ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 12:42



หัวข้อ: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 12:42
อยากจะฝากนักวิชาการรัฐศ าตร์ไทยสักนิดนะครับ
เมืองไทยเรามีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว มีการนำเอาตัวแบบ GDH มาทดลองคำนวณหาค่าดัชนีกันแล้ว
การที่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยเรามีปัญหานั้นเกิดจากสาเหตุหลายประการ ที่เป็นจากกระแสโลกก็มี เป็นจาก
ลักษณะเฉพาะของสังคมไทยเราก็มี เป็นจากลักษณะของผู้นำก็มี  ดังนั้น ประเด็นที่ผมต้องการนำเสนอก็คือ การปรับปรุงแนวคิดระบอบประชาธิปไตยให้เป็น ประชาธิปไตยแบบพอเพียง
ซึ่งลักษณะของแนวคิดจะต้องผสมผสาน ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การบริหารจัดการประเทศ คุณธรรมและจริยธรรม จิตวิทยามวลชน กฎหมายมหาชน ตลอดจนหลักวิชาต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างของสังคมโลกได้อย่างทันท่วงทีและสอดคล้องกับปัญหาของสังคมไทยและสามารถหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ทางการเมืองได้ดังที่คนไทยส่วนใหญ่พึงจะเชื่อถือได้ จึงขอให้นักวิชาการรัฐศาสตร์ไทย ทดลองศึกษาสร้างทฤษฎีต่อยอดตามหลักสหวิทยาการร่วมกับนักวิชาการหัวก้าวหน้าแขนงอื่นๆของไทยครับ


การที่การเมืองไทยมีปัญหา และความจำเป็นในการอยู่ในสังคมโลก จำเป็นเราจะต้องสามารถมั่นใจได้ว่าทฤษฎีระบบของเราดีพอที่จะกลั่นกรองและป้องกันปัญหาต่างๆในสังคมไทยได้อย่างเป็นที่เห็นพ้องต้องกันทั้งสังคมอย่างเป็นเอกภาพ และสามารถตอบโจทย์ปัญหาของเหล่าศรีนญชัยขี้สงสัยได้ ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใด ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการขายตัว หรือสื่อขายวิญญาณ ปัญญาชนต่างขั้วต่างบุคคลิกภาพ ก็ตามที

เพื่อนสมาชิกกระดานแสดงความเห็นเสรีไทยแห่งนี้ ท่านใดมีความเห็นนำเสนอก็เชิญได้ครับ   :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 02-10-2006, 12:46
หลักการแนวความคิดดีนะครับ แต่ชื่อมันออกจะหมิ่นเหม่ นิดหนึง ไม่รู้ คนอื่นจะคิดยังไงนะครับ อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะ  :D


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 12:52

หลักการแนวความคิดดีนะครับ แต่ชื่อมันออกจะหมิ่นเหม่ นิดหนึง ไม่รู้ คนอื่นจะคิดยังไงนะครับ อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะ  :D

ก็เป็นสิ่งที่สังคมไทยควรจะก้าวข้ามปัญหาความอ่อนไหวทำนองนี้ไปให้ได้ครับ ในเมื่อเราต้องการจะก้าวเดินตามไปในทิศทางที่เชื่อกันว่าถูกต้องอยู่แล้ว  :slime_smile:



หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Neoconservative ที่ 02-10-2006, 12:54
ประชาธิปไตย ตามแนวคิดพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต)

ประชาธิปไตย แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งคำนี้มาจากคำว่า Demokration ในภาษากรีก แปลว่า การปกครองของประชาชน ดังที่อดีตประธานาธิบดี ลินคอนของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้เป็นเสมือนคำคมว่า "รัฐบาลประชาธิปไตย คือ รัฐบาลของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน" ซึ่งหมายถึงระบบการปกครองตามอุดมคติ ระบบหนึ่ง ที่รัฐบาลในระบบประชาธิปไตยจะให้โอกาสอันเท่าเทียมกันในการดำรงชีวิต การแสวงหา ความสุข เป็นต้น๗

          นอกจากนี้ "ประชาธิปไตย" คำนี้ใช้ใน ๓ ความหมายใหญ่ๆ ซึ่งถ้ากำหนดเป็น วงกรอบหรือฐานะใหญ่ๆ ได้ ๓ ฐานะด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ๑) เชิงความคิด ๒) รูปแบบการ ปกครอง และ ๓) วิถีชีวิต โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมโดยสังเขปคือ

          ๑. ในฐานะเป็นปรัชญา (Phi-osophy) ทฤษฎีหรืออุดมการณ์ทางการเมือง ประชาธิปไตยในความหมายนี้ มุ่งเน้นไปในเรื่องของความคิด เป็นสภาพทางมโนกรรมทั้งของผู้นำและคนทั่วไป คือ ทั้งของผู้บริหารประเทศ และ พลเมืองทั่วไป

          ๒. ในฐานะเป็นรูปแบบการปกครอง (Forms of Government) เป็นการพิจารณาประชาธิปไตยในเชิงโครงสร้างของรัฐบาลแบบประชาธิปไตย เช่น เป็นระบบรัฐสภา เป็นระบบประธานาธิบดี

          ๓. ในฐานะเป็นวิถีชีวิต (Way of -ife) หมายถึง
          ๓.๑ วิถีทางแห่งการยอมรับเสียงข้างมาก
          ๓.๒ ความมีใจกว้าง
          ๓.๓ การมีขันติธรรม
          ๓.๔ การไม่ใช้ความรุนแรง
          ๓.๕ การเอาใจใส่ในกิจการบ้านเมือง (การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง) อันเป็นเรื่องการประพฤติในสังคม๘

          จากที่ได้นิยามความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย มาโดยสังเขปนั้น ก็พอจะประมวล ลักษณะที่สำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยได้เป็น ๔ ประการ ดังต่อไปนี้
          ๑. ประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในรัฐ อาจใช้อำนาจทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้
          ๒. ประชาชนทุกคนในรัฐ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจน มีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
          ๓. การดำเนินการต่างๆ ของรัฐนั้น คือ เอามติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกันเสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐ จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่ กดขี่ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย และผิดทำนองคลองธรรม
          ๔. กระบวนการของประชาธิปไตย คือ วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชน เป็นต้น

          พระธรรมปิฎกได้นิยามคำว่า ประชาธิปไตยไว้อย่างน่าฟังยิ่งว่า เมื่อพูดถึงประชา- ธิปไตย ถ้ากล่าวถึงความหมาย มีวิธีพูดง่ายๆ อย่างหนึ่งคือ ยกเอาวาทะของประธานาธิบดี ลินคอล์น มาอ้าง เพราะคนชอบ และรู้จักกันมาก คือวาทะที่ว่า "ประชาธิปไตยเป็นการ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" วาทะนี้คนจำได้แม่น เวลาพูดกัน คนมักมองความหมายในแง่ของความรู้สึกตื่นเต้นว่า ตนเองจะได้ เช่น จะได้สิทธิ ได้อำนาจ หรือ ได้ความเป็นใหญ่ในการที่จะเป็นผู้ปกครอง แต่อีกแง่หนึ่งที่ไม่ค่อยได้มองคือ "ความรับผิดชอบ"

          ดังนั้น จากวาทะลินคอล์นนั้น พระธรรมปิฎกมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ที่ว่า ประชา- ธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนนั้น เป็นการเตือนให้รู้สึกตัวด้วยว่า คุณภาพของประชาธิปไตยอยู่ที่คุณภาพของประชาชน เพราะว่า โดยปกติ คุณภาพของการปกครองย่อมขึ้นต่อคุณของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ด้วยว่าในสมัยก่อนการ ปกครองอยู่ในกำมือของผู้ปกครองโดยตรง คุณภาพของประชาธิปไตย ก็วัดได้จากผู้ปกครองนั่นเอง แต่ในสมัยนี้ ในเมื่อประชาชนมาเป็นผู้ปกครอง บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ประชาธิปไตยจะมีคุณภาพแค่ไหน ก็อยู่ที่คุณภาพของประชาชนเป็นสำคัญ๙

          จึงกล่าวสรุปได้ว่า พระธรรมปิฎกได้นิยามประชาธิปไตยโดยให้ความสำคัญในแง่ คุณภาพของประชาธิปไตยเป็นหลัก โดยเน้นว่า

          "ถ้าประชาชนมีคุณภาพดี ประชาธิปไตยก็มีคุณภาพดีด้วย ถ้าประชาชนมีคุณภาพต่ำ ประชาธิปไตยก็จะเป็นประชาธิปไตยอย่างเลวด้วย เพราะว่า คุณภาพของประชาธิปไตย ขึ้นต่อคุณภาพของประชาชน แล้วคุณภาพของประชาชนขึ้นต่ออะไร ก็ขึ้นต่อการศึกษา"๑๐

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

อ่าน บทความฉบับเต็ม ได้ที่นี่

http://202.28.52.4/article/article_file/13dissertation47.html

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 02-10-2006, 13:03
แค่นี้ก็อายเค้าจะแย่แล้ว อย่าไปเป็นแม่แบบอะไรเลยครับ


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 13:17
ขอบคุณสำหรับผู้ร่วมกระทู้ด้วยความยินดีครับ คุณNeoconservative คุณชอบแถ คุณbuntoshi  :slime_sentimental:

เสริมด้วยสรุปย่อวิธีคิดแบบต่างๆครับ

ชนะ 10 คิดผู้ชนะในศตวรรษที่ 21  http://www.bangkokcity.com/2003/vc/club/treefather/detail.php?keyword=&boid=1619&strBoType=treeFather_kc

--------------------------------------------------------------------------------
การคิด คือ กิจกรรมทางความคิดที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง เรารู้ว่าเรากำลังคิดเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่างและสามารถควบคุมให้คิดจนบรรลุเป้าหมายได้

ในขณะที่เราใช้ความคิด เราจะพยายามเลือกวิธีการและหาทางเลือกต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่น่าจะเป็นไปได้ กรอบความเชื่อที่น่าเชื่อถือ หรือจุดมุ่งหมายที่น่าจะเลือก

น่าเสียดายที่คนเราโดยส่วนใหญ่ใช้ความคิดเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการบางด้านเท่านั้น ทำให้หลายครั้งเราคิดไม่ครบถ้วนและตัดสินใจผิดพลาด ทั้งที่ในความเป็นจริงเราจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างดีที่สุดเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้นเราจึงควรใช้ความคิดให้ดีที่สุด ต้องสามารถใช้เหตุผลในการถกเถียง ต้องฉลาดในการหาวิธีการแก้ปัญหา ต้องสามารถวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ อย่างยุติธรรม ต้องเตรียมความพร้อมให้ตนเองในอนาคต ฯลฯ

หากเราได้ใช้ความคิดอย่างครบถ้วน รอบด้าน ความคิดของเราจะมีพลังที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและนำเราสู่การเป็นผู้ชนะได้ในทุกสถานการณ์

เราจำเป็นต้องคิดเป็น

การคิดเป็น คือ การแสวงหาแนวทางตอบข้อสงสัยบางประการ โดยการนำข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่มาจัดวางในกระบวนการคิดอย่างเหมาะสม โดยใช้วิธีคิดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เช่น การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เป็นต้น

คนที่ "คิดเป็น" จะไม่ถูกหลอกด้วยข้อมูลที่ได้รับ และไม่เชื่อถือสิ่งต่าง ๆ อย่างง่าย ๆ แต่จะวินิจฉัยไตร่ตรองและพิสูจน์ความจริงอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือก

คนที่ "คิดเป็น" จะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้รับ สามารถนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งที่มีประโยชน์ได้

อยากคิดเป็น…ต้องทำอย่างไร?

เราคงมีคำถามว่า ทำอย่างไรเราจึงสามารถ คิดดี คิดถูกต้อง คิดมีเหตุผล คิดฉลาด คิดสร้างสรรค์ และ คิดดี ๆ ได้ ทำอย่างไรเราจึงรู้จักการใช้ความคิดที่ถูกต้อง รู้จักวิธีการใช้เหตุผล รู้จักวิธีการคิดสร้างสรรค์

คำตอบคือ… ขอแนะนำให้รู้จักผู้ชนะ 10 คิด

ผมขอเสนอแนวทางว่า การที่คนในประเทศจะสามารถคิดเป็นนั้น จำเป็นต้องได้รับการเปิดทาง และแนะแนวให้มีความสามารถในการคิดครบ 10 มิติ กล่าวคือ......


หนึ่ง ชนะด้วยการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) หมายถึง ความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่าย ๆ แต่ตั้งคำถามท้าทาย หรือโต้แย้งสมมติฐานและข้อสมมติที่อยู่เบื้องหลัง และพยายามเปิดแนวทางความคิดออกสู่ทางต่าง ๆ ที่แตกต่างจากข้อเสนอนั้น เพื่อให้สามารถได้คำตอบที่สมเหตุสมผลมากกว่าข้อเสนอเดิม

สอง ชนะด้วยการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) หมายถึง การจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น

สาม ชนะด้วยการคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) หมายถึง ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่าง ๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

สี่ ชนะด้วยการคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) หมายถึง การพิจารณาเทียบเคียงความเหมือนและ/หรือความแตกต่างระหว่างสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิด การแก้ปัญหา หรือการหาทางเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ห้า ชนะด้วยการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) หมายถึง ความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอดหรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น

หก ชนะด้วยการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึง การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

เจ็ด ชนะด้วยการคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการนำสิ่งที่มีอยู่เดิมไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้

แปด ชนะด้วยการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

เก้า ชนะด้วยการคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิดหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

สิบ ชนะด้วยการคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

การพัฒนาทักษะการคิด 10 มิติจะช่วยให้เราเป็นผู้ชนะในศตวรรษที่ 21 ได้ เพราะจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จ และยากที่จะผิดพลาดในการตัดสินใจทำสิ่งใด ๆ เราจะไม่หลงเชื่อสิ่งใดอย่างง่าย ๆ แต่จะคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ และสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ทำให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ อีกทั้งสามารถเตรียมความพร้อมให้กับอนาคตที่จะมาถึงได้อย่างรอบคอบ ซึ่งรายละเอียดและการสอนวิธีคิดในแต่ละมิตินั้น ผมได้เขียนหนังสือเพื่อพัฒนาทักษะการคิดมิติละหนึ่งเล่ม เพื่อให้สามารถบรรจุเนื้อหาและรายละเอียดในการคิดแต่ละมิติได้อย่างครบถ้วน 


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ริวเซย์ ที่ 02-10-2006, 13:18
เดินตามรอยพระบาทขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดีที่สุดครับ


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 02-10-2006, 13:23
คำว่าพอเพียง คือ ไม่มากไม่น้อยพอดี มันไม่เป็นสีขาว มันไม่เป็นสีดำ ถ้ามันเป็นสีเทา ช่วงที่รับได้ของมันอยู่ตรงไหน
ถ้าจะนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จริง ต้องมีคนแปล subjective เป็น quantitative ก่อนครับ เรื่องประชาธิปไตยแบบ
พอเพียงยิ่งไปกันใหญ่ เอาแค่เศรษฐกิจให้รอดก่อนเถอะครับ


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 13:44



ท่านใดมีแนวความคิดต่อยอด ระหว่างสาขาวิชา เชิญครับ ยกตัวอย่างเช่น แนวคิดเศรษ{กิจการเมืองที่เชื่อมโยงสาขารัฐศาสตร์และสาขาเศรษฐศาสตร์ เข้าด้วยกัน

หรือจะกลับไปเอาทฤษฎีบทต่างๆมาอ้างอิงเชื่อมโยงก็ได้ครับ จะได้เกิดรูปธรรมที่ขัดเจนขึ้นมา
                                                                                                                           :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 02-10-2006, 13:48
ท่านใดมีแนวความคิดต่อยอด ระหว่างสาขาวิชา เชิญครับ ยกตัวอย่างแนวคิดเศรษกิจการเมืองที่เชื่อมโยงสาขารัฐศาสตร์และสาขาเศรษฐศาสตร์ เข้าด้วยกัน

หรือจะกลับไปเอาทฤษฎีบทต่างๆมาอ้างอิงเชื่อมโยงก็ได้ครับ จะได้เกิดรูปธรรมที่ขัดเจนขึ้นมา :slime_doubt:
กระทู้เก่าก็มีหลายอัน ลองหาๆ ดู จะพูดเรื่อง criteria ของคำว่าพอเพียง


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 13:51
ท่านใดมีแนวความคิดต่อยอด ระหว่างสาขาวิชา เชิญครับ ยกตัวอย่างแนวคิดเศรษกิจการเมืองที่เชื่อมโยงสาขารัฐศาสตร์และสาขาเศรษฐศาสตร์ เข้าด้วยกัน

หรือจะกลับไปเอาทฤษฎีบทต่างๆมาอ้างอิงเชื่อมโยงก็ได้ครับ จะได้เกิดรูปธรรมที่ขัดเจนขึ้นมา :slime_doubt:
กระทู้เก่าก็มีหลายอัน ลองหาๆ ดู จะพูดเรื่อง criteria ของคำว่าพอเพียง

ยกมาเลยครับ ถ้าคิดว่าต่อยอดได้นะครับ


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 14:07

อย่างกรณีชนชั้นกลางเป็นตัวเชื่อม ในด้านต่างๆ เรื่องนี้เห็นด้วยครับ เพราะเป็นลักษณะเชิงโครงสร้างประชากรศาสตร์
และเป็นการเชื่อมโยงที่สะดวกในการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงต่อกันของกลุ่มชน ซึ่งถ่ายทอดแนวคิดแบบมีคุณภาพได้ดีในสังคมที่มีพลวัตรการเปลี่ยนแปลงสูง
ทำให้การบริหารหรือการตลาดก็ตามที ไร้แนวตะเข็บทางความคิดที่ชัดเจน สามารถสร้างเอกภาพของสังคมได้บนความแตกต่าง ทั้งยังสามารถเปลี่ยนผ่านสังคม
ไปสู่แนวทางในอุดมคติได้ดีกว่าอีกด้วย หากมีโครงสร้างและสัดส่วนตลอดจนความสัมพันธ์ที่เหมาะสม เป็นแนวคิดรัฐศาสตร์วิศวกรรม ได้ครับคือมองละเอียดในเชิงโครงสร้างที่เหมาะสม
           :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Neoconservative ที่ 02-10-2006, 14:22
เพื่อประชาธิปไตย มีใครเห็นด้วยกับ กระผม บ้างครับ 

http://forum.serithai.net/index.php?topic=8250.0

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 14:44
เพื่อประชาธิปไตย มีใครเห็นด้วยกับ กระผม บ้างครับ 

http://forum.serithai.net/index.php?topic=8250.0

 :slime_fighto:

เท่าที่ดูแนวคิดต้องการรวบรัดระยะเวลาการแก้ปัญหา อืมมเป็นไปได้ แต่คุณต้องคิดอีกมาก แล้วยังต้องหาคนทุกกลุ่มจำนวนมากที่จะเห็นดีเห็นงามด้วย ผมว่าผลที่ได้ลัพธ์แม้ตามวัตถุประสงค์ก็ไม่คุ้มค่าครับ เพราะเป้าหมายที่ควรทำในตอนนี้คือสะสางปัญหาหลักเดิม และปฏิรูปการเมืองให้ทันสมัยรองรับปัญหายุคปัจจุบันและลงถึงรากความคิดของคนกลุ่มต่างในสังคม  โดยเฉพาะประชากรส่วนใหญ่ในชนบททุกภาคทั่วประเทศ การสร้างความคิดเชิงระบบที่ดีและสามารถอิมพลิเมนต์ได้สำร็จในระดับมหภาคจึงเป็นสิ่งจำเป็นครับ
      :slime_v:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 02-10-2006, 14:51
คุณ Q... แนวคิดคุณน่าสนใจและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน..

แต่ก่อนที่จะยกประชาธิปไตยให้กับคนชั้นกลางหรือคนชั้นไหน.. ผมว่าคุณตีกรอบให้ชัดเจนก่อนดีกว่าครับ จะได้คุยต่อได้ไม่มั่ว  :slime_cool:

กรอบที่ว่านี่...เริ่มต้นกันง่ายๆ นะครับ

1.ประชาธิปไตยแบบ "พอเพียง"... นั้น... "ใคร" เป็นผู้กำหนดว่าอะไรคือความพอเพียง... ใช่นักวิชาการหรือไม่? ใช่คนชั้นกลางที่คุณว่าหรือไม่? ...พอเพียงสำหรับใคร?...

2.ความพอเพียงที่ว่าเนี่ยคืออะไร? รูปธรรมคืออะไร?... ผมไม่คิดว่าทุกคนจะเข้าใจความพอเพียงตรงกัน หรือปล่อยให้บางกลุ่มบางชนชั้นผูกขาดนิยามความพอเพียงให้เป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่มตนเท่านั้นครับ

ประเด็นมันจะยุ่งเหยิงไปอีก... ถ้าเราตีกรอบประชาธิปไตยแบบพอเพียงในแนวคิดของทหารกับ "รากแก้ว" (ก็รากหญ้านั่นแหละ... เดี๋ยวนี้เค้าเรียกใหม่แว้ววว) ซึ่งก็คงต่างกันสุดขั้วในสถานการณ์ปัจจุบัน...

ว่ายังไงท่าน Q... ท้อหรือยัง?

สำหรับกระทู้เก่า http://forum.serithai.net/index.php?topic=5476.0


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 02-10-2006, 14:58
ผมได้เขียนหนังสือเพื่อพัฒนาทักษะการคิดมิติละหนึ่งเล่ม เพื่อให้สามารถบรรจุเนื้อหาและรายละเอียดในการคิดแต่ละมิติได้อย่างครบถ้วน 


สวัสดีค่ะ

เขียนครบ 10 เล่ม แล้วหรือคะ?
ยังอ่านไปได้ไม่กี่เล่มเอง … แหะๆ ไม่ค่อยขยันเท่าไหร่
แล้วจะมีส่วนลดให้แฟนพันธุ์ไม่แท้บ้างหรือเปล่าคะ?  :D


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 15:09
คุณ Q... แนวคิดคุณน่าสนใจและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน..

แต่ก่อนที่จะยกประชาธิปไตยให้กับคนชั้นกลางหรือคนชั้นไหน.. ผมว่าคุณตีกรอบให้ชัดเจนก่อนดีกว่าครับ จะได้คุยต่อได้ไม่มั่ว  :slime_cool:

กรอบที่ว่านี่...เริ่มต้นกันง่ายๆ นะครับ

1.ประชาธิปไตยแบบ "พอเพียง"... นั้น... "ใคร" เป็นผู้กำหนดว่าอะไรคือความพอเพียง... ใช่นักวิชาการหรือไม่? ใช่คนชั้นกลางที่คุณว่าหรือไม่? ...พอเพียงสำหรับใคร?...

2.ความพอเพียงที่ว่าเนี่ยคืออะไร? รูปธรรมคืออะไร?... ผมไม่คิดว่าทุกคนจะเข้าใจความพอเพียงตรงกัน หรือปล่อยให้บางกลุ่มบางชนชั้นผูกขาดนิยามความพอเพียงให้เป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่มตนเท่านั้นครับ

ประเด็นมันจะยุ่งเหยิงไปอีก... ถ้าเราตีกรอบประชาธิปไตยแบบพอเพียงในแนวคิดของทหารกับ "รากแก้ว" (ก็รากหญ้านั่นแหละ... เดี๋ยวนี้เค้าเรียกใหม่แว้ววว) ซึ่งก็คงต่างกันสุดขั้วในสถานการณ์ปัจจุบัน...

ว่ายังไงท่าน Q... ท้อหรือยัง?

สำหรับกระทู้เก่า http://forum.serithai.net/index.php?topic=5476.0

ไม่ท้อหรอกครับ วิธีคิดคือต้อง ใช้วิธีคิดแบบมหภาคและสหวิทยาการเข้าช่วยครับ เช่น จิตวิทยามวลชน การทำนายอนาคตแบบเศรษฐมิติ  ฯลฯ ส่วนการทดสอบทฤษฎีต้องเป็นการสร้างแบบจำลองและความทนทานต่อวิกฤติด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้วยการคำนวณของเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เหมือนที่ใช้แข่งหมากรุกกับคน เป็นปัญญาประดิษฐ์ เฉพาะการทดสอบแบบจำลองนะครับ ส่วนการควบคุมดูแลสังคมจริงต้องอาศัยมวลชนส่วนหนึ่ง ที่มีความเข้าใจและทักษะเพียงพอในการเชื่อมต่อการสื่อสารทั้งท้อปดาวน์และบอททอมอัพครับ

ลองดูตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้ครับ  จะเห็นว่าเป็นเชิงมหภาค ที่ต้องทำคือการต่อยอดจากสาขาวิชาอื่นๆ และการสร้างจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงไว้ เหมือนคอนโทรลพาแนลที่ครอบคลุมปัญหาหลักของสังคมตามโมเดลที่วางไว้ทดสอบครับ ส่วนปัญหาอื่นๆที่คาดไม่ถึงต้องใช้ความสามารถของนักบริหารแลคุณภาพของคนในการตัดสินใจครับ

http://www.sufficiencyeconomy.org/
เศรษฐกิจพอเพียง            
                                 :slime_smile: :slime_p: :slime_fighto: :slime_v: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 15:12
ผมได้เขียนหนังสือเพื่อพัฒนาทักษะการคิดมิติละหนึ่งเล่ม เพื่อให้สามารถบรรจุเนื้อหาและรายละเอียดในการคิดแต่ละมิติได้อย่างครบถ้วน 


สวัสดีค่ะ

เขียนครบ 10 เล่ม แล้วหรือคะ?
ยังอ่านไปได้ไม่กี่เล่มเอง … แหะๆ ไม่ค่อยขยันเท่าไหร่
แล้วจะมีส่วนลดให้แฟนพันธุ์ไม่แท้บ้างหรือเปล่าคะ?  :D

ครบสิบเอ็ดเล่ม น่าจะนานสองสามปีแล้วครับ เล่มแรกจริงๆคือ ลายแทงนักคิดครับ
                                                                                                 :slime_cool:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 02-10-2006, 15:46
... ถ้าจะนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จริง ต้องมีคนแปล subjective เป็น quantitative ก่อนครับ ...

คนที่ชอบแปล ชอบแปลง พังไปเยอะแล้วครับ
เพราะไม่มอง social impacts เลย
อย่างที่เห็นๆนั่นแหละครับ

 :mozilla_wink:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 02-10-2006, 16:18

ไม่ท้อหรอกครับ วิธีคิดคือต้อง ใช้วิธีคิดแบบมหภาคและสหวิทยาการเข้าช่วยครับ เช่น จิตวิทยามวลชน การทำนายอนาคตแบบเศรษฐมิติ  ฯลฯ ส่วนการทดสอบทฤษฎีต้องเป็นการสร้างแบบจำลองและความทนทานต่อวิกฤติด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้วยการคำนวณของเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เหมือนที่ใช้แข่งหมากรุกกับคน เป็นปัญญาประดิษฐ์ เฉพาะการทดสอบแบบจำลองนะครับ ส่วนการควบคุมดูแลสังคมจริงต้องอาศัยมวลชนส่วนหนึ่ง ที่มีความเข้าใจและทักษะเพียงพอในการเชื่อมต่อการสื่อสารทั้งท้อปดาวน์และบอททอมอัพครับ

ลองดูตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้ครับ  จะเห็นว่าเป็นเชิงมหภาค ที่ต้องทำคือการต่อยอดจากสาขาวิชาอื่นๆ และการสร้างจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงไว้ เหมือนคอนโทรลพาแนลที่ครอบคลุมปัญหาหลักของสังคมตามโมเดลที่วางไว้ทดสอบครับ ส่วนปัญหาอื่นๆที่คาดไม่ถึงต้องใช้ความสามารถของนักบริหารแลคุณภาพของคนในการตัดสินใจครับ

http://www.sufficiencyeconomy.org/
เศรษฐกิจพอเพียง           
                                 :slime_smile: :slime_p: :slime_fighto: :slime_v: :slime_cool:

คุณ Q...

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับประชาธิปไตยแบบพอเพียงไม่ใช่ "เกมส์คอมพิวเตอร์" ทีมองคนร่วมชาติเป็นเพียงโมเดลในความนึกฝันนะครับ... ที่ผมขีดเส้นใต้ไว้นั้น เน้นส่วนของ "วิธีการคิด" ของคุณ Q นั้นแหละ... คำตอบกับโจทย์ที่คุณตั้งขึ้นมันไม่ได้แมทซ์กันเลย

ที่ผมเปิดประเด็นต่อจากคุณนั้น ชี้อย่างชัดเจนว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงหรือประชาธิปไตยแบบพอเพียง การสร้างรูปธรรมไม่ได้ผูกขาดโดยใครหรือวิธีคิดแบบไหนทั้งสิ้น และในบางครั้งโดยปรัชญาความพอเพียงแล้ว... ผมเข้าใจว่าแนวคิดนี้ไม่ได้ต้องการ "ผลที่ดีที่สุด" แต่ตั้งต้นด้วย "ความเข้าใจ" ในระดับของการปฏิบัติที่พอเพียง... ซึ่งหลากหลายมาก

ดังนั้นรูปธรรมของเศรษฐกิจพอเพียงหรือประชาธิปไตยแบบพอเพียง จึงให้ความสำคัญกับ "ตัวบุคคล" ผู้ปฏิบัติ และ "กระบวนการ" ในการปฏิบัติ... ส่วนวิธีคิดนั้นต้องแล้วแต่ภูมิหลังของบุคคลนั้น แต่เมื่อเราพูดกันในระดับมหภาค... วิธีคิดย่อมไม่สำคัญเท่ากับ "กระบวนการ" ได้มาซึ่งแนวทางการปฏิบัติ

"ตัวบุคคล"... ที่ว่านี้อาจหมายถึงเกษตรกร นักธุรกิจท้องถิ่น นักธุรกิจข้ามชาติ นักวิชาการ... ซึ่งมีกรอบความพอเพียงที่แตกต่างกัน และเป็น "รูปธรรม" แรกของการเกิดแนวทางความพอเพียง... เราไม่มีทางสร้างแนวทางความพอเพียงได้ถ้าหากไม่มี "ตัวบุคคล" ผู้ปฏิบัติหรือมีแต่หลักวิธีคิดฟ้าประทานมาลอยๆ..

ส่วนรูปธรรมต่อๆ มาในระดับมหภาค.. จะเกิดขึ้นได้ก็จาก "กระบวนการ" ที่สืบเนื่องมาจากกลุ่มบุคคลผู้เข้าใจหลักพอเพียงและสมัครใจปฏิบัติตามแนวทางพอเพียงมาร่วมกันผลักดันพัฒนาแนวทางร่วมกันเพื่อให้เกิดความพอเพียงในกลุ่มตน... โดย "กระบวนการ" ดังกล่าวนี้ถูกแนะนำในทฤษฎีใหม่ก็คือ "สหกรณ์" เป็นรูปธรรมที่ส่งผลในระดับที่ใหญ่กว่าตัวบุัคคลที่มีวิชาชีพเกษตรกรรม โดยมี "เครือข่าย" เป็นรูปธรรมในระดับมหภาค... แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ใครจะวางแผนสั่งให้ใครๆ ทำหรือดำเนินการ... แต่มันต้องเกิดจากความต้องการและความสมประโยชน์ในทุักฝ่าย ซึ่งขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาและสถานการณ์มากกว่าวิธีคิด... ยกตัวอย่างเช่น เครือข่ายเหล้าชุมชนเป็นต้น (ตอนนี้เครือข่ายนี้เจ๊งไปแล้วมั้ง)

แต่ในทางการเมืองประชาธิปไตยแล้ว... การหากลุ่มพอเพียงมีระดับนามธรรมที่ยิ่งยากไปกว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเสียอีก ... ผมไม่คิดว่าการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวแทนกลุ่มเหล่านี้ได้มากไปกว่าให้คนเหล่านี้ได้แสดงพลังของตัวเองตามหลักประชาธิปไตย... สิ่งที่ขาดไปยังคงเป็นเรื่อง "กระบวนการ" ในการตั้งหลักรวมกลุ่มให้กับคนเหล่านี้ ซึ่งต้องมีมากกว่าสหกรณ์ที่เป็นรูปธรรมของเกษตรกร

ผมเดาว่ากว่าแนวคิดพอเพียงจะตั้งหลักได้ ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 30-40 ปี ... ยิ่งในสถานการณ์เร่งด่วนขัดตาทัพเช่นนี้... แม้จะเน้นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ... แต่ผมคิดว่านั้นเป็นเพียงนโยบายที่จะเข้ารับการแนะนำจากในหลวงในบางกิจการของรัฐบาลเสียมากกว่าโดยหวังว่าจะได้ "คำตอบสำเร็จรูป" จากท่าน...(ซึ่งอาจมีหรือไม่มีก็ยังไม่มีใครรู้)

ดังนั้นวิธีที่คุณ Q แนะนำในการจัดตั้งแบบ top down bottom up อะไรนั้น ผมว่าอย่าไปคาดหวังดีกว่าครับ... ที่คาดหวังได้มากกว่าจึงเป็นการสอดแทรก "กระบวนการ" ที่นำไปสู่แนวทางสนับสนุนให้เกิดกลุ่มบุคคลตามแนวทางพอเพียงในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ข้างหน้า.. ซึ่งจะว่าไปแล้วกระบวนการดังกล่าวมีสอดแทรกไว้บ้างแล้วในรัฐธรรมนูญ 2540... ซึ่งถ้าทำสำเร็จน่าจะร่นระยะเวลาเหลือ 10 ปี... แต่ผมคิดว่าด้วยสถานการณ์ปัจจุบันก็ยังคงอย่าคาดหวังมากเช่นกันครับ


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 16:50

ไม่ท้อหรอกครับ วิธีคิดคือต้อง ใช้วิธีคิดแบบมหภาคและสหวิทยาการเข้าช่วยครับ เช่น จิตวิทยามวลชน การทำนายอนาคตแบบเศรษฐมิติ  ฯลฯ ส่วนการทดสอบทฤษฎีต้องเป็นการสร้างแบบจำลองและความทนทานต่อวิกฤติด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้วยการคำนวณของเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เหมือนที่ใช้แข่งหมากรุกกับคน เป็นปัญญาประดิษฐ์ เฉพาะการทดสอบแบบจำลองนะครับ ส่วนการควบคุมดูแลสังคมจริงต้องอาศัยมวลชนส่วนหนึ่ง ที่มีความเข้าใจและทักษะเพียงพอในการเชื่อมต่อการสื่อสารทั้งท้อปดาวน์และบอททอมอัพครับ

ลองดูตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้ครับ  จะเห็นว่าเป็นเชิงมหภาค ที่ต้องทำคือการต่อยอดจากสาขาวิชาอื่นๆ และการสร้างจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงไว้ เหมือนคอนโทรลพาแนลที่ครอบคลุมปัญหาหลักของสังคมตามโมเดลที่วางไว้ทดสอบครับ ส่วนปัญหาอื่นๆที่คาดไม่ถึงต้องใช้ความสามารถของนักบริหารแลคุณภาพของคนในการตัดสินใจครับ

http://www.sufficiencyeconomy.org/
เศรษฐกิจพอเพียง           
                                 :slime_smile: :slime_p: :slime_fighto: :slime_v: :slime_cool:

คุณ Q...

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับประชาธิปไตยแบบพอเพียงไม่ใช่ "เกมส์คอมพิวเตอร์" ทีมองคนร่วมชาติเป็นเพียงโมเดลในความนึกฝันนะครับ... ที่ผมขีดเส้นใต้ไว้นั้น เน้นส่วนของ "วิธีการคิด" ของคุณ Q นั้นแหละ... คำตอบกับโจทย์ที่คุณตั้งขึ้นมันไม่ได้แมทซ์กันเลย

ที่ผมเปิดประเด็นต่อจากคุณนั้น ชี้อย่างชัดเจนว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงหรือประชาธิปไตยแบบพอเพียง การสร้างรูปธรรมไม่ได้ผูกขาดโดยใครหรือวิธีคิดแบบไหนทั้งสิ้น และในบางครั้งโดยปรัชญาความพอเพียงแล้ว... ผมเข้าใจว่าแนวคิดนี้ไม่ได้ต้องการ "ผลที่ดีที่สุด" แต่ตั้งต้นด้วย "ความเข้าใจ" ในระดับของการปฏิบัติที่พอเพียง... ซึ่งหลากหลายมาก

ดังนั้นรูปธรรมของเศรษฐกิจพอเพียงหรือประชาธิปไตยแบบพอเพียง จึงให้ความสำคัญกับ "ตัวบุคคล" ผู้ปฏิบัติ และ "กระบวนการ" ในการปฏิบัติ... ส่วนวิธีคิดนั้นต้องแล้วแต่ภูมิหลังของบุคคลนั้น แต่เมื่อเราพูดกันในระดับมหภาค... วิธีคิดย่อมไม่สำคัญเท่ากับ "กระบวนการ" ได้มาซึ่งแนวทางการปฏิบัติ

"ตัวบุคคล"... ที่ว่านี้อาจหมายถึงเกษตรกร นักธุรกิจท้องถิ่น นักธุรกิจข้ามชาติ นักวิชาการ... ซึ่งมีกรอบความพอเพียงที่แตกต่างกัน และเป็น "รูปธรรม" แรกของการเกิดแนวทางความพอเพียง... เราไม่มีทางสร้างแนวทางความพอเพียงได้ถ้าหากไม่มี "ตัวบุคคล" ผู้ปฏิบัติหรือมีแต่หลักวิธีคิดฟ้าประทานมาลอยๆ..

ส่วนรูปธรรมต่อๆ มาในระดับมหภาค.. จะเกิดขึ้นได้ก็จาก "กระบวนการ" ที่สืบเนื่องมาจากกลุ่มบุคคลผู้เข้าใจหลักพอเพียงและสมัครใจปฏิบัติตามแนวทางพอเพียงมาร่วมกันผลักดันพัฒนาแนวทางร่วมกันเพื่อให้เกิดความพอเพียงในกลุ่มตน... โดย "กระบวนการ" ดังกล่าวนี้ถูกแนะนำในทฤษฎีใหม่ก็คือ "สหกรณ์" เป็นรูปธรรมที่ส่งผลในระดับที่ใหญ่กว่าตัวบุัคคลที่มีวิชาชีพเกษตรกรรม โดยมี "เครือข่าย" เป็นรูปธรรมในระดับมหภาค... แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ใครจะวางแผนสั่งให้ใครๆ ทำหรือดำเนินการ... แต่มันต้องเกิดจากความต้องการและความสมประโยชน์ในทุักฝ่าย ซึ่งขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาและสถานการณ์มากกว่าวิธีคิด... ยกตัวอย่างเช่น เครือข่ายเหล้าชุมชนเป็นต้น (ตอนนี้เครือข่ายนี้เจ๊งไปแล้วมั้ง)

แต่ในทางการเมืองประชาธิปไตยแล้ว... การหากลุ่มพอเพียงมีระดับนามธรรมที่ยิ่งยากไปกว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเสียอีก ... ผมไม่คิดว่าการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวแทนกลุ่มเหล่านี้ได้มากไปกว่าให้คนเหล่านี้ได้แสดงพลังของตัวเองตามหลักประชาธิปไตย... สิ่งที่ขาดไปยังคงเป็นเรื่อง "กระบวนการ" ในการตั้งหลักรวมกลุ่มให้กับคนเหล่านี้ ซึ่งต้องมีมากกว่าสหกรณ์ที่เป็นรูปธรรมของเกษตรกร

ผมเดาว่ากว่าแนวคิดพอเพียงจะตั้งหลักได้ ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 30-40 ปี ... ยิ่งในสถานการณ์เร่งด่วนขัดตาทัพเช่นนี้... แม้จะเน้นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ... แต่ผมคิดว่านั้นเป็นเพียงนโยบายที่จะเข้ารับการแนะนำจากในหลวงในบางกิจการของรัฐบาลเสียมากกว่าโดยหวังว่าจะได้ "คำตอบสำเร็จรูป" จากท่าน...(ซึ่งอาจมีหรือไม่มีก็ยังไม่มีใครรู้)

ดังนั้นวิธีที่คุณ Q แนะนำในการจัดตั้งแบบ top down bottom up อะไรนั้น ผมว่าอย่าไปคาดหวังดีกว่าครับ... ที่คาดหวังได้มากกว่าจึงเป็นการสอดแทรก "กระบวนการ" ที่นำไปสู่แนวทางสนับสนุนให้เกิดกลุ่มบุคคลตามแนวทางพอเพียงในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ข้างหน้า.. ซึ่งจะว่าไปแล้วกระบวนการดังกล่าวมีสอดแทรกไว้บ้างแล้วในรัฐธรรมนูญ 2540... ซึ่งถ้าทำสำเร็จน่าจะร่นระยะเวลาเหลือ 10 ปี... แต่ผมคิดว่าด้วยสถานการณ์ปัจจุบันก็ยังคงอย่าคาดหวังมากเช่นกันครับ


ผมอ่านความคิดของคุณพระพายแล้ว ก็บอกได้ครับว่าคุณเพียงมองเห็นปัญหาบ้างเท่านั้น แต่หาแนวทางสรุปรวบยอดไม่ได้ ได้แต่ตีปัญหาให้แตกออกไปให้กว้างขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่เหมาะกับการปฏิบัติหรือการตัดสินใจในการบริหารครับ ที่คุณยกมาเป็นรายละเอียดของจุลภาคที่นักคิดแต่ละภาคแต่ละส่วนต้องไปคิดทำต่อโดยไม่กระทบโครงสร้างหรือแนวทางของปัจจัยหลัก ลองหัดยกอะไรลำดับเป็นข้อๆ เรียงลำดับให้ตามขั้นตอนดูก็จะได้แนวทางปฏิบัติครับ ส่วนจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ การทดสอบแบบเหมือนในห้องแล็บก็พอบอกได้แล้วครับ   :slime_bigsmile:

ผมขมวดแนวคิดมหภาคให้ดูเป็นตัวอย่างนะครับ

ปัญหาที่ต้องสร้างคือ 1 ค่านิยมที่สำคัญ
                          2 รายการวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบันรูปแบต่างๆ
                          3 การจัดผังรายการสื่อสารมวลชน เพื่อผลักดันแนวคิดที่พิสูจน์เป็นที่ยอมรับได้แล้ว

เป็นต้นครับ 

ส่วนประเด็นซับเจ็คทีฟของท่านอื่น แนะนำอย่างนี้ครับ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องความสวยนะครับ คอมพิวเตอร์คำนวณหรืออ่านค่าไม่ได้ครับ แต่ถ้ามีอินพุดจากคน เป็นคะแนนในด้านต่างๆเหมือนการให้คะแนนกีฬายิมมนาสติกทำได้ เข้าใจนะครับ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งที่ประชากรยอมรับ เข้าไปสู่ระบบที่คำนวณได้แบบคณิตศาสตร์ยกตัวอย่างง่ายๆระบบบัญชีหรือฐานข้อมูลตัวเลข เป็นต้น หากการแก้ปัญหาของสังคมอยู่ในขอบเขตที่รับได้ ไม่เกินจุดวิกฤติ การแก้ไขในส่วนย่อยก็ไม่ถูกจำกัดด้วยเวลามากจนเกินไป

ตัวแปรมนุษย์  ก็ลองศึกษาเรื่องประชากรศาสตร์ดูครับ เรื่องคุณภาพคนในเกณฑ์ช่วงที่รับได้ และเกณฑ์เฉลี่ยแบบต่างๆ ตัวแปรก็ยกตัวอย่างเช่น ปริมาณหนังสือที่อ่านใน1ปี เป็นต้นฯลฯ
                                                                                                                                                                                                              :slime_doubt: :slime_cool:


                         


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 02-10-2006, 17:03

ผมอ่านความคิดของคุณพระพายแล้ว ก็บอกได้ครับว่าคุณเพียงมองเห็นปัญหาบ้างเท่านั้น แต่หาแนวทางสรุปรวบยอดไม่ได้ ได้แต่ตีปัญหาให้แตกออกไปให้กว้างขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่เหมาะกับการปฏิบัติหรือการตัดสินใจในการบริหารครับ ที่คุณยกมาเป็นรายละเอียดของจุลภาคที่นักคิดแต่ละภาคแต่ละส่วนต้องไปคิดทำต่อโดยไม่กระทบโครงสร้างหรือแนวทางของปัจจัยหลัก ลองหัดยกอะไรลำดับเป็นข้อๆ เรียงลำดับให้ตามขั้นตอนดูก็จะได้แนวทางปฏิบัติครับ ส่วนจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ การทดสอบแบบเหมือนในห้องแล็บก็พอบอกได้แล้วครับ   :slime_bigsmile:

ผมขมวดแนวคิดมหภาคให้ดูเป็นตัวอย่างนะครับ

ปัญหาที่ต้องสร้างคือ 1 ค่านิยมที่สำคัญ
                          2 รายการวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบันรูปแบต่างๆ
                          3 การจัดผังรายการสื่อสารมวลชน เพื่อผลักดันแนวคิดที่พิสูจน์เป็นที่ยอมรับได้แล้ว

เป็นต้นครับ 

ส่วนประเด็นซับเจ็คทีฟของท่านอื่น แนะนำอย่างนี้ครับ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องความสวยนะครับ คอมพิวเตอร์คำนวณหรืออ่านค่าไม่ได้ครับ แต่ถ้ามีอินพุดจากคน เป็นคะแนนในด้านต่างๆเหมือนการให้คะแนนกีฬายิมมนาสติกทำได้ เข้าใจนะครับ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งที่ประชากรยอมรับ เข้าไปสู่ระบบที่คำนวณได้แบบคณิตศาสตร์ยกตัวอย่างง่ายๆระบบบัญชีหรือฐานข้อมูลตัวเลข เป็นต้น หากการแก้ปัญหาของสังคมอยู่ในขอบเขตที่รับได้ ไม่เกินจุดวิกฤติ การแก้ไขในส่วนย่อยก็ไม่ถูกจำกัดด้วยเวลามากจนเกินไป

ตัวแปรมนุษย์  ก็ลองศึกษาเรื่องประชากรศาสตร์ดูครับ เรื่องคุณภาพคนในเกณฑ์ช่วงที่รับได้ และเกณฑ์เฉลี่ยแบบต่างๆ ตัวแปรก็ยกตัวอย่างเช่น ปริมาณหนังสือที่อ่านใน1ปี เป็นต้นฯลฯ
                                                                                                                                                                                                              :slime_doubt: :slime_cool:


                         

คุณ Q... ถ้าคุณมองแต่เรื่องความคิดรวบยอด ไม่ได้มองความหลากหลายไว้แต่แรกแ้ล้วหล่ะก็... ป่วยการที่จะมาระดมความคิดเห็นกัน

ส่วนคำแนะนำให้ผมลองหัดลำดับความคิดเป็นข้อๆ เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัตินั้น... คุณ Q ยังไม่ได้หัดตอบผมตามที่ผมลำดับถามไปแล้วเลยนี่ครับ... แล้วเราจะเสวนาต่อกันได้อย่างไร... คุณตอบผมตามลำดับแล้วผมจึงจะตอบคุณตามลำดับบ้างครับ

อ้างถึง
กรอบที่ว่านี่...เริ่มต้นกันง่ายๆ นะครับ

1.ประชาธิปไตยแบบ "พอเพียง"... นั้น... "ใคร" เป็นผู้กำหนดว่าอะไรคือความพอเพียง... ใช่นักวิชาการหรือไม่? ใช่คนชั้นกลางที่คุณว่าหรือไม่? ...พอเพียงสำหรับใคร?...

2.ความพอเพียงที่ว่าเนี่ยคืออะไร? รูปธรรมคืออะไร?... ผมไม่คิดว่าทุกคนจะเข้าใจความพอเพียงตรงกัน หรือปล่อยให้บางกลุ่มบางชนชั้นผูกขาดนิยามความพอเพียงให้เป็นประโยชน์เฉพาะ กลุ่มตนเท่านั้นครับ

ประเด็นมันจะยุ่งเหยิงไปอีก... ถ้าเราตีกรอบประชาธิปไตยแบบพอเพียงในแนวคิดของทหารกับ "รากแก้ว" (ก็รากหญ้านั่นแหละ... เดี๋ยวนี้เค้าเรียกใหม่แว้ววว) ซึ่งก็คงต่างกันสุดขั้วในสถานการณ์ปัจจุบัน...



หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 02-10-2006, 17:12
นั่นคือ... คุณพอจะเข้าใจแล้วหรือไม่ว่าที่คุณวางแผนรวบยอดให้ใครต่อใครไปมากมายนั้น... ได้ตอบคำถามแล้วหรือยังว่าทำเพื่อ "ใคร"? กลุ่มไหน?... หรือวางแผนให้ดูเท่ห์ เก๋ ไปเฉยๆ

อย่าตอบแบบนามธรรมนะครับ... เห็นตอบมาหลายหัวข้อแล้วเรื่องประชากรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญอะไรนั่น... เราพูดกันในระดับ "รูปธรรม" อย่าเลี่ยง อย่าหนี


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 17:31

อ้างถึง
คุณ Q... ถ้าคุณมองแต่เรื่องความคิดรวบยอด ไม่ได้มองความหลากหลายไว้แต่แรกแ้ล้วหล่ะก็... ป่วยการที่จะมาระดมความคิดเห็นกัน

ส่วนคำแนะนำให้ผมลองหัดลำดับความคิดเป็นข้อๆ เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัตินั้น... คุณ Q ยังไม่ได้หัดตอบผมตามที่ผมลำดับถามไปแล้วเลยนี่ครับ... แล้วเราจะเสวนาต่อกันได้อย่างไร... คุณตอบผมตามลำดับแล้วผมจึงจะตอบคุณตามลำดับบ้างครับ


อ้างถึง
กรอบที่ว่านี่...เริ่มต้นกันง่ายๆ นะครับ

1.ประชาธิปไตยแบบ "พอเพียง"... นั้น... "ใคร" เป็นผู้กำหนดว่าอะไรคือความพอเพียง... ใช่นักวิชาการหรือไม่? ใช่คนชั้นกลางที่คุณว่าหรือไม่? ...พอเพียงสำหรับใคร?...

2.ความพอเพียงที่ว่าเนี่ยคืออะไร? รูปธรรมคืออะไร?... ผมไม่คิดว่าทุกคนจะเข้าใจความพอเพียงตรงกัน หรือปล่อยให้บางกลุ่มบางชนชั้นผูกขาดนิยามความพอเพียงให้เป็นประโยชน์เฉพาะ กลุ่มตนเท่านั้นครับ

ประเด็นมันจะยุ่งเหยิงไปอีก... ถ้าเราตีกรอบประชาธิปไตยแบบพอเพียงในแนวคิดของทหารกับ "รากแก้ว" (ก็รากหญ้านั่นแหละ... เดี๋ยวนี้เค้าเรียกใหม่แว้ววว) ซึ่งก็คงต่างกันสุดขั้วในสถานการณ์ปัจจุบัน...

ผมก็ได้แต่สอนคุณนะครับ ว่าความหลากหลายจะเป็นสิ่งดีก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการคัดเลือกและกลั่นกรองตามธรรมชาติครับ  ไม่ใช่ว่าตั้งคำถามสะเปะสะปะ ทั้งทียังคิดเป็นระบบใหญ่ๆนำไปสู้ข้อสรุปเชิงทฤษฎีไม่เป็น เสียเวลาตอบครับ ถ้าตอบก็เป็นการชี้ข้อบกพร่องที่มองเห็นมากกว่า

คำถามเรื่องประชาธิปไตยที่ตั้งมาผมยังไม่สรุปดีกว่าครับ ถ้าจะตอบกระทู้ด้วยคำถามหยุดถามได้แล้วนะครับ ผมไม่จำเป็นต้องคิดอย่างละเอียดจนจบ เพื่อพิสูจน์อะไรทั้งนั้นครับ ผมนำเสนอความคิดตั้งต้นและแนวทางต่อยอดเท่านั้น กลุ่มเป้าหมายคือ นักคิดที่มีความรู้จริงเฉพาะทางหลายๆสาขาครับ ถนัดด้านไหนก็เสนอความคิดออกมาได้เลย  :slime_bigsmile:

แต่ผมยกตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงดีกว่า

เศรษฐกิจพอเพียง มีเรื่องมิติทางด้านธรรมะของคน คือต้องรู้จักประเมินฐานะตนเอง รู้จักพอ อันนี้สร้างตัวเปรียบเทียบเชิงปริมาณได้ เพื่อให้คนพิจารณาประเมินจิตใจตนเองได้ครับ
                      มีเรื่องเชิงปริมาณ เช่นรายได้ หนี้สินภาคครัวเรือนในกลุ่มต่างๆของสังคมปัจจุบัน เทียบเคียงกับความรู้สึกว่าพอเพียงหรือไม่?
                      เชิงปริมาณ บางส่วนก็มีมาตรฐานอยู่แล้ว เป็นต้น เช่นปริมาณเงินที่ใช้จ่ายในหมวดค่าใช้จ่ายต่างๆในหนึ่งปี เป็นต้น ส่วนบรรทัดฐานกลุ่มชนต้องใช้การสุ่มตัวอย่างจริงครับ คนคิดใช้คนที่มีความรู้เฉพาะทางที่มีกระบวนการคิดเป็นระบบเป็นผู้สังเคราะห์
 


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 17:46

นั่นคือ... คุณพอจะเข้าใจแล้วหรือไม่ว่าที่คุณวางแผนรวบยอดให้ใครต่อใครไปมากมายนั้น... ได้ตอบคำถามแล้วหรือยังว่าทำเพื่อ "ใคร"? กลุ่มไหน?... หรือวางแผนให้ดูเท่ห์ เก๋ ไปเฉยๆ

อย่าตอบแบบนามธรรมนะครับ... เห็นตอบมาหลายหัวข้อแล้วเรื่องประชากรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญอะไรนั่น... เราพูดกันในระดับ "รูปธรรม" อย่าเลี่ยง อย่าหนี

ข้ามกระทู้นี้ไปเถอะครับ 5555 ไม่ก็แสดงสิ่งที่คุณบอกคนอื่นได้เป็นเรื่องเป็นราวออกมา :slime_bigsmile: :slime_cool:

มีข้อสังเกตให้ทุกท่านที่อยู่ในแวดวงวิชาการนิดหนึ่ง คือว่า เดี๋ยวนี้หลายสาขา การทดลองเขาใช้การทดลองผ่านโมเดลและการคำนวณซับซ้อนแล้ว โดยไม่ต้องทดลองแบบเปียกในสิ่งที่ทราบอยู่แล้ว..



หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 02-10-2006, 18:31
 :slime_bigsmile: โอย...ขำ... คุณ Q ... จะสอนหรือจะอ้างอะไรก็แล้วแต่... คุณไม่ตอบหน่ะ ไม่ใช่คุณตอบไม่ได้ หรือไม่อยากตอบหรอก ... แต่มันเป็นจุดตายของคำถามคุณต่างหาก... คุณรู้ดีว่าผมตอบสะเปะสะปะหรือไม่

ที่คุณเขียนมานั้น ล้วนแล้วแต่บอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงมีมิติโน้น มีมิตินี้ ปรัชญาพอเพียงมีมิติโน้น มีมิตินี้... แต่ในความคิดของคุณไม่มีการให้น้ำหนักความสำคัญของ "คน" อยู่เลย... แม้แต่ืการตอบในกระทู้นี้คุณก็ให้ความสำคัญกับความคิดของคุณเองมากกว่าการคุยกับผู้เข้าร่วมสนทนาอย่างให้เกียรติ... จะสอนโน่น สอนนี่... โอย... ขำ  :slime_bigsmile: ...

คุณไม่ตอบผม... แต่ผมจะตอบคุณที่ถามมาตามลำดับนะครับ

จากที่คุณเขียนดังนี้
อ้างถึง
ผมขมวดแนวคิดมหภาคให้ดูเป็นตัวอย่างนะครับ

ปัญหาที่ต้องสร้างคือ 1 ค่านิยมที่สำคัญ
                          2 รายการวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบันรูปแบต่างๆ
                          3 การจัดผังรายการสื่อสารมวลชน เพื่อผลักดันแนวคิดที่พิสูจน์เป็นที่ยอมรับได้แล้ว

เป็นต้นครับ

1.คุณถามผมเรื่องค่านิยมที่สำคัญมีอะไรบ้างในแนวคิดพอเพียง... การตอบของผมยังคงผูกไว้กับคำถามที่ผมถามคุณ (ุถ้าคุณคิดว่านั่นเป็นคำถามสะเปะสะปะ นั่นคือคุณยังไม่มีความสามารถเข้าใจสิ่งที่ผมสื่อ)..  ค่านิยมที่สำคัญย่อมขึ้นอยู่กับว่าเป็นค่านิยมของ "ใคร"? กลุ่มบุคคลที่แตกต่างหลากหลาย กลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มที่แบ่งตามท้องถิ่น ฯลฯ สำหรับผม... ตัวอย่างเรื่องค่านิยมนี้ผมยังเห็นว่าไม่ใช่คำตอบตรงของปรัชญาพอเพียงด้วยซ้ำ... สิ่งที่ตรงประเด็นกว่าก็คือคำถามที่ผมถามถัดมานั่นคือ... ความพอเพียงของแต่ละกลุ่มคืออะไร?

จะว่าไปแล้ว คุณ Q ยังลำดับความคิดไม่เป็นเสียด้วยซ้ำ... ควรนำเสนอก่อนว่า "ค่านิยม" คือคำตอบในแนวคิดพอเพียงอย่างไร? ค่านิยมและการเผยแพร่ค่านิยมตามลำดับที่ 2 และ 3 ที่คุณเสนอมานั้นหรือคือคำตอบ?... อย่าลืมนะครับว่าแม้แต่ต้นแบบอย่างทฤษฎีใหม่ที่เป็นคำตอบสำหรับความพอเพียงให้เกษตรกรนั้น ยังให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็น "รูปธรรม" และจริงจังกว่านี้เยอะมาก...

2.ลำดับนี้คุณเน้นเรื่อง "รายการวัฒนธรรม" ที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต...  ก็เพื่อเชื่อมกับเรื่องค่านิยมในข้อ 1 และการเผยแพร่ผ่านระบบสื่อมวลชนในข้อ 3... เรื่องนี้ถ้าตั้งต้นผิด ลำดับถัดมาก็ย่อมเพี้ยน... ผมจึงถามคุณ Q (ที่เลี่ยงตอบไป) นั้นแหละว่าของ "ใคร"? รายการหนังตะลุงย่อมเหมาะกับภาคใต้มากกว่าอีสาน เรื่องนี้อาจไม่ต้องให้ความสำคัญกับมันด้วยซ้ำถ้าในอนาคต กสช. (ในรัฐธรรมนูญใหม่) เปิดกว้างให้กับวิทยุชุมชน ทีวีชุมชน... ไม่ต้องกังวล "คิด" แทนเขาในเนื้อหาสาระแบบนี้... กลุ่มเขาย่อมรู้เองว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการ

3.สื่อมวลชนที่คุณคิดจะวางแผนนั้น... บางครั้งอาจไม่เหมาะเท่ากับการประชุมในหมู่บ้านด้วยซ้ำ... บริบทของกลุ่มนั้นมีหลากหลาย... คุณยังตอบไม่ได้ว่า ใคร?... แล้วจะไปวางแผนทำเท่ห์อะไรครับ?

คุณมองเห็น "คน" ในความคิดของคุณหรือยัง? วางแผนบนความว่างเปล่านั้นมีประโยชน์อะไรครับ?

คุณเป็นเจ้าของ "ความคิด" ของคนเหล่านั้นหรือครับ? คุณเป็นเจ้าของ "ความพอเพียง" ของคนเหล่านั้นหรือครับ? ... คุณพูดถูกที่ว่าความหลากหลายจะเป็นสิ่งดีก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการคัดเลือกและกลั่นกรองตามธรรมชาติ ซึ่งนั่นคือคุณเห็นด้วยกับผมที่เสนอเรื่อง "กระบวนการ" เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นผมจึงไม่เห็นประโยชน์ที่จะไปคิดอะไรรวบยอดยัดเยียดขึ้นมาตอนนี้... สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ "กระบวนการ" ที่ได้มาซึ่งสาระสำคัญของการปฏิบัติตามแนวทางพอเพียง.. ซึ่งผมเสนอให้แล้ว... คุัณเปิดใจกว้างรับฟังเมื่อไหร่เราค่อยคุยกันต่อ

ถ้าจะรวบยอดอะไรลอยๆ ตามที่คุณอยากเล่นสนุกเพียงคนเดียวก็เชิญตามสบาย...


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 18:41


ไปอ่านหัวกระทู้ดูใหม่เถอะ ทิด               
ขอบคุณทีช่วยขยายสิ่งที่ผมยกตัวอย่างครับ หัดคิดดีแล้วครับ แต่ไม่ได้ถามนะ    :slime_agreed:  :slime_v: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 02-10-2006, 19:06
คุณ Q... ผมอ่านหัวกระทู้เข้าใจดี...

แต่สาระสำคัญที่ตั้งไว้นั้น.. ผมแสดงความ "ไม่เห็นด้วย" ดังแสดงในความคิดที่ 19 นั่นคือ

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับประชาธิปไตยแบบพอเพียงไม่ใช่ "เกมส์คอมพิวเตอร์" ทีมองคนร่วมชาติเป็นเพียงโมเดลในความนึกฝันนะครับ...

ส่วนเรื่องตัวอย่างที่ผมตอบโดยคุณไม่ได้ถามไปนั้น... เป็นความพยายามช่องทางสอดแทรก "คน" เข้าไปในเกมส์คอมพิวเตอร์ของคุณเท่านั้นครับ


หัวข้อ: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 19:18


ทบทวนแนวคิดตามหัวกระทู้  ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง


อยากจะฝากนักวิชาการรัฐศ าตร์ไทยสักนิดนะครับ
เมืองไทยเรามีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว มีการนำเอาตัวแบบ GDH มาทดลองคำนวณหาค่าดัชนีกันแล้ว
การที่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยเรามีปัญหานั้นเกิดจากสาเหตุหลายประการ ที่เป็นจากกระแสโลกก็มี เป็นจาก
ลักษณะเฉพาะของสังคมไทยเราก็มี เป็นจากลักษณะของผู้นำก็มี  ดังนั้น ประเด็นที่ผมต้องการนำเสนอก็คือ การปรับปรุงแนวคิดระบอบประชาธิปไตยให้เป็น ประชาธิปไตยแบบพอเพียง
ซึ่งลักษณะของแนวคิดจะต้องผสมผสาน ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การบริหารจัดการประเทศ คุณธรรมและจริยธรรม จิตวิทยามวลชน กฎหมายมหาชน ตลอดจนหลักวิชาต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างของสังคมโลกได้อย่างทันท่วงทีและสอดคล้องกับปัญหาของสังคมไทยและสามารถหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ทางการเมืองได้ดังที่คนไทยส่วนใหญ่พึงจะเชื่อถือได้ จึงขอให้นักวิชาการรัฐศาสตร์ไทย ทดลองศึกษาสร้างทฤษฎีต่อยอดตามหลักสหวิทยาการร่วมกับนักวิชาการหัวก้าวหน้าแขนงอื่นๆของไทยครับ


การที่การเมืองไทยมีปัญหา และความจำเป็นในการอยู่ในสังคมโลก จำเป็นเราจะต้องสามารถมั่นใจได้ว่าทฤษฎีระบบของเราดีพอที่จะกลั่นกรองและป้องกันปัญหาต่างๆในสังคมไทยได้อย่างเป็นที่เห็นพ้องต้องกันทั้งสังคมอย่างเป็นเอกภาพ และสามารถตอบโจทย์ปัญหาของเหล่าศรีนญชัยขี้สงสัยได้ ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใด ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการขายตัว หรือสื่อขายวิญญาณ ปัญญาชนต่างขั้วต่างบุคคลิกภาพ ก็ตามที

เพื่อนสมาชิกกระดานแสดงความเห็นเสรีไทยแห่งนี้ ท่านใดมีความเห็นนำเสนอก็เชิญได้ครับ   :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 02-10-2006, 19:35
ไม่ copy ความเห็นที่ 16 ของคุณมาด้วยหละครับ ว่าแนวทางของคุณนั้นเป็นอย่างไร


ไม่ท้อหรอกครับ วิธีคิดคือต้อง ใช้วิธีคิดแบบมหภาคและสหวิทยาการเข้าช่วยครับ เช่น จิตวิทยามวลชน การทำนายอนาคตแบบเศรษฐมิติ  ฯลฯ ส่วนการทดสอบทฤษฎีต้องเป็นการสร้างแบบจำลองและความทนทานต่อวิกฤติด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้วยการคำนวณของเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เหมือนที่ใช้แข่งหมากรุกกับคน เป็นปัญญาประดิษฐ์ เฉพาะการทดสอบแบบจำลองนะครับ ส่วนการควบคุมดูแลสังคมจริงต้องอาศัยมวลชนส่วนหนึ่ง ที่มีความเข้าใจและทักษะเพียงพอในการเชื่อมต่อการสื่อสารทั้งท้อปดาวน์และบอททอมอัพครับ

ลองดูตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้ครับ  จะเห็นว่าเป็นเชิงมหภาค ที่ต้องทำคือการต่อยอดจากสาขาวิชาอื่นๆ และการสร้างจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงไว้ เหมือนคอนโทรลพาแนลที่ครอบคลุมปัญหาหลักของสังคมตามโมเดลที่วางไว้ทดสอบครับ ส่วนปัญหาอื่นๆที่คาดไม่ถึงต้องใช้ความสามารถของนักบริหารแลคุณภาพของคนในการตัดสินใจครับ

http://www.sufficiencyeconomy.org/
เศรษฐกิจพอเพียง           
                                 :slime_smile: :slime_p: :slime_fighto: :slime_v: :slime_cool:

กระทู้ของคุณใช่พูดถึงเกมส์คอมพิวเตอร์หรือไม่?


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 20:20
สมมุติฐานหลัก ของประชาธิปไตยแบบพอเพียง คือประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ในเมืองไทยตอนนี้มีปัญหา จึงต้องมีการปฏิรูปการเมือง ดังนั้น

จึงจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับมาดูว่าระบอบประชาธิปไตยของเรามีปัญหาอะไรบ้าง? จึงขาดสมดุลที่ดี และพอเพียงในการแก้ปัญหาการเมืองของประเทศ และต่อความรู้สึกของคนไทยแต่ละกลุ่มไปจนถึงรายบุคคล

ส่วนแนวทางในการสร้างทฤษฎีและกรรมวิธีที่จะใช้ในการสังเคราะห์หรือสร้างทฏษฎีนั้น ต้องมุ่งตอบโจทย์ปัญหาได้ทุกมิติ ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ยุคใหม่ของสังคมโลกาภิวัฒน์  ซึ่งแม้แต่จะคัดเลือกตัวแปรหลักที่สำคัญๆแล้วก็ตาม ก็ยังมีตัวแปรอยู่มาก ทั้งตัวแปรที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ และตัวแปรที่ถูกแปลงค่าเป็นดัชนีต่างๆในขั้นต่างๆ  ตามแต่ศาสตร์แต่ละด้านจะมีเครื่องมือเชิงปริมาณ  ส่วนข้อจำกัดในส่วนที่ต้องใช้การประยุกต์ก็คือ ขั้นการจัดเก็บข้อมูลบางชนิดที่ต้องใช้คนที่มีความเข้าใจเฉพาะทาง และขั้นการสร้างตัวแบบการประมวลผล ที่ต้องใช้นักวิชาการหลายแขนง ทั้งนี้เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดของแต่ละสาขาวิชาโดยการผสานจากความก้าวหน้าในวิทยาการที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง ในลักษณะที่สร้างทฤษฎีใหม่ต่อยอด ทั้งนี้ก็เพื่อเป้าหมายที่จะเกิดความพอเพียงทางการเมืองในมิติต่างๆ ที่เป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นได้  แต่ทว่าอย่างไรก็ตาม ความต้องการของมนุษย์ในแต่ละกลุ่มในสังคม มีแรงขับดันบางส่วนที่ต่างกันและมีแนวโน้มจะไม่หยุดนิ่งพอเพียงอย่างสมดุลได้โดยขาดองค์ความรู้ในการเปรียบเทียบและหรือประเมินตนเอง ดังนั้นการสร้างทฤษฎีทางการเมืองที่เหมาะสม จะสามารถช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆตรงกับปัญหาของประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและกว้างขวางได้ผลมากกว่าการลอกเลียนทฤษฎีจากนักคิดต่างสภาพแวดล้อมต่างถิ่นเพียงอย่างเดียว โดยที่ขาดการประยุกต์ ต่อยอดเพื่อตอบโจทย์ทั้งเก่าและใหม่ในสังคมนั้นๆ ดังนั้นการสร้างแนวคิดประชาธิปไตยอย่างพอเพียง ที่สามารถทดลองใช้ได้ผลจริง จึงเป็นการสร้างทฤษฎีให้ผลที่ดีกว่าเพื่อสังคมไทยโดยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดีกว่าวิธีการลองผิดลองถูกโดยไม่มีกรอบทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อย่นระยะเวลาการปรับตัวของสังคมตามกระบวนการปฏิรูปการเมืองดังที่ทุกฝ่ายเล็งเห็นซึ่งความจำเป็นในการแก้ปัญหาต่างๆอยู่แล้วนั้น

กรรมวิธีก็คือ

1.รวบรวมปัญหาทุกชนิดที่สำคัญเกิดขึ้นในสังคมไทย  เพื่อกำหนดมาตรฐานที่ต้องมีในขั้นต้นและเป้าหมายปลายทางในอุดคติที่คาดหวังได้
2.รวมรวมตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านั้นที่สำคัญทั้งหมดโดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของสาขาวิชาต่างๆมากนัก
3.ประยุกต์หรือสังเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆโดยอิงหลักสหวิทยาการ และคำนึงถึงความเป็นพลวัตร และรูปแบบของสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยสร้างแบบจำลองเพื่อทดสอบสมมุติฐานโดยการทดลองเพื่อการสร้างสูตรคำนวณผลลัพธ์ทีสามารถทำให้วัดค่าได้
4.สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ฉลาดในการคำนวณและแสดงผล
5.สร้างเป็นทฤษฎีรวบยอดวิธีแก้ไขปัญหาที่ใช้ได้ผลในระดับหนึ่งทั้งนี้เพื่อพัฒนาแก้ไขจุดอ่อนของทฤษฎีต่อไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นำทฤษฎี ที่ยอมรับได้แล้วนั้น  มาผลักดันรณรงค์สู่การนำมาใช้ในการวางแผนแม่บท แผนกลยุทธ แผนปฏิบัติการใน กิจกรรมทางการเมืองของชาติต่อไป ซึ่งหากทฤษฎีใช้ได้ผลดี ปํญหาต่างๆจะลดลงอย่างรวดเร็วอยู่ในระดับที่ไม่เกิดวิกฤติในด้านต่างๆ จนประชาชนไม่ยอมรับในอำนาจหน้าที่และแนวการทำงานของรัฐบาลต่างๆจนถึงกับต้องขับไล่ดังที่ผ่านมา




หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 21:48


ท้ายกระทู้ เมื่อมีโอกาสดี ผมจะรวบรวมหัวข้อคำค้นหรือข้อความ ที่คิดว่าสำคัญและต้องคำนึงถึงในกระบวนการสร้างทฤษฎีนี้ เพื่อสามารถตอบโจทย์ปัญหาการเมืองที่ผ่านมาของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผมมีข้อคิดคือหากเราไม่เข้าใจปัญหาทั้งหมดเท่าที่สำคัญ เราก็ไม่สามารถสร้างทฤษฎีที่ดีได้ หากเราไม่สะสมความรู้และทักษะเพียงพอ เฝ้าแต่ขุดคุ้ยปัญหาอย่างไม่เป็นระบบ คอยแต่คิดโดยไม่เพิ่มเติมความรู้และลืมประเมินตนเองถือว่าเป็นคนโง่ที่สอนยากมากครับอย่าว่าจะคิดอะไรใหม่ๆได้ เพราะมีปัญหาที่เปรียบเสมือนบัคที่เคลื่อนไหวเพิ่มจำนวนได้ในสมองตนเอง ทำให้มีแนวโน้มจะคิดฟุ้งซ่านและไม่เกิดมรรคผลอะไรในการคิดนั้นๆต่อตัวปัญหา นอกจากสร้างปัญหาใหม่ให้ตนเองเพิ่มขึ้นจนเป็นวัวพันหลัก บางท่านก็ยิ่งกว่านั้น นิยมเอามาขยะความคิดมาโยนหรือกล่าวหายัดเยียดให้คนอื่น โดยบิดเบือนกล่าวหาในทางตรงกันข้าม แบบนี้เข้าข่ายเอาของปลอมมาหลอกลวง อันนี้เป็นปัญหาคน ที่ทำให้สังคมไทยเกิดความวุ่นวายยุ่งยากในช่วงที่ผ่านมา
          :slime_cool:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 02-10-2006, 22:37
เจ้าของกระทู้เข้าใจคิด "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" หากทำได้นี่ เข้าขั้น "อุดมรัฐ" เป็นที่สุดของที่สุดเลยครับ

แต่ผมคิดว่าเราคงเข้าใกล้ตรงนั้นยากมาก ๆ เพราะ ในหลักการของ "พอเพียง" ออกมาจากหลักคุณธรรม ลดละกิเลสในตัวมนุษย์

เหมือนกับความคิดที่ว่า ทำยังไงให้คนคิดหวังรวยแบบพอเพียงนั่นแหละ...มันค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก

ความอยากมี อยากเป็น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มันเป็นกิเลสที่ติดตัวมนุษย์ อาจจะเพราะความ "กลัว" ความ "ไม่รู้" หรือ "อวิชชา"

หลักการที่ดูจะเข้าถึงได้เร็ว นั่นคือใช้หลัก "คุณธรรม" เข้าไปประกบในทุกทาง จนกลายเป็น "ธรรมาธิปไตย" เช่น

เศรษฐกิจที่มีคุณธรรม

การเมืองที่มีคุณธรรม

สังคมที่มีคุณธรรม

เอาทั้ง 3 ด้านมาประกอบกัน เราก็จะได้ ประชาธิปไตยแบบคุณธรรม หรือ คุณธรรมนำประชาธิปไตย

แค่คิดก็อมยิ้มกับความสวยงามนั้นแล้วครับ...เพราะตัวคุณธรรม จริยธรรม มันจะเป็นตัวกำหนดบรรยากาศทุกอย่าง

คล้าย ๆ เราเดินเข้าไปในสำนัก "สันติอโศก" ยังไงยังงั้น คือทุกคนจะยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาระรื่นหู มองดูชีวิตอย่างเข้าใจ

กินน้อย ใช้น้อย ทำงานมาก ทำงานมาก ให้มากเกิดประโยชน์ ทำงานมากใช้น้อยให้ทานมาก ก็เกิดประโยชน์

จะพูดไปแล้วมันคือเส้นทางที่ "วิ่งสวนกลับ" กับความต้องการของมนุษย์เชียวนะ

อ้อ...ไม่ต้องถึงกับต้องเป็น มังสะวิรัตินะครับ...

ลอง ๆ "ตั้งธง" ที่เอา "คุณธรรม-จริยธรรม" นำหน้าในทุกสาขาวิชาซีครับ เผื่อจะมองเห็น "ทางออก"

เอาแค่ผู้คนในสังคม ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง 3 ตัวนี้ ก็มีโอกาสทำให้เป็น "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" ได้เยอะเลยครับ

แค่เอาประชาธิปไตยแบบคุณธรรม ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ นี่ก็ไปได้เยอะแล้วครับ

ท่านพุทธทาสท่านกล่าวว่า ประชาธิปไตยแบบประชาชนเป็นใหญ่ อาจไม่ใช่เป้าหมาย แต่ประชาธิปไตยแบบผลประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ นั่นถึงจะถูก...

แต่ประโยชน์ของประชาชนนั้น ก็ต้องไปในทิศทางประโยชน์แบบ "พอเพียง" ด้วยนะครับ

ที่สำคัญ คนที่จะมาขับเคลื่อนประชาธิปไตยแบบพอเพียงอย่างนักการเมือง ต้องเริ่มต้นที่ "เข้ามาเสียสละ" เพื่อส่วนรวม

ไม่ใช่ "เข้ามากอบโกย" ผลประโยชน์ของส่วนรวมไปเป็นของตัวเองและพวกพ้อง

และใช้หลัก "คุณธรรม" เข้ามาเป็นหลักคิดในทุกกระบวนการ

คนมาสมัคร สส. ก็มาแบบคุณธรรม คนใช้สิทธิ์เลือกตั้งก็ใช้หลักคุณธรรมในการคัดเลือก

ขอแค่นี้ ประชาธิปไตย แบบที่ใฝ่หามันก็ใกล้ความจริง

ประชาชนมีคุณธรรม นักการเมืองมีคุณธรรม พ่อค้ามีคุณธรรม ข้าราชการมีคุณธรรม โอ้..พระเจ้า...นั่นมันเมืองสวรรค์แล้วครับ


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-10-2006, 23:44
ครับสวัสดีครับ

ขอเรียนทุกท่านเลยนะครับ ว่าการนำเสนอกระทู้นี้ มุ่งเสนอกระบวนการคิดเพื่อหาทางออกจากปัญหาในเบื้องต้นให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก  ดังนั้น

จึงมุ่งเสนอกระบวนการคิดวิธีที่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งระยะสั้น และระยะยาว

ขั้นแรกของการคิดก็คือ สร้างเป้าหมายที่ชัดเจนเข้าใจง่าย

ขั้นที่สองคือหาทางสร้างระบบที่ควบคุมไปสู่เป้าหมายนั้นได้ในระยะสั้น และสามารถต่อเนื่องไปได้ระยะยาว ซึ่งก็คือกระบวนการที่สามารถพัฒนาไปได้อย่างรองรับปัญหาต่างๆในทุกองค์ประกอบหลักได้ทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้นแล้ว หรือคาดเดาได้ว่าอาจจะเกิด ดังนั้นตัวปัญหาจึงเป็นตัวตั้งในการคิด


ผมแบ่งองค์ประกอบหลักที่ครอบคลุมทุกสภาวะไว้ดังนี้

1.คน   เช่นประวัติดี จิตใจ และทัศนคติต่างๆดี
2.ระบบ  เช่น สะดวก รวดเร็ว ไม่มีปัญหา
3.สภาพแวดล้อม  เช่น ไม่มีอะไรร้ายแรงจนทำให้คนและระบบที่ดีอยู่แล้วรวน หรือระบบที่ไม่ดีแย่ลงไปอีก


องค์ประกอบหลักทั้ง3มีผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงและกำหนดความสัมพันธ์เป็นปฏิภาคซึ่งกันและกัน  ลายละเอียดผมไม่อธิบายนะครับ จะยืดยาวโดยใช่เหตุ


เรื่องเกี่ยวกับคนนี้ปัญหาหลักคือ การรักษาระเบียบวินัย การโกง หรือการขาดธรรมะ ขาดความรักในหัวใจ ฯลฯ

ยกตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับเงิน การป้องกันผู้ดูแลเงินระดับพื้นฐานโกงเงินก็คือ ต้องคำถึงถึงองค์ประกอบที่จะควบคุมดูแล ตรวจสอบดังต่อไปนี้

1.ไม่มีโอกาสโกง  สภาพวดล้อมและระบบดี
2.ไม่มีความจำเป็นหรือมูลเหตุจูงใจให้โกง คนมีวินัย มีธรรมะในหัวใจ ไม่ใช่ชีวิตด้วยความประมาท สภาพแวดล้อมดี
3.มีระบบควบคุมที่ดี  ระบบและสภาพแวดล้อมดี
4.มีระบบตรวจสอบที่ดี ระบบและสภาพวดล้อมดี

ผลที่ได้รับ คือทรัพยากรคนที่ดี ที่ยังไม่ทำผิด และเข้าใจปัญหาช่องว่างรอยโหว่ของตัวระบบและสภาพแวดล้อม หากจัดให้คนดีมาควบคุมจัดสร้างระบบก็จะได้ระบบที่สมดุลกับปัญหา  เป็นต้นครับ
                        :slime_doubt:




หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 03-10-2006, 01:05

การแก้ปัญหาระยะสั้นคือ สร้างกรอบของระบบและคนที่พอเพียงต่อปัญหาควบคุมเอาไว้

ส่วนระยะยาวแล้วขึ้นอยู่กับคุณภาพคน และต้องมีวินัย มิฉะนั้นจากคนดีก็จะกลายเป็นเสียได้ง่ายเพียงเพราะถลำไปทำผิดเพียงครั้งหรือสองครั้ง โดยเหตุใดก็แล้วแต่

ระบบการตรวจสอบตักเตือนและสะกัดกั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นตามระดับความรุนแรงของปัญหาในด้านบุคคล


ปัญหาทางการเมืองและนักการเมืองของไทยในปัจจุบัน

เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซับซ้อนและยากเพราะว่า สภาพแวดล้อม คน และระบบ มีปัญหาทั้งสิ้น

การแก้ปัญหาระยะสั้น จำเป็นต้องผ่าตัดทุกด้านไปพร้อมกัน และจำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญ เนื่องจากเป็นปัญหาที่หยั่งรากลึกลงถึงคนส่วนใหญ่ ในด้านค่านิยม อวัฒนธรรม และความประพฤติ จะเห็นได้ว่าทุกคนรู้ปัญหา แต่ระบของการแก้ปัญหาจะไม่เพียงพอเมื่อปัญหาทางกายภาพไม่มากระทบตนเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เหตุผลเป็เพียงการผลักปัญหาไปข้างหน้า หรือผลักไปให้ผู้อื่น หรือซุกซ่อนปัญหาเหล่านั้นไว้ในระบบต่อไป จนแม้ปัญหาค่อนข้างรุนแรงมากขึ้นกระบวนการผลักและซ่อนปัญหาก็ยังดำเนินต่อไป

การเปลี่ยนแปลงในเชิงบังคับ ได้ดำเนินต่อมาเรื่อยๆ จนถึงจุดแตกหัก เนื่องจากผู้มีปัญหาไม่ยอมรับรู้ปัญหาที่เกิดจากตนเอง และไม่ยอมฟังคำตักเตือนและแก้ไข ใช้ความคิดตนเองเป็นบรรทัดฐาน โดยไม่คำนึงถึง คนอื่นๆ และสภาพแวดล้อม อย่างยุติธรรมและสมดุล ทำให้ขาดสติปัญญาและจิตใจมืดบอดในจุดสำคัญของปัญหาที่เกิดจากตนเอง เมื่อคนจำนวนมากมีสภาพหรือคุณภาพเช่นนั้น ปัญหาย่อมถึงทางตัน จะมาแก้ไขที่จิตใจทั้งหมดก็เกินกำลังจะเยียวยา การผลักดันกระบวนการปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนก็เกินกำลังของคนปกติ

ในที่สุดระบบและสภาพแวดล้อมรวมทั้งคนในหน้าที่เดิมๆ ก็รองรับปัญหาไม่ได้ จำเป็นต้องผ่าตัดสับเปลี่ยนเอาคนที่มีบทบาทสำคัญในปัญหาออกไป จะได้ผลมากขึ้นเมื่อมีการลงโทษอย่างยุติธรรมเป็นที่ทราบทั่วกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเลียนแบบเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เพราะสำนึกได้หรือเกรงต่อโทษภัยก็ตามที ในขณะเดียวกันก็ต้องแก้ไขระบบเป็นขั้นๆไป และคุมบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมของปัญหาให้ดีที่สุด

ความยากในการสถาปนาสิ่งดีๆและได้ผลให้เกิดขึ้นในสังคม อยู่ที่สภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน ระบบที่ไม่ทำงาน ตัวป่วน การแบ่งฝ่าย การเร่งเร้าความเกลียดชัง ความอิจริษยา การดิสเครดิตบุคคล หาช่องทำลายความสามัคคีในกลุ่มบุคคลที่พวกเขาเหล่านั้นคิดว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม เพื่อช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์หรือสร้างผลงานอย่างไม่เป็นธรรมและไม่ยุติธรรมต่อสังคม

มาตรการในการแก้ปัญหาจึงจำเป็นต้องเข้าใจปัญหา เข้าใจวิธีในการแก้ไขเป็นลำดับ เอาปัญหาต่างๆมาจัดลำดับเป็นตัวตั้ง หากแก้ไขไม่ได้ จำเป็นต้องค้นหาวิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆเข้ามาใช้ร้วมด้วย ความซับซ้อนอยู่ที่การผสานองค์ความรู้เพื่อสร้งสรรค์แนวทาง แผนงาน เทคนิค การจัดลำดับขั้นตอนการตัดสินใจและเข้าสู่กระบวนการปฏิบัติต่างๆให้สอดคล้องกันทั้งหมดในภาพรวมหรือมหภาค บางสิ่งก็ต้องทำไปพร้อมๆกันหรือควบคู่กันไป พร้อมทั้งต้องข้ามข้อจำกัดต่างๆของปัญหา โดยเฉพาะข้อจำกัดในความสามารถหรือปัญหาของแต่ละบุคคลในทีมงานทำงานต่างๆและที่เป็นพรมแดนแห่งความรู้ในแต่ละสาขาวิชา การลองผิดลองถูกดดยขาดประสบการณ์หรือแนวคิหรือทฤษฎีที่ผ่านการทดลองมาแล้วในสภาวะต่างๆเพื่อขยายองค์ความรู้ ขาดการต่อยอด ความร่วมือ ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดการฝึกฝน การหวังผลที่แม่นยำกว่าดีกว่า จึงทำได้ยากยิ่งภายใต้เงื่อนไขด้งที่กล่าวมา


การมีองค์ความรู้และปัจจัยที่ครบถ้วน จึงเป็นหลักประกันแห่งความสำเร็จ ซึ่งบางครั้งการผิดพลาดเพียงครั้งเดียว ก็หมายถึงความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจทางการเมืองเหล่านั้น จำเป็นต้องล้างไพ่และหาทางตั้งต้นใหม่ทั้งนี้ต้องมีเจตนาเพื่อแก้ปัญหาของส่วนรวมเป็นสำคัญ


ข้อคิด สิ่งที่สร้างด้วยมนุษย์ต้องแก้ไขด้วยมนุษย์และธรรมชาติของมนุษย์ สิ่งที่มีอยู่เดิม สามาถแก้ไขตัวมันเองได้ตามกฎธรรมชาติของระบบนิวเวศน์

การสร้างทฤษฎีก็เพื่อช่วยให้เกิดองค์ความรู้และความแน่นอนในผลของการกระทำ การใช้เทคนิคเพื่อให้ง่ายหรือข้ามข้อจำกัด จนเกิดความชัดเจนการเป็นศาสตร์ต่อขยายหรือศาสตร์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อปัหาหรือเป้าหมายต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลที่ไว้ใจได้และดีกว่าที่เป็นอยู่เดิม

สังคมที่มีคุณธรรมและจริยธรรมสูงย่อมเป็นสังคมที่เจริญ เพราะจะส่งเสริมกระบวนการสะสมความรู้และคนในทางสร้างสรรค์ ตลอดจนการป้องกันตัวสังคมเองจากสิ่งใดๆหรือสิ่งเลวร้าย

ส่วนต่อไปจะคัดบทความเกี่ยวกับแนวคิดทางรัฐศาสตร์ที่มีการนำมาสอนในสถาบันในเมืองไทยมาลงประกอบ


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ChuNg ที่ 03-10-2006, 01:31
ถ้าประชาชนทุกคนมีศีลธรรม และสำนึกรู้ผิดรู้ชอบในการกระทำทุกอย่างเพียงพอ กฎหมายหรือประชาธิปไตยก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมี
แต่ในโลกของความเป็นจริงไม่ว่าเราจะพยายามแก้กฎหมายสักเท่าไหร่ ก็ยังมีคนชั่วคนเลวพยายามหาช่องว่างทางกฎหมายเพื่อกระทำการเอาเปรียบแบบไม่มีศีลธรรมวันยังค่ำ


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 03-10-2006, 02:12
คุณ Q... คุณตั้งชื่อกระทู้ว่า "แม่แบบ" ประชาธิปไตยแบบพอเพียง... แต่สุดท้ายกลายเป็นโมเดลทางทฤษฎีไป... สองความหมายนี้ต่างกันมาก... เพราะความหมายในเชิงแรกหัวใจคือ "คน" แต่ในความหมายที่สองหัวใจคือ "ข้อมูล"

คุณสังเกตหรือไม่ว่าคนที่เข้าร่วมเสวนากับคุณในกระทู้นี้ล้วนเน้นไปที่เรื่อง "คน" โดยพูดถึง "หัวใจ" ของเนื้อหาสาระก่อนเป็นหลัก เพราะนั่นคือแนวคิดรวบยอดของคน... ไม่ว่าจะเป็นคุณ Neoconservative ที่เปิดประเด็นด้วยนิยามของประชาธิปไตยแต่ไปจบที่คุณภาพของประชาชนของพระธรรมปิฎก... คุณลุง CanCan ที่จับเอาระบบคุณธรรมของธรรมาธิปไตยเข้ามาจับประยุกต์กับประชาธิปไตยแบบพอเพียง... และผมที่โฟกัสไปที่ประเด็นตีความ "พอเพียง" โดยเริ่มต้นที่ความพอเพียงของใคร? กระบวนการที่เหมาะกับเขานั้นเป็นอย่างไร?

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีคิดที่เป็นระบบรวบยอดทั้งสิ้น... แต่คุณ Q กลับบอกว่ามีแต่ของตัวเองที่คิดเป็นระบบรวบยอด คนอื่นคิดแบบการขุดคุ้ยไม่เป็นระบบ... ไม่สงสัยบ้างหรือครับว่าทำไมแต่ละคนถึงเน้นไปทางทิศเดียวกัน มีแต่คุณเท่านั้นที่สรุปความคิดความหมายที่ผิดแปลกออกไปจากที่ควรจะเป็นประชาธิปไตยแบบพอเพียง

แม้คุณจะพยายามปฏิเสธแนวการนำเสนอของผมเพียงใดก็ตาม... ในที่สุดคุณก็ต้องมาตีความในประเด็น "พอเพียง" ของใคร? และคืออะไร? อยู่ดี... นั่นคือความพอเพียงของ "สังคมไทย" (นามธรรมอีกแล้ว) และความพอเพียงก็คือการแก้ปัญหาสำคัญที่มีทั้งหมด ดังที่ผมอ้างอิงมานี้

สมมุติฐานหลัก ของประชาธิปไตยแบบพอเพียง คือประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ในเมืองไทยตอนนี้มีปัญหา จึงต้องมีการปฏิรูปการเมือง ดังนั้น

จึงจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับมาดูว่าระบอบประชาธิปไตยของเรามีปัญหาอะไรบ้าง? จึงขาดสมดุลที่ดี และพอเพียงในการแก้ปัญหาการเมืองของประเทศ และต่อความรู้สึกของคนไทยแต่ละกลุ่มไปจนถึงรายบุคคล

ส่วนแนวทางในการสร้างทฤษฎีและกรรมวิธีที่จะใช้ในการสังเคราะห์หรือสร้างทฏษฎีนั้น ต้องมุ่งตอบโจทย์ปัญหาได้ทุกมิติ ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ยุคใหม่ของสังคมโลกาภิวัฒน์  ซึ่งแม้แต่จะคัดเลือกตัวแปรหลักที่สำคัญๆแล้วก็ตาม ก็ยังมีตัวแปรอยู่มาก ทั้งตัวแปรที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ และตัวแปรที่ถูกแปลงค่าเป็นดัชนีต่างๆในขั้นต่างๆ  ตามแต่ศาสตร์แต่ละด้านจะมีเครื่องมือเชิงปริมาณ
...
...
กรรมวิธีก็คือ

1.รวบรวมปัญหาทุกชนิดที่สำคัญเกิดขึ้นในสังคมไทย  เพื่อกำหนดมาตรฐานที่ต้องมีในขั้นต้นและเป้าหมายปลายทางในอุดคติที่คาดหวังได้
2.รวมรวมตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านั้นที่สำคัญทั้งหมดโดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของสาขาวิชาต่างๆมากนัก
3.ประยุกต์หรือสังเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆโดยอิงหลักสหวิทยาการ และคำนึงถึงความเป็นพลวัตร และรูปแบบของสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยสร้างแบบจำลองเพื่อทดสอบสมมุติฐานโดยการทดลองเพื่อการสร้างสูตรคำนวณผลลัพธ์ทีสามารถทำให้วัดค่าได้
4.สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ฉลาดในการคำนวณและแสดงผล
5.สร้างเป็นทฤษฎีรวบยอดวิธีแก้ไขปัญหาที่ใช้ได้ผลในระดับหนึ่งทั้งนี้เพื่อพัฒนาแก้ไขจุดอ่อนของทฤษฎีต่อไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นำทฤษฎี ที่ยอมรับได้แล้วนั้น  มาผลักดันรณรงค์สู่การนำมาใช้ในการวางแผนแม่บท แผนกลยุทธ แผนปฏิบัติการใน กิจกรรมทางการเมืองของชาติต่อไป ซึ่งหากทฤษฎีใช้ได้ผลดี ปํญหาต่างๆจะลดลงอย่างรวดเร็วอยู่ในระดับที่ไม่เกิดวิกฤติในด้านต่างๆ จนประชาชนไม่ยอมรับในอำนาจหน้าที่และแนวการทำงานของรัฐบาลต่างๆจนถึงกับต้องขับไล่ดังที่ผ่านมา


ขั้นตอนทั้ง 5 ตามที่คุณว่ามานี้... (รวมทั้งวิธีคัดคนที่เหมือนตอบลุงแคน)... ถ้านี่คือแนวคิดประชาธิปไตยแบบพอเพียงของคุณ... ผมคิดว่านี่ไม่ได้แตกต่างจากวิธีแก้ปัญหาทั่วไปที่ต้องมีการรวบรวมปัญหาและการสังเคราะห์แยกแยะ และการหาคำตอบแบบอริยสัจจ์...ถ้าไม่เชื่อคุณจะลองนำเฉพาะ 5 ขั้นตอนที่คุณเสนอมาไปลองถามคนอื่นดู โดยปิดหัวข้อกระทู้ส่วนอื่นๆ ไว้... ทุกคนจะไม่สามารถตอบได้ว่านี่คือขั้นตอนของประชาธิปไตยแบบพอเพียง... คุณจะใช้ศาสตร์ใดก็แล้วแต่... ผมมองไม่เห็นว่าทั้ง 5 ขั้นตอนที่ว่านี้มี "หัวใจ" ที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยแบบพอเพียงแต่อย่างใด... แตกต่างจากคุณ Neoconฯ คุณลุงแคน หรือผม... ที่มีความชัดเจนว่าสิ่งที่นำเสนอคือแนวทางประชาธิปไตยแบบพอเพียง

แนวคิดแบบรวบยอดที่ไม่สามารถบอกอะไรได้ชัดเจนนั้นเป็นส่วนหนึ่ง... แต่ที่น่าคำนึงถึงมากกว่าก็คือรูปธรรมที่จับต้องได้... คุณโจมตีคนอื่นเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ว่าเป็นการคิดขุดคุ้ยไปเรื่อยอย่างไม่เป็นระบบ... แต่เมื่อคุณนำเสนอเองก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการพยายามนำเสนอดังขั้นตอนที่  1 และ 2 ... แต่การไม่ตีกรอบที่ชัดเจนในระดับ "รูปธรรม" ดังกล่าว มีผลต่อเอกลักษณ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะของ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" อย่างเด่นชัด... นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้การนำเสนอในภาพรวม 5 ขั้นตอนของคุณไม่สามารถแสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยแบบพอเพียงออกมาได้

การเข้าใจกันในเบื้องต้นนั้นสำคัญต่อการสนทนากันต่อ... นี่ไม่ใช่การจับผิด... แต่มันเริ่มจากที่คุณเขียนคำว่า "แม่แบบ" ซึ่งทำให้ความเข้าใจและการให้ความสำคัญต่อเนื้อหาสาระที่เป็นหัวใจแตกต่างกัน... รวมไปถึงแนวทางการจับคู่ปัญหากับคำตอบที่แตกต่างกันมาก... ซึ่งผมยังคงยืนยันว่าประชาธิปไตยแบบพอเพียงไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้จา่กเกมส์คอมพิวเตอร์ดังที่คุณนำเสนอไว้ในขั้นตอนที่ 4 เช่นเดิมครับ


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 03-10-2006, 02:47
คุณ Q... คุณตั้งชื่อกระทู้ว่า "แม่แบบ" ประชาธิปไตยแบบพอเพียง... แต่สุดท้ายกลายเป็นโมเดลทางทฤษฎีไป... สองความหมายนี้ต่างกันมาก... เพราะความหมายในเชิงแรกหัวใจคือ "คน" แต่ในความหมายที่สองหัวใจคือ "ข้อมูล"

คุณสังเกตหรือไม่ว่าคนที่เข้าร่วมเสวนากับคุณในกระทู้นี้ล้วนเน้นไปที่เรื่อง "คน" โดยพูดถึง "หัวใจ" ของเนื้อหาสาระก่อนเป็นหลัก เพราะนั่นคือแนวคิดรวบยอดของคน... ไม่ว่าจะเป็นคุณ Neoconservative ที่เปิดประเด็นด้วยนิยามของประชาธิปไตยแต่ไปจบที่คุณภาพของประชาชนของพระธรรมปิฎก... คุณลุง CanCan ที่จับเอาระบบคุณธรรมของธรรมาธิปไตยเข้ามาจับประยุกต์กับประชาธิปไตยแบบพอเพียง... และผมที่โฟกัสไปที่ประเด็นตีความ "พอเพียง" โดยเริ่มต้นที่ความพอเพียงของใคร? กระบวนการที่เหมาะกับเขานั้นเป็นอย่างไร?

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีคิดที่เป็นระบบรวบยอดทั้งสิ้น... แต่คุณ Q กลับบอกว่ามีแต่ของตัวเองที่คิดเป็นระบบรวบยอด คนอื่นคิดแบบการขุดคุ้ยไม่เป็นระบบ... ไม่สงสัยบ้างหรือครับว่าทำไมแต่ละคนถึงเน้นไปทางทิศเดียวกัน มีแต่คุณเท่านั้นที่สรุปความคิดความหมายที่ผิดแปลกออกไปจากที่ควรจะเป็นประชาธิปไตยแบบพอเพียง

แม้คุณจะพยายามปฏิเสธแนวการนำเสนอของผมเพียงใดก็ตาม... ในที่สุดคุณก็ต้องมาตีความในประเด็น "พอเพียง" ของใคร? และคืออะไร? อยู่ดี... นั่นคือความพอเพียงของ "สังคมไทย" (นามธรรมอีกแล้ว) และความพอเพียงก็คือการแก้ปัญหาสำคัญที่มีทั้งหมด ดังที่ผมอ้างอิงมานี้
สมมุติฐานหลัก ของประชาธิปไตยแบบพอเพียง คือประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ในเมืองไทยตอนนี้มีปัญหา จึงต้องมีการปฏิรูปการเมือง ดังนั้น

จึงจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับมาดูว่าระบอบประชาธิปไตยของเรามีปัญหาอะไรบ้าง? จึงขาดสมดุลที่ดี และพอเพียงในการแก้ปัญหาการเมืองของประเทศ และต่อความรู้สึกของคนไทยแต่ละกลุ่มไปจนถึงรายบุคคล

ส่วนแนวทางในการสร้างทฤษฎีและกรรมวิธีที่จะใช้ในการสังเคราะห์หรือสร้างทฏษฎีนั้น ต้องมุ่งตอบโจทย์ปัญหาได้ทุกมิติ ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ยุคใหม่ของสังคมโลกาภิวัฒน์  ซึ่งแม้แต่จะคัดเลือกตัวแปรหลักที่สำคัญๆแล้วก็ตาม ก็ยังมีตัวแปรอยู่มาก ทั้งตัวแปรที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ และตัวแปรที่ถูกแปลงค่าเป็นดัชนีต่างๆในขั้นต่างๆ  ตามแต่ศาสตร์แต่ละด้านจะมีเครื่องมือเชิงปริมาณ
...
...
กรรมวิธีก็คือ

1.รวบรวมปัญหาทุกชนิดที่สำคัญเกิดขึ้นในสังคมไทย  เพื่อกำหนดมาตรฐานที่ต้องมีในขั้นต้นและเป้าหมายปลายทางในอุดคติที่คาดหวังได้
2.รวมรวมตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านั้นที่สำคัญทั้งหมดโดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของสาขาวิชาต่างๆมากนัก
3.ประยุกต์หรือสังเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆโดยอิงหลักสหวิทยาการ และคำนึงถึงความเป็นพลวัตร และรูปแบบของสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยสร้างแบบจำลองเพื่อทดสอบสมมุติฐานโดยการทดลองเพื่อการสร้างสูตรคำนวณผลลัพธ์ทีสามารถทำให้วัดค่าได้
4.สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ฉลาดในการคำนวณและแสดงผล
5.สร้างเป็นทฤษฎีรวบยอดวิธีแก้ไขปัญหาที่ใช้ได้ผลในระดับหนึ่งทั้งนี้เพื่อพัฒนาแก้ไขจุดอ่อนของทฤษฎีต่อไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นำทฤษฎี ที่ยอมรับได้แล้วนั้น  มาผลักดันรณรงค์สู่การนำมาใช้ในการวางแผนแม่บท แผนกลยุทธ แผนปฏิบัติการใน กิจกรรมทางการเมืองของชาติต่อไป ซึ่งหากทฤษฎีใช้ได้ผลดี ปํญหาต่างๆจะลดลงอย่างรวดเร็วอยู่ในระดับที่ไม่เกิดวิกฤติในด้านต่างๆ จนประชาชนไม่ยอมรับในอำนาจหน้าที่และแนวการทำงานของรัฐบาลต่างๆจนถึงกับต้องขับไล่ดังที่ผ่านมา


ขั้นตอนทั้ง 5 ตามที่คุณว่ามานี้... (รวมทั้งวิธีคัดคนที่เหมือนตอบลุงแคน)... ถ้านี่คือแนวคิดประชาธิปไตยแบบพอเพียงของคุณ... ผมคิดว่านี่ไม่ได้แตกต่างจากวิธีแก้ปัญหาทั่วไปที่ต้องมีการรวบรวมปัญหาและการสังเคราะห์แยกแยะ และการหาคำตอบแบบอริยสัจจ์...ถ้าไม่เชื่อคุณจะลองนำเฉพาะ 5 ขั้นตอนที่คุณเสนอมาไปลองถามคนอื่นดู โดยปิดหัวข้อกระทู้ส่วนอื่นๆ ไว้... ทุกคนจะไม่สามารถตอบได้ว่านี่คือขั้นตอนของประชาธิปไตยแบบพอเพียง... คุณจะใช้ศาสตร์ใดก็แล้วแต่... ผมมองไม่เห็นว่าทั้ง 5 ขั้นตอนที่ว่านี้มี "หัวใจ" ที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยแบบพอเพียงแต่อย่างใด... แตกต่างจากคุณ Neoconฯ คุณลุงแคน หรือผม... ที่มีความชัดเจนว่าสิ่งที่นำเสนอคือแนวทางประชาธิปไตยแบบพอเพียง

แนวคิดแบบรวบยอดที่ไม่สามารถบอกอะไรได้ชัดเจนนั้นเป็นส่วนหนึ่ง... แต่ที่น่าคำนึงถึงมากกว่าก็คือรูปธรรมที่จับต้องได้... คุณโจมตีคนอื่นเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ว่าเป็นการคิดขุดคุ้ยไปเรื่อยอย่างไม่เป็นระบบ... แต่เมื่อคุณนำเสนอเองก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการพยายามนำเสนอดังขั้นตอนที่  1 และ 2 ... แต่การไม่ตีกรอบที่ชัดเจนในระดับ "รูปธรรม" ดังกล่าว มีผลต่อเอกลักษณ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะของ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" อย่างเด่นชัด... นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้การนำเสนอในภาพรวม 5 ขั้นตอนของคุณไม่สามารถแสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยแบบพอเพียงออกมาได้

การเข้าใจกันในเบื้องต้นนั้นสำคัญต่อการสนทนากันต่อ... นี่ไม่ใช่การจับผิด... แต่มันเริ่มจากที่คุณเขียนคำว่า "แม่แบบ" ซึ่งทำให้ความเข้าใจและการให้ความสำคัญต่อเนื้อหาสาระที่เป็นหัวใจแตกต่างกัน... รวมไปถึงแนวทางการจับคู่ปัญหากับคำตอบที่แตกต่างกันมาก... ซึ่งผมยังคงยืนยันว่าประชาธิปไตยแบบพอเพียงไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้จา่กเกมส์คอมพิวเตอร์ดังที่คุณนำเสนอไว้ในขั้นตอนที่ 4 เช่นเดิมครับ

อ่านไม่รู้เรื่องครับ วกไปวนมา  ใครอ่านเข้าใจสรุปให้ที่ครับ  
ผมพูดตามตรงนะ คุณฟังไม่ได้ศัพท์จับเอามากระเดียดครับ
พูดเองเออเอง การสร้างทฤษฎีไม่ใช่เรื่องสำบัดสำนวนครับ
คงเป็นเพราะถูกผมเตือนตรงๆ เลยทำตัวเสียมารยาท เหมือนคนคอยสอด
มากกว่าจะมีอะไรที่มีสาระประโยชน์     มีองค์ประกอบอะไรครบถ้วน
หัดเขียนเป็นข้อๆเรียงลำดับสั้นก่อนจะดีกว่าครับ อ่านแล้วไม่ทราบสื่ออะไร
ได้ยินแต่คนกับกระบวนการ นอกนั้นมั่วจับชนแกะ คุณเคยเขียนได้ดีกว่านี้
แต่ก็อ่านแล้วส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้อะไร?           ( สิ่งที่ผมเขียนไม่ใช่บทสรุป เป็นกระบวนการในการคิด ที่มีหลักซึ่งก็ไม่ใช่ตัวทฤษฎีทั้งหมดอยู่ดี เป็นเรื่องที่ต้องมองเอาองค์ความรู้ในแต่ละสาขาวิชามาแก้ปัญหาว่าทฤษฎีนั้นเมื่อสำเร็จจะแก้ปัญหาได้มากแค่ไหน  และตย. หลักวิธีแก้ปํญหาย่อยๆ มีขั้นตอนโดยไม่ได้ลงรายละเอียดแต่เข้าใจได้ )


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 03-10-2006, 03:20
อันนี้อ่านแล้วเข้าใจว่าสื่ออะไร ดูเป็นตย.ก็ได้ครับ จบสมบูรณ์ในข้อความเดียว

ประชาธิปไตย ตามแนวคิดพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต)

ประชาธิปไตย แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งคำนี้มาจากคำว่า Demokration ในภาษากรีก แปลว่า การปกครองของประชาชน ดังที่อดีตประธานาธิบดี ลินคอนของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้เป็นเสมือนคำคมว่า "รัฐบาลประชาธิปไตย คือ รัฐบาลของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน" ซึ่งหมายถึงระบบการปกครองตามอุดมคติ ระบบหนึ่ง ที่รัฐบาลในระบบประชาธิปไตยจะให้โอกาสอันเท่าเทียมกันในการดำรงชีวิต การแสวงหา ความสุข เป็นต้น๗

          นอกจากนี้ "ประชาธิปไตย" คำนี้ใช้ใน ๓ ความหมายใหญ่ๆ ซึ่งถ้ากำหนดเป็น วงกรอบหรือฐานะใหญ่ๆ ได้ ๓ ฐานะด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ๑) เชิงความคิด ๒) รูปแบบการ ปกครอง และ ๓) วิถีชีวิต โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมโดยสังเขปคือ

          ๑. ในฐานะเป็นปรัชญา (Phi-osophy) ทฤษฎีหรืออุดมการณ์ทางการเมือง ประชาธิปไตยในความหมายนี้ มุ่งเน้นไปในเรื่องของความคิด เป็นสภาพทางมโนกรรมทั้งของผู้นำและคนทั่วไป คือ ทั้งของผู้บริหารประเทศ และ พลเมืองทั่วไป

          ๒. ในฐานะเป็นรูปแบบการปกครอง (Forms of Government) เป็นการพิจารณาประชาธิปไตยในเชิงโครงสร้างของรัฐบาลแบบประชาธิปไตย เช่น เป็นระบบรัฐสภา เป็นระบบประธานาธิบดี

          ๓. ในฐานะเป็นวิถีชีวิต (Way of -ife) หมายถึง
          ๓.๑ วิถีทางแห่งการยอมรับเสียงข้างมาก
          ๓.๒ ความมีใจกว้าง
          ๓.๓ การมีขันติธรรม
          ๓.๔ การไม่ใช้ความรุนแรง
          ๓.๕ การเอาใจใส่ในกิจการบ้านเมือง (การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง) อันเป็นเรื่องการประพฤติในสังคม๘

          จากที่ได้นิยามความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย มาโดยสังเขปนั้น ก็พอจะประมวล ลักษณะที่สำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยได้เป็น ๔ ประการ ดังต่อไปนี้
          ๑. ประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในรัฐ อาจใช้อำนาจทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้
          ๒. ประชาชนทุกคนในรัฐ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจน มีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
          ๓. การดำเนินการต่างๆ ของรัฐนั้น คือ เอามติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกันเสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐ จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่ กดขี่ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย และผิดทำนองคลองธรรม
          ๔. กระบวนการของประชาธิปไตย คือ วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชน เป็นต้น

          พระธรรมปิฎกได้นิยามคำว่า ประชาธิปไตยไว้อย่างน่าฟังยิ่งว่า เมื่อพูดถึงประชา- ธิปไตย ถ้ากล่าวถึงความหมาย มีวิธีพูดง่ายๆ อย่างหนึ่งคือ ยกเอาวาทะของประธานาธิบดี ลินคอล์น มาอ้าง เพราะคนชอบ และรู้จักกันมาก คือวาทะที่ว่า "ประชาธิปไตยเป็นการ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" วาทะนี้คนจำได้แม่น เวลาพูดกัน คนมักมองความหมายในแง่ของความรู้สึกตื่นเต้นว่า ตนเองจะได้ เช่น จะได้สิทธิ ได้อำนาจ หรือ ได้ความเป็นใหญ่ในการที่จะเป็นผู้ปกครอง แต่อีกแง่หนึ่งที่ไม่ค่อยได้มองคือ "ความรับผิดชอบ"

          ดังนั้น จากวาทะลินคอล์นนั้น พระธรรมปิฎกมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ที่ว่า ประชา- ธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนนั้น เป็นการเตือนให้รู้สึกตัวด้วยว่า คุณภาพของประชาธิปไตยอยู่ที่คุณภาพของประชาชน เพราะว่า โดยปกติ คุณภาพของการปกครองย่อมขึ้นต่อคุณของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ด้วยว่าในสมัยก่อนการ ปกครองอยู่ในกำมือของผู้ปกครองโดยตรง คุณภาพของประชาธิปไตย ก็วัดได้จากผู้ปกครองนั่นเอง แต่ในสมัยนี้ ในเมื่อประชาชนมาเป็นผู้ปกครอง บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ประชาธิปไตยจะมีคุณภาพแค่ไหน ก็อยู่ที่คุณภาพของประชาชนเป็นสำคัญ๙

          จึงกล่าวสรุปได้ว่า พระธรรมปิฎกได้นิยามประชาธิปไตยโดยให้ความสำคัญในแง่ คุณภาพของประชาธิปไตยเป็นหลัก โดยเน้นว่า

          "ถ้าประชาชนมีคุณภาพดี ประชาธิปไตยก็มีคุณภาพดีด้วย ถ้าประชาชนมีคุณภาพต่ำ ประชาธิปไตยก็จะเป็นประชาธิปไตยอย่างเลวด้วย เพราะว่า คุณภาพของประชาธิปไตย ขึ้นต่อคุณภาพของประชาชน แล้วคุณภาพของประชาชนขึ้นต่ออะไร ก็ขึ้นต่อการศึกษา"๑๐

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

อ่าน บทความฉบับเต็ม ได้ที่นี่

http://202.28.52.4/article/article_file/13dissertation47.html

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 03-10-2006, 08:54
จะคิดไปทำไมให้เมื่อยสมอง...เดี๋ยวมันก็เอารถถังออกมากันอีก.....

ตราบใดที่ผู้มีอำนาจ ไม่เคยเข้าใจวิวัฒนาการทางความคิดของผู้คนในสังคม

ไม่ให้เวลาได้พัฒนาความคิด ความเข้าใจอะไร

มันก็เปล่าประโยชน์ ที่จะมานั่งถกเถียงกัน มันสูญเปล่า ....


แล้วประชาธิปไตยแบบพอเพียงคืออะไร ?? ทำไมต้องไปอิงกับคำๆนั้น.???

ฟังแล้วเหมือนกับว่า อย่าประชาธิปไตยกันให้มากเกินไป เผด็จการนิดๆ ใช่หรือเปล่า ?
  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:




หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 03-10-2006, 09:01
ถ้าทำให้ประชาธิปไตยให้มีคุณธรรม บ้านเมืองก็สงบ

ทหารจะอ้างเหตุอะไรออกมาล่ะ ถ้าประชาชนไม่สนับสนุนรถถังออกมาก็เอาไม่อยู่หรอก


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 03-10-2006, 10:12
จะคิดไปทำไมให้เมื่อยสมอง...เดี๋ยวมันก็เอารถถังออกมากันอีก.....

ตราบใดที่ผู้มีอำนาจ ไม่เคยเข้าใจวิวัฒนาการทางความคิดของผู้คนในสังคม

ไม่ให้เวลาได้พัฒนาความคิด ความเข้าใจอะไร

มันก็เปล่าประโยชน์ ที่จะมานั่งถกเถียงกัน มันสูญเปล่า ....


แล้วประชาธิปไตยแบบพอเพียงคืออะไร ?? ทำไมต้องไปอิงกับคำๆนั้น.???

ฟังแล้วเหมือนกับว่า อย่าประชาธิปไตยกันให้มากเกินไป เผด็จการนิดๆ ใช่หรือเปล่า ?
  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:





ถ้าทำให้ประชาธิปไตยให้มีคุณธรรม บ้านเมืองก็สงบ

ทหารจะอ้างเหตุอะไรออกมาล่ะ ถ้าประชาชนไม่สนับสนุนรถถังออกมาก็เอาไม่อยู่หรอก

ครับขอบคุณครับ

ทั้งสองความเห็นของทั้งสองท่าน คุณKiller และลุง CanCan

เขียนได้ดีแสดงถึงความเข้าใจในปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นครับ  

....

ส่วนสิ่งที่ผมเสนอ คือแนวทางและขั้นตอนการพัฒนาต่อไป ของประชาธิปไตยของประเทศไทย ซึ่งหากเป็นประชาธิปไตยอย่างพอเพียงได้ ตามชื่อแล้วไซร้ ย่อมมีความสมดุลและสอดคล้องกลมกลืนกับแนวคิดด้านเเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่สมดุลและยั่งยืนของไทยได้ ยากที่กลุ่มผู้มีอำนาจฝ่ายใดจะใช้อำนาจเกินขอบเขตที่จำเป็นได้ครับ
....

ส่วนความเห็นของทั้งสองท่านต่อกรณีกระทู้นี้ผมเห็นว่าตรงแล้ว เพียงแต่นำมาผสานความคิดกันอย่างสมานฉันท์ได้ พัฒนาการของประชาธิปไตยของไทย ก็จะไปถึงความพอเพียง ทั่วถึงและมีสมดุลในแต่ละขณะ  ดังที่ผมใช้คำว่า "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" คือไม่มากไป ไม่น้อยไป   :slime_smile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 03-10-2006, 10:19
ผมเสริมให้อีกประเด็นก็แล้วกัน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มี "คีย์เวิร์ด" อยู่คำหนึ่ง

นั่นก็คือ "สร้างภูมิคุ้มกัน" หากไปตีความตรงนี้ให้แตก "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" จะสร้าง "ภูมิคุ้มกันให้ระบบ" ได้ยังไง

จะสร้าง "ภูมิคุ้มกันให้สังคม" ได้อย่างไร

เพราะหากไม่สร้าง "ภูมิุ้คุ้มกัน" สุดท้าย มันก็มีโอกาสล้ม หรือ โดนชอนไชด้วยกิเลสมนุษย์ คือ โลภ โกรธ หลง

โดนชอนไชด้วยอำนาจนอกระบบ ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

สุดท้ายมันก็จะเป็นการสร้าง "ปราสาททราย" อยู่ร่ำไป


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 03-10-2006, 10:38
ผมเสริมให้อีกประเด็นก็แล้วกัน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มี "คีย์เวิร์ด" อยู่คำหนึ่ง

นั่นก็คือ "สร้างภูมิคุ้มกัน" หากไปตีความตรงนี้ให้แตก "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" จะสร้าง "ภูมิคุ้มกันให้ระบบ" ได้ยังไง

จะสร้าง "ภูมิคุ้มกันให้สังคม" ได้อย่างไร

เพราะหากไม่สร้าง "ภูมิุ้คุ้มกัน" สุดท้าย มันก็มีโอกาสล้ม หรือ โดนชอนไชด้วยกิเลสมนุษย์ คือ โลภ โกรธ หลง

โดนชอนไชด้วยอำนาจนอกระบบ ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

สุดท้ายมันก็จะเป็นการสร้าง "ปราสาททราย" อยู่ร่ำไป

ครับ ก็ต้องสถาปนา ประชาธิปไตยแบบพอเพียงให้คงอยู่ต่อเนื่องไป จนกว่าประชาชนไทยทุกคนจะเข้าใจและสามราถใช้ศักยภาพของตนเองได้เต็มที มีคุณภาพทีดีในทุกด้านพอเพียงต่อการปรับตัวอย่ามีพัฒนาการของตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นั่นจะเป็นหลักประกันและภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดในสังคมระบอบประชาธิปไตยครับ :slime_smile: :slime_cool: :slime_v:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 03-10-2006, 16:26
คุณ Q...

ผมตอบกระทู้คุณโดยเริ่มจากความเห็นที่ 14 ... ประเด็นโดยย่อในความเห็นนั้นผมเริ่มต้นจากการชื่นชมแนวคิดสร้างสรรค์ประชาธิปไตยแบบพอเพียงของคุณแต่สิ่งที่ขาดไปก็คือการตีกรอบคำว่า "พอเพียง" (ซึ่งกว่าคุณจะตอบประเด็นนี้ก็ปาเข้าไปความเห็นที่ 30)... คุณคุยกับผมต่อในความเห็นที่ 16 โดยหลบเลี่ยงการตีกรอบคำว่า "พอเพียง" ในเบื้องแรก แต่นำเสนอแนวทางการประมวลผลคอมพิวเตอร์แทนการตอบคำถามทั้งหมด

ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญ... เริ่มต้นผิด ที่ตามมาย่อมเพี้ยน... ลำดับที่ 1,2,3,4,5... ย่อมไร้ความหมายถ้าหากลำดับที่ 1 ปักธงผิด... นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความเห็นที่ 19 ที่ผมมีความจำเป็นที่ต้องโจมตีวิธีการคิดของคุณที่ค่อนข้างรุนแรง (ผมยอมรับว่าโจมตีคุณก่อน และผมรู้ด้วยว่าอาจมีผลอะไรตามมา... การตักเตือนของคุณนั้นผมเข้าใจดี... แต่การตอบของผมนั้นเน้นไปที่การปักธงในลำดับที่ 1 ในเกือบทุกความเห็น... ถ้าคุณคิดว่าสาระสำคัญนั้นคือการเสียมารยาทคอยขัดจังหวะ นั่นผมก็เสียใจด้วย)

หลักการของประชาธิปไตยแบบพอเพียงของผมนั้นได้แสดงไว้อย่างชัดเจนแล้วในความเห็นที่ 19 ซึ่งโดยเนื้อหาแล้วการแสดงลำดับหัวข้อ 1,2,3,4,5 ... ไม่เหมาะกับแนวคิด "ดิ้นได้" ดังกล่าว (อย่าลืมว่าคำที่คุณสร้างมานี้เป็นสิ่งเพิ่งเกิด... การดิ้นได้เป็นลักษณะหนึ่งของสิ่งที่ยังมีชีวิตอยู่ พร้อมที่จะเติบโต ปรับตัว...)

ถ้าคุณเข้าใจความชาญฉลาดของคอมพิวเตอร์... น่าจะเข้าใจวิธีคิดแบบ dynamic programming ของมัน... เราสามารถทำงานที่มีประสิทธิภาพโดยไม่รู้เส้นทางการคำนวณหรือผลลัพธ์ท้ายสุดได้ ... สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตีกรอบเกณฑ์การวัดทางเลือกของมัน... ซึ่งในที่นี้ก็คือการตีกรอบที่ชัดเจนของคำว่า "พอเพียง" ของใคร? คืออะไร? อย่างไร? เป็นเกณฑ์วัดทางเลือกที่สำคัญ

ถ้าคุณทำงานวิจัยมามากพอ... คุณน่าจะเข้าใจดีว่าลำดับขั้นตอนในการวิจัยนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา สิ่งที่คาดไม่ถึงนั้นมีมากกว่าสิ่งที่คาดถึง ความชัดเจนในการทำงาน ณ เวลานั้น มีความสำคัญต่อการนำไปปฏิบัติได้จริงตามหลัก "พอเพียง" มากกว่าการนึกฝันตามลำดับ ซึ่งผมได้แย้งวิธีการนี้จากการยกตัวอย่างของคุณในความคิดเห็นที่ 25 ... เนื้อหาโดยย่อก็คือ คุณรู้ได้อย่างไรว่าควรมีการจัดการสื่อมวลชนในขณะที่กลุ่มเป้าหมายอาจเพียงแค่ต้องการการประชุมหมู่บ้าน... หรือโดยนัยเดียวกันกับที่คุณนำเสนอกรรมวิธี 5 ขั้นตอนในความเห็นที่ 30... คุณรู้ได้อย่างไรว่าคำตอบที่ได้จะต้องใช้การประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์? ...

ยกตัวอย่างเช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ 3-4 วัน... ไม่มีใครคาดคิดหรือคำนวณได้ว่ามาถึงวันนี้แล้วทักษิณจะลาออกจากหัวหน้าพรรคไทยรักไทย... ก่อนหน้านี้ 1-2 ปีก็ยังไม่มีใครคาดคิดว่าไทยรักไทยจะมีวันนี้... ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมี คปค. ซึ่งได้เข้ามามีส่วนในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม (ในขณะที่ก่อนหน้านี้การปฏิรูปฯ มีหนทางที่มืดมนมาก)... สิ่งที่เหมาะสมในปัจจุบันก็คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและการเชื่อมโยงการร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวกับมวลชน รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงจะได้รับการยอมรับ... สิ่งที่เราต้องการก็คือ "กระบวนการ" ในการเชื่อมโยงและปะทะสังสรรค์ทางความคิดของมวลชนเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็น "รูปธรรม" ที่เกิดขึ้นจริง... ถามว่าระหว่างข้อสรุปที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญกับกระบวนการเชื่อมโยงมวลชนเข้ากับการร่างรัฐธรรมนูญ... สิ่งไหนคือหัวใจสำคัญของการสร้างความชอบธรรมในการยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ครับ?

เ่ช่นเดียวกับ "ทฤษฎี" ประชาธิปไตยแบบพอเพียงของคุณ... คุณอาจใช้ความสามารถหลายศาสตร์สร้างทฤษฎีขึ้นได้ด้วยตัวคนเดียว เขียนเป็นหนังสือ ผลักดันเผยแพร่... แต่จะได้รับการยอมรับจนถึงการนำไปปรับใช้หรือไม่นั้นไม่ใช่เนื้อหารวบยอดที่ปรากฎในหนังสือเล่มนั้น... แต่อยู่ที่ "กระบวนการ" เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหากับกลุ่มบุคคลตัวเป็นๆ โดยผ่านการทดสอบภาคปฏิบัติมาก่อนแล้วต่างหากจึงจะสร้างเป็น "ทฤษฎี" ที่ได้รับการยอมรับ... แบบเดียวกับการสร้างทฤษฎีการออมของชุมชนผ่านภาคปฏิบัติของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ของพระสุบินที่ผสมผสานหลักคุณธรรมเข้ากับทุนนิยมนั่นไงครับ... เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้น จนกระทั่งได้รับการยอมรับสนับสนุนเป็นนโยบายโดยรัฐ

การผลักดันทฤษฎีให้เกิดการปรับใช้ในภาคปฏิบัติจริงได้นั้น... คุณต้องมองเห็นตัว "คน" ที่ชัดเจนอยู่ในทฤษฎีที่คุณนำเสนออยู่เสมอ

แต่ถ้าหากคุณ Q ยืนยันจะสร้างเกมส์คอมพิวเตอร์ของคุณต่อไป นั่นย่อมมีประโยชน์มากกว่าไม่มี... เห็นว่าตอนท้ายของกระทู้คุณจะรวบรวมปัญหาต่างๆ ของสังคมไทยมาแปลงเป็นตัวแปรในโมเดลของคุณ... อย่าลืมระบุไว้ด้วยนะครับว่าตัวแปรไหนมีการแปลงมาจาก "รากแก้ว" ตัวแปรไหนแปลงมาจาก "คปค."... ผมยังอยากเห็น "คน" ปรากฎอยู่ในทฤษฎีของคุณ และยินดีด้วยถ้าหากทฤษฎีของคุณมีการนำไปใช้งานจริง


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 04-10-2006, 06:38
 

:slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-10-2006, 21:16
รางวัลโนเบล ทางเศรษฐศาสตร์ 2549  ควรนำศาตร์ต่างมาประยุกต์กับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงครับ เพื่อให้ทันสมัยและใช้ได้ผลอยู่เสมอในส่วนวิทยาการก้าวหน้าที่ได้รักบการยอมรับเป็นทฤษฎีแล้ว


Edmund Phelps : เจ้าของโนเบลเศรษฐศาสตร์ 2549
คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา  โดย ณ พัฒน์  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3836 (3036)



เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา Royal Swedish Academy of Sciences ได้ประกาศมอบรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2549 แก่ Edmund S. Phelps อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ชาวอเมริกันวัย 73 ปี

(http://nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006october16p1.jpg)

เรามาทำความรู้จักกับรางวัลโนเบลและนักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ดูสักหน่อยดีไหมครับ

รางวัลโนเบลเป็นรางวัลที่รู้จักกันดีทั่วโลก จัดตั้งขึ้นจากสมบัติของนาย Alfred Nobel มหาเศรษฐีชาวสวีเดน ซึ่งร่ำรวยมาจากการผลิตระเบิด เพราะเขาเป็นเจ้าของสิทธิบัตรการผลิตระเบิด dynamite ที่รู้จักกันดี รวมถึงระเบิดชนิดอื่นๆ

ก่อนตายนาย Nobel ได้ทำพินัยกรรมยกสมบัติมูลค่ามหาศาลให้แก่มูลนิธิของเขา เพื่อนำไปลงทุนหาดอกผลมาเป็นรางวัลให้แก่ "ผู้ทำคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติมากที่สุด" โดยระบุให้จัดตั้งรางวัลสาขาการแพทย์ สาขาวรรณกรรม สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี และสาขาสันติภาพ และได้มีการมอบรางวัล Nobel ในสาขาเหล่านี้มาเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ.1901

ส่วนรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ หรือที่เรียกกันยาวๆ ว่า "Sveriges Riksbank Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel" เพิ่งจะก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1968 โดยมี Sveriges Riksbank (ธนาคารกลางของสวีเดนเขาครับ) เป็นคนสนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ และมีการมอบรางวัลนี้เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1969 ผู้ได้รับรางวัลจะได้รับใบประกาศนียบัตร เหรียญรางวัล พร้อมเงินรางวัลจำนวน 10 ล้าน Swedish krona หรือประมาณ 50 ล้านบาท เท่ากับรางวัลโนเบลสาขาอื่นๆ

สำหรับปีนี้ รางวัลสาขาเศรษฐศาสตร์นี้ ตกเป็นของ Edmund Phelps โดยคณะกรรมการให้เหตุผลในการมอบรางวัลนี้ว่า "for his analysis of intertemporal tradeoffs in macroconomic policy" หรือแปลเป็นไทยแบบยาวๆ ได้ว่า เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจมักจะต้องเผชิญกับภาวะได้อย่างเสียอย่างแบบข้ามช่วงเวลา (intertemporal tradeoffs) ของเป้าหมายของนโยบายอยู่เสมอๆ เช่นว่า นโยบายที่ลดอัตราการว่างงานในระบบเศรษฐกิจ (หรือเพิ่มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ) มักจะมาพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น หรือการเพิ่มการบริโภคในปัจจุบัน จะไปลดการบริโภคในอนาคตภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด ผลงานของ Edmund Phelps ช่วยทำให้เราเข้าใจภาวะได้อย่างเสียอย่างทั้งสองอันนี้มากขึ้น และนำไปสู่การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม

ต้องขอออกตัวก่อนครับว่า ตอนที่ได้ยินข่าวเกี่ยวกับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปีนี้ ผมยังมึนๆ อยู่ว่า Edmund Phelps คือใคร เพราะผมเคยเห็นชื่อของเขาไม่บ่อยนัก และไม่เคยได้อ่านงานของเขาเลย ผมเพิ่งมาถึงบางอ้อ เมื่อได้อ่านคำอธิบายจากทางคณะกรรมการมอบรางวัลถึงผลงานของเขา (ผมแน่ใจว่าถ้าผมกลับไปเปิดหนังสือหลักเศรษฐศาสตร์มหภาคดู ผมต้องเจอผลงานของเขาแน่ๆ)

ผลงานของ Edmund Phelps ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล เป็นงานที่เขาทำในช่วงปี 1960s และ 1970s และบางส่วนได้กลายมาเป็นเครื่องมือหลักที่ผู้กำหนดนโยบาย และนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายใช้กันอย่างแพร่หลาย

ผลงานที่รู้จักกันเป็นอย่างดีอันหนึ่งของ Edmund Phelps คือ expectations- augmented Phillips curve แต่ก่อนจะพูดถึงผลงานของเขา ขอเท้าความกันนิดหนึ่งก่อนครับ

ในช่วงปี 1930-1960 เป็นยุค Keynesian ครองเมืองครับ กล่าวคือมีความเชื่อกันว่านโยบายบริหารจัดการด้านอุปสงค์ (demand management policy) ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นเครื่องมือหลักในการบริหาร และรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค และเชื่อว่าอัตราว่างงานกับเสถียรภาพทางด้านราคา ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกันเสมอไป เพราะตราบใดที่เศรษฐกิจยังไม่ถึงจุดที่มีการจ้างงานแบบเต็มที่ (full employment) เราสามารถใช้นโยบายการเงิน หรือการคลังเพื่อเพิ่มการจ้างงาน (ลดการว่างงาน) โดยไม่กระทบต่ออัตราเงินเฟ้อได้เสมอ

ต่อมา A.W. Phillips ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 1958 พบว่าในประเทศอังกฤษ มีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการว่างงาน กับเงินเฟ้อค่อนข้างคงที่ และเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน ข้อสังเกตนี้ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี และนักเศรษฐศาสตร์หลายคน พบความสัมพันธ์คล้ายๆ กันนี้ในประเทศอื่นๆ ด้วย จนกลายเป็น Phillips curve ที่นักเศรษฐศาสตร์ยุคต่อๆ มารู้จักกันดี และเชื่อกันในช่วงนั้นว่า รัฐสามารถใช้นโยบายการเงินแ ละการคลังเพื่อลดอัตราการว่างงานได้ แต่ "ต้นทุน" ที่ต้องจ่ายคืออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายๆ คนยังไม่ค่อยพอใจกับความเห็นดังกล่าว เพราะ Phillips curve เป็นข้อสังเกตทางข้อมูล ไม่มีทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคมารับรองความสัมพันธ์นี้ นอกจากนี้ ทฤษฎีที่ว่ารัฐสามารถลดการว่างงานได้ โดยเพิ่มอัตราเงินเฟ้อขัดกับทฤษฎีที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่า ในระยะยาวปัจจัยด้านราคาไม่น่าจะมีผลกระทบต่อปริมาณที่แท้จริง ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในยุคต่อๆ มากลับไม่พบว่าการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อแสดงความสัมพันธ์นี้ (โดยเฉพาะในช่วงที่เงินเฟ้อสูงในช่วงปี 1970s พร้อมๆ ไปกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงาน)

งานวิจัยของ Edmund Phelps จึงเข้ามาช่วยไขข้อข้องใจนี้ โดยเขาพัฒนาแบบจำลองระดับจุลภาค เพื่ออธิบายการพฤติกรรมของบริษัท และแรงงานในการตกลงอัตราค่าจ้าง โดยเน้นความสำคัญของ "การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ (inflation expectation)" ของลูกจ้าง ว่ามีส่วนสำคัญในการตกลงระดับอัตราค่าจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดแรงงานที่ไม่ยืดหยุ่น (เช่น ในกรณีมีการตกลงค่าจ้าง เพียงครั้งเดียวตั้งแต่ต้นปี และมีผลผูกพันไปจนถึงปลายปี ถ้าลูกจ้างเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะสูงขึ้น เขาก็จะต้องการค่าจ้างในอัตราที่สูงขึ้น)

แบบจำลองของเขานำไปสู่ expectations-augmented Phillips curve โดยเขาเสนอทฤษฎีว่า ผลต่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อ กับอัตราเงินเฟ้อที่คาดไว้ (expected inflation) มีความสัมพันธ์กับการว่างงาน และผลสรุปที่สำคัญอันหนึ่ง จากงานวิจัยของเขาคือ ในระยะยาว อัตราเงินเฟ้อไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการว่างงาน

ถ้ารัฐพยายามดำเนินนโยบายแบบขยายตัว ที่มีผลทำให้เพิ่มอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เพื่อกระตุ้นการจ้างงาน แม้ว่านโยบายดังกล่าวอาจจะมีผลลดการว่างงานได้ในระยะสั้น เพราะลูกจ้างไม่รู้ว่าระดับราคาสินค้ากำลังจะสูงขึ้น กว่าที่คาดไว้ ไม่ช้าลูกจ้างก็จะพบว่าเงินเฟ้อสูงขึ้น และปรับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของเขาให้สูงขึ้น และต้องการค่าจ้างในอัตราที่สูงขึ้นอีก ในระยะยาว ณ อัตราเงินเฟ้อที่เท่าเดิม พฤติกรรมนี้ทำให้การว่างงานสูงขึ้น กลับไปสู่อัตราการว่างงานเดิม หรืออีกนัยหนึ่งคือในระยะยาว Phillips curve (ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อ กับอัตราว่างงาน) มีลักษณะตั้งตรง ไม่ใช่มีความเอียงเป็นลบอย่างที่เคยเข้าใจกัน

เขายังอธิบายด้วยว่า ณ อัตราการว่างงานดุลยภาพ (equilibrium unemployment rate) ซึ่งก็คือ อัตราการว่างงาน ณ จุดที่อัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง เท่ากับอัตราเงินเฟ้อที่คาดไว้ อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในจุดดุลยภาพ คือไม่ขยับไปไหน แต่ถ้าอัตราการว่างงานต่ำกว่าจุดดุลยภาพ อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และถ้าอัตราการว่างงานสูงกว่าจุดดุลยภาพ อัตราเงินเฟ้อจะลดลงเรื่อยๆ เจ้าอัตราการว่างงานดุลยภาพนี้จึงเป็นอันเดียวกับ nonaccelerating inflation rate of unemployment (NAIRU) และอัตราว่างงานตามธรรมชาติ (natural rate of unemployment) ที่พูดถึงกันบ่อยๆ ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจนั่นเอง (ถ้าพูดกันจริงๆ แล้วเจ้า 2 ตัวหลังนี่ต่างกันนิดหนึ่งครับ แต่ก็คล้ายๆ กันละครับ)

งานของ Phelps เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่ง ต่อแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคในยุคต่อๆ มา และเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้กำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงมาจนถึงทุกวันนี้ การดำเนินนโยบายการเงินที่โปร่งใส เน้นรักษาการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนให้ต่ำเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา (เช่น การดำเนินนโยบายการเงินแบบเป้าหมายเงินเฟ้อ-inflation targeting) ก็เป็นผลสรุปเชิงนโยบายที่สำคัญอันหนึ่ง ที่ได้มาจากงานวิจัยของเขาและนักเศรษฐศาสตร์คนอื่นๆ ในยุคต่อมา

นอกเหนือไปจากงานวิจัยเกี่ยวกับการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อแล้ว Phelps ยังมีส่วนช่วยพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการออม การลงทุนและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีพิจารณาแบบระหว่างช่วงเวลา (intertemporal) และระหว่างช่วงชีวิตของคน (intergenerational) จนเป็นที่มาของ "golden rule" ของการลงทุน และยังเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของทุนมนุษย์ (human capital) และการวิจัยและพัฒนา (R&D) ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย

เป็นไงครับ อ่านมาแล้วน่ายกย่องให้เป็นผู้ได้รับรางวัลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสาขาเศรษฐศาสตร์ไหมครับ

หน้า 45


--------------------------------------------------------------------------------

เอ็ดมุนด์ เฟลป์ส ผู้รู้แจ้งเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเงินเฟ้อและการว่างงาน

คอลัมน์ Spotlight  มติชนรายวัน  วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10446

ศาสตราจารย์เอ็ดมุนด์ เอส. เฟลป์ส แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียชาวอเมริกัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2549 จากผลงานวิจัยซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงาน และให้กำเนิดทฤษฎีที่ปฏิวัติวิธีการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางของชาติอื่นๆ ทั่วโลกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

ในผลงานวิจัยช่วงปลายยุค 60 และต้นยุค 70 ศาสตราจารย์เฟลป์สวัย 73 ปี ได้ท้าทายความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานว่า เหล่าผู้กำหนดนโยบายจะสามารถลดอัตราการว่างงานของประเทศในระยะยาวได้ด้วยการยอมรับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งความเชื่อที่ผิดนี้มีส่วนทำให้เกิดการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดของเฟดในช่วงยุคทศวรรษที่ 70 ซึ่งมีการปล่อยสินเชื่อจำนวนมากโดยที่ไม่เข้มงวด เพื่อกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อให้แตะระดับสองหลัก ผลที่ตามมาคืออัตราเงินเฟ้อสูง และอัตราการว่างงานก็สูงตามไปด้วย การรวมกันของสองสิ่งที่ก่อให้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจ คือเกิดช่วงเวลาที่เศรษฐกิจชะลอการเติบโต เนื่องจากอัตราการว่างงานสูง แต่ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อ ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย

ทุกวันนี้ชาวอเมริกันส่วนหนึ่งต้องรู้สึกขอบคุณเฟลป์ส งานของเขาเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เหล่าผู้ทำหน้าที่กำหนดนโยบายของเฟด พยายามที่จะหาทางทำให้อัตราการว่างงานต่ำ และอัตราเงินเฟ้อต่ำ ไม่มีความเชื่อในเรื่องที่ว่าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งอีกต่อไป ซึ่งวิธีการนี้ประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

ราชบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนซึ่งประกาศให้เฟลป์สได้รับรางวัลเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม กล่าวว่า "ทฤษฎีของเฟลป์สเปลี่ยนแปลงการรับรู้โดยสมมติฐานของเราในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเงินเฟ้อและการว่างงาน และช่วยอธิบายสาเหตุที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจเละเทะในช่วงทศวรรษที่ 70 ได้"

โธมัส ซี. เชลลิ่ง แห่งมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2548 และเป็นอาจารย์ของเฟลป์ส ที่มหาวิทยาลัยเยลในช่วงปลายทศวรรษที่ 50 กล่าวถึงเฟลป์สว่า "เขาเป็นคนที่มีความคิดในแบบที่คนอื่นไม่มี และบางทีไม่มีใครที่สามารถคิดแบบเขาได้" ส่วนอลัน เอส. บลายน์เดอร์ อดีตรองประธานเฟด กล่าวว่า ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของเฟลป์ส ประกอบกับผลงานที่เกี่ยวข้องกันของมิลตัน ฟรีดแมน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์อีกราย เป็นรากฐานและหัวใจสำคัญสำหรับเฟด และธนาคารกลางของอีกหลายประเทศทั่วโลกในการนำมาใช้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพื่อกำหนดทิศทางเศรษฐกิจ และควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

งานวิจัยของเฟลป์สท้าทายรูปแบบทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับที่เรียกว่า "ฟิลิปส์ เคิร์ฟ โมเดล" ซึ่งตั้งชื่อตาม เอ. ดับเบิลยู. ฟิลิปส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์ที่เป็นผู้คิดค้นรูปแบบดังกล่าวนี้ อธิบายถึงความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามในระยะยาว ระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงาน ซึ่งรูปแบบนี้ได้แสดงนัยยะว่าผู้กำหนดนโยบาย สามารถลดอัตราการว่างงานในระยะยาวได้ หากพวกเขาเต็มใจรับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้

เฟลป์สยอมรับว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวถูกต้องในระยะสั้น เมื่ออัตราการว่างงานสูงจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยสินค้า และบริการลดลง ทำให้ผู้ขายไม่กล้าขึ้นราคาสินค้า หรือหากอัตราการว่างงานต่ำผู้คนมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอย ก็จะทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น แต่เฟลป์สอธิบายเพิ่มเติมว่า อัตราเงินเฟ้อยังขึ้นอยู่กับความคาดหวังของบริษัทเอกชน และผู้บริโภคในเรื่องราคาสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ประชาชนมีแนวโน้มที่จะคาดหวังว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นในระดับคงที่ และบ่อยครั้งที่พฤติกรรมของพวกเขามักจะเป็นไปในทางที่จะทำให้ความคาดหวังนั้นเป็นจริงเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในยุคทศวรรษที่ 70 เมื่อราคาสินค้าที่สูงขึ้นส่งผลให้เกิดความคาดหวังว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ซึ่งแสดงว่า "ฟิลิปส์ เคิร์ฟ โมเดล" ล้มเหลวในการหาคำอธิบายสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่ 70 เมื่อทั้งอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง และสภาพเศรษฐกิจช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ที่ทั้งอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อต่ำ ท้ายที่สุดเฟลป์สก็พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามในระยะยาว ซึ่งราชบัณฑิตยสภาของสวีเดนยกย่องว่าเป็นหนึ่งในแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐศาสตร์มหภาคสูงที่สุดในรอบ 50 ปี

เฟลป์สจึงได้พัฒนารูปแบบทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นมาใหม่เรียกว่า "ส่วนต่อขยายด้านความคาดหวังของฟิลิปส์ เคิร์ฟ" ซึ่งรูปแบบนี้นักเศรษฐศาสตร์ของเฟด และธนาคารกลางทั่วโลกได้นำไปใช้อย่างแพร่หลาย ในการคำนวณหาอัตราการว่างงานตามปกติ ซึ่งหากอัตราการว่างงานต่ำกว่าระดับที่คำนวณได้ อัตราเงินเฟ้อก็จะมากขึ้น แต่หากอัตราการว่างงานสูงกว่าระดับปกติผลที่จะเกิดตามมาจะกลับกัน

ทุกวันนี้ผู้กำหนดนโยบายของเฟดคิดว่าอัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.6% ที่น่าจะเท่ากับอัตราการว่างงานตามปกติ หรือต่ำกว่าเพียงเล็กน้อย พวกเขากังวลว่า หากตลาดแรงงานมีความหนาแน่นเกินไปจะป็นการกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ซึ่งที่ช่วงที่ผ่านมาของปีนี้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงพอสมควร ทั้งนี้ เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการเดิมพันว่าภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้อัตราการว่างงานสูงขึ้นเล็กน้อย ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า และทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องคิดหนักมากขึ้นในการที่จะขึ้นราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม ด้วยผลงานของเฟลป์สทำให้ผู้กำหนดนโยบายไม่เชื่อว่าต้องเพิ่มอัตราการว่างงานในระยะยาวเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อต่ำ พวกเขาเชื่อว่าทั้งสองอย่างสามารถลดลงมาอยู่ในระดับต่ำได้ในท้ายที่สุด

ศาสตราจารย์เฟลป์สเกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2476 ที่เมืองอีแวนสตัน รัฐอิลลินอยส์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแอมเฮิร์สท์ ในปี 2498 และจบศึกษาระดับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเยลในปี 2502 จากนั้นจึงเริ่มไปเป็นอาจารย์สอนที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) มหาวิทยาลัยเยลและมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ก่อนที่จะมาอยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปัจจุบัน

รางวัลมูลค่า 1.4 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 52.5 ล้านบาท) ที่เฟลป์สได้รับรู้จักกันในชื่อรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ แต่ที่จริงแล้วรางวัลนี้ไม่ใช่สาขาหนึ่งของรางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ต้นเมื่อปี 2438 โดยอัลเฟรด โนเบล แต่เป็นรางวัลที่ก่อตั้งขึ้นภายหลังเมื่อปี 2512 โดยธนาคารกลางแห่งสวีเดน ในชื่อรางวัลเศรษฐศาสตร์เพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 14:36


ถ่องแท้เศรษฐกิจพอเพียง เอกชนถาม-รัฐบาลตอบ  http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006october26p3.htm
มติชนรายวัน  วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10456

*หมายเหตุ* เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจจัดสัมมนาในหัวข้อ "ถ่องแท้กับเศรษฐกิจพอเพียง" โดยมีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการประธานสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ร่วมสัมมนา โดยมีสาระสำคัญพอสังเขปดังนี้

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหลายครั้งหลายกรณี โดยในปี 2542 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประมวลพระราชดำรัสมากลั่นกรอง และได้รับพระราชอนุญาตให้นำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งมีเนื้อความว่า "เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล รวมถึงความจำเป็น ที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายนอก และภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบครอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

นี่คือฐานทั้งหมดที่เราจะนำมาปรับใช้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องอาศัย 2 เรื่อง คือ ความรู้ และคุณธรรม เมื่อได้อ่านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วจะพบว่า มีหลายขั้นหลายตอนที่อาจจะทำให้เกิดความสงสัย คือ เรื่องของการนำไปปรับใช้ ซึ่งแต่ละภาคส่วนจะไม่เหมือนกันและไม่ควรเหมือนกัน ไม่มีสูตรตายตัวสุดแต่ผู้ใช้จะขับเคลื่อนที่ปรัชญาข้างต้นเน้นอยู่ 2 อย่าง คือ 1.สนองต่อโลกาภิวัตน์ 2.รองรับการเปลี่ยนแปลงจากโลกภายนอก

ดังนั้น การปรับใช้จึงมีมิติที่ไม่ตึงตัวแต่จะปรับอย่างไรนั้น อยู่ที่ความรู้และคุณธรรม และในระบบตลาดการดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างน้อยต้องมีคุณธรรมกำกับ หากไม่มีคุณธรรมก็จะมีเรื่องฉ้อราษฎ์บังหลวง ผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง เพราะฉะนั้นนอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะไม่ขัดกับระบบเสรีแล้ว แต่กลับยังส่งเสริมให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างเสรี ไม่ถูกบิดเบือน ตรงไปตรงมา ซึ่งนำไปสู่ความโปร่งใส ผู้บริโภคได้ประโยชน์ ประเทศมีประสิทธิภาพ

สำหรับต่างชาติ ซึ่งฟังชื่อเศรษฐกิจพอเพียง แล้วอนุมานเองว่า ความพอเพียง หมายถึงจะอยู่แต่ข้างใน ไม่ยุ่งกับคนอื่น ซึ่งไม่ใช่ แต่ต้องตระหนักว่าเมื่อข้างนอกเปลี่ยนแล้วเราต้องปรับ ถ้าไม่ปรับเราจะไม่มีภูมิคุ้มกัน

อีกอย่างหนึ่งที่ตีความกันคือ พอเพียง คือไม่อีนังขังขอบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และกลับไปสู่การมีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจงซึ่งแบบนี้มันไม่ใช่

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระบุชัดเจน คือ เราจะต้องเจริญเติบโตแต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เติบโตแบบฟองสบู่ เราต้องเติบโตด้วยความเพียร คุณธรรมและความรู้ ซึ่งอาจจะเติบโตน้อย แต่เป็นทางเลือกของสังคมว่า ต้องการจะโตแบบยั่งยืน หรือเร่งรัดแต่เสี่ยงยิ่งขึ้น ถ้าตามเศรษฐกิจพอเพียงเราเลือกแล้วว่า จะโตแบบพอเพียง ยั่งยืน เข้มแข็ง เราไม่ปฏิเสธการเติบโต แต่เราปฏิเสธการเติบโตแบบไม่มีเหตุผล เราจะต้องเติบโตเท่าที่เรามีประสิทธิภาพ ผมบอกไม่ได้ว่าเต็มประสิทธิภาพของประเทศไทย คือต้องเติบโตเท่าใด แต่คิดว่าอัตราการขยายตัวที่ 4-5% เป็นระดับที่เราทำได้ หากอยากเติบโตกว่านี้ก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพ"

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ

กรรมการผู้จัดการประธานสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)

"หลังจากมีการตั้งรัฐบาลใหม่คำถามแรกของต่างชาติคือ ประเทศไทยจะรับแต่ตัวเองแล้วปฏิเสธโลกข้างนอกหรือไม่ จะพึ่งพาต่างตัวเองมากแล้วพึ่งพาต่างชาติน้อยลง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคำถามตามมาเช่น รัฐบาลมีอายุ 12 เดือนในลักษณะของรัฐบาลรักษาการแล้ว จะดำเนินนโยบายเฉพาะเรื่องที่ต่อเนื่องจากเดิมหรือไม่ รวมทั้งต่างชาติมีความเป็นห่วงว่าปี 2549 เขาเสียเวลาไป 1 ปีแล้ว ถ้ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะทำให้เขาต้องเสียเวลาในปี 2550 อีก 1 ปีหรือไม่ เพราะต่างชาติมองว่าโลกาภิวัตน์เปลี่ยนแปลงเร็ว ทั้งจีน อินเดีย และเวียดนาม เวลานี้มีคำถามว่าแล้วประเทศไทยจะแข่งขันอย่างไร จะหันหลังให้โลกภิวัตน์หรือไม่

ต่างชาติยังต้องการทราบว่ารับบาลชุดนี้จะเปิดรับแค่ไหนในการใช้เทคโนโลยีจากต่างชาติ จะร่วมทุนกับต่างชาติหรือไม่ แล้วนโยบายจะแตกต่างจากรัฐบาลก่อนๆหรือไม่ ประเทศไทยจะทำอะไรชักช้าหรือไม่ เพราะการที่เราจะมองความเสี่ยง ต้องมีภูมิคุ้มกัน ต้องรอบคอบนั้น ในทางปฏิบัติจะทำอย่างไร และประเทศไทยจะมองต่างชาติเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงด้วยหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่คั่งค้างจากรัฐบาลเก่า ซึ่งรัฐบาลชุดนี้จะสะสางอย่างไร เช่น การแปรรูปบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่อยู่ในกระบวนการศาล เพราะผลจากเรื่องนี้จะช่วยสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมองเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างไร เช่นเดียวกับกรณีการตรวจสอบนอมินีของกลุ่มเทมาเส็กที่ถือหุ้นบริษัทในกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งผลของคดีนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดในอนาคต

หรือแม้แต่เรื่องค้าปลีกที่เขาต้องการทราบว่าเป็นนโยบายที่เฉพาะเจาะจงหรือไม่อย่างไร หรือเป็นเรื่องของการวางแผนผังเมืองโดยรวม รวมถึงนโยบายที่เราต้องการลดช่องว่างคนจนกับคนรวยนั้น จะนำไปสู่การจัดเก็บภาษีจนรวยเพื่อไปช่วยคนจน หรือมีการแก้ไขการจัดเก็บภาษีมรดกหรือไม่ และรับบาลมีจุดยืนในเรื่องต่างๆ เหล่านี้อย่างไร

สิ่งสำคัญที่ต่างชาติพยายามถามยังมีอีกว่า รัฐบาลชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจากสังคมมากเพียงใด ต่างชาติเขาผิดหวังอย่างมาก กับนโยบายของรัฐบาลชุดเก่าที่ไม่ได้สร้างฉันทามติในประเทศ เวลาผ่านไป 2 ปี นโยบายต่างๆ ไม่มีความคืบหน้า ซึ่งผมเชื่อว่าถ้ารัฐบาลชุดนี้กับมาทบทวนแล้วก้าวไปพร้อมกับเอกชน แม้จะไม่เร็วแต่น่าเชื่อถือ ผมคิดว่าสิ่งนี้จะเป็นปัจจัยบวกให้กับประเทศ

โดยเฉพาะอย่างที่คุณโฆษิตระบุว่าจะตัดสินเรื่องที่คั่งค้างจะสะสางเรื่องต่างๆ ให้เกิดความชัดเจน เป็นสิ่งที่ต่างชาติอยากเห็น เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีความชัดเจนทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ แม้ว่าการลงทุนเมกะโปรเจ็คต์จะมีขนาดเล็กลง ต่างชาติไม่ได้ว่าอะไร เพียงแต่ขอให้สามารถดำเนินการได้จริง การประมูลไม่มีการคอร์รัปชั่น เขาจะพึงพอใจอย่างมากเพราะที่ผ่านมาเรื่องเหล่านี้เป็นต้นทุนที่สูงมากของนักลงทุน สิ่งสำคัญที่สุดคือความน่าเชื่อถือ ซึ่งรัฐบาลนี้มีอยู่แล้วแต่จะต้องรักษาไว้ให้ได้

หน้า 20


--------------------------------------------------------------------------------

โฆสิตชูประสานรากหญ้า-ธุรกิจ-รัฐ ระบุต่างชาติเฝ้ามองเครดิตรัฐบาล

มติชนรายวัน  วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10456

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจจัดสัมมนาในหัวข้อ "ถ่องแท้กับเศรษฐกิจพอเพียง" โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในแง่นโยบายที่จะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้นั้น รัฐบาลเสนอนโยบายแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.ฐานราก คือ ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้ใช้แรงงาน ที่ต้องเดินตามเศรษฐกิจพอเพียงและนำมาปรับใช้ ต้องเข้าใจเกษตรทฤษฎีใหม่โดยรัฐบาลจะให้น้ำหนักกับเรื่องนี้มาก เพื่อให้มีความหลากหลาย มีรายได้รายทางตามควร โดยจะแยกฐานรากเป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีข้อจำกัดในแง่มุมต่างๆ ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องอนุเคราะห์ หรือต้องร่วมกันทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

2.กลุ่มธุรกิจ เช่นสถาบันการเงินต้องใช้ทั้ง Governance และ Risk Management (บริหารความเสี่ยง) ในเศรษฐกิจระบบตลาด อยากให้กลไกตลาดทำงาน โดยเน้น Productivities( ผลิตภาพ) ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดี เพราะใส่ปัจจัยการผลิตเข้าไป เช่น ทุน แรงงาน ซึ่งไม่มีความยั่งยืน เพราะหากไม่มีความรู้ คุณธรรม ทุกอย่างก็จบกัน ต่อไปเราต้อเน้นสร้างปัจจัยพื้นฐานทางปัญญา

3.รัฐ คือการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ให้เกิดความพอดี แม้เราจะใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล แต่ก็พิจารณาในเรื่องการออม และวินัยการใช้จ่ายเงิน

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการและประธานสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ต่างชาติให้ความสนใจคือ รัฐบาลชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจากสังคมมากเพียงใด และได้แสดงความผิดหวังอย่างมากกับนโยบายของรัฐบาลชุดเก่าที่ไม่ได้สร้างฉันทามติในประเทศ เวลาผ่านไป 2 ปี นโยบายต่างๆ ไม่มีความคืบหน้า ซึ่งตนเชื่อว่าถ้ารัฐบาลชุดนี้กลับมาทบทวนแล้วก้าวไปพร้อมกับเอกชน แม้จะไม่เร็วแต่น่าเชื่อถือ ผมคิดว่าสิ่งนี้จะเป็นปัจจัยบวกให้กับประเทศ

"อย่างที่คุณโฆสิตระบุว่า จะตัดสินเรื่องที่คั่งค้างจะสะสางเรื่องต่างๆ ให้เกิดความชัดเจน เป็นสิ่งที่ต่างชาติอยากเห็น เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีความชัดเจนทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ แม้ว่าการลงทุนเมกะโปรเจ็คต์จะมีขนาดเล็กลง ต่างชาติไม่ได้ว่าอะไร เพียงแต่ขอให้สามารถดำเนินการได้จริงไม่มีการคอร์รัปชั่น เขาจะพึงพอใจอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาเรื่องเหล่านี้เป็นต้นทุนที่สูงมากของนักลงทุน สิ่งสำคัญที่สุดคือความน่าเชื่อถือ ซึ่งรัฐบาลนี้มีอยู่แล้วแต่จะต้องรักษาไว้ให้ได้"


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-10-2006, 14:39
3 ขั้นของการแก้ปัญหาความยากจน  http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006october27p2.htm

โดย เสรี พงศ์พิศ www.phongphit.com สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  มติชนรายวัน  วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10457

ขั้นที่ 1 "รอด" (survive)

รอดจากความทุกข์ยากอันเนื่องมาจากปัญหาสารพัด โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจเป็นวงจรอุบาทว์ที่หาทางออกไม่ได้ โดยเฉพาะหนี้สินซึ่งไม่ใช่หนี้สินธรรมดา แต่เป็นหนี้เน่า หนี้ที่หาทางแก้ไขไม่ได้ นอกจากจะขายทุกอย่างแล้วไปตายเอาดาบหน้า พ่อไปทาง แม่ไปทาง ลูกไปทาง อย่างที่เกิดขึ้นในชนบทไทยวันนี้

"รอด" เป็นฐานคิดที่แตกต่างจากที่เป็นอยู่วันนี้ที่เน้นกันที่ "รวย" คำสัญญาที่ใครๆ ให้กับชาวบ้านมานานหลายสิบปี เอาตั้งแต่สองพันห้าร้อยสี่ ที่ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมก็ได้ เมื่อรัฐไปยุ่งกับชีวิตชาวบ้านด้วยการพัฒนาสมัยใหม่ ผู้คนต้องทำงานแบบที่รัฐบอก กรอกหูอยู่ทุกวันว่า "งานคือเงิน เงินคืองานบันดาลสุข" ถ้ามีเงินชีวิตก็จะดีขึ้นเพราะ "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ"

ชีวิตผู้คนส่วนใหญ่วันนี้อยู่ในสภาพเรือแตก เหมือนสำเภาที่กำลังจะไปยัง "สุวรรณภูมิ" ใน "พระมหาชนก" คน 700 คนในนั้นได้แต่อ้อนวอนเทวดา สุดท้ายตายหมด มีแต่พระมหาชนกที่รอดมาได้ เพราะพระองค์ทรงหาทางช่วยตัวเอง แล้วว่ายน้ำไปเรื่อยๆ แม้ไม่เห็นฝั่งก็ยังว่ายต่อไปด้วย "ความเพียงอันบริสุทธิ์" ซึ่งก่อให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ นั่นคือการรอดพ้นจากการจมน้ำตาย

สิบปีเศษมาแล้ว ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข้มเฉลิมร่วมกับพระภิกษุจำนวนหนึ่งออกเดินธรรมยาตราในป่ารอยต่อห้าจังหวัด เริ่มจากสนามชัยเขต ฉะเชิงเทรา วันหนึ่งหลงทาง ตกเย็นไปโผล่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ถามใครก็ไม่มีใครบอกได้ว่าเป็นบ้าอะไร เพราะเมากันทั้งบ้าน

นายเลี่ยม บุตรจันทา ผู้นำคนหนึ่งของหมู่บ้านแห่งนี้มีชื่อว่า "นาอีสาน" เล่าว่าชาวบ้านส่วนใหญ่มาจากอีสานห้าหกปีก่อนหน้านั้น มาด้วยความหวังว่าจะพบชีวิตที่ดีกว่าเดิม โดยได้ขายไร่ขายนาเพื่อใช้หนี้ใช้สินกันคนละเป็นแสน อพยพมาอยู่ที่ใหม่นี้ด้วยความหวังเต็มเปี่ยมว่าชีวิตต้องดีขึ้น เพราะดินก็ดี น้ำก็ดี ที่ก็กว้างขวาง

แต่เพราะคิดเหมือนเดิม ทำเหมือนเดิม จึงเป็นหนี้และจนเหมือนเดิม แตกต่างจากเดิมก็เพียงแต่ไม่ได้ปลูกมันสำปะหลัง แต่ปลูกข้าวโพด รอให้มันแก่แล้วหักไปขาย เอาเงินไปซื้อทุกอย่างซึ่งก็ไม่พอกินพอใช้ จนเกิดวงจรอุบาทว์ เป็นหนี้คนละเป็นแสนเหมือนเดิม กินเหล้า เล่นการพนัน ประชดชีวิตบัดซบกับความจนซ้ำซาก

วันหนึ่งผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ให้ครูไปเชิญผู้นำชุมชนบ้านนาอีสานไปร่วมสัมมนาที่บ้านนายเลี่ยมเล่าว่า เขาไปโดยไม่รีรอ คิดแต่เพียงว่าจะไปกินเหล้ากับครูนอกบ้าน เพราะกินที่บ้านไม่สะดวก เมากลับบ้านทีไร เมียแกมักจะให้นอนที่กระได ไม่ให้เข้าบ้านเข้ามุ้ง

แต่ไปสัมมนาจริงๆ กลับไม่ได้กินเหล้าได้ "วิชา" กลับมา วันนี้นายเลี่ยมและชาวบ้านนาอีสานมักเรียกผู้ใหญ่วิบูลย์ว่า "พระฤๅษี" เพราะเป็นผู้ประสาทวิชาให้ วิชาแรกที่ได้รับจากพระอาจารย์คือ การทำบัญชีรายจ่ายครัวเรือนหรือที่แปรมาเป็น "จดแล้วไม่จน" วันนี้

นายเลี่ยมกลับไปด้วยความมั่นใจว่าได้เครื่องมือแก้จน ลงมือจดบันทึกรายจ่ายอย่างเดียวขอให้ภรรยาและลูกทำเช่นเดียวกัน นายเลี่ยมพบว่า อะไรที่เลวๆ เป็นรายจ่ายของตนเองหมดไม่ว่าเหล้า หวย ตีไก่ การพนันและอบายมุข ส่วนภรรยาก็ซื้อทุกอย่างเพื่อกินเพื่อใช้ไม่ปลูกไม่เลี้ยงไม่ทำอะไรทั้งสิ้น ดินก็มี น้ำก็มี เวลาก็มี แต่ไม่ทำ ลูกก็ขอเงินไปโรงเรียนทุกวัน

ทำบัญชีรายจ่ายได้สิบวัน ครอบครัวนายเลี่ยมใช้เงินไปสี่พันกว่าบาทโดยที่รายได้ไม่มีแม้แต่บาทเดียว นายเลี่ยมจึงเข้าใจว่า ทำไมตนเองจึงเป็นหนี้ ทำไมจึงจน ทำไมชีวิตจึงหาทางออกไม่เจอสรุปเรื่องยาวให้สั้นเข้า นายเลี่ยมกับครอบครัวตัดสินใจปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต จัดระเบียบชีวิตของตนเองใหม่ ไม่ให้ใครมาจัดให้ ไม่ปล่อยไปตามบุญตามกรรมอีกต่อไป เขาลุกขึ้นมา "ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก" ทำ "สวนออนซอน" ที่ใครไปดูต้องรู้สึก "ออนซอน" ไปด้วยทำไปไม่นานก็พบว่ามีกินมีใช้ มีเงินเหลือเก็บ และเริ่มใช้หนี้ซึ่งเคยเน่าก่อนหน้านั้น ชีวิตเริ่มเปลี่ยนเพราะ "วิชา" ของพระฤๅษี วิชาที่สร้างปัญญา ปัญญาที่แก้ปัญหาความยากจนวันนี้บ้านนาอีสานไม่ได้ "เมาทั้งบ้าน" อีกต่อไป กลายเป็น "พัฒนาทั้งบ้าน" เป็นตัวอย่างของการพัฒนาที่ผู้คน "รอด" ได้รอดจากการจมปลักอยู่กับกองทุกข์ กองหนี้สิน ชีวิตที่เหมือนขยะที่ล่องลอยไปตามน้ำอย่างไร้จุดหมายปลายทาง

พวกเขาลุกขึ้นมาจัดการชีวิตของตนเองใหม่ ไม่มีระบบและระเบียบแบบที่ทำให้รอดไม่ใช่มุ่งให้รวย ระเบียบชีวิตใหม่มาจาก "ข้างใน" หรือ "ระเบิดจากข้างใน" อย่างที่ในหลวงทรงสอน มาจาก "การเรียนรู้" ซึ่งถ้าเรียนรู้จริงก็จะมีการเปลี่ยนแปลงจากภายในไม่ใช่ยัดเยียดให้จากภายนอก

มาจาก "ชุมชน" ที่ร่วมกันจัดการชีวิต จัดการเศรษฐกิจ จัดการหนี้สิน จัดการดิน น้ำ ป่า ข้าวปลาอาหาร การออม การผลิต การบริโภค การลงทุน สุขภาพ สิ่งแวดล้อม

ขั้นที่ 2 "พอเพียง" (sufficient)

ปัญหาของชาวบ้านวันนี้ไม่ใช่ไม่มีเงิน เพราะความจริงเงินไม่ได้ขาด หาได้เสมอ หนี้สินถึงได้มากมาย ปัญหาใหญ่ของชาวบ้านวันนี้คือ ไม่รู้จะไปทางไหนมากกว่า ใครก็ตามที่รู้และมั่นใจในทางที่จะไป ก็ไปถึงจุดหมายได้ อย่างบ้านนาอีสานและอีกมากมายหลายหมู่บ้านวันนี้ที่ "รอด" ได้ เพราะเลิกฝันที่จะ"รวย" ขอแต่ให้อยู่อย่างพอเพียงก็พอ

ในสังคมวันนี้เราหาตัวอย่างหรือมาตรฐานของความพอเพียงไม่ค่อยได้ เพราะเป็นสังคมทุนนิยม สังคมบ้าบริโภคที่กระตุ้นให้คนบริโภคเกินพอดีตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราจึงต้องกลับ "คืนสู่รากเหง้า" (back to the roots) เพื่อจะได้ค้นหา "ตัวแบบ" ของความพอเพียงและหาทางสืบทอดอย่างเหมาะสม

การคืนสู่รากเหง้า ไม่ใช่กลับไปหาอดีตเพื่ออยู่กับอดีต แต่เชื่อมอดีตกับปัจจุบันเพื่อสานอนาคต

ขั้นที่ 3 "ยั่งยืน" (sustainable)

ปัญหาต่างๆ แก้ไขได้แต่ไม่ค่อยยั่งยืน เพราะมักเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เหมือนกวาดขยะไว้ไต้พรม ไปกู้หนี้มาใช้หนี้ เอากองนี้ไปกลบกองโน้นเวียนไปเวียนมาเป็นวงจรอุบาทว์น้ำที่วนไปวนมาที่เดิมจึงเป็นน้ำเน่า

การทำมาหากินจึงล้มลุกคลุกคลาน กำไรหนึ่งปี ขาดทุนสามปี ทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ผล เพราะมักจะแห่ทำตามๆ กัน คนสองคนทำแล้วรวย ทั้งหมู่บ้านทั้งตำบลก็ทำตามเป็นเช่นนี้เรื่อยมา จนไม่รู้จะทำอะไรในชุมชน มีบางคนออกไปทำงานในเมืองในกรุงเทพฯ ต่างถิ่นต่างที่แล้วรวย คนอื่นก็ออกไปเผชิญชะตากรรมบ้าง เป็นตายร้ายดีอย่างไรไม่มีใครรู้ หมู่บ้านหลายแห่งจึงแทบจะร้างเหลือแต่คนแก่กับเด็ก

ยั่งยืนหมายถึงอยู่ได้อย่างมั่นคง มีหลักประกันว่าจะไม่ล้มลุกคลุกคลาน หรือกลับไปอยู่ในสถานการณ์เดิมๆ อีกซึ่งต้องมั่นคงในทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน เครือข่าย ไปจนถึงสังคมใหญ่โดยรวม

ยั่งยืนหมายถึงการมีระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเองของชุมชนและเครือข่าย สามารถจัดการการกินการอยู่ได้อย่างพอเพียง จัดการทรัพยากร ทุนในท้องถิ่น จัดการการผลิตการบริโภคตอบสนองปัญหา และความต้องการของท้องถิ่นได้ เมื่ออยู่รอดได้อย่างมั่นคงแล้วคิดจะค้าขายก็ไม่เสี่ยง เพราะมีฐานเศรษฐกิจที่ดี มีหลักประกัน มีระบบสวัสดิการและความมั่นคงให้ตนเองแล้ว

ยั่งยืนหมายถึงการมีระบบและโครงสร้างที่มีหลักประกันสิทธิเท่าเทียมกันของผู้คน เท่าเทียมกันทางกฎหมาย เท่าเทียมกันทางโอกาส การเข้าถึงทรัพยากร การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ การเข้าถึงการศึกษา การพัฒนาตนเอง

ยั่งยืนหมายถึงการมีระบบโครงสร้างสังคมเศรษฐกิจที่มั่นคง สามารถยืนหยัดอยู่ได้ในยุคโลกาภิวัตน์โลกแห่งการแข่งขันที่รุนแรง โลกที่กระแสหลักคือทุนนิยม โลกที่ประเทศต่างๆ ถูกผลักเข้าสู่ระบบเสรีทางการค้า ถูกบังคับให้เปิดประชุมสู่การแข่งขันที่อ้างว่าเสรี แต่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งประเทศเข้มแข็งทางเศรษฐกิจทั้งหลาย ล้วนได้เปรียบประเทศเล็กๆ ที่กำลังพัฒนา

พอเพียงคืออยู่พอดี กินพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ไม่โลภมากไม่เบียดเบียนคนอื่นไม่เบียดเบียนธรรมชาติ มีคุณธรรมนำการทำมาหากินและการอยู่ร่วมกันมี "ความสุขตามอัตภาพ"

ปัญหาสังคมวันนี้ คือมีความต้องการมากเกินความจำเป็น แต่ทรัพยากรมีจำกัด บางคนจึงมีมากเกินไป บางคนมีน้อยเกินไป ที่เลวร้ายคือคนที่มีมากเกินไปเป็นคนส่วนน้อย คนที่มีน้อยเกินไปเป็นคนส่วนมากจึงเกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคม

พอเพียงจึงไม่ใช่เรื่องของปัจเจก หรือเรื่องของครอบครัวหรือแม้กระทั่งชุมชนอย่างเดียวพอเพียงเป็นเรื่องของการจัดระเบียบสังคม ให้มีระบบและโครงสร้างที่พอเพียง มีคุณธรรม ยุติธรรมกับทุกคน ไม่ปล่อยให้คนบางคนบางกลุ่มเอาเปรียบคนอื่น ร่ำรวยอยู่บนความทุกข์ยากของคนอื่น

พอเพียงคือการสืบทอดระบบคุณค่าดั้งเดิมที่พ่อแม่ปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษได้สร้างสมและถ่ายทอดสืบทอดมาให้เราลูกหลานวันนี้ ระบบโครงสร้างสังคมวันนี้ อันมีกฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญไม่ค่อยคำนึงถึงระเบียบชีวิตดั้งเดิม ระบบคุณค่าต่างๆ ในวิถีชุมชนไม่ได้ลงไป "ค้นหา" และนำมาประยุกต์ให้เป็นรากฐานมั่นคงของสังคมวันนี้

กฎหมายต่างๆ ที่ออกมาก็มาจากข้าราชการ นักการเมือง เข็นออกมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการแผนงานของตนเองเป็นหลัก ลอกมาจากฝรั่งต่างชาติบ้าง นึกคิดเอาเองบ้าง ไม่ได้มาจากการ "ค้นหา" ในความเป็นจริงของสังคมในระบบคุณค่าระเบียบชีวิต สิ่งดีๆ ในวิถีของชุมชน

แม้ว่ารัฐสภาจะไม่สนใจหรือไม่ทำ หรือทำไม่ได้ แต่ระดับท้องถิ่นอย่าง อบต.เทศบาล อบจ.ก็น่าจะทำได้ หมายถึงการออกข้อบัญญัติ หรือกฎระเบียบการบริหารจัดการท้องถิ่นบนฐานความรู้ภูมิปัญญา ระบบคุณค่าและวิถีดั้งเดิมของชุมชนโดยไม่จำเป็นต้องกลับไปหาอดีตเพื่ออยู่แบบโบราณ แต่เพื่อสืบทอดคุณค่าให้เหมาะสมกับยุคสมัย

ดูแต่การจัดการน้ำอย่างระบบเหมือนฝายในภาคเหนือ นักวิชาการฝรั่งอ้างอิงเป็นตัวอย่างของมรดกภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ของคนเหนือ ที่รู้จักจัดการน้ำอย่างยุติธรรม คนอยู่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำได้น้ำใช้อย่างพอเพียง ไม่ทะเลาะกันเพราะแบ่งปันน้ำ ไม่ลงตัว ในเมื่อทุกคนอยู่ร่วมกันร่วม "ผี" เดียวกัน ร่วม "ที่" เดียวกัน ย่อมเป็นพี่เป็นน้องกัน ย่อมแบ่งปันกันอย่างพี่อย่างน้อยได้

ความพอเพียงจึงรวมถึงระบบการจัดการทุนท้องถิ่น ทุนทรัพยากร ทุนความรู้และปัญญาทุนทางสังคม โดยเฉพาะทุนที่สามนี้ที่ทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันได้เพราะมีความไว้ใจกันมี "ผี" มี "ขวัญ" เป็นเครื่องร้อยรัด ให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ "ผี" อันหมายถึงระเบียบ กฎเกณฑ์ต่างๆ ทุนทางสังคมจึงแสดงออกทาง "น้ำใจ" อันเปรียบเหมือนน้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความจริง 3 ขั้นที่กล่าวมานี้ไม่ได้แยกจากกันเหมือนขั้นบันได แต่เป็นเหมือนสามเหลี่ยมที่มีสามมุม ทั้งสามมุมสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวเพราะถ้าไม่มีมุมหนึ่งก็ไม่เป็นสามเหลี่ยมทำนองเดียวกัน "รอด-พอเพียง-ยั่งยืน" เป็นสามมุมของความเป็นจริงเดียว ซึ่งแต่ละคนในสังคมไทยวันนี้กำลังเผชิญ และกำลังร่วมกันหาทางพัฒนาให้เกิด

ปัจจัยสำคัญของการพัฒนา "สามมุม" ของสามเหลี่ยมอันเป็น "ฐานชีวิต" หรือ "ปิระมิดชีวิต" (Pyramid of Life) มีอยู่สองประการสำคัญ คือ การเรียนรู้และการจัดการการเรียนรู้ทำให้เกิดความรู้และปัญญา การจัดการทำให้เกิดระบบ

เงินและอำนาจเป็นปัจจัยรองเอามานำหน้าเมื่อไรจะทำให้การพัฒนาเหลือแต่ความทันสมัยแต่ไม่พัฒนา หรือลดค่าลงมาเหลือแค่ "กิน-กาม-เกียรติ" เท่านั้น

เพราะขาดการเรียนรู้และการจัดการ ดิน น้ำ ป่า จึงได้หมดไป เงินที่เคยมีก็หมดไปเหลือแต่หนี้สิน วันนี้จึงไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับการพัฒนายั่งยืนนอกจากการเรียนรู้ คนที่เข้าใจประเด็นนี้มีอยู่สองประเภท

ประเภทที่หนึ่ง รู้ดี มีอำนาจและมีเงิน รู้ว่าการเรียนรู้ทำให้เกิดปัญญา และการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ก็จะให้ความสำคัญกับการศึกษาไม่มากนัก ละเลยการเรียนรู้ของผู้คน เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ "ประชานิยม" คือเอาใจชาวบ้านเพื่อตนเองจะได้รับความนิยม คนเหล่านี้ปากก็บอกว่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง ประชาชนสำคัญสูงสุด แต่การกระทำกลับไปครอบงำด้วยระบบอุปถัมภ์ที่แยบยลจนชาวบ้านไม่อาจหลุดพ้นเป็นอิสระได้

ประเภทที่สอง รู้ดีแต่ไม่มีอำนาจไม่มีเงิน ทำด้วยใจ ในขอบเขตที่เล็กๆ กับคนกลุ่มเล็กๆ ชุมชนและเครือข่ายในขอบเขตจำกัด คนกลุ่มนี้ไม่ได้ต้องการอำนาจและเงิน ต้องการเพียงความเข้าใจและการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ ต้องการระบบโครงสร้างที่เอื้อต่อการทำงานเพื่อการเรียนรู้และการจัดการตนเองของคนยากคนจน

คนประเภทที่สองต้องการเพียงเท่านี้ จากรัฐบาลนี้


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: sleepless ที่ 27-10-2006, 20:32
คำว่าพอเพียง คือ ไม่มากไม่น้อยพอดี มันไม่เป็นสีขาว มันไม่เป็นสีดำ ถ้ามันเป็นสีเทา ช่วงที่รับได้ของมันอยู่ตรงไหน
ถ้าจะนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จริง ต้องมีคนแปล subjective เป็น quantitative ก่อนครับ เรื่องประชาธิปไตยแบบ
พอเพียงยิ่งไปกันใหญ่ เอาแค่เศรษฐกิจให้รอดก่อนเถอะครับ

มั่วชิปเป๋ง ไม่อายเด็กบ้างหรือไง :slime_sleeping:


หัวข้อ: Re: ไทยควรเป็นแม่แบบ "ประชาธิปไตยแบบพอเพียง" เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 27-10-2006, 21:07
ผมมองว่ามันมีหนทางปฏิรูปการเมือง ในแนวนี้ได้ แต่ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย

สถาบันหลัก ๆ ของสังคมไทยต้อง "มีส่วนร่วม" หมายความว่า ต้องบรรจุลงในรัฐธรรมนูญ ให้มี อำนาจที่ 4 อำนาจที่ 5

นอกเหนือจาก นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

เช่น สร้าง "มนตรีจริยธรรม" หรือ สภาประชาชน สมัชชาประชาชน สมัชชาสุขภาพ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ฯ สภาปราชญ์ สถาบันองคมนตรี ราชบัณฑิต ราษฎรอาวุโส กพ. ฯลฯ

สภาทนายความ สภาการหนังสือพิมพ์ สภาวิชาชีพอื่น ๆ รวมทั้ง แพทยสภา...คุรุสภา อะไรก็ได้ที่เป็นสถาบันจับมารวมกัน

มีตัวแทนที่มีที่นั่งประจำ ตลอดไป มีคนที่รอเข้าไปแทนในตำแหน่งที่ว่าง...

กลุ่มเหล่านี้สามารถมีบทบาทในทางการเมืองได้ อย่าไปตัดตัวเองออกจากการเมือง เพราะประชาธิปไตยเป็นของทุกคน

ปัญหาที่เราพบในปัจจุบันคือ ประชาธิปไตยไทย เปิดกว้างสำหรับทุกกลุ่มอาชีพ

และกลุ่มอาชีพที่น่ากลัวที่สุด คือ กลุ่มทุน ไม่ว่าทุนนอกหรือทุนไทย เราจะเห็นกลุ่มทุนไทย ขายหุ้น ขายบริษัทให้ต่างชาติหน้าตาเฉย

เมื่อเราต้องอยู่กับโลกาภิวัฒน์ เราต้องมี "เกราะคุ้มกัน" ของเราขึ้นมาเอง สร้างพลังชาติ หรือพลังชาตินิยมขึ้นมาให้ได้

ไม่เช่นนั้นเราจะได้ยินคำพูดว่า...รักชาติกันหน่อย...แต่คล้อยหลังกลับ "ขายชาติ" ซะดื้อ ๆ

ทำยังไงเราจึงจะหาความสมดุลของกลุ่มอำนาจ จากข้าราชการ นายทุน นักการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ ได้ ถ่วงดุลกันได้


ที่สำคัญ ต้องออกแบบ "นักการเมืองที่พึงประสงค์" ออกมาให้ได้ก่อน...ทำยังไงถึงจะได้ "คนดี" มาก่อน "คนเก่ง"