ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: จูล่ง_j ที่ 30-06-2006, 07:16



หัวข้อ: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: จูล่ง_j ที่ 30-06-2006, 07:16
พอดีแวะไปเดินเล่นพันทิพ เห็นมีคนด่า สายล่อฟ้า ผมจึงสนใจ ผมเอาบทความ สายล่อฟ้า มาให้ดูครับ

ยุบไม่ยุบ...ก็ยุ่ง
 
อัยการนัดประชุมและชี้ขาดว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาหรือไม่ กรณีการจ้างพรรคเล็กลงสมัคร โดยกกต.ได้ชี้มูลว่าไทยรักไทยมีความผิดต้องถึงขั้น “ยุบพรรค”

เท่าที่ได้รับสดับตรับฟังว่าสำนวนการสอบสวนนั้นชัดเจน ชี้ผิดเอาไว้แล้ว มีข้อมูลหลักฐานค่อนข้างแน่นหนา อยู่ที่ว่าไม่ได้ สอบปากคำหัวหน้าพรรคเท่านั้นเอง ดังนั้นเชื่อว่าอัยการคงจะส่งให้ ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด

ศาลรัฐธรรมนูญจะชี้อย่างไร...มันสำคัญตรงนี้

“บกพร่อง” โดยสุจริต ก็เคยโชว์ผลงานให้เห็นมาแล้วในกรณี “ซุกหุ้น” เรื่อง “ยุบพรรค” คงเป็นเรื่องขี้ผงอีกสำหรับตุลาการเสียงข้างมากที่มีบทบาทสูงเด่นในศาลรัฐธรรมนูญ แม้ล่าสุดยังโชว์ทีเด็ด

ไม่รับคำร้อง 35 ส.ว.ที่ให้ดำเนินการกับ กกต. อ้างว่าว่าที่ ส.ว. ไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการเช่นนั้นได้ ด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 6


ท่านประธานใหญ่ “ผัน จันทรปาน” ออกตัวแต่แรกว่าไม่ขอมีส่วนร่วมในการชี้ขาด อ้างมารยาทว่าเคยเป็นที่ปรึกษา กกต. หากไปชี้ด้วยมันจะไม่งาม ซึ่งว่ากันว่าหากนายผันร่วมประชุมชี้ขาดด้วยผลคงไม่ออกมาแบบนี้แน่ และน่าจะทำให้ปัญหาของ กกต.ง่ายขึ้น

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่รับเรื่องก็ต้องตกไปและไม่สามารถจัดการกับ กกต. ได้ในส่วนนี้ต้องรอกระบวนทางศาลอื่นที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ก็คงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรดังนั้นการเมืองยังอยู่ในทางตันอีกหลายเดือน

ใครจะ “ดำน้ำ” อึดกว่ากัน...ว่างั้นเถอะ

เหนืออื่นใดกรณีการ “ยุบพรรค” ถือเป็นเรื่องใหญ่ทางการเมืองข้อสำคัญคือ 2 พรรคไทยรักไทยและประชาธิปัตย์ หาก 2 พรรคนี้โดนการเมืองมันคงพิลึกน่าดู เพราะนักการเมืองคงวุ่นวายหาพรรคใหม่สังกัด

ประเด็นสำคัญอยู่ที่แกนนำสำคัญระดับผู้บริหารพรรค ที่จะต้องเว้นวรรคทางการเมืองจะทำอย่างไร

ไทยรักไทย-ประชาธิปัตย์ต้องเต้นแน่เรื่องนี้ แม้ประชาธิปัตย์ ทำท่าไม่สนใจบอกว่าถูกยุบพรรคก็กลับบ้าน

นั่นมันพูดง่ายแต่ทำยาก

หรือก็มีการพูดกันว่าหากยุบ 2 พรรคนี้จะทำให้การเมืองไทยดีขึ้นอีกมาก เพราะนักการเมืองส่วนหนึ่งจะถูกเว้นวรรค

งานนี้ก็ต้องวัดใจศาลรัฐธรรมนูญที่ดูเหมือนจะถูกมองว่า เป็นองค์กรอิสระจริงๆคือไม่รับรู้ว่าสังคมเขาเป็นยังไง วิกฤติของ ประเทศเป็นอย่างไร คุณธรรมจริยธรรมเป็นอย่างไร ไม่รู้ร้อนรู้หนาว

ว่าที่จริงแล้วการสรรหาองค์กรอิสระอื่นๆจะต่างกับศาลที่มีขั้นตอน มีการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด เพราะต้องมาทำหน้าที่สำคัญ เช่นเดียวกับศาลปกครองก็ไม่ต่างกัน จึงทำให้ศาลฎีกา ศาลอาญาหรือศาลปกครอง

จะมีที่มาที่ไปต่างกับศาลรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น โอกาสที่การเมืองจะเข้าไปแทรกหรือการที่ฝ่ายบริหาร จะไปยึดโยงว่าศาลรัฐธรรมนูญหรือ กกต.นั้นอยู่ฝ่ายบริหาร ไม่ใช่ ตุลาการ ทั้งๆที่จริงๆแล้วศาลรัฐธรรมนูญนั้นคือส่วนหนึ่งในระบบศาลไทย

กกต.ก็เช่นกัน ต่างประเทศอย่างตุรกีก็มีองค์กรเลือกตั้ง โดยให้ศาลเข้ามาดำเนินการทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด แต่พอเสร็จภารกิจเลือกตั้งก็จบ และไปปฏิบัติหน้าที่ตามเดิมคือใช้ระบบศาลจัดการเลือกตั้ง

ไม่มีฤทธิ์เดชก่อปัญหาอย่าง กกต.ไทยหรอกครับ.

"สายล่อฟ้า"
http://www.thairath.co.th/news.php?section=society05&content=10635

ผมพยายามลืมเรื่องซุกหุ้นครั้งแรก แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็มักจะมีพฤติกรรมอำนวยประโยชน์ให้ ทรท ตลอดมาหลายหน

เช่น

-ไม่รับคำร้อง สว
-ส่งเสริม กกต ตัดสินใจเอง เรื่องเวียนเทียน
-ไม่หยุดการเคลื่อนไหว กกต เรื่องเลือกตั้งมิชอบ ต้องรอให้ศาลปกครองยุติ กกต จัดการเลือกตั้งก่อน
จนเกิดความวุ่นวาย ว่าศาลปกครอง มีอำนาจหรือไม่
-ไม่รับคดี ซุกหุ้นภาค 2 http://www.thai4thai.net/document/analysis/Analysis1.htm

พฤติกรรม ศาลรัฐธรรมนูญ มันไม่น่าไว้ใจเลย


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 30-06-2006, 07:39
การใช้อำนาจรัฐบาลรักษาการกดดันการทำหน้าที่ของศาลทุกแห่งจะดำเนินต่อไป จนถึงวันตัดสิน และหลังจากตัดสินแล้ว

ศาลไม่ใช่ศาลพระภูมิจึงมีความเดือดเนื้อร้อนใจกับความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัว

ในทางปฏิบัติแล้ว  ผู้ถูกกล่าวหาในศาล ควรละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำตัดสิน  นี่เล่นบทผู้กุมอำนาจรัฐอยู่  คงยากที่จะบอกว่า ศาลทำหน้าที่อย่างเป็นธรรมหนือไม่


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: hison ที่ 30-06-2006, 09:08
ที่จริง ตุลาการบางคน ก็ไม่น่าไว้วางใจ  เพราะ ในคดีที่ นาวาตรี ประสงค์ ตกเป็นผู้ต้องหาในคดี หมิ่นประมาท นั้น มีรายละเอียดเรื่อง การติดสินบน ตุลาการ ของคุณทักษิน และเครือญาติ  และ มีผู้นำเรื่องดังกล่าวร้องทุกข์ต่อ กองปราบแล้ว เสียดายที่ไม่มีความคืบหน้า

กระนั้นก็ดี เกือบทั้งหมด ยังเป็นความหวังให้เราได้ว่า ตุลาการจะพิจารณาคดีด้วยความเที่ยงธรรม ไม่โอนเอียงไปตามกระแส   จึงขอให้กำลังใจตุลาการทุกท่าน
ท่านอุดมศักดื นิติมนตรี  ต้องเข้าเฝ้าถวายสัตย์ ปฎิญาณตน  ในโอกาสนั้นเราอาจ ได้รับฟังพระราชกระแสอีกครั้ง

ยามบ้านเมืองวิกฤต ผู้หลักผู้ใหญในบ้านเมือง  จนถึงคนไทยทุกคน  ต้องออกมาทำหน้าที่พลเมือง
คุณทักษิน พูดเรื่อง คนมากบารมี ไม่มีหน้าที่  นั้น เป็นการพิสูจน์ให้เราเห็นว่า  นายเหลี่ยมจัด เป็นคนขาดสำนึกเรื่อง จิตใจสาธารณะ ไม่เข้าใจเรื่องการเมืองภาคพลเมือง 
ยามนี้ พลเมืองทุกคน มีสิทธิที่จะแสดง บทบาท  เพื่อช่วยกันรักษา ความสุขร่มเย็น  บ้านของเราทุกคน  ยิ่งใครที่มีสถานะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ยิ่งต้องมีสำนึกในการเสียสละเพื่อบ้านเมือง

ใครเป็นกุนซือให้คุณทักษิน   นี่โง่จริงๆ ที่ เอาเนวินมาเชิดเป็นขุนพลในยามนี้ โง่มากที่ เอาคนปาก***มาออกวิทยุวันเสาร์   

กลับใจคือฟากฝั่ง  องคุลีมาน ยังสำเร็จอรหันต์ได้  ท่านทักษินเป็นเวไนยสัตย์  ขอให้กรรมดีที่ ท่านและมิตรสหาย ได้ทำ ขอให้ส่งผลให้ท่านและคณะ มีดวงตาเห็นธรรมด้วยเทอญ 



หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: That's right. ที่ 30-06-2006, 09:16
ใช่คะ ตุลาการบางคนเท่านั้นที่ไม่น่าไว้วางใจ  ไม่ใช่ตุลาการทั้งหมดไม่น่าไว้วางใจ 
 ขอให้กำลังใจนะคะ


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: KAI-KK ที่ 30-06-2006, 09:21
ไม่หน้าไว้ใจจริงๆครับ เห็นด้วย :|


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: ผู้ทำลาย ที่ 30-06-2006, 09:54
วัดใจกับวัดดวงต่างกันแค่ไหน ?


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 30-06-2006, 10:27
สำหรับตุลาการบางคน  ไม่น่าไว้วางใจโดยสิ้นเชิงค่ะ


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 30-06-2006, 16:06
สำหรับตุลาการบางคน  ไม่น่าไว้วางใจโดยสิ้นเชิงค่ะ



แต่ไอ้บางคนที่ไม่น่าไว้ใจนี่แหล่ะ สำคัญ เพราะไม่แน่ว่ามันจะมีเสียงมากกว่าบางคนที่น่าไว้ใจรึเปล่า?


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: นู๋เจ๋ง ที่ 02-07-2006, 06:51
การลงคะแนน ก้ำๆกึ่งๆมาตลอด

7-6 6-7

5-6 6-5

มีล๊อบบี้กันได้ ด้วย

แต่ท้ายที่สุด อยากให้ จิตวิญญาน จิตสำนึกในทางดี เพื่อประเทศชาติและส่วนรวม ที่อยู่ในตัวตน ของท่านเหล่านี้จงเข้มแข็ง อย่าให้แรงฝ่ายต่ำ เห็นแก่ผลประโยชน์ ทำลายสถาบันและความศรัทธาของประชาชนเล้ยยยย
เจ้าปราคู๊ณณ!!
 


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: achiteer ที่ 02-07-2006, 13:21
เข้ามาลงชื่อ...ไม่ไว้วางใจด้วยคนคะ  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 02-07-2006, 13:44
ลองตั้งข้อสังเกตประวัติตุลาการบางท่านนะครับ

---

พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเวโช

นรต.18 รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ควรสังเกตตำแหน่งสุดท้ายในชีวิตตำรวจ
ที่ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วย ผบ.ตร. ครองยศ พล.ต.ท. และต่อมาลงจากตำแหน่งเป็นการเปิดทาง
ให้ พล.ต.ท.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร สามารถโยกจากผู้บัญชาการ-
ตำรวจปราบปรามยาเสพติด มาขึ้นเป็น ผู้ช่วย ผบ.ตร. เพื่อก้าวสู่ตำแหน่ง ผบ.ตร. คนต่อไป
       
       การลาออกจากข้าราชการตำรวจเพื่อเป็นการเปิดทางให้ในครั้งนั้น ได้รับการเลื่อนยศ
พล.ต.อ. และได้เข้าสู่วงจรข้าราชการการเมืองนั่งตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี
จากนั้นจึงได้มานั่งเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
       
       และควรจำว่าเมื่อครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะวินิจฉัยคดีซุกหุ้น 1 นั้น พล.ต.อ.สุวรรณ
เป็นแกนนำเพื่อนตำรวจทำหนังสือถึงสมาชิกสมาคมตำรวจ และข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ
ในฐานะเลขาธิการสมาคมตำรวจเรียกร้องให้สมาชิกและข้าราชการตำรวจลงลายมือชื่อ หรือ
ทำหนังสือแสดงเจตจำนงสนับสนุนให้พ.ต.ท.ทักษิณบริหารประเทศต่อไป

..และ ต่อมาอยู่ในกลุ่มตุลาการข้างมากที่ไม่รับวินิจฉัยคดีซุกหุ้นภาค 2 อีกด้วย..


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 02-07-2006, 13:59
มีคนนึงซึ่งไม่น่าไว้ใจมากกว่านั้นอีก จำคนที่ท่านจรัญพูดถึงได้ป่าวคะ ที่ตั้งเคยคำถามไว้หน่ะ

แอนสงสัยใครน้า ที่เคยทำงานกับสำนักนายกฯ สงสัยจะคนนั้นแหละ  :mrgreen:  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: จูล่ง_j ที่ 02-07-2006, 14:07
ขอบคุณ ข้อมูลของคุณ jerasak ครับ

เมื่อได้อ่านความเห็นผมก็เลยไปหาข่าวมาเติมหน่อย เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

เปิดปูม 6 คนเสียงข้างน้อย

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า   สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยจำนวน  6  คน ที่เห็นว่า  กกต.ดำเนินการเลือกตั้งโดยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  ได้แก่ นายจุมพล ณ สงขลา นายมานิต  วิทยาเต็ม  นายศักดิ์  เตชาชาญ นายสุธี สุทธิสมบูรณ์  พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเวโช และนายสุวิทย์  ธีรพงษ์ พบว่านายจุมพลและนายศักดิ์ เคยลงมติว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ผิดในคดีซุกหุ้น ส่วนนายมานิต นายสุธี และ พล.ต.อ.สุวรรณ ก็ได้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลทักษิณทั้งสิ้น โดยนายมานิตเป็นอดีตอธิบดีกรมศุลลากร  เมื่อเกษียณอายุราชการก็มาสมัครเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และได้รับเลือกจากวุฒิสภา ส่วน พล.ต.อ.สุวรรณ เป็นอดีตนายกสมาคมข้าราชการตำรวจที่เป็นแกนนำในการล่ารายชื่อข้าราชการตำรวจทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณในคดีซุกหุ้น รวมทั้งได้ขอโอนย้ายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี   กินตำแหน่ง พล.ต.อ. และเป็นการเปิดตำแหน่งให้มีการโยกย้ายโผนายพลนอกฤดูกาล

ทั้งนายมานิต  นายสุธี  และ พล.ต.อ.สุวรรณ ล้วนลงมติไปในทิศทางเดียวกันในคดีสำคัญๆ เสมอ เช่น การไม่รับคำร้องคดีซุกหุ้นภาค  2  ของนายแก้วสรร อติโพธิ รักษาการ ส.ว.กทม. โดยที่การลงมติครั้งนี้มีความแตกต่างก็คือ  การลงมติของนายสุวิทย์  ธีรพงษ์  ซึ่งที่ผ่านมาเคยลงมติว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีความผิดในคดีซุกหุ้น  และมีมติให้รับคำร้องคดีของนายแก้วสรร แต่ครั้งนี้กลับเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย ที่เห็นว่า กกต.ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

ตัดมาส่วนหนึ่ง เพราะบทความมันยาวมาก จากลิ้งค์นี้
http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=9/May/2549&news_id=124137&cat_id=501


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: จูล่ง_j ที่ 02-07-2006, 17:05
พอดี มีข่าวไทกรไล่เช็คบิล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนเอามาลงหน่อย

เพื่อวันหน้า เห็นตุลาการศาลคนไหน พยายามช่วย ทรท จะได้ดูที่มาของเขา

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000085223
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 กรกฎาคม 2549 15:43 น.


“ไทกร” แฉมีไอ้โม่งโอนเงินไปฟินแลนด์ -จี้ “ศักดิ์ เตชาชาญ” ลาออก

เครือข่ายอีสานกู้ชาติ จี้ “ศักดิ์ เตชาชาญ” หนึ่งในตุลาการศาล รธน.ลาออกจากตำแหน่ง หลังพบเคยมีคดีถูกศาลฎีกาเพิกถอน น.ส.3ก.ฐานขอเอกสารสิทธิที่ดินที่ จ.เชียงใหม่ ทับที่สาธารณะ เตรียมยื่นวุฒิฯตรวจสอบคุณสมบัติซ้ำ เมินถูกฟ้องกลับ ลั่นมีหลักฐานแฉตุลาการคนอื่นอีกเพียบ พร้อมปูดไอ้โม่งระดับรมต.โอนเงิน 500 ล้านก่อการปฏิญญาฟินแลนด์
       
       วันนี้ (2 ก.ค.) นายไทกร พลสุวรรณ ผู้ประสานงานแกนนำอีสานกู้ชาติ แถลงว่า ขอเรียกร้องให้ นายศักดิ์ เตชาชาญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพิจารณาคำร้องให้ยุบพรรคการเมือง ว่า จะเป็นไปด้วยความโปร่งใส เนื่องจากมีข้อมูลสงสัยว่า นายศักดิ์ อาจขาดคุณสมบัติในการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเมื่อปี 2526 ครั้งที่ นายศักดิ์ ยังรับราชการอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ซื้อที่ดิน 2 แปลง ไว้ที่อำเภอดอยสะเก็ด เป็นที่ดิน น.ส.3 จำนวน 9 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา แต่หลังจากนำที่ดินดังกล่าวไปขอเอกสารสิทธิเป็น น.ส.3ก.เพื่อขอทำประโยชน์ ปรากฏว่า มีที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 5 ไร่ 3 งาน 11 ตารางวา ซึ่งเรื่องนี้ได้นำไปสู่การฟ้องร้อง และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้เพิกถอน น.ส.3ก.ดังกล่าว เนื่องจากเป็นการขอเอกสารสิทธิทับที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งถือเป็นความผิดทางอาญา
       
       นายไทกร กล่าวว่า ตนมีหลักฐานเป็นคำพิพากษาของศาลฎีกา หมายเลข 3174 และ 3175 ซึ่งเป็นหลักฐานที่ได้มาด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเมื่อไปขอข้อมูลที่ศาลฎีกาในตอนแรกไม่พบสำนวนคดีนี้ จึงน่าสงสัยว่าน่าจะมีอำนาจบางอย่างช่วยปิดบังซ่อนเร้นให้ อย่างไรก็ตาม ตนมีวิธีในการให้ได้มาซึ่งสำนวนคำพิพากษาดังกล่าว โดยมีประชาชนคนหนึ่งที่เห็นว่าการกระทำของนายศักดิ์ เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จึงนำเอกสารหลักฐานมามอบให้ และเมื่อตรวจสอบกับสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ ยืนยันได้ว่า เอกสารที่ได้มาเป็นเอกสารจริง ซึ่งสำนักงานที่ดินยอมให้ดู แต่ไม่ให้ถ่ายสำเนา จึงอยากตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติ และความประพฤติของผู้ถูกเสนอชื่อเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ ส.ว.ตั้งขึ้น ไม่ได้นำเรื่องนี้มาพิจารณา ทั้งที่เป็นคดีอาญา จึงสงสัยว่า นายศักดิ์ ขาดคุณสมบัติในการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้นหรือไม่
       
       นายไทกร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้พบหลักฐานการโอนเงิน 500 ล้านบาทไปประเทศฟินแลนด์ ในช่วงปลายปี 48 โดยคนในรัฐบาลระบอบทักษิณที่มีตำแหน่งระดับรัฐมนตรี สั่งการให้มีการโอน ซึ่งเชื่อว่า เป็นการปฏิบัติการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับปฏิญญาฟินแลนด์ โดยเรากำลังรอหลักฐานสำคัญอยู่ แต่ขณะนี้มีแล้ว 2 อย่าง คือ 1.เอกสารการโอน แต่ยังได้ไม่ครบถ้วน และ2. ทราบผู้รับเงิน เป็นกองทุนต่างประเทศที่ทำหน้าที่ในการฟอกเงิน ซึ่งหากตนได้หลักฐานเรื่องนี้ชัดเจนแล้ว พร้อมจะนำมาเปิดเผยทันที จะได้รู้ว่า เขาปู้ยี่ปู้ยำประเทศไทยอย่างไร
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า เงิน 500 ล้านบาทที่อ้างว่าโอนไปฟินแลนด์ เป็นเงินใคร นายไทกร กล่าวว่า ตนไม่เคยเห็นรัฐบาลนี้ใช้เงินส่วนตัว ที่ใช้ไปส่วนใหญ่ ก็เป็นภาษีประชาชน ซึ่งใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เรื่องนี้เป็นการกระทำของรัฐบาลในระบบทักษิณ ซึ่งจะประกอบด้วย ครม. ส.ส. พรรคไทยรักไทย และข้าราชการที่คอยรับใช้
       
       ด้าน นายชุมพล สังข์ทอง ที่ปรึกษากฎหมายของแกนนำอีสานกู้ชาติ กล่าวว่า ระหว่างที่ฟ้องร้อง นายศักดิ์ สำนักงานที่ดินได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมา 1 ชุด ปรากฏว่า นายศักดิ์ ให้ถ้อยคำว่าไม่เคยยื่นขอรังวัดที่ดิน และขอเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว โดยเปลี่ยนจาก น.ส.3 เป็น น.ส.3ก.แต่จากการตรวจสอบ ปรากฏว่า นายศักดิ์ เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเอกสารทุกขั้นตอน
       
       “วันนี้สังคมไทยต้องการความบริสุทธิ์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ เมื่อมีหลักฐานชัดเจน ขอเรียกร้องความรับผิดชอบจาก นายศักดิ์ และในส่วนของอีสานกู้ชาติจะตรวจสอบต่อไปว่า ได้ดำเนินคดีกับ นายศักดิ์ หรือไม่ ในเรื่องการออก น.ส.3ก.ทับที่สาธารณะดังกล่าว หากไม่ดำเนินการผมคงต้องแจ้งความดำเนินคดีกันต่อไป หรือเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการ เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ และกรณีนี้คงร้องเรียนไปยังวุฒิสภา เพื่อให้ตรวจดูคุณสมบัติดังกล่าวด้วย” นายชุมพล กล่าว
       
       ส่วนการเปิดเผยดังกล่าวจะถูกฟ้องหมิ่นประมาทหรือไม่ นายชุมพล กล่าวว่า พร้อมที่จะถูกฟ้องร้อง เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องจริง สำนวนก็มีอยู่จริง ดังนั้น พร้อมสู้คดี เพราะยังเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของศาล และเชื่อว่าจะยิ่งทำให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่จะเอาผิดกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นอีก เนื่องจากมีคนนำเอกสารมาให้ แต่กำลังตรวจสอบหลักฐานอยู่ อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ได้มาเป็นความผิดของตุลาการบางคนก่อนมาดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด ทั้งนี้ เห็นว่า คนที่จะมาเป็นผู้ให้ความยุติธรรมกับคนอื่นจะต้องมีความโปร่งใสด้วย


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 02-07-2006, 17:23
เหอๆๆๆ อยู่ๆ เวปไซท์จัดผังใหม่ กระบวนการได้มา ว่าเลือกใครแข่งกับใครหายไป
แถมอยู่ ประวัติของตุลาการคนนึงหายไป แต่ไปคุ้ยได้มาจากวิจิพิเดีย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%B5_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%B5_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C)

คนนี้แหละที่สงสัยว่าใช่หรือเปล่าว่า คนที่แข่งกับ ศ. ท่านนึง แต่ดันชนะเข้ามาได้ที่ท่านจรัญเอ่ยถึงในคลิป ทู้นี้

http://forum.serithai.net/index.php?topic=2616.0 (http://forum.serithai.net/index.php?topic=2616.0)


การสรรหาเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็น
ประธาน ได้ทำการคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิจากสายนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ รวม 32 คน แล้วคัดเหลือ 8 คน ประกอบด้วย

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 
1. นายมานิต วิทยาเต็ม  อดีตอธิบดีกรมศุลกากร 
2. นายประสิทธิ์ เอกบุตร  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. นายสมบัติ เดียวอิศเรศ  อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
4. นายสุธี สุทธิสมบูรณ์  อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
5. นายสมพงษ์ วนาภา  เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
6. ศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ อัศวโรจน์  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลการโหวตของวุฒิสภา ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการคัดเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างลง
สาขานิติศาสตร์
1. ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์
2. นายสุธี สุทธิสมบูรณ์
3. นายมานิต วิทยาเต็ม

นายมานิต วิทยาเต็ม   
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ - ปัจจุบัน)
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 
เกิด :  ๓๑ ตุลาคม ๒๔๘๔
คุณวุฒิ :  - นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๘
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา (โดยทุนรัฐบาลตามความต้องของกรมศุลกากร) พ.ศ. ๒๕๑๔
- ปริญญาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. รุ่นที่ ๓๖) พ.ศ. ๒๕๓๗
 
ประสบการณ์ :  - ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงการคลัง
- รองปลัดกระทรวงการคลัง
- อธิบดีกรมธนารักษ์
- อธิบดีกรมศุลกากร
- อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อนุญาโตตุลาการ สำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
- กรรมการวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- กรรมาธิการสภา ฯ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติบางฉบับ
- คณะกรรมการร่างกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่น ๆ
- ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการคลังและงบประมาณ วุฒิสภา
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :  -
 
นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  
เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๘๕ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

การศึกษา
นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๙
เนติบัณฑิตไทย พ.ศ. ๒๕๑๒
รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕

การทำงาน
กรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 17 เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการกองการเมืองภายในประเทศ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๕
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ - ปัจจุบัน)

ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์   
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ - ปัจจุบัน)
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 
เกิด :  ๑๕ มิถุนายน ๒๔๙๕
คุณวุฒิ :  - นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๑๖
- Master of Laws (International Legal Studies) New York University พ.ศ. ๒๕๑๙
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๓
- Master of Laws (General Studies) New York University พ.ศ. ๒๕๒๗
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๓
 
ประสบการณ์ :  - ศาสตราจารย์ (ระดับ 10) ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ประธานกรรมการห้องสมุด คณะนิติศาสตร์
- ประธานคณะกรรมการวิชาการ คณะนิติศาสตร์
- กรรมการประจำคณะนิติศาสตร์
- กรรมการปรับปรุงกฎหมายอนุญาโตตุลาการ
- กรรมการปรับปรุงกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท
-กรรมการในคณะอนุกรรมการวินิจฉัยหนี้และจัดสรรหนี้
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :  -


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: มีคณา ที่ 02-07-2006, 17:29
เพราะความกังวลในเรื่องนี้ นี่แหละค่ะที่ทำให้เซ็งโลกอยู่ตอนนี้  :? ยิ่งอ่านที่คุณจีรศักดิ์ คุณแอน และอีกหลายคนช่วนกันมาโพสต์ให้อ่าน ยิ่งเซ็ง  :? ........มิน่าคนบางคนมันถึงได้กร่างพูกจาจาบจ้วงไปเรื่อย :evil:


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: จูล่ง_j ที่ 02-07-2006, 17:33
ขนาด สว ชุดที่แล้ว ยังมีทาสนักการเมืองเพียบ สว ชุดนี้ ยิ่งเยอะกว่าเดิม

เหมือนที่ท่าน มีชัยบอกเลย ถ้า สว เป็นพวกนักการเมือง

องค์กรณ์ อิสระ ที่ สว เลือก มันก็เอียงไปด้วย

ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ น่าสงสัยหลายคนจริงๆ


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 02-07-2006, 17:35
สรรหาตุลาการศาล รธน.

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มี นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการสรรหาฯ ได้ลงมติคัดเลือกผู้สมัครเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 8 จาก 32 คน เพื่อเสนอต่อวุฒิสภาพิจารณาเลือกเหลือ 4 คน แทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากหมดวาระ 4 ปีครึ่งตามมาตรา 322 ของรัฐธรรมนูญ

โดยผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 8 คน มาจากสายรัฐศาสตร์ 2 คน คือ 1) พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเดโช อดีตที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี 2) นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น อดีตกรรมการการการเลือกตั้ง และจากสายนิติศาสตร์ 6 คน คือ 1) นายประสิทธิ์ เอกบุตร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์2) นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3) นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 4) นายสมพงษ์ วนาภา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 5) นายมานิต วิทยาเต็ม อดีตอธิบดีกรมศุลกากร 6) นายสมบัติ เตียวอิศเรศ อดีตอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอาญา

ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาฯ จะต้องส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 8 คน ให้คณะกรรมการตรวจสอบประวัติทำการตรวจสอบรายละเอียด แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาคัดเลือก

http://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1049015398.news (http://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1049015398.news)

รอบนี้คนจากสำนักนายกฯ เข้าป้ายมาทั้งคู่ น่าสงสัยมั้ย


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 02-07-2006, 17:44
กระบวนการสรรหา
http://www.concourt.or.th/04decis/contents/decis46/Center44-46.pdf (http://www.concourt.or.th/04decis/contents/decis46/Center44-46.pdf)

ต่อมา นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกวุฒิสภา และคณะ รวม ๕๔ คน ได้ตรวจสอบ
กระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว เห็นว่า
มีกรณีที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และวุฒิสภา
ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ๓ กรณี ดังนี้
กรณีที่หนึ่ง กระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จากการตรวจสอบพบว่าในการลงคะแนนเสียงเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรง
คุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหา ฯ ได้ทำการลงคะแนนเสียง จำนวน ๑๙ ครั้ง
และได้มีการหยุดการประชุมเพื่อตกลงหารือเป็นการลับเฉพาะกรรมการสรรหา โดยขอให้เจ้าหน้าที่
ออกจากห้องประชุมและไม่มีการบันทึกการตกลงหารือในระหว่างทำการประชุมลับ ๒ ครั้ง หลังรอบ
ที่ ๑๓ และหลังรอบที่ ๑๗


เรียกน้ำย่อยแค่นี้แล้วกัน ยาว 19 หน้า ขยันๆ อ่านกันหน่อย  :lol:  :lol:


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 02-07-2006, 17:51
กรองกระแส
1 พฤศจิกายน 2545    กองบรรณาธิการ

กว่าจะได้ 8 ใน 32 ก็เล่นเอาคณะกรรมการสรรหาฯ เหงื่อตกกลีบเฉพาะสาขารัฐศาสตร์ 2 คน  ต้องเลือกถึง  3  รอบ  ยิ่งในสาขานิติศาสตร์มีให้เลือกมากถึง  25 คน แต่ต้องคัดเอาแค่ 6 คน ปรากฏว่าอลวน  ต้องปิดประตูตีแมว  เล่นกันถึง  19 รอบถึงลงตัว "ผู้สันทัดกรณี" ดูรายชื่อฝ่ายนิติศาสตร์แล้วบอกว่า  3  ใน  6  สาย มธ.ล้วนๆ แถมเป็นคนที่ฝ่ายสรรหา "สุรพล นิติไกรพจน์" เสนอเข้ามาทั้งแท่งคือ  นายประสิทธิ์  เอกบุตร น.ส.เสาวนีย์ อัศวโรจน์ นายมานิต วิทยาเต็ม เฉพาะ น.ส.เสาวนีย์กว่าจะหลุดเข้ามาได้เป็นคนสุดท้ายแทบจะตีกันตายเฉือนเข้ามาชนิดฉิวเฉียด-ส่วนอีก  3  คือ  นายสมบัติ  เดียวอิศเรศ  นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ นายสมพงษ์ วนาภา ถึงแม้คุ้นหน้าคุ้นตาแต่ว่าเป็นฝ่ายเดินมาสมัครด้วยตัวเอง-สรุปได้ว่าจากทั้งสองสาย  4  ใน  8 รวมถึงนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น ล้วนมาจากสำนักธรรมศาสตร์และเป็นฝ่ายคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้เสนอชื่อ นายยงยุทธ  วิชัยดิษฐ-นายขจัดภัย  บุรุษพัฒน์  ที่เล็งกันว่าเป็นเด็กฝากมาจากสายรัฐบาล "ตกม้าตาย" ได้คนละคะแนนตั้งแต่รอบแรก   ผู้ชำนาญการด้านเส้น  ฟันธงดาบสุดท้ายว่าอย่าเที่ยวกล่าวหารัฐบาลเกินไป  8  ผู้เข้ารอบชิงเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ต่างลุ้นเข้ามาอย่างแฟร์ๆ ส่วน 4 ใน 8 ที่วุฒิสภาจะเลือกกันในวันนี้ 4 คนนั้นคือใคร? บอกได้ว่า...ไม่ใช่สายรัฐบาลค่อนข้างชัวร์.

http://www.thaipost.net/print.asp?news_id=61913&cat_id=300&post_date=1/Nov/2545 (http://www.thaipost.net/print.asp?news_id=61913&cat_id=300&post_date=1/Nov/2545)

อันนี้แบบสั้น อิอิ

อุตส่าห์ไปคุ้ยมาเจอจนได้  :lol: :lol:  :lol:


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 02-07-2006, 18:00
ลงคะแนน19รอบได้8ว่าที่ศาลรธน.ธรรมศาสตร์มา4


1 พฤศจิกายน 2545    กองบรรณาธิการ

กรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมง เลือกผู้สมัครไปให้วุฒิคัดเลือกได้ครบ 8 คน จากสายรัฐศาสตร์ 2 คน สายนิติศาสตร์ 6 คน โดยต้องมีการลงคะแนนกันถึง 19 รอบ


ล็อบบี้ประชุมลับถึง 2 รอบ

มีการประชุมคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  โดยนายอรรถนิติ  ดิษฐอำนาจ  ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน เพื่อคัดเลือกผู้มีความเหมาะสมเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คน จากจำนวนผู้สมัคร 32 คน  เสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภาเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน ทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง

ทั้งนี้  ในจำนวนผู้สมัครทั้ง 32 คนนั้น  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 25 คน และสาขารัฐศาสตร์ 7 คน  ซึ่งตามรัฐธรรมนูญคณะกรรมการสรรหาฯ จะต้องคัดเลือกผู้มีความเหมาะสมแต่ละสาขาจำนวน 2 เท่า เพื่อให้วุฒิสภาเลือกเหลือ 4 คน จำแนกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสาขานิติศาสตร์ 3 คน และสาขารัฐศาสตร์ 1 คน

นายอรรถนิติแถลงภายหลังการประชุมว่า  ที่ประชุมมีมติคัดเลือกผู้สมัครในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในสายรัฐศาสตร์  2 คน ได้แก่ พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเดโช  อดีตที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี  และนายวิสุทธิ์  โพธิแท่น อดีตกรรมการการเลือกตั้ง  ที่ได้รับการเสนอชื่อจากนางโคริน   เฟื่องเกษม  คณบดีคณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นกรรมการสรรหาฯ  ส่วนสาขานิติศาสตร์  6 คน ได้แก่ 1.นายประสิทธิ์ เอกบุตร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากนายสุรพล นิติไกรพจน์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นกรรมการสรรหาเช่นกัน  2.นางเสาวนีย์  อัศวโรจน์  อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่ได้รับการเสนอชื่อจากนายสุรพล  นิติไกรพจน์ 3.นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  4.นายสมพงษ์  วนาภา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 5.นายมานิต  วิทยาเต็ม  อดีตอธิบดีกรมศุลกากร  ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากนายสุรพล  นิติไกรพจน์ และ 6.นายสมบัติ เดียวอิศเรศ อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา

ประธานคณะกรรมการสรรหาฯ กล่าวว่า  การลงคะแนนเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต้องได้คะแนน  3 ใน 4 ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   การประชุมเลือกผู้เหมาะสมเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ใช้เวลานานกว่า  5  ชั่วโมง  โดยมีการลงคะแนนคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์  3 รอบ ขณะที่สาขานิติศาสตร์ต้องลงคะแนนถึง  19  รอบจึงเสร็จสิ้น โดยผู้ได้รับเลือกตั้งคะแนนเสียง 3 ใน 4 หรือ 10 เสียง จากคณะกรรมการทั้งหมด 13 คนตามรัฐธรรมนูญ

ระหว่างการลงมติ  ได้ขอให้มีการประชุมลับถึง 2 ครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการมาตกลงกันใหม่หลังจากไม่มีผู้ใดได้เสียงข้างมากครบ  10  คะแนน  โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องออกนอกห้องประชุมทั้งหมด เหลือเพียงคณะกรรมการสรรหาฯ 13 คนเท่านั้น

การลงมติเลือกผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์  นายวิสุทธิ์ได้รับการคัดเลือกรอบแรก  10 คะแนน ขณะที่ พล.ต.อ.สุวรรณ ได้รับคัดเลือกในรอบที่ 3 จึงได้ 10 คะแนน ส่วนนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้คะแนนเดียวในรอบที่  1  และ  2  และนายขจัดภัย  บุรุษพัฒน์  อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้เพียงคะแนนเดียวในรอบแรก

ในสาขานิติศาสตร์ นายมานิตได้รับการคัดเลือกเพียงคนเดียวในรอบแรก โดยได้คะแนน 10 คะแนน  รอบต่อมานายประสิทธิ์  และนายสมบัติ ได้รับการคัดเลือกเป็นคนที่ 2 และ 3 โดยได้คะแนน 11 และ  10 เสียงตามลำดับ  ในรอบที่ 3 และรอบที่ 4 ไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนตามรัฐธรรมนูญ จนมาถึงรอบที่ 5 นายสุธีจึงได้รับการคัดเลือกเป็นคนที่ 4 จากนั้นคะแนนได้กระจายไปยังผู้สมัครหลายคน จนผ่านมาถึงรอบที่ 10 นายสมพงษ์จึงได้รับการคัดเลือกเป็นคนที่ 5

จากนั้นมีการลงมติกันต่อจนถึงรอบที่  13 ทางคณะกรรมการสรรหาฯ ขอให้มีการประชุมลับเป็นครั้งแรกใช้เวลาประมาณ 30 นาทีแล้วลงมติกันต่อ แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ได้ได้รับคะแนนเสียง 3 ใน 4 แม้จะลงคะแนนไปถึงรอบที่ 16   กรรมการสรรหาฯ จึงต้องขอประชุมลับอีกครั้งก่อนจะกลับมาลงคะแนนกันจนถึงรอบที่ 19 จึงได้นางเสาวนีย์เป็นคนสุดท้าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ผู้สมัคร  2  คนที่ได้คะแนนเกือบทุกรอบ แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกเพราะคะแนนไม่ถึง  10  คะแนน คือนายไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และนายปรีชา  ชวลิตธำรง อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อนร่วมรุ่นของนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  เจ้าของบ้านซอยหมอเหล็งที่นายชวนพักอาศัยอยู่จนปัจจุบัน  ก่อนที่คะแนนจะถูกเทไปให้กับผู้ได้รับเลือกแต่ละรอบแต่ละคน

ด้าน พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ กรรมการสรรหาฯ จากพรรคความหวังใหม่ ยอมรับว่า ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกจากห้องประชุมจริง   แต่ไม่ใช่การประชุมเพื่อเปลี่ยนกรอบ  เป็นการให้กรรมการแต่ละคนได้พักสมอง   ยืนยันว่าการคัดเลือกครั้งนี้ไม่มีการบล็อกโหวตกัน  จะเห็นได้ว่าคะแนนมีการหมุนกันเรื่อยๆ เพราะใครเสนอชื่อคนไหน ก็ต้องสนับสนุนคนนั้น แต่เมื่อคนที่ตนเองเสนอไม่มีใครเลือก ก็ต้องเปลี่ยนไปให้คนอื่น เป็นการขยับทางกันใหม่ ขอยืนยันว่าการคัดเลือกครั้งนี้ไม่มีปัญหาอะไร เพราะกรรมการแต่ละคนมีความคิดอยู่ในใจแล้ว  โดยดูจากคุณวุฒิ  วัยวุฒิ  วุฒิภาวะและวิสัยทัศน์  อย่างเรื่องอายุจะเห็นว่ามีคนสมัครตั้งแต่อายุ 47-68 ปี ถ้าใครอายุ 68 ปีแล้วก็ไม่มีใครเลือก จึงไม่อยากให้ใครไปตั้งสันนิษฐานว่าพรรครัฐบาลมีการบล็อกโหวตกัน  เพราะพรรครัฐบาลมีเพียง  3 พรรค ฝ่ายค้าน 1 พรรค ที่เหลือเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ถึง  9  คน ไปบล็อกกันไม่ได้อยู่แล้ว คณะกรรมการสรรหาฯ ยืนยันว่า การเลือกครั้งนี้ใช้เจตนาที่บริสุทธิ์  เพราะเราเลือกคนที่ดูแลกฎหมายสูงสุดของประเทศ  ดูแลรัฐธรรมนูญ คนเหล่านี้ต้องมีจิตสำนึกไม่น้อยกว่าพันท้ายนรสิงห์

ผู้สื่อข่าวถามถึงคะแนนของนางเสาวนีย์   ซึ่งมีคะแนนเคยหายไปช่วงหนึ่ง  แต่ต่อมาได้รับการคัดเลือกในรอบสุดท้าย   พล.อ.กิตติศักดิ์กล่าวว่า  นางเสาวนีย์เคยสมัครมาแล้วครั้งหนึ่ง  และคณะกรรมการสรรหาฯ เคยเสนอชื่อให้วุฒิสภาคัดเลือกมาแล้ว  แต่วุฒิไปเลือกนายจีระ  บุญพจนสุนทร  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน ซึ่งแสดงว่านางเสาวนีย์ก็มีคุณสมบัติ แม้จะได้รับการคัดเลือกในรอบสุดท้ายแต่ก็ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ

ทางด้าน พล.ต.มนูญกฤต  รูปขจร  ประธานวุฒิสภา  กล่าวว่า จากกรอบการทำงานทางคณะกรรมการสรรหาฯ จะมีการส่งรายชื่อให้กับที่ประชุมวุฒิสภาในวันที่  1 พ.ย.นี้ จากนั้นก็จะมีการส่งเรื่องให้ที่ประชุมใหญ่วุฒิสภาเพื่อทำการอนุมัติและตั้งกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบประวัติและความประพฤติ  ของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อผู้มาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ตามมาตรา 135  เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบบุคคลที่ได้มีการเสนอชื่อเข้ามา  สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการหากเวลาล่วงเลยถึงปิดสมัยประชุมนี้ ก็สามารถขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญได้   เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการถอดถอนองค์กรอิสระ เชื่อว่าคงจะไม่มีปัญหาอะไร

ผู้สื่อข่าวถามว่า  มีการเกรงกันว่าเมื่อมีการเสนอชื่อให้วุฒิสภาแล้ว อาจจะมีการล็อบบี้เกิดขึ้น พล.ต.มนูญกฤตกล่าวว่า  ความจริงยอมรับว่าส่วนตัวเป็นห่วงเรื่องนี้  แต่เชื่อในดุลพินิจของวุฒิสภาทั้ง 200 คน แต่จะต้องยอมรับว่าการล็อบบี้มีในระดับหนึ่งจริง แต่ถึงที่สุดเชื่อว่าจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแน่นอน

http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=1/Nov/2545&news_id=61922&cat_id=501 (http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=1/Nov/2545&news_id=61922&cat_id=501)


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: tom ที่ 02-07-2006, 21:56
ผมอีกคนที่ไม่ไว้ใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครับ

มาลงชื่อครับ


หัวข้อ: Re: พูดตรงๆ ผมไม่ค่อยไว้ใจศาลรัฐธรรมนูญ
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 03-07-2006, 09:50
พอดี มีข่าวไทกรไล่เช็คบิล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนเอามาลงหน่อย

เพื่อวันหน้า เห็นตุลาการศาลคนไหน พยายามช่วย ทรท จะได้ดูที่มาของเขา

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000085223
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 กรกฎาคม 2549 15:43 น.


“ไทกร” แฉมีไอ้โม่งโอนเงินไปฟินแลนด์ -จี้ “ศักดิ์ เตชาชาญ” ลาออก

เครือข่ายอีสานกู้ชาติ จี้ “ศักดิ์ เตชาชาญ” หนึ่งในตุลาการศาล รธน.ลาออกจากตำแหน่ง หลังพบเคยมีคดีถูกศาลฎีกาเพิกถอน น.ส.3ก.ฐานขอเอกสารสิทธิที่ดินที่ จ.เชียงใหม่ ทับที่สาธารณะ เตรียมยื่นวุฒิฯตรวจสอบคุณสมบัติซ้ำ เมินถูกฟ้องกลับ ลั่นมีหลักฐานแฉตุลาการคนอื่นอีกเพียบ
     

เสริมบทความจาก คุณ จูล่ง_j นะครับ

---

นายศักดิ์ เตชาชาญ

อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งอธิบดี ในกระทรวงมหาดไทย
โดยได้รับการผลักดันส่วนหนึ่งจาก นายเสนาะ เทียนทอง อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย

เข้าดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในช่วงที่มีการพิจารณาคำร้องคดีซุกหุ้น 1 ใกล้แล้วเสร็จ
โดยได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาคำร้องคดีซุกหุ้นเพียงหนึ่งนัดก่อนการวินิจฉัยคดี ทำให้เกิดเสียง-
วิพากษ์วิจารณ์ในขณะนั้นว่า เหมาะสมหรือไม่ที่ผู้ที่เข้าร่วมพิจารณาคำร้องเพียงนัดเดียวจะเป็น
ผู้วินิจฉัยคำร้องสำคัญดังกล่าว และในที่สุด นายศักดิ์ ก็ได้วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความผิด
มีผลทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะคดีซุกหุ้น 1 อย่างหวุดหวิด 8 ต่อ 7 เสียง

ซึ่งต่อมา กลุ่ม ส.ว.นำโดย นายทองใบ ทองเปาด์ ได้ทำหนังสือร้องผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
กล่าวโทษนายศักดิ์ มีการกระทำอันไม่บังควร นำความไปแจ้งแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่าน
โดยแอบอ้างสถาบันเบื้องสูงว่า มีพระราชประสงค์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิด

..ซึ่งเรื่องนี้ผมยังตรวจค้นต่อไม่ได้แต่คาดว่าไม่มีการดำเนินการกับคำร้องดังกล่าวแต่อย่างใด..

---     
น่าสังเกตว่าเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีกทางหนึ่งนางจิตราภรณ์ เตชาชาญ
ผู้เป็นภรรยาก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม (สสว.) ด้วยในเวลาไล่เลี่ยกัน

โดยที่ต่อมาเคยมีผู้ประกอบการ SME ร้องเรียนสำนักนายกรัฐมนตรีว่า นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) มีพฤติกรรมให้การ
ส่งเสริมแต่บริษัทตัวเองและพวกพ้อง ทั้งที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้มีการผลิตสินค้าเป็นของตนเอง
แต่ใช้วิธีรับซื้อสินค้า OTOP จากแต่ละชุมชนมาประทับตราบริษัทตัวเอง แล้วนำไปเข้าโครงการ
ของ สสว. ซึ่งถือว่าผิดวัตถุประสงค์ขององค์กร เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ

ปัจจุบัน นางจิตราภรณ์ ยังดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม โดยเพิ่งมีอายุเพียง 53-54 ปี ยังมีอายุราชการเหลืออีกหลายปี
---

หลังจากเคยตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีความผิดในคดีซุกหุ้น 1 จนชนะคดีหวุดหวิดมาแล้ว
ต่อมา นายศักดิ์ เตชาชาญ เป็นหนึ่งในตุลาการเสียงข้างมากที่ไม่รับวินิจฉัยคดีซุกหุ้น 2