ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: snowflake ที่ 09-10-2006, 10:05



หัวข้อ: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-10-2006, 10:05
เรียน webmaster

ไม่ทราบว่ากระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย

สัมภาษณ์พิเศษ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ตอนที่ 1 : 30 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยแพ้แล้ว?

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5297&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Cambridge ที่ 09-10-2006, 10:23
ผมคิดว่าใช้ได้เลย

ตอนนี้เรามีบทเรียนหลายๆอย่างแล้ว ถ้าจะบอกว่าถอยกลับไป ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกก็คงไม่ผิดหรอกครับ เพราะที่ผ่านมาลองผิดลองถูก สุดท้ายก็ผิดอยู่ดี
ดังนั้นครั้งนี้ เมิื่อมีโอกาสอีกครั้งหนึ่ง ก็น่าที่จะทำให้ดี


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 09-10-2006, 10:24
โพสได้ แต่ต้องกล้ารับผิดชอบนะ  :slime_worship:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 09-10-2006, 10:38
จั่วหัว "เรียกร้องความสนใจ" อีกหรือไงคะ อิอิ  :slime_smile2:

"อันตราย" ตรงไหนหรือคะ ก็เห็นคุณน้องสโนว์เฟลคโพสต์แนวคิดของขบวนการ "คนหัวเหลี่ยม" เช่นนี้ประจำ เว็บเสรีไทยก็อยู่รอดปลอดภัยดี  ยังไม่ต้องด่วนกินปูนร้อนท้องร็อก

แล้วที่เคยตั้งกระทู้ว่า จะ "แจ้งลบ" ของกระทู้ตัวเองที่มีเพียบบบ ไม่ได้ติดตาม หวังว่าจะแจ้งลบสมใจตัวเองแล้วเนอะ  :slime_bigsmile:

ก็โพสต์ต่อไปเรื่อย ๆ ละกันนะคะ อีกไม่นานคงไม่มีใครสนใจแล้วล่ะ เพราะเกือบทุกคนคงจะใจตรงกัน ใช้วิธี "ignore"   :slime_v:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกไทย หลานไทย ที่ 09-10-2006, 10:41
ช่วงนี้กระทู้กระทบสถาบันฯเยอะ เห็นแล้วก็รู้สึกว่า เฮ้ย เกินไปหรือเปล่า

หากผลสอบทุจริตที่กำลังจะมีมาถึงนี้เป็นผลสอบที่ยุติธรรมและชี้ชัดว่ามีการร่วมมือกันทุจริตโดยสมาชิกในคณะรัฐบาลที่ผ่านมา ผมเองก็จะยอมรับว่ารู้สึกดีใจกับการปฏิวัติครั้งนี้ อย่างเปิดเผยและเต็มที่

ประชาธิปไตยที่หลายๆคนกำลังพิทักษ์เอาเป็นเอาตายในขณะนี้ กลับเป็นแค่อำนาจประชาชนในการเลือกผู้มาบริหาร ผมสงสัยจริงๆว่าตกลงความหมายในประชาธิปไตยมีแค่นี้ใช่ไหมเนี่ย

ปล. ผมนั่งอ่านข่าวพานทองแท้เที่ยวคาราโอเกะที่ลอนดอนสลับกับข่าวคนกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่ารักประชาธิปไตยที่กำลังจะรวมกันทวงอำนาจคืนให้คุณทักษิณ มันไม่ค่อยเกี่ยวกันกับกระทู้นี้หรอกครับ แต่อ่านข่าวสองเรื่องนี้ไล่ๆกันแล้วขำๆดี



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 11:12
ได้อ่านหลายวันแล้ว ตอบไปบ้างแล้ว...ใน WOM

สำหรับในประชาไทชอบคำตอบที่ 119
.......................................................

ทักษิณ เป็นนายก สองสมัย และหัวหน้าพรรค ทรท

ทรท เป็นพรรครัฐบาล…มีอำนาจเต็มในสภา….ทุกสภา

ออกกฎหมายได้ทุกรูปแบบ..

มีอำนาจเต็มในการบริหารหน่วยราชการต่างๆ

มีตำรวจ,ทหาร ระดับนายพล เป็นลิ่วล้อ

มีรากหญ้าสนับสนุน ๑๙ ล้านเสียง ด้วยการประชานิยม มา หลายปี

มีเงินนับเป็นพันพันล้าน

ไอ้พวกลิ้วล้อกระจอกกากเดนปัญญาอ่อนที่ post กระทู้ที่ประชาไทนี้ พวกมันทำอะไรกันอยู่

ปล่อย ให้ สนธิ คนเดียว ใช้เวลา ปีเดียว

ไล่ทักษิณและโค่นพรรค ทรท ได้

ใครอยู่ที่ ลอนดอน ช่วยไปถามทักกี้ทีว่า

จะทำอย่างไรกับไอ้พวกลิ้วล้อกระจอกกากเดนปัญญาอ่อน ที่ พันทิพราชดำเนิน และที่ประชาไท

เวลา ทักษิณ ขั้บขัน …พวกนี้ไม่ได้คิดช่วยทำอะไรเลย

ดีแต่เห่าโหยหวลบน internet เหมือน..เปรต..ปอบ.. ขอส่วนบุญ

ต่อไปนี้คงไม่มีส่วนบุญให้อีกแล้ว นะ

อย่าเห่าให้เหนื่อยเลย คิดไปทำมาหากินอย่างอื่นเถิด

บางคนพูดว่า

“ถ้าใครที่ยังคิดฝันว่าคุณทักกี้จะกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทยได้อยู่อีก

ผมก็ว่า ’ คิดใหม่-ทำใหม่ ‘ เถอะนะโยม!”

และบางคน(คนด้ามขวาน)ก็พูดว่า

“หาก มี คน แค่ ทักษิณ และ ทรท

พวก กรูยอม อยู่ใต้ เผด็จการ ทหารดีกว่า…

เพราะทหาร ไม่ขายช่าติ

ไม่ ลบหลู่ ในหลวง แน่ นอน

แต่ไอหน้าเหลี่ยม ทำได้ทุกอย่าง “

..........................................
คำตอบนี้เขียนได้ตรงใจครับ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-10-2006, 12:03
หากคุณทักษิณ ทำได้ทุกอย่างดังว่าจริง
เหตุใดจึงแพ้ และกระเด็นไปอยู่ต่างประเทศอย่างทุกวันนี้

หากอยากทำ แต่ทำไม่ได้ แสดงว่า ระบบไม่ได้ล้มเหลว อย่างที่ใครคิด/กล่าวหา
หากไม่อยากทำ แสดงว่า ไม่ได้เลว ขนาดนั้น

หรือว่ามีคำตอบอื่น?

 :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 12:10
อยากบอกคำตอบเหมือนกัน แต่โพสท์ไม่ได้...อันตรายต่อเว็บบอร์ด

เอาไว้ให้สังคมใจเย็น ๆ ลงกว่านี้ แล้วค่อยนั่งลงวิเคราะห์สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้...

บางเรื่องต้องปล่อยให้เวลาและข้อมูลค่อย ๆ ปล่อยออกมา...แล้วสังคมจะเข้าใจเอง

ที่นำมาโพสทเป็นกระทู้น่ะ์มันก็แค่ความคิดเห็นของคน ๆ หนึ่ง...ที่ยังตกผลึกกับเรื่องสังคมไทยไม่พอด้วยซ้ำ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 09-10-2006, 12:17
สวัสดีครับคุณ snowflake

วันนี้ผมเขียนเป็นจดหมายน้อยเปิดผนึกนะครับ ผมกับคุณ snowflake ได้เสวนากันผ่านหน้ากระทู้อยู่บ่อยครั้ง เรียกได้ว่าผมเป็นขาประจำกระทู้คุณ snowflake เลยทีเดียว ผมคิดว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านคงไม่เข้าใจตัวคุณ snowflake มากนัก ผมเองบางครั้งก็ฉงนอยู่เหมือนกัน ว่าที่แท้จริงแล้วคุณ snowflake มีแนวความคิดทางการเมืองอย่างไรกันแน่

ผมมีความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าคุณ snowflake มีแนวความคิดนิยมประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ ที่ต้องการให้กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นไปในแนวทางสันติวิธี มาจากประชาชน และเป็นไปเพื่อประชาชน ผมเชื่อว่าคุณ snowflake มีความบริสุทธิใจ ไม่ได้อยู่ฝ่ายรักทักษิณ หรือฝ่ายหัวเหลี่ยม หัวกลม แต่ประการใด แต่ที่คุณ snowflake นำมาตัดแปะ ก็เนื่องด้วยเพราะว่า คุณ snowflake มีเจตนาดี ที่จะให้เพื่อน ๆ สมาชิกชาวเสรีไทย ได้มีโอกาสอ่านแนวความคิดที่แตกต่างจากที่เห็นกันโดยทั่วไปในเสรีไทย

จากกระทู้ล่าสุดที่เราได้เสวนากัน คุณ snowflake ได้ตอบคำถามหนึ่งที่ถ้าไม่สังเกตุก็จะมองข้ามไป นั่นคือ คุณ snowflake เองก็ไม่ได้เชื่อทั้งหมดที่ นักเขียนท่านนั้นได้เขียนไป และไม่ได้เชื่อทั้งหมดที่ผมเขียน ผมก็เชื่อว่าทุก ๆ บทความที่คุณ snowflake นำมาโพส คุณ snowflake ก็ไม่ได้เห็นด้วยไปทั้งหมด

ผมคิดว่าผมเข้าใจไม่ผิด ดังนั้นในการตอบกระทู้ของผมจึงยึดหลักแนวทางที่จะ เขียนตอบโต้ นักคิดนักเขียน เจ้าของบทความ เขียนความคิดเห็นขัดแย้งกับบทความ ซึ่งคุณ snowflake บางครั้งก็ออกมาเสวนาถกเถียงกับผม ในมุมมองของคุณ snowflake บางครั้งสอบถามเพิ่มเติม บางครั้งขัดแย้ง ซึ่งดำเนินไปตามแกนของบทความ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ตรงนี้เองที่ทำให้เพื่อน ๆ หลาย ๆ คน รวมถึงผมด้วยในบางครั้งเข้าใจคุณ snowflake ผิดไป คิดว่าคุณ snowflake เห็นดีเห็นงามไปกับผู้เขียนบทความไปทั้งหมด คุณ snowflake จึงได้รับแรงต้าน เสียงก่นด่า และรองเท้าในบางครั้งที่โพส

อย่างเช่นบทความที่คุณ snowflake นำมาโพสถามในกระทู้นี้ ถ้าหากโพสมันไม่อันตรายต่อเสรีไทยเท่าไหร่นัก แต่อันตรายต่อตัวคุณ snowflake หลายเท่าทวีคูณ เนื่องจากความคิดของนักวิชาการท่านนี้ อยู่ในแนวไม่เอาเจ้าของสมศักดิ์ เจียม ซึ่งเป็นแนวคิดที่รุนแรงในสายตาของสังคมไทย ถ้าหากเพื่อนสมาชิกเข้าใจไปว่าคุณ snowflake เห็นดีเห็นงามไปกับบทความทั้งหมด คุณ snowflake รับรองได้อ่วมอรทัยเป็นแน่

ผมบอกตามตรง ผมค่อนข้างเป็นห่วงคุณ snowflake ในฐานะคนรักประชาธิปไตยด้วยกัน ผมคิดว่า ถ้าคุณ snowflake มีความศรัทธาในแนวทางของนักคิดนักเขียนกลุ่มมหาลัยเที่ยงคืน กลุ่มประชาไทย กลุ่มไทยออกโทเบอร์ ฯลฯ และคุณ snowflake ต้องการเผยแพร่แนวความคิดประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นแนวความคิดแกนหลักของคนเหล่านั้น คุณ snowflake น่าจะทำการย่อยสลายข้อมูลก่อน กรองเอาแนวความคิดที่คุณ snowflake เห็นต่างออก กรองเอากากทิ้ง แล้วเอาเนื้อหามาเขียนขึ้นใหม่ตามแนวทางของคุณ snowflake จะช่วยลดแรงต้าน และลดจำนวนรองเท้าที่ปลิวว่อนในกระทู้ได้มาก

ผมอยากอ่านบทความของคุณ snowflake มากกว่าบทความของ ใบตองแห้ง ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ สมศักดิ์ เจียม ฯลฯ ผมคิดว่าน่าสนใจกว่าเยอะครับ ถ้าเราจะต้องโดนก่นด่า โดนรองเท้าขว้าง มันน่าจะมาจากบทความของเราเอง มากกว่าบทความของคนอื่น คิดอย่างไรก็เขียนไปอย่างนั้น ผมโพสบทวิเคราะห์ของผมหลายครั้ง บางครั้งก็ได้รับคำชม บางครั้งก็ได้รับการก่นด่า ผมรู้สึกดีทุกครั้ง เพราะว่านั่นคือเสียงตอบรับที่แท้จริงของคนอ่าน แต่คุณ snowflake ซวยแทนเจ้าของบทความเกือบทุกครั้ง คุณ snowflake ไม่เบื่อบ้างเหรอครับ

อย่างไรก็ตาม ผมเขียนจดหมายน้อยเปิดผนึกนี้ ก็ด้วยความเป็นห่วงเพื่อนร่วมรบ ในอีกแนวรบหนึ่ง ซึ่งคุณ snowflake รบอยู่ในแนวรบนั้น การรบจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับคุณ snowflake ตัดสินใจครับ อยากขอย้ำข้อความเดิมเมื่อนานมาแล้วว่า ประชาธิปไตยสมบูรณ์ ไปถึงได้หลายวิธี บางวิธีอ้อม บางวิธีตรง บางวิธีรุนแรง บางวิธีนุ่มนวล เป้าหมายของทุกแนวรบเหมือนกัน เพียงแต่วิธีแตกต่าง ถ้าเราจะมาตั้งข้อรังเกียจกันเรื่องวิธีการรบ เราคงไปไม่ถึงจุดหมาย เพราะต้องมารบกันเอง ผมคิดว่าเราต่างคนต่างรบ โดยเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกัน น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่าครับ



ด้วยความเป็นห่วงเป็นใย และปรารถนาดี



คนในวงการ

สายเหยี่ยวเสรีไทย
(ตั้งโดยคุณพระพาย เป็นโดยตกกระไดพลอยโจนอย่างสมัครใจ)


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 09-10-2006, 12:32
...  อ่านกระทู้นี้แล้ว ....เข้าใจเจ้าของกระทู้นะ
ทำไมถึงใช้ภาษาจั่วหัวกระทู้เช่นนั้น


... ใบไม้ไม่รู้จักเจ้าของกระทู้เป็นการส่วนตัว
แต่จากที่ได้อ่านมาหลายๆกระทู้ของเขา
ใบไม้เข้าใจนะ  บางครั้งคนเล่นกระทู้  อยาก
นั่งโพสต์บ้าง  นอนโพสต์บ้าง  ตีลังกาโพสต์บ้าง
บางครั้งก็มิได้ยึกติดฝ่าย  ยึดติดบุคคล
แค่มีอารมณ์อยากฟังหลากหลายความคิด
ทั้งมุมบวกและมุมลบ  และมุมกึ้งลบกึ่งบวก
จึงกล้าตั้งกระทู้ในหลากหลายไสตล์

 เปรี้ยวจนเข็ดฟังบ้าง  ร้อนแรงแบบพริก
ไทยบ้าง  จืดเหมือนแกงจืดบ้าง
หวานเสียจนเลี่ยนบ้าง ...เพื่ออยากได้
อรรถรสในการเล่นกระทู้

 **ที่จริง  จขกท จะโพสต์เช่นไร
มิใช่ประเด็นสำคัญ  มันสำคัญที่คนตอบ
ต่างหาก  ว่า คิดเรื่องเขาตั้งกระทู้อย่างไร
นี่ล่ะสำคัญที่สุด  จริงมั๊ย


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-10-2006, 12:33
อยากบอกคำตอบเหมือนกัน แต่โพสท์ไม่ได้...อันตรายต่อเว็บบอร์ด

เอาไว้ให้สังคมใจเย็น ๆ ลงกว่านี้ แล้วค่อยนั่งลงวิเคราะห์สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้...

บางเรื่องต้องปล่อยให้เวลาและข้อมูลค่อย ๆ ปล่อยออกมา...แล้วสังคมจะเข้าใจเอง

ที่นำมาโพสทเป็นกระทู้น่ะ์มันก็แค่ความคิดเห็นของคน ๆ หนึ่ง...ที่ยังตกผลึกกับเรื่องสังคมไทยไม่พอด้วยซ้ำ

ตอบไม่ได้ หรือว่าไม่มีคำตอบคะ?
“อันตรายต่อเวบบอร์ด” ยังไงไม่ทราบ?
คุณ aiwen^mei คงอยากทราบกว่าใคร
เพราะเธอไม่เชื่อว่ามีอันตรายจริง

รบกวนตอบทาง PM ได้ไหมคะ?
หากไม่ตอบส่งมา คงเข้าใจเป็นอื่นไปไม่ได้
นอกจากว่าเป็นแค่มุกเลี่ยงคำตอบ

ส่วนเรื่องที่ว่าเป็น “แค่ความคิดเห็นของคนๆ หนึ่ง” นั้น
ใช้ได้กับ ความคิดเห็นที่วิจารณ์เขาว่า
“ยังตกผลึกกับเรื่องสังคมไทยไม่พอด้วยซ้ำ” ด้วยค่ะ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 12:42
มันก็แค่ความเห็นของคน ๆ หนึ่ง อยากรู้คำตอบน่าจะลอง ๆ คิดด้วยตนเองดูครับ

ทำไมทักษิณถึงแพ้...ไม่ใช่ปัญหายากเย็นอะไรนี่นะ ถ้าติดตามข่าวสารและคิดเป็นบ้าง


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 09-10-2006, 13:00
เป็นบทสัมภาษณ์ ที่ถอนหงอก นักวิชาการหน้าโง่ในประเทศนี้หลายต่อหลายคน

ทุกวันนี้มันเหล่านั้นคง ส่องกระจกดูเงาหัวตัวเอง ว่าที่แท้มันคือสัตว์การเมืองชนิดใด

ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะสวมหน้ากากอย่างไรดี

ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีกับชีวิตโสโครกที่เหลืออยู่ของพวกมัน


พวกมันอาจอ้างแก้ตัวกันในวงเหล้าของเหล่านักวิชากามชั่ว ว่าแค่มันส์ปากสนุก

อินไปกับบทบาทในสถานการณ์นั้นๆ ไม่คิดว่าสติปัญญาระดับพวกมัน

จะถูกสนตะพายให้หลงเข้าไปในวังวน การแย่งชิงอำนาจระหว่างสองขั้วความคิด

ที่ต่อสู้กันมาหลายสิบปี ปลุกผี อนุรักษ์นิยมให้คืนชีพ กลับมาแข็งแกร่งอีกรอบ


ส่วนนักวิชากาม หัวหงอกหัวดำ ในเวบบอร์ดแห่งนี้

ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าพยายามหาเหตุผลมาลบล้าง

ความงี่เง่าของตัวเอง กลบเกลื่อนความผิดพลาด

ชี้หน้าด่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตน ว่าเป็นตัวประหลาด ...

อวดภูมิธรรมทางการเมืองอันแสนจะกระจอกไร้เดียงสา ว่าสูงส่งเสียเต็มประดา

ก็ในเมื่อเบสิค ประชาธิปไตย มันยัง งุนงง สับสนเลย

อย่าได้กระแดะดัดจริตไปชี้หน้าด่าใครต่อใครจะดีกว่า


ผมเคยตั้งกระทู้ถามหลายครั้งแล้วใช่หรือไม่

ว่าซักวัน คุณต้องเลือกข้าง....วันนี้คุณได้เลือกแล้ว...




หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-10-2006, 13:05
*  เอาบทความมาลงให้แทนคุณ โสนว์  *

....................................

รัฐประหาร 2549 -โมเดลรัฐประหารแบบ 6 ตุลา

เริ่มด้วยการต่อสู้ทางอุดมการณ์จบด้วยการรัฐประหาร


 
การต่อสู้ทางอุดมการณ์คือพื้นฐานของการรัฐประหาร 2549 หรือ

แรงขับเคลื่อนพื้นฐานของรัฐประหารครั้งนี้ คือแรงขับเคลื่อนทางอุดมการณ์ อุดมการณ์ในที่นี้ไม่ได้มีความหมายอย่างที่คนทั่วไปใช้ อุดมการณ์ไม่ได้หมายถึงความคิดเพื่อส่วนรวม หรือการมีอุดมคติที่ดีงามเพื่อสังคม

 
ในทางรัฐศาสตร์นั้น ‘อุดมการณ์’ หมายถึงความคิดความเชื่อที่เป็นกรอบความคิดให้คนเราตัดสินการกระทำและสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา ทำให้เราเห็นว่า การกระทำบางอย่างถูกต้อง, พฤติกรรมบางอย่างชอบธรรม, และมุมมองบางแบบคือมุมมองที่ถูกต้องกว่ามุมมองแบบอื่น ถึงขนาดที่เราไม่เคยฉุกคิดถึงที่มาที่ไปว่าอะไรทำให้เราตัดสินเรื่องต่างๆ ไปในลักษณะนั้น อุดมการณ์จึงเป็นในกรอบการมองโลกของเรา ซึ่งก็เท่ากับว่าอุดมการณ์ ‘จำกัด’ ให้เราเห็นโลกแต่ในแง่มุมอย่างที่อุดมการณ์นั้นต้องการ

 
ตัวอย่างของอุดมการณ์ คือปัญหาเรื่องความสามัคคี คนไทยมักพูดว่า ความแตกสามัคคีเป็นปัญหาของชาติบ้านเมือง แต่คำถามที่ไม่ค่อยมีใครคิดก็คือ แล้วการประกาศกฎอัยการศึก, ปิดหูปิดตา และปิดกั้นเสรีภาพประชาชน เป็นปัญหาของชาติบ้านเมืองด้วยหรือเปล่า ความสามัคคีเป็นปัญหาของชาติบ้านเมืองก็ต่อเมื่อเรายึดถืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบที่ถือว่า ‘ชาติ’ สำคัญที่สุด แต่ถ้าเราถือว่า ‘ประชาธิปไตย’ เป็นเรื่องที่สำคัญแล้ว คนในชาติจะสามัคคีกันหรือไม่ ก็อาจไม่ใช่ปัญหาก็ได้

 
มีสังคมประชาธิปไตยไหนบ้างที่คนไม่แตกความสามัคคีกัน ในหลายต่อหลายสังคม คนในครอบครัวเดียวกันที่สนับสนุนพรรคการเมืองต่างกัน ก็แทบไม่คุยกันด้วยซ้ำ แต่เขาก็อยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้ ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังทหารเข้ามาล้มกระดานเพื่อบังคับให้คนทั้งหมดคิดและเชื่อเหมือนกัน

 
ในกรอบแบบนี้ การที่บอกว่าการเมืองไทยในปี 2549 ไม่มีทางออกอื่นนอกจากการรัฐประหาร ก็เป็นผลของอุดมการณ์ทางการเมืองแบบหนึ่งด้วย เพราะว่าในความเป็นจริง เรามีทางออกอื่น แต่อุดมการณ์แบบนี้ทำให้คนมืดบอด มองไม่เห็นทางออกอื่น หลงเชื่อตามที่ผู้มีอำนาจบอกว่า ทางออกของบ้านเมืองมีอยู่แค่การยอมให้ทหารฉีกรัฐธรรมนูญและยึดครองประเทศได้ตามอำเภอใจ

 
รัฐประหารครั้งนี้แตกต่างจากรัฐประหารครั้งอื่นๆ ตรงไหน

รัฐประหารครั้งนี้แตกต่างจากรัฐประหารครั้งอื่น 2 ข้อ ข้อแรก รัฐประหารครั้งนี้เป็นรัฐประหารที่ชัยชนะในการยึดอำนาจไม่ได้ชี้ขาดด้วยการเคลื่อนกำลังทหารล้วนๆ แต่ชี้ขาดด้วยการครอบงำทางอุดมการณ์ ข้อสอง รัฐประหารครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อทหารหรือผู้มีอำนาจในกองทัพ จึงเป็นรัฐประหารโดยทหาร แต่ไม่ใช่รัฐประหารเพื่อทหารเอง

 
ขอเริ่มต้นที่เรื่องการครอบงำทางอุดมการณ์ก่อน

 
ถ้าเรามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย รัฐประหารหลายครั้งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับกองทัพ เช่นรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ปี 2534, รัฐประหารบางครั้งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างผู้นำกองทัพด้วยกัน เช่นรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2500, หรือรัฐประหารบางกรณีก็ไม่ได้มีเหตุอะไรเลย นอกจากตัวผู้รัฐประหารนึกอยากรัฐประหารขึ้นมาเอง เช่น กรณีจอมพลถนอมรัฐประหารตัวเองในปี 2514 ขณะที่รัฐประหารในปี 2549 เป็นรัฐประหารที่อิงกับอุดมการณ์หลักของชาติ นั่นก็คือเป็นรัฐประหารที่ความคิดความเชื่อเรื่อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจอย่างมีนัยยะสำคัญ



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-10-2006, 13:07
*  ต่อนะค่ะ

.......................


ขณะที่รัฐประหารส่วนใหญ่มีแบบแผนและสูตรสำเร็จคล้ายคลึงกัน เริ่มต้นจากการสะสมกำลังพลและกำลังรบฝ่ายตัวเองให้มากที่สุด จากนั้นก็ชิงเคลื่อนกำลังอย่างรวดเร็ว ใช้กองทัพยึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆ ให้ได้มากที่สุด แล้วจึงก่อการยึดอำนาจในขณะที่ผู้นำรัฐบาลยังไม่ทันตั้งตัว จนพูดได้ว่าเป็น ‘รัฐประหารเชิงการทหาร’ ล้วนๆ รัฐประหารในปี 2549 กลับเป็นรัฐประหารที่เริ่มต้นด้วย ‘รัฐประหารทางอุดมการณ์’

 
รัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติในปี 2534 เป็นตัวอย่างของรัฐประหารเชิงการทหาร เพราะสิ่งที่ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์และ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ทำในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ก็คือการชิงจับตัวนายกรัฐมนตรีชาติชาย ขณะที่กำลังจะขึ้นเครื่องบินไปเข้าเฝ้าในหลวงที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีใครคิดว่าทหารจะทำแบบนี้ในเวลานั้น ทำให้คณะรัฐประหารของ พล.อ.สุนทร ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างง่ายดาย

 
รัฐประหารในปี 2549 เป็นเรื่องของการชิงเคลื่อนกำลังทหารเพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ก่อนที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นจริงๆ ในคืนวันที่ 19 กันยายน ได้มีการเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์เพื่อปูทางให้การรัฐประหารมาอย่างต่อเนื่อง รัฐประหาร 2549 จึงมีมิติทางอุดมการณ์มาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก ทำให้รัฐประหารครั้งนี้คล้ายคลึงกับรัฐประหารที่ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เพราะต่างก็เป็นการรัฐประหารที่ผู้ก่อการอ้างว่าทำเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และก็ใช้ข้ออ้างนี้ไปล้มล้างรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบบรัฐสภาเหมือนๆ กัน

 
ขณะที่ทหารในการรัฐประหารครั้งอื่นๆ ทำการยึดอำนาจและล้มรัฐบาลเพื่อตัวเอง รัฐประหารในกรณี 6 ตุลาคม 2519 และ 19 กันยายน 2549 กลับเป็นรัฐประหารที่ไม่ได้ทำเพื่อกองทัพเองล้วนๆ แต่ทำเพื่อสถาบันบางอย่างที่อยู่นอกกองทัพออกไป

 
พูดอีกแบบก็ได้ว่ารัฐประหาร 19 กันยายน เป็นรัฐประหารโดยกองทัพ แต่ไม่ใช่รัฐประหารของกองทัพ และยิ่งไม่ใช่รัฐประหารเพื่อกองทัพเอง

 
ถ้าเข้าใจลักษณะเฉพาะของการรัฐประหารครั้งนี้ ก็จะเข้าใจต่อไปว่า ประเด็นสำคัญทางการเมืองในช่วงหลังจากนี้ ไม่ได้อยู่ที่คณะปฏิรูปการปกครองจะสืบทอดอำนาจหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ทหารจะแทรกแซงการเมืองไปอีกนานแค่ไหน แต่ประเด็นสำคัญที่สุดคือคนกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารครั้งนี้ กำลังจะเข้ามาออกแบบกติกาของบ้านเมืองให้เป็นอย่างที่ตัวเองได้ประโยชน์ที่สุด

 
แน่นอนว่าไม่มีสังคมประชาธิปไตยที่ไหนที่อนุญาตให้ทหารแทรกแซงการเมืองได้ตามอำเภอใจ แต่รัฐประหารครั้งนี้ไม่ได้มีความมุ่งหมายแค่นี้ หากมีความมุ่งหมายหลักอยู่ที่การออกแบบสถาบันการเมืองการปกครองเพื่อเป้าหมายบางอย่างในระยะยาว

 
ในแง่นี้ รัฐประหารปี 2549 เป็นรัฐประหารที่ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ขั้นตอนแรกคือการต่อสู้ทางอุดมการณ์เพื่อครอบงำความคิดของผู้คนในสังคม ขั้นตอนที่สองคือการต่อสู้ทางการเมือง ขั้นตอนที่สามคือการชิงยึดอำนาจทางการทหาร และขั้นตอนที่สี่ คือการยึดอำนาจรัฐและออกแบบกติกาบ้านเมืองให้เป็นอย่างที่ตนเองต้องการ



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-10-2006, 13:10
* มีต่อค่ะ *

..................................

ถ้าเราเข้าใจรัฐประหารครั้งนี้ว่ามันเป็นการรัฐประหารที่มี 4 มิติซ้อนกัน เราก็จะเข้าใจว่าทำไมถึงปรากฏภาพที่มีคนจำนวนมากออกไปถ่ายรูปคู่กับรถถัง เอาดอกไม้ไปให้ทหาร เพราะคนจำนวนมากไม่ได้เห็นทหารในฐานะรั้วของชาติ ไม่ได้เห็นรถถังในฐานะอาวุธในการทำลายชีวิต แต่เขาเห็นว่าทหารและรถถังคือผู้ที่มากอบกู้ชาติบ้านเมืองซึ่งกำลังล่มสลายจากการคุกคามของศัตรูที่แสนจะร้ายกาจและอันตราย

 
ขบวนการสนธิทำให้คนไทยรู้สึกว่า ทักษิณ ชินวัตร เป็นศัตรูของสถาบันหลักของชาติ แบบเดียวกับที่คอมมิวนิสต์เป็นศัตรูหลักต่อสถาบันหลักของชาติในเหตุการณ์ 6 ตุลา

ที่ผมโยงไปที่เรื่อง 6 ตุลา เพราะว่าการรัฐประหารครั้งนี้มันเริ่มต้นจากการต่อสู้ทางความคิดก่อน เราอาจจะพูดได้ว่าเริ่มต้นจากการพิมพ์หนังสือเรื่อง ‘พระราชอำนาจ’ โดยประมวล รุจนเสรี ที่บอกว่าในสังคมไทยนั้น พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์คือจุดเริ่มต้นของสถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตยรัฐสภา คือจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ และพระราชอำนาจ คืออำนาจที่สำคัญที่สุดในสังคมไทย ไม่ใช่ฉันทานุมัติจากประชาชน

 
การอภิปรายเรื่องพระราชอำนาจที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้นกำเนิดสำคัญของขบวนการสนธิ และขบวนการสนธิก็มีความสำคัญมากในการรัฐประหารครั้งนี้ เพราะขบวนการนี้สร้าง, เผยแพร่ และตอกย้ำข้อมูลข่าวสารบางแบบอยู่ตลอดเวลาว่า ปัญหาหลักของประเทศไทย คือการมีทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

 
ถ้าเทียบเคียงกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ความสำเร็จข้อหนึ่งของขบวนการสนธิก็คือ ทำให้คนไทยรู้สึกว่าทักษิณ ชินวัตร เป็นศัตรูของสถาบันหลักของชาติ แบบเดียวกับที่ขบวนการนักศึกษาและคอมมูนิสต์เป็นศัตรูต่อสถาบันหลักของชาติในเหตุการณ์ 6 ตุลา

 
เพราะฉะนั้น ขณะที่นักศึกษาธรรมศาสตร์ถูกโจมตีว่าเป็นศัตรู เป็นคนที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในช่วง 6 ตุลา สิ่งที่ขบวนการนี้ทำกับทักษิณก็คือการกระทำแบบเดียวกัน นั่นก็คือ ทักษิณทำลายชาติ จึงมีการพูดกันอยู่ตลอดเวลาว่าทักษิณขายชาติ ผ่านเรื่องเอฟทีเอ ผ่านเรื่องการแบ่งเกาะกูดให้เขมร ผ่านเรื่องการยกดินแดนบางส่วนให้ลาว ผ่านเรื่องการขายหุ้นเทมาเสกให้กับสิงคโปร์ ผ่านเรื่องการแยกดินแดนในสามจังหวัดภาคใต้ ฯลฯ

 
สำหรับเรื่องศาสนา เราก็จะเห็นภาพชัดเจนว่า ประเด็นที่สนธิใช้ในช่วงแรกๆ ก็คือการมีสังฆราชสององค์ ส่วนอีกเรื่องที่ถูกใช้ในการโจมตีมากก็คือเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์

 
ทั้งหมดนี้คือฐานของการรัฐประหารซึ่งเริ่มต้นด้วยการต่อสู้ทางอุดมการณ์อย่างหนักหน่วงและเข้มข้นมาเป็นเวลาเกือบปีกว่าๆ และตัวละครที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางอุดมการณ์รอบนี้ หลายฝ่ายก็คือตัวละครที่เคยมีบทบาทในเหตุการณ์ 6 ตุลา หรือเติบโตทางการเมืองในช่วงหลัง 6 ตุลา ทั้งนั้น

 
คงไม่มีใครลืมว่าจำลอง ศรีเมือง มีบทบาทอย่างไรในวันที่ 6 ตุลา แต่หลายคนคงลืมไปแล้วว่า คนอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล ในช่วงหลัง 6 ตุลานั้น พิมพ์หนังสือเรื่อง ‘สิ้นชาติ’ ซึ่งมียอดพิมพ์ถึง 80,000 เล่ม ในเวลาแค่ห้าเดือน โดยเขาอ้างอยู่ตลอดเวลาว่า หนังสือเล่มนี้จูงใจให้นายทหารจำนวนหนึ่งเชื่ออย่างฝังจิตฝังใจว่า รัฐบาลขวาจัดของธานินทร์ กรัยวิเชียร คือแนวร่วมมุมกลับที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นเวียดนามแห่งที่สอง ทำให้กรุงเทพตกอยู่ใต้ความยึดครองของคอมมูนิสต์ ผลที่ตามมาก็คือ ทหารกลุ่มนี้เชื่อว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะก่อการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลของฝ่ายขวาพลเรือน แล้วตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีนายกรัฐมนตรีมาจากกองทัพโดยตรง

 
เห็นได้ชัดว่า สนธิมีทักษะในการสร้างความรู้สึกร่วมทางการเมืองแบบนี้มาตั้งแต่หลัง 6 ตุลา และในวาระที่เหตุการณ์ 6 ตุลา เวียนมาครบรอบสามสิบปีในปีนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า สนธิมีอิทธิพลในการใช้ข่าวสารเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์บางอย่าง ที่ทำให้รัฐประหาร 19 กันยายน มีความชอบธรรมทางการเมือง

 
รัฐประหารครั้งนี้ นอกจากเป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์แล้ว มันเกิดเรื่องที่คล้ายๆ กับ 6 ตุลา ก็คือมีการจัดตั้งมวลชนและองค์กรจำนวนมากขึ้นมา

ถ้าพูดอย่างไม่เกรงใจกัน องค์กรอย่าง ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย’ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ไม่ว่าคนที่เข้าไปร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ จะจริงใจมากน้อยแค่ไหนก็ตาม แต่คนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปร่วมกับพันธมิตรฯ เป็นคนซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบทหารนิยม มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม หรือเป็นคนที่เชื่อว่าการมีสถาบันกษัตริย์ที่เข้มแข็งคือทางออกของประชาธิปไตย ไม่ใช่การสร้างการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยรัฐสภาที่ดี



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-10-2006, 13:12
* มีต่อค่ะ *

......................................

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา สิ่งที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กันก็คือ หลังจากที่ฝ่ายขวาเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองบางอย่าง ก็เริ่มมีการจัดตั้งกลุ่มประชาชนขึ้นมาโดยยึดโยงกับอุดมการณ์แบบนี้ แต่พันธมิตรฯ นั้นอาจจะแตกต่างกับกลุ่มมวลชนที่จัดตั้งก่อน 6 ตุลา อยู่บ้าง เพราะพันธมิตรฯ ไม่ได้เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวาอย่างเดียว แต่มีคนที่เป็นเสรีนิยม ฝ่ายคนชั้นล่าง ฝ่ายที่รักประชาธิปไตยด้วยความบริสุทธิ์ใจ รวมทั้งฝ่ายที่เป็นกลางจำนวนมากด้วย หรือต่อให้ถึงที่สุดแล้ว พลังฝ่ายเสรีนิยมไม่ใช่พลังหลักที่ชี้นำการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ก็ตามที ถ้าคิดถึงรัฐประหาร 19 กันยายน ในแง่มุมนี้ ก็จะเห็นความคล้ายคลึงกับรัฐประหารวันที่ 6 ตุลาคม 2519 มากขึ้น นั่นก็คือล้วนเป็นการรัฐประหารที่เริ่มต้นด้วยอุดมการณ์ หลังจากนั้นก็นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มพลังทางการเมือง

 
สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า สัญลักษณ์ของพันธมิตรฯ นั้นคือสีเหลือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน และพันธมิตรฯ โดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ประกาศอย่างเปิดเผยว่า ใช้สีเหลืองเพราะต้องการแสดงความจงรักภักดีของฝ่ายพันธมิตร โดยที่สีเหลืองก็คือสีซึ่งทหารใช้เป็นสัญลักษณ์ในการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายนด้วยเช่นเดียวกัน

การรัฐประหารครั้งนี้มีการอ้างพระมหากษัตริย์มากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และจะนำไปสู่การกำหนดกรอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยไหม

ผมคิดว่าสีเหลืองของพันธมิตรฯ กับสีเหลืองที่ทหารใช้ในการรัฐประหารมีความสืบทอดกัน เพราะในที่สุดแล้วทั้งพันธมิตรและทหารก็ล้วนแสดงบทบาทของตัวเองโดยอ้างอิงกับพระมหากษัตริย์ ทำให้รัฐประหารครั้งนี้มีบุคลิกอีกประการหนึ่งที่สำคัญ นั่นก็คือการอ้างพระมหากษัตริย์มากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

 
ในเหตุการณ์ 6 ตุลา มีการอ้างเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็จริง แต่ไม่ได้เป็นการอ้างลักษณะเดียวกับครั้งนี้ เหตุการณ์ 6 ตุลา เริ่มต้นจากการเผยแพร่ภาพและปล่อยข่าวเพื่อปลุกระดมมวลชนว่า ขบวนการนักศึกษาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ภาพของสถาบันฯ ในความรู้สึกของประชาชนในขณะนั้น จึงเป็นฝ่ายตั้งรับ ขณะที่นักศึกษาเป็นฝ่ายคุกคาม ตรงกันข้ามกับรัฐประหารครั้งนี้ที่มีการอ้างอิงและใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ในลักษณะเชิงรุก ที่ท้ายที่สุดแล้วเอื้อต่อชัยชนะของฝ่ายรัฐประหารอย่างต่อเนื่อง

 
อย่าลืมว่าในคืนวันที่ 19 กันยายน ทหารใช้เพลงพระราชนิพนธ์ ใช้ภาพพระราชกรณียกิจ หรือวันที่ 20 ก็มีการแสดงภาพการเข้าเฝ้าฯ แทนที่จะเป็นการใช้เพลงปลุกใจหรือออกอากาศคำปราศรัยของหัวหน้าคณะรัฐประหารวนเวียนซ้ำซากไปเรื่อยๆ อย่างที่มักจะทำกันในการรัฐประหารทุกครั้ง

 
โดยภาพรวมแล้ว รัฐประหารครั้งนี้เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการทางการเมืองที่มีมาก่อนเป็นเวลานาน ได้แก่การปฏิวัติทางอุดมการณ์ การปฏิวัติทางการเมือง และการปฏิวัติด้วยกำลังทางทหาร

 
ปัญญาชนจึงต้องรับผิดชอบจากการสร้างวาทกรรมรองรับการรัฐประหารครั้งนี้?

ในช่วงที่ยังมีการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงนั้น ปัญญาชนหลายคนออกมาเรียกร้องให้ทหารเข้ามาแทรกแซงการเมือง บางคนก็ไปไกลถึงขั้นป่าวประกาศอย่างเปิดเผยว่า ทหารไม่จำเป็นต้องปกป้องรัฐบาล นักวิชาการบางคนเขียนบทความยืนยันว่า ทหารมีสิทธิปฏิวัติรัฐบาลได้ ไม่ต้องพูดถึงการยื่นหนังสือครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้องคมนตรีออกมาร่วมขบวนการขับไล่นายกรัฐมนตรี ทั้งที่ปัญญาชนเหล่านี้รู้ดีว่า องคมนตรีแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ และพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยรัฐสภานั้นถูกกำหนดให้ทรงอยู่ ‘เหนือการเมือง’

 
หลังจากการรัฐประหารเกิดขึ้น ปัญญาชนจำนวนมากพยายามสร้างคำอธิบายให้รัฐประหารชอบธรรม บ้างก็บอกว่ารัฐประหารครั้งนี้จำเป็น เพราะสังคมไทยไม่มีทางออกอื่น บ้างก็บอกว่าไม่ควรคัดค้านที่ทหารฉีกรัฐธรรมนูญ เพราะคุณทักษิณเองฉีกรัฐธรรมนูญไปก่อนแล้ว บ้างก็บอกว่า นี่เป็นการรัฐประหารที่สันติ ไม่มีการนองเลือด หรือบางคนก็บอกว่าไหนๆ รัฐประหารก็เกิดขึ้นแล้ว เรามาช่วยกันทำให้รัฐประหารครั้งนี้เป็นรัฐประหารที่ดี

 
เรื่องที่น่าเศร้าใจก็คือ ปัญญาชนเหล่านี้ทำลายหลักการร่วมข้อหนึ่งที่เป็น ‘แกนกลางทางความคิด’ ของปัญญาชนแทบทุกฝ่ายในสังคมไทยในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 นั่นก็คือ หลักการที่ไม่ยอมรับการปฏิวัติรัฐประหารทุกชนิด แต่ในปี 2549 ปัญญาชนทำให้การรัฐประหารเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ น่าภาคภูมิใจ ซ้ำปัญญาชนหลายคนยังทำตัวเป็นกระบอกเสียงให้กับการปกครองของทหารเสียยิ่งกว่าตัวทหารเอง

 
การสร้างวาทกรรมเรื่อง ‘ระบอบทักษิณ’ ก็เป็นเรื่องที่ปัญญาชนสร้างขึ้น คำๆ นี้มันไม่เคยมีมาก่อน มันถูกสร้างขึ้นมาในช่วง 2-3 ปีนี้ เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า คุณทักษิณนั้นมีเครือข่ายทหารฝังแน่นอยู่ในกองทัพ มีเครือข่ายกับตำรวจและข้าราชการระดับสูง มีเครือข่ายระหว่างนักธุรกิจข้ามชาติและนายทุนใหญ่ด้วยกัน ทำให้คุณทักษิณดูเป็นศัตรูที่อันตรายต่อชาติแบบเดียวกับที่คอมมิวนิสต์เป็น


เราจะเห็นว่าช่วงก่อน 6 ตุลานั้น สิ่งที่ฝ่ายขวาทำก็คือ การทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ใหญ่เกินจริง เพื่อรวมความรู้สึกของคนในชาติว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องจัดการกับคอมมิวนิสต์ สิ่งที่ปัญญาชนจำนวนมากทำโดยไม่รู้ตัวใน พ.ศ.2549 คือการสร้างวาทกรรมเรื่อง ‘ระบอบทักษิณ’ ทำให้คุณทักษิณดูใหญ่เกินตัว ดูเหมือนว่าคุณทักษิณมีเครือข่ายกว้างขวาง ทั้งที่จริงๆ แล้วเครือข่ายของคุณทักษิณนั้น เริ่มจะถูกสร้างขึ้นใน 3 ปีหลังจากที่คุณทักษิณขึ้นมามีอำนาจเท่านั้นเอง



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-10-2006, 13:15
* ต่อนะคะ *

.......................................

เวลาเพียง 3 ปี ไม่สามารถทำให้เกิดระบอบอะไรขึ้นมาได้ มันเป็นเวลาที่สั้นเกินไป

 
อย่างเช่น เราบอกว่า ประชานิยมทำให้ระบอบทักษิณฝังรากลึกในหมู่มวลชน คนเหล่านี้ไม่เข้าใจว่า มวลชนจำนวนมากชอบเงินและใครก็ตามที่ช่วยเหลือพวกเขาในเรื่องที่เป็นรูปธรรมที่สุด ในสมัยที่คุณชาติชาย เป็นนายก มวลชนเหล่านี้ก็รักคุณชาติชาย แต่ก็ไม่ว่าอะไรเมื่อคุณชาติชายถูกยึดอำนาจ เพราะฉะนั้นมวลชนในระบอบทักษิณไม่ได้เป็นมวลชนที่ใหญ่โตอะไร สามารถทำลายได้ถ้าเข้าใจวิธีการ

 
คนเหล่านี้ต้องรับผิดชอบที่เกิดการรัฐประหารครั้งนี้ เพราะคนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ร้องขอให้ทหารออกมาฉีกรัฐธรรมนูญและล้มกระดานทางการเมืองการปกครอง

 
หลัง 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้นมา สิ่งหนึ่งที่ชนชั้นนำไทยทั้งหมดพยายามจะตอกย้ำ และเผยแพร่เข้าไปในหัวของคนไทยก็คือ ประชาธิปไตยไม่ใช่การเมืองที่ประชาชนเป็นใหญ่

ในช่วง 3 ทศวรรษหลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ชนชั้นนำของไทยแทบทุกฝ่ายพยายามจะเผยแพร่และตอกย้ำความคิดว่า ประชาธิปไตยรัฐสภาไม่ได้หมายถึงระบบการเมืองที่มีประชาชนเป็นใหญ่ ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายแค่การไปหย่อนบัตรเลือกผู้แทนราษฎร ประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงแค่การมีนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ประชาธิปไตยหมายถึงการมีผู้นำที่ดีและมีศีลธรรม

 
ถ้าคิดแบบนี้ ก็เท่ากับว่าการสร้างสถาบันการเมืองที่ดี การสร้างรัฐสภาที่เข้มแข็ง การสร้างระบบการเลือกตั้งที่ดี ไม่ใช่วาระทางการเมืองที่สำคัญที่สุด ถ้าคิดแบบนี้ ก็หมายความต่อไปว่า ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่ผู้นำที่สำคัญที่สุดในประเทศ รวมทั้งอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนก็ไม่ใช่อำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่คือสถาบันไหนหรืออำนาจอะไรก็ได้ที่เป็นคนดีและมีศีลธรรม

 
ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังช่วง 6 ตุลา ชนชั้นนำทั้งหมดพยายามจะบอกว่า สิทธิเสรีภาพของคนไทยเป็นสิทธิเสรีภาพที่มีความหมายแค่ในระดับปัจเจกบุคคล สิทธิเสรีภาพในสังคมไทยหมายถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ซึ่งในทางปฏิบัติก็ถูกจำกัดด้วยกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายว่าด้วยหมิ่นประมาท หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่โดยหลักการแล้ว ชนชั้นนำของไทยบอกคนไทยว่า สิทธิเสรีภาพนั้นมีความหมายแค่ว่าเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น อาจจะมีสิทธิเสรีภาพในเรื่องความเชื่อ ซึ่งก็ไม่ได้หนักแน่นอะไรมาก เพราะคนมุสลิมก็ยังคงถูกกีดกันอยู่ตลอดเวลา สิทธิในการรวมกลุ่มก็ไม่ใช่ประเด็นหลักของสิทธิเสรีภาพในสังคมไทย เพราะว่าคนจำนวนมากในสังคมไทยถูกกีดกันไม่ให้รวมกลุ่มกัน เช่นกรณีของสหภาพแรงงาน

 
ในสังคมไทยนั้น สิทธิเสรีภาพถูกทำให้เป็นแค่คำขวัญที่มีความหมายแคบมาก สิทธิเสรีภาพในความหมายของความเสมอภาค ความยุติธรรม และความเท่าเทียมนั้นมันไม่มีอยู่ในสังคมนี้ รวมทั้งเสรีภาพในความหมายของ ‘อิสรภาพ’ ด้วยเช่นกัน

 
เพราะฉะนั้น จึงง่ายมากที่ชนชั้นนำจะทำให้ประชาธิปไตยเป็นแค่เรื่องของการมีผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้มีฐานอะไรในสังคม ทั้งๆ ที่ในทุกประเทศที่เป็นสังคมประชาธิปไตยนั้น ประชาธิปไตยจะเติบโตขึ้นมาได้ในสังคมก็แต่ที่มีฐานบางอย่างมารองรับ เช่น มีกลุ่มทางสังคมที่เข้มแข็ง มีคนที่มีความเชื่อเรื่องสิทธิเสรีภาพอย่างหนักแน่น แต่ในกรณีของเรา ประชาธิปไตยมันถูกตัดตอนให้เป็นแค่เรื่องกระบวนการทางการเมือง กระบวนการที่จะได้มาซึ่งผู้บริหารอย่างเดียว

และนี่เป็นสิ่งที่ชนชั้นนำทั้งหมดทำร่วมกันในช่วง 30 ปีหลัง 6 ตุลาคม

 
ถ้าเช่นนั้นเราพอจะเรียกอุดมการณ์ในปี 2519 และ 2549 ว่าอะไร

ในการรัฐประหารครั้งนี้ ปัญญาชนมีบทบาทมากในการทำให้การแทรกแซงทางการเมืองการทหาร และการแทรกแซงของสถาบันกษัตริย์มีความชอบธรรม และนี่ก็จะกลับไปสู่เรื่องอุดมการณ์อีกครั้ง เพราะปัญญาชนแทบทั้งหมดให้ความชอบธรรมกับความไม่เป็นประชาธิปไตยโดยหันไปอาศัยอุดมการณ์ที่สร้างขึ้นโดยพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยม นั่นก็คืออุดมการณ์ทางการเมืองที่ภาษารัฐศาสตร์เรียกว่า ‘ธรรมราชา’

 
เป็นเวลาหลายสิบปีที่ปัญญาชนแทบทั้งหมดโจมตีว่าประชาธิปไตยรัฐสภาเป็นระบบการเมืองที่ล้มเหลว โจมตีว่าพรรคการเมืองเป็นที่พึ่งของประชาชนไม่ได้ โจมตีว่าระบบทุนนิยมทั้งหมดเป็นเรื่องเลวร้าย รวมทั้งโจมตีว่าระบบยุติธรรมทั้งหมด ไม่ใช่สถาบันที่จะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมได้ เช่นเดียวกับระบบราชการที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวงและคอรัปชั่น หรือพูดโดยภาพรวมก็คือการสร้างภาพประทับลงไปในจิตใจคนว่า สถาบันการเมืองการปกครองที่เป็นทางการทั้งหมดเป็นเรื่องโกหกหลอกลวงและไร้ศีลธรรม

 
นี่คือปรากฏการณ์ที่สำคัญมาก เพราะในกรณีสังคมตะวันตก ประชาธิปไตยรัฐสภา พรรคการเมือง ระบบราชการ และหลักนิติธรรม เป็นสถาบันและหลักการที่สำคัญโดยตัวของมันเอง แต่กรณีของสังคมไทย สถาบันและหลักการเหล่านี้ไม่ได้มีความสำคัญในตัวมันเอง แต่สำคัญก็ต่อเมื่อมันอ้างอิงหรือพ่วงไปกับหลักการอื่น เช่นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือสถาบันยุติธรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของพระราชอำนาจ

 
ในช่วงหลัง 6 ตุลา อุดมการณ์แบบนี้ถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องผ่านกลุ่มปัญญาชนหลายๆ ฝ่าย ทำให้เกิดความคิดความเชื่อที่ในที่สุดแล้วเอื้อต่อการทำลายประชาธิปไตย นั่นก็คือพรรคการเมืองและรัฐสภาไม่ใช่ที่พึ่งของประชาชน พรรคการเมืองและรัฐสภาคือสถาบันการเมืองของชนชั้นนายทุน ทำให้สมเหตุสมผลที่กองทัพและสถาบันอื่นๆ จะล้มล้างพรรคการเมืองและระบบรัฐสภาได้ตลอดเวลา

 
ในปริมณฑลทางความคิดแบบนี้ สถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการทั้งหมดนั้นพึ่งไม่ได้ ช่วยเหลือประชาชนไม่ได้ ให้ความยุติธรรมไม่ได้ และไม่สามารถที่จะให้ชีวิตที่ดีแก่กับประชาชน

 
สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวของคนไทยก็คือการถูกโปรแกรมว่า มีแต่ผู้นำที่มีศีลธรรมอย่างยิ่งยวดเท่านั้นซึ่งจะเป็นคนที่นำเราไปสู่ชีวิตที่ดี และจะว่าไปแล้ว ผู้นำที่มีศีลธรรมคือ ‘วาระทางการเมือง’ ที่ปัญญาชนจำนวนมากเชิดชูและร้องหาอยู่ตลอดเวลา

 
ถ้าเราลองนึกดู เราก็จะเห็นภาพของคนอย่าง น.พ.ประเวศ วะสี หรือ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม ที่พยายามจะพูดว่าปัญหาของการเมืองไทยคือการมีผู้นำที่ไร้ศีลธรรม และในบริบทแบบไทยๆ นั้น ผู้นำที่มีศีลธรรมคือ ผู้นำที่ถือว่าเป็นธรรมราชาหรือคนที่มีอุดมการณ์แบบธรรมราชา ซึ่งเป็นการยากมากที่นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจะได้รับการยอมรับว่ามีคุณสมบัติแบบนี้ เพราะคนเหล่านี้ถูกตรวจสอบได้โดยง่าย อยู่กลางแสงสว่างที่ใครก็มองเห็นได้ และเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางโลกเกินไป จนแทบไม่มีโอกาสสะสมบารมีเพื่อสร้างภาพความเป็นผู้นำที่ทรงศีลธรรม

 
ในที่สุดแล้ว อุดมการณ์ทางการเมืองแบบนี้จะนำไปสู่การปฏิเสธความสำคัญของสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการแทบทั้งหมด ตั้งแต่รัฐสภา, รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง, พรรคการเมือง ฯลฯ ทำให้บุคคลหรือสถาบันการเมืองที่ไม่เป็นทางการสามารถแทรกแซงการเมืองอย่างไรก็ได้

 
แน่นอนว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยสร้างแนวความคิดแบบนี้ แต่ในปัจจุบันนี้ ปัญญาชนเสรีนิยม, เอ็นจีโอ หรือนักวิชาการอาวุโสหลายต่อหลายคน ก็ถ่ายทอดความคิดแบบนี้ลงสู่สังคมไทย โดยที่ไม่เข้าใจว่าผลในทางการเมืองของความคิดแบบนี้คืออะไร

 
เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้นมา คนเหล่านี้ก็คือคนที่สนับสนุนการรัฐประหาร และเห็นด้วย เพราะเขาเชื่อว่าปัญหาการเมืองในสังคมไทยเกิดขึ้นเพราะผู้นำทางการเมืองที่ไม่มีศีลธรรม และทักษิณคือโมเดลของผู้นำทีไม่มีศีลธรรมและเลวร้ายที่สุด ทำให้ลึกๆ แล้ว คนเหล่านี้เห็นว่า make sense ที่จะเกิดการแทรกแซงโดยพระราชอำนาจหรือการรัฐประหาร เพราะการแทรกแซงนี้จะทำให้ได้ผู้นำที่มีศีลธรรมขึ้นมาปกครองบ้านเมือง

 



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-10-2006, 13:17
* ยังมีอีกค่ะ *

..............................

ความเป็นคนดีมีศีลธรรมเป็นเรื่องไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาอะไรได้ มันเป็นแค่อุดมคติที่เกิดขึ้นในโลกที่เป็นสังคมชาวนา

ความเป็นคนดีมีศีลธรรมเป็นพื้นฐานของ ‘ผู้ปกครองที่ดี’ ในสังคมเกษตร, ในสังคมโบราณ, หรือในรัฐจารีต เพราะผู้นำในสังคมเหล่านี้แทบไม่มีสายใยยึดโยงพวกเขากับประชาชน จึงต้องสร้างความชอบธรรมทางการเมืองด้วยวิธีการง่ายๆ ว่าตัวเองควรมีอำนาจ เพราะเป็นผู้มีศีลธรรมสูงสุดในสังคม ได้สั่งสมบุญญาบารมีมาแต่ชาติปางก่อน มีวัตรปฏิบัติที่ถูกทำนองคลองธรรมในชาตินี้ ฯลฯ

 
ปัญหาที่สำคัญคือสังคมทุกวันนี้เป็นสังคมสมัยใหม่ เป็นสังคมอุตสาหกรรมที่คนแต่ละฝ่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อนและขัดแย้งกันอย่างสลับซับซ้อน เราจะบอกได้จริงๆ หรือว่าใครมีศีลธรรมกว่าใคร

 
นี่ไม่ได้กำลังบอกว่าคนเราไม่ควรมีศีลธรรม แต่ประเด็นที่ต้องการพูดก็คือในโลกสมัยนี้ ผู้นำที่มีศีลธรรมอาจเป็นแค่ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการใช้สื่อเพื่อ ‘ผูกขาด’ ภาพความมีศีลธรรมไว้ที่ตัวเองอย่างถึงที่สุดก็ได้

อย่าลืมว่าในสังคมไทยนั้น ชนชั้นนำกลุ่มเดียวที่เราจะชี้หน้าด่าอย่างเปิดเผยได้ว่าเป็นคนเลว ไม่มีศีลธรรม คอรัปชั่น โง่ หาประโยชน์ให้พวกพ้อง ฯลฯ ก็คือชนชั้นนำที่มาจากการเลือกตั้ง มาจากพรรคการเมือง และรัฐสภา แต่เราทำอย่างนี้ไม่ได้แน่ๆ กับชนชั้นนำที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง กับชนชั้นนำที่มาจากกองทัพ จากศาล หรือจากระบบราชการ

ในสังคมไทยนั้น ผู้นำที่เรายกย่องว่ามีศีลธรรม มักได้แก่ผู้นำที่แทบไม่เคยพูดหรือแสดงความเห็นในเรื่องอะไรให้กระจ่างชัด เหตุผลคือยิ่งพูดหรือยิ่งแสดงจุดยืนในเรื่องต่างๆ ก็ยิ่งมีโอกาสที่ผู้นำผู้ทรงศีลธรรมจะถูกคนในสังคม ‘รู้ทัน’ ว่ามีผลประโยชน์ผูกพันกับคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเป็นพิเศษ คนเหล่านี้จึงพูดน้อย พูดคลุมเครือ พูดในแบบที่คนแต่ละกลุ่มจะตีความอย่างไรก็ได้ พูดถึงเรื่องสังคมในอดีต พูดถึงสังคมชาวนาที่คนจนและคนระดับล่างถูกเงื่อนไขทางเศรษฐกิจบังคับให้ต้องกินอยู่อย่างพอเพียง แต่คนเหล่านี้ไม่เคยพูดถึงสังคมในอนาคต ไม่เคยอภิปรายว่าการเมืองในอนาคตคือการเมืองในโลกซึ่งทุกอย่างเป็น globalization และเป็น urbanization เพราะโลกเหล่านี้ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจทางโลกที่สลับซับซ้อนเกินกว่าที่ผู้นำที่มีศีลธรรมจะทำอะไรได้

 
อันที่จริง ผู้นำที่มีศีลธรรมเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีเสน่ห์แต่ในโลกที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวนา เป็นสังคมเกษตรกร แต่ไม่อาจตอบปัญหาของสังคมสมัยใหม่ได้ในระยะยาว ในที่สุดแล้ว ผู้นำในรุ่นอนาคตจึงไม่สามารถจะอาศัยภาพของความเป็นคนดีมีศีลธรรม หรืออุดมการณ์ธรรมราชา มาเป็นเครื่องมือในการจรรโลงอำนาจทางการเมืองได้

 
เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในเงื่อนไขที่มีลักษณะเฉพาะมากๆ และข้อสำคัญก็คือ ไม่ใช่ผู้นำทุกคนที่จะสร้างภาพว่าเป็นผู้มีบารมีลักษณะนี้ได้สำเร็จ

 
แล้วภาคประชาชนที่เติบโตขึ้นนี่ ก็อยู่บนเงื่อนไขทางการเมืองแบบนี้ด้วย

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้ เริ่มเกิดคนกลุ่มใหม่ๆ ซึ่งมีสถานภาพทางสังคมสูง อย่างเช่น คุณรสนา โตสิตระกูล, วีระ สมความคิด ซึ่งคนเหล่านี้เป็นคนธรรมดา ไม่ได้มีชาติตระกูลหรือความสัมพันธ์กับชนชั้นนำในอดีตกลุ่มไหน เป็นคนที่เติบโตมาจากการรณรงค์เคลื่อนไหวปัญหาทางการเมืองและสังคมแท้ๆ แต่ในปัจจุบันนี้ คนเหล่านี้มีอิทธิพลกับสังคมถึงขนาดที่มีโอกาสจะเลื่อนสถานะของตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ ผ่านการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก, ผ่านสายสัมพันธ์กับทหารและนักการเมือง ฯลฯ

 
ข้อที่น่าสนใจก็คือเงื่อนไขทางสังคมแบบไหนที่ทำให้คนธรรมดาเหล่านี้โดดเด่นขึ้นมาเป็นที่ยอมรับได้กว้างขวางอย่างนี้ ขณะที่หลายสิบปีก่อน คนแบบนี้ไม่มีทางมีอิทธิพลต่อสังคมในระดับนี้ได้อย่างแน่นอน

 
ผมคิดว่าคนเหล่านี้เติบโตขึ้นมาในเงื่อนไขที่การเมืองอยู่ภายใต้การครอบงำของอุดมการณ์แบบ ‘ธรรมราชา’ นั่นคือ อุดมการณ์แบบที่มุ่งโจมตีสถาบันการเมืองในระบบรัฐสภาว่าเป็นที่รวมของคนเลว คนไร้ศีลธรรม และชนชั้นพ่อค้านายทุนทุกระดับ อุดมการณ์แบบนี้เปิดโอกาสให้คนจำนวนหนึ่งเติบโตทางการเมืองได้ หากมีบทบาททางการเมืองในแง่ของการต่อต้านการคอรัปชั่นของนักการเมือง การทุจริตของรัฐมนตรี รวมทั้งการใช้อำนาจอย่างล้นเกินของของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

 
แน่นอนว่าการควบคุมนักการเมืองนั้นเป็นเรื่องดี แต่ ‘อำนาจรัฐ’ ไม่ได้มีความหมายเท่ากับอำนาจของนักการเมืองและอำนาจของรัฐสภาเท่านั้น คนที่มีอำนาจในสังคมไทยประกอบไปด้วยคนที่อยู่นอกรัฐสภา, อยู่นอกพรรคการเมือง และอยู่นอกการเลือกตั้งอีกจำนวนมาก การตรวจสอบอำนาจรัฐเฉพาะเพียงเสี้ยวที่อยู่กับนักการเมืองจึงไม่รอบด้าน ไม่เพียงพอ และเปิดโอกาสให้คนหลายกลุ่มได้ประโยชน์จากการโจมตีสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอย่างล้นเกิน

 
การเมืองภายใต้การครอบงำของอุดมการณ์แบบธรรมราชา เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้เติบโต แต่ขณะเดียวกัน การเมืองในสภาพการณ์แบบนี้ก็จำกัดบทบาททางการเมืองของคนเหล่านี้ไว้เฉพาะในกิจกรรมบางแบบ ต้นทุนทางการเมืองที่อาจเสียจากการท้าทายข้อจำกัดนี้ คงเป็นเรื่องที่หลายคนทำใจยอมรับไม่ได้ การต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยทุกวันนี้ จึงใกล้เคียงกันมากกับการเซ็นเซอร์ตัวเองเพื่อแสดงบทบาทเฉพาะในแบบที่ผู้มีอำนาจบางกลุ่มต้องการ

 
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ คนเหล่านี้เติบโตขึ้นมากับสภาพแวดล้อมทางการเมืองแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นก็คือการเกิดกระแส ‘การเมืองภาคประชาชน’ ที่ทำให้ความเป็น ‘ภาคประชาชน’ กลายเป็นต้นทุนทางการเมืองได้ เพราะ ‘ภาคประชาชน’ ตามนัยนี้วิพากษ์วิจารณ์ความชอบธรรมของสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จึงสอดคล้องกับการเมืองแบบที่อยู่ใต้การครอบงำของอุดมการณ์ธรรมราชา

 
ประเด็นนี้สำคัญ เพราะชนชั้นนำและทุกคนในประเทศไทยนั้นรู้ว่า ‘ภาคประชาชน’ ไม่ได้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของการรวมกลุ่มในหมู่ประชาชนอย่างเหนียวแน่นและกว้างขวาง ในทางตรงกันข้าม ‘ภาคประชาชน’ เกิดขึ้นเมื่อผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชนบางกลุ่มมีผลงานปรากฎในที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง พูดในเรื่องที่สังคมปัจจุบันต้องการ และแสดงบทบาทเฉพาะในขอบเขตที่การเมืองแบบ ‘ธรรมราชา’ กำหนด

 
หากไม่ระมัดระวังให้ดี การเมืองแบบภาคประชาชนอาจมีฐานะเป็นเพียงส่วนขยายของการต่อสู้ทางการเมืองในหมู่ชนชั้นสูงก็เป็นได้ ส่วนผู้นำภาคประชาชนก็อาจมีสถานภาพเป็นแค่ผงซักฟอกให้ผู้มีอำนาจอ้างได้ว่าพวกเขาฟังเสียงประชาชน

ทักษิณทำให้เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไปสู่ globalization ทำให้อุดมการณ์ ‘ธรรมราชา’ อ่อนพลังไหม

ผมเห็นว่าสิ่งที่คนชั้นนำจำนวนหนึ่งใช้ในการโจมตีทักษิณก็คือ ทักษิณทำให้ชาวบ้านระดับรากหญ้าเป็นพ่อค้า คือความเป็นพ่อค้าหรือความเป็นสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่เป็นสิ่งที่คนชั้นนำทั้งหมดรู้ว่า มันไปด้วยกันไม่ได้กับอุดมคติเรื่องธรรมราชา เรื่องผู้ปกครองที่ดีมีศีลธรรม โลกของพ่อค้าโลกของคนที่ทำมาหากินในระบบตลาดมันเป็นโลกคนละแบบกับโลกของสังคมชาวนา

 
อุดมการณ์แบบธรรมราชา อุดมการณ์แบบผู้นำดีมีศีลธรรม มันอยู่ได้แต่สังคมชาวนา ประเด็นสำคัญก็คือว่า ความเป็นอุดมการณ์ธรรมราชาในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง เป็นสังคมเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ เป็น globalization มากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดอุดมการณ์แบบธรรมราชาจะไม่มีพลัง มันจะอยู่ไม่ได้ แล้วอันนี้คือคนที่อยู่ในระบบแบบนี้จะกลัวที่สุด เพราะเขาไม่มีฐานอื่น แล้วเขาไม่สามารถเห็นภาพตัวเองไปเป็นคนที่เชี่ยวชาญเรื่องการค้า เป็นเถ้าแก่ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งได้ ธรรมราชามันเป็นบทบาทที่จำกัดคนไว้เยอะ คุณต้องมีศีลธรรม คุณต้องเป็นคนดี คุณต้องไม่โลภ ต่อให้ในความเป็นจริงแล้วคุณจะมีธุรกิจมีพอร์ตการลงทุนไม่ต่างจากนายทุนทั่วไปก็ตาม

 
อุดมการณ์แบบธรรมราชาไม่มีอาวุธอื่น ไม่สามารถยึดอำนาจรัฐได้ ไม่สามารถตั้งรัฐบาลของตัวเองได้ สิ่งที่มีคืออาวุธทางอุดมการณ์ และเราก็จะเห็นว่าในช่วงหลัง 6 ตุลา ก็จะเห็นการเล่นเกมทางอุดมการณ์มาโดยตลอด เล่นเกมเรื่องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เล่นเกมเรื่องคอมมิวนิสต์ เล่นเกมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เล่นเกมเรื่องธรรมราชา ทั้งหมดนี้คือเกมเดียวกัน

ความขัดแย้งของปัญญาชนจากการรัฐประหาร 2549 เป็นผลผลิตของขบวนการฝ่ายนิยมสถาบันกษัตริย์ที่ทำมาตลอด 30 ปี

ผมคิดว่ารัฐประหารครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในกลุ่มปัญญาชนอย่างเห็นได้ชัด ว่าปัญญาชนฝ่ายหนึ่งต้องการให้เกิดการรัฐประหารและสนับสนุนให้เกิดการรัฐประหาร ขณะที่ปัญญาชนอีกฝ่ายหนึ่งต่อต้านการรัฐประหารและไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารหรือการเรียกร้องเรื่องพระราชอำนาจมาตั้งแต่ต้น

 
ปรากฏการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาเลยในการเมืองไทยในรอบ 50 ปี หลังจากที่สฤษดิ์ยึดอำนาจ ความขัดแย้งในหมู่ปัญญาชนอย่างกว้างขวางแบบนี้เกิดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อมีปัญหาระหว่างจอมพล ป. กับจอมพลสฤษดิ์ ในช่วง 2500 และปัญญาชนแตกคอกันว่า จะสนับสนุนจอมพล ป. หรือสนับสนุนสฤษดิ์ให้ยึดอำนาจ แต่หลังจากนั้นผมคิดว่าปัญญาชนในสังคมไทยมีความเป็นเอกภาพในทางการเมือง 1 ข้อ ก็คือต่อต้านเผด็จการอำนาจนิยม ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร คัดค้านการที่ทหารเข้ามาแทรกแซงการเมือง

 
ในกรณี 6 ตุลาคม เราก็เห็นภาพที่ชัดเจนว่าปัญญาชนทั้งหมดมีเอกภาพทางความคิดว่าไม่เห็นด้วยกับเผด็จการทหาร ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง และพูดอย่างตรงไปตรงมา ก็คือไม่เห็นด้วยกับการที่สถาบันเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองอย่างเปิดเผย

 
แต่ในปี 2549 อันเป็นปีที่ครบรอบ 30 ปี 6 ตุลา ได้เกิดความขัดแย้งทางความคิดในหมู่ปัญญาชนอย่างรุนแรง กว้างขวาง และนำไปสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในระดับที่ลึกซึ้งอย่างไม่เคยมีมาก่อน และผมคิดว่าความขัดแย้งนี้เป็นผลจากการต่อสู้ในปริมณฑลของปัญญาชนฝ่ายนิยมเจ้าทำในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา

 
ในเชิงประวัติศาสตร์ความคิดแล้ว เราปฏิเสธไม่ได้ว่าคนอย่างหมอประเวศวะสี และนักวิชาการหลายๆ คนที่เกี่ยวข้องกับหมอประเวศทั้งทางตรงและทางอ้อม มีผลสำคัญมากในการสร้างอุดมการณ์แบบนี้ นั่นก็คืออุดมการณ์ที่บอกว่าปัญหาทางการเมืองในสังคมไทย คือการขาดผู้นำที่มีศีลธรรมแบบธรรมราชา อุดมการณ์แบบนี้ทำให้ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเติบโตไม่ได้ ทำให้พรรคการเมืองเติบโตไม่ได้ และไม่มีวันที่สถาบันที่มาจากการเลือกตั้งจะได้รับความยอมรับว่ามีความชอบธรรมสูงสุดในสังคม

 
ถ้าเราพิจารณาต่อไปอีกนิด เราก็จะเห็นว่าปัญญาชนจำนวนมากที่เข้าไปสนับสนุนการรัฐประหารในทางอ้อมเป็นคนซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน คนอย่างคุณโสภณ สุภาพงษ์ คนเหล่านี้มีกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และในที่สุดแล้วคนเหล่านี้ก็คือคนที่มีบทบาททางความคิดให้การรัฐประหารครั้งนี้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ทำให้ข้ออ้างต่างๆ ของคณะทหารกลายเป็นเรื่องที่ชอบธรรมและมีเหตุมีผล ทำให้การยึดอำนาจเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ หรือกระทั่งทำให้การคัดค้านการรัฐประหารเป็นเรื่องที่ไม่มีความจำเป็น ทั้งๆ ที่คณะรัฐประหารชุดนี้ได้อ้างเหตุผลหลายข้อที่ตั้งคำถามได้ทั้งนั้น แต่ปัญญาชนจำนวนไม่น้อยก็ทำให้เรื่องที่ไม่มีเหตุมีผลนี้ฟังดูดีและยอมรับได้ขึ้นมา

 
อย่างเช่นเรื่องหนึ่ง คือเรื่องการแตกความสามัคคีของคนในชาติ ในสังคมประชาธิปไตยทั้งหมด ไม่มีสังคมไหนบอกว่าการแตกความสามัคคีเป็นปัญหาทางการเมือง ไม่มี ความสามัคคีเป็นปัญหาทางการเมืองก็ต่อเมื่อเรามองการเมืองจากกรอบของความมั่นคง มองการเมืองจากการเอารัฐและผู้มีอำนาจเป็นศูนย์กลาง นั่นต่างหากที่ทำให้ความสามัคคีเป็นประเด็นทางการเมืองที่สำคัญ

 
ถ้ามองจากมุมประชาธิปไตยแล้ว การแตกความสามัคคีไม่ใช่ปัญหา นอกจากนั้นแล้วเราอาจจะตั้งคำถามต่อไปได้ด้วยซ้ำว่า การสร้างระบบการเมืองที่ปิดปากคนที่ชอบทักษิณ 16 ล้านเสียง มันคือการแตกความสามัคคีทางการเมืองมากขึ้นไปอีกหรือเปล่า และผมคิดว่านี่คือบทบาทที่ปัญญาชน คือการทำให้เหตุผลของการรัฐประหารนั้นมีความชอบธรรมขึ้นมา ทั้งที่จริงๆแล้วมันไม่มีความชอบธรรม

 



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: tiger ที่ 09-10-2006, 13:18
อยากบอกคำตอบเหมือนกัน แต่โพสท์ไม่ได้...อันตรายต่อเว็บบอร์ด

เอาไว้ให้สังคมใจเย็น ๆ ลงกว่านี้ แล้วค่อยนั่งลงวิเคราะห์สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้...

บางเรื่องต้องปล่อยให้เวลาและข้อมูลค่อย ๆ ปล่อยออกมา...แล้วสังคมจะเข้าใจเอง

ที่นำมาโพสทเป็นกระทู้น่ะ์มันก็แค่ความคิดเห็นของคน ๆ หนึ่ง...ที่ยังตกผลึกกับเรื่องสังคมไทยไม่พอด้วยซ้ำ

ผมเชื่อว่า  คุณกระป๋องให้คำตอบได้  ฮ่า   ฮ่า    ฮ่า   บอกตรงๆ   ผมอยากได้ความเห็นแย้ง

กว่าสังคมจะเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น   พวกเราก็ต้องแตกแยกมากกว่านี้แน่นอน   เป็นเรื่องเศร้านะครับ

แต่ก็เข้าใจคุณกระป๋อง   ภายใต้กฎอัยการศึก   จะพูดจะอธิบายอะไร   มันก็ลำบาก

ผลกระทบ  อาจจะถึงตัวเอง   ถึงเพื่อนๆได้

มาช่วยกันเรียกร้องให้ยกเลิกกฏอัยการศึกเถิดครับ   เพื่อความเข้าใจและความสมามฉันท์ของพวกเรา  คนไทยทุกๆคน


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-10-2006, 13:22
* สุดท้ายแล้วค่ะ *

..............................

ฝ่ายขวา พ.ศ. 2549 พูดจาละมุนละม่อม ทำงานกับประชาชน เข้าใจเอ็นจีโอและเสนอแนวคิดสมานฉันท์

ความเป็นฝ่ายขวาไม่จำเป็นต้องอยู่ในเครื่องแบบสีเขียวอีกต่อไปแล้ว

ความแตกต่างระหว่างการรัฐประหารครั้งนี้กับการรัฐประหาร 6 ตุลาก็คือ พลเรือนที่มีบทบาทในการรัฐประหารช่วง 6 ตุลานั้น มีภาพว่าเป็นพลเรือนที่เลว เป็นพลเรือนแนวอำนาจนิยม เป็นพลเรือนที่เห็นหน้าก็รู้แล้วว่า นี่ต้องเป็นพลเรือนที่เลวแน่ๆ พูดจาแบบคนหลงยุค เป็นฝ่ายขวาแบบสถุลรส (Bad taste) ขณะที่ในการรัฐประหารปี 2549 เราได้พบกับเกิดฝ่ายขวาแบบใหม่ที่ไม่ได้มีหน้าตาแบบเดียวกับฝ่ายขวาสมัย 6 ตุลา แต่เป็นฝ่ายขวาที่พูดจาด้วยภาษาที่นิ่มนวล พูดจาด้วยภาษาแบบประชานิยม ใช้วาทกรรมแบบประชาธิปไตย วาทกรรมว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ การปกครองโดยหลักรัฐธรรมนูญ

 
และนี่คือประเด็นที่ผมคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในปี 2549 นั่นก็คือ ความเป็นฝ่ายขวาไม่จำเป็นต้องอยู่ในเครื่องแบบสีเขียว ไม่จำเป็นต้องอยู่บุคลิกที่บ้าอำนาจและมุทะลุดุดัน ฝ่ายขวาเป็นพลเรือนได้ พูดจานิ่มนวลและสุภาพอ่อนน้อมได้ แต่หลักใหญ่ทางการเมืองแล้วเหมือนกัน นั่นคือไม่เชื่อมั่นในประชาธิปไตยรัฐสภา ไม่ปฏิเสธการรัฐประหาร รวมทั้งไม่เชื่อว่าจะแก้ปัญหาทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาได้ด้วยวิถีทางของรัฐสภาและหลักนิติธรรม

 
ฝ่ายขวาแบบนี้เกิดขึ้นและแสดงตัวเองอย่างเต็มที่ในรัฐประหารที่เกิดขึ้น ณ 30 ปี หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม เหตุผลคือชนชั้นนำในสังคมไทยมีประสบการณ์แล้วว่าพลังฝ่ายขวาแบบ Bad taste ของคุณทมยันตี, คุณธานินทร์, หรือคุณสมัคร ไม่สามารถจะปกครองคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยได้ รัฐบาลของคุณธานินทร์ในช่วงหลัง 6 ตุลา เป็นรัฐบาลที่เกิดขึ้นจากพลังอนุรักษ์นิยมในระดับที่รุนแรงที่สุดในสังคมไทย เป็นรัฐบาลที่นักวิชาการฝรั่งบางคนถือว่า เป็นรัฐบาลในพระราชอำนาจอย่างเต็มที่ แต่รัฐบาลชุดนี้ปกครองสังคมไทยไม่ได้ ถูกต่อต้านแม้กระทั่งจากฝ่ายขวาด้วยกัน กลายเป็นฝันร้ายของชนชั้นปกครองในเวลานั้นทั้งหมด

 
ในสภาพสังคมที่ซับซ้อนอย่างทุกวันนี้ ผมคิดว่าพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยมของไทยเข้าใจว่าเขาไม่สามารถปกครองคนโดยใช้พละกำลังและวิธีการที่รุนแรงเพียงอย่างเดียวได้ เขามีบทเรียนว่าแม้การยึดอำนาจจะจำเป็น แต่ในการปกครองประชาชนหลังจากนั้น สิ่งที่จำเป็นกว่าก็คือการมีฝ่ายขวาที่ละมุนละม่อม ทำงานกับประชาชน เข้าใจเอ็นจีโอ พูดจาเรื่องความสมานฉันท์ของคนในชาติ ผลิตวาทกรรมเรื่องความรักความสามัคคี ปิดปากปิดเสียงของคนที่ตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในการยึดอำนาจ

 
ความสมานฉันท์ใน พ.ศ.นี้ ไม่ต่างจากคำว่าว่า ‘ความเป็นเอกภาพในชาติ’ ในปี 2519 หรือ ‘ความสงบเรียบร้อย’ ในปี 2534 นั่นก็คือมันเป็นคำขวัญทางการเมืองที่ล้างสมองให้คนยอมรับอำนาจแบบที่เป็นอยู่ไปตลอดเวลา

การเกิดรัฐประหารครั้งนี้พาสังคมไทยย้อนกลับไปถึงไหน 2475 เลยไหม

การเกิดรัฐประหารครั้งนี้ ถ้าถามว่าถอยหลังกลับไปไกลไหม ผมคิดว่าเราถอยหลังกลับไปก่อน พ.ศ.2475 เพราะว่าหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ไม่เคยมีครั้งไหนที่องคมนตรีแสดงบทบาททางการเมืองอย่างครั้งนี้

แน่นอนว่าเราปฏิเสธไม่ได้ว่าองคมนตรีสำคัญกับสังคมไทย เราปฏิเสธไม่ได้ว่าใครจะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องฟังเสียงจากสถาบันอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือการเลือกตั้งด้วย แต่การแสดงบทบาททางการเมืองอย่างเปิดเผยในช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน รวมทั้งหลังจากนั้น เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา ซึ่งถ้ามองในแง่นี้ก็เท่ากับว่าการเมืองไทยกำลังเดินย้อนหลังไปไกลหลายสิบปี

ถ้ามองรัฐประหารครั้งนี้ในเรื่องของหลักนิติรัฐ หลักการปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่หลักการปกครองโดยอำเภอใจของคนที่มีอำนาจ รัฐประหารครั้งนี้ก็ทำให้หลักการปกครองแบบนิติรัฐถูกทำลายลงไป เพราะในทันทีที่ยึดอำนาจสำเร็จ คณะรัฐประหารก็ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับที่มาจากประชาชน ยกเลิกกฎหมายหลายฉบับ ยกเลิกองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญโดยอำเภอใจ จากนั้นก็ประกาศให้หัวหน้าคณะรัฐประหารสามารถออกกฎหมายได้เทียบเท่ากับรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี อนุมัติงบประมาณประจำปีโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา ประกาศร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชนไม่มีส่วนรู้เห็น ฯลฯ

 
แน่นอนว่าชัยชนะในการรัฐประหารทำให้คณะทหารมีอำนาจ แต่พัฒนาการทางการเมืองในสังคมไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้สร้างประเพณีการปกครองแบบใหม่ที่ปฏิเสธการปกครองโดยอำเภอใจในลักษณะนี้ การรัฐประหารครั้งนี้ล้มล้างประเพณีการเมืองการปกครองที่ต่อเนื่องเป็นเวลาพอสมควร หันไปรื้อฟื้นหลักการปกครองแบบที่จอมพลสฤษดิ์เคยใช้ นั่นก็คือคำสั่งของรัฎฐาธิปัตย์คือกฎหมาย ใครที่มีอำนาจย่อมสามารถออกกฎหมายได้โดยชอบ ต่อให้การออกกฎหมายนั้นจะไม่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติหรือการรู้เห็นของประชาชนเลยก็ตามที

คิดในแง่หลักนิติรัฐ รัฐประหารครั้งนี้ทำให้การปกครองโดยหลักนิติรัฐของไทยถอยหลังไปราว 50 ปี

ถ้ามองรัฐประหารครั้งนี้ในแง่ของการต่อสู้ทางอุดมการณ์ การอาศัยอุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยมเป็นข้ออ้างในการทำลายประชาธิปไตย ฉีกรัฐธรรมนูญ ยึดอำนาจ ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ยุบเลิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา รวมทั้งประกาศใช้กฎอัยการศึกไปอย่างไม่มีกหนด ทำลายสถาบันการเมืองในระบบรัฐสภาทั้งหมดโดยอำนาจทหารที่อ้างอิงกับอุดมการณ์หลักของชาติ รัฐประหารครั้งนี้ก็ทำให้การเมืองถอยหลังไปสู่สภาพที่เคยเกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยมทั้งหมดอ้างอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไปล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูญ สถาปนาการปกครองโดยทหาร

 
คิดในแง่อุดมการณ์แบบนี้ รัฐประหารครั้งนี้การเมืองไทยถอยหลังไปราว 30 ปี

 
0 0 0

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
สัมภาษณ์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (1) : การเคลื่อนไหว 2549 ‘รัฐประหารของคนชั้นกลาง’ 

สัมภาษณ์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (ตอนที่ 2) : การเมืองไทยในอนาคตอันใกล้

............................................................

* เอามาโพสต์ให้ค่ะ... ดิฉัน  ยังอ่านไม่จบหรอก

   ขอเวลาอ่านสักครู่......... เชิญ เสวนา กันได้ค่ะ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 13:40
ความเห็นแย้งจากคำสัมภาษณ์ที่เป็นตัวกระทู้ บอกได้คำเดียว

ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ได้มองความผิดของทักษิณ แม้แต่น้อย

ได้แต่วิเคราะห์สาเหตุแห่งการโค่นล้มโดยกำลังทหาร ซึ่งจริง ๆ มันเป็นผลพวงมาจากการทำตัวของระบอบทักษิณเอง

ที่สำคัญประเด็นการก้าวก่ายการเลื่อนลดปลดย้ายในกองทัพ ระบอบทักษิณขยายวงเข้าไปสร้างอาณาจักรของตนเองตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา

สิ่งเลวร้ายที่ทักษิณทำกับประเทศชาติ ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่กล่าวถึงแม้แต่น้อย

พูดเหมือนกับว่า ปัญญาชน - คนชั้นกลาง ชักจูงกันได้ง่าย ๆ ไร้สมอง...แบบนั้นใช่มั๊ยครับ

ผมคิดว่าไม่ใช่ เหตุเนื่องมากจากกระบวนการตรวจสอบโดย สว. โดย สส. โดยสื่อสารมวลชน กระทำมาโดยตลอด 5-6 ปี

แม้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจก็กระทำมาแล้ว ขนาดที่ประชาชนทั้งประเทศ เชื่อว่า มีการคอรัปชั่นในกรณี CTX

แต่ระบบรัฐสภา ก็ไม่สามารถเอาคนผิดมาลงโทษได้

องค์กรตรวจสอบถูกแทรกแซง ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญ สตง. ปปช. ทุกอย่างเดี้ยงไปหมด

สว.- สส. นักกฎหมายฝ่ายรัฐบาล ใช้เล่ห์เหลี่ยมของรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องรัฐบาลของตนเองอย่างน่าเกลียด ไร้ซึ่งความละอาย

ปัญหาเหล่านี้ต่างหาก ที่เป็นตัวบ่อนเซาะให้ปัญญาชน คนชั้นกลางเค้าไม่ยอมรับ

ทำไมเมื่อมีการขายหุ้นชินคอร์ป จึงถูกสังคมประนามอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน...

ทำไมไม่มองการประมูลโครงการต่าง ๆ ตลอดจนการออกกฎหมายเอาเปรียบประเทศชาติเพียงเพื่อให้บริษัทของตนเองได้รับผลประโยชน์

ความชั่วช้าเลวทรามเช่นนี้ ผ่านหูผ่านตา พวกอาจารย์ผู้หลงผิดเหล่านี้ไปได้อย่างไร

ส่วนการวิเคราะ์ืเรื่อง 6 ตุลา 19 กับ 19 กันยา 49 ผมมองว่าก็แค่เทียบเคียงเหตุการณ์ขึ้นมาให้ดูคล้าย ๆ กัน

โดยเนื้อหาจริง ๆ ไม่ใช่เช่นนั้นหรอก...ทักษิณไปบุกกองทัพเค้าก่อน ก็โดนเค้าตอบโต้...ง่าย ๆ ครับ

ไปวิเคราะห์อะไรให้มันยุ่งยาก...หรือไม่ยอมรับว่าทักษิณอุ้มชูญาติพี่น้องในแวดวงราชการ ไม่อุ้มชูนายทหารร่วมรุ่น นายตำรวจร่วมรุ่น

จนกระทั่งนายทหารรุ่นพี่ นายตำรวจรุ่นพี่ไม่พอใจ

การบริหารเรื่องปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำไปแบบไร้ความรับผิดชอบ ความขัดแย้งในเรื่องนั้นมันยิ่งใหญ่ตั้งแต่ไปยุบ ศอบต. ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจบริหารในถิ่นนั้น

ทำไมไม่ยอมรับว่า ตัวระบอบทักษิณเองนั้นแหละบ่อนเซาะตัวเองลง แต่ก็ยังหน้าหนาหน้าด้าน บริหารประเทศไปอย่างไม่อายประชาชน

ผมมองว่า เพราะการบริหารของนายทักษิณ มันไร้คุณธรรม ไม่มีจริยธรรม คอรับชั่นเต็มเมืองต่างหาก ถึงถูกโค่นลงอย่างง่ายดาย

ส่วนเรื่องสถาบันนั่น ผมมองว่าเป็นผลข้างเคียงมากกว่า...ไม่ใช่สาระสำคัญที่ปัญญาชน คนชั้นกลางเค้าสนใจมากมายเท่าใด

แต่การโค่นล้มระบอบทักษิณลงได้ เค้าพอใจตรงนี้ ไม่ได้สนใจหรอกว่าจะโค่นลงด้วยปฏิวัติรัฐประหารหรือวิธีการอื่นใด

เพราะทนต่อความหน้าด้านของรัฐบาลทักษิณต่อไปไม่ไหว...เท่านั้นเอง


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 13:45
ส่วนประเด็นฝ่ายขวาอะไรนั่น ผมว่าหมอนี่ประสาทกลับ

ผมเดินอยู่หลังเวที เจอแต่สหายเต็มไปหมด ทั้งนักร้องดนตรีเพื่อชีวิต ทั้งสหายนักรบ ทั้งสหายฝ่ายปัญญาชน

ในกลุ่มแกนนำพันธมิตรก็ฝ่ายซ้ายกินไปกว่าครึ่ง ตอนเสนอ ม.7 ก็ทะเลาะกันเกือบตาย "ขวาบ้าอะไรครับ"

คนให้สัมภาษณ์มอง "ซ้าย-ขวา" ด้วยเครื่องมืออะไร

ใน 101 องค์กรพันธมิตร ผมเห็นแต่ NGO เต็มไปหมด แถมฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ ฝ่ายรัฐวิสาหกิจ สมัชชาคนจนก็มาในภายหลัง

มันเป็น "ฝ่ายขวา" มาตั้งแต่เมื่อไหร่ ใครกำหนด ซ้าย-ขวา

วิเคราะห์แบบทะลึ่งมากกว่าครับ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 09-10-2006, 13:56
ขอสอดซักนิดแล้วกันนะครับ

ถ้าผมเขียนบทความยาวๆ จะมีคนเชื่อผมทันทีเลยหรือเปล่าครับ

อยากให้ทุกคนลองคิดดูดีๆ ว่าคนเค้าเชื่อเพราะบทความยาวๆ หรือเชื่อเพราะอะไร

ไม่มีอะไรครับ อยากแทรกเฉยๆ  ขอโทษ จขกท ด้วยแล้วกัน

 :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-10-2006, 14:04
ขอบคุณ คุณ คำตัดพ้อของใบไม้ ค่ะ

ดีใจที่มีคนเข้าใจ

 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-10-2006, 14:06
 *  ตรงนี้ขอตอบคุณ .. สโนว์... ในฐานะเพื่อนคนหนึ่งเนาะ

   อยากคิด ... อยากพูด .... อยากเขียนอะไรก็พูดไปเลย

   ไม่มีใครที่คิดต่างแล้วเป็นพลเมืองชั้นสอง .... ของที่นี่

   เพราะมันเป็นความคิดเรา........ ถูกผิดเรื่องหนึ่ง ( เพราะ..ไม่มีใครถูกทุกเรื่องและทุกอย่าง )

   ถ้ามันไม่ใช่ .. หรือมีคนคิดต่าง ......... ก็จะมีคนมาแย้งเอง

   ขอแค่.. เปิดใจรับฟังกันทั้งคนพูดและคนแย้ง
   
   อย่า....... ตั้งธงกันไว้คนละขั้ว..คนละสี ในใจ ไว้แต่แรก

................................................

* โอเค... เอ้ อ่านบทความแล้ว ... จะขอแสดงความคิดเห็นบ้างนะ

   เอ้ .. ไม่เห้นด้วยกะเนื้อหาของบทความ.. ตรงท่อนที่ว่า
   
 " ความเป็นคนดีมีศีลธรรมเป็นเรื่องไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาอะไรได้..  มันเป็นแค่อุดมคติที่เกิดขึ้นในโลกที่เป็นสังคมชาวนา "

  เพราะมองว่า...คนดี ...จะมีสันดานชั่วใจน้อยกว่าพวกนายทุน.. ขี้โกง
   
   ถ้าจะมองว่า.. คนดีเป็นแค่เรื่อง อุดมคติ ... แสดงว่าผู้ให้สัมภาษณ์มองเรื่องนี้แค่ผิวเผิน

   คำว่า ดี ... เป็นมาตราฐานในใจของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน

   ถ้าคำว่าคนดี.. ถ้าคำว่า ศีลธรรม มันยังมีอยู่..และมีอิทธิพลในใจมากพอของนักการเมืองทุกประเภท

   บ้านเมืองคงไม่วุ่นวายแบบนี้...

   ถ้าคนให้สัมภาษณ์จะมามองว่า  ...คิดในแง่อุดมการณ์แบบนี้ รัฐประหารครั้งนี้การเมืองไทยถอยหลังไปราว 30 ปี
   
   เอ้ ... ก็จะบอกว่า.. เก็บ ทษฏี และตำราบางเล่มของคุณเข้าลิ้นชักเหอะ

   อย่าท่องแต่ตำรานักเลย........................หันมามองเรื่องจริงในชีวิตกันบ้าง .........  เซ็ง ค่ะ !!   


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-10-2006, 14:09
เรียน คุณ คนในวงการ

ดิฉันไม่มีความสามารถยิ่งใหญ่อย่างพวกคุณ
“ยังตกผลึกกับเรื่องสังคมไทยไม่พอ” จึงมิบังอาจค่ะ

ดิฉันเชื่อว่าในสังคมประชาธิปไตย
ทุกคนมีสิทธิได้รับข้อมูลหลากหลาย
ความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่าง
จากนั้นจึงใช้วิจารณญานในการตัดสินใจด้วยตัวเอง
มิใช่รับและเชื่อเฉพาะ สิ่งที่ผู้อื่นเลือกมาให้ แล้วบอกว่าดี

ดังนั้นขอต่อต้านผู้ที่คิดจะปิดกั้น
การรับข่าวสาร การเรียนรู้ที่จะคิดพิจารณา
การใช้วิจารณญานของผู้อื่น
ไม่ว่าด้วยข้ออ้าง หวังดี ฉลาดกว่า หรืออะไร

ขอบคุณสำหรับ “ความเป็นห่วงเป็นใย และปรารถนาดี”


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 09-10-2006, 14:12
เป็นบทสัมภาษณ์ ที่ถอนหงอก นักวิชาการหน้าโง่ในประเทศนี้หลายต่อหลายคน

ทุกวันนี้มันเหล่านั้นคง ส่องกระจกดูเงาหัวตัวเอง ว่าที่แท้มันคือสัตว์การเมืองชนิดใด

ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะสวมหน้ากากอย่างไรดี

ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีกับชีวิตโสโครกที่เหลืออยู่ของพวกมัน


พวกมันอาจอ้างแก้ตัวกันในวงเหล้าของเหล่านักวิชากามชั่ว ว่าแค่มันส์ปากสนุก

อินไปกับบทบาทในสถานการณ์นั้นๆ ไม่คิดว่าสติปัญญาระดับพวกมัน

จะถูกสนตะพายให้หลงเข้าไปในวังวน การแย่งชิงอำนาจระหว่างสองขั้วความคิด

ที่ต่อสู้กันมาหลายสิบปี ปลุกผี อนุรักษ์นิยมให้คืนชีพ กลับมาแข็งแกร่งอีกรอบ


ส่วนนักวิชากาม หัวหงอกหัวดำ ในเวบบอร์ดแห่งนี้

ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าพยายามหาเหตุผลมาลบล้าง

ความงี่เง่าของตัวเอง กลบเกลื่อนความผิดพลาด

ชี้หน้าด่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตน ว่าเป็นตัวประหลาด ...

อวดภูมิธรรมทางการเมืองอันแสนจะกระจอกไร้เดียงสา ว่าสูงส่งเสียเต็มประดา

ก็ในเมื่อเบสิค ประชาธิปไตย มันยัง งุนงง สับสนเลย

อย่าได้กระแดะดัดจริตไปชี้หน้าด่าใครต่อใครจะดีกว่า


ผมเคยตั้งกระทู้ถามหลายครั้งแล้วใช่หรือไม่

ว่าซักวัน คุณต้องเลือกข้าง....วันนี้คุณได้เลือกแล้ว...





สำหรับผมแล้ว คำตอบนี้ของคุณ Killer ก็เป็นเพียงการสำเร็จความใคร่ผ่านคีย์บอร์ด เพราะพฤติกรรมของคุณ Killer ก็ไม่ได้แตกต่างจากที่คุณ Killer ได้ประณามคนอื่นสักเท่าไหร่ ผมอดคิดไม่ได้ว่ามาตรฐานของคุณ Killer ตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย คุณค่าของนักรบของคุณ Killer หายไปใหนหมดครับ?


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-10-2006, 14:12
ขอบคุณ คุณ see_you ที่กรุณานำข้อความมา post ให้

ไม่กลัวเพื่อนสมาชิกเข้าใจไปว่า “เห็นดีเห็นงามไปกับบทความทั้งหมด”
แล้วถือเป็นภารกิจต้องมาทำให้ “อ่วมอรทัย” หรือคะ?

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 09-10-2006, 14:17
เรียน คุณ คนในวงการ

ดิฉันไม่มีความสามารถยิ่งใหญ่อย่างพวกคุณ
“ยังตกผลึกกับเรื่องสังคมไทยไม่พอ” จึงมิบังอาจค่ะ


ไม่กลัวเพื่อนสมาชิกเข้าใจไปว่า “เห็นดีเห็นงามไปกับบทความทั้งหมด”
แล้วถือเป็นภารกิจต้องมาทำให้ “อ่วมอรทัย” หรือคะ?



ตรงนี้ผมขอพูดตรง ๆ ด้วยความปรารถนาดีนะ ว่า เป็นความไม่น่ารักอย่างหนึ่งของคุณ snowflake ที่เอาคำตอบของคนนึงมาใส่ในคำตอบของอีกคนนึง ทำให้คนอ่านรู้สึกว่าคุณ snowflake เป็นคนช่างกระแนะกระแหน๋ (สะกดถูกปะ) คุณ snowflake เอาคำตอบคุณแคนมาใส่ในคำตอบผม เอาคำตอบผมไปใส่ในคำตอบของคุณซียู ซึ่งจริง ๆ แล้ว มันจะง่ายขึ้นกว่ามั้ยครับ ถ้าจะตอบโต้ผมตรง ๆ หรือตอบโต้คุณแคน ตรง ๆ ผมว่ามันน่าจะดีกว่านะครับ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-10-2006, 14:19
ขอบคุณ คุณ see_you ที่กรุณานำข้อความมา post ให้

ไม่กลัวเพื่อนสมาชิกเข้าใจไปว่า “เห็นดีเห็นงามไปกับบทความทั้งหมด”
แล้วถือเป็นภารกิจต้องมาทำให้ “อ่วมอรทัย” หรือคะ?

 :slime_fighto:


* อ่านที่ เอ้ เขียนใน คห. ที่ 25  อีกครั้งนะ โสนว์

   อ่านแล้ว............. จะแปลความหมายแบบไหนก็ได้เน้อ

   แต่.. เอ้ เคยพูดไปแล้วว่า.... การประชดประชันกัน

   ไม่ว่าจะเป็น จขกท.  หรือ คนตอบ................ ไม่ได้มีอะไรดีสักนิด


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 14:21
จะว่าไปแล้ว หากทหารไม่ทำการรัฐประหาร ฝ่ายพันธมิตรเค้าไม่่กลัวตายอยู่แล้ว...ยืนยันที่จะไปร่วมชุมนุมกันอยู่แล้ว

ถึงเวลานั้น ทรราชหน้าเหลี่ยม ก็จะหาเหตุเกณฑ์รากหญ้ามาปะทะ เพื่อเปิดโอกาสให้ประกาศภาวะฉุกเฉินอยู่ดี

ของแบบนี้ไม่มีใครกลัวใครอยู่แล้ว แต่พวกที่เจื้อยแจ้วอยู่บนหอคอยงาช้างอ้างประชาธิปไตย กล้าลงไปเดินถนนกับชาวบ้านเค้าหรือเปล่า

เท่านั้นเอง...หรือแค่อ้างแบบ อ.วรเจตน์ ทักษิณเลวยังไงก็รู้กันอยู่...ตอบได้แค่นี้เองหรือ

ทำไมไม่เอาพลังประชาธิปไตยในหัวใจอันสูงส่งออกมาขับไล่คนโกงบ้างละครับ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-10-2006, 14:27
เข้าใจถูกต้องแล้วค่ะ “ชอบกระแนะกระแหน ไม่น่ารักเลย”

ส่วนข้อกล่าวหาอื่นไม่รับเด็ดขาด ใครอย่าคิดมาใส่ร้ายป้ายสีให้ยาก

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 09-10-2006, 14:29
อ่า ... นะ ตอบได้น่าหยิกมาก ขอบอก


 :mrgreen:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกไทย หลานไทย ที่ 09-10-2006, 14:33
จะแบ่งกระทู้นี้ออกเป็น 2 กลุ่มดีไหม

กลุ่มแรก ไม่สนใจหัวกระทู้ ว่ากันตามบทความที่ทำ link ไป

กลุ่มสอง เกี่ยวกับเสรีไทย ว่า"การนำบทความเช่นนี้"(แปลว่าไม่ต้องสนใจเนื้อหาบทความ แต่สนใจคำถามบนหัวกระทู้) นั้นมันล่อแหลมเป็นอันตรายต่อเว็บบอร์ดหรือไม่

ตอนแรกผมเป็นกลุ่มสอง ตอนหลังผมเป็นกลุ่มแรก

แต่ผมไม่แน่ใจคุณเจ้าของกระทู้เสียแล้วว่าต้องการให้สื่อในแนวไหนตั้งแต่แรกครับ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 09-10-2006, 14:34
ผมจะบอกคุณ snowflake ให้อย่างหนึ่ง คุณจะเห็นว่าผมเป็นขยะ เข้ามาด่าไล่บี้คุณก็ตามใจ แล้วให้ทุกคนในนี้ตัดสินไปเลย

เรียน คุณ คนในวงการ

ดิฉันไม่มีความสามารถยิ่งใหญ่อย่างพวกคุณ
“ยังตกผลึกกับเรื่องสังคมไทยไม่พอ” จึงมิบังอาจค่ะ
มันก็เป็นสิทธิของคุณที่จะออกตัวอย่างนั้น แต่คนอื่นเขามีสิทธิมองได้ว่า คุณไม่มีความกล้าหาญอะไรเลย และถ้าทุกคนเอาแต่เอาบทความโน่นนี่มาโพสต์ลงในเว็บบอร์ด มีแต่ copy & paste เต็มไปหมด มันจะต่างอะไรกับเว็บ norsorpor.com

คุณคนในวงการและลุงแคน เขาเป็นผู้ใหญ่ เขากำลังสอนคุณ แต่คุณกลับใช้วิธี "ประชดประชัน" กลับไปว่า "ดิฉันไม่มีความสามารถยิ่งใหญ่อย่างพวกคุณ มิบังอาจ" คุณคนในวงการกับลุงแคนเขาโผงผางอย่างผมไม่ได้หรอก เพราะเขามีวัยวุฒิมากกว่า จะลงมาชกกับเด็กก็น่าเกลียด

เวลาที่ครูบาอาจารย์เรียกคุณตอบคำถาม คุณลองเอาคำพูดแบบนี้ "ดิฉันไม่มีความสามารถยิ่งใหญ่อย่างพวกคุณ ยังไม่ตกผลึก มิบังอาจ" ไปย้อนใส่อาจารย์คุณสิ ดูซิเพื่อนร่วมห้องจะคิดยังไงกับคุณ

ถามจริงเถอะ คนเราเรียนหนังสือไปสูงๆ ไปถึงเมืองนอกเมืองนาไปเพื่ออะไร ถ้าเรียนแล้วสื่อสารความคิดตัวเองออกมาไม่ได้



ดิฉันเชื่อว่าในสังคมประชาธิปไตย
ทุกคนมีสิทธิได้รับข้อมูลหลากหลาย
ความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่าง
จากนั้นจึงใช้วิจารณญานในการตัดสินใจด้วยตัวเอง
มิใช่รับและเชื่อเฉพาะ สิ่งที่ผู้อื่นเลือกมาให้ แล้วบอกว่าดี

ดังนั้นขอต่อต้านผู้ที่คิดจะปิดกั้น
การรับข่าวสาร การเรียนรู้ที่จะคิดพิจารณา
การใช้วิจารณญานของผู้อื่น
ไม่ว่าด้วยข้ออ้าง หวังดี ฉลาดกว่า หรืออะไร
ไม่ใช่รับและเชื่อเท่านั้น คุณมีสิทธิจะสะท้อนมันออกมา กลั่นกรอง คิด วิเคราะห์ และสะท้อนความคิดคุณออกมา และมันควรจะเป็นลักษณะของสังคมประชาธิปไตย คนเรามันต้องมีการตอบโต้กันสิ คุณกล้าที่จะโพสต์ แปลว่าคุณย่อมเห็นด้วยกับบทความนั้นถึงไม่ทั้งหมดก็บางส่วน คุณก็ต้อง "กล้า" ตอบคำถามที่เขาถามกลับได้ ไม่ใช่พอเขาถามกลับ คุณกลับไปหาว่าเขาปิดกั้นความเห็นคุณ ไอ้แบบนี้มันไม่แฟร์และเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ผมจึงเคยถามคุณน่ะว่า "คุณน่ะเข้าใจประชาธิปไตยแล้วหรือ"


[/size]

นอกจากนี้แล้วคุณแสดงจุดยืนอะไรออกไปเมื่อวันวาน ควรจดจำคำพูดตัวเองไว้ด้วย อย่าใช้วิธีวันหนึ่งพูดอย่าง อีกวันพูดอย่าง พอถูกทวงถามว่าเคยพูดอะไรไว้ และวันนี้ทำไม คุณไม่เพียงไม่แก้ข้อกล่าวหา ยังพยายามเลี่ยงตอบ โดยใช้วิธีประชด วิธีนี้เป็นวิธีของคนกลับกลอก แบบนี้ก็จงถูกด่าไปเรื่อยๆ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 09-10-2006, 14:46
เท่าที่ได้อ่าน "ความเห็น" ของคุณ snowflake มาสักพัก ไม่เกี่ยวกับบรรดาบทความที่คุณน้องเธอนำมาโพสต์นั้น เพราะที่นำมาโพสต์ก็เห็นมีแต่สมาชิกขบวนการ "คนหัวเหลี่ยม" ทั้งนั้น

คุณน้องเธอจัดเป็นพวกสำบัดสำนวน วันนี้พูดอย่าง พรุ่งนี้พูดอย่าง นิสัยชอบเอาชนะ พยายามโต้เถียง พยายามที่จะให้มีคนคล้อยตามคุณเธอเสียให้ได้ พอไม่ได้ ก็เริ่มเรียกร้องความสนใจต่าง ๆ นานา แต่ทึกทักหลงตัวเองไปว่า ที่ทำอยู่นั้นน่ะถูกต้อง มีเหตุผล คนที่เข้ามาวิพากย์วิจารณ์หรือตำหนิเธอ นั้น จะถูกเธอกระแนะกระแหน ประชดประชันใส่  :slime_evil:

ขอโทษเถอะ ผู้ใหญ่บางท่านจะเรียกผู้หญิงประเภทนี้ว่า "ฮวยไฮ้" อยากรู้คำตอบ ก็เชิญไปหาเอาเองนะคะ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 15:09
ประโยคกินใจ..."คนที่ตกผลึกทางสังคมไม่เพียงพอ"...ผมหมายถึงคนให้สัมภาษณ์...

หากจะให้มองคนที่แตกต่างจากอาการแบบนี้ ลองมอง ท่านอานันท์ หมอประเวศ อ.เสน่ห์ เป็นต้น

หรือไม่ใกลจากกลุ่มอาจารย์เหล่านี้ ลองมองไปที่อ.บรรเจิด...หรือ อธิการบดีธรรมศาสตร์ อ.ธีรภัทร์...ฯลฯ

ทำไมผู้คนเหล่านี้ รับได้กับปรากฎการณ์เช่นนี้ ไปดูชื่อ "ที่ปรึกษา คปค." ทั้ง 4 ชุดสิ มีใครบ้าง

ทำไมท่านเหล่านั้น แม้ไม่เห็นด้วย แต่ก็เข้าใจ และพร้อมที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง

ผมอยากจะบอกว่า "มันเป็นวุฒิภาวะทางสังคม"...วุฒิิภาวะทางความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง

และเป็นการตกผลึกทางความคิด ที่นึกถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติเป็นใหญ่

มากกว่าจะมานั่งชี้ว่า เฮ้ย นั่นมันผิดนะ...

คนขนเอาน้ำข้ามรั้ว วิ่งลัดสนามไปดับไฟที่กำลังไหม้บ้าน

พวกคุณบอกว่า เฮ้ย...ผิดนะ...ต้องไปเข้าตามตรอก ออกตามประตู...

แบบนี้ใช้ได้มั๊ยล่ะ...ตอนนี้เค้าดับไฟไปแล้ว ก็ไปสิ...ไปช่วยกันลงเสาเอกเสาโทกันใหม่

ไปช่วยกันซ่อมแซมบ้านช่องห้องหอ ไม่ใช่มานั่งติฉินนินทาไม่เข้าท่า

ใช้ความรู้ให้มันถูกทางหน่อยสิครับท่านผู้รู้ทั้งหลาย

โบราณว่า...

ช่างกลึงกิน(...)ช่างชัก ช่างสลักกิน(...)ช่างเขียน

ช่างติช่างเตียน ไม่ต้องกินอะไรเลย..ติแม่งลูกเดียว


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 09-10-2006, 15:27
ฮ่วย ชักทนไม่ไหวแล้วนะ

คุณสโนว์นี่ มีส่วนคล้ายล็อกอินลึกลับ TR ที่คุณเกลียดนักเกลียดหนาอยู่มากทีเดียว

คือ เป็นคนที่ชอบ "ตอบคน" และ "เล่นคน"

ไม่ใช่ "ตอบกระทู้" หรือ "เล่นกระทู้"

ต่างกับคุณคิลเลอร์ ที่หลาย ๆ คนเกลียดชัง

คิลเลอร์ น้อยมากที่จะ "เล่นคน" เขาเล่นประเด็นและตัวกระทู้เป็นหลัก

ปรับปรุงพฤติกรรมเสียใหม่นะครับ ถ้าไม่ปรับ ผมจะช่วยปรับให้  :slime_evil:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 09-10-2006, 15:31
ประเด็นที่สนธิหยิบมาใช้ต่อสู้ผมไม่เคยให้ความสนใจเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันเท่าไหร่

สนใจเรื่องระบอบทักษิณกับประชาชนโดยตรงมากกว่า

ถ้าไม่มีประเด็นสถาบันเลย ผมก็ยังไล่มันอยู่ดี



รัฐประหารครั้งนี้ไม่มีทางทำได้โดยทหารฝ่ายเดียว

ถ้าไม่ใช่ทักษิณ ประชาชนยุคนี้ไม่มีทางสนับสนุนทหารเด็ดขาด




หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 16:20
ประเด็นสถาบันนั่น ผมก็เคยตั้งกระทู้ ( ในราชดำเนิน ) ต่อว่าสนธิ ไม่ควรลากเบื้องสูงลงมาเล่น

แค่ประเด็นคอรัปชั่นและเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ มันก็เกินที่จะรับได้อยู่แล้ว

จะว่าไปผมคิดว่าผู้คนในสังคมโล่งใจ ที่มีคนมาปลดปล่อยทักษิณมากกว่าครับ

พี่น้องในครอบครัวก็ได้เลิกทะเลาะกันเสียที


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 09-10-2006, 16:25
ประเด็นดึงเบื้องสูง ผมไม่เห็นด้วยกับสนธิ แต่ผมเห็นด้วยกับสนธิ ที่ต่อสู้ในประเด็นสมเด็จพระสังฆราช ครับ


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 09-10-2006, 18:16
ศิโรตม์ ไม่ได้มองถึงทัศนคติและมุมมองของคนชั้นกลางกลุ่มใหญ่ที่เอียนและเบื่อหน่ายกับเรื่องทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องกับรัฐบาลชุดนี้เลย

อีกทั้งยังหลงลืมมิติของการตรวจสอบด้วย ว่าที่ผ่านมาทำได้หรือไม่ สื่อมวลชนแสดงออกได้ในระดับไหน กรณีของน้องเก๋ สุภิญญา เคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือไม่ ในรัฐบาลชุดอื่น

ส่วนหนึ่งที่ทหารได้รับการสนับสนุนในการรัฐประหารจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ต้องยอมรับว่าประชาชนมองไม่เห็นช่องทางและอำนาจใดที่จะต่อกรกับ Absolute Power ของทักษิณและพวกพ้องได้

นักวิชาการอยากจะเข้าใจอุบัติการณ์ อยากจะเข้าใจทักษิณ นักวิชาการเองก็ต้องคิดให้เหมือนทักษิณด้วย ต้องไม่ลืมว่าทักษิณเป็นคนที่ให้น้ำหนักกับเป้าหมายโดยไม่สนใจกระบวนการ ในขณะที่นักวิชาการชื่นชมกับกระบวนการโดยลืมคาดถึงเป้าหมาย การคิดแบบติดกับกรอบทำให้นักวิชาการไทยบางส่วน ขอย้ำ ว่าบางส่วน ยังไม่เข้าใจกระบวนการ Paradigm Shift ในปัจจุบัน

ความเชื่อมั่นในสถาบันของประชาชนไทย ไม่ได้จำกัดอยู่ที่แนวความคิดของคนนั้นว่าต้องเป็นขวาหรือซ้าย ความเชื่อมั่นของประชาชนไทยที่มีต่อสถาบันนั้นเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมายของกระบวนการ มาร์กซ์-เลนินหรือทัศนคติของการปฏิวัติฝรั่งเศษรวมทั้งการปฎิรูปจีน ซึ่งมีบริบทของสถาบันต่างกันโดยสิ้นเชิงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมา ตรงนี้ไม่ใช่สิ่งที่นักวิชาการจะใช้แค่เพียงการอ่านเอาจากตำราแต่ต้องทำความรู้ความเข้าใจกับประวิติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ด้วย



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 19:03
ผมค่อนข้างผิดหวังกับผู้ให้สัมภาษณ์ในบทความ ที่บอกว่า ระบบรัฐสภาหรือระบบเลือกตั้ง ไม่สามารถเอาเรื่องธรรมราชาหรือเรื่องจริยธรรมเข้าไปจับได้

ระบบเลือกตั้งไม่สามารถสร้างคนที่มีจริยธรรมได้ ประมาณนี้เท่าที่จับความจากบางช่วงบางตอน

แสดงว่าปฏิเสธโดยสิ้นเชิงสำหรับความซื่อสัตย์ ที่ประชาชนพึงเรียกร้องจากตัวผู้สมัครผู้แทนราษฎร

ถ้าเช่นนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์คิดว่าต้องการ"ผู้แทน" แบบใหนที่ควรจะเป็นหรือระบอบประชาธิปไตยอยากให้เป็น

สโลกแกน "เลือกคนดีไปเป็นผู้แทน" ก็ใช้ไม่ได้ใช่มั๊ย

คนที่มีภาพแห่งความซื่อสัตย์อย่างนายชวน ขายไม่ได้ใช่มั๊ย

ต้องพ่อค้าหรือพวกทุนนิยมเท่านั้นใช่หรือไม่

ที่จริงมีอีกหลายประเด็นที่อยากแย้ง เช่นเรื่องการเกิดของภาคประชาชน...ผมคิดว่า คนให้สัมภาษณ์ คับแคบมองไม่รอบด้าน

หากจะว่าไป ถ้ารัฐบาลไม่คอรัปชั่นหรือมีพฤติกรรมน่าสงสัย ตัวผู้นำภาคประชาชนต่าง ๆ จะสร้างความชอบธรรมให้ตนเองได้หรือไม่

จะสามารถสร้างวาทะกรรม หรือความชอบธรรมที่เรียกร้องให้มีการตรวจสอบได้หรือไม่

ทั้ง ๆ ที่ตัวทักษิณเอง เป็นคนตัดโอกาส "ภาคประชาชน" หาว่าเป็น "นายหน้าค้าความจน" ไปโน่น

ตัวนักวิชาการ ก็ถูกดูถูกเหยียดหยามว่าเป็นเด็กเกเร เด็กหลังห้อง ทั้ง ๆ ที่นักวิชาการเหล่านั้น ไปได้ดิบได้ดีอะไรกับการวิพากษ์ืวิจารณ์ืรัฐบาล

หรือการอ้าง ตรรกะ นักวิชาการกับชาวบ้าน ต่างมี 1 เสียงเท่ากันนั้น

ระบอบทักษิณ คิดได้แค่นี้จริง ๆ หรือ ทำไมไปเอาเรื่องสิทธิ์กับความรู้มาปะปนกัน

หรือตัวผู้ให้สัมภาษณ์เชื่อว่า รากหญ้าเข้าใจเรื่องสัมปทาน การขายหุ้น หรือการปั่นหุ้น

การเรียกร้องจริยธรรมจากผู้บริหารนั้น ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยมีสิทธิ์หรือไม่

ว่าง ๆ น่าจะลองอ่านจดหมายเปิดผนึกต่าง ๆ ในเว็บประชาไท ที่เค้ารวบรวมเอาไว้ จากทุกภาคส่วนของสังคมในช่วงทักษิณขายหุ้น

คุณศิโรตม์...คงดวงตามืดบอด หูคงจะหนวก หรือไม่ก็เอามือปิดหู ปิดตาตัวเองได้นานขนาดนั้นเชียวหรือ

ท้ายที่สุด ก็อยากจะถามคุณศิโรตม์ว่า...ผู้แทนแบบใหนที่คุณต้องการ...


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 09-10-2006, 19:05
การเกิดรัฐประหารในครั้งนี้ผมเห็นด้วยกับคุณ can

ส่วนที่คุณ see_you เอามาโพสให้อ่าน มันยาวอ่านยังไม่จบ   เท่าที่อ่านผ่านๆ ไม่เห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่  ที่ไม่เห็นด้วยที่สุดก็ตรงข้อความเรื่องศิลธรรม   และเห็นด้วยกับคุณ see_you ที่เขียนไว้  

------------
* โอเค... เอ้ อ่านบทความแล้ว ... จะขอแสดงความคิดเห็นบ้างนะ

   เอ้ .. ไม่เห้นด้วยกะเนื้อหาของบทความ.. ตรงท่อนที่ว่า
  
 " ความเป็นคนดีมีศีลธรรมเป็นเรื่องไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาอะไรได้..  มันเป็นแค่อุดมคติที่เกิดขึ้นในโลกที่เป็นสังคมชาวนา "

  เพราะมองว่า...คนดี ...จะมีสันดานชั่วใจน้อยกว่าพวกนายทุน.. ขี้โกง
  
   ถ้าจะมองว่า.. คนดีเป็นแค่เรื่อง อุดมคติ ... แสดงว่าผู้ให้สัมภาษณ์มองเรื่องนี้แค่ผิวเผิน

   คำว่า ดี ... เป็นมาตราฐานในใจของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน

   ถ้าคำว่าคนดี.. ถ้าคำว่า ศีลธรรม มันยังมีอยู่..และมีอิทธิพลในใจมากพอของนักการเมืองทุกประเภท

   บ้านเมืองคงไม่วุ่นวายแบบนี้...

   ถ้าคนให้สัมภาษณ์จะมามองว่า ...คิดในแง่อุดมการณ์แบบนี้ รัฐประหารครั้งนี้การเมืองไทยถอยหลังไปราว 30 ปี
  
   เอ้ ... ก็จะบอกว่า.. เก็บ ทษฏี และตำราบางเล่มของคุณเข้าลิ้นชักเหอะ

   อย่าท่องแต่ตำรานักเลย........................หันมามองเรื่องจริงในชีวิตกันบ้าง .........  เซ็ง ค่ะ !!    
------------------

ผมว่าเจ้าของบทความที่คุณ see_you นำมา  พยายามอธิบายการที่เกิดรัฐประหารในครั้งนี้ให้อยู่ในรูปแบบของทฤษฏี  มากกว่าที่จะมองในเรื่องการกระทำของตัวบุคคล ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริง

เห็นด้วยกับคุณ คนในวงการ เรื่องคุณ snowflake   และผมว่าการที่คุณ snowflake เอาความคิดเห็นของคนอื่นมาให้อ่านโดยที่คุณไม่ได้ คอมเม้นท์  ในส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อความว่าคุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย  คนอ่านก็ต้องคิดไปว่าคุณ snowflake เห็นด้วยกับบทความนั้นทั้งหมด  

การแสดงความเห็นของผมหรือคนอื่นๆที่มักชอบแย้งบทความของคุณ snowflake ก็ไม่ได้แสดงว่าเป็นพวกที่เห็นดีเห็นงามกับการทำรัฐประหารไปเสียทั้งหมด เอะอะก็ใช้กำลังใช้ความรุนแรง ในการแก้ปัญหาไปเสียทุกครั้ง    :slime_agreed:  








หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 19:24
ผมคิดว่าบางทีนักวิชาการเหล่านี้ น่าจะหาอ่าน "จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน" ของ ดร.ป๋วย ให้เข้าสมองซักนิด ก็ยังดี

บางทีอาจจะปรับทิศทางของสมองได้บ้าง ที่สำคัญ ควรรู้จักสัจธรรมของโลก ที่บอกว่า.."ผลเกิดจากเหตุ"...

ไม่ใช่วิเคราะห์ว่า เค้าทำรัฐประหารได้อย่างไร แค่หาคำตอบว่า..."ทำไมประชาชนสนับสนุนรัฐประหาร" ยังมองเพี้ยน ๆ ไปได้..มากขนาดนี้

ถ้าวิเคราะห์แบบมองสองด้าน...คงไม่ออกมาแบบนี้...ยิ่งไปเทียบกับ 6 ตุลา 19 นั่นมันคนละโลกเลยนะ

เอาอะไรมาเปรียบเทียบกัน....กระบวนการรัฐประหารเหรอ...นั่นเค้าฆ่ากันก่อน...แล้วถึงหาเหตุปฎิวัติรัฐประหาร

แต่ถ้าหากพ้นวันที่ 19 กันยายน 49 นั่นสิ อาจจะเกิดการล้อมปราบแบบ 6 ตุลา 19


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 09-10-2006, 20:13
คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน

เมื่อผมอยู่ในครรภ์ของแม่ ผมต้องการให้แม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์ และได้รับความเอาใจใส่ และบริการอันดีในเรื่องสวัสดิภาพของแม่และเด็ก ผมไม่ต้องการมีพี่น้องมากอย่างที่พ่อแม่ผมมีอยู่ และแม่จะต้องไม่มีลูกถี่นัก

พ่อกับแม่จะแต่งงานกันถูกฎหมาย หรือธรรมเนียมประเพณีหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่สำคัญที่ พ่อกับแม่ต้องอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข ทำความอบอุ่นให้ผมและพี่น้อง

ในระหว่าง 2-3 ขวบแรกของผม ซึ่งร่างกายและสมองผมกำลังเติบโตในระยะที่สำคัญ ผมต้องการให้แม่ผมกับตัวผม ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์

ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาวหรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรมแห่งชีวิต ถ้าผมสติปัญญาเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่ผมจะรวยหรือจน จะอยู่ในเมืองหรือชนบทแร้นแค้น

เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ผมต้องการงานอาชีพที่มีความหมาย ทำให้ได้รับความพอใจว่า ตนได้ทำงานเป็นประโยชน์แก่สังคม

บ้านเมืองที่ผมอาศัยอยู่จะต้องมีขื่อ มีแป ไม่มีการข่มขู่ กดขี่ หรือประทุษร้ายกัน ประเทศของผมควรจะมีความสัมพันธ์อันชอบธรรม และเป็นประโยชน์กับโลกภายนอก ผมจะได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความคิด และวิชาของมนุษย์ทั้งโลก และประเทศของผมจะได้มีโอกาส รับเงินทุนจากต่างประเทศ มาใช้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

ผมต้องการให้ชาติของผมได้ขายผลิตผลแก่ต่างประเทศด้วยราคาอันเป็นธรรม ในฐานะที่ผมเป็นชาวไร่ชาวนา ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควรสำหรับทำมาหากิน มีช่องทางได้กู้ยืมเงินมาขยายงาน มีโอกาสรู้วิธีการทำกินแบบใหม่ๆ มีตลาดดี และขายสินค้าได้ราคายุติธรรม

ในฐานะที่ผมเป็นกรรมกร ผมก็ควรจะมีหุ้นมีส่วนในโรงงาน บริษัท ห้างร้านที่ผมทำอยู่

ในฐานะที่ผมเป็นมนุษย์ ผมก็ต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ และหนังสืออื่นๆ ที่ไม่แพงนัก จะฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ก็ได้โดยไม่ต้องทนรบกวนจากการโฆษณามากนัก

ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรคแก่ผมฟรี กับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาลอย่างถูกอย่างดี เจ็บป่วยเมื่อใดหาหมอพยาบาลได้สะดวก

ผมจำเป็นต้องมีเวลาว่างสำหรับเพลิดเพลินกับครอบครัว มีสวนสาธารณะที่เขียวชะอุ่ม สามารถมีบทบาท และชมศิลปะ วรรณคดี นาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรมต่างๆ เที่ยวงานวัน งานลอยกระทง งานนักขัตฤกษ์ งานกุศลอะไรก็ได้พอสมควร

ผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ น้ำดื่มบริสุทธิ์สำหรับดื่ม

เรื่องอะไรที่ผมเองไม่ได้ หรือได้แต่ของไม่ดี ผมก็จะขอความร่วมมือกับเพื่อนฝูงในรูปสหกรณ์ หรือ สโมสร หรือสหภาพ จะได้ช่วยซึ่งกันและกัน

เรื่องที่ผมจะเรียกร้องข้างต้นนี้ ผมไม่เรียกร้องเปล่า ผมยินดีเสียภาษีอากรให้ส่วนรวมตามอัตภาพ

ผมต้องการโอกาสที่มีส่วนในสังคมรอบตัวผม ต้องการมีส่วนในการวินิจฉัยโชคชะตาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของชาติ

เมียผมก็ต้องการโอกาสต่างๆ เช่นเดียวกับผม และเราสองคนควรจะได้รับความรู้และวิธีการวางแผนครอบครัว

เมื่อแก่ ผมและเมียก็ควรได้ประโยชน์ตอบแทนจากการประกันสังคม ซึ่งผมได้จ่ายบำรุงตลอดมา

เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ๆ อย่างบ้าๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ

เมื่อตายแล้ว ยังมีทรัพย์สมบัติเหลืออยู่ เก็บไว้ให้เมียผมพอใจในชีวิตของเธอ ถ้าลูกยังเล็กอยู่ก็เก็บไว้ เลี้ยงให้โต แต่ลูกที่โตแล้วไม่ให้ นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่นๆ บ้าง

ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่างฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตอง ในงานศพให้วุ่นวายไป

นี่แหละคือความหมายของชีวิต นี่แหละคือการพัฒนาที่จะควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน

สุดท้ายนี้ ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่อุตส่าห์อ่านมาจนจบ ขอความสุขสวัสดีและสันติสุข จงเป็นของท่านทั้งหลาย และพระท่านกล่าวไว้ดังนี้เกี่ยวกับความสวัสดี


"เราตถาคตไม่เห็นความสวัสดีอื่นใดของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา เรื่องตรัสรู้ ความเพียร ความสำเร็จอินทรีย์ และความเสียสละ"


อ. ป๋วย อึ้งภากรณ์

http://www.bbznet.com/scripts2/view.php?user=ppbbz&board=9&id=14&c=1&order=numtopic

ปล. ขออนุญาตโพสต์ตามที่ท่านลุงแคนได้กล่าวอ้างถึงข้างต้นค่ะ



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: เพนกวินน้อยนักอ่าน ที่ 09-10-2006, 20:47
กระทู้นี้ดีนะ
อ่านแล้วได้เซฟ บทความเก็บไว้ด้วย
ขอบทความเรื่อง มนุสภาพ ของศรีบูรพา
อีกเรื่องสิครับ
 :slime_sleeping:





หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 20:56
เมื่อตายแล้ว ยังมีทรัพย์สมบัติเหลืออยู่ เก็บไว้ให้เมียผมพอใจในชีวิตของเธอ ถ้าลูกยังเล็กอยู่ก็เก็บไว้ เลี้ยงให้โต แต่ลูกที่โตแล้วไม่ให้ นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่นๆ บ้าง

ถ้าเจอกฎหมายแบบนี้เข้า ผู้คนคงไม่โลภมากจนเป็นเหตุให้ต้องเบียดเบียนกันเอง หรือเบียดบังงบประมาณของชาติ
พวกที่ว่าซ้าย ๆ ทั้งหลาย ลองดูมั๊ยครับ...


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 09-10-2006, 21:41
กระทู้นี้ดีนะ
อ่านแล้วได้เซฟ บทความเก็บไว้ด้วย
ขอบทความเรื่อง มนุสภาพ ของศรีบูรพา
อีกเรื่องสิครับ
 :slime_sleeping:





ยังหาทั้งบทความไม่ได้ค่ะ แต่จากคำอธิบายของ "สิงห์สนามหลวง" ทำให้ทราบว่า คำที่ถูกต้องที่ "ศรีบูรพา" ใช้คือ "มนุษยภาพ"

แต่มีลิงก์ที่คิดว่าน่าสนใจและสวยงามของนิตยสาร "สารคดี" ที่ขอนำมาฝากแทนก่อนค่ะ

http://www.sarakadee.com/feature/2001/06/sri_burapha.htm



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: เพนกวินน้อยนักอ่าน ที่ 09-10-2006, 21:52
ขอบคุณคุณ aiwen^mei มากๆครับ
 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: An.mkII ที่ 09-10-2006, 22:43
ผมขอสรุปทบความนี้...

ตามความเข้าใจของผมว่า...

ทางผู้เขียนกำลังเเสดงให้เราเห็นว่า..ในกระบวนการล้มทักษิณครั้งนี้..มันมีการวางเเผนและจัดเตรียมการทั้งหลายด้าน..

ตั้งแต่จิตวิทยามวลชนและอื่นๆอีกมากมาย...

เพื่อที่จักทำให้คนส่วนใหญ่เชื่อว่า..ในการล้มทักษิณนั้น..ต้องใช้วิธีการรัฐประหารแค่นั้น...

แบบเดียวกะเเนวคิดของคุณ snowflake ในหลายๆกรณี...

ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่าเรามิควรจักเชื่ออะไรไปทั้งหมดในคราเดียว...แต่เราต้องคิดและวิเคราะห์แล้วจึงเชื่อ..

และคนแบบผมไม่เคยเชื่อใคร..เท่ากะเชื่อใจตนเองครับ....


แตกระนั้น... ผมอ่านมาอ่านไปแล้วผมก็งง..

งงที่ว่า..แล้วไอ้ที่เจ้าของบทความนี้เขียนอยู่...มันก็มิได้ใช้วิธีการเดียว..แบบที่เจ้าของบทความกำลังกล่าวหาขบวนการล้มทักษิณงั้นหรือ..

ที่พยายามจักบอกจักทำทุกวิธีทางให้คนอื่นเขาเชื่อว่า..การล้มทักษิณต้องใช้วิธีประชาธิปไตยเท่านั้น..และการใช้การรัฐประหารนั้นไม่ถูกต้อง..

และแบบนี้ผมต้องเชื่อคุณรึไม่....!!???


แต่ผมก็สงสัยอีกว่า..ถ้าในเมื่อเจ้าของบทความยังพูดว่าเรื่องของนักการเมืองและการเลือกตั้งก็อย่ามาพูดเรื่องจริยธรรม..

แล้วผมก็สงสัยว่า..เหตุไร..การที่เราจักพูดเรื่องการล้มทักษิณมันต้องคำนึงถึงวิธีการด้วยล่ะ..


เพราะถ้าคุณยังพูดว่าขบวนการล้มทักษิณหลอกประชาชน..คุณยอมรับไม่ได้งั้นหรือ..

แต่เหตุไรคุณยอมว่าให้นักการเมืองหลอกคนไทยได้งั้นหรือ....เพียงแค่มันมีคำว่าประชาธิปไตยมาเคียงคู่..


สุดท้าย..ผมก็ไม่รู้นะครับ...

ว่าตอนนั้นเจ้าของบทความไปอยู่ประเทศไหนมา..ตอนที่คุณประมวลเขียนหนังสือเรื่องพระราชอำนาจ..

คุณถึงยังกล้ามาโจมตีเรื่องนี้อีก...ซึ่ึ่งเรื่องอื่นผมก็ค่อนข้างจักมิว่าอะไรเเต่เรื่องนี้ผมยอมมิได้ครับ..


และผมก็จักบอกไว้ว่า..ที่นี้ประเทศไทยครับ...

และประเทศไทยคนไทยนั้นมันเป็นเยี่ยงไร..คุณก็ต้องเข้าใจ..และก็ควรจักให้ประชาธิปไตยแบบไทยมันเป็นแบบนั้นควบคู่ปรับตัวให้มันเข้ากะสังคมไทยไปด้วย...

มิใช้ให้คนไปปรับตัวเข้ากะระบบ..จนเกินไปแบบที่พวกคุณกำลังต้องการ..
 


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-10-2006, 23:01
ถ้าเป็นผมวิเคราะห์สาเหตุ เอาแบบสรุป ๆ เลยนะไม่ใส่ไข่

ตั้งแต่ทักษิณขึ้นมาครองอำนาจ ไม่ต้องพูดเรื่องคอรัปชั่นนะ เอาแค่ "กลุ่มผลประโยชน์" ที่อยู่ตรงข้ามละกัน

ทักษิณ หลอกชาวเขื่อนปากมูล 1 ละ

ทักษิณแก้ระเบียบเอาใจ ไอทีวี 1 ละ

ทักษิณเร่งแปรรูป กฟผ. นั่นอีก 1 ละ

ทักษิณด่านักวิชาการ ด่าผู้เฒ่าผู้แก่ ด่าสื่อ

ทักษิณแต่งตั้งทหารตำรวจ ตามใจชอบ ลองนึกดู 5 ปีนี่ ผู้คนสูญเสียโอกาสเท่าไหร่

ทักษิณบ้าทำ FTA ผู้สูญเสียประโยชน์เท่าไหร่

ทักษิณประมูลโครงการต่าง ๆ โดยเอื้อประโยชน์พวกพ้องเท่าไหร่ พวกที่ไม่ได้ล่ะ เท่าไหร่

ทักษิณทำให้ปักษ์ใต้ลุกเป็นไฟอีกเท่าไหร่

ทักษิณด่าทุกคนที่เห็นตรงข้าม อย่าลืมว่าทักษิณสร้างศัตรูวันละหลาย ๆ คน คนหนึ่งมี 2 เท้า ถ้าล้านคนก็เอา 2 เท้าคูณเข้าไป

.................

ในแง่มวลชน ด้านนี้ ทักษิณ เสียหายจมกระเบื้องและพร้อมที่จะสหบาทาอยู่ทุกเมื่อ

ดังนั้น มันไม่ต้องการสร้างวาทะกรรมใด ๆ ไม่ต้องการอุดมการณ์ใด ๆ อีกแล้วครับ ประชาชนไม่ได้กินแกลบกินหญ้า ย่อมมีปัญญาเห็นเอง

มันเป็นไปเองโดยธรรมชาติ....ไม่โดนรัฐประหารวันนี้ ทักษิณก็พร้อมที่จะประกาศภาวะฉุกเฉินตามอำนาจที่มีอยู่

และเมื่อนั้น บ้านเมืองลุกเป็นไฟแน่นอนครับ สุดท้าย ทหารก็ต้องออกมาขับไล่อยู่ดี

ไม่ต้องไปอ้างอย่างอื่นเลยครับ ความเจ็บช้ำน้ำใจเหล่านี้ ประชาชนพร้อมยอมพลีทุกอย่าง เพื่อให้ทักษิณ ...ออกไป...


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 09-10-2006, 23:21
ขอบคุณคุณ aiwen^mei มากๆครับ
 :slime_fighto:

มีอีกลิงก์ที่น่าสนใจที่เจอค่ะ

http://www.seas.arts.tu.ac.th/TAreadingKularp.htm


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: An.mkII ที่ 09-10-2006, 23:23
คือผมว่าประเด็นของคนพวกนี้...

มันมิอยู่ตรงที่ว่าทักษิณมันผิดรึไม่...


แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า..ถึงทักษิณมันจักผิดขนาดไหน..ข้าไม่เคยสน..

และ....ต่อให้ใครมันจักตายข้าไม่เเคร์..

แต่ข้านั้นสนเพียงว่า...อย่าให้ประชาธิปไตยที่ข้าเเสนจักรักและบูชา..ต้องมาสูญสลายเพราะพวกชุดลายพลางแค่นั้นเป็นพอ..

ใช้รึไม่...



และถ้าเป็นเช่นนี้...

ผมถามว่าไอ้ความคิดแบบนี้มันคงวรจักทำให้ระบบการณ์์เมืองไทยนั้่นย้อนกลับไปซักกีปีจะดีพอ..

กะพวกที่เห็นกติกาเป็นเรื่องใหญ่..


แต่เห็นชีวิตและจริยธรรมของคนไทยเป็นเเค่ของเด็กเล่น...

 


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-10-2006, 17:08
ยึดกติกา แต่เชื่อว่า ระบบเลือกตั้ง ไม่สามารถหา "ผู้นำที่มีคุณธรรม"

ผมว่าหมอนี่ ยึดอะไร...กติกาอะไรไม่ต้องการผู้แทนที่มีคุณธรรม

เมื่อไม่สนใจจริยธรรมแล้วนี่ยังยึดถือว่าเป็นของดีจนต้องเทิดทูนกันขนาดนั้นเชียวหรือ

พวกสมองกลับ พูดเอาแต่ได้...ไม่สนใจจริยธรรม เป็นครูบาอาจารย์มาได้ยังไง

ประชาธิปไตยที่ดี มันต้องมี "ธรรมาธิปไตย" ด้วย


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 10-10-2006, 17:43
ถ้ามีเครื่องวัดคุณธรรมที่แม่นยำได้ก็คงดี ปัญหาก็จะไม่มีอีกต่อไป

การใส่ร้ายป้ายสีก็จะทำไม่ได้ แอบอ้างสร้างภาพ หลอกลวงใครก็ไม่ได้

And … we shall live happily ever after.

THE END


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 10-10-2006, 17:57
รูปแบบการปกครองที่เป็นอยู่ช่วงปลายทักษิณนั้นผมว่าเป็นไปในรูปแบบของ ฝูงชน(Mob Rule) คือ เป็นการปกครองโดยประชาชนทั้งหมด เพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง ซะมากกว่า รูปแบบนี้ประชาชนจะมีอิสระเสรีกันมาก จนเกิดความวุ่นวาย กฏระเบียบไม่สามารถนำมาใช้ได้  และทำให้เกิดการเสื่อมของระบบ

ซึ่งรูปแบบการปกครองของประเทศไทย ผมว่าเข้ากับแนวคิดของเพลโตที่เขียนเอาไว้ตั้งหลายร้อยปีก่อนคริส.ศักราช ว่ารัฐสมบูรณ์แบบหรืออุดมคติหากจะก้าวไปสู่ความเสื่อมแล้วจะเสื่อมดังต่อไปนี้

1. จากราชาปราชญ์เสื่อมมาเป็นวีรชนาธิปไตย (Timocracy) หรือการปกครองโดยทหาร เพราะบรรดาทายาทของผู้ปกครองที่เป็นราชาปราชญ์ไม่ค่อยได้เฉลียวฉลาดเหมือนบรรพบุรุษ

2. จากวีรชนาธิปไตยมาสู่คณาธิปไตย เพราะผู้ปกครองที่เป็นวีรชนาธิปไตยหันไปปกครองเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของตน

3. จากคณาธิปไตยมาเป็นประชาธิปไตย เป็นเพราะว่าคณะบุคคลที่เป็นผู้ปกครอง ปกครองไปเพื่อผลประโยชน์ของผู้ปกครองเอง ประชาชนจึงทำการปฏิวัติมาสู่ระบอบประชาธิปไตย

4. จากประชาธิปไตยมาเป็นทุชนาธิปไตย เป็นเพราะว่ารูปการปกครองที่ไร้ระเบียบ มีความวุ่นวาย จึงมีทหารเข้ามาปกครอง

ประเด็นที่ผู้ให้สัมภาษย์ตอบ จะเป็นในเรื่องของกระบวนการในการต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายมากกว่า โดยไม่ได้พูดถึงสาเหตุที่มาของการเกิดกระบวนการ   และผู้ให้สัมภาษย์มองปัญหาแบบแยกส่วน เหมือนบอกว่าฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมดินถล่ม  แต่สาเหตุจริงๆคือน้ำท่วมดินถล่มเพราะเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่ามากกว่า


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Neoconservative ที่ 10-10-2006, 18:37
อ่าน จบแล้ว  :slime_hmm:  :slime_hmm:  :slime_hmm: เหนื่อยเลย

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 10-10-2006, 18:45
ยึดกติกา แต่เชื่อว่า ระบบเลือกตั้ง ไม่สามารถหา "ผู้นำที่มีคุณธรรม"

ผมว่าหมอนี่ ยึดอะไร...กติกาอะไรไม่ต้องการผู้แทนที่มีคุณธรรม

เมื่อไม่สนใจจริยธรรมแล้วนี่ยังยึดถือว่าเป็นของดีจนต้องเทิดทูนกันขนาดนั้นเชียวหรือ

พวกสมองกลับ พูดเอาแต่ได้...ไม่สนใจจริยธรรม เป็นครูบาอาจารย์มาได้ยังไง

ประชาธิปไตยที่ดี มันต้องมี "ธรรมาธิปไตย" ด้วย

ก็นายศิโรตม์ กับคนที่ไปชื่นชอบหมอนี่ ถ้ามีคุณธรรมจริง เมื่อวานคงไม่พูดอย่าง อีกวันพูดอย่างหรอกครับ

ป๋าเปรมพูดอยู่เสมอว่า "ประเทศต้องการคนดี ความไม่ดี ประเทศไม่ต้องการ"

ป่าเปรมไม่เคยพูดถึง "ระบบดี"


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: z e a z ที่ 10-10-2006, 18:48
เป็นบทสัมภาษณ์ ที่ถอนหงอก นักวิชาการหน้าโง่ในประเทศนี้หลายต่อหลายคน

ทุกวันนี้มันเหล่านั้นคง ส่องกระจกดูเงาหัวตัวเอง ว่าที่แท้มันคือสัตว์การเมืองชนิดใด
ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะสวมหน้ากากอย่างไรดี
ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีกับชีวิตโสโครกที่เหลืออยู่ของพวกมัน
พวกมันอาจอ้างแก้ตัวกันในวงเหล้าของเหล่านักวิชากามชั่ว ว่าแค่มันส์ปากสนุก
อินไปกับบทบาทในสถานการณ์นั้นๆ ไม่คิดว่าสติปัญญาระดับพวกมัน
จะถูกสนตะพายให้หลงเข้าไปในวังวน การแย่งชิงอำนาจระหว่างสองขั้วความคิด
ที่ต่อสู้กันมาหลายสิบปี ปลุกผี อนุรักษ์นิยมให้คืนชีพ กลับมาแข็งแกร่งอีกรอบ

ส่วนนักวิชากาม หัวหงอกหัวดำ ในเวบบอร์ดแห่งนี้
ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าพยายามหาเหตุผลมาลบล้าง
ความงี่เง่าของตัวเอง กลบเกลื่อนความผิดพลาด
ชี้หน้าด่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตน ว่าเป็นตัวประหลาด ...
อวดภูมิธรรมทางการเมืองอันแสนจะกระจอกไร้เดียงสา ว่าสูงส่งเสียเต็มประดา
ก็ในเมื่อเบสิค ประชาธิปไตย มันยัง งุนงง สับสนเลย
อย่าได้กระแดะดัดจริตไปชี้หน้าด่าใครต่อใครจะดีกว่า
ผมเคยตั้งกระทู้ถามหลายครั้งแล้วใช่หรือไม่
ว่าซักวัน คุณต้องเลือกข้าง....วันนี้คุณได้เลือกแล้ว...


ไปสำรากความต่ำอวดเลวที่อื่นเหอะ Killer  เคยบอกว่าจะอำลาบอรด์แล้วก็ไปซะสิ  อย่าเอานิสัยไอ้เหลี่ยมมาใช้  แม่เอ็งจะขายขี้หน้าชาวบ้านเค้าปล่าวๆ
 :slime_v: :slime_v: :slime_v:



หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: คนเจียงใหม่ ที่ 10-10-2006, 19:06
 :mozilla_cool:พอเถอะครับพี่น้อง ไหนๆทักษิณมันก็ไปแล้ว
ตอนทักษิณอยู่มันชอบอ้างถึงการเลือกตั้ง
แต่ตั้งแต่มันเป็นนายกมันไม่เคยตอบกระทู้ในสภาเลย


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: z e a z ที่ 10-10-2006, 19:29
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ยืนยันว่าผู้นำที่ดีต้องมีศีลธรรมและคุณธรรม ... ไม่ใช่แค่ในเชิงอุดมคติอย่างเดียว
บทสัมภาษณ์นั่นเป็นแค่คำกล่าวของนักวิชาการเทียมอ่อนประสพการณ์ที่เห็นความดีเป็นเรื่องของความฝัน  ...  

ธรรมราชาไม่ใช่อุปสรรคของประชาธิปไตยอย่างที่ไอ้ดร.ชั่วกล่าวอ้าง หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยวิถีไทยที่จะขาดหายไปไม่ได้เลย

ขอให้พวกบ่อนทำลายชาติทั้งหลายจงพบแต่ความหายนะ ... อย่างหาที่สิ้นสุดไม่ได้ สาธุ
 :slime_v: :slime_v: :slime_v:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 10-10-2006, 19:53
ผู้นำที่ดี ควรมีคุณสมบัติหลายประการ

แต่ประการต้น ๆ ต้องประกอบด้วย

ซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม

ไม่คิดคดทรยศต่อชาติ และไม่โกงประชาชน

เอาคนโกงชาติมาเป็นผู้นำเมื่อไหร่ เมื่อนั้น ก็นับถอยหลังได้เลยครับ แล้วแต่จะถอยไปกี่ปี


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-10-2006, 23:56
กลับมาสอนที่ใหนบอกด้วย...จะได้หลีกทางไปห่าง ๆ

"ความรู้ ทำไมไม่คู่คุณธรรม"

ประชาไท’ ไปจับเข่าคุยกับ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักศึกษาปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายอิ เจ้าของคอลัมน์ ‘คุยบนหอคอย’ ในนิตยสารฉบับหนึ่งที่ปิดตัวไปแล้ว ศิโรตม์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและนิตยสารหลายฉบับมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น เขายังเป็นหนึ่งในปัญญาชนน้อยรายที่เชื่อมโยงความรู้เข้ากับการเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โครงการภาพยนตร์สั้น ‘ใต้ร่มเงาสมานฉันท์’, การจัดตั้งสหภาพแรงงานของคนงานในนิคมอุตสาหกรรม

ศิโรตม์เป็นหนึ่งในคนไทยน้อยรายที่เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคนนี้ลาออกตั้งแต่สองปีที่แล้ว
เมื่อเกิดเหตุการณ์กรือเซะ-ตากใบ แต่ในช่วงที่คนหลายฝ่ายชูธงนายกพระราชทานเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี ศิโรตม์กลับเคลื่อนไหวในกลุ่มอดีตนักกิจกรรมและนักศึกษาไทยในต่างประเทศ เพื่อคัดค้านการต่อสู้แนวทางนี้มาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เพราะเขาชื่นชอบทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย แต่เพราะเขาเห็นว่าประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการขับไล่นายกรัฐมนตรีสารเลว

ศิโรตม์บอกว่า ‘ฐานของอำนาจที่ชอบธรรม’ นั้น คือประเด็นใจกลางของการต่อสู้ทางการเมืองในช่วงหลายสิบปี เขาเสนอว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2549 ไม่ได้มีสาระสำคัญอยู่ที่การขับไล่นายกรัฐมนตรี หรือ ‘พระราชอำนาจ’ แต่คือการเกิดการเมืองแบบ ‘ข้ามชนชั้น’ ที่วางอยู่บน ‘วาระทางการเมือง’ บางอย่าง ซึ่งชนชั้นสูงและชนชั้นกลางต้องอาศัยภาพของชนชั้นล่างเป็นฐานของความชอบธรรมในการต่อสู้ทางการเมือง

ในสถานการณ์เช่นนี้ ศิโรตม์เปิดประเด็นว่าการเคลื่อนไหวที่ไม่ระมัดระวัง อาจนำไปสุ่การ ‘ปล้น’ การเมืองแบบรากหญ้าไปเพื่อสดุดีอำนาจการเมืองแบบจารีต ทำให้ภาคประชาชนเป็นแค่ ‘หางเครื่อง’ ของการต่อสู้ทางการเมือง นอกจากนั้น เขายังตั้งคำถามต่อปัญญาชนฝ่ายที่ไม่ทำหน้าที่เป็น ‘สติ’ ให้กับสังคมในสถานการณ์เช่นนี้ โดยเฉพาะนักกฎหมายปีกที่ทำให้รัฐธรรมนูญเป็นแค่เรื่องเทคนิคทางกฎหมาย ไม่คำนึงถึงหลักการทางการเมือง

ข้อกล่าวหาอีกหลายประการอันทิ่มแทงใจคนดีกู้ชาติ มาพร้อมคำอธิบายเป็นระบบ ด้วยน้ำเสียงนุ่มมั่ก ๆ ....เป็นความนุ่มนวลประการเดียวที่ปรากฏระหว่างการสัมภาษณ์ แต่ไม่สามารถทำให้ปรากฏในบทความได้ เว้นแต่ท่านจะอ่านออกเสียงและจินตนาการแบบนี้ไปด้วยพร้อมๆ กัน ( ว้าววว )

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=4078&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 11-10-2006, 08:48
ใครที่มองข้าม ความดี คุณธรรมจริยธรรม แล้ว ผมมองไม่เห็นความน่านับถือแม้แต่น้อย  


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 12-10-2006, 05:13
ช่วยประดิษฐ์เครื่องวัดคุณธรรมที่แม่นยำให้ด้วยสิคะ
จะได้เอามาใช้วัดกับทุกคน
ใครไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งดีไหม?
แล้วอาจพบว่า คนจนและด้อยการศึกษามีคุณธรรม
ผ่านเกณฑ์ สมควรมีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า
คนที่มีเงินและความรู้มากกว่า ก็เป็นได้

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 12-10-2006, 05:23
เริ่มที่ มารยาททางสังคมเป็นจุดเริ่มต้นก่อนก็ได้

เพราะเมื่อมีกฎ กติกา แล้วต้องมี มารยาท เรื่องแบบนี้เค้าบางทีสอนกันในบ้าน


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 12-10-2006, 07:10
บทสัมภาษณ์คุณ ศิโรตม์ การเคลื่อนไหว 2549 ‘รัฐประหารของคนชั้นกลาง’
ที่คุณ CanCan กล่าวถึงใน คคห. # 64 อยู่ในกระทู้ดังต่อไปนี้ค่ะ

http://forum.serithai.net/index.php?topic=3896.0

http://forum.serithai.net/index.php?topic=3904.0


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 12-10-2006, 07:44
ช่วยประดิษฐ์เครื่องวัดคุณธรรมที่แม่นยำให้ด้วยสิคะ
จะได้เอามาใช้วัดกับทุกคน
ใครไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งดีไหม?
แล้วอาจพบว่า คนจนและด้อยการศึกษามีคุณธรรม
ผ่านเกณฑ์ สมควรมีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า
คนที่มีเงินและความรู้มากกว่า ก็เป็นได้

 :slime_fighto:

มาตรวัดเหรอ...พระพุทธเจ้าสอนไว้เมื่อ 2500 กว่าปี

ทำดี ดี

ทำชั่ว ชั่ว

มาตรวัดทางคุณธรรม ต้องใช้จิตใจที่มีคุณธรรมวัด

มันเป็นเรื่องของความเจริญทางจิตใจ วัดได้ด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ

หาก จริยธรรมตกต่ำ การแสดงออกจะตกต่ำไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม

เช่น...โกหก..คนไม่นับถือ...ไม่เชื่อถือ

ทำผิดทางกาม..เป็นชู้ชาวบ้าน แบบนี้ก็แย่

ดื่มเหล้าจนขาดสติ...ถ้าเห็นคนเมาแล้ววัดไม่ได้..ก็แย่เหมือนกัน ต้องให้ไปเป่าถุง

มาตรวัดของพระพุทธเจ้าแม่นยำเสมอ กรรมย่อมสนองกรรม

แม่นกว่าหมอดูเยอะเลย...แบบที่คนชั่วร้ายของแผ่นดิน ที่กำลังหลบหนีอยู่ต่างประเทศตอนนี้ไง

โดนมาตรวัดชนิดเฉียบขาด ซักวันอาจโดนถอนสัญชาติเพราะทำความอับอายเสื่อมเสียชื่อเสียงประเทศไทย

เดินในตลาด ก็โดนแม่ค้าไล่ เดินห้างก็โดนเด็กนักศึกษาไล่ ไปใหนตามปกติสุขไม่ได้

จะเที่ยวห้างทีต้องสั่งปิดเป็นชั้น ๆ นั่นแหละ...กรรมละ...มาตรวัดที่เห็นจริงแล้ว...

มาตรวัดทางจริยธรรมมันเป็นเรื่อง "นามธรรม" ไม่ใช่ "วัตถุ"

ดังนั้นหากจะมองเห็นต้องใช้สายตาที่มีคุณธรรมเท่านั้น แต่จริยธรรมพื้น ๆ ชาวบ้านก็มองออกนะ ไม่ยากหรอกถ้าจะฝึก

เพราะชาวบ้านไปวัดมากกว่าพวกในกรุง เค้าไปวัดก็คือไปวัดคุณธรรมนั่นแหละ เครื่องวัดคุณธรรม - จริยธรรมอยู่แถว ๆ นั้นเยอะเลย
อยากเห็น..ก็ลอง ๆ เดินเข้าวัด..ไม่ผิดหวัง


หัวข้อ: Re: กระทู้นี้ post ได้ไหม หรืออันตรายเกินไปต่อเวบเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 12-10-2006, 08:39
มิน่าเลยถามหา "มาตรวัดทางจริยธรรม"

วันก่อน
จุดอ่อนจุดแข็ง อะไรไม่สนใจค่ะ
ตราบเท่าที่มีแล้ว ไม่ไปทำร้ายใคร ก็พอใจ
และไม่เคยคิดว่าจะต้องสะสมจุดแข็งเอาไว้ในตัว
ให้มากๆ แต่ประการใด

ดิฉันเพียงเป็นพุทธศาสนิกชนที่พยายามถือศีลห้า
ที่ข้อหนึ่งมีว่า การฆ่าที่ดีนั้นไม่มี
ฆ่าคนเลวก็ไม่ถือเป็นการทำความดี
และเพียงแค่ “คิด” จิตก็เสื่อม
กลายเป็นเศร้าหมองแล้ว


ที่คอยคัดค้าน/ขัดคออยู่นี้
มิได้ทำเพื่อคุณทักษิณ และบริวาร
แต่ไม่อยากให้พวกเรา (ถึงคุณจะไม่นับดิฉันเป็นพวกด้วยก็ตาม)
ต้องกลายเป็นคนใจร้ายเพราะเขา
คงอธิบายได้เท่านี้ หวังว่าจะเข้าใจ

ส่วนเรื่องมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
คงตอบว่าถ้าทิศทางที่จะไปนั้นคือ ตกเหว
ก็จำเป็นต้องไม่ให้ความร่วมมือค่ะ

วันนี้
ช่วยประดิษฐ์เครื่องวัดคุณธรรมที่แม่นยำให้ด้วยสิคะ
จะได้เอามาใช้วัดกับทุกคน

ใครไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งดีไหม?
แล้วอาจพบว่า คนจนและด้อยการศึกษามีคุณธรรม
ผ่านเกณฑ์ สมควรมีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า
คนที่มีเงินและความรู้มากกว่า ก็เป็นได้

 :slime_fighto:

มาตรวัดเหรอ...พระพุทธเจ้าสอนไว้เมื่อ 2500 กว่าปี

ทำดี ดี
ทำชั่ว ชั่ว

มาตรวัดทางคุณธรรม ต้องใช้จิตใจที่มีคุณธรรมวัด
มันเป็นเรื่องของความเจริญทางจิตใจ วัดได้ด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ
หาก จริยธรรมตกต่ำ การแสดงออกจะตกต่ำไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
เช่น...โกหก..คนไม่นับถือ...ไม่เชื่อถือ
ทำผิดทางกาม..เป็นชู้ชาวบ้าน แบบนี้ก็แย่
ดื่มเหล้าจนขาดสติ...ถ้าเห็นคนเมาแล้ววัดไม่ได้..ก็แย่เหมือนกัน ต้องให้ไปเป่าถุง
มาตรวัดของพระพุทธเจ้าแม่นยำเสมอ กรรมย่อมสนองกรรม
มาตรวัดทางจริยธรรมมันเป็นเรื่อง "นามธรรม" ไม่ใช่ "วัตถุ"
ดังนั้นหากจะมองเห็นต้องใช้สายตาที่มีคุณธรรมเท่านั้น แต่จริยธรรมพื้น ๆ ชาวบ้านก็มองออกนะ ไม่ยากหรอกถ้าจะฝึก
เพราะชาวบ้านไปวัดมากกว่าพวกในกรุง เค้าไปวัดก็คือไปวัดคุณธรรมนั่นแหละ เครื่องวัดคุณธรรม - จริยธรรมอยู่แถว ๆ นั้นเยอะเลย
อยากเห็น..ก็ลอง ๆ เดินเข้าวัด..ไม่ผิดหวัง