ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: morning star ที่ 16-07-2006, 20:10



หัวข้อ: ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กับมุมมองบนหอคอย
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 16-07-2006, 20:10
ถ้าจะเปรียบระบบอะไรสักระบบที่ซับซ้อนที่สุด..คงต้องยกเรื่องระบบของร่างกายมนุษย์มาเป็นตัวอย่าง
ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องเอกภพให้ปวดหัว

ระบบการเมือง..ในมุมมองนักรัฐศาสตร์ต่าง ๆ ทั่วโลกได้พยายามอธิบายปรากฏการณ์ของการปกครอง
ในแต่ละประเทศเอาไว้ รวบรวมเป็นบทเรียน และ เปิดกว้างให้คนเข้ามาวิเคราะห์ได้เสมอ

แต่ถึงจะพยายามจัดหมวดหมู่และแยกแยะโครงสร้างของระบบการเมืองออกมายังไง มันก็ยังอธิบายความเป็นไป
ของระบบนั้น ๆ ได้ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้อยู่ดี...

ถ้าจะถามว่าทำไมคนเราถึงฝัน...คงมีผู้เชี่ยวชาญออกมาอธิบายเหตุผลได้เป็นฉาก ๆ .. แต่สุดท้ายก็ไม่รู้อยู่ดีว่า
อะไรทำให้คนเราฝัน และ เมื่อไรถึงจะเกิดความฝัน เราจะสามารถควบคุมความฝันนั้นได้หรือไม่

มันเหมือนกับการเรียนรัฐศาสตร์ซึ่งเราสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้..แต่ความเป็นมาเป็นไปและ
ประเด็นแยกย่อยก็เหมือนการทำงานของเซลล์ที่ไม่ควรจะละเลย และแทบจะบอกไม่ได้ว่าเหมาะสมหรือไม่

มุมมองแบบแง่ลบที่มองไปยังผู้เคลื่อนไหวขับไล่ทักษิณโดยชูมาตราเจ็ด ออกจะรุนแรงเอาการอยู่
เรามาดูกันว่ามาตราเจ็ดว่าไว้ยังไง...

มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ถามกลับว่านี่คือการสนับสนุนในการคืนอำนาจให้พระมหากษัตริย์หรือเปล่า?..และคำว่าประเพณีการปกครอง..
ที่ว่าไว้เป็นอันตรายร้ายแรงแก่การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยตรงไหน?

แม้การขอนายกฯตามมาตราเจ็ด จะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมในการเีรียกร้อง..แต่หากทำได้ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติใดแห่ง
รัฐธรรมนูญนี้บังคับไว้...

เพียงแต่มันยังมีทางออก...และไม่เคยมีกรณีการให้นายกฯพระราชทานเลยเท่านั้น...จึงเป็นข้อผิดพลาดของผู้เสนอ

อย่างไรก็ตามผมเห็นด้วยกับหลายส่วนในความคิดเขา..แต่ก็มีหลายส่วนที่มองว่าเขายังเข้าไม่ถึงประเด็นและ
ละเลยปัญหาที่ทำให้เหตุการณ์ดำเนินไป

เช่น กรณีตากใบ..และ กรณีการบอยคอตการเลือกตั้ง

การออกมาเรียกร้องกรณีตากใบ ทนายสมชาย และ เหตุการณ์ภาคใต้ ไม่ใช่เรื่องที่ไม่มีใครเรียกร้องมาก่อน
เขาเคยเรียกร้องปากแทบฉีกถึงหูแล้ว..ทนายสมชายเองก็ร้องกันปาว ๆ แต่รัฐบาลนี้เคยสนใจบ้างไหม

กรณีการแทรกแซงองค์กรอิสระที่เห็นกันชัดเจน มันบ่งบอกถึงผลที่ทำให้เกิดการบอยคอตการเลือกตั้งหรือไม่?
และการบอยคอตการเลือกตั้งเป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตยตรงไหน ขัดต่อประชาธิปไตยอย่างร้ายแรงหรือ?
หรือว่าการไม่ยอมรับการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์และยุติธรรม เป็นเรื่องเลวร้่ายในระบอบประชาธิปไตยไปเสียแล้ว

การต่อสู้ต่าง ๆ นานา ของคนที่คุณศิโรตม์เรียกว่าชนชั้นกลางและชนชั้นสูง จะเกิดขึ้นหรือไม่ถ้าการเีรียกร้อง
และขอ้กล่าวหาทั้งหมดถูกนำมาพิจารณาและแก้ไข ยังไม่รวมกรณีไอทีวี ไข้ัหวัดนก และกล้ายาง ทั้งคอรัปชั่นเชิงนโยบาย

การต่อสู้ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลพวงของการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง..แต่เป็นผลที่ได้รับจากการเพิกเฉยต่อเสียงเรียกร้อง
ของบุคคลที่เรียกได้ว่าเป้นเสียงส่วนน้อย เสียงส่วนน้อยที่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง (ที่ถูกมองในแง่ไม่ดีนักในสายตาคุณศิโรตม์)

รวมทั้งคำว่า เข้าถึงคนจนของคุณศิโรตม์เอง ก็คงลืมไปว่า คนจนในภาคใต้ รวมทั้งสามจังหวัดภาคใต้ ที่จนเช่นกัน
ก็ไม่เอารัฐบาลชุดนี้ จะอธิบายยังไง?

ผมขออธิบายว่าเพราะความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้.เพราะในภาคอีสานและเหนือ ยังเป็น
สังคมแบบ อิงผู้มีอันจะกิน..สังคมที่อาศัยผู้นำ และ จัดการปัญหาด้วยผู้นำ มันทำให้เกิดคำว่าหัวคะแนน
ถ้าไม่มีการซื้อหัวคะแนน และกว้านซื้อ สส เข้าพรรค คงไม่ทำให้พรรคบางพรรคได้จำนวน สส มากมาย
ถ้าประกอบกับคะแนนนิยมและนโยบายประชานิยม คงปฏิเสธไม่ได้ถึงปรากฏการณ์รากหญ้าอย่างที่ต้องการสื่อกัน

การปฏิเสธการเลือกตั้งไม่ได้มาจากการกลัวการพ่ายแพ้ของคนบางกลุ่ม..แต่เกิดจากการมองเห็นแล้วว่า ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข
และการตรวจสอบในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไ่ทยกำลังมีปัญหา

ถ้าการตรวจสอบการใช้อำนาจมีปัญหา การโกงการเลือกตั้งไม่สามารถตรวจสอบเพราะองค์กรอิสระถูกควบคุมได้
ิสิ่งเหล่านี้เลยทำให้เกิดเงื่อนไขในการชุมนุมขับไล่โดยไม่ต้องอาศัย grass root democracy แบบที่เขาอธิบาย
เงื่อนไขการชุมนุมที่อุดมไปด้วยผลผลิตแห่งการเพิกเฉยต่อการตรวจสอบอำนาจรัฐ โดยผู้ที่เรียกว่าชนชั้นกลาง
ที่ไม่ได้กำลังจะสูญเสียอำนาจการเมืองใด ๆ อย่างที่กล่าวหา

และการที่ศาลออกมาและถูกหาว่าก้าวก่ายฝ่ายการเมือง ไม่ใช่เพราะการเข้ามามีบทบาทของพระมหากษัตริย์
แต่เพราะการมองเห็นว่าศาลสามารถที่จะทำได้ในแง่ของกฏหมายซึ่งอยู่ในอำนาจของศาล ซึ่งไม่ใช่เรื่องของเทคนิค
อย่างที่หลายคนเข้าใจ เรามีศาลรัฐธรรมนูญอยู่..เมื่อรัฐบาลทำผิดกฏหมาย และการเลือกตั้งขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ
เหตุใดศาลจึงควรจะนิ่งเฉย?...เมื่อการออกกฏหมายของรัฐบาลชุดนี้ขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ ศาลไม่สามารถทำอะไร
ได้เชียวหรือ?....

ผมยกเว้นจะไม่กล่าวถึงการวิวัฒนาการของอำนาจในการปกครองเมืองไทยตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา
เพราะรู้ว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน..ที่สามารถถกกันได้ในวงวิชาการ..แต่อันตรายหากจะนำการถกนั้นมาเผยแพร่
และตีพิมพ์สู่สาธารณะ..(กรณีเดียวกับเรื่องหลักศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหง)

หากจะให้เปรียบเทียบมุมมองของเขา คงเหมือนมองจากภาพถ่ายทางอากาศ หรือมองลงมาจากหอคอย เห็นการดำเนิน
ไปอย่างวุ่นวายในโครงสร้างการปกครองของไทย โดยไม่ได้ยินเสียงหรือรับรู้ว่าเหตุใดภาพที่บูดเบี้ยวจึงดำเนินไปเช่นนั้น

การอ้างอิงเบื้องสูง กับการอ้างอิงประชาชน ไม่ใช่เรื่องที่อยู่คนละขั้ว...
เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ใช่อำนาจที่อยู่คนละข้างกับประชาชน

อำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจเดียวกับอำนาจของประชาชน
โดยเฉพาะพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชผู้ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของชาวไทยปัจจุบัน

เมื่อกษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย จึงไม่แปลกที่มีผู้กล่าวอ้างพระองค์มากมายในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ
เพราะมันหมายถึงผู้อยู่ข้างกษัตริย์ คือผู้อยู่ข้างประชาชน ไม่ใช่สิ่งที่ตรงข้ามกันอย่างเช่นมุมมองของเขา


เพียงแต่เลิกช่วงชิงพระองค์ท่าน หันมาช่วงชิงประชาชน น่าจะเป็นเรื่องที่แก้ปัญหาเหล่านี้ได้
เพียงแต่การช่วงชิงประชาชน ต้องเกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญ
โดยมีการเลือกตั้งที่เป็นธรรมเป็นสว่นประกอบที่สำคัญ หาไม่แล้ว การเดินขบวนประท้วงย่อมเป็นสิ่ง
ที่เกิดขึ้น เป็นธรรมดาในระบอบประชาธิปไตยฯ จะมากล่าวหาว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศชาติถอยหลังไม่ได้
เพราะปัญหาที่ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงโดยคนส่วนน้อยยังไม่ได้ัรับการแก้ไข

อธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย คืออำนาจการปกครองเป็นของประชาชนทุกคน

ได้โปรดเข้าใจว่านอกจากการกล่าวอ้างถึงพระองค์ท่าน(ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควร) ทางฝ่ายต่อต้านทักษิณ
ดูเหมือนยังไม่เคยทำอะไรขัดต่อรัฐธรรมนูญ...หากอันตรายต่อประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นเพราะการเพิกเฉยต่อเสียงส่วนใหญ่
ไม่ยอมรับรัฐบาลที่เสียงส่วนใหญ่เลือกเข้ามา

อันตรายที่เกิดจากการเพิกเฉยต่อการตรวจสอบอำนาจรัฐ และ การไม่สนใจเสียงส่วนน้อยก็รุนแรงไม่แพ้กัน



หัวข้อ: Re: ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กับมุมมองบนหอคอย
เริ่มหัวข้อโดย: varada ที่ 16-07-2006, 20:28
ท่านทรงเลือกวิธีที่จะใช้พระราชอำนาจแล้ว โดยผ่านทางศาล ซึ่งเป็นทางออกที่เหมาะสม
และสวยงามที่สุด เพียงแต่พวกวัวสันหลังหวะทั้งหลายนั่นแหล่ะ ที่พยามดิ้นกันเข้าไป
หากเราจะช่วยกับปกป้องพระราชอำนาจ ก็จงช่วยกันปกป้องให้ศาลทำงานได้อย่างเต็มที่เถิด


หัวข้อ: Re: ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กับมุมมองบนหอคอย
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 16-07-2006, 20:29
บางคน "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" หรือ "ยิ่งเรียนมาก ยิ่งโง่" ไงครับ นั่นแหละ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ แม้แต่หมอประเวศ ผู้ทรงภูมิทั้งหลาย เขาก็ตื่นกันหมดแล้ว หันมาอยู่กับความเป็นจริง


หัวข้อ: Re: ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กับมุมมองบนหอคอย
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 16-07-2006, 22:01
สำหรับประเด็นพระราชอำนาจนั้น ผมกลับมองว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจนั้นอยู่แล้ว
เพียงใช้โดยผ่านทางรัฐสภา ซึ่งเลือกเข้ามาโดยประชาชน..และมีการถ่วงดุลย์อำนาจกันตามระบอบ
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

...การให้โอวาทกับประธานศาลฎีกา ก็ไม่ใช่การเข้ามาก้าวก่ายกดดันตุลาการโดยพระมหากษัตริย์
เพียงเป็นการทรงโปรดเสนอและชี้แนะให้ตุลาการเข้ามาแก้ไขวิกฤตในขอบอำนาจที่ตนมีเท่านั้น

ตรงนี้เป็นสิ่งที่แตกต่างกันกับระบบการปกครองต่าง ๆ โดยเฉพาะแถบเพื่อนบ้านของเรา

ผมอยากถามใครต่อใครที่มีความคิดเห็นแบบคุณ ศิโรตม์ว่า หากไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นประเทศไทย
แล้ว เหตุการณ์อย่าง ตุลา 16 ตุลา 19 พฤษภา 35 และเหตุการณ์ในสถานการณ์ปัจจุบันที่อาจมี สส ทำงานอยู่
พรรคเดียว และ ไม่ได้ครบห้าร้อยคนในสภา การปกครองของเมืองไทยจะก้าวเดินไปสู่จุดไหน?

สถาบันกษัตริย์มีความคล้ายกับศาสนาตรงที่คุณไม่จำเป็นต้องถามว่าสิ่งนั้นมีที่มาแบบไหน..
เมื่อมีคนมากมายเคารพและนับถือ สิ่งเหล่านั้นคือสถาบัน ซึ่งหากมีคุณประโยชน์และเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนกลุ่มหนึ่งไว้ได้

ย่อมดีกว่าประเทศที่ไม่มีหลักให้ยึดเหนี่ยวทางจิตใจเสียเลย