ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 03:26



หัวข้อ: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 03:26
@@@ งัดมาตรา 301 บี้..หญิงเป็ด...เสร็จอีกแล้ววว  

รธน.ชี้ชัดต้องสรรหาใหม่ในกำหนด 120 วัน
         
โผล่อีก! พบเงื่อนไขตาม รธน.50 ระบุชัด ต้องเลือกผู้ว่าการ สตง. คนใหม่ ภายใน 120 วันนับแต่มีประธานสภาฯ และผู้นำฝ่ายค้าน ที่จะต้องมาทำหน้าที่กรรมการสรรหา 7 คน ขณะที่ “จารุวรรณ เมณฑกา” ทำหน้าที่เกินเวลาร่วม 7 เดือนเข้าไปแล้ว ส่อเป็นผู้ว่าการหมดอายุ ไร้สถานภาพในการทำงานและไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ระบุมีความแตกต่างกับตำแหน่ง ป.ป.ช. และ กกต. ที่มีการกำหนดวาระไว้ 7 ปี ตั้งข้อสงสัยเป็นไปได้หรือที่ “หญิงเป็ด” จะไม่รู้เงื่อนไขดังว่า นักกฎหมายชื่อดัง “คณิน บุญสุวรรณ” ออกโรงเตือนอย่าทำตัวมั่วนิ่ม ส่อจงใจกินเงินเดือนนับแสนที่มาจากภาษีประชาชน
         
ผลพวงจากการปฏิวัติรัฐประหารยังส่งผลกระทบต่อบ้านเมืองไม่เลิก หลังจากมีเหตุอันชวนให้เชื่อว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ (ป.ป.ช.) ส่อมีที่มาไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นองค์กรเถื่อน ล่าสุดยังส่อว่า คุณหญิงจารุวรรณ  เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะเป็นผู้ว่าการเถื่อนอีกคน เนื่องจากดำรงตำแหน่งโดยขัดต่อมาตรา 301 ในรัฐธรรมนูญ 2550
       
กรณีดังกล่าว นายคณิน  บุญสุวรรณ นักกฎหมาย และอดีต สสร. กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญ 2550 บทเฉพาะกาล มาตรา 301 ระบุว่า “ให้ดำเนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกตามบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และหากยังไม่มีประธานศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
         
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
       
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา โดย นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 และเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
       
เมื่อนับวันที่ผ่านมา หลังจากนายยงยุทธดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรโดยสมบูรณ์จนถึงวันนี้เป็น เวลา 206 วัน และหลังจากนายอภิสิทธิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านแล้วเป็นเวลา 171 วัน
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า คุณหญิงจารุวรรณ  เมณฑกา ได้ปฏิบัติหน้าที่เกิน 120 วัน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 301 ว่าไว้จากวันที่มีการแต่งตั้งประธานสภาฯ และผู้นำฝ่ายค้าน เนื่องจากบุคคลทั้งสอง จะต้องเข้าร่วมเป็นกรรมการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ 2 ใน 7 คน
       
อย่างไรก็ดี ตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ไม่ใช่ตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีวาระ 7 ปี  หรือคุณหญิงจารุวรรณไม่ทราบกฎหมายนี้ หรือทราบแล้วแต่ทำเป็นนิ่งเฉย ตั้งใจจะมั่วนิ่มดำรงตำแหน่งนี้กินเงินเดือนจากภาษีประชาชนต่อไป
         
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ได้เคยอ้างว่า เกินเวลาก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีสภาพบังคับเอาโทษอะไร และถือเป็นเหตุสุดวิสัย เพียงแต่ผู้รับผิดชอบอาจโดนตำหนิบ้าง ลักษณะคล้ายๆ กับการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ที่สรรหาเกินเวลา ทั้งนี้แม้เกินเวลา แต่ก็ยังมีผู้ว่าการ สตง. คนเดิมซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธาน คตง. และกรรมการ คตง. อยู่แล้ว ซึ่งงานก็เดินต่อไปได้

ที่มา: ประชาทรรศน์ออนไลน์ ๑๘ ส.ค. ๒๕๕๐

จากคุณ : j_bigbear   - [ 18 ส.ค. 51 11:50:37 A:10.87.130.55 X:202.12.97.114 ]

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6901193/P6901193.html


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 03:42
จ่อยื่นศาลรธน.ฟันซ้ำ‘จารุวรรณ'   
 
วันที่ 19 ส.ค. 2008 - 13:06:25 น


"มือเชือดเป็ด" เร่งรวบรวมหลักฐานจ่อร้องศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสถานภาพ "หญิงเป็ด" ขัด รธน.มาตรา 301 ขณะที่ "นักกฎหมาย-นักวิชาการ" ดาหน้าจี้สรรหาผู้ว่าการ สตง. คนใหม่ให้เร็วที่สุด ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พร้อมตะเพิด "จารุวรรณ" พ้นหน้าที่ เพราะเลยเงื่อนเวลา 120 วันมานานนับเดือน หากไม่รีบพิจารณาตัวเอง ส่อมีความผิดตามมาตรา 157 อีกกระทง ห่วงผลกระทบ ทั้งเรื่องเงินเดือนที่จ่ายเกินเวลา และข้อโต้แย้งการทำงานที่อาจตามมาภายหลัง โต้ "ประสพสุข บุญเดช" อ้างมั่วต้องรอกฎหมายลูก ระบุกระบวนการสรรหาดำเนินการได้ทันที

จากกรณีที่พบว่า คุณหญิงจารุวรรณ  เมณฑกา ส่อจะเป็นผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เถื่อน เนื่องจากทำหน้าที่เกินกรอบระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการสรรหาผู้ว่าการ สตง. ใหม่ นับแต่วันที่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภา ภายใน 120 วัน เพื่อให้ทั้ง 2 ตำแหน่งเข้าร่วมเป็น 2 ใน 7 กรรมการสรรหา แต่ปรากฏว่าขณะนี้มีประธานสภาฯ มาแล้วกว่า 200 วัน และมีผู้นำฝ่ายค้านมาแล้วกว่า 170 วันนั้น

กรณีดังกล่าว นายคารม  พลทะกลาง ประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อประชาชน กล่าวว่าโดยปกติบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญนั้น มีไว้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในช่วงคาบเกี่ยวเพื่อให้การทำงานสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ในกรณีของผู้ว่าการ สตง. นั้นทุกตำแหน่งที่จะต้องเข้ามาเป็นกรรมการสรรหามีอยู่พร้อมแล้ว และทั้งประธานสภาฯ ผู้นำฝ่ายค้านก็มีการแต่งตั้งหมดแล้ว

ทางที่ดีที่สุดควรจะให้มีกรรมการสรรหาโดยเร็ว และตัวคุณหญิงจารุวรรณ หากมีสปิริตก็ไม่สมควรจะอยู่ในตำแหน่งต่อไป เพราะอย่างน้อยในอดีตก็เคยได้ชื่อว่าเป็นคนมือสะอาด เป็นคนที่ได้รับการยอมรับ มีต้นทุนสูง มีแบรนด์เนมดี ที่จริงควรจะตัดสินใจลาออกตั้งนานแล้ว และเข้าสู่กระบวนการสรรหาใหม่ ถ้ามั่นใจในความดี มั่นใจว่ามีคนรัก ก็อาจได้รับการเลือกกลับเข้ามาอีก

ขืนดึงดันผลกระทบตามมามากมาย

อีกทั้งเรื่องดังกล่าวนี้หากดึงดันอยู่ต่อไปอาจจะมีคนหยิบยกขึ้นมา เพื่อให้มีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในกรณีที่อาจจะขัด รธน. ซึ่งมันก็จะมีผลกระทบตามมามากมาย และมีผลกระทบเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานภาพ เรื่องของเงินเดือนที่มีการจ่ายไปแล้ว รวมถึงงานที่มีการดำเนินการหรือมีการลงนามไปแล้ว ก็เสี่ยงต่อการที่จะเกิดข้อโต้แย้งขึ้นได้ภายหลัง

สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นใคร กลุ่มไหน หรือแม้แต่พวกมัฆวานก็คงรู้ว่ากฎหมายเป็นเรื่องที่โต้แย้งไม่ได้ มี 2 มาตรฐานไม่ได้ และหากไม่มีความชัดเจนก็อยู่ไม่ได้ อีกทั้งการที่คุณหญิงจารุวรรณ เป็นทั้งผู้ว่าการ สตง. และเป็น คตง. เอง ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าหากมีการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ใครจะเป็นคนตรวจสอบใคร และไม่เข้าใจเหมือนกันว่าการที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหารขณะนั้น แต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณเป็นประธาน คตง. เพียงคนเดียว จะเรียกว่าเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้อย่างไร

ห่วง "จารุวรรณ" ส่อผิด ม.157

"ผมว่าเรื่องที่เกิดขึ้นกฎหมายว่าไว้อย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามนั้น อีกทั้งตัวคุณหญิงจารุวรรณ เองก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มนำทางด้านความถูกต้อง การอยู่ในกรอบกฎหมาย ดังนั้นเพื่อให้เกิดเป็นบรรทัดฐานที่ดี คุณหญิงจารุวรรณสมควรออกจากตำแหน่งไปก่อน

จะเห็นว่าขนาด ป.ป.ช. ชุดก่อนขึ้นเงินเดือนตัวเอง ก็ยังถูกพิพากษาดำเนินคดีและรอลงอาญามาจนถึงวันนี้ ไม่สามารถไปทำอะไรได้"

ขอบอกว่า  ป.ป.ช. เองที่พยายามออกมาบอกว่าคนอื่นต้องทำตามรัฐธรรมนูญ ตัวเองก็ต้องทำตามนั้นด้วย ไม่ใช่ว่ามี 2 มาตรฐาน และที่สำคัญถ้ารู้แล้วไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องก็อาจเข้าข่ายความผิด มาตรา 157 ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เพราะเรื่องนี้กฎหมายระบุชัดอยู่แล้ว ยิ่งเป็นรัฐธรรมนูญยิ่งอ่านง่าย ตีความง่ายไม่มีอะไรมาขัดแย้ง หรือโต้แย่งได้อยู่แล้ว

แนะนำเข้ากระบวนการกฎหมาย

"หน้าที่ของคุณหญิงจารุวรรณ คือการตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินได้ทุกที่ เพราะฉะนั้นเมื่อมีอำนาจมากขนาดนี้ ขณะเดียวกันก็จะต้องมีความโปร่งใสชัดเจน หากเห็นแก่พวกพ้อง ไม่มีการตรวจสอบความเสียหายก็จะยิ่งหนักมากขึ้นไปอีก"

นายคารม กล่าวอีกว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญออกมาอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามนั้น เรื่องนี้ใครจะไปแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมายก็ได้ เพราะรัฐธรรมนูญก็เขียนเอาไว้แล้ว และเรื่องนี้อาจมีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา เรามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีความรู้ความสามารถอยู่แล้ว

นอกจากนี้อีกประเด็นที่สำคัญหากในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว คุณหญิงจารุวรรณ จะสามารถทำงานต่อไปได้หรือเปล่า หรือจะต้องหยุดการทำหน้าที่ไว้ก่อน เหมือนที่เคยเรียกร้องให้คนอื่นออกจากตำแหน่ง ตรงนี้อยากให้มีมาตรฐานทางกฎหมายด้วย
 
"ประสพสุข" อ้างมั่วรอกม.ลูก

ด้าน รศ.ดร.อรพิน ผลสุวรรณ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าควรจะมีการสรรหาผู้ว่าการ สตง. ตามมาตรา 301 ได้แล้ว โดยไม่ต้องรอกฎหมายลูกหรือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ตามที่ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาอ้าง เพราะสามารถใช้กฎหมายลูกฉบับเก่าก็ได้

 และหากมองในแง่ของความเหมาะสม  ถือว่าคุณหญิงจารุวรรณไม่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง เพราะทั้งที่รู้ว่าจะต้องมีการสรรหาผู้ว่าการ สตง. คนใหม่  คุณหญิงจารุวรรณจบด้านการบัญชีอาจจะไม่รู้เรื่องของกฎหมายจึงทำนิ่งเฉยก็เป็นได้  แต่เมื่อขึ้นมาอยู่ในฐานะผู้ว่าการ สตง. เรื่องของคุณสมบัติ คุณหญิงจารุวรรณจำเป็นจะต้องทราบดี

อาจมีคนไม่อยากให้เปลี่ยนตัว

"ถ้าทำไม่รู้ไม่ชี้ เราต้องกระทุ้งไป รัฐธรรมนูญมาตรา 252 มาตรา 253 และมาตรา 254 โดยเฉพาะวรรคท้าย ระบุถึงคุณสมบัติของผู้ว่าการ สตง. ในเรื่องความเป็นกลาง อิสระต่อองค์กรใดๆ แต่การที่คุณหญิงไปบริจาคเงินให้กับพันธมิตรฯ ก็ถือว่าไม่เหมาะสม"

รศ.ดร.อรพิน กล่าวต่อไปว่าถ้ามองในแง่ของการเมือง  เป็นไปได้ว่ามีการยื้อของบางกลุ่มให้คุณหญิงจารุวรรณ ดำรงตำแหน่งต่อไป เพราะไม่ต้องการให้มีการสรรหาผู้ว่าการ สตง. คนใหม่ในรัฐบาลปัจจุบัน  พร้อมกับย้ำว่า การได้มาซึ่งผู้ว่าการ สตง. ต้องได้มาอย่างสุจริต และบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวต้องไม่เข้ากับฝ่ายใด

เก็บ "จารุวรรณ"ไว้เช็กบิล "ทักษิณ"

ด้าน นายมานิตย์  จิตต์จันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา กล่าวในทำนองเดียวกันว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 301 ที่มาจากระบอบเผด็จการทหาร ถูกเขียนขึ้นมาไปอย่างนั้นเอง  แล้วถึงเวลาก็ไม่ปฏิบัติตาม  ยื้อเวลากันออกไปเพราะต้องการให้คุณหญิงจารุวรรณ อยู่ ตรวจสอบ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และจะได้นำไปสู่การยึดทรัพย์  เมื่อมีการดำเนินการยึดทรัพย์เสร็จสิ้น คาดว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้

 "ตอบได้ง่ายๆ ต้องการให้คุณหญิงจารุวรรณอยู่ เพราะไม่มีบทบัญญัติลงโทษ จึงดึงเวลาออกไปเรื่อยๆ ส่วนกฎหมายลูกใครออกรัฐธรรมนูญ คนนั้นก็ออกกฎหมายลูก แล้วถามหน่อยว่าจะมีใครมาออกกฎหมายลูก"

ยันสรรหาได้เลยไม่เกี่ยวกฎหมายลูก

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าว ระบุว่ามาตรา 301 ในรัฐธรรมนูญ 2550 ต้องดำเนินการได้เลย เท่าที่ผ่านมา บางคนบอกว่าต้องรอกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ในวิธีปฏิบัติแล้วสามารถใช้รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นหลักในการดำเนินการ โดยไม่มีความจำเป็นจะต้องรอกฎหมายลูกตามที่นายประสพสุข ออกมากล่าวอ้าง

จากพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 2540 ยังสามารถใช้ได้อยู่จนกว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 2550 จะออกมาแล้วเสร็จ  ซึ่งถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องใช้กฎหมายลูกหรือ พ.ร.บ. ดังกล่าวนี้  กฎหมายลูกฉบับเก่าก็นำมาหยิบใช้ประกอบรัฐธรรมนูญ 2550 เท่าที่ใช้ได้  ไม่น่าจะติดขัดอะไร ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายวิธีการต่างๆ

ถึงเวลาตรวจสอบคนใน สตง.

ทั้งนี้ กฎหมายลูกออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ดังนั้นอะไรที่เห็นว่านำมาหยิบใช้ควบคู่กับรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่กระบวนการสรรหาผู้ว่าการ สตง. ได้ก็ต้องดำเนินการต่อไป และไม่เห็นว่าจะขัดการดำเนินการแต่อย่างใด

"มันเป็นเรื่องระยะเวลา ไม่ต้องมาอ้างกฎหมายลูก มันมีเหตุที่สมควรกว่านี้ องค์กรที่สรรหาก็คนละองค์กร ถ้าจะเรียกตำแหน่งคุณหญิง ในตอนนี้ก็เท่ากับรักษาการแทนเพื่อรอเวลาสรรหา ต้องถามกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการว่าทำงานถึงไหนแล้ว หรือที่ไม่ดำเนินการเพราะอะไร"

แหล่งข่าวทิ้งท้ายว่า ต้องการให้มีการตรวจสอบ สตง. และบุคคลที่ทำงานให้กับสตง. ตามที่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญกำหนดไว้  เพราะเท่าที่ผ่านมา สตง. ตรวจสอบผู้อื่นมาโดยตลอด แต่สตง. เองไม่เคยได้รับการตรวจสอบเลย ทั้งๆ ที่รัฐสภาสามารถทำได้

"มือเชือดเป็ด" จ่อฟ้องจารุวรรณ

ด้าน นายวันชัย  จงจรูญหิรัญ หัวหน้ากลุ่มติดตามการปฏิรูปการปกครองและต่อต้านการคอร์รัปชั่น ที่ติดตามข้อกังขาเกี่ยวกับพฤติกรรมของ คุณหญิงจารุวรรณ  เมณฑกา มาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับฉายาว่า "มือเชือดเป็ด" กล่าวว่า เมื่อเห็นข้อมูลเรื่องนี้ก็คิดว่าจะต้องมีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และสิ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

โดยขณะนี้ได้มีการรวบรวมหลักฐาน และได้รับคำแนะนำจากนักกฎหมายแล้วว่า ให้ไปยื่นร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือหากศาลเห็นว่ามีหน่วยงานอื่นที่เหมาะสมกว่า ก็จะเป็นผู้แนะนำหรือส่งเรื่องต่อไป ซึ่งอาจจะเป็น ป.ป.ช. ก็ได้ หรือกลับกัน อาจไปยื่นที่ ป.ป.ช. และอาจมีการส่งเรื่องต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ก็เป็นไปได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบ และเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานของกลุ่ม จะได้มีการหารือกันภายในกลุ่มอีกครั้งว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด และเมื่อใดแน่

 
ประชาทรรศน์   

นำขึ้นเว็บรากหญ้า...

http://www.thai-grassroots.com/index.php?pid=1ga85g132adbe&id=1942


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 03:52
ก่อนที่จะทำความเข้าใจเรื่องนี้ ควรอ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อน จะได้ไม่สับสน โดยเริ่มจาก มาตรา 301 ที่เป็นบทเฉพาะกาล

แล้วตามไปดูหมวดที่ว่าด้วย "คตง." ตามลำดับ ว่า "คตง." สรรหาแบบไหน ใครมีหน้าที่บ้าง

ส่วนตำแหน่ง "ผู้ว่าฯ สตง." ต้องไปดู พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ปี 2542

มาตรา ๓๐๑ ให้ดำ เนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และหากยังไม่มีประธานศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่

ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

มาตรา ๓๐๒ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้มีผลใช้บังคับต่อไปภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรานี้

(๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

(๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

(๓) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 04:02
๔. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

มาตรา ๒๕๒ การตรวจเงินแผ่นดินให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดินการบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลัง และด้านอื่น

การสรรหาและการเลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๔๓

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

การกำหนดคุณสมบัติและวิธีการเลือกบุคคลซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน จะต้องเป็นไปเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และเพื่อให้ได้หลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว

มาตรา ๒๕๓ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังที่เป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยการดำเนินการที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน การคลัง และการงบประมาณ และให้คดีที่พิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังในเรื่องดังกล่าวเป็นคดีที่อยู่ใน
อำนาจของศาลปกครอง

ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง

มาตรา ๒๕๔ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระ โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้มีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 04:14
มาตราที่เกี่ยวข้อง 204/206/207

ส่วนที่ ๒
ศาลรัฐธรรมนูญ


มาตรา ๒๐๔ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้

(๑) ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสามคน
(๒) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๖ จำนวนสองคน
(๔) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๖ จำนวนสองคน

มาตรา ๒๐๖ การสรรหาและการเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๐๔ (๓) และ(๔) ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๒๐๔ (๓) และ (๔) ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว แล้วให้เสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้นต่อประธานวุฒิสภา มติในการคัดเลือกดังกล่าวต้องลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ให้คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๑๓ วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

(๒) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการคัดเลือกตาม (๑) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ การลงมติให้ใช้วิธีลงคะแนนลับ ในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป ในกรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใด ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อให้ดำเนินการสรรหาใหม่ หากคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาและมีมติยืนยันตามมติเดิมด้วยคะแนนเอกฉันท์ ให้ส่งรายชื่อนั้นให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป แต่ถ้ามติที่ยืนยันตามมติเดิมไม่เป็นเอกฉันท์ ให้เริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องดำเนินการดังกล่าว

ในกรณีที่ไม่อาจสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๑) ได้ภายในเวลาที่กำหนด ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาแต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนสามคน และให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจำนวนสองคน เป็นกรรมการสรรหาเพื่อดำเนินการตาม (๑) แทน

มาตรา ๒๐๗ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้อง

(๑) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๒) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือของหน่วยงานของรัฐ
(๓) ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
(๔) ไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด

ในกรณีที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเลือกบุคคลหรือวุฒิสภาให้ความเห็นชอบบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) โดยได้รับความยินยอมของบุคคลนั้น ผู้ได้รับเลือกจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเมื่อตนได้ลาออกจากการเป็นบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) หรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบวิชาชีพอิสระดังกล่าวแล้ว ซึ่งต้องกระทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเลือกหรือได้รับความเห็นชอบ แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกหรือเลิกประกอบวิชาชีพอิสระภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยรับเลือกหรือได้รับความเห็นชอบให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ และมาตรา ๒๐๖ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 04:21
ความเห็นประกอบ

ตามมาตรา 301 วรรค 2 กำหนดให้ระหว่างที่ยังไม่มี "คตง. ชุดใหม่" คุณหญิงก็ทำหน้าที่แทนไปเรื่อยๆ...ไม่ผิดอะไรเลย

การสรรหา " คตง." ภายใน 120 วัน เป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา ไม่เกี่ยวกับผู้ว่า สตง. ซึ่งทำหน้าที่แทน "คตง."

ไม่แน่ใจว่า พรบ. สตง. 2542 ต้องให้ คตง. เป็นผู้ สรรหา "ผู้ว่าฯ สตง." หรือไม่( ที่เคยเกิดปัญหามาแล้วนั่นแหละครับ )

เพราะอ่านคำว่า "คตง.และผู้ว่าฯสตง." จาก 301 น่าจะเป็นการสรรหาโดยกติกาเดียวกัน



ดังนั้น แม้จะเกิน 120 วัน มาตรา 301 วรรค 2 จึงกำหนดไว้ชัดเจนว่า...

ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

ข้อกล่าวหา หรือข้อสังเกตต่างๆ ของฝ่ายโจมตีน่าจะไม่สมเหตุผล ยกเว้นต้องการยกขึ้นมาด่ากันเล่น ๆ เท่านั้นเอง

คล้ายๆกับ กรณี ปปช. ไง เล่นอะไรไม่ได้ก็ไปเล่นเรื่อง "ไม่มีพระบรมราชโองการ"

ซึ่งตามประเพณีก็คือ จะไม่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ตาม พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ(กฎหมายลูก) ในระหว่างที่มีการปฏิวัติ หรือ ไม่มีรัฐธรรมนูญ

เหตุผลนี้ข้อเดียวน่าจะจบ แต่ฝ่ายนั้นไม่ยอมจบ ก็หาเรื่องแถไปเรื่อย ๆ


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 20-08-2008, 04:26
พวกอยาก "เติมเงิน" ก็แบบนี้แหละครับ รู้ว่าบิดเบือน ให้ร้าย ป้ายสี ก็ยอมทำ ยอมขายวิญญาณให้ปิศาจ
ขออย่างเดียว ให้ได้ "แสดงความภักดี" เผื่อจะได้ "เติมเงิน" กับเขาบ้าง


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 04:34
กรรมการสรรหาตามมาตรา 243 ( ที่ให้ใช้โดยอนุโลม )

มาตรา ๒๔๓ การสรรหาและการเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๖และมาตรา ๒๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้มีคณะกรรมการสรรหาจำนวนเจ็ดคนประกอบด้วย

ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎรผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และให้นำบทบัญญัติ
มาตรา ๒๓๑ (๑) วรรคสอง มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: moon ที่ 20-08-2008, 04:39
โอย เยอะดีจังเลย ต้องค่อยๆ อ่าน ขออ่านต่อพรุ่งนี้นะครับพี่แคน


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 05:19
แหะ แหะ ยังขาด 231 (1) วรรค 2 อีกนิดหน่อย

ว่างๆ จะลองเรียบเรียงการสรรหา คตง. โดยใช้ ม. 252 ที่ผมขีดเส้นใต้ให้ไว้นั่นแหละ

อ้อ...ส่วนตำแหน่ง "ผู้ว่าฯ" น่าจะไปใช้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒

ที่เคยเล่นกัน สมัยที่คุณหญิงโดนบีบครั้งกระโน้นไงครับ


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 05:46
 :slime_hmm:มาตรา ๒๓๐ กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๓) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๕ (๑) (๔) (๕) และ (๖)
(๔) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๗ มาใช้บังคับกับกรรมการการเลือกตั้งด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๒๓๑ การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้งให้ดำเนินการดังนี้

(๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนเจ็ดคน ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำ นวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓๐ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวนสามคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการสรรหาดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งให้คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเลือกตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ และต้องไม่เป็นกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นในขณะเดียวกัน

(๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓๐ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนสองคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้นั้น

(๓) การสรรหาตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่มีเหตุที่ทำให้ไม่อาจดำเนินการสรรหาได้ภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่อาจสรรหาได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตาม (๑) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดตาม (๑)

(๔) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาตาม(๑) (๒) หรือ (๓) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ

(๕) ในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการตาม (๖) แต่ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใด ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แล้วแต่กรณี เพื่อให้ดำเนินการสรรหาใหม่ หากคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภา และมีมติยืนยันตามมติเดิมด้วยคะแนนเอกฉันท์หรือด้วยคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แล้วแต่กรณีให้ดำเนินการต่อไปตาม (๖) แต่ถ้ามติที่ยืนยันตามมติเดิมไม่เป็นเอกฉันท์หรือไม่ได้คะแนนตามที่กำหนดให้เริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องดำเนินการดังกล่าว

(๖) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบตาม (๔) หรือ (๕) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ และให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป

กฎหมายที่เกี่ยวข้องน่าจะมีเพียงเท่านี้...


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 20-08-2008, 06:33
ข้อกฎหมายยาวมหาศาลเลยครับ..  :slime_hmm:

แต่สรุปสั้นๆ ได้ว่า ตราบใดยังไม่มีการสรรหาคนใหม่
คุณหญิงจารุวรรณก็ยังต้องดำรงตำแหน่งไปเรื่อยๆ

และขณะเดียวกันก็เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธาน-
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

เรียกง่ายๆ ก็คือตอนนี้มีตำแหน่งเป็น ผู้ว่าฯ รักษาการ
ด้วยมีเหตุสุดวิสัย ที่ยังไม่มีการตั้งคนใหม่เข้ามา

กรณีนี้คล้ายๆ กับที่ อดีตรักษาการนายกฯ ทักษิณ
รักษาการจนเกินกำหนดในรัฐธรรมนูญ เนื่องมาจาก
การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นโมฆะ ทำให้ต้องรักษาการ
ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ถึงขนาดเป็นตัวแทนประเทศไทย
บินไปประชุมกับสหประชาชาติ ก่อนถูกรัฐประหาร

ผมว่าต่อให้ยื่นตีความก็เอาผิดอะไรคุณหญิงไม่ได้ครับ
จะให้พ้นตำแหน่งยังไม่ได้เลยมั๊ง เพราะการตั้งคนใหม่
ไม่ใช่หน้าที่คุณหญิง แต่คุณหญิงมีหน้าที่รักษาการ
ความผิดจะไปตกที่ประธานกรรมการสรรหามากกว่า  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 07:37
เท่าที่อ่านมา กรรมการสรรหาคณะกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ รัฐธรรมนูญให้ใช้ "มาตรฐานเดียวกัน" ในคณะกรรมการสรรหา

น่าจะเป็น 7 อรหันต์ เหมือนๆ กัน

ส่วน คุณสมบัติผู้ที่จะเข้ารับการสรรหา จะแตกต่างกันออกไปตามความจำเป็นขององค์กรอิสระนั้น ๆ


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: GODFATHER ที่ 20-08-2008, 08:30
ไม่ผิดจริงก็ไม่เห็นจะต้องกลัวอะไรเลย....ทำอย่างนี้มันมีพิรุธตามที่เขาว่าจริง ทำง่ายๆแค่ออกทีวีตามที่เขาเชิญมาเพื่อให้ชี้แจงก็สิ้นเรื่อง ทองแท้ ทำอย่างไรมันก็เป็นทองแท้วันยังค่ำ หรือไม่ใช่......


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: exzcute ที่ 20-08-2008, 08:39
ไม่ผิดจริงก็ไม่เห็นจะต้องกลัวอะไรเลย....ทำอย่างนี้มันมีพิรุธตามที่เขาว่าจริง ทำง่ายๆแค่ออกทีวีตามที่เขาเชิญมาเพื่อให้ชี้แจงก็สิ้นเรื่อง ทองแท้ ทำอย่างไรมันก็เป็นทองแท้วันยังค่ำ หรือไม่ใช่......

อันนั้นทองแท้มานานแล้วมั่ง... ไม่เหมือนทองปลอมออกลูกเป็นทองยังต้องหนีคุกหางยัดรูตูดไปลอนดอน  :slime_smile2: :slime_smile2: :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: paper punch ที่ 20-08-2008, 08:55
ไม่ผิดจริงก็ไม่เห็นจะต้องกลัวอะไรเลย....ทำอย่างนี้มันมีพิรุธตามที่เขาว่าจริง ทำง่ายๆแค่ออกทีวีตามที่เขาเชิญมาเพื่อให้ชี้แจงก็สิ้นเรื่อง ทองแท้ ทำอย่างไรมันก็เป็นทองแท้วันยังค่ำ หรือไม่ใช่......

เอาประโยคนี้ ไปบอกพ่อเหลี่ยม ณ ลอนดอน หน่อยซิ


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: phutorn connection ที่ 20-08-2008, 09:16
ไม่ผิดจริงก็ไม่เห็นจะต้องกลัวอะไรเลย....ทำอย่างนี้มันมีพิรุธตามที่เขาว่าจริง ทำง่ายๆแค่ออกทีวีตามที่เขาเชิญมาเพื่อให้ชี้แจงก็สิ้นเรื่อง ทองแท้ ทำอย่างไรมันก็เป็นทองแท้วันยังค่ำ หรือไม่ใช่......

วันนี้กล้าพูด แต่วันที่ 11 สิงหากลับพูดอีกอย่าง :slime_smile2:

เมื่อวานยังเจอลุงหมักแฟนคลับที่เชื่อว่า ทำไมปปช.ไม่ตรวจสอบเอเอสทีวีเสียที ไปเล่นประเด็นความยุติธรรมไปโน่น พิมพ์ตอบไปขำไป เชื่อแล้วจริงๆว่าคนที่เค้าไม่รู้ ก็คือเค้าไม่รู้จริงๆ แต่ไอ้ที่แย่จริงๆก็คือดันไม่อยากจะรู้ด้วยนี่สิ...เหนื่อยใจ โดนด่าแต่ไม่โกรธแล้วล่ะ



หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 20-08-2008, 10:41
ไม่ผิดจริงก็ไม่เห็นจะต้องกลัวอะไรเลย....ทำอย่างนี้มันมีพิรุธตามที่เขาว่าจริง ทำง่ายๆแค่ออกทีวีตามที่เขาเชิญมาเพื่อให้ชี้แจงก็สิ้นเรื่อง ทองแท้ ทำอย่างไรมันก็เป็นทองแท้วันยังค่ำ หรือไม่ใช่......

ใครกลัว  :slime_bigsmile:
ดำรงตำแหน่งตามกฎหมายอยู่ดีๆ บอกว่ามีพิรุธ  :slime_doubt:
ไอ้คนที่สรรหาไม่เสร็จ ดันไม่มีความผิด  :slime_doubt:

โธ่เอ้ย


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-08-2008, 10:51
ประธานรัฐสภา เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสรรหา ก็เริ่มเลยสิ

ใช้ช่องทางที่มันถูกต้องตามรัฐธรรมนูญสิ อย่าชักช้า รีบๆ สรรหามา

คนที่ทำอยู่จะได้พ้นๆ หน้าที่ไป


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 20-08-2008, 12:46
ประธานรัฐสภา เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสรรหา ก็เริ่มเลยสิ

ใช้ช่องทางที่มันถูกต้องตามรัฐธรรมนูญสิ อย่าชักช้า รีบๆ สรรหามา

คนที่ทำอยู่จะได้พ้นๆ หน้าที่ไป
จะรีบไปไหน ขอแก้รัฐธรรมนูญก่อนสิ ขืนสรรหาโดยใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบันก็ไม่ได้พวกตัวเองเข้าไปทำงานสิ :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: ริวเซย์ ที่ 20-08-2008, 12:54
ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ก็แค่พ้นวาระแล้วแต่รักษาการเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

ไม่มีบทลงโทษด้วย

ดังนั้นประธานวุฒิสภาก็สรรหาคนใหม่มาแทนก็สิ้นเรื่อง


หัวข้อ: Re: จาก คตส.สู่ ปปช. คราวนี้ ลิ่วล้อ บุก คุณหญิง สตง. อย่างเป็นระบบ
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 20-08-2008, 13:23
ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ก็แค่พ้นวาระแล้วแต่รักษาการเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

ไม่มีบทลงโทษด้วย

ดังนั้นประธานวุฒิสภาก็สรรหาคนใหม่มาแทนก็สิ้นเรื่อง
ก็ไม่เกินกำหนดนี่ครับ เพราะวรรคสองก็เขียนดักไว้แล้วว่าให้รักษษการแทนจนกว่าจะได้คนใหม่ แต่บางคนนี่สิีกฎหมายรองรับรึเปล่า ถ้าไม่มีก็เป็นแค่รักษาการเถื่อนไปครับ จะโดนรองเท้าคอมแบทถีบตกเก้าอี้ก็ไม่แปลก :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: จารุวรรณ-พปช.' โต้เดือด ปชป.ชื่นชมผลงานสตง.
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 21-08-2008, 04:41
'จารุวรรณ-พปช.' โต้เดือด ปชป.ชื่นชมผลงานสตง.  
ไทยรัฐ[20 ส.ค. 51 - 21:32]
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (20 ส.ค.) มี พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม พิจารณารับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2550 ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ประชุม โดย ส.ส.พรรคพลังประชาชน ตั้งข้อสังเกตเรื่องการสรรหาผู้ว่าการ สตง.คนใหม่ ที่รัฐธรรมนูญ 2550 ในส่วนบทเฉพาะกาล มาตรา 301 บัญญัติให้สรรหาผู้ว่าการ สตง.ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภา และผู้นำฝ่ายค้าน หลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก ขณะนี้ 155 วันแล้ว แต่ยังไม่เริ่มกระบวนการ รวมถึงในอดีตที่ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการ สตง. ได้รับการแต่งตั้งโดยไม่ได้คะแนนสูงสุดตามระเบียบการสรรหา และยังมีการตั้งลูกชายเป็นเลขานุการ ส่วนตัว และอนุมัติให้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังส่งที่ปรึกษา นายไพบูลย์ นิติตะวัน มาเป็น ส.ว.สรรหา  ทั้งที่คุณหญิงจารุวรรณ เป็นคณะกรรมการสรรหา รวมถึงหลังจากรัฐประหารคุณหญิงจารุวรรณ มีตำแหน่งต่างๆ ถึง 5 ตำแหน่ง อาจมีอคติในการทำหน้าที่

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ในส่วนของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช ชื่นชมการทำงานของ สตง. โดยตั้งข้อสังเกตเล็กน้อยเรื่องการทุจริตในภาคการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวนมาก สตง.ควรเร่งรัดดำเนินคดี และน่าจะมีข้อเสนอเชิงมาตรการการเบิกจ่ายไปยังผู้อนุมัติเงินงบประมาณ

คุณหญิงจารุวรรณ กล่าวว่า เมื่อ สตง.พบเรื่องผิดปกติ จะเสนอเรื่องไปยังกระทรวงต้นสังกัดเพื่อให้ผู้บริหารแก้ไข ปรับปรุง กำกับดูแล และส่งเรื่องให้สำนักงบประมาณเพื่อนำไปพิจารณาจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจำปี ในปีงบประมาณถัดไป รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการ อย่างไรก็ดี มักได้รับคำตอบว่า ไม่มีอะไรเสียหาย จุดนี้ก็เป็นปัญหา ส่วนเรื่องการสรรหาผู้ว่าการ สตง.คนใหม่ ต้องให้วุฒิสภาชี้แจง

ผู้ว่าการ สตง. กล่าวต่อว่า ข้อกล่าวหาที่ว่า ตนเป็นผู้ว่าการ สตง.โดยไม่ถูกต้องนั้น ระเบียบดังกล่าวไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส่วนที่ตั้งลูกชายตนเป็นเลขานุการส่วนตัว นั้น ประธาน คตง.ในขณะนั้นเป็นคนตั้ง ตนไม่ได้ตั้งเอง ส่วนการพาไปต่างประเทศ ตนมีเงินพอไม่ได้ยากจน และจ่ายเอง มีใบเสร็จครบถ้วนและรายงานแล้ว ตนไม่ได้มีสันดานอย่างที่ว่ามา ส่วนเรื่องที่มีที่ปรึกษาตนมาเป็น ส.ว.สรรหานั้น บุคคลดังกล่าวต้องได้รับคะแนนจากกรรมการคนอื่นด้วยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ฉะนั้นตนเสียงเดียวเลือกไม่ได้

ด้าน พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่า กรณีการสรรหาผู้ว่าการ สตง.คนใหม่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร สอบถามไปยังประธานวุฒิสภาแล้วได้คำตอบว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2542 ถูกยกเลิก ขณะนี้ประธานวุฒิสภากำลังหาทางปรับปรุง พ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ เพื่อแก้ปัญหานี้โดยเร่งด่วน

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากอภิปรายกันอย่างกว้างขวางแล้วที่ประชุมได้รับทราบรายงานดังกล่าว และ พ.อ.อภิวันท์ ปิดประชุมในเวลา 19.10 น.