ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ชอบแถ ที่ 20-08-2006, 21:33



หัวข้อ: 'กรณ์' มั่นใจนโยบายถูกใจเอกชน
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 20-08-2006, 21:33
นายกรณ์ จาติกวนิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงแนวทางการดูแลภาคธุรกิจหากได้เข้ามาบริหารประเทศว่า
จะเป็นแนวทางที่ภาคเอกชนสบายใจ เพราะแนวคิดของพรรคเป็นเศรษฐกิจแบบเปิดเสรี เน้นให้เกิดการแข่งขันอย่างโปร่งใส
และเป็นธรรม ลดการผูกขาดและการเข้าไปชี้นำการทำธุรกิจของเอกชนจากรัฐบาล โดยให้ทุกคนมีสิทธิแข่งขันได้เท่าเทียมกัน
ส่วนการลงทุนจากต่างชาตินั้น พรรคไม่มีแนวคิดปิดกั้นทุนต่างชาติ แต่จะเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น หากการลงทุนนั้น
อยู่ในธุรกิจที่สร้างประโยชน์ให้ ประเทศและไม่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงเพราะทำให้มีเม็ดเงินและเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา

“การที่รัฐบาลเข้ามาชี้นำหรือยังคงถือหุ้นใหญ่ ในบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนหนึ่ง เพราะทำให้การ
แข่งขันมีน้อย แต่หากให้มีการแข่งขันมากขึ้น ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์มากกว่า เช่น ธุรกิจโทรคมนาคม แต่ก่อนเราต้องเสียค่า
บริการแพงเพราะการแข่งขันมีน้อย แต่ขณะนี้ต่างชาติเข้ามาซื้อหุ้น แต่ไม่ได้ทำให้คนไทยต้องจ่ายแพงขึ้น
แต่กลับมีการแข่งขันลดค่าบริการลง”

นายกรณ์กล่าวต่อว่า ต้องมีการกำหนดโดยองค์กรภาครัฐ ในลักษณะเรคกูเลเตอร์หรือองค์กรกำกับดูแลว่า ห้ามต่างชาติเข้ามาถือ
หุ้นใหญ่ในธุรกิจใดบ้าง ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หากมีการกำหนดชัดเจนเชื่อว่า นักลงทุนไทยและต่างชาติจะ
มั่นใจเข้ามาลงทุนมากกว่าช่วงที่ผ่านมา เพราะแน่ใจว่ามีการแข่งขันบนพื้นฐานที่ไม่เอื้อประโยชน์ให้ใคร รวมทั้งจะ
ช่วยในเรื่องการตั้งบริษัทหรือการถือหุ้นแทน (นอมีนี) เพราะหากมีความโปร่งใสเชื่อว่าต่างชาติเลือกที่จะถือหุ้นเองมากกว่าให้นอมีนีถือ

นายกรณ์ยังกล่าวว่า ช่วงต่อไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง หากจะเพิ่มภูมิคุ้มกันให้เศรษฐกิจไทยเพื่อลดผลกระทบจากปัจจัย
ต่างประเทศและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ต้องส่งเสริมให้มีธุรกิจนอกเหนือภาคการส่งออกเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้การส่งออกสูงถึง
60% ของจีดีพี หากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวหรือวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าราคาสูงขึ้น จะกระทบต่อเศรษฐกิจทันที ส่วนการดูแลการขยายตัว
ของเศรษฐกิจนั้น พรรคเน้นเรื่องการพัฒนาคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน รวมทั้งจะเดินหน้าโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน,
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ, เขตการค้าเสรีเอฟทีเอ  
แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจทันทีนั้นจุดที่จะทำคือ การเข้าไปสอบถามผู้ประกอบการว่าจุดไหนเป็นอุปสรรคเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข แล้วจัดการให้
เพราะสัดส่วนการขยายตัวของจีดีพีส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชนไม่ใช่รัฐบาล.