ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 02-08-2008, 15:42



หัวข้อ: เลือกตั้ง"เยอรมันโมเดล" ล้มระบบเผด็จการรัฐสภา!
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 02-08-2008, 15:42
เลือกตั้ง"เยอรมันโมเดล" ล้มระบบเผด็จการรัฐสภา!
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 11:33:00

นายคมสัน โพธิ์คง ฝ่ายเลขานุการกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อธิบายที่มาของระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน ของเยอรมัน โดยหวังว่าจะนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันเผด็จการรัฐสภา และเป็นการสะท้อนเสียงที่เป็นจริงของประชาชน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : "ที่มาของระบบการเลือกตั้งทั่วโลกนั้นมีเยอะมาก แต่ที่เป็นหลักใหญ่ๆ มี 3 ประการคือ ประการที่หนึ่ง การเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก ประการที่สอง การเลือกตั้งแบบสัดส่วน และแบบที่สาม การเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากผสมแบบสัดส่วน

เดิมประเทศเยอรมันนั้นเคยใช้การเลือกตั้งแบบที่หนึ่ง คือ คำนึงถึงเสียงข้างมาก คือคนที่ชนะก็ชนะไป คนที่แพ้ก็แพ้ไปเลยไม่มีสิทธิ์มีผู้แทนในสภา เป็นการวัดกันไปเลยระว่างคนชนะกับคนแพ้ ข้อดีคือ ถ้าได้รัฐบาลที่ดี มีคะแนนนิยมสูง จะเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็ง บริหารประเทศเพื่อพัฒนาคนชาติ แต่ข้อเสียคือ จะเกิดเผด็จการรัฐสภา

ทั้งนี้ เยอรมันใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก ได้ฮิตเลอร์มา 1 คน ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ว่าฮิตเลอร์ นั้นมาจากการชนะเลือกตั้ง จากนั้นเขาก็เข้าไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เขาเป็นผู้นำตลอดชีพ และมีพรรคการเมืองเดียวในสภา

ดังนั้น เมื่อสิ้นยุคฮิตเลอร์นักวิชาการเยอรมัน มาช่วยกันขบคิดเพื่อหาทางแก้ปัญหาเผด็จการรัฐสภา ซึ่งก็ได้รูปแบบใหม่คือ การเลือกตั้งแบบสัดส่วน ให้คำนึงถึงเสียงของประชาชนเป็นหลัก ประชาชนมีสิทธิออกเสียงเพื่อเลือกผู้แทนของตน ให้ประชาชนมีผู้แทนของตนในรัฐสภา

ขณะที่ประเทศไทย เมื่อปี 2540 การเลือกตั้งของเราใช้ระบบเสียงข้างมากผสมสัดส่วน โดยยึดเขตเลือกตั้งเป็นหลัก ค่อนไปทางเสียงข้างมาก โดยระบบเสียงข้างมากทำให้เกิด "พรรคเด่น"

ตอนนี้เราต้องการแก้ปัญหาหลายพรรคหลายมุ้ง แล้วเข้ามาต่อรองตำแหน่ง ต่อรองเก้าอี้ ต่อรองผลประโยชน์ ขาดความต่อเนื่องของฝ่ายบริหาร ดังนั้น รัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 จึงต้องการแก้ปัญหาตรงจุดนั้น ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งแบบให้มีทั้งส.ส.เขต และส.ส.บัญชีรายชื่อ

อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก ทำให้การเลือกตั้งเมื่อปี 2548 ปรากฎว่าพรรคไทยรักไทย ได้คะแนน 58.7% ไทยรักไทยได้ส.ส.เขต 310 คน ได้ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 67 คน รวมเป็น 377 คน เมื่อคำณวนตามจำนวนส.ส.ก็จะพบว่า พรรคไทยรักไทยได้ 77% ส่วนต่างของคะแนนที่เป็นจริงกับคะแนนที่ได้รับ เกือบ 20%

ส่วนพรรคการเมืองอื่น นั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้ 22% พรรคชาติไทยได้ 6.4% พรรคมหาชนได้ 4.6% เมื่อคิดตามจำนวนส.ส.จะพบว่าประชาธิปัตย์ได้ 95 คน พรรคชาติไทยได้ 25 คน พรรคมหาชนได้ 2 คน

หากนำสัดส่วนที่ได้จากการเลือกตั้งดังกล่าวมา คำนวณตามระบบการเลือกตั้ง "แบบสัดส่วน" พรรคประชาธิปัตย์จะต้องได้ส.ส.111 คน พรรคชาติไทย ต้องได้ส.ส. 32 คน และพรรคมหาชนต้องได้ส.ส. 21 คน ที่เหลือจะเป็นส.ส.พรรคไทยรักไทย 336 คน

ขณะที่การบัญญัติเรื่องการเลือกตั้งไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับรับฟังความคิดเห็นประชาชน

"มาตรา 91 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสี่ร้อยคน

ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่

ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงสี่ร้อยคน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร และต้องมีการเลือกตั้งจนครบจำนวนสี่ร้อยคนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ได้รับเลือกตั้งเข้ามานั้นอยู่ในตำแหน่งได้ เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่

มาตรา 92 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 91 ให้ดำเนินการตามวิธีการดังต่อไปนี้

(1) ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสามร้อยยี่สิบคน โดยการนำจำนวนประชาชนทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุด ท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามร้อย ยี่สิบคน เพื่อเป็นฐานในการคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในแต่ละ จังหวัด แล้วให้แบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดโดยให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เขตเลือกตั้งละสามคน ในกรณีที่จังหวัดใดไม่อาจจัดให้เขตเลือกตั้งใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรได้ครบจำนวนสามคน ให้แบ่งเขตเลือกตั้งตามวิธีการที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

(2) ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนจำนวนแปดสิบคน โดยให้แบ่งเป็นสี่เขตเลือกตั้ง โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนประชาชนที่ใกล้เคียงกันและมีพื้นที่ติดต่อ กัน ในแต่ละเขตเลือกตั้งให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนยี่สิบคนโดยใช้วิธีการ คำนวณหาสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากสัดส่วนคะแนนตามบัญชีรายชื่อที่ พรรคการเมืองจัดทำขึ้น บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้จัดทำขึ้นจะมีสัดส่วนที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

การแบ่งเขตเลือกตั้ง วิธีการเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การนับคะแนนเลือกตั้ง และวิธีคำนวณสัดส่วนในการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา"

ทั้งนี้ ในมาตรา 92 ยังเขียนไม่ชัดว่าเราจะเปลี่ยนรูปแบบการเลือกตั้งเป็นแบบสัดส่วน แต่มีความใกล้เคียงกับระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปีพ.ศ.2540 ซึ่งก็คือระบบเสียงข้างมากผสมสัดส่วน โดยยึดเขตเลือกตั้งเป็นหลัก

หากจะเรียกว่าเป็นการเลือกตั้งแบบสัด ส่วน จะต้องแบ่งครึ่งระหว่างส.ส.แบบเขตเลือกตั้งกับส.ส.แบบสัดส่วน กล่าวคือถ้ามีส.ส.500 คน จะต้องมีส.ส.แบบเขตเลือกตั้ง 250 คน ส.ส.แบบสัดส่วน 250 คน จะทำให้แก้ปัญหาการเลือกตั้ง ระบบเสียงข้างมากผสมสัดส่วน โดยยึดเขตเลือกตั้งเป็นหลัก ซึ่งมีระบบ โบนัส แต่ โบนัส ที่ได้ไม่ใช่เงิน แต่เป็นที่นั่งส.ส.ให้พรรคที่ได้คะแนนมากยิ่งได้มากขึ้นไปอีก

ระบบเลือกตั้งแบบนี้ ทำให้คะแนนเสียงประชาชน "เพี้ยน" ไป

ข้อดีของการเลือกตั้งระบบสัดส่วน ก็คือ คะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกไม่ได้ทิ้งหายไป

ส่วนวิธีการคำนวนเสียงส.ส.แบบสัดส่วน นั้น หากสภามีส.ส. 500 คน พรรคการเมือง ก.ได้คะแนนพรรค 50% ซึ่งก็เท่ากับว่าจะได้ส.ส. 250 คน แต่จำนวนส.ส. 250 คนนั้นก็จะไปดูว่าพรรคการเมือง ก. ได้ส.ส.ระบบเขตกี่คน หากได้ส.ส.เขต 80 คน ก็ให้ไปเอาส.ส.สัดส่วนมาอีก 70 คน ก็จะได้ส.ส.250 คน

ทั้งนี้ พรรคการเมืองคงไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งแบบสัดส่วน เพราะพรรคใหญ่ย่อมมีผลกระทบแน่ แต่ส่วนตัวผมว่าพวกเขาคือกลุ่มผลประโยชน์ที่จะได้รับจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ดังนั้น พวกเขาควรฟังเสียงประชาชนหากประชาชนต้องการอย่างไร พวกเขาต้องยอมรับ พวกเขาไม่มีสิทธิ์ชี้นำว่าจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญนี้เพียงเพราะตัวเอง เสียประโยชน์

สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี

http://www.bangkokbiznews.com/2007/05/02/WW01_0106_news.php?newsid=66993 (http://www.bangkokbiznews.com/2007/05/02/WW01_0106_news.php?newsid=66993)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

Federal Republic of Germany

[edit] Election system
Political System
Political System

Germany elects on federal level a legislature. The parliament has two chambers. The Federal Diet (Bundestag) nominally has 598 members, elected for a four year term, 299 members elected in single-seat constituencies according to first-past-the-post, while a further 299 members are allocated from statewide party lists to achieve a proportional distribution in the legislature, conducted according to a system of proportional representation called the additional member system. Voters vote once for a constituency representative, and a second time for a party, and the lists are used to make the party balances match the distribution of second votes. In the current parliament there are 16 overhang seats, giving a total of 614. This is caused by larger parties winning additional single-member districts above the totals determined by their proportional party vote.

Germany has a multi-party system, with two strong parties and some other third parties that are electorally successful.

Elections are conducted every 4 years, with the exact date of the election chosen by the outgoing government. The Bundestag can be dismissed and a new election called before the four year period has ended, but this usually only occurs in the case of a government losing its majority.

German nationals over the age of 18 are eligible to vote, including most Germans resident outside Germany, and eligibility for candidacy is essentially the same as eligibility to vote.

The Federal Council (Bundesrat) has 69 members representing the governments of the states.

http://en.wikipedia.org/wiki/Elections_in_Germany#Election_system (http://en.wikipedia.org/wiki/Elections_in_Germany#Election_system)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขุดของเก่ามาเล่น เห็นคนพยายามเสนอแนวทาง และรูปแบบการเลือกตั้ง เบื่อแล้ว winner takes all เสียงส่วนน้อยมี่ค่าเท่ากับศูนย์

อย่างที่เราเห็นๆ กันว่า บางที ชนะกันคะแนนห่างกันไม่มาก แต่ปรากฏว่า ไปๆ มาๆ คะแนนที่เหลือรวมๆ กัน อาจจะมากกว่าเสียงที่บอกว่ามาจากเสียงส่วนมาก กลับกลายเป็นศูนย์ หายไปกับอากาศ ไม่มีค่า ไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เคยเสนอไว้ตอนร่าง รธน 50 เพราะคนแย้งมาแย้งว่า แล้วเวลาคิดคะแนนจะคิดยังไง จะประกาศผลเลือกได้ยังไง (ใครจะบ้าเขียนใน รธน นั่นมันต้องเป็นกฎหมายประกอบฯ) ไปๆ มาๆ สภาร่างฯ เลยแพ้โหวต

ที่จริงก็ยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องระบบเลือกตั้งแบบนี้หรอก ฟังๆ เค้าเล่ามา เห็นว่าน่าสนใจดีออก ใครพอจะอธิบาย แบ่งปันความรู้ได้ก็จะดีมากเลยค่ะ

ปล. สงสัยต้องเรียก นู๋ ม. มาเป็นคนแรก อิอิ (ว่าแต่จานวรเจตน์ ไม่ลองมาอธิบายดูหล่ะคะ เป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายเยอรมันไม่ใช่เหรอ)  :slime_smile:

(ลองเทียบดู คะแนนสัดส่วน ปชป กะ พปช เกือบจะเท่ากัน แต่จำนวน สส กลับต่างกันมาก เป็นเพราะระบบเลือกตั้งของเรา ไม่ได้สะท้อนเสียงของประชาชนที่แท้จริงหรือเปล่า)