ม.3 - ม.6 ขึ้นไป  แต่ในอดีตเมื่อยี่สิบปีก่อนรับแค่วุฒิ ป.4 ก็พอแล้ว
ตำแหน่งแคชเชียร์ในห้างสรรพสินค้าชื่อดังในปัจจุบัน ทำไมต้องรับวุฒิปริญญาตรี เมื่อยี่สิบปีก่อนรับแค่ปวช.
เซลส์แมนสินค้าที่มีระดับสักหน่อย ต้องรับวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปเท่านั้น เมื่อก่อนก็แค่ปวช.

เมื่อก่อนใครจบระดับปวช.จากอัสสัมชัญคอมเมิร์ช (ACC) หรือ พาณิชยการพระนคร ถือว่าเป็นนักการตลาดที่ฝีมือดีที่สุด

ทุกวันนี้ ทุกคนต้องเรียนเพิ่มขึ้นประมาณ 4 ปี ด้วยค่าใช้จ่ายส่วนตัวและเงินอุดหนุนของรัฐจำนวนมหาศาล เพื่อรับตำแหน่งงานที่คนแก่คนเฒ่าในอดีตได้รับ  เวลาและงบประมาณที่จมหายไปกับการศึกษา 4 ปีนี้  เป็นคำถามที่น่าสนใจว่า ได้พัฒนากระบวนทางความคิดอ่านของประชากรให้ดีขึ้นหรือไม่?

ถ้าไม่ ก็ถือว่า ระบบการศึกษาไทยล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะตลาดแรงงานของคนวัย 18-20 ปีได้หายไปจากสังคม
สู้เอาเวลาที่หายไป 4 ปีนั้น ให้เขาไปทำงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์ให้เพิ่มขึ้น  หากต้องการจะพัฒนาอาชีพให้ก้าวหน้าต่อไป รัฐควรจัดสรรการศึกษาภาคค่ำ หรือ ภาคพิเศษที่เรียนในวันหยุดราชการ เพื่อให้คนที่มีประสบการณ์เหล่านี้ได้มีพัฒนาการในกระบวนความคิดอ่านก้าวหน้าขึ้นไปในอีกระดับหนึ่ง เป็นทางเลือก นอกเหนือจากการมุ่งเรียนให้จบปริญญาสำหรับคนอีกประเภทหนึ่งที่มีความพร้อมกว่า

การที่คนยอมสูญเสียเวลาให้กับการศึกษามากขึ้น เพื่อลดคุณค่าตัวเองลงไปรับตำแหน่งที่ต่ำกว่าวุฒิการศึกษาเมื่อจบแล้ว หวังว่า ใบปริญญาจะการันตีให้ตัวเองมีงานทำ ย่อมส่งผลให้คุณภาพของการศึกษาต่ำลง
นั่นแสดงว่าอย่างไร?  แสดงว่า ตัวเลขวุฒิการศึกษาในปัจจุบันเป็นภาพลวงตา  มีการศึกษาที่ไม่จำเป็นแอบแฝงอยู่ถึง 4 ปีเลยทีเดียว

ถ้ากท.ศึกษาธิการ โดยการกำกับของรัฐบาลยังไม่เร่งแก้ไขปัญหานี้  อีกไม่นาน ปริญญาตรีก็จะถูกแย่งตำแหน่งโดยปริญญาโทด้วยความคาดหวังอย่างเดียวกัน และจะเกิดการศึกษาที่ไม่จำเป็นแอบแฝงเพิ่มขึ้นอีก 2 ปี รวมเป็น 6 ปี โดยประเทศชาติไม่ได้คนที่มีคุณภาพในกระบวนการความคิดความอ่านเพิ่มขึ้นอย่างที่คาดหวัง

การให้เด็กนักเรียนไม่ต้องเรียนซ้ำชั้นแม้ผลการเรียนจะแย่ยังไงก็ตาม ส่งผลให้เด็กไม่มีความจำเป็นจะต้องมีพัฒนาการทางด้านสมองในการเรียนรู้  เพราะต่างก็เข้ามาเรียนเพื่อเอาวุฒิมากกว่าเรียนเพื่อหาวิชาความรู้  ที่เป็นดังนี้ เป็นการแก้ปัญหาให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาลในอดีต  ไม่ใช่แก้ปัญหาคุณภาพให้เด็กไทยเลย

การเรียนซ้ำชั้นเคยได้รับการวิจารณ์ว่า เป็นการลงโทษอนาคตของเด็กรุนแรงเกินไป เช่นเดียวกับการใช้ไม้เรียว
ความคิดเช่นนี้ เกิดขึ้นในสมัยที่ความคิดในเรื่อง สิทธิมนุษยชนของโลกตะวันตก ที่เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย และ ระบบการศึกษา ตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับแนวความคิดในการนำเด็กมาเป็นศูนย์กลางของการกำหนดแนวทางการศึกษา (Child Center) เมื่อ 5 ปีก่อน ซึ่งถูกนำมาตีความและนำมาใช้แบบผิดๆ ทำให้เกือบทำให้เด็กเคว้งคว้างทางความคิดอ่าน เพราะนำมาใช้เร็วเกินไป ในขณะที่ครูและเด็กไม่มีความพร้อม

เด็กไทยที่เคยเรียนซ้ำชั้นและเคยโดนไม้เรียวเฆี่ยนมาก่อน ได้รับบทเรียนที่คุ้มค่าในการประพฤติตน มีขบวนการพัฒนาความคิดอ่านไปในทางที่ดีขึ้นแฝงตัวอยู่ ให้เขาปรับปรุงพฤติกรรมในอนาคต ถ้าเขาปรับปรุงความประพฤติไม่ได้ เรียนซ้ำแล้วซ้ำอีกก็แสดงว่า เป็นคนด้อยคุณภาพ  ทางที่ดี คือ รัฐต้องเข้ามาอุ้มชูร่วมกับกระทรวงศึกษา โดยแยกให้ไปเรียนในสาขาวิชาชีพที่ไม่เน้นการศึกษาวิชาพื้นฐาน เช่น..กีฬา ช่างไม้ ขับรถยนต์ เป็นต้น  เราอาจไม่ได้เด็กที่จบสายสามัญจนครบหลักสูตร แต่อาจได้ นายช่างก่อสร้างทีดี คนขับรถแท็กซี่ที่ดี ก็เป็นได้ เพราะงานเหล่านี้ เด็กที่เรียนดีๆ เขาไม่ได้ตั้งเป้าหมายชีวิตเอาไว้  แต่เป็นการสร้างอาชีพให้กับคุณภาพที่แตกต่างกันของคนในสังคม ที่รัฐบาลไม่เคยให้ความสนใจ

ขบวนการซ้ำชั้นเรียน และขบวนการเฆี่ยนตี อาจไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีวิธีการที่ดีกว่ามาทดแทนในการให้บทเรียนความประพฤติ  โดยเฉพาะเด็กไทย ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวต่างจากเด็กฝรั่งมาตั้งแต่เกิด

หลักสูตรในการศึกษาในหลายปีที่ผ่านมา ปรับให้เข้ากับหลักเกณฑ์ที่ผู้ใหญ่ไปดูงานมาในต่างประเทศ  แต่ไม่ได้เข้ากับเด็กในประเทศไทยเลย เพราะผู้ใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของการฟูมฟักเลี้ยงดูของครอบครัว 

ฝรั่งก็มีปัญหาเรื่องการจัดหลักสูตรที่ผสมผสานกันได้ระหว่างเด็กเรียนดีและเด็กเรียนด้อยเช่นเดียวกัน  เพื่อลดปัญหาเด็กที่เรียนด้อยจึงต้องทำหลักสูตรให้ไม่ยากจนเกินไป เพื่อให้เด็กด้อยสามารถเรียนร่วมกับเด็กเรียนดีได้โดยไม่เกิดความกดดัน แต่มุ่งเน้นให้เกิดพัฒนาการทางความคิดโดยใช้เหตุและผลมากกว่าการแข่งขันด้านการเรียน และดึงความถนัดของเด็กแต่ละคนออกมา ใครถนัดอะไรให้มุ่งไปทางนั้นเลย คนที่เก่งในสาขาวิชาหนึ่งๆ จึงได้คนที่เก่งจริงๆ โดยไมต้องพะวงเหมือนเด็กไทยว่า ถนัดสาขานี้ ต่อไปจะไม่มีงานทำ เพราะเขามีเส้นทางสายอาชีพรองรับไว้แล้วสำหรับทุกสาขาวิชาที่เด็กถนัด  นี่แหละจึงเป็นแนวคิดที่ถูกต้องสำหรับ Child Center

ประเทศไทยเราก็มีเด็กด้อยและเด็กเก่งเช่นกัน แต่ให้เด็กเรียนตามความถนัดไม่ได้ เพราะในสาขาวิชาที่เด็กถนัดจริงๆ เราไม่มีคณาจารย์รองรับ รวมทั้งสายอาชีพที่รองรับเขาเมื่อจบออกมาก็ตีบตัน  เด็กทุกคน ที่ถ้าไม่สามารถเป็นแพทย์ เป็นวิศวกร เป็นทหารตำรวจ ได้แล้ว จะเลือกเรียนสาขากลางๆ ที่ไม่ได้เลือกจากความถนัด แต่เลือกเพราะมีตลาดอาชีพรองรับ  เช่น บริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิเทศน์ และอักษร เป็นอาทิ  ถ้าหาที่ลงไม่ได้จริงๆ ก็กรูกันเข้าราชภัฎ เพื่อเรียนครูกันหมด

 ผมเคยพบปะพูดคุยกับคนไทยคนหนึ่ง จบการศึกษาที่อเมริกาและทำงานอยู่ที่องค์การนาซ่า  ถามว่า ทำไมไม่กลับมาทำงานเมืองไทย เขาบอกว่า เขาจบวิศวะทางด้านอวกาศ (Aerospace)  ถ้ากลับมาเมืองไทยก็คงเตะฝุ่นหรือได้งานที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียน  แต่อยู่ที่นั่น ถือว่า มีตำแหน่งรองรับที่มีเกียรติมาก

นี่เป็นการสูญเสียทรัพยากรทางด้านบุคคลที่มีคุณภาพเพราะระบบการศึกษาของเรา หรือว่า เพราะความเป็นประเทศที่ยังไม่มีการพัฒนากันแน่? 
แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นแม่บทของการพัฒนาประเทศออกมาแล้วเกือบสิบฉบับ ใช้เป็นแม่บทในการกำหนดทิศทางของประเทศไทย เขียนไว้กว้างมาก นำมาใช้ประโยชน์จริงไม่ได้เลย เปลี่ยนรัฐบาลทีหนึ่งก็ปรับเปลี่ยนนโยบายตามใจตัวเองหรือตามกระแสตลาด ไม่เคยยึดแผนแม่บทอยู่แล้ว

ยังมีอีกนะครับ  ตัวอย่าง..สาขาแปลกๆ ที่ประเทศไทยเรารองรับไม่ได้ เช่น สาขาดนตรี วิชาเอก..เพลงบลู  หรือ เอกเพลงในยุค 60 – 70 หรือแม้แต่ในบางวิชาที่เปิดสอน เช่น วิชาเอลวิส เพลสลี่ย์  ซึ่งจบออกมาก็เป็นผู้เชี่ยวชาญเพลงในยุคนั้นๆ โดยเฉพาะ 
ในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีสาขาวิชาเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นในระดับมหาวิทยาลัย จบออกมาเป็นการ์ตูนนิสต์อาชีพที่คนจบสาขาใกล้เคียงกันมาแย่งงานไม่ได้  ในขณะที่เมืองไทยเราไม่มีสาขานี้ ถ้าจะทำงานเขียนการ์ตูน ต้องคัดเอาเด็กที่จบช่างศิลป์ จบจิตรกรรมมาทำงาน  คุณภาพงานก็คงสู้ญี่ปุ่นไม่ได้แน่นอน

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ เด็กไทยที่ชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์เป็นชีวิตจิตใจ เล่นทั้งวันทั้งคืน แทนที่จะไล่พวกเขากลับเข้าห้องเรียน บังคับให้ผู้ให้บริการปิดร้านเร็วขึ้น มีใครคิดบ้างไหมว่า ถ้าเมืองไทยเปิดสาขาวิชาผลิตเกมคอมพิวเตอร์ในระดับปริญญาตรี  พวกเขาจะหันกลับเข้าห้องเรียน ตั้งใจเรียนกันแค่ไหนเพื่อสอบเข้าเรียนสาขานี้

แต่เมืองไทยเราไม่กล้าเปิด  ถ้าเปิดตลาดให้กว้างๆ มากๆ เราก็จะได้เด็กที่ถนัดในสาขาอาชีพต่างๆ ออกมามากขึ้น  นี่จึงจะเป็นการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาจริงๆ ไม่ใช่ปฏิรูปตัวเลขวุฒิการศึกษาอย่างที่เป็นอยู่

มีอยู่ช่วงหนึ่ง รัฐบาลต้องการให้มีแหล่งศึกษาที่รองรับเด็กที่สอบเอ็นทรานซ์ไม่ติดมากขึ้น  รัฐบาลก็ใช้นโยบายให้มหาวิทยาลัยของรัฐ รับนักศึกษาในสาขาต่างๆ จำนวนเพิ่มขึ้น  เช่น..ที่ขอนแก่น เดิมรับสถาปัตย์ 50 คน เพิ่มเป็น 250 คน  เป็นต้น 

นี่ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ผิดอีกเช่นกัน  เพราะคุณภาพของการเรียนการสอนมิได้เพิ่มตามจำนวนเด็กที่เพิ่มขึ้น ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนต่ำลง  และเมื่อเด็กในสาขาต่างๆ ที่รับเพิ่มขึ้นมากจบออกมา  ก็กลายเป็นตลาดแรงงานที่เกินความต้องการ  ต้องลดค่าตัวกันลงมา หรือไม่ก็ ต้องยอมรับตำแหน่งงานที่ไม่ตรงกับสาขาอาชีพ  นี่เป็นเพราะต้องการแก้ปัญหาสถานที่เรียนให้เด็กแท้ๆ  แต่แก้ต้นทางได้ ก็ไปสร้างปัญหาที่ปลายทางอีก

การแก้ปัญหาเด็กขาดแคลนที่เรียนที่ถูกต้องคือ ต้องเพิ่มสาขาทางเลือกให้กับเด็กที่จะเอ็นทรานซ์มากขึ้น เพื่อให้ตรงกับความถนัดของเขาและงานที่เขาอยากทำจริงๆ  ส่วน การพัฒนาตลาดแรงงานเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ในกระทรวงอื่นๆ ทุกกระทรวงที่จะต้องรับนโยบายจากกระทรวงศึกษาไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดตลาดแรงงานที่กว้างขึ้น

รัฐบาลยุคที่ผ่านมาบอกว่า ปฏิรูปการศึกษา ประกาศให้เรียนฟรี 12 ปี แต่คุณภาพของการศึกษาไทยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาก็ไม่ได้ดีขึ้น กลับเลวลงเสียด้วยซ้ำ โดยดูจากปัญหาสังคมที่เกิดกับเด็กในวัยศึกษาเล่าเรียนเพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งๆ ที่เพิ่มงบประมาณด้านการศึกษาขึ้นมาจนเป็นกระทรวงที่ใช้งบประมาณมากที่สุดแห่งหนึ่ง

ความเข้าใจผิด คิดว่า เรียนฟรีจะเพิ่มจำนวนคุณภาพของการศึกษาและพัฒนากระบวนการทางความคิดของเด็ก  ซึ่งผิดถนัด  ถ้าเอางบประมาณไปทุ่มในการสร้างครูที่มีคุณภาพ และให้เด็กทุกคนมีคุณภาพการศึกษาและกระบวนการทางความคิดแทน เรียนแค่ 8 ปี แต่จบออกมาสามารถทำงานในสาขาวิชาชีพที่ถนัดได้ทันที (แยกไปตามความถนัด) โดยไม่ต้องเสียเวลาอยู่ในห้องเรียนวิชาสามัญที่ตัวเองเรียนไม่รู้เรื่องอีก 4 ปี  นอกจากจะประหยัดงบประมาณได้จำนวนมหาศาลแล้ว ยังได้แรงงานที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงานด้วย

ตัวอย่างเช่น..

เด็กสาวประเภทสองคนหนึ่งที่ใฝ่ฝันว่า อนาคตอยากทำงานเป็นช่างเสริมสวยที่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับสาวประเภทสองรุ่นพี่ๆ  ถ้ามีความคิดเช่นนี้แต่เด็กแล้ว ความรู้พื้นฐานแค่ 8 ปี (ม.2 อายุ 15) แต่เป็น 8 ปีที่มีคุณภาพการศึกษาพื้นฐานจริงๆ ก็น่าจะพอเพียง ที่เหลือต้องให้เขาไปเรียนวิชาที่เขาใฝ่ฝันอยากเป็นอีกสักสามปี จนได้วุฒิบัตร  ออกมาฝึกงานเป็นช่างเสิรมสวยที่เก่งและชำนาญ หรือ จะเลือกเรียนต่อจนจบชั้นปริญญาในสาขานี้ ก็ให้เป็นทางเลือกที่เป็นคุณต่ออนาคตของเขาเอง  ผมก็ยังไม่รู้ว่า กท.ศึกษาธิการ เอาเขาไปดองในโรงเรียนอีก 4 ปีเพื่อให้จบมัธยมปลาย เพื่อให้เรียนวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  สังคม และภาษาอังกฤษทำไมกัน  ในเมื่อเรียนสูงแค่ไหน ได้เสื้อครุยกี่ตัว ก็มาทำอาชีพเสริมสวยอยู่ดี ถ้าเขาอยากจะเรียนเสริมต่อ ควรให้เป็นทางเลือกน่าจะเป็นคุณแก่เด็กมากกว่า
นี่เป็นตัวอย่างของการสูญเสียทรัพยากรทางการศึกษาไปแบบสิ้นเปลือง

อนึ่ง..การที่จับเยาวชนมาเรียนโดยไร้จุดหมายในช่วงชีวิตที่เขาเป็นวัยรุ่นอยู่นานหลายปีนี่แหละอันตรายมาก  เพราะระยะเวลา 5 – 6 ปีที่แสนน่าเบื่อสำหรับคนที่เรียนอย่างไม่มีคุณภาพ  เมื่อเรียนก็ยังไม่จบ ถึงจบม.6มา ก็ไม่ใช่วุฒิที่ตลาดต้องการ งานก็ไม่มีทำ  บ้านก็ยากจน  เช่นนี้ จะให้เขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กดดัน และยั่วยวนได้อย่างปลอดภัยโดยตลอดได้อย่างไร   ถ้าไม่ถูกชักจูงไปร่วมมหกรรมเสเพลทางเพศ  ก็จะต้องถูกชักชวนไปทดลองเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด  รถซิ่ง  จนติดงอมแงมแล้ว ในที่สุด หาเงินมาจุนเจือสิ่งเสพติดเหล่านี้ไม่ได้ ก็จะก่ออาชญากรรมขึ้นอย่างแน่นอน

การศึกษาที่ดีจริงๆ หรือการรักษาพยาบาลที่ดีจริงๆ ต้องมีต้นทุนทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งผู้ให้และผู้รับ  อะไรที่ได้มาฟรีๆ บางทีก็ไม่มีคุณภาพและมีคุณค่าให้รักษา  อย่าว่าแต่รัฐประกาศว่า ฟรีๆ ๆ เลย เมื่อก่อนนี้ แม้ประชาชนต้องจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่ง รัฐก็ยังไม่เคยทำให้การศึกษา หรือ การรักษาพยาบาลมีคุณภาพในระดับสากลได้เลย

ดังนั้น..
อย่าเกรงกลัวถ้าการเรียนหนังสือ และการขอรับการรักษาพยาบาลจะต้องเสียต้นทุน  เพราะต้นทุนที่เสียนี่แหละครับจะทำให้เด็กเห็นค่าของน้ำเงินที่พ่อแม่อาบเหงื่อต่างน้ำหามาให้ และการรักษาดูแลตัวเองไม่ให้เจ็บป่วย เงินที่ได้เป็นน้ำเลี้ยงที่นำไปพัฒนาการศึกษา และการรักษาพยาบาลได้ในระยะยาว

ที่พูดนี่ไม่ใช่ไม่เห็นใจคนจนนะ ต้องแยกแยะครับ  คนที่จนจริงๆ และไม่มีเงินส่งลูกเรียนหนังสือต้องทำเรื่องขอรับทุนการศึกษา  ส่วนคนยากจนที่ไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาลจริงๆ รัฐต้องจัดสวัสดิการให้ฟรี ซึ่งก็เคยมีให้อยู่แล้วในฐานะคนไข้อนาถา (ได้รับการรักษาพยาบาลเหมือนปกติ แต่รัฐเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย)

ในอดีตเมื่อสามสิบปีก่อน..

นายกรัฐมนตรี มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็มีแนวคิดแบบสังคมนิยมเช่นกัน คือ ใช้เงินผันไปสร้างงานในต่างจังหวัด (คล้ายกองทุนหมู่บ้านปัจจุบัน)  และจัดให้มีรถเมล์บริการฟรีให้กับเด็กนักเรียนในกรุงเทพมหานคร

แล้วก็จบเห่ไม่เป็นท่าในที่สุด เพราะเงินผันเอาไป 100 ใช้แค่ 10  ส่วนรถเมล์ก็ไม่มีคุณภาพ วิ่งมั่งไม่วิ่งมั่ง เด็กนักเรียนก็ถูกคนหน้าด้านแย่งขึ้นไปแทน เพราะรถเมล์ที่ให้บริการแบบเสียตังค์มันไม่มาตามนัด ที่มาก็แน่นเอี้ยด สู่ขึ้นรถเมล์ฟรีของเด็กดีกว่า เมื่อรัฐแก้ปัญหาไม่ได้  สุดท้ายต้องเลิก  ส่งผลให้นโยบายของฟรีอีกหลายอย่างของหม่อมคึกฤทธิ์ต้องสะดุดไปหมดด้วย


ในเมื่อคนในประเทศยังไม่มีการพัฒนาด้านคุณภาพการศึกษาและความคิดอ่านอย่างเป็นกระบวนการ  การถูกแทรกแซงความคิดอ่านโดยคนที่มีพัฒนาแล้วก็ทำได้ง่าย  โดยการแทรกแซงความคิดอ่านนั้นผ่าน สิ่งล่อใจที่เป็นผลประโยชน์ที่เขาแสวงหาอยู่ในชีวิต  เช่น.. รับปากจะให้เงิน  รับปากจะให้งาน  รับปากจะให้ตำแหน่ง  รับปากจะช่วยเหลือครอบครัว  แลกกับการลงคะแนนเสียง แลกกับการยอมเข้าร่วมประท้วงเพื่อสนับสนุน หรือ ทำลายใครคนใดคนหนึ่ง

เชื่อไหมว่า พวกเขายอมทำไป โดยบางครั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่า  สิ่งที่ทำคืออะไร?  

ตัวอย่างเช่น..

ม็อบจัดตั้งที่ออกมาสนับสนุนการแปรรูปการไฟฟ้าฯ ของฝ่ายรัฐบาล หรือ ม็อบที่ยกขบวนไปล้อมตึกเนชั่น (ม็อบถ่านไฟฉายเนชั่นแนล)   ถ้าแยกรายตัวออกมาสอบสวนถึงความรู้ความเข้าใจในการเคลื่อนไหว  เขาจะตอบแบบหาตรรกะไม่ได้  แต่เออ ๆ ออ ๆ เบลอ ๆ ไปเรื่อยๆ

ครั้นมีคนตั้งคำถาม หรือ หัวเราะ ก็จะมีคนของฝ่ายรัฐออกมาบอกว่า ดูถูกคนจน

เพราะการจะเข้าใจเรื่องแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น ต้องมีความรู้และความเข้าใจทั้งปัญหารากเหง้าของรัฐวิสาหกิจที่มีมาในอดีต ปัญหาด้านการพัฒนาทรัพยากรของประเทศ ปัญหาแหล่งเงินทุน  ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาการเมืองรวมทั้งผู้ได้รับผลประโยชน์และเสียประโยชน์จากการแปรรูป  เอาปัญหาทั้งหมดมาเชื่อมโยงกันให้ได้แล้วประเมินผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหลังการแปรรูปจากความคิดของตัวเอง  ถ้าทำเช่นนี้ได้  จึงจะสามารถออกมายืนประท้วง ไม่สนับสนุน หรือ สนับสนุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ 

มีลูกม็อบที่ขนมาจากรากหญ้ากี่คนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้?  ถ้าแยกถามและสอบสวนรายบุคคลถึงที่มาที่ไปของการเคลื่อนไหว  ก็จะรู้ได้ทันทีว่า  เรากำลังใช้ประชาธิปไตยกันไปในทางที่ผิด  เอาชนชั้นรากหญ้าทางฐานะ และปัญญามาหาผลประโยชน์ใส่ตัวเองกันอย่างน่าละอาย

ผมมีน้องชายเป็นหมออยู่จังหวัดหนึ่งในภาคอิสาน  ในรพ.ที่ทุรกันดาน ที่มีหมออยู่เพียงแค่คนเดียว  วันดีคืนดี ตื่นมาตอนเช้า พบว่า มีชาวบ้านมาชูป้ายประท้วง ให้ขับไล่น้องชายของผมออกไป  เพราะโกงกิน และมีผลประโยชน์จากค่ารักษา  ภรรยาของหมอซึ่งเป็นคนในพื้นที่และเป็นพยาบาลไปสืบทราบมาว่า ชาวบ้านเหล่านั้นได้รับค่าจ้างหัวละ 150 บาท (หลายปีก่อน)

แทนที่ผู้บริหารกท.สาธารณสุขจะเรียกมาสอบถาม และสอบสวนที่มาของม็อบ ก็ลงนามย้ายหมอออกนอกพื้นที่เลย  หลังจากนั้น  ก็ตั้งหมอคนใหม่ไปแทน  ซึ่งต่อมาก็ถึงบางอ้อ  เมื่อหมอคนนี้เป็นคนที่นักการเมืองในพื้นที่ส่งมา เพื่อสามารถคอนโทรลได้  และผลกรรมก็ปรากฏกับนักการเมืองผู้นั้น ซึ่งขณะนี้ ถูกตัดสินจำคุกไปแล้ว

นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างของอันตรายที่เกิดจากการนำประชาธิปไตยไปใช้ในทางที่ผิด


ถ้าปล่อยให้วิธีการเช่นนี้ดำเนินและพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ  เราจะมีม็อบรากหญ้าอาชีพเกิดขึ้นและมีอำนาจต่อรองกับนายหน้าท้องถิ่น กลายเป็นมาเฟียม็อบ ซึ่งจะทำให้ประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบการปกครองที่น่าขยะแขยงทีสุดในโลก ( เพราะระบอบอื่นๆ การซื้อสิทธิ์ ขายเสียงกระทำไม่ได้ หรือไม่จำเป็นต้องทำก็ได้)

ทุกประเทศในโลกที่สาม ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศไทยหรอกครับ  ประชาธิปไตยไม่อาจเดินหน้าได้อย่างมั่นคง และมีการปฏิวัติ รัฐประหารเกิดขึ้นอยู่เสมอ  เพราะคุณภาพของคนที่ด้อยการศึกษาและไม่พัฒนาตนเองนี่แหละครับ  ( คนด้อยการศึกษา ไม่ใช่ปมด้อยของสังคม แต่คนด้อยพัฒนาเป็นปมด้อยของสังคมแม้จะมีการศึกษา ) เป็นต้นเหตุให้นักการเมืองทุกยุคสมัยใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวเอง

คุณเคยแปลกใจหรือไม่ว่า ทำไม ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีตรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  กลับต้องลงไปสมัคร สส. ที่นครพนม  คงไม่ใช่เพราะท่านเกิดที่นั่น  มีคนรู้จักมากมายที่นั่น เคยทำประโยชน์ให้สังคมที่นั่นหรอก จริงไหมครับ

แม้แต่พลเอกชวลิตเองก็ต้องหนีไปลงสมัครที่จังหวัดในภาคอีสาน  หลังจากเคยเกือบสอบตกใน กทม.เมื่อมาเล่นการเมืองยุคแรก  และไม่ต้องสงสัยเลย เพราะเป็นคำตอบเดียวกันว่า  ในการเลือกตั้งทั่วไปสมัยหน้า  นายวัน(เฉลิม) อยู่บำรุง ก็ประกาศจะไปลงสมัครรับเลือกตั้งที่นครพนม หลังจากอกหักกับการลงสมัครในเขตฝั่งธนมาแล้วหลายครั้ง

ผมจึงไม่อาจเรียกว่า คนเหล่านี้เข้ามาสู่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้  แต่เข้ามาสู่การเมืองโดยใช้วิธีการ ธนกิจาธิปไตยเป็นทางผ่านต่างหาก


.../ยังมีต่อ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: อมพระมาพูด ที่ 18-10-2006, 14:22
 :slime_v:

รออ่านอยู่นะครับ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 18-10-2006, 14:42
ตามอ่านไปเรื่อยๆครับ กวาดได้หลายประเด็นแล้ว  


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 18-10-2006, 16:19
สวัสดีครับคุณบอนนี่...

บทความของคุณบอนนี่มีประเด็นที่หลากหลายมาก... ซ้อนไปซ้อนมารอบๆ ระบอบประชาธิปไตยที่เราเป็นอยู่ การเขียนออกมาได้โดยไม่หลุดประเด็นที่เป็นแก่นแกนหลัก นอกจากต้องมีฝีมือที่ดีแล้ว ต้องมีแนวความคิดที่ตกผลึกและการทุ่มเทความพยายามอย่างหนัก... เป็นเรื่องน่าทึ่งอย่างมากที่คุณบอนนี่สามารถเขียนกระทู้นี้ได้อย่างต่อเนื่อง

ที่น่าสนใจขึ้นไปอีกก็คือ... บทความสามตอนแรกนี้แค่อารัมภบท "ปัญหา" ของระบอบประชาธิปไตยที่เราเป็นอยู่ เริ่มจากราชาธิปไตยในเสื้อคลุมประชาธิปไตย แรงกดดันจากจักรวรรดินิยม และความไม่มั่นคงของประชาธิปไตยซึ่งผูกไว้กับความไม่มั่นคงในวิถีชีวิต อาชีพ เศรษฐกิจ คุณภาพการคิดและการศึกษา ฯลฯ ซึ่งล้วนมี "เหตุปัจจัย" เกี่ยวข้องอยู่เป็นจำนวนมาก... จนทำให้่นึกสงสัยว่า "การเมืองในระบอบประชาธิปไตย" ที่มีรูปธรรมเป็น "รัฐธรรมนูญ" สามารถแก้ไขปัญหาซับซ้อนพัวพันเหล่านั้นได้จริงหรือ?

นั่นคือการเขียนบทความนี้... รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่คุณบอนนี่อยากเห็น.. น่าจะมี "คำตอบ" รอไว้อยู่แล้ว... น่าสนใจอย่างยิ่งว่าคำตอบนั้นคืออะไร

เงื่อนปัญหาสำคัญที่ผมมองเห็นว่า "แก้ยากอย่างยิ่ง" เป็นประเด็นที่คุณบอนนี่ชี้ให้เห็นในบทความตอนที่สามนี่แหละครับ... ในเมื่อความมั่นคงของประชาธิปไตยผูกอยู่กับความมั่นคงในวิถีชีวิต คุณภาพการคิด การศึกษา และสาขาอาชีพของ "แต่ละบุคคล" ที่หลากหลายแล้ว ระบอบประชาธิปไตยที่ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่โดยเนื้อแท้แล้วย่อมเป็นระบอบที่ "เลือกทิศทางพัฒนากลุ่มประชาชน" ที่มีเสียงข้างมากหรือมีอิทธิพลต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มากกว่าที่จะให้โอกาสหรือช่องว่างให้กับความหลากหลายอย่างเท่าเทียม

นั่นเป็นสาเหตุหลักที่นโยบายรัฐฯ ไม่ว่าจะกี่แผนฯ ย่อมผลักดันให้มีอาชีพนักการตลาดมากกว่า่ช่างเสริมสวยอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมา

การเลือกทิศทางการพัฒนาทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า่ ฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่ายค้าน

เคยมีคนกล่าวกับผมนานมาแล้วว่าที่ต้องมีการเลือกก็เพราะเราไม่สามารถทำทุกอย่างได้พร้อมกัน... ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้เปิดโอกาสให้ความหลากหลายหรือการพัฒนาศักยภาพของทุกภาคส่วนเป็นไปอย่างมีโอกาสเท่าเทียมพร้อมๆ กัน... แต่มีการเลือกพัฒนาในช่วงเวลาได้เวลาหนึ่งตามจังหวะเวลาอยู่เสมอผ่านรูปธรรม "เลือกตั้ง" นี่แหละ

รัฐธรรมนูญจะกี่ฉบับก็ต้องมีล๊อกเนื้อหาสำคัญคือการ "เลือกตั้ง"... แล้วเราจะแก้ปัญหาระบอบประชาธิปไตยที่เลือกทิ้งกลุ่มประชาชนบางส่วนอยู่เสมอนี้ได้อย่างไร? ในเมื่อผู้ชนะการเลือกตั้งมักเลือกให้มีการบังคับสร้างนักการตลาดในระดับ mass มากกว่าต้องการช่างเสริมสวยที่เป็นความต้องการส่วนบุคคล...

สำหรับผม... ช่องทางเดียวที่จะผ่าปัญหานี้ไปได้ก็คือ "การเมืองภาคประชาชน" ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกขอบเขตกระบวนการเลือกตั้งครับ

จะรออ่านและร่วมนำเสนอความคิดในประเด็นเหล่านี้นะครับ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: มะตาด ที่ 18-10-2006, 17:04
เขียนได้ดี เห็นด้วยครับ ...


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 20-10-2006, 08:54
[กรอบที่ 4]


ต้นแบบของประชาธิปไตยที่มั่นคงและถาวร

ประเทศที่มีประชาธิปไตยที่มั่นคง ก็จะมีคนที่มีคุณภาพการศึกษาและพัฒนากระบวนการความคิดแล้วอยู่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศสหรัฐ หรือ สหภาพยุโรป  ประเทศในเอเชีย อย่าง ญี่ปุ่น  ก็เป็นแบบอย่างของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมได้  ที่ญี่ปุ่นเป็นเช่นนั้นได้  เพราะคุณภาพของคนอย่างเดียวเลย ไม่ใช่คุณภาพของระบอบการปกครอง  นั่นคือ จะเป็นระบอบไหนก็ได้ ขอให้มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ชาวญี่ปุ่นถูกปลูกฝังให้มีเอกภาพทางความคิดไปในแนวทางที่สอดคล้องกันเพื่อประเทศชาติ

สำหรับประเทศอื่นๆ ต้องพึ่งพาการศึกษา และ การพัฒนากระบวนการความคิดของประชาชนให้เท่าเทียมกันทั่วประเทศให้มากที่สุด จึงเป็น หัวใจที่นำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคง

ประเทศที่มีประชาธิปไตยที่มั่นคงและถาวรแล้ว จะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นระบอบอื่น..ไม่ได้ เพราะระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและถาวร ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีอำนาจสูงสุด ระบอบอะไรก็โค่นพลังอำนาจของประชาชนไม่ได้

ถ้าได้ ก็คงไม่เรียกว่า ถาวร

ให้สังเกตประเทศเหล่านั้นให้ดีๆ นะครับว่า ทำไมจึงไม่สามารถเปลี่ยนไปสู่ระบอบอื่นๆ ได้  ผมขอให้ทัศนะไว้ดังนี้

1/ ประธานาธิบดี หรือ นายกรัฐมนตรี ของประเทศเหล่านั้น ไม่มีสิทธิ์ผูกขาดอำนาจการปกครอง ไม่ว่าจะดีหรือเก่งแค่ไหนก็ตาม จะต้องมีวันสิ้นสุดการครองอำนาจไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญ  แม้ยังไม่ครบวาระ การปลดออกจากตำแหน่งก็กระทำได้ไม่ยากหากพบความผิดในการบริหารงานอย่างชัดเจน  ไม่ต้องทนรอแบบทู่ซี้ให้ถึงวันเลือกตั้งใหม่เร็วๆ

2/ ไม่มีสิทธิในการใช้อำนาจตามอำเภอใจ  ผู้นำของประเทศเหล่านั้นเป็นเพียงบุรุษไปรณีย์ในรัฐสภา  เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย กับร่างกฎหมายต่างๆ ได้  แต่ไม่มีสิทธิ์บังคับสภาให้เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วยกับเขา

3/ ระบบการตรวจสอบการบริหารงานที่เข้มข้นและแข็งแรง  ไม่ใช่แค่ตัวผู้นำ แต่รวมถึงคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ถูกตรวจสอบตลอดเวลาโดย องค์กรตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญที่ให้อิสระและใครก็แทรกแซงไม่ได้.. โดยฝ่ายค้านในสภา โดยสื่อมวลชน และโดยประชาชนที่ไม่ใช่นักการเมือง

เหตุที่ฝ่ายการเมืองเข้าแทรกแซงไม่ได้(โดยง่าย) เพราะแต่ละองคพายพที่กล่าวมา มีความมั่นคง และมั่งคั่ง ในระดับสถาบันชั้นนำไปแล้ว  ในแต่ละสถาบัน ถ้าเจาะลึกลงไป  ตำแหน่งประธาน เลขาธิการ ก็ไม่มีอำนาจและสิทธิ์ขาดในการออกเสียง แต่เป็นแค่บุรุษไปรษณีย์ให้สมาชิกเช่นกัน  ดังนั้น  ถ้าจะแทรกแซงก็ต้องซื้อทั้งสถาบัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะมีจำนวนสมาชิกมากมายเกินไป และล้วนแต่มีคุณภาพทั้งสิ้น (เรียกค่าตัวแพง ว่างั้นเถอะ)

4/ สื่อมวลชนมีอิสระในการทำหน้าที่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ  รัฐบาลไม่มีอำนาจในการปิดปากสื่อมวลชน  ถ้าสื่อทำผิด ก็ใช้วิธีการฟ้องร้องกันในศาล  ซึ่งคำพิพากษาที่ออกมาจะเป็นเครื่องชี้เป็นชี้ตาย ความอยู่รอดของสื่อนั้นๆ และ นักการเมืองคู่กรณี  จะเห็นได้ว่า หลังคำพิพากษาออกมาแล้ว ไม่ผู้บริหารสื่อลาออกทั้งชุด ก็เป็นนักการเมืองลาออก  ไม่มีชนิด ลงโฆษณาขอขมากรอบเล็กๆ ใน นสพ. 5 ฉบับ เป็นเวลา 7 วันเหมือนบางประเทศ

5/ ประชาชนมีการศึกษาดีในระดับใกล้เคียงกันทั้งประเทศ  นอกจากวัดที่ระดับการศึกษาแล้ว  ระดับรายได้ก็ใกล้เคียงกันทั้งประเทศ (โดยเฉลี่ย) ด้วย  ข้อนี้สำคัญที่สุด เพราะ ประชาชนเป็นองคพายพที่ใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในประเทศแล้ว

ปัจจัยห้าประการนี้ จะเป็นเหมือนเสาหินค้ำจุนรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยให้ยั่งยืนถาวรตลอดไปได้

ลองหันมามองประเทศไทยสิครับ  แล้วประเมินตัวเองว่า เรามีครบทั้งห้าประการไหม  แล้วก็อาจจะได้คำตอบว่า ทำไมของเราจึงไม่มั่นคง


มีระบอบอื่นที่ดีกว่าประชาธิปไตยไหม?

ตอบง่ายๆ ว่า ถ้าประชาชนในประเทศยังมีคุณภาพไม่พร้อมจะเป็นประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยในความหมายทางรัฐศาสตร์..ไม่ใช่ระบอบที่ดีที่สุดสำหรับประเทศนั้น

ตรงกันข้าม  เป็นระบอบ (โดยอาศัยช่องโหว่ในรัฐธรรมนูญและช่องว่างระหว่างชนชั้น) ที่เปิดโอกาสให้สั่งสมคนเลวไว้ในระบบการบริหารมากที่สุด..โดยง่าย

ในขณะที่ระบอบการปกครองอื่นๆ เช่น คอมมิวนิสต์ หรือ สังคมนิยมทุกประเภท มุ่งลดความแตกต่างระหว่างชนชั้นทั้งสิ้น  แต่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่า ทำได้ แต่ไม่ได้ดีที่สุด

แต่สิ่งหนึ่งที่ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ และสังคมนิยมทำได้ดีกว่าระบอบประชาธิปไตยก็คือ การควบคุมคนเลวไม่ให้มีบทบาทในการบริหารประเทศ แต่จุดอ่อนที่ยังแก้ไม่ได้ของระบอบคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม ก็คือ การสืบทอดอำนาจของกลุ่มผูกขาดอำนาจในมือ  คาร์ล มาร์ค / เหมา เจ๋อ ตุง / เลนิน ต่างก็เน้นความเป็นไปได้ในการนำทฤษฎีและแนวคิดมาปฏิบัติได้จริง จึงมองข้ามจุดอ่อนที่สำคัญไป นั่นคือ โอกาสการมีส่วนร่วมในการปกครองของประชาชนส่วนใหญ่

ตัวอย่างเช่น..

ในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา ที่ชาวไทยเชื่อว่า เราปกครองด้วยประบอบประชาธิปไตยที่เชิดหน้าชูตาว่า เป็นระบอบที่ดีที่สุดบนโลกนี้  แต่เรามีสมาชิกสภาที่โดดร่มการประชุมมากที่สุด (ในโลก) เก่งกว่าเด็กเกเรในชั้นเรียนปกติเสียอีก ในห้องประชุมสภาส่วนใหญ่แล้วมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่เกินครึ่งของจำนวนทั้งหมด  ถ้าเป็นห้องเรียนทั่วไป ครูคงเปิดตูดหนีไปแล้ว

เรามีคณะรัฐมนตรีที่รวบรวมเอาบุคคลที่ไม่ได้เกิดมาเพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติมาก่อนเลยมากที่สุด (ในโลก) ไร้คุณธรรมและจริยธรรมมากที่สุด

ถึงขนาดเคยมีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ในจำนวนสมาชิกสภาที่ประชาชนเลือกเข้าไปทำหน้าที่นั้น มีคนดี มีคุณภาพจริงๆ อยู่แค่ 10%  นอกนั้นเป็นอะไร.. ก็เป็นกระสือในระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง

อย่าว่าแต่เอาคุณภาพคณะรัฐมนตรีแต่ละชุดไปบริหารประเทศเลย  เอาไปบริหารกิจการเล็กๆ ไม่ว่ากิจการไหน ก็จะต้องเจ๊งในเร็ววัน  เพราะความคิดและจิตใจของบุคคลเหล่านั้นเหมาะที่จะ..อยู่เฉยๆ (แล้วเป็นประโยชน์ต่อประเทศ) มากกว่า 
จนเกิดแนวความคิดว่า..คนเหล่านี้ไม่มีปัญญาจะไปทำมาหากินอะไรที่ดีกว่านี้ได้แล้วในชีวิตนี้ จึงมาเป็นนักการเมือง(ไทย)


คณะรัฐมนตรีที่นำโดยพลเอกสุรยุทธ์ ที่ปรากฏต่อสายตาของทุกท่านไปแล้ว  แม้ว่าจะแก่ จะเก่า  แต่คุณภาพของความดี ของความมีคุณธรรม มีจริยธรรม มาก่อนสิ่งอื่น (ไม่ทุกคนนะครับ เพราะท่านก็บอกเองว่า ดีแบบไม่มีที่ตินั้น เป็นไปไม่ได้) ซึ่งหาไม่ได้อีกแล้วในระบอบประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองเป็นผู้คัดเลือก

ทำไมคนเหล่านี้จึงไม่เป็นที่ต้องการของพรรคการเมือง?  ทำไมคนเหล่านี้จึงไม่เล่นการเมืองเพื่อใช้โอกาสในบั้นปลายของชีวิตตอบแทนสังคม?

คำตอบที่เหมาะสมที่สุด คือ พรรคการเมืองในประเทศไทย ไม่ได้ต้องการคนดี มีคุณธรรม เป็นคุณสมบัติข้อแรก และคนดี มีคุณธรรม ก็ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองน้ำเน่า (คนดียอมไม่อาจสมาสกับคนเลว  คำว่า.. ดี + เลว ไม่อาจเป็น เดว ได้ ถ้าได้ คงมีคำว่า เดว ในพจนานุกรม , คนดีย่อมไม่นั่งร่วมโต๊ะประชุมดูคนเลวบริโภคโดยไม่ละอายใจ แต่คนเลวยินดีร่วมโต๊ะประชุมกับคนทุกประเภทที่ไม่ขัดขวางการบริโภค)

ชัดไหมครับ

ถ้าไม่ชัด ผมจะขออนุญาตยกตัวอย่าง..

ถ้าเปรียบเทียบมาตรฐานคนดี มีคุณธรรม ระหว่าง นพ.เกษม วัฒนชัย กับ นายจตุพร พรหมพันธุ์  คุณคิดว่าใครมีดีกว่ากัน?? มีดีกว่าในที่นี้ คือ ทำงานเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาตินะครับ

คำถามต่อมา..
ถ้าให้เลือกว่า นพ.เกษม วัฒนชัย กับ นายจตุพร พรหมพันธุ์  ใครมีประโยชน์ต่อพรรคมากกว่ากัน?? (อ่านดีๆ นะครับ..ประโยชน์ต่อพรรคนะครับ ไม่ใช่ประโยชน์ต่อบ้านเมือง)

คำตอบเป็นอย่างไร ผมจะไม่เฉลยนะครับ  ให้ทุกท่านเก็บคำตอบไว้ในใจ  หากใครจะอกแตกตายให้ได้ก็ให้ส่งคำตอบไปที่ทำการพรรคไทยรักไทยก็แล้วกัน


เคยมีคำถามยอดฮิตของกองเชียร์ทักษิณที่ว่า.. “ไม่เอาทักษิณแล้วจะเอาใคร”  เพราะตัวเลือกในระบบพรรคการเมืองมันไม่มีให้เปรียบเทียบมากนัก

คำถามที่ว่า ตอนนี้ตอบได้ง่ายกว่าคำถามว่า “จะเอาทักษิณไปไว้ตรงไหน”  เพราะเขายังมีอายุการใช้งานอีกกว่า 10 ปี และมีเงินในกระเป๋าหลายหมื่นล้านบาท

ตอนที่มีคำถามยอดฮิตอันเก่า  ผมก็เคยเสนอชื่อคนดีหลายคนไป บอกว่า เหมาะสม   แต่ก็จนด้วยเกล้า เพราะคนเหล่านั้น เขาไม่มาสู่ระบบการเมือง   แต่ไม่ใช่ไม่มีคนที่ดีกว่า เก่งกว่า นายทักษิณหรอก แต่ระบอบทักษิณได้ทำการบล็อค (block) การเข้าสู่การเมืองของคนดี มีคุณธรรม เอาไว้

คนที่ดีกว่า เก่งกว่านายทักษิณและคณะ  มีอยู่ทั่วไปในสังคมไทย แต่โอกาสที่ระบอบประชาธิปไตยจะเปิดโอกาสให้เขาเข้ามาแสดงบทบาทนั้นมีน้อย และไม่คุ้มค่าที่จะเอาตัว เอาเกียรติคุณเข้าแลก  เป็นน้ำดีหยดเล็กๆ ในน้ำคลำทั้งขวด เหมือนคุณไปซื้อน้ำโพลารีสมาหนึ่งขวด  คุณเอาน้ำเน่าเหยาะลงไปแค่หยดเดียว คุณก็ทานน้ำนั้นไม่ได้แล้ว
สู้เอาเวลาที่เหลือไม่มากนักในชีวิต ไปรับใช้สังคมในตำแหน่งประธานขององค์กรช่วยเหลือสังคมรูปแบบต่างๆ หรือ สนองพระเดชพระคุณสถาบันพระมหากษัตริย์ตามแต่พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดีกว่า และน่าภาคภูมิใจกว่าเยอะ

ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ มิใช่ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ใช่คนดีพอในระบบการเมืองนะครับ  อาจจะดี แต่คนขยาดบรรดาผู้แวดล้อมคุณอภิสิทธิ์ที่มีอิทธิพลเหนือการควบคุมของคุณอภิสิทธิ์มากกว่า  เพราะระบบพรรคการเมือง ทำให้ไม่สามารถหยิบฉวยเอาคนดี มีคุณภาพมาใช้งานในทุกตำแหน่งได้ดังใจต้องการ  ต้องใช้วิธี คละเคล้า   ไอ้ระบบคละเคล้า นี่แหละครับ มันทำให้คละคลุ้ง จนเหม็นโฉ่ว

แต่คนดีๆ ที่คุณสุรยุทธ์คัดสรรเข้ามา บางคนเข้ามาเพราะความจำเป็น หากช่วยชาติในระยะเวลาอันสั้นๆ ก็พอไหว ถ้ายืนระยะเกินหนึ่งปี บางคนอาจหน้ามืดก็ได้  เพราะการเมืองที่ไม่ยึดโยงผลประโยชน์..ไม่มีในโลกนี้ น่ะสิครับ

ในทางพุทธศาสนาบอกว่า “ถ้าไม่เข้าไปในสถานที่อโคจร ก็จะรักษาศีลที่บริสุทธิ์ไว้ได้”   แต่ถ้าเข้าไปแล้ว โอกาสจะผิดศีลมันมีมากกว่า รักษาศีลนะครับ  เหมือน..ให้พระเข้าไปจำศีลในสถานอาบ อบ นวด  เข้าไปในผับ บาร์ ทุกวัน ทุกคืน  โอกาสจะไม่ชายตามองหญิงสาว  ไม่แตะเหล้าสุรา นั้นแทบเป็นไปไม่ได้

สรุปแล้ว..

ระบอบประชาธิปไตยของไทยที่ยั่งยืนถาวร (อดีต-ปัจจุบันยังไม่เคยมี) ต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้..

1)) การคงอยู่และดำรงสภาพอันเป็นที่เคารพสักการะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ภูมิพลอดุลยเดช)
2)) ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องเป็นคนที่มีคุณภาพทางการศึกษาใกล้เคียงกัน หรือไม่ก็ต้องมีความคิดความอ่านเป็นกระบวนการที่พัฒนาแล้ว
3)) รัฐธรรมนูญต้องเป็นกรอบของกฎหมายที่สร้างสิ่งต่อไปนี้ให้เกิดขึ้น..

๐ พัฒนาการทางสังคม..ได้แก่ทำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในระดับพอเดียงเท่าเทียมกัน และใช้สิทธิ เสรีภาพนั้นเพื่อประโยชน์สุขของตัวเองและสังคมส่วนรวม  อีกทั้งสามารถใช้สิทธิในการพัฒนาการปกครอง และพัฒนาการเมือง ได้ด้วยโดยผ่านองค์กรกลางภาคประชาชนที่ถูกจัดตั้งขึ้น

๐ พัฒนาการปกครอง..
ข้าราชการทุกคนมีจิตสำนึกในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมือง  จัดให้มีองค์กรอิสระที่เป็นศูนย์กลางของข้าราชการพลเรือน ตำรวจและทหาร สามารถยับยั้งการใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมืองที่ไม่ชอบธรรมได้

๐ พัฒนาการเมือง..
ระบบการเมืองต้องแข่งขันกันระดมคนดี มีความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาทำงานทางการเมือง โดยแรงจูงใจของความสำเร็จอยู่ที่ชื่อเสียง เกียรติยศที่ประชาชนทั้งประเทศมอบให้ผ่านองค์กรกลางภาคประชาชน  ไม่ใช่แรงจูงใจด้านอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ และความมั่งคั่ง



..../ยังมีต่อ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 20-10-2006, 09:00

อ่านแล้วค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ

--/ รอตอนต่อไป


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 24-10-2006, 08:52
[กรอบที่ 5]

[2] จุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

เมื่อได้ทราบจุดอ่อนและจุดแข็งของประชาธิปไตยในประเทศไทยมาพอสังเขปแล้ว ต่อไปนี้เป็นการหาจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา เพื่อเสนอให้มีการแก้ไขและอุดช่องโหว่ของกฎหมายในประเด็นที่ [3] ต่อไป

ในที่นี้จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิเสรีภาพ และ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย (หมวด 3-4) รัฐสภา (หมวด 6)   พรรคการเมือง (พรบ.ประกอบปี 2541)   การใช้อำนาจบริหารราชการ และการได้มาซึ่งอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน  การตรวจสอบและองค์กรที่ตรวจสอบ (ตั้งแต่หมวด 7 เป็นต้นไป)

ประการแรก..สมาชิกวุฒิสภาจำนวน  200 คนต้องมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ม.121)

เจตนารมณ์..ผู้ร่างฯ คิดว่า นี่จะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น  ได้คนที่เป็นตัวแทนจากคนทั้งประเทศมากขึ้น มีอิสระไม่ขึ้นอยู่กับฝ่ายการเมือง และมีวุฒิการศึกษาและวุฒิภาวะสูง เข้ามาเป็นสภาพี่เลี้ยงให้กับสภาผู้แทนราษฎร  แต่แล้วก็หนีไม่พ้นนักเลือกตั้ง และพรรคการเมืองเข้ามาแทรกแซง  ทั้งๆ ที่กม.ระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องเป็นอิสระจากการเมือง  สุดท้ายกลายเป็นสมาชิกสภาทาสเสียส่วนใหญ่  การเลือกตั้งสว. จึงเหมือนการเลือกตั้ง สส. และได้คนประเภทเดียวกัน โดยเฉพาะในเขตรอบนอกกรุงเทพมหานคร


ยิ่งสมาชิกวุฒิสภามีอำนาจตามรัฐธรรมนูญมากเท่าใด  การแทรกแซงก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ก็เหมือนกับเหตุผลที่กล่าวมาแล้วในเรื่องของคุณภาพคนในประเทศ และบางคนนำประชาธิปไตยไปใช้ในทางที่ผิด ปล่อยให้ธนกิจการเมือง  (การเมืองที่ใช้ผลประโยชน์ไปซื้อเสียง) เข้าแทรกแซงการเลือกตั้งได้

เมื่อผิดเจตนารมณ์ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกนี้ ก็ส่งผลถึงการใช้อำนาจของสว.ที่สำคัญๆ ต้องกระทำผิดตามไปเป็นหางว่าวด้วย เช่น  การลงมติคัดเลือกผู้ที่จะเป็น กกต.ที่มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งทุกระดับ  การลงมติคัดเลือกกรรมการในองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร และการลงมติรับรองร่างกฎหมายที่ผ่านมาจากสภาล่างซึ่งเป็นกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมือง เป็นต้น

ประการที่สอง..จำนวนสมาชิกสภาส่วนหนึ่งมาจากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง (ปาร์ตี้ลีสต์ ตาม ม.99)

เจตนารมณ์..ผู้ร่างฯ ประสงค์จะให้แยกสมาชิกฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติออกจากกัน  และเพื่อให้ประชาชนได้เห็นหน้าตาของผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองก่อนตัดสินใจเลือก แต่ช่องโหว่ใหญ่ๆ ที่พบคือ นายกรัฐมนตรีสามารถเลือกคนนอกปาร์ตี้ลิสต์มาเป็นรัฐมนตรีได้อยู่ดี  และปาร์ตี้ลิสต์ก็กลายเป็นแค่บัญชีรายชื่อของผู้มีอุปการคุณของพรรคการเมืองไป  คนในปาร์ตี้ลิสต์ในลำดับกลางๆ ไปจนถึงท้ายๆ เห็นได้ชัดเจนว่า ไม่มีคุณสมบัติที่ดีพอจะเป็นรัฐมนตรีเสียด้วยซ้ำ  ก็งงๆ อยู่เหมือนกันว่า เลือกทำไมตั้ง 100 คน ทั้งๆ ที่ครม.ทั้งคณะมีได้ไม่เกิน 36 คน  เผื่อเหลือเผื่อขาด ก็ยังมีบุคคลภายนอกเข้ามาเติมได้ จำนวนที่ใช้งานจริงๆ ไม่น่ามากกว่า 50 คน
และในความเป็นจริง บทบัญญัติก็ระบุไว้ว่า “พรรคการเมืองละหนึ่งบัญชีไม่เกินบัญชีละหนึ่งร้อยคน” แต่ทุกพรรคต่างก็เสนอหนึ่งร้อยคนกันหมด บางพรรคที่มีคนที่มีคุณภาพพอจะเป็นรมต.ได้แค่ 10 คน ก็ต้องไปเกณฑ์ตาสี ตาสา ยายมี ยายมา มาลงชื่อสมัครให้ครบ 100 คน ซึ่งเปล่าประโยชน์

นอกจากนี้ ระบบปาร์ตี้ลิสต์ยังเป็นภาพลวงตาของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย  เพราะเป็นเกจ์วัดระดับความนิยมของพรรคการเมืองมากกว่าวัดระดับคุณภาพของสส.บัญชีรายชื่อ  เป็นการมัดมือชก ให้ประชาชนต้องจำยอมเลือกสส.ที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาแบบซื้อเหล้าต้องซื้อโซดา  ชอบแค่ไม่กี่คนบังคับให้เลือกทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น..

ชาวบ้านไปกาเบอร์เดียวเลือกปาร์ตี้ลิสต์  เขาต้องการเลือกทักษิณและพรรคไทยรักไทย  เขาไม่สนและไม่อยากรู้ด้วยซ้ำว่า รายชื่อต่อจากคุณทักษิณเป็นใคร  พูดง่ายๆ ว่า เอาทักษิณไว้ชื่อแรก ชื่อต่อมาจนถึงลำดับที่ 100 เอาเสาไฟฟ้ามาลง  ชาวบ้านก็เลือกอยู่ดี เพราะระบบการเลือกตั้งไม่ได้ให้ประชาชนเป็นผู้คัดสรรคน แต่ให้พรรคการเมืองเป็นผู้คัดสรร  จึงไม่น่าจะเรียกว่า เป็นสมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงตามความหมายของประชาธิปไตย

ประการที่สาม..การที่นายกเป็นผู้คัดเลือกคณะรัฐมนตรีด้วยตัวเอง

โดยความเป็นจริงแล้ว อำนาจในการนำเสนอชื่อนายก เพื่อให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย ผู้ที่ลงนามสนองพระราชโองการเป็นประธานรัฐสภา  แต่ในประวัติศาสตร์มีประธานรัฐสภาคนเดียวที่กล้าเปลี่ยนโผผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์  นอกนั้นส่วนใหญ่เออออตามการซาวเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนทุกคน  นี่จึงเป็นประเด็นสำคัญว่า ทำไมประธานรัฐสภาต้องมาจากพรรคการเมืองที่นายกสังกัดเท่านั้น

หลายฝ่ายเคยมองว่า เป็นข้อดีที่นายกสามารถเลือกทีมงานที่ตัวเองเชื่อฝีมือและไว้ใจได้ จะทำให้การบริหารราบรื่น  แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า นายกสามารถใช้อำนาจนี้ ตอบแทนบุญคุณคนมากกว่าจะคัดสรรยอดฝีมือที่ดี และมีคุณภาพมาใช้งานจริงๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นรัฐบาลผสม  นายกทุกคนจะบอกว่า เป็นมารยาทที่พรรคร่วมจะส่งใครมาก็ได้โดยนายกไม่ขัดข้อง  แต่เวลาทำงานจริงๆ นายกต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าชั่ว-ดี ทุกอย่างที่ครม.กระทำลงไป  ไม่จำเป็นว่า สิ่งที่กระทำนั้นมาจากคนของพรรคการเมืองไหน

การที่นายกมีอำนาจคัดเลือกคณะผู้บริหาร ทำให้เกิดระบบหมุนเวียนกันเข้ามากอบโกยแบบ ฟาสต์ฟูด คือ ต้องรีบกินรีบไปเพราะมีคนเรอคิวอยู่  ทำให้ในรอบ 5 ปีที่บริหารประเทศ นายกทักษิณเป็นนายกที่ใช้รัฐมนตรีเปลืองที่สุด เฉลี่ยไม่ถึงหกเดือน/ครั้ง  และเหตุผลในการปรับเปลี่ยน ก็มิใช่เพื่อให้ครม.หน้าตาดูดีขึ้น มีคุณภาพขึ้น แต่เปลี่ยนเพื่อรักษาดุลยภาพของอำนาจในพรรค และเพื่อสมนาคุณผู้มีอุปการคุณ

ประการที่สี่..การกำหนดสัดส่วนจำนวนสมาชิกที่ยื่นขออภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ และครม. ไม่เหมาะสม (ม.185)

มาตรา 185 บัญญัติว่า..”สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี....”

ที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจการบริหารงานของนายกรัฐมนตรี ต้องใช้วิธีตีกระทบชิ่งไปอภิปรายรมต.ว่าการแทน  แล้วเวลาลงมติ ก็ใช้วิธีพวกมากลากไปเหมือนเดิม  ประชาชนไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น  เพราะ ผู้ถูกกล่าวหาก็ถือว่า ไม่ผิด  แถมยังลอยหน้าลอยตาอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้

อย่างที่ผมบอกเอาไว้แต่ต้นว่า  ไม่ว่ารมต.คนไหนทำผิดพลาด นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งต้องร่วมรับผิดชอบด้วยทั้งสิ้น  ถ้าเช่นนั้น ทำไมจึงต้องจำกัดการอภิปรายฝ่ายบริหารออกเป็น อภิปรายรมต.  กับ อภิปรายรัฐบาลทั้งคณะ มิทราบ  ในเมื่อพบความผิดอันใดอันหนึ่ง  และพิสูจน์ให้สาธารณชนเห็นได้ด้วยหลักฐาน มันก็ต้องไปทั้งคณะอยู่ดี

ข้อบกพร่องในเรื่องจำนวนนี้ ยังทำให้รัฐบาลที่มีเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดพยายามทุกวิถีทางไม่ให้ตนเองมีความเสี่ยงในการถูกฝ่ายค้านตรวจสอบ  ความพยายามนี้ ยังรวมไปถึง การควบรวมพรรคการเมืองเล็กๆ มาไว้ด้วยกัน โดยเสนอตำแหน่งทางการเมืองเป็นการแลกเปลี่ยน ทั้งๆ ที่แนวความคิดทางการเมืองและอุดมการณ์แตกต่างกันสุดขั้ว และไม่อาจกลืนรวมกันได้ (ดังจะเห็นได้จากเมื่อพรรคหลักอย่างไทยรักไทยประสบวิกฤติ สมาชิกหลายวัง ต่างก็กระโดดหนีกันเป็นกลุ่มๆ เหมือนตอนที่รวมกลุ่มกันเข้ามานั่นแหละ) เมื่อได้เสียงข้างมากอันเป็นเอกฉันท์ที่ฝ่ายค้านจะทำอะไรไม่ได้แล้ว ก็สามารถบริหารราชการอย่างลำพองใจ ไม่ต้องกลัวการตรวจสอบด้วยเสียงในสภาอีกต่อไป เกิดการกินบ้านกินเมืองเพื่อเรียกคืนเงินลงทุนอย่างขนานใหญ่ดังที่ผ่านมา
(เวลากิน เหล่าสัมภเวสีสามารถกินร่วมกันได้ แต่เวลาตาย เอ็งตายไปคนเดียวเถอะ)


ประการที่ห้า..การให้อำนาจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีสามารถให้คุณ ให้โทษ ข้าราชการประจำ

นายก เลือก รัฐมนตรีตามใจชอบได้
รัฐมนตรี ก็เลือก ข้าราชการตามใจชอบได้เช่นกัน


วัฏจักรที่น่ารังเกียจนี้ทำให้ข้าราชการส่วนหนึ่งไม่ได้สร้างคุณงามความดีเพื่อเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง แต่ใช้วิธี ยอมสยบ ยอมสวามิภักดิ์ ยอมพลีกายถวายชีวิตให้นักการเมืองเพื่อให้ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง

ข้อหาที่ว่า ไม่สนองนโยบาย”  เป็นข้อหาที่นักการเมืองตั้งขึ้นและพิพากษาเองโดยมิได้ผ่านระบบการกลั่นกรองที่มีคุณธรรมเข้ามาร่วมด้วย  ทำไมข้าราชการต้องสนองนโยบายนักการเมืองด้วย ถ้าเห็นว่า นโยบายนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ? และบางครั้ง การโยกย้ายก็มิใช่ว่า ไม่ได้สนองนโยบาย แต่นักการเมืองเพียงต้องการคนที่ใกล้ชิดและสั่งการได้มาทำงานรับใช้เท่านั้น

หนทางเดียวที่ข้าราชการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจะยกขึ้นต่อสู้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับเก่า คือ ฟ้องศาลปกครอง (ไม่ใช่ฟ้องเจ้านาย หรือ ฟ้องนายก เพราะเขาไม่ฟังอยู่แล้ว จนต้องไปฟ้องป๋าเปรมนั่นไง) ซึ่งกว่าจะสอบสวน กว่าจะตัดสิน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนนั้นก็เกษียณอายุไปเสียก่อน แถมระหว่างการสอบสวนก็ยังถูกรัฐมนตรีที่สั่งการคอยแทรกแซงข้อมูลโดยตลอด ยิ่งหือ ยิ่งเจ็บหนัก เพราะอาจโดนต่อสายตรงถึงเพื่อนรมต.คนอื่น หรือองค์กรตรวจสอบการทุจริตให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาช่วยกันกลั่นแกล้งอีก

จึงยากที่ข้าราชการผู้นั้นจะกู้ศักดิ์ศรีคืนมาได้ เว้นแต่ มีการเปลี่ยนซีกอำนาจทางการเมือง และเกิดขบวนการเช็คบิล

ประการที่หก..การให้อำนาจนายก และครม. ออกพระราชกำหนด

มาตรา 218 บัญญัติว่า..ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัย ของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของ ประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตรา พระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
การตราพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อ คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจ จะหลีกเลี่ยงได้

มาตรา 222 บัญญัติว่า.. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการ ประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการตาม กฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะแห่ง เป็นการรีบด่วนเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่า ด้วยกฎอัยการศึก

ที่ผมยกขึ้นมาทั้งสองมาตราก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า ทำไมนายทักษิณ โดยการให้คำแนะนำของเนติบริกรจึงใช้วิธีการออกเป็นพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน   ทั้งๆ ในสถานการณ์ที่เกิดที่ภาคใต้ สามารถใช้กฎอัยการศึกก็ได้  และก็เกิดขึ้นและดำเนินต่อมาเนิ่นนานเกินเลยจากคำว่า “ฉุกเฉิน” ไปมากแล้ว  อีกทั้งในรอบหลายๆ เดือนหลังประกาศใช้พรก.ฉบับนี้ สถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ก็มิได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแต่อย่างใดเทียบกับก่อนการใช้ประกาศ แต่นายกและคณะก็ใช้วิธีต่อลมหายใจให้พรก.ออกไปเรื่อยๆ

ความแตกต่างอยู่ที่ ม.222 พระมหากษัตริย์ทรงประกาศใช้และยกเลิกได้  แต่ม.218 ที่นายทักษิณและครม.ร่วมกันออกนี้  ได้ลิดรอนพระราชอำนาจในส่วนนี้ลง 

การออกพรก.ฉบับนี้ วัตถุประสงค์เพื่อปกป้องอำนาจตัวเองจากการทำการัฐประหารหรือไม่ คำตอบวันที่ 19 กันยาที่ผ่านมาก็ชัดเจนแล้ว  เมื่อ นายทักษิณประกาศใช้พรก.นี้จากต่างประเทศเพื่อต่อสู้กับการเคลื่อนไหวของ คปค.  ชี้ให้เห็นว่า เจตนารมณ์ของการใช้พรก.ขัดกับเนื้อหาในมาตรา 218 อย่างเห็นได้ชัด


ประการที่เจ็ด..การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

จากมาตรา 303.. ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาล รัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุดหรืออัยการสูงสุด ผู้ใดมี พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำ ผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ใน การยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญหรือกฏหมาย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจาก ตำแหน่งได้
 บทบัญญัติวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ด้วย คือ
 (1) กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
 (2) ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่ง ระดับสูง ตามกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต

จะเห็นได้ชัดว่า วุฒิสภามีอำนาจมากๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ซึ่งตั้งสมมติฐานที่ผิดไปจากความจริงไว้ตั้งแต่แรกว่า วุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจะมีอิสระ ปลอดจากการเมืองอย่างแท้จริง  จึงเอาเรื่องคอขาดบาดตายที่สำคัญๆ แทบทุกเรื่องไปจบลงที่มติของวุฒิสภา   แต่วุฒิสภาก็ไม่เคยใช้อำนาจนี้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้เลยตลอดสมัยของการดำรงตำแหน่ง 6 ปี แม้จะรู้กันทั่วประเทศว่า มีการทุจริตในโครงการต่างๆ ของรัฐ และมีผลประโยชน์ทับซ้อนมากมายเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา

การเข้าไปยึดโครงสร้างของวุฒิสภาที่ผ่านมาได้จึงเท่ากับเป็นการยึดการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ได้ด้วย

อีกมาตราหนึ่ง คือ มาตรา 304.. “สมาชิกผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของ จำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อ ประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติตาม มาตรา 307 ให้ถอดถอนบุคคล ตามมาตรา 303 ออกจากตำแหน่งได้ คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุ พฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำความผิดเป็น ข้อ ๆ ให้ชัดเจน......”

บทบัญญัติฉบับนี้ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้  เนื่องจากการระดมผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50000 รายชื่อ สามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยการให้ผลประโยชน์ตอบแทนไม่มากนัก หรืออาจไม่ต้องให้ประโยชน์อันใด เพราะแต่ละพรรคก็มีสมาชิกมากกว่า 5 หมื่นอยู่แล้ว  หยิบมาใช้ได้โดยง่าย  และก็ไม่มีใครสามารถไปสัมภาษณ์เจตนารมณ์ของคนทั้ง 5 หมื่นชื่อทั่วประเทศได้หรอกครับ ถ้าหากทำ ก็จะกินเวลาอีกหลายปี

 คิดง่ายๆ ว่า หากจะทำเรื่องนี้  พรรคใหญ่ๆ อย่างประชาธิปัตย์  ชาติไทย และไทยรักไทย สามารถระดมรายชื่อสมาชิกพรรคมาร่วมลงชื่อได้เป็นแสนอย่างไม่ยากเย็น หากประสงค์จะกลั่นแกล้งหรือเพื่อแย่งชิงอำนาจจากฝ่ายบริหารนั้น  และขณะเดียวกันฝ่ายรัฐบาลเองก็สามารถระดมรายชื่อที่อ้างว่า เป็นล้านๆ ชื่อ (16 ล้านคน) มาแสดงพลังขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญในข้อนี้  จึงเห็นว่า หากพรรคการเมืองทั้งนำมาตรานี้มาเป็นเครื่องมือต่อสู้เพื่อเอาชนะคะคานระหว่างกัน (ดังที่ได้กระทำมาแล้ว) ทำไปทำมาก็จะกลายเป็นสงครามแบ่งแยกประชาชนได้   

และการที่ขั้นตอนของการถอดถอนต้องผ่าน ประธานวุฒิสภา.. ผ่าน ปปช.เพื่อชี้มูล.. ถ้ามีมูลก็ส่งผ่านต่ออัยการสูงสุดให้สั่งฟ้อง   จบที่สุดท้ายผ่านศาลฎีกาตัดสิน

แต่ละขั้นตอนจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาคนละชุด เฉพาะขั้นตอนการไต่สวนมูลฟ้องขั้นตอนเดียว ก็สามารถดึงกันไปเป็นปีๆ ได้แล้ว  และเห็นได้ชัดเจนว่า หากการเมืองสามารถแทรกแซงคณะทำงานที่ถูกตั้งขึ้นมารับผิดชอบคดีขององค์กรใดองค์กรหนึ่งในขั้นตอนเหล่านี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ  ก็สามารถพ้นผิดได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงขั้นตอนคำพิพากษาของศาล


ประการที่แปด.. การลงประชามติ  

ตามมาตรา.214 มีสาระสำคัญดังนี้  “ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า กิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มี การออกเสียงประชามติได้
การออกเสียงประชามติต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการขอปรึกษาความเห็นของประชาชนว่าจะเห็นชอบหรือไม่ เห็นชอบกิจการสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคหนึ่งซึ่งมิใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ การออกเสียงประชามติ ที่เกี่ยวกับตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะจะกระทำมิได้”

ในความเป็นจริงแล้ว ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ  เนื่องจาก..

1/ ประชาชนไม่ได้เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้
2/ รัฐเบี่ยงเบนความสำคัญของประชามติได้  โดยเลือกขอประชามติเฉพาะในกรณีที่รัฐประเมินแล้วว่า จะได้รับชัยชนะแน่นอน  แต่ในกรณีสำคัญๆ ที่เข้าข่ายต้องลงประชามติแต่รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่า คะแนนเสียงอาจเพลี่ยงพล้ำได้  เช่น กรณีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  หรือ กรณีถ่ายโอนครูในสังกัดกท.ศึกษาไปขึ้นอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่น  รัฐก็เลือกที่จะไม่ทำประชามติเสีย
3/ บางเรื่องที่ขัดกับศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามต้องไม่นำมาขอประชามติประชาชน  เช่น ขอทำหวยบนดิน  ขอทำคาสิโน  ขอให้การชนไก่เป็นกีฬา เป็นต้น
4/ ประชาชนไม่มีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่จะทำประชามติ ซึ่งอาจส่งผลเสียร้ายแรงกับมติที่ออกมาได้ เช่น.. ขอประชามติการเปิดเอฟทีเอกับ....  ขอประชามติเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  ขอประชามติเรื่องการขอใช้ฐานทัพของต่างชาติ  เป็นต้น  ซึ่งต้องกลับไปอ่านเรื่อง คุณภาพของการศึกษาและการพัฒนากระบวนการความคิดของประชาชนในกรอบก่อนหน้าของผม ก็จะเข้าใจได้ดีขึ้น   


ประการที่เก้า.. เสรีภาพในการก่อม็อบ

รัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพพื้นฐานแก่ประชาชนในการแสดงออกที่ต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น

มาตรา 44 บัญญัติว่า..”บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจาก อาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระมิได้ เว้นแต่โดยอาศัย อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้สาธารณะหรือเพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้ กฎอัยการศึก..”

แต่ที่ผ่านมาหลายครั้ง ม็อบที่จัดตั้งขึ้นมิได้เคารพสิทธิพื้นฐานของผู้อื่นเลย  ดังเช่น การปิดถนนและสถานที่สาธารณะ  โดยเฉพาะกรณีปิดล้อมอาคารเนชั่น ซึ่งเป็นสถานที่ของเอกชน และข่มขู่ผู้ที่ประกอบธุระอยู่ในอาคารห้ามมิให้มีอิสรภาพ  ดังนี้ ถือว่า “คุกคาม” สิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งจนบัดนี้ เจ้าหน้าทีบ้านเมืองก็ไม่สามารถนำตัวคนผิดมาลงโทษได้

นอกจากนี้การจัดม็อบโดยใช้วิธีการเกณฑ์คนมาชุมนุมโดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบตางๆ ได้สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับระบอบประชาธิปไตยที่ผ่านมาอย่างมากมายมหาศาล  เพราะสิทธิ เสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ได้ถูกจำหน่ายเป็นเครื่องมือให้นักการเมืองแสวงหาความชอบธรรมให้ตนเองไป

ต้องถือว่า นี่คือ การขายสิทธิ์ ขายเสียงประการหนึ่ง เช่นเดียวกับการใช้สิทธิเลือกตั้ง และต้องนำตัวผู้เกี่ยวข้องกับการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงเหล่านั้นมาลงโทษ

ที่ผ่านมา เคยมีแต่ลงโทษผู้กระทำผิดในการซื้อเสียง แต่ประชาชนผู้ขายเสียงกลับไม่ถูกลงโทษทั้งๆ ที่เป็นการสมรู้ร่วมคิดกันทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแท้ๆ

การจัดระเบียบม็อบมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย และเพื่อแสดงออกถึงความต้องการของประชาชนผู้เสียประโยชน์อย่างแท้จริง


.../ยังมีต่อ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 24-10-2006, 08:59
สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่สนใจ..

คุณพระพาย..
การแสดงความคิดเห็นของคุณ และการใช้ภาษาก็ถือว่า ไม่เบาเลยทีเดียว แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของความคิดอ่าน

...........................

ตุ๊กตาที่ผมสร้างขึ้นไว้นี้ จะนำไปสู่คำตอบของ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่อยากเห็นในกรอบต่อไป

หากจะเพิ่มหรือดัดแปลงตุ๊กตาก็ยังสามารถมีส่วนร่วมได้ทุกเมื่อนะครับ  ความจริงข้อบกพร่องมีมากและมีรายละเอียดอีกมากที่นำมาจารนัยเอาไว้ไม่หมด  แต่ด้วยข้อจำกัดด้านความรู้ความสามารถ และเวลาของผม ก็คงได้เท่านี้

อย่าลืมว่า ขบวนการภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้ ต้องสร้างคุณภาพในการเรียนรู้ขึ้นมาก่อน



หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 25-10-2006, 02:55
สวัสดีครับ... ขออภัยที่หายไปนาน... ช่วงนี้ผมงานยุ่งมั่กๆ.. แต่ยังตามกระทู้นี้อยู่เรื่อยๆ ครับ

นึกว่าภาคที่ 2 เรื่องข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ 2540 จะมีซัก 4-5 กรอบเหมือนภาค 1 ที่อ่านไปคล้ายมีไกด์นำเที่ยวเพลินๆ... ภาค 2 กลับเป็นการเข้าตีจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างรวดเร็ว หนักหน่วง แต่ครบเกือบทุกจุดยุทธศาสตร์... ทำเอาผู้อ่านนักท่องเที่ยวอย่างพวกผมเกือบปรับตัวเป็นนักรบตามไม่ทันแหน่ะท่าน  :slime_cool:

9 หัวข้อจุดอ่อนที่คุณบอนนี่กล่าวมานั้นผมเห็นด้วยทั้งหมดครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นอำนาจการเมืองที่แทรกแซงวุฒิสภาซึ่งเกี่ยวพันกับอำนาจถ่วงดุล ตรวจสอบ รวมทั้งเป็นหัวใจขององค์กรกลางเกือบทั้งหมดที่เป็นกลไกของรัฐธรรมนูญ 2540... รวมทั้งผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับประเด็นที่ควรให้อำนาจศาลสามารถเข้าถึงและตรวจสอบอำนาจทางการเมืองได้ลัดเร็วขึ้น

แต่บางเรื่องแม้เห็นด้วยแต่คงไม่ใช่เรื่องที่ลงตัวง่ายนัก คือเรื่องอำนาจการเมือง VS ข้าราชการประจำ และเรื่องนายกฯ เลือกรัฐมนตรีเพื่อเป็นการสมนาคุณผู้มีพระคุณ... รอฟังความเห็นที่หลากหลายตรงนี้น่าจะสนุก... เอาแค่ประเด็นผู้ว่าฯ CEO กับข้าราชการของพระราชา CEO นี่ก็มันส์แล้ว :slime_bigsmile:

ใน 9 หัวข้อนี้ นอกจากมีโครงที่นักวิชาการส่วนใหญ่สนใจคือ อำนาจถ่วงดุล นิติ, บริหาร, ตรวจสอบ แล้ว... คุณบอนนี่ยังไม่หลุดสาระสำคัญที่รัฐธรรมนูญ 2540 มี นั่นคืออำนาจถ่วงดุลจากภาคประชาชนทั้งเรื่อง 50,000 ชื่อ เรื่องประชามติ และเสรีภาพในการก่อม๊อบ

ประเด็นนี้ผมอยากเสริมต่อในประเด็น "สิทธิชุมชนในการรักษาสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ" ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะมีปรากฎในรัฐธรรมนูญมาตราใดมาตราหนึ่ง (จำไม่ได้ ขออภัย)... แม้ว่าคำ "ชุมชน" จะค่อนข้างเลื่อนลอย อ้างอิงยาก... แต่มีนัยยะสำคัญของการรวมตัวภาคประชาชนที่แท้จริง และเป็นการทำให้ประเด็นสิทธิเสรีภาพประชาชนแต่ละคนกับประเด็นอำนาจรัฐมีความห่างกันน้อยลง... ชุมชน อัตลักษณ์ของชุมชน อัตลักษณ์ของภูมิภาค เช่น อีสาน สามจังหวัดใต้ ฯลฯ ล้วนมีบทบาทที่แท้จริงต่อสังคมไทยมาตลอด แต่กลับถูกทำให้เลือนไปตั้งแต่สมัยเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นไทยเพื่อความเป็นหนึ่งกลุ่มชนสู้กับจักรวรรดินิยม โดยไม่มีหลักมั่นปรากฎการรับรองสถานะในระดับรัฐธรรมนูญมาก่อน (โดยมักถูกตีขลุมว่าสิทธิประชาชน 1 คนครอบคลุมประเด็นนี้แล้ว... ซึ่งไม่จริง)... ผมเชื่อว่าประเด็นนี้ถ้ามีที่ทางในรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมจะแก้ปัญหาหลายอย่างในสังคมไทยหรือสังคมสยามนี้ได้...

เสียดายที่ช่วงนี้ผมค่อนข้างวุ่นวายเอาการอยู่... ถ้ามีเวลาจะค้นคว้าเรื่องนี้มาร่วมนำเสนอครับ... แต่ใครมีไอเดียหรือคำตอบอยู่แล้วก็ขอเชิญนำเสนอไปก่อนได้เลยครับ ตอนนี้ผมยังไม่มี solution ที่ชัดเจนแน่นอนในประเด็นนี้ครับ

จะรออ่านการนำเสนอในกรอบสุดท้ายของคุณบอนนี่ครับ... เข้าใจว่าใกล้ไคลแม๊กซ์ช่วงเผด็จศึกแว้วววว  :slime_v:


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 25-10-2006, 07:30

ประเด็นนี้ผมอยากเสริมต่อในประเด็น "สิทธิชุมชนในการรักษาสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ" ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะมีปรากฎในรัฐธรรมนูญมาตราใดมาตราหนึ่ง (จำไม่ได้ ขออภัย)... แม้ว่าคำ "ชุมชน" จะค่อนข้างเลื่อนลอย อ้างอิงยาก... แต่มีนัยยะสำคัญของการรวมตัวภาคประชาชนที่แท้จริง และเป็นการทำให้ประเด็นสิทธิเสรีภาพประชาชนแต่ละคนกับประเด็นอำนาจรัฐมีความห่างกันน้อยลง... ชุมชน อัตลักษณ์ของชุมชน อัตลักษณ์ของภูมิภาค เช่น อีสาน สามจังหวัดใต้ ฯลฯ ล้วนมีบทบาทที่แท้จริงต่อสังคมไทยมาตลอด แต่กลับถูกทำให้เลือนไปตั้งแต่สมัยเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นไทยเพื่อความเป็นหนึ่งกลุ่มชนสู้กับจักรวรรดินิยม โดยไม่มีหลักมั่นปรากฎการรับรองสถานะในระดับรัฐธรรมนูญมาก่อน (โดยมักถูกตีขลุมว่าสิทธิประชาชน 1 คนครอบคลุมประเด็นนี้แล้ว... ซึ่งไม่จริง)... ผมเชื่อว่าประเด็นนี้ถ้ามีที่ทางในรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมจะแก้ปัญหาหลายอย่างในสังคมไทยหรือสังคมสยามนี้ได้...



ในรัฐธรรมนูญแม่บท ผมหาไม่เจอเรื่องสิทธิของชุมชนครับ  ถ้ามีอาจเป็นกม.ลูก หรือ กฎกระทรวงที่ออกโดยกท.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

สิทธิของชุมชนเป็นเรื่องใหญ่  ยิ่งกว่าสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเสียอีก  ถ้านำมาใช้อย่างเคร่งครัด ผมกลัวว่า คนไทยจะใช้ไม่เป็นน่ะสิครับ

เรื่องดีๆ เช่นนี้ ต้องผลักดันเมื่อคนมีคุณภาพและเข้าใจบทบาทของชุมชนในระบอบประชาธิปไตยก่อน  ถ้าใช้ไม่เป็น  โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ คงไม่แคล้วถูกชักนำโดยกลุ่มผลประโยชน์ เช่น นายทุน นักการเมือง ไปในทางที่ผิดเจตนารมณ์อีก

การซื้อสิทธิขายเสียงเพื่อเป็นเจ้าของชุมชนแบบเบ็ดเสร็จของกลุ่มผลประโยชน์ จะทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติได้  เช่น นำที่ดินไปทำรีสอร์ท ไปทำโรงแรม มากกว่าสวนสาธารณะ เป็นต้น  และพอมีสิทธิชุมชนปุ๊บ รัฐบาลก็เข้าไปแทรกแซงมติได้ยากเสียด้วยสิ  ตรงนี้คงต้องระวังครับ  ผมไม่อยากให้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติใดๆ ต้องตกไปเป็นของกลุ่มผลประโยชน์หรือ ชาวต่างชาติโดยง่าย  โดยเฉพาะนักเซ็งลี้

ในขั้นนี้ ผมเห็นด้วยในหลักการครับ แต่คงต้องค่อยเป็นค่อยไป



(กรอบต่อไป คงต้องส่งวันหน้าแล้วครับ วันนี้เขียนไม่เสร็จ) :slime_dizzy:


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 25-10-2006, 14:40

เน็ทของผมเพิ่งฟื้นจากการโจมตีของไต้ฝุ่นไม่ได้เข้ามารับฟัง อ่านและ แลกเปลี่ยนนาน
วิชาที่ทั่นบอนนำมาไม่เห็นมีสอนเลยครับ ผมถือว่าเป็นคุณูปการของทั่นต่อบอร์ดเสรีไทยและไทบ้านทั้งประเทศผมคงติดตามว่ารัฐธรรมนูญ ปี 2550 จะออกมาอย่างไรและจะสามารถคุ้มครองสิทธิของไทบ้าน
ได้หรือไม่ หวังว่าคงชัดเจนและปฏิบัติตามได้มากกว่าฉบับ ปี2540นะครับ
ผมเองในฐานะเคยจัดเวทีรณรงค์กฎหมายรัฐธรรมนูญปี40มาหลายครา..ก็หวังเพียงว่าไทบ้านและผู้ด้อยโอกาส
ได้รู้สิทธิและปฏิบัติตามได้ ข้าราชการทุกกรม กองเข้าใจ ไทบ้านพูด นักการเมืองยอมทำตามกฎหมายบ้างคุณพระพายมีแนวคิดที่น่าสนใจครับ...เรื่องสิทธิชุมชนที่ต้องชัดเจน..ไม่งั้นก็จะเป็นเหมือนครั้งที่ผ่านมาที่พากัน
ระดมรายชื่อเสนอ และผลักดัน พ.ร.บ ป่าชุมชน หรือ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติแทบกระอักเลือดก็ไม่ได้ใช้
อย่างไรก็ตามจะติดตามและแลกเปลี่ยนเพื่อการแปงเมืองร่วมกันครับคนละความคิดช่วยกัน... :mozilla_wink:


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 25-10-2006, 16:42
ยังไงขอจองที่ไว้ก่อนครับ..อยากแสดงความคิดเห็นแต่จะให้เทียบกับของคุณบอนนี่คงลำบากมาก ขอค้นคว้าเพิ่มเติมก่อน...

อยากพูดก่อนนิดนึงถึงพระราชอำนาจ..จริง ๆ แล้วความเห็นของผม พระราชอำนาจนั้นมีอยู่จริง..เพียงแต่พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทย ได้รับมาจากประชาชน เพราะีความเคารพนับถือจากประชาชน...การตัดสินใจของพระเจ้าอยู่หัวประชาชนเคารพ และเชื่อฟัง เพราะบารมี และ ความดีที่พระองค์ใด้สร้างไว้...แต่ พระราชอำนาจนั้นมีขอบเขตจำกัด และ ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (ที่เคยถูกฉีกทิ้งหลายต่อหลายครั้ง)


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 26-10-2006, 08:35
สวัสดีครับทุกคน..


ตอนแรกว่า จะส่งกรอบต่อไปซึ่งเป็นหัวใจของกระทู้นี้ในเช้านี้  แต่ผมมีธุระต้องทำ จึงจะเข้ามาส่งตอนบ่ายครับ


........................

คุณScorpio-6

ขอบคุณครับที่สละเวลาเข้ามาอ่าน  เมื่อผมลงครบทุกกรอบแล้ว หวังว่า คงมีคำแนะนำดีๆ อีกนะครับ

.......................

คุณ scarface

เรื่อง พระราชอำนาจ ที่มีอยู่จริงของพระมหากษัตริย์

ผมมีความเห็นว่า พระองค์มีพระราชอำนาจได้ ก็ต่อเมื่อประชาชนจงรักภักดีครับ  พระมหากษัตริย์ในปัจจุบันมิได้มีอำนาจเกิดขึ้นในตัวเอง หรือ ได้จากการสถาปนา  แต่ต้องได้จากการจงรักภักดีเท่านั้น

หากประชาชนไม่จงรักภักดีแล้ว  อำนาจนี้ก็จะสูญสิ้นไปเองไม่ว่าจะมีบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 26-10-2006, 16:18
รออ่าน "หัวใจ" ไคลแม๊กซ์ของท่านบอนนี่อยู่ครับ

ส่วนเรื่อง "ชุมชน" ปรากฎในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 46 ดังนี้ครับ

มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ

มาตรา 46 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

.....
นอกเรื่องนิดนึงครับท่าน Scorpio-6... เห็นบอกว่าเป็น "ไทบ้าน" ซึ่งผมเห็นการประกาศคล้ายๆ กันของลุงแคนว่าเป็น "ไทเมือง".... ให้ความรู้สักนิดได้ไหมครับว่ามันต่างกันอย่างไรครับ?


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 27-10-2006, 00:34

นอกเรื่องนิดนึงครับท่าน Scorpio-6... เห็นบอกว่าเป็น "ไทบ้าน" ซึ่งผมเห็นการประกาศคล้ายๆ กันของลุงแคนว่าเป็น "ไทเมือง".... ให้ความรู้สักนิดได้ไหมครับว่ามันต่างกันอย่างไรครับ?
[/quote]

คุณพระพายครับ,

 " ไทบ้าน" เป็น คำที่ใช้กันในภาคอีสาน หมายความถึง"ชาวบ้าน"ทั่วไปครับ

ผมรู้สึกว่าคำนี้มีความเป็นชุมชนอยู่และมีความหมายดีและแฝงความเป็นอัตลักษณ์ของชาวอีสานได้ชัดเจน

ซึ่งผมมองไปอีกว่าหากจะให้"ไทบ้าน"ในแต่ละชุมชนในอีสานรวมตัวเป็นกลุ่ม องค์กร ใดๆ ตาม ม. 45,46  ตาม รธน. ปี 40 ค่อนข้างใช้เวลาครับและต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แข็งจริงๆ

องค์กรถึงจะรอดเช่น หากเรายก ม.46 มาวิเคราะห์เป็นกรณีศึกษาดูก็จะพบว่า กรณีที่จะปกป้องป่าชุมชนผืนเล็กๆในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นป่าช้า(เดิม)หรือป่าที่มีศาลปู่ตา(ซึ่งมีทุกหมู่บ้าน)ยาก

มากครับเพราะป่าชุมชนในปัจุบัน"ไทบ้าน"อยากใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนผืนเล็ก เพื่อเก็บของป่า เก็บผัก เห็ด หน่อไม้ สาระพัดอาหารเปรียบซุปเปอร์มาเก็ต ของไทบ้าน

ปัจจุบันกำลังถูกแผ้วถาง บุกรุกมาเป็น สำนักงานท้องถิ่น(อบต), เทศบาล,โดย ท้องถิ่นและ "ไทบ้าน"เองยังไม่ได้รู้เลยว่ามีมาตรา 46อยู่ใน รธน.ปี 40  

รัฐบาลยุคที่ผ่านมาก็มองข้ามไปมองแต่เรื่องใหญ่ๆเช่น เมกกะโปรเจค หรือมุ่งแต่ทุ่มเงินลงหมู่บ้านโดยไม่สนใจ รากหรือวิถีที่แท้จริงของ"ไทบ้าน"


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 27-10-2006, 01:24
คุณพระพายและเสรีไทยที่รักครับ,

ผมได้นำ นิยามคำว่า"ไท"จากหนังสือว่าด้วยคำท้องถิ่น จาก 2 ท่านผู้รู้ครับ

จิตร ภูมิศักดิ์1 ได้อธิบายคำว่า “ไท” มาจากภาษาจีนว่า เทียน แปลว่า ฟ้า, ต้า แปลว่า ใหญ่

และ ไต้ แปลว่า สวรรค์ ซึ่งภาษาตระกูลไทนั้นออกเสียง เป็นสองสำเนียงคือ

1. “ไท” หมายถึง ไทยภาคกลาง อีสาน ใต้ ลาวเหนือ ลาวใต้ ผู้ไท ทางเขตสิบสองจุไท และในเวียดนามเหนือ

2. “ไต” หมายถึง ไทยภาคเหนือ ไตลื้อ สิบสองปันนา ในสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ไตลื้อทางเหนือสุดของประเทศลาวในแขวงพงสาลี ไตโหลง หรือไทใหญ่แห่งรัฐชาน พม่า รวมทั้ง ไตคำตี่ ไตพ่าเก่ ไตอ้ายตอน ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย

ความหมายดั้งเดิม ของ ไท หรือ ไต ก็คือ คน เช่น ไทบ้านใด๋ ไทเฮา ไทแขก และไทบ้าน หรือไปตกตี่ไก๋ไตตี่อื่น  

ส่วน เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ไท” ไว้ดังนี้

1) หมายถึง “ประชาชน” “พลเมือง” คนธรรมดาที่ไม่ใช่เจ้าขุน หรือบริพารลูกเจ้าลูกขุน  เช่นในคำว่า “ไพร่ฟ้า ข้าไท” (ไพรฝาขาไท) ตาม ศิลาจารึกหลักที่หนึ่งและหลักที่สาม

2) หมายถึง “คน” หรือ “ชาว” ตามความหมายที่ใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นอื่น เช่น ไทบ้านนอก-คนบ้านนอก หรือชาวบ้านนอก ไทเมือง-คนในเมือง ไทบ้านเพิ่น-ชาวบ้านอื่น เป็นต้น  
3) หมายความว่า “ฝ่าย” หรือ “ข้าง” ความหมายนี้ปรากฏอยู่ในภาษาไทย ถิ่นอีสานว่า ไท

เพิ่นไทโต๋-ฝ่ายเขาฝ่ายเรา ไทเขาไทเฮา-ข้างเขาข้างเรา เป็นต้น

4) หมายความว่า “เป็นใหญ่” และ “อิสระ” หมายถึงความเป็นไทไม่เป็น ทาส มีความเป็น

อิสระในการประกอบอาชีพมีศักดิ์ศรีในความเป็นเชื้อชาติที่ไม่ถูกกดขี่ มีภาวะเทียมหน้าเทียมตาเสมอกับชนชาติอื่นทุกประการ คือ มีความเป็นไทแก่ตัว กฎหมาย หมายถึงอิสระในการดำรงอยู่อย่างภาคภูมิ ตามความหมายนี้น่าจะเพิ่งบัญญัติ ตามความหมายขึ้นใหม่ในสมัยฝรั่งล่าเมืองขึ้น เพราะไม่ปรากฏมีความหมายนี้ในภาษาไทยถิ่นใดเลยนอกจากภาษาไทยกลาง

5) หมายถึง ชนชาติไทสาขาหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มไท ( Tai Group ) ซึ่งเรียกตนเองว่า “ไท” ( Tai ) และมีลักษณะของภาษาเป็นธนิต ( aspirated ) เช่น ไทยสยาม ไทลาว ไทพวน ไทโย้ย ไทย้อ ผู้ไท ไทตากใบ ไทกะเลิง เป็นต้น (ภาษาเหล่านี้คนไทยเจ้าของภาษาจะไม่เรียกว่า ภาษาไตสยาม ไตลาว ไตพวน ไตย้อ ฯลฯ)

จากนิยามข้างต้นก็สามารถกำหนดได้ว่า คำว่า “ไท” ก็หมายถึง คนที่อาศัยอยู่ในถิ่นต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ที่มีลักษณะทางภาษาและวัฒนธรรมคล้ายกัน



หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 27-10-2006, 03:56
ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างครับ คุณ scorpio-6


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 27-10-2006, 08:55
[กรอบที่ 6]


[3] บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี พศ. 2550 ที่อยากเห็น และอนาคตของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการอยากเห็นระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนถาวร ไม่ต้องมีการฉีกรัฐธรรมนูญบ่อยๆ จึงอยากเสนอให้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 มีบทบัญญัติดังต่อไปนี้..

1../ สมาชิกวุฒิสภามาจากการคัดเลือกกันเองของประชาชนทุกสาขาอาชีพ

แทนที่จะให้มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศอย่างที่เป็นอยู่..
ให้แต่ละสาขาอาชีพมีองค์กรหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของสาขาอาชีพของตนเองไปจดทะเบียนต่อคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) แล้วให้สมาชิกในองค์กรคัดเลือกตัวแทนไปเป็นสมาชิกวุฒิสภา จะคัดเลือกกันเองโดยจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน หรือ ให้ กกต.เป็นผู้จัดการเลือกตั้งให้ก็ได้  วิธีการนี้จะทำให้เกิดความหลากหลาย ไม่จับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเฉพาะนักวิชการ นักกฎหมาย นักปกครองอย่างที่แล้วมา  และประหยัดงบประมาณในการเลือกตั้งได้ครั้งละนับพันล้านบาท ทั้งยังปิดกั้นการเข้ามาเป็นสว.ของนักการเมืองอาชีพได้อีกด้วย

จำนวนและวาระการดำรงตำแหน่ง

กำหนดไว้คร่าวๆ ว่า ไม่ควรเกินจำนวน 200 คน และให้มีวาระเริ่มต้นและสิ้นสุดในเวลาเดียวกันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สัดส่วน..กำหนดให้เป็นไปตามความเหมาะสม เช่น..

ข้าราชการพลเรือน จำนวน 30 คน
ข้าราชการทหาร 3 เหล่าทัพ จำนวน 15 คน
ข้าราชการตำรวจ จำนวน 5 คน
รัฐวิสาหกิจ จำนวน 10 คน
นักวิชาการจากสถาบันของรัฐ 10 คน
นักวิชาการจากสถาบันอื่นๆ และนักวิชาการอิสระ 10 คน
เกษตรกร จำนวน 10 คน
ผู้พิพากษา จำนวน 10 คน
ผู้มีอาชีพทางการแพทย์ จำนวน 10 คน
พ่อค้า จำนวน 20 คน
นักการศาสนา จำนวน 5 คน
สื่อสารมวลชน จำนวน 10 คน
ผู้มีอาชีพทางด้านบันเทิง 5 คน
ผู้มีอาชีพทางด้านการท่องเที่ยวและสันทนาการ จำนวน 5 คน
องค์กรอิสระ จำนวน 5 คน

เป็นต้น

2../ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด และยกเลิกการเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลีสต์

จำนวนสมาชิกในสภาไม่ควรเกินกว่า 300 คน (ยิ่งมากยิ่งเปลืองเงินภาษี พวกท่านไม่ค่อยมาประชุมอยู่แล้ว)  ข้ออ้างที่ว่า ดูแลราษฎรในพื้นที่ไม่ทั่วถึงนั้น  เป็นเพียงข้ออ้าง  เพราะการดูแลทุกข์สุขของราษฎร ไม่จำเป็นต้องเป็นประธานงานบวช  ผ้าป่า กฐิน และออกตรวจตราทุกข์สุข เพราะข้าราชการประจำส่วนท้องถิ่นล้วนมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรอยู่แล้ว  การที่สส.ในพื้นที่เข้าไปคลุกคลีสารทุกข์สุกดิบทุกเรื่องราว ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า ภาษีสังคม จำนวนมากในแต่ละเดือน  เมื่อจ่ายออกไปมากเท่าไรก็ต้องเรียกคืนกลับมามากเท่านั้น อีกทั้งเป็นการสร้างระบบ ตอบแทนบุญคุณระหว่างกัน  สมัยต่อไปไม่เลือกก็ไม่ได้ เพราะเขาคนนี้เคยมาเป็นประธานงานบวชลูกชาย ประธานงานศพ  ประธานเปิดป้าย  แม้จะเลวอย่างไร ก็ถือว่า เลวในสภาไม่เป็นไร  ส่งผลให้สมัยต่อไป ใครไม่ทำงานในสภาไม่เป็นไร ขอให้ไปนั่งเป็นประธานในงานวัด งานศพให้ชาวบ้านก็พอเพียงจะได้กลับเข้ามาเป็น สส.อีกครั้งแล้ว

การดูแลทุกข์สุขต้องเป็นหน้าที่ของข้าราชการประจำและข้าราชการส่วนท้องถิ่นจริงๆ (อย่าลืมบทบาทของนายอำเภอ อบจ. อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านไป) ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคนเหล่านั้น จึงร้องเรียนต่อสส.ในพื้นที่จึงจะถูกต้อง การที่ประชาชนเลือกเข้ามาเป็นผู้แทนได้ ต้องเพราะเห็นว่า เป็นคนดี มีประโยชน์ในการทำงานเพื่อประเทศชาติ  ไม่ใช่เลือกสส.มาดูแลคนในชุมชน  อันนี้ ผิดเจตนารมณ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตย

หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลทุกข์สุข ควรให้ท่านตั้งตู้ ปณ. รับร้องทุกข์ และในเขตรอบนอกที่ประชากรกระจัดกระจาย ก็ให้เพิ่มจำนวนผู้ช่วย สส. อีกหนึ่งคนได้

3../  นายกสามารถเลือกรัฐมนตรีร่วมคณะ แต่ต้องผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา

เงื่อนไขนี้สืบเนื่องมาจาก อำนาจของวุฒิสภาในการถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมืองได้ ก็ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ ครม.ที่ตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการแต่งตั้งด้วยจึงจะถูก  มิใช่..ไม่ได้มีหน้าที่แต่งตั้ง แต่ให้ถอดถอนอย่างเดียวเช่นในรัฐธรรมนูญฉบับเดิม

เหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ ถ้าได้สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากประชาชนทุกสาขาอาชีพเลือกตั้งกันเข้ามาเช่นที่กล่าวมาแล้ว  การแต่งตั้งครม. ก็ถือว่า ประชาชนทุกสาขาอาชีพเห็นพ้องกันด้วยมติเสียงส่วนใหญ่เช่นกัน

เหตุผลอื่นๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ เป็นการลดอำนาจของนายกรัฐมนตรีให้ต้องหันมาฟังเสียงของประชาชนทุกสาขาอาชีพก่อน มิใช่ว่า จะแต่งตั้งใตรก็ได้ เสนอขึ้นไปให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ลงมา ก็ถือว่าใช้ได้  เวลาสังคมตั้งคำถามเรื่อง ยี้   ก็อ้างว่า ยังไม่ได้ทำงาน ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์  อย่างนี้ถือว่า มัดมือชก(ประชาชน) ว่าต้องรับทุกอย่างที่นายกตัดสินใจ

ถ้าสามารถนำบทบัญญัตินี้มาใช้ได้ การแต่งตั้งใครเป็นรัฐมนตรี นายกต้องคำนึงถึงการยอมรับของสังคม จะหยิบเอานักการเมืองชั้นเลว หรือ ผู้มีอุปการคุณขึ้นมาโดยง่ายไม่ได้  ส่วนพรรคร่วมที่ส่งคนที่ไร้คุณสมบัติเหมาะสมมาให้  นายกก็สามารถโยนให้วุฒิสภาเป็นผู้ตัดสิน โดยไม่ต้องพะวงว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะไม่พอใจ เพราะนี่คือ กติกา

4../  จำนวนสมาชิกสภาที่สามรถยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล

รัฐธรรมนูญเดิมกำหนดให้ต้องมีเสียงอย่างน้อย 2 ใน 5 เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ  ให้คงบทบัญญัตินี้ไว้ตามเจตนารมณ์เดิม  แต่..ให้ฝ่ายค้านสามารถขอให้วุฒิสภาช่วยได้  โดยยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา อ้างเหตุที่ไม่มีจำนวนสมาชิกพอเพียงแต่หากปล่อยให้รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินต่อไปโดยไม่มีการซักฟอกอาจเกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ  ให้วุฒิสภาพิจารณาอนุมัติให้สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้  โดยมติของวุฒิสภาที่จะผ่านร่างอภิปรายไม่ไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ให้กำหนดในอัตราส่วน 2 ใน 5 เช่นกัน  ถ้าอนุมัติตามมาตราส่วนนี้  ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรก็สามารถเปิดอภิปรายได้

เช่นนี้..
เป็นการแก้ปัญหาการคุมอำนาจเบ็ดเสร็จของรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎร  ถ้ารัฐบาลจะคุมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จก็ต้องแทรกแซงวุฒิสภาส่วนใหญ่ได้ด้วย  ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เพราะมีที่มาจากประชาชนทุกสาขาอาชีพ ไม่ใช่นักเลือกตั้งปลอมตัวเข้ามาเป็นทาสรับใช้เหมือนอดีต

5../  ให้ข้าราชการประจำที่ถูกโยกย้ายโดยมิชอบจากการใช้อำนาจของนักการเมืองสามารถขอความเป็นธรรมได้จากวุฒิสภา

เมื่อรัฐบาลใช้อำนาจโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น  ข้าราชการผู้นั้น สามารถร้องศาลปกครองกลางได้เหมือนเดิม แต่สามารถยื่นคำร้องผ่านองค์กรในสังกัดสาขาอาชีพของตนได้อีกทางหนึ่ง เพื่อพิจารณายื่นคำร้องให้ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐมนตรีผู้นั้นว่า ชอบธรรมหรือไม่  ถ้าตัวแทนสาขาอาชีพในวุฒิสภาเห็นว่า มีมูลว่า เป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม สามารถยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภาให้เปิดประชุม อภิปรายรัฐมนตรีผู้นั้น โดยให้มีการลงมติด้วยเสียงส่วนใหญ่

ผลลัพธ์ที่ได้จากการลงมติส่งผลต่อการทำหน้าที่ของรัฐมนตรี และอาจนำไปสู่การปรับครม.ของนายก หรือถอดถอนรมต.ออกจากตำแหน่งได้  ซึ่งตรงนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีในศาลปกครองซึ่งต้องใช้เวลานานกว่ามาก กว่าจะจบ ข้าราชการผู้นั้นอาจพ้นอายุราชการไปแล้ว หรือ ถูกดองตำแหน่งเป็นเวลานานจนเสียอนาคตไป

ฉะนั้น..
ก่อนใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายใคร  รัฐมนตรีต้องคิดให้รอบคอบ มิฉะนั้นอาจโดนสองเด้งตามบทบัญญัตินี้

6../ นายก โดยความเห็นชอบของครม.สามารถออกพรก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยต้องมีประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานศาลฎีการ่วมเห็นชอบด้วย

บ้านเมืองปกครองด้วยอำนาจอธิปไตย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย อันได้แก่ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ  เหตุไฉนเวลาออกพรก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อความมั่นคงของประเทศ จึงกำหนดให้ประมุขของฝ่ายบริหารเป็นผู้มีอำนาจแต่ฝ่ายเดียว  ซึ่งไม่ถูกต้องมาตั้งแต่ต้นแล้ว  เพราะการใช้อำนาจนี้ไม่ต้องผ่านความเห็นขอบของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นประมุขของประเทศ  แต่อย่างน้อย ก็ควรได้รับความเห็นชอบจากประมุขของประชาชนตามอำนาจอธิปไตยด้วย

7../  ให้การยื่นถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นไปตามบทบัญญัติเดิม ยกเลิกการยื่นรายชื่อของประชาชน 50000 รายชื่อ

ในเมื่อโครงสร้างของสมาชิกสภาทั้งสองเปลี่ยนแปลงไป และมีองค์กรสาขาอาชีพของประชาชนเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการเข้าชื่อของประชาชน 50000 ชื่ออีกต่อไป  ซึ่งที่ผ่านมาสร้างความสับสน และไม่เป็นธรรมมากมายจากบทบัญญัตินี้เพราะนักการเมืองแทรกแซงมากกว่าที่จะเกิดจากแนวร่วมของประชาชนจริงๆ และรัฐไม่มีเครื่องมือตรวจสอบความเห็นของประชาชนทุกคนที่มาลงชื่อ  อีกทั้ง มีช่องให้อีกฝ่ายนำประชาชนจำนวนมากกว่า มาอ้างความชอบธรรมให้ตนเอง  เป็นการแบ่งแยกความคิดเห็นของประชาชนให้เกิดการเผชิญหน้าโดยใช่เหตุ  ทั้งๆ ที่รู้ๆ อยู่ว่า คนที่รวบรวมรายชื่อมา เป็นนักการเมืองของแต่ละฝ่ายนั่นแหละ

8../  การลงประชามติ ที่สามารถเริ่มต้นจากประชาชนได้

ที่ผ่านมา รัฐบาล โดย ครม.เป็นผู้กำหนดเกมว่า อยากให้มีประชาพิจารณ์หรือไม่  โดยยึดเอาความได้เปรียบของตนเองเป็นที่ตั้ง  ถ้าคิดว่า เรื่องนั้นๆ ตนเองจะเสียเปรียบหากมีการทำประชาพิจารณ์ รัฐบาลก็ไม่จัดทำให้

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีบทบัญญัติให้ประชาชนสามารถยื่นเรื่องผ่านองค์กรที่เป็นตัวแทนสาขาอาชีพของตนเอง ขอให้รัฐจัดทำประชาพิจารณ์ในเรื่องที่ตนเองได้รับผลกระทบได้  โดยตัวแทนองค์กรจะยื่นเรื่องต่อตัวแทนสาขาอาชีพของตนในวุฒิสภา และให้นำเข้าที่ประชุมเพื่อขอมติเสียงส่วนใหญ่

เมื่อได้มติเสียงส่วนใหญ่แล้ว  ให้กกต.จัดทำประชามติโดยให้สมาชิกในองค์กรสาขาอาชีพทั้งหลายเป็นผู้ลงประชามติโดยไม่ต้องใช้จำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งทั้งประเทศ ซึ่งสิ้นเปลืองเกินไป

ได้มติอย่างไรออกมาให้รัฐบาลจัดทำตามมตินั้น

บทบัญญัตินี้  เป็นการให้ความสำคัญตัวแทนภาคประชาชนที่เป็นองค์กรในสาขาอาชีพของตนเอง และมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศด้วย

9../  ให้มีการจัดระเบียบผู้ชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ

การชุมนุมเรียกร้องของประชาชนตามสิทธิต้องเป็นไปโดยสงบและไม่รบกวนสิทธิของผู้อื่น และต้องกระทำภายใต้กติกาของระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

โดยการนี้ ต้องมีกฎหมายจัดระเบียบการชุมนุม ดังนี้..


9.1.. การชุมนุมทุกครั้งต้องประกอบด้วย แกนนำผู้ชุมนุม และผู้เข้าร่วมชุมนุม (ระบุรายชื่อ) จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย  (การมีบทบัญญัตินี้ก็เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย และป้องกันการผสมโรง เช่นที่ผ่านมา มีการนำเอาคนงานชาวพม่าที่ไม่เกี่ยวข้องมาร่วมประท้วง)

9.2.. เจ้าหน้าที่บ้านเมืองสามารถเข้าระงับการชุมนุมที่ไม่เคารพกติกาและสิทธิของผู้อื่นได้ โดยการใช้กำลัง หรือ ยุทโธปกรณ์ให้การชุมนุมนั้นสลายตัว โดยผู้ชุมนุมจะยกข้ออ้างเรื่องสิทธิในการชุมนุมมาร้องเรียนไม่ได้อีก  (ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ถูกฟ้องกลับ ข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชน  การมีกฎหมายรองรับจะทำให้การยกข้ออ้างเรื่องสิทธิถูกระงับไป เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้ตามหน้าที่โดยไม่ต้องเกรงกลัวว่ากระทำผิดกฎหมายเสียเอง)

9.3.. หากตรวจสอบพบว่า การชุมนุมนั้นมิได้เกิดขึ้นโดยความเห็นชอบของผู้เข้าร่วมชุมนุม แต่ถูกเกณฑ์มาโดยผู้บังคับบัญชาก็ดี ผู้ที่สามารถให้คุณให้โทษก็ดี  ให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองฟ้องร้องเอาผิดกับแกนนำผู้ชุมนุมได้  (กรณีนี้พบบ่อย เมื่อมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการประท้วง ถูกปิดกั้นมิให้เข้าไปทำงานตามปกติ และผู้บังคับบัญชาคาดโทษหากไม่ร่วมมือ)

9.4.. แกนนำผู้ชุมนุมต้องรับผิดชอบร่วมกับผู้ชุมนุมที่ถูกตรวจพบว่า มิได้มีความรู้ ความเข้าใจในประเด็นที่มาเรียกร้องชุมนุม แต่ถูกเกณฑ์มาเพื่อให้การชุมนุมเกิดพลัง ถือว่า ต้องรับโทษฐานสมรู้ร่วมคิด ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และทำลายระบอบประชาธิปไตย  (พบมาก และพบบ่อย ในม๊อบเกษตรกรภาคอีสานที่ยกขบวนมาแบบ “ปักหลัก” ชุมนุมยืดเยื้อ  บางคนเป็นคนนอกพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน  และบางคนถูกหลอกมาโดยสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนเมื่อการชุมนุมบรรลุผลสำเร็จตามมุ่งหมาย)

9.5.. การให้ผลตอบแทนในรูปตัวเงิน หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ เพื่อเกณฑ์คนเข้าชุมนุม ให้ถือว่า กระทำผิดกฎหมาย  ต้องได้รับโทษทั้งแกนนำและผู้เข้าร่วมชุมนุมนั้นๆ  (พบบ่อย ในเกือบทุกม็อบ แต่ไม่เคยมีใครจัดการแม้จะมีหลักฐานการรับและจ่ายเงินก็ตาม เนื่องจากมีนักการเมืองที่มีอำนาจคอยหนุนหลัง นี่เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสรีภาพและการใช้สิทธิของประชาชนอย่างแท้จริง)


../ยังมีต่อ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 27-10-2006, 16:16

รายละเอียดระเบียบ การจัดการชุมนุม ... เอาไว้เป็นรายละเอียดในกฏหมายย่อยน่าจะดีครับ

รออ่านต่อ...


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 27-10-2006, 16:53
พี่บอนนี่ สวัสดีครับ

คมครับ กระทู้นี้   :slime_agreed:

ไม่เสียดายเวลานั่งอ่านครับ  ผมเห็นด้วยกับพี่มากในประเด็นการศึกษา
เคยคุยกับเพื่อนร่วมงาน ลูกเค้าอายุ 11-12 เสาร์อาทิตย์แกส่งไปเรียนพิเศษทั้งวัน
ทั้งเรียนวิชาการ ทั้งทำกิจกรรม  แกพูดเป็นนัยๆว่า เด็กต้องเก่งวิชาการ ต้องแข่งกับเด็กเก่งๆอีกเยอะ

ผมเองเป็นรุ่นน้องก็คงไม่อาจคัดค้านครับ ก็ได้แต่เสนอแนะว่า
พี่ครับ ประเทศไทยนี้แปลกนะ  เด็กๆมีความแข็งแกร่งทางวิชาการตั้งมาก
แต่หลายสิบปีที่ผ่านมา  ประเทศเราไม่มีนวัตกรรมอะไรออกไปขายชาวบ้านเขาได้เล้ย  :mrgreen:

ไอ้คำว่าเรียนเพื่อเอาความรู้ ไม่ใช่เอาปริญญา เอาเกรด จะมีเด็กกี่คนซาบซึ้งนะ
ก็ในเมื่อทุกวันนี้ ปูนซีเมนต์ไทย ปตท ยังรับคนต้องมีเกรด minimum อยู่เลยครับ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 28-10-2006, 07:40
สวัสดีครับทุกท่าน..

คุณนทร์..

ต้องอยู่ในหมวด "สิทธิเสรีภาพ" ซึ่งเป็นหมวดหลักครับ  ส่วนในหมวดหลักจะอ้างหมวดย่อยตรงไหน อย่างไรก็ตามแต่ ผมขอให้มีก็แล้วกัน  ที่ผ่านมารัฐบาลของนักการเมืองผ่านกม.ที่ผมพูดมาทั้ง 9 ข้อ ยาก  เพราะถ้ามีการบังคับใช้ เท่ากับยื่นกุญแจมือให้ประชาชนเป็นผู้ถือเอาไว้  นักการเมืองไทยคงไม่ร่วมมือกับประชาชนถึงขนาดนั้นหรอกครับ

และผมการันตีได้ว่า  หากยังมีนายมีชัย เป็นประธาน สนช. วิษณุ และบวรศักดิ์เป็นทีมงาน ก็ยากจะเห็นกฎหมายดีๆ ออกมาเพื่อประเทศชาติและประชาชนครับ

........................................

คุณพระเอกละครหลังข่าว..

ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ ที่จะทำให้คุณเห็นภาพ และเพื่อนคุณอาจได้คิดบ้าง

ไทเกอร์ วูด ถ้าวันนั้น พ่อของเขาตัดสินใจปักฐานครอบครัวที่เมืองไทย และไทเกอร์เกิดที่นี่ โตที่นี่ รับการศึกษา การเลี้ยงดูที่นี่

เราจะไม่มีวันได้เห็น นักกอล์ฟหมายเลขหนึ่งที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์คนนี้

แต่เราอาจได้เห็นไทยเกอร์  ในแวดวงต่อไปนี้..

เป็นนักกีฬาทีมชาติยิมนาสติก ได้เหรียญทองเอเชี่ยนเกมส์  หรือ ซีเกมส์ พออายุ 28 ปีไปแล้วก็เลิก

เรียนจบทางด้านบริหารธุรกิจ เป็นเซลส์ขายเครื่องกรองน้ำ

เล่นกอล์ฟก็คงไม่รุ่งหรอกครับ  เพราะสภาพแวดล้อม รวมทั้งการทุ่มเทของประเทศนี้ มันไม่มี


ตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่า คุณภาพของคนที่ดีที่สุดในโลก แต่ถ้าเอามาวางลงในระบบของประเทศที่โหลยโท่ย กลั่นและกรองออกมา ก็จะได้ คนที่มีคุณภาพพื้นๆ ธรรมดาๆ ของสังคมโลก

น่าเสียดายใช่ไหมครับ

ที่ผมพูดนี่ คือ ระบบที่เป็นความจริง ที่บางคนอาจไม่ยอมรับ เพราะถ้าไปพูดในที่สาธารณะ จะต้องมีคนด่าผมว่า ทำไมดูถูกประเทศตัวเองอย่างนี้วะ  ไปอยู่ประเทศอื่นสิ

ถ้าเรามีความคิดที่ไม่ยอมรับความจริงด้วยเหตุผลอย่างนี้  ไล่คนที่มองไม่เห็นเจตนาดี ไม่เห็นคุณค่าดีๆ ในตัวเขาออกไปจากประเทศให้หมด  คุณคิดว่า ประเทศนี้จะเหลืออะไรครับ?

ผมไม่ต้องทนนั่งหลังขดหลังแข็งพิมพ์กระทู้ยืดยาดแบบนี้ก็ได้  ทำไมผมยังต้องทำมัน ทั้งๆ ที่รู้ว่า ทำกระทู้ "แดกดัน" เป็นกระทู้ที่มีเรตติ้งดีที่สุด อ่านแล้วมันที่สุด

ผมทำมาหมดแล้วครับ  กระทู้ที่ว่าน่ะ

แต่ถ้าเราอยู่ในสังคมนี้มานานพอสมควร เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นคนสอนแล้ว ไม่ใช่คนเรียน เราจะรู้ว่า ถ้าเราไม่ทำ คนอื่นๆ ก็ไม่มีตัวอย่างที่ดีทำ


กลับมาที่เรื่องของ ไทเกอร์ วูดอีกที

คุณคิดไหมครับว่า  คุณแม่ของไทเกอร์เวลานี้ อาจกำลังขอบคุณพระเจ้า หรือ พระศาสดาองค์ไหนก็ตามแต่ที่เธอเคารพบูชา

"ขอบคุณที่ดลบันดาลให้ฉันได้ย้ายมาอยู่ประเทศนี้ในวันนั้น" :slime_worship:

ถ้าเราไม่อยากให้เป็นที่ดูหมิ่นเหยียดหยามในลักษณะนี้ เราต้องปรับปรุงตัวเองกันแบบจริงๆ จังๆ  เริ่มต้นด้วยความคิดที่เรียกว่า "ยอมรับความจริง" ก่อน

ถ้า ยอมรับ ได้อย่างไม่กังขาแล้ว  ทุกอย่างในหัวสมองจะเปิดรับความคิดเห็นดีๆ ใหม่ๆ ที่พร้อมจะบรรจุเข้ามา  เมื่อนำไปใช้ จึงเกิด "การปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้น"

แต่ถ้าอย่างแรกสุด คือ "การยอมรับความจริง" ไม่เกิดขึ้น ประเทศก็จบลงที่ตรงนั้น  ไล่คนมีคุณภาพให้ไปอยู่ในสังคมอื่นๆ ซะให้หมด  ก็คงเหลือความภาคภูมิใจที่จมอยู่กับ(ความดักดาน)ตัวเองไปเรื่อยๆ

ในทางกลับกัน (คิดอีกรอบ) ถ้าประเทศสามารถขับไล่ คนความคิดดักดานเหล่านี้ไปอยู่ประเทศอื่นแทน  สังคมอาจดีขึ้นกว่าเดิม โดยที่ไม่ต้องลงมือทำอะไรเลยด้วยซ้ำไป (แต่คงทำไม่ได้ เพราะดักดานจะมีมากกว่าหลายเท่าในประเทศนี้)

สำหรับความเป็นมนุษย์ในสังคมที่มีคุณภาพแล้ว  คุณภาพ ดีกว่า ปริมาณ แน่นอนครับ

ถ้าประเทศไทยเราจะมีประชากรสัก 20 ล้านคน ก็คงไม่เป็นไรหรอกครับ


....(ขออภัยทุกท่านด้วยที่อ่านกรอบความเห็นนี้ ผมอาจใช้คำไม่สุภาพและเหมาะสมพอในการจำกัดความ แต่เพื่อแสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนของ "ความจริง" ในสังคมไทย  สติปัญญาอย่างผม..ทำได้เท่านี้จริงๆ) :slime_worship:
...................




ปล. กรอบต่อไป คงต้องเป็นวันจันทร์นะครับ 


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 28-10-2006, 11:54
ท่านบอนนี่,
บางครั้งก็ต้องยกตัวอย่างครับเพื่อให้เห็นภาพ ชัดเจนดีครับ กรณีไทเกอร์ วูดส์
หมวดสิทธิต้องถือเป็นหัวใจหลักของรธน.ปี 2550เห็นด้วยครับ และควรจะบรรจุใหตำราเรียนของลูกหลานไทย
แล้วต้องจัดหลักสูตรให้เรียนรู้ง่าย น่าสนใจ ให้เด็กรุ่นใหม่ๆเข้าใจ ผมว่าคนเก่งๆที่จัดหลักสูตรของไทยมีเยอะครับ
กระทรวงศึกษาน่าจะต้องสนใจประเด็นนี้เป็นพิเศษเลยนะครับและรวมถึงกฎหมายพื้นฐานที่ประชาชนควรรู้
เผื่อเจอ ตำรวจขี้โกง(บางคน) หรือข้าราชการ เอาเปรียบ(บางคน) หรือนักการเมืองจอมโกหก(บางคน)
จะได้ต่อกลอนหรือคุยกันในกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอนได้อย่างภาคภูมิใจและการนี้ต้องภูมิใจด้วยที่รู้กฎหมาย
(ที่บางคนยัดเยียดว่าต้องรู้)ความจริงรู้เพียงบางกลุ่ม บางวิชาชีพเท่านั้นอย่างที่เราๆรู้กันอยู่
และเราต้องภาคภูมิใจกับฉายา ที่ข้าราชการหรือการเมืองบางคนตั้งให้เราว่า"ไอ้พวกหัวหมอ"ที่คอยปกป้องสิทธิ เสรีภาพให้กับประชาชน
ขอบคุณทั่นบอนนี่ครับเหนื่อยหน่อยครับ..แต่ผลที่ได้ให้ความรู้คนนั้นน่าจะคุ้มกว่านะครับ
จะติดตามต่อไปครับ :slime_v:



หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 28-10-2006, 17:32
คุณบอนนี่ครับ... บทบัญญัติที่อยากเห็นที่นำเสนอในกรอบที่ 6 นั้น... ผมมีทั้งข้อที่เห็นด้วยและสงสัยดังนี้ครับ

1../ สมาชิกวุฒิสภามาจากการคัดเลือกกันเองของประชาชนทุกสาขาอาชีพ
ข้อนี้ผมเห็นด้วยครับ แต่ผมยังติดใจในประเด็นที่ว่าสมาคมวิชาชีพนั้น การเมืองเข้าไม่ถึงจริงหรือ? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคัดเลือกจากกลุ่มเกษตรกรจำนวน 10 คน... ผมไม่เห็นสมาคมวิชาชีพที่ชัดเจน นอกจากสมัชชาคนจน สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนืออะไรเนี่ยแหละ (จำไม่ค่อยแม่น ขออภัย) บางวิชาชีพที่มี "คนจน" อยู่เป็นจำนวนมากนั้น จะประชุมที จะเดินทางทีก็แสนลำบาก การคัดเลือกจากสภาหรือสมาคมวิชาชีพประเภทนี้ ... อาจมีปัญหาครับ

 2../ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด และยกเลิกการเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลีสต์
ข้อนี้.. ตอนที่ตกลงกันให้มีปาร์ตี้ลิสต์ ก็เนื่องจากต้องการ "แยกอำนาจนิติฯ กับบริหาร" ออกจากกัน โดยรัฐมนตรีที่เลือกจาก สส.ที่ได้จากการเลือกตั้งในพื้นที่จะต้องทำการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งจะเป็นการตัด สส.อิทธิพลในท้องถิ่นเข้าไปบริหารในอีกทางหนึ่ง

ถ้าต้องเลิกปาร์ตี้ลิสต์... เวลาเลือก สส.จากการเลือกตั้งในพื้นที่เป็นรัฐมนตรี... จะต้องทำการเลือกตั้งซ่อมใหม่หรือไม่? และถ้าหากไม่จำเป็นต้องเลือกตั้งซ่อม จะเป็นการทำให้หลักอำนาจนิติฯที่ควรแยกขาดกับอำนาจบริหารมีปัญหาหรือไม่?

7../  ให้การยื่นถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นไปตามบทบัญญัติเดิม ยกเลิกการยื่นรายชื่อของประชาชน 50000 รายชื่อ
ข้อนี้ผมไม่เห็นด้วย... เพราะเดิมทีการมีมาตราดังกล่าวในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ไม่ได้คาดหวังผลการถอดถอนมากนัก... แต่เน้นให้มีช่องทางในการแสดงพลังของภาคประชาชนที่ "ชอบธรรม" ตามรัฐธรรมนูญ การคงไว้มีประโยชน์มากกว่าตัดช่องทางแสดงพลังตรงนี้ครับ... เหมือนกับกรณีที่นักศึกษาระดม 50,000 ชื่อเพื่อถอดถอนรัฐมนตรี ย่อมมีพลังกระทบในสังคมมากกว่าองค์กรนักศึกษาเพียง 1 องค์กรหรือ 10 องค์กรยื่นถอดถอนรัฐมนตรีครับ

8../  การลงประชามติ ที่สามารถเริ่มต้นจากประชาชนได้
ผมเห็นด้วยในหลักการ... แต่วิธีการที่นำไปผูกกับสมาคมวิชาชีพจนเกินไปนั้น ผมเห็นว่าเป็นการตัดตอนประชาชนออกจากกระบวนการครับ... และบางครั้งการทำประชามติสมควรเป็นการกระทำทั้งประเทศ... ตัวอย่างเช่น การทำประชามติรัฐธรรมนูญ ไม่ควรถูกผูกไว้เฉพาะกับสมาคมวิชาชีพกฎหมายเท่านั้น... แม้แต่เรื่องการจัดตั้งกระทรวงน้ำหรือการจัดเก็บค่าน้ำจากระบบชลประทาน... มีความซับซ้อนมากมายกว่ากลุ่มวิชาชีพเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม ฯลฯ... ควรมีช่องทางที่หลากหลายและเปิดโอกาสให้กับประชาชน(ที่สมเหตุผลไม่พร่ำเพรื่อ) มากกว่านี้ครับ

9.3.. หากตรวจสอบพบว่า การชุมนุมนั้นมิได้เกิดขึ้นโดยความเห็นชอบของผู้เข้าร่วมชุมนุม แต่ถูกเกณฑ์มาโดยผู้บังคับบัญชาก็ดี ผู้ที่สามารถให้คุณให้โทษก็ดี  ให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองฟ้องร้องเอาผิดกับแกนนำผู้ชุมนุมได้  (กรณีนี้พบบ่อย เมื่อมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการประท้วง ถูกปิดกั้นมิให้เข้าไปทำงานตามปกติ และผู้บังคับบัญชาคาดโทษหากไม่ร่วมมือ)
ข้อนี้มีช่องโหว่คือ ถ้าผู้เข้าร่วมชุมนุมเพียงหนึ่งคนถูก "ซื้อ" ด้วยราคาไม่แพงนัก แต่สามารถล้มกระบวนการชุมนุมได้ทั้งขบวนครับ

อย่างไรก็ตาม... การเน้นให้ความสำคัญในประเด็นสมาคมวิชาชีพเข้าไปในรัฐธรรมนูญนี้ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ... การพัฒนาวิชาชีพเราจะได้ก้าวหน้า ได้รับการเอาใจใส่ และส่งผลต่อระบบการพัฒนาทักษะ การศึกษา และคุณภาพคนให้มีคุณภาพได้อย่างรวดเร็ว

แต่ยังมีประเด็นสำคัญในเรื่องวิชาชีพก็คือ... สังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบันมี "วิชาชีพ" ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ... เราจะกันผู้คนเหล่านี้ออกไปจากการเมืองไทยหรือไม่ครับ?


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 28-10-2006, 17:40
ในกรณีของไทเกอร์วู้ดนั้น.... ผมเห็นด้วยทุกประการครับ...

แต่ผมก็ยังสงสัยอยู่ดีครับว่า ไทเกอร์ วู้ด ไปอยู่อเมริกาแล้วได้เป็นนักกอล์ฟหมายเลขหนึ่งของโลกได้นี้... เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของ "สมาคมวิชาชีพ" ในระบบการเมืองของอเมริกาหรือไม่? (อันนี้ผมไม่รู้เรื่องของต่างประเทศจริงๆ ครับ)


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 29-10-2006, 09:13
หมวดสิทธิต้องถือเป็นหัวใจหลักของรธน.ปี 2550เห็นด้วยครับ และควรจะบรรจุใหตำราเรียนของลูกหลานไทย
แล้วต้องจัดหลักสูตรให้เรียนรู้ง่าย น่าสนใจ ให้เด็กรุ่นใหม่ๆเข้าใจ ผมว่าคนเก่งๆที่จัดหลักสูตรของไทยมีเยอะครับ
กระทรวงศึกษาน่าจะต้องสนใจประเด็นนี้เป็นพิเศษเลยนะครับและรวมถึงกฎหมายพื้นฐานที่ประชาชนควรรู้

เห็นด้วยครับ..

ถ้าประชาชนไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิอะไรบ้าง ควรใช้อย่างไรจึงจะถูกต้อง เหมาะสม ก็ต้องศึกษา

ไม่ใช่เฉพาะในหลักสูตรการเรียน  แต่ทุกตำบล อำเภอ ต้องจัดให้มีการอบรมทั่วประเทศ  ใครที่ไม่ได้จบการศึกษาในระดับประถมปลาย ( ป.6 ) ต้องได้รับการทดสอบความรู้เบื้องต้นเรื่องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

ถ้าไม่เข้าอบรม ไม่ผ่านการทดสอบ ก็ไม่ควรมีสิทธิ์เลือกตั้งครับ  นี่ผมพูดจริงๆ นะ

..................................................

คุณพระพาย..

1../สมาคมวิชาชีพนั้น การเมืองเข้าไม่ถึงจริงหรือ?

เข้าถึงได้ครับ แต่ในทุกสาขาอาชีพจะมีเกราะป้องกันตัวเองตั้งแต่การจัดตั้งขึ้นมาอยู่แล้ว  การเข้าเป็นสมาชิกองค์กร  การเลือกตั้งประธาน รองประธาน ฯลฯ

การเข้าถึงของนักการเมืองไม่ใช่สิ่งน่าขยะแขยงเสมอไป  เพราะนักการเมืองเองก็อาจเคยเป็นสมาชิกในองค์กรที่ตัวเองทำงานมาก่อน  เช่น..สภาทนายความ  ..ข้าราชการพลเรือน  ฯลฯ  เป็นต้น
แต่การครอบงำ ซึ่งน่ากลัวกว่า คงทำไม่ได้ง่ายนัก หากแต่ละสาขาอาชีพมีจำนวนสมาชิกหลักหลายแสนถึงหลายล้านคน

ผมขอยกตัวอย่างกรณี เว็บเสรีไทย
การที่เว็ปถูกก่อตั้งขึ้นโดยคนที่มีอุดมการณ์ใกล้เคียงกัน เราเปิดรับสมาชิกจากบุคคลทั่วไป  แรกๆ ก็มีการกลัวกันว่า อาจถูกแทรกแซงจากกองเชลียร์ เหมือนในราชดำเนิน และเกิดการครอบงำด้วยปริมาณที่มากกว่า

แต่..ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ทำไม่ได้ง่ายนัก  เพราะมีเกราะที่ผู้ที่ร่วมกันก่อตั้งเว็ปนี้ช่วยกันสร้างขึ้นเพื่อปกป้องคนมีอุดมการณ์ร่วมกันไว้  ในขณะเดียวกัน สมาชิกเสรีไทยพันธุแท้ ก็ออกมาปกป้องบ้านของตัวเองด้วยอีกแรงหนึ่ง

ความจริงแล้ว จำนวน 1700 คนที่สมัครเป็นสมาชิกที่นี่  มีตัวตนจริงแค่ 1000 คน  มีเสรีไทยและผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกันแค่ 500 คน ในจำนวนนี้ active จริง (เข้าเว็ปบ่อย แสดงความคิดเห็นในบอร์ด) ไม่ถึง 200 คนหรอกครับ

ก็ลองคิดดูเถอะว่า  การจะล้มจำนวนสมาชิกที่เป็นพันธุ์แท้เสรีไทยแค่ 200 คนนั้นทำได้ไม่ยาก  แต่ก็ทำไม่ได้อยู่ดี  เพราะกฎเหล็กที่นี่บังคับใช้อยู่

ในทุกสังคมสาขาอาชีพก็เช่นกัน  กำเนิดขึ้นมาได้ ต้องเป็นสมาชิกที่อยู่ในสาขาอาชีพนั้นๆ เป็นผู้ให้กำเนิด  คนที่ได้รับเลือกเป็นประธาน  รองประธาน หรือ กก.ที่มีอำนาจในการกำหนดทิศทาง  ต้องอยู่ในสาขาอาชีพนั้นมาก่อน และนานมาก จนได้รับการยอมรับจากสมาชิกจริงๆ 

ผมไม่เชื่อว่า..คนในสาขาอาชีพนั้นๆ จะไม่ดูแลและปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มตัวเอง  ถ้าประธานหรือคณะกก.มีทีท่าว่าถูกอิทธิพลการเมืองครอบงำ  ในแต่ละสาขาอาชีพก็มีวิธีการ "ปลดออกจากตำแหน่ง" โดยใช้จำนวนสมาชิกได้เช่นเดียวกับองค์กรทางการเมือง

อย่างไรก็ดี แม้นักการเมืองที่ร่ำรวยมหาศาลจะครอบงำความเป็นอิสระของสาขาอาชีพหนึ่งได้ ก็ยังมีอีกหลายสิบสาขาอาชีพที่ครอบงำไม่ได้แน่นอน  เช่น..สายตุลาการ  สายนักวิชาการ  สายการแพทย์  สายสื่อมวลชน  สายเอ็นจีโอ ซึ่งคนทั้ง 5 กลุ่มนี้ก็ได้มีการกำหนดสัดส่วนเอาไว้ค่อนข้างมาก รวมแล้วเกินครึ่งแน่นอน

แรกๆ ในการนำมาใช้ อาจมีความพยายามที่จะครอบงำอยู่บ้าง  ซึ่งผมถือว่า ดี นะครับ เป็นบทพิสูจน์ว่า มาตรการนี้ใช้การได้หรือไม่  (บ้านที่ติดกันขโมยเอาไว้  ถ้าจะพิสูจน์ว่า มันใช้งานได้จริงหรือไม่ ต้องให้นักย่องเบาจริงๆ มาพิสูจน์) แต่ถ้ามีแรงต้านมากๆ และเห็นว่า ทำไปก็เสียแรงเปล่า ก็จะล้มเลิกความคิดในที่สุด  เราต้องปล่อยให้ระบบมันพัฒนาตัวเอง  ปกป้องตัวเอง  สร้างความมั่นคงให้ตัวเองขึ้นมา เชื่อว่า จะมีพัฒนาการไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

แนวความคิดนี้ ก็เป็นเพียงการวางรากฐานประชาธิปไตยในทุกองค์กรย่อยของสังคม และให้ทุกองค์กรย่อยเข้ามาทำงานในองค์กรบริหารทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ในรูปแบบขององค์กรรวม นั่นเอง

ที่แน่ๆ ยากกว่าการซื้อ สว.จากต่างจังหวัดแน่นอนครับ

................


2../  พูดถึงเจตนาของระบบปาร์ตี้ลิสต์ของผู้ร่างเดิมนั้นดี  แต่เวลานำมาใช้ พรรคการเมืองซีกรัฐบาล นำมาใช้ในทางที่ผิดหมด  ตั้งแต่กำหนดรายชื่อแล้ว

พรรคการเมืองนำปาร์ตี้ลิสต์มาเป็นเครื่องต่อรอง สิ่งสมนาคุณ ของผู้มีอุปการะ  มิได้คัดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าไปบริหารประเทศ  และเวลาใช้งานจริง ก็มิได้นำคนจากปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่เกินกว่า 20 มาใช้สักเท่าไร  แต่กำหนดไว้ตั้ง 100 ชื่อ  เป็นการพาผู้มีอุปการคุณที่ประชาชนแทบไม่รู้จักเข้าสภาแบบ "เป็นพวง" 

ถามดูได้นะครับ พรรคใหญ่ๆ ทั้งหลาย  ผู้ที่มีรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ลำดับต้นๆ เป็นคนดีของสังคม หรือ เป็นคนที่จ่ายแพงกว่าลำดับที่อยู่ข้างหลังกันแน่

ประชาชนเลือกปาร์ตี้ลิสต์ไทยรักไทยเข้ามา 60 รายชื่อ (สมมุติ) ด้วยการกาเบอร์เดียว ถ้าถามชาวบ้านจริงๆ ว่า รู้จักอีก 59 คนที่เหลือที่ตนเองมีส่วนเลือกเข้ามามากน้อยแค่ไหน  ผมว่า ไม่น่าจะเกิน 10 คนหรอกครับ

คนดีๆ จริงๆ จะไม่ไปอยู่ในปาร์ตี้ลิสต์ลำดับเกินกว่า 20 หรอกครับ  เขานั่งรอเป็นตัวเลือก "บุคคลภายนอก" ของนายกดีกว่า  บาทเดียวก็ไม่ต้องจ่าย  รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้อยู่แล้ว และนายกคนเก่าก็ทำประจำ เวลาต้องการกู้หน้าพรรค เขากลับไม่ไปมองรายชื่อในปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมา  มันก็แปลกอยู่

นอกจากนี้ ระบบนี้ ยังเป็นเกจ์วัดความนิยมในตัวพรรค และหัวหน้าพรรค มากกว่าอย่างอื่นๆ โดยเห็นได้ชัดเจนว่า ปิดทางพรรคระดับกลางลงมาแบบปิดตายไปเลย  ให้มีได้แค่สมาชิกไม้ประดับจาก สส.เขต  ซึ่งทำอะไรไม่ได้ เพราะหัวหน้าและกก.บริหารพรรคทั้งหมด สอบตกในระบบปาร์ตี้ลิสต์ 

เมื่อต้องลอยเคว้งอยู่ท่ามกลางสภา ไม่นานนัก ก็จะตีตนออกห่าง เพราะไม่มีแรงจูงใจในการทำงานการเมือง  ส่วนใหญ่ถูกพรรคใหญ่สอยไปหมด

ผมเห็นว่า มันไม่เป็นธรรมจริง และมีข้อบกพร่องมากเหลือเกิน  ถ้าใครหามาตรการมาอุดรูรั่วได้ ก็ยินดีรับฟังครับ แต่เท่าที่ดูโครงสร้างของปาร์ตี้ลิสต์แล้ว  คงยากจะแก้ไข

ส่วนการแยกส่วนฝ่าย นิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหาร ตามเจตนารมณ์ของผู้ร่างนั้น  ก็ปรากฏชัดเจนว่า แยกไม่ได้หรอกครับ  เพราะถ้าทำเช่นนั้น  คนที่มาจากปาร์ตี้ลิสต์สบายตายเลย  ไม่ต้องเข้าร่วมพิจารณาในการออกกฎหมายก็ได้  โดยเฉพาะตัวเองไม่ได้อยู่ในรายชื่อครม.  นอนตีพุงรับเงินเดือนๆ ละเหยียบแสน ไม่ต้องเข้าประชุมสภาก็ได้  ไม่ต้องดูแลประชาชนในพื้นที่ก็ได้เพราะไม่ได้มีเขตสังกัด

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ปาร์ตี้ลิสต์ระดับกลางๆ ถึงท้ายๆ ไม่มีบทบาททางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น  นอนดูทีวี รับตังค์อย่างเดียว (ถ้าหน้าด้านพอนะครับ)

....................

7../ ยกเลิกรายชื่อ 50000 คน

ที่ผ่านมา มีการนำรายชื่อมาจากทั้งสองฝ่าย ทั้งที่จะตรวจสอบและผู้ที่ถูกตรวจสอบ  ผมไม่อยากให้ประชาชนตกเป็นเครื่องมือครับ   เพราะในจำนวน 5 หมื่นที่จัดหากันมา  ก็สมาชิกพรรคการเมืองเกือบทั้งนั้น  ฝ่ายหนึ่งระดมได้ 5 หมื่น อีกฝ่ายบอก มีประชาขนอีก 14 ล้านพร้อมเข้าชื่อคัดค้านทันทีหากนายก หรือ รมต.ท่านนี้ถูกปลด  ผมว่า คงไม่มีใครยอมหรอกครับ  มันหมายถึง หมดอนาคตไปทั้งชีวิต ถ้าถูกถอดถอนโดยประชาชน

ระบบกลั่นกรองของเรายังไม่ดีพอ  ก็ต้องระวังการซื้อหาประชาชนด้วยวิธีง่ายๆ ด้วยนะครับ 

และอีกเหตุผลที่ผมเสนอให้ยกเลิก เพราะประชาชนทุกคนมีองค์กรที่มาจากสาขาอาชีพของตนเองสังกัดอยู่แล้ว  มีระบบตรวจสอบที่มาที่ไปของรายชื่อสมาชิกที่ขอยื่นเรื่อง ถ้าผิด ถูก แอบอ้างประการใด สมาชิกคัดค้านได้ทันที  ในขณะที่กม.เดิม 5 หมื่นรายชื่อ  รัฐโดย กกต. ไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบที่มาที่ไปเลย บอกตามตรง บางคนถูกแอบอ้างชื่อไปโดยที่ไม่รู้เรื่อง  หรือ บางทีโดนจ้างจากอีกฝ่ายให้บอกว่า ไม่รู้เรื่องก็มี  แต่ระบบที่สมาชิกมาจากองค์กรสาขาอาชีพที่มีการรับรอง ทำได้ยากกว่า

...................


8../  มิได้ตัดตอนประชาชนออกจากกระบวนการเลยนะครับ  ผมใช้วิธี Grouping มากกว่า  เพราะประชาชนทุกคนมีสาขาอาชีพสังกัดทั้งสิ้น  ไม่เว้นแม้แต่ นิสิต นักศึกษา นะครับ  คือ แทนที่จะใช้ระบบ ปัจเจกชน เรากรุ๊ปมาเป็นกลุ่มๆ แต่รากฐานก็มาจากประชาชนเหมือนเดิมทุกอย่าง

แต่ละกลุ่มมีการบริหารจัดการสมาชิกในกลุ่มตัวเองได้ดีกว่า การให้ประชาชนโดดๆ ออกมาค้านนะครับ

การที่นศ.ธรรมศาสตร์รวบรวมรายชื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา..

ในวิธีการใหม่นี้ ก็ยังทำได้อยู่นะครับ  ในส่วนขององค์กรนักศึกษาเอง  ส่วนประชาชนสาขาอาชีพอื่นๆ ที่เดิมไปเข้าชื่อกับ อมธ. ก็แค่ไปเข้าชื่อในองค์กรที่ตัวเองสังกัด  สุดท้ายก็มารวมกันว่า ทั้งหมด ทุกองค์กรได้รายชื่อมาเท่าไร แล้วไปยื่นต่อประธานวุฒิสภา

ผมเห็นว่า ไม่ปิดกั้นแน่นอน แต่จะทำให้เป็นระเบียบและได้ผลลัพธ์ที่ดีและเร็วขึ้น

.....................

9.3../  กรณีผู้ร่วมชุมนุมถูกซื้อ

ถ้าแกนนำสามารถหาหลักฐานมาได้ว่า มีการซื้อ-ขายกันจริง ก็จะทำให้ ผู้ซื้อ ผู้ขาย ติดคุกนะครับ  ตามกฎหมายที่อยากเห็น (ข้อ..9.5 ในกรอบเดียวกัน)

ความเสี่ยงของแกนนำมี ในขณะที่ผู้ที่คิดจะซื้อ จะขายก็มีเช่นกัน  เป็นการถ่วงดุลกันครับ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีตรงนี้ บ้านเมืองวุ่นวายก็เพราะม็อบจัดตั้งที่ไม่มีระเบียบนี่แหละครับ

ที่ผมพยายามทำอยู่นี้ ก็คือ.. การนำเอากฎหมายมาคุมกฎหมู่  ที่ผ่านมาเป็นกฎหมู่มาอยู่เหนือกฎหมายเสียนี่ (โดยหัวหน้ากฎหมู่ตัวจริง ก็คือ คนในรัฐบาลนั่นแหละ)











หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 29-10-2006, 09:49

ถ้าประชาชนไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิอะไรบ้าง ควรใช้อย่างไรจึงจะถูกต้อง เหมาะสม ก็ต้องศึกษา

ไม่ใช่เฉพาะในหลักสูตรการเรียน  แต่ทุกตำบล อำเภอ ต้องจัดให้มีการอบรมทั่วประเทศ  ใครที่ไม่ได้จบการศึกษาในระดับประถมปลาย ( ป.6 ) ต้องได้รับการทดสอบความรู้เบื้องต้นเรื่องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

ถ้าไม่เข้าอบรม ไม่ผ่านการทดสอบ ก็ไม่ควรมีสิทธิ์เลือกตั้งครับ  นี่ผมพูดจริงๆ นะ


คุณธรรมความดีสำคัญกว่าความรู้มิใช่หรือ?
เหตุใดเสนอให้ทดสอบความรู้ ไม่ทดสอบคุณธรรม?

คนดีย่อมเลือกคนดีเข้าสภา ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง
คนมีความรู้ไม่แน่ว่าจะโกงหรือเลว
ใช่หรือไม่?
ดังนั้น ควรให้คนดีเท่านั้นมีสิทธิเลือกตั้ง
คำถามคือจะวัดอย่างไร/บอกได้อย่างไรว่าคนไหนบ้างคนดี

หวังว่า จขกท. จะช่วยตอบ/อธิบาย ผู้ที่ไม่เข้าใจ/แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ
(แล้วพาลมาอ้าง/มั่วกล่าวหาเราเป็นพวกไม่นิยมคุณธรรมไปนู่น)
ให้เข้าใจแจ่มแจ้งได้ซะที


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 29-10-2006, 10:07

ผมขอยกตัวอย่างกรณี เว็บเสรีไทย
การที่เว็ปถูกก่อตั้งขึ้นโดยคนที่มีอุดมการณ์ใกล้เคียงกัน เราเปิดรับสมาชิกจากบุคคลทั่วไป  แรกๆ ก็มีการกลัวกันว่า อาจถูกแทรกแซงจากกองเชลียร์ เหมือนในราชดำเนิน และเกิดการครอบงำด้วยปริมาณที่มากกว่า

แต่..ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ทำไม่ได้ง่ายนัก  เพราะมีเกราะที่ผู้ที่ร่วมกันก่อตั้งเว็ปนี้ช่วยกันสร้างขึ้นเพื่อปกป้องคนมีอุดมการณ์ร่วมกันไว้  ในขณะเดียวกัน สมาชิกเสรีไทยพันธุแท้ ก็ออกมาปกป้องบ้านของตัวเองด้วยอีกแรงหนึ่ง

ความจริงแล้ว จำนวน 1700 คนที่สมัครเป็นสมาชิกที่นี่  มีตัวตนจริงแค่ 1000 คน  มีเสรีไทยและผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกันแค่ 500 คน ในจำนวนนี้ active จริง (เข้าเว็ปบ่อย แสดงความคิดเห็นในบอร์ด) ไม่ถึง 200 คนหรอกครับ

ก็ลองคิดดูเถอะว่า  การจะล้มจำนวนสมาชิกที่เป็นพันธุ์แท้เสรีไทยแค่ 200 คนนั้นทำได้ไม่ยาก  แต่ก็ทำไม่ได้อยู่ดี  เพราะกฎเหล็กที่นี่บังคับใช้อยู่


 :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 30-10-2006, 08:29
ตอบคุณSnowflake..

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของตนเอง เป็นความรู้พื้นฐาน เป็นสิ่งจำเป็นที่ประชาชนทุกคนไม่ว่า ดีหรือเลว มีคุณธรรมหรือไม่ ต้องรู้ก่อนที่จะใช้สิทธิ์เลือกตั้งครับ

ส่วนคุณธรรมประจำใจนั้น อยู่ในตัวตนของตนเอง ทดสอบไม่ได้หรอกครับ เพราะแกล้งมีกันก็ได้

ประชาชนที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในประชาธิปไตยและสิทธิอันพึงมีอยู่  แต่ยังขายสิทธิ์ขายเสียงก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้  เพราะอำนาจของเงินซื้อคุณธรรมประจำใจคนได้  ในประเทศหนึ่งๆ ประกอบไปด้วยคนดี และคนไม่ดี (แม้แต่คนในครอบครัวเราเองยังไม่สามารถกำจัดคนไม่ดีออกไปได้เลยครับ)เราคัดสรรแต่คนดีมาใช้สิทธิ์ไม่ได้  แต่เราให้ความรู้เรื่อง การใช้สิทธิ์ที่ถูกต้อง และความสำคัญของการใช้สิทธิ์เพื่อเลือกคนดีให้พวกเขาได้

แต่ประชาชนที่ไม่มีความรู้อะไรเลย  ทั้งการระบอบการปกครองของประเทศ และสิทธิอันพึงมีอยู่ของตนเองว่า มีอย่างไร สำคัญอย่างไร เมื่อไปกากบาท อันนี้ ไม่สมควรไปเลือกตั้งหรอกครับ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย 2550 ที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 30-10-2006, 09:06
[กรอบที่ 7]

ต่อไปนี้ เป็นกฎหมายลูก พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ และ/หรือ กฎกระทรวงต่างๆ ที่อยากเห็น..

1../  สิทธิประโยชน์ของผู้เสียภาษี

อยากให้มีกฎหมายประกาศเกียรติคุณผู้ที่เสียภาษีให้รัฐอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เช่น ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป  20 ปีขึ้นไป จนถึง 30 ปีขึ้นไป  ยกย่องให้บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ทรงเกียรติภูมิของประเทศ  และได้รับการดูแลเป็นพิเศษด้านสวัสดิการของรัฐ ตามลำดับของเกียรติภูมิ 

ตัวอย่างเช่น..

--เสียภาษีให้รัฐต่อเนื่องยาวนานเกิน 30 ปี มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญเมื่อแก่ชราในอัตรา 10% ของจำนวนเงินภาษีต่อปีล่าสุดไปจนตลอดชีวิต (ซึ่งลองคิดดูจะเห็นว่า ไม่มากเลยเทียบกับอายุที่เหลืออยู่ของเขา)

--สิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ ได้รับการอัพเกรดห้องพักเป็นห้องพิเศษแต่จ่ายในราคาปกติ และได้รับส่วนลด 10% ในกรณีค่ายากและค่าอุปกรณ์แพทย์ เป็นต้น

--สิทธิในการใช้ใบประกาศเกียรติคุณวางแทนหลักทรัพย์ในการประกันตัวผู้ต้องหา หรือ ค้ำประกันเงินกู้จากสถาบันการเงินของรัฐในจำนวนที่เหมาะสม

--ได้รับส่วนลดค่าเล่าเรียนของบุตรธิดาในสถานศึกษาของรัฐ  ตามลำดับของใบเกียรติคุณ เช่น 10% 20% 30% สำหรับผู้ที่เสียภาษีต่อเนื่องตั้งแต่ 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี เป็นต้น

การให้สิทธิประโยชน์จะทำให้ผู้เสียภาษีซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณแก่ประเทศชาติมีกำลังใจในการทำงานและยินดีเสียภาษีให้รัฐโดยไม่หลีกเลี่ยง และเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประชาชนรุ่นต่อๆ ไปสืบทอดเป็นแบบอย่าง

ทุกวันนี้ ผู้ที่เสียภาษีให้รัฐยาวนานไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ (อย่างเป็นรูปธรรมโดยตรง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัฐบาลทักษิณ บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีส่วนว่าจ้างให้คุณทักษิณและคณะทำงาน แต่กลับกลายเป็นพลเมืองชั้นสองไป เมื่อได้รับการดูแล เอาใจใส่น้อยกว่า รากหญ้าที่ไม่เคยเสียภาษีเลยด้วยซ้ำ

2../  กฎหมายตอบแทนประชาชนที่แจ้งจับข้าราชการที่คอร์รัปชั่น

การทำสงครามกับคอร์รัปชั่นที่ได้ผลที่สุด คือ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย  ไม่ใช่ใช้การปราบปรามโดยใช้อำนาจรัฐฝ่ายเดียว  แต่การที่ประชาชนต้องรับความเสี่ยงจากการแจ้งจับและแสดงตนเป็นพยานนั้น ต้องได้รับการยกย่องและตอบแทนเป็นเงินรางวัล เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนอยากมีส่วนร่วม และสร้างความหวาดกลัวให้ข้าราชการชั่ว

ทุกวันนี้.. หวังพึ่งได้แค่กล้องแอบถ่ายของไอทีวี เท่านั้น !!!

ตอนนี้ไม่ว่าประชาชนไปติดต่องานราชการส่วนใดก็ตาม หากเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมากแล้ว  ต้องจ่ายใต้โต๊ะให้กับข้าราชการทั้งสิ้น  เป็นการสมยอม (แกมบังคับ) และหากนำเรื่องเหล่านี้ไปเปิดเผยต่อสาธารณชนก็ไม่มีกฎหมายคุ้มครองโดยตรง เพราะประชาชนมีสถานที่อยู่แน่นอน แต่ข้าราชการย้ายและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ได้
โดยเฉพาะถ้าเป็นเอกชนที่รับงานจากภาครัฐ มีสิทธิ์ถูกขึ้นบัญชีดำ หรือ กลั่นแกล้งมิให้ทำงานนั้นโดยสำเร็จ

เช่น.. รถบรรทุกสิบล้อที่วิ่งผ่านถนนหลวง ทุกคันจนถึงเวลานี้ก็ยังต้องเสียภาษีรีดไถค่าผ่านทางแก้ไม่ตก  ..กิจการรับเหมาก่อสร้าง ใครที่คิดสร้างบ้าน ต่อเติม ทุบอาคาร ต้องเสียภาษีใต้โต๊ะให้ฝ่ายโยธาในเขตที่สังกัด หรือ อบต. ..กิจการรับเหมาก่อสร้างงานของภาครัฐ และงานที่เอกชนทำให้รัฐ ทุกกรณี  ต้องผ่านการจ่ายเงินใต้โต๊ะทั้งสิ้น  ..กิจการนำเข้าสินค้าผ่านกรมศุลกากร  เหล่านี้เป็นต้น

ถามว่า ประชาชน และเอกชนเหล่านี้ทำผิดกฎหมายหรือไม่?

ก็ต้องตอบว่า ไม่ได้ทำผิด แต่ดันเกิดมาผิดเพราะเกิดมาเป็นคนไทยที่ไม่มีเส้นสายเป็นนักการเมือง ไม่มีสี (จึงต้องวิ่งเข้าหานักการเมือง วิ่งเข้าหาสีฟ้า สีเขียว สีกากี) เมื่อต้องจ่ายภาษีใต้โต๊ะเหล่านี้แล้ว  ก็จำเป็นต้องเรียกคืนจากประชาชนผู้บริโภคถัดๆ กันต่อไป เพราะถือเป็นต้นทุนของสินค้าเช่นกัน

3../ กฎหมายคุ้มครองพยาน

พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ในคดีอาชญากรรมต่างๆ มีความเสี่ยงภัยมากต่อการแสดงตนเพื่อเอาผิดกับจำเลยที่มีฐานะทางสังคม หรือ จำเลยที่มีจิตใจอาฆาตแค้น

การคุ้มครองพยาน 24 ชม.ตลอดไป เป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง  ดังนั้น จึงต้องมีกฎหมายให้ความคุ้มครองสถานภาพและสวัสดิภาพของพยานออกมา เพื่อให้คนเหล่านั้นรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่นใจหากต้องเสี่ยงภัยจริงๆ  โดยสาระสำคัญของกฎหมายมีดังนี้..

--พยานสามารถร้องขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล ที่อยู่ของตนเองได้โดยความอนุแคราะห์ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ต้องแสดงแหล่งที่มาที่ไปในเอกสารของทางราชการ และรัฐจะต้องจัดหาที่อยู่ใหม่ให้พยานตามสมควรแก่ฐานะหากพยานร้องขอ

--เมื่อสอบสวนเอาผิดกับจำเลยได้ตามคำให้การของพยานแล้ว รัฐควรดูแลพยานต่อไปด้านสวัสดิการสังคม เช่น หางานให้ทำในหน่วยงานของรัฐ หรือ ให้เงินตอบแทนเป็นรางวัล อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง

--หากพยานถูกคุกคามจากจำเลย หรือ ผู้สนับสนุนจำเลย ทั้งด้านการงาน อาชีพ และสวัสดิภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว รัฐต้องกำจัดอำนาจที่คุกคามเหล่านั้นในทันทีและโดยเร็วที่สุด

--หากพยานถูกฆ่าตายหรือบาดเจ็บ อันสืบเนื่องมาจากการให้การเป็นพยาน รัฐต้องมีประกันชีวิตให้กับครอบครัวของพยานเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าพยานจะหาได้จากงานในหน้าที่ในชีวิตปัจจุบันอย่างน้อย 2 เท่า เป็นต้น  เช่น พยานทำงานได้รับเงินรายได้เดือนละ 1 หมื่นบาท อายุ 30 ปีขณะที่เสียชีวิต  ยังเหลืออายุงานอีก 30 ปี รัฐโดยการทำประกันชีวิตให้ ต้องจ่ายชดเชยให้ไม่น้อยกว่า  7.2 ล้านบาท ในกรณีที่บาดเจ็บก็ต้องจ่ายทดแทนช่วงเวลาที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้


ทุกวันนี้ พยานทำหน้าที่พลเมืองดี แต่บางครั้งได้รับผลตอบแทนเป็นความตาย รัฐดูแลแค่ช่วงงานศพ และอย่างมากก็ให้การศึกษาชั้นสูงสุดกับบุตรธิดา  แต่ลืมความอบอุ่น และความรักที่ต้องสูญเสียไปตลอดกาล ไม่ได้ตอบแทนคุณความดีให้กับพวกเขาเลย

4../ กฎหมายลดอำนาจข้าราชการมาสู่ประชาชน

ทุกวันนี้ในการติดต่อหน่วยงานราชการแทบทุกอย่างในชีวิตประจำวัน  ประชาชนต้องตกเป็นเบี้ยล่างให้ข้าราชการโขกสับ หรือมิฉะนั้นก็เรียกร้อง ค่าบริการพิเศษ เพื่อให้งานที่ติดต่อราชการนั้นลุล่วงไปได้  ทั้งๆ ที่กินเงินเดือนภาษีประชาชนแท้ๆ  หน่วยงานที่ประชาชนต้องสัมผัสและขอรับบริการเป็นประจำเหล่านี้ได้แก่.. สนง.ตำรวจแห่งชาติ ..สำนักงานโยธาธิการเขต ..อบต..อบจ ..ศุลกากร ..สนง.ที่ดิน  เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น..

ในการก่อสร้างบ้านหนึ่งหลังในตัวเมืองใหญ่ เช่น กทม. ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อให้ข้าราชการทุจริตดังนี้..

--ตอนซื้อ-ขายที่ดิน
จำนวนเงินแล้วแต่สภาพที่ดินที่ซื้อขายกัน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินเรื่องได้แก่..ค่ารังวัดปักหมุด  ..ค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกโฉนด ..ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบหลักฐานเอกสารในวันโอนกรรมสิทธิ์  เป็นต้น  ถ้าต้องจ่ายทุกขั้นตอนก็ตกประมาณ 10000 บาท

--ตอนเขียนแบบแปลนสร้างบ้าน 
เมื่อได้ว่าจ้างสถาปนิกเขียนแบบให้แล้ว ต้องนำไปยื่นที่สำนักงานโยธาเพื่อขออนุมัติใบอนุญาตก่อสร้าง  ขั้นตอนนี้จะดำเนินการเองก็ได้ แต่จะถูกดองเรื่องและสั่งให้แก้ไขเป็นคราวๆ ไป คราวละไม่ต่ำกว่า 45 วัน หลังจากอนุมัติแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่เขตตามมารังควานหน้างานเป็นระยะเพื่อตรวจหาความผิด  ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะให้หยุดงานก่อสร้างทันที
แต่ถ้าจ่ายค่าอนุมัติใบก่อสร้างแต่แรก ในอัตรา 5000 – 10000 บาท (บ้านขนาดกลางขึ้นไป) ใบอนุญาตจะออกให้ภายในหนึ่งเดือน

--ระหว่างที่รอใบอนุญาต หากต้องการถมดินเพื่อรอการปลูกสร้าง
ขั้นตอนนี้ คุณจะต้องโดนเรียกจากหลายหน่วยงานของรัฐเลยทีเดียว  ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเสียเองหรือผู้รับเหมาถมดินเป็นคนเสียก็ตาม เขาก็คิดราคากับคุณอยู่ดี  ได้แก่.. เจ้าหน้าโยธาเขตตามเคย  เพราะคุณต้องใช้รถแบคโฮขนาดใหญ่และส่งเสียงดัง ก่อให้เกิดความรำคาญ สกปรก  ค่าใช้จ่ายตรงนี้ประมาณ 5000 บาท ก็จบ  รถที่วิ่งบรรทุกดินมา ถ้าสมมุติว่า มาจากฉะเชิงเทราจะมาลงที่บ้านคุณที่กรุงเทพ  ต้องนับนิ้วดูว่า ผ่านสถานีตำรวจภูธรและนครบาลกี่แห่ง  สมมุติว่า 10 แห่ง  ระยะเวลาถมดินประมาณ 10 วัน  ก็จะต้องจ่าย แห่งละประมาณ 3000 บาท รวมแล้วก็ 30000 บาท  แต่ยังไม่จบ.. เพราะคุณวิ่งบนถนนหลวง ต้องเสียให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงด้วย เนื่องจาก รถบรรทุกดินมักไม่คลุมผ้าใบให้มิดชิด  ทำถนนสกปรก  บรรทุกน้ำหนักเกินอันจะทำให้ถนนพัง และสุดท้าย อุปกรณ์ที่ติดรถไม่สมบูรณ์ เช่น ป้ายทะเบียนเลอะเลือน  ..แตรไม่ดัง ..ยางอะไหล่ไม่มี ..ไฟสีเขียวแดงหัวเก๋งไม่ติด  เป็นต้น  ตรงนี้ต้องจ่ายเหมาไปประมาณ 5000 – 10000 บาท
แต่ยังครับ.. คุณอาจต้องเสียเพิ่มอีก ถ้าคุณให้เขาวิ่งรถเข้ามาตอนกลางวันแสกๆ ก็จะโดนเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก หรือ ตำรวจตรวจจับควันดำ  แต่ถ้าตำรวจคุณเคลียร์แล้ว ก็อาจแค่ทำให้เสียเวลาไปไถ่รถ  ถ้าโดนจับข้อหาควันดำ ก็ครั้งละ 1000 บาท ถ้าเคลียร์รวดเดียวจบงาน ก็ 5000 บาทโดยประมาณ
ถ้าเลี่ยงมาเข้ากลางคืนแทน  รถจะวิ่งได้หลังสี่ทุ่มเป็นต้นไป กว่าจะถึงบ้านคุณก็ประมาณ เที่ยงคืน  ชาวบ้านกำลังหลับพอดี  ถ้ามีใครร้องเรียนไปที่เขตหรือ สนง.ตำรวจแห่งชาติ คุณต้องระงับการถมดินไปจนกว่าจะเคลียร์กับชาวบ้านได้ (แม้จะจ่ายตังค์ไปแล้วก็เถอะ)

--เมื่อบ้านสร้างเสร็จ ต้องไปขอสาธารณูปโภค เช่น น้ำประปา และไฟฟ้า
ราคาค่าบริการพิเศษขึ้นอยู่กับว่า บ้านที่สร้างอยู่ในถิ่นทุรกันดานแค่ไหน  ต้องปักเสาไฟฟ้าพาดสายไฟหรือไม่  ต้องเดินท่อเมนประปาหรือไม่  ค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จอยู่ประมาณ 10000 บาท

ปัจจุบันมีความพยายามที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภคไปเป็นของมหาชน  ซึ่งการคิดค่าบริการพิเศษใต้โต๊ะจะน้อยลงไป  แต่ค่าบริการพื้นฐานจะต้องสูงขึ้นแน่นอน

--เมื่อบ้านเสร็จและได้ประปา- ไฟฟ้าแล้ว ต้องไปขอเลขบ้าน
ขั้นตอนนี้ ปกติแล้วเจ้าหน้าที่เขตจะต้องไปดูสถานที่ก่อสร้างว่าแล้วเสร็จจริงหรือไม่จึงจะออกเลขที่บ้านให้  ความยึกยักอยู่ที่  เจ้าหน้าที่อ้างว่า เจ้าของบ้านจะต้องมารับไปดูหน้างานแล้วพามาส่ง  ถ้าไม่มีเวลาก็จะขอให้แปลงเป็นค่าพาหนะแทน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ 500 บาท  เมื่อจ่ายไปแล้ว เขาจะเข้ามาดูหรือไม่ก็ได้ เราไม่รู้หรอก

--เมื่อเข้ามาอยู่และมีการต่อเติม
ไม่ว่าจะเป็นโรงรถเล็กๆ หรือห้องครัวน้อยๆ  หรือศาลาพักผ่อน  ซึ่งปกติจะไม่มีใครยื่นแบบขออนุญาตอีกครั้ง  แต่ถ้าสร้างโดยไม่ขออนุญาตเจ้าหน้าที่เขต  จะถูกสายตรวจของฝ่ายโยธาสั่งระงับ และแจ้งความดำเนินคดี  แต่ส่วนใหญ่จบลงที่จ่ายค่าบริการพิเศษไปในราคาตั้งแต่ 1000 – 5000 บาท

--เมื่อต้องการทุบบ้านหลังนี้
อยู่ไปนานๆ บ้านมันทรุด เสื่อมสภาพ  ขี้เบื่อ  แก้ไขยากและเสียค่าใช้จ่ายมากๆ  ก็ต้องทุบทิ้ง  การทุบบ้านทิ้งต้องอาศัยวิศวกรคุมงาน  ถ้าเจ้าของบ้านไม่ใช่วิศวะโยธา ก็ต้องว่าจ้างวิศวะโยธาอาชีพในอัตราประมาณ 5000 – 10000 บาท เพื่อลงลายมือชื่อในใบคำขอทุบ  เขาลงชื่อแล้วจะมาตรวจหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพบ้านใกล้เรือนเคียง  เมื่อได้ลายเซ็นแล้ว เรื่องก็ยังไม่จบ ต้องเขียนแบบและรายละเอียดในการทุบตึกเพื่อขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่เขตด้วย  :ซึ่งเจ้าของบ้านที่ไม่ใช่สถาปนิก วิศวกร คงยากที่จะทำได้เอง

แต่ถ้าใช้บริการของโยธาเขต  ก็จะต้องจ่ายค่าบริการพิเศษในอัตรา ประมาณ 10000 – 20000 บาท

--เมื่อทุบบ้านทิ้งแล้ว จะสร้างใหม่ ก็จะกลับไปสู่ขั้นตอนการเสียค่าบริการพิเศษต่างๆ อีกครั้ง

อีกตัวอย่าง..

ถ้าประชาชนต้องการเปิดร้านอาหาร  ถ้าเป็นร้านเล็กๆ เปิดกลางวัน เย็นเก็บร้าน ก็อาจรอดตัวไป จ่ายเฉพาะค่าภษีให้เขตพอสมน้ำสมเนื้อก็จะอยู่ต่อไปได้  แต่หากไม่ต้องการจ่ายแพง ให้ทำร้านเป็นสภาพรถเข็น (แต่คนเข้าไปนั่งในร้านได้) จอดอยู่นอกร้าน  ก็จะเสียภาษีในอีกอัตราหนึ่ง  ซึ่งคนที่จะทำหูไปนา ตาไปไร่ ก็คือ เจ้าหน้าที่สายตรวจของเขตที่คุณต้องชำระค่าบริการพิเศษแล้วเท่านั้น
แต่ถ้าเป็นร้านใหญ่ (ติดแอร์ /สวนอาหาร / มีดนตรี) และเปิดให้บริการตอนกลางคืนด้วย  เสร็จแน่นอน เพราะต้องเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่หลายสำนัก และทุกสำนักจะเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะของคุณเหมือนผีสูบเลือด
เช่น.. ร้านอาหารกึ่งผับที่เปิดให้บริการตั้งแต่ 18.00 – 24.00 น. แห่งหนึ่ง
ตอนตกแต่งร้าน  เสียให้เขต 10000 บาท
ตอนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา – บุหรี่ เสียให้เจ้าหน้าที่รัฐ 10000 บาท
ตอนขอใบอนุญาตประกอบกิจการร้านอาหารที่มีเครื่องดนตรี  เสียให้เจ้าหน้าที่กรมอนามัย เจ้าหน้าที่สภาพแวดล้อม เจ้าหน้าที่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมแล้วประมาณ 30000 บาท  ซึ่งก็มิได้หมายความว่า จะได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องนะครับ  เพียงแต่ เขาให้คุณเปิดดำเนินการได้โดยไม่มาทวงถามต่างหาก

เนื่องจากถ้าถือเป็นธุรกิจที่ให้ความบันเทิง โดยมีดนตรีและนักร้องนั้น  สนง.ตำรวจแห่งชาติจะถือว่า คุณเป็นทาสของส่วยตลอดกาล  จับเมื่อใด ผิดเมื่อนั้น  ถ้าคุณร้องถามความชอบธรรม จะโดนหนักกว่าเก่า เอาง่ายๆ เขาส่งตำรวจในเครื่องแบบมานั่งเฝ้าทั้งคืน  ที่ไหนมีตำรวจนั่ง ประชาชนจะไม่เข้าไปใช้บริการหรอกครับ
ถ้าอยากได้ใบอนุญาตจริงๆ ให้ไปชักชวนคนมีสีทั้งเขียวและกากี ยศตั้งแต่ผู้บัญชาการขึ้นไป หรือ นักการเมืองที่มีตำแหน่งในรัฐบาล (ระดับสส.ไม่พอ) มาลงชื่อเป็นหุ้นส่วนลมแล้วให้เขาช่วยออกแรงดันให้  ก็อาจจะได้ใบอนุญาตออกมา โดยคุณไปจ่ายเงินสมนาคุณให้ผู้มีอุปการคุณที่ไปชักชวนมาแทน

ยังมีอีกหลายตัวอย่างนะครับ  การออกของจากท่าเรือที่ต้องผ่านศุลกากร  หรือ งานก่อสร้างถนน-ทางหลวงแผ่นดิน  ไม่ว่าคุณจะขนของที่สุจริต และได้งานมาโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างไรก็แล้วแต่ คุณต้องจ่ายค่าบริการพิเศษทั้งสิ้น
(ท่านทราบหรือไม่ว่า งานสร้างถนนหลวงนั้น เนื้องานจริงๆ แค่ 50% เท่านั้น  ที่เหลืออีก 50% จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ส่วนการอ้างราคากลางนั้น เป็นการอ้างตามเอกสาร  เวลาทำงานจริงๆ  ผู้ที่ตรวจรับงานก็คือ เจ้าหน้าที่รัฐอีกตามเคย  จึงพบว่า ถนนส่วนใหญ่ถูกลดสเปคลงจากเนื้องานในเอกสาร  ประชาชนและ สตง.ไม่มีทางรู้ เพราะคงไม่มีใครสั่งให้ทุบถนนออกเพื่อเช็คความหนาของเหล็ก ความหนาของคอนกรีต  ความหนาของดินลูกรังหรอก จริงไหมครับ)

คราวนี้เราจะแก้อย่างไร ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้ประชาชนไม่ต้องถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่ของทางราชการหน่วยงานต่างๆ ได้?

วิธีที่ผมเสนอ คือ ให้ออกกฎหมายให้ประชาชนมีสิทธิ์ขออนุญาตประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและธุรกิจ กับ หน่วยงานเอกชนที่ได้รับสัมปทาน หรือ ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลแล้ว  ดังเช่น ที่สามารถแก้ปัญหาขององค์การโทรศัพท์ และสถานพยาบาล ในอดีตได้

เอกชนที่จัดตั้งเป็นรูปบริษัท  สามารถออกใบอนุญาตก่อสร้าง  ใบอนุญาตทุบอาคาร  ใบอนุญาตให้ขนถ่ายวัสดุที่อาจเป็นอันตรายและสกปรกบนท้องถนน  สามารถทำเรื่องรังวัดที่ดิน และยื่นขอให้ออกโฉนดกับกรมที่ดิน แทนประชาชนได้  โดยประชาชนจ่ายค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงกว่าจ่ายให้กับหน่วยงานของรัฐ

ตรงนี้ นอกจากเป็นทางเลือกให้ประชาชนแล้ว ยังเป็นการลดทอนอำนาจในการข่มขู่ เรียกร้องจากข้าราชการของรัฐได้ด้วย  อีกทั้งทำให้รัฐมีรายได้จากการเก็บค่าสัมปทาน หรือ ค่าต๋งจากเอกชนที่ได้รับอนุมัติให้ทำงานเหล่านั้น แทนที่จะเสียให้กับข้าราชการขี้โกง  ถือเป็นการปราบคอร์รัปชั่นอีกวิธีหนึ่ง



กฎหมายต่างๆ ที่ผมแนะนำมานี้  ไม่แน่ใจว่า เกิดชาตินี้จะได้เห็นกันหรือไม่ ตราบใดที่ผู้ออกกฎหมายกับผู้ที่บังคับใช้กฎหมายยังเป็นคนกลุ่มเดิมและกลุ่มเดียวกันกับที่ได้รับผลประโยชน์เช่นนี้




../ยังมีต่อ


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย 2550 ที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 30-10-2006, 09:38

2../  กฎหมายตอบแทนประชาชนที่แจ้งจับข้าราชการที่คอร์รัปชั่น

การทำสงครามกับคอร์รัปชั่นที่ได้ผลที่สุด คือ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย  ไม่ใช่ใช้การปราบปรามโดยใช้อำนาจรัฐฝ่ายเดียว  แต่การที่ประชาชนต้องรับความเสี่ยงจากการแจ้งจับและแสดงตนเป็นพยานนั้น ต้องได้รับการยกย่องและตอบแทนเป็นเงินรางวัล เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนอยากมีส่วนร่วม และสร้างความหวาดกลัวให้ข้าราชการชั่ว



อันนี้หนูมีประสบการณ์ตรงเล่าให้ฟังค่ะพี่บอนนี่

เมื่อประมาณ 8 เดือนที่แล้ว

กลุ่มของหนูทราบเรื่องการฮั้วประมูลผลิตสื่อของหน่วยงานราชการระดับจังหวัดแห่งหนึ่ง

เริ่มจากการประกาศให้ยื่นซอง ก่อนเปิดซองแค่ 3 วัน....

ประกาศมีเพียงจดหมายไปแปะไว้ที่บอร์ดหน้าสำนักงานของเขาเท่านั้น ไม่มีประกาศมาที่กรมบัญชีกลางด้วยซ้ำ...

คนที่ยื่นซองประมูล มีเพียงรายเดียว... (เป็นเจ้าประจำ) จะมีรายอื่นได้ไง ในเมื่อไม่มีใครรู้เรื่องประกาศนั้นเลย

และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ทำให้เราสงสัย ทีนี้ก็เลยลองสืบหาต้นตอของบริษัทที่ยื่นซอง

ตามไปจนถึงที่อยู่ที่แจ้งไว้ในการจดทะเบียนบริษัท

ปรากฎว่าบริษัทที่ระบุจดทะเบียน 10 ล้าน มันเป็นทาวเฮาส์เล็กๆ แถวบางบัวทอง

ที่มีอาซิ่ม กับหลานเล็กๆ 2 คนอยู่ในบ้าน ไม่รู้จักอะไรบริษัทนี้เลยค่ะ

ด้วยความสงสัยต่างๆ ที่มี และสิ่งที่ค้นพบจากความอยากรู้อยากเห็น

เราเลยแจ้งร้องเรียนไปที่กระทวงต้นสังกัดค่ะ..

ปรากฎว่าแจ้งมาถึงตอนนี้ก็ล่วงเข้าไป 8 เดือนแล้วค่ะ ไม่มีอะไรคืบหน้า

นอกจากไม่มีอะไรคืบหน้าแล้ว ยังดูปิดการสื่อสารอีกต่างหาก โยนกันไปโยนกันมา

เพื่อนๆ หลายคน เตือนว่า อันนี้มันราคาแค่ 1 ล้าน เป็นเงินน้อยมากของราชการ เค้าคงไม่ใส่ใจหรอก เราอย่าไปใส่ใจเลย


แม้จะเป็นเงินก้อนเล็กๆ ถ้าเทียบกับโปรเจคต์ใหญ่ๆ อื่นๆ ของราชการ แต่.. เราควรคิดอย่างนั้นเหรอคะ???


ถึงตอนนี้ ทางสำนักงานในจังหวัด รู้แล้วอ่ะค่ะ ว่ากลุ่มของหนูร้องเรียนไป

ก็มีการโทรศัพท์ขอคุย พยายามชี้แจง แต่โชคดีที่เค้าไม่ข่มขู่ (อาจเป็นเพราะรู้จักกัน และเคยทำงานร่วมกับมาก่อนค่ะ)

งานนี้คงจะไม่มีข้อสรุปอะไรค่ะ และเราก็เหนื่อยแล้วเหมือนกัน

ยังตัดสินใจกันอยู่ ว่าจะตามเรื่องต่อไหม จะมีผลอะไรกับเราหรือเปล่าก็ไม่รู้ ผลดีไม่มีอยู่แล้วค่ะ แต่ผลร้าย.. ไม่แน่

แต่ที่แน่ๆ เสียความตั้งใจที่สุดแล้วล่ะค่ะ


แบบนี้ พี่คิดว่า จะมีประชาชนคนไหนจะมีแรงจูงใจ อยากจะช่วยเป็น watch dog ไหมล่ะคะ???


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย 2550 ที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 30-10-2006, 17:27
สวัสดีครับคุณเก็ดถวา..

อย่าดูแคลนว่า ยอดเงินแค่ 1 ล้านบาท

เพราะจำนวนแค่นี้ รวมกันทั่วประเทศก็หลายร้อยล้านบาทแล้ว

ตัวอย่างของน้ำหวานก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของรากเหง้าความชี่วช้าที่รัฐบาลทุกชุดทุกสมัยไม่เคยแก้ปัญหาได้  เพราะคนในรัฐบาลเองก็อาศัยคนเหล่านี้เป็นคนลำเลียงส่วยให้

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรบรรจุหนทางแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นลงไปด้วยเลย โดยไม่ต้องรอพึ่งพารัฐบาลให้เป็นผู้ปราบปราม (เพราะหวังพึ่งไม่ได้)

แต่ก็คิดว่า เรื่องเหล่านี้ ก็คงไม่เป็นที่น่าสนใจของคนใน สนช.สักเท่าไรหรอกครับ เชื่อว่า กฎหมายที่เขาจะมุ่งเน้นก้นก็คงเป็นเรื่องของ การเลือกตั้ง การใช้อำนาจ และการระงับการใช้อำนาจ  การตรวจสอบผู้บริหาร และการเลือกตั้ง

มากกว่านี้ คงหวังยากครับ  ผมบอกแล้วว่า กฎหมายใดที่ให้ประชาชนเป็นผู้ถือกุญแจมือ พวกเขาจะไม่ออกครับ  เหตุผลมันมี  แต่ผมจะไม่ขอพูดในที่นี้ก็แล้วกันเพราะมันละเอียดอ่อน และจะมีคนหาว่า ผมกล่าวหาเอาได้


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย 2550 ที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 02-11-2006, 03:59
เห็นเครื่องมือของเวบมีให้ทดลองสร้างตารางด้วย... ผมจะทดลองใช้ให้เป็นประโยชน์นะครับ

รัฐธรรมนูญ 2540ฉบับ *bonny
มาตรา 99 การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อยกเลิกการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
มาตรา 121 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวนสองร้อยคนไม่เกิน 200 คน เลือกตั้งจากองค์กรสาขาอาชีพ
มาตรา 211 คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเพิ่มเติมให้ต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา
???การถอดถอนนักการเมืองโดยประชาชน
???การทำประชามติ
???กฎหมายตอบแทนประชาชนช่วยต่อต้านคอรัปชั่น
???กฏหมายคุ้มครองพยาน
???กฎหมายลดอำนาจราชการสู่ประชาชน


แฮ่... ทำโครงไว้แล้วรู้สึกว่าต้องใช้เวลา หลังเลยเริ่มยาว ตัวก็เริ่มเป็นขน แถมง่วงอีกต่างหาก...

เอาไว้แค่นี้ก่อนแล้วกันครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย 2550 ที่..อยากเห็น**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 02-11-2006, 07:15
ขอบคุณครับคุณพระพาย..

แม้ตารางยังไม่สำเร็จ แต่รูปร่างไฉไลทีเดียว :slime_fighto:

ผมคิดว่า กระทู้นี้ คงได้กลับมาเป็นประโยชน์อีกครั้งเมื่อมีคณะกก.ร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่แล้ว  และเราสามารถนำหัวข้อต่างๆ ที่เขาจัดทำไว้มาอภิปรายเพิ่มเติม

ตอนนี้ผมก็เพียงแค่พยายามดันผ่านการเสวนาภาคประชาชนไปเรื่อยๆ  ที่กท.ไอซีทีก็กำลังเปิดบอร์ดรับฟังความเห็นอยู่  ก็คงทำได้แค่นี้  แต่แค่นี้ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย  จริงไหมครับ :slime_smile:


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 19-09-2008, 08:32
กระทู้นี้ห่างเหินไปหลายปีแล้ว  แต่ผมเคยคิดเสมอว่า สักวันหนึ่งจะถูกขุดขึ้นมาเป็นกระทู้อ้างอิงเชิงวิเคราะห์ได้ จึงทุ่มเทเวลาให้กับมัน  นาน..นมากครับ กว่า 2 สัปดาห์ในการเขียน

...................................

แรกๆ ผมไม่ประสีประสากับการเมืองใหม่ ระบบ 70 / 30 ของพันธมิตรเท่าใดนัก  แต่หลังจากฟังอจ.เจิมศักดิ์ แล้ว ก็ฉุกคิดขึ้นได้ว่า ผมเคยส่งร่างรัฐธรรมนูญรูปแบบใหม่ให้กับ สสร. ที่มี นต.ประสงค์  อจ.เจิมศักดิ์ และคุณคำนูญ เมื่อปี 2550 ไปลองศึกษาและพิจารณาดู  ความยาวของต้นเรื่องก็ประมาณ 30 กว่าหน้าเท่ากับหนังสือรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งเลยทีเดียว

และก็ได้นำสำเนามาถ่ายทอดเอาไว้ในบอร์ดแห่งนี้เพื่อให้มีการบันทึกเป็นหลักฐานและมีการถกกันในระดับหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจ  ก็มีคุณพระพาย..คุณScorpio และอีกหลายท่านในเสรีไทยร่วมถก แม้จะไม่มากนัก ด้วยเหตุผลจากเนื้อกระทู้ที่ยาวและบางครั้งเข้าใจยากนั่นเอง  แต่อยากจะบอกว่า การเมืองภาคประชาชนต้องเริ่มต้นจากการนำหลักวิชาการมาผนวกกับแนวคิดใหม่ของประชาชนแล้วเสนอต่อองค์กรที่รับผิดชอบ และทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้  จึงจะเป็น "ประชาภิวัฒน์" ตามความหมายของพันธมิตรอย่างแท้จริง

ถ้า สสร.ชุดนั้นได้หยิบยกข้อดี/ข้อด้อยของกรอบการพิจารณาในหัวข้อนี้ของชาวเสรีไทยไปพิจารณา และส่งผลให้เกิดร่าง รธน.ฉบับปัจจุบันในบางส่วนบางตอน และ พันธมิตร (ซึ่งหนุนหลังโดยอดีต สสร.ตามรายนามที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น) นำไปขยายต่อ  ก็น่าจะเป็นผลสำเร็จของการเมืองภาคประชาชนที่มีจุดเริ่มต้นมาจากชุมชนเล็กๆ ในเสรีไทยเว็บบอร์ดแห่งนี้....

สิ่งนี้แหละที่ผมอยากเห็นชาวเสรีไทยมุ่งมั่นและดำเนินการต่อไป นอกจากกระทู้รายวันที่เน้นเรื่องเหตุการณ์ทางการเมืองในเวลานั้น แล้วจางหายไปเมื่อมีเหตุการณ์ใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่

ต้องตั้งคำถามตัวเองว่า เรามาสังกัดบอร์ดแห่งนี้เพื่ออะไร เป้าหมายหลักคือ ต้านระบอบทักษิณนั้นแน่นอน แต่นอกเหนือจากนั้น ก็คือ สามารถนำเสนอสิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคมที่เราสังกัด (มิใช่หรือ)  หาไม่เช่นนั้น การก่อตั้งขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ดของผมก็ไร้ความหมาย ไม่มีอะไรให้รู้สึกยินดีเลยแม้แต่น้อย และผมก็ไม่มีคำตอบสำหรับตัวเองเหมือนกันว่า เข้ามาเล่นที่นี่เพื่ออะไร (กันแน่) :slime_doubt:
...............................................................

มีประเด็นที่น่าสนใจมากๆ สำหรับคอการเมืองระดับฮาร์ดคอร์ที่ชอบศึกษาแนวคิดและหาคำตอบทั้งในแง่ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์

การเมืองใหม่ อาจเริ่มมาจากกรอบที่ 6 ในความเห็นที่ 24  และ กรอบที่ 7 ในความเห็นที่ 35 ก็ได้ และหากมีเวลาได้อ่านบทความทั้งหมด ก็จะพบว่า มีจุดเริ่มต้นหลายๆ อย่างที่ปรากฏเป็นรูปธรรมแล้ว  เช่น..การลดจำนวน สส.ในสภาลง

การให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง  สิทธิของประชาชนในการยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยง่าย  และการคัดเลือกประชาชนตามสังกัดของสาขาอาชีพมาเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย (ในบทความนี้เป็น สว. แต่พันธมิตรใช้เป็น สส. ไปเลย) เป็นต้น


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: chaturant ที่ 19-09-2008, 11:34
ใช่ การเมืองใหม่ของ พธม.  คล้าย กับ ข้อเสนอในเสรีไทยเลย  ตอนนี้มี พธม. กำลังเดินความฝันให้เป็นจริงแล้ว ดังนั้นเราต้องช่วยกัน สนับสนุนต่อไป ผมเห็นด้วยหลายๆอย่างมากเช่น นายกมาจากประชาชนโดยตรง เพื่อให้เป็นอิสระจาก สส. ไม่ต้องมีระบบโควต้า   ให้นายกเลือกผู้บริหารได้อย่างอิสระ   

2. เห็นด้วยมากที่ สส. มาจากสาขาอาชีพ   

สู้ๆครับ ช่วยกันผลักดันการเมืองใหม่ ช่วยกันปากต่อปาก 


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 19-09-2008, 12:15
ช่วงผ่อนคลาย เลยได้แวะเข้ามาอ่านความรู้
ขอบคุณที่ดันกระทู้ดีๆมาให้อ่านครับ :slime_smile:


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: mr.g ที่ 19-09-2008, 14:30



ทำไมไม่ปักหมุดละครับ
ทุกคนก็คิดคล้ายๆกัน ต่างกันในหลักการเล็กๆน้อยๆ
สุดท้ายแล้ว กะทะความคิดมันจะหลอมทุกอย่างให้ลงตัวเท่านั้นเอง




....




หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: mr.g ที่ 19-09-2008, 15:03
ฝากลิงค์ไว้ด้วยครับ
http://forum.serithai.net/index.php?topic=33443.msg347480#msg347480
อยากเห็นมันเกิดขึ้นจริงๆ

ผมรอมาตั้งแต่ สสร. ที่ร่างรัฐธรรมนูญ 40 แล้ว ตอนนั่งทำกราฟฟิคให้ สสร.1 ปี40
มันไม่เคยได้ดั่งใจ  ....มันไม่เคยเกิดขึ้น .....
อย่าให้ สสร.3 ทิ้งประเด็นเหล่านี้เป็นอันขาด

ประชาชน ต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงครับ

ไม่ใช่ ปล่อยให้พวกอันธพาล เจ้าพ่อ เจ้าแม่ นักเลงหัวไม้ เจ้าของบ่อนซ่อง
เจ้าของคิวรถบรรทุก รถเมล์  พ่อค้าของเถื่อน ใช้เงินใช้อำนาจซื้อเสียง ซื้อ
อันดับในปาร์ตีลิสท์ เข้ามาทำงานเหมือนที่ผ่านๆมาอีก
:slime_mad:


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: SU5 ที่ 19-09-2008, 15:30
อ่านลำบากเหลือเกินครับ แต่จะขอปริ้นเก็บไปอ่านนะครับ  :slime_v:


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: วิหค อัสนี ที่ 19-09-2008, 15:33
ขอแนะนำอย่างนึงว่า ให้ตั้งกระทู้รวม link กระทู้การเมืองใหม่ ที่สมาชิกในนี้หลายๆ คนเคยเสนอไว้ ครับ


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 19-09-2008, 15:40
เข้ามาอ่านอีกครั้งหนึ่ง
ได้อ่านกระทู้นี้ใหม่
ได้คิดว่าผมเสียเวลากับกระทู้/คคห.พวกหนึ่งไปไม่น้อย

แม้ว่าจะช่วยให้เวบเสรีไทยไม่ถูกกลืน ก็ตาม
แต่เสียโอกาสแสดงความคิดเห็นเป็นตามที่อยากจะเป็น....


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 19-09-2008, 15:44
ขอเสนอให้ผู้ดูแลเวบ หยิบกระทู้นี้ขึ้นข้างบนใหม่
เพื่อให้สมาชิกอ่านช้าๆ เปรียบเทียบกับ'การเมืองใหม่'
ของห้าแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย.....!!!


เป็นแม่น้ำแห่งปัญญาสายหนึ่งให้พิจารณาศึกษา ควบคู่ไป...ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า



หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 19-09-2008, 16:08
กระทู้ผมอยู่ไหนก็ไม่รู้ อิ อิ

เสนอไว้ 1คน 3 เสียง งดปาร์ตี้ลิสต์ เป็นสภาอาชีพ มีสภาอาวุโส 10-20 คน เผื่อไว้เวลาหานายกคนนอกไม่ได้

สส. มาจากการเลือกตั้ง นายกมาจากสภา

ส่วนการตรวจสอบ ก็ใช้ของเดิมๆ จาก 40 และ 50

แต่ควรเพิ่มโทษทำผิดรัฐธรรมนูญ ให้มีโทษอาญา

ที่เหลือไปต่อเอาเอง ผมดูแค่การเข้าสู่อำนาจ เป็นหลัก

ถ้าเลือกตั้งได้คนดีมันก็ดีไปหมด

กกต. ต้องปฏิรูป...

ฝากไว้แค่นี้ละกัน


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: istyle ที่ 20-09-2008, 00:17
ปักหมุดมั้ยครับ  :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: กลายใต้ ที่ 20-09-2008, 04:37
ขอบคุณ คุณบอนนี่ และ ท่านที่ได้ช่วยกันเสนอความเห็น  ครับ บทความมีคุณภาพหายาก ต้องช่วย ๆ กัน หนับหนุน  :slime_fighto:

--------------------------------------------------

ก่อนอื่นขออ้างถึงคำจำกัดความของระบอบประชาธิปไตย ที่ท่านพุทธทาส ให้ไว้กันสักนิด  อันนี้ เห็นภาพมาก ๆ

ประชาธิปไตยคือประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่  ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่  ใครจะมาปกครองก็ได้
จะเลือกตั้ง จะแต่งตั้ง  ไม่สำคัญ แต่หากเป็นไปโดยธรรมเพื่อ ประโยชน์ของประชาชน นั่นคือระบอบประชาธิปไตย

เพราะฉนั้นหลักประชาธิปไตยที่สำคัญมีสองอย่างคือ

1.เพื่อประโยชน์ของประชาชน
2.ประโยชน์นั้นได้มาและเป็นไปโดยธรรม


------------------------------------------------

ถ้าถามว่า แล้วเรามีระบอบประชาธิปไตยมาก่อนหรือไม่   
ผมว่าคำตอบ คือ มีครับ และมีผู้ปฏิบัติใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นั่นคือพระเจ้าอยู่หัว

พระองค์ระลึกอยู่เสมอว่า ประชาชนเป็นใหญ่ พระองค์อยู่ได้เพราะประชาชน
เพราะฉนั้น ดังนั้น ตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์นั้น พระองค์อุทิศตนเพื่อประชาชน

สังเกตได้ว่าการคิดโครงการแต่ละโครงการ ไม่ใช่คิดแล้วสั่งการเลย  แต่ได้มาการลงไปศึกษา ถามประชาชนว่ามีปัญหาอะไร
ทำงานวิจัย ได้คำตอบ  แล้วกลับไปถามว่าเห็นเป็นอย่างไร กับโครงการนี้หรือไม่ แล้วค่อยปฏิบัติ

ต่างกับรัฐบาลที่เคย ๆ มีมา หากรัฐจะสร้าง จะทำอะไรแล้วใครจะทำไม อ้างว่าเพื่อคนส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้คิดถึงคนส่วนน้อย

 ------------------------------------------------

อีกคำถาม

เราเป็นระบอบราชาธิปไตยหรือไม่  คำตอบคือใช่  แต่นัยยะคือระบอบนี้  ไม่ใช่สำหรับพระเจ้าอยู่หัวองค์นี้

อย่าไปติดกับดักกับคำศัพท์ที่ว่า  ราชาธิปไตย ต้องเป็นพระราชาเท่านั้น  ต้องดูที่เนื้อหา และเจตนาเป็นหลัก

ระบอบราชาธิปไตยที่เห็นได้ชัด ๆ คือระบอบทักษิณนะแหล่ะ ที่
- ถือเอาตัวเองเป็นใหญ่
- เพื่อประโยชน์ ชื่อเสียง และอำนาจเข้าสู่ตัวเอง

แม้ว่าจะเป็นประธานาธิบดี  หรือนายกคนไหน ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ถือเอาประโยชน์ และอำนาจตัวเองเป็นใหญ่ เลือกตั้งแล้วอำนาจเป็นของตน
ไม่ต้องกลับไปสนใจความเห็นประชาชน

ผมว่านั่นแหล่ะ เนื้อหาระบอบราชาธิปไตย


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น

ถ้าจะสรุปให้ชัด ให้ได้ใจความของระบอบการเมืองการปกครองทั้งหมดคือ หากเราปกครองด้วย ธรรมาธิปไตย คือธรรมเป็นใหญ่
ดังเช่นพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงปฎิบัติสืบมา

 แล้วเมื่อ ธรรม ไปครอบเหนือ ราชาธิปไตย  ประชาธิปไตย หรือเผด็จการ แล้ว  มันก็ดีต่อประชาชน ต่อประเทศชาติทั้งนั้น  

ในทางตรงกันข้าม  หากแม้นว่าเป็น ราชาธิปไตย เป็น เผด็จการ หรือแม้แต่ เป็น ประชาธิปไตย แบบประชาชนเป็นใหญ่  แต่ไม่ไร้ ธรรม ครอบอยู่ มันก็ฉิบหาย มันก็เสื่อมด้วยกันทั้งหมด

------------------------------------

ความเห็นต่อรัฐธรรมนูญ

ความเห็นผมคือ
เรามีรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับซ้อนกันมา 62 ปีแล้ว

--- รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งร่างลงบนกระดาษและนำมาใช้โดยพวกที่เรียกว่าผู้แทนราษฎร นับตั้งแต่ปี  2475
 และเนื้อหาได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตลอดระยะเวลา 76 ปี  และมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับมากมาย

--- อีกฉบับหนึ่งประกาศเป็นสัจวาจาโดยพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
 เมื่อ 62 ปีมาแล้ว  มีใจความสั้น ๆ ว่า

เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม
 
สังเกตดูนะครับ สั้น ๆ ได้ใจความ ครอบคลุมความหมายของประชาธิปไตยได้ทุกด้าน

------------------------------------------------------------------------------


ในอุดมคติ  อยากให้ใช้หลักเดียวกับพระพุทธศาสนา ในการพัฒนาการเชิงคุณภาพของรัฐธรรมนูญคือ
เน้นการปฏิบัติที่ตรงหลักการ

ศาสนาพุทธเราหลักการเน้นที่ปฏิบัติ จนศีลมันลงที่ใจ ไม่ใช่การนับถือ หรืออาราธนาถือเอาไป
เมือศีลมันลงที่ใจ หลังจากนั้นไม่ว่าจะมีศีลกี่ร้อยกี่พันข้อ ผู้ปฏิบัติก็ไม่สามารถทำผิดศีลได้

ที่ผ่านมาเราร่างรัฐธรรมนูญจนมีข้อกำหนดเยอะแยะไปหมด เพราะต้องการป้องกันคนชั่วมาปกครองบ้านเมือง
แล้วมันก็ไม่ได้ผล เพราะคนโกงย่อมหาทางโกงเสมอ

ถ้าไม่สิ้นอายุพระพุทธเจ้า  ศีลที่ถูกบัญญัติขึ้นอาจจะมีเป็นพัน ๆ ข้อก็ได้
เช่นเดียวกัน ถ้าไม่เน้นการหลักการ เราจะมีรัฐธรรมนูญที่หยุมหยิมจนพลาดหลักการสำคัญ

ตรงนี้สำคัญ เราเอาอะไม่รู้ไปไว้ในรัฐธรรมนูญหมด สั่งลูกสอนหลานจนคิดว่า รัฐธรรมนูญคือประชาธิปไตย
การเลือกตั้ง แบบนี้ ๆ เป็นประชาธิปไตย ใครแก้รัฐธรรมนูญ ทำผิดตัวอักษรในรัฐธรรมนูญ คือพวกกบฏ
จนป่านนี้ลูกหลานเรากลายเป็นคนที่ไม่เข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร

เพราะฉนั้น  สิ่งที่อยากเห็นรัฐธรรมนูญถัดจากปี 50 คือ เริ่มแรกมันอาจจะยังมีกฎเกณฑ์มากหน่อย
แต่ขอให้มีไว้ไปเพื่อการมีหลักการเท่านั้น 

พัฒนาการจากฉบับนี้ต่อ ๆ ไป  ขอให้มีเจตนารมณ์ยึดมั่นในหลักการเอาไว้เท่านั้น
ใส่ตัวอักษรให้น้อยที่สุดลงไปในรัฐธรรมนูญ  โดยให้ถือเอาหลักการปกครองใหญ่ ๆ ไว้ก็เพียงพอ รัฐธรรมนูญจะไม่แก้ไขกันบ่อย ๆ
ส่วนอะไรที่เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ที่มา ส.ส. ที่มารัฐบาล อะไรต่าง ๆ เหล่านั้น  ให้เอาไปไว้ในกฎหมายลูก
เพื่อการแก้ไขปรับปรุงได้ง่าย ให้เหมาะสมกับเงื่อนไขแต่ละเวลา  แต่ยังอยู่บนหลักการที่เหมือนเดิม


ให้เอาตัวอย่างที่พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศไว้ (เป็นแม้กระทั่งวาจา) และพระองค์ก็ปฏิบัติสืบต่อมา

เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม

ดังนั้น หากเรายึดเอาหลักการแนว ๆ นี้ คือ ธรรมาธิปไตย ต่อมามันจะเป็นชื่อระบอบอะไร   
มีที่มาเป็นอย่างไร เลือกตั้ง สรรหา แต่งตั้ง  ก็ไม่สำคัญ หากมันยังเป็นไปเพื่อการปกครองโดยธรรม

---------------------------------------------

ฟังดูอาจจะเพ้อเจ้อ หากจะเปรียบการเมืองการปกครอง เสมือนการพัฒนาการของต้นไม้ต้นหนึ่ง
ถ้าเริ่มต้นพัฒนาไปบนหลัก บนแก่นแท้ ย่อมดีกว่าปล่อยให้กระพี้โตแต่ฝ่ายเดียว
เพราะวันใดวันนึง ถ้าแก่นมันมีน้อยไป มีแต่กระพี้มัน ต้นไม้ต้นนั้นมันก็จะโค่นล้มลงในไม่ช้า

-------------------------------------------------------------------
ขอร่วมเสนอ แค่นี้ก่อน ครับ เดี๋ยวค่อยมาว่าในรายละเอียดต่อ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: vorapoap ที่ 20-09-2008, 05:25
เข้ามาอ่านตั้งแต่บรรทัดแรกครับ มาให้กำลังใจคนเีขียนกระทู้มีสาระทุกคน ผมเป็นคนอ่านเร็ว แต่จะเป็นแบบสแกน

ยังไม่ขอวิจารณ์แสดงความคิดเห็นเพราะยังด้อยความรู้ครับ

แต่ผมสังเกตว่า การปฏิรูปการศึกษา ไม่มีความชัดเจนเสียที

เหมือนมันมี Hidden Agenda อะไรบางอย่าง

เจ้านายเก่าของผมคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนมีนามสกุลใหญ่โต เคยบอกว่า คนชั้นสูง ส่วนใหญ่อยากให้ประชาชน คนไทยโง่ จะได้ปกครองได้โดยง่าย

ผมสังเกตมาถึงปัจจุบันนี้ ตั้งแต่รัฐบาลทักษิณมา ไม่เห็นภายการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงเสียที

อยากเห็นสิ่งนี้เป็นจริงในการเมืองใหม่ เพราะผมเชื่อว่า สรุปแล้ว การศึกษาก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ผมรู้สึกว่าคุณสนธิจะเน้นตรงนี้มาก ว่าการปฏิรูปการศึกษา ต้องเริ่มจากการปฏิรูปสื่อ

เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ยินเน้นย้ำบนเวทีแล้ว.. เพราะอาจมีเรื่องราวมากมาย เชื่อมโยงกันไปหมด


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 20-09-2008, 17:48
ดีครับ ช่วยกันออกความคิดเห็นกันให้มากๆ ว่าบ้านเมืองต้องการอะไรและเราจะนำเสนออะไรได้บ้าง ผมว่า พัฒนานะ

เมื่อมีพลังอำนาจหยิบความคิดเห็นของพวกเราไปใช้ประโยชน์ มันก็คือ ประชาภิวัฒน์แล้ว จริงไหม?

กระทู้นี้จะถูกปักหมุดหรือไม่ก็ไม่สำคัญครับ  หากปักแล้วไม่มีคนสนใจอ่านก็เปล่าประโยชน์อันใด  แต่ ผมเชื่อว่า การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นแน่นอน แต่จะเป็นรูปแบบไหนเท่านั้น  สสร. (หรือ คณะทำงานที่จะใช้ชื่ออะไรก็แล้วแต่เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน) ชุดอนาคตจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนครับ  ไม่งั้นบ้านเมืองไปต่อไม่ได้

และกระทู้นี้ก็จะถูกขุดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อใช้เป็นกรอบอ้างอิงเชิงวิเคราะห์ เพราะตุ๊กตาที่ทางพันธมิตรตั้งขึ้นมานั้น และยังไม่ได้ข้อยุตินี้ ได้มีปัญญาชนหลายภาคส่วนตอบรับบ้างแล้ว  เพียงแต่ยังรอการแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์แบบขึ้นเท่านั้น

ตราบใดที่ยังมีนักการเมืองชั่วช้าอยู่เป็นส่วนใหญ่ในรัฐสภาไทย  การเพรียกหา "การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเมืองใหม่"  ก็จะมีไปไม่มีที่สิ้นสุด  จนกว่า จำนวนนักการเมืองชั่วช้าจะกลายเป็นส่วนน้อยในระบบการเมืองไทย

ดังนั้น..เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการเมืองใหม่หรือไม่ก็ควรศึกษาไว้ เพราะคุณไม่มีวันหนีมันพ้น ตราบใดยังเป็นคนไทยที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง  และความเห็นของคุณๆ ในกระทู้นี้ก็ได้ถูกบันทึกว่าเป็นเสียงของประชาชนคนหนึ่งเช่นกัน

ซึ่งหาก สสร.ชุดใหม่เกิดขึ้นเมื่อใด ผมก็มีหน้าที่นำเสนอรูปแบบการเมือง และบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สังคมเล็กๆ นี้อยากให้เป็น ส่งให้คณะทำงานได้พิจารณาดังเช่นอดีตที่ผ่านมาทุกครั้ง
สมาชิกของเสรีไทยก็ได้ชื่อว่า ทำหน้าที่พลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยได้แล้ว  และหากความคิดเห็นของพวกเราได้รับการขยายความ นำไปถกเถียงกันในสภาอย่างเป็นรูปธรรม  ก็หมายความว่า เราได้ทำหน้าที่ "พลเมืองภิวัฒน์" ได้สมเจตนาแล้วครับ
 :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: Arch_FreeMan ที่ 20-09-2008, 18:20
ผมคิดว่า สูตรการเมืองใหม่ตอนนี้ แบ่งออกเป็นสองสูตรใหญ่ๆ คือ

1) สูตรที่ทำโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งต้องการการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างแก้ไขกันอีกมากมายและต้องได้รับความร่วมมือจาก สส. และ สว. ในระบบการเมืองเก่าถึงจะทำได้

ตัวเลือกในสูตรนี้ได้แก่

1.1) การปรับระบบการเลือกตั้ง สส. ให้มาจากการสรรหาส่วนหนึ่ง และ การเลือกตั้งโดยตรงส่วนหนึ่ง แบบที่ พธม เคยยกตัวอย่างเป็นตุ๊กตาไว้ 70-30 50-50 เป็นต้น

1.2) รูปแบบที่คณาจารย์ของนิด้าได้นำเสนอ คือ การแยกระบบนิติบัญญัติ ออกจากฝ่ายบริหารอย่างสิ้นเชิง ด้วยการเลือกนายกฯโดยตรง สภาไม่มีสิทธิอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯ ไม่มีสิทธิยุบสภา เพื่อ ตัดวงจรการต่อรองทางการเมือง ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ แยกกันทำหน้าที่ต่างคนต่างทำ แต่ใช้วิธีการตรวจสอบผ่านกระบวนการยุติธรรมแบบเข้มข้นแทน รูปแบบนี้จะคล้ายๆ กับ ระบบประธานาธิบดี แต่ของเรานั้น ยังคงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอยู่ รูปแบบของระบบนี้คงเป็นแบบผสมระหว่าง อเมริกา และ อังกฤษ

2) สูตรที่ทำได้โดยไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

2.1) คือการเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและสื่อให้สามารถตรวจสอบและเอาผิดฝ่ายบริหารได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างสื่อของรัฐ และ การยุบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้ตำรวจไปขึ้นอยู่กับ องค์กรปกครองส่วนภูมิภาคแทน การปฏิรูปสำนักงานอัยการให้เป้นอิสระโดยไม่ขึ้นอยู่กับ กระทรวงยุติธรรม และ รัฐบาลอีกต่อไป ปรับให้อัยการเป็นตัวแทนของภาคประชาชนที่จะพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประชาชน มากกว่า ของรัฐบาล เพราะ ในเวลานี้ คำว่า รัฐ ของอัยการ คือ รัฐบาล ไม่ใช่ประชาชน

ผมคิดว่า การเมืองใหม่สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีไหน ทำได้เร็ว มีความเป็นไปได้ และเหมาะที่สุด เราก็ต้องมาดูกัน



หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: เบื่อไอ้เหลี่ยม ที่ 20-09-2008, 18:26
ผมยังไม่ได้อ่านตลอด แต่ผมมีแนวความคิดว่า การเมืองใหม่
1. ควรต้องมีความเสมอภาค ไม่มีการยกเว้นให้ใคร ทุกคนที่อยู่ในประเทศ ไม่มีฐานันดรศักดิ์ เจ้าถ้าทำผิด มีโทษดุจสามัญชน
2. ทุกอาชีพชนชั้น ที่มีอิทธิพล หรือมีความสำคัญต่อการผลักดันพัฒนาประเทศ ให้เกิดการรวมกลุ่ม โดยการจัดตั้งสภาอาชีพกันเอง แต่ต้องระวังมีการซื้อเสียงเพื่อให้เป็นผู้นำอาชีพ เช่นอาชีพเกษตรกร อาจมีความรู้น้อย อาจโดนซื้อเสียงเมื่อเลือกตั้ง  หรืออาจให้ตั้งได้ไม่จำกัดกลุ่ม และมีการหาเสียงในสภาอาชีพกันเอง เพื่อผลักดันให้คนของอาชีพตัวเอง เข้ามาปกป้องดูแลอาชีพของตนเอง  แต่พวกที่ตั้งกลุ่มอาชีพหลักๆไม่ได้ ก็ไปใช้สิทธิทางการเมืองผ่านทางสภาผู้แทนดั้งเดิม เรียก สภาอาชีพ
3. มีวุฒิสภาเช่นเดิม โดยการหาเสียงของผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และต้องวางหลักเกณฑ์ ห้ามผู้ที่เคยมีประวัติทำผิดกฎหมาย หรือถูกยกเว้นห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
4. มีสภาผู้แทนเหมือนปัจจุบัน หาเสียงแบบวิธีเดิมๆ แต่ห้ามซื้อเสียง
5. การบริหารประเทศ จะมีตัวแทนทั้ง 3 สภา ส่งคนเข้ามาคานอำนาจกัน เหมือนเก้าอี้ 3ขา สัดส่วนอาจจะเท่าๆกัน หรือแตกต่างกัน
6. เสนอกฎหมายจริยธรรม ที่เหนือกว่ากฎหมายทั่วไป ถ้าใครผิด ต้องออกสถานเดียว
7. ที่ผมเห็น พวก สรส. บอกว่า จะให้ยกเลิกกฎหมายแปรรูป ข้อนี้ ผมว่า ควรจะให้มีการแข่งขันกัน ระหว่างรัฐวิสาหกิจ และเอกชน  ห้ามผูกขาดโดยฝ่ายใดๆทั้งสิ้น เพราะจากที่เห็น พวก รัฐวิสาหกิจ ถ้าผูกขาดจะบริหารงานแบบ งานไม่ทำแต่เอาเงิน  หรือ คิดว่า กิจการเป็นของพวกเขาเอง ไม่ใช่ของประชาชน  คุณเคยจำได้ไหม สมัยก่อน โทรศัพท์ ก่อนมีมือถือ เราต้องซื้อหมายเลข ละหลายหมื่นบาท โดยพนักงานขององค์การหากินอย่างหน้าด้านๆ  ไม่รวมรัฐวิสหากิจอื่นๆ ที่เจ๊งอย่างเดียว เพราะคอรัปชั่นกันมาก
8. องค์กรตำรวจ ต้องโละทิ้งหมด ไม่มียศอีกต่อไป  ให้มีตำรวจส่วนกลาง FBI สามารถไปสืบสวนคดีได้ทั่วราชอาณาจักร  ให้มีตำรวจท้องถิ่น ขึ้นกับผู้ว่าการท้องถิ่นนั้น  พวก DSI จะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำผิดของพวกตำรวจ  ทุกคนจะใช้ระบบซี  ไม่มียศ  ตำรวจจราจรที่รีดไถ ต้องยกเลิก ให้มีพนักงานจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกการจราจร ไม่ใช่หาแดกโดยการเดินรอบๆรถ แล้วเอานิ้วจี้ หาเงินจากคนขับรถ
9. อัยการ อัยกิน ต้องยกเครื่อง ห้ามเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดต่างๆ มีหน้าที่ตรวจสอบสำนวน แต่ไม่มีสิทธิ์ ถ่วงคดี ทุกคดี ต้องส่งฟ้องหมด
10. ศาลต้องพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว โดยเฉพาะ คดีการเมือง ให้จบโดยเร็ว
11. นักการเมือง เมื่อต้องถูกกล่าวหา ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันทีตามกฎจริยธรรม
12. ให้แต่ละสภา มีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของตนเอง เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร และบันเทิงที่ไม่น้ำเน่า แต่ต้องเป็นบันเทิงชนิดปลุกจิตสำนึกรักชาติ และการกระทำความดี ต่อต้านคนเลว
ยังมีต่ออีก ขอโพสวันหน้า ถ้านึกได้


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: นู๋เจ๋ง ที่ 20-09-2008, 20:12
 :slime_o:

อ่านเพลินเลยค่ะ
ได้ความรู้ดีจัง กระทู้นี้


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: จูล่ง_j ที่ 20-09-2008, 20:48
ผมยังอ่านไม่ครบถ้วนนะครับ ขออภัย จะค่อยๆ ย่อยอีกที

เมื่อวานผมฟังสุริยะใส เขาใช้คำง่ายๆ และเข้าใจง่าย
ความสำคัญนั้นอยู่ที่ เนื้อหา มิใช่รูปแบบ
อย่าง เช่น นายกคนใหม่ติดต่อ พันมิตร ใช้ความอ่อนน้อม
แต่ไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นเนื้อหาเลย ที่จะให้พันธมิตร เชื่อว่า นายก ยอมอ่อนข้อให้
เปรียบกันกับ การเลือกตั้ง หากใช้เงิน และ ความมีอิทธิพล รวมทั้งสื่อ หว่านล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ประชาชนเลือกตนเอง
มันก็ไม่มีเนื้อหาที่เป็นประชาธิปไตยแล้ว มันมีแต่รูปแบบ เท่านั้น

อีกอย่างผมคิดว่า การให้อำนาจทางการเมือง กับคนที่ไม่มีความรู้ทางการเมือง นั้น ผมว่าเป็นเรื่องน่ากลัวอยู่
สมมติว่า เราเป็นนายพรานมีความรู้เรื่องสัตว์ แต่ชาวบ้านไม่มี และชาวบ้านต้องการเลี้ยงเสือไว้ในหมู่บ้าน
เสียงส่วนใหญ่ต้องการเลี้ยง ก็จำต้องเลี้ยง
ต่อมา เสืออาละวาด ฆ่าคนตายไปหลายคน ถึงแม้เราระมัดระวังล้อมรั้วไม่โดนเสือกัด แต่ก็ได้รับผลกระทบ
เช่น คนตายในหมู่บ้านดันเป็นหาฟืน กับ คนปลูกผัก ก็ทำให้เราเดือดร้อนไปด้วย เพราะขาดแคลนฟืน และ ผัก

ผมจึงสนใจกับไอเดียที่พวกเราเคยคุยกัน
คนที่มีอำนาจทางการเมือง(การมีสิทธิ์เลือกตั้งคนเข้าไปก็คืออำนาจ) ก็น่าจะมีความรู้ทางการเมืองบ้าง
อย่าง เช่น มีการสอบก่อน เพื่อคัดดูว่าคุณมีสิทธิ์ เลือกตั้ง หรือไม่
อาจจะเป็น
-ความรู้ การเมืองในไทยและต่างประเทศ
-ความรู้จริยธรรม
-ความรู้ทางกฎหมาย หรือ ยุติธรรม

ก็อย่างที่คุณบอนนี่บอก ประเทศด้อยพัฒนาอย่างเราไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตยแบบประเทศเจริญแล้ว
หากเลือกตั้งแบบเก่าๆ ถึงแม้จะปรับสัดส่วนเพิ่มตัวแทนอาชีพ ผมเกรงจะเป็นวังวนแบบเดิมๆอีก
คือใช้การซื้อเสียง อิทธิพลท้องถิ่น และใช้นโยบายต้มตุ๋น ต่อคนที่ไม่ทันทางการเมือง

ระบบยุติธรรมของเราก็ไม่สมดุลย์
โดยเฉพาะตำรวจ และ อัยการ
ผมไม่รู้ว่าควรแก้โครงสร้างอย่างไร แต่มันควรปรับปรุงด่วน
เพราะมันรับใช้นักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ขาดความยุติธรรมกับประชาชน


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: จูล่ง_j ที่ 20-09-2008, 21:44
พอดีนึกอีกไอเดียออก ขอลองเสนอดู
จากเรื่องการสอบเช็คความรู้ทางการเมือง อาจใช้สร้างเป็นกลุ่มการเมืองอีกกลุ่ม คือกลุ่มนักถอดถอน สส
กลุ่มนี้ อาจให้มีจำนวนเยอะหน่อย เพื่อกระตุ้นให้คนสนใจการเมือง มาสอบแข่งกัน ให้มีสัก 10000 คน มีเบี้ยเลี้ยงต่อเดือนคล้ายผู้ใหญ่บ้าน
ใครที่อยู่ในวัยเลือกตั้งได้ มาสอบได้หมด แล้วก็สอบคัดใหม่ ปีละหน
ให้มีการประเมิน สส ในสภา ทุก 3 เดือน ถ้า สส คนใดถูกระบุชื่อเกิน 5000 คน คนนั้นหมดสภาพเป็น สส ไป 1 สมัย แม้เพียงผิดจริยธรรม
แล้วก็ถอดถอนได้ไม่เกิน ครั้งละ 3 คน(เดี๋ยว สส หมดสภา)

ข้อดี
1 ทำให้คนสนใจการเมืองมากขึ้น อยากเป็น นักถอดถอน สส กระบวนการตรวจสอบเข้มข้นขึ้น
2 การซื้อทำได้ยาก เพราะจำนวนคนเยอะ และก็กำจัดคู่แข่งทางการเมืองได้น้อย ไม่คุ้มที่จะใช้เงินฟาดหัว
3 สส ไม่กล้าทำเลว เพราะเพียงแค่ 3 เดือนก็ถูกประเมินแล้ว ไอพวกประท้วงเติมเงิน ซ้ำซาก หรือ อภิปรายห่วย ก็อาจจะซวย โดนถอดถอนได้
หรือ ออกนโยบายงี่เง่า เช่น ขึ้นรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี แล้วไม่ได้ทำให้ประเทศมีอะไรดีขึ้น ก็โดนถอดถอน
หรือ พวกนายก ใช้อำนาจ ขึ้นเงินเดือน ข้าราชการ หรือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มั่วซั่ว โดยไม่ผ่านสภา ก็โดนถอดถอน
หรือ พวก สส เลว ไปทำรายการโกหก พกลม ยุแยงชาวบ้านแตกแยก ปลุกระดมฝ่ายตัวเอง สั่ง พรก ฉุกเฉิน มั่วๆ ก็โดนถอดถอน :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 20-09-2008, 22:55
  ขอร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นโมเดลPublic Policy ของการศึกษาไทยในอนาคตที่ควรจะเป็นในทรรศนะของผม
๑.โครงสร้างการศึกษาต้องชัดเจนเป็นใยแมงมุมเห็นหมดทุกจุด ทุกเครือข่ายการศึกษา ทุกอาชีพ
  เริ่มจากกระทรวงฯถึงโรงเรียน สถานอนุบาลเด็ก ศูนย์เรียนรู้ โรงเรียนชาวนา โรงเรียนการเมืองฯลฯ
๒.ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องปรับตัวเองต่อโลกต่อชุมชน ต่อบริบทบทบาทใหม่
  น้อมนำแนวพระราชดำริมาปรับในชุมชนของตนและปฏิบัติได้เห็นจริงเช่นครูประถม มัธยม วิทยาลัย มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาอื่นๆ
  ตำรวจก็สอนชาวบ้านได้ อัยการที่เกษียรก็สอนชาวบ้านได้ มีค่าตอบแทนตามสมควร
  โดยถือว่าทุกคนเป็นครูซึ่งกันและกันไปในตัวแบบธรรมชาติไม่ถือยศถืออย่าง
๓.นักการเมืองดีๆควรอยู่ระดับนโยบายอย่างเดียว(แล้วก็หายหัวเข้าซอกหลืบไป ไม่ต้องโผล่มา)
  ทำโมเดลของกระทรวงศึกษาต่อชุมชนเสียใหม่โดยใช้นวัตรกรรมมาช่วยเช่น เรียนรู้ผ่านดาวเทียม ออนไลน์
  ใช้ภาพคนจริงๆแทนภาพการ์ตูน(เสียที)ครับแทนมานะ มานี มาประกอบแบบเรียนโดยเฉพาะคนการเมือง เช่นชื่อ สมพงษ์ สมชาย
  แล้วอธิบายว่าชื่อคนๆนั้นจริงๆมีตำนานที่มาอย่างไรเป็นต้น ใครทำไม่ดีเช่นรัฐมนตรีคนใหน
  ทำอะไรไม่ดีโกงชาติโกงแผ่นดินอย่างไรต้องมีไว้ศึกษาในหลักสูตร ใส่นามสกุลชัดๆ  
  โคตรเหง้าเป็นอย่างไรไว้ศึกษา คนดีก็ศึกษาไว้เป็นแบบอย่างไม่ใช่ต้องไปตายเมืองนอกเหมือนอย่างอาจารย์ปรีดี
  ส่วนคนไม่ดีไปตายเมืองนอกก็ต้องช่วยกันประณามเช่น........ก็ว่าไป
๔.ชาวบ้านต้องมีสิทธิเรียนรู้ที่ใหนก็ได้ไม่เว้นแม้แต่ทุ่งนา มีโอกาศเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
   มีสิทธิการศึกษาตามอัธยาศรัยแล้วได้วุฒิเหมือนคนเรียนในสถาบันฯ ไม่ต้องสอบแต่ใช้หลักว่า"ใคร"ประกอบอาชีพใดมานาน
  จนชำนาญเช่นชาวนาทำนาจนประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับแห่งความพอเพียงต้องเทียบวุฒิได้
  เช่นชาวนาที่ประสบความสำเร็จ เช่นปราชญ์ชาวบ้านพ่อผาย พ่อจันที และอื่นๆก็สอนชาวบ้านได้มีบัตรรับรองเป็นครูทางเลือก
  ...........................................................................................................................................................
  แต่อย่างไรก็แค่เป็นการแลกเปลี่ยนนะครับถือว่ามีอะไรที่ต้องเพิ่มเติมอีกเยอะครับ
  ใครคิดเห็นอย่างไรก็เชิญแลกเปลี่ยนโดยพลัน


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 23-09-2008, 17:22
สวัสดีครับ..
นี่แหละครับสิ่งที่ผมอยากเห็น คือ คนที่มีภูมิปัญญา แม้จะรู้จริงมั่ง ไม่รู้จริงมั่ง แต่มีปัญญาในการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันในบอร์ด  นี่สิครับ บอร์ดการเมืองของปัญญาชนอย่างแท้จริง  ถ้าเสรีไทยมีห้องเสวนาแบบเข้มข้นอย่างนี้สักห้อง  ผมว่า ประเทศชาติและสังคมได้ประโยชน์นะครับ

ขอแลกเปลี่ยนความเห็นกับทุกท่านที่แสดงความเห็นมาดังนี้..

กระทู้ผมอยู่ไหนก็ไม่รู้ อิ อิ

เสนอไว้ 1คน 3 เสียง งดปาร์ตี้ลิสต์ เป็นสภาอาชีพ มีสภาอาวุโส 10-20 คน เผื่อไว้เวลาหานายกคนนอกไม่ได้

สส. มาจากการเลือกตั้ง นายกมาจากสภา

ส่วนการตรวจสอบ ก็ใช้ของเดิมๆ จาก 40 และ 50

แต่ควรเพิ่มโทษทำผิดรัฐธรรมนูญ ให้มีโทษอาญา

ที่เหลือไปต่อเอาเอง ผมดูแค่การเข้าสู่อำนาจ เป็นหลัก

ถ้าเลือกตั้งได้คนดีมันก็ดีไปหมด

กกต. ต้องปฏิรูป...

ฝากไว้แค่นี้ละกัน

กรอบของลุงแคนยังกว้างๆ อยู่นะครับ  ผมยังวิพากษ์ไม่ได้ คงต้องรอให้มีการนำไปขยาย แต่มีหลายส่วนที่เป็นแนวคิดใหม่เอี่ยม

เข้ามาอ่านตั้งแต่บรรทัดแรกครับ มาให้กำลังใจคนเีขียนกระทู้มีสาระทุกคน ผมเป็นคนอ่านเร็ว แต่จะเป็นแบบสแกน

ยังไม่ขอวิจารณ์แสดงความคิดเห็นเพราะยังด้อยความรู้ครับ

แต่ผมสังเกตว่า การปฏิรูปการศึกษา ไม่มีความชัดเจนเสียที

เหมือนมันมี Hidden Agenda อะไรบางอย่าง

เจ้านายเก่าของผมคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนมีนามสกุลใหญ่โต เคยบอกว่า คนชั้นสูง ส่วนใหญ่อยากให้ประชาชน คนไทยโง่ จะได้ปกครองได้โดยง่าย

ผมสังเกตมาถึงปัจจุบันนี้ ตั้งแต่รัฐบาลทักษิณมา ไม่เห็นภายการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงเสียที

อยากเห็นสิ่งนี้เป็นจริงในการเมืองใหม่ เพราะผมเชื่อว่า สรุปแล้ว การศึกษาก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ผมรู้สึกว่าคุณสนธิจะเน้นตรงนี้มาก ว่าการปฏิรูปการศึกษา ต้องเริ่มจากการปฏิรูปสื่อ

เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ยินเน้นย้ำบนเวทีแล้ว.. เพราะอาจมีเรื่องราวมากมาย เชื่อมโยงกันไปหมด


ดูท่าคุณvorapoap จะอยู่แวดวงการศึกษาไทย
การปฏิรูปการศึกษาแบบจริงจัง ผมเห็นด้วยครับ  แต่ไม่เคยทำได้สักที เพราะคนที่ทำไม่ได้มุ่งผลของการปฏิรูปสู่การพัฒนาระบบการศึกษา  แต่ต้องการปฏิรูปเพื่อยังผลให้ลูกเต้าของตนเองมีโอกาสศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียง  หรือไม่ก็ มีส่วนได้เสียกับสถาบันการศึกษาของเอกชนที่มีส่วนในการเป็นเจ้าของอยู่  หรือไม่ก็ ไม่รู้วิธีการแก้ปัญหาการศึกษาของชาติอย่างแท้จริง  กลายเป็นเอาเด็กๆ มาเป็นหนูทดลองให้กับไอเดียแปลกใหม่

ระบบการคัดเลือกคนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง  ซึ่งนักการศึกษาเจ้าของไอเดีย โอเน็ต เอเน็ต และสอบรับตรง ก็ออกมายอมรับแล้วว่า 3-4 ปีที่ใช้ระบบใหม่นี้ ได้เด็กที่ไม่ตรงกับความต้องการของสาขาวิชา ทำให้มีเด็กเปลี่ยนย้ายคณะมากผิดปกติ และเด็กในสาขาวิชาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้เด็กที่มีภูมิความรู้พอที่จะออกไปรับใช้สังคมอย่างที่ต้องการ

ตอนนี้ก็กำลังจะปรับรูปแบบกันอีกแล้ว  เอาเด็กมาทดลองวิชากันอีกครั้ง

สมัยก่อน..ระบบเอ็นทรานซ์ได้ชื่อว่า ล้าสมัยที่สุดในโลก  แต่..ก็ได้เด็กตรงกับที่สถาบันต้องการให้เป็นทั้งจำนวนและคุณภาพ  แม้ระบบการสอบคัดเลือกจะเป็นการตัดสินชะตากรรมของเด็กก็ตามที แต่ก็ปรับแก้ให้สามารถสอบได้ปีละ 2 ครั้งไปแล้ว  ซึ่งผมว่า แก้ไขตรงจุดและควรจะจบลงได้แล้ว  แต่ไหงออกโอเน็ต เอเน็ต GPA ออกมาเป็นเกณฑ์แทนก็ไม่รู้คิดกันยังไง  จะแก้เรื่องเด็กไม่เรียนในห้องเรียนก็แก้ไม่ได้  จะแก้เรื่องเด็กไม่กวดวิชาก็แก้ไม่ได้  ตกลงแก้อะไรไม่ได้สักอย่าง  เอวัง

ผมได้เขียนไว้ในเนื้อกระทู้หน้าแรกอยู่แล้วว่า การปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่ทำที่ระบบการสอบคัดเลือกเท่านั้น  ต้องแก้ที่ครูผู้สอนโดนปฏิรูปด้วย  และต้องขยายโอกาสการทำมาหากินในสาขาวิชาที่เรียนมากขึ้น เพื่อไม่ให้เด็กเก่งๆ ไปกระจุกตัวอยู่แต่สาขาวิชาดังๆ เท่านั้น  สาขาอื่นๆ เด็กเก่งไม่สนใจเรียนกันเพราะ มันเอาไปใช้ประกอบอาชีพไม่ได้ต่างหากล่ะ

รัฐบาลเท่านั้นที่จะสามารถสร้างงานขึ้นมารองรับสาชาอาชีพที่ตั้งขึ้นมาใหม่ๆ ได้ เพื่อให้เด็กมีความมั่นคงและต้องการเข้าไปเรียนกันให้มากๆ

ตัวอย่างเช่น..สาขามัคคุเทศน์  ..สาขาธุรกิจโรงแรม  ..สาขาประกอบอาหาร  ..สาขาจัดการการท่องเที่ยว เป็นต้น

เราเป็นประเทศที่ขายการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่กลับไม่มี นศ.จบสาขาวิชาชีพเหล่านี้โดยตรง  ต้องรับ นศ.ที่จบนิเทศน์ศาสตร์  มนุษยศาสตร์  รัฐศาสตร์ เป็นอาทิ มาทำหน้าที่ให้ความรู้กับนักท่องเที่ยว  เออ..แปลกเนาะ

ข้าราชการไปดูงานต่างประเทศกันทุกปี ใช้จ่ายปีละหลายร้อยล้านแต่ไม่เคยนำสิ่งดีๆ ที่ใช้กับประเทศไทยได้มาแอพพลาย  เช่น..ที่ประเทศจีน  ไหงเขามีสาขาวิชามัคคุเทศน์ แผนกภาษาไทย ได้ล่ะ  มันน่าเขกกระโหลกจริงๆ :slime_hitted:

..............

วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อนนะครับ  วันถัดไปจะมาวิพากษ์ความคิดเห็นของท่านอื่นๆ ที่น่าสนใจมากๆ เลย  แต่จบในวันนี้ไม่ได้เพราะมันจะทำให้ยาว..ววมากๆ


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: Sweet Chin Music ที่ 23-09-2008, 17:40
ทุกวันนี้ วิชาที่น่าจะสำคัญที่สุดในสังคมไทย กลับไม่ได้รับความสนใจมากนัก

นั้นคือ วิชาจริยธรรม หรือวิชาพระพุทธศาสนา ลองพูดเรื่องนี้ขึ้นมาสิครับ

เด็กๆบ่นกันระงมเลยว่า เรียบไปทำไม เรียนเพื่ออะไร?

แล้วก็ท่องจำๆๆๆ มาตอบข้อสอบ ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร ถ้่ามัวแต่จำได้ แต่ไม่เข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

การศึกษา ผมจึงอยากเน้นเรื่องนี้ให้เป็นพิเศษ เื่พื่อให้คนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ตระหนักดีในเรื่องของ การใช้สิทธิทางการเมืองของตนเอง

ซึ่งผมก็ยอมรับครับว่าเป็นเรื่องยากมากๆที่จะปลูกฝังเด็กเรื่องแบบนี้ เพราะถูกมองว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ ไปสนใจให้เวลากับ

เกมส์ กีฬา ดารา นักร้องซะมากกว่า เลยทำให้สังคมไทยขาดทั้ง เรื่องจริยธรรม กับ การมีส่วนร่วมทางการเมือง...

ผมวว่า ระบบนั้นมันเป็นเรื่องรองครับ ถ้าจะแก้ อยากให้แก้ที่ "ตัวคน"  มากกว่าไปแก้ที่ "ระบบ"

เพราะเท่าที่เห็นรู้สึกว่าเราจะให้ความสำคัญกับ "ระบบ" ในการนำคนเข้าสู่การเมือง มากเกินไป...

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

อีกเรื่องหนึ่งที่อยากเสนอคือ ตัวระบบขององค์กรที่ควรจะต้อง "ปฏิวัติ" อย่างยิ่ง

เพราะคนใหม่ๆที่เข้าอาจ อาจจะโดนสภาพขององค์กรกัดกิน หรือดูดกลื่น อุดมการณ์ไปจนหมด...



หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 24-09-2008, 01:54
เสนอนโยบายด้านความมั่นคง3บริบทในการเมืองไทยแห่งอนาคต
คือความมั่นคงแห่งมนุษย์(ประชาชน) ชุมชน(สังคม) และประเทศชาติ(รัฐไทย)
๑.ด้านความมั่นคงของมนุษย์(ประชน)เรื่องนโยบายนี้คงต้องเกี่ยวหลายหน่วยงานทั้ง กระทรวง พม. มหาดไทย การศึกษา
  ต้องทำงานเป็นทีมระหว่างกระทรวง(ไม่ใช่ทับซ้อน)ปักหมุดนับหนึ่งไปที่ คนจน(ที่สุด)อันหมายถึงกลุ่มชายขอบทั้งหลาย
  ผมจะไล่ตามGEOจากเหนือสุดถึงใต้สุด  ชนเผ่าบนภูเขา ชายแดนแนวตะเข็บ คนจนในอีสาน คนจนในเมือง(สลัมทั้ง๔ ภาค)
  จนกระทั่งเผ่าเล็กเผ่าน้อย ชาวเลย์จนถึงเผ่าซาไก และขณะเดียวกันไม่ลืมกลุ่มคนชั้นกลางในทุกภาคแล้วก็ดูและคนรวยต้องไม่ให้เขาผลกระทบเรื่องธุรกิจ
 (ต้องมีข้อแม้ธุรกิจมีกำไรที่ได้ของธุรกิจของคนรวยต้องแบ่งปันในรูปภาษีและอื่นๆไปช่วยสังคมกลุ่มแรกๆที่ผมเอ่ยถึง)
๒.ด้านความมั่นคงทางชุมชน(สังคม)มองไปที่วัฒธรรมของชุมชนเป็นหลักในการสนับสุน
  เช่น ภาษาถิ่น เชื้อชาติ และความเชื่อทางศาสนาเป็นหลัก แล้วแบ่งตามภาคเป็นเรื่องถัดมาโดยมุ่งให้ชุมชนสร้างหรือบัญญัติกฎ(หมาย)
  ของชุมชนเริ่มจากหมู่บ้าน แล้วภายใต้กฎนั้นๆให้มีเสวนาว่าปัจเจกในหมู่บ้านชุมชนใด มีเข้าเงื่อนไขข้อหนึ่งให้ดูแลสนับสนุนงบประมาณก่อน
  กล่าวคือดูแลสร้างความมั่นคงให้อยู่ดีกินดีตามข้อ๒ มีกองทุนเพื่อสวัสดิการสังคมทุกชุมชนแล้วส่งเสริมสนับสนุนตามความเข้มแข็งของชุมชน
  ไม่ใช่โปรยเท่ากันอย่างโครงการหมู่บ้านละล้าน
๓.ความมั่นคงแห่งรัฐไทย(ประเทศ)จะเกิดขึ้นได้ ผมมองในสองมุมคือภายในประเทศและนอกประเทศ
  ภายในประเทศจะมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองให้รัฐบาลโฟกัสไปที่วิถีวัฒนธรรมชุมชน(ทั้งภาษาชาติพันธุ์และอื่นๆตามข้อ๒)
  นำการเมืองไม่ให้การเมืองนำเพราะหากชุมชนมีกฎระเบียบที่เหมาะกับเขาแล้วไม่จำเป็นต้องพึ่งการเมืองเป็นทางเลือกแรกๆ
  ก็อีกนั่นแหละต้องเชื่อมไปถึงนโยบายทางด้านการศึกษา(กลับไปอ่านโมเดลPublic Policy ของการศึกษาไทยในอนาคต)
  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มองจากนอกประเทศระดับภูมิภาคก็พอเป้าประสงค์อาเซี่ยนยอมรับเป็นหลัก(อันนี้ต้องเชื่อมกระทรวง ตปท.)
  ซึ่งยังบ่ได้เขียน(บนพื้นฐานวัฒธรรมอีกนั่นแหละครับ ไม่ว่ารูปร่าง สีผิวโครงสร้าง หน้าตาที่คล้ายคลึงกันเป็นหลัก)
   มองไปที่ข้าวเราก็ส่งออกลำดับต้นๆ(มั่นคงพอที่จะเลี้ยงชาติได้แม้เกิดวิกฤติถึงขั้นปิดประเทศชั่วคราว)ส่วนการทหารเน้นการข่าวเป็นหลัก
  เพราะการสื่อสารมันไร้พรมแดนไม่ต้องเน้นซื้อาวุธยุทโธปกรณ์แต่มุ่งสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง...

วันนี้พอก่อนครับ......ไว้มีโอกาสจะเขียนต่อ... ขณะนี้ก็เชิญทุกท่านแลกเปลี่ยนติชมไปด้วยกันได้ครับ :slime_smile:


หัวข้อ: Re: **เรื่องการเมืองใหม่ของพันธมิตรอาจมีจุดเริ่มต้นจากเสรีไทยเรานี่ก็ได้**
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 24-09-2008, 17:42
ผมยังไม่ได้อ่านตลอด แต่ผมมีแนวความคิดว่า การเมืองใหม่

2. ทุกอาชีพชนชั้น ที่มีอิทธิพล หรือมีความสำคัญต่อการผลักดันพัฒนาประเทศ ให้เกิดการรวมกลุ่ม โดยการจัดตั้งสภาอาชีพกันเอง แต่ต้องระวังมีการซื้อเสียงเพื่อให้เป็นผู้นำอาชีพ เช่นอาชีพเกษตรกร อาจมีความรู้น้อย อาจโดนซื้อเสียงเมื่อเลือกตั้ง  หรืออาจให้ตั้งได้ไม่จำกัดกลุ่ม และมีการหาเสียงในสภาอาชีพกันเอง เพื่อผลักดันให้คนของอาชีพตัวเอง เข้ามาปกป้องดูแลอาชีพของตนเอง  แต่พวกที่ตั้งกลุ่มอาชีพหลักๆไม่ได้ ก็ไปใช้สิทธิทางการเมืองผ่านทางสภาผู้แทนดั้งเดิม เรียก สภาอาชีพ
------------------------------------------

7. ที่ผมเห็น พวก สรส. บอกว่า จะให้ยกเลิกกฎหมายแปรรูป ข้อนี้ ผมว่า ควรจะให้มีการแข่งขันกัน ระหว่างรัฐวิสาหกิจ และเอกชน  ห้ามผูกขาดโดยฝ่ายใดๆทั้งสิ้น เพราะจากที่เห็น พวก รัฐวิสาหกิจ ถ้าผูกขาดจะบริหารงานแบบ งานไม่ทำแต่เอาเงิน  หรือ คิดว่า กิจการเป็นของพวกเขาเอง ไม่ใช่ของประชาชน  คุณเคยจำได้ไหม สมัยก่อน โทรศัพท์ ก่อนมีมือถือ เราต้องซื้อหมายเลข ละหลายหมื่นบาท โดยพนักงานขององค์การหากินอย่างหน้าด้านๆ  ไม่รวมรัฐวิสหากิจอื่นๆ ที่เจ๊งอย่างเดียว เพราะคอรัปชั่นกันมาก

ขอแสดงความคิดเห็นตอบแค่ 2 ข้อข้างต้นนะครับ

ข้อ 2..มีหลายคนหวั่นเกรงเหมือนคุณเรื่องการซื้อเสียงหรือบล็อกโหวตเลือกตัวแทนสาขาวิชาชีพมาเป็นตัวแทนปวงชน

เรื่องนี้ขอเรียนว่า  มันมีอยู่ทุกสาขาอาชีพอยู่แล้วครับ นายกสมาคมวิชาชีพเนี่ย มีมานานแล้ว  แต่ส่วนใหญ่เป็นการล็อบบี้ ไม่ใช่การซื้อเสียงโดยโจ่งแจ้ง  มีบ้างเช่นให้ของกำนัลหรือจัดเลี้ยงสมาชิกก่อนที่จะมีการซาวเสียง

แม้แต่สมาคมฟุตบอลที่เป็นการกีฬาก็มีการล็อบบี้ตำแหน่งประธานกันทุกครั้ง  ผมมองว่า ถ้าเป็นการล็อบบี้ถือเป็นเรื่องปกตินะครับ  แต่ถ้าเป็นการซื้อเสียงยอมรับไม่ได้

การให้เลือกตัวแทนตามสาขาวิชาชีพนี้ก็เพื่อให้มีตัวแทนของกลุ่มอาชีพจริงๆ เข้าไปในสภา แทนที่จะมีแต่มาเฟียเลือกตั้ง นักกฎหมายและนักรัฐศาสตร์เสียส่วนใหญ่อย่างทุกวันนี้

การออกกฎหมายคุมเข้มการซื้อเสียงให้มีโทษทางอาญาก็จะขจัดปัญหาได้ส่วนหนึ่งครับ ให้เหลือเฉพาะการล็อบบี้เท่านั้น  แต่ผมยังเชื่อว่า สมาชิกที่อยู่ในวิชาชีพนั้นมาตลอดชีวิตจะรู้ว่า ใครดีหรือไม่ดีพอที่จะเป็นตัวแทนของพวกเขา  คงไม่ขายศักดิ์ศรีอาชีพของตัวเองโดยง่ายเหมือนการเลือกตั้งทั่วไปอย่างแน่นอน เพราะนี่คือ หน้าตาของวิชาชีพนั้นๆ

แต่ถึงมี..
ผมก็ยังยอมรับได้ครับ เพราะคนที่ได้เขาก็อยู่ในอาชีพนั้นจริงๆ เป็นเจตนารมณ์ที่จะให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมทางการเมือง ตรงนี้ถือว่าสมเจตนารมณ์ของการเมืองใหม่  แต่การซื้อเสียงต้องกำจัดด้วยระบบการเลือกตั้งที่เป็นธรรมและออกกฎหมายให้มีโทษทางอาญาครับ  ตรงนี้จะค่อยๆ แก้ไขได้เอง  ผมไม่ห่วงเท่าไร  ขอให้ทุกคนอย่างกังวลให้มากไป ถึงเวลาให้แก้ไขตามจุดที่บกพร่องนะครับ  การเมืองใหม่เป็นสิ่งใหม่ จะให้เพอร์เฟ็คในสมัยแรกคงทำไม่ได้ครับ แต่ให้ถือเป็นการเริ่มต้น

ส่วนข้อ 7..คิดเหมือนคุณครับ  ถ้าวันนี้ไม่มีการแข่งขัน ประชาชนไม่มีทางเลือก พวกเราอาจตกเป็นทาสของ สรส.ไปแล้วก็ได้  อย่าลืมเรื่อง องค์การโทรศัพท์นะครับ  เมื่อ 20 ปีก่อนเคยทำประชาชนเอาไว้อย่างไร วันนี้พอประชาชนมีทางเลือก (ที่ดีกว่า) สังคมของประชาชนดีขึ้น แต่องค์การโทรศัพท์กลับแย่ลง กำไรจากผลการดำเนินงานน้อยลงเมื่อเทียบกับเอกชนคู่แข่งขันเป็นตัวเปรียบเทียบที่ดีให้รัฐวิสาหกิจต้องปรับปรุงตัวเอง

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ผมไม่เคยยกมาให้ฟัง คือ บริษัทไทยเดินเรือทะเล  เป็นของรัฐแท้ๆ ขาดทุนจนต้องเจ๊ง ขณะที่คู่แข่งขันที่มีชาวต่างประเทศถืออยู่ด้วย กำไรเอาๆ ขยายกิจการเป็นว่าเล่น จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นทุกปี  ทั้งๆ ที่ไม่มีอภิสิทธิ์จากภาครัฐ  ทำไมเอกชนทำได้ แต่รัฐเจ๊ง  ต้องตรึกตรองให้ดีนะครับ อย่าไปฟัง สรส.พูดฝ่ายเดียว ซึ่งมักต้องการปกป้องตนเองให้ปลอดภัยเป็นสมบัติเป็นมรดกตกทอดไม่ให้หน่วยงานไหนมาแตะต้อง  อ้างประชาชนทุกที แต่ไม่ยอมให้มีการแข่งขัน เออ..แปลก  พูดเหมือนชินวัตรเข้าไปทุกทีแล้ว