ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: snowflake ที่ 15-10-2006, 06:06



หัวข้อ: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 15-10-2006, 06:06
รายงานเสวนา : เผด็จการอำพรางในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ  

มีคำกล่าวว่า ‘รัฐประหาร เหมือนกับการหุงข้าวไม่ดี แต่ทุบทิ้งทั้งหม้อข้าว’ และเมื่อ
วันที่ 19 กันยายน 2549 การทุบหม้อข้าวก็เกิดขึ้นในสังคมไทยอีกครั้งในรอบ 15 ปี

หลังหม้อข้าวแตกผ่านไปสองสัปดาห์ จะได้กินข้าวกันแบบใด มองชะตากรรมสังคมไทย
จากหลากความคิดทางวิชาการผ่านงานเสวนา ‘เผด็จการอำพรางในระบอบประชาธิปไตย
แบบไทยๆ’ โดย จรัล ดิษฐาภิชัย, สุชาย ตรีรัตน์, ประวิตร โรจนพฤกษ์,ประทีป อึ้งทรง-
ธรรม ฮาตะ และศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร จัดเสวนาเรื่อง เผด็จการอำพรางในระบอบประชาธิป-
ไตยแบบไทยๆ เจ้าภาพสถานที่คือ ห้องประชาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา-
วิทยาลัย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2549 ก่อนครบรอบรัฐประหาร 30 ปี 6 ตุลาคม 2519
เป็นเวลา 2 วัน

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5295&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 15-10-2006, 06:14
ดูชื่อแล้ว ไม่ติด สมาชิก สภานิติบัญญัติซักคนเดียว...น่าจะเป็นพวกนักวิชาการอกหักตามเคย

อ้อ...อาจารย์ จรัล ติดเป็นที่ปรึกษา คปค. ไปแล้ว ไปลาออกหรือยังครับ


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 15-10-2006, 06:47
ประเด็นจะเริ่มจากชื่อการอภิปรายที่ว่า ‘เผด็จการอำพรางในระบอบประชาธิปไตยแบบ
ไทยๆ’

คำว่า ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ เป็นคำที่อันตรายมาก  เพราะเป็นคำที่เผด็จการทหาร
คิดขึ้นมาเพื่ออ้างว่าบ้านเมืองในประเทศนี้สามารถเป็นประชาธิปไตยได้ต่อให้มีทหารเป็น
นายกรัฐมนตรีก็ตาม

แต่ประชาธิปไตยแบบไทยๆ มันไม่มี มีแต่ ‘เผด็จการแบบไทยๆ’ ตั้งแต่การรัฐประหาร
วันที่ 19 กันยายน เรากำลังเข้าสู่บ้านเมืองที่เป็นระบอบแบบใหม่ อาจเรียกว่าเป็น
‘ระบอบรัฐทหาร’ ก็ได้


เผด็จการแบบไทยๆ คืออะไร

ปกติแล้วเมื่อพูดถึงเผด็จการ เราจะนึกถึงประเทศที่ปกครองโดยผู้นำซึ่งป่าเถื่อนโหดร้าย
บ้าอำนาจ อยากเอาใครขังก็ขัง ในประเทศไทยเราอาจจะนึกถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ที่ชอบจับคนขังคุก ไม่พอใจใครก็เอาไปยิงเป้า หรือคนอย่างถนอม กิตติขจร หรือคน
อย่างสุจินดา คราประยูร ที่พอประชาชนมาชุมนุมกันมาก ก็เอาทหารไปไล่ยิงประชาชน

แต่เผด็จการแบบไทยๆ มันไม่ได้มีหน้าตาแบบนั้นแบบเดียว ในสังคมไทยมีเผด็จการ
อีกแบบหน้าตาละมุนละไม ยิ้มแย้มแจ่มใส ถือปืนเป็นอาวุธในการข่มขู่ประชาชน แต่ก็
ทำท่าเหมือนจะไม่ยิงเรา มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก แต่ก็ทำเหมือนให้เราพูดอะไร
ได้ตามอำเภอใจ ตอนนี้เราอยู่ในระบอบเผด็จการแบบไทยๆ แบบนี้ ที่มีโครงสร้างเยอะ
แยะไปหมดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

เรื่องการห้ามประชาชนชุมนุมเกิน 5 คน การใช้กฎอัยการศึก การห้ามกรรมกรและ
ชาวนาเคลื่อนไหว เป็นการออกกฎหมาย ที่ในที่สุดแล้วก็คือการจำกัดสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน แต่เผด็จการแบบไทยๆ ทำให้คนจำนวนมากรู้สึกว่าเขาเป็นคนดี เหมือนบอก
ว่าจำกัดสิทธิเสรีภาพทางกฎหมายแต่ก็ไม่เคยไปจับ เขาจะบอกเราตลอดเวลาว่า เขา
ให้เราพูดได้ ด่าได้ เขาไม่จับหรอก

นี่เป็นการอธิบายเหตุผลในการยึดอำนาจโดยทำให้ตัวเองมีความชอบธรรมในการปกครอง
คือทำให้คนจำนวนหนึ่งรู้สึกว่าตัวเองยังมีเสรีภาพ อยากพูดอะไรก็ได้ แต่ในโครงสร้างแท้
จริงแล้วเราไม่มี อยากให้ทำความเข้าใจตรงกันว่ามันไม่ใช่ประชาธิปไตย มันคือเผด็จการ
แบบไทยๆ ซึ่งบางช่วงก็จะมีหน้าตาโหดร้าย เช่น คุณสุจินดา บางช่วงก็มีหน้าตาที่ดูเป็น
คนธรรมะธรรมโม ชอบเดินป่า

หลักการสำคัญของเผด็จการแบบไทยๆ คือมีการใช้อำนาจทางการทหารเป็นฐานอำนาจ
ทางการเมือง แล้วการตัดสินใจทางการเมืองทุกชนิดถูกกำหนดด้วยวิธีคิดแบบทหาร
สภาพหลังจากวันที่ 19 กันยายน เห็นชัดเจนว่ามีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
โดยอ้างว่าการให้ประชาชนจำนวนหนึ่งมีสิทธิเสรีภาพจะทำให้ระบอบทักษิณกลับมา

ที่น่าเศร้าใจคือ ผู้ที่พูดแบบนี้ไม่ได้มีแต่ทหารหรือคณะปฏิรูปการปกครอง แต่นักเคลื่อน-
ไหว เช่น สุริยะใส กตะศิลา ก็พูดตลอดเวลาว่า ขอให้ประชาชนที่ต่อต้านการรัฐประหาร
อย่าตกเป็นเครื่องมือของระบอบทักษิณ พูดทุกวันตั้งแต่เดือนเมษายน จนกระทั่งทักษิณ
ลาออกจากหัวหน้าพรรคไปแล้ว ไม่มีพรรคไทยรักไทยเหลืออยู่แล้ว ก็ยังพูดอยู่ว่าระบอบ
ทักษิณจะฟื้นขึ้นมา เป็นการสร้างผีของทักษิณขึ้นมาเพื่อปิดปากประชาชนไม่ให้ต่อต้าน
คณะปฏิรูปการปกครอง

วิธีการแบบนี้เผด็จการทหารใช้มาตลอด ในช่วง 6 ตุลาคม 2519 ก็ใช้ โดยบอกว่าถ้ามี
การชุมนุมของประชาชนมากๆ จะตกเป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์ที่ทำลายประเทศไทย
หรือในช่วง รสช. ก็พูดว่าถ้ามีการชุมนุมกันมากๆ จะตกเป็นเครื่องมือของบิ๊กจิ๋ว (พล.อ.
เชาวลิต ยงใจยุทธ) และพลตรีจำลอง (ศรีเมือง)

ใน พ.ศ.2549 สิ่งที่เผด็จการทหารใช้คือ บอกตลอดเวลาว่า ถ้าประชาชนพูดกันมากๆ
จะตกเป็นเครื่องมือของระบอบทักษิณ คิดว่าคำนี้ถูกนำมาใช้ตลอดจนถึงแม้คุณทักษิณ
จะตายไปแล้วเกิดใหม่อีก 3 ชาติ ก็จะมีการใช้คำว่าระวังระบอบทักษิณ เหมือนกับบอก
เด็กๆที่ร้องไห้มากๆให้ระวังตุ๊กแกจะมากินตับ ดังนั้นภูมิปัญญาหนึ่งของคนเหล่านี้ก็ไม่ได้
ฉลาดเท่าไหร่

          
เผด็จการแบบไทยๆ ทำงานอย่างไร

สภาพการณ์หลัง 19 กันยายน ที่ตั้งคุณสุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จะทำให้การเมือง
ของประเทศไทยกลับมาอยู่ภายใต้สิ่งที่นักวิชาการทางรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งเรียกว่า
‘ระบอบอำมาตยาธิปไตย’ หรือการปกครองประเทศที่อาศัยข้าราชการทั้งหมดเป็น
ฐานการปกครอง

หากพิจารณาจากข่าวในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 2549 เมื่อวางโผคณะ
รัฐมนตรี ข่าวจะระบุว่า นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตเลขาสำนักงานนโยบายพลังงาน
แห่งชาติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสถาพร กวิตานนท์ อดีตเลขาธิการ
บีโอไอ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม นายนิตย์ พิบูลสงคราม อดีตปลัดกระทรวงต่างประเทศเป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงต่างประเทศ

ดังนั้น การเมืองแบบที่คณะปฏิรูปกำลังทำให้เกิดขึ้นคือ การนำปลัดกระทรวงมาเป็น
รัฐมนตรี ทีนี้ลองมาคิดดูว่าประชาชนธรรมดาเวลาเจอข้าราชการเอาแค่ปลายแถว
ถูกปฏิบัติดีหรือไม่ แล้วหากคิดถึงในระดับประเทศที่อนุญาตให้ปลัดกระทรวงขึ้นมา
เป็นรัฐมนตรีจะมีหลักประกันได้อย่างไรว่ารัฐมนตรีที่มาจากปลัดกระทรวงเหล่านี้จะ
ทำงานให้ประชาชน และเราก็ไม่สามารถตรวจสอบควบคุมได้

ประเด็นสำคัญคือ เวลาเราโจมตีระบอบทักษิณว่าเลวร้าย คอรัปชั่น คนจำนวนมากที่
เป็นส่วนหนึ่งในการคอรัปชั่นของคุณทักษิณก็คือ ปลัดกระทรวงเหล่านี้ นักการเมือง
ทุกยุคสมัยไม่สามารถคอรัปชั่นได้ถ้าไม่มีข้าราชประจำให้ความร่วมมือ

ถ้ามองภาพรวมในสิ่งที่กำลังจะเกิด
ข้อแรกคือ มีรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ
สอง มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากทหาร
สาม นายกรัฐมนตรีที่มาจากทหารใช้ระบบราชการทั้งหมดเป็นฐานในการปกครองประเทศ
ข้อสี่  คณะทหารล้มรัฐธรรมนูญและทำลายสถาบันการเมืองในระบบรัฐสภา
ห้า พรรคการเมืองถูกแบล็กเมล์ไม่ให้เคลื่อนไหวอะไรมาก คำสั่งของคณะปฏิรูปเรื่อง
     การยุบพรรค คือการแบล็กเมล์ทางการเมืองต่อประชาธิปไตยรัฐสภา
หก องค์กรอิสระ ที่เมื่อก่อนโจมตีว่า ทักษิณแทรกแซงโดยใช้คนของตัวเองเข้าไปเป็น
     สมาชิกองค์กรอิสระ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากคณะปฏิรูปการปกครองแย่กว่า  เพราะว่าตั้ง
     คนของตัวเองเข้าไปเลย ไม่ต้องใช้รัฐสภาหรือวุฒิสภา เป็นปัญหาทางการเมืองแน่
     นอน เพราะท่านกำลังอยู่ในประเทศที่ทหารยึดอำนาจ และทหารที่ยึดอำนาจก็ให้รุ่นพี่
     ที่มาจากหน่วยเดียวกันเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วทหารที่เป็นนายกรัฐมนตรีก็ตั้งรัฐมนตรี
     ที่มาจากข้าราชการ แล้วรัฐมนตรีเหล่านี้ก็อ้างว่าตัวเองเป็นคนดี สนใจประชาชน
     แล้วปกครองประเทศตามอำเภอใจ แต่ตรวจสอบจากสภาไม่ได้ ใช้พรรคการเมือง
     ตรวจสอบก็ไม่ได้ ใช้องค์กรอิสระตรวจสอบก็ไม่ได้  

ดังนั้น ครั้งนี้เราถอยหลังไปไกลกว่า 6 ตุลา 2519 โมเดลแบบนี้เคยมีมาแล้วในเมืองไทย
ที่ทหารเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วกองทัพหนุนทหาร แล้วใช้ข้าราชการเป็นเครื่องมือในการ
ปกครองมันเคยมีมาแล้วในสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ใน พ.ศ. 2524-2531 ช่วงนั้น
ก็มีปัญหาทางการเมืองจำนวนมากตามมาว่าประชาชนไม่สามารถควบคุมผู้มีอำนาจได้เลย
ทั้งทหารหรือข้าราชการ

โมเดลแบบ ‘เปรมาธิปไตย’ ซึ่งเป็นคำที่ อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวนิชใช้ในช่วง พ.ศ.
2530-2531 ที่ถล่มป๋าทุกวันแล้วล่ารายชื่อนักวิชาการ 99 คน ไล่ป๋าออกจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน พ.ศ. 2549 ก็บอกว่าป๋าดีที่สุด

ใน พ.ศ.2530-2531 อาจารย์ชัยอนันต์ บอกว่าปัญหาของประเทศไทยคือการอยู่ใน
ระบอบ ‘เปรมาธิปไตย’ ที่มีข้าราชการเป็นฐาน แต่พอปี พ.ศ. 2549 ซึ่งกำลังจะได้เป็น
รัฐมนตรีในกระทรวงคมนาคม โดยใช้นโยบายและประวัติการทำงานที่ได้รับมาจากคุณ
ทักษิณคือการเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ซึ่งท่านบอกว่าระบอบทักษิณเป็นเรื่องเลวร้ายและ
โกงที่สุด ก็ใช้ประวัตินี้บอกว่าเหมาะสมที่จะเป็นรัฐมนตีกระทรวงคมนาคม

อย่างไรก็ตาม โมเดลแบบนี้สมัยหลัง พฤษภาคม พ.ศ.2535 คำนูญ สิทธิสมาน
บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเรียกว่า เป็นระบอบไดโนเสาร์ แต่คำถาม
ที่สำคัญคือ ระบอบแบบนี้จะอยู่ได้หรือไม่ใน พ.ศ. 2549 ซึ่งผ่านเหตุการณ์ พฤษภาคม
พ.ศ.2535 มาเป็นเวลา 14 ปี บรรยากาศทางการเมืองที่สำคัญหลังจากนั้น คือ

ประชาชนหรือกลุ่มประชาสังคมต่างๆ มีโอกาสรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่าง
กว้างขวางและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเคลื่อนดีหรือไม่ดี ฉลาดหรือไม่ฉลาดอย่างไรก็ตาม
ประชาชนสามารถจะใช้เสรีภาพทางการเมืองเรียกร้องในเรื่องที่ต้องการได้

ข้อสอง มีประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภาต่อเนื่องมาเป็นเวลา 14 ปี จะดีหรือไม่ดีก็ตาม
แต่มีระบบตรวจสอบ มีระบบพรรคการเมืองอยู่

ข้อสาม ประเทศไทยผูกพันกับเศรษฐกิจและการเมืองโลกมากขึ้นเรื่อยๆ

ในเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อ น่าจะเห็นภาพว่า การปฏิรูปของคปค.จะอยู่รอดได้นานแค่ไหน
ส่วนตัวคิดว่าน้อยมาก และคิดว่าการไม่สามารถปรับให้เข้ากับโลกได้ในสิ่งที่เปลี่ยนไป
แล้วคือสิ่งที่พวกเขากลัวมากที่สุด

แต่อีกประเด็นที่ต้องคิดเพื่อไม่ให้มองสถานการณ์เป็นบวกกับฝ่ายตัวเองมากเกินไป
การรัฐประหาร 19 กันยา เกิดขึ้นในวาระที่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ครบ 30 ปี คิดว่า
ถ้ามองให้เชื่อมโยงมากขึ้นจะเห็นภาพบางอย่างคือ เป็นการรัฐประหารที่ฝ่ายรัฐประหาร
พยายามอ้างสถาบันหลักๆ ของชาติว่าอยู่ฝ่ายตัวเอง

คณะทหารที่ยึดอำนาจเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 คือคุณสงัด ชลออยู่ อ้างตลอดเวลาว่า
ทำการรัฐประหาร ฆ่านักศึกษาประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะจำเป็น
เนื่องจากต้องปกป้องสถาบันหลักๆ ของชาติไว้ เขาบอกว่า ชาติ ศาสนาพุทธ และ
สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกคุกคามจากภัยคอมมิวนิสต์

ในการรัฐประหาร 2549 คล้ายคลึงกันกับเหตุการณ์นั้นมาก เพราะคณะปฏิรูปพยายาม
พูดตลอดเวลาว่าสถาบันหลักๆ ของชาติถูกคุกคาม เช่น มีการปล่อยข่าวว่านายกฯ
ทักษิณจะแบ่งเกาะกูดให้เขมร หรือบอกว่าทักษิณเป็นแนวร่วมของพวกปัตตานี โดยจะ
กันบางส่วนให้ปัตตานี หรือบอกจะกันชายแดนบางส่วนให้ลาว ปล่อยข่าวจนคุณทักษิณ
เหมือนคนติงต๊องขึ้นไปเรื่อยๆ แต่พอไล่ไปได้แล้วก็ไม่เห็นมีใครพูดถึงเรื่องเหล่านี้อีก

เรื่องศาสนาก็มีการพูดกันมากเรื่องการแต่งตั้งพระสังฆราช 2 องค์ ตอนนี้ก็ไม่มีใครพูด
อีกแล้ว ทั้งที่ระบบนี้ก็ยังอยู่ เรื่องสถาบันหลักก็เป็นอีกเรื่องที่พูดกันเยอะแต่ตอนนี้ไม่มี
ใครพูดอะไรแล้ว

เรื่องที่คล้ายกันมากอีกเรื่องคือ  6 ตุลา 2519 นำไปสู่การจัดตั้งประชาชนกลุ่มหนึ่ง
เพื่อฆ่าคนที่ต้องสงสัยว่าเป็นฝ่ายที่เป็นภัยต่อชาติบ้านเมือง คำถามที่อยากให้ชวนคิด
กันคือ ในรัฐประหาร 2549 กระบวนการทางความคิดหรือทางอุดมการณ์ที่พยายามจะ
บอกว่าชาติ ศาสนา สถาบัน ถูกคุกคาม ในที่สุดจะนำไปสู่การกำจัด ทำร้าย ปราบปราม
คนที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารหรือไม่ ต้องระวังเพราะทั้งสองเหตุการณ์นี้คล้ายคลึง
ทางอุดมการณ์

รัฐประหาร 6 ตุลา 2519 เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีการใช้สถาบันการทหารสร้างระบบการเมือง
แบบใหม่ขึ้นมา มีการให้ทหารเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญ มีการตั้งสภานิติบัญญัติซึ่งคนส่วน
ใหญ่มาจากทหาร สถิติน่าเศร้าในช่วงพ.ศ.2519-2521 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ร้อยละ 70 เป็นทหาร แม้แต่พันเอกก็สามารถทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนได้
ส่วนในพ.ศ.2549 ถ้าเป็นแบบนี้จะเป็นเรื่องที่ถอยหลังไปมาก

อีกเรื่องที่คล้ายกันมาก และเป็นเรื่องใหญ่ที่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงคือ การใช้อำนาจพิเศษ
บางอย่างนอกเหนือกฎหมายมาทำลายสถาบันทางการเมืองทั้งหมดลงไป เป็นเรื่องที่
อันตรายที่จะอยู่คู่กับระบบการเมืองไทยไปอีกหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคนเหล่านี้
สามารถร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นอย่างต้องการได้ เราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งถูกออกแบบ
มาให้สถาบันทหาร ส่วนพรรคการเมืองจะไม่มีบทบาทอะไรเลยสถาบันรัฐสภาจะกลายเป็น
ปาหี่เพื่อให้การมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่กลายเป็นคนที่ชอบธรรม

อีกเรื่องที่สำคัญคือ เราจะต้องย้ำให้คนในประเทศเห็นว่าคณะรัฐประหารชุดนี้พยายาม
จะบอกคนไทยว่าต่อให้ยึดอำนาจไปแล้ว ประชาชนไทยจะยังมีเสรีภาพ พูดได้ อ่าน
หนังสือพิมพ์ แต่ประเด็นสำคัญคือเรามีเสรีภาพแต่ไม่มีอิสรภาพ  

อิสรภาพต่างจากเสรีภาพ อิสรภาพคือการที่คนเราสามารถทำอะไรทุกอย่างตามที่เชื่อ
ได้โดยไม่มีข้อผูกมัดหรือความกลัวใดๆ  มาปิดกั้น สามารถพูดได้ว่าไม่เห็นด้วยกับการ
รัฐประหาร ไม่ใช่แค่ในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพูดที่หน่อมแน๊ม

เผด็จการทุกครั้งไม่เคยห้ามการพูดเรื่องรัฐประหารในมหาวิทยาลัย แต่จะห้ามเมื่อเรา
ไปพูดข้างนอก ในกรณีรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2534 นักศึกษาธรรมศาสตร์หรือรามคำแหง
ก็สามารถพูดในมหาวิทยาลัยได้ แต่พอเริ่มมีการปราศรัยข้างนอกก็มีการจับกุมนักศึกษา

เพราะฉะนั้นสิ่งที่พวกเผด็จการทำคือ การให้ยากล่อมประสาทว่า คนไทยมีเสรีภาพ แต่
อันที่จริงไม่มี เสรีภาพ คนไทยเป็นเสรีภาพภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง ทหารเป็นคนบอก
ว่าทำได้แค่ไหน คือพูดได้แต่ในมหาวิทยาลัย ในชั้นเรียน หรือในการสัมมนาทางวิชาการ
เท่านั้น แต่ทำข้างนอกไม่ได้ จึงไม่อนุญาตให้เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเผยแพร่
ความเห็น
 
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ไม่ได้ทำความผิดอะไรทาง
การเมืองเลยนอกจากจัดกิจกรรมทางการเมืองครั้งหนึ่งซึ่งทหารเห็นแล้วสะเทือนใจคือ
ฉีกรัฐธรรมนูญที่ทหารร่าง แต่คิดว่าเหตุผลที่ฉีกรัฐธรรมนูญเป็นเหตุผลที่ฟังได้เพราะกลุ่ม
อาจารย์นิธิ อ้างว่า

“ถ้าทหารฉีกรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนได้ ทำไมประชาชนจะฉีกรัฐธรรมนูญของ
ทหารไม่ได้บ้าง”

เพราะฉะนั้นการปิดเว็บไซต์ของอาจารย์นิธิ เป็นภาพที่ชัดเจนว่า เสรีภาพของคุณอย่า
ล้ำเส้นเกินไป คุณมีเสรีภาพได้แค่ที่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่อย่ามาพูดที่สาธารณะ
และให้เป็นประเด็นทางการเมือง

เพื่อนนักวิชาการบางคนเขาบอกตลอดเวลาว่ายังมีเสรีภาพอยู่นะ เขาไม่ได้ปิดกั้นอะไร
แต่อยากจะบอกว่าแบบนี้เป็น ‘เสรีภาพแบบขอทาน’ นายจะให้หรือจะยึดคืนเมื่อไหร่ก็ได้
เพราะในระดับภาพรวมมีกฎหมาย มีรัฐธรรมนูญบางอย่างค้ำอยู่ มีกระบอกปืนล็อกอยู่ เป็น
เสรีภาพที่เป็นประโยชน์ทางการเมืองแต่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับการสร้างประชาธิปไตย
ของประชาชนในระยะยาว


ข้อเสนอ

ข้อเสนอที่ควรจะเรียกร้องจากคณะปฏิรูปการปกครองหรือคณะมนตรีความมั่นคงมีหลักการ
คือ คณะปฏิรูปพยายามบอกคนในชาติว่าได้ยึดอำนาจด้วยประชาธิปไตยและเพื่อส่วนรวม
ซึ่งจะอ้างอย่างไรก็แล้วแต่ แต่เรามีสิทธิจับโกหกได้ เพราะในชีวิตจริงเราก็เจอคนโกหก
มามากมาย วิธีหนึ่งที่จะจับโกหกคือดูว่าคนที่พูดทำอะไรบางอย่างที่พูดหรือโม้ไว้หรือไม่

สิ่งที่น่าทำคือ การเรียกร้องมาตรการตรวจสอบทุกอย่างซึ่งประชาชนไทยเคยเรียกร้อง
จากรัฐบาลทักษิณ จะต้องถูกเรียกร้องจากรัฐบาล คปค. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลสุรยุทธ์ด้วย
                
เช่น มาตรการซึ่งบอกให้นักการเมืองจะต้องถูกตรวจสอบทรัพย์สิน ในเมื่อ 15 ปี หลัง
พฤษภาคม 2535 สังคมไทยได้สร้างบรรทัดฐานบางอย่างว่า นักการเมืองและญาติ
พี่น้องทั้งหมดจะต้องถูกจับแก้ผ้า ในเมื่อท่านยึดอำนาจแล้ว ท่านก็มีสถานะเป็นนัก
การเมืองไปแล้ว จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานแบบเดียวกัน คือการเปิดเผยทรัพย์สิน
ก่อนยึดอำนาจ หลังยึดอำนาจ รวมทั้งหลังจากที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย

ข้อสองคือ เรื่องการสืบทอดอำนาจของ คปค. คณะปฏิรูปการปกครองอ้างอยู่เสมอว่า
ไม่มีเจตนาจะสืบทอดอำนาจโดยได้ระบุไว้ในธรรมนูญการปกครองแล้วว่าจะไม่ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองใดๆ เป็นเวลา 2 ปี

อยากให้เปรียบเทียบว่าการยึดอำนาจเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ หลักการคือถ้าคิดว่าการ
รัฐประหารเป็นเรื่องที่ผิดรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เรามีหลักการที่สำคัญ
ข้อหนึ่งคือ เวลานักการเมืองคนใดทำผิดรัฐธรรมนูญจะลงโทษไม่ให้ดำรงตำแหน่งทาง
การเมืองเป็นเวลา 5 ปี หลักการนี้ควรจะนำมาใช้กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและ
คณะปฏิรูปการปกครองด้วย ในเมื่ออ้างว่าไม่มีเจตนารมณ์จะสืบทอดอำนาจและท่านเป็น
คนดี ควรจะประกาศไว้ในธรรมนูญการปกครองและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ท่านสามารถ
ทำได้เพราะเป็นคนตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเอง

นี่ไม่ใช่หลักการที่รุนแรง แต่เป็นหลักการที่ประชาชนไทยเรียกร้องจากคุณทักษิณ
ชินวัตร และนักการเมืองเลวๆ ในรัฐสภามาตลอด 15 ปี หลักการข้อนี้ควรจะถูกสืบทอด
ต่อไป

สาม หลักการเรื่องการห้ามไม่ให้ข้าราชการประจำมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาคประชาชนไทยต่อสู้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 คือ การ
บอกว่ารัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกองค์กรอิสระจะต้องไม่ใช่ข้าราชการ ปลัด-
กระทรวงไม่มีสิทธิ์ดำรงตำแหน่งควบ ทหารไม่ควรมีสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ
พร้อมกันได้

หลักการนี้ถูกทำลายลงจากคณะปฏิรูปการปกครองชุดนี้หากดูจากวิธีการตั้งรัฐบาลชุด
ใหม่ คนกลุ่มที่พยายามจะทำลายหลักการนี้คือ คนกลุ่มที่มีอำนาจในประเทศไทยเมื่อ
พ.ศ.2524-2531

ประเด็นนี้สำคัญและควรเรียกร้องว่า รัฐธรรมนูญของคณะปฏิรูปการปกครองต้องห้าม
ไม่ให้ข้าราชประจำดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะเกรงว่าหลักการนี้จะถูกล้มลงไป
ในการร่างรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น เวลาพูดกันเยอะๆ ว่าขอให้เอารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาใช้ ในความเป็นจริงแล้ว
คงเกิดขึ้นได้ยาก เพราะบุคลิกที่สำคัญของคณะรัฐประหารครั้งนี้ เป็นรัฐประหารโดยทหาร
แต่ไม่ใช่เพื่อทหาร ฉะนั้นสิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการคือการสร้างระบอบการเมืองบางอย่างขึ้น
มา และเขามีธงอย่างชัดเจนว่าต้องการการสร้างระบอบการเมืองแบบไหน สร้างรัฐธรรมนูญ
แบบไหน ต้องการรัฐสภาแบบไหน จึงจำเป็นต้องฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง และจะเป็นชนวนของ
ความขัดแย้งทางสังคมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา

ศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์
นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยลัยฮาวายอิ สหรัฐอเมริกา


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 15-10-2006, 07:06
สงสัยลืมคำว่า "รัฐธรรมนูญ ( ฉบับชั่วคราว )"

ว่าง ๆ อ่านของอาจารย์รังสรรค์ ดูบ้างสิ...น่าจะเข้าใจได้ว่า นี่คือห้วงเวลา 1 ปี ที่จะต้องกลับไปทำ รัฐธรรมนูญใหม่

หากอยากรู้ว่า รัฐธรรมนูญ 2540 บกพร่องตรงใหน ดู ที่อาจารย์รังสรรค์พูดนั่นตรงที่สุดแล้ว

คือตอนนี้รู้สึกงง ๆ ว่า เรากำลังวิจารณ์รัฐธรรมนูญเผด็จการ...แล้วตกลงจะเอายังไงดีล่ะ...มีกติกาอะไรที่ยอมรับได้

ในเมื่อ ฉบับ 2540 ก็เละตุ้มเป๊ะ

มันจะไม่ตลกเหรอ ปฏิวัติทั้งที กลับไปประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่า ( 2540 ) ในเมื่อมันเน่าสุด ๆ

อาจาย์ ส. บอกว่า น่าจะงดใช้บางมาตรา แล้วมาตราใหนละครับให้งดใช้...กว่าจะเลือกงดใช้บางมาตรา ก็ไม่ต้องปฏิวัติรัฐประหารกันแล้ว

หรืออยากอยู่ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน 2548..เพราะไม่ชอบกฎอัยการศึก.เลือกเอาซักอย่างครับ


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: นู๋เจ๋ง ที่ 15-10-2006, 07:16
อ่าน อ่าน และ อ่าน
นู๋อ่านแย้ว!!

ง่วง !!  :slime_fighto:



หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 15-10-2006, 09:47
วันที่เราไล่ทรราชย์กัน  มนุษย์พวกนี้อยู่ที่ไหน

วันนี้ผลการไล่ของเราเป็นรูปธรรม ทรราชย์ไปแล้ว  มนุษย์พวกนี้โผล่หัวมาจากที่ไหน

วันนี้เรากำลังพูดถึงอนาคต ที่จะมีรัฐธรรมนูญใหม่ จะเรียกร้องให้มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร เรียกร้องได้แค่ไหน จะดีแค่ไหน จะเกื้อนหนุนไม่ให้ต้องรัฐประหารกันอีกในอนาคตหรือไม่  มนุษย์พวกนี้กำลังทำอะไร

มือไม่พายแต่เอาตีนเหยียบเบรค อย่างนั้นหรือ


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ลับ ลวง พราง ที่ 15-10-2006, 10:12
ป๋มม่ายช่าย ผะเด็ดกาน :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 15-10-2006, 10:27
ป๋มม่ายช่าย ผะเด็ดกาน :slime_sentimental:

 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 15-10-2006, 10:42
วิธีป้องกันรัฐประหารที่ดีที่สุด คือรัฐบาลต้องไม่มีพฤติกรรมให้เกิดข้ออ้างในการรัฐประหาร
ระบบตรวจสอบจะต้องทำงานได้เพื่อไม่ให้บ้านเมืองไปสู่ทางตัน

การยอมรับทหารเป็นหน่วยงานหนึ่งในสมดุลแห่งอำนาจ เป็นอำนาจแห่งการตรวจสอบและถ่วงดุล
ก็มีมานานแล้ว และเป็นแนวความคิดที่ยังยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคมไทย อย่างน้อยก็ ณ เวลานี้

ตราบใดที่นักวิชาการทั้งหลาย ยังไม่สามารถสร้างระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
ผ่านทางรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ภาคประชาชน และสังคมโดยรวมได้ ขอให้พวกท่านจงยอมรับเสียเถอะ
ว่าเมื่อบ้านเมืองถึงทางตัน เมื่อรัฐบาลอยู่เหนือการตรวจสอบ เมื่อ check and balance ไม่เกิดขึ้น
วันนั้นทหารจะออกมาอีกแน่นอน  :slime_worship:


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Neoconservative ที่ 15-10-2006, 10:54
ข้อหนึ่งที่ ผม เห็นด้วยกับ บทความนี้ไปเต็มๆ ก็คือ

เราไม่มีทางตรวจสอบ อำนาจ ของผู้บริหารชุดนี้ ด้วยวิธีการใดๆ

ถึงแม้ว่า ก่อนหน้านี้ เราอาจจะมีระบบ ตรวจสอบ ที่ไม่ได้ดีเลิศเลอ

แต่ก็ยังคงมีการตรวจสอบให้เห็น

วันนี้ เราตรวจสอบ อะไรไม่ได้เลย

แม้แต่คุณหญิง จารุวรรณ เองก็ถูกสั่งให้ตรวจสอบเฉพาะเรื่องเก่าๆที่วางอยู่ หนาเป็น ปึกๆ

และก็คงจะไม่มีเวลา ตรวจสอบ คณะบริหาร ชุดนี้อย่างแน่นอน

เวลานี้ โครงการลงทุน หลายๆโครงการยังคงดำเนินการต่อ

แต่ เรา ไม่สามารถทราบได้เลยว่า การคัดเลือก ผู้รับเหมา หรือ การแจกจ่ายงาน

เป็นไปอย่างยุติธรรม หรือไม่

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 15-10-2006, 11:14
รัฐธรรมนูญ 2540 ล็อคไว้ให้หวยทุกตัว ไปออกที่ ปปช. ก่อนเสมอ...เราจึงเห็นการบล็อคที่ปปช.

แม้ คตง. หรือองค์กรอื่นตรวจแล้ว ก็ให้ลงที่ ปปช. ทุกกรณี เว้นแค่ "ศาลปกครอง"


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 15-10-2006, 11:25
วิธีป้องกันรัฐประหารที่ดีที่สุด คือรัฐบาลต้องไม่มีพฤติกรรมให้เกิดข้ออ้างในการรัฐประหาร
ระบบตรวจสอบจะต้องทำงานได้เพื่อไม่ให้บ้านเมืองไปสู่ทางตัน

การยอมรับทหารเป็นหน่วยงานหนึ่งในสมดุลแห่งอำนาจ เป็นอำนาจแห่งการตรวจสอบและถ่วงดุล
ก็มีมานานแล้ว และเป็นแนวความคิดที่ยังยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคมไทย อย่างน้อยก็ ณ เวลานี้

ตราบใดที่นักวิชาการทั้งหลาย ยังไม่สามารถสร้างระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
ผ่านทางรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ภาคประชาชน และสังคมโดยรวมได้ ขอให้พวกท่านจงยอมรับเสียเถอะ
ว่าเมื่อบ้านเมืองถึงทางตัน เมื่อรัฐบาลอยู่เหนือการตรวจสอบ เมื่อ check and balance ไม่เกิดขึ้น
วันนั้นทหารจะออกมาอีกแน่นอน  :slime_worship:


รัฐบาลปัจจุบันก็อยู่เหนือการตรวจสอบ ไม่มี check and balance ด้วยรัฐธรรมนูญที่
(เขาให้) ร่างขึ้นมาเอง

นักวิขาการหลายท่านได้พยายามชี้ให้เห็นแล้ว แต่หน้าที่อื่น ประชาชนคงต้องช่วยกัน
จับตา เรียกร้อง และกดดัน ให้เกิดการตรวจสอบและบริหารที่โปร่งใส
หากไม่อยากให้ทหาร "ฝ่ายตรงข้าม" ออกมาทำรัฐประหารอีกครั้ง ด้วยข้ออ้างอย่างเดิมๆ
เดี๋ยวมันจะถี่เกินทุก 15 ปีไปนะคะ
ใครอยากจะเชื่อในตัว "บุคคล" ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของท่าน แต่ดิฉันเชื่อว่าสร้าง
"ระบบ" ตรวจสอบที่ดี คือใช้การได้ จะมีประสิทธิผลกว่า เพราะเวลาเปลี่ยนใจคนเปลี่ยนค่ะ
กิเลสตัณหามันไม่เข้าใครออกใคร

 :slime_fighto:

ประการที่ 3 รัฐธรรมนูญฉบับปี 2549 ไม่มีกลไก Check and Balance  

รัฐธรรมนูญ 2549 ให้อำนาจฝ่ายบริหารเหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติ
ไม่อาจอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารได้ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถดำเนินการ
ถอดถอนรัฐมนตรีได้ แม้ในยามที่มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต และประพฤติมิชอบ

ฝ่ายตุลาการไม่มีบทบาทและหน้าที่ในกระบวนการถ่วงดุลอำนาจ นอกเหนือจาก
การทำหน้าที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Neoconservative ที่ 15-10-2006, 11:46
รอดู ไปก่อน ถ้ามี อะไร ทะแม่งๆ ขึ้นมาไม่รู้ว่า ปปช. ชุดนี้ จะกล้า ตรวจ รัฐบาลจัดตั้งหรือไม่

จริงๆแล้ว การ ยกเลิก รัฐธรรมนูญ ปี 2540 อาจจะทำให้ข้อบังคับ ในการแสดง ทรัพย์สิน หนี้สิน ของ

คณะบริหาร ไม่จำเป็นอีกต่อไป

มี มาตราไหนใน ฉบับชั่วคราว ที่บังคับให้ คณะบริหาร ต้องแสดงทรัพย์สิน หนี้สิน หรือไม่

 :slime_fighto:



หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 15-10-2006, 12:22
มี มาตราไหนใน ฉบับชั่วคราว ที่บังคับให้ คณะบริหาร ต้องแสดงทรัพย์สิน หนี้สิน หรือไม่

 :slime_fighto:

ประการที่ 4 การไม่ให้ความสำคัญกับ Good Governance  

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่มีบทบัญญัติที่ส่งเสริมเกื้อกูลการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชน ยกเว้นเวลาที่ออกประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งปราศจากความหมาย
เพราะว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีสามารถใช้ Veto Power ได้

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่มีบทบัญญัติที่ส่งเสริมเกื้อกูลให้สังคมการเมืองมีความโปร่งใส
มิหนำซ้ำมีบทบัญญัติที่เกื้อกูลความไม่โปร่งใส ถึงแม้ว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติจะ
สามารถยื่นกระทู้ได้ แต่รัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องตอบกระทู้ หากกระทู้นั้นเกี่ยวพันกับ
ความปลอดภัยและประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน นี่เป็นบทบัญญัติที่ต้องการปิดบัง
ข้อมูลข่าวสาร

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่ได้สร้างกลไกความรับผิดทางการเมือง ซึ่งผมหมายถึงความ
รับผิดต่อประชาชน ไม่มี Accountability Mechanism
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติไม่ต้องรับผิดต่อประชาชน
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติรับผิดต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติรับผิดต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ไม่ได้รับผิดต่อประชาชน
นายกรัฐมนตรีรับผิดต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ไม่ได้รับผิดต่อประชาชน
รัฐมนตรีรับผิดต่อนายกรัฐมนตรี เพราะนายกฯ เป็นผู้ที่สามารถแต่งตั้งและถอนถอน
รัฐมนตรีได้
ดังนั้น เราก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญ 2549 ไม่ได้สร้าง Accountability Mechanism

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่ได้สร้างกลไกตรวจสอบความร่ำรวยผิดปกติของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง และการดำเนินคดีอาญาผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมืองที่มีความร่ำรวยอัน
ผิดปกติ

บทสรุปของผมก็คือ ไม่มี Good Governance ในรัฐธรรมนูญ 2549


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 15-10-2006, 16:13
นี่เป็นโศกนาฎกรรมทางการเมือง ครั้งสำคัญในระบอบประชาธิปไตยของไทย อีกครั้งนึง

ซักวันความจริงจะต้องปรากฏ ไม่ช้าก็เร็ว


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 15-10-2006, 17:58
อิสรภาพ ที่มีควรอยู่คู่กับการรับผิดชอบต่อสังคม

คุณมีอิสรภาพที่จะตำหนิใครก็ได้ที่คุณเห็นว่าผิด..คุณจะตำหนิทหารที่ถูกลอบยิงที่จังหวัดชายแดนใต้ว่าเลินเล่อก็ทำได้เมื่อคุณมีอิสระ

บางทีมีแต่อิสรภาพ แต่ไม่มีวิจารณญาน อิสรภาพที่ได้รับก็อาจเป็นอันตรายต่อการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในชาติ


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: room5 ที่ 16-10-2006, 05:20
ประเด็นจะเริ่มจากชื่อการอภิปรายที่ว่า ‘เผด็จการอำพรางในระบอบประชาธิปไตยแบบ
ไทยๆ’

คำว่า ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ เป็นคำที่อันตรายมาก  เพราะเป็นคำที่เผด็จการทหาร
คิดขึ้นมาเพื่ออ้างว่าบ้านเมืองในประเทศนี้สามารถเป็นประชาธิปไตยได้ต่อให้มีทหารเป็น
นายกรัฐมนตรีก็ตาม

แต่ประชาธิปไตยแบบไทยๆ มันไม่มี มีแต่ ‘เผด็จการแบบไทยๆ’ ตั้งแต่การรัฐประหาร
วันที่ 19 กันยายน เรากำลังเข้าสู่บ้านเมืองที่เป็นระบอบแบบใหม่ อาจเรียกว่าเป็น
‘ระบอบรัฐทหาร’ ก็ได้


เผด็จการแบบไทยๆ คืออะไร

ปกติแล้วเมื่อพูดถึงเผด็จการ เราจะนึกถึงประเทศที่ปกครองโดยผู้นำซึ่งป่าเถื่อนโหดร้าย
บ้าอำนาจ อยากเอาใครขังก็ขัง ในประเทศไทยเราอาจจะนึกถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ที่ชอบจับคนขังคุก ไม่พอใจใครก็เอาไปยิงเป้า หรือคนอย่างถนอม กิตติขจร หรือคน
อย่างสุจินดา คราประยูร ที่พอประชาชนมาชุมนุมกันมาก ก็เอาทหารไปไล่ยิงประชาชน

แต่เผด็จการแบบไทยๆ มันไม่ได้มีหน้าตาแบบนั้นแบบเดียว ในสังคมไทยมีเผด็จการ
อีกแบบหน้าตาละมุนละไม ยิ้มแย้มแจ่มใส ถือปืนเป็นอาวุธในการข่มขู่ประชาชน แต่ก็
ทำท่าเหมือนจะไม่ยิงเรา มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก แต่ก็ทำเหมือนให้เราพูดอะไร
ได้ตามอำเภอใจ ตอนนี้เราอยู่ในระบอบเผด็จการแบบไทยๆ แบบนี้ ที่มีโครงสร้างเยอะ
แยะไปหมดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

เรื่องการห้ามประชาชนชุมนุมเกิน 5 คน การใช้กฎอัยการศึก การห้ามกรรมกรและ
ชาวนาเคลื่อนไหว เป็นการออกกฎหมาย ที่ในที่สุดแล้วก็คือการจำกัดสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน แต่เผด็จการแบบไทยๆ ทำให้คนจำนวนมากรู้สึกว่าเขาเป็นคนดี เหมือนบอก
ว่าจำกัดสิทธิเสรีภาพทางกฎหมายแต่ก็ไม่เคยไปจับ เขาจะบอกเราตลอดเวลาว่า เขา
ให้เราพูดได้ ด่าได้ เขาไม่จับหรอก

นี่เป็นการอธิบายเหตุผลในการยึดอำนาจโดยทำให้ตัวเองมีความชอบธรรมในการปกครอง
คือทำให้คนจำนวนหนึ่งรู้สึกว่าตัวเองยังมีเสรีภาพ อยากพูดอะไรก็ได้ แต่ในโครงสร้างแท้
จริงแล้วเราไม่มี อยากให้ทำความเข้าใจตรงกันว่ามันไม่ใช่ประชาธิปไตย มันคือเผด็จการ
แบบไทยๆ ซึ่งบางช่วงก็จะมีหน้าตาโหดร้าย เช่น คุณสุจินดา บางช่วงก็มีหน้าตาที่ดูเป็น
คนธรรมะธรรมโม ชอบเดินป่า

หลักการสำคัญของเผด็จการแบบไทยๆ คือมีการใช้อำนาจทางการทหารเป็นฐานอำนาจ
ทางการเมือง แล้วการตัดสินใจทางการเมืองทุกชนิดถูกกำหนดด้วยวิธีคิดแบบทหาร
สภาพหลังจากวันที่ 19 กันยายน เห็นชัดเจนว่ามีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
โดยอ้างว่าการให้ประชาชนจำนวนหนึ่งมีสิทธิเสรีภาพจะทำให้ระบอบทักษิณกลับมา

ที่น่าเศร้าใจคือ ผู้ที่พูดแบบนี้ไม่ได้มีแต่ทหารหรือคณะปฏิรูปการปกครอง แต่นักเคลื่อน-
ไหว เช่น สุริยะใส กตะศิลา ก็พูดตลอดเวลาว่า ขอให้ประชาชนที่ต่อต้านการรัฐประหาร
อย่าตกเป็นเครื่องมือของระบอบทักษิณ พูดทุกวันตั้งแต่เดือนเมษายน จนกระทั่งทักษิณ
ลาออกจากหัวหน้าพรรคไปแล้ว ไม่มีพรรคไทยรักไทยเหลืออยู่แล้ว ก็ยังพูดอยู่ว่าระบอบ
ทักษิณจะฟื้นขึ้นมา เป็นการสร้างผีของทักษิณขึ้นมาเพื่อปิดปากประชาชนไม่ให้ต่อต้าน
คณะปฏิรูปการปกครอง

วิธีการแบบนี้เผด็จการทหารใช้มาตลอด ในช่วง 6 ตุลาคม 2519 ก็ใช้ โดยบอกว่าถ้ามี
การชุมนุมของประชาชนมากๆ จะตกเป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์ที่ทำลายประเทศไทย
หรือในช่วง รสช. ก็พูดว่าถ้ามีการชุมนุมกันมากๆ จะตกเป็นเครื่องมือของบิ๊กจิ๋ว (พล.อ.
เชาวลิต ยงใจยุทธ) และพลตรีจำลอง (ศรีเมือง)

ใน พ.ศ.2549 สิ่งที่เผด็จการทหารใช้คือ บอกตลอดเวลาว่า ถ้าประชาชนพูดกันมากๆ
จะตกเป็นเครื่องมือของระบอบทักษิณ คิดว่าคำนี้ถูกนำมาใช้ตลอดจนถึงแม้คุณทักษิณ
จะตายไปแล้วเกิดใหม่อีก 3 ชาติ ก็จะมีการใช้คำว่าระวังระบอบทักษิณ เหมือนกับบอก
เด็กๆที่ร้องไห้มากๆให้ระวังตุ๊กแกจะมากินตับ ดังนั้นภูมิปัญญาหนึ่งของคนเหล่านี้ก็ไม่ได้
ฉลาดเท่าไหร่

           
เผด็จการแบบไทยๆ ทำงานอย่างไร

สภาพการณ์หลัง 19 กันยายน ที่ตั้งคุณสุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จะทำให้การเมือง
ของประเทศไทยกลับมาอยู่ภายใต้สิ่งที่นักวิชาการทางรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งเรียกว่า
‘ระบอบอำมาตยาธิปไตย’ หรือการปกครองประเทศที่อาศัยข้าราชการทั้งหมดเป็น
ฐานการปกครอง

หากพิจารณาจากข่าวในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 2549 เมื่อวางโผคณะ
รัฐมนตรี ข่าวจะระบุว่า นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตเลขาสำนักงานนโยบายพลังงาน
แห่งชาติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสถาพร กวิตานนท์ อดีตเลขาธิการ
บีโอไอ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม นายนิตย์ พิบูลสงคราม อดีตปลัดกระทรวงต่างประเทศเป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงต่างประเทศ

ดังนั้น การเมืองแบบที่คณะปฏิรูปกำลังทำให้เกิดขึ้นคือ การนำปลัดกระทรวงมาเป็น
รัฐมนตรี ทีนี้ลองมาคิดดูว่าประชาชนธรรมดาเวลาเจอข้าราชการเอาแค่ปลายแถว
ถูกปฏิบัติดีหรือไม่ แล้วหากคิดถึงในระดับประเทศที่อนุญาตให้ปลัดกระทรวงขึ้นมา
เป็นรัฐมนตรีจะมีหลักประกันได้อย่างไรว่ารัฐมนตรีที่มาจากปลัดกระทรวงเหล่านี้จะ
ทำงานให้ประชาชน และเราก็ไม่สามารถตรวจสอบควบคุมได้

ประเด็นสำคัญคือ เวลาเราโจมตีระบอบทักษิณว่าเลวร้าย คอรัปชั่น คนจำนวนมากที่
เป็นส่วนหนึ่งในการคอรัปชั่นของคุณทักษิณก็คือ ปลัดกระทรวงเหล่านี้ นักการเมือง
ทุกยุคสมัยไม่สามารถคอรัปชั่นได้ถ้าไม่มีข้าราชประจำให้ความร่วมมือ

ถ้ามองภาพรวมในสิ่งที่กำลังจะเกิด
ข้อแรกคือ มีรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ
สอง มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากทหาร
สาม นายกรัฐมนตรีที่มาจากทหารใช้ระบบราชการทั้งหมดเป็นฐานในการปกครองประเทศ
ข้อสี่  คณะทหารล้มรัฐธรรมนูญและทำลายสถาบันการเมืองในระบบรัฐสภา
ห้า พรรคการเมืองถูกแบล็กเมล์ไม่ให้เคลื่อนไหวอะไรมาก คำสั่งของคณะปฏิรูปเรื่อง
     การยุบพรรค คือการแบล็กเมล์ทางการเมืองต่อประชาธิปไตยรัฐสภา
หก องค์กรอิสระ ที่เมื่อก่อนโจมตีว่า ทักษิณแทรกแซงโดยใช้คนของตัวเองเข้าไปเป็น
     สมาชิกองค์กรอิสระ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากคณะปฏิรูปการปกครองแย่กว่า  เพราะว่าตั้ง
     คนของตัวเองเข้าไปเลย ไม่ต้องใช้รัฐสภาหรือวุฒิสภา เป็นปัญหาทางการเมืองแน่
     นอน เพราะท่านกำลังอยู่ในประเทศที่ทหารยึดอำนาจ และทหารที่ยึดอำนาจก็ให้รุ่นพี่
     ที่มาจากหน่วยเดียวกันเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วทหารที่เป็นนายกรัฐมนตรีก็ตั้งรัฐมนตรี
     ที่มาจากข้าราชการ แล้วรัฐมนตรีเหล่านี้ก็อ้างว่าตัวเองเป็นคนดี สนใจประชาชน
     แล้วปกครองประเทศตามอำเภอใจ แต่ตรวจสอบจากสภาไม่ได้ ใช้พรรคการเมือง
     ตรวจสอบก็ไม่ได้ ใช้องค์กรอิสระตรวจสอบก็ไม่ได้ 

ดังนั้น ครั้งนี้เราถอยหลังไปไกลกว่า 6 ตุลา 2519 โมเดลแบบนี้เคยมีมาแล้วในเมืองไทย
ที่ทหารเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วกองทัพหนุนทหาร แล้วใช้ข้าราชการเป็นเครื่องมือในการ
ปกครองมันเคยมีมาแล้วในสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ใน พ.ศ. 2524-2531 ช่วงนั้น
ก็มีปัญหาทางการเมืองจำนวนมากตามมาว่าประชาชนไม่สามารถควบคุมผู้มีอำนาจได้เลย
ทั้งทหารหรือข้าราชการ

โมเดลแบบ ‘เปรมาธิปไตย’ ซึ่งเป็นคำที่ อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวนิชใช้ในช่วง พ.ศ.
2530-2531 ที่ถล่มป๋าทุกวันแล้วล่ารายชื่อนักวิชาการ 99 คน ไล่ป๋าออกจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน พ.ศ. 2549 ก็บอกว่าป๋าดีที่สุด

ใน พ.ศ.2530-2531 อาจารย์ชัยอนันต์ บอกว่าปัญหาของประเทศไทยคือการอยู่ใน
ระบอบ ‘เปรมาธิปไตย’ ที่มีข้าราชการเป็นฐาน แต่พอปี พ.ศ. 2549 ซึ่งกำลังจะได้เป็น
รัฐมนตรีในกระทรวงคมนาคม โดยใช้นโยบายและประวัติการทำงานที่ได้รับมาจากคุณ
ทักษิณคือการเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ซึ่งท่านบอกว่าระบอบทักษิณเป็นเรื่องเลวร้ายและ
โกงที่สุด ก็ใช้ประวัตินี้บอกว่าเหมาะสมที่จะเป็นรัฐมนตีกระทรวงคมนาคม

อย่างไรก็ตาม โมเดลแบบนี้สมัยหลัง พฤษภาคม พ.ศ.2535 คำนูญ สิทธิสมาน
บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเรียกว่า เป็นระบอบไดโนเสาร์ แต่คำถาม
ที่สำคัญคือ ระบอบแบบนี้จะอยู่ได้หรือไม่ใน พ.ศ. 2549 ซึ่งผ่านเหตุการณ์ พฤษภาคม
พ.ศ.2535 มาเป็นเวลา 14 ปี บรรยากาศทางการเมืองที่สำคัญหลังจากนั้น คือ

ประชาชนหรือกลุ่มประชาสังคมต่างๆ มีโอกาสรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่าง
กว้างขวางและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเคลื่อนดีหรือไม่ดี ฉลาดหรือไม่ฉลาดอย่างไรก็ตาม
ประชาชนสามารถจะใช้เสรีภาพทางการเมืองเรียกร้องในเรื่องที่ต้องการได้

ข้อสอง มีประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภาต่อเนื่องมาเป็นเวลา 14 ปี จะดีหรือไม่ดีก็ตาม
แต่มีระบบตรวจสอบ มีระบบพรรคการเมืองอยู่

ข้อสาม ประเทศไทยผูกพันกับเศรษฐกิจและการเมืองโลกมากขึ้นเรื่อยๆ

ในเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อ น่าจะเห็นภาพว่า การปฏิรูปของคปค.จะอยู่รอดได้นานแค่ไหน
ส่วนตัวคิดว่าน้อยมาก และคิดว่าการไม่สามารถปรับให้เข้ากับโลกได้ในสิ่งที่เปลี่ยนไป
แล้วคือสิ่งที่พวกเขากลัวมากที่สุด

แต่อีกประเด็นที่ต้องคิดเพื่อไม่ให้มองสถานการณ์เป็นบวกกับฝ่ายตัวเองมากเกินไป
การรัฐประหาร 19 กันยา เกิดขึ้นในวาระที่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ครบ 30 ปี คิดว่า
ถ้ามองให้เชื่อมโยงมากขึ้นจะเห็นภาพบางอย่างคือ เป็นการรัฐประหารที่ฝ่ายรัฐประหาร
พยายามอ้างสถาบันหลักๆ ของชาติว่าอยู่ฝ่ายตัวเอง

คณะทหารที่ยึดอำนาจเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 คือคุณสงัด ชลออยู่ อ้างตลอดเวลาว่า
ทำการรัฐประหาร ฆ่านักศึกษาประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะจำเป็น
เนื่องจากต้องปกป้องสถาบันหลักๆ ของชาติไว้ เขาบอกว่า ชาติ ศาสนาพุทธ และ
สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกคุกคามจากภัยคอมมิวนิสต์

ในการรัฐประหาร 2549 คล้ายคลึงกันกับเหตุการณ์นั้นมาก เพราะคณะปฏิรูปพยายาม
พูดตลอดเวลาว่าสถาบันหลักๆ ของชาติถูกคุกคาม เช่น มีการปล่อยข่าวว่านายกฯ
ทักษิณจะแบ่งเกาะกูดให้เขมร หรือบอกว่าทักษิณเป็นแนวร่วมของพวกปัตตานี โดยจะ
กันบางส่วนให้ปัตตานี หรือบอกจะกันชายแดนบางส่วนให้ลาว ปล่อยข่าวจนคุณทักษิณ
เหมือนคนติงต๊องขึ้นไปเรื่อยๆ แต่พอไล่ไปได้แล้วก็ไม่เห็นมีใครพูดถึงเรื่องเหล่านี้อีก

เรื่องศาสนาก็มีการพูดกันมากเรื่องการแต่งตั้งพระสังฆราช 2 องค์ ตอนนี้ก็ไม่มีใครพูด
อีกแล้ว ทั้งที่ระบบนี้ก็ยังอยู่ เรื่องสถาบันหลักก็เป็นอีกเรื่องที่พูดกันเยอะแต่ตอนนี้ไม่มี
ใครพูดอะไรแล้ว

เรื่องที่คล้ายกันมากอีกเรื่องคือ  6 ตุลา 2519 นำไปสู่การจัดตั้งประชาชนกลุ่มหนึ่ง
เพื่อฆ่าคนที่ต้องสงสัยว่าเป็นฝ่ายที่เป็นภัยต่อชาติบ้านเมือง คำถามที่อยากให้ชวนคิด
กันคือ ในรัฐประหาร 2549 กระบวนการทางความคิดหรือทางอุดมการณ์ที่พยายามจะ
บอกว่าชาติ ศาสนา สถาบัน ถูกคุกคาม ในที่สุดจะนำไปสู่การกำจัด ทำร้าย ปราบปราม
คนที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารหรือไม่ ต้องระวังเพราะทั้งสองเหตุการณ์นี้คล้ายคลึง
ทางอุดมการณ์

รัฐประหาร 6 ตุลา 2519 เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีการใช้สถาบันการทหารสร้างระบบการเมือง
แบบใหม่ขึ้นมา มีการให้ทหารเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญ มีการตั้งสภานิติบัญญัติซึ่งคนส่วน
ใหญ่มาจากทหาร สถิติน่าเศร้าในช่วงพ.ศ.2519-2521 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ร้อยละ 70 เป็นทหาร แม้แต่พันเอกก็สามารถทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนได้
ส่วนในพ.ศ.2549 ถ้าเป็นแบบนี้จะเป็นเรื่องที่ถอยหลังไปมาก

อีกเรื่องที่คล้ายกันมาก และเป็นเรื่องใหญ่ที่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงคือ การใช้อำนาจพิเศษ
บางอย่างนอกเหนือกฎหมายมาทำลายสถาบันทางการเมืองทั้งหมดลงไป เป็นเรื่องที่
อันตรายที่จะอยู่คู่กับระบบการเมืองไทยไปอีกหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคนเหล่านี้
สามารถร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นอย่างต้องการได้ เราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งถูกออกแบบ
มาให้สถาบันทหาร ส่วนพรรคการเมืองจะไม่มีบทบาทอะไรเลยสถาบันรัฐสภาจะกลายเป็น
ปาหี่เพื่อให้การมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่กลายเป็นคนที่ชอบธรรม

อีกเรื่องที่สำคัญคือ เราจะต้องย้ำให้คนในประเทศเห็นว่าคณะรัฐประหารชุดนี้พยายาม
จะบอกคนไทยว่าต่อให้ยึดอำนาจไปแล้ว ประชาชนไทยจะยังมีเสรีภาพ พูดได้ อ่าน
หนังสือพิมพ์ แต่ประเด็นสำคัญคือเรามีเสรีภาพแต่ไม่มีอิสรภาพ  

อิสรภาพต่างจากเสรีภาพ อิสรภาพคือการที่คนเราสามารถทำอะไรทุกอย่างตามที่เชื่อ
ได้โดยไม่มีข้อผูกมัดหรือความกลัวใดๆ  มาปิดกั้น สามารถพูดได้ว่าไม่เห็นด้วยกับการ
รัฐประหาร ไม่ใช่แค่ในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพูดที่หน่อมแน๊ม

เผด็จการทุกครั้งไม่เคยห้ามการพูดเรื่องรัฐประหารในมหาวิทยาลัย แต่จะห้ามเมื่อเรา
ไปพูดข้างนอก ในกรณีรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2534 นักศึกษาธรรมศาสตร์หรือรามคำแหง
ก็สามารถพูดในมหาวิทยาลัยได้ แต่พอเริ่มมีการปราศรัยข้างนอกก็มีการจับกุมนักศึกษา

เพราะฉะนั้นสิ่งที่พวกเผด็จการทำคือ การให้ยากล่อมประสาทว่า คนไทยมีเสรีภาพ แต่
อันที่จริงไม่มี เสรีภาพ คนไทยเป็นเสรีภาพภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง ทหารเป็นคนบอก
ว่าทำได้แค่ไหน คือพูดได้แต่ในมหาวิทยาลัย ในชั้นเรียน หรือในการสัมมนาทางวิชาการ
เท่านั้น แต่ทำข้างนอกไม่ได้ จึงไม่อนุญาตให้เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเผยแพร่
ความเห็น
 
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ไม่ได้ทำความผิดอะไรทาง
การเมืองเลยนอกจากจัดกิจกรรมทางการเมืองครั้งหนึ่งซึ่งทหารเห็นแล้วสะเทือนใจคือ
ฉีกรัฐธรรมนูญที่ทหารร่าง แต่คิดว่าเหตุผลที่ฉีกรัฐธรรมนูญเป็นเหตุผลที่ฟังได้เพราะกลุ่ม
อาจารย์นิธิ อ้างว่า

“ถ้าทหารฉีกรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนได้ ทำไมประชาชนจะฉีกรัฐธรรมนูญของ
ทหารไม่ได้บ้าง”

เพราะฉะนั้นการปิดเว็บไซต์ของอาจารย์นิธิ เป็นภาพที่ชัดเจนว่า เสรีภาพของคุณอย่า
ล้ำเส้นเกินไป คุณมีเสรีภาพได้แค่ที่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่อย่ามาพูดที่สาธารณะ
และให้เป็นประเด็นทางการเมือง

เพื่อนนักวิชาการบางคนเขาบอกตลอดเวลาว่ายังมีเสรีภาพอยู่นะ เขาไม่ได้ปิดกั้นอะไร
แต่อยากจะบอกว่าแบบนี้เป็น ‘เสรีภาพแบบขอทาน’ นายจะให้หรือจะยึดคืนเมื่อไหร่ก็ได้
เพราะในระดับภาพรวมมีกฎหมาย มีรัฐธรรมนูญบางอย่างค้ำอยู่ มีกระบอกปืนล็อกอยู่ เป็น
เสรีภาพที่เป็นประโยชน์ทางการเมืองแต่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับการสร้างประชาธิปไตย
ของประชาชนในระยะยาว


ข้อเสนอ

ข้อเสนอที่ควรจะเรียกร้องจากคณะปฏิรูปการปกครองหรือคณะมนตรีความมั่นคงมีหลักการ
คือ คณะปฏิรูปพยายามบอกคนในชาติว่าได้ยึดอำนาจด้วยประชาธิปไตยและเพื่อส่วนรวม
ซึ่งจะอ้างอย่างไรก็แล้วแต่ แต่เรามีสิทธิจับโกหกได้ เพราะในชีวิตจริงเราก็เจอคนโกหก
มามากมาย วิธีหนึ่งที่จะจับโกหกคือดูว่าคนที่พูดทำอะไรบางอย่างที่พูดหรือโม้ไว้หรือไม่

สิ่งที่น่าทำคือ การเรียกร้องมาตรการตรวจสอบทุกอย่างซึ่งประชาชนไทยเคยเรียกร้อง
จากรัฐบาลทักษิณ จะต้องถูกเรียกร้องจากรัฐบาล คปค. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลสุรยุทธ์ด้วย
               
เช่น มาตรการซึ่งบอกให้นักการเมืองจะต้องถูกตรวจสอบทรัพย์สิน ในเมื่อ 15 ปี หลัง
พฤษภาคม 2535 สังคมไทยได้สร้างบรรทัดฐานบางอย่างว่า นักการเมืองและญาติ
พี่น้องทั้งหมดจะต้องถูกจับแก้ผ้า ในเมื่อท่านยึดอำนาจแล้ว ท่านก็มีสถานะเป็นนัก
การเมืองไปแล้ว จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานแบบเดียวกัน คือการเปิดเผยทรัพย์สิน
ก่อนยึดอำนาจ หลังยึดอำนาจ รวมทั้งหลังจากที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย

ข้อสองคือ เรื่องการสืบทอดอำนาจของ คปค. คณะปฏิรูปการปกครองอ้างอยู่เสมอว่า
ไม่มีเจตนาจะสืบทอดอำนาจโดยได้ระบุไว้ในธรรมนูญการปกครองแล้วว่าจะไม่ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองใดๆ เป็นเวลา 2 ปี

อยากให้เปรียบเทียบว่าการยึดอำนาจเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ หลักการคือถ้าคิดว่าการ
รัฐประหารเป็นเรื่องที่ผิดรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เรามีหลักการที่สำคัญ
ข้อหนึ่งคือ เวลานักการเมืองคนใดทำผิดรัฐธรรมนูญจะลงโทษไม่ให้ดำรงตำแหน่งทาง
การเมืองเป็นเวลา 5 ปี หลักการนี้ควรจะนำมาใช้กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและ
คณะปฏิรูปการปกครองด้วย ในเมื่ออ้างว่าไม่มีเจตนารมณ์จะสืบทอดอำนาจและท่านเป็น
คนดี ควรจะประกาศไว้ในธรรมนูญการปกครองและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ท่านสามารถ
ทำได้เพราะเป็นคนตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเอง

นี่ไม่ใช่หลักการที่รุนแรง แต่เป็นหลักการที่ประชาชนไทยเรียกร้องจากคุณทักษิณ
ชินวัตร และนักการเมืองเลวๆ ในรัฐสภามาตลอด 15 ปี หลักการข้อนี้ควรจะถูกสืบทอด
ต่อไป

สาม หลักการเรื่องการห้ามไม่ให้ข้าราชการประจำมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาคประชาชนไทยต่อสู้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 คือ การ
บอกว่ารัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกองค์กรอิสระจะต้องไม่ใช่ข้าราชการ ปลัด-
กระทรวงไม่มีสิทธิ์ดำรงตำแหน่งควบ ทหารไม่ควรมีสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ
พร้อมกันได้

หลักการนี้ถูกทำลายลงจากคณะปฏิรูปการปกครองชุดนี้หากดูจากวิธีการตั้งรัฐบาลชุด
ใหม่ คนกลุ่มที่พยายามจะทำลายหลักการนี้คือ คนกลุ่มที่มีอำนาจในประเทศไทยเมื่อ
พ.ศ.2524-2531

ประเด็นนี้สำคัญและควรเรียกร้องว่า รัฐธรรมนูญของคณะปฏิรูปการปกครองต้องห้าม
ไม่ให้ข้าราชประจำดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะเกรงว่าหลักการนี้จะถูกล้มลงไป
ในการร่างรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น เวลาพูดกันเยอะๆ ว่าขอให้เอารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาใช้ ในความเป็นจริงแล้ว
คงเกิดขึ้นได้ยาก เพราะบุคลิกที่สำคัญของคณะรัฐประหารครั้งนี้ เป็นรัฐประหารโดยทหาร
แต่ไม่ใช่เพื่อทหาร ฉะนั้นสิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการคือการสร้างระบอบการเมืองบางอย่างขึ้น
มา และเขามีธงอย่างชัดเจนว่าต้องการการสร้างระบอบการเมืองแบบไหน สร้างรัฐธรรมนูญ
แบบไหน ต้องการรัฐสภาแบบไหน จึงจำเป็นต้องฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง และจะเป็นชนวนของ
ความขัดแย้งทางสังคมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา

ศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์
นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยลัยฮาวายอิ สหรัฐอเมริกา


โอ้วพระเจ้า นี่ผมพูดไปจะหาว่าโม้ ผมรู้จัก ศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์
น้องชายคนเล็กของคุณองอาจ บ้านเขาอยู่ที่สี่เสาเทเวศ เปิดเป็น youth hostel บ้านพักเยาวชน
นี่แหละ เพราะ น้องชายคนกลางเขาเป็นผู้อำนวยการ บ้านเยาวชนด้วย
เอาล่ะ นาศิโรตน์ เนี่ยทุกๆคนรอบข้างที่ทำงานที่นั่น เอือมระอากับพฎติกรรมสั่วๆของเขา
ชอบออกมาอาละอวาดแขกที่ไปพักที่นั่นๆ วันๆเอาแต่คลุกอยู่ในห้อง เรียนมาตลอดชีวิต
ชอบเขียนบทความ แต่นิสัยส่วนตัวเห็นแก่ตัวที่สุดในโลก นี่ถ้าอ่านอยู่ก็ให้รู้ไว้
เรียนสูงๆแต่กริยาต่ำๆไม่มีมรรยาทเนี่ย ขอทีเถอะ อย่าให้คนเขาแช่งเลย


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 16-10-2006, 06:04
เห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับแนวคิด/สิ่งที่เขาพูดก็ว่าไปตามเนื้อหา

มาโจมตีตัวผู้พูดนั้นไร้สาระ เป็นการกระทำที่ไม่ประเทืองปัญญา


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 16-10-2006, 07:52
นี่เป็นโศกนาฎกรรมทางการเมือง ครั้งสำคัญในระบอบประชาธิปไตยของไทย อีกครั้งนึง

ซักวันความจริงจะต้องปรากฏ ไม่ช้าก็เร็ว



เห็นด้วย ว่าสักวันความจริงต้องปรากฏแน่นอน เหมือนอย่างที่ตอนนี้ ความเลวมันก็ค่อย ๆ ปรากฏออกมา เรื่อย ๆ :slime_v:


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 16-10-2006, 08:06
คุณ snowflake หรือนักวิชาการที่เขียนบทความนี้ จะอ้างว่าไม่มี check and balance เพราะสภาอภิปรายฝ่ายบริหารไม่ได้ ก็ได้
แต่ถ้ามองกันอย่างเปรียบเทียบ มองแบบสัมพัทธ์กับพฤติกรรมรัฐบาลชุดก่อน ถามว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร มากน้อยแค่ไหน
รัฐบาลก่อนเคยเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายตรวจสอบมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ตอบกระทู้สภามากน้อยแค่ไหน ลองตรองดู
อย่าลืมว่าคนเรามองแบบสัมพัทธ์เสมอ อะไรดีขึ้นหรือเท่าเดิมก็ถือว่าใช้ได้แล้ว โดยเฉพาะหากมันเป็นเรื่อง "ชั่วคราว"
เพื่อผลัดเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

และผมไม่แปลกใจถ้ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจะถูกออกแบบมาให้ฝ่ายบริหารมีความแข็งแกร่งแบบสุดๆ
เพราะถึงรัฐบาลนี้จะมีอายุไม่เกิน 1 ปี แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลนี้ก็ถูกคาดหวังเช่นกันว่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่านั้น
ลองคิดถึงความวุ่นวายหากปล่อยให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง การขัดแย้งระหว่างสภากับฝ่ายบริหารภายในห้วงเวลา 1 ปีจากนี้
แล้วการปฏิรูปการเมืองจะได้ผลได้อย่างไร

สิ่งที่พึงประสงค์ที่สุดในช่วงต่อไปนี้ คือการเมืองที่นิ่งและสงบ เพื่อทำให้การปฏิรูปการเมืองได้ผลสัมฤทธิ์
นั่นคือจุดประสงค์ของการออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 แต่ว่าผู้เขียนบทความกลับใช้จุดประสงค์ที่แตกต่างออกไปในการวิจารณ์
จึงไม่น่าแปลกใจที่ความเห็นของเขาจะออกมาในรูปแบบเช่นนี้



หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 16-10-2006, 08:58
ดิฉันไม่ได้ “อ้าง” นะคะ มันเป็นข้อเท็จจริง
ที่รัฐบาลนี้ไม่มี check and balance
ใครๆ เขาก็มองเห็นกันทั้งนั้น
ถ้าใครจะไม่เห็น ก็คงเพราะหลอกตัวเอง
ส่วนเห็นแล้ว จะยินยอมพร้อมใจให้เกิดขึ้นและเป็นไป
ด้วยรักและศรัทธาหรืออะไรนั้นเป็นอีกเรื่อง

กรุณาแยกให้ออกระหว่างความจริงกับความเชื่อ

คุณไม่เชื่อ คุณ ศิโรตม์ ไม่เชื่อ อ.รังสรรค์
http://forum.serithai.net/index.php?topic=8897.0
แต่ไม่มีเฉพาะพวกเขาเท่านั้นที่จะกล่าวเช่นนี้

สภา (นิติบัญญัติแห่งชาติ) เลือกมาเองกับมือ
ยังไม่ไว้ใจ กลัวเขาค้านได้อีกหรือคะ?
ยิ่งสูงยิ่งหนาว คงไว้ใจใครไม่ได้ น่าเห็นใจยิ่ง
ทำดีจริง จะมีสิ่งที่ใดที่เปิดเผยไม่ได้ ให้ตรวจสอบไม่ได้
และสภาตั้งเองนี้ทำได้อย่างมากแค่อภิปราย
ไม่มีสิทธิถอดถอน ยังจะกลัว ด้วยเหตุอันใด?

ถ้าทำดี ควรแสดงให้ปรากฎ
ไปปกปิดไว้ ชวนให้สงสัยในเจตนา

ประชาชนเหตุใดไม่เรียกร้องที่จะมีส่วนร่วม
ยอมเป็นไพร่ให้ปกครอง
กลัวปืนและรถถังมากกว่ากลัวทักษิณ ใช่หรือไม่
นี่หรือที่ว่าเสรีภาพมากกว่า ในรัฐบาลประชาธิปไตย

การปฏิรูป “การเมือง” – น่าสนใจ คำที่คุณใช้
ที่ไม่มี “ประชาธิปไตย” อยู่ในนั้น
นับว่ากล้าหาญและจริงใจกว่า คปค.
ที่ตั้งชื่อมาก็โกหกแล้ว
รัฐประหารได้ทำลายประชาธิปไตยไปแล้ว
หรือทำให้ถอยหลังย้อนยุคไปไกล
ยังมีหน้าบอกว่าทำเพื่อปฏิรูป (ปรับปรุง)
และหวังให้เชื่อและไว้ใจ

อ้อ เกือบลืมอีกประเด็น
รัฐบาลทักษิณเป็นเผด็จการรัฐสภา ยังทนมาไม่พอ?
ควรต้องทนรัฐบาลเผด็จการทหารต่อไปอีก?
ถ้าจะต่อต้านเฉพาะแต่ทักษิณ
ไม่ต่อต้าน (หรือที่จริง สนับสนุน) เผด็จการทหาร
เปลี่ยนคำขวัญเวบใหม่ให้เจาะจงไปเลยก็คงดี
แต่อย่าสร้างบรรทัดฐานการเมืองแบบนี้
โดยใช้คำว่า เสรีไทย จะดีกว่า
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: นิรนาม ที่ 16-10-2006, 09:51
ผมขอไม่เชื่อทั้ง "คุณ ศิโรตม์ ไม่เชื่อ อ.รังสรรค์"

เราควรมานั่งล้อมวงเสวนากันเพื่อหาทางออกให้กับสังคม ว่าทำอย่างไรสังคมไทยจะเป็นสังคมประชาธิปไตยเต็มรูปแบบไม่ใช่เพียงรูปธรรมอย่างในปัจจุบัน

ไม่ใช่มาทุ่มเถียงเพื่อเอาชนะกันและกัน แล้วร่ำร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก คืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จัดการเลือกตั้ง ด้วยความเชื่อที่ว่านี่คือแก่นสารแห่งระบอบประชาธิปไตย ทั้งที่รู้อยู่ว่าสิ่งที่พร่ำเพรียกเรียกหากันอยู่นี้เป็นเพียง "เปลือกนอกของระบอบประชาธิปไตย"เท่านั้น

เราต้องทำใจยอมรับความจริงกันให้ได้ก่อนว่า ปัจจุบันสถานการณ์การเมืองของเราอยู่ในระยะขั้นการปฏิรูปทางการเมือง และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่พลังปฏิรูปขาดความเป็นเอกภาพ ขาดทิศทาง นโยบาย ขาดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี

ที่สำคัญยิ่ง คือ ขาดความเข้าใจ จนทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม "ละเลย มึนชา" ต่อการทำความเข้าใจในสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ภายใต้การเคลื่อนตัว เคลื่อนไหลของกลุ่มพลังต่าง ๆ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "จับขั้ว เปลี่ยนสี" สลับสับเปลี่ยนกันเถลิงอำนาจ โดยที่ภาคสังคมถูกทอดทิ้งและถูกฉกฉวยผลประโยชน์ไปอย่างน่าละอาย (รัฐบาล "ทักษิณ 1 -2" รวมทั้งการยึดอำนาจปฏิรูปฯ ของ คปค.ก็เกิดจากปัจจัยนี้)

ที่ผ่านมาไม่ว่าในยุคใดสมัยใด รัฐธรรมนูญฉบับไหน(รวมทั้ง รธน. 2540) กลุ่มพลังที่ก้าวหน้าในสังคมไทยก็ไม่สามารถแสดงบทบาทนำในขบวนการปฏิรูปการเมืองได้ หลายปีกในภาคสังคม อยู่ในลักษณะปีนซ้ายป่ายขวา ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่บางครั้งกลายเป็นแนวร่วมพวกฉวยโอกาสเอียงขวา หลายครั้งก็ก้าวล้ำนำหน้ามวลชนทำให้เกิดความเคลื่อนไหวที่สุ่มเสี่ยงเอียงซ้าย ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อน ชัยชนะที่หวังจะสะสมเพื่อให้มีความเข้มแข็งจึงกลายเป็น "ความเพ้อฝัน"

ฉะนั้น แทนที่เราจะมาทุ่มเถียง ทะเลาะเบาะแว้ง จนนำไปสู่ความ "แปลกแยกทางความคิด" ทำไมเราไม่จับมือประสานใจร่วมกันทำภารกิจ 5 นี้ให้สำเร็จลุล่วง คือ

1. สืบทอดเจตนารมณ์คนเดือนตุลา ที่กล้าต่อสู้ กล้าเสียสละและสร้างสังคมที่ดีงาม
2. รณรงค์ให้ประชาชนได้เข้าใจต่อสถานการณ์การเมืองและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริง
3. รณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัว ตระหนักถึงภารกิจในการเป็นพลังสำคัญในการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเมือง
4. สนับสนุนให้ประชาชนมีเครือข่ายและเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เก็บบทเรียน เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรภาคสังคม
5. สนับสนุนการเคลื่อนไหวและการทำกิจกรรมทางสังคมที่มีเป้าหมายเพื่อบรรลุการสร้างความเข้มแข็งของ "ระบอบประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน"


5 ภารกิจนี้ต่างหากที่จะนำพาชาติบ้านเมืองเข้าสู่ "ระบอบประชาธิปไตยที่เป็นประชาธิปไตยแท้"  
จากนั้นจึงค่อยคิดหาแนวทางมาตรการ "ต่อต้านการรัฐประหารและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ขัดต่อเจตจำนงของประชาชนและกฎหมายรัฐธรรมนูญ"


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: qazwsx ที่ 16-10-2006, 10:22
เรียนคุณเกล็ดหิมะ

ดูคุณเหมือนจะปกป้อง "หลักการ" หรือ "ระบบ" ดีนะครับ
แต่อีกนัยหนึ่ง  ก็พาลทำให้เข้าใจได้ว่าคุณกำลังละเลย "หัวใจ" ของการปกครองแผ่นดิน
...ซึ่งนั่นก็คือ "หลักธรรม"

- ธรรม อันหมายถึง เป็นธรรม...ที่จะต้องมีให้ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับตนหรือฝ่ายที่ขัดแย้งกับตน
- ธรรม อันหมายถึง นิติธรรม...ที่จะต้องอยู่ในกรอบปฎิบัติเดียวกัน  เฉกเช่นเดียวกัน โดยไม่แยกเขาแยกเรา ( ไม่ดับเิบิล สแตนดาร์ด )
- ธรรม อันหมายถึง จริยธรรม...ที่จะต้องเป็นแบบอย่างหรือเคารพในแบบอย่างอันดีงามตามแนวทางสากล หรือจารีตประเพณีที่สืบสานกันต่อมา ( อันที่ไม่ดี ไม่เรียกว่าจารีตประเพณี )
- ธรรม อันหมายถึง วัฒนธรรม...ที่จะต้องช่วยกันสร้างสรรและพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น  เพื่อยืนยันความเป็นอารยชน  ซึ่งกอปรขึ้นด้วยหลักสิทธิ เสรีภาพ ภราดรภาพ  อันสำเร็จได้ด้วยแนวทางสมานฉันท์ - สันติ เท่านั้น
- ฯลฯ

ส่วนสิ่งที่คุณ  snowflake พยายามอ้างว่ารัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยคณะรัฐประหารชุดนี้ไม่มี 
เป็นสิ่งที่เรียกว่า "รูปแบบ" เท่านั้นล่ะครับ

อุทธาหรณ์ :
เปรียบเทียบได้กับ "คนถูกจับแก้ผ้าล่อนจ้อน" --- (1)
ใช่ครับ  มันเป็นเรื่องน่าอาย
...แต่เขาหรือหล่อนก็ยังมีความเคอะเขิน  อาจเอามือปิดกุมเป้าหรือของสงวน
ด้วยไม่ต้องการให้คนอื่นเห็น
...และถ้า "คนอื่น" นั้น  รู้จักการให้เกียรติ - ได้รับการอบรมสั่งสอนมาเป็นอย่างดี 
ย่อมไม่รู้สึกสนุกสนานที่จะพยายามเข้าไปดึงมือไม้ หรือแกล้งให้เขาหรือหล่อนต้องอับอายมากไปกว่านั้นอีก

ตรงกันข้าม
หากเทียบกับ "คนหน้าด้าน - ใส่เสื้อผ้าี่ขาด รั้ง หรือบางจ๋อย ไม่สนใจว่าหัวนม อวัยวะเพศ และรูทวารหนัก จักผลุบโผล่ปรากฎแก่สายตาธารกำนัล" --- (2)
เขาหรือเธอ "พรรค์นี้" จะอ้างว่า "ชั้นนุ่งผ้าอยู่นะ" ไม่ได้หรอกครับ
การมีเสื้อผ้า "เท่าที่ได้ชื่อว่ามี" แต่กลับไม่เห็นความสำคัญ
อย่างไรก็เป็น "คนหน้าด้าน" วันยันค่ำ อยู่นั่นเอง


เอ้อ...ผมยังไม่ได้บอกนะครับว่ารัฐบาลที่มาจากการจัดตั้งโดยคณะรัฐประหารชุดปัจจุบันนี้ "ดำรงธรรม" มากกว่า
เพราะผมก็ยังเห็นเขา "แก้ผ้าล่อนจ้อน" อยู่
เพียงแต่ผม "ไม่พยายามจับมือของเขาออกจากเป้าที่กำลังกุมหว่างขา" เท่านั้น



น่ายินดีครับ  ที่มีคนออกมาปกป้องระบบและหลักการ
แต่ "ระบบและหลักการ" ก็เป็นกรอบ กติกา ที่ตราขึ้นก่อนสถานการณ์จริง เวลาจริง อันเป็น "ข้อเท็จจริง" นั่นเอง

...คุณจะยืนยันว่าถนนที่กำลังเดินอยู่นี้เป็นเส้นทางไปสู่ยูโธเปีย  ในขณะที่ลำแสงแห่งยูโธเปียกำลังเบี่ยงเบนออกไปทางซ้ายหรือขวา "เรื่อย ๆ" ได้อย่างไร ??
...โดยเฉพาอย่างยิ่ง  ถ้าคุณไม่เห็นแม้แต่ลำแสงแห่งยูโธเปียซะด้วยซ้ำ
...เนื่องจากคุณเลือกที่จะ "ก้มหน้าก้มตา" เดินตาม "ทั่นผู้นำ" ผู้ที่กดหัวคุณไว้ แล้วใช้การ "กล่อมประสาท" คุณให้เกื้อหนุนเขาด้วยคำสัญญาอันไพเราะเสนาะหู  ระหว่างที่มือของเขาที่คุณเข้าใจว่า "มีคนอื่นดูให้อยู่แล้ว" กำลังกอบโกยเสบียงกรังของคุณไปเป็นของเขาอยู่ "เรื่อย ๆ"

ผมไม่เถียง และก็ไม่ยืนยันว่า
"ถนน" ทีคุณ่กำลังเดินอยู่นี้ อาจเป็นเส้นทางไปสู่ยูโธเปียจริง ๆ
ด้วยอาจต้อง "อ้อม" ไปบ้าง  เพื่อหลบหลีกหุบเหวหรือท้องทะเลกว้าง
ลำแสงแห่งยูโธเปีย  จึงดู "เบี่ยงเบนทิศทาง" ไปในสถานการณ์จริง เวลาจริง อันเป็น "ข้อเท็จจริง" ขณะที่เรากำลังประสบอยู่ตอนนี้
คุณอาจทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

...แต่น่าเสียดาย
ที่ผมพบว่าี่ "ทั่นผู้นำ" ของคุณเลือกที่จะ "เสพย์เอายูโธเปีย" ไปจากคุณและผม  ก่อนที่จะทิ้ง "ซาก" ของพวกเราไว้ระหว่างทาง
...หรือหากยังโชคดีี
ถ้าเขายังพอมี "ความเมตตา" อยู่บ้าง
เขาอาจจะใช้เสื้อผ้าและสัมภาระเหลือ ๆ ของสาวก - บริวาร บางส่วนต่างเชื้อเพลิง สำหรับเผาศพ "คนที่ล้มตายไปก่อน" ให้กลายเป็นอัฐิ
ก่อน "หยิบชิ้นส่วนเล็ก ๆ" อันเคยเป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของคุณ หรือผม หรือใครก็ตาม รายละ 1 ชิ้น
...เพื่อเอาไปทิ้งไว้ที่ยูโธเปีย
หลังจากกล่าวสรรเสริญคุณงามความดีของเรา "นิดหน่อย"
ตามกระบวนการ "สร้างภาพ" แบบ "Win-Win" ( ตัวเข้าได้หน้า - ศพของบริวาร - สาวกได้รับการเคารพ )
อันจักเป็นการรักษา "ความนิยม" ให้แก่ตัวเขา  ในสายตาของ "ผู้ติดตามที่ยังเหลือชีวิตรอด" ต่อไป


เอ้อ...
ผมขออนุญาต ไมตาม่ไปด้วยกับคุณแล้วล่ะนะ
เพราะไม่ชอบ "ก้มหน้าก้มตา" เดินตามทั่นผู้นำ ซึ่งนิยม "หว่านคำสัญญา ( หลอกให้กินยากล่อมประสาท ) ไปพร้อม ๆ กับการป่าวประกาศถึงความเก่งกล้าสามารถของตนเอง ( ยกหางตัวเอง - ยกตนข่มท่าน ) ทุก ๆ 7 วัน

อีกทั้ง "ยูโธเปียของผม"  ก็ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของประเทศสิงคโปร์
...ไม่มีอะไรเหมือนสิงคโปร์

...ผมขอลง



รถจอดป้ายแล้ว
...ผมลงล่ะนะ


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 16-10-2006, 16:29
โห คุณปู่ ...
มารำพึงรำพันอะไรยืดยาวคะนี่
แล้วจะทิ้งกันไปไหน …
ก็ลงเรือลำเดียวกันแล้ว ... ไม่มีลำอื่น
อย่าว่าแต่ตอนนี้ปู่ไม่มีสิทธิ์บ่น เราก็ไม่มีสิทธิ์ขัดขืน
เพราะเปลี่ยนคนขับ ... เป็นคนที่ปู่ชอบใจ
Utopia อะไรมีที่ไหน ... ตื่นๆๆๆ
คนของปู่เขาใส่เกียร์ถอยหลังเข้าคลองอยู่นี่
เอ้อ เกียร์เดินหน้าไม่มี ... หรือยังหาไม่เจอ
หรือเผลอๆ นี่แหละทิศทางที่อยากมุ่งไป
ก็ไม่ต้องเหมือนใคร... เพราะเราทำอะไร "แบบไทยๆ"

จบค่ะ แต่งนิทานไม่เก่งขออำไพ
ไม่ happy ending ไม่นิยม

 :slime_surrender:


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 16-10-2006, 16:43
ลองอ่านเล่น ๆ นะ
....................
 (3) ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย เน้นยุทธศาสตร์การสร้างและขยายสถาบันและวัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน
       
       ปัจจุบันเราไม่อาจหวนไปใช้ประชาธิปไตยครึ่งใบซึ่งพึ่งพิงอำนาจแบบศูนย์เดียว คือ กองทัพ ต้องให้มีประชาธิปไตยเต็มใบ แต่มีหลายสถาบันมาตรวจสอบกำกับ (regulate) ทิศทางทุนการเมือง เพราะขอบเขตปัญหากว้างกว่าเดิมมาก โลกก็เคลื่อนตัวเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเดิม
       
       1. ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย

       การแก้ไขปัญหาหลังวิกฤตการเมืองไทยทำกันผิดพลาดทุกหน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ศึกษาและหยิบยกทฤษฎีตะวันตกมาใช้อย่างลวกๆ หลังพฤษภาคม 2535 ก็มีการปฏิรูปการเมืองที่เป็นลัทธิคลั่งทฤษฎีตะวันตกมากเกินไป ในครั้งนี้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องกล้าคิดวิธีการที่ส่งเสริมอำนาจประชาชนที่เหมาะกับสังคม วัฒนธรรมไทยด้วย จึงควรเรียกว่าเป็นการจัดทำเป็นรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย
       
       2. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องเน้นการสร้างประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร

       จาก 14 ตุลาคม 2516 มาถึงปัจจุบัน ประชาธิปไตยโดยรูปแบบคือประชาธิปไตยที่เป็นเฉพาะการเลือกตั้ง (Procedural Democracy) ได้มาถึงทางตัน ต้องมีการพัฒนาไปอีกขั้น คือประชาธิปไตยที่มีเนื้อหาหรือประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร (Substantive Democracy) แก่นสารนี้คือการเพิ่มความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความอยู่ดีมีสุขและสิทธิอำนาจของประชาชน
       
       3. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องสร้างโครงสร้างการเมืองกู้ชาติแบบยั่งยืนสมดุลขึ้นให้ได้

       โครงสร้างการเมืองที่ดีที่จะแก้วิกฤตประเทศได้ยั่งยืนถาวร คือโครงสร้างที่ยอมรับอำนาจของประชาชนผ่านความชอบธรรมของประชาธิปไตยเลือกตั้ง คู่กันไปกับอำนาจตรวจสอบของสถาบันต่างๆ ซึ่งมีความชอบธรรมในเชิงการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ และการพิสูจน์ตัวเองว่าทำงานเพื่อประโยชน์สังคม (functional differentiation ในฐานะเป็น social legitimation) แนวคิดเสรีนิยมตะวันตกสุดขั้วที่ยึดเอาสิทธิการเลือกตั้งของบุคคลอย่างเดียวเป็นที่มาของอำนาจทั้งปวง ถูกพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะทุนการเมืองเข้าครอบงำแทรกแซงได้หมด
       
       4. โครงสร้างการเมืองกู้ชาติเน้นยุทธศาสตร์ 2 อย่างคือ

       4.1 ประเทศไทยจะหวนไปใช้สถาบันเดียว คือ กองทัพ มากำกับการเมืองตามระบบประชาธิปไตยครึ่งใบไม่ได้ ต้องใช้ยุทธศาสตร์การสมดุลอำนาจ ต้องขยายและสร้างความเป็นสถาบันแบบหลายศูนย์มาตรวจสอบถ่วงดุลทุนการเมือง ขยายสถาบันเดิม และสร้างสถาบันใหม่ๆ เช่น
       
       (1) ภาคเอกชนต้องมีบทบาทสนับสนุนประชาสังคม สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย ทุกวิกฤติในอดีต ภาคเอกชนไทยแสดงความรับผิดชอบน้อยที่สุด จนกล่าวได้ว่าการเมินเฉยหรือสนับสนุนผู้มีอำนาจการเมืองของพวกเขา เป็นสาเหตุสำคัญให้วิกฤติขยายตัวถึงขั้นมีการรัฐประหาร ภาคเอกชนจึงควรเสียสละเพื่อชดเชยความผิดและมีคุณูปการสร้างความปรองดองแห่งชาติด้วยการเสียภาษีเพิ่มเติม 0.2 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สำหรับ 100 บริษัทใหญ่ที่สุดของประเทศ และ 0.1 เปอร์เซ็นต์สำหรับ 200 บริษัทถัดไป เพื่อสนับสนุนกิจกรรมภาคสังคม
       
       (2) องค์กรตรวจสอบคอร์รัปชันนักการเมือง ต้องดำเนินไปอย่างเข้มข้น กรรมการเลือกตั้งต้องดำเนินไปอย่างจริงจัง และกระบวนการตุลาการภิวัตน์ต้องเกิดต่อไปอย่างเข้มข้น ถ้า 3 ส่วนนี้ดำเนินไปต่อเนื่อง จะมีโอกาสเกิดเป็นวัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน และการซื้อเสียง
       
       (3) ต้องหาทางกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้องค์กรตรวจสอบ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. คตส. สตง. รวมทั้งองค์กรสำคัญอื่นๆ เช่น ปปง. กกต. องค์กรอิสระ มีความเป็นกลางและเป็นสถาบันมากขึ้น ซึ่งความเป็นสถาบันมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้คือ มีความเป็นอิสระ มีอุดมคติ เพื่อภารกิจ มีบุคลากรที่ได้รับความนับถือ มีผลงาน มีวัฒนธรรมเฉพาะขององค์กร ซึ่งอาจได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ให้สืบเนื่องตัวเอง (reproduce) ได้ เช่น ให้มีสิทธิเสนอบุคลากรชุดต่อไปจำนวน 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 เป็นต้น
       
       (4) ที่มาขององค์กรตรวจสอบดังกล่าว ควรมาจากสถาบันสังคมที่พิสูจน์แล้วว่าไม่ถูกครอบงำหรือถูกแทรกแซงน้อยที่สุด ได้แก่ สถาบันศาลฎีกา สถาบันศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ สถาบันสื่อหนังสือพิมพ์ คณาจารย์มหาวิทยาลัยรุ่นเก่าซึ่งมีลักษณะความเป็นสถาบันสูง บุคคลที่มีผลงานการดำรงชีวิตเป็นที่ประจักษ์จนมีลักษณะเป็นสถาบันที่ได้รับความนับถือจากสังคมทั่วไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน เช่น ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดให้มี ปปช. 15 คน ให้มาจากศาลฎีกา 3 คน จากศาลปกครอง 3 คน ศาลรัฐธรรมนูญ 3 คน สถาบันหนังสือพิมพ์ 3 คน ที่ประชุมอาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรุ่นเก่า เช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามคำแหง สุโขทัยธรรมาธิราช เลือกตัวแทนแห่งละ 2 คน แล้วให้มาเลือกกันเองเหลือ 3 คน เป็นต้น วุฒิสภาก็ยังควรจะมีเพราะเป็นการขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคสังคม ทั้งนี้ อาจกำหนดให้มาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่งและมาจากสถาบันสังคมอีกครึ่งหนึ่ง
       
       4.2. นอกจากยอมรับบทบาทสถาบันแล้วยังควรขยายพื้นที่ภาคประชาชน คือ

       (1) การขยายบทบาทภาคสังคม – ประชาชน ด้วยการให้รัฐและภาคเอกชนสนับสนุนด้านงบประมาณและพื้นที่ต่อสาธารณะ

       (2) ขยายพื้นที่ยุติธรรม โดยกำหนดในรัฐธรรมนูญใหม่ ให้ประชาชนเข้าถึงสถาบันยุติธรรมได้ง่ายขึ้น เช่น ศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องคดีศาสตรา โตอ่อน vs กระทรวงไอซีที หรือ ให้กลุ่มบุคคล ตัวแทนกลุ่มวิชาชีพ เช่น สภาหนังสือพิมพ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ สภาทนายความ คณะมนตรีคุณธรรม เป็นตัวแทนรับเรื่องจากประชาชนฟ้องร้องรัฐได้
       
       (3) ขยายพื้นที่ตรวจสอบคอร์รัปชันให้กับภาคสังคม – ประชาชน – สื่อ เช่น ปรับปรุง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ซึ่งเวลาปฏิบัติจริงยุ่งยาก ให้หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ วิสาหกิจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ ส่งสัญญาที่มีมูลค่าตั้งแต่ 250 ล้านขึ้นไปมาให้ห้องสมุด ซึ่งจัดขึ้นเพิ่มเติมขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอนแก่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ สงขลาฯ สมาคมนักหนังสือพิมพ์
       
       (4) ขยายพื้นที่คุณธรรม เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะมนตรีคุณธรรม เพื่อให้บุคคลที่ได้รับการเคารพ อาทิ นพ.ประเวศ วะสี เสนาะ อุนากูล ระพี สาคริก เสน่ห์ จามริก ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ สุเมธ ตันติเวชกุล โสภณ สุภาพงษ์ ฯลฯ มีโอกาสได้รับเลือกไปทำหน้าที่ส่งเสริมคุณธรรม มีอำนาจยื่นเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองจากภาคประชาชนไปยังศาลที่เหมาะสม
       
       คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย
       รัฐธรรมนูญและโมเดลการเมืองที่เสนอนี้จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบชนชั้นนำ หรืออมาตยาธิปไตย (elite democracy) ไม่เป็นแบบมาตรฐานสากล แต่มีคำชี้แจงได้ดังนี้

       1. ประชาธิปไตยทั่วโลกโดยไม่มีข้อยกเว้น (รวมทั้งรัฐธรรมนูญไทยปี 40 ที่ผ่านมา) ล้วนอนุโลมให้มีบทบาทชนชั้นนำปนอยู่ด้วย อาทิเช่น กระบวนการตุลาการภิวัตน์ (judicial review) ของทุกประเทศก็จะอยู่ในแนวคิดนี้

       2. ประชาธิปไตยทั่วโลกล้วนมีลักษณะเฉพาะตามประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของตน เช่น การเลือกวุฒิสภาการลงคะแนนไพรมารีโวต เป็นลักษณะเฉพาะของอเมริกา สภาสูงของอังกฤษ บทบาทศาสนานิกายต่างๆ ต่อพรรคการเมืองของเยอรมัน ไทยก็ควรคิดบนเงื่อนไขภูมิปัญญาไทย
       
       3. โลกยุคสมัยใหม่มีความซับซ้อน (complexity) มีการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ (functional differentiation) แบ่งความชำนาญเฉพาะ (specialization) กว้างขวางมาก การออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทยให้ยอมรับความชอบธรรมแบบหลากหลายนี้ มากกว่าการยอมรับเฉพาะสิทธิของปัจเจกบุคคล อีกนัยหนึ่ง ระบบการเมืองที่ดีต้องประสานการเมืองภาคตัวแทน การเมืองภาคตรวจสอบ การเมืองภาคสังคม-ประชาชน

       4. รัฐธรรมนูญใหม่จะต้องเน้นประชาธิปไตยเต็มใบ ต้องเคร่งครัดให้อำนาจของสถาบันต่างๆ จำกัดอยู่เฉพาะอำนาจตรวจสอบ ไม่ใช่การบริหารหรือการออกกฎหมาย และควรมีลักษณะชั่วคราว เช่น 6-8 ปี

       5. รัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย ไม่ใช่การหวนกลับไปหาประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของเผด็จการทหาร หรือประชาธิปไตยวิถีเอเชียแบบสิงคโปร์ แต่ต้องเป็นการยกระดับคนไทยให้พ้นจากการสยบยอมทางความคิดตะวันตก และตัดความหลงงมงาย เชิดชูความเป็นไทยจนล้นเกินออกไป
       
       6. วิกฤตที่ผ่านมาควรเป็นวิกฤตสุดท้ายของประเทศ และอาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราแก้ปัญหาด้วย เพราะวิกฤตครั้งนี้กระทบทุกส่วนไม่เว้นแม้สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงควรพิจารณาข้อกังวลของนักวิชาการว่า การเมืองไทยจะหวนกลับไปสู่อมาตยาธิปไตยหรือไม่อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้เพราะปัจจุบันวัฒนธรรมข้าราชการ นักการเมือง เอกชนไทย กลายเป็นวัฒนธรรมคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางที่สุด จึงเรียกร้องให้พลังทุกส่วนต้องออกมาแก้ไขปัญหา ตามกระบวนการเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ
       
       ตามรัฐธรรมนูญองคมนตรี บุคคล องค์กรที่ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ ต้องเป็นกลางทางการเมืองอย่างเคร่งครัด แต่ในฐานะสมาชิกสังคมย่อมมีสิทธิที่จะบอกประชาชนว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว กล่าวคือ ไม่ยุ่งการเมืองแต่ยุ่งเรื่องจริยธรรม เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนเคารพคนดี คว่ำบาตรประณามนักการเมืองชั่วไม่ว่าจะอยู่พรรคใด เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เราอาจถกเถียงกันหรือยอมรับว่า ปัจจุบันควรเกิดหรือได้เกิดกระบวนอมาตยาภิวัตน์ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะของพัฒนาการการเมืองไทย ซึ่งต้องมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ ไม่ใช่กระบวนการเพื่ออำนาจหรือเพื่อผลประโยชน์ สังคมก็ต้องคอยกำกับให้กระบวนการนี้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
       
       ทหารเองก็ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่สนับสนุนหรือมีอิทธิพลในพรรคการเมืองใดๆ แต่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในฐานะสมาชิกสังคมที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมคุณธรรมเพื่อสังคมดังกล่าวได้เช่นกัน

จากกระทู้นี้...ถ้านั่งลงอ่านอย่างพิจิพิเคราะห์ อาจจะชอบคำว่า "ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ" เพราะมาจากรากเหง้าของเราเอง...

อ้อ...บทความของ "ชายเสื้อกั๊ก" วันนั้นสวม "สีเหลือง"....อารมณ์ดีเป็นพิเศษ...

http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=3235.0


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: hison ที่ 16-10-2006, 16:59
แม้เห็นด้วยกับคปค.เกินร้อย  แต่ก็เรียกร้องให้
ยกเลิกกฎอัยการศึก+ ให้สิทธิเสรีภาพสื่ออย่างเต็มที่+ให้พรรคการเมืองทำงานได้

ถามว่าทำไม

เพื่อให้การตรวจสอบฝ่ายบริหารมีประสิทธิภาพ ไม่ให้ใคร  แอบ ทำอะไร

อยากให้ เป็นจุดยืนเสรีไทยด้วยครับ 

ยกตัวอย่างเรื่อง สธ. ถือโอกาสห้ามโฆษณาขายเหล้า  ?
 และ กระทรวงคลังจะออกหวยออนไลน์เพิ่มความบ้าให้เข้าถึงง่ายขึ้น ?

จะทำอะไร ขอให้ สื่อ หรือ องค์กรตรวจสอบ สามารถทำงานได้


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 16-10-2006, 17:32
แม้เห็นด้วยกับคปค.เกินร้อย  แต่ก็เรียกร้องให้
ยกเลิกกฎอัยการศึก+ ให้สิทธิเสรีภาพสื่ออย่างเต็มที่+ให้พรรคการเมืองทำงานได้

เห็นด้วยเพราะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำได้ในตอนนี้
ดีกว่าร้องกระจองอแง ประเภทหนูไม่เอารัฐประหารๆๆๆๆ  :slime_smile2:


ที่จริงยังงงๆ อยู่ เพราะนักวิชาการส่วนใหญ่เสนอแนวนี้
แต่บรรหาร สันติบาล คมช ยังกลัวลอร์ดโวเดอมอร์ คืนชีพ



หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 16-10-2006, 17:56
ทำไม ชายเสื้อกั๊ก ไม่ต้านรัฐประหาร แถมเสนอแนะทางออก

ทำไมเสกสรร อยู่เงียบ ๆ

ทำไมหมอประเวศ เสนออีกทางเลือก

ทำไม อธิการบดี มธ. บอกว่า แม้ไม่เห็นด้วย แต่เข้าใจ

มันเป็นเรื่อง "วุฒิภาวะทางสังคม" แท้ ๆ ครับ


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 16-10-2006, 18:54
Whatever.
We shall wait and see.
ไม่มีใครถูกและผิดตลอดกาล

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 16-10-2006, 20:22
ถามจริง ๆ นะ ซักคำ คุณพอใจนักเลือกตั้งประเภทรับเหมา โกงกินโครงการต่าง ๆ แบบนั้นมากนักหรือไง

ถึงได้บ้ากับ การเลือกตั้งแบบที่แล้ว ๆ มา

ไม่ลองไปเอาสถิติ "ผู้แทนในสภา" มาดูกันบ้าง มันเป็นพวกใหนกันบ้าง...


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 16-10-2006, 20:55
สิ่งที่ไม่มีใน ประชาธิปไตยไทย

คอลัมน์ พูดจาประสาสื่อ

โดย อารักษ์ คคะนาท

แม้รถถังกลับเข้ากรมกองไปแล้ว และสภานิติบัญญัติถูกตั้งขึ้น ตามหลังรัฐบาลชั่วคราว เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับประชาธิปไตยไทย ที่ว่าถอยหลังเข้าคลองก็ยังมีให้ได้ยิน ไม่ว่าอรรถาธิบายจากนักวิชาการ หรือคำคร่ำครวญจากกวี

ซึ่งฟังมากๆ เข้า ดูราวกับว่าการที่รถถังออกมาจากกรมกอง ปิดล้อมสถานที่สำคัญทางราชการและสถานีโทรทัศน์นั้น เลวร้ายเสียยิ่งกว่ารัฐบาลพลเรือน ซึ่งอาศัยกติกาใช้อำนาจเงินและอำนาจบริหาร หาประโยชน์ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันใหญ่โตเฉพาะพวกและญาติมิตร ปิดปากสื่อมวลชน รวมถึงความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ที่ทำให้คนบาดเจ็บล้มตายโดยใช่เหตุ

ในนามของประชาธิปไตย

ถ้าหากว่ามองประชาธิปไตยคือการมีเลือกตั้งทุก 4 ปีที่กำหนด โดยไม่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดอื่น มุ่งแต่จะใช้ทุก 4 ปีมีเลือกตั้งเป็นวิธีแก้ไขปัญหา อย่างนั้นภูมิปัญญาสังคมจะไม่ทื่อมะลื่อเกินไปหรือ

ทำไมเรามองไม่เห็นว่า ตราบใดที่รถถังยังออกนอกกรมกองมาได้ ตราบนั้นย่อมแสดงว่า ประชาธิปไตยที่เรานำมาถือเป็นระบอบการปกครอง ย่อมยังลงหลักปักฐานไม่มั่นคง  

มีช่องว่างช่องโหว่ต่างๆ ในสังคม ตั้งแต่ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของประชาชน ความอ่อนแอทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา และความป่วยไข้ที่ต้องพึ่งพาอำนาจรัฐ ทำให้บรรดานักเลือกตั้งใช้เป็นเงื่อนไขเอาประโยชน์จากชาวบ้านมาได้ตลอด

ที่น่าประหลาดก็คือ สำนึกในส่วนรวมของคนมีการศึกษา หรือคนมีโอกาสเรียนมาก มีน้อยจนน่าตกใจ

ทำไมคนที่เรียนหนังสือมามากมาย ได้ปริญญาไม่รู้กี่ใบ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนปริญญาเอก ที่เห็นในสภา หรือเห็นในคณะรัฐมนตรี เกือบ 9 ใน 10 ล้วนวางตัวเป็นนายทุนขุนนางที่อยู่เหนือประชาชน หาโอกาสโกงกินงบประมาณกันมูมมาม ชนิดนานวันเข้าแทนที่จะเรียนรู้เป็นนักการเมืองที่ดี กลับหน้าด้านทนทานเสียงก่นด่าของชาวบ้านโกงกินอยู่ไม่แล้ว

ไม่ต้องพูดถึงอุดมคติในชีวิต อุดมการณ์ในการทำงาน หรือเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์เลย

วิถีการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยบ้านเรา จะสู้กับค่านิยมในบรรทัดฐานสังคมซึ่งวิปริตผิดทำนองหนักขึ้นเช่นนี้ได้อย่างไร

ลูกเป็นรัฐมนตรี พ่อตาแม่ยายได้งานจากรัฐบาลกันคึกคัก แม้จะมีกฎกติกาให้แข่งขัน ใครก็แข่งขันไม่ได้ ลูกเป็นรัฐมนตรีพ่อแม่ก็ได้รับเหมางานใหญ่ๆ ทุกงาน เพื่อนฝูงเป็นรัฐมนตรี สมัครพรรคพวกญาติพี่น้องก็แบ่งสรรปันงบประมาณกินกันครื้นเครง พ่อเป็นนายกรัฐมนตรี ลูกก็ทำมาหากินชนิดแย่งคนอื่นกินก็ยังได้ พี่เป็นรัฐมนตรี น้องนุ่งเขยน้อยสะใภ้ใหญ่สวาปามกันจนล้น

สำนึกเหล่านี้ สิ่งที่เรียกว่าประโยชน์ทับซ้อนเช่นนี้ ไม่ใช่ไม่มีในบ้านเมืองอารยะ แต่บ้านเขาไม่ประเจิดประเจ้อเท่า และกฎกติกามีผู้คอยกำกับอยู่แข็งแรง แต่บ้านเมืองด้อยพัฒนานั้น บรรดาผู้นำใช้กติกาบิดเบือนเอาประโยชน์เสียเอง

อย่างนี้ 4 ปีเลือกตั้งหน จะเกิดประโยชน์โภชผลอะไรกับประชาชน

แน่นอนว่า ตราบใดที่ประชาชนไม่เติบโตเข้มแข็งขึ้นทั้งด้วยกายภาพของสังคม และชีวภาพในธรรมทัศนะอันถูกต้อง ตราบนั้นเราก็ต้องฝึกฝนประชาธิปไตยแบบของเราไป ไม่ว่าจะโดยเลือดตกยางออกด้วยหรือไม่ก็ตาม

ทำไมเราไม่หันกลับไปมองว่า กว่าอังกฤษจะแปรระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาถึงวันเลือกตั้ง ต้องผ่านอะไรมามากขนาดไหน กว่าฝรั่งเศสจะสร้างระบอบประชาธิปไตย ต้องใช้กิโยตินหนักหนามาแล้วเท่าไหร่ แม้แต่ในหมู่พวกปฏิวัติระบอบเก่ามาด้วยกันเอง กว่าอเมริกันจะปลดแอกอังกฤษ รวมมลรัฐต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นสหรัฐอเมริกา ยังต้องเกิดสงครามกลางเมือง

ครั้งสำคัญ กว่าจะใช้สติปัญญาและกฎกติกาที่มีแก้ไขปัญหามา ทุกวันนี้ก็คงหลงเหลือรายละเอียดต้องแก้ตามท้องถนนอยู่

เราเปลี่ยนแปลงการปกครองมา 74 ปี มีรัฐบาลเผด็จการทหารเข้ามาใช้เวลามากกว่ารัฐบาลพลเรือนเกินครึ่ง รัฐบาลพลเรือนก็เป็นผลมาจากการคลี่คลายของกลุ่มบุคคลที่เป็นขุนนาง อดีตข้าราชการ นายทุน เจ้าพ่อเจ้าแม่อิทธิพลท้องถิ่น ฯลฯ ที่เข้ามายื้อหรือแสวงอำนาจให้ได้ประโยชน์นานที่สุด

รถถังจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนประชาธิปไตยของเรานั่นเอง

จะรู้จักใช้ให้ได้ประโยชน์ดีกับส่วนรวมอย่างไรต่างหาก  

หน้า 2<

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01col03141049&day=2006/10/14


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 16-10-2006, 20:56
ถามจริง ๆ นะ ซักคำ คุณพอใจนักเลือกตั้งประเภทรับเหมา โกงกินโครงการต่าง ๆ แบบนั้นมากนักหรือไง

ถึงได้บ้ากับ การเลือกตั้งแบบที่แล้ว ๆ มา

ไม่ลองไปเอาสถิติ "ผู้แทนในสภา" มาดูกันบ้าง มันเป็นพวกใหนกันบ้าง...
อย่างน้อยก็ยังได้เลือก ไม่ต้องทนดูมันลาก....มาตั้ง สองร้อยสี่สิบกว่าคน โดยห้ามชุมนุมปริปากเกินห้าคน
แถมยังจ่ายเงินเดือน แสนสี่พัน โดยที่ไม่ต้องออกจากงานอีก ดีโคตร บุญหล่นทับจริงๆ ไอ้พวกนี้


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ลับ ลวง พราง ที่ 16-10-2006, 21:03
ถามจริง ๆ นะ ซักคำ คุณพอใจนักเลือกตั้งประเภทรับเหมา โกงกินโครงการต่าง ๆ แบบนั้นมากนักหรือไง

ถึงได้บ้ากับ การเลือกตั้งแบบที่แล้ว ๆ มา

ไม่ลองไปเอาสถิติ "ผู้แทนในสภา" มาดูกันบ้าง มันเป็นพวกใหนกันบ้าง...
อย่างน้อยก็ยังได้เลือก ไม่ต้องทนดูมันลาก....มาตั้ง สองร้อยสี่สิบกว่าคน โดยห้ามชุมนุมปริปากเกินห้าคน
แถมยังจ่ายเงินเดือน แสนสี่พัน โดยที่ไม่ต้องออกจากงานอีก ดีโคตร บุญหล่นทับจริงๆ ไอ้พวกนี้


จะว่าไปชุดนี้ถึงลากเข้ามา ดูหน้าตาโดยรวมแล้วก็ยังดีกว่าพวกที่เลือกเข้ามาตอน 2 เม.ย. ที่เป็นโมฆะซะอีก

แล้วก็อีกอย่างบางคนเค้าก็ประกาศเจตนารมย์แล้วว่าจะไม่รับเงินเดือน


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 16-10-2006, 21:04
พวกหัวสี่เหลี่ยม ขาดวุฒิภาวะทางสังคม นอกจากจะเพ้อหาประชาธิปไตยแบบฝรั่งโดยไม่วิเคราะห์ถึงสาเหตุ ฐานรากของประเทศตนเองแล้ว ก็มีแต่คอยจะอวดอ้างความเป็นนักนิยมประชาธิปไตยจอมปลอมของตนเองเท่านั้น เค้าเรียกว่า ลืมกำพืดของตนเอง มองแค่ปลายเหตุ แต่ไม่ได้มองถึงสาเหตุรากเหง้าของปัญหา สักแต่อวดอ้างความเป็นประชาธิปไตยที่ตัวเองเข้าใจแบบคนหัวสี่เหลี่ยม

พวกนี้จะรู้จักคิดสักนิดมั้ยว่า ถ้านายหน้าเหลี่ยมและพวกสมุนลิ่วล้อของมัน รวมทั้งวงศาคณาญาติของมันที่กระทำตนเหมือนกระสือที่เข้ามาปล้นชาติ ยังเหิมเกริมยึดอำนาจรัฐอยู่ในมือ บ้านเมืองนี้จะเป็นอย่างไร

พวกหัวสี่เหลี่ยมที่มีดีแต่อวดฉลาดแบบโง่เขลาก็เท่านั้น  :slime_smile2:



หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 16-10-2006, 21:05
จะว่าไปชุดนี้ถึงลากเข้ามา ดูหน้าตาโดยรวมแล้วก็ยังดีกว่าพวกที่เลือกเข้ามาตอน 2 เม.ย. ที่เป็นโมฆะซะอีก
แล้วก็อีกอย่างบางคนเค้าก็ประกาศเจตนารมย์แล้วว่าจะไม่รับเงินเดือน
แปะให้ดู จาก http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P4796893/P4796893.html

แฉกำพืด16 อรหันต์วงการสื่อได้ตบรางวัลเป็นสมาชิกสภาท็อปบู๊ท

ใครเป็นใครใน16อรหันต์แวดวงสื่อมวลชนที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาท็อปบู๊ทกันมั่ง เชิญชม

1.กำแหง ภริตานนท์

ผลงานเด่น-เจ้าของคอลัมน์ปลายนิ้วนายกำแหง ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ที่มีบทบาทจิกตีทักษิณอย่างเอาการเอางาน

ปัจจุบันอายุ 63 ปี พื้นเพเป็นคนหลังสวน จ.ชุมพร แน่นอนว่าเป็นคนปักษ์ใต้ เหมือนกับคนใหญ่คนโตในแวดวงสื่อหลายท่าน อาทิสนธิ ลิ้มทองกุล คนตรัง,สุทธิชัย หยุ่นคนหาดใหญ่ และฯลฯ

พ้นจากรั้วแม่โดม ก็ตบเท้าเข้าสู่ยุทธจักรหนังสือพิมพ์ ตั้งแต่ปี 2509 ด้วยการเป็นผู้สื่อข่าวการเมือง น.ส.พ.ไทยรัฐ,

หน.ข่าวการเมืองสยามรายวัน ,บรรณาธิการน.ส.พ.เสียงใหม่ บก.น.ส.พ.ประชาธิปไตย หน.ข่าว น.ส.พ.ดาวสยาม

หน.กองบก.เสียงปวงชน บก.ข่าวแนวหน้า หน.ข่าวการเมืองเดลินิวส์ ผช.หน.กองบก.เดลินิวส์

ปัจจุบันเป็นรองบก.บริหารน.ส.พ.เดลินิวส์
เคยเป็นเลขาธิการสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กรรมการบริหารสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียนและกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.



2.คำนูณ สิทธิสมาน

ผลงานเด่น-เป็นคอลัมนิสต์ชื่อดัง ในนามปากกา"รามบุตรี516"เมื่อครั้งสมัยต่อสู้กับเผด็จการรสช. ปัจจุบันคือ"เซี่ยงเส้าหลง"คอลัมนิสต์ใหญ่ในเครือผู้จัดการของสนธิ ลิ้มทองกุล

มีบทบาทสำคัญในการลากไส้ฝ่ายซ้ายเก่า(ก็ฝ่ายเดียวกับคำนูณในอดีตนะแหละ)ที่อยู่ซีกรัฐบาล เช่นหมอมิ้ง,ภูมิธรรมและมิตรสหายสายอีสานใต้ เพื่อดิสเครดิต และปิดกั้นการสนับสนุนจากมวลชนฝ่ายทักษิณ เพราะคำนูณเป็นแอ็คทิวิสต์ฝ่ายซ้าย อดีตเลขาฯศูนย์มาก่อน
จึงสันทัดงานเจาะทะลวงเข้าไปทำแนวร่วมหลังแนวข้าศึก

ประวัติ-ด้วยความที่เป็นฝ่ายซ้ายมาก่อน เคยเป็นอดีตเลขาธิการศูนย์นิสิตฯ เคยมีบทบาทคัดค้านโจมตีศักดินา เผด็จการอำนาจนิยมมาก่อน
มาวันนี้เมื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสิ่งที่เคยด่าไว้มาก อาจทำให้คำนูณเข้าใจ สิ่งที่เขาเคยด่าเคยคิดโค่นล้มไว้ได้ดีขึ้น ขอให้มีความสุขนะจ๊ะ

3.ชัยอนันต์ สมุทวณิช

ผลงานเด่น-ใครๆอาจรู้จักอาจารย์ชัยอนันต์ในฐานะนักวิชาการ แต่ผมว่าท่านเป็น"สื่อ"มากกว่า และเป็นสื่อในแวดวงเครือข่ายของสนธิ ลิ้มทองกุลซะด้วย ผลงานเด่นล่าสุดคือล่ารายชื่อ 99 นักวิชาการและสตรีในสังคมชั้นสูงยื่นฎีกาให้ทักษิณลาออก

อดีตท่านเคยเป็นนักวิชาการที่โปรประชาธิปไตย และเคยร่วมลงนามในชื่อ 99 นักวิชาการภาคประชาชนขอรัฐธรรมนูญจากจอมพลถนอม ก่อนเกิดกรณี 14ตุลาฯ16

ท่านเคยตำหนิพวกศักดินาเผด็จการทหารอำนาจนิยมไว้มาก ก็คงจะต้องมาเผชิญชะตากรรมเดียวกับคำนูณ
นั่นก็คือได้จูบปากกับพวกโสโครกปฏิกูลที่ตัวเคยว่าเขาเลวเช็ดซะให้เข็ด

ก็ขอให้มีความสุขอีกคน

4.แถมสิน รัตนพันธ์

ผลงานเด่น-นักเขียนก๊อสซิปชื่อดังในนามลัดดา ซุบซิบ ซึ่งระยะหลังมาซุบซิบให้โลกระบือในเครือผู้จัดการของสนธิ ลิ้มทองกุล (อีกแล้วครับทั่น)
ก่อนจะมาปักหลักล่าสุดที่โพสต์ทูเดย์ของสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ที่พักหลังมาปักหลักไล่ทักษิณอย่างเอาการเอางาน นับแต่การรถไฟฯกับราชพัสดุจะขอขึ้นค่าเช่าห้างเซ็นทรัล

แถมสินเป็นคนปักษ์ใต้บ้านเดียวกับป๋า เพราะเป็นคนพัทลุง เป็นศิษย์เก่ารุ่นลมหวนรุ่นเดียวกับBJ-บิ๊กจิ๋ว จึงมีอายุ 77 กะรัตในปีนี้ ถือว่าเข้าเทร็นด์ยุคคนชรามาแรง

ลัดดาคงจะได้ซุบซิบให้มันส์ระเบิดสภาท็อปบู๊ตก็คราวนี้

5.ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์

ผลงานเด่น -ติวเตอร์หมูเคยลงสมัครสารพัดอย่าง ทั้งส.ส.ก็แพ้ ส.ก.ก็พ่าย เหลือแต่ยังไม่สมัครนายกฯอบต. แต่มาได้คะแนนขึ้นที่1สว.กทม.เที่ยวล่าสุด ก็เพราะผลงานเด่นดังในฐานะคอลัมนิสต์ประจำหัวเขียว แต่ค่ายผู้จัดการ(ของใครเนี่ย..?)ขึ้นบัญชีให้แฟนๆม็อบกู้ชาติ"ต้องเลือก"เพราะผลงานด่าทักษิณ ว่าการแปรรูปวิสาหกิจจะทำให้ไทยเป็นอาร์เจนตินาภาค2เข้าตากรรมการ ที่ชื่อสนธิ ลิ้มฯจนเคยได้รับเกียรติขึ้นเวทีกู้ชาติมาแล้ว

แต่อย่างไรก็ตามมีคนนึงที่เรียกติวเตอร์หมูด้วยความให้เกียรติ เพราะขึ้นต้นด้วยคำว่า"ไอ้อเห้ย"ทุกคำคือ"เจ๊เช็ง" แต่ก็โดนติวเตอร์หมูสวนกลับแสบๆเหมือนกันว่า"ถ้าผมเห้ยป้าเช็งก็เห้ยเหมือนกัน"

6.นางบัญญัติ ทัศนียะเวช

ผลงานเด่น-ในวงการสื่อมวลชนมี2เจ๊ผู้ยิ่งใหญ่ เจ๊แรกย่อมเป็นเจ๊ยุ หรือยุวดี ธัญสิริ ภริยาบิ๊กยักษ์-ปลัดกระทรวงกลาโหม อีกเจ๊ก็ย่อมเป็น"เจ๊หยัด"นี่แหละครับ

เจ๊เพิ่งได้รับการแต่งตั้งจากพรรคพวกให้เป็น ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติสมัยที่ 5 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และมีบทบาทเด่นๆ ด้วยการร่วมกับสภาทนายความเสนอนายกฯม.7มาแล้วด้วย

ปัจจุบันอายุ 74 ปี นับว่าเข้าเทร็นด์ยุคผู้ชรามาแรง เคยทำงานในตำแหน่งเป็นนักข่าวสายการเมืองหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ จนกระทั่งเกษียณอายุ

เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ปี 2534-2535 และรองประธานสภาการหนังสือพิมพ์-แห่งชาติ สมัยที่ 1 และ 2 และสมัยที่ 4 ระหว่างปี 2541-2544 และปี 2547-2549


7.นายไพศาล พืชมงคล

ผลงานเด่น-นอกจากเป็นเจ้าของสำนักธรรมนิติแล้ว ไพศาลยังโดดเด่น ในฐานะคอลัมนิสต์เจ้าของนามปากกา"สิริอัญญา"ในเครือผู้จัดการ(อีกแล้วนะเนี่ย)
และล่าสุดเป็นผู้เขียนประกาศๆโปรดฟังอีกครั้งหนึ่งให้กับคณะปฏิรูปซะด้วย โดยประกาศฉบับที่ขึงขังคึกคักนั้นมีสนธิใอเดียมา แต่ฉบับไหนที่อีรุมคลุมเครือนั้นBJเขาให้มา ก็เลยงงๆไปตามคนให้ไอเดีย ซะงั้น

ไพศาลเคยเป็นซ้ายเก่า เขียนด่าจักพรรดินิยม ศักดินานิยม อำนาจนิยม เผด็จการนิยมมามาก ตอนนี้เมื่อมาเป็นขวาใหม่ต้องเขียนประกาศคณะปฏิวัติ ก็เลยสำนวนบางทีติดจะซ้ายเก่าไปหน่อย ก็คงไม่เป็นไร

โปรดควังอีกครั้งหนึ่งนะจ๊ะตัวเอง

8.ภัทระ คำพิทักษ์

ผลงานเด่น-ปัจจุบันเป็นบก.ข่าวของค่ายโพสต์ทูเดย์ ที่มีบทบาท จิกตีรัฐบาลทักษิณอย่างเต็มเหนี่ยว นอกจากนั้นยังเป็นนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทโค่นล้มทักษิณอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู รวมถึงยื่นฎีกาขอนายกฯม.7อีกด้วย โดยไม่สนใจเลยว่านักข่าวต้องนำเสนอเป็นกลาง แต่ยุคนี้กลายมาเป็นกลุ่มพลังกดดันทางการเมืองแบบมีconflict of interestหน้าตาเฉย ซะงั้น

แต่ในที่สุดก็ได้บำเหน็จเป็นรางวัลไป ว่าแต่สมาคมนักข่าวจะเสนอข่าวยังไงกันดีหละเนี่ย
เพราะตำแหน่งมันนัวเนียกันไปหมด เป็นทั้งคนชงเอง ตบเอง กินเอง อิอิอิ

9.นายสมเกียรติ อ่อนวิมล

ผลงานเด่น-ไม่มีอะไรเด่นหรอก ด๊อกเตอร์ผมลอนแค่เป็นลูกป๋าเฉยๆ

(ป๋าเจ้าเก่านะ...ห้ามลบ ไม่ได้เสียดสีใคร)

10.นายสมชาย แสวงการ

ผลงานเด่น-"เสี่ยเอ๋"เป็นนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ย่อมเคลื่อนไหวเป็นอันหนึ่งทิศทางเดียวกับสภาการหนังสือพิมพ์ของเจ๊หยัด และสมาคมนักข่าวฯของภัทระ คำพิทักษ์

เสี่ยเอ๋อยู่ในค่ายสำนักข่าว INN ซึ่งเลือดสีสะตอข้นคลั้ก ตั้งแต่หัวคือสนธยาลงมายังหาง
นักข่าวสนามล้วนแต่แหล็งใต้หมด อะไรๆที่เป็นทักษิณถิ่นใต้ย่อมดีหมด ยกเว้นคนชื่อทักษิณ

บรรยากาศสะตอสามัคคีนั้นในแวดวงสื่อมวลชนนับว่าธรรมดา ในเมื่อสนธิคนตรัง สุทธิชัยคนหาดใหญ่ สนธิยา หนูแก้ว INN คนคอน กำแหงเดลินิวส์คนชุมพร บรรยากาศต่อนี้ไปจะได้หร๊อยจั่งหู๊ เพราะป๋าก็เป็นคนปักษฺใต้


11.นายสมหมาย ปาริจฉัตต์

ผลงานเด่น-เคยเป็นบก.มติชน แล้วเผลอนำจดหมายที่โจมตีพระผู้ใหญ่มากๆลงในมติชนก็เลยโดนปลดออกจากบก.ขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)! ซึ่งว่าไปแล้วค่ายนี้เคยทำหน้าที่เป็นสื่อที่เป็นกลางเที่ยงตรงมีจรรยาบรรณน่าชื่นชม
แต่มาโอนเอนไปในพักหลังๆภายหลังจากสงสัยว่าทักษิณให้อากู๋มาเทกโอเวอร์มติชนนี่แหละ เลยเข้าร่วมขบวนการล้มทักษิณกันเต็มลำ

12.นายสราวุธ วัชรพล

ผลงานเด่น-ค่ายไทยรัฐไม่ได้มีบทบาทโค่นล้มรัฐบาลเด่นนัก ตอนแรกๆออกจะขวางทางสนธิ ลิ้มด้วยซ้ำไป เพราะค่ายผู้จัดการเปิดฉากด่าซะเสียๆหายๆหาว่า เป็นกระดาษเปื้อนหมึกที่ไม่ยอมร่วมขบวนกับสนธิโค่นรัฐบาลทักษิณ

แต่หัวเขียวก็ย่อมเป็นหัวเขียววันยังค่ำ โค้งท้ายๆไทยรัฐโดดร่วมขบวนทันในนาทีสุดท้าย โดยเฉพาะการเปิดทางให้ชัย ราชวัตร ใช้เวทีผู้ใหญ่มากับบักจ่อยถล่มทักษิณซะมิดดิน

รางวัลก็เลยตกเป็นของลูกป๊ะกำพลด้วยประการฉะนี้

13.นายสำราญ รอดเพชร

ผลงานเด่น-สำราญไม่เคยทำตัวเด่นเลยเมื่อเขาอยู่กับชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ แห่งค่ายมาตุภูมินานมากกว่า 10 ปี หรือในตอนที่มาอยู่ค่ายเนชั่นกับสุทธิชัย หรือกระทั่งตอนเป็นผู้ดำเนินรายการทางITV แต่หลังจากเขาตกงานจากITV ในสภาพไม่ต่างจาก"สุนัขแก่" แล้วสนธิ ลิ้มทองกุล รีบโดดเข้าโอบอุ้ม
และพาเข้ามาทำงานในเครือผู้จัดการ...นั่นแหละสำราญจึงพลิกไปเป็นอีกคน

โดดเด่นสุดก็คงจะเป็นบทบาทโฆษกเวทีกู้ชาติและโฆษกของม็อบพันธมิตร ทำให้สำราญขาดความสำราญไปร่วมปี จากชีวิตเพลย์บอยวงการสื่อ พลิกไปเป็นคนเอาการเอางานในม็อบ
แบบที่บอกกับใครต่อใครว่า "เราเป็นพนักงานบริษัทคุณสนธิ เขาใช้ให้ทำอะไรมันก็ต้องทำ.." แต่จริงๆเขาก็คง"อิน"กับบทนี้ไปด้วยแหละ

คุ้มค่าแล้วที่หนุ่มใหญ่จากปักษ์ใต้คนนี้(ปักษ์ใต้อีกแว้ว..) จะได้รับรางวัลเป็นเก้าอี้สภาท็อปบู๊ทอีกตำแหน่งหนึ่ง
แม้ว่าเขาเคยทำตัวเป็นซ้ายนิดๆต่อต้านคัดค้านเผด็จการทั้งเต็มใบ และครึ่งใบสมัยยุคที่เคยสนิทแน่นกับชัชรินทร์ก็ตาม

คนอื่นๆในแวดวงสื่อ

*14.นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์-เจ้าแม่ช่อง7
*15.นายประสาร มาลีนนท์-ช่อง3
*16.นายพิชัย วาสนาส่ง-ก็ธรรมดาของยุคผู้ชรามาแรง


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ลับ ลวง พราง ที่ 16-10-2006, 21:20
ขอบคุณครับที่เอามาแปะให้อ่าน  หลายคนคุณภาพคับแก้วจริงๆ ประเทศต้องการคนแบบนี้  ยกนิ้วให้เลย :slime_v:


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 16-10-2006, 21:22
อ้าว...ไม่มีค่ายสยามรัฐเหรอ...

หมักล่ะ จืดล่ะ หายไปใหนกันหมด  ฮ่า ฮ่า

.......................................
พอใจกับการเลือกตั้งแค่ใหน...พอใจกับ สส.ที่ผ่านมาแค่ใหน...

ชอบแถ...อย่างน้อยก็ยังได้เลือก ไม่ต้องทนดูมันลาก....มาตั้ง...แป่วววว

เออดีนะ เค้าเอาอะไรมาให้เลือกเป็นผู้แทน ก็ขอให้ได้เลือก..ประหลาดดี ประชาธิปไตยของคนหัวเหลี่ยม...


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: qazwsx ที่ 16-10-2006, 21:28
จะว่าไปชุดนี้ถึงลากเข้ามา ดูหน้าตาโดยรวมแล้วก็ยังดีกว่าพวกที่เลือกเข้ามาตอน 2 เม.ย. ที่เป็นโมฆะซะอีก
แล้วก็อีกอย่างบางคนเค้าก็ประกาศเจตนารมย์แล้วว่าจะไม่รับเงินเดือน
แปะให้ดู จาก http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P4796893/P4796893.html

แฉกำพืด16 อรหันต์วงการสื่อได้ตบรางวัลเป็นสมาชิกสภาท็อปบู๊ท

ใครเป็นใครใน16อรหันต์แวดวงสื่อมวลชนที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาท็อปบู๊ทกันมั่ง เชิญชม

1.กำแหง ภริตานนท์

ผลงานเด่น-เจ้าของคอลัมน์ปลายนิ้วนายกำแหง ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ที่มีบทบาทจิกตีทักษิณอย่างเอาการเอางาน

ปัจจุบันอายุ 63 ปี พื้นเพเป็นคนหลังสวน จ.ชุมพร แน่นอนว่าเป็นคนปักษ์ใต้ เหมือนกับคนใหญ่คนโตในแวดวงสื่อหลายท่าน อาทิสนธิ ลิ้มทองกุล คนตรัง,สุทธิชัย หยุ่นคนหาดใหญ่ และฯลฯ

พ้นจากรั้วแม่โดม ก็ตบเท้าเข้าสู่ยุทธจักรหนังสือพิมพ์ ตั้งแต่ปี 2509 ด้วยการเป็นผู้สื่อข่าวการเมือง น.ส.พ.ไทยรัฐ,

หน.ข่าวการเมืองสยามรายวัน ,บรรณาธิการน.ส.พ.เสียงใหม่ บก.น.ส.พ.ประชาธิปไตย หน.ข่าว น.ส.พ.ดาวสยาม

หน.กองบก.เสียงปวงชน บก.ข่าวแนวหน้า หน.ข่าวการเมืองเดลินิวส์ ผช.หน.กองบก.เดลินิวส์

ปัจจุบันเป็นรองบก.บริหารน.ส.พ.เดลินิวส์
เคยเป็นเลขาธิการสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กรรมการบริหารสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียนและกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.



2.คำนูณ สิทธิสมาน

ผลงานเด่น-เป็นคอลัมนิสต์ชื่อดัง ในนามปากกา"รามบุตรี516"เมื่อครั้งสมัยต่อสู้กับเผด็จการรสช. ปัจจุบันคือ"เซี่ยงเส้าหลง"คอลัมนิสต์ใหญ่ในเครือผู้จัดการของสนธิ ลิ้มทองกุล

มีบทบาทสำคัญในการลากไส้ฝ่ายซ้ายเก่า(ก็ฝ่ายเดียวกับคำนูณในอดีตนะแหละ)ที่อยู่ซีกรัฐบาล เช่นหมอมิ้ง,ภูมิธรรมและมิตรสหายสายอีสานใต้ เพื่อดิสเครดิต และปิดกั้นการสนับสนุนจากมวลชนฝ่ายทักษิณ เพราะคำนูณเป็นแอ็คทิวิสต์ฝ่ายซ้าย อดีตเลขาฯศูนย์มาก่อน
จึงสันทัดงานเจาะทะลวงเข้าไปทำแนวร่วมหลังแนวข้าศึก

ประวัติ-ด้วยความที่เป็นฝ่ายซ้ายมาก่อน เคยเป็นอดีตเลขาธิการศูนย์นิสิตฯ เคยมีบทบาทคัดค้านโจมตีศักดินา เผด็จการอำนาจนิยมมาก่อน
มาวันนี้เมื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสิ่งที่เคยด่าไว้มาก อาจทำให้คำนูณเข้าใจ สิ่งที่เขาเคยด่าเคยคิดโค่นล้มไว้ได้ดีขึ้น ขอให้มีความสุขนะจ๊ะ

3.ชัยอนันต์ สมุทวณิช

ผลงานเด่น-ใครๆอาจรู้จักอาจารย์ชัยอนันต์ในฐานะนักวิชาการ แต่ผมว่าท่านเป็น"สื่อ"มากกว่า และเป็นสื่อในแวดวงเครือข่ายของสนธิ ลิ้มทองกุลซะด้วย ผลงานเด่นล่าสุดคือล่ารายชื่อ 99 นักวิชาการและสตรีในสังคมชั้นสูงยื่นฎีกาให้ทักษิณลาออก

อดีตท่านเคยเป็นนักวิชาการที่โปรประชาธิปไตย และเคยร่วมลงนามในชื่อ 99 นักวิชาการภาคประชาชนขอรัฐธรรมนูญจากจอมพลถนอม ก่อนเกิดกรณี 14ตุลาฯ16

ท่านเคยตำหนิพวกศักดินาเผด็จการทหารอำนาจนิยมไว้มาก ก็คงจะต้องมาเผชิญชะตากรรมเดียวกับคำนูณ
นั่นก็คือได้จูบปากกับพวกโสโครกปฏิกูลที่ตัวเคยว่าเขาเลวเช็ดซะให้เข็ด

ก็ขอให้มีความสุขอีกคน

4.แถมสิน รัตนพันธ์

ผลงานเด่น-นักเขียนก๊อสซิปชื่อดังในนามลัดดา ซุบซิบ ซึ่งระยะหลังมาซุบซิบให้โลกระบือในเครือผู้จัดการของสนธิ ลิ้มทองกุล (อีกแล้วครับทั่น)
ก่อนจะมาปักหลักล่าสุดที่โพสต์ทูเดย์ของสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ที่พักหลังมาปักหลักไล่ทักษิณอย่างเอาการเอางาน นับแต่การรถไฟฯกับราชพัสดุจะขอขึ้นค่าเช่าห้างเซ็นทรัล

แถมสินเป็นคนปักษ์ใต้บ้านเดียวกับป๋า เพราะเป็นคนพัทลุง เป็นศิษย์เก่ารุ่นลมหวนรุ่นเดียวกับBJ-บิ๊กจิ๋ว จึงมีอายุ 77 กะรัตในปีนี้ ถือว่าเข้าเทร็นด์ยุคคนชรามาแรง

ลัดดาคงจะได้ซุบซิบให้มันส์ระเบิดสภาท็อปบู๊ตก็คราวนี้

5.ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์

ผลงานเด่น -ติวเตอร์หมูเคยลงสมัครสารพัดอย่าง ทั้งส.ส.ก็แพ้ ส.ก.ก็พ่าย เหลือแต่ยังไม่สมัครนายกฯอบต. แต่มาได้คะแนนขึ้นที่1สว.กทม.เที่ยวล่าสุด ก็เพราะผลงานเด่นดังในฐานะคอลัมนิสต์ประจำหัวเขียว แต่ค่ายผู้จัดการ(ของใครเนี่ย..?)ขึ้นบัญชีให้แฟนๆม็อบกู้ชาติ"ต้องเลือก"เพราะผลงานด่าทักษิณ ว่าการแปรรูปวิสาหกิจจะทำให้ไทยเป็นอาร์เจนตินาภาค2เข้าตากรรมการ ที่ชื่อสนธิ ลิ้มฯจนเคยได้รับเกียรติขึ้นเวทีกู้ชาติมาแล้ว

แต่อย่างไรก็ตามมีคนนึงที่เรียกติวเตอร์หมูด้วยความให้เกียรติ เพราะขึ้นต้นด้วยคำว่า"ไอ้อเห้ย"ทุกคำคือ"เจ๊เช็ง" แต่ก็โดนติวเตอร์หมูสวนกลับแสบๆเหมือนกันว่า"ถ้าผมเห้ยป้าเช็งก็เห้ยเหมือนกัน"

6.นางบัญญัติ ทัศนียะเวช

ผลงานเด่น-ในวงการสื่อมวลชนมี2เจ๊ผู้ยิ่งใหญ่ เจ๊แรกย่อมเป็นเจ๊ยุ หรือยุวดี ธัญสิริ ภริยาบิ๊กยักษ์-ปลัดกระทรวงกลาโหม อีกเจ๊ก็ย่อมเป็น"เจ๊หยัด"นี่แหละครับ

เจ๊เพิ่งได้รับการแต่งตั้งจากพรรคพวกให้เป็น ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติสมัยที่ 5 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และมีบทบาทเด่นๆ ด้วยการร่วมกับสภาทนายความเสนอนายกฯม.7มาแล้วด้วย

ปัจจุบันอายุ 74 ปี นับว่าเข้าเทร็นด์ยุคผู้ชรามาแรง เคยทำงานในตำแหน่งเป็นนักข่าวสายการเมืองหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ จนกระทั่งเกษียณอายุ

เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ปี 2534-2535 และรองประธานสภาการหนังสือพิมพ์-แห่งชาติ สมัยที่ 1 และ 2 และสมัยที่ 4 ระหว่างปี 2541-2544 และปี 2547-2549


7.นายไพศาล พืชมงคล

ผลงานเด่น-นอกจากเป็นเจ้าของสำนักธรรมนิติแล้ว ไพศาลยังโดดเด่น ในฐานะคอลัมนิสต์เจ้าของนามปากกา"สิริอัญญา"ในเครือผู้จัดการ(อีกแล้วนะเนี่ย)
และล่าสุดเป็นผู้เขียนประกาศๆโปรดฟังอีกครั้งหนึ่งให้กับคณะปฏิรูปซะด้วย โดยประกาศฉบับที่ขึงขังคึกคักนั้นมีสนธิใอเดียมา แต่ฉบับไหนที่อีรุมคลุมเครือนั้นBJเขาให้มา ก็เลยงงๆไปตามคนให้ไอเดีย ซะงั้น

ไพศาลเคยเป็นซ้ายเก่า เขียนด่าจักพรรดินิยม ศักดินานิยม อำนาจนิยม เผด็จการนิยมมามาก ตอนนี้เมื่อมาเป็นขวาใหม่ต้องเขียนประกาศคณะปฏิวัติ ก็เลยสำนวนบางทีติดจะซ้ายเก่าไปหน่อย ก็คงไม่เป็นไร

โปรดควังอีกครั้งหนึ่งนะจ๊ะตัวเอง

8.ภัทระ คำพิทักษ์

ผลงานเด่น-ปัจจุบันเป็นบก.ข่าวของค่ายโพสต์ทูเดย์ ที่มีบทบาท จิกตีรัฐบาลทักษิณอย่างเต็มเหนี่ยว นอกจากนั้นยังเป็นนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทโค่นล้มทักษิณอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู รวมถึงยื่นฎีกาขอนายกฯม.7อีกด้วย โดยไม่สนใจเลยว่านักข่าวต้องนำเสนอเป็นกลาง แต่ยุคนี้กลายมาเป็นกลุ่มพลังกดดันทางการเมืองแบบมีconflict of interestหน้าตาเฉย ซะงั้น

แต่ในที่สุดก็ได้บำเหน็จเป็นรางวัลไป ว่าแต่สมาคมนักข่าวจะเสนอข่าวยังไงกันดีหละเนี่ย
เพราะตำแหน่งมันนัวเนียกันไปหมด เป็นทั้งคนชงเอง ตบเอง กินเอง อิอิอิ

9.นายสมเกียรติ อ่อนวิมล

ผลงานเด่น-ไม่มีอะไรเด่นหรอก ด๊อกเตอร์ผมลอนแค่เป็นลูกป๋าเฉยๆ

(ป๋าเจ้าเก่านะ...ห้ามลบ ไม่ได้เสียดสีใคร)

10.นายสมชาย แสวงการ

ผลงานเด่น-"เสี่ยเอ๋"เป็นนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ย่อมเคลื่อนไหวเป็นอันหนึ่งทิศทางเดียวกับสภาการหนังสือพิมพ์ของเจ๊หยัด และสมาคมนักข่าวฯของภัทระ คำพิทักษ์

เสี่ยเอ๋อยู่ในค่ายสำนักข่าว INN ซึ่งเลือดสีสะตอข้นคลั้ก ตั้งแต่หัวคือสนธยาลงมายังหาง
นักข่าวสนามล้วนแต่แหล็งใต้หมด อะไรๆที่เป็นทักษิณถิ่นใต้ย่อมดีหมด ยกเว้นคนชื่อทักษิณ

บรรยากาศสะตอสามัคคีนั้นในแวดวงสื่อมวลชนนับว่าธรรมดา ในเมื่อสนธิคนตรัง สุทธิชัยคนหาดใหญ่ สนธิยา หนูแก้ว INN คนคอน กำแหงเดลินิวส์คนชุมพร บรรยากาศต่อนี้ไปจะได้หร๊อยจั่งหู๊ เพราะป๋าก็เป็นคนปักษฺใต้


11.นายสมหมาย ปาริจฉัตต์

ผลงานเด่น-เคยเป็นบก.มติชน แล้วเผลอนำจดหมายที่โจมตีพระผู้ใหญ่มากๆลงในมติชนก็เลยโดนปลดออกจากบก.ขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)! ซึ่งว่าไปแล้วค่ายนี้เคยทำหน้าที่เป็นสื่อที่เป็นกลางเที่ยงตรงมีจรรยาบรรณน่าชื่นชม
แต่มาโอนเอนไปในพักหลังๆภายหลังจากสงสัยว่าทักษิณให้อากู๋มาเทกโอเวอร์มติชนนี่แหละ เลยเข้าร่วมขบวนการล้มทักษิณกันเต็มลำ

12.นายสราวุธ วัชรพล

ผลงานเด่น-ค่ายไทยรัฐไม่ได้มีบทบาทโค่นล้มรัฐบาลเด่นนัก ตอนแรกๆออกจะขวางทางสนธิ ลิ้มด้วยซ้ำไป เพราะค่ายผู้จัดการเปิดฉากด่าซะเสียๆหายๆหาว่า เป็นกระดาษเปื้อนหมึกที่ไม่ยอมร่วมขบวนกับสนธิโค่นรัฐบาลทักษิณ

แต่หัวเขียวก็ย่อมเป็นหัวเขียววันยังค่ำ โค้งท้ายๆไทยรัฐโดดร่วมขบวนทันในนาทีสุดท้าย โดยเฉพาะการเปิดทางให้ชัย ราชวัตร ใช้เวทีผู้ใหญ่มากับบักจ่อยถล่มทักษิณซะมิดดิน

รางวัลก็เลยตกเป็นของลูกป๊ะกำพลด้วยประการฉะนี้

13.นายสำราญ รอดเพชร

ผลงานเด่น-สำราญไม่เคยทำตัวเด่นเลยเมื่อเขาอยู่กับชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ แห่งค่ายมาตุภูมินานมากกว่า 10 ปี หรือในตอนที่มาอยู่ค่ายเนชั่นกับสุทธิชัย หรือกระทั่งตอนเป็นผู้ดำเนินรายการทางITV แต่หลังจากเขาตกงานจากITV ในสภาพไม่ต่างจาก"สุนัขแก่" แล้วสนธิ ลิ้มทองกุล รีบโดดเข้าโอบอุ้ม
และพาเข้ามาทำงานในเครือผู้จัดการ...นั่นแหละสำราญจึงพลิกไปเป็นอีกคน

โดดเด่นสุดก็คงจะเป็นบทบาทโฆษกเวทีกู้ชาติและโฆษกของม็อบพันธมิตร ทำให้สำราญขาดความสำราญไปร่วมปี จากชีวิตเพลย์บอยวงการสื่อ พลิกไปเป็นคนเอาการเอางานในม็อบ
แบบที่บอกกับใครต่อใครว่า "เราเป็นพนักงานบริษัทคุณสนธิ เขาใช้ให้ทำอะไรมันก็ต้องทำ.." แต่จริงๆเขาก็คง"อิน"กับบทนี้ไปด้วยแหละ

คุ้มค่าแล้วที่หนุ่มใหญ่จากปักษ์ใต้คนนี้(ปักษ์ใต้อีกแว้ว..) จะได้รับรางวัลเป็นเก้าอี้สภาท็อปบู๊ทอีกตำแหน่งหนึ่ง
แม้ว่าเขาเคยทำตัวเป็นซ้ายนิดๆต่อต้านคัดค้านเผด็จการทั้งเต็มใบ และครึ่งใบสมัยยุคที่เคยสนิทแน่นกับชัชรินทร์ก็ตาม

คนอื่นๆในแวดวงสื่อ

*14.นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์-เจ้าแม่ช่อง7
*15.นายประสาร มาลีนนท์-ช่อง3
*16.นายพิชัย วาสนาส่ง-ก็ธรรมดาของยุคผู้ชรามาแรง

โอ้ว์ืืืื....
เขตปลอดเห้นี่หว่า
อย่างนี้สาวกไทยรักไทยต่างผิดหวังกันแย่เลยสิ


หัวข้อ: Re: ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 16-10-2006, 21:50
โห.. หมดหนทางถึงกับเอาจาก รดน มาอ้างแล้วเหรอเนี่ย :slime_smile2:

เค้าพูดกันถึงระบบ คอนเซปท์ พูดถึงการพัฒนาการเมือง

ถ้าจะเอากันที่ตัวบุคคล ยุคหน้าเหลี่ยมอุบาทว์กว่าแน่นอน  :slime_hitted: