ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: \(^_^)/ ที่ 11-09-2008, 14:04



หัวข้อ: จาก"กรมประชาสัมพันธ์"สู่ "NBT" ทีวีรัฐบาล ชนวนลุกลามระหว่างพันธมิตรฯ...
เริ่มหัวข้อโดย: \(^_^)/ ที่ 11-09-2008, 14:04
                                กรมประชาสัมพันธ์ 
กรมประชาสัมพันธ์ แห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานประชาสมพันธ์ของรัฐบาล อยู่ภายใต้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาลกับประชาชนและระหว่างประชาชนด้วยกันเอง  โดยวิธีการให้ข่างสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง และรับฟังความคิดเห็นขอประชาชนเพื่อเสนอรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวของ

นอกจากนี้ กรมประชาสัมพันธ์ยังทำหน้าที่โน้มน้าวชักจูงประชาชนเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือแก่รัฐบาลและหน่วยราชการต่างๆ ตามแนวทางที่ถูกที่ควรในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ประวัติและวิวัฒนาการสำหรับวิวัฒนาการของกรมประชาสัมพันธ์ เริ่มจากการก่อตั้งเป็น “กองโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อพ.ศ.2475  โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมมีฐานะเป็นกรมอิสระขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรี

ต่อมา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น  “สำนักงานโฆษณาการ” มีฐานะเป็นกรมหัวหน้าสำนักงานเทียบเท่าอธิบดี แบ่งส่วนราชการเป็น 3 กอง คือสำนักงานเลขานุการกรมกองเผยแพร่ความรู้และกองหนังสือพิมพ์ โดยทำหน้าที่หลัก 3 ประการคือให้ข่าวและความรู้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรัฐบาลและประเทศโดยส่วนรวม

จากนั้นก็มีการพัฒนาผลงาน มาเป็นลำดับโดยมีการปรับปรุงและขยายความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นทุกๆ ระยะตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการสภาพของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนาธรรม ตลอดจนนโยบายของรัฐในแต่ละสมัย โดยเมื่อวันที่  31 มีนาคม 2481 โอนกิจการด้านช่างและทะเบียนวิทยุจากกรมไปรษณีย์โทรเลข มาขึ้นกับสำนักงานการโฆษณาการขึ้นเป็นเขตแรกที่จังหวัดหนองคายและที่จังหวัดพระตะบองเป็นเขตที่สอง

ครั้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมโฆษณาการ"  และมีการตั้งกองการต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อติดต่อและโฆษณาการเผยแพร่ข่าวสารต่อชาวต่างประเทศ 

4 สิงหาคม 2490 โอนสำนักงานการส่งเสริมการท่องเที่ยจากกระทรวงคมนาคม มาขึ้นกับกรมโฆษณาการ

ต่อมาอีก 12 ปี คือ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2495 ก็เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมประชาสัมพันธ์" เพื่อให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่ในฐานะแหล่งการเผยแพร่นโยบายและผลงานของรับบาล รวมทั้งเผยแพรข่าวสาร การเมือง ศีลธรรม วัฒนธรรม ความรู้และความบันเทิง ตลอดจนเป็นสื่อกลางด้านความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนด้วย

ทั้งนี้ เมื่อ 26 มีนาคม 2540 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ โดยแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนกลาง 22 หน่วยงาน และราชการบริหารส่วนภูมิภาค  (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด 75 จังหวัด )

นอกจากสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครแล้ว กรมประชาสัมพันธ์ยังมีสำนักงานประชาสัมพันธ์เขต อีก 8 สำนักได้แก่ ส ป ข.1 ขอนแก่น ส ป ข.2 อุบลราชธานี ส ป ข.3 ลำปาง ส ป ข.4 พิษณุโลก ส ป ข.5 สุราษฏร์ธานี ส ป ข.6 สงขลา ส ป ข.7 ระยอง ส ป ข.8 กาญจนบุรี เพื่อทำการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้เข้าถึงประชาชนในส่วนภูมิภาค ขณะเดียวกันกรมประชาสัมพันธ์ ยังมีสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดครบทุกจังหวัด

ภารกิจหลักของกรมประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ควรมี 2 ภารกิจหลัก อยู่ในส่วนราชการ คือ

1. งานวิชาการประชาสัมพันธ์ (Content Provider) ได้แก่ งานเกี่ยวกับนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ วาระแห่งชาติด้านการประชาสัมพันธ์ การให้คำปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ วิจัยการประเมินผลการประชาสัมพันธ์และงานประสานบูรณาการแผน และกำหนดกรอบงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์

2. งานบริการ (Service Provider) ได้แก่ งานประชาสัมพันธ์งานของรัฐและรัฐบาลรวมทั้งสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ที่ตั้งสำนักงาน สำนักงานกรมประชาสัมพันธ์ เดิมตั้งอยู่ที่ อาคารหัวมุมถนนราชดำเนิน ติดกับกรมสรรพากร และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสถานที่เกี่ยวข้องในประวัติศาสตร์ทางการเมืองหลายครั้ง ในการรัฐประหารทุกครั้ง จะเป็นสถานที่แรกๆ ที่ถูกกำลังทหารเข้ายึด รวมทั้งใน เหตุการณ์ 14 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ก็ถูกประชาชนเข้ายึด หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ อาคารกรมประชาสัมพันธ์ ถูกเพลิงไหม้เสียหายอย่างหนัก จึงย้ายไปตั้งอยู่ที่ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพมหานคร

หน่วยงานในสังกัด  สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท., เอ็นบีที)
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.,เอ็นบีที)
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (สนข.กปส.)
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี (ให้เอกชนเช่าสัมปทาน)
สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี (สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ)(ยุติการออกอากาศแล้ว)
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เพื่อการศึกษา (สวศ.)
สถาบันการประชาสัมพันธ์
สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัด
เคเบิลโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอ็นบีที (ร่วมผลิตกับเอกชน)

  สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีทีสำหรับ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ( เอ็นบีที) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล มีสภาพเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล เดิมคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ( สทท.11, ช่อง 11) ซึ่งมีสถานะเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติเช่นเดียวกัน โดยมีการเปลี่ยนชื่อ พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานี เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป

กว่าจะมาเป็น NBT ทีวีสีสันของรัฐบาล  เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ กรมประชาสัมพันธ์ จัดทำ โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการสู่ประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึง การเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนเป็นสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายให้แก่ สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ

ประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เริ่มต้นการทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก แต่ระยะแรกนั้น สทท.11 ได้ใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สีของกรมประชาสัมพันธ์  ออกอากาศด้วยระบบวีเฮชเอฟ (VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 11 มาจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ ณ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มาออกอากาศเป็นการชั่วคราว ณ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แต่เนื่องจากความถี่ต่ำ จึงไม่สามารถดำเนินการส่งสัญญาณแพร่ภาพออกอากาศต่อได้ ทว่าต่อมา สทท.11 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น และมูลนิธิไจก้า ตามโครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่า โดยมีวงเงินประมาณ 330,000,000 บาท เพื่อขออนุญาตใช้เครื่องส่งใหม่ โดยออกอากาศระบบวีเฮชเอฟ(VHF)ความถี่สูง ทางช่องสัญญาณที่ 11(BAND3,VHF CH-11) และสร้างอาคารที่ทำการสถานีฯ ในที่ดินของกรมประชาสัมพันธ์ ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ จากนั้นเป็นต้นมา จึงกำหนดให้ วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ได้ดำเนินการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางราชการ และนำเสนอรายการที่เป็นสาระความรู้โดยเฉพาะด้านการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี มาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานจะดำเนินการถ่ายทอดรายการส่วนใหญ่ และบางช่วงเวลา จะให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ในส่วนภูมิภาคดำเนินการถ่ายทอดรายการของตนเฉพาะท้องถิ่นไป แล้วแต่ช่วงเวลานั้นๆ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า  ในช่วงระยะเวลาแรกๆ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 มักถูกมองข้ามจากผู้ชมส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางรัฐบาลซึ่งไม่มีรายการที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ โดยเฉพาะรายการประเภทบันเทิง เช่น ละครโทรทัศน์ หรือรายการเกมโชว์ และประกอบกับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ไม่อาจมีโฆษณาได้ จึงทำให้ประเภทของรายการที่ออกอากาศทางสทท. 11 นั้น มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ผู้ชมนั้นมีไม่จำนวนไม่มากนัก

พ.ศ. 2539 สทท.11 ได้เสนอให้หน่วยงานภาคต่างๆ สามารถแพร่ภาพโฆษณาให้กับทางสถานีได้ และในบางครั้ง สทท.11 ก็ได้ผลิตโฆษณาออกอากาศภายในสถานีเอง แม้จะเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ที่ไม่ค่อยมีใครสนใจในขณะนั้น

 จนกระทั่งนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เริ่มมีชื่อเสียงทางด้านการถ่ายทอดสดรายการกีฬา ซึ่งแต่เดิม สทท. 11 เป็นที่รู้จักกันดีจากการเริ่มนำเอากีฬามวยปล้ำอาชีพมาออกอากาศทางสถานี แต่ทว่า นับตั้งแต่ที่สทท.11 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมถ่ายทอดสด การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี 2002 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ภายใต้การดำเนินการของบริษัท ทศภาค จำกัด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ฮือฮามากในขณะนั้น ที่การถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล ตามที่เป็นปกติในวงการโทรทัศน์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถ่ายทอดสดรายการกีฬาต่างๆ ร่วมกันทางทีวีพูล โดยมีโฆษณาคั่น แต่เมื่อสทท. 11 ได้ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2002 ร่วมกับโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยไม่มีโฆษณาคั่น แต่นั้น สทท. 11 ก็ได้ถ่ายทอดสดรายการกีฬาอีกหลายรายการจนเป็นที่ติดตามของผู้ชมกีฬาในประเทศเป็นอย่างมาก

พ.ศ. 2551 เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ  นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารงาน นายจักรภพ เพ็ญแข  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ขระนั้น  มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง สทท.11 เดิม เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงาน และตอบสนองเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี

ดังนั้น ในวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. สทท.11 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เอ็นบีที (National Broadcasting Services of Thailand - NBT) ซึ่งเป็นการใช้ชื่อที่จดทะเบียนสมาชิกกับสหภาพวิทยุ-โทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิกและได้ออกอากาศรายการในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สมประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี และเพื่อประโยชน์สาธารณะ NBT ได้ประกาศชูภาพลักษณ์ของความเป็นสถานีข่าว โดยได้มีการนำอดีตผู้ประกาศข่าวของทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี หลายคนซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เข้าทำงานกับทางองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย มาร่วมงานไม่ว่าจะเป็น ตวงพร อัศววิไล, จอม เพชรประดับ, จิรายุ ห่วงทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งทาง NBT ได้นำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นสถานีข่าว ผ่านทางการให้เวลานำเสนอข่าวมากกว่า 9 ชั่วโมง และปรับรูปลักษณ์ของสถานีเพื่อให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิม

ช่วงแรก  NBT ถูกจับตาอย่างยิ่งจากหลายฝ่าย หลังประกาศว่า จะทำการแข่งขันกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ในขณะที่ยังใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในลักษณะของ "สงครามทีวีภาครัฐ" เนื่องจาก NBT พยายามใช้ภาพความเป็นทีวีสาธารณะภาครัฐบาลขึ้นสู้กับทางไทยพีบีเอส ที่ประกาศเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะช่องแรกของประเทศไทยมาก่อนหน้า และนอกจากนี้ NBT ถูกจับตามองอย่างยิ่งในแง่มุมของการเสนอข่าวซึ่งมีบางฝ่ายวิพากย์วิจารณ์ว่า NBT นำเสนอข่าวในลักษณะเข้าข้างรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวชเป็นพิเศษ และเน้นโจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยเฉพาะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้งๆที่เป็นโทรทัศน์ภาครัฐ

กระทั่งวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551  กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจำนวนมาก ได้บุกไปยังสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ซึ่งตั้งอยู่ที่ ถนนวิภาวดีรังสิต  ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ในบริเวณพื้นที่เดียวกับ อาคารที่ทำการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย(สวท.) โดยให้เหตุผลของวัตถุประสงค์ การไปครั้งนี้ คือ เพื่อไปทวงสมบัติชาติคืนจากรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลใช้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการโจมตีกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างต่อเนื่อง 

สทท.เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที จึงออกแบบตราสัญลักษณ์ขึ้นใหม่ โดยเน้นภาพลักษณ์ที่ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยความหมายของตราสัญลักษณ์ดังกล่าว อธิบายได้ดังนี้

(http://www.matichon.co.th/online/2008/08/12197330551219733678l.jpg)

วงกลมสีน้ำเงิน วงกลม หมายถึง ศูนย์กลางแห่งข้อมูลข่าวสาร ส่วนสีน้ำเงิน หมายถึง..
ความหนักแน่นเป็นกลางส่วน สามเหลี่ยมใต้วงกลม หมายถึง ความเที่ยงตรง เป็นกลาง
ในการนำเสนอข่าว อย่างไม่หยุดนิ่ง
วงรีสามวงสื่อถึงแผนที่โลกที่แผ่ออกเป็นสองมิติ หมายถึง การนำเสนอเหตุการณ์สำคัญจากทั่วทุกมุมโลก
ตัวอักษร NBTช้สีขาวหรือโปร่งใสหรือเป็นวาวแสงคล้ายแก้ว หมายถึง  ความโปร่งใสในการนำเสนอข่าวสาร ที่สามารถตรวจสอบได้ 

ข้อมูลและรูปภาพอ้างอิงจากเว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์ และวิกิพีเดีย


ความเที่ยงตรง เป็นกลาง...
ความโปร่งใสในการนำเสนอข่าวสาร ที่สามารถตรวจสอบได้


 :slime_dizzy:


หัวข้อ: Re: จาก"กรมประชาสัมพันธ์"สู่ "NBT" ทีวีรัฐบาล ชนวนลุกลามระหว่างพันธมิตรฯ...
เริ่มหัวข้อโดย: ผู้ใหญ่อี๊ด ที่ 11-09-2008, 19:53
ผมไม่รู้ว่าเจ้าของกระทู้เป็นใคร แต่อ่านดูแล้วคุณสับสนอย่างรุนแรงเลยนะ แต่ก็งงอยู่ว่าคุณเป็นฝ่ายไหน

ผมขอถามกลับคุณหน่อยนะว่า NBT เป็นของรัฐบาล หรือเป็นของราชการ

คุณบอกเองไม่ใช่หรือว่า NBT ขึ้นกับกรมประชาสัมพันธ์ กรมต่างๆล้วนแล้วแต่เป็นหน่วยงานราชการไม่ใช่หรือครับ

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับรัฐบาล คุณบอกว่า NBT เป็นของรัฐบาล ผมงง

ผมเข้าใจว่าแม้แต่เก้าอี้ที่นายกฯนั่งอยู่ก็เป็นทรัพย์สินราชการนะครับ ไม่ใช่ของรัฐบาล แต่คนที่เป็นรัฐบาลในแต่ละสมัย

มาอาศัยเก้าอี้ของราชการนั่งนะครับ ที่เช็ดเท้าหน้าห้องนายกฯก็เป็นของราชการ รัฐบาลมันมีแต่ตัวล้อนจ้อนนะครับคุณ

 :slime_doubt: :slime_sentimental: :slime_hitted:


หัวข้อ: Re: จาก"กรมประชาสัมพันธ์"สู่ "NBT" ทีวีรัฐบาล ชนวนลุกลามระหว่างพันธมิตรฯ...
เริ่มหัวข้อโดย: bangkaa ที่ 11-09-2008, 20:08
กรมกร้วก ก็ยังคง มาตรฐานความเป็น กรมกร้วก อยู่อย่างนั้น....


โดนเผามากี่ครั้งแล้วล่ะ...


ครั้งนี้ยังเบานะ... พันธมิตรฯ ทำกระจกแตกไปแค่บานเดียว...



 :slime_agreed: :slime_agreed: :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: จาก"กรมประชาสัมพันธ์"สู่ "NBT" ทีวีรัฐบาล ชนวนลุกลามระหว่างพันธมิตรฯ...
เริ่มหัวข้อโดย: Ammika ที่ 11-09-2008, 20:24
 :slime_worship: :slime_worship: :slime_worship:
ขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้กรมประชาสัมปทานให้ไปสู่ที่ชอบๆในเร็ววันนะจ๊ะ..


หัวข้อ: Re: จาก"กรมประชาสัมพันธ์"สู่ "NBT" ทีวีรัฐบาล ชนวนลุกลามระหว่างพันธมิตรฯ...
เริ่มหัวข้อโดย: shishamo ที่ 11-09-2008, 20:38

 :slime_mad:

NBT บ้า เอาภาษีของชั้นคืนมานะ