ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Killer ที่ 09-10-2006, 13:42



หัวข้อ: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 09-10-2006, 13:42
ก็ในเมื่อสรุปจบ ว่า แม่ไม่ปลื้ม เสียแล้ว ก็อย่าได้ริอ่าน

ลักวิ่งชิงปล้นขโมยเอานโยบายเค้าไปเปลี่ยนแปลงต่อยอดทำมาหากิน

สร้างภาพ สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองนะ

ยกเลิกมันให้หมด หรือไม่ก็ดองมันเอาไว้ให้มันตายซาก

เพื่อดิสเครดิตทำลายล้างภาพลักษณ์นโยบายนั้นๆ

"ระบอบทักษิณ" จะได้ลืมเลือน สาปส่ง ไปจากความทรงจำของคนไทยทั้งมวล



คิดค้นลัทธิแก้ออกมาให้ได้โดยเร็ว หรือว่าไม่มีปัญญา ก็บอกมา


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 13:47
พรรคน้ำเน่ารอวันยุบพรรค ไม่มีใครเค้าสนใจแล้วครับ

บอกมาสิว่าไทยรักไทยไม่ได้ไปลอกใครมา...


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 09-10-2006, 14:44
ตอนนี้ฉีกแนว ไม่ลอก ระบอบ  ประชาธิไตยมาแล้วไหง

ไม่เห็นดีใจกันเลย   เลยต้องลอกไง    :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 14:49
ให้เค้าบริหาร 4 ปีมั๊ยล่ะ รับประกัน เห็นหน้าเห็นหลัง

แต่นี่แค่เข้ามาปีเดียว คงทำอะไรไม่ได้มาก เพราะงบประมาณก็ใช้ได้แค่เท่าที่รัฐบาลก่อนทำไว้ในปี 49

ที่สำคัญรัฐบาลมาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวมาก่อน แค่ไม่เข้าไปคอรัปชั่น ทำมาหารับประทานจากการประมูลโน่นนี่

น่าจะเป็นผลดีที่งบประมาณจะได้ลงไปใช้อย่างแท้จริง

ไม่หายหกตกหล่น หรือไปสร้างผลประโยชน์ให้เครือข่าย เพื่อการสืบทอดอำนาจ

จะว่าไปอะไรที่รัฐบาลก่อน ๆ ไปทำเอาไว้ หากเห็นว่าจะเสียหาย เค้าย่อมแก้ไขแน่นอน


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: สี่หามสามแห่ ที่ 09-10-2006, 20:23
30 บาทต่อยอดมาจากไหน ...ต้องให้บอกหรือเปล่า ?

OTOP หล่ะ เอามาจากไหน แล้วไปได้แค่ไหน

ลองบอกมาสิ ว่ามีอะไรบ้างที่ ทรท. คิดเพีัยวๆ แล้ว ประสบความสำเร็จ ...


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 09-10-2006, 20:31
ค่ะ กำลังจะขุดรากถอนโคน การโกงแบบโคตรานุวัตน์ ที่ initiate โดยพรรคไทยรักไทย  :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 20:35
กองทุนหมู่บ้าน มาจากใหน ต้องให้บอกหรือเปล่า

แต่คอรัปชั่น ขอให้ท่านทำไปรัฐบาลเดียวเถอะโยม...


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 09-10-2006, 20:36
หนูยังไม่เห้น นโยบาย ทรท ที่ได้ผลเป็นรุปเป็นร่างเลยค่ะคุณลุงคิล

แต่อย่างไรก็ตามเถอะค่ะ

หนุอ่านระทู้ที่ลุงเขียน ถามคำเดียวว่า ลุงคนไทยไหม ลุงรักเมืองไทยไหมค่ะ ลุงอยากให้บ้านเมืองเราพัฒนาไหม

หรือว่า ถ้าทักษินไม่เป้นนายก ก็ไม่จำเป้นต้องมีประเทศไทยเหรอค่ะ   :slime_shy:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 09-10-2006, 20:41
อภิโธ่ อภิถัง  ไอ้พรรคตาลยอดด้วน มันมีนโยบายอะไรให้เขาเอาไปต่อยอด

ทุกวันนี้ คนที่มารับผิชอบแทน เขาต้องซ่อมตั้งแต่โคนต้นโน่น มันผุหมด เพราะไอ้เหลี่ยมแทะกินชาติบ้านเมือง

ดูเขื่อนกันน้ำท่วมที่ไอ้เหลี่ยมมันทำไว้สิ น้ำมาแรงๆ พังยับหมด

ไปถามคนอ่างทองโน่น เขื่อนกั้นน้ำที่พัง ทำยุคไอ้เหลี่ยมทั้งนั้น

แล้วใครเขาจะเอานโยบายห่วยๆของมันไปต่อยอด
  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: มารุจัง ที่ 09-10-2006, 20:42
แล้ว อีลิท การ์ด อะไรเนี่ย...มันดีนักหรือไง...
เสียแต่ค่าเช่าสถานที่ ค่าโปรโมทไปเท่าไรแล้วล่ะ...   :slime_doubt:
ได้อะไรกลับมาเท่าไร...  :slime_doubt:

มัวแต่อกหัก ตีอกชกหัวตัวเองอยู่นั่นแหละ..
้เิลิกโ่วยวายแต่คนอยู่อังกฤษได้แล้ว... น่าเบื่อจริง ๆ  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 09-10-2006, 20:55
ควรจะเลิก นโยบายประชานิยม หวยบนดิน และ ๓๐ บาทถ้วนหน้า

แต่ตอนนี้ ใครมาเป็นรัฐาล ก็ไม่สามารถจะเลิกได้ทันที

เพราะประชาชนถูกไอ้แม้ว มันมอมเมายิ่งกว่ายาเสพติด ขืนเลิกตอนนี้

ประชาชนอาจจะเกิดอาการลงแดงครึ่งค่อนประเทศ  :slime_dizzy:

ดังนั้น จึงควรจะค่อยๆปรับเปลี่ยนแบบ ลด ละ เลิก


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 09-10-2006, 21:32
ก็ในเมื่อสรุปจบ ว่า แม่ไม่ปลื้ม เสียแล้ว ก็อย่าได้ริอ่าน

ลักวิ่งชิงปล้นขโมยเอานโยบายเค้าไปเปลี่ยนแปลงต่อยอดทำมาหากิน

สร้างภาพ สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองนะ

ยกเลิกมันให้หมด หรือไม่ก็ดองมันเอาไว้ให้มันตายซาก

เพื่อดิสเครดิตทำลายล้างภาพลักษณ์นโยบายนั้นๆ

"ระบอบทักษิณ" จะได้ลืมเลือน สาปส่ง ไปจากความทรงจำของคนไทยทั้งมวล



คิดค้นลัทธิแก้ออกมาให้ได้โดยเร็ว หรือว่าไม่มีปัญญา ก็บอกมา




อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
คนทักษิณ สาวกฯ หวอรูม บางกลุ่มหาเลือก ตำหนิรัฐบาลใหม่ว่า เรื่องดี ๆของทักษิณ เผด็จการจากการเลือกตั้ง ก็ไม่นำไปใช้ เหมือนรัฐบาลจากพรรคการเมืองเลย

เรื่องดี ๆ ของทักษิณ เผด็จการจากการเลือกตั้ง ที่คุณเรียกรัองไม่ให้ทำตามมีเรื่องหวยทักษิณ/หวยบนดินหรือไม่ :?:



หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: decison_making ที่ 09-10-2006, 21:49
ต๊าย !!!!

นโยบายดีมีให้คุณแม่ปลื้มด้วยเหรอคะ
.
.
.
.
.
.
จบ




หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: เหยี่ยวพิฆาต ที่ 09-10-2006, 21:57
ก็ในเมื่อสรุปจบ ว่า แม่ไม่ปลื้ม เสียแล้ว ก็อย่าได้ริอ่าน

ลักวิ่งชิงปล้นขโมยเอานโยบายเค้าไปเปลี่ยนแปลงต่อยอดทำมาหากิน

สร้างภาพ สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองนะ

ยกเลิกมันให้หมด หรือไม่ก็ดองมันเอาไว้ให้มันตายซาก

เพื่อดิสเครดิตทำลายล้างภาพลักษณ์นโยบายนั้นๆ

"ระบอบทักษิณ" จะได้ลืมเลือน สาปส่ง ไปจากความทรงจำของคนไทยทั้งมวล



คิดค้นลัทธิแก้ออกมาให้ได้โดยเร็ว หรือว่าไม่มีปัญญา ก็บอกมา


รับรองไม่ลอกนโยบายโคตรโกงมาแน่


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: เพนกวินน้อยนักอ่าน ที่ 09-10-2006, 22:04
กลัวเขาเอา นโยบายเหล่านั้นไปทำได้ดีกว่า มีธรรมาภิบาลกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าล่ะสิ
 :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: HILTON (ปาล์มาลี) ที่ 09-10-2006, 22:07
ฮ่า  ฮ่า  ..  เดียวดูว่าใครเอาอะไรไปต่อยอด  เขาก็พูดไปอย่างนั้นละ  เพราะไม่อยากให้พวกผิดหวังช่วงนี้  กระอักเลือด  ทำใจไม่ได้  เครียด เพราะผิดหวังแล้วผิดหวังอีก  กับการไปไม่กลับของเจ้าลัทธิ .. กินรวบ    ขันทีเฒ่า  เขาฝากมาบอกว่า  อย่าคิดอะไรมากนะลูกคิว 

เผด็จการจงเจริญ
ลัทธิกินรวบจงล้มจม


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: qazwsx ที่ 09-10-2006, 22:15

เห็นแต่แก๊งไทยรักไทย "ปล้นผลงาน" ของคนอื่น
ปล้นแล้วยังโกงอีกต่างหาก


หัวข้อ: Re: นโยบายพรรคหลงหอ เปรียบได้กับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ต่ำ แต่รสนิยมสูง
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 09-10-2006, 22:15
ตอนที่จบใหม่ มีเพื่อนคนหนึ่งชอบมาขอยืมตังค์ โดยบอกว่า "เงินเดือนไม่พอใช้"

เงินเดือนจะไปพอได้ยังไง เมื่อใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ใช้เสื้อผ้าแบรนด์เนม

ใส่นาฬิกาเรือนละสองสามหมื่น ตกเย็นกินเหล้าเบียร์ตามสวนอาหารและคาราโอเกะ

ไอ้พื่อนคนที่จะมายืมตังค์ มันหน้าด้าน ไม่เคยคิดเลยว่า คนที่มันจะไปขอยืมตังค์

ยังไม่มีใช้เครื่องประดับเทียบเท่ามัน หรือกินดีอย่างมัน


ประเทศไทยยุคระบอบทักษิณ ก็เปรียบเหมือนกับไอ้เพื่อนคนนี้ .. ด้วยนโยบาย ลด แลก

แจก แถม ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย ประชุม ครม.นอกสถานที่ ซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่ง ฯลฯ

แล้วยังหน้าด้าน จะไปขอเงินกู้ญี่ปุ่น ทั้งที่ญี่ปุ่นเองก็ไม่ผลาญเงินแบบระบอบทักษิณ


ไม่แน่นะ รัฐบาลญี่ปุ่นอาจจะกำลังนินทาแกมด่ารัฐบาลระบอบทักษิณว่า ..

ประเทศที่มีรายได้ต่ำ แต่รสนิยมสูง   :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 10-10-2006, 21:55
The Financial Times highlighted Surayud’s remarks over the weekend that his government
would be guided by the “self-sufficiency” ideals of the king. “We won’t concentrate so much
on the GDP numbers,” he said. “We would rather look into the indicators of people’s happiness
and prosperity.”

แบบนี้มันน่าชื่นชมหรือน่าอายวะเนี่ย


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 10-10-2006, 22:04
มันน่าอายตรงไหนครับ

อย่าแค่ copy and paste สิ

แสดงความคิดเห็นหน่อย


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 10-10-2006, 22:05

เห็นแต่แก๊งไทยรักไทย "ปล้นผลงาน" ของคนอื่น
ปล้นแล้วยังโกงอีกต่างหาก

ไม่รู้สิ อย่างรถไฟฟ้าก็เห็น ๆ กันอยู่ บอกเป็นคนคิดเองเฉย


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 10-10-2006, 22:35
 * ไม่ได้มาตอบคำถามใน...กระทู้ นี้

   แต่มาถามว่า......

   ไป บล็อค ... กระทู้    * จากงบฯสมดุล เป็นงบฯขาดดุล เริ่มเจริญแล้วครับ *    ..ของ คิล เขาทำไม..เง็ง !!!


   ปล. ถ้า จขกท. เขาปิดเอง ..ถือว่าเป็นความเสล่อของ ดิฉัน .. ละกัน

   เพราะ...ไม่เคยแจ้งลบ คห. .. หรือ แจ้งลบ กระทู้ ใครเลย งง อ่ะ  


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 10-10-2006, 23:34
คือว่าา พอดี.. โดนลบกระทู้ไปหลายอันเมื่อเช้านี้ ก็เลยคิดว่า ปิดมันซะเลยดีกว่า

บรรยากาศมันไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่  การถกเถียงกันด้วยสติปัญญาก็ลดน้อยถอยลงไปมาก



อีกฝ่ายด่าทักษิณได้หยาบๆคายๆ แต่พอเราด่า ครม.2000 ปี มั่ง ดันลบซะ***นเลยย



หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: MacBookPro ที่ 10-10-2006, 23:45
คือว่าา พอดี.. โดนลบกระทู้ไปหลายอันเมื่อเช้านี้ ก็เลยคิดว่า ปิดมันซะเลยดีกว่า

บรรยากาศมันไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่  การถกเถียงกันด้วยสติปัญญาก็ลดน้อยถอยลงไปมาก



อีกฝ่ายด่าทักษิณได้หยาบๆคายๆ แต่พอเราด่า ครม.2000 ปี มั่ง ดันลบซะ***นเลยย



ก็รู้อยู่ที่นี่เค้าไม่เอาไอ้เหลี่ยมของเล่อ แล้วเล่อยังจะมาแถที่นี่อีก  เล่อไม่ไปเล่นที่ราชดำเนินหล่ะ แหล่งรักเหลี่ยม

ถ้ามันไม่แฟร์ก็ไม่ต้องมาเล่นที่นี่

ออกไป!!!!


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: นู๋เจ๋ง ที่ 10-10-2006, 23:50
ขอเลียนแบบ นโยบายการปราบผู้มีอิทธิพลหน่อยน่า
อยากอุ้ม ทั้งครอบครัวเลย ....ขอยืมหน่อยน่ะ


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: z e a z ที่ 11-10-2006, 00:42
อย่างหนาถาวรเลยนะเอ็ง ไปไป๊ ชิ่วๆ เสร่อเอ้ยยย  :slime_v: :slime_v: :slime_v:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: NiTeLiGhT ที่ 11-10-2006, 00:46
นโยบาย ใด ๆ หรือ พฤติกรรมใด ๆ  มันก็ลอกกันไปลอกกันมาทั้งนั้นแหละ
เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่คุณทำตอนนี้ ถ้านับปีย้อนหลังไปเรื่อย สัก 2500 ปี เค้าก็ทำกันเหมือนกัน
เพียงแต่ต่างกรรม ต่างวาระ ต่างกาล ในการใช้  และที่สำคัญ...

มันอยู่ที่คนที่จะใช้มากกว่า ว่าเป็น คนดี หรือคนเลว


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 11-10-2006, 00:59
การบริหารประเทศต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มิใช่เรื่องใครตามใคร ใครต่อยอดใคร
................................................................................................
หมวด ๕
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

           มาตรา ๗๑ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช และบูรณภาพแห่งอาณาเขต
           มาตรา ๗๒ รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ
           มาตรา ๗๓ รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
           มาตรา ๗๔ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค
           มาตรา ๗๕ รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
           รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้พอเพียงกับการบริหารงานโดยอิสระของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
           มาตรา ๗๖ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
           มาตรา ๗๗ รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และพนักงาน หรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่
           มาตรา ๗๘ รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น
            มาตรา ๗๙ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
           มาตรา ๘๐ รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน
           รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้
            มาตรา ๘๑ รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ
           มาตรา ๘๒ รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
           มาตรา ๘๓ รัฐต้องดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
           มาตรา ๘๔ รัฐต้องจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม จัดหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรมให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง และรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร
           มาตรา ๘๕ รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์
           มาตรา ๘๖ รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานโดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง จัดระบบแรงงานสัมพันธ์ การประกันสังคม รวมทั้งค่าตอบแทนแรงงานให้เป็นธรรม
           มาตรา ๘๗ รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภค
           มาตรา ๘๘ บทบัญญัติในหมวดนี้มีไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตรากฎหมายและการกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน
           ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามมาตรา ๒๑๑ คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใดเพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการรวมทั้งปัญหาและอุปสรรค เสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง
           มาตรา ๘๙ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ให้รัฐจัดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม
           แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ต้องให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็นก่อนพิจารณาประกาศใช้
           องค์ประกอบ ที่มา อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 11-10-2006, 01:00
อะไรที่มันดี... ที่มันจะทำให้ประเทศชาติเจริญขึ้น.. ท่านคิลเล่อร์ก็น่าจะสนับสนุนนี่นา  หงัยกลายมาเป็นตัวถ่วงความเจริญ...หรือพวกที่คอยขัดแข้งขัดขาไปได้...  เวรกรรมของประเทศไทยจริงๆ


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: เหลี่ยมแซ่ลี้ (ภัย) ที่ 11-10-2006, 11:18
ใช่ และไอ้พวกหน้าด้านในพรรคไทยรักไทย ที่ยืนยันว่านโยบายดีมั่กๆ ก็อย่าลาออกมาอยู่พรรคอื่นที่นโยบายไม่ดีเท่า ทรท ด้วย

มันน่าเกลียด ปลิ้นปล้อน  :slime_slapped: :slime_slapped: :slime_slapped:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 11-10-2006, 11:41
พูดเหมือน ไทยรักไทยสร้างประเทศนี้มากับมือซะงั้นล่ะ

มันก็ต่อยอดกันมาทั้งนั้น...ไม่งั้นเขียนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไว้ทำไม

ทิศทางมันไปยังไง ก็ต้้องเดินไปตามนั้น...ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล ก็ออกนอกลู่นอกทางไม่ได้หรอก

อย่างใช้เงินหวยหาเสียง รัฐบาลนี้ คงไม่ทำ...ว่ามั๊ย

สงสัยไม่ได้อ่าน ประชานิยมจอมปลอมของอาจารย์นิธิ...


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: taworn09220 ที่ 11-10-2006, 13:04
ผู้ว่าฯ ซีอีโอ : แปลงทรัพย์สินเป็นทุน วัวพันหลักที่ต้องจับตา



การแปลงทรัพย์สินเป็นทุน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียนหลายรอบและขยายตัวในที่สุด ไม่ได้มีแต่เรื่องการนำกิจการรัฐวิสาหกิจมาแปรรูปเพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนฉ่า

เพราะการคัดค้านอย่างแข็งขันของสหภาพแรงงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เท่านั้น แต่รัฐบาลปัจจุบันยังมีนโยบายนำพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติมาแปลงเป็นทุน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การแปลงสภาพจากทรัพยากรธรรมชาติให้กลายเป็น "สินค้า" ที่สามารถขายได้นั่นเอง

ตามแผนการการแปลงพื้นที่อนุรักษ์ และพื้นที่อุทยานแห่งชาติให้เป็นทุนนั้น ได้กำหนดให้ระบบผู้ว่าฯ CEO (CHIEF EXECUTIVE OFFICER) เป็นกลไกผลักดันสำคัญ ภายใต้แนวคิดที่ว่า การบริหารงานจังหวัดแบบ CEO จะทำให้เกิด "การบริหารงานแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด" ขึ้น และสามารถแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็น 20 กลุ่ม และยึดขอบเขตพื้นที่เป็นเกณฑ์ในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนา การประสานการปฏิบัติงานร่วมกัน การประสานสรรพกำลังและการจัดสรรทรัพยากรข้ามหน่วยงาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่คาบเกี่ยวระหว่างจังหวัด

ในยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดของผู้ว่าฯ CEO มี 13 กลุ่มจังหวัด จาก 20 กลุ่มจังหวัด ที่เสนอโครงการเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยว และมี 10 กลุ่มที่มีการเสนอแผนขอใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติ 103 แห่ง จัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการ

จากพื้นฐานแนวคิดดังกล่าว ได้กลายมาเป็นหลักปฏิบัติของการแปลงทรัพย์สิน (อันหมายถึงพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่อนุรักษ์) ให้กลายเป็นทุนขึ้นนั่นเอง

นายศศิน เฉลิมลาภ รองเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ให้ความเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 20 กลุ่ม ภายใต้นโยบายผู้ว่าฯ CEO ของนายกรัฐมนตรีนั้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกือบทุกกลุ่ม มีโครงการที่มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มรายได้ของจังหวัดเกือบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิม และส่งเสริมให้มีการเปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ซึ่งเป็นไปโดยไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบด้านความเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความสมบูรณ์ของอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

"มูลนิธิสืบฯ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนโครงการต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด 10 กลุ่ม เพราะเกือบทุกกลุ่มมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์ โดยไม่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ควรจะทำความเข้าใจโครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศใหม่ ไม่ใช่นำสิ่งก่อสร้าง และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เข้าไปทำความเสียหายให้กับระบบนิเวศ" นายศศินกล่าว

นายศศินตั้งข้อสังเกตถึงยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภายใต้นโยบายผู้ว่าฯ CEO ที่ออกมาว่า ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบราชการ โดยเฉพาะผู้ว่าราชการมีความใกล้ชิดกับนายทุน ไม่ว่าจะเป็นหอการค้าจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล ปัญหาที่ผ่านมา เมื่อผู้ว่าฯ จุดประกายโครงการใหม่ๆ ขึ้นมาแล้ว บรรดากลุ่มเหล่านี้จะตอบสนองเพื่อเอาผลงาน และชงโครงการให้กับกลุ่มธุรกิจเครือญาติหรือพรรคพวกของตัวเอง ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น โดยได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบการก่อสร้างและการสัมปทานโครงการต่างๆ จึงอยากให้ประชาชนจับตาต่อไปถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากต้องดำเนินนโยบายนี้จริง ควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอโครงการต่างๆ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักอนุรักษ์ องค์กรพัฒนาเอกชน แต่มองแล้วหนทางยังมืดบอด ส่วนมูลนิธิสืบฯ จะลงพื้นที่เพื่อสำรวจความเห็นของชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดในด้านการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จากนั้นจะเสนอบทสรุปต่อเวทีสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 5-7 มิถุนายน 2547

"ทันทีที่นายกฯ ประกาศให้ผู้ว่าฯ CEO บริหารงานแบบเบ็ดเสร็จและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ หวังทดสอบวิสัยทัศน์ของผู้ว่าฯ สิ่งแรกที่ผู้ว่าฯ CEO คิดได้ คือ การมุ่งเน้นไปที่การนำพื้นที่ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ โครงการต่างๆ ที่ออกมา 80% เป็นการเสนอแผนขอใช้พื้นที่อนุรักษ์ ถ้าทิศทางในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศชาติ ผู้ว่าฯ เอาง่ายเอาเร็วเข้าว่าเพื่อเสนอผลงานนายกฯ โดยไม่คิดอย่างรอบคอบ ในท้ายที่สุดอาจไปบุกรุกป่าเพิ่ม นโยบายดังกล่าวจะส่งกระทบโดยตรงต่อการใช้ทรัพยากรของประเทศให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น" รองเลขาธิการมูลนิธิฯ กล่าวทิ้งท้าย และว่า วิสัยทัศน์ของผู้ว่าฯ CEO วันนี้ ต้องเลิกถกเถียงกันได้แล้วว่า พื้นที่อนุรักษ์ควรเก็บไว้เฉยๆ หรือเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศ แต่สิ่งที่ควรจะพูดถึงเป็นเรื่องคุณค่าของระบบนิเวศโดยรวม

ด้าน ดร.กิติชัย รัตนะ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และการแปลงพื้นที่อนุรักษ์เป็นทุนนั้น เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่า หากสามารถจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแปลงเป็นทุน นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ จะทำให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย ซึ่งกลุ่มจังหวัดต่างๆ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ ใช้พื้นที่อนุรักษ์เป็นทุนทางด้านการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายให้มีเศรษฐกิจชุมชนที่ดี สังคมมีความเข้มแข็ง และสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติได้ แต่จนถึงปัจจุบันนี้ก็พบว่ายังมีปัญหาในเรื่องของการกำหนดรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่เหมาะสม ความพร้อมของชุมชน และอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ อยู่ สำหรับในเรื่องของกฎหมายการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์นั้น ก็มีรองรับเอาไว้อยู่แล้ว โดย พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ปี 2504 มาตรา 16 (3) และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ปี 2507 มาตรา 16 ทวิ และมาตรา 20 กำหนดให้อำนาจรัฐมนตรี และอธิบดี ในการพิจารณาเห็นชอบและอนุญาตให้ประชาชนสามารถขอเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์ได้

"สิ่งที่น่าเป็นห่วงของการกำหนดยุทธศาสตร์การแปลงพื้นที่อนุรักษ์เป็นทุนของกลุ่มจังหวัดก็คือ ผู้บริหารของจังหวัดต่างๆ ไม่เข้าใจการจัดการทรัพยากรที่ถูกต้อง เพราะเดิมมีหน้าที่เพียงดูแลในด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่วนพื้นที่อนุรักษ์เป็นหน้าที่ของกรมป่าไม้ กรมอุทยานฯ แต่เมื่อนโยบายผู้ว่าฯ CEO ถูกผลักดันเกิดขึ้น ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องจัดการพื้นที่และทรัพยากรทุกส่วน ดังนั้นจึงอาจเกิดปัญหาการรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ซึ่งเรื่องนี้คงจะยังไม่สามารถเห็นผลเกิดขึ้นได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน" ดร.กิติชัยกล่าว

นโยบายแปลงทรัพย์สินเป็นทุนจะจบลงแบบเดียวกับม็อบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือไม่ คงต้องติดตามดูกันต่อไป แต่อย่าให้สายเกินกว่าที่ทรัพยากรของชาติจะสูญหายถูกทำลาย จนยากจะเยียวยาก็แล้วกัน

"ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภายใต้นโยบายผู้ว่าฯ CEO ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบราชการ โดยเฉพาะผู้ว่าฯ มีความใกล้ชิดกับนายทุน ปัญหาที่ผ่านมาเมื่อผู้ว่าฯ จุดประกายโครงการใหม่ๆ จะเกิดการชงโครงการให้กับกลุ่มธุรกิจเครือญาติหรือพรรคพวกของตัวเอง ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น"

ยุทธศาสตร์การแปลงทรัพย์สินของกลุ่มจังหวัดผู้ว่าฯ ซีอีโอ ที่เสนอต่อ ครม.

ลำดับ กลุ่มจังหวัด โครงการ

1.อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย - โครงการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวสวนหินผางาม จ.เลย

- โครงการศึกษาความเป็นไปได้การสร้างกระ เช้าลอยฟ้าขึ้นภูกระดึง จ.เลย

2.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด - โครงการศึกษาความเป็นไปได้การสร้างกระเช้าไฟฟ้าข้ามเกาะช้าง

- โครงการพัฒนาเครือข่ายฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลตะวันออก

3.นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี พิจิตร - โครงการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและมรดกโลกห้วยขาแข้งสู่สากล

4.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง - โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาเกาะ 5 เกาะ ให้เป็นเกาะสวรรค์ไร้ มลพิษ เกาะเต่า เกาะแตน จ.สุราษฎร์ธานี เกาะเสม็ด จ.ชุมพร เกาะพยาม เกาะช้าง จ.ระนอง

5.พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ - โครงการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิ เวศในเขตกลุ่มจังหวัด เส้นทางรถ ยนต์จากลพบุรีเข้าเพชรบูรณ์-เขาค้อ-น้ำหนาว -ภูกระดึง-ทุ่งแสลงหลวง-ชาติตระการ-ทองแสนขัน-ภูสอย ดาว-อุตรดิตถ์-อุทยานแห่งชาติป่าคา-อุทยานแห่งชาติรามคำแหง-ต าก-แม่สอด-พบพระ-อุ้มผาง (กลับเส้นทาง จ.ตาก)

6.สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว - โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกสาริกา จ.นครนายก แก่งหินเพิง อุทยานแห่งชาติทับลาน ชายหาดอ่างทับลาน น้ำตกธารทิพย์น้ำตกตะคร้อ จ.ปราจีนบุรี

- โครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบ Canopy walk อุทยานแห่งชาติปางสีดา สวนรุกขชาติ เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา

7.สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ - ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการท่อง เที่ยว และพัฒนาเทือกเขาภูพาน

8.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส - โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าดิบชื้นฮาลา-บาลา

9.นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี - โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบึงฉวาก เฉลิมพระเกียรติฯ (อุโมงค์แสดง พันธุ์ปลา) จ.สุพรรณบุรี

- โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์เขาช่องพราน จ.ราชบุรี


10.สงขลา สตูล - โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ปรับปรุงถนนบริเวณเกาะตะรุเตา จ.สตูล

- โครงการปรับภูมิทัศน์ จัดซื้ออุปกรณ์ทันสมัย จัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้ การศึกษาด้านนิเวศบริเวณอุทยานแห่งชาติทะเลบัน อุทยานเขาน้ำค้าง จ.สงขลา

7 มี.ค. 47

โดย ไทยโพสต์ วันที่ 8 มี.ค. 47



หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: taworn09220 ที่ 11-10-2006, 13:05
กองทุนหมู่บ้าน ฝันร้ายประชานิยม 
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 มกราคม 2549 14:21 น.
 
 
   
นางสุภาพร สิริสาขา ภรรยา นายพิชิต ปัดชาศรี ซึ่งได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ในวันแรก 
 
 
       กองทุนหมู่บ้าน โครงการประชานิยมทำให้ “ประชาระทม” ถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่อ.อาจสามารถ ซึ่งนายกฯ กำลังเรียลิตี้โชว์แก้จนในเวลานี้ ชาวบ้านที่นี่เข็ดขยาดขนาดกล้าแหกหน้านายกฯ ด้วยคำเว้าซื่อๆ คือ ไม่เอาแล้ว ไม่อยากสร้างหนี้เพิ่ม
       
       “ภาระหนี้เวลานี้มากแล้ว ไม่ต้องการสร้างหนี้เพิ่ม อยากให้นายกรัฐมนตรี ส่งเสริมอาชีพเพื่อมีรายได้เพิ่มมากกว่า” นางสุภาพร สิริสาขา ชาวบ้านโนนสมบูรณ์ ต.หน่อม อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ปฏิเสธที่จะรับหนี้ที่นายกฯ จะจัดเงินกองทุนเพิ่มให้อีก หลังจากเธอบอกกับนายกฯ ระหว่างการพูดคุยว่า ติดหนี้กองทุนหมู่บ้าน 2 รอบ รวมๆ แล้ว 900,000 บาท ที่กู้มาเพื่อลงทุนทำนาแต่กลับประสบภาวะน้ำท่วม หมดตัว
       
       เช่นเดียวกันกับนายพิชิต ปัดชาศรี ที่มีอาชีพทำนา ซึ่งเวลานี้ติดหนี้กองทุนหมู่บ้านอยู่ประมาณ 65,000 บาท และไม่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้หนี้ก้อนดังกล่าว นายกฯ จึงแนะนำให้เจรจากับเจ้าของที่นา ขุดบ่อเลี้ยงปลา หารายได้เพิ่ม
       
       นายกฯ ทักษิณ ได้สัมผัส ได้ยินได้ฟังเต็มสองหูแล้วว่า ผลลัพธ์ของกองทุนเงินล้านที่ตนเองหว่านโปรยลงไปนั้น มันทำให้ชาวประชาลืมตาอ้าปากได้ หรือยิ่งทำให้ชาวบ้านที่ยากจนอยู่แล้วมีหนี้สินรุงรังมากขึ้นเพียงใด
       
       ไม่เพียงแต่ชาวอาจสามารถ เท่านั้น ที่ตกอยู่ในชะตากรรม “ประชาระทม” จากนโยบายประชานิยม กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนเงินล้าน ทุกทั่วหัวระแหงซึ่งกำลังรับชมเรียลิตี้โชว์แก้จนของนายกฯ ก็ตกอยู่ในสภาพที่ไม่แตกต่างกัน
       
       กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) ถือเป็นสุดยอดโครงการประชานิยมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในฐานะเครื่องมือทางการเมืองที่ส่งผลให้พรรคไทยรักไทย กวาดที่นั่งส.ส.ถล่มทลายในศึกเลือกตั้งปี 2544 สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยมีกองทุนราว 8 หมื่นกองทุน รวมเป็นเงินประมาณ 9 หมื่นล้านบาท
       
       เป้าหมายนโยบายนี้ รัฐบาลต้องการให้คนจนเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแทนแหล่งเงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยแพง เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น เวลานี้ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีอยู่จำนวน 11.62 ล้านคน และมีกรรมการกองทุน จำนวน 1.1 ล้านคน
       
       บทสรุป กองทุนหมู่บ้าน ณ วันนี้ นอกเหนือจากไม่ทำให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้แล้ว ยังทำให้ชาวบ้านตกอยู่ในวงจรหนี้สินอุบาทว์ ชาวบ้านที่กู้นอกระบบ ก็ยังคงกู้อยู่ และเป็นการกู้เพื่อมาใช้หนี้กองทุนหมู่บ้าน จากนั้น ก็กู้จากกองทุนหมู่บ้านไปใช้หนี้นอกระบบ หมุนเวียนกันไปไม่สิ้นสุด นอกเหนือไปจากการกู้จากแหล่งเงินกู้อื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ธ.ก.ส., สถาบันการเงินในระบบ, กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชน, สหกรณ์ ส่วนความเป็นอยู่ของชาวบ้านก่อนนี้อยู่อย่างไร ตอนนี้ก็อยู่อย่างนั้น
       
       กองทุนหมู่บ้าน จึงมีสภาพเป็นเพียงแหล่งเงินกู้แหล่งใหม่เพิ่มขึ้นมาเท่านั้น
       
       วงจรหนี้หมุนที่กู้กันเป็นทอดๆ ทำให้มูลหนี้ของชาวบ้านเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะเมื่อกู้กองทุนหมู่บ้าน ก็ต้องเสียดอกเบี้ย เฉลี่ย 4-12% ต่อปี, กู้ ธ.ก.ส. /สถาบันการเงินในระบบ/กลุ่มออมทรัพย์ สหกรณ์ ดอกเบี้ยตกประมาณ 6-12% ส่วนเงินกู้นอกระบบดอกโหด คิดตั้งแต่ 3, 5,7,10, 20 ต่อเดือน เป็นต้น
       
       ดังนั้น ตัวเลขการให้หนี้คืนกองทุนหมู่บ้าน ที่รัฐบาลประกาศอย่างภูมิใจหนักหนาว่า ประชาชนสามารถส่งคืนเงินกู้ได้ 80-90% ก็เป็นเพราะไปกู้ยืมมาโป๊ะหนี้หมุนเวียนกันไป หนำซ้ำบางครัวเรือนต้องขายทรัพย์สิน ไร่นา วัวควาย ใช้หนี้เพราะหมุนไม่ทันก็มี
       
       สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาส่วนรวมและกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งทำงานวิจัยภาคสนามร่วมกับคณะวิจัยท้องถิ่น 13 จังหวัด สรุปว่า อัตราการคืนหนี้กองทุน เฉลี่ยเท่ากับ 94% โดย 50% ของครัวเรือน ระบุว่า ต้องขายสินทรัพย์หรือกู้ยืมจากแหล่งเงินอื่นมาชำระคืนกองทุน
       
       การวัดความสำเร็จกองทุนหมู่บ้านจากการคืนเงินกู้ของรัฐบาล ตามการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่บอกว่า สมาชิกกองทุนสามารถชำระเงินกู้ได้ทั้งหมด ร้อยละ 93% จึงเป็นเพียงภาพลวงตา ประชาชนก็หลงปลื้มกับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่รัฐบาลโยนมาให้โดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่านี่คือการเพิ่มวงจรหนี้ให้กับตัวเอง
       
       นอกจากนั้น การเข้าไปของกองทุนหมู่บ้านในลักษณะกระตุ้นให้ประชาชนรากหญ้ากู้หนี้ยืมสิน ทำให้เสียวินัยการออม ทำลายระบบการออมของครัวเรือนและชุมชนที่มีอยู่แต่เดิม อย่างเช่น การออมทรัพย์ของชุมชน หลักของเขาคือ จะให้สมาชิกเก็บออมจนถึงเกณฑ์ที่กำหนดจึงจะยอมปล่อยกู้ให้ ซึ่งคนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้เมื่อผ่านการพิจารณาให้กู้จากกลุ่มออมทรัพย์แล้วก็เชื่อมั่นได้ว่าเป็นคนที่มีวินัยการออมสูง สามารถใช้คืนเงินกู้ได้แน่
       
       การทุ่มเงินลงไปยังหมู่บ้านให้ชาวบ้านกู้ง่ายใช้คล่อง ยังกระตุ้นพฤติกรรมบริโภคนิยมให้กับชาวบ้านมากยิ่งขึ้นไปอีก หลายๆ คนก็ได้พกพาโทรศัพท์มือถือ ขี่รถมอเตอร์ไซด์ ก็เพราะกู้กองทุนเงินล้าน
       
       นายชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเมือง) มหาวิทยาลัยบูรพา สรุปว่า นี่คือการทำลายระบบเศรษฐกิจพอเพียงของชาวบ้าน ทำลายความเข้มแข็งของชุมชน
       
       ผลพวงจากกองทุนหมู่บ้าน นอกเหนือจากการสร้างวงจรหนี้สินอุบาทว์ กระตุ้นพฤติกรรมบริโภคนิยมให้กับชาวบ้านแล้ว กองทุนหมู่บ้าน ยังกลายเป็นช่องทางแสวงหาประโยชน์ของบรรดาหัวคะแนน นายทุนเงินกู้นอกระบบ แม้กระทั่งประธานกองทุนฯ ที่เข้ามาทำมาหากินจากการปล่อยกู้ให้กับชาวบ้านเพื่อไปใช้หนี้กองทุนฯ อีกทอดหนึ่ง
       
       บริษัทห้างร้านที่ไปชักชวนประธานกองทุนฯ ให้ทำหน้าที่ “นายหน้า” ชักนำให้สมาชิกไปกู้กับบริษัทห้างร้านที่ออกเงินกู้ โดยผลประโยชน์และผลดีที่ประธานกองทุนจะได้รับ คือ ได้ผลงานกองทุนหมู่บ้านระดับ AAA, ลูกบ้านได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ที่สำคัญประธานกองทุนได้ผลตอบแทนในอัตราสูง ในฐานะนายหน้าที่ไปชักชวนสมาชิกให้มากู้กับบริษัท
       
       เวลานี้ กองทุนหมู่บ้าน แทบทุกหมู่บ้านจึงกลายเป็นช่องทาง กลายเป็นเครื่องมือทำมาหากิน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับกลุ่มนายทุนเงินกู้นอกระบบ และคณะกรรมการกองทุน ซึ่งเชื่อมโยงกับบรรดาหัวคะแนน นักการเมืองถิ่น นักการเมืองระดับชาติ กลายเป็นระบบอุปถัมภ์ 2 ชั้นระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองได้สูง กลายเป็น “โครงการประชาสวามิภักดิ์” ระหว่างผู้ให้กู้คือรัฐบาลผ่านตัวแทนในรูปคณะกรรมการกองทุนกับผู้กู้คือชาวบ้าน
       
       และท้ายที่สุด เงินกองทุนก็หมุนกลับไปสู่คนทำคลอดนโยบายประชานิยม สิ่งที่เหลือไว้ให้ชุมชนคือ ความแตกแยก เพราะเหม็นขี้หน้ากันจากการทวงหนี้ และคนที่ได้ประโยชน์คือคนที่ได้กู้ คนที่ไม่ได้กู้ก็ไม่พอใจ
       
       การฟ้องร้องทวงหนี้คนที่เบี้ยวกองทุนกำลังเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า แน่นอนมุมหนึ่งใครเบี้ยวหนี้ก็ต้องหาทางเอาเงินกลับคืนมา แต่วิธีการตั้งมือกฏหมายฟ้องหนี้นำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อเรียกหนี้คืน ไม่ใช่สิ่งที่คนในชุมชนปฏิบัติต่อกัน การฟ้องไล่หนี้กองทุนจึงสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการบ่อนทำลายห่วงโซ่สัมพันธ์ภายในชุมชนที่สั่งสมกันมายาวนาน
       
       อีกประการหนึ่งก็คือ มันบ่มเพาะให้การทุจริตคอร์รัปชั่นระดับรากหญ้าเบ่งบาน หลากหลายรูปแบบ ทั้งยักยอก ฉ้อโกง หนีหนี้ สารพัดสารพัน

 
 
 


 
 
 


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: taworn09220 ที่ 11-10-2006, 13:08
นักวิชาการชำแหละ นโยบาย "ทักษิณ 2" ไม่มีอะไรใหม่
คอลัมน์ เคียงข่าว  มติชนรายวัน  วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9868

หมายเหตุ - กรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงวิสัยทัศน์ แนวคิด และปรัชญาการบริหารประเทศ ในการปฐมนิเทศคณะรัฐมนตรี(ครม.) ใหม่เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมานั้น นักวิชาการได้แสดงความคิดเห็นดังนี้

**นายสมชัย จิตสุชน**

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)

"นโยบายไม่มีอะไรใหม่ เรื่อง Agenda Based ก็พูดมาหลายรอบแล้ว นโยบายบางอย่างทั่วโลกเลิกใช้แล้ว แต่รัฐบาลไทยกลับย้อนไปทำ"

นโยบายที่นายกรัฐมนตรี มอบให้แก่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ไม่มีอะไรใหม่ เพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้แสดงท่าทีมานานแล้ว เช่น การจัดทำ Agenda Based ซึ่งลักษณะคล้าย Result Based ซึ่งพูดมาหลายรอบ สิ่งที่ผมไม่เห็นด้วย ก็อย่างเช่น การยกระดับกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาลเป็นธนาคารชุมชน ถือเป็นคำที่สวยหรูดูดี แต่รัฐไม่มีการศึกษาว่าหากทำเป็นธนาคารชุมชนแล้วจะเกิดอันตรายต่อสังคมหรือไม่ เพราะการสร้างธนาคารใหม่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ จะพูดส่งเดชไม่ได้ เพราะเราต้องไม่ลืมว่า ธนาคารต้องทำหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนและนำเงินไปปล่อยกู้ ซึ่งมีความสำคัญและเป็นจุดเสี่ยงกับระบบเศรษฐกิจ หากธนาคารเสียหาย ประชาชนก็จะเสียหายด้วย

รัฐคิดดีแล้วหรือยัง มีการคิดถึงมาตรการในการดูแลมากน้อยเพียงใด และรู้หรือไม่ว่าธนาคารชุมชนมีประโยชน์อย่างไร เพราะหากตั้งธนาคารชุมชนแล้วให้ผลประโยชน์ตอบแทนชุมชนมากกว่าธนาคารพาณิชย์ ได้คำนึงถึงเม็ดเงินที่จะให้กู้ว่าเพียงพอหรือไม่ เพราะต่อไปความเก่งของรัฐบาลคงช่วยอะไรไม่ได้ หากมีประชาชนเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก แต่ไม่สามารถรองรับได้

ส่วนโครงการรถไฟฟ้า ถือเป็นมาตรการที่ดี แต่ต้องคำนึงถึงวิธีการหาเงินมาใช้ลงทุนในโครงการดังกล่าว โดยต้องระวังไม่ให้เกิดภาวะเงินตึงตัวในตลาดเงิน และการที่ภาครัฐมีนโยบายจะสร้างแฟลตบริเวณที่มีรถไฟฟ้าผ่าน ถือเป็นแนวคิดที่หวังผลเลิศเกินไป เพราะเป็นโครงการที่ต้องลงทุนสูง และที่ผ่านมารัฐบาลก็มีโครงการสร้างบ้านให้ผู้มีรายได้น้อยอยู่แล้ว ดังนั้น หากจะมีการสร้างอะไร ควรให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนและรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนในเรื่องที่ดิน การแบ่งโซน เพื่อเอื้อต่อการสร้างบ้านราคาถูก รัฐบาลไม่ควรทำเอง เพราะทั่วโลกเลิกใช้วิธีนี้ไปแล้ว แต่ประเทศไทยกลับย้อนไปทำใหม่ เพียงเพื่อเป็นผลงานของรัฐบาล ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของประชาชน

สำหรับการเพิ่มรายได้ของสินค้าเกษตรให้เกษตรกรนั้น ถือเป็นเรื่องดี แต่รัฐบาลต้องคำนึงถึงการเพิ่มราคาตามความเป็นจริง ไม่บิดเบือนกลไกตลาด โดยเน้นการปรับปรุงพันธุ์พืชให้พัฒนาจากตลาดระดับล่าง ขยายไปสู่ระดับบน และอย่านำเรื่องราคาสินค้าเกษตรไปโยงกับพลังงาน ตอนนี้รัฐบาลกำลังหลงประเด็นเรื่องพลังงานกับราคาสินค้าเกษตร โดยนำมาผูกกันเป็นต้นทุนการผลิต ทั้งที่ความจริงเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย แต่สิ่งสำคัญคือการให้ความรู้กับประชาชนมากกว่า

สำหรับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น ทำให้แพทย์หายไปจากระบบโรงพยาบาลของรัฐ เนื่องจากการเกลี่ยเงินให้บุคลากรไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่งผลให้แพทย์สมองไหลไปสู่ภาคเอกชน และโรงพยาบาลที่มีแพทย์เพียงพอก็ไม่ต้องการให้มีแพทย์เสริมเพื่อเบียดงบประมาณ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องแก้ไข

การลดรายจ่ายของประเทศก็เป็นนโยบายที่ดี แต่ต้องมีแนวทางที่ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะเห็นพูดมาตลอด 4 ปีแล้ว สุดท้ายก็ถอยหลังไป และอยากฝากถึงนายกรัฐมนตรีว่า การแก้ปัญหาของประเทศ ควรเน้นที่การให้ความรู้แก่รากหญ้าเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนสามารถนำความรู้มาใช้ได้จริง

 

 

**นายอัทธ์ พิศาลวาณิช**

ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

"ผมให้แค่ 7 คะแนน เพราะเป็นคำพูดที่สวยหรู เหมือนคนปากหวาน ฟังแล้วหลง แต่ไม่มีวิธีการชัดเจน"

แนวคิดและปรัชญาในการบริหารราชการแผ่นดินภายใต้กรอบนโยบายของรัฐบาลทักษิณครั้งนี้ ผมให้ 7 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 เนื่องจากแนวคิดครั้งนี้ถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดที่สวยหรู เหมือนคนปากหวาน ฟังแล้วหลง แต่ภายใต้คำหวานนี้ไม่ได้มีการพูดถึงว่าจะทำให้เป็นจริงได้อย่างไร ซึ่งสิ่งที่พูดออกมานั้นไม่มีความชัดเจน ไม่มีวิธีการที่จะทำให้แนวคิดเหล่านี้ประสบความสำเร็จตามที่พูดไว้ และไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่จะให้นโยบายเหล่านี้สำเร็จลุล่วง ซึ่งควรต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าในแต่ละปีแนวนโยบายเหล่านี้มีความคืบหน้าเช่นไร เพราะจะเป็นเครื่องมือสะท้อนความสำเร็จในการทำงานของรัฐบาลได้อย่างดี ขณะเดียวกันประชาชนก็จะสามารถติดตามการทำงานของรัฐบาลได้เช่นกันว่าทำได้จริงตามพูดไว้หรือไม่ ซึ่งหากรัฐบาลทำไม่ได้ตามกรอบเวลาที่ระบุก็จะต้องออกมาชี้แจงถึงความล่าช้าหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น

แนวคิดการบริหารประเทศของรัฐบาลไม่ได้พูดถึงในหลายประเด็น เช่น เรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยพูดถึงแต่เพียงการจัดการทรัพยากรน้ำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ แต่ควรให้ความสำคัญถึงเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน ป่าไม้ แร่ธาตุทั้งระบบ เพราะปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นอยู่นี้และอนาคตเป็นผลพวงจากการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ผิดพลาด

นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ไม่ได้มีการพูดถึงมากนัก โดยเฉพาะเรื่องการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากเป็นสิ่งที่เอสเอ็มอีไทยยังขาดแคลนอยู่มากและเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ขณะเดียวกันไม่ได้พูดถึงเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ มีความรู้และความสามารถเพราะอนาคตประเทศต่างๆ จะแข่งขันในเรื่องคนมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างในเรื่องของภาษาเป็นอีกประเด็นที่รัฐบาลน่าจะพูดถึง เพราะเห็นว่าควรมีการกำหนดภาษาที่ 2 ขึ้นและเร่งผลักดันให้คนไทยใช้ภาษาที่ 2 ได้ด้วย เพราะอนาคตเราจะต้องแข่งขันกับต่างประเทศ

นอกจากนี้แล้วยังไม่ได้พูดถึงเรื่องการยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคบริการที่ไม่ได้เอ่ยถึงเลยในครั้งนี้ ซึ่งรัฐบาลควรจะให้ความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพการผลิตอย่างมาก เพราะจะช่วยลดต้นทุนได้มาก อีกทั้งไม่มีการพูดถึงการขจัดอุปสรรคทางการค้าต่างประเทศ เช่น การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม แนวคิดของรัฐบาลโดยรวมก็ดี แต่มีบางส่วนเป็นไปได้ยาก เช่น การที่รัฐบาลจะผลักดันระบบคลัสเตอร์ในการบริหารจัดการองค์กร เพราะเป็นเรื่องที่พูดกันมานานแล้ว โดยเฉพาะคลัสเตอร์สำหรับภาคธุรกิจแต่ก็ไม่เห็นว่าจะประสบความสำเร็จแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในภาคราชการก็คงเป็นเรื่องยากเนื่องจากรัฐบาลมีหลายหน่ายงาน หลายกระทรวง ทบวง กรม แต่ไม่มีการประสานงานกันเลย จึงยากที่จะทำได้ แต่หากทำได้จริงจะเป็นเรื่องที่ดีมาก และยิ่งในกรณีที่จะให้ราชการระดับปริญญาทำงานในระดับของรองผู้อำนวยการกอง ไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน แม้แต่จะให้เป็นข้าราชการระดับปริญญาโทเลยก็ตาม เพราะระบบราชการไทยสอนให้ลูกน้องไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเป็นพื้นฐาน

แนวคิดของรัฐบาลที่ออกมาท้ายสุด คงจะปรากฏอยู่ในนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลที่นำเสนอต่อรัฐสภา รัฐบาลจึงควรต้องกำหนดสิ่งที่ชัดเจนใส่ลงไปและควรแยกแยะประเด็นต่างๆ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ตลอดจนควรมีการนำแต่ละประเด็นมาเชื่อมโยงกันให้เห็นผลโดยรวม



หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: taworn09220 ที่ 11-10-2006, 13:12
เหลว! 30 บาททุกโรค ทรท. อ้างงบหมดรออีก 8 เดือน เอเอ็มซีแห่งชาติ ยังไม่ชัดเจน

ไทยโพสต์ 12 มกราคม 2544 

พรรคไทยรักไทย เริ่มมีคำว่า “แต่” พร้อมกับขอเวลา 30 บาทรักษาได้ทุกโรค ต้องรอไปอีก 8 เดือน อ้างรัฐบาลก่อนใช้งบประมาณ ไปหมดแล้ว เอเอ็มซีแห่งชาติปราศจาก

ความชัดเจนไปคนละทาง  “ทักษิณ” คุยอาจไม่ต้องใช้เงินเลย โดยทำแค่แลกเศษกระดาษ กันก็แก้หนี้เสียได้แล้ว
นายฮานส์ ดับเบิลยู ไรช์ ประธานคณะกรรมการ KFW สถาบันการเงินใหญ่ที่สุดของเยอรมนี ได้เข้าพบ  พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่อาคารชินวัตร 3 เมื่อเช้าวันที่ 11 มกราคม โดยใช้เวลาอยู่ราว 20 นาที   หลังจากนั้นนายฮานเปิดเผยว่า ได้มีการพูดถึง โครงการต่างๆ ของรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของ ไทย   และพร้อมที่จะสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมของไทยให้มีการพัฒนาแข่งขัน ในตลาดโลกได้ เพราะธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยจะให้การสนับสนุนเครื่องจักรและเทคโนโลยีต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนิน ธุรกิจ ซึ่ง KFW เคยสนับสนุนประเทศต่างๆ มาแล้วหลายประเทศ โดยเฉพาะ ในแถบแอฟริกา
ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์ว่า การหารือกับประธาน  KFW  ในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดี ซึ่ง KFW มีลักษณะคล้ายๆ ธนาคารนำเข้า- ส่งออก   มีการพูดถึงแนวนโยบายของไทยรักไทย ซึ่งนายฮานก็เห็นด้วยใน หลายนโยบาย  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร  การส่งเสริมเอสเอ็มอี  และพร้อม ที่จะให้การสนับสนุนรัฐบาล เขาพร้อมที่จะช่วยเหลือ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประธาน  KFW  เห็นด้วยกับนโยบายของ พรรคไทยรักไทยหรือไม่  พ.ต.ท.ทักษิณตอบว่า เนื่องจากเขาเห็นว่าเป็น ประวัติศาสตร์ของประชาชนไทยที่ได้มอบเอกภาพในการบริหารงานให้กับตน  เขาดีใจกับคนไทยและประเทศไทยด้วย ทั้งอยากให้ตนทำงานได้อย่างเต็มที่ ตามที่ได้ตั้งใจเอาไว้  ตั้งใจไว้อย่างไรก็ให้ทำอย่างเต็มที่   และให้ถือโอกาสนี้ ทำให้ประเทศไทยได้ฟื้นตัวให้เร็วที่สุด โดยประธาน KFW ก็มองว่าประเทศ ไทยมีศักยภาพ หากได้การบริหารจัดการที่ดี
“ผมจะรีบดำเนินการให้โดยเร็ว  และจะพยายามหลีกเลี่ยงกู้ยืม เงินจากต่างประเทศ โดยเฉพาะโครงใหญ่ๆ   ยกเว้นการปรับโครงสร้างหนี้ต่าง ประเทศ   เพื่อให้ได้เงินกู้ที่มีอัตราแลกเปลี่ยนน้อยและมีดอกเบี้ยต่ำ  การทำเช่น นี้พยายามทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด  และจะพยายามทำนโยบายที่ประกาศ ไว้กับประชาชนให้สำเร็จ  ซึ่งก็ได้ส่งแกนนำของพรรคไปพูดคุยกับข้าราชการ และตรวจสอบความเป็นไปได้ในนโยบายทุกเรื่อง  ไม่ว่าเป็นการพักชำระหนี้  3  ปี การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน การจัดตั้งสำนักงานบริหารสินทรัพย์กลาง  เรื่องของหลักประกันสาธารณสุข  นโยบายเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลา  บางนโยบายเสร็จเร็ว  บางนโยบายช้าหน่อย  ซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของ การเปลี่ยนระบบและวิธีการ ต้องให้เวลาในการปรับตัว” หัวหน้าพรรคไทยรัก ไทยระบุ
พ.ต.ท.ทักษิณย้ำว่า การลงทุนในประเทศจะใช้เงินกู้ภายใน ประเทศมากกว่าต่างประเทศ  เพราะไม่อยากให้เป็นภาระ และความเสี่ยงต่อ ความน่าเชื่อถือของระบบสถาบันการเงินของประเทศ เพราะฉะนั้น จะพยายามปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ เพื่อให้ต้นทุนของเราต่ำลงมากกว่า นี้   และพยายามที่จะหาเงินเพื่อมาอุดหนุนภาคการเกษตร ซึ่งนโยบายทั้งหมด จะเห็นผลไม่นานเกินไป
ตลอดทั้งวัน   แกนนำพรรคไทยรักไทยพยายามชี้แจงแสดงให้ เห็นถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่พรรคปราศรัย หาเสียงเอาไว้   โดยนายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์  รองหัวหน้าพรรค เปิดเผยว่า หัวหน้าพรรคได้กำชับให้ตัวเองและทีมงานประสานงานกับกระทรวง  ทบวง  กรมต่างๆ แล้ว  ในขณะที่รอฟังผลการนับคะแนน เราก็ได้เริ่มทำงานแล้ว เพื่อไม่ให้เสียเวลา  โดยได้ติดต่อกับหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวง การคลัง  กระทรวงอุตสาหกรรม  กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งก็ได้เริ่มทำงานแล้วเช่น กัน โดยเฉพาะนโยบายเรื่องการชำระหนี้ นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบาย เอสเอ็มอี ซึ่งล้วนเป็นนโยบายหลักของพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น
“ตรงนี้เราไม่ได้นิ่งนอนใจ  และได้เริ่มทำงานแล้ว มีการ ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับข้าราชการ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และทุก อย่างก็เป็นไปด้วยดี” รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยย้ำ
นายสมคิดกล่าวถึงการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติว่า จะเริ่มต้นด้วย การแก้ปัญหาธนาคารของรัฐก่อน โดยจะเข้าไปดูแลเอเอ็มซีของธนาคารกรุง ไทยที่ถนนสุขุมวิท  และไปดูบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน ที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร  เทวกุล  กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ เป็นประธานเป็นผู้ดูแลอยู่  โดยอาจจะนำทั้งสองแห่งมาควบรวม เพื่อซื้อหนี้ เสียของสถาบันการเงินเอกชน ซึ่งแนวทางนี้ได้มีการพูดคุยกับนายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ และนายบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง 2 ท่านก็เห็นด้วย
รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกล่าวต่อไปว่า แต่หากไม่สามารถ ทำได้ ก็อาจจะให้ที่ใดที่หนึ่งไปรับซื้อหนี้จากธนาคารเอกชนมาบริหาร  โดยในส่วนของ บบส. ก็ต้องแก้กฎหมาย  ส่วนงบประมาณที่จะนำมาดำเนิน การนั้น กำลังพิจารณาอยู่ ยังไม่ทราบว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด และใช้วิธีใด หรือจะออกพันธบัตร แต่จะเป็นวิธีใดก็ตาม ต้องไม่ให้เกิดภาระกับประชาชน ซึ่งเชื่อว่าหากประกาศแนวทางออกไปแล้ว   นักลงทุนต่างชาติต้องตะลึงกับ นโยบายนี้อย่างแน่นอน
นายพันศักดิ์  วิญญรัตน์  ประธานที่ปรึกษานโยบายพรรคไทยรัก ไทย เปิดเผยว่า  นโยบายของพรรคที่ใช้ในการหาเสียงจะนำงบประมาณปกติ มาใช้  โดยจะมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ หลักการสำคัญของ นโยบาย ไม่ว่ากองทุนหมู่บ้าน พักหนี้เกษตรกร คือเงินที่จ่ายไปเพื่อให้เกิด การบริโภคขึ้นภายในประเทศ  จะทำให้บริษัทห้างร้านต่างๆ สามารถผลิต สินค้ามาขาย  มีรายได้มากขึ้น  ตรงนี้ไม่กระทบวินัยการเงินการคลังอย่างที่เข้า ใจกัน   แต่เป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัว  เราระวังไม่เกิดการกระตุ้นการ นำเข้า ส่วนเอเอ็มซีนั้น เชื่อมั่นว่าจะหาเงินมาซื้อได้หลายทาง เช่น การออกพันธบัตร
“ช่วงร่างนโยบายได้คุยกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของคลังแล้ว   ได้รับการยืนยันว่า งบประมาณที่ใช้ดำเนินนโยบายของพรรคมีเพียงพอ  ไม่ต้องไปกู้ยืมเงิน นโยบายของพรรคต่างกับรัฐบาลนายชวน ที่ใช้เงินโดยไม่ ก่อให้เกิดรายได้กับภาครัฐ  มิหนำซ้ำยังขาดวินัยการเงินการคลังอีกด้วย สำหรับนโยบายกองทุนหมู่บ้าน  7  หมื่นกว่าล้านบาท เมื่อมีการแถลงนโยบาย ต่อสภา จะนำเงิน 7 หมื่นกว่าล้านบาทอัดฉีดเข้าหมู่บ้านทั่วประเทศทันที  นโยบายเหล่านี้น่าจะใช้เวลา  2  ปีจึงจะสัมฤทธิผล” ประธานที่ปรึกษา นโยบายพรรคไทยรักไทยยืนยัน
น.พ.สุรพงษ์  สืบวงศ์ลี  คณะทำงานด้านนโยบายสาธารณสุข พรรคไทยรักไทย ยืนยันว่า นโยบาย 30 บาทรักษาโรคทุกอย่าง หรือการ ประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำได้แน่นอน โดยดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1.ออกพระราชกฤษฎีกาตั้งสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะใช้ เวลาเพียง 2 เดือน   2.ต้องร่างพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง และ 3.ทำความเข้าใจกับสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านระบบบัญชีและการให้บริการ
คณะทำงานด้านสาธารณสุขพรรคไทยรักไทยเปิดเผยว่า  โครงการ 30 บาท  พรรคไทยรักไทยนำรูปแบบมาจากการประกันสังคม ซึ่งเคยปฏิบัติมาแล้วกว่า 10 ปี มาปรับปรุง  ทั้งนี้ ประกันสังคมจะจ่ายให้ สถานพยาบาลหัวละ 1,100 ต่อปีต่อคน   ยืนยันว่า หลักประกันสุขภาพถ้วน หน้าของพรรคไทยรักไทย  30 บาทสามารถรักษาได้ทุกโรค  ไม่ว่าจะเป็นหวัด หรือการผ่าตัดใหญ่ โดยประชาชนจ่ายเพียง 30 บาท เพื่อป้องกันการใช้บริการ พร่ำเพรื่อ และป้องกันแพทย์นัดคนไข้มาบ่อยเกินไป
เมื่อถูกซักถึงกำหนดเวลาที่จะสามารถปฏิบัติให้เป็นไปตาม นโยบายดังกล่าว  น.พ.สุรพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้เรามาอยู่ในช่วงที่รัฐบาล ปัจจุบันจัดงบประมาณไปแล้ว  และใช้ไปเยอะแล้ว 3 ใน 4 ของงบประมาณ ทั้งหมด  เพราะฉะนั้น ก็จะต้องรอเดือนตุลาคม  2544 จัดงบประมาณใหม่ถึง จะทำได้ ซึ่งคงต้องค่อยๆ ชี้แจงให้กับชาวบ้านทราบว่า ถ้าหากเราเข้ามาก่อน หน้านี้ ก่อนที่จะมีการจัดสรรงบประมาณในกลางเดือนกรกฎาคม  2543 เราก็สามารถทำไดเลย แต่เข้ามาตอนนี้ในช่วงกลางปี ไม่มีเงิน มันคงเป็นไป ได้ยาก ซึ่งคิดว่าชาวบ้านคงเข้าใจ เพราะว่าการที่เขาเลือกเรามา  คงไม่ได้ หมายความว่า ณ วันที่เลือกเราปุ๊บ คือวันที่ 6  มกราคม แล้ววันที่ 7 จะสามารถไปจ่ายเงิน 30 บาทได้
นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเพียงนโยบายเดียวที่ทุก ฝ่ายแสดงความเห็นด้วย  โดยอยู่ที่ว่าพรรคไทยรักไทยจะเอาจริงเอาจังเพียงไร โดยเฉพาะการสนับสนุนเงินงบประมาณราว 3 หมื่นล้านบาทเพิ่มเติมจากงบ ประมาณในการรักษาพยาบาลปัจจุบัน ที่ตกเป็นเงิน 7 หมื่นล้านบาทอยู่แล้ว
พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์อีกครั้งในช่วงเย็นว่า หากผลการนับ คะแนนเสียงเลือกตั้งชัดเจน  วันจันทร์ที่ 15 มกราคม ก็จะเชิญพรรคร่วมรัฐบาล มาหารือและพูดคุยถึงเรื่องนโยบาย
เมื่อถูกซักถึงเงินจำนวนมากที่จะต้องใช้ในการจัดตั้งบรรษัท บริหารสินทรัพย์กลาง  หัวหน้าพรรคไทยรักไทยกล่าวว่า คิดว่าวงเงินไม่จำ เป็นต้องใช้มาก เพราะเรามีวิธีการปฏิบัติและวิธีการบริหารเงินทุนที่ดี  โดยเฉพาะโลกยุคใหม่จะเป็นเรื่องของการใช้ตราสารหนี้ให้มากขึ้น  บางอย่าง ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน แต่เป็นการออกเอกสารแลกกับเอกสาร  ขณะนี้พรรคก็ดู อยู่หลายวิธี เช่น มีทั้งออกพันธบัตร  หรืออยู่ในรูปคูปอง หรือบางทีไม่ต้อง ออกเลยก็ได้ ตอนนี้อย่าเพิ่งไปวิจารณ์อะไรมากมาย เพราะยังไม่มีการคุยกัน ในรายละเอียด
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคา รไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เสนอว่า ให้เอเอ็มซีแห่งชาติรับซื้อเอ็นพีแอล จากธนาคารพาณิชย์ใน “ราคาตามมูลค่า” หรือ  Book Value ณ วันที่ขาย  เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าราคาที่เหมาะสมจะเป็นเท่าใด  รวมทั้งหลังการบริหารเอ็นพีแอลนี้แล้ว เอเอ็มซีจะมีผลกำไรหรือขาดทุนอย่าง ไร
“หากในอนาคตมีผลกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้น   ต้องมาพิจารณา กันใหม่ว่า ใครได้หรือเสียประโยชน์ ซึ่งหากรัฐบาลใช้เงินประชาชนมาใช้ใน การบริหารงาน  เมื่อเกิดผลขาดทุน  ธนาคารพาณิชย์ในฐานะผู้ขายจำเป็นต้อง ยอมรับผิดชอบผลขาดทุนนั้นบ้าง แต่ในเบื้องต้น อยากให้ยกภูเขาออกจากอก ไปก่อน ส่วนหนี้ที่รัฐบาลจะเข้ามาซื้อนั้น ควรเป็นหนี้ที่มีคุณภาพแย่ที่สุด  ซึ่งธนาคารกันสำรองไว้ครบ  100%  แล้ว”  คุณหญิงชฎาระบุ
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารไทยพาณิชย์เองกำลังรอพิจารณาเงื่อนไขที่รัฐบาลจะเสนอมา เช่นกัน   ทำให้ธนาคารต้องชะลอการโอนเอ็นพีแอลของธนาคารไปที่เอเอ็มซีจตุ จักรไว้ก่อน  เพื่อรอความชัดเจน  และหากเงื่อนไขของเอเอ็มซีแห่งชาติยอมรับ ได้  ธนาคารก็พร้อมที่จะขายเอ็นพีแอลออกไป ที่ผ่านมาธนาคารได้โอนหนี้ เสียไปเอเอ็มซีจตุจักรเพียง 2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนของบริษัทเงินทุน บุคคลัภย์ บริษัทในเครือของธนาคาร
นายประภัศร์  ศรีสัตยากุล  กรรมการผู้จัดการ  บรรษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) กล่าวว่า  บบส.มีความพร้อมหากรัฐจะตั้งให้ เป็นเอเอ็มซีแห่งชาติ  เพื่อบริหารเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินทั้งระบบ  ปัจจุบันเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินทั้งระบบมีอยู่ประมาณ  1.5 ล้านล้านบาท หาก บบส.ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอเอ็มซีแห่งชาติ จะใช้แนวทางการบริหาร เหมือนกับการบริหารหนี้ ปรส. โดยจะรับซื้อหนี้มาในราคาปัจจุบัน  ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 50% ซึ่งจะต้องทำการประเมินราคาหลักประกันที่ ชัดเจนอีกครั้ง  และรัฐจะต้องเพิ่มทุนสำหรับการบริหารให้อีกประมาณ 75,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการเจรจาประนอมหนี้กับลูกหนี้ประ มาณ 2 ปี จึงจะตกลงกันได้เรียบร้อยทั้งหมด
กรรมการผู้จัดการ บบส.กล่าวว่า การจะตั้งให้ บบส.เป็นเอเอ็ม ซีแห่งชาติหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล  ซึ่งขณะนี้ บบส.มี ทรัพยากรทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว  และเป็นการน่าเสียดายหากไม่ได้นำมาใช้ให้ เกิดประโยชน์กับประเทศต่อไป อย่างไรก็ตาม  หากตั้ง บบส.เป็นเอเอ็มซีแห่ง ชาติ ก็ต้องมีการแก้ไขพระราชกำหนดเพื่อให้บริหารเอ็นพีแอลได้ทั้งระบบ  ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชน เพราะปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ บบส. สามารถบริหารได้เฉพาะสินทรัพย์ของสถาบันการเงินรัฐเท่านั้น
ขณะที่นายอภิรมย์  สุขประเสริฐ  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วง ลูกค้าของ ธ.ก.ส. ที่เตรียมจะไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในช่วงสิ้นงวดบัญชีเดือน มีนาคมที่จะถึง โดยรอพักชำระหนี้ตามนโยบายรัฐบาลใหม่ เพราะนโยบายดัง กล่าวมีกระแสตอบรับจากประชาชนมาก และเตรียมที่จะรอพักชำระหนี้กัน ด้วย
นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยต้องการให้  พ.ต.ท.ทักษิณออกมาแถลงให้ชัดเจนว่า จะดำเนินการกับนโยบายที่ให้ไว้ระหว่างหาเสียงอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน พักหนี้เกษตรกร เพื่อความกระจ่างของประชาชน
สำหรับความเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันเดียวกันนี้ ดัชนีปิดที่  295.06 จุด เพิ่มขึ้น  1.41  จุด คิดเป็น 0.48% มูลค่าการซื้อขาย 9,637.92 ล้านบาท โดยกลุ่มที่มีแรงซื้อเข้ามามากและดัชนีได้ ปรับตัวขึ้นมามากสุด  ได้แก่ กลุ่มไฟแนนซ์ เพิ่มขึ้น  4.88%, กลุ่มธนาคาร พาณิชย์  เพิ่มขึ้น 1.56% และมีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดคิดเป็น 20.06% ของมูลค่าการซื้อขายรวม, กลุ่มขนส่งเพิ่มขึ้น 1.01%
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์แสดงความเห็นว่า   ภาวะตลาดหุ้นเริ่ม ทรงตัว  นักลงทุนส่วนใหญ่จะลงทุนแบบเก็งกำไรระยะสั้น  เนื่องจากไม่มั่นใจ ในสภาวะตลาดหุ้นระยะยาว โดยต้องการรอดูหน้าตาของคณะรัฐมนตรีว่าเป็น เช่นไร ที่สำคัญ ใครจะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ส่วนค่าเงินนั้น  เงินบาทอ่อนตัวลงเล็กน้อย โดยเปิดตลาดที่ 43.30-43.35 บาท ไปปิดที่ 43.45-43.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
วันเดียวกัน  นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จำกัด ซึ่งตกเป็นข่าวว่าเป็นเพชรเม็ด งามในความหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ   กล่าวว่า ไม่เคยได้รับการติดต่อ ทาบทามจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ให้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ คลังตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด และหากได้รับการทาบทาม ก็คงไม่รับตำแหน่ง


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: taworn09220 ที่ 11-10-2006, 13:13
วันที่ 17-01-2544

'โอฬาร' ชี้นโยบายทรท.เหลว 'พักหนี้ - กองทุนหมู่บ้าน' ไร้แผนต่อยอด / ลั่นไม่รับเก้าอี้ 'ขุนคลัง'
   
 
    “ดร.โอฬาร” วิพากษ์นโยบายไทยรักไทย แค่คว้าดาว “พักหนี้เกษตรกร - กองทุนหมู่บ้าน” ทำได้ยาก ขาดแผนรองรับชัดเจน ระบุเป็นจริงได้แค่  “เอเอ็มซีแห่งชาติ” แนะ “ทักษิณ” แก้เศรษฐกิจกลับหัว เน้นความสำคัญ ระดับจุลภาคสู่มหภาค รับรู้ปัญหาประชาชนแท้จริง พร้อมปฏิเสธลั่น ไม่รับเก้าอี้ “รมว.คลัง” เหตุไม่พร้อม  นายโอฬาร ไชยประวัติ กรรมการและที่ปรึกษาคณะกรรมการ จัดการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวทางการฟื้นฟู เศรษฐกิจของประเทศว่า ควรเปลี่ยนแนวคิดในการกำหนดนโยบายใหม่ โดยการกำหนดนโยบายจากระดับจุลภาคขึ้นไปสู่ระดับมหภาค คำนึงถึง ประชาชนระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นหลักในการกำหนด นโยบาย เพื่อให้สามารถรับรู้ปัญหาของประเทศได้อย่างแท้จริง และนำมา เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาต่อไปในระดับมหภาค “ตอนนี้เราต้องกลับมาใช้แนวคิดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบ กลับหัว โดยคิดถึงการแก้ไขปัญหาในระดับจุลภาคก่อนปัญหาในระดับ มหภาคอย่างที่เคยเป็นมา เพื่อให้รับรู้ปัญหาของประชาชนได้อย่างแท้จริง ก่อนกำหนดเป็นนโยบายในการแก้ปัญหาขึ้นมาสู่ระดับมหภาค ซึ่งนักวิเคราะห์ นักวิชาการ รวมถึงที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ควรหันมาใช้แนวคิด ใหม่แบบกลับหัว โดยคิดจากล่างสุดขึ้นมาบนสุด” นายโอฬารกล่าว สำหรับนโยบายของพรรคไทยรักไทยนั้น นายโอฬารกล่าวว่า แม้จะมีแนวคิดในการแก้ปัญหาในระดับจุลภาค  โดยเฉพาะนโยบายพักหนี้ เกษตรกร 3 ปี และการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท แต่ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการ โดยยังไม่มีแผนรอง รับว่าเมื่อจัดตั้งกองทุนแล้วจะนำเงินไปใช้ในแนวทางใดต่อไป หรือเป็นเพียง การใส่เงินลงไปเพียงอย่างเดียว จึงน่าเป็นห่วงในด้านการปฏิบัติว่าจะสามารถ ก่อให้เกิดประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือไม่ นายโอฬารกล่าวถึงนโยบายการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติว่า ถือเป็นนโยบายที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพราะเป็นแนวคิดที่เคยออก มาก่อนหน้านี้แล้วในการดำเนินการทั้งรูปแบบและวิธีปฏิบัติ จึงไม่น่ามีปัญหา ซึ่งหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินทั้งระบบในขณะ นี้ เชื่อว่าเป็นหนี้ที่ไม่สามารถแก้ไขฟื้นฟูได้เป็นสัดส่วน  1 ใน 3 ของเอ็นพี แอลทั้งหมด ที่จะต้องตัดเป็นหนี้สูญ ส่วนที่เหลือยังสามารถแก้ไขได้ แม้ว่าครึ่งหนึ่งจะแก้ไขได้ค่อนข้างยาก จึงมีเอ็นพีแอลที่คาดว่าจะสามารถ แก้ไขได้อย่างแท้จริงเพียง 30-35% จากเอ็นพีแอลทั้งหมด ส่วนกระแสข่าวได้รับการทาบทามจากพรรคไทยรักไทยให้เข้า รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น นายโอฬารกล่าวว่า ตนไม่เคยได้รับการติดต่อทาบทามจากพรรคไทยรักไทยแต่อย่างใด และหาก ได้รับการทาบทามจริงก็จะไม่รับตำแหน่ง เพราะไม่มีความพร้อมเพียงพอ   
ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: taworn09220 ที่ 11-10-2006, 13:17
มีอะไรดีให้สานต่อไหมเนี่ย


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: room5 ที่ 12-10-2006, 07:01
คือว่าา พอดี.. โดนลบกระทู้ไปหลายอันเมื่อเช้านี้ ก็เลยคิดว่า ปิดมันซะเลยดีกว่า

บรรยากาศมันไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่  การถกเถียงกันด้วยสติปัญญาก็ลดน้อยถอยลงไปมาก



อีกฝ่ายด่าทักษิณได้หยาบๆคายๆ แต่พอเราด่า ครม.2000 ปี มั่ง ดันลบซะ***นเลยย




แล้วกระทู้นี้ที่เขาโพสตอบ ได้อ่านมั่งมะ? ใช้หัวคิดสิไม่ใช่ใช้หัวแม่ท้าวคิด
โพสด้วยสติฟั่นเฟือนล่ะสิไม่ว่า


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 15-10-2006, 16:29
เห็นไปค้นข่าวเก่าๆมาแปะๆๆๆ แล้วรู้สึกทึ่งในความละอ่อนทางสติปัญญาเป็นอย่างยิ่ง

กรุณารีบยกเลิกทิ้งไปเลย


- 30 บาทรักษาทุกโรค นั่นยุบทิ้งเสีย กลับไปใช้แบบเดิมใครไม่มีปัญญาจ่ายก็นอนตายคาบ้าน

- กองทุนหมู่บ้าน นั่นก็ยุบเลิกเสีย ทะยอยเรียกเงินคืนให้หมด ใครไม่คืนก็ฟ้องร้องดำเนินคดีไปเลย

- OTOP นั่นก็จัดการยกเลิกเสียทันที ทำลายแบรนด์ทิ้งเสียทั้งหมด

- ธนาคารประชาชน และ SML นั่นก็จงยกเลิกทิ้งเสียให้หมด

- หวยบนดินยกเลิกมันเสีย ให้กลับไปเล่นใต้ดินกันเหมือนเดิม

- เมกะโปรเจคท์ ทั้งหลายก็จัดการเก็บดองไว้ในลิ้นชัก ไม่ต้องไปแตะต้องเด็ดขาด


เอาแค่เบื้องตนพวกนี้ก่อนก็แล้วกันนะจ้ะ อย่าหน้าด้านเด็ดขาดนะ....


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 15-10-2006, 17:50
พี่คิล ก็รู้ว่า นโยบายประชานิยมของไทยรักไทย มันฝังรากลึกอยู่ในสังคมชนบท ที่ไม่ค่อยแข็งแรงอยู่แล้วเรื่องความเป็นอยู่ ทรท.ไปใช้ในนโยบายแบบผิด ๆ ไปสอนให้เค้านั่งรอคนมาแจก นั่งรอรัฐบาลมาแก้ปัญหา .....5 ปีกว่าที่ผ่านมา มันเหมือนไปทำให้เค้าง่อยเปลี้ย เสียขา ต่อไปบรรดา รากหญ้า หรือจะเรียกว่า รากแก้วก็ตามที ควรจะรู้ว่าการที่จะเอาเร็วด่วนได้ มันจะเป็นภัยทีหลัง....เหมือนไปทำให้เค้าติดยาเสพติดกันงอมแงม....จะให้เลิกกันแบบหักดิบ เป็นไปไม่ได้หรอกครับ...... นี่มันไม่ใช่การเอาชนะคะคานกัน  มันเป็นการแก้ปัญหาของชาติบ้านเมืองครับ


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: camera ที่ 15-10-2006, 18:48

  สำคัญที่รู้จักเอามาต่อยอด โว๊ย 

 ไอ้พวกโง่เอ็ยยย  ว๊ะ  55555
    :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 15-10-2006, 21:00
พี่คิล ก็รู้ว่า นโยบายประชานิยมของไทยรักไทย มันฝังรากลึกอยู่ในสังคมชนบท ที่ไม่ค่อยแข็งแรงอยู่แล้วเรื่องความเป็นอยู่ ทรท.ไปใช้ในนโยบายแบบผิด ๆ ไปสอนให้เค้านั่งรอคนมาแจก นั่งรอรัฐบาลมาแก้ปัญหา .....5 ปีกว่าที่ผ่านมา มันเหมือนไปทำให้เค้าง่อยเปลี้ย เสียขา ต่อไปบรรดา รากหญ้า หรือจะเรียกว่า รากแก้วก็ตามที ควรจะรู้ว่าการที่จะเอาเร็วด่วนได้ มันจะเป็นภัยทีหลัง....เหมือนไปทำให้เค้าติดยาเสพติดกันงอมแงม....จะให้เลิกกันแบบหักดิบ เป็นไปไม่ได้หรอกครับ...... นี่มันไม่ใช่การเอาชนะคะคานกัน  มันเป็นการแก้ปัญหาของชาติบ้านเมืองครับ


อ้าว...นี่ก็แสดงว่า 60 กว่าปีที่ผ่านมานี่ นโยบายของพวกทุนเก่าศักดินาบูโร-เทคโนแครต

มันไม่ได้ฝังเข้าไปใน DNA ชาวบ้านบ้างเลยหรือ...โดนนโยบายไทยรักไทยกระหน่ำแค่เพียง 5 ปี

มีผลกับชาวบ้านมากถึงขนาดนี้ ให้เกียรตินโยบายไทยรักไทยมากเกินไปหน่อยหรือเปล่า  :?:


หัวข้อ: Re: อย่าได้หน้าด้าน เอานโยบายไทยรักไทยไปต่อยอด
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 15-10-2006, 21:40
The Financial Times highlighted Surayud’s remarks over the weekend that his government
would be guided by the “self-sufficiency” ideals of the king. “We won’t concentrate so much
on the GDP numbers,” he said. “We would rather look into the indicators of people’s happiness
and prosperity.”

แบบนี้มันน่าชื่นชมหรือน่าอายวะเนี่ย

ฟังดูก็น่าชื่นชมนี่