ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 02:29



หัวข้อ: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 02:29
จากกรณีรัฐบาลสมัคร กับปราสาทพระวิหาร ทำให้มีข้อมูลหลั่งไหลออกมามากมาย
แต่อาจไม่สะดวกในการจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ ผมก็เลยลองสรุปข้อมูลที่พอหาได้
จัดทำเป็นบทความขนาดไม่ยาวนัก ที่พอจะพิมพ์ได้ใน 2 หน้ากระดาษ A4 (1 แผ่น)

คุณพระพายได้กรุณาช่วยทำเป็นไฟล์ PDF และ MsWord ที่สะดวกในการเผยแพร่
ซึ่งผู้สนใจสามารถ Download ได้จากลิงค์นี้ครับ

http://www.savefile.com/files/1626944

เป็น zip ไฟล์ขนาดเพียง 86 kb (เล็กมาก) มีทั้งไฟล์ doc และ pdf
ถ้าเห็นว่าพอมีประโยชน์จะนำไปพิมพ์แจก หรือส่งต่อกันทางอีเมล์ก็เชิญได้นะครับ  :slime_smile:
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร==

เรื่องปราสาทพระวิหาร สรุปง่ายๆ ก็คือ "ไทยถูกฝรั่งเศสโกง" โดยการทำแผนที่ผิดสนธิสัญญา
ระหว่างไทยฝรั่งเศส พ.ศ. 2447 ที่ระบุเอาไว้ตั้งแต่มาตรา 1 ว่ากำหนดเส้นเขตแดนที่ "สันปันน้ำ"
และการทำแผนที่นั้นไม่อยู่ในข้อกำหนดใดๆ ของสนธิสัญญา  ศาลโลกวินิจฉัยว่าแผนที่ดังกล่าว
ไม่มีผลผูกพันมาแต่ต้น ..แผนที่ดังกล่าวจึงไม่เคยได้รับการรับรองจากประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน..

พื้นที่ปราสาทพระวิหารอยู่ในความครอบครองของไทยมาเกือบ 600 ปี นับแต่สมัยเจ้าสามพระยา
ที่เขมรถูกไทยตีนครธมแตก เมื่อปี พ.ศ. 1974 และเสียหายหนักจนย้ายเมืองหลวงไปพนมเปญ
ทิ้งปราสาทพระวิหารให้รกร้างอยู่ร่วม 500 ปี กระทั่งกรมหลวงสรรพสิทธิฯ พระเจ้าน้องยาเธอ
ในรัชกาลที่ 5 ขณะเป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ มณฑลอีสาน ทรงค้นพบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2442
ขณะนั้นปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนไทย เช่นเดียวกับบางส่วนของลาวและเขมร มีหลักฐาน
ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบและพระนาม ไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดี ข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ"

หลังฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีน ไทยและฝรั่งเศสมีการทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ซึ่งต่อมา
ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ผิดๆ ที่ไม่มีการระบุในสนธิสัญญาให้ต้องจัดทำ มามอบให้ไทย 50 ชุด
ในแผนที่ไม่ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน และทำให้ปราสาทพระวิหารไปอยู่ในเขตของกัมพูชา
ไทยไม่ได้รับรองหรือคัดค้านความถูกต้องของแผนที่แต่อย่างใด และต่อมาฝรั่งเศสได้ส่งทหาร
เข้าประจำการที่ปราสาทพระวิหารโดยไม่มีสนธิสัญญาใดๆ รองรับ

ต่อมาฝรั่งเศสอ่อนแอลงหลังรบแพ้เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 และรบแพ้ไทยใน สงคราม-
พิพาทอินโดจีน เมื่อ พ.ศ. 2484 ทำให้ต้องคืนดินแดนให้ไทย ครอบคลุมถึงปราสาทพระวิหาร
ซึ่งไทยได้สร้าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสรณ์แด่ผู้พลีชีพในสงครามที่มีชัยเหนือฝรั่งเศส
แต่หลังสงครามโลก ไทยต้องคืนดินแดนที่ยึดคืนได้ให้ฝรั่งเศส แลกกับการไม่เป็นผู้แพ้สงคราม
และได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ

พ.ศ. 2502 ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส มีการฟ้องร้องไทยต่อศาลโลก โดยอ้างอิง
แผนที่ ที่ฝรั่งเศสทำไว้โกงๆ แล้วส่งมาให้ไทยใช้ กัมพูชาอ้างต่อศาลว่าฝรั่งเศสโกงแล้วไทยไม่ค้าน
แสดงว่ายอมยกปราสาทพระวิหารให้ฝรั่งเศส  ดังนั้นกัมพูชาก็ควรได้รับสิทธิโกงปราสาทสืบต่อด้วย

คำตัดสินของศาลโลกเห็นได้ชัดว่าลำเอียงเข้าข้างเขมรมากๆ เพราะไม่มีหลักฐานเป็นทางการใดๆ
ว่าผู้มีอำนาจฝ่ายไทยให้การรับรองแผนที่ขี้โกงนั้น แม้แต่ศาลโลกเองก็ยังยอมรับว่าฝรั่งเศสโกง
แต่อ้างหลักว่าไทย "นิ่งเฉย" แล้วศาลเหมาเอาว่าไทยให้การรับรอง

นอกจากนี้ศาลโลกยังให้ความสำคัญกับการกระทำต่างๆ ของบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้แทนประเทศไทย
โดยตีความการกระทำต่างๆ ว่าสามารถรับรองความถูกต้องของแผนที่ขี้โกง และรับรองอธิปไตย
ของฝรั่งเศสเหนือปราสาทพระวิหาร เช่น การเยือนปราสาทพระวิหารของกรมพระยาดำรงฯ

ในขณะที่สนธิสัญญาเท่านั้นที่ทำโดยผู้มีอำนาจจริง และได้ระบุการแบ่งเขตแดนด้วยสันปันน้ำ
ไว้ตั้งแต่มาตราแรกอย่างชัดเจนแต่ศาลกลับอ้างว่าสนธิสัญญาถูกลบล้างโดยการนิ่งเฉยของไทย
ต่อแผนที่ขี้โกง ที่ทำขึ้นโดยไม่มีอะไรรองรับ

ฝรั่งเศสเองมีโอกาสหลายครั้งที่จะเสนอให้ไทยรับรองแผนที่นี้แต่ไม่เคยเสนอ หากจะถือเกณฑ์
เดียวกันก็จะได้ว่าฝรั่งเศสเองก็นิ่งเฉยที่จะให้ไทยรับรองแผนที่เช่นกัน มีหลักฐานคือสนธิสัญญา
ที่ทำใหม่ใน ปี พ.ศ. 2468 และ พ.ศ. 2480 ต่างมีข้อความยืนยันเส้นเขตแดนตาม สนธิสัญญา
ปี พ.ศ. 2447 ที่ถือตามสันปันน้ำ และไม่มีการอ้างอิงแผนที่ขี้โกงแต่อย่างใด

สรุปว่าหลังถูกฝรั่งเศสโกงและเขมรโกงตามน้ำ รัฐบาลไทยยังรู้สึกว่าถูกศาลโลกโกงซ้ำอีกด้วย

หลังคำตัดสินศาลโลก รัฐบาลไทยจึงมีหนังสือคัดค้านคำตัดสินและประกาศสงวนสิทธิโดยชัดแจ้ง
ที่จะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนหากมีสิทธิประการใดเกิดขึ้นในอนาคต
(เช่น มีการจัดตั้ง
องค์กรระหว่างประเทศใหม่ๆ เช่น ศาลคดีพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศ หรือมีกฎหมายใหม่ๆ
เช่น กฎหมายสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม ฯลฯ) โดยมีเนื้อความบางส่วนดังนี้

"รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใดๆ
ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการ
กฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา"


การที่รัฐบาลสมัคร รับรองสิทธิของกัมพูชาตามคำตัดสินศาลโลกจึงเท่ากับลบล้างคำประกาศ
สงวนสิทธิที่รัฐบาลไทยได้เคยทำไว้ กลายเป็นการประกาศสละสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร
อย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลไทย


ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ อาจเท่ากับประกาศยอมรับความถูกต้องของแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสทำโกงไทยไว้
และมีพื้นที่ครอบคลุมแนวชายแดนอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่จำกัดเฉพาะพื้นที่ไม่กี่ตารางกิโลเมตร
บริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น

รัฐมนตรีนพดล และรัฐบาลสมัคร ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องเร่งรีบสนองประโยชน์เขมร
เพราะไม่ได้เป็นรัฐมนตรีเขมรหรือรัฐบาลเขมร ที่กำลังจะมีเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 กรกฎาคม นี้
เรื่องปราสาทพระวิหารจะสร้างคะแนนให้พรรครัฐบาลของสมเด็จฮุนเซ็นที่เป็นเพื่อน พตท.ทักษิณ
ในขณะที่ไทยยังไม่ได้ประโยชน์จากกรณีปราสาทพระวิหารเลย ทั้งที่รัฐบาลได้เปรียบในการต่อรอง

สรุปว่ารัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีนพดลกระทำผิดพลาดร้ายแรงกรณีปราสาทพระวิหาร  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: moon ที่ 24-06-2008, 02:46
น่าจะใส่ข้อความที่จอมพลประภาส ได้พูดไว้ตอนที่เราต้องเอาธงลงมาด้วย และ บางส่วนของหนังสือคัดค้าน

จะทำให้ข้อมูลแน่นยิ่งขึ้น (สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ติดตามหรือไม่รู้มาก่อน อันนี้สำหรับผู้ที่ติดตามหรือผู้ที่รู้แล้ว)

ขออภัยที่วิจารณ์ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 03:04
น่าจะใส่ข้อความที่จอมพลประภาส ได้พูดไว้ตอนที่เราต้องเอาธงลงมาด้วย และ บางส่วนของหนังสือคัดค้าน

จะทำให้ข้อมูลแน่นยิ่งขึ้น (สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ติดตามหรือไม่รู้มาก่อน อันนี้สำหรับผู้ที่ติดตามหรือผู้ที่รู้แล้ว)

ขออภัยที่วิจารณ์ ขอบคุณครับ

ยินดีครับคุณ moon .. ขอบคุณที่ช่วยกันปรับปรุง  :slime_v:

ผมลองใส่เข้าไปนิดหน่อยเพราะต้องการจำกัดหน้ากระดาษ
ทำเป็น ตัวเอียง คิดว่าคงพอเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพได้

จุดประสงค์หลักของบทความคือต้องการชี้ให้เห็นว่าไทย
ถูกฝรั่งเศสและเขมรโกงอย่างไร ศาลตัดสินบิดเบี้ยวอย่างไร

ไทยจึงมีความชอบธรรมที่จะประท้วงคำตัดสิน และประกาศ
สงวนสิทธิในการทวงประสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต

ถ้าพิมพ์บีบๆ หน่อยใช้ font ขนาด 15pt น่าจะพิมพ์ใส่ใน A4
2 หน้า (1 แผ่น) เพื่อทำเป็นใบปลิวเผยแพร่ได้นะครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: moon ที่ 24-06-2008, 03:22
เยี่ยมเลยครับ ตรงนี้แหละที่โดน และยังมีอีก รู้สึกคุณ jerasak จะเคยเอากรณีที่สหรัฐอเมริกาละเมิดคำตัดสินของศาลโลกหลายครั้งใช่มั้ย

ถ้าใช่ มันจะหักล้างคำพูดที่ว่าเราต้องยอมรับการตัดสินของศาลโลกไปโดยปริยาย ทำเป็นหมายเหตุเล็กๆ ก็ได้ จะได้แน่นยิ่งขึ้นไปอีก


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 24-06-2008, 04:05
กรณีนี้ใช้ความรู้สึกล้วนๆไม่ต้องอิงหลักฐานประวัติศาสตร์ใดๆ

สรุปได้อย่างชัดเจนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นแค่ผลประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเงื่อนแบบเหลี่ยมๆเหมือนเช่นเคย

คนมันโลภ...และไม่เคยพอ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 04:12
เยี่ยมเลยครับ ตรงนี้แหละที่โดน และยังมีอีก รู้สึกคุณ jerasak จะเคยเอากรณีที่สหรัฐอเมริกาละเมิดคำตัดสินของศาลโลกหลายครั้งใช่มั้ย

ถ้าใช่ มันจะหักล้างคำพูดที่ว่าเราต้องยอมรับการตัดสินของศาลโลกไปโดยปริยาย ทำเป็นหมายเหตุเล็กๆ ก็ได้ จะได้แน่นยิ่งขึ้นไปอีก

จะลองหาทางใส่เข้าไปดูนะครับ คงได้แค่อ้างอิงสั้นๆ ในประโยคเดียว  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 04:15
กรณีนี้ใช้ความรู้สึกล้วนๆไม่ต้องอิงหลักฐานประวัติศาสตร์ใดๆ

สรุปได้อย่างชัดเจนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นแค่ผลประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเงื่อนแบบเหลี่ยมๆเหมือนเช่นเคย

คนมันโลภ...และไม่เคยพอ


รอข้อมูลเปิดโปงจากฝ่ายค้านในการอภิปรายพรุ่งนี้อยู่ครับ
ถ้าหากเข้าท่า ก็จะนำมารวมไว้ในส่วนท้ายของบทความ
แล้วส่งเผยแพร่เป็นการทั่วไปครับ
ถ้าฝ่ายค้านเปิดขึ้นมาแล้ว ก็เท่ากับไม่ได้อ้างเองลอยๆ  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 24-06-2008, 04:27
รอข้อมูลเปิดโปงจากฝ่ายค้านในการอภิปรายพรุ่งนี้อยู่ครับ
ถ้าหากเข้าท่า ก็จะนำมารวมไว้ในส่วนท้ายของบทความ
แล้วส่งเผยแพร่เป็นการทั่วไปครับ
ถ้าฝ่ายค้านเปิดขึ้นมาแล้ว ก็เท่ากับไม่ได้อ้างเองลอยๆ  :slime_smile:


จะรอชมการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน ตามระบอบของประชาธิปไตยแบบเหลี่ยมๆ

ในเวลา 13.00 น. ในวันพรุ่งนี้

หวังว่าคงจะใจกว้างให้มีการถ่ายทอดอย่างชัดเจนเต็มรูปแบบ

คงไม่ใช่รัฐบาลกำกวม ไม่กล้ายอมรับความจริง


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 24-06-2008, 08:11
อ้างถึง
หลังฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีน ไทยและฝรั่งเศสมีการทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447

อ้างถึง
จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ที่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จยุโรปเป็นครั้งที่ 2 (ครั้งที่ทรงแต่งเรื่อง “ไกลบ้าน”) จึงได้ทรงลงนามสัตยาบันในสัญญากับประธานาธิบดีฝรั่งเศส แลกเปลี่ยนยกดินแดนเสียมเรียบ (อันเป็นที่ตั้งของนครวัดนครธมหรือกรุงศรียโสธรปุระ) กับพระตะบอง และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส ทั้งนี้โดยการแลก “จันทบุรี ตราด และด่านซ้าย (เลย)” กลับคืนมา (ครบรอบ 101 ปีในปี 2551 นี้)

เมื่อถึงตอนนี้นั่นแหละที่เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ทางด้านทิศตะวันออกของประเทศเรา มีพรมแดนและเส้นเขตแดนติดกัมพูชาและลาวอย่างที่เรารับรู้กันในปัจจุบัน และตัวปราสาทเขาพระวิหาร ก็ถูกขีดเส้นแดนให้ตกเป็นของฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อกัมพูชาได้รับเอกราช จึงอ้างสิทธิในการครอบครองปราสาทเขาพระวิหาร

กล่าวโดยย่อในสมัยของรัชกาลที่ 5 ที่มีสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เป็นเสนาบดีมหาดไทยนั้น ฝ่าย “รัฐบาลราชาธิปไตยสยาม” ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่ถือว่าปราสาทเขาพระวิหาร ขึ้นอยู่กับฝรั่งเศสไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันโดยสันติ และที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นหลักประกันในการรักษา “เอกราชและอธิปไตย” ส่วนใหญ่ของสยามประเทศเอาไว้

สองอันนี้คือสัญญาฉบับเดียวกันหรือเปล่าครับ
(อันล่างเอามาจากของ อ.ชาญวิทย์)



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 24-06-2008, 08:27
ถ้านายใจ และนายชาญวิทย์ ได้ไปเกิดใหม่ที่ประเทศไต้หวัน มันคงจะบอกว่า ..

"ประเทศไต้หวันเป็นของจีน" จีนก็ยังคงยืนยันว่า ไต้หวันไม่ใช่ประเทศแต่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน

ถ้าไอ้หมัก และนายนภดลได้มีโอกาสพบกับผู้นำของจีน มันคงจะบอกกับผู้นำจีนว่า ..

"มันผ่านมา 50 ปีแล้ว มันจบไปแล้ว .. ประเทศไต้หวันไม่ใช่ของจีน"

...


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 11:11
สองอันนี้คือสัญญาฉบับเดียวกันหรือเปล่าครับ
(อันล่างเอามาจากของ อ.ชาญวิทย์)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลังฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีน ไทยและฝรั่งเศสมีการทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ที่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จยุโรปเป็นครั้งที่ 2 (ครั้งที่ทรงแต่งเรื่อง “ไกลบ้าน”) จึงได้ทรงลงนามสัตยาบันในสัญญากับประธานาธิบดีฝรั่งเศส แลกเปลี่ยนยกดินแดนเสียมเรียบ (อันเป็นที่ตั้งของนครวัดนครธมหรือกรุงศรียโสธรปุระ) กับพระตะบอง และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส ทั้งนี้โดยการแลก “จันทบุรี ตราด และด่านซ้าย (เลย)” กลับคืนมา (ครบรอบ 101 ปีในปี 2551 นี้)

เมื่อถึงตอนนี้นั่น แหละที่เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ทางด้านทิศตะวันออกของประเทศเรา มีพรมแดนและเส้นเขตแดนติดกัมพูชาและลาวอย่างที่เรารับรู้กันในปัจจุบัน และตัวปราสาทเขาพระวิหาร ก็ถูกขีดเส้นแดนให้ตกเป็นของฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อกัมพูชาได้รับเอกราช จึงอ้างสิทธิในการครอบครองปราสาทเขาพระวิหาร

กล่าวโดยย่อในสมัยของ รัชกาลที่ 5 ที่มีสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เป็นเสนาบดีมหาดไทยนั้น ฝ่าย “รัฐบาลราชาธิปไตยสยาม” ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่ถือว่าปราสาทเขาพระวิหาร ขึ้นอยู่กับฝรั่งเศสไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันโดยสันติ และที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นหลักประกันในการรักษา “เอกราชและอธิปไตย” ส่วนใหญ่ของสยามประเทศเอาไว้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เป็นคนละฉบับกันครับ.. สัญญา ปี พ.ศ. 2447 เป็นสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 4
ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริเวณปราสาทพระวิหาร ส่วน ปี พ.ศ. 2450 เป็นฉบับที่ 5

เนื่องจากหลังเกิดเหตุการณ์ ร.ศ.112 ที่ฝรั่งเศสเอาเรือรบบุกเข้ามาถึงในกรุงเทพฯ
และไทยต้องทำ สัญญาฉบับที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2436 ซึ่งทำให้เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ฝรั่งเศสโกงต่อโดยยึดเมืองจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองสำคัญของไทยเอาไว้ไม่ยอมคืน

ทำให้ไทยต้องยอมทำสัญญาฉบับที่ 4 เพื่อแลกดินแดนบางส่วนกับเมืองจันทบุรี
ดินแดนส่วนหนึ่งในนั้นมีพื้นที่ติดปราสาทพระวิหาร โดยมาตรา 1 ของสนธิสัญญา
ระบุว่าให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน เท่ากับว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทย

ส่วนสัญญาปี พ.ศ. 2450 เป็นสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 5 แต่มีความต่อเนื่อง
กับสัญญาฉบับที่ 4 คือหลังจากฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทยแล้วยังโกงต่อด้วยการ
ยึดจังหวัดตราด ทำให้ไทยต้องยอมแลกดินแดนติดกับคราวสัญญาฉบับที่ 4 ให้
ฝรั่งเศส คือ เสียมราฐและพระตะบอง

โดยที่สัญญาฉบับนี้ก็อ้างอิงเส้นเขตแดนตามสัญญาฉบับที่ 4 คือใช้ "สันปันน้ำ"

ผมเอาแผนที่มาให้ดูด้วยจะได้เห็นภาพชัดเจน เลขที่กำกับคือลำดับสัญญานะครับ

(http://www.search-thais.com/thaihis/image/mapwar1.jpg)

มีเรื่องหนึ่งที่ผมเพิ่งสังเกตคือการแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. อาจมีความคลาดเคลื่อน
เพราะเหตุการณ์อยู่ก่อนปี พ.ศ. 2484 ที่มีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันสงกรานต์
มาเป็นวันที่ 1 มกราคม กำลังตรวจสอบความถูกต้องอยู่นะครับ
เรื่องนี้อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการแปลงศักราชได้ 1 ปี  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: เช็คบิล ที่ 24-06-2008, 11:14
ผมก็คิดแบบ จขกท นั่นแหละว่า เราต้องดูจุดเริ่มต้นก่อน แต่ถ้ามองถึงเรื่องกระแสชาตินิยม ผมก็ไม่อยากจะคิดเรื่องเอาตรงนี้มากนัก แต่ต้องทำให้มันเป็นหนามตำใจพวกกัมพูชา คือ ต้องยื่นร่วม

เพราะเราไม่เห็นชอบกับกัมพูชา ในการยื่นฝ่ายเดียว ดังนั้น ท่าทีของรัฐบาลต่างๆ ก็ไม่พยายามที่จะเห็นด้วยกับกัมพูชา และต้องยื่นร่วมมาตลอด

การปล้นครั้งนั้น ถ้าบอกกว่า กัมพูชา มีสิทธิ์โดยชอบ โดยอาศัยกฏหมายศาลโลกRaยำ ที่มันล่าอาณานิคมในครั้งนั้น ผมก็คิดว่า มันหน้าด้านสุดๆ

ถ้ามองในการพัฒนาประเทศในแถบนี้ ถ้ามันอยากได้ ก็ให้เฉพาะตัวปราสาท แล้วมันจะได้ไหมล่ะนั่น และพื้นที่เป็นของเรา ถ้าเราปิดทางขึ้น มันก็ขึ้นไม่ได้ เว้นแต่มันมีทางขึ้นฝั่งมัน และนั่นหมายถึง การวางแผนปล้นมาแล้วอย่างเป็นขบวนการ

ดังนั้น การยื่นคัดค้านที่จะมีขึ้นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว และคิดว่า รอให้คนในประเทศของเรา ทำความเข้าใจ มันจะดีกว่ามากที่สุด ทั้งนี้ อนาคตข้างหน้าถ้าเราเห็นชอบกับเขาก็จะไม่มีปัญหา สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ไอ้นพดลนี้มันพูดไม่หมด และรีบทำ ที่เป็นที่น่าสงสัย และคือบ่อเกิดปัญหาของเรื่องนี้ทั้งหมด

มันไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องรีบทำเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่มันผ่านมา 46 ปี ถ้าอีกสักร้อยปี มันจะตายหรือไม่? เรื่องแบบนี้นี่แหละคือระเบิดเวลาจริงๆ

เราเองก็ไม่อยากจะเป็นปัญหากับไอ้พวกเขมร มันไม่สนุกหรอก เรื่องแบบนี้ เพราะมันย่อมใช้ทุกวิถีทางทุกอย่างคอยแกล้งประเทศของเรา

ความอ่อนแอนี้เป็นเพราะระบบทุนนิยมที่แทรกแซงในทุกระดับของระบบข้าราชการ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 11:44
ผมก็คิดแบบ จขกท นั่นแหละว่า เราต้องดูจุดเริ่มต้นก่อน แต่ถ้ามองถึงเรื่องกระแสชาตินิยม ผมก็ไม่อยากจะคิดเรื่องเอาตรงนี้มากนัก แต่ต้องทำให้มันเป็นหนามตำใจพวกกัมพูชา คือ ต้องยื่นร่วม

เพราะเราไม่เห็นชอบกับกัมพูชา ในการยื่นฝ่ายเดียว ดังนั้น ท่าทีของรัฐบาลต่างๆ ก็ไม่พยายามที่จะเห็นด้วยกับกัมพูชา และต้องยื่นร่วมมาตลอด

การปล้นครั้งนั้น ถ้าบอกกว่า กัมพูชา มีสิทธิ์โดยชอบ โดยอาศัยกฏหมายศาลโลกยำยำ ที่มันล่าอาณานิคมในครั้งนั้น ผมก็คิดว่า มันหน้าด้านสุดๆ

ถ้ามองในการพัฒนาประเทศในแถบนี้ ถ้ามันอยากได้ ก็ให้เฉพาะตัวปราสาท แล้วมันจะได้ไหมล่ะนั่น และพื้นที่เป็นของเรา ถ้าเราปิดทางขึ้น มันก็ขึ้นไม่ได้ เว้นแต่มันมีทางขึ้นฝั่งมัน และนั่นหมายถึง การวางแผนปล้นมาแล้วอย่างเป็นขบวนการ

ดังนั้น การยื่นคัดค้านที่จะมีขึ้นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว และคิดว่า รอให้คนในประเทศของเรา ทำความเข้าใจ มันจะดีกว่ามากที่สุด ทั้งนี้ อนาคตข้างหน้าถ้าเราเห็นชอบกับเขาก็จะไม่มีปัญหา สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ไอ้นพดลนี้มันพูดไม่หมด และคือบ่อเกิดปัญหาของเรื่องนี้ทั้งหมด

มันไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องรีบทำเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่มันผ่านมา 46 ปี ถ้าอีกสักร้อยปี มันจะตายหรือไม่? เรื่องแบบนี้นี่แหละคือระเบิดเวลาจริงๆ

เราเองก็ไม่อยากจะเป็นปัญหากับไอ้พวกเขมร มันไม่สนุกหรอก เรื่องแบบนี้ เพราะมันย่อมใช้ทุกวิถีทางทุกอย่างคอยแกล้งประเทศของเรา

ความอ่อนแอนี้เป็นเพราะระบบทุนนิยมที่แทรกแซงในทุกระดับของระบบข้าราชการ

เขมรพยายามปลุกกระแสชาตินิยม โดยอ้างอิงความสัมพันธ์ทางชนชาติว่าเขมรคือขอม
ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าเขมรได้ลิขสิทธิ์ผูกขาดความเป็นลูกหลานขอมตั้งแต่เมื่อไหร่

เรื่องหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ ประชาชนชาวอีสานใต้จำนวนมากก็มีเชื้อสายเขมรเหมือนกัน
และอยู่ในพื้นที่ต่อเนื่องมาหลายร้อยปีแล้ว ในขณะที่เมื่อเกือบ 600 ปีก่อน กษัตริย์เขมร
ได้อพยพย้ายเมืองหลวงไปหลายแห่ง จนสุดท้ายไปอยู่ที่พนมเปญ

ถามว่าหากจะอ้างชาติพันธุ์กันจริงๆ บรรดาประชาชนชาวอีสานใต้ของไทยที่อยู่ในพื้นที่
บริเวณปราสาทพระวิหารเช่นชาวศรีสะเกษ จะไม่มีสิทธิในปราสาทพระวิหารหรือ?

เทียบกับประชาชนชาวเขมรประมาณสิบล้านคนเศษ ที่ปัจจุบันก็ผสมกับชาวเวียดนาม
และชาวจีนไปแล้วไม่รู้เท่าไหร่ และไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าชาวเขมรปัจจุบันเคยอาศัย
ในพื้นที่ปราสาทพระวิหารตอนที่สร้างปราสาท ไม่แน่ว่าชาวศรีสะเกษอาจเป็นลูกหลาน
ของผู้สร้างปราสาทพระวิหารตัวจริงก็ได้ ขณะที่ชาวเขมรปัจจุบันอยู่แต่ที่พนมเปญ

...

เพราะไม่ว่าจะวาดภาพระบายสีแสดงขอบเขตอาณาจักรโบราณอย่างไร จะเป็นอาณาจักร
หริภุญชัยของมอญ อาณาจักรอยุธยาของไทย อาณาจักรพุกามของพม่า อาณาจักรขอม
ของชาวเขมร ความจริงแล้วชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ก็ยังคงเป็นเผ่าพันธุ์เดิมของพื้นที่นั้นๆ

ไม่ใช่ว่าไทยไปครอบครองอีสานเหนือแล้วจากลาวจะกลายเป็นไทย หรือไปครอบครอง
อีสานใต้แล้วจากเขมรจะกลายเป็นไทย หรือไปครอบครองภาคใต้แล้วแขกจะเป็นไทย
ชาวบ้านแต่ละพื้นที่ก็ยังคงเป็น ลาว เขมร แขก อยู่เหมือนเดิม 

ที่จะมีไม่เหมือนเดิมจริงๆ ก็คือตัวผู้นำที่อพยพย้ายไปตามเขตอิทธิพลตัวเองเท่านั้น
ซึ่งกรณีกษัตริย์เขมรก็เก็บข้าวของหนี ทิ้งดินแดนไปอยู่เป็นเพื่อนเวียดนามนานแล้ว
ทิ้งให้ปราสาทพระวิหารรกร้างอยู่ถึง 500 ปี กระทั่งเจ้านายฝ่ายไทยเป็นผู้ไปค้นพบ
ในภายหลังเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา

ดังนั้นไม่แปลกอะไรถ้าชาวศรีสะเกษจะเิดินขบวนเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืน
เพราะถือเป็นโบราณสถานของบรรพบุรุษ ที่ค้นพบบนแผ่นดินแม่ของพวกเขาแท้ๆ

ในขณะที่ประเทศไทยก็ทรงสิทธิในฐานะเจ้าของดินแดนก่อนที่จะถูกโกงสนธิสัญญา
และกัมพูชามีสิทธิแค่สืบทอดการโกงจากฝรั่งเศส โดยอ้างว่าไทยไม่คัดค้านการโกง
และอาศัยคำตัดสินเพี้ยนๆ ของศาลโลกมาบังหน้าเท่านั้น  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 12:10
ผมเพิ่งค้นพบข้อมูลว่าตระกูล "ปัทมะ" ของคุณนพดล รัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบัน
น่าจะมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ เพราะพบคนตระกูลนี้มากที่สุด แม้ว่าส่วนใหญ่
จะอยู่ใน อ.ราศรีไศล แต่ก็มีจำนวนมากอยู่ใน อ.กันทรลักษ์ ด้วย

(http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Srisakes/images/srisaket-map.gif)

ไม่แน่ว่าบรรพบุรุษของคุณนพดล อาจเป็นคนลากหิน หรือแกะสลักปราสาทพระวิหาร
คุณนพดลน่าจะคิดปกป้องสมบัติของบรรพบุรุษ และแผ่นดินเกิด

(http://hilight.kapook.com/admin_hilight/spaw2/imghilight4/newimages/3_32.jpg)
ถึงไม่ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีของไทย ก็ไม่น่าทำตัวเหมือนโฆษกรัฐบาลเขมรแบบนี้  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: moon ที่ 24-06-2008, 12:17
ไม่ต้องห่วงเรื่องขนาดตัวหนังสือหรอกครับ ถ้าจะเป็น 3 หรือ 4 หน้าก็ช่างมัน

แต่ให้ได้ข้อมูลครบถ้วน และสามารถหักล้างสิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลจะอภิปรายในวันนี้

ได้เป็นพอ ตั้งธงสื่อให้ผู้ที่ยังไม่เคยรับรู้ ผุ้ที่ยังคลุมเครือ ผู้ที่คัดค้าน ได้ทราบ

ส่วนผุ้ที่รับทราบแล้วปล่อยไป ให้เขาอ่านแล้วรุ้สึกว่าทุกอย่างมันได้ถูกปลดล็อค

หมดทุกอย่าง มิฉะนั้น จะเป็นใบปลิวโจมตีทั่วๆ ไป ไม่มีน้ำหนัก

   ขออภัยที่ขอมากไป แต่ผมรู้น้อยจริงๆ ไม่สามารถหาข้อมูลได้อย่างคูณ

ได้แต่รอแล้วก็ขอ  ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: เช็คบิล ที่ 24-06-2008, 12:23
มาคิดในอีกมุม

ครั้งนี้อาจเป็นแผนที่วางหมากกันมาแล้ว หลายปี

เพราะฮุนเซนกำลังจะเลือกตั้งแล้วใช้นโยบายนี้หาเสียง ประกอบกับปลุกเรื่องคลั่งชาติเป็นประเด็นในกัมพูชา ที่สำคัญที่สุดคือ อาจมีการวางแผนจากฝ่ายไทยโดยบางคน หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ แต่ผมไม่เชื่อว่าจะไม่มี

การสมคบคือการหลอกให้ข้าราชการที่ดูแลเรื่องสนธิสัญญา ให้ตกบ่วงปมปัญหาโดยอ้างเรื่องข้อกฏหมายของศาลโลกRayam ที่มันมามัดคอประเทศไทย

แล้วก็เป็นการเตะหมูเข้าปาก*** ไปฟรีๆ เผลอๆ พื้นที่โดยรอบก็อาจจะโดนอ้าง เพราะเกมมันวางหมากเอาไว้มาก่อน

และเป็นข้อสังเกตของ รมต.นายนพดล ที่รีบร้อนจนเกินไป และอ้างเรื่องจะต้องทำให้เกิดความชอบธรรมบ้าบออะไรนั่น ไม่ใช่เลย นายไม่มีสิทธิ์ที่จะมาตัดสินเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ยืดมา 46 ปี แต่กะ***นกะหือ จะต้องทำให้ได้ เพื่ออะไร?

ความชอบธรรม มันไม่มีหรอก สำหรับเรื่องเขาพระวิหาร ที่ศาลโลกRaยำ ที่มันตัดสิน ถ้านายนพดลเห็นว่า ถูกต้องตามหลักกฏหมาย ทั้งปวง แน่ล่ะ ก็แสดงว่าการจะโกงใคร ถ้าทำถูกกฏหมายได้ มันก็รอดตัว

สันดานแบบนี้แหละ ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นปมปัญหา เพราะความเห็นแก่ตัว ไม่เคารพหลักกฏหมาย และไร้ศีลธรรม

เอาล่ะเรื่องศาลโลกระyam จะไม่เขียนต่อ

สังเกตไหมหลายรัฐบาลที่พยายามยื้อมาตลอด มันก็เงียบไป แต่พอมาปีนี้ มันกลับมาดังขึ้นมาและนายนพดลพูดว่า เสียงดังไปไม่ได้ เพราะข้างบ้านกำลังจะเลือกตั้ง เพราะอะไร?

แบบนี้หมายความว่าอย่างไร?

ถ้าในมุมมองประชาชนคนหนึ่ง ย่อมตีความได้ว่า สมคบคิดกัน และมีความเป็นไปได้สูง และเดินหมากให้ประเทศตกอยู่ในวังวน และอีกฝั่งก็เสวยสุข

เหมือนกับหมากสองชั้น เพราะทราบดีว่า อีกไม่นานรัฐบาลจะอยู่หรือไม่ พวกเขาทราบดีอยู่แล้ว ก็เลยต้องรีบ

สุดท้ายพวกคนที่ตกในปมปัญหา ก็คือข้าราชการที่ดูแล และทหารไทย ที่อาจเป็นจำเลยในสายตาประชาชน และคนที่เสวยสุข ก็คือ....


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-06-2008, 12:44
ประเด็นสำคัญคือ มรดกโลก ควรใช้เป็นสิ่งเชื่อมโยงของมนุษย์ทั้งโลก เพื่อศึกษา / ชื่นชมร่วมกัน

แต่รัฐบาลนี้กลับลืมแม้ความตกลงของครม.ร่วม ไทย/เขมร ( สมัยหน้าเหลี่ยม ปี 2547 ) ที่ให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน

เมื่อเขมรยื่นเรื่องเพื่อขอขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวในปี 2549  ไทยได้คัดค้านมาตลอด แม้ในปี 2550 องค์กรมรดกโลกก้ได้ยุติเรื่องไว้ก่อน

เพื่อจะพิจารณาในเดือน กรกฏา 2551

ที่สำคัญ การไปรับรองแผนที่ของเขมรก่อนที่จะเจรจาส่วนประกอบอื่นๆของเขาพระวิหารที่เป็นของไทยซึ่งจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก

ทำให้ไทยเสียเปรียบ เพราะเขมรถือว่าอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน ตรงนี้คือข้อด้อยไทยเสียเปรียบ

เพราะไม่แน่ว่า แม้นายนพดล ปัทมะเสนอแผนที่เข้าไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว

เขมรจะยอมรับหรือไม่ ไทยจึงไม่ควรไปยอมรับแผนที่ของเขมร

เว้นแต่ขึ้นทะเบียนพร้อมกันและตกลงพื้นที่ทับซ้อนให้ได้เสียก่อน

คุณจีฯ ลองเอา "ล้อมกรอบคมชัดลึก" ที่เล่าเรื่อง การขึ้นทะเบียนมรดลโลกไว้ในตอนท้ายบทความก็จะดีมากๆครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: เช็คบิล ที่ 24-06-2008, 12:45
ปักหมุดเลยดีไหมครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 24-06-2008, 12:57
เอามาเสริมครับ ทำไมศาลโลก จึงยกปราสาทเขาพระวิหาร ให้กัมพูชา

เราเคยคัดเอาคำพิพากษา มาให้อ่านแล้วดังนี้......คำตัดสินของศาลโลก อ้างภาษิต ลาตินว่า...
ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ ย่อมถือว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถจะพูดได้...
ไทยเราแย้งเพิ่มว่า มีแค่ข้าราชการผู้น้อยที่เห็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำผิด ไม่ทำตามข้อตกลงที่ให้ใช้เส้นสันปันน้ำเป็นเขตุแดน แต่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ไม่รู้ห็น จึงไม่ได้คัดค้าน
ศาลบอกว่า...จะเห็นได้ชัดจากหนังสือจากอ้ครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส
ที่ส่งไปยังเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศในกรุงเทพ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม
คศ ๑๙๐๘ ...ว่าได้มีผู้นำแผนที่ชุดหนึ่งมามอบให้เพื่อจัดส่งต่อไปยัง
เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศสยาม...รวมทั้งแผนที่บริเวณทิวเขาดงรัก
อย่างละ ๕๐ ชุด อ้ครราชทูตลงท้ายด้วยว่า จะเก็บไว้ที่สถานอ้ครราชทูต
อย่างละ ๒ ชุดและจะได้ส่งไปยังแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอ้ครราชทูต
ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซียและสหรัฐอเมริกา.....
..ข้อที่ว่าเจ้าหน้าที่สยามโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง-ได้ตอบรับและ
ทราบดีถึงลีกษณะของแผนที่เหล่านี้พร้อมทั้งสิ่งที่แผนที่เหล่านี้แสดงนั้น
จะเห็นได้ชัดจากการที่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ
ได้ทรงขอบพระทัยอ้ครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้น
และได้ทรงขอแผนที่ต่ออ้ครราชทูตเพิ่มเติมอีกย่างละ ๑๕ ชุด เพื่อทรงจัดส่ง
ไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆของสยาม"..........

...จะเห็นได้ชีดว่าได้มีบุคคลอาทิ เช่น สมเด็จกรมพระยาเทวงศ์ฯ เสนาบดี
กระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
สมาชิกสยามในคณะกรรมการผสมชุดแรก และสมาชิกสยามในคณะกรรมการ ที่ได้ทรงเห็นหรือได้เห็นแผนที่เหล่านี้ และยังต้องสันนิษฐานด้วยว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ นี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ซี่งเป็นจังหวัดของสยามทีมีเขตติดต่อกับอาณาบริเวณเขาพระวิหาร ก็ได้เห็นแล้วด้วย.....บุคคลดังกล่าวข้างต้นนี้ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเลย ทุกท่านหรือเกือบทุกท่านมีความรู้เกี่ยวกับท้องถื่นนี้ดี บางท่านคงต้องมีความณุ้เกี่ยวกับอาณาบริเวณเขาดงรัก เป็นที่ชัดแจ้งจากเอกสารหลักฐานในคดีนี้ดีว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษในการปักปันเขตแดน และทรงมีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับโบราณสถาน....
......ในเรื่องนี้เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดประกอบด้วยการเสด็จไปเยี่ยม
พระวิหารใน คศ ๑๙๓๐ ( พศ ๒๔๗๓ สมัยรัชกาลที่ ๗---ธนิตา)ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และในขณะนั้นทรงเป็นนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศสยามและทรงรับหน้าที่เกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติและโบราณสถาน การเสด็จไปเยี่ยมนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการ
เดินทางไปสำรวจโบราณสถาน โดยพระบรมราชานุญาตของพระมหากษัตริยฺสยามและเห็นได้ชัดว่ามี ลักษณะกึ่งราชการ เมื่อเสด็จในกรมฯเสด็จถึงพระวิหาร ทรงได้รับการต้อนรับเป็นทางการจากข้าหลวงฝรั่งเศสของจังหวัดกัมพูชา ที่ติดต่อกับชายแดนในนามของข้าหลวงใหญ๋ฝรั่งเศสโดยมีธงฝรั่งเศสชักไว้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ไม่น่าที่จะไม่ทรงสังเกตเห็นผลที่เนื่องมาจากการรับรองในลักษณะนี้ การยืนยันสิทธิทางด้านอินโดจีนฝรั่งเศสที่ชัดแจ้งกว่านี้ นึกคิดได้ยาก แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้กระทำอะไร
นอกจากนั้น เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ยังได้ประทานรูปถ่ายที่ระลึกไปให้ข้าหลวงฝรั่งเศส พระองค์ทรงใช้ภาษาที่ดูเหมือนจะยอมรับว่า โดยการกระทำของข้าหลวงฝรั่งเศสผู้นี้ ฝรั่งเศสได้กระทำเป็นประเทศเจ้าภาพศาลได้พิจารณาเห็นว่า คำอธิบายของทนายฝ่ายไทยเกี่ยวกับการเสด็จของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯครั้งนีฟังไม่ขึ้น เมื่อพิจารณาเหตการณฺ์เสด็จโดยตลอด การกระทำเช่นนี้ก็เท่ากับการยอมรับโดยปริยายจากฝ่ายสยามในอธิปไตยของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส)เหนือพระวิหาร
โดยการที่ไม่มีปิฏิกิริยาในทางใดๆ ในโอกาสที่จะต้องแสดงปฎิกิริยา เพื่อยืนยันหรือรักษาไว้ซึ่งกรรมสิทธ์ของตนในเมื่อมีข้อเรียกร้อง ของคู่แข่งขันที่ประจักษ์ สิ่งที่ปรากฏชัด คือว่าตามความเป็นจริง ประเทศสยามไม่ได้เชื่อว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ใดๆ และ ข้อนี้ย่อมสอดคล้องกับท่าทีของไทยที่มีต่อแผนที่ ภาคผนวก ๑ ตลอดมาและภายหลัง หรือมิฉะนั้นไทยก็ตกลงใจที่จะไม่อ้างสิทธิ ซึ่งก็หมายความอีกว่า ไทยได้ ยอมรับข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส หรือยอมรับเส้นเขตแดน ณ พระวิหาร ตามที่ลากไว้บนแผนที่.........
แนวการตัดสินเรื่องนี้ ก็คล้ายๆกับ คดีที่เพิ่งตัดสิน เมี่อเดือน พค ที่ผ่านมาคือ ระหว่าง มาเลเซีย กับ สิงค์โปร์ เรื่อง เกาะขนาด ๑ ไร่เศษ มีชื่อแปลว่า หินสีขาว ตามสีของขี้นก เป็นที่ตั้งประภาคาร ตรงทางเข้า ด้านตะวันออก ของช่องแคบสิงค์โปร์
โดยสิงค์โปร์ประท้วงการที่มาเลเซีย เขียนแผนที่เอาเกาะนี้ ไปอยู่ในเขตของมาเลเซีย
มาเลเซียก็อ้างแผนที่เก่าๆ สัญญาเก่าๆ ว่าเกาะนี้เป็นของมาเลเซีย
แต่ศาลตัดสินให้เป็นของสิงค์โปร์ โดยบอกว่าสิงค์โปรเป็นคนติดตั้งบำรุงรักษาและบริหารใช้ประภาคาร
แต่มาเลเซีย ไม่เคยคัดค้านในเรื่องนี้ จึงแพ้ไป

จากคุณ : ธนิตา  - [ 24 มิ.ย. 51 07:16:05 ]
ห้องสมุด pantip


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 24-06-2008, 13:16
เยี่ยมเลยครับ ตรงนี้แหละที่โดน และยังมีอีก รู้สึกคุณ jerasak จะเคยเอากรณีที่สหรัฐอเมริกาละเมิดคำตัดสินของศาลโลกหลายครั้งใช่มั้ย

ถ้าใช่ มันจะหักล้างคำพูดที่ว่าเราต้องยอมรับการตัดสินของศาลโลกไปโดยปริยาย ทำเป็นหมายเหตุเล็กๆ ก็ได้ จะได้แน่นยิ่งขึ้นไปอีก

ผมก้อเคยสงสัยว่าทำไม อเมริกาไม่กลัวศาลโลก

คือ ศาลโลกถ้าจะลงโทษ อเมริกาต้องผ่านเวทีสหประชาชาติ แล้วอเมริกาดันมีสิทธิ์วีโต้ได้  เสียงเดียวทุกอย่างเป็นตกไป
กฎอย่างมีก็มีด้วย :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 13:22
==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ของสังคมไทย)== :slime_whistle:





"ปลุกกระแส อารมณ์คลั่งชาติอย่างไร้เหตุผล กรณี 'เขาพระวิหาร' ประวัติศาสตร์จักจารึกนามท่านว่า...

โดย คุณ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
ที่มา เวบไซต์ ประชาไท
23 มิถุนายน 2551

การไล่รัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรอบใหม่ กว่าหนึ่งเดือนที่ผ่านมา นับได้ว่า มาถึงจุดที่เลอะเทอะ และสะท้อนการอับจนปัญญาของกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะการเอาเรื่องเขาพระวิหารมาเล่น อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับเขตแดนหรือ ‘ชาติ’ โดยตรง

เรื่องเขาพระวิหาร เด็กรุ่นใหม่ๆ ต่างรับรู้เป็นอย่างดีว่า “ปราสาทเป็นของกัมพูชา ทางขึ้นเป็นของไทย” และรู้กระทั่งว่า ไทยเสียเขาพระวิหาร อันเนื่องมาจากการพิพาท และการยอมยุติข้อพิพาทด้วยเวทีศาลโลก ด้วยหลักฐาน การอ้างอิง และการชั่งตวงวัดน้ำหนักต่างๆ ซึ่งหมายความว่า โลกทั้งใบนี้ รับรู้ข้อยุติตามนั้น

เอาเป็นว่า เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชานั้นเป็น ‘ข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยุติ’ ที่ยากจะเถียง ส่วนพื้นที่ทับซ้อน ก็คือพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งหมายความว่า จะต้องเจรจาตกลงกันต่อไประหว่างไทยกับกัมพูชา

จริงเรื่องเขตแดนนั้น ต้องถือว่า กองทัพไทยเป็นเจ้าของประเด็นนี้โดยตรง การขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ออกมานั่งแถลงเองว่า เป็นแต่เพื่ยงเฉพาะตัวปราสาท (ตัวปราสาทซึ่งเราเองก็รับแล้วว่าเป็นของเขา คนไทยส่วนใหญ่ก็รับรู้เรื่องนี้)ไม่เกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อน แล้วกลุ่มพันธมิตรฯ กำลังเล่นอะไรกันอยู่

ต่อให้ใช้ประเด็นนี้ไล่รัฐบาลได้สำเร็จ เราก็หนี ‘ข้อเท็จจริง’ ไปไม่ได้ ประเด็นนี้ จึงเป็นประเด็นเพื่อปลุกกระแส และอารมณ์คลั่งชาติอย่างไร้เหตุผลที่สุด สะเทือนความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างที่สุด เพราะจินตนาการไปทางไหน ก็ไม่มีทางได้เขาพระวิหารมาเป็นของไทยได้

เมื่อข้อเท็จจริงว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา พื้นที่ทับซ้อนก็ยังเป็นพื้นที่ทับซ้อน อะไรที่มันเคยเป็น ก็เป็นอยู่อย่างนั้น แล้วจะมีประเด็นเรื่อง ใครจะไปแลกประโยชน์ด้วยการอ้างจากเรื่องนี้ได้อย่างไร เพราะกัมพูชาก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา เพราะเขาขอปราสาทของเขาเอง เป็นมรดกโลกไม่ใช่ปราสาทของเรา

อันที่จริง จินตนาการไปทางไหน กัมพูชาก็ต้องเป็นเพื่อนบ้านของเรา จินตนาการตรงไหน เขาพระวิหารก็ต้องอยู่ตรงนั้น ไม่มีใครยกไปไหนได้ การไม่ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน ก็ทำให้ใช้ประโยชน์จากเขาพระวิหารได้ทั้งสองฝ่าย (โดยที่เราไม่ต้องดูแลรักษา)

พูดง่ายๆ ไม่ใช่ของเรา แต่เราใช้ประโยชน์ได้ ตรงกันข้าม ยิ่งหยิบเรื่องนี้มาเล่น ต่อให้ไล่รัฐบาลได้ เราเองก็อาจจะไม่มีโอกาสได้ไป แม้กระทั่งเหยียบบันไดขั้นแรกของตัวปราสาทเขาพระวิหารด้วยซ้ำ แล้วจะเป็นของเราได้อย่างไร พูดอีกอย่างก็คือ ต่อให้คิดว่าเป็นของเรา เราก็อาจจะใช้ประโยชน์ไม่ได้

การหยิบประเด็นอันไร้เหตุผลนี้มา จึงสะท้อนว่า กลุ่มพันธมิตรฯ เอง อับจนปัญญาอย่างที่สุด ที่จะหาจุดอ่อนของรัฐบาลมาเป็นจุดขาย (ทั้งๆ ที่มีจุดอ่อนมากมาย ที่แม้จะ ‘ขาย’ ไม่ได้แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชน) จึงเลือกที่จะเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของประชาชน และการลงเอยของอารมณ์ความรู้สึก มันก็อาจจะจบลง เหมือนที่นักการเมืองในกัมพูชาเคยเอาประเด็นดาราไทยไปบิด เพื่อปลุกกระแสคลั่งชาติ จนกระทั่งบุกเผาสถานทูตไทยในกัมพูชามาแล้ว

น่าสงสัยว่า ธงของกลุ่มพันธมิตรฯ คืออะไร หลังจากที่ประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกกัน และมีสัญญาณห้ามอย่างชัดเจนจากทุกฝ่ายมาแล้ว มาบัดนี้ มาเปิดประเด็นว่าด้วยเรื่อง ‘ชาติ’ อย่างไร้เหตุผล และจงใจปั่นที่อารมณ์ความรู้สึก ใช่หรือไม่ ที่ยังคงเป้าหมายไว้ที่การจลาจล และใช้ประชาชนที่นิยมตนเป็นเหยื่อ

หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ใช่หรือไม่ ที่ความขลาดเขลาของคนไม่กี่คน เกิดขึ้นจากการไม่ชอบหน้านักการเมือง ไม่เชื่อมั่นนักการเมือง และไม่เชื่อมั่นในรัฐธรรมนูญ กฎกติกา กลไก และการตรวจสอบใดๆ อีกแล้ว ทั้งๆ ที่ตัวเองมีส่วนสร้างมากับมือ

ใช่หรือไม่ว่า ความขลาดเขลาของคนไม่กี่คน เกิดขึ้นจากความกลัวว่า ‘เขา’ จะเอาคืน จนหลงลืมว่า ตนเคยเป็นคนมีเหตุมีผลอย่างไร กระทั่งทำให้ต้องเห็นแก่ตัวอย่างที่สุด โดยเอาชีวิตประชาชนมาเดิมพัน

มนุษย์ต้องมีจินตนาการ และผมยังฝัน ฝันว่า คนบางคนในกลุ่มพันธมิตรฯ จะเรียกร้องความกล้าครั้งสุดท้ายในชีวิตเพื่อให้คนได้จดจำความกล้าของเขา ด้วยการเดินลงจากหลังเสือ

ไม่เช่นนั้น หากเหตุการณ์ในวันข้างหน้าบานปลาย กลายเป็นการจลาจล เกิดความรุนแรง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากฝ่ายไหน ไม่ว่าใครจะกระทำ ไม่ว่าใครจะผิด นอกจากรัฐบาลที่ผิด และต้องรับผิดชอบแล้ว คนที่ ‘ปั่น’ เหล่านี้ ก็หนีความรับผิดชอบ และการถูกตราหน้าว่า ‘มือเปื้อนเลือด’ ไปไม่พ้นจนชั่วลูกชั่วหลาน"  :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 13:25
เอามาเสริมครับ ทำไมศาลโลก จึงยกปราสาทเขาพระวิหาร ให้กัมพูชา

เราเคยคัดเอาคำพิพากษา มาให้อ่านแล้วดังนี้......คำตัดสินของศาลโลก อ้างภาษิต ลาตินว่า...
ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ ย่อมถือว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถจะพูดได้...
ไทยเราแย้งเพิ่มว่า มีแค่ข้าราชการผู้น้อยที่เห็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำผิด ไม่ทำตามข้อตกลงที่ให้ใช้เส้นสันปันน้ำเป็นเขตุแดน แต่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ไม่รู้ห็น จึงไม่ได้คัดค้าน
ศาลบอกว่า...จะเห็นได้ชัดจากหนังสือจากอ้ครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส
ที่ส่งไปยังเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศในกรุงเทพ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม
คศ ๑๙๐๘ ...ว่าได้มีผู้นำแผนที่ชุดหนึ่งมามอบให้เพื่อจัดส่งต่อไปยัง
เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศสยาม...รวมทั้งแผนที่บริเวณทิวเขาดงรัก
อย่างละ ๕๐ ชุด อ้ครราชทูตลงท้ายด้วยว่า จะเก็บไว้ที่สถานอ้ครราชทูต
อย่างละ ๒ ชุดและจะได้ส่งไปยังแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอ้ครราชทูต
ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซียและสหรัฐอเมริกา.....
..ข้อที่ว่าเจ้าหน้าที่สยามโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง-ได้ตอบรับและ
ทราบดีถึงลีกษณะของแผนที่เหล่านี้พร้อมทั้งสิ่งที่แผนที่เหล่านี้แสดงนั้น
จะเห็นได้ชัดจากการที่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ
ได้ทรงขอบพระทัยอ้ครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้น
และได้ทรงขอแผนที่ต่ออ้ครราชทูตเพิ่มเติมอีกย่างละ ๑๕ ชุด เพื่อทรงจัดส่ง
ไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆของสยาม"..........

...จะเห็นได้ชีดว่าได้มีบุคคลอาทิ เช่น สมเด็จกรมพระยาเทวงศ์ฯ เสนาบดี
กระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
สมาชิกสยามในคณะกรรมการผสมชุดแรก และสมาชิกสยามในคณะกรรมการ ที่ได้ทรงเห็นหรือได้เห็นแผนที่เหล่านี้ และยังต้องสันนิษฐานด้วยว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ นี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ซี่งเป็นจังหวัดของสยามทีมีเขตติดต่อกับอาณาบริเวณเขาพระวิหาร ก็ได้เห็นแล้วด้วย.....บุคคลดังกล่าวข้างต้นนี้ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเลย ทุกท่านหรือเกือบทุกท่านมีความรู้เกี่ยวกับท้องถื่นนี้ดี บางท่านคงต้องมีความณุ้เกี่ยวกับอาณาบริเวณเขาดงรัก เป็นที่ชัดแจ้งจากเอกสารหลักฐานในคดีนี้ดีว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษในการปักปันเขตแดน และทรงมีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับโบราณสถาน....

อย่าลืมว่าแผนที่ดังกล่าวจัดทำขึ้น โดยไม่มีสนธิสัญญาใดๆ รองรับ นะครับ..

แม้แต่ศาลโลกยังยอมรับว่าขณะจัดทำขึ้น แผนที่ดังกล่าวไม่ผูกพันรัฐภาคี

...

และการอ้างว่ามีผู้พบเห็นแผนที่ ไม่ว่าจะเป็น เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย หรือสมาชิกสยามในคณะกรรมการผสม ฯลฯ

บุคคลต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้มีสิทธิใดๆ ที่จะให้ความเห็นชอบแผนที่ดังกล่าว
เพราะไม่เคยได้รับมอบอำนาจจากรัฐสยาม และความจริงแล้วรัฐสยามเอง
ก็ไม่มีหน้าที่ ต้องพิจารณารับรองแผนที่ ที่จัดทำโดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ

และฝรั่งเศสเองไม่เคยเสนอให้ไทยรับรองความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว
ทั้งที่มีโอกาสหลายครั้ง จากการทำสนธิสัญญาฉบับต่อมา อาจกล่าวได้ว่า
ฝรั่งเศสเองก็เพิกเฉยต่อการเรียกร้องไทยให้รับรองแผนที่เหมือนกัน

...

ส่วนการอ้างว่าเจ้าหน้าที่ของไทยที่พบเห็นแผนที่ เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ
ในอาณาเขตไทยและโบราณสถาน ก็ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับการที่บุคคลเหล่านั้น
มีสิทธิรับรองความถูกต้องของแผนที่แทนรัฐสยาม และบุคคลดังกล่าวก็ไม่มี
หน้าที่ใดๆ ต้องตรวจสอบรับรองความถูกต้องของแผนที่ด้วย

การยกแผนที่ขี้โกงขึ้นเป็นหลักฐาน ก็เท่ากับยอมรับตั้งแต่ต้นว่าฝรั่งเศสโกง
สืบเนื่องมาถึงว่ากัมพูชารับช่วงโกงต่อ (สุดท้ายศาลโลกช่วยรับรองการโกง)

อ้างได้อย่างเดียวว่าโกงแล้วไทยไม่ทักท้วง ทั้งที่ไทยไม่มีภาระหน้าที่ใดๆ
ต้องตรวจสอบรับรองแผนที่ ที่จัดทำโดยไม่มีสนธิัสัญญารองรับ  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 13:34
เหตุผลใดไทย จึงแพ้คดีปราสาทพระวิหาร


บทความโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



           ...คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็นเพราะว่า ประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก...

              ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารกลายเป็นหัวข้อที่สาธารณชนให้ความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศกัมพูชายื่นเรื่องการขอเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตาม อนุสัญญา Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage โดยที่ประเทศไทยคัดค้านการยื่นฝ่ายเดียวของกัมพูชา โดยอ้างเรื่องความสมบูรณ์ทางวิชาการด้านโบราณคดีและการที่ทั้งสองประเทศยัง ตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับเขตแดน

           แม้คดีนี้จะผ่านความรับรู้ของคนไทยมายาวนานแล้วก็ตามแต่ปรากฏว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในเรื่องนี้

           เหตุผลที่คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็น เพราะว่าประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก

           และด้วยเหตุที่คนไทยรู้จักกับคดีนี้น้อย จึงอาจมีการบิดเบือนข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากคดีนี้มีสองประเด็นใหญ่ที่ต้องพิจารณาคือ ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลและการพิจารณาขั้นเนื้อหา จึงขอแยกอธิบาย ดังนี้

  ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลโลก

           ประชาชนคนไทยมักจะสงสัยอยู่เสมอว่า ทำไมประเทศไทยต้องไปขึ้นต่อสู้คดีต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีอธิปไตย มีเอกราช การขึ้นต่อสู้คดีของประเทศไทยมิเท่ากับเป็นการเสียเอกราชหรือ

           ประเด็นนี้ เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อน หากใช้ความรู้สึกชาตินิยมหรือสามัญสำนึกย่อมไม่เข้าใจว่าทำไมประเทศไทยต้อง ขึ้นศาลโลก ผู้เขียนจะขออธิบายช่องทางการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเสียก่อนว่ามีวิธีการใด บ้าง การยอมรับเขตอำนาจศาลโลกนั้นทำได้อยู่สามประการคือ

             ประการแรก การยอมรับเขตอำนาจการพิจารณาคดีโดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดอนุสัญญาหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า หากมีปัญหาในการตีความสนธิสัญญา ให้ศาลโลกเป็นผู้พิจารณา

             ประการที่สอง ประเทศคู่พิพาทตกลงทำความตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นเฉพาะกรณีๆ ไป กล่าวคือ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาแล้ว รัฐคู่พิพาทได้ทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะข้อพิพาทนั้น และ

             ประการที่สาม รัฐได้ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้

           ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลโลก (ทั้งศาลโลกเก่าและใหม่) ของประเทศไทยนั้นเป็นประเด็นที่คนไทยไม่ใคร่ได้กล่าวถึง อาจเป็นเพราะว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายมากเกินไปประชาชนทั่วไปจึงไม่ค่อยได้ สนใจ

           อีกทั้งทางการก็มิได้ชี้แจงประเด็นนี้ต่อสาธารณชน มากนักทั้งๆ ที่ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก และเป็นประเด็นที่หากมีการกล่าวถึงในวงกว้างแล้วก็อาจมีผลกระทบต่อผู้ เกี่ยวข้องได้ แต่เนื่องจากประเด็นนี้สำคัญ ผู้เขียนจึงมิอาจหลีกเลี่ยงที่จะข้ามไปได้จึงขอกล่าวถึง ดังนี้

           ประเทศไทยได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ทั้งหมด 3 ฉบับ ดังนี้

             ฉบับแรกทำเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1929 และเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในปี ค.ศ.1930 โดยคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ" (Permanent Court of International Justice : PCIJ) เป็นเวลา 10 ปี

             ฉบับที่สอง รัฐบาลไทยทำคำประกาศโดยมิวัตถุประสงค์เพื่อ "ต่ออายุ" (renew) เขตอำนาจศาลโลกเก่า โดยคำประกาศฉบับที่สองนี้ทำเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1940 โดยคำประกาศที่สองนี้เริ่มมีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1940

             ฉบับที่สาม รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1950 ซึ่งหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สอง (ที่ต่ออายุคำประกาศฉบับแรก) หมดอายุเป็นเวลา 14 วัน

           มีข้อสังเกตที่น่าสนใจและเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่ฝ่ายไทยนำมาอ้างก็คือ ศาลโลกเก่านั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1946 และตามธรรมนูญของศาลโลกใหม่ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" (International Court of Justice : ICJ) นั้นมาตรา 36 วรรค 5 ได้กำหนดว่า ให้การยอมรับเขตอำนาจ "ศาลโลกเก่า" โอนถ่ายไปยัง "ศาลโลกใหม่" หากว่า คำประกาศนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่หรือกล่าวง่ายๆ คือ ยังไม่ขาดอายุนั่นเอง

           ข้อต่อสู้เกี่ยวกับการคัดค้านเขตอำนาจศาลโลกใหม่ที่ทนายความฝ่ายไทยต่อ สู้ในชั้นของการคัดค้านเขตอำนาจของศาลโลกใหม่นั้นมีว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ยุติลงอันเป็นผลมาจากการสิ้นสุดของศาล โลกเก่า ดังนั้น คำประกาศต่ออายุเขตอำนาจศาลโลกเก่าเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 จึงไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป

           อีกทั้งคำประกาศดังกล่าวมิใช่คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ ดังนั้น ศาลโลกใหม่จึงไม่มีเขตอำนาจ

           แต่ข้อต่อสู้นี้อ่อนมาก ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามที่รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 นั้น ไม่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการต่ออายุยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ เพราะว่า คำประกาศฉบับที่สามนี้ ทำหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สองหมดอายุแล้วสองอาทิตย์

           ศาลโลกเห็นว่า สิ่งที่จะต่ออายุได้นั้น สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว อีกทั้งรัฐบาลไทยก็รู้ดีว่าขณะที่ทำคำประกาศฉบับที่สามนั้นทำหลังจากที่ศาล โลกเก่าได้สิ้นสุดลงแล้วกว่าสี่ปี (ศาลโลกเก่าสลายตัวเมื่อปี ค.ศ.1946 แต่คำประกาศฉบับที่สามทำเมื่อปี ค.ศ.1950) ข้ออ้างของประเทศไทยจึงฟังไม่ขึ้น

           ประเด็นต่อไปมีว่า ในเมื่อคำประกาศฉบับที่สามฟังไม่ได้ว่าเป็นคำประกาศต่ออายุยอมรับเขตอำนาจ ศาลโลกเก่าแล้ว ผลในทางกฎหมายของคำประกาศฉบับที่สามคืออะไร ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามเป็นคำประกาศใหม่ ที่แยกเป็นเอกเทศออกจากคำประกาศฉบับแรกและฉบับที่สอง

           และหากพิจารณาเนื้อหาของคำประกาศที่สามแล้ว ศาลโลกเห็นว่า เป็นการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ โดยอิงเงื่อนไขจากคำประกาศฉบับแรก

           ดังนั้น ศาลโลกจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลโลกมีเขตอำนาจพิจารณาข้อพิพาทที่รัฐบาลกัมพูชาฟ้องรัฐบาลไทย ข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น

ประเด็นเรื่องเนื้อหาของข้อพิพาท

           คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร การนำเสนอพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายนั้นมีดังนี้

           ฝ่ายไทยเสนอว่า หากพิจารณาตามสนธิสัญญาที่สยามทำกับประเทศฝรั่งเศส (ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสปกครองกัมพูชา) เมื่อปี ค.ศ.1904 ซึ่งตามสนธิสัญญาจะใช้ "สันปันน้ำ" (watershed) ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งไทย แต่หากพิจารณาตามแผนที่ ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งกัมพูชา

           ขออธิบายตรงนี้เลยว่าหลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีในปี ค.ศ.1904 ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งคณะกรรมการผสมขึ้น และไม่นานนัก คณะกรรมการชุดนี้ก็มิได้ทำงานอีกต่อไป ต่อมา ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ขึ้น ข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนที่เจ้าปัญหาฉบับนี้ มีดังนี้

             ประการแรก แผนที่นี้เป็นการร้องขอจากฝ่ายไทยให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้น แผนที่นี้ทำขึ้นที่กรุงปารีส การที่ประเทศร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้นนั้นเป็นเพราะว่าในขณะนั้น ประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนที่

             ประการที่สอง การปักปันเขตแดนแล้วลงมาตราส่วนลงในแผนที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ฝ่ายไทยไม่มีส่วนร่วมเลย

             ประการที่สาม การทำแผนที่นี้ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการผสมแต่อย่างใด ในประเด็นนี้ผู้พิพากษาฟิสต์มอริสซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คณะกล่าวว่า คณะกรรมการผสมไม่เคยแม้แต่จะ "เห็น" แผนที่นี้ อย่าว่าแต่ "รับรอง" เลย เป็นการร้องขอฝ่ายเดียวจากรัฐบาลไทย

             ประการที่สี่ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกวินิจฉัยให้ประเทศไทยแพ้ก็คือ แม้ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้งที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาด เคลื่อนหรือความผิดพลาดของแผนที่

           โอกาสที่จะประท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่ เช่น กรณีการเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือกับประเทศฝรั่งเศสที่ทำขึ้นในปี ค.ศ.1925-1937 แต่ไทยก็มิได้ทักท้วง

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธในภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้ เป็นการปิดปากประเทศไทยว่าจะมาปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ไม่ได้

           ยิ่งไปกว่านั้น ทางการของไทยเองยังได้ทำแผนที่ใช้ขึ้นเองอีกด้วยในปี ค.ศ.1937 โดยแผนที่ที่เจ้าหน้าที่ของไทยเป็นผู้จัดทำ ได้แสดงว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ประเด็นนี้ไทยอ้างว่า แผนที่ที่ไทยทำขึ้นเองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทหารเป็นการภายในเท่านั้น แต่ศาลโลกไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของไทยในประเด็นนี้

           เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้น กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่ และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า เท่ากับประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส) อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ผู้พิพากษาศาลโลกท่านหนึ่งคือ ท่านเวลลิงตัน คู ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อยได้ทำความเห็นแย้งว่า ในเวลานั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย อีกทั้งพระองค์ยังตรัสว่า การมาเยือนปราสาทพระวิหารนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง

           นอกจากนี้ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ไทยแพ้คดีอาจเป็นผลมาจากการตั้งรูปคดีที่ผิดพลาดมา ตั้งแต่ต้น แทนที่ประเทศไทยจะปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ ควรรับประเด็นเรื่องแผนที่ แล้วยกข้อต่อสู้ว่า ในกรณีที่ข้อความในสนธิสัญญาที่ให้ใช้ "สันปันน้ำ" แย้งกับ "แผนที่" ในกรณีนี้ให้ถือว่าข้อความในสนธิสัญญามีค่าบังคับเหนือกว่า

           ซึ่งอนุสัญญาแวร์ซายส์ มาตรา 29 ก็มีข้อความทำนองนี้ อีกทั้งก็มีคดีที่ศาลตัดสินให้ความน่าเชื่อถือของสนธิสัญญายิ่งกว่าแผนที่

            จริงหรือที่ "การนิ่งเฉย" หรือ "กฎหมายปิดปาก" มิใช่เป็นหลักกฎหมาย

           หลังจากที่ไทยแพ้คดี นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวลานั้นกล่าวทำนองว่าศาลโลกนำหลักกฎหมายที่ไม่ชัดเจนมาตัดสินคดี ที่น่าคิดก็คือ ทำไมทนายฝ่ายไทยไม่ทราบ หรือว่า "หลักกฎหมายปิดปาก" หรือ "การนิ่งเฉย" นั้น ศาลโลกหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเคยนำมาใช้หลายคดีแล้ว

           อีกทั้งนักกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังได้เขียนบทความเรื่อง "หลักกฎหมายปิดปากที่ใช้ในศาลระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ของหลักกฎหมาย ดังกล่าวกับการนิ่งเฉย" (Estoppel before Internationals and Its Relation to Acquiescence) เขียนโดยนักกฎหมายระหว่างประเทศชื่อ Bowett ลงในวารสาร British Yearbook of International Law ปี ค.ศ.1957 และบทความชื่อ "หลักกฎหมายปิดปากในกฎหมายระหว่างประเทศ" โดย Mcgibborn ในวารสาร International and Comparative Law Quarterly ปี 1958 ซึ่งตีพิมพ์ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินประมาณ 3-4 ปี

           ไม่อาจคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าฝ่ายไทยได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ แต่ไม่ว่าฝ่ายไทยจะได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ทนายความของฝ่ายไทยน่าจะย่อมรู้ถึงหลักกฎหมายปิดปากเป็นอย่างดี

           เพราะหลักว่าด้วย "การถูกการตัดสิทธิ" (Preclusion) หรือ "การนิ่งเฉย" อาจเทียบได้หรือมีผลเท่ากันกับ "หลักกฎหมายปิดปาก" อันเป็นหลักกฎหมายอังกฤษ หรือแองโกลแซกซอน

  บทส่งท้าย

           สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

           หากประเทศไทยจะเสียดินแดนอีกครั้งคงไม่ใช่เพราะนำข้อมูลการต่อสู้ทาง กฎหมายคดีความเอาไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านหรือเกิดจากความไม่รักชาติ ไม่สามัคคีอย่างที่คนไทยหลายคนเข้าใจกัน (ซึ่งรวมถึง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ด้วย) แต่เกิดจากความไม่รอบคอบ ความประมาท และไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองมากกว่า เหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสามจังหวัดภาคใต้ของเรา"
 :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 13:37
ผมก้อเคยสงสัยว่าทำไม อเมริกาไม่กลัวศาลโลก

คือ ศาลโลกถ้าจะลงโทษ อเมริกาต้องผ่านเวทีสหประชาชาติ แล้วอเมริกาดันมีสิทธิ์วีโต้ได้  เสียงเดียวทุกอย่างเป็นตกไป
กฎอย่างมีก็มีด้วย :slime_smile:

กรณีดังกล่าวคือที่ศาลโลกตัดสินให้อิสราเอลรื้อกำแพงกั้นปาเลสไตน์
และจ่ายค่าเสียหายให้ชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับผลกระทบจากำแพง
เรื่องเพิ่งเกิดเมื่อปี ค.ศ. 2004 ที่ผ่านมานี้เอง

ผลของคำตัดสินคืออิสราเอลปฏิเสธไม่ปฏิบัติตาม และสหรัฐอเมริกา
ให้เงินช่วยเหลือในการสร้างกำแพงต่อ ตามด้วยธนาคารโลกให้เงินกู้
ในการสร้างกำแพง โดยไปตั้งหนี้เอากับชาวปาเลสไตน์
คุณ mebeam ซาบซึ้งในความยุติธรรมของศาลโลกแล้วใช่ไหมครับ  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 13:45
"เปิดรายงานลับ ย้อนรอยเขาพระวิหาร

 รายงานฉบับนี้เป็นรายงานล่าสุดลงวันที่ 25 มกราคม 2551สรุปถึงความก้าวหน้าในการเสนอเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ของประเทศไทย - กัมพูชา ที่นำเสนอต่อนายอดุล วิเชียรเจริญ ประธานคณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญยาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งกล่าวถึงความเป็นมาเป็นทั้งหมดของเรื่องนี้ รวมถึงความพยายามของไทยที่ขอเจรจากับกัมพูชาหลายครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธ

เรื่องเดิม

            เมื่อ 25 มีนาคม 2547 เวลา 15.11 น. นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ประชุมร่วมกับนาย ซก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยประชุมกันที่กรุงเทพฯ เรื่อง การร่วมพัฒนาปราสาทพระวิหาร พร้อมแถลงข่าวร่วม ภายหลังการประชุมโดย นายสุรเกียรติ์ กล่าวว่าที่ประชุมมีข้อสรุป ดังนี้

            1.จะดำเนินโครงการให้เป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพไทย-กัมพูชา โดยร่วมมือและอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน

            2.อนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ให้เป็นมรดกโลกของมนุษย์ชาติ โดยจะร่วมกับ UNESCO พัฒนา หลังจากจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว

            3.จะแก้ไขปัญหาสำคัญๆ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทันที โดยฝ่ายกัมพูชาจะตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ เหมือนกับไทย และจำมีการประชุมระหว่างคณะอนุกรรมการไทย-กัมพูชา ต่อไป เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เช่น การตั้งร้านค้าที่มีระเบียบ ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเก็บกู้ทุ่นระเบิด

            4.จะดำเนินโครงการพัฒนาร่วมปราสาทพระวิหารให้เข้ากับโครงการในกรอบอื่นๆ เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจ ประเทศลุ่มแม่น้ำอิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMECS)

            5.ไทยและกัมพูชายินดีให้ประเทศที่ 3 องค์การระหว่างประเทศ และภาคเอกชนมาพัฒนาร่วมกัน

            6.การพัฒนาปราสาทพระวิหารจะไม่กระทบกับการปักปันเขตแดน

            7.กำหนดแผนปฏิบัติการให้เป็นขั้นตอน โดยจะมีการสำรวจรายละเอียดเพื่อหายอดงบประมาณในการดำเนินการโครงการทั้งหมดว่าจะใช้จำนวนเท่าไร อย่างไรก็ตาม หาก UNESCO รับจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว จะไม่เป็นเรื่องยากที่จะมีการบูรณะและพัฒนา

        ความร่วมมือตามมติที่ประชุมร่วมคณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา เรื่องการพัฒนาร่วมปราสาทพระวิหาร

       คณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร (ฝ่ายไทย) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน  ตามที่ได้รับมอบหมายโดยมติคณะรัฐมนตรีร่วมฯ ได้เริ่มดำเนินงานแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2546 โดยในส่วนของกัมพูชา ได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างกระทรวงเพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่ช่องตาเฒ่าและเขาพระวิหาร โดยมี นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นประธาน

       ฝ่ายไทย ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุดได้แก่ คณะอนุกรรมการวางแผนการพัฒนาร่วเขาพระวิหาร โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์) เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทเขาพระวิหาร โดยมีนายเตช บุนนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศในฐานะนักประวัติศาสตร์เป็นประธาน

       คณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาปราสาทพระวิหาร ไทยและกัมพูชา ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย สก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นประธานการประชุมร่วมกันเมื่อ 25 มีนาคม 2547 ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานในการพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร ทั้งนี้ โครงการบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหารจะเริ่มดำเนินการภายหลังจากที่ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว

        การเยือนกัมพูชาของนายกรัฐมนตรีไทย

            เมื่อ 15 ตุลาคม 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการ สรุปสาระสำคัญผลการเยือนได้ดังนี้

            นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับกัมพูชาในฐานะที่มีพรมแดนติดกันและเป็นมิตรประเทศที่สำคัญของไทย

            โดยนายกรัฐมนตรีแจ้งให้ทราบว่า ความผูกพันที่รัฐบาลไทยได้มีกับกัมพูชาที่ผ่านมา ทั้งในกรอบความร่วมมือแบบทวิภาคี และความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS ประเทศไทยจะคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงประเด็นความร่วมมือกับฝ่ายกัมพูชาอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด

อย่างไรก็ดี ฝ่ายกัมพูชา ได้แสดงความวิตกกังวลต่อการให้ความช่วยเหลือด้านการสร้างเส้นทางคมนาคมของไทย ได้แก่ การสร้างถนนหมายเลข 48 (เกาะกง-สแรอัมเปิล) ถนนหมายเลข 67 (สะงำ-อันลองเวง-เสียมราฐ) ถนนหมายเลข 68 (โอเสม็ด-สำโรง-กรอลัน)

            นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรับไปพิจารณาและดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามฝ่ายไทยจะให้การช่วยเหลือในการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนหมายเลข 48 กับ 67 ให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างถนนหมายเลข 68 ต่อไป

           นอกจากนี้ ได้มีการเจรจาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดน โดยฝ่ายกัมพูชาได้หยิบยกขึ้นมาระหว่างการหารือ ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่า การตัดสินใจของรัฐบาลจะอยู่บนพื้นฐานของหลักฐาน จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งต่อประชาชนชาวไทยและกัมพูชาอย่างแน่นอน

            ทั้งนี้ ฝ่ายกัมพูชาได้เสนอให้มีการพบปะระหว่าง ไทย ลาว และกัมพูชา เพื่อร่วมกันพัฒนาในพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมมรกตต่อไป สำหรับการเปิดช่องทางที่บริเวณช่องตาเฒ่า เขาพระวิหาร นั้น ไทย พร้อมที่จะร่วมพัฒนาเขาพระวิหารกับกัมพูชา และยินดีที่กัมพูชาขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว

        ผลการเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา

            เรื่องการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา นาย ฮอร์ นำ ฮง รองนายกรัฐมนตรี.และรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ได้หารือข้อราชการกับรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ในประเด็นเรื่องความพยายามของทางการกัมพูชาในการยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกจะได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวในการประชุมสมัยที่ 31 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ นครไครสท์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ในปลายมิถุนายน 2550

            การหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในระหว่างการเยือนครั้งนี้เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังมีท่าทีและความเห็นที่แตกต่างกันในหลายประเด็น เนื่องจากมีประเด็นด้านกฎหมาย เขตแดนและอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งการเดินทางมาหารือกับฝ่ายไทยของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาครั้งนี้กระชั้นกับช่วงเวลาประชุมคณะกรรมการมรดกโลกมาก

             แม้ว่าก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยได้พยายามขอพบฝ่ายกัมพูชาเพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธ ยังผลให้การหารือระหว่างไทย-กัมพูชา ในครั้งนี้ไม่อาจกระทำได้ในรายละเอียดซึ่งมีความละเอียดอ่อนได้อย่างครบถ้วน

            รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยจึงได้มอบหมายให้ ดร.มนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีต่า งประเทศในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนกัมพูชาที่จะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่นครไครสท์เชิร์ส เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย"  :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 13:50
......ในเรื่องนี้เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดประกอบด้วยการเสด็จไปเยี่ยม
พระวิหารใน คศ ๑๙๓๐ ( พศ ๒๔๗๓ สมัยรัชกาลที่ ๗---ธนิตา)ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และในขณะนั้นทรงเป็นนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศสยามและทรงรับหน้าที่เกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติและโบราณสถาน การเสด็จไปเยี่ยมนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการ
เดินทางไปสำรวจโบราณสถาน โดยพระบรมราชานุญาตของพระมหากษัตริยฺสยามและเห็นได้ชัดว่ามี ลักษณะกึ่งราชการ เมื่อเสด็จในกรมฯเสด็จถึงพระวิหาร ทรงได้รับการต้อนรับเป็นทางการจากข้าหลวงฝรั่งเศสของจังหวัดกัมพูชา ที่ติดต่อกับชายแดนในนามของข้าหลวงใหญ๋ฝรั่งเศสโดยมีธงฝรั่งเศสชักไว้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ไม่น่าที่จะไม่ทรงสังเกตเห็นผลที่เนื่องมาจากการรับรองในลักษณะนี้ การยืนยันสิทธิทางด้านอินโดจีนฝรั่งเศสที่ชัดแจ้งกว่านี้ นึกคิดได้ยาก แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้กระทำอะไร
นอกจากนั้น เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ยังได้ประทานรูปถ่ายที่ระลึกไปให้ข้าหลวงฝรั่งเศส พระองค์ทรงใช้ภาษาที่ดูเหมือนจะยอมรับว่า โดยการกระทำของข้าหลวงฝรั่งเศสผู้นี้ ฝรั่งเศสได้กระทำเป็นประเทศเจ้าภาพศาลได้พิจารณาเห็นว่า คำอธิบายของทนายฝ่ายไทยเกี่ยวกับการเสด็จของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯครั้งนีฟังไม่ขึ้น เมื่อพิจารณาเหตการณฺ์เสด็จโดยตลอด การกระทำเช่นนี้ก็เท่ากับการยอมรับโดยปริยายจากฝ่ายสยามในอธิปไตยของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส)เหนือพระวิหาร
โดยการที่ไม่มีปิฏิกิริยาในทางใดๆ ในโอกาสที่จะต้องแสดงปฎิกิริยา เพื่อยืนยันหรือรักษาไว้ซึ่งกรรมสิทธ์ของตนในเมื่อมีข้อเรียกร้อง ของคู่แข่งขันที่ประจักษ์ สิ่งที่ปรากฏชัด คือว่าตามความเป็นจริง ประเทศสยามไม่ได้เชื่อว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ใดๆ และ ข้อนี้ย่อมสอดคล้องกับท่าทีของไทยที่มีต่อแผนที่ ภาคผนวก ๑ ตลอดมาและภายหลัง หรือมิฉะนั้นไทยก็ตกลงใจที่จะไม่อ้างสิทธิ ซึ่งก็หมายความอีกว่า ไทยได้ ยอมรับข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส หรือยอมรับเส้นเขตแดน ณ พระวิหาร ตามที่ลากไว้บนแผนที่.........
แนวการตัดสินเรื่องนี้ ก็คล้ายๆกับ คดีที่เพิ่งตัดสิน เมี่อเดือน พค ที่ผ่านมาคือ ระหว่าง มาเลเซีย กับ สิงค์โปร์ เรื่อง เกาะขนาด ๑ ไร่เศษ มีชื่อแปลว่า หินสีขาว ตามสีของขี้นก เป็นที่ตั้งประภาคาร ตรงทางเข้า ด้านตะวันออก ของช่องแคบสิงค์โปร์
โดยสิงค์โปร์ประท้วงการที่มาเลเซีย เขียนแผนที่เอาเกาะนี้ ไปอยู่ในเขตของมาเลเซีย
มาเลเซียก็อ้างแผนที่เก่าๆ สัญญาเก่าๆ ว่าเกาะนี้เป็นของมาเลเซีย
แต่ศาลตัดสินให้เป็นของสิงค์โปร์ โดยบอกว่าสิงค์โปรเป็นคนติดตั้งบำรุงรักษาและบริหารใช้ประภาคาร
แต่มาเลเซีย ไม่เคยคัดค้านในเรื่องนี้ จึงแพ้ไป

จากคุณ : ธนิตา  - [ 24 มิ.ย. 51 07:16:05 ]
ห้องสมุด pantip

เพิ่มเติมในประเด็นที่เหลือ...

กรมพระยาดำรงฯ ขณะเสด็จทอดพระเนตรปราสาทพระวิหาร ไม่ได้มีสถานะเป็นตัวแทนรัฐสยาม
แม้แต่ศาลยังเห็นว่าเป็นการไปในลักษณะ "กึ่งทางการ" เท่านั้น แล้วจะถือเหตุเหล่านี้มาสรุป
ว่ารัฐสยามให้การยอมรับอธิปไตยของฝรั่งเศสได้อย่างไร

เรื่องนี้ก็เหมือนเรื่องแผนที่ คือเป็นหลักฐานว่าฝรั่งเศสเข้าไปยึดครองปราสาทพระวิหาร
โดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ (เท่ากับโกงอีกแล้ว) และศาลก็ใช้เหตุผลเดียวกับแผนที่อีก
คือโกงแล้วไทยไม่ทักท้วง ก็เลยถือว่าไทยตกลงมอบปราสาทพระวิหารให้ฝรั่งเศส

...

ประเด็นที่กล่าวว่า "ประเทศสยามไม่ได้เชื่อว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ใดๆ" ไม่สมควรนำขึ้นมาใช้
เพราะไทย-ฝรั่งเศสได้ตกลงกันแล้วว่าจะใช้ "สันปันน้ำ" เป็นเส้นเขตแดน ซึ่งขณะตกลง
ยังไม่มีการลงพื้นที่ปักปันเขตแดน ไม่ว่าไทยหรือฝรั่งเศสก็ไม่รู้ทั้งนั้นว่าพื้นที่ของตัวเอง
จะอยู่ตรงไหนบ้าง แต่สิทธิตามเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำได้เกิดขึ้นแล้ว

หรือประเด็นที่กล่าวว่า "ไทยได้ ยอมรับข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส" ก็ไม่สมควรนำมาใช้ด้วย
เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าฝรั่งเศสไม่เคยเสนอข้อเรียกร้องต่อไทย ที่ไทยจะตอบรับหรือปฏิเสธ
ในเมื่อไม่เคยเสนอข้อเรียกร้อง แล้วไทยจะยอมรับข้อเรียกร้องได้อย่างไร
ข้อสรุปก็คือเหมือนเดิม ฝรั่งเศสโกงไทย แล้วเขมรโกงต่อ ส่วนศาลโลกก็ช่วยโกง  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 13:58
คนประเภทไหนกันหนอที่ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม...คนประเภทไหนหนอที่เห็นฟ้องขึ้นศาลเพื่อหาข้อยุติ แต่พอแพ้คดีกลับไม่ยอมรับในคำตัดสิน...และคนประเภทไหนหนอที่เถียงข้างๆคูๆว่าคนนั้นคนนี้โกง


คำตอบ:  ก็คนเถื่อนไงคร้า  ฮ่าๆๆๆๆๆๆ :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 14:08
คนประเภทไหนกันหนอที่ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม...คนประเภทไหนหนอที่เห็นฟ้องขึ้นศาลเพื่อหาข้อยุติ แต่พอแพ้คดีกลับไม่ยอมรับในคำตัดสิน...และคนประเภทไหนหนอที่เถียงข้างๆคูๆว่าคนนั้นคนนี้โกง

คำตอบ:  ก็คนเถื่อนไงคร้า  ฮ่าๆๆๆๆๆๆ :slime_smile2:

คุณอะไรจ๊ะ คิดว่าเราไม่มีสิทธิวิจารณ์คำพิพากษาศาลโลกหรือครับ?

คุณคิดว่าไทยไม่สามารถประท้วงคำตัดสินดังกล่าวของศาลโลก
และคิดว่าไทยไม่สามารถประกาศสงวนสิทธิของเราหรืออย่างไร?
สุดท้ายจากข้อมูลที่นำเสนอ คุณอะไรจ๊ะคิดว่าฝรั่งเศสไม่โกงหรือ?  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 24-06-2008, 14:15
ฟังคุณจีระศักดิ์แล้วงง

ผมถามคุณจากใจจริงๆ โดยตัดอคติทิ้งนะครับ

คุณคิดจริงๆ หรือว่าเราควรไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก

เรามีอำนาจเหมือนอเมริกาไหม เราจะมี power อะไรไปสู้กับเขาถ้าเขามีมติคว่ำบาตรเรา

อย่าลืมนะครับ ธรรมนูญศาลโลกให้อุธรณ์ได้ 10 ปี แต่เราไม่ทำ

ขอถามอีกครั้ง คุณคิดว่าเราควรเอาประเทศไทยทั้งประเทศไปเสี่ยงกับเรื่องนี้หรือครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 24-06-2008, 14:20
คุณ mebeam ซาบซึ้งในความยุติธรรมของศาลโลกแล้วใช่ไหมครับ  :slime_smile:

ผมไม่ได้มีปัญหาอะไร ความยุติธรรม ของศาลโลก หรือศาลไทย ยังเชื่อมั่นเสมอ

ผมแค่แปลกใจในกฎที่ใช้กันมากกว่า บางครั้งเห็นอยู่ว่ามันไม่ยุติธรรม เราก็ยังจำเป็นต้องใช้ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในสังคม
     มันคงจะวุ่นวาย ถ้ามีคนเห็นว่า เราไม่ควรยอมรับในกฎนั้นเพราะเห็นไม่ดีและไม่เป็นธรรม
ดื้อแพ่ง จะเขียนกฎใหม่บ้างที่คิดว่าดีและยุติธรรม ซึ่งกฎนี้ก้ไม่ได้ดีและยุติธรรมในสายตาอีกฝ่ายเลย
เห็นความวุ่นวายหรือยัง  มีแต่คนจะเขียนกฎ ไม่มีใครคิดจะยอมทำกฎเลย


....แน่นอน  ถ้าศาลไทยตัดสินให้คุณทักษิณผิด หรือพ้นผิด ผมก็จะเคารพในคำตัดสินของศาล :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 14:27
ฟังคุณจีระศักดิ์แล้วงง

ผมถามคุณจากใจจริงๆ โดยตัดอคติทิ้งนะครับ

คุณคิดจริงๆ หรือว่าเราควรไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก

เรามีอำนาจเหมือนอเมริกาไหม เราจะมี power อะไรไปสู้กับเขาถ้าเขามีมติคว่ำบาตรเรา

อย่าลืมนะครับ ธรรมนูญศาลโลกให้อุธรณ์ได้ 10 ปี แต่เราไม่ทำ

ขอถามอีกครั้ง คุณคิดว่าเราควรเอาประเทศไทยทั้งประเทศไปเสี่ยงกับเรื่องนี้หรือครับ

เรามีสิทธิที่จะประท้วงไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลกครับ

...

เรื่องกำหนดรื้อฟื้นคดี 10 ปีอยู่ในธรรมนูญศาลโลกมาตรา 61
ซึ่งไม่เกี่ยวกับที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้ เพราะเราประกาศ
สงวนสิทธิโดยไ่ม่ได้อ้างอิงมาตราดังกล่าว

แต่อ้างอิงไว้สรุปได้ว่า จะขอใช้สิทธิทั้งหลายที่พึงมีในอนาคต

ซึ่ง รมต.ต่างประเทศ และรัฐบาลสมัคร เพิ่งจะมีการกระทำ
ที่อาจกระทบต่อสิทธิดังกล่าวของประเทศชาติ

การที่คุณนพดล ไปค้นหาธรรมนูญมาตรา 61 มาอ้างอิงนั้น...

...ไม่ต่างอะไรกับทำตัวเป็นทนายให้เขมร!!!

...

ขอตอบคำถามอีกครั้งของคุณว่า รัฐบาลสมัครเพิ่งเอาประเทศ
ไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น ทั้งที่เราไม่มีความเดือดร้อนใดๆ เลย
ที่จะต้องสนองประโยชน์รัฐบาลเขมร

..ยังไม่นับข้อสงสัยเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้่อนที่อาจมีอีก..
ผมตอบแบบนี้ชัดเจน หายงง หรือยังครับ?  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 14:32
ผมไม่ได้มีปัญหาอะไร ความยุติธรรม ของศาลโลก หรือศาลไทย ยังเชื่อมั่นเสมอ

ผมแค่แปลกใจในกฎที่ใช้กันมากกว่า บางครั้งเห็นอยู่ว่ามันไม่ยุติธรรม เราก็ยังจำเป็นต้องใช้ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในสังคม
     มันคงจะวุ่นวาย ถ้ามีคนเห็นว่า เราไม่ควรยอมรับในกฎนั้นเพราะเห็นไม่ดีและไม่เป็นธรรม
ดื้อแพ่ง จะเขียนกฎใหม่บ้างที่คิดว่าดีและยุติธรรม ซึ่งกฎนี้ก้ไม่ได้ดีและยุติธรรมในสายตาอีกฝ่ายเลย
เห็นความวุ่นวายหรือยัง  มีแต่คนจะเขียนกฎ ไม่มีใครคิดจะยอมทำกฎเลย

....แน่นอน  ถ้าศาลไทยตัดสินให้คุณทักษิณผิด หรือพ้นผิด ผมก็จะเคารพในคำตัดสินของศาล :slime_smile:

แล้วคุณ mebeam คิดว่าประเทศไทยมีสิทธิประท้วงคำตัดสินของศาลโลกไหมครับ?

คิดว่าประเทศไทยควรประกาศสงวนสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของเราไว้หรือเปล่า?

และคิดว่ารัฐบาลสมควรมีพฤติกรรมใดๆ ที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิดังกล่าวหรือไม่?
ผมคิดว่ารัฐบาลสมัคร และ รมต.นพดล ทำตัวเหมือนเป็น รัฐบาลและรัฐมนตรีให้เขมร  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 14:45
คุณอะไรจ๊ะ คิดว่าเราไม่มีสิทธิวิจารณ์คำพิพากษาศาลโลกหรือครับ?

คุณคิดว่าไทยไม่สามารถประท้วงคำตัดสินดังกล่าวของศาลโลก
และคิดว่าไทยไม่สามารถประกาศสงวนสิทธิของเราหรืออย่างไร?
สุดท้ายจากข้อมูลที่นำเสนอ คุณอะไรจ๊ะคิดว่าฝรั่งเศสไม่โกงหรือ?  :slime_doubt:


คุณจีรศักดิ์ช่วยตอบหน่อยครับว่าหากไทยเราไม่เชื่อถือในกระบวนการของศาลโลกตั้งแต่แรก แล้วทำไมไทยเราถึงยังไปดึงดันต่อสู้กับเขมรในเรื่องปราสาทเขาพระวิหารโดยให้ศาลโลกเป็นผู้ตัดสิน?  มันเหมือนกับว่าเรากำลังทำตัวเป็นอันธพาลไม่ยอมรับในคำตัดสิน...แบบนี้ดินแดนต่างๆที่เคยเป็นของไทย/ดินแดนที่เคยเป็นของไทย-ลาว-พม่า-เวียดนามในอดีตจะไม่เป็นปัญหาหรือ!?! :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 15:19

คุณจีรศักดิ์ช่วยตอบหน่อยครับว่าหากไทยเราไม่เชื่อถือในกระบวนการของศาลโลกตั้งแต่แรก แล้วทำไมไทยเราถึงยังไปดึงดันต่อสู้กับเขมรในเรื่องปราสาทเขาพระวิหารโดยให้ศาลโลกเป็นผู้ตัดสิน?  มันเหมือนกับว่าเรากำลังทำตัวเป็นอันธพาลไม่ยอมรับในคำตัดสิน...แบบนี้ดินแดนต่างๆที่เคยเป็นของไทย/ดินแดนที่เคยเป็นของไทย-ลาว-พม่า-เวียดนามในอดีตจะไม่เป็นปัญหาหรือ!?! :slime_doubt:

ผมไม่แน่ใจว่า จริงๆ แล้วในตอนนั้นไทยมีทางเลือกแค่ไหนที่จะไม่ขึ้นศาลโลก
เท่าที่ทราบคือไทยเพิ่งจะผ่านเรื่องเกือบเป็นผู้แพ้สงคราม และเพิ่งได้เข้าเป็น
สมาชิกสหประชาชาติไม่นาน

เรื่องเป็นอันธพาลคงไม่จริง เพราะเราก็ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลตามสมควร

เพียงแต่เราประท้วงคำตัดสิน และประกาศสงวนสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตเอาไว้
และหากทำได้ก็จะขอใช้สิทธิที่พึงมีนั้นเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืน

ดินแดนต่างๆ ที่เคยเป็นของไทย-ลาว-เวียดนาม หากจะมีปัญหาเกิดขึ้น
ก็มีที่มาจากการทำแผนที่ขี้โกงของฝรั่งเศสทั้งนั้น
หากเรายอมรับแผนที่ดังกล่าว ก็เท่ากับยอมยกดินแดนให้พวกขี้โกง  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: prinz_bismarck ที่ 24-06-2008, 15:21
ผมสังเกตุเห็นว่านายอะไรจ๊ะทำตัวคล้ายๆนพดล ก็คือพยายามทำตัวเป็นทนายเขมร พยายามแก้ต่างให้เขมร :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 24-06-2008, 15:27
แล้วคุณ mebeam คิดว่าประเทศไทยมีสิทธิประท้วงคำตัดสินของศาลโลกไหมครับ?
มีครับ  โดยการ อุทรณ์ หาหลักฐานไปชี้แจง ในเวลา ที่ยังไม่หมดอายุความ
เรื่องนี้มันก็ เทียบเคียง กับเวลา คุณจีแพ้ความในศาลไทยนี่แหละครับ เวลาแพ้เพราะว่าศาลเขาไม่เห็นด้วยกับเรา เราเลยแพ้ แล้วเราทำไงครับ ก้อทำไปตามกฎสิครับ

คิดว่าประเทศไทยควรประกาศสงวนสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของเราไว้หรือเปล่า?
มันมีประโยชน์ เขียนไว้ในกฎหมายศาลโลกหรือเปล่า ถ้ามันไม่มีประโยชน์ทางกฎหมาย มันก็แค่คำสุนทรพจน์แสดงแนวคิด เท่านั้นแหละ
มันก็เหมือน ระบบกฎหมายของไทย คุณจีแพ้คดี
คุณจี ไม่ยอมหาหลักฐานไปสู้คดีใหม่ ภายในอายุความ ได้แต่เขียน คำประท้วง ประกาศสงวนสิทธิ์ พีงมีในอณาคต ผ่านไป 45 ปี ศาลไทยยอมรับมั๊ยครับ
มีผลในทางปฏิบัติอะไรใน ระบบกฏหมายไทยมั๊ยครับ  ในกฎหมายในไทยก็ไม่มี  กฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่มี  


และคิดว่ารัฐบาลสมควรมีพฤติกรรมใดๆ ที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิดังกล่าวหรือไม่?
ทำแล้วมันมีประโยชน์ต่อประเทศ ก็ทำไปเลยครับ  จะลบล้างการสงวนสิทธิซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อประเทศแล้ว

ผมคิดว่ารัฐบาลสมัคร และ รมต.นพดล ทำตัวเหมือนเป็น รัฐบาลและรัฐมนตรีให้เขมร  :slime_hmm:


คนสองฝ่าย พิพาทกันก็เนื่องมาจาก ความเห็นไม่ตรงกัน หลักฐานไม่ตรงกัน เชื่อไม่ตรงกัน
ต้องใช้ศาล เพื่ออะไร เอามาตัดสิน หรือเอามาเข้าข้างตัวเอง  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 24-06-2008, 15:44
สวัสดีครับคุณจีรศักดิ์... ผมเห็นว่ากระทู้นี้มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างสูงจากทั้ง 2 ฝ่าย... คิดว่าสิ่งที่คุณจีรศักดิ์รวบรวมสรุปมานั้นน่าจะได้แปลงให้อยู่ในรูปของ doc และ pdf ให้สะดวกต่อการนำมา print, เผยแพร่, และถกเถียงกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น... จึงได้ทำการแปลงดังกล่าวในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ

http://www.savefile.com/files/1626944

เป็น zip ไฟล์ขนาด 86 kb (เล็กมาก) มีทั้งไฟล์ doc และ pdf โดยเนื้อหาคัดลอกมาจากคุณจีรศักดิ์ทั้งหมด ปรับแต่งให้อยู่ใน 2 หน้ากระดาษ A4 โดยเพื่อสะดวกต่อการ print ขาวดำ จึงได้ปรับลักษณะการเน้นจากสีแดงและน้ำเงินต้นฉบับให้เป็นขาวดำในรูปลักษณ์อื่น แต่ยังคงสไตล์การเน้นแบบคุณจีรศักดิ์ไว้ครับ

ไฟล์ pdf มีไว้สำหรับให้คอมพิวเตอร์ทุกประเภทไม่ว่าวินโดว์ แมค ลีนุกซ์ สามารถพิมพ์ได้.. ส่วนไฟล์ doc มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงามตามต้องการครับ

 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 15:49
ผมไม่แน่ใจว่า จริงๆ แล้วในตอนนั้นไทยมีทางเลือกแค่ไหนที่จะไม่ขึ้นศาลโลก
เท่าที่ทราบคือไทยเพิ่งจะผ่านเรื่องเกือบเป็นผู้แพ้สงคราม และเพิ่งได้เข้าเป็น
สมาชิกสหประชาชาติไม่นาน

เรื่องเป็นอันธพาลคงไม่จริง เพราะเราก็ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลตามสมควร

เพียงแต่เราประท้วงคำตัดสิน และประกาศสงวนสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตเอาไว้
และหากทำได้ก็จะขอใช้สิทธิที่พึงมีนั้นเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืน

ดินแดนต่างๆ ที่เคยเป็นของไทย-ลาว-เวียดนาม หากจะมีปัญหาเกิดขึ้น
ก็มีที่มาจากการทำแผนที่ขี้โกงของฝรั่งเศสทั้งนั้น
หากเรายอมรับแผนที่ดังกล่าว ก็เท่ากับยอมยกดินแดนให้พวกขี้โกง  :slime_smile:


คุณจีรศักดิ์ทราบหรือไม่ว่าศาลโลกไม่มีชั้นอุทรณ์ และฎีกา...ผลพิพากษาของศาลโลกครั้งนั้นถือเป็นที่สิ้นสุด จะบอกว่าฝรั่งเศลขี้โกงก็ไม่ถูกต้อง เพราะศาลเค้าถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes....เมื่อ yes ก็จบ

ประเด็นก็คือ กรุณาอย่าสร้างความอับอายให้กับคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศนี้เลย เพราะประเทศไทยต้องคบค้ากับนานาประเทศ ถ้าวันนี้ไทยประกาศไม่รับคำพิพกาษาของศาลโลกในปี 2505 ถามว่าต่างชาติเค้าจะบ้าเข้ามาลงทุนในไทยไหม ณ วันนี้!?! :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 15:53
สวัสดีครับคุณจีรศักดิ์... ผมเห็นว่ากระทู้นี้มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างสูงจากทั้ง 2 ฝ่าย... คิดว่าสิ่งที่คุณจีรศักดิ์รวบรวมสรุปมานั้นน่าจะได้แปลงให้อยู่ในรูปของ doc และ pdf ให้สะดวกต่อการนำมา print, เผยแพร่, และถกเถียงกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น... จึงได้ทำการแปลงดังกล่าวในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ

http://www.savefile.com/files/1626944

เป็น zip ไฟล์ขนาด 86 kb (เล็กมาก) มีทั้งไฟล์ doc และ pdf โดยเนื้อหาคัดลอกมาจากคุณจีรศักดิ์ทั้งหมด ปรับแต่งให้อยู่ใน 2 หน้ากระดาษ A4 โดยเพื่อสะดวกต่อการ print ขาวดำ จึงได้ปรับลักษณะการเน้นจากสีแดงและน้ำเงินต้นฉบับให้เป็นขาวดำในรูปลักษณ์อื่น แต่ยังคงสไตล์การเน้นแบบคุณจีรศักดิ์ไว้ครับ

ไฟล์ pdf มีไว้สำหรับให้คอมพิวเตอร์ทุกประเภทไม่ว่าวินโดว์ แมค ลีนุกซ์ สามารถพิมพ์ได้.. ส่วนไฟล์ doc มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงามตามต้องการครับ

 :slime_smile:

ขอบคุณมากครับ คุณพระพาย  :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: totoro on a tree ที่ 24-06-2008, 15:54
ขอมั่งค่ะ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 15:55
ผมสังเกตุเห็นว่านายอะไรจ๊ะทำตัวคล้ายๆนพดล ก็คือพยายามทำตัวเป็นทนายเขมร พยายามแก้ต่างให้เขมร :slime_smile:


มิได้ครับ ผมมันคนตรง...ผิดเป็นผิด  ไม่ใช่ผิดแล้วแก้ตัวว่าถูก  เพราะหากไทยยังคลดึงดันเล่นเกมส์กับเขมรไม่เลิก เกรงว่าคนเขมรจะลุกฮือขึ้นทำร้ายคนไทยในเขวร และเผาสถานฑูตไทยได้อีก ถึงเวลาที่มีสงครามกัน...พวกรากหญ้าทั้งนั้นที่ถูกส่งไปตาย

คนที่คัดค้านเรื่องนี้...ไม่มีใครตายสักคนหรอกหากเกิดสงครามขึ้นมาจริงๆ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 24-06-2008, 15:56
ว่าจะตอบคุณจีแล้ว คุณ mebeam ตอบเหมือนกันพอดี


เรามีสิทธิที่จะประท้วงไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลกครับ

...

เรื่องกำหนดรื้อฟื้นคดี 10 ปีอยู่ในธรรมนูญศาลโลกมาตรา 61
ซึ่งไม่เกี่ยวกับที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้ เพราะเราประกาศ
สงวนสิทธิโดยไ่ม่ได้อ้างอิงมาตราดังกล่าว

แต่อ้างอิงไว้สรุปได้ว่า จะขอใช้สิทธิทั้งหลายที่พึงมีในอนาคต

ซึ่ง รมต.ต่างประเทศ และรัฐบาลสมัคร เพิ่งจะมีการกระทำ
ที่อาจกระทบต่อสิทธิดังกล่าวของประเทศชาติ

การที่คุณนพดล ไปค้นหาธรรมนูญมาตรา 61 มาอ้างอิงนั้น...

...ไม่ต่างอะไรกับทำตัวเป็นทนายให้เขมร!!!

...

ขอตอบคำถามอีกครั้งของคุณว่า รัฐบาลสมัครเพิ่งเอาประเทศ
ไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น ทั้งที่เราไม่มีความเดือดร้อนใดๆ เลย
ที่จะต้องสนองประโยชน์รัฐบาลเขมร

..ยังไม่นับข้อสงสัยเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้่อนที่อาจมีอีก..
ผมตอบแบบนี้ชัดเจน หายงง หรือยังครับ?  :slime_smile:

ที่เราประกาศสงวนสิทธิเอาไว้เนี่ย มันมีกำหนดตรงไหนในธรรมนูญศาลโลกว่าสามารถใช้ยกเว้นมาตรา 61 ได้ครับ

ถ้าไม่มีกำหนด แสดงว่าเราก็ต้องเคารพมาตรา 61 ใช่ไหมครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 16:05

คุณจีรศักดิ์ทราบหรือไม่ว่าศาลโลกไม่มีชั้นอุทรณ์ และฎีกา...ผลพิพากษาของศาลโลกครั้งนั้นถือเป็นที่สิ้นสุด จะบอกว่าฝรั่งเศลขี้โกงก็ไม่ถูกต้อง เพราะศาลเค้าถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes....เมื่อ yes ก็จบ

ประเด็นก็คือ กรุณาอย่าสร้างความอับอายให้กับคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศนี้เลย เพราะประเทศไทยต้องคบค้ากับนานาประเทศ ถ้าวันนี้ไทยประกาศไม่รับคำพิพกาษาของศาลโลกในปี 2505 ถามว่าต่างชาติเค้าจะบ้าเข้ามาลงทุนในไทยไหม ณ วันนี้!?! :slime_doubt:

แล้วคุณอะไรจ๊ะ คิดว่ามันจะมีแค่ "ศาลโลก" ไปตลอดกาลหรือครับ?

องค์กรอย่างสันนิบาตโลกยังล้มไปแล้ว กลายมาเป็นสหประชาชาติในปัจจุบัน
สมัยก่อนศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มี ศาลคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ไม่มี

หรือมาดูข้อกฎหมาย สมัยก่อนไปเซ็นอะไรไว้จะเสียเปรียบอย่างไรก็ต้องทำตาม
แต่ปัจจุบันมี กฎหมายสัญญาไม่เป็นธรรม เกิดขึ้น

คุณอะไรจ๊ะ แน่ใจได้อย่างไรว่าต่อไปจะไม่มีการจัดตั้งศาลกรณีพิพาทพรมแดน?
หรือจะไม่มี กฎหมายสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม?
ทั้งหมดคือสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของประเทศไทย ที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้  :slime_smile:

...

ที่คุณอะไรจ๊ะบอก "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes"
มีหลักฐานจากไหน เท่าที่ผมอ่านสำนวนทั้งหมดไม่เคยเห็น คำถาม-คำตอบ แบบนั้น

ความจริงมีว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่ดังกล่าว แต่ก็ไม่เคยทักท้วงเหมือนกัน
ซึ่งฝ่ายเขมรถือโอกาสตรงจุดนี้ ว่าไม่ทักท้วงถือว่ายอมรับโดยปริยาย

ความจริงมีว่าฝรั่งเศสทำแผนที่โดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ และข้อมูลในแผนที่
ไม่ได้ทำถูกต้องตรงตามสาระสำคัญในสนธิสัญญา และในที่สุดฝรั่งเศสและเขมร
ก็นำแผนที่ดังกล่าวมาใช้อ้างอิงสิทธิของตัวเอง.. อ้างว่าไทยไม่ทักท้วง!!!
ถ้าเป็นคุณสนธิก็ต้องถามว่า "พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย.. แบบนี้ .. โกงไม่โกง?"  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 16:11
แล้วคุณอะไรจ๊ะ คิดว่ามันจะมีแค่ "ศาลโลก" ไปตลอดกาลหรือครับ?

องค์กรอย่างสันนิบาตโลกยังล้มไปแล้ว กลายมาเป็นสหประชาชาติในปัจจุบัน
ในสมัยก่อนศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มี ศาลคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ไม่มี

หรือมาดูข้อกฎหมาย สมัยก่อนไปเซ็นอะไรไว้จะเสียเปรียบอย่างไรก็ต้องทำตาม
แต่ปัจจุบันมี กฎหมายสัญญาไม่เป็นธรรม เกิดขึ้น

คุณอะไรจ๊ะ แน่ใจได้อย่างไรว่าต่อไปจะไม่มีการจัดตั้งศาลกรณีพิพาทพรมแดน?
หรือจะไม่มี กฎหมายสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม?
ทั้งหมดคือสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของประเทศไทย ที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้  :slime_smile:

...

ที่คุณอะไรจ๊ะบอก "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes"
มีหลักฐานจากไหน เท่าที่ผมอ่านสำนวนทั้งหมดไม่เคยเห็น คำถาม-คำตอบ แบบนั้น

ความจริงมีว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่ดังกล่าว แต่ก็ไม่เคยทักท้วงเหมือนกัน
ซึ่งฝ่ายเขมรถือโอกาสตรงจุดนี้ ว่าไม่ทักท้วงถือว่ายอมรับโดยปริยาย

ความจริงมีว่าฝรั่งเศสทำแผนที่โดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ และข้อมูลในแผนที่
ไม่ได้ทำถูกต้องตรงตามสาระสำคัญในสนธิสัญญา และในที่สุดฝรั่งเศสและเขมร
ก็นำแผนที่ดังกล่าวมาใช้อ้างอิงสิทธิของตัวเอง.. อ้างว่าไทยไม่ทักท้วง!!!
ถ้าเป็นคุณสนธิก็ต้องถามว่า "พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย.. แบบนี้ .. โกงไม่โกง?"  :slime_smile:


สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

คุณจีรศักดิ์กำลังใช้หลักการคาดเดาว่า ในอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้โดยพยายามหลอกตัวเองและไม่สนใจในคำพิพากษาของศาลโลกที่ได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นไปแล้ว จะมาอ้างว่าคนนั้นคนนี้โกง...กระบวนการยุติธรรมระดับนานาประเทศเค้าฟังหรือเปล่าครับ? จะบอกว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่...มันฟังไม่ขึ้นหรอกเพราะคำตัดสินของศาลโลกเหนือมติใดๆของครม.ไทย ยกเว้นว่าไทยจะลาออกจากยูเอ็นเท่านั้น!!


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: totoro on a tree ที่ 24-06-2008, 16:14
ที่อภิสิทธิ์อภิปราย


ฟังแล้ว


นพเหล่


ไม่มีเหลือแล้ว


ไม่มีชิ้นดี

หลักฐานทั้งหลายที่นำมา  ล้วนแต่เป็นเอกสารมัดตัวเหล่

เป็นสายสิญจน์ที่มัดเหล่ และ พวกอย่างไม่หลุด



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 16:17
ที่อภิสิทธิ์อภิปราย


ฟังแล้ว


นพเหล่


ไม่มีเหลือแล้ว


ไม่มีชิ้นดี

หลักฐานทั้งหลายที่นำมา  ล้วนแต่เป็นเอกสารมัดตัวเหล่

เป็นสายสิญจน์ที่มัดเหล่ และ พวกอย่างไม่หลุด




เด็กชาย ม. เจ็ดเนี่ยน๊ะ!?!  กร๊ากกกกกกกกก :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: totoro on a tree ที่ 24-06-2008, 16:21
จริงๆ อยากจะให้มีการทำเป็นการ์ตูนง่ายๆ

ให้เด็กๆเข้าใจค่ะ หรือทำยังไงก็ได้ให้เข้าใจง่ายที่สุด

แบบว่าย่อยให้ง่ายๆ เพราะว่ารู้จักคนที่เป็น web master แล้วเค้าทำบอร์ดพวก

เกาหลี ญี่ปุ่นอยู่ จะได้ให้เค้าเอาไปเผยแพร่ให้พวกเด็กๆได้อ่าน

แต่ว่าได้เท่านี้ก็ดีแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ

 :slime_v:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 16:24
ว่าจะตอบคุณจีแล้ว คุณ mebeam ตอบเหมือนกันพอดี

ที่เราประกาศสงวนสิทธิเอาไว้เนี่ย มันมีกำหนดตรงไหนในธรรมนูญศาลโลกว่าสามารถใช้ยกเว้นมาตรา 61 ได้ครับ

ถ้าไม่มีกำหนด แสดงว่าเราก็ต้องเคารพมาตรา 61 ใช่ไหมครับ

คุณไม่เอาพันธมารฯ ต้องทำความเข้าใจว่าเราไม่ได้ประกาศสงวนสิทธิเพื่อยกเว้นมาตรา 61 นะครับ
และมาตรา 61 ก็มีเนื้อความระบุเพียงข้อกำหนดในการขอทบทวนคำพิพากษา ไม่ได้มีไว้ให้เคารพ

แต่เราประกาศสงวนสิทธิทั้งหลายที่พึงมี ซึ่งกว้างขวางครอบคลุมมากกว่ามาตรา 61 หลายเท่า

ยกตัวอย่างเช่น ครอบคลุมถึง มาตรา 60 ที่ระบุเอาไว้เกี่ยวกับการขอให้ศาลตีความคำวินิจฉัย
ซึ่งการตีความคำพิพากษาตามมาตรานี้ไม่มีกำหนดเวลา เราจะขอตีความเมื่อไหร่ก็ได้ครับ  :slime_smile:

...

ผมเอาธรรมนูญศาลโลกมาตรา 60-61 มาให้ดูด้วยเลยก็แล้วกัน เผื่อว่าผู้สนใจจะนำไปใช้อ้างอิง
ข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาที่จะขอทบทวนคำตัดสินอยู่ในข้อ 5 ของมาตรา 61 ครับ

http://www.icj-cij.org/documents/index.php?p1=4&p2=2&p3=0#CHAPTER_III

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ARTICLE 60

The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope
of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.


ARTICLE 61

1. An application for revision of a judgment may be made only when it is based upon the discovery
of some fact of such a nature as to be a decisive factor, which fact was, when the judgment was given,
unknown to the Court and also to the party claiming revision, always provided that such ignorance
was not due to negligence.

2. The proceedings for revision shall be opened by a judgment of the Court expressly recording
the existence of the new fact, recognizing that it has such a character as to lay the case open to revision,
and declaring the application admissible on this Ground.

3. The Court may require previous compliance with the terms of the judgment before it admits
proceedings in revision.

4. The application for revision must be made at latest within six months of the discovery of the new fact

5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment.


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 24-06-2008, 16:29
ฟังอยู่ เหมือนคุณอภิสิทธิ์  เข้ามาอ่านข้อมูลคุณจีเลย เดี๊ยะๆ
มี อเมริกา อิสราเอลงอแงคำตัดสินด้วย
มีทนายของเขมรด้วย

ไอ้ประโยค ข้อ 61 อายุความ 10ปี ผมรอฟังอยู่จะแก้ยังไง
ด่าคุณนพดลไปแล้วว่า ที่ยกมาทำตัวเหมือนเป็นทนายเขมร
แต่ไม่มีคำแก้ต่าง ด่าเขาฟรีๆ เลย
พูดอย่างที่ว่า ถ้าคุณนพดลไม่พูดกฎข้อนี้มันจะหายไป หรือเขมรไม่รู้นี่กฎนี้น่ะ
เหมือนคุณจีทุกประการเลย  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 16:30

สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

คุณจีรศักดิ์กำลังใช้หลักการคาดเดาว่า ในอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้โดยพยายามหลอกตัวเองและไม่สนใจในคำพิพากษาของศาลโลกที่ได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นไปแล้ว จะมาอ้างว่าคนนั้นคนนี้โกง...กระบวนการยุติธรรมระดับนานาประเทศเค้าฟังหรือเปล่าครับ? จะบอกว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่...มันฟังไม่ขึ้นหรอกเพราะคำตัดสินของศาลโลกเหนือมติใดๆของครม.ไทย ยกเว้นว่าไทยจะลาออกจากยูเอ็นเท่านั้น!!

ตกลงที่ "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes" มันมีจริงไหมครับ?  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: prinz_bismarck ที่ 24-06-2008, 16:35

มิได้ครับ ผมมันคนตรง...ผิดเป็นผิด  ไม่ใช่ผิดแล้วแก้ตัวว่าถูก  เพราะหากไทยยังคลดึงดันเล่นเกมส์กับเขมรไม่เลิก เกรงว่าคนเขมรจะลุกฮือขึ้นทำร้ายคนไทยในเขวร และเผาสถานฑูตไทยได้อีก ถึงเวลาที่มีสงครามกัน...พวกรากหญ้าทั้งนั้นที่ถูกส่งไปตาย

คนที่คัดค้านเรื่องนี้...ไม่มีใครตายสักคนหรอกหากเกิดสงครามขึ้นมาจริงๆ

ผมว่าคนที่คัดค้านต่างหากจะเป็นแนวหน้าไปตายเป็นพวกแรก คนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ย่อมเป็นคนแรกที่อาสาไปสู้อยู่แล้ว นี้เป็นเรื่องปกติ
แตพวกที่สนับสนุนให้ขายชาติ ขายแผ่นดิน พวกนี้มันไม่ยอมไปตายหรอก มันกลัวอดใช้เงิน


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 24-06-2008, 16:36

สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

คุณจีรศักดิ์กำลังใช้หลักการคาดเดาว่า ในอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้โดยพยายามหลอกตัวเองและไม่สนใจในคำพิพากษาของศาลโลกที่ได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นไปแล้ว จะมาอ้างว่าคนนั้นคนนี้โกง...กระบวนการยุติธรรมระดับนานาประเทศเค้าฟังหรือเปล่าครับ? จะบอกว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่...มันฟังไม่ขึ้นหรอกเพราะคำตัดสินของศาลโลกเหนือมติใดๆของครม.ไทย ยกเว้นว่าไทยจะลาออกจากยูเอ็นเท่านั้น!!

คุณ The Last Emperor ครับ... ที่ผมมาร์คแดงไว้ น่าจะเป็นคำตอบที่ตอบโดยตัวคุณผู้ถามเองอยู่แล้ว

ก็เพราะเรานิ่งเฉยตอนรับแผนที่มา (ไม่แน่ใจว่ามีเซ็นต์รับแผนที่แบบรับมอบงานด้วยหรือเปล่า? เพราะลายลักษณ์อักษรในสัญญากับการเซ็นต์รับน่าจะมีน้ำหนักมากกว่าท่าที เฉย-ไม่เฉย) ทำให้ศาลโลกใช้วิธีพิจารณาโดยอิงหลักการ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" และทำให้เสียสิทธิการอ้างความถูกต้องของแผนที่ไป

ดังนั้น ถ้าศาลโลกยังคงยึดหลักการบ้าบอแบบ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" แบบนี้... การที่ไทยเราไม่นิ่งเฉยและยื่นประท้วงเพื่อรักษาสิทธิการทวงคืนปราสาทพระวิหารจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ... จริงไหมครับ.. เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องปรากฎอยู่ในมาตราไหนทั้งสิ้น

และดังนั้น.. ถ้าในอนาคตมีระบบกฎหมายโลกใหม่ๆ ขึ้นมา และมีความครอบคลุมต่อกรณีปราสาทพระวิหาร... เราจึงยังมีสิทธิฟื้นคดีนี้ขึ้นมาอีก... แต่ถ้าเรานิ่งเฉยไม่ยื่นประท้วงการตัดสินตั้งแต่คราวนั้น ก็อาจเขากรณีเดิมคือ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" และไม่อาจรื้อฟื้นคดีปราสาทพระวิหารขึ้นอีก ไม่ว่าจะด้วยกลไกใดใด

แต่นี่รัฐบาลกลับทำยิ่งกว่า "นิ่งเฉย" เสียอีก... นั่นคือการ "ยอมรับอย่างเป็นทางการ" จากผู้นำรัฐบาลและรมต.ต่างประเทศฯ ... สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยต่อคดีปราสาทพระวิหารในอนาคตอย่างแน่นอนครับ

ที่คุณ The Last Emperor อ้างอิงเห็นเหตุผลมานี้ เป็นสิ่งที่คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว และคงเข้าใจเป็นอย่างดีว่าคุณจีที่คุณกล่าวถึงก็ไม่ได้หลอกตัวเองแต่อย่างใดครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 24-06-2008, 16:38
แล้วคุณอะไรจ๊ะ คิดว่ามันจะมีแค่ "ศาลโลก" ไปตลอดกาลหรือครับ?

องค์กรอย่างสันนิบาตโลกยังล้มไปแล้ว กลายมาเป็นสหประชาชาติในปัจจุบัน
สมัยก่อนศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มี ศาลคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ไม่มี

หรือมาดูข้อกฎหมาย สมัยก่อนไปเซ็นอะไรไว้จะเสียเปรียบอย่างไรก็ต้องทำตาม
แต่ปัจจุบันมี กฎหมายสัญญาไม่เป็นธรรม เกิดขึ้น

คุณอะไรจ๊ะ แน่ใจได้อย่างไรว่าต่อไปจะไม่มีการจัดตั้งศาลกรณีพิพาทพรมแดน?
หรือจะไม่มี กฎหมายสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม?
ทั้งหมดคือสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของประเทศไทย ที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้  :slime_smile:

...

ที่คุณอะไรจ๊ะบอก "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes"
มีหลักฐานจากไหน เท่าที่ผมอ่านสำนวนทั้งหมดไม่เคยเห็น คำถาม-คำตอบ แบบนั้น

ความจริงมีว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่ดังกล่าว แต่ก็ไม่เคยทักท้วงเหมือนกัน
ซึ่งฝ่ายเขมรถือโอกาสตรงจุดนี้ ว่าไม่ทักท้วงถือว่ายอมรับโดยปริยาย

ความจริงมีว่าฝรั่งเศสทำแผนที่โดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ และข้อมูลในแผนที่
ไม่ได้ทำถูกต้องตรงตามสาระสำคัญในสนธิสัญญา และในที่สุดฝรั่งเศสและเขมร
ก็นำแผนที่ดังกล่าวมาใช้อ้างอิงสิทธิของตัวเอง.. อ้างว่าไทยไม่ทักท้วง!!!
ถ้าเป็นคุณสนธิก็ต้องถามว่า "พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย.. แบบนี้ .. โกงไม่โกง?"  :slime_smile:

คุณใช้ความคิดของคุณบอกว่าอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ถ้าผมคิดบ้างได้ไหมครับว่าอนาคตมันก็คงไม่มีธรรมนูญข้อไหนออกช่องมาให้แก้ไขสิ่งที่ศาลโลกได้ตัดสินไปแล้ว
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเขตแดน คงไม่มีข้อไหนอนุญาติให้ประท้วงแบ่งเขตใหม่
เพราะถ้าเป็นจริง โลกคงวุ่นวานมากกว่านี้ เพราะจะมีประเทศที่อ้างความชอบธรรมไปทั่ว
(ไม่นับพวกที่ไม่สนเรื่องประเด็นความสัมพันธ์กับชาติอื่นนะครับ)

แล้วด้วยตรรกะนี้ คุณจีคิดว่าเราควรตัดสินใจแบบไหนละครับ


http://www.icj-cij.org/documents/index.php?p1=4&p2=2&p3=0#CHAPTER_III

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ARTICLE 60

The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope
of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.


ARTICLE 61

1. An application for revision of a judgment may be made only when it is based upon the discovery
of some fact of such a nature as to be a decisive factor, which fact was, when the judgment was given,
unknown to the Court and also to the party claiming revision, always provided that such ignorance
was not due to negligence.

2. The proceedings for revision shall be opened by a judgment of the Court expressly recording
the existence of the new fact, recognizing that it has such a character as to lay the case open to revision,
and declaring the application admissible on this Ground.

3. The Court may require previous compliance with the terms of the judgment before it admits
proceedings in revision.

4. The application for revision must be made at latest within six months of the discovery of the new fact

5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment.

อ่านที่คุณจีเอามาให้ (ขอบคุณที่เอามาให้อ่านนะครับ) ผมสงสัยว่ามาตรา 60 เนี่ยก็บอกอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับว่า final แต่ถ้าสงสัยให้ยื่นตีความได้


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 16:43
ตกลงที่ "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes" มันมีจริงไหมครับ?  :slime_smile:


เติ้ลแค่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆว่ากระบวนการดำเนินคดีความของทนายความของไทยเค้าตอบเรื่องแผนที่ดังกล่าวเช่นไร สรุปได้ว่า action ของทนายไทยไม่ปฎิเสธแผนที่ดังกล่าว เพราะถ้าปฏิเสธก็ต้องมีเอกสารมายืนยันว่าช่วงนั้นทนายไทยปฏิเสธ


มีแต่คุณจีรศักดิ์และบางคนในปี 2551 เท่านั้นที่ยังคอเอียงปฏิเสธแผนที่ดังกล่าว  ฮ่าๆๆๆ :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 16:46
ฟังอยู่ เหมือนคุณอภิสิทธิ์  เข้ามาอ่านข้อมูลคุณจีเลย เดี๊ยะๆ
มี อเมริกา อิสราเอลงอแงคำตัดสินด้วย
มีทนายของเขมรด้วย

ไอ้ประโยค ข้อ 61 อายุความ 10ปี ผมรอฟังอยู่จะแก้ยังไง
ด่าคุณนพดลไปแล้วว่า ที่ยกมาทำตัวเหมือนเป็นทนายเขมร
แต่ไม่มีคำแก้ต่าง ด่าเขาฟรีๆ เลย
พูดอย่างที่ว่า ถ้าคุณนพดลไม่พูดกฎข้อนี้มันจะหายไป หรือเขมรไม่รู้นี่กฎนี้น่ะ
เหมือนคุณจีทุกประการเลย  :slime_smile:


ผมฟังแล้วก็สงสัยอยู่เหมือนกัน เว็บเสรีไทยก็กำลังดังเสียด้วย  :slime_bigsmile:

เดือนนี้ก็จะถึง 1 ล้านเพจวิวอีกแล้ว+อาจมี 1000 กระทู้ใหม่
ผมลองเช็ค ranking พบว่าเราติด 1 ใน 1000 เว็บไทยแล้ว  :slime_v:

...

เรื่องอายุความ 10 ปีผมตอบแล้วพร้อมนำธรรมนูญศาลโลก
มาตรา 60-61 มาให้ดูประกอบด้วย

คิดว่าคุณ mebeam คงได้อ่านเีรียบร้อยแล้วนะครับ  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 16:51
คุณใช้ความคิดของคุณบอกว่าอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ถ้าผมคิดบ้างได้ไหมครับว่าอนาคตมันก็คงไม่มีธรรมนูญข้อไหนออกช่องมาให้แก้ไขสิ่งที่ศาลโลกได้ตัดสินไปแล้ว
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเขตแดน คงไม่มีข้อไหนอนุญาติให้ประท้วงแบ่งเขตใหม่
เพราะถ้าเป็นจริง โลกคงวุ่นวานมากกว่านี้ เพราะจะมีประเทศที่อ้างความชอบธรรมไปทั่ว
(ไม่นับพวกที่ไม่สนเรื่องประเด็นความสัมพันธ์กับชาติอื่นนะครับ)

แล้วด้วยตรรกะนี้ คุณจีคิดว่าเราควรตัดสินใจแบบไหนละครับ

อ่านที่คุณจีเอามาให้ (ขอบคุณที่เอามาให้อ่านนะครับ) ผมสงสัยว่ามาตรา 60 เนี่ยก็บอกอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับว่า final แต่ถ้าสงสัยให้ยื่นตีความได้

ต่อให้เป็นแบบที่คุณทำนายจริง การประกาศสงวนสิทธิเอาไว้ก็ไม่เห็นเสียหายตรงไหน
เราคงไม่ต้องมาคุยประเด็นนี้กันอีกนะครับ ว่าอาจทวงคืนไ่ม่ได้เลยไม่สงวนสิทธิ

สำหรับมาตรา 60 ต้องดูที่ประโยคต่อไปครับ สรุปว่าเราขอตีความเมื่อไหร่ก็ได้
(คงไม่ต้องใ้ห้ผมแปลธรรมนูญนะครับ)
  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 16:52

เติ้ลแค่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆว่ากระบวนการดำเนินคดีความของทนายความของไทยเค้าตอบเรื่องแผนที่ดังกล่าวเช่นไร สรุปได้ว่า action ของทนายไทยไม่ปฎิเสธแผนที่ดังกล่าว เพราะถ้าปฏิเสธก็ต้องมีเอกสารมายืนยันว่าช่วงนั้นทนายไทยปฏิเสธ

มีแต่คุณจีรศักดิ์และบางคนในปี 2551 เท่านั้นที่ยังคอเอียงปฏิเสธแผนที่ดังกล่าว  ฮ่าๆๆๆ :slime_smile2:

สุดท้ายก็เข้าตำราเดิม (แสดงว่าเป็นคุณอะไรจ๊ะตัวจริง)  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 16:55
คุณ The Last Emperor ครับ... ที่ผมมาร์คแดงไว้ น่าจะเป็นคำตอบที่ตอบโดยตัวคุณผู้ถามเองอยู่แล้ว

ก็เพราะเรานิ่งเฉยตอนรับแผนที่มา (ไม่แน่ใจว่ามีเซ็นต์รับแผนที่แบบรับมอบงานด้วยหรือเปล่า? เพราะลายลักษณ์อักษรในสัญญากับการเซ็นต์รับน่าจะมีน้ำหนักมากกว่าท่าที เฉย-ไม่เฉย) ทำให้ศาลโลกใช้วิธีพิจารณาโดยอิงหลักการ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" และทำให้เสียสิทธิการอ้างความถูกต้องของแผนที่ไป

ดังนั้น ถ้าศาลโลกยังคงยึดหลักการบ้าบอแบบ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" แบบนี้... การที่ไทยเราไม่นิ่งเฉยและยื่นประท้วงเพื่อรักษาสิทธิการทวงคืนปราสาทพระวิหารจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ... จริงไหมครับ.. เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องปรากฎอยู่ในมาตราไหนทั้งสิ้น

และดังนั้น.. ถ้าในอนาคตมีระบบกฎหมายโลกใหม่ๆ ขึ้นมา และมีความครอบคลุมต่อกรณีปราสาทพระวิหาร... เราจึงยังมีสิทธิฟื้นคดีนี้ขึ้นมาอีก... แต่ถ้าเรานิ่งเฉยไม่ยื่นประท้วงการตัดสินตั้งแต่คราวนั้น ก็อาจเขากรณีเดิมคือ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" และไม่อาจรื้อฟื้นคดีปราสาทพระวิหารขึ้นอีก ไม่ว่าจะด้วยกลไกใดใด

แต่นี่รัฐบาลกลับทำยิ่งกว่า "นิ่งเฉย" เสียอีก... นั่นคือการ "ยอมรับอย่างเป็นทางการ" จากผู้นำรัฐบาลและรมต.ต่างประเทศฯ ... สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยต่อคดีปราสาทพระวิหารในอนาคตอย่างแน่นอนครับ

ที่คุณ The Last Emperor อ้างอิงเห็นเหตุผลมานี้ เป็นสิ่งที่คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว และคงเข้าใจเป็นอย่างดีว่าคุณจีที่คุณกล่าวถึงก็ไม่ได้หลอกตัวเองแต่อย่างใดครับ


ตอบได้ง่ายเลยค่ะว่า ศาลโลกตัดสินไปกว่า 40 ปีแล้วและไทยก็นิ่งเฉยไม่คัดค้าน...ถามว่าตอนนี้ศาลโลกเค้าเปิดโอกาสให้มีการยื่นอุธรณ์ในเรื่องนี้ไหม? ถ้าตอบตรงนี้ได้ก็จะเข้าใจในเรื่องราวทั้งหมด แต่ถ้ายังดันต่อไปว่าไทยต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้แบบไม่รู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติของศาลโลก...ก็คุยกันวนไปวนมาอย่างนี้


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: totoro on a tree ที่ 24-06-2008, 16:57
ไว้อาลัยให้สมัคร สุนทรเวช

ตายไปแล้ว ตอบคำถามไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว

 :slime_surrender:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 16:59
ขออนุญาตนำข้อมูลของท่านจีรศักดิ์มายืนยันอีกครั้งครับว่า คำสั่งศาลโลกในปี 2505 ถือว่าสิ้นสุดไปแล้ว และไทยเองก็ไม่ได้ทำเรื่องร้องเรียนภายในปี 2515...จบแล้วครับ


"ARTICLE 60

The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope
of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.  


ARTICLE 61

1. An application for revision of a judgment may be made only when it is based upon the discovery
of some fact of such a nature as to be a decisive factor, which fact was, when the judgment was given,
unknown to the Court and also to the party claiming revision, always provided that such ignorance
was not due to negligence.

2. The proceedings for revision shall be opened by a judgment of the Court expressly recording
the existence of the new fact, recognizing that it has such a character as to lay the case open to revision,
and declaring the application admissible on this Ground.

3. The Court may require previous compliance with the terms of the judgment before it admits
proceedings in revision.

4. The application for revision must be made at latest within six months of the discovery of the new fact

5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment."


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 17:04

ตอบได้ง่ายเลยค่ะว่า ศาลโลกตัดสินไปกว่า 40 ปีแล้วและไทยก็นิ่งเฉยไม่คัดค้าน...ถามว่าตอนนี้ศาลโลกเค้าเปิดโอกาสให้มีการยื่นอุธรณ์ในเรื่องนี้ไหม? ถ้าตอบตรงนี้ได้ก็จะเข้าใจในเรื่องราวทั้งหมด แต่ถ้ายังดันต่อไปว่าไทยต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้แบบไม่รู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติของศาลโลก...ก็คุยกันวนไปวนมาอย่างนี้

ขออนุญาตนำข้อมูลของท่านจีรศักดิ์มายืนยันอีกครั้งครับว่า คำสั่งศาลโลกในปี 2505 ถือว่าสิ้นสุดไปแล้ว และไทยเองก็ไม่ได้ทำเรื่องร้องเรียนภายในปี 2515...จบแล้วครับ


"ARTICLE 60

The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope
of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.  


ผมอธิบายจนเมื่อยมือแล้ว ทำไมคุณอะไรจ๊ะยังไม่ถึงไหนเลย  :slime_hmm:

เอาแค่ตาม มาตรา 60 ที่ยกมาให้ดูก็เห็นแล้วว่าเราจะขอตีความ
คำพิพากษาเมื่อไหร่ก็ได้ ศาลโลกเขาเปิดให้ยื่นตีความได้เสมอ
โดยไม่กำหนดเวลา ซึ่งการตีความคำพิพากษาใหม่ก็อาจให้ผล
คล้ายกับการเปลี่ยนคำพิพากษา

ยังไม่นับเรื่องที่อาจมีองค์กรใหม่ หรือกฎหมายใหม่เกิดขึ้นมา
ที่ไทยเราจะได้สิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้

ซึ่งทั้งหมดนี้ประเทศไทยได้ประกาศสงวนสิทธิเอาไว้แล้ว  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 24-06-2008, 17:04
ขอสรุปประเด็นนิดนึงนะครับไม่ทราบผิดถูกอย่างไรลองเสนอความเห็นดู

ตอนนี้ประเด็นเรื่องเขมรยื่่นเรื่องประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไม่ได้รุกล้ำดินดินของไทยเพิ่มเติมจากที่ศาลโลกตัดสิน
คิดว่าทุกฝ่ายคงเข้าใจตรงกัน

แต่ประเด็นที่ถกเถียงกันคือ ประเด็นว่า ณ. วันนี้ เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น  ใช่ไหมครับ

ผมขอเสนอความคิดเห็นว่า ณ. วันนี้ เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น เพราะ

1. จากข้อ 60 ผมแปลความว่า "การตัดสิินนั้นเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุทรณ์ ในกรณีที่มีการโต้เถียงเกี่ยวกับการตีความ
    หรือขอบเขตของการตัดสิน, ศาลต้องวิเคราะห์ให้ตามที่ร้องขอ" ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ แต่ถ้าแปลอย่างนี้
    ผมขอตีึความแบบง่ายๆว่า "ตัดสินแล้วเป็นที่สิ้นสุด แต่ถ้าสงสัยให้ซักถามได้" ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะอนุญาติ
    ให้กลับคำตัดสินนี่ครับ
2. อนาคตผมคิดว่าเป็นการยากที่จะมีการเปลี่ยนธรรมนูญให้เกิดการเือื้อประโยชน์ในการขอเปลี่ยนแปลงเขตแดนใหม่
    เหตุผลก็เหมือนกับที่ผมกล่าวในกระทู้ก่อนหน้านี่แหละครับ
2. ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่มีคำตัดสินมา ประเทศไทยแสดงท่าที,บทบาทมาตลอดว่ายอมรับในคำตัดสิิน
   ไม่นับประกาศเจตนารมณ์ที่มีขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อ 50 ปีที่แล้วนะครับ ดังจะเห็นได้จาก แผนที่, การปฏิบัติต่อดินแดน
   ในส่วนของเขาพระวิหาร แล้วทำไมในปีนี้ เราจะถือเอาสิทธิที่ไม่เคยได้อ้างถึงมา 50 ปีมาใช้ในการทวงคืนละครับ

ปล. 1 ผมขอให้ตัดประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนออกเถอะครับ เพราะนอกจากข่าวลือแล้ว ยังไม่เห็นอะไรที่พอจะเป็นหลักฐาน
         ได้ว่า อดีตนายกได้สัมปทานแถวเกาะกงเลยครับ
ปล. 2 กรุณาอย่าคิดว่าผม(รวมถึงคนอื่นๆ ที่คิดต่างกับเรา) เป็นคนไม่รักชาติเลยครับ เพราะผมก็รักชาติเหมือนพวกคุณนั่นแหละ
        เพียงแต่มีมุมมองที่แตกต่างกันเท่านั้น


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 17:11
ผมอธิบายจนเมื่อยมือแล้ว ทำไมคุณอะไรจ๊ะยังไม่ถึงไหนเลย  :slime_hmm:

เอาแค่ตาม มาตรา 60 ที่ยกมาให้ดูก็เห็นแล้วว่าเราจะขอตีความ
คำพิพากษาเมื่อไหร่ก็ได้ ศาลโลกเขาเปิดให้ยื่นตีความได้เสมอ
โดยไม่กำหนดเวลา ซึ่งการตีความคำพิพากษาใหม่ก็อาจให้ผล
คล้ายกับการเปลี่ยนคำพิพากษา

ยังไม่นับเรื่องที่อาจมีองค์กรใหม่ หรือกฎหมายใหม่เกิดขึ้นมา
ที่ไทยเราจะได้สิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้

ซึ่งทั้งหมดนี้ประเทศไทยได้ประกาศสงวนสิทธิเอาไว้แล้ว  :slime_smile:


5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment." ช่วยอธิบายให้จ๊ะฟังหน่อย pleaseeeee :slime_inlove:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 24-06-2008, 17:13
ผมอธิบายจนเมื่อยมือแล้ว ทำไมคุณอะไรจ๊ะยังไม่ถึงไหนเลย  :slime_hmm:

เอาแค่ตาม มาตรา 60 ที่ยกมาให้ดูก็เห็นแล้วว่าเราจะขอตีความ
คำพิพากษาเมื่อไหร่ก็ได้ ศาลโลกเขาเปิดให้ยื่นตีความได้เสมอ
โดยไม่กำหนดเวลา ซึ่งการตีความคำพิพากษาใหม่ก็อาจให้ผล
คล้ายกับการเปลี่ยนคำพิพากษา

ยังไม่นับเรื่องที่อาจมีองค์กรใหม่ หรือกฎหมายใหม่เกิดขึ้นมา
ที่ไทยเราจะได้สิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้

ซึ่งทั้งหมดนี้ประเทศไทยได้ประกาศสงวนสิทธิเอาไว้แล้ว  :slime_smile:

ถามคุณจีครับ คุณคิดว่าข้อ 60 มีไว้เพื่อให้อุธรณ์คำตัดสินได้หรือครับ จะมีนักกฏหมาย(รวมถึงศาล)
ที่ไหนจะเขียนมาตรานี้ขึ้นมา เพราะถ้าฝ่าย B ชนะ แล้วฝ่าย A ยื่นอุธรณ์ แล้วศาลกลับคำตัดสิน ฝ่าย B ก็สามารถใช้ข้อนี้
ในการยื่นอุธรณ์คำตัดสินอันนี้ได้อีก แล้วข้อยุติจะอยู่ตรงไหนครับ มีนักกฎหมายที่ไหนจะตีความอย่างนี้ครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 17:14
วันนี้ไม่ต้องหลับต้องนอนกันแล้ว...เอาให้รู้เรื่องกันสักที พับผ่าซิเอ๊า!! :slime_whistle:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 17:17
ขอสรุปประเด็นนิดนึงนะครับไม่ทราบผิดถูกอย่างไรลองเสนอความเห็นดู

ตอนนี้ประเด็นเรื่องเขมรยื่่นเรื่องประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไม่ได้รุกล้ำดินดินของไทยเพิ่มเติมจากที่ศาลโลกตัดสิน
คิดว่าทุกฝ่ายคงเข้าใจตรงกัน

แต่ประเด็นที่ถกเถียงกันคือ ประเด็นว่า ณ. วันนี้ เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น  ใช่ไหมครับ

ผมขอเสนอความคิดเห็นว่า ณ. วันนี้ เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น เพราะ

1. จากข้อ 60 ผมแปลความว่า "การตัดสิินนั้นเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุทรณ์ ในกรณีที่มีการโต้เถียงเกี่ยวกับการตีความ
    หรือขอบเขตของการตัดสิน, ศาลต้องวิเคราะห์ให้ตามที่ร้องขอ" ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ แต่ถ้าแปลอย่างนี้
    ผมขอตีึความแบบง่ายๆว่า "ตัดสินแล้วเป็นที่สิ้นสุด แต่ถ้าสงสัยให้ซักถามได้" ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะอนุญาติ
    ให้กลับคำตัดสินนี่ครับ
2. อนาคตผมคิดว่าเป็นการยากที่จะมีการเปลี่ยนธรรมนูญให้เกิดการเือื้อประโยชน์ในการขอเปลี่ยนแปลงเขตแดนใหม่
    เหตุผลก็เหมือนกับที่ผมกล่าวในกระทู้ก่อนหน้านี่แหละครับ
2. ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่มีคำตัดสินมา ประเทศไทยแสดงท่าที,บทบาทมาตลอดว่ายอมรับในคำตัดสิิน
   ไม่นับประกาศเจตนารมณ์ที่มีขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อ 50 ปีที่แล้วนะครับ ดังจะเห็นได้จาก แผนที่, การปฏิบัติต่อดินแดน
   ในส่วนของเขาพระวิหาร แล้วทำไมในปีนี้ เราจะถือเอาสิทธิที่ไม่เคยได้อ้างถึงมา 50 ปีมาใช้ในการทวงคืนละครับ

ปล. 1 ผมขอให้ตัดประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนออกเถอะครับ เพราะนอกจากข่าวลือแล้ว ยังไม่เห็นอะไรที่พอจะเป็นหลักฐาน
         ได้ว่า อดีตนายกได้สัมปทานแถวเกาะกงเลยครับ
ปล. 2 กรุณาอย่าคิดว่าผม(รวมถึงคนอื่นๆ ที่คิดต่างกับเรา) เป็นคนไม่รักชาติเลยครับ เพราะผมก็รักชาติเหมือนพวกคุณนั่นแหละ
        เพียงแต่มีมุมมองที่แตกต่างกันเท่านั้น

ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

เพราะมีการกระทำที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร ที่รัฐบาลไทยในอดีต
ได้เคยประกาศสงวนสิทธิเอาไว้ เพราะเป็นการสร้างความเสียหายกับผลประโยชน์ของประเทศ

...

ตอบคำถาม คุณไม่เอาพันธมาร อีกสักหน่อย...

1. จากข้อ 60 ผมแปลความว่า "การตัดสิินนั้นเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุทรณ์ ในกรณีที่มีการโต้เถียงเกี่ยวกับการตีความ
    หรือขอบเขตของการตัดสิน, ศาลต้องวิเคราะห์ให้ตามที่ร้องขอ" ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ แต่ถ้าแปลอย่างนี้
    ผมขอตีึความแบบง่ายๆว่า "ตัดสินแล้วเป็นที่สิ้นสุด แต่ถ้าสงสัยให้ซักถามได้" ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะอนุญาติ
    ให้กลับคำตัดสินนี่ครับ

- การยื่นตีความไม่ใช่แค่เรื่องแก้สงสัยครับ แต่ยังเป็นโอกาสในการนำแง่มุมต่างๆ มาใช้เพื่อปกป้อง หรือสร้างประโยชน์
  ให้กับผู้ยื่นตีความซึ่งในกรณีนี้คือสิทธิของประเทศไทย เหนือปราสาทพระวิหาร

2. อนาคตผมคิดว่าเป็นการยากที่จะมีการเปลี่ยนธรรมนูญให้เกิดการเือื้อประโยชน์ในการขอเปลี่ยนแปลงเขตแดนใหม่
    เหตุผลก็เหมือนกับที่ผมกล่าวในกระทู้ก่อนหน้านี่แหละครับ

- อย่าพูดเรื่องยากง่ายเลยครับ ถ้ามันเกิดขึ้นเราก็นำมาใช้ .. แค่นั้น

2. ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่มีคำตัดสินมา ประเทศไทยแสดงท่าที,บทบาทมาตลอดว่ายอมรับในคำตัดสิิน
   ไม่นับประกาศเจตนารมณ์ที่มีขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อ 50 ปีที่แล้วนะครับ ดังจะเห็นได้จาก แผนที่, การปฏิบัติต่อดินแดน
   ในส่วนของเขาพระวิหาร แล้วทำไมในปีนี้ เราจะถือเอาสิทธิที่ไม่เคยได้อ้างถึงมา 50 ปีมาใช้ในการทวงคืนละครับ

- สิทธิที่สงวนไว้ไม่ได้ระบุระยะเวลานะครับ และในเมื่อไม่ได้ยืนยันมา 50 ปี จะยืนยันซ้ำสักทีก็ดีแล้ว  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 24-06-2008, 17:17
ถึงคุณจี...

หนอนจะพาออกทะเล
กรุณาอย่าให้อาหารหนอนครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Rule of Law ที่ 24-06-2008, 17:18
จริงๆแล้ว มูลเหตุว่าพระวิหารควรเป็นของใคร ศาลโลกมีธรรมนูญอย่างไร  ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของไทยเลยซักนิด

พยายามลากกันอยู่ได้  แค่ต้องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ให้เขมร -- เข้าข้างการกระทำนพดล -- ลดความชอบธรรมของพันธมิตร

เท่านั้นเอง 



เมื่อกี้เห็นคุณ mebeam พูดว่า  ถ้าสน้บสนุนเขมรแล้วได้ประโยชน์ก็ควรจะทำ
ตกลง ชาติได้ประโยชน์อะไรบ้าง ไม่เห็นมี  (หรือว่ายอมรับว่ามี "ผลประโยชน์" แต่ไม่รู้ใครได้)

คิดว่าที่สนับสนุนเขมร เป็น solution ที่ดีที่สุดแล้วเหรอ

ทำไมไม่บอก unesco ว่า ให้รอไทยทำเรื่องขึ้นมาด้วย เพื่อจดทะเบียนร่วมกัน?  ทำไมต้องรีบ
ถ้าเขมรไม่ยอมเปลี่ยนแผนที่  ไทยก็ค้านไปสิ   มันจะจดทะเบียนได้มั้ย

การจดทะเบียนร่วมกัน win win ที่สุดแล้ว  แต่เหลี่ยม + เหล่ ไม่ทำ



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Rule of Law ที่ 24-06-2008, 17:20
ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

เพราะมีการกระทำที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร ที่รัฐบาลไทยในอดีต
ได้เคยประกาศสงวนสิทธิเอาไว้ เพราะเป็นการสร้างความเสียหายกับผลประโยชน์ของประเทศ


อุแม่เจ้า  คุณ G ช่างเมตตาต่อผู้ที่(แกล้ง)ซื่อซะจน.........



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 17:21
ถึงคุณจี...

หนอนจะพาออกทะเล
กรุณาอย่าให้อาหารหนอนครับ



หุ หุ  เห็นมวยรองกำลังเน่า...จ๊ะต้องบดขยี้สถานเดียว คริ คริ


ว่าไงคร้าคุณจีขาฯตอบหน่อยจิ๊ว่า "5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment." เนี่ยหมายฟามว่าไง??? :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 17:31
จ๊ะตอบบัตร clock out ก่อนน๊า...บั๊บ บาย ฮ้า :slime_inlove:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 17:33
ถามคุณจีครับ คุณคิดว่าข้อ 60 มีไว้เพื่อให้อุธรณ์คำตัดสินได้หรือครับ จะมีนักกฏหมาย(รวมถึงศาล)
ที่ไหนจะเขียนมาตรานี้ขึ้นมา เพราะถ้าฝ่าย B ชนะ แล้วฝ่าย A ยื่นอุธรณ์ แล้วศาลกลับคำตัดสิน ฝ่าย B ก็สามารถใช้ข้อนี้
ในการยื่นอุธรณ์คำตัดสินอันนี้ได้อีก แล้วข้อยุติจะอยู่ตรงไหนครับ มีนักกฎหมายที่ไหนจะตีความอย่างนี้ครับ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจด้วยว่า ที่ผมยกมาตรา 60 ขึ้นมา เป็นเพียงตัวอย่าง
ของช่องทางการใช้สิทธิ ตามที่รัฐบาลไทยในอดีตได้ประกาศสงวนสิทธิไว้

...

ชัดเจนว่าธรรมนูญมาตรา 60 ไม่ได้มีไว้เพื่อให้อุทธรณ์คำตัดสิน แต่เราสามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้ผ่านช่องทางการยื่นตีความ ซึ่งตั้งแต่เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
ประเ่ทศไทยได้เลือกวิธีตีความที่รักษาประโยชน์ของเราที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นั่นคือตัวอย่างของการใช้ช่องทางการ "ตีความ"

ในอนาคตจึงเป็นไปได้ว่าหากมีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เราสามารถตีความ
คำพิพากษาเป็นประโยชน์กว่าเดิม เราก็สามารถยื่นขอตีความอย่างเป็นทางการ
ซึ่งจะมีผลตามกฎหมาย

ในทำนองเดียวกันหากมีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายกัมพูชา
ทางกัมพูชาก็อาจยื่นตีความได้เหมือนกัน

ข้อยุติจึงอยู่ที่ว่าศาลตีความแบบไหนในขณะนั้นๆ และถ้ามีการยื่นตีความอีก
ก็จะเกิดข้อยุติใหม่ขึ้นมาได้อีก..

ผมคิดว่าปัญหาก็คือคุณไม่เอาพันธมาร นำหลักคิดทางกฎหมายต่อบุคคลธรรมดา
ไปใช้เป็นหลักคิดทางกฎหมายระหว่างประเทศ
บุคคลธรรมดากับประเทศต่างกัน ตย.เช่น เราฟ้องล้มละลายประเทศไม่ได้  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 17:35
ถึงคุณจี...

หนอนจะพาออกทะเล
กรุณาอย่าให้อาหารหนอนครับ

รับทราบครับ.. ที่ผ่านมาคิดว่ายังพอไหวนะครับ  :slime_v:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 17:43

หุ หุ  เห็นมวยรองกำลังเน่า...จ๊ะต้องบดขยี้สถานเดียว คริ คริ


ว่าไงคร้าคุณจีขาฯตอบหน่อยจิ๊ว่า "5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment." เนี่ยหมายฟามว่าไง??? :slime_sentimental:

เรื่องนี้ผมตอบ คุณไม่เอาพันธมาร ไปตั้งแต่หน้าก่อนแล้่วไงครับ
อยู่ด้วยกันกับ ธรรมนูญศาลโลก มาตรา 60-61 ที่คุณก็อปมา
ตกลง ก็อปฯ อย่างเดียว ไม่ได้อ่านอะไรเลยหรือครับ?  :slime_doubt:

...

งั้นก็แปะเข้าไปอีกแล้วกัน... ข้อความเดิมระบายสีเพิ่มให้ชัดอีกหน่อย...

ต้องทำความเข้าใจว่าเราไม่ได้ประกาศสงวนสิทธิเพื่อยกเว้นมาตรา 61 นะครับ
และมาตรา 61 ก็มีเนื้อความระบุเพียงข้อกำหนดในการขอทบทวนคำพิพากษา ไม่ได้มีไว้ให้เคารพ

แต่เราประกาศสงวนสิทธิทั้งหลายที่พึงมี ซึ่งกว้างขวางครอบคลุมมากกว่ามาตรา 61 หลายเท่า


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 24-06-2008, 17:52
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจด้วยว่า ที่ผมยกมาตรา 60 ขึ้นมา เป็นเพียงตัวอย่าง
ของช่องทางการใช้สิทธิ ตามที่รัฐบาลไทยในอดีตได้ประกาศสงวนสิทธิไว้

...

ชัดเจนว่าธรรมนูญมาตรา 60 ไม่ได้มีไว้เพื่อให้อุทธรณ์คำตัดสิน แต่เราสามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้ผ่านช่องทางการยื่นตีความซึ่งตั้งแต่เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
ประเ่ทศไทยได้เลือกวิธีตีความที่รักษาประโยชน์ของเราที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นั่นคือตัวอย่างของการใช้ช่องทางการ "ตีความ"

ในอนาคตจึงเป็นไปได้ว่าหากมีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เราสามารถตีความ
คำพิพากษาเป็นประโยชน์กว่าเดิม เราก็สามารถยื่นขอตีความอย่างเป็นทางการ
ซึ่งจะมีผลตามกฎหมาย

ในทำนองเดียวกันหากมีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายกัมพูชา
ทางกัมพูชาก็อาจยื่นตีความได้เหมือนกัน

ข้อยุติจึงอยู่ที่ว่าศาลตีความแบบไหนในขณะนั้นๆ และถ้ามีการยื่นตีความอีก
ก็จะเกิดข้อยุติใหม่ขึ้นมาได้อีก..

ผมคิดว่าปัญหาก็คือคุณไม่เอาพันธมาร นำหลักคิดทางกฎหมายต่อบุคคลธรรมดา
ไปใช้เป็นหลักคิดทางกฎหมายระหว่างประเทศ
บุคคลธรรมดากับประเทศต่างกัน ตย.เช่น เราฟ้องล้มละลายประเทศไม่ได้  :slime_smile:

ผมไม่ได้เอาหลักคิดทางกฏหมายอะไรหรอกครับ เนื่องจากไม่ได้เรียนมาทางนี้  :slime_shy:
แต่ผมคิดธรรมดา คิดแบบคุณจีนั่นแหละครับ

ชัดเจนว่าธรรมนูญมาตรา 60 ไม่ได้มีไว้เพื่อให้อุทธรณ์คำตัดสิน แต่เราสามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้ผ่านช่องทางการยื่นตีความซึ่งตั้งแต่เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
ประเ่ทศไทยได้เลือกวิธีตีความที่รักษาประโยชน์ของเราที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นั่นคือตัวอย่างของการใช้ช่องทางการ "ตีความ"



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-06-2008, 17:58
ประเด็นหลักที่ทีมทนายความไทยใช้ต่อสู้คือ ปฏิเสธแผนที่ของฝรั่งเศส

พลังประชาชนอ้างข้อ 61 ( อายุความ 10 ปี )

ปชป. ใช้ ข้อ 60 ไม่มีอายุความเรื่องข้อสงวน...เรื่องอายุความ

ต้องไปดู ข้อเสนอของอเมริกาสมัยหลังสงครามโลกนะครับ

เขมรขอใช้อธิปไตยร่วมกัน แต่ไทยไม่ยอม

สุดท้าย เขมรก็กลับไปยื่นศาลโลก...ประวัติศาสตร์เป็นเช่นนั้น

ข้อมูลเสริม

๒๔๘๓

 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พบว่าพรมแดนเขตนี้ใช้ลำห้วยเป็นเส้นเขตแดนแทนที่เป็นสันปันน้ำ จึงได้มีความพยายามขอแก้ไขการปักปันเขตแดนในส่วนนี้กับฝรั่งเศส
 

http://www.oknation.net/blog/canthai/2008/06/24/entry-1/


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Iona ที่ 24-06-2008, 18:07
เห่อๆ เอกสารที่เขมรไปเอาต่อยูเนสโก  ยื่นยันซ้ำอีก ว่า'สมชาย-นพดล'แอบไปเจรจากับเขมร ก่อนเป็นมติครม.17มิ.ย. >>> รอดูมันแถ




หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 24-06-2008, 18:50
เรื่องนี้ผมตอบ คุณไม่เอาพันธมาร ไปตั้งแต่หน้าก่อนแล้่วไงครับ
อยู่ด้วยกันกับ ธรรมนูญศาลโลก มาตรา 60-61 ที่คุณก็อปมา
ตกลง ก็อปฯ อย่างเดียว ไม่ได้อ่านอะไรเลยหรือครับ?  :slime_doubt:

...

งั้นก็แปะเข้าไปอีกแล้วกัน... ข้อความเดิมระบายสีเพิ่มให้ชัดอีกหน่อย...

ต้องทำความเข้าใจว่าเราไม่ได้ประกาศสงวนสิทธิเพื่อยกเว้นมาตรา 61 นะครับ
และมาตรา 61 ก็มีเนื้อความระบุเพียงข้อกำหนดในการขอทบทวนคำพิพากษา ไม่ได้มีไว้ให้เคารพ

แต่เราประกาศสงวนสิทธิทั้งหลายที่พึงมี ซึ่งกว้างขวางครอบคลุมมากกว่ามาตรา 61 หลายเท่า


ฮั่นแน่คุณจีฯ  ตอนแรกตัวคุณเองนั่นแหล่ะที่ยกมาตรา 60 และ 61 มากล่าวอ้าง...พอจ๊ะซักไซ้ไล่เรียงมาว่ามาตรา 61 วรรค 5 ระบุไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการขอยื่นคัดค้านใดๆก็ตามแต่ พึงกระทำได้ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันที่ศาลโลกพิพากษา ซึ่งคุณก็ตอบมั่วๆว่าคำพิพกาษาไม่ได้มีไว้ให้เคารพ (แล้วไทยไปศาลโลกทำไมตั้งแต่ทีแรกเอ่ยถ้าไม่ต้องเคารพในคำวินิจฉัย!?!)


คุณจะมาสงวนสิทธิ์ทั้งหลายที่พึงมีโดยใช้หลักเกณฑ์ที่กำนหดไว้ในมาตราไหนและวรรคไหนคร้า?



ป.ล. จ๊ะขอเบิกโอทีน๊ะ :slime_whistle:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 18:50
คุณพีรพันธุ์ สับแหลกกระบวนการพิจารณาคดี จนเห็นภาพชัดเจน
ตอกย้ำประเด็นที่ว่า ...

ฝรั่งเศสโกง -> เขมรโกงซ้ำ -> ศาลโลกช่วยโกง
หลังจากนี้คงต้องเอาข้อมูลการอภิปรายมาสรุปเพิ่มเสียแล้ว  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: dragon baby ที่ 24-06-2008, 18:55


ถ้าเปรียบปราสาทพระวิหารเป็น รถยนต์
ศาลโลกตัดสินว่า ตัวรถ เป็นของเขมร ส่วนล้อรถ เป็นของไทย
ผมถามหน่อย ถ้าเราพูดว่ารถ ก็ย่อมหมายถึงรถทั้งคัน ซึ่งรวมทั้งตัวรถ และล้อรถใช่ไหม
ดังนั้น ตัวรถ ที่ไม่มีล้อ ก็ยังไม่ใช่รถยนต์
เช่นเดียวกัน ล้อรถ 4 ล้อ ที่ไม่มีตัวรถ ก็ไม่ใช่รถยนต์
ดังนั้น จะเรียกว่ารถยนต์ได้ ก็ต้องรวมกันทั้งตัวรถ และ ล้อรถ เท่านั้น

ดังนั้นถ้าพูดถึงปราสาทพระวิหาร ก็จะไม่ได้หมายถึงตัวปราสาทหลักเพียงอย่างเดียว
แต่ยังหมายรวมถึง บันไดทางขึ้น สธูป และเทวะสถานรายรอบตัวปราสาทหลักด้วย ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกได้

ก็เหมือนกับคุณจะไปจดทะเบียนรถยนต์ แล้วบอกว่าจะขอจดทะเบียนเฉพาะตัวรถ ไม่รวมล้อรถ เพราะล้อรถไม่ใช่ของผม ก็ไม่สามารถทำได้
นี่คือสิ่งที่เป็นปัญหามาตลอด เพราะ
เขมรต้องการความชอบธรรมเชิง นิตินัย (ทางพฤตินัยเค้าได้ไปนานแล้ว)
แต่ครั้นจะมาบอกขอให้ไทยทำสนธิสัญญา บอกว่ายอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร ก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะไทยไม่มีทางยอม
เพราะตั้งแต่อดีต เรายื่นคัดค้านมาตลอดว่า
แม้เราจะยอมรับในคำตัดสินของศาลโลก แต่เราไม่ยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร เราไม่เคยยอมรับเชิง นิตินัย แม้แต่วันเดียว

ดังนั้น เขมรผู้ชาญฉลาด ก็หาทางอื่นที่จะได้ความชอบธรรมเชิง นิตินัย เหนือปราสาทพระวิหาร โดยขอยื่นจดทะเบียนมรดกโลก ในนามของเขมร
ซึ่งแน่นอน ไทยก็คัดค้าน ว่าในเมื่อบันไดทางขึ้น และสธูป เทวสถานบางส่วนมันเป็นของไทย เขมรจะไปขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นของตนคนเดียวได้ไง
ซึ่ง ทางมรดกโลก ก็ให้กลับมาตกลงกันก่อน ว่าจะเอายังไง

มาคราวนี้ เขมร ก็ฉลาดอีก บอกว่าจะขึ้นทะเบียนในส่วนของตนคือเอาแค่ตัวปราสาทเท่านั้น ไม่กินดินแดนของไทยเลย
แต่เค้าก็ยังจดทะเบียนไม่ได้อยู่ดี เพราะอะไร ก็เหมือนกับ เขมรจะเอาตัวรถ ไม่รวมล้อไปขึ้นทะเบียน มันก็ขึ้นไม่ได้ใช่ไหม
เลยต้องมาขอความยินยอมจากไทย เจ้าของล้อรถ ว่าเขมรจะขึ้นทะเบียนรถคันนี้ แต่ไม่รวมล้อรถน่ะ ไทยอนุญาตไช่ไหม

ฝ่ายไทย ก็แกล้งโง่หรือไม่ไม่ทราบ ก็ลงนามยินยอมไป แล้วมาบอกว่า เขมรจะขึ้นเฉพาะตัวรถ ล้อรถยังเป็นของเราอยู่ เราไม่เสียประโยชน์ ซึ่งเป็นการพูดโง่ๆ
เพราะถ้าไทยยอมอย่างนี้ เขมรก็จะสามารถจดทะเบียนได้ เพราะได้คำยินยอมจากเจ้าของล้อรถแล้ว
คราวนี้ ปราสาทพระวิหาร ก็จะกลายเป็นของเขมร ถูกต้องตามนิตินัยทันที และจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย ยอมรับ ทางนิตินัย ว่าเข้าพระวิหารเป็นของเขมร
แม้จะมีหมายเหตุเล็กๆ ท้ายคำขึ้นทะเบียนว่า ที่ขึ้นทะเบียนน่ะ ไม่รวมล้อรถน่ะ ก็ตาม แต่ รถคันนี้ก็ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นของเขมรถูกต้องตามนิตินัยแล้ว

ซึ่งเมื่อวานรัฐมนตรีโง่ๆของไทย ก็ออกมาพูดว่า จะเอาบันไดทางขึ้น และสธูปเทวะสถานรอบๆ ไปขึ้นเป็นมรดกโลกบ้าง
ซึ่งก็เป็นการเจตนาโกหก เพราะมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ที่คุณจะเอาเฉพาะล้อรถ 4 ล้อ ไปจดทะเบียน ใครจะไปจดให้คุณ
ล้อมันจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่ออยู่คู่กับตัวรถ แต่นี่คุณเซ็นยินยอมให้เขมรเอาตัวรถไปจดทะเบียนแล้ว ล้อรถที่คุณมีคุณก็เอาไปทำอะไรไม่ได้

ทางออกที่นักวิชาการบอก รวมทั้งคุณสนธิ ลิ้มทองกุล พูดมาโดยตลอดคือ ทำไม
ทำไม ไม่ยื่นจดทะเบียนร่วมกัน ในเมื่อรถไม่มีล้อ มันก็ยังไม่ใช่รถ มันจดทะเบียนไม่ได้
ซึ่งถ้าไทยไม่ยอม เขมรก็จดไม่ได้แน่นอน เพราะเจ้าของล้อรถไม่ยอม
ดังนั้น เราควรยืนยัน ยื่นจดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมเท่านั้น
ไม่ใช่ไปเซ็นยินยอมให้เค้าจดทะเบียน ในนามเค้าคนเดียว

ซึ่งก็ออกมาพูดโง่ๆอีกว่า ไทยได้ยื่นขอจดทะเบียนร่วมไปแล้ว (ซึ่งยื่นไปนานแล้วหล่ะ) แต่เขมรมันไม่ยอม มันจะขึ้นในชื่อมันเพียงคนเดียว
เรื่องเลยคาราคาซังกันมายาวนาน เพราะเขมรมันจะเอาผลประโยชน์คนเดียว อยากเป็นเจ้าของปราสาทคนเดียว
ทั้งๆที่ตัวเองไม่มีล้อรถ แต่ดันอยากไปจดทะเบียนรถทั้งคัน เป็นคนตนคนเดียว

ในเมื่อเขนมรมันยังไม่ยอมจดทะเบียนร่วมเลย แล้วทำไมคราวนี้ไทยต้องไปยอมมัน
เข้าใจหรือยังหล่ะ
ว่าไทย แทนที่จะยืนกรานขอจดร่วม แต่วันนี้ นพดล ใจดี สละสิทธิที่ควรมีของไทย ที่จะเป็นเจ้าของร่วม ไปเซ็นยินยอมให้เขมรเป็นเจ้าของผู้เดียว
ทั้งที่ถ้าไทยไม่ยอม เค้าก็ไม่สามารถจดได้ และมันก็เป็นความชอบธรรมของเรา ไม่ได้โกงเค้า
เพราะเราเป็นเจ้าของล้อรถ และรถไม่มีล้อ มันก็ไม่ใช่รถ
เพราะฉนั้น เราคือเจ้าของรถร่วม
ไม่ใช่ รถเป็นของเขมร แต่ล้อเป็นของเรา
คุณแยกความต่างออกไหม

สิ่งที่เขมรพยายามทำคือ พยายามบอกว่า รถน่ะเป็นของเค้าคนเดียว ไทยน่ะเป็นเจ้าของล้อรถเท่านั้น
ทั้งๆที่จริงไม่ใช่ เราคือเจ้าของร่วม เพราะรถไม่มีล้อ ก็ไม่ใช่รถ ไปจดทะเบียนไม่ได้

ผมเลยไม่เข้าใจทำไมถึงไปสละสิทธิในการเป็นเจ้าของร่วม
โดยกลับมายอมรับว่าไทยไม่ใช่เจ้าของร่วม แต่ไทยเป็นเพียงเจ้าของล้อรถ
คุณเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่ไทยเสียไปหรือยัง

คราวนี้มาดูสิ่งที่จะตามมา ที่ว่าการทำแบบนี้ สุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน
ก็เพราะเมื่อเขมรจดทะเบียน โดยไทยยินยอมแล้ว
เขมรก็จะได้สิทธิทางนิตินัย ได้ขึ้นชื่อว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมรโดยชอบธรรม

ดังนั้นพื้นที่ทับซ้อนรอบบริเวณปราสาทที่ยังตกลงกันไม่ได้
เพราะมันก่ำกึ่งเหลือเกินว่าเป็นพื้นที่ของใคร
ถ้ามีข้อพิพาท ต้องขึ้นศาลโลกอีกที คุณคิดว่าเค้าจะตัดสินให้ใครล่ะ
ระหว่างเจ้าของตัวรถ ที่จดทะเบียนเป็นเจ้าของรถถูกต้อง โดยความยินยอมเห็นชอบของเจ้าของล้อแล้ว ซึ่งก็คือเขมร
หรือ จะให้ไทย เจ้าของล้อรถเท่านั้น ที่ไม่มีอะไรทางนิตินัยระบุว่าเป็นเจ้าของเลย แถมเคยไปเซนยินยอมให้อีกฝ่ายขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวด้วย

เข้าใจหรือยัง คนไทย
โดยคุณ...คนไทย


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: อธิฏฐาน ที่ 24-06-2008, 18:59

รัฐบาลเขมรฉลาดกว่ารัฐบาลไทยค่ะ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 19:02

ฮั่นแน่คุณจีฯ  ตอนแรกตัวคุณเองนั่นแหล่ะที่ยกมาตรา 60 และ 61 มากล่าวอ้าง...พอจ๊ะซักไซ้ไล่เรียงมาว่ามาตรา 61 วรรค 5 ระบุไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการขอยื่นคัดค้านใดๆก็ตามแต่ พึงกระทำได้ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันที่ศาลโลกพิพากษา ซึ่งคุณก็ตอบมั่วๆว่าคำพิพกาษาไม่ได้มีไว้ให้เคารพ (แล้วไทยไปศาลโลกทำไมตั้งแต่ทีแรกเอ่ยถ้าไม่ต้องเคารพในคำวินิจฉัย!?!)

คุณจะมาสงวนสิทธิ์ทั้งหลายที่พึงมีโดยใช้หลักเกณฑ์ที่กำนหดไว้ในมาตราไหนและวรรคไหนคร้า?

ป.ล. จ๊ะขอเบิกโอทีน๊ะ :slime_whistle:

โอ้โห.. นี่คุณอะไรจ๊ะอ่านที่ผมเขียนไม่รู้เรื่องจริงๆ หรือ?  :slime_doubt:

ถ้าอย่างนั้นผมจะลองอธิบายซ้ำอีกรอบ อ่านดีๆ นะครับ..

...

การสงวนสิทธิ์ที่รัฐบาลไทยประกาศไว้ไม่ได้อ้างอิงมาตรา 61
จึงไม่เกี่ยวอะไรกับข้อกำหนด 10 ปีในการรื้อฟื้นคดีตามข้อ 5
ของมาตรา 61

การไปยกมาตรา 61 มาอ้างอิงควรเป็นหน้าที่ ทนายเขมร
ที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หากไทยยื่นรื้อฟื้นคดีต่อศาลโลก

ประหลาดมากที่ รมต.ต่างประเทศไทย ยกมาอ้างเสียเอง

...

ส่วนเรื่อง "เคารพ" ตอนนั้นผมกำลังพูดถึงมาตรา 61 อยู่
คุณอะไรจ๊ะลองกลับไปอ่านดีๆ ผมไม่ได้พูดถึงคำพิพากษา

สุดท้าย การสงวนสิทธิ์ทั้งหลายที่พึงมี เราสามารถกระทำได้
มันเป็นประโยคบอกเล่า เพื่อแสดงเจตนารมย์แห่งรัฐ
คุณถามว่ากำหนดไว้ในมาตราไหนวรรคไหน นั่นคุณเพี้ยนแล้ว  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: prinz_bismarck ที่ 24-06-2008, 19:07
ที่อะไรจ๊ะเถียงมาทั้งหมด ไม่ใช่อะไร เพราะต้องการเถียงเพื่อรักษาความชอบธรรมของรัฐบาลลูกกรอกนอมินีพ่อแม้ว


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 24-06-2008, 19:09

ถ้าเปรียบปราสาทพระวิหารเป็น รถยนต์
ศาลโลกตัดสินว่า ตัวรถ เป็นของเขมร ส่วนล้อรถ เป็นของไทย
ผมถามหน่อย ถ้าเราพูดว่ารถ ก็ย่อมหมายถึงรถทั้งคัน ซึ่งรวมทั้งตัวรถ และล้อรถใช่ไหม
ดังนั้น ตัวรถ ที่ไม่มีล้อ ก็ยังไม่ใช่รถยนต์
เช่นเดียวกัน ล้อรถ 4 ล้อ ที่ไม่มีตัวรถ ก็ไม่ใช่รถยนต์
ดังนั้น จะเรียกว่ารถยนต์ได้ ก็ต้องรวมกันทั้งตัวรถ และ ล้อรถ เท่านั้น

ดังนั้นถ้าพูดถึงปราสาทพระวิหาร ก็จะไม่ได้หมายถึงตัวปราสาทหลักเพียงอย่างเดียว
แต่ยังหมายรวมถึง บันไดทางขึ้น สธูป และเทวะสถานรายรอบตัวปราสาทหลักด้วย ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกได้

...

บรรยายเปรียบเทียบได้เห็นภาพเลย..  :slime_smile:

และที่ควรระลึกไว้ก็คือถ้าไทยไ่ม่โดนโกง รถทั้งคันก็คือของเรา
และที่ผ่านมาเราก็สงวนสิทธิเอาไว้ว่าถ้ามีช่องทางก็จะทวงคืน
และงานนี้รัฐบาลไทยไปเพิกถอนสิทธิประเทศตัวเองเสียแล้ว  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 24-06-2008, 19:30
สวัสดีครับคุณจีรศักดิ์... ผมเห็นว่ากระทู้นี้มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างสูงจากทั้ง 2 ฝ่าย... คิดว่าสิ่งที่คุณจีรศักดิ์รวบรวมสรุปมานั้นน่าจะได้แปลงให้อยู่ในรูปของ doc และ pdf ให้สะดวกต่อการนำมา print, เผยแพร่, และถกเถียงกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น... จึงได้ทำการแปลงดังกล่าวในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ

http://www.savefile.com/files/1626944

เป็น zip ไฟล์ขนาด 86 kb (เล็กมาก) มีทั้งไฟล์ doc และ pdf โดยเนื้อหาคัดลอกมาจากคุณจีรศักดิ์ทั้งหมด ปรับแต่งให้อยู่ใน 2 หน้ากระดาษ A4 โดยเพื่อสะดวกต่อการ print ขาวดำ จึงได้ปรับลักษณะการเน้นจากสีแดงและน้ำเงินต้นฉบับให้เป็นขาวดำในรูปลักษณ์อื่น แต่ยังคงสไตล์การเน้นแบบคุณจีรศักดิ์ไว้ครับ

ไฟล์ pdf มีไว้สำหรับให้คอมพิวเตอร์ทุกประเภทไม่ว่าวินโดว์ แมค ลีนุกซ์ สามารถพิมพ์ได้.. ส่วนไฟล์ doc มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงามตามต้องการครับ

 :slime_smile:

อิ อิ... ตอนนี้พวก The Last Empereor น่าจะหมดช่วงเวลาทำโอทีแระ... น้ำหยุดขุ่นชั่วคราว ... ผมมาดันประเด็นช่วยเผยแพร่ความรู้ของคุณจีรศักดิ์ซ้ำอีกครั้งครับ

ปล. ผมเปลี่ยนลายเซ็นต์ช่วยโฆษณากรณีปราสาทพระวิหารนี้ให้เป็นกรณีพิเศษ... ต้องขอขอบคุณท่านจีรศักดิ์อย่างยิ่ง ที่สรุปออกมาเป็นเอกสารที่กระชับได้ใจความครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 24-06-2008, 20:34
จริงๆแล้ว มูลเหตุว่าพระวิหารควรเป็นของใคร ศาลโลกมีธรรมนูญอย่างไร  ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของไทยเลยซักนิด


เมื่อกี้เห็นคุณ mebeam พูดว่า  ถ้าสน้บสนุนเขมรแล้วได้ประโยชน์ก็ควรจะทำ
ตกลง ชาติได้ประโยชน์อะไรบ้าง ไม่เห็นมี  (หรือว่ายอมรับว่ามี "ผลประโยชน์" แต่ไม่รู้ใครได้)

คิดว่าที่สนับสนุนเขมร เป็น solution ที่ดีที่สุดแล้วเหรอ






ถ้าเขมรขึ้นมรดกได้ ไทยได้ประโยชน์ตรงไหน

 - คุณเห็นประตูตรงทางขึ้นเขาพระวิหารไหม ยังกะประตูสุสาน สกปรกไม่มีการปรับปรุง ให้ดูสมฐานะ แหล่งท่องเที่ยวระดับชาติ
    ใครจะขึ้นต้องลอด รูประตูขึ้นไป  ร้านค้าแกะกะ ไม่เป็นระเบียบ  ภาพบริเวณปราสาทเริ่มเก่าทรุดโทรม
    ต้นไม้ในบริเวณ ไม่ได้ดูแล เพราะอะไร นิสัยคนเขมรส่วนหนึ่ง  เขมรไม่มีงบทำนุบำรุงส่วนหนึ่ง  ไม่มีหน่วยงานควบคุมดูแลหนึ่ง

   ถ้ามันขึ้นมรดกโลก มันจะเปลี่ยนไปหรือเปล่า มาตรฐานมันจะดีขึ้นไหม มันจะน่าเที่ยว พอที่จะเพิ่มยอดทัวร์ให้จังหวัดศรีสะเกษ หรือเปล่า
   ถ้า ต่างชาติคนตะวันตกอยากมาเที่ยวเขาพระวิหารเพราะ เห็นจากในรูปมันสวยงาม  เค้าจะบินมาลงที่ไหน สุวรรณภูมิหรือ พนมเปญ
   แล้วทุกวันนี้ ที่เขมรอยากเปิดประตูก็เปิด อยากปิดก็ปิด  ถ้าจดทะเบียนได้แล้ว เขมรจะทำได้อย่างเดิมไหม

      ปัจจุบัน เขาพระวิหาร เป็นของเขมรก็จริง แต่ทางขึ้นมันอยู่ฝั่งไทย เวลาเที่ยวมันก็ต้องมาทางไทย ไทยได้สถานที่ท่องเที่ยว
     ระดับมรดกโลก โดยไม่เสียค่าดูแลบำรุงรักษาซักบาท  ศรีสะเกษก็จะได้เป็นเมืองท่องเที่ยวเขาพระวิหาร เหมือนอยุธยา สุโขทัย

           ต่อไป สโลแกนเที่ยวเขาพระวิหารต้องมาไทยแลนด์ 

         หรือมาเมืองไทยสามารถเที่ยวได้ทั้ง หลวงพระบางเมืองลาว   เขาพระวิหารกัมพูชา  เหนือสุดไทยไปพม่า  ทุกสิ่งสามารถเกิดในทริปเดียวกัน


  ฝันไปหรือปล่าวเนี่ย   :slime_smile:




หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 24-06-2008, 21:11
คุณ Mebeam ครับ

สิ้นปีนี้ เขมรจะทำกระเช้าขึ้นเขาพระวิหาร โดยการลงทุนจากอินเดียครับ

และอีกไม่นานสนามบินที่ฝั่งเขมรกำลังจะเปิด พร้อมคาสิโน

นักท่องเที่ยวที่ไหนจะมาขึ้นฝั่งไทยครับ นอกจากคนไทยกันเอง


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 24-06-2008, 22:13
คุณ Mebeam ครับ

สิ้นปีนี้ เขมรจะทำกระเช้าขึ้นเขาพระวิหาร โดยการลงทุนจากอินเดียครับ

และอีกไม่นานสนามบินที่ฝั่งเขมรกำลังจะเปิด พร้อมคาสิโน

นักท่องเที่ยวที่ไหนจะมาขึ้นฝั่งไทยครับ นอกจากคนไทยกันเอง

ผมได้ข่าวมาเช่นนั้นเหมือนกัน
แต่ สนามบิน เขาพระวิหาร จะมีนักท่องเที่ยวบินมาวันละกี่คนครับ  มาเช้าเย็นกลับ วันนึงมันจะได้ 2 รอบไหม
คาสิโน ก็ไม่ได้เป็นแหล่งดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ( มันน่าจะเอาไว้ดูดคนไทยมากกว่า สังเกตได้จาก โรงเกลือปอยเปต  )

ขอให้ มันมีโปรแกรม อยู่ในรายชื่อแหล่งท่องเที่ยว ของประเทศไทยเป็นใช้ได้แล้ว
เอามันมาเสริมแหล่งท่องเทียวทางโบราณคดีของภาคอีสาน  จุดเด่นมันคือได้ข้ามไปเหยียบประเทศกัมพูชาด้วยโดยไม่ต้องขอวีซ่า ( จะช้ำใจมั๊ยเนี่ย )
โปรโมตเอาให้เหมือนของไทยเลย

กรุ๊ปทัวร์พวกฝรั่งต่างชาติ มักจะไปเที่ยวแต่ทะเล เที่ยวป่าเขาดอยเชียงใหม่
มักไม่ค่อย วิ่งสายอีสาน แต่ถ้าจุดหมายปลายทางมันเป็นมรดกโลก ปราสาทเขาพระวิหารประเทศกัมพูชา ล่ะ มันน่าดึงดูดขึ้นไหม
พวกนี้เวลามา  มันจะมาเป็นรถบัสนำเที่ยว  รถตู้ รถส่วนตัว  จำนวนมาก

สุดท้าย  ถ้าโชคร้ายไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจริง
แล้วนักท่องเที่ยวชาวไทยมันเป็นยังไงครับ
มันไม่มีตังค์ใช้จ่ายในจังหวัดศรีสะเกษหรือยังไง
เคยได้ยินไหมครับ เที่ยวเมืองไทยไปได้ทุกภาค

นี่ผมเอาอัตราการเข้าเยี่ยมชม ปราสาทเขาพระวิหาร ปัจจุบัน ลองพิจารณาดูครับ (ดูสภาพแล้วไม่น่าเก็บแพงขนาดนั้นเลย)

การเข้าชมปราสาทเขาพระวิหาร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารที่อยู่ในเขตแดนไทย
โดยคนไทยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานคนละ 20 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท และค่าผ่านแดนออกนอกประเทศคนละ 5 บาท
 เมื่อจะเข้าชมปราสาทเขาพระวิหาร กัมพูชาเก็บค่าธรรมเนียมชาวไทยคนละ 50 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 200 บาท
http://thai.tourismthailand.org/attraction/sisaket-33-2226-1.html

ลองดูครับเราได้ประโยชน์ตรงไหนครับ :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: อิรวันชาห์ IrWanSyah ที่ 24-06-2008, 22:21
(http://i212.photobucket.com/albums/cc181/sezaa2007/3-2.jpg)
 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 24-06-2008, 22:32

ฝ่ายไทย ก็แกล้งโง่หรือไม่ไม่ทราบ ก็ลงนามยินยอมไป แล้วมาบอกว่า เขมรจะขึ้นเฉพาะตัวรถ ล้อรถยังเป็นของเราอยู่ เราไม่เสียประโยชน์ ซึ่งเป็นการพูดโง่ๆ
เพราะถ้าไทยยอมอย่างนี้ เขมรก็จะสามารถจดทะเบียนได้ เพราะได้คำยินยอมจากเจ้าของล้อรถแล้ว
คราวนี้ ปราสาทพระวิหาร ก็จะกลายเป็นของเขมร ถูกต้องตามนิตินัยทันที และจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย ยอมรับ ทางนิตินัย ว่าเข้าพระวิหารเป็นของเขมร
แม้จะมีหมายเหตุเล็กๆ ท้ายคำขึ้นทะเบียนว่า ที่ขึ้นทะเบียนน่ะ ไม่รวมล้อรถน่ะ ก็ตาม แต่ รถคันนี้ก็ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นของเขมรถูกต้องตามนิตินัยแล้ว



เอามาจากไหนครับ ช่วยยกมาทีว่าข้อไหนที่อนุญาติให้ทำอย่างนั้นได้  :slime_doubt: :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 03:36
(http://i212.photobucket.com/albums/cc181/sezaa2007/3-2.jpg)
 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

เอาข่าวจากสื่อเขมรตั้งแต่ปีก่อนมาให้ดู เขมรมีแผนตัดถนนลาดยางหลายสายมายังปราสาทพระวิหาร
ที่เสธแดงบอกว่าเป็นทางลูกรังจากจังหวัดพระวิหาร อีกไม่นานจะไ่ม่ใช่แล้ว  :slime_smile:

http://www.research-gspa.org/indochina/newt/
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฮุน เซน กร้าวหากไทยปิดด่านอีกครั้งก็คงต้องปิดตลอดไป
30 กรกฎาคม 2550

แผน การเพื่อยุติการยืมจมูกไทยหายใจในพื้นที่ ปราสาทเขาพระวิหารถูกเสนอขึ้นโดยคำแนะนำของ สมเด็จนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมทำการศึกษาเป็นการเร่งด่วนเพื่อก่อสร้างถนน 2 สายที่มีความสำคัญ คือ ทางหลวงหมายเลข 10 จากจังหวัด พระตะบอง - ไพลิน และถนนจากตัวเมืองกำปงทมไปยัง ปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไปได้สร้างความยินดีให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ปราสาท เขาพระวิหารเป็นอย่างมาก และก็ได้สร้างความยินดีให้กับประชาชนทั่วประเทศที่ได้ยินว่า ถนนที่จะไปยังปราสาทเขาพระวิหารจะมีสภาพที่ดีขึ้นในอนาคต และจะทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางไปเที่ยวชมปราสาทเขาพระวิหารได้โดย สะดวก และการคมนาคมขนส่งต่าง ๆ จะช่วยแก้ปัญหาให้กับคนในพื้นที่แห่งนี้ให้หมดไป ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวมักจะประสบปัญหาความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ต้องซื้อมาจากฝั่งประเทศไทย ขณะที่การปิดด่านที่กระทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียวมักเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ โดยสมเด็จฮุน เซน ได้กล่าวเกี่ยวกับการที่ฝ่ายไทยปิดด่านเขาพระวิหารว่า หากปิดอีกครั้งหนึ่งคงต้องปิดตลอดไป เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 50 คณะแทนระดับสูงของรัฐบาลกัมพูชาได้ขึ้นเฮลิค็อปเตอร์ไปลงจอดที่ยอดเขาพนมดง รักเพื่อตรวจสอบและเยี่ยมชมปราสาทเขาพระวิหาร โดยมีนายตี ยาว คณะกรรมการ OBSES นายวา กึมฮง ประธานคณะกรรมการแก้ไขข้อพิพาทชายแดนแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงที่เกี่ยวข้องร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่การทูตที่ประจำอยู่ในประเทศกัมพูชาจำนวนหนึ่ง ได้แก่ ทูตสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น และผู้แทนสถานทูตอีกจำนวนหนึ่ง และผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีรวมประมาณ 30 คน และยังมีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ด่าน กองกำลังติดอาวุธในพื้นที่นำโดยนายลง สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เข้าร่วม และอำนวยการรักษาความปลอดภัยให้แก่คณะด้วย สำหรับปราสาทเขาพระวิหารนั้น องค์การยูเนสโกจะประกาศเป็นมรดกโลกในปีหน้า ก่อนหน้านี้ทางฝ่ายไทยได้มีการเรียกร้องเช่นเดียวกันเกี่ยวกับการขอขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยขอให้นำเอาบางส่วนที่อยู่ในฝั่งไทยเข้าร่วมด้วย และการแก้ไขปัญหาบางอย่างให้เรียบร้อยเสียก่อน

ที่มา :: รัศมีกัมพูชา (เรียะเซม็ยกัมปุเจีย)
แปล-เรียบเรียงโดย.. :: ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

---

พื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารจะได้รับการพัฒนา
8 สิงหาคม 2550

นา ยงวน ญิล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ได้แจ้งข่าวดีให้กับชาวอำเภอเจือมกะซานและประชาชนในจังหวัดพระวิหารให้ได้ ทราบเกี่ยวกับโครงการของรัฐบาลในการสร้างทางหลวง หมายเลข 6A ขึ้น โดยจะทำการลาดยางจากจังหวัดกำปงทมไปยังจังหวัดพระวิหาร ในการเดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนในอำเภอเจือมกะซานในครั้งนี้มีนาย สุก ซ็อมเอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตจังหวัดพระวิหารร่วมเดินทางด้วย นายงวน ญิล ได้กล่าวว่า ในเร็ว ๆ นี้ สมเด็จนายกรัฐมนตรีฮุน เซน จะเดินทางมาประกอบพิธีที่เชิงเขาพระวิหาร เพื่อประกาศเปิด การดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 6A โดยจะทำการลาดยางตั้งแต่บริเวณเชิงเขา ปราสาทเขาพระวิหารไปถึงอำเภอตะแบงเมียนเจ็ย จังหวัดพระวิหาร โดยจะเอาเงินงบประมาณที่จะใช้ในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำบาสักมาใช้สร้าง ถนนเส้นนี้แทน ส่วนโครงการถัดไปจะเป็นการอำนวยความสะดวกทางการคมนาคมโดยจะทำการปรับเกรด สภาพพื้นถนนและเทหินลูกรังจากอำเภอตะแบงเมียนเจ็ยไปยังเขตติดต่อจังหวัดกำปง ทม ส่วนถนนความยาว 36 กิโลเมตรจากจังหวัดพระวิหารไปยังตำบลทนอลแบก อำเภอกำปงซวาย จังหวัดกำปงทม จะเป็นถนนลาดยางโดยจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การ Trip Organization นอกจากนี้ นายงวน ญิล ได้กล่าวในประเด็นที่กัมพูชาขอเสนอให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกว่า ในการประชุมครั้งที่ 31 ขององค์การยูเนสโกที่ประเทศนิวซีแลนด์ องค์การยูเนสโกยังไม่ประกาศรับปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตามข้อเสนอของ กัมพูชา เนื่องจากไทยได้คัดค้าน โดยทางที่ประชุมองค์การยูเนสโกได้ให้กัมพูชาจัดทำเอกสารต่าง ๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อยื่นเสนอขอให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอีกครั้ง ในการประชุมองค์การยูเนสโกครั้งที่ 32 ที่ประเทศแคนาดาในปี 2551 ที่ผ่านมา สมเด็จฮุน เซน ผู้นำกัมพูชาเคยได้ให้คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่กัมพูชาจะเสนอให้องค์การยูเนสโกรับรองปราสาทเขาพระวิหารให้ เป็นมรดกโลก เช่น จะต้องดำเนินการกู้วัตถุระเบิดบริเวณพื้นที่เขาพระวิหารทั้งหมด และจะต้องดูแลรักษาป่าไม้ให้สวยสดงดงามเพื่อให้เป็น สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยว ระงับบรรดาบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการจะมาลงทุนในพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ขยายเงินงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการพัฒนา ที่สำคัญ คือ การสนับสนุนด้านความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เช่น ด้านการพัฒนาสังคม นอกจากนี้ นายงวน ญิล ได้เล่าถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศกัมพูชาตั้งแต่ สมัยละแวกจนถึงปัจจุบัน และในฐานะที่เป็นแกนนำของรัฐสภา ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดของชาติ นายงวน ญิล ได้เรียนต่อประชาชนถึงบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ ๆ ของรัฐสภา อันได้แก่ การตรากฎหมาย การติดตาม และตรวจสอบในการดำเนินการใช้กฎหมายของรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร และในฐานะผู้แทนซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน ที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคนจะต้องรับรู้ถึง สารทุกข์สุขดิบของประชาชน และหาทางออกเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ให้กับประชาชน

ที่มา :: รัศมีกัมพูชา (เรียะเซม็ยกัมปุเจีย)
แปล-เรียบเรียงโดย.. :: ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

---

จะตัดถนนขึ้นปราสาทเขาพระวิหารในเดือนพ.ย.นี้
22 สิงหาคม 2550

นาย ไพ ซีพาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกับรัศมีกัมพูชาเมื่อวานนี้ว่า (21 ส.ค.) ถนนที่จะตัดผ่านไปยังปราสาทเขาพระวิหารนั้น ทางรัฐบาลจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายนปลายปีนี้ นายไพ ซีพาน กล่าวอีกว่า การก่อสร้างถนนเส้นนี้จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการดึงดูดนักท่องเที่ยวในเดิน ทางมาท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา ส่วนนายซุน จันทอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ถนนเส้นตะแบงเมียนเจ็ย (ตัวเมืองจังหวัดพระวิหาร) ไปถึงตัวปราสาทเขาพระวิหารมีระยะทาง 118 กิโลเมตร โดยเตรียมเปิด สำนักงานก่อสร้างโดยจะโยกเอาเงินงบประมาณเงินกู้ยืมจากประเทศจีนที่จะใช้ใน การก่อสร้างสะพานตาเขมา มาดำเนินการก่อสร้างถนนเส้นนี้แทน นอกจากนี้นายซุน จันทอล ได้กล่าวถึงคำพูดของสมเด็จนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ที่กล่าวว่า เราจะต้องมีถนนเป็นของตัวเอง เพราะ นักท่องเที่ยวต้องเดินขึ้นลงทางฝั่งประเทศไทย ทางเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ลำบากมาก และก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรที่จะยืมจมูกผู้อื่นหายใจ ด้วยเหตุนี้ สมเด็จนายกรัฐมนตรีได้กำหนดว่าเราจะต้องสร้างทางเป็นของเราเอง แม้ว่าไทยจะปิด หรือจะเปิดด่านอย่างไรเป็นเรื่องของฝ่ายไทย โดยเราจะต้องสร้างถนนขึ้นเขาพระวิหารเป็นของเราเองให้จงได้

ที่มา :: รัศมีกัมพูชา (เรียะเซม็ยกัมปุเจีย)
แปล-เรียบเรียงโดย.. :: ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-06-2008, 09:08
โอ้โห.. นี่คุณอะไรจ๊ะอ่านที่ผมเขียนไม่รู้เรื่องจริงๆ หรือ?  :slime_doubt:

ถ้าอย่างนั้นผมจะลองอธิบายซ้ำอีกรอบ อ่านดีๆ นะครับ..

...

การสงวนสิทธิ์ที่รัฐบาลไทยประกาศไว้ไม่ได้อ้างอิงมาตรา 61
จึงไม่เกี่ยวอะไรกับข้อกำหนด 10 ปีในการรื้อฟื้นคดีตามข้อ 5
ของมาตรา 61

การไปยกมาตรา 61 มาอ้างอิงควรเป็นหน้าที่ ทนายเขมร
ที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หากไทยยื่นรื้อฟื้นคดีต่อศาลโลก

ประหลาดมากที่ รมต.ต่างประเทศไทย ยกมาอ้างเสียเอง

...

ส่วนเรื่อง "เคารพ" ตอนนั้นผมกำลังพูดถึงมาตรา 61 อยู่
คุณอะไรจ๊ะลองกลับไปอ่านดีๆ ผมไม่ได้พูดถึงคำพิพากษา

สุดท้าย การสงวนสิทธิ์ทั้งหลายที่พึงมี เราสามารถกระทำได้
มันเป็นประโยคบอกเล่า เพื่อแสดงเจตนารมย์แห่งรัฐ
คุณถามว่ากำหนดไว้ในมาตราไหนวรรคไหน นั่นคุณเพี้ยนแล้ว  :slime_smile:

OK คร้า...ชัดเจน คุณกำลังบอกว่าทั้ง 2 ฝ่าย(ไทย-เขมร)ขึ้นศาลโลกไปในฐานะคู่ความ แต่พอศาลตัดสินอย่างหนึ่งอย่างใดออกมา...คุณกลับกล่าวอ้างการสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยที่ออกมาด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่

ใช้หลักเหตุและผลเดียวกัน....กรณี 111 คนของทรท.ที่ถูกคณะตุลาการพิพากษาให้ยุติการเล่นการเมือง 5 ปีดังกล่าว กลุ่มคนทั้ง 111 คนก็สามารถขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการได้ใช่ไหม?  ขอคำอธิบายด้วยครับถ้าบอกว่าใช้หลักปฏิบัติเดียวกันไม่ได้ :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 25-06-2008, 09:45
ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

เพราะมีการกระทำที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร ที่รัฐบาลไทยในอดีต
ได้เคยประกาศสงวนสิทธิเอาไว้ เพราะเป็นการสร้างความเสียหายกับผลประโยชน์ของประเทศ

...

ตอบคำถาม คุณไม่เอาพันธมาร อีกสักหน่อย...

1. จากข้อ 60 ผมแปลความว่า "การตัดสิินนั้นเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุทรณ์ ในกรณีที่มีการโต้เถียงเกี่ยวกับการตีความ
    หรือขอบเขตของการตัดสิน, ศาลต้องวิเคราะห์ให้ตามที่ร้องขอ" ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ แต่ถ้าแปลอย่างนี้
    ผมขอตีึความแบบง่ายๆว่า "ตัดสินแล้วเป็นที่สิ้นสุด แต่ถ้าสงสัยให้ซักถามได้" ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะอนุญาติ
    ให้กลับคำตัดสินนี่ครับ

- การยื่นตีความไม่ใช่แค่เรื่องแก้สงสัยครับ แต่ยังเป็นโอกาสในการนำแง่มุมต่างๆ มาใช้เพื่อปกป้อง หรือสร้างประโยชน์
  ให้กับผู้ยื่นตีความซึ่งในกรณีนี้คือสิทธิของประเทศไทย เหนือปราสาทพระวิหาร

2. อนาคตผมคิดว่าเป็นการยากที่จะมีการเปลี่ยนธรรมนูญให้เกิดการเือื้อประโยชน์ในการขอเปลี่ยนแปลงเขตแดนใหม่
    เหตุผลก็เหมือนกับที่ผมกล่าวในกระทู้ก่อนหน้านี่แหละครับ

- อย่าพูดเรื่องยากง่ายเลยครับ ถ้ามันเกิดขึ้นเราก็นำมาใช้ .. แค่นั้น

2. ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่มีคำตัดสินมา ประเทศไทยแสดงท่าที,บทบาทมาตลอดว่ายอมรับในคำตัดสิิน
   ไม่นับประกาศเจตนารมณ์ที่มีขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อ 50 ปีที่แล้วนะครับ ดังจะเห็นได้จาก แผนที่, การปฏิบัติต่อดินแดน
   ในส่วนของเขาพระวิหาร แล้วทำไมในปีนี้ เราจะถือเอาสิทธิที่ไม่เคยได้อ้างถึงมา 50 ปีมาใช้ในการทวงคืนละครับ

- สิทธิที่สงวนไว้ไม่ได้ระบุระยะเวลานะครับ และในเมื่อไม่ได้ยืนยันมา 50 ปี จะยืนยันซ้ำสักทีก็ดีแล้ว  :slime_smile:

เมื่อวานลืมอ่านความเห็นนี้ ขอติงคุณจีนิดนึงนะครับ คือคุณจีใช้ข้อความฟังดูดี แต่ถ้าเขียนอย่างนี้แล้วเราจะถกกันได้อย่างไรครับ

ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

ไม่ว่าคุณจีจะเขียนอย่างไร ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ไม่ยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครนั้นเพราะไม่ยอมรับคำตัดสิน
แต่คุณจีไม่ควรลืมว่า ก็มีคนไทยแท้ๆ อีกมากมายที่เขาก็รักประเทศไทยเหมือนกัน แต่มีมุมมองที่เห็นว่าเราควรยอมรับคำตัดสิน
ดังนั้น เราควรมา "ถก" เพื่อหาหนทางที่น่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศมากที่สุดในทุกๆด้าน

ปล. ข้อ2 ล่าง (เขีียนตัวเลขซ้ำ :slime_whistle:) ที่คุณจีตอบนั่นแหละครับคือประเด็น เราสงวนสิทธิ์มา 50 ปี แต่มายืนยันอีกที
แล้วมันจะมีน้ำหนักหรือครับ นี่ยังไม่นับรวมถึงประเด็นที่ข้อ 60 ไม่ได้อนุญาติให้เปลี่ยนคำตัดสินด้วย


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Rule of Law ที่ 25-06-2008, 12:39

โถๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พยายามมมมม ซะเหลือเกินนะ ที่จะโปรโมทให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลก "ของเขมร" ให้ได้ ดีอย่างนั้นอย่างนี้

แล้วนี่ ถ้าไทยขอในเวที unesco ขอยื่นเรื่องเป็นมรดกโลกร่วมกัน 
(มีปราสาท + ก็ต้องมีบันได+ลานกว้าง  :slime_bigsmile:)

อย่างงี้  ไทยไม่โชติช่วงชัชวาลย์ซะยิ่งกว่าอีกเหรอออ

แต่อั้ยเหล่มันไม่อยากรอเนอะ  กองเชียร์ก็ท่องคาถา ยอมรับศาลโลก เวทีสากลๆๆๆๆๆ ท่องเข้าไว้



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Onerukna ที่ 25-06-2008, 12:47

ถ้าจดทะเบียนร่วมกัน เราจะได้ผลประโยชน์มากกว่าที่ยอมให้เขมรเขาไปจดฝ่ายเดียวมั้ยครับ ( ถามแบบไม่ค่อยรู้อะ )



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 25-06-2008, 13:53

แน่นอนถ้าเราจดร่วมเราจะได้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

 แต่กัมพูชาปฏิเสธไม่ยอมให้ใคร มามีกรรมสิทธิ์ร่วมในทะเบียนมรดกโลกในตัวปราสาท
ถ้าศาลโลกตัดสินปราสาทเขาพระวิหารให้เรา เราจะจด เขมรมาขอร่วม เราจะยอมใหม  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 25-06-2008, 14:04
โถๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พยายามมมมม ซะเหลือเกินนะ ที่จะโปรโมทให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลก "ของเขมร" ให้ได้ ดีอย่างนั้นอย่างนี้

แล้วนี่ ถ้าไทยขอในเวที unesco ขอยื่นเรื่องเป็นมรดกโลกร่วมกัน 
(มีปราสาท + ก็ต้องมีบันได+ลานกว้าง  :slime_bigsmile:)

อย่างงี้  ไทยไม่โชติช่วงชัชวาลย์ซะยิ่งกว่าอีกเหรอออ

แต่อั้ยเหล่มันไม่อยากรอเนอะ  กองเชียร์ก็ท่องคาถา ยอมรับศาลโลก เวทีสากลๆๆๆๆๆ ท่องเข้าไว้



เรียนคุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] ถ้าอยากจะคุยกันด้วยเหตุผล ขอความกรุณาช่วยยกเอาเหตุผลมาคุยด้วยนะครับ
ผมอยากจะคุยกับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างด้วยเหตุผลนะครับ

ปล. ยืนยันอีกครั้ง ผมก็เป็นคนไทยที่รักประเทศไทย เพียงแค่อาจมีความคิดเห็นแตกต่างกับคุณ ฉะนั้นควรคุยกันด้วยเหตุผลครับ

ปล.2 ขอตอบคุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] ด้วยคำตอบของคุณ mebeam นะครับ
แน่นอนถ้าเราจดร่วมเราจะได้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

 แต่กัมพูชาปฏิเสธไม่ยอมให้ใคร มามีกรรมสิทธิ์ร่วมในทะเบียนมรดกโลกในตัวปราสาท
ถ้าศาลโลกตัดสินปราสาทเขาพระวิหารให้เรา เราจะจด เขมรมาขอร่วม เราจะยอมใหม  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: -3- ที่ 25-06-2008, 14:37
ผมได้ข่าวมาเช่นนั้นเหมือนกัน
แต่ สนามบิน เขาพระวิหาร จะมีนักท่องเที่ยวบินมาวันละกี่คนครับ  มาเช้าเย็นกลับ วันนึงมันจะได้ 2 รอบไหม
คาสิโน ก็ไม่ได้เป็นแหล่งดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ( มันน่าจะเอาไว้ดูดคนไทยมากกว่า สังเกตได้จาก โรงเกลือปอยเปต  )

ขอให้ มันมีโปรแกรม อยู่ในรายชื่อแหล่งท่องเที่ยว ของประเทศไทยเป็นใช้ได้แล้ว
เอามันมาเสริมแหล่งท่องเทียวทางโบราณคดีของภาคอีสาน  จุดเด่นมันคือได้ข้ามไปเหยียบประเทศกัมพูชาด้วยโดยไม่ต้องขอวีซ่า ( จะช้ำใจมั๊ยเนี่ย )
โปรโมตเอาให้เหมือนของไทยเลย

กรุ๊ปทัวร์พวกฝรั่งต่างชาติ มักจะไปเที่ยวแต่ทะเล เที่ยวป่าเขาดอยเชียงใหม่
มักไม่ค่อย วิ่งสายอีสาน แต่ถ้าจุดหมายปลายทางมันเป็นมรดกโลก ปราสาทเขาพระวิหารประเทศกัมพูชา ล่ะ มันน่าดึงดูดขึ้นไหม
พวกนี้เวลามา  มันจะมาเป็นรถบัสนำเที่ยว  รถตู้ รถส่วนตัว  จำนวนมาก

สุดท้าย  ถ้าโชคร้ายไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจริง
แล้วนักท่องเที่ยวชาวไทยมันเป็นยังไงครับ
มันไม่มีตังค์ใช้จ่ายในจังหวัดศรีสะเกษหรือยังไง
เคยได้ยินไหมครับ เที่ยวเมืองไทยไปได้ทุกภาค

นี่ผมเอาอัตราการเข้าเยี่ยมชม ปราสาทเขาพระวิหาร ปัจจุบัน ลองพิจารณาดูครับ (ดูสภาพแล้วไม่น่าเก็บแพงขนาดนั้นเลย)

การเข้าชมปราสาทเขาพระวิหาร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารที่อยู่ในเขตแดนไทย
โดยคนไทยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานคนละ 20 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท และค่าผ่านแดนออกนอกประเทศคนละ 5 บาท
 เมื่อจะเข้าชมปราสาทเขาพระวิหาร กัมพูชาเก็บค่าธรรมเนียมชาวไทยคนละ 50 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 200 บาท
http://thai.tourismthailand.org/attraction/sisaket-33-2226-1.html

ลองดูครับเราได้ประโยชน์ตรงไหนครับ :slime_smile:

เท่าที่อ่านมา ก็เห็นว่ามีประโยชน์นะครับ (ซึ่งมันเป็นแบบนั้นแน่ถ้าได้จดทะเบียน)

ในเมื่อมันมีบางส่วนที่อยู่ในไทย ทำไมเราไม่จดพร้อมกันไปเลยล่ะครับ?

และถ้ากัมพูชาจดคนเดียวกับจดร่วมกับไทย มันต่างกันยังไง?
ถ้าไม่ต่าง แล้วทำไมไม่ร่วมกัน เพระาถ้าร่วมกัน การบำรุงรักษาก็จะดีขึ้น เป็นเรื่องของสองประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้นไปอีกไ่ม่ใช่หรือ?

ปล แล้วมีคนไหนออกมาบอกว่า "ห้ามจดทะเบียน" ล่ะคับ?

ปลล สมมติว่าเขาพระวิหารจดทะเบียนโดยกัมพูชาฝ่ายเดียว แล้ววันดีคืนดีเขาปิดทางขึ้นจากฝั่งไทย(ข้ออ้างสารพัด) แล้วเราจะทำยังไง?


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 25-06-2008, 15:05
ปลล สมมติว่าเขาพระวิหารจดทะเบียนโดยกัมพูชาฝ่ายเดียว แล้ววันดีคืนดีเขาปิดทางขึ้นจากฝั่งไทย(ข้ออ้างสารพัด) แล้วเราจะทำยังไง?

นี่ก็เป็น เหตุผลที่เราควรให้เขมรขึ้นมรดกโลกเสีย
เพราะ วันนี้ ตอนนี้ เขมรก็ปิดทางขึ้นอยู่ครับ  เราต้องไปเจรจากับเขมรคนเดียวเลย แล้วแต่อารมณ์มันจริงๆ
แต่ถ้ามันจดเสีย มันยังมี UNESCO เข้ามาเกี่ยวด้วย  ยังไงมันต้องเกรงใจ UNESCO ด้วย เพราะอุดหนุน เงินให้เขาพระวิหาร
คราวนี้มันจะปิดเปิดตามใจได้ไม่สะดวกแล้ว  เราไม่ชอบอะไรเราก็ร้องเรียน UNESCO ให้เขากระทุ้งให้
ทั้งหมดนี่ มันความเห็นผมเองทั้งหมดนะ มันอาจไม่ตรงตามนี้ก็ได้


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 15:36
OK คร้า...ชัดเจน คุณกำลังบอกว่าทั้ง 2 ฝ่าย(ไทย-เขมร)ขึ้นศาลโลกไปในฐานะคู่ความ แต่พอศาลตัดสินอย่างหนึ่งอย่างใดออกมา...คุณกลับกล่าวอ้างการสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยที่ออกมาด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่

ใช้หลักเหตุและผลเดียวกัน....กรณี 111 คนของทรท.ที่ถูกคณะตุลาการพิพากษาให้ยุติการเล่นการเมือง 5 ปีดังกล่าว กลุ่มคนทั้ง 111 คนก็สามารถขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการได้ใช่ไหม?  ขอคำอธิบายด้วยครับถ้าบอกว่าใช้หลักปฏิบัติเดียวกันไม่ได้ :slime_smile2:

สงสัยว่ายังชัดเจนไม่พอ.. ผมก็จะอธิบายเพิ่มไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน  :slime_bigsmile:

...

ประเทศไทยไม่ได้สงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย แต่ตรงข้าม-
เราปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลโลกในคดีนี้
ซึ่งมีอยู่ 3 ข้อ โดยสรุปคือ

ข้อแรก ให้ไทยยอมรับอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร
ข้อสอง ไทยต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมดออกจากปราสาทพระวิหาร
ข้อสาม ไทยต้องคืนวัตถุตามรายการที่ระบุในคำวินิจฉัยแก่กัมพูชา

การประกาศสงวนสิทธิของไทย ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำวินิจฉัย
แต่เป็นการสงวนสิทธิที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหรตามสิทธิที่มี หรือ
จะพึงมีในอนาคต
และขณะเดียวกันเราประท้วงคำวินิจฉัยซึ่งหมายถึง
เราไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย แต่เรายอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยศาลโลก
เพราะมีสัญญาผูกพันกับสหประชาชาติ

...

คดีปราสาทพระวิหารจึงไม่สามารถเทียบกับตัวอย่างของคุณอะไรจ๊ะ
ที่สมมุติให้ 111 กรรมการขอสงวนสิทธิ์ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

ในทางกลับกัน 111 กรรมการ ได้ดำเนินการเช่นเดียวกับรัฐบาลไทย
ในคดีปราสาทพระวิหาร คือ 111 กรรมการได้ประท้วงคำวินิจฉัยของ
ตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัย

และคงได้สงวนสิทธิที่จะรื้อฟื้นคดีเอาไว้ หลักฐานคือการเคลื่อนไหว
ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะไปลบล้างคำวินิจฉัย
ของตุลาการรัฐธรรมนูญในอดีตได้

เพียงแต่การแก้กฎหมายเพื่อฟอกผิดตัวเอง มันดูน่าเกลียดเกินไป!!!
ผมตอบถึงขนาดนี้แล้ว ยังมีอะไรไม่เข้าใจอีกไหมครับ คุณอะไรจ๊ะ  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 25-06-2008, 15:47
เมื่อวานลืมอ่านความเห็นนี้ ขอติงคุณจีนิดนึงนะครับ คือคุณจีใช้ข้อความฟังดูดี แต่ถ้าเขียนอย่างนี้แล้วเราจะถกกันได้อย่างไรครับ

ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

ไม่ว่าคุณจีจะเขียนอย่างไร ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ไม่ยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครนั้นเพราะไม่ยอมรับคำตัดสิน
แต่คุณจีไม่ควรลืมว่า ก็มีคนไทยแท้ๆ อีกมากมายที่เขาก็รักประเทศไทยเหมือนกัน แต่มีมุมมองที่เห็นว่าเราควรยอมรับคำตัดสิน
ดังนั้น เราควรมา "ถก" เพื่อหาหนทางที่น่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศมากที่สุดในทุกๆด้าน

ปล. ข้อ2 ล่าง (เขีียนตัวเลขซ้ำ :slime_whistle:) ที่คุณจีตอบนั่นแหละครับคือประเด็น เราสงวนสิทธิ์มา 50 ปี แต่มายืนยันอีกที
แล้วมันจะมีน้ำหนักหรือครับ นี่ยังไม่นับรวมถึงประเด็นที่ข้อ 60 ไม่ได้อนุญาติให้เปลี่ยนคำตัดสินด้วย

ผมเห็นด้วยกับตรงสีน้ำเงิน เพราะถ้าเราไม่ยอมรับคำตัดสินก็เท่ากับว่าเราไม่ยอมรับกฏหมายระหว่างประเทศ อีกหน่อยคงยุ่งเหมือนกัน วันดีคืนดีไทยไม่ยอมรับกฏหมายระหว่างประเทศ แล้วจะเอาตรังกานู ไทรบุรี ไชยา ถูกอังกฤษโกงไปคืนจากมาเลเซีย เอาทวาย มะริด ตะนาวสีคืนจากพม่า  พม่าบอกว่าแม่ฮ่องสอนเชียงรายไม่ใช่ของไทยอ้างย้อนไปสมัยพระเจ้าเหา ลาวบอกว่าภาคอิสานถูกไทยใช้กำลังยึดมาขอคืน แล้วทวงพระแก้วมรกตคืนด้วย มันก็คงวุ่นพิลึก


เรื่องมันอยู่ตรงนี้จริง ๆ ว่า รัฐบาลทำอย่างนั้นเพื่ออะไร ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศหรือของใคร ถ้าทำเพื่อประโยชน์ของประเทศ ก็ต้องชี้แจงออกมาว่าประโยชน์มีอะไร แล้วต้องบอกด้วยว่าส่วนที่เสียจะมีอะไรบ้าง

ที่ผิดก็คือรัฐบาลไม่มีสิทธิ์จะทำเรื่องนี้โดยไม่ขอความเห็นจากประชาชน


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 16:03
เมื่อวานลืมอ่านความเห็นนี้ ขอติงคุณจีนิดนึงนะครับ คือคุณจีใช้ข้อความฟังดูดี แต่ถ้าเขียนอย่างนี้แล้วเราจะถกกันได้อย่างไรครับ

ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

ไม่ว่าคุณจีจะเขียนอย่างไร ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ไม่ยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครนั้นเพราะไม่ยอมรับคำตัดสิน
แต่คุณจีไม่ควรลืมว่า ก็มีคนไทยแท้ๆ อีกมากมายที่เขาก็รักประเทศไทยเหมือนกัน แต่มีมุมมองที่เห็นว่าเราควรยอมรับคำตัดสิน
ดังนั้น เราควรมา "ถก" เพื่อหาหนทางที่น่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศมากที่สุดในทุกๆด้าน

ปล. ข้อ2 ล่าง (เขีียนตัวเลขซ้ำ :slime_whistle:) ที่คุณจีตอบนั่นแหละครับคือประเด็น เราสงวนสิทธิ์มา 50 ปี แต่มายืนยันอีกที
แล้วมันจะมีน้ำหนักหรือครับ นี่ยังไม่นับรวมถึงประเด็นที่ข้อ 60 ไม่ได้อนุญาติให้เปลี่ยนคำตัดสินด้วย

ประเด็นที่คุณไม่เอาพันธมารสรุปมา ถือว่าเกือบถูกแล้วครับ  :slime_smile:

เพียงแต่คุณไม่เอาพันธมาร จำกัดมุมมองไว้เพียงระดับบุคคล
ในขณะที่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับคนไทยบางคนยอมรับคำตัดสิน
หรือคนไทยบางคนไม่ยอมรับคำตัดสิน

..เพราะพวกเราแต่ละคนไม่มีใครเป็นผู้มีอำนาจแทนรัฐ..

...

ดังนั้นจุดสำคัญคือ รัฐบาลไทยซึ่งเป็นผู้มีอำนาจแทนรัฐ
ในขณะมีคำพิพากษาได้ประท้วงคำพิพากษาศาลโลกไว้

และได้ประกาศสงวนสิทธิของประเทศไทยในการเรียกร้อง
ปราสาทพระวิหารกลับคืน นั่นเท่ากับไทยได้ประกาศสิทธิ
เหนือปราสาทพระวิหาร และสิทธิดังกล่าวได้มีการสืบทอด
ต่อมาโดยมีรัฐบาลทุกชุดมาจนถึงปัจจุบัน

รัฐบาลสมัครในฐานะผู้มีอำนาจแทนรัฐในปัจจุบันซึ่งก็คือ
ผู้รับสืบทอดหน้าที่ในการรักษาสิทธิผลประโยชน์ของชาติ
แทนที่จะปฏิบัติตามภาระหน้าที่ดังกล่าว กลับดำเนินการ
สละสิทธิของประเทศไทย ที่ได้สงวนไว้มาโดยตลอด

ทั้งหมดเป็นที่มาของข้อสรุปว่า..
เราไม่ควรยอมรับการกระทำของรัฐบาลสมัครในเรื่องนี้  :slime_smile:

...

ปล. ขอย้ำว่าการประกาศสงวนสิทธิไม่เกี่ยวกับธรรมนูญศาลโลก
       แต่เราประกาศสงวนสิทธิทั้งหลาย รวมถึงที่จะมีในอนาคต
       การที่มาตรา 60 ไม่ให้เปลี่ยนคำตัดสิน จึงไม่เกี่ยวเลยครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-06-2008, 16:04
สงสัยว่ายังชัดเจนไม่พอ.. ผมก็จะอธิบายเพิ่มไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน  :slime_bigsmile:

...

ประเทศไทยไม่ได้สงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย แต่ตรงข้าม-
เราปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลโลกในคดีนี้
ซึ่งมีอยู่ 3 ข้อ โดยสรุปคือ

ข้อแรก ให้ไทยยอมรับอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร
ข้อสอง ไทยต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมดออกจากปราสาทพระวิหาร
ข้อสาม ไทยต้องคืนวัตถุตามรายการที่ระบุในคำวินิจฉัยแก่กัมพูชา

การประกาศสงวนสิทธิของไทย ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำวินิจฉัย
แต่เป็นการสงวนสิทธิที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหรตามสิทธิที่มี หรือ
จะพึงมีในอนาคต
และขณะเดียวกันเราประท้วงคำวินิจฉัยซึ่งหมายถึง
เราไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย แต่เรายอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยศาลโลก
เพราะมีสัญญาผูกพันกับสหประชาชาติ

...

คดีปราสาทพระวิหารจึงไม่สามารถเทียบกับตัวอย่างของคุณอะไรจ๊ะ
ที่สมมุติให้ 111 กรรมการขอสงวนสิทธิ์ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

ในทางกลับกัน 111 กรรมการ ได้ดำเนินการเช่นเดียวกับรัฐบาลไทย
ในคดีปราสาทพระวิหาร คือ 111 กรรมการได้ประท้วงคำวินิจฉัยของ
ตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัย

และคงได้สงวนสิทธิที่จะรื้อฟื้นคดีเอาไว้ หลักฐานคือการเคลื่อนไหว
ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะไปลบล้างคำวินิจฉัย
ของตุลาการรัฐธรรมนูญในอดีตได้

เพียงแต่การแก้กฎหมายเพื่อฟอกผิดตัวเอง มันดูน่าเกลียดเกินไป!!!
ผมตอบถึงขนาดนี้แล้ว ยังมีอะไรไม่เข้าใจอีกไหมครับ คุณอะไรจ๊ะ  :slime_smile:


Thank you คร้า...รบกวนคุณจีฯช่วยกรุณาอธิบายมาตรา 61 ว่าด้วยเรื่องการขอยื่นคัดค้านได้ไม่เกิน10ปีหลังคำพิพากษา(กำหนดโดยศาลโลก)  กับ การสงวนสิทธิที่จะทวงคืน(กำหนดโดยรัฐบาลไทยขณะนั้น) ซิว่าสิ่งไหนใหญ่กว่ากันและมีผลทางปฏิบัติในเวทีโลกมากกว่ากัน!?! :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 16:38
ผมเห็นด้วยกับตรงสีน้ำเงิน เพราะถ้าเราไม่ยอมรับคำตัดสินก็เท่ากับว่าเราไม่ยอมรับกฏหมายระหว่างประเทศ อีกหน่อยคงยุ่งเหมือนกัน วันดีคืนดีไทยไม่ยอมรับกฏหมายระหว่างประเทศ แล้วจะเอาตรังกานู ไทรบุรี ไชยา ถูกอังกฤษโกงไปคืนจากมาเลเซีย เอาทวาย มะริด ตะนาวสีคืนจากพม่า  พม่าบอกว่าแม่ฮ่องสอนเชียงรายไม่ใช่ของไทยอ้างย้อนไปสมัยพระเจ้าเหา ลาวบอกว่าภาคอิสานถูกไทยใช้กำลังยึดมาขอคืน แล้วทวงพระแก้วมรกตคืนด้วย มันก็คงวุ่นพิลึก

เรื่องมันอยู่ตรงนี้จริง ๆ ว่า รัฐบาลทำอย่างนั้นเพื่ออะไร ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศหรือของใคร ถ้าทำเพื่อประโยชน์ของประเทศ ก็ต้องชี้แจงออกมาว่าประโยชน์มีอะไร แล้วต้องบอกด้วยว่าส่วนที่เสียจะมีอะไรบ้าง

ที่ผิดก็คือรัฐบาลไม่มีสิทธิ์จะทำเรื่องนี้โดยไม่ขอความเห็นจากประชาชน

ประเด็นคือรัฐบาลไทยในปี พ.ศ. 2505 ได้ประท้วงคำตัดสินไว้แล้วจริงๆ
โดยประกาศอย่างชัดเจนว่าคำตัดสินไม่ยุติธรรมอย่างไรบ้าง

เพียงแต่ประเทศไทยยอมทำตามคำตัดสิน เพื่อรับผิดชอบในฐานะสมาชิก
ของสหประชาชาติ

และเนื่องจากเราเห็นว่าคำตัดสินไม่ยุติธรรม เราจึงประกาศสงวนสิทธิไว้
ว่าหากต่อไปเรามีสิทธิใดๆ ที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมเราจะดำเนินการ

...

การยกตัวอย่างอังกฤษคงไม่ค่อยตรงเท่าไหร่ เพราะเท่าที่ผมทราบมา
อังกฤษทำสัญญากับเราแบบตรงไปตรงดีกว่าฝรั่งเศสมาก

แต่ฝรั่งเศสเล่นสกปรกตลอด ตั้งแต่เอาเรือรบเข้ามาในกรุงเทพฯ สำเร็จ
หลังจากเรียกร้องเงินจากไทยไ้ด้แล้ว ก็ไปยึดเมืองจันทบุรีไม่ยอมคืน
กระทั่งไทยต้องทำสัญญา พ.ศ. 2447 เสียดินแดนให้ฝรั่งเศสแลกกับ
เมืองจันทบุรี แต่ฝรั่งเศสเล่นไม่เลิกไปยึดเมืองตราดไว้อีก ทำใ้ห้ไทย
ต้องทำสัญญา พ.ศ. 2450 ต้องเสียดินแดนเพิ่ม แลกกับเมืองตราดอีก
ซึ่งสัญญาฉบับนี้ก็คือที่เกี่ยวพันกับเกาะกูดในปัจจุบัน

สัญญาที่ทำกันในปี พ.ศ. 2447 ระบุชัดๆ ตั้งแต่มาตราแรกว่าให้ใช้
สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดน แต่ฝรั่งเศสก็ยังโกงโดยทำแผนที่ผิดๆ
ไม่ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน แล้วในที่สุดก็เอามาใช้โกงไทย

...

ตัวอย่างที่ยกมาทั้ง ตรังกานู ไทรบุรี ไชยา ทวาย มะริด ตะนาวสี
แม่ฮ่องสอน เชียงราย ภาคอีสานฯลฯ  ไทยเราได้มาอย่างถูกต้อง
ตามโบราณราชประเพณีในการสงคราม เมื่อรบชนะก็ได้เป็นเมืองขึ้น
ไม่ใช่เป็นดินแดนที่คดโกงมาแต่อย่างใด

การอ้างสิทธิสมัยพระเจ้าเหาจึงไม่ใช่ตรรกะที่ถูกต้อง ผมเห็นด้วยว่า
ถ้าอ้างแบบนั้นคงยุ่งพิลึก และในทางปฏิบัติก็ทำไม่ได้จริงเสียด้วย

แต่การอ้างสิทธิสมัยพระเจ้าเหา กลับเป็นประเด็นที่กัมพูชานำมาใช้
โดยอ้างว่าตัวเองสืบทอดมาจากอาณาจักรขอม ทั้งที่การอ้างสิทธิ
ต้องดูที่ "พรมแดน" เป็นสำคัญ ซึ่งพื้นที่เขาพระวิหารอยู่กับไทยมา
เกือบ 600 ปีแล้ว เพราะกษัตริย์เขมรรบแพ้ไทยจนต้องเก็บข้าวของ
ย้ายเมืองหลวงหนีไปตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ทำให้อาณาจัิกรเขมร
เหลือพื้นที่เพียงครึ่งหนึ่งของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และในสมัย
ร.5 เขมรยังมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของไทย กระทั่งไทยยกให้ฝรั่งเศส

แต่ถ้าอ้างอาณาจักรขอมได้ไทยต้องยกประเทศให้เขมรทั้งหมด!!!

...

ความจริงเรื่องนี้พิจารณาได้ง่ายๆ จาก "พรมแดน" ซึ่งผมก็สรุปได้ว่า

ฝรั่งเศสโกงไทย แล้วเขมรอ้างสิทธิโกงต่อ ส่วนศาลโลกก็ช่วยโกง

ทั้งหมดนั้นรัฐบาลไทยได้ประท้วง และประกาศสงวนสิทธิที่ถูกโกง
ว่าถ้าทำได้เมื่อไหร่เราจะทวงสิทธิของเรากลับคืน
แต่ล่าสุดรัฐบาลสมัครมีการกระทำที่ถือได้ว่าไทยสละสิทธิดังกล่าว   :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Onerukna ที่ 25-06-2008, 16:55
แน่นอนถ้าเราจดร่วมเราจะได้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

 แต่กัมพูชาปฏิเสธไม่ยอมให้ใคร มามีกรรมสิทธิ์ร่วมในทะเบียนมรดกโลกในตัวปราสาท
ถ้าศาลโลกตัดสินปราสาทเขาพระวิหารให้เรา เราจะจด เขมรมาขอร่วม เราจะยอมใหม  :slime_smile:

แล้วเขาจดคนเดียวโดยไม่ต้องพึ่งเราได้เปล่าครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 16:58
กรณีปราสาทพระวิหาร อาจดูแล้วเข้าใจได้ยาก
แต่ถ้ายกตัวอย่างง่ายๆ อาจทำให้เห็นภาพชัดขึ้น

เช่น คดีที่ดินวัดสวนแก้ว แม้มีคำพิพากษาไปแล้ว
แต่วัดสวนแก้วก็ประท้วงทำอนุสาวรีย์ถุงกล้วยแขก
ขณะเดียวกันก็ย้ายข้าวของผู้คนออกจากที่ดินด้วย

ในอนาคตหากมีช่องทางใดๆ ที่จะทวงที่ดินกลับคืน
หรือสามารถเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายใดๆ

เชื่อว่าวัดสวนแก้วก็คงดำเนินการทวงคืนเรียกร้อง

...
เอากรณีที่ดินวัดสวนแก้วมาขยายก็คงเห็นภาพใหญ่  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-06-2008, 17:00
ที่คุณจีบอกว่า 'และเนื่องจากเราเห็นว่าคำตัดสินไม่ยุติธรรม เราจึงประกาศสงวนสิทธิไว้ว่าหากต่อไปเรามีสิทธิใดๆ ที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมเราจะดำเนินการ' เท่ากับเป็นการไม่สนใจในกฏระเบียบของศาลโลกมาตรา 61 วรรค 5 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าหากไม่มีการร้องทักท้วงอย่างเป็นทางการภายใน 10 ปีหลังจากที่ศาลพิพากษาคดีไปแล้ว...ให้ถือว่าคดีดังกล่าวยุติ

การสงวนสิทธิ์ดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆทางกฏหมายที่ผูกพันต่อคดีนี้...จบแล้วครับคุณจี!!


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 17:28
ที่คุณจีบอกว่า 'และเนื่องจากเราเห็นว่าคำตัดสินไม่ยุติธรรม เราจึงประกาศสงวนสิทธิไว้ว่าหากต่อไปเรามีสิทธิใดๆ ที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมเราจะดำเนินการ' เท่ากับเป็นการไม่สนใจในกฏระเบียบของศาลโลกมาตรา 61 วรรค 5 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าหากไม่มีการร้องทักท้วงอย่างเป็นทางการภายใน 10 ปีหลังจากที่ศาลพิพากษาคดีไปแล้ว...ให้ถือว่าคดีดังกล่าวยุติ

การสงวนสิทธิ์ดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆทางกฏหมายที่ผูกพันต่อคดีนี้...จบแล้วครับคุณจี!!

เราไม่ได้จำกัดสิทธิเอาไว้ที่มาตรา 61 ของธรรมนูญศาลโลกนี่ครับ จะสรุปว่าจบได้ยังไง?  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 25-06-2008, 17:32
เราไม่ได้จำกัดสิทธิเอาไว้ที่มาตรา 61 ของธรรมนูญศาลโลกนี่ครับ จะสรุปว่าจบได้ยังไง?  :slime_smile:


คุณจีนี่ดิ้นจัง...สิทธิของไทยที่คุณจีว่าไว้น๊ะ ศาลโลกเค้ารับรองไหมครับ? หรือจะบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องให้ใครมารับรอง...งั้นก็ต้องถามว่าแล้วคุณจีจะให้รัฐบาลไทยสมัยนั้นเค้าไปขึ้นศาลให้เมื่อยทำไมก็ในเมื่อเราบอกว่าการสงวนสิทธิของไทยเรายิ่งใหญ่กว่าคำตัดสินของศาลโลก!?! :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: hitman ที่ 25-06-2008, 17:48

มิได้ครับ ผมมันคนตรง...ผิดเป็นผิด  ไม่ใช่ผิดแล้วแก้ตัวว่าถูก  เพราะหากไทยยังคลดึงดันเล่นเกมส์กับเขมรไม่เลิก เกรงว่าคนเขมรจะลุกฮือขึ้นทำร้ายคนไทยในเขวร และเผาสถานฑูตไทยได้อีก ถึงเวลาที่มีสงครามกัน...พวกรากหญ้าทั้งนั้นที่ถูกส่งไปตาย

คนที่คัดค้านเรื่องนี้...ไม่มีใครตายสักคนหรอกหากเกิดสงครามขึ้นมาจริงๆ

ไอ้ห่าเอ๊ย   กูก็หลงนึกว่ามึงเป็นผู้ชาย  มิน่าไม่มีใครสนใจมึง

ชื่อ:  The Last Emperor
กระทู้:  5,813 (7.761 ต่อวัน)
ตำแหน่ง:  ขาประจำขั้นที่ 3
วันที่สมัครสมาชิก:  07-06-2006, 14:43
ใช้งานล่าสุด:  วันนี้ เวลา 17:34

--------------------------------------------------------------------------------
 
ICQ: 
AIM:   
MSN:   
YIM:   
อีเมล์:  ซ่อน 
เว็บไซต์:   
สถานะปัจจุบัน:   ออนไลน์ 

--------------------------------------------------------------------------------
 
เพศ:  หญิง
อายุ: 22
ที่อยู่: 
เวลาท้องถิ่น: 25-06-2008, 17:45
ภาษา: Thai


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: KILL...ER ที่ 25-06-2008, 17:52
ขอบคุณพรรคฝ่ายค้านที่เสนอญัตติเข้าสภา

เปิดโอกาสให้คนไทยได้รับฟัง ข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ครบถ้วนบริบูรณ์

ในท้ายที่สุด มาร์ค ม.7 ไปเก็บตกข้อสงสัยของ หม่อมอุ๋ย ที่เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้

เอามาอภิปรายแบบ สดๆร้อนๆ ทำให้ประเด็นนี้ ที่กระผมเองยังติดใจอยู่ ก็ได้กระจ่างแจ้งแก่ใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ใครข้องใจในประเด็นไหนอีก นี่คิดว่า คงผิดปกติเกินกว่าจะติดตามข่าวสารบ้านเมืองแล้ว

ควรหวนกลับไป วิพากย์วิจารณ์ ละครหลังข่าว ดาราแย่งผัว กันจะเหมาะสมกว่า


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 18:02

คุณจีนี่ดิ้นจัง...สิทธิของไทยที่คุณจีว่าไว้น๊ะ ศาลโลกเค้ารับรองไหมครับ? หรือจะบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องให้ใครมารับรอง...งั้นก็ต้องถามว่าแล้วคุณจีจะให้รัฐบาลไทยสมัยนั้นเค้าไปขึ้นศาลให้เมื่อยทำไมก็ในเมื่อเราบอกว่าการสงวนสิทธิของไทยเรายิ่งใหญ่กว่าคำตัดสินของศาลโลก!?! :slime_doubt:

ก็ต้องตอบเหมือนเดิมคือ เราก็ไม่ได้จำกัดสิทธิเอาไว้กับศาลโลก

การที่รัฐบาลไทยไปขึ้นศาลโลกเพื่อให้ศาลอำนวยความยุติธรรม
แต่ในเมื่อศาลไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมได้เราก็ย่อมมีสิทธิ
ที่จะประท้วงคำตัดสิน
พรรค ทรท.ก็เคยมีพฤติกรรมประท้วงตุลาการรัฐธรรมนูญนะครับ  :slime_bigsmile:

...

แต่เรื่องการปฏิบัติตามคำพิพากษาเราก็ต้องยอมปฏิบัติไปตามนั้น
เพราะเป็นไปตามกฎกติกาที่ตกลงกัน

เพียงแต่ถ้ามีโอกาสช่องทางใดๆ ที่สามารถอำนวยความยุติธรรม
เราก็ย่อมสามารถสงวนสิทธิที่จะใช้โอกาสช่องทางนั้นๆ
คำสงวนสิทธิของเราไม่ขึ้นกับอำนาจศาลโลกครับ  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: 西施无情 ที่ 25-06-2008, 18:05
คุณกรณ์ มาแล้่วว  :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: 西施无情 ที่ 25-06-2008, 18:05
ขออภัย ผิดกระทู้   :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 18:35
ไอ้ห่าเอ๊ย   กูก็หลงนึกว่ามึงเป็นผู้ชาย  มิน่าไม่มีใครสนใจมึง

ชื่อ:  The Last Emperor
กระทู้:  5,813 (7.761 ต่อวัน)
ตำแหน่ง:  ขาประจำขั้นที่ 3
วันที่สมัครสมาชิก:  07-06-2006, 14:43
ใช้งานล่าสุด:  วันนี้ เวลา 17:34

--------------------------------------------------------------------------------

เพศ:  หญิง
อายุ: 22
ที่อยู่: 
เวลาท้องถิ่น: 25-06-2008, 17:45
ภาษา: Thai

คุณ hitman คงเป็นคนใหม่ถึงไม่รู้จักคุณอะไรจ๊ะ
ถ้าสนใจก็ไปศึกษาประวัติเขาได้นะครับ

=="อะไรจ๊ะ" เปลี่ยนชื่อจาก "ซูสีไทเฮา/ป้าแหล่ม/จีรศักดิ์" มาเป็น TLE(เพศหญิง)==
http://forum.serithai.net/index.php?topic=24450.0


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 18:36
ขออภัย ผิดกระทู้   :slime_hmm:

ไม่เป็นไรครับ กำลังดูคุณกรณ์อยู่เหมือนกัน  :slime_v:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Rule of Law ที่ 25-06-2008, 18:48
เรียนคุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] ถ้าอยากจะคุยกันด้วยเหตุผล ขอความกรุณาช่วยยกเอาเหตุผลมาคุยด้วยนะครับ
ผมอยากจะคุยกับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างด้วยเหตุผลนะครับ

ปล. ยืนยันอีกครั้ง ผมก็เป็นคนไทยที่รักประเทศไทย เพียงแค่อาจมีความคิดเห็นแตกต่างกับคุณ ฉะนั้นควรคุยกันด้วยเหตุผลครับ

ปล.2 ขอตอบคุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] ด้วยคำตอบของคุณ mebeam นะครับ

การโพสต์ทุกกระทู้มีเหตุผลอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับคนอ่านว่าจะมีสติปัญญาเข้าใจได้แค่ไหน

พยายามยกเหตุผลแทบตาย ว่า best solution ของไทยคือยื่นจดร่วม
พวกชอบแถ ก็ยังพยายามแถเรื่องว่าพระวิหารเป็นของใคร ต้องปฏิบัติตามศาลโลก อยู่นั่นเอง
อวดภูมิรู้เข้าไป ธรรมนูญศาลโลกเป็นอย่างนั้น อย่างนี้   มันไม่ได้เกี่ยวกับท่าทีของไทยเลย

mebeam ถ้าเขมรไม่ยอมให้จดร่วม  เราก็สามารถคัดค้านในที่ประชุม unesco ได้
ค้านไปเรื่อยๆ เพราะว่าจะเกิดผลประโยชน์กับเรามากกว่าปล่อยให้จดไปฝ่ายเดียว



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 25-06-2008, 19:08
การโพสต์ทุกกระทู้มีเหตุผลอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับคนอ่านว่าจะมีสติปัญญาเข้าใจได้แค่ไหน

พยายามยกเหตุผลแทบตาย ว่า best solution ของไทยคือยื่นจดร่วม
พวกชอบแถ ก็ยังพยายามแถเรื่องว่าพระวิหารเป็นของใคร ต้องปฏิบัติตามศาลโลก อยู่นั่นเอง
อวดภูมิรู้เข้าไป ธรรมนูญศาลโลกเป็นอย่างนั้น อย่างนี้   มันไม่ได้เกี่ยวกับท่าทีของไทยเลย

mebeam ถ้าเขมรไม่ยอมให้จดร่วม  เราก็สามารถคัดค้านในที่ประชุม unesco ได้
ค้านไปเรื่อยๆ เพราะว่าจะเกิดผลประโยชน์กับเรามากกว่าปล่อยให้จดไปฝ่ายเดียว



งงนะครับ ผมว่าทุกกระทู้ที่ผมคุยด้วยก็ใช้เหตุผลมาคุยนะครับ คุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] ว่ามันแถตรงไหนครับ
อย่างกระทู้นี้ คุณบอกว่าเราสามารถคัดค้านในที่ประชุมได้
แต่ในมุมมองของผม(ซึ่งผมก็ยกเหตุผลประกอบนะครับ) ผมมองว่าไม่มีประโยชน์ที่เราจะค้าน เพราะ

1. เขมรจดทะเบียนเฉพาะพื้นที่ของเขา (ข้อนี้ถ้าไม่ยอมรับก็เป็นอีกประเด็นที่กำลังคุยกันอยู่ครับ) และไม่ต้องการจดร่วมกับเรา
2. ระหว่างการค้านเพื่อจะขอจดร่วม ซึ่ง ณ. วันนี้ เวลานี้ เขาไม่ยอมจดร่วมกับเรา กับการให้เขาจดส่วนของเขา
แต่ในพื้นที่ทับซ้อนต้องร่วมกันบริหาร ผมว่าวิธีหลังเรา(ประเทศไทย)น่าจะได้ประโยชน์กว่านะครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 19:11
ตอนแรกเขมรตั้งใจจะยื่นฝ่ายเดียวมาตั้งแต่ต้น และมีความคิดจะเอาบันไดทางฝั่งไทยไปขึ้นทะเบียนด้วย
รวมทั้งมีความคิดจะเอาหมู่บ้านภูมิโก (ชื่อตามข่าว) ทำเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรม ที่ผมสงสัยว่าจะหมายถึง
หมู่บ้านภูมิซร็อล ต.บึงมะลู อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งถ้าใช่ก็จะเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในแผ่นดินไทย

ตามกระแสข่าวยังอ้างอิงบริเวณโดยรอบเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ซึ่งจากขนาดพื้นที่ที่แสดงในข่าว
น่าจะรวมเอาดินแดนไทยบนเขาพระวิหารไว้ด้วย

ทำให้รัฐบาลสุรยุทธ์ไม่สามารถยอมรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชา
ซึ่งต่อมาเดือนมิถุนายน 2550 รัฐบาลสุรยุทธ์ได้คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก  :slime_smile:

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เขาพระวิหารเตรียมขึ้นทะเบียนมรดกโลก
16 ตค 49

หลังจากปราสาทนครวัดได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2535 กระบวนการทางกฎหมายต่างๆกำลังถูกปฏิบัติ
เพื่อให้องค์การUNESCO (UNITED NATION EDUCATION SCIENE AND CULTURE ORGANIZATION)
ยอมรับปราสาทเขาพระวิหารเช่นเดียวกับประสาทนครวัด ปัญหานี้ได้ถูกนำเข้ามาเป็นวาระของการประชุมกลุ่ม
ที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันศุกร์สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลอยากหารือเกี่ยวกับการอนุมัติหลักปฏิบัติ
พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารแหล่งท่องเที่ยวเขาพระวิหาร และเกี่ยวกับหนังสือสำคัญเพื่อขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
และในวันที่23ตุลาคมที่จะถึงนี้ เจ้าหน้าที่ขององค์การUNESCOคนหนึ่งจะเดินทางมากัมพูชาเพื่อทำการประเมิน
หลายปีมาแล้วที่ กัมพูชาได้เรียกร้องให้มีการยอมรับในระดับนานาชาติต่อมรดกอันล้ำค่าแห่งนี้ แต่UNESCOมองว่า
กัมพูชายังไม่ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกประการ การเรียกร้องครั้งใหม่ที่ทำขึ้นโดยรัฐบาลนี้มีการตอบสนองใน
กฎกติกาที่UNESCO เรียกร้องเกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่ด้วย ซึ่งบนยอดเขา 600 เมตรที่มีปราสาทตั้งอยู่จะต้อง
ได้เห็นทิวทัศน์ในมุม 60 องศา และเห็นพื้นป่าไม้ 5 กิโลเมตร ที่อยู่เบื้องล่าง ส่วนตามสันเขาได้ถูกจัดให้เป็น
พื้นที่ห้ามก่อสร้าง บริเวณทั้ง2ครอบคลุมพื้นที่ 4642.5 เฮกเตอร์ พื้นที่อนุรักษ์ (บริเวณที่1) จะครอบคลุมพื้นที่
154.7 เฮกเตอร์ ส่วนบริเวณก่อสร้างได้ (บริเวณที่ 3) มีพื้นที่ 679 เฮกเตอร์ทางทิศตะวันตก และ1149เฮกเตอร์
ทางทิศตะวันออก นอกจากนั้นยังมีการเรียกร้องอื่นๆอีกเช่น การประกาศหมู่บ้านภูมิโกเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรม
และทางเดินโบราณที่มีบันไดยาวเหยียดขึ้นสู่ยอดเขาซึ่งใช้งานไม่ได้ตอนนี้จะ ถูกนำกลับมาใช้งาน นายตี ยาว
คณะกรรมการร่วมบริหารเขาพระวิหารบอกว่า การขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว
เพิ่มขึ้น ที่สำคัญจะช่วยให้เขาได้เลื่อนระยะเวลาการอยู่อีกนอกเหนือจากเที่ยวชมปราสาท นครวัดเพียงแห่งเดียว

ที่มา :: รัศมีกัมพูชา
แปล-เรียบเรียงโดย.. :: ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Rule of Law ที่ 25-06-2008, 19:23
งงนะครับ ผมว่าทุกกระทู้ที่ผมคุยด้วยก็ใช้เหตุผลมาคุยนะครับ คุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] ว่ามันแถตรงไหนครับ
อย่างกระทู้นี้ คุณบอกว่าเราสามารถคัดค้านในที่ประชุมได้
แต่ในมุมมองของผม(ซึ่งผมก็ยกเหตุผลประกอบนะครับ) ผมมองว่าไม่มีประโยชน์ที่เราจะค้าน เพราะ

1. เขมรจดทะเบียนเฉพาะพื้นที่ของเขา (ข้อนี้ถ้าไม่ยอมรับก็เป็นอีกประเด็นที่กำลังคุยกันอยู่ครับ) และไม่ต้องการจดร่วมกับเรา
2. ระหว่างการค้านเพื่อจะขอจดร่วม ซึ่ง ณ. วันนี้ เวลานี้ เขาไม่ยอมจดร่วมกับเรา กับการให้เขาจดส่วนของเขา
แต่ในพื้นที่ทับซ้อนต้องร่วมกันบริหาร ผมว่าวิธีหลังเรา(ประเทศไทย)น่าจะได้ประโยชน์กว่านะครับ

เอาหล่ะ พูดจนเบื่อแล้ว

1. เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของเขมรคนเดียว
เหตุผลกำปั้นทุบดิน - อุทยานพระวิหารจะเป็นมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาท ไม่รวมบันได้+บริเวณโดยรอบ  อย่างนี้ไทยได้ประโยชน์ตรงไหน
การตีความก็คือ  โบราณสถานแห่งนี้ ไม่ได้มีเขมรเป็นเจ้าของคนเดียว อีกส่วนหนึ่งไทยเป็นเจ้าของด้วย
แล้วมันผิดตรงไหน ถ้าไทยจะปกป้องสิทธิตรงนี้  ยืนยันว่าต้องเป็นมรดกโลกร่วม

2. อ้าว แทนที่คุณจะมองว่า ถ้าเป็นมรดกโลกร่วมกันแล้วไทยจะได้ประโยชน์สูงสุด ยืนยันตรงนั้น หาทางทำให้สำเร็จ
กลับบอกว่า ให้เขาจดให้ได้ไปก่อน  แล้วไทยก็คอยเสนอแผนบริหารมรดกโลกของเขา 
อันนี้ รักชาติแต่ไม่แสดงออกเหรอ  :slime_smile2:

พอที.....  :slime_surrender:





หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 25-06-2008, 19:55
งงนะครับ ผมว่าทุกกระทู้ที่ผมคุยด้วยก็ใช้เหตุผลมาคุยนะครับ คุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] ว่ามันแถตรงไหนครับ
อย่างกระทู้นี้ คุณบอกว่าเราสามารถคัดค้านในที่ประชุมได้
แต่ในมุมมองของผม(ซึ่งผมก็ยกเหตุผลประกอบนะครับ) ผมมองว่าไม่มีประโยชน์ที่เราจะค้าน เพราะ

1. เขมรจดทะเบียนเฉพาะพื้นที่ของเขา (ข้อนี้ถ้าไม่ยอมรับก็เป็นอีกประเด็นที่กำลังคุยกันอยู่ครับ) และไม่ต้องการจดร่วมกับเรา
2. ระหว่างการค้านเพื่อจะขอจดร่วม ซึ่ง ณ. วันนี้ เวลานี้ เขาไม่ยอมจดร่วมกับเรา กับการให้เขาจดส่วนของเขา
แต่ในพื้นที่ทับซ้อนต้องร่วมกันบริหาร ผมว่าวิธีหลังเรา(ประเทศไทย)น่าจะได้ประโยชน์กว่านะครับ

ทั้ง 2 ข้อก็ถูกใจเขมรทั้งนั้น แต่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ
เพราะเราต้องการขอจดร่วม

และเราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ถ้าจะไม่มีการขึ้นทะเบียน
เขมรเสียอีกที่ต้องการเรื่องนี้มากกว่าไทย
ทำไมเราต้องเอาใจเขมร แต่เขมรไม่เอาใจเราเลย?  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: นักปฏิวัติ ที่ 25-06-2008, 20:10
นายนพดล อ้างข้อกฏหมาย ตามที่ฝ่ายกัมพูชาใช้อ้างอิง คือ Article 61 (5) แต่รัฐบาลไทย ที่ผ่านมา เราสงวนสิทธิ์ตาม Article 60 ซึ่งไม่ได้กำหนดระยะเวลา ที่จะเสนอการโต้แย้งแต่อย่างใด
   แสดงว่า นายนพดลกำลังแสดงบทบาทและท่าที เป็นทนายให้กับกัมพูชาทั้งที่ ตัวเองมีตำแหน่ง รมต.กระทรวงการต่างประเทศของไทย

1. ข้อมูลจากบางส่วนของหนังสือ “ไทยแพ้คดี เสียดินแดนให้เขมร” เขียนโดย บุญร่วม เทียมจันทร์ ประภาส เฉลยมรรค และ ศรัญญา วิชชาธรรม
       
        ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ กว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก โดยอ้างว่าคำพิพากษานั้นขัดต่อกฎหมายและความยุติธรรม
        นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเอาปราสาทพระวิหารกลับคนมาในอนาคตด้วย

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000072311


2. ข้อเสนอต่อ UNESCO ของ กัมพูชา (ฉบับเต็ม)
http://www.pressocm.gov.kh/publishing/Preah%20Vihear_English.pdf 

3. นายนพดลอ้าง ข้อกฏหมายตรงตามข้อความในหน้าที่ 6 ของข้อเสนอดังกล่าว (ดูในข้อเสนอฉบับเต็ม หน้า 6) ซึ่งยกข้อความมาเพียงบางส่วน ที่เป็นประโยชน์ต่อกัมพูชาเท่านั้น

Article 60:
The judgment is final and without appeal
.
Article 61, paragraph 5:
No application for revision may be made after the LAPSE OF TEN YEARS from the date of the judgment.

4. อ้างอิงข้อกฏหมายของศาลโลก STATUTE OF THE INTERNATIONAL COURT OF JUSTICE (ฉบับเต็ม)
 http://www.icj-cij.org/documents/index.php?p1=4&p2=2&p3=0

5. ทุกท่าน จะเห็นว่า นายนพดล อ้างข้อกฏหมาย ตามที่ฝ่ายกัมพูชาใช้อ้างอิง คือ Article 61 (5) แต่รัฐบาลไทย ที่ผ่านมา เราสงวนสิทธิ์ตาม Article 60 ซึ่งไม่ได้กำหนดระยะเวลา ที่จะเสนอการโต้แย้งแต่อย่างใด
แสดงว่า นายนพดลกำลังแสดงบทบาทและท่าที เป็นทนายให้กับกัมพูชาทั้งที่ ตัวเองมีตำแหน่ง รมต.กระทรวงการต่างประเทศของไทย

Article 60
The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.
 

Article 61
1. An application for revision of a judgment may be made only when it is based upon the discovery of some fact of such a nature as to be a decisive factor, which fact was, when the judgment was given, unknown to the Court and also to the party claiming revision, always provided that such ignorance was not due to negligence.
2. The proceedings for revision shall be opened by a judgment of the Court expressly recording the existence of the new fact, recognizing that it has such a character as to lay the case open to revision, and declaring the application admissible on this ground.
3. The Court may require previous compliance with the terms of the judgment before it admits proceedings in revision.
4. The application for revision must be made at latest within six months of the discovery of the new fact.
5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment.



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 25-06-2008, 23:57
เอาหล่ะ พูดจนเบื่อแล้ว

1. เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของเขมรคนเดียว
เหตุผลกำปั้นทุบดิน - อุทยานพระวิหารจะเป็นมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาท ไม่รวมบันได้+บริเวณโดยรอบ  อย่างนี้ไทยได้ประโยชน์ตรงไหน
การตีความก็คือ  โบราณสถานแห่งนี้ ไม่ได้มีเขมรเป็นเจ้าของคนเดียว อีกส่วนหนึ่งไทยเป็นเจ้าของด้วย
แล้วมันผิดตรงไหน ถ้าไทยจะปกป้องสิทธิตรงนี้  ยืนยันว่าต้องเป็นมรดกโลกร่วม

2. อ้าว แทนที่คุณจะมองว่า ถ้าเป็นมรดกโลกร่วมกันแล้วไทยจะได้ประโยชน์สูงสุด ยืนยันตรงนั้น หาทางทำให้สำเร็จ
กลับบอกว่า ให้เขาจดให้ได้ไปก่อน  แล้วไทยก็คอยเสนอแผนบริหารมรดกโลกของเขา 
อันนี้ รักชาติแต่ไม่แสดงออกเหรอ  :slime_smile2:

พอที.....  :slime_surrender:


อย่าพึ่งพอเลยครับ คุยกันด้วยเหตุผลไม่ได้ชวนทะเลาะ อย่าพึ่งเบื่่อเลย  :slime_smile:

โบราณสถานแห่งนี้ ไม่ได้มีเขมรเป็นเจ้าของคนเดียว อีกส่วนหนึ่งไทยเป็นเจ้าของด้วย
แล้วมันผิดตรงไหน ถ้าไทยจะปกป้องสิทธิตรงนี้  ยืนยันว่าต้องเป็นมรดกโลกร่วม


จากตรงนี้ของคุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] บอกแหละครับ แต่คนที่จะบอกไม่ใช่ไทย แต่ให้กรรมการมรดกโลกเป็นคนบอก
คือผมอ่านจาก web ไม่แน่ใจว่า web ไหนนะครับ แต่ข้อสรุปคือ ถ้าเขมรยื่นไปแค่ตัวปราสาท
ก็มีโอกาสสูงที่คณะกรรมการมรดกโลกจะไม่อนุมัติ เพราะมันไม่ครบองค์ประกอบ แต่จะอนุมัติทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะบางส่วนเป็นของไทย
(ถ้าจำไม่ผิดมีข้อนึงบอกไว้ว่ามรดกโลกต้องไม่รุกล้ำอธิปไตยของชาติอื่น ประมาณนี้นะครับ จำไม่ได้จริงๆ  :slime_hmm:)
ดังนั้นถ้าเขมรอยากจดทะเบียนจริง ก็ต้องมาขอไทยให้จดร่วม เพราะยื่นแค่ตัวปราสาทก็ไม่สามารถจดทะเบียนได้
 

เห็นไหมครับ ว่าไทยเราไม่ต้องไปค้านให้เขมรหาเรื่องเล่นแง่กับไทยเลย เพราะถ้ากรรมการไม่อนุมัติ เขมรก็ไม่สามารถว่าไทยได้
เพราะไทยเซ็นต์เห็นด้วยไปแล้ว (แต่เฉพาะพื้นที่ปราสาทที่เป็นของเขมรนะ  :slime_smile2:)
ดังนั้น ถ้าเขมรอยากจดจริง คราวนี้ก็เข้าทางที่เราทุกคนต้องการเลยครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 26-06-2008, 07:55
ประเด็นที่คุณไม่เอาพันธมารสรุปมา ถือว่าเกือบถูกแล้วครับ  :slime_smile:

เพียงแต่คุณไม่เอาพันธมาร จำกัดมุมมองไว้เพียงระดับบุคคล
ในขณะที่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับคนไทยบางคนยอมรับคำตัดสิน
หรือคนไทยบางคนไม่ยอมรับคำตัดสิน

..เพราะพวกเราแต่ละคนไม่มีใครเป็นผู้มีอำนาจแทนรัฐ..


ตรงนี้แสดงว่าคุณจียอมรับว่าตอนนี้มีความเห็นทั้ง 2 ฝ่ายใช่ไหมครับ
และทั้ง 2 ฝ่ายก็ตัดสินไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจแทนรัฐ คนที่จะตัดสินใจคือรัฐบาล(ผู้มีอำนาจแทนรัฐ)

...

ดังนั้นจุดสำคัญคือ รัฐบาลไทยซึ่งเป็นผู้มีอำนาจแทนรัฐ
ในขณะมีคำพิพากษาได้ประท้วงคำพิพากษาศาลโลกไว้

และได้ประกาศสงวนสิทธิของประเทศไทยในการเรียกร้อง
ปราสาทพระวิหารกลับคืน นั่นเท่ากับไทยได้ประกาศสิทธิ
เหนือปราสาทพระวิหาร และสิทธิดังกล่าวได้มีการสืบทอด
ต่อมาโดยมีรัฐบาลทุกชุดมาจนถึงปัจจุบัน

รัฐบาลสมัครในฐานะผู้มีอำนาจแทนรัฐในปัจจุบันซึ่งก็คือ
ผู้รับสืบทอดหน้าที่ในการรักษาสิทธิผลประโยชน์ของชาติ
แทนที่จะปฏิบัติตามภาระหน้าที่ดังกล่าว กลับดำเนินการ
สละสิทธิของประเทศไทย ที่ได้สงวนไว้มาโดยตลอด

แล้วตรงนี้รัฐบาลสมัครซึ่งเป็นผู้มีอำนาจแทนรัฐ ได้ตัดสินใจที่จะยอมรับคำตัดสินของศาลโลกฃ
แสดงว่ารัฐบาลก็มีสิทธิ และก็มีเสียงสนับสนุนจากบุคคล(อย่างน้อยก็ผมคนหนึ่ง  :slime_v:) โดยใช้เหตุและผล
ดังที่เราได้ถกกัน ไม่ได้คิดในแง่ของผลประโยชน์ทับซ้อนของทักษิณตามที่มีข่าวลือเลย

ทั้งหมดเป็นที่มาของข้อสรุปว่า..
เราไม่ควรยอมรับการกระทำของรัฐบาลสมัครในเรื่องนีี้ี้

ทั้งหมดเป็นที่มาของข้อสรุปว่า เราควรยอมรับการกระทำของรัฐบาลสมัครในเรื่องนี้


ปล. ขอย้ำว่าการประกาศสงวนสิทธิไม่เกี่ยวกับธรรมนูญศาลโลก
       แต่เราประกาศสงวนสิทธิทั้งหลาย รวมถึงที่จะมีในอนาคต
       การที่มาตรา 60 ไม่ให้เปลี่ยนคำตัดสิน จึงไม่เกี่ยวเลยครับ



ปล. ตรงนี้ขอเห็นด้วยกับคุณจะนิดนึง เพราะ ณ ธรรมนูญปัจจะบัน การประกาศสงวนสิทธิของเราไม่สามารถ
      อ้างเป็นเหตุผลเหนือมาตรา 60 และ 61 ได้ (สรุปมาตรา 60 ไม่ให้เปลี่ยนคำตัดสินนะครับ)
      และเขมรก็สร้างเหตุผลให้เราต้องตัดสินใจในตอนนี้ ดังนั้นถ้าคุณจีเป็นรัฐบาล ซึ่งต้องคิดถึงผลกระทบในทุกๆด้าน
      คุณจีจะอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารตามที่เราสงวนสิทธิ(แต่ไม่มีผลในปัจจุบันนี้) และพร้อมมีปัญหากับเขมร
      ซึ่งตรงนี้แหละที่ผมกลัว ยิ่งใกล้ช่วงเลือกตั้งเขมร เขายิ่งชอบจุึดประเด็นเรื่องรักชาติแบบบ้าคลั่ง
      กับอีกประการคือยอมรับคำตัดสิน (เพราะปัจจุบันเราต้องยอมรับ) แต่หาทางไม่ให้เขาเอาพื้นที่ทับซ้อนไปและจะต้อง
      หาประโยชน์ร่วมกัน(อยู่ในที่คุณนพดลเซ็นไป) มันไม่ดีกว่าหรือครับ

ปล2. ผมว่าเราต้องมองไปถึงเขมรด้วยว่าเขาจะตัดสินใจอย่างไร อย่าลืมว่ารับบาล(ผู้แทนรัฐ) ของเขาค่อนข้างไม่สนใจ
       ประเด็นความเสียหายระหว่างประเทศนัก(ดังจะเห็นได้จากกรณีกบ สุวนันท์) ซึ่งตรงนี้ผมว่าเขาแย่กว่าเรามาก
      แต่เราไม่สามารถไปวิจารณ์หรือเสนอความเห็นได้ (ก็ไม่ใช่เขมรนี่นา  :slime_bigsmile:)


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 26-06-2008, 09:22
ก็ต้องตอบเหมือนเดิมคือ เราก็ไม่ได้จำกัดสิทธิเอาไว้กับศาลโลก

การที่รัฐบาลไทยไปขึ้นศาลโลกเพื่อให้ศาลอำนวยความยุติธรรม
แต่ในเมื่อศาลไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมได้เราก็ย่อมมีสิทธิ
ที่จะประท้วงคำตัดสิน
พรรค ทรท.ก็เคยมีพฤติกรรมประท้วงตุลาการรัฐธรรมนูญนะครับ  :slime_bigsmile:

...

แต่เรื่องการปฏิบัติตามคำพิพากษาเราก็ต้องยอมปฏิบัติไปตามนั้น
เพราะเป็นไปตามกฎกติกาที่ตกลงกัน

เพียงแต่ถ้ามีโอกาสช่องทางใดๆ ที่สามารถอำนวยความยุติธรรม
เราก็ย่อมสามารถสงวนสิทธิที่จะใช้โอกาสช่องทางนั้นๆ
คำสงวนสิทธิของเราไม่ขึ้นกับอำนาจศาลโลกครับ  :slime_smile:


ติ๊งต่างว่าเป็นอย่างที่คุณจีฯเชื่อก็แล้วกันว่าไทยสามารถสงวนสิทธิอะไรนั่นได้...ถามว่าคุณจีจะสงวนสิทธิไปถึงเมื่อไหร่?  จะใช้สิทธิในการรื้อฟื้นคดีกับใคร? และใช้ช่องทางไหนที่ถูกกฏหมายตอนนี้? รบกวนขอข้อเท็จจริงที่ปรากฏขณะนี้ ไม่เอาคำตอบแบบว่าคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นในอนาคตน๊ะ เพราะไม่งั้นplotเรื่องมันจะกลายเป็นลิเกไปในที่สุด :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-06-2008, 10:53
ตรงนี้แสดงว่าคุณจียอมรับว่าตอนนี้มีความเห็นทั้ง 2 ฝ่ายใช่ไหมครับ
และทั้ง 2 ฝ่ายก็ตัดสินไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจแทนรัฐ
คนที่จะตัดสินใจคือรัฐบาล(ผู้มีอำนาจแทนรัฐ)

แล้วตรงนี้รัฐบาลสมัครซึ่งเป็นผู้มีอำนาจแทนรัฐ ได้ตัดสินใจที่จะยอมรับคำตัดสินของศาลโลก
แสดงว่ารัฐบาลก็มีสิทธิ และก็มีเสียงสนับสนุนจากบุคคล(อย่างน้อยก็ผมคนหนึ่ง  )
โดยใช้เหตุและผลดังที่เราได้ถกกัน ไม่ได้คิดในแง่ของผลประโยชน์ทับซ้อนของทักษิณ
ตามที่มีข่าวลือเลย

ทั้งหมดเป็นที่มาของข้อสรุปว่า เราควรยอมรับการกระทำของรัฐบาลสมัครในเรื่องนี้

คุณไม่เอาพันธมารเข้าใจถูกต้องแล้วว่า คนที่มีอำนาจตัดสินใจคือผู้มีอำนาจแทนรัฐ

แต่คุณเข้าใจผิดว่าเป็นรัฐบาลแล้วจะมีอำนาจเด็ดขาดเป็นผู้มีอำนาจแทนรัฐโดยอิสระ

คุณต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า รัฐบาลเป็นเพียงหนึ่งในสาม ของกลไกการใช้อำนาจรัฐ
พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจรัฐแทนประชาชนชาวไทยผ่านกลไกทั้ง 3 ซึ่งประกอบ
ไปด้วย คณะรัฐมนตรี(รัฐบาล) รัฐสภา(สภาผู้แทน+วุฒิสภา) และศาล

พึงระลึกด้วยว่าอำนาจดังกล่าวมีข้อจำกัีดตามกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญไทย
กฎหมายระหว่างประเทศ หลักธรรมมาภิบาล ไปจนถึงขนบธรรมเนียมประเพณี

..ไม่ไช่ว่าเป็นรัฐบาลแล้วจะทำอะไรก็ได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด..

หากรัฐบาลละเมิดข้อจำกัดตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ก็สามารถถูกทักท้วงโดยรัฐสภา
นั่นคือการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และสามารถถูกฟ้องร้องดำเนินคดี นั่นคือการ
ตกเป็นจำเลยของศาลในคดีทุจริตต่างๆ

...

ตัวคุณเองก็ยืนยืนด้วยว่า ไม่ได้คิดในแง่ของผลประโยชน์ทับซ้อนของทักษิณ
ทั้งที่การประเมินพฤติกรรมใดๆ ทางการเมืองของนักการเมือง เราจะละเลย
การประเมินเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ได้

ความจริงต้องประเมินเป็นเรื่องแรกด้วยซ้ำ และรองลงมาค่อยประเมินในเรื่อง
การด้อยความสามารถในการบริหาร

พูดง่ายๆ ไม่มีฝีมือจะบริหารยังพอให้อภัย อาจแค่ไล่ออกจากตำแหน่งเท่านั้น
แต่ทุจริตในการบริหารต้องไล่ออกและฟ้องร้องดำเนินคดีซ้ำด้วย

ในเมื่อคุณบอกว่ายังไม่ได้คิดในแง่ผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ลองเอามาคิดด้วยครับ

...

ที่คุณไม่เอาพันธมาร สรุปว่ารัฐบาลสมัครตัดสินใจที่จะยอมรับคำตัดสินของศาลโลก
คุณหมายถึงรัฐบาลสมัครยอมรับ ว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาโดยสมบูรณ์
และรัฐบาลสมัครได้ยกเลิกการสงวนสิทธิ ที่เคยสงวนไว้แล้วใช่ไหมครับ?

ที่คุณบอกว่า "สนับสนุนรัฐบาลสมัคร" ผมไม่แน่ใจว่าคุณสนับสนุนในเรื่องไหน
แต่เท่าที่อ่านความเห็นคุณมา น่าจะเป็นการสนับสนุนให้ไทยยกเลิกการสงวนสิทธิ
ที่ทำไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 และให้กัมพูชามีสิทธิในปราสาทพระวิหารโดยสมบูรณ์
ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับว่าคุณสนับสนุนแบบนี้ .. ใช่ หรือ ไม่ใช่ ครับ?  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-06-2008, 11:01

ติ๊งต่างว่าเป็นอย่างที่คุณจีฯเชื่อก็แล้วกันว่าไทยสามารถสงวนสิทธิอะไรนั่นได้...ถามว่าคุณจีจะสงวนสิทธิไปถึงเมื่อไหร่?  จะใช้สิทธิในการรื้อฟื้นคดีกับใคร? และใช้ช่องทางไหนที่ถูกกฏหมายตอนนี้? รบกวนขอข้อเท็จจริงที่ปรากฏขณะนี้ ไม่เอาคำตอบแบบว่าคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นในอนาคตน๊ะ เพราะไม่งั้นplotเรื่องมันจะกลายเป็นลิเกไปในที่สุด :slime_smile2:

สงวนสิทธิไว้ ... มีสิทธิไปตลอดกาล
ไม่สงวนสิทธิ ... หมดสิทธิตลอดกาล

คุณจะไม่เอาคำตอบเกี่ยวกับอนาคตได้ยังไง...
ในเมื่อที่พูดกันทั้งหมดหมายถึงอนาคตทั้งนั้น  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-06-2008, 15:13
ปล. ตรงนี้ขอเห็นด้วยกับคุณจะนิดนึง เพราะ ณ ธรรมนูญปัจจะบัน การประกาศสงวนสิทธิของเราไม่สามารถ
      อ้างเป็นเหตุผลเหนือมาตรา 60 และ 61 ได้ (สรุปมาตรา 60 ไม่ให้เปลี่ยนคำตัดสินนะครับ)
      และเขมรก็สร้างเหตุผลให้เราต้องตัดสินใจในตอนนี้ ดังนั้นถ้าคุณจีเป็นรัฐบาล ซึ่งต้องคิดถึงผลกระทบในทุกๆด้าน
      คุณจีจะอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารตามที่เราสงวนสิทธิ(แต่ไม่มีผลในปัจจุบันนี้) และพร้อมมีปัญหากับเขมร
      ซึ่งตรงนี้แหละที่ผมกลัว ยิ่งใกล้ช่วงเลือกตั้งเขมร เขายิ่งชอบจุึดประเด็นเรื่องรักชาติแบบบ้าคลั่ง
      กับอีกประการคือยอมรับคำตัดสิน (เพราะปัจจุบันเราต้องยอมรับ) แต่หาทางไม่ให้เขาเอาพื้นที่ทับซ้อนไปและจะต้อง
      หาประโยชน์ร่วมกัน(อยู่ในที่คุณนพดลเซ็นไป) มันไม่ดีกว่าหรือครับ

ปล2. ผมว่าเราต้องมองไปถึงเขมรด้วยว่าเขาจะตัดสินใจอย่างไร อย่าลืมว่ารับบาล(ผู้แทนรัฐ) ของเขาค่อนข้างไม่สนใจ
       ประเด็นความเสียหายระหว่างประเทศนัก(ดังจะเห็นได้จากกรณีกบ สุวนันท์) ซึ่งตรงนี้ผมว่าเขาแย่กว่าเรามาก
      แต่เราไม่สามารถไปวิจารณ์หรือเสนอความเห็นได้ (ก็ไม่ใช่เขมรนี่นา  :slime_bigsmile:)

คุณไม่เอาพันธมาร ยังไม่กลับมาตอบคำถาม ถ้าอย่างนั้นผมเก็บประเด็นที่ค้างใน ปล. ก็แล้วกัน  :slime_smile:

...

ต้องเข้าใจให้ถูกว่า เขมรไม่ได้สร้างเหตุผลที่เราต้องตัดสินใจ นั่นเป็น "ข้ออ้าง" ของ รมต.นพดล
ว่าถ้าไม่รีบตัดสินใจไทยจะเสียอธิปไตยให้เขมร และยังอ้างเครดิตว่าสามารถปกป้องอธิปไตยไว้ได้

ความจริงแล้ว ตามข้อบังคับ คณะกรรมการมรดกโลก ข้อ 132.1 เรื่องการพิสูจน์สถานที่ระบุไว้ว่า

"ในกรณีที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนซึ่งมีเขตแดนที่ไม่ชัดเจน ประเทศข้างเคียงจะต้องลงนามให้ความยินยอม
คณะกรรมการมรดกโลกจึงจะรับพิจารณา"


ดังนั้นถ้าไทยไม่ลงนามยินยอมเสียอย่างเดียว เขมรก็ไม่มีทางดำเนินการอะไรเกี่ยวกับมรดกโลกได้
และคุณนพดลยังเอาเรื่องต้องปกป้องอธิปไตยนี้ไปให้ข้อมูลผิดๆ เช่นตามที่หม่อมอุ๋ยออกมาเปิดเผย
ว่าคุณนพดลเอาเรื่องนี้ไปทำให้นายทหารผู้ใหญ่เข้าใจผิด จนตัดสินใจสนับสนุนการลงนามให้เขมร

ส่วนเรื่องมีปัญหากับเขมร ประเทศไทยไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มนะครับ แต่เริ่มมาจากฝรั่งเศสโกงไทยก่อน
แล้วเขมรก็ฉวยโอกาสโกงตาม เรื่องมันเริ่มมาแบบนั้น และในเมื่อศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องพรมแดน
ทำไมเราต้องไปยอมเขมร ที่พยายามยึดครองพื้นที่โดยรุกล้ำพรมแดนไทย?

เรื่องปราสาทพระวิหาร เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าเกี่ยวข้องกับคะแนนเสียงของพรรครัฐบาลเขมร
แต่ประเทศไทยไม่ได้มีหน้าที่ช่วยรัฐบาลเขมรหาเสียงนะครับ ยิ่งเป็นการช่วยโดยนำเอา
อธิปไตยของประเทศไปถวายให้เขมร ยิ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้
ถ้ากลัวเขมรโกรธแล้วต้องตามใจเขมรทุกอย่าง ถามว่าเราต้องยอมยกประเทศให้เขมรไหม?  :slime_doubt:

...

ปล. ผมยังรอ คุณไม่เอาพันธมาร กลับมาตอบคำถามอยู่นะครับว่า ใช่ หรือ ไ่ม่ใช่


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 26-06-2008, 15:21
คุณไม่เอาพันธมารเข้าใจถูกต้องแล้วว่า คนที่มีอำนาจตัดสินใจคือผู้มีอำนาจแทนรัฐ

แต่คุณเข้าใจผิดว่าเป็นรัฐบาลแล้วจะมีอำนาจเด็ดขาดเป็นผู้มีอำนาจแทนรัฐโดยอิสระ

คุณต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า รัฐบาลเป็นเพียงหนึ่งในสาม ของกลไกการใช้อำนาจรัฐ
พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจรัฐแทนประชาชนชาวไทยผ่านกลไกทั้ง 3 ซึ่งประกอบ
ไปด้วย คณะรัฐมนตรี(รัฐบาล) รัฐสภา(สภาผู้แทน+วุฒิสภา) และศาล

พึงระลึกด้วยว่าอำนาจดังกล่าวมีข้อจำกัีดตามกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญไทย
กฎหมายระหว่างประเทศ หลักธรรมมาภิบาล ไปจนถึงขนบธรรมเนียมประเพณี

..ไม่ไช่ว่าเป็นรัฐบาลแล้วจะทำอะไรก็ได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด..

หากรัฐบาลละเมิดข้อจำกัดตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ก็สามารถถูกทักท้วงโดยรัฐสภา
นั่นคือการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และสามารถถูกฟ้องร้องดำเนินคดี นั่นคือการ
ตกเป็นจำเลยของศาลในคดีทุจริตต่างๆ

...

ตัวคุณเองก็ยืนยืนด้วยว่า ไม่ได้คิดในแง่ของผลประโยชน์ทับซ้อนของทักษิณ
ทั้งที่การประเมินพฤติกรรมใดๆ ทางการเมืองของนักการเมือง เราจะละเลย
การประเมินเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ได้

ความจริงต้องประเมินเป็นเรื่องแรกด้วยซ้ำ และรองลงมาค่อยประเมินในเรื่อง
การด้อยความสามารถในการบริหาร

พูดง่ายๆ ไม่มีฝีมือจะบริหารยังพอให้อภัย อาจแค่ไล่ออกจากตำแหน่งเท่านั้น
แต่ทุจริตในการบริหารต้องไล่ออกและฟ้องร้องดำเนินคดีซ้ำด้วย

ในเมื่อคุณบอกว่ายังไม่ได้คิดในแง่ผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ลองเอามาคิดด้วยครับ

...

ที่คุณไม่เอาพันธมาร สรุปว่ารัฐบาลสมัครตัดสินใจที่จะยอมรับคำตัดสินของศาลโลก
คุณหมายถึงรัฐบาลสมัครยอมรับ ว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาโดยสมบูรณ์
และรัฐบาลสมัครได้ยกเลิกการสงวนสิทธิ ที่เคยสงวนไว้แล้วใช่ไหมครับ?

ที่คุณบอกว่า "สนับสนุนรัฐบาลสมัคร" ผมไม่แน่ใจว่าคุณสนับสนุนในเรื่องไหน
แต่เท่าที่อ่านความเห็นคุณมา น่าจะเป็นการสนับสนุนให้ไทยยกเลิกการสงวนสิทธิ
ที่ทำไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 และให้กัมพูชามีสิทธิในปราสาทพระวิหารโดยสมบูรณ์
ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับว่าคุณสนับสนุนแบบนี้ .. ใช่ หรือ ไม่ใช่ ครับ?  :slime_smile:

เอ่อ แล้วการตัดสินในเรื่องนี้ ย้ำนะครับไม่ใช่เรื่องการเสียดินแดน ถึงแม้มันจะเป็นการเสียดินแดน (งงไหมนี่)
ผมหมายถึงการตัดสินในการยุติการสงวนสิทธิ (เอ้ะ มานึกๆ ดูในบันทึกความเข้าใจก็ไม่ได้มีข้อไหนบอกนี่นาว่าเรายกเลิการสงวนสิทธิ)
รัฐบาลมีสิทธิตัดสินใจหรือไม่ คุณจีคิดว่ารัฐบาลไม่มีสิทธิ เพราะกฏหมายข้อไหนครับ
เดี๋ยวลองดูที่ศาลปกครองที่พันธมารฟ้องดูก็ได้ครับ ประเด็นนี้น่าจะจบได้

คราวนี้ถ้าประเด็นข้างบนจบว่ารัฐบาลทำได้ เราจะทำยังไงต่อครับ จะประท้วงต่อหรือไม่
ถ้าจบว่ารัฐบาลทำไม่ได้ ฝั่งคุณจีคงจบ ฝั่งผมก็ต้องจบ เพราะศาลท่านสั่ง  :slime_shy:

ปล. คำตอบคือ ใช่ ครับ ผมสนับสนุนให้กัมพูชามีสิทธิในปราสาทโดยสมบูรณ์ตามคำสั่งศาลโลก

แต่ช้าก่อน อย่าพึ่งมารุมถล่มผมนะ เพราะมุมมองของผม รวมถึงทุกท่านที่อายุน้อยกว่า 40
มีซักกี่คนที่คิดว่าเขาพระวิหารเป็นของไทยครับ ก็ด้วยคำตัดสิน การแสดงออก ยกเว้นกระดาษแผ่นเดียวที่เอามาพูดถึงนั่น
คุณจีกรุณาดูบริบทของรัฐไทยที่ผ่านมาตั้ง 40 กว่าปีสิครับว่าแสดงอะไรที่เป็นการบอกว่าเขาพระวิหารเป็นของเราบ้างครับ
เปรียบได้กับที่คุณจีบอกว่าพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ มันพ้นสมัยไปแล้วนั่นแหละครับ

ปล2. จะมีซักกี่่คนในนี้ที่รู้ว่ามีประกาศสงวนสิทธิในเขาพระวิหารตั้งแต่ก่อนเกิดเรื่องนี้ครับ เรื่องนี้มันบอกอะไรเราได้บ้างหรือไม่



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 26-06-2008, 15:40

ต้องเข้าใจให้ถูกว่า เขมรไม่ได้สร้างเหตุผลที่เราต้องตัดสินใจ นั่นเป็น "ข้ออ้าง" ของ รมต.นพดล
ว่าถ้าไม่รีบตัดสินใจไทยจะเสียอธิปไตยให้เขมร และยังอ้างเครดิตว่าสามารถปกป้องอธิปไตยไว้ได้

ความจริงแล้ว ตามข้อบังคับ คณะกรรมการมรดกโลก ข้อ 132.1 เรื่องการพิสูจน์สถานที่ระบุไว้ว่า

"ในกรณีที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนซึ่งมีเขตแดนที่ไม่ชัดเจน ประเทศข้างเคียงจะต้องลงนามให้ความยินยอม
คณะกรรมการมรดกโลกจึงจะรับพิจารณา"


ดังนั้นถ้าไทยไม่ลงนามยินยอมเสียอย่างเดียว เขมรก็ไม่มีทางดำเนินการอะไรเกี่ยวกับมรดกโลกได้
และคุณนพดลยังเอาเรื่องต้องปกป้องอธิปไตยนี้ไปให้ข้อมูลผิดๆ เช่นตามที่หม่อมอุ๋ยออกมาเปิดเผย
ว่าคุณนพดลเอาเรื่องนี้ไปทำให้นายทหารผู้ใหญ่เข้าใจผิด จนตัดสินใจสนับสนุนการลงนามให้เขมร

ส่วนเรื่องมีปัญหากับเขมร ประเทศไทยไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มนะครับ แต่เริ่มมาจากฝรั่งเศสโกงไทยก่อน
แล้วเขมรก็ฉวยโอกาสโกงตาม เรื่องมันเริ่มมาแบบนั้น และในเมื่อศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องพรมแดน
ทำไมเราต้องไปยอมเขมร ที่พยายามยึดครองพื้นที่โดยรุกล้ำพรมแดนไทย?

เรื่องปราสาทพระวิหาร เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าเกี่ยวข้องกับคะแนนเสียงของพรรครัฐบาลเขมร
แต่ประเทศไทยไม่ได้มีหน้าที่ช่วยรัฐบาลเขมรหาเสียงนะครับ ยิ่งเป็นการช่วยโดยนำเอา
อธิปไตยของประเทศไปถวายให้เขมร ยิ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้
ถ้ากลัวเขมรโกรธแล้วต้องตามใจเขมรทุกอย่าง ถามว่าเราต้องยอมยกประเทศให้เขมรไหม?  :slime_doubt:

...

ปล. ผมยังรอ คุณไม่เอาพันธมาร กลับมาตอบคำถามอยู่นะครับว่า ใช่ หรือ ไ่ม่ใช่

จากตรงนี้มี 2 ประเด็นนะครับ

1. คุณจีบอกว่านั่นคือ ข้ออ้าง แต่สำหรับผมนั่นคือสิ่งที่ต้องตัดสินใจ จากประโยคของคุณจีเอง

ดังนั้นถ้าไทยไม่ลงนามยินยอมเสียอย่างเดียว เขมรก็ไม่มีทางดำเนินการอะไรเกี่ยวกับมรดกโลกได้ล

นี่แหละครับที่รัฐบาลไทย(โดย ครม.) ต้องตัดสินใจว่าจะลงนามหรือไม่ลงนาม เพราะมันเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เพราะรัฐบาลไม่ใช่บุคคลนะครับ ที่จะปฏิเสธได้ง่ายๆ โดยไม่สนใจอะไร เพราะฉะนั้นเราต้องคิดทั้ง 2 ทางและเลือกทางที่ไทย
ได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งในความคิดผม
      ไม่รับ -> มีปัญหาระหว่างประเทศเกิดขึ้น ไม่รู้กัมพูชาจะเล่นแง่อะไร แล้วธุรกิจ,การลงทุน,การค้าขายของคนไทยทุกคนที่เกี่ยวข้อง ถ้าเกิดปัญหาจากมาตรการตอบโต้ของกัมพูชา(ยอมรับว่ากลัวเกมส์การเมืองกัมพูชาจริงๆ เพราะเขาเล่นแรง เขาไม่สนประเด็นของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบหรอก)
       รับ -> แต่ให้มีการกำหนดในบันทึกให้จัดการพื้นที่ทับซ้อนร่วมกัน ซึ่งเราพอได้ประโยชน์บ้าง
แล้วคุณจีลองว่าข้อดีข้อเสียของการ รับกับไม่รับมาบ้างสิครับ

2. ส่วนเรื่องมีปัญหากับเขมร ประเทศไทยไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มนะครับ แต่เริ่มมาจากฝรั่งเศสโกงไทยก่อน
แล้วเขมรก็ฉวยโอกาสโกงตาม เรื่องมันเริ่มมาแบบนั้น และในเมื่อศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องพรมแดน
ทำไมเราต้องไปยอมเขมร ที่พยายามยึดครองพื้นที่โดยรุกล้ำพรมแดนไทย?

เอ่อ อธิปไตยนี่มันมีพรมแดนพระกอบด้วยนะครับ แล้วประเด็นทำไมเราต้องยอม เพราะเราไม่ใช่โจรไงครับ
เห็นที่นี่ชอบพูดบ่อยๆ ว่าการที่อีกฝ่ายทำผิด ไม่ใช่เราควรทำผิดตาม เรื่องนี้ก็เหมือนกัน ผมก็เห็นตรงกับคุณจีว่าฝรั่งเศสโกง
แล้วเขมรก็โกงตาม แต่เมื่อศาลโลกตัดสิน และเราไม่ใช่โจร ไม่ใช่ประเทศยิ่งใหญ่ที่จะไม่สนคำตัดสินศาลโลก
เราก็ต้องยอมตาม ถ้าบุคคลธรรมดาจะใช้เงื่อนไขว่าเพราะมันโกง เราจึงไม่ต้องยอม มันยังพอเข้าใจเพราะเป็นเรื่องบุคคล
แต่ในระดับประเทศ ถ้าประเทศใดคิดอย่างนั้น ไม่โดนประเทศอื่นประนามหรืออย่างไร
อย่าลืมนะครับว่าปัจจุบันถึงฝรั่งเศสไม่มีอำนาจมาก แต่ก็ยังพอมีอยู่ แถมยังมีคำตัดสินของศาลโลกช่วยเสริมอีก
แล้วใครจะเข้าข้างเราในเวทีโลกครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 26-06-2008, 15:50
 
กลัวเขมรขนาดนั้น เค้าก็บีบคอเอาไปหมดกันพอดี

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ก็ต้องยกให้เค้าไป เพราะเรากลัว




เรื่องโกงระหว่างประเทศกับโกงส่วนบุคคล
ถ้าไม่ยอมรับศาลโลก
อย่างมากก็เม้งๆ กันไปมา
แต่ถ้าบุคคลไม่ยอมรับอำนาจศาลยุติธรรม ก็เข้าคุกนะครับ



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-06-2008, 16:04
เอ่อ แล้วการตัดสินในเรื่องนี้ ย้ำนะครับไม่ใช่เรื่องการเสียดินแดน ถึงแม้มันจะเป็นการเสียดินแดน (งงไหมนี่)
ผมหมายถึงการตัดสินในการยุติการสงวนสิทธิ (เอ้ะ มานึกๆ ดูในบันทึกความเข้าใจก็ไม่ได้มีข้อไหนบอกนี่นาว่าเรายกเลิการสงวนสิทธิ)
รัฐบาลมีสิทธิตัดสินใจหรือไม่ คุณจีคิดว่ารัฐบาลไม่มีสิทธิ เพราะกฏหมายข้อไหนครับ
เดี๋ยวลองดูที่ศาลปกครองที่พันธมารฟ้องดูก็ได้ครับ ประเด็นนี้น่าจะจบได้

คราวนี้ถ้าประเด็นข้างบนจบว่ารัฐบาลทำได้ เราจะทำยังไงต่อครับ จะประท้วงต่อหรือไม่
ถ้าจบว่ารัฐบาลทำไม่ได้ ฝั่งคุณจีคงจบ ฝั่งผมก็ต้องจบ เพราะศาลท่านสั่ง  :slime_shy:

ปล. คำตอบคือ ใช่ ครับ ผมสนับสนุนให้กัมพูชามีสิทธิในปราสาทโดยสมบูรณ์ตามคำสั่งศาลโลก

แต่ช้าก่อน อย่าพึ่งมารุมถล่มผมนะ เพราะมุมมองของผม รวมถึงทุกท่านที่อายุน้อยกว่า 40
มีซักกี่คนที่คิดว่าเขาพระวิหารเป็นของไทยครับ ก็ด้วยคำตัดสิน การแสดงออก ยกเว้นกระดาษแผ่นเดียวที่เอามาพูดถึงนั่น
คุณจีกรุณาดูบริบทของรัฐไทยที่ผ่านมาตั้ง 40 กว่าปีสิครับว่าแสดงอะไรที่เป็นการบอกว่าเขาพระวิหารเป็นของเราบ้างครับ
เปรียบได้กับที่คุณจีบอกว่าพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ มันพ้นสมัยไปแล้วนั่นแหละครับ

ปล2. จะมีซักกี่่คนในนี้ที่รู้ว่ามีประกาศสงวนสิทธิในเขาพระวิหารตั้งแต่ก่อนเกิดเรื่องนี้ครับ เรื่องนี้มันบอกอะไรเราได้บ้างหรือไม่

ทบทวนกันก่อนคือผมถามไว้ว่า .. "คุณไม่เอาพันธมาร สนับสนุนให้ไทยยกเลิกการสงวนสิทธิ
ที่ทำไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 และให้กัมพูชามีสิทธิในปราสาทพระวิหารโดยสมบูรณ์ ใช่หรือไม่?"
..และคุณไม่เอาพันธมารเลือกตอบว่า "ใช่" นะครับ..  :slime_smile:

...

คราวนี้เราก็มาดูว่าพฤติกรรมที่ผ่านมาของ รัฐบาลสมัคร และรัฐมนตรีนพดล เป็นอย่างไร

สรุปง่ายๆ คือตอนแรกก่อนที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลสมัครมีมติ ครม.ออกมา
ยอมรับแผนที่ของกัมพูชา (ในเอกสารกัมพูชาเรียกว่า "map") และให้ รมต.นพดล เป็น
ตัวแทนฝ่ายไทยไปลงนามในเอกสารขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก

หลังจากนั้น รมต.นพดล มีการพูดการให้สัมภาษณ์หลายครั้ง ยืนยันว่าปราสาทพระวิหาร
เป็นของประเทศกัมพูชา

ฝ่ายนายกฯ สมัคร ก็เหมือน รมต.นพดล คือยืนยันว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา

สรุปว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลสมัครยืนยันหนักแน่นว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา

...

แต่หลังจากฝ่ายค้านยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลสมัครเริ่มเกิดอาการป้อแป้
เริ่มจากแก้ไขมติ ครม. เปลี่ยนคำเรียก "แผนที่" ของกัมพูชาเป็นเรียกว่า "แผนผัง"
และยังพยายามเลี่ยงการเรียกชื่อ หนังสือสัญญา ไปใช้คำอื่นๆ แทน :slime_smile2:

หลังจากนั้นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯสมัครกลับพูดในสภา ยืนยันการสงวนสิทธิ
ของรัฐบาลไทยในอดีต
พยายามระวังถ้อยคำไม่พูดว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร

ทำนองเดียวกัน รมต.นพดล ก็ใช้วิธีเลี่ยงไม่ให้ความเห็นของตัวเองว่าปราสาทพระวิหาร
เป็นของไทยหรือของกัมพูชา
แต่ไปอ้างเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ แทน ส่วนที่เคยพูดหนักแน่น
ว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา กลายเป็นไม่พูดอีกแล้ว

สรุปง่ายๆ คือรัฐบาลสมัครกลับลำ 180 องศา ไม่กล้ากล่าวยืนยันยุติการสงวนสิทธิ
ที่รัฐบาลในอดีตประกาศเหนือปราสาทพระวิหาร แต่ยืนยันว่าสิทธิยังคงอยู่ทุกประการ!!!!

...

เหตุผลมาจากอะไร... ก็มาจากรัฐบาล "ไม่มีสิทธิตัดสินใจ" ในเรื่องนี้ไงล่ะครับ

คุณถามว่าไม่มีสิทธิเพราะกฏหมายข้อไหน เรื่องนี้อยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 190
ซึ่งมีข้อความยืดยาวกว้างขวางเกินหนึ่งหน้ากระดาษเสียอีก

รัฐบาลสมัครเห็นท่าไม่ดีจึงตัดสินใจ "กลับลำ" แบบกระทันหันก่อนถูกอภิปราย

...

ที่คุณไม่เอาพันธมารตอบว่า "ใช่" ตอนนี้จึงไม่ตรงกับรัฐบาลสมัครแล้วนะครับ
เพราะเขากลับไปพูดยืนยันการสงวนสิทธิของรัฐบาลไทยในอดีตเรียบร้อยแล้ว

แต่คุณอย่าได้พยายามอ้างว่าถ้าอย่างนั้นก็จบเรื่อง เพราะความผิดได้กระทำแล้ว
และหากไ่ม่มีผู้ทักท้วงกันมากมาย ก็คงเกิดความเสียหายกับประเทศจริงๆ

หลังจากฝ่ายค้านเปิดประเด็นอภิปรายเรื่องนี้ ผมคิดว่าคณะกรรมการมรดกโลก
ก็คงตัดสินใจชลอเีรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกไปอีกครั้งหนึ่ง

ซึ่งทั้งหมดมาจากผู้คัดค้านทั้งหลายที่ร่วมกันทักท้วงอย่างเข้มแข็งชัดเจน
ในขณะที่คนไทยอีกจำนวนหนึ่งสนับสนุนยกปราสาทพระวิหารให้กับเขมร
รัฐบาลสมัครก็กลับลำไปแล้ว คุณไม่เอาพันธมารจะเปลียนคำตอบไหมครับ?  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-06-2008, 16:08
แถมอีกหน่อยถ้ากลัวเขมรโกรธ อยากจะเอาใจเขมรจริงๆ
ตอนนี้เขาอยากได้ "อ่าวไทย" ด้วยน่ะครับ

เขมรอ้างแผนที่ชุดเดียวกับที่เหมาว่าไทยยอมรับแล้ว
และมาโกงปราสาทพระวิหารจากเราไปนี่เอง
คุณไม่เอาพันธมาร คิดว่าสมควรยกให้เขมรด้วยไหม?  :slime_smile:

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/326/2326/images/0006.jpg)


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 26-06-2008, 16:10
 
คุณจีฯ ผมเห็นนพดลยังเถียงอภิสิทธิ์อยู่เลยนะครับ
ว่าไอ้ที่ไปเซ็นนั่น ไม่จำเป็นต้องเข้าสภาตาม รธน. :slime_doubt:



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 26-06-2008, 16:39
ขอตอบคคห. คุณจี แต่ขอไม่ยกทั้งหมดมานะครับ คือมันยาวแล้วชักลายตา ต้องขอโทษด้วย  :slime_sentimental:

เหตุผลมาจากอะไร... ก็มาจากรัฐบาล "ไม่มีสิทธิตัดสินใจ" ในเรื่องนี้ไงล่ะครับ

ผมว่าเหตุผลไม่ใช่หรอกครับ แต่มีเหตุผลอยู่ 2 ข้อ คือ

1. เพราะคำๆนี้มีกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มนำไปจุดประเด็น+ใส่สีตีไข่(ไม่ได้ว่าในนี้นะครับ ในนี้เราใช้เหตุผลคุยกัน  :slime_smile:)
ดังนั้นเพื่อลดความร้อนแรงและลดประเด็นเลยเลี่ยงที่จะพูดถึง
2. รัฐบาลไม่ใช่ "ไม่มีสิทธิตัดสินใจ" แต่ "ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจ" ยิ่งตอนนี้มีกลุ่มบางกลุ่ม(โทษทีครับจำไม่ได้ว่ากลุ่มไหน)
ที่ไปยื่น unesco หรือยื่นไปศาลปกครอง ซึ่งถามคุณจีจริงๆ ลองไปถามนักกฏหมายดูก็ได้ครับ
ว่าถ้าตอบตามกฏหมายที่มีอยู่แล้วเนี่ย ไอ้การยืนยันการสงวนสิทธิที่ประกาศไว้เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน มันจะมีผลในตอนนี้หรือไม่ครับ

ส่วนแผนที่อ่าวไทย มันไม่เกี่ยวกันนะครับ เพราะอ่าวไทยนี่ไทยยังยืนยันพิพาทอยู่
แถมนิดนึง คุณจีคิดจริงหรือครับว่าแผนที่ที่เขมรส่งมาให้ไทยตรวจสอบ เป็น
แผนที่อนาเขต "ทั้งประเทศ" ของเขมร ไม่ใช่แผนที่เฉพาะส่วนเขาพระวิหาร  :slime_smile:
ถ้าส่งมาแค่ส่วนเขาพระวิหาร แล้วจะมั่วนิ่มเอาทั้งหมดนี่ ผมจะไปร่วมกับคุณจีขับไล่เขมรด้วยเลย (ไปด้วยได้ป่าว  :slime_bigsmile:)


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-06-2008, 16:42

คุณจีฯ ผมเห็นนพดลยังเถียงอภิสิทธิ์อยู่เลยนะครับ
ว่าไอ้ที่ไปเซ็นนั่น ไม่จำเป็นต้องเข้าสภาตาม รธน. :slime_doubt:

ก็พยายามเลี่ยงไงครับ ว่าที่เซ็นไป "ไม่ใช่หนังสือสัญญา"

คำพูดที่เคยยืนยันหนักแน่นว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร
ก็กลายเป็นเลี่ยงไม่ออกความเห็นตัวเอง แต่ยังมั่วไปต่ออีกว่า
ถ้าไม่ยอมจะเสียอธิปไตยให้เขมร ซึ่งก็ถูกจับโกหกได้ไปแล้ว

ที่สำคัญพยายามลากคนอื่นมารับรองตัวเอง ทั้งที่ความจริง
เรื่องปราสาทพระวิหารมีลักษณะเป็นการ "ตั้งธงไว้ก่อน"

โดยไม่ได้รวบรวมข้อมูลเลยว่ามีใครคัดค้านอย่างไรบ้าง
แต่กลับกันมีหลักฐานว่าคนที่คัดค้านถูกปลดจากตำแหน่ง

และพิจารณาจากพื้นฐานการเป็นทนาย ย่อมถนัดอย่างยิ่ง
ในการเลือกตั้งคำถามให้คนอื่นต้องตอบว่า "ใช่"
แล้วคุณนพดลก็เอาคำตอบว่า "ใช่" มาใช้รับรองตัวเอง  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-06-2008, 17:27
ขอตอบคคห. คุณจี แต่ขอไม่ยกทั้งหมดมานะครับ คือมันยาวแล้วชักลายตา ต้องขอโทษด้วย  :slime_sentimental:

เหตุผลมาจากอะไร... ก็มาจากรัฐบาล "ไม่มีสิทธิตัดสินใจ" ในเรื่องนี้ไงล่ะครับ

ผมว่าเหตุผลไม่ใช่หรอกครับ แต่มีเหตุผลอยู่ 2 ข้อ คือ

1. เพราะคำๆนี้มีกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มนำไปจุดประเด็น+ใส่สีตีไข่(ไม่ได้ว่าในนี้นะครับ ในนี้เราใช้เหตุผลคุยกัน  :slime_smile:)
ดังนั้นเพื่อลดความร้อนแรงและลดประเด็นเลยเลี่ยงที่จะพูดถึง
2. รัฐบาลไม่ใช่ "ไม่มีสิทธิตัดสินใจ" แต่ "ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจ" ยิ่งตอนนี้มีกลุ่มบางกลุ่ม(โทษทีครับจำไม่ได้ว่ากลุ่มไหน)
ที่ไปยื่น unesco หรือยื่นไปศาลปกครอง ซึ่งถามคุณจีจริงๆ ลองไปถามนักกฏหมายดูก็ได้ครับ
ว่าถ้าตอบตามกฏหมายที่มีอยู่แล้วเนี่ย ไอ้การยืนยันการสงวนสิทธิที่ประกาศไว้เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน มันจะมีผลในตอนนี้หรือไม่ครับ

ส่วนแผนที่อ่าวไทย มันไม่เกี่ยวกันนะครับ เพราะอ่าวไทยนี่ไทยยังยืนยันพิพาทอยู่
แถมนิดนึง คุณจีคิดจริงหรือครับว่าแผนที่ที่เขมรส่งมาให้ไทยตรวจสอบ เป็น
แผนที่อนาเขต "ทั้งประเทศ" ของเขมร ไม่ใช่แผนที่เฉพาะส่วนเขาพระวิหาร  :slime_smile:
ถ้าส่งมาแค่ส่วนเขาพระวิหาร แล้วจะมั่วนิ่มเอาทั้งหมดนี่ ผมจะไปร่วมกับคุณจีขับไล่เขมรด้วยเลย (ไปด้วยได้ป่าว  :slime_bigsmile:)

เรื่องแผนที่ ที่ผมอ้างถึงคือแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำโกงไว้ในตอนโน้น แล้วเขมรเอามาใช้ต่อ
นำไปเป็นหลักฐานฟ้องเอาปราสาทพระวิหาร โดยอ้างว่าโกงแล้วไทยไม่ทักท้วง

แผนที่ฝรั่งเศสทำครอบคลุมมาถึงเกาะกูด ซึ่งถ้าถือตามแนวทางคดีปราสาทพระวิหาร
เราก็ต้องยกอ่าวไทยให้เขมรไปด้วยเหมือนกัน

...

ย้อนตอบสักหน่อยในประเด็นที่ตกหล่น การที่รัฐบาลไทยประกาศสงวนสิทธิไว้เมื่อ
40 กว่าปีก่อน ยังคงมีผลตราบเท่าที่ผู้มีอำนาจรัฐ ยังไม่ได้ประกาศลบล้าง

การที่คุณไม่เอาพันธมาร ไปยกเรื่องที่ผมพูดถึง พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ไ้ว้
แล้วนำมาเทียบเคียงกับการประกาศสงวนสิทธิ โดยคุณสรุปว่าพ้นสมัยเหมือนกัน

คุณจับประเด็นที่ผมบรรยายไว้ผิดนะครับ กรณีของพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ
ที่ผมเห็นว่ารื้อฟื้นไม่ได้ ไม่ได้เกี่ยวกับระยะเวลาว่าเป็นเรื่องเก่าแก่ถึงรื้อฟื้นไม่ได้

แต่ประเด็นอยู่ที่ไทยได้ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ โดยถูกต้องชอบธรรม
ตามโบราณราชประเพณีในการสงครามสมัยนั้น
ซึ่งใครรบแพ้ก็จะยอมเป็นเมืองขึ้น
เหมือนกับตอนไทยเสียกรุงครั้งที่ 1 กษัตริย์ไทยก็ตกลงเป็นเมืองขึ้นพม่า

และเมื่อตอนสมเด็จพระนเรศวร ทรงกอบกู้เอกราช ก็กระทำเพราะพม่าละเมิดก่อน
โดยคิดปลงพระชนม์ สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงทำพิธีหลั่งน้ำฯ สะบั้นสัมพันธไมตรี

..จะเห็นว่าทั้งหมดที่ผ่านมา มีโบราณราชประเพณี รองรับทั้งสิ้น..

ที่ผมบอกว่าเราไม่ควรรื้อฟื้นเรื่อง พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ก็เพราะไทย
ได้ตกลงทำสนธิสัญญายกดินแดนให้เขาไปโดยถูกต้อง จึงไม่มีอะไรให้่ติดใจ
และไม่ได้เกี่ยวกับระยะเวลาว่าเป็นเรื่องโบราณเก่าแก่

แต่เรื่องปราสาทพระวิหาร เป็นการโกงไทยชัดๆ ตามที่ได้บรรยายมาตั้งแต่ต้น
จนมาถึงปัจจุบัน ก็ยังคงตั้งหน้าดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

แต่หนักหนากว่าในอดีตคือรัฐบาลไทยกลับทำตัวเหมือนเป็นรัฐบาลเขมร!!!

...

ผมคงไม่เถียงกับคุณเกี่ยวกับเหตุผล 2 ข้อที่คุณยกมานะครับ เพราะคงพิสูจน์ลำบาก
แต่ความจริงคือรัฐบาลสมัครกลับลำ "ยืนยันการสงวนสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร"
ผมจึงถามคุณไม่เอาพันธมารว่ายังยืนยันคำตอบไหม ถ้าตอนนี้ขัดกับรัฐบาลสมัครแล้ว  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 26-06-2008, 18:53
สงวนสิทธิไว้ ... มีสิทธิไปตลอดกาล
ไม่สงวนสิทธิ ... หมดสิทธิตลอดกาล

คุณจะไม่เอาคำตอบเกี่ยวกับอนาคตได้ยังไง...
ในเมื่อที่พูดกันทั้งหมดหมายถึงอนาคตทั้งนั้น  :slime_smile:


สรุปชัดๆก็คือ การสงวนสิทธิ์ของคุณจีฯก็คือ ยังไม่มีกฏหมายระหว่างประเทศ/ศาลโลกใดๆมารับรองการสงวนสิทธิ์ดังกล่าว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การสงวนสิทธิ์ดังกล่าวเป็นที่รับรู้กันเฉพาะบางคนในประเทศไทย หากเป็นเช่นนี้แล้วกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศที่แล้วๆมาเกือบ50ปี...จึงเป็นสิ่งที่คุณจีและพรรคพวกไม่รับทราบและรับรองผล


อนิจจา....ผลหลงโต้กับคนเถื่อนมาตั้งนาน   เวงกำ!! :slime_dizzy:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-06-2008, 19:44

สรุปชัดๆก็คือ การสงวนสิทธิ์ของคุณจีฯก็คือ ยังไม่มีกฏหมายระหว่างประเทศ/ศาลโลกใดๆมารับรองการสงวนสิทธิ์ดังกล่าว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การสงวนสิทธิ์ดังกล่าวเป็นที่รับรู้กันเฉพาะบางคนในประเทศไทย หากเป็นเช่นนี้แล้วกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศที่แล้วๆมาเกือบ50ปี...จึงเป็นสิ่งที่คุณจีและพรรคพวกไม่รับทราบและรับรองผล

อนิจจา....ผลหลงโต้กับคนเถื่อนมาตั้งนาน   เวงกำ!! :slime_dizzy:

เหรอครับ..  :slime_bigsmile:

เห็นตอนนี้รัฐบาลสมัครก็กลับลำมารับรองการสงวนสิทธิแล้วนี่ครับ
และไม่ใช่การสงวนสิทธิของผมนะครับ แต่เป็นของประเทศไทย
คุณอะไรจ๊ะก็ไปแย้งกับรัฐบาลสมัครด้วยแล้วกัน   :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: คนไทยคนหนึ่ง ที่ 26-06-2008, 20:16
ข้อเท็จจริงทางกฎหมาย ที่เหล่สั่งให้ทุกคนหุบปาก แล้วตัวเองพยายามที่จะบิดเบือน

1 ศาลโลกไม่เคยมีคำตัดสินเรื่อง เส้นพรมแดนระหว่าง ไทย กับ เขมร เลย

2. ศาลโลกมีคำตัดสินให้เขมรมีสิทธิเหนือ ปราสาทพระวิหาร เท่านั้น

3. ฝรั่งเศสกับไทยมีสนธิสัญญาปักบันเขตแดน โดยใช้แนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักเป็นแนวเขตแดน

สันปันน้ำคือแนวสันเขาตามธรรมชาติ เมื่อฝนตก ถ้าน้ำไหลไปด้านใดก็ให้ถือว่าเป็นดินแดนของฝ่ายนั้น

บริเวณนั้นยังไม่เคยมีการปักเขตเป็นที่แน่ชัด เพราะเขมรรู้ดีว่าตัวปราสาทตั้งอยู่ในเขตแดนของไทย

เส้นที่รํฐบาลสมัยปี 2505ขีดไว้ไม่ใช่แนวเขตแดน

สรุปตัวปราสาทเท่านั้นที่เป็นของเขมร ถ้าไทยมีนโยบายแข็งกร้าวก็อาจจะสั่งให้เขมรรื้อถอนตัวปราสาทออกจากเขตไทย

โดยไม่ได้ไปละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศเลย ถ้าทำอย่างงั้นจะได้อะไรขึ้นมา

อีกอย่างถ้า ถ้าไทยไม่ยอมให้เขมรจด เขมรก็จดไม่ได้ อันนี้เหล่บิดเบือนเห็นๆ

เหล่สั่งให้ทุกคนหุบปากได้ แต่สั่งศาลปกครองไม่ได้ แล้วเรารอไปพิสูจน์ความจริงกันในศาลดีกว่า




หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-06-2008, 22:04
ข้อเท็จจริงทางกฎหมาย ที่เหล่สั่งให้ทุกคนหุบปาก แล้วตัวเองพยายามที่จะบิดเบือน

1 ศาลโลกไม่เคยมีคำตัดสินเรื่อง เส้นพรมแดนระหว่าง ไทย กับ เขมร เลย

2. ศาลโลกมีคำตัดสินให้เขมรมีสิทธิเหนือ ปราสาทพระวิหาร เท่านั้น

3. ฝรั่งเศสกับไทยมีสนธิสัญญาปักบันเขตแดน โดยใช้แนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักเป็นแนวเขตแดน

สันปันน้ำคือแนวสันเขาตามธรรมชาติ เมื่อฝนตก ถ้าน้ำไหลไปด้านใดก็ให้ถือว่าเป็นดินแดนของฝ่ายนั้น

บริเวณนั้นยังไม่เคยมีการปักเขตเป็นที่แน่ชัด เพราะเขมรรู้ดีว่าตัวปราสาทตั้งอยู่ในเขตแดนของไทย

เส้นที่รํฐบาลสมัยปี 2505ขีดไว้ไม่ใช่แนวเขตแดน

สรุปตัวปราสาทเท่านั้นที่เป็นของเขมร ถ้าไทยมีนโยบายแข็งกร้าวก็อาจจะสั่งให้เขมรรื้อถอนตัวปราสาทออกจากเขตไทย

โดยไม่ได้ไปละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศเลย ถ้าทำอย่างงั้นจะได้อะไรขึ้นมา

อีกอย่างถ้า ถ้าไทยไม่ยอมให้เขมรจด เขมรก็จดไม่ได้ อันนี้เหล่บิดเบือนเห็นๆ

เหล่สั่งให้ทุกคนหุบปากได้ แต่สั่งศาลปกครองไม่ได้ แล้วเรารอไปพิสูจน์ความจริงกันในศาลดีกว่า

ขอบคุณมากครับ ตามที่ขอไว้ ผมจะนำไปแทรกในบทความ
ตามจุดที่พอทำได้นะครับ เพื่อให้บทความสมบูรณ์มากขึ้น  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: -3- ที่ 27-06-2008, 08:56
นี่ก็เป็น เหตุผลที่เราควรให้เขมรขึ้นมรดกโลกเสีย
เพราะ วันนี้ ตอนนี้ เขมรก็ปิดทางขึ้นอยู่ครับ  เราต้องไปเจรจากับเขมรคนเดียวเลย แล้วแต่อารมณ์มันจริงๆ
แต่ถ้ามันจดเสีย มันยังมี UNESCO เข้ามาเกี่ยวด้วย  ยังไงมันต้องเกรงใจ UNESCO ด้วย เพราะอุดหนุน เงินให้เขาพระวิหาร
คราวนี้มันจะปิดเปิดตามใจได้ไม่สะดวกแล้ว  เราไม่ชอบอะไรเราก็ร้องเรียน UNESCO ให้เขากระทุ้งให้
ทั้งหมดนี่ มันความเห็นผมเองทั้งหมดนะ มันอาจไม่ตรงตามนี้ก็ได้

ฟังให้ชัดๆ นะครับ

ถ้าเขมรจดปราสาทพระวิหารฝ่ายเดียวได้ เขาก็จะบอกว่า ก็ไทยยอมรับแล้วว่าปราสาท(และอาจจะลามไปถึงรอบๆ)เป็นของกัมพูชา แล้วไทยมีสิทธิอะไรมาสั่งให้กัมพูชาเปิดประตูทางขึ้นฝั่งไทย

แล้วยิ่งกัมพูชามีโครงการตัดถนน+กระเช้าขึ้นทางฝั่งนั้นโดยไม่ง้อทางขึ้นฝั่งเรา

ไทยจะทำอะไรได้  :?:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: dragon baby ที่ 27-06-2008, 09:08
ง่ายๆ

....ศาลโลก ตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร แต่คำตัดสินศาลโลก ไม่ได้กำหนดเขตแดนว่า แค่ไหน  เป็นเรื่องที่ไทย กับเขมรต้องตกลงกัน
หลังศาลโลกตัดสิน โดยมติครม.ไทย 2505 ก็ไปขีดเส้นเพื่อถอนทหารออกมา ไม่ใช่พรมแดนที่แท้จริง
.... เขมรต้องการนำปราสาท ไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยใช้แผนผังของตัวเอง และไม่ยอมให้ไทยร่วมขึ้นทะเบียนด้วย

....  มองแบบลึกๆ มันเป็นเล่ห์กลของทางเขมร เพราะ ถ้าไทยยอม  ในอนาคต เขมรสามารถนำกรณีขึ้นทะเบียนมรดกโลก เป็นหลักฐานในการอ้างพรมแดน ซึ่งยังไม่ได้มีการปักปันกันอย่างแท้จริงได้


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 27-06-2008, 09:11
ง่ายๆ

....ศาลโลก ตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร แต่คำตัดสินศาลโลก ไม่ได้กำหนดเขตแดนว่า แค่ไหน  เป็นเรื่องที่ไทย กับเขมรต้องตกลงกัน
หลังศาลโลกตัดสิน โดยมติครม.ไทย 2505 ก็ไปขีดเส้นเพื่อถอนทหารออกมา ไม่ใช่พรมแดนที่แท้จริง
.... เขมรต้องการนำปราสาท ไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยใช้แผนผังของตัวเอง และไม่ยอมให้ไทยร่วมขึ้นทะเบียนด้วย

....  มองแบบลึกๆ มันเป็นเล่ห์กลของทางเขมร เพราะ ถ้าไทยยอม  ในอนาคต เขมรสามารถนำกรณีขึ้นทะเบียนมรดกโลก เป็นหลักฐานในการอ้างพรมแดน ซึ่งยังไม่ได้มีการปักปันกันอย่างแท้จริงได้

ขอเสริมว่าจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาหลายร้อยปี
เขมรไม่เคยทำตัวให้น่าไว้ใจเลย  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 30-06-2008, 10:34
เรื่องแผนที่ ที่ผมอ้างถึงคือแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำโกงไว้ในตอนโน้น แล้วเขมรเอามาใช้ต่อ
นำไปเป็นหลักฐานฟ้องเอาปราสาทพระวิหาร โดยอ้างว่าโกงแล้วไทยไม่ทักท้วง

แผนที่ฝรั่งเศสทำครอบคลุมมาถึงเกาะกูด ซึ่งถ้าถือตามแนวทางคดีปราสาทพระวิหาร
เราก็ต้องยกอ่าวไทยให้เขมรไปด้วยเหมือนกัน

ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินคือ ยังไม่มีการฟ้องศาลครับ ถ้าฟ้องเราก็ต้องไปต่อสู้ มันไม่เหมือนกับกรณีปราสาทพระวิหารครับ
คุณจีกรุณาเข้าใจว่าที่ผมบอกว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมรเพราะศาลโลกตัดสิน ไม่ใช่เราอยากยกให้
ส่วนกรณีเกาะกูด ศาลยังไม่ตัดสิน คุณจีจะรีบยกให้เขาไปทำไมครับ
...

ย้อนตอบสักหน่อยในประเด็นที่ตกหล่น การที่รัฐบาลไทยประกาศสงวนสิทธิไว้เมื่อ
40 กว่าปีก่อน ยังคงมีผลตราบเท่าที่ผู้มีอำนาจรัฐ ยังไม่ได้ประกาศลบล้าง

การที่คุณไม่เอาพันธมาร ไปยกเรื่องที่ผมพูดถึง พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ไ้ว้
แล้วนำมาเทียบเคียงกับการประกาศสงวนสิทธิ โดยคุณสรุปว่าพ้นสมัยเหมือนกัน

คุณจับประเด็นที่ผมบรรยายไว้ผิดนะครับ กรณีของพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ
ที่ผมเห็นว่ารื้อฟื้นไม่ได้ ไม่ได้เกี่ยวกับระยะเวลาว่าเป็นเรื่องเก่าแก่ถึงรื้อฟื้นไม่ได้

แต่ประเด็นอยู่ที่ไทยได้ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ โดยถูกต้องชอบธรรม
ตามโบราณราชประเพณีในการสงครามสมัยนั้น
ซึ่งใครรบแพ้ก็จะยอมเป็นเมืองขึ้น
เหมือนกับตอนไทยเสียกรุงครั้งที่ 1 กษัตริย์ไทยก็ตกลงเป็นเมืองขึ้นพม่า

และเมื่อตอนสมเด็จพระนเรศวร ทรงกอบกู้เอกราช ก็กระทำเพราะพม่าละเมิดก่อน
โดยคิดปลงพระชนม์ สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงทำพิธีหลั่งน้ำฯ สะบั้นสัมพันธไมตรี

..จะเห็นว่าทั้งหมดที่ผ่านมา มีโบราณราชประเพณี รองรับทั้งสิ้น..

ที่ผมบอกว่าเราไม่ควรรื้อฟื้นเรื่อง พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ก็เพราะไทย
ได้ตกลงทำสนธิสัญญายกดินแดนให้เขาไปโดยถูกต้อง จึงไม่มีอะไรให้่ติดใจ
และไม่ได้เกี่ยวกับระยะเวลาว่าเป็นเรื่องโบราณเก่าแก่

แต่เรื่องปราสาทพระวิหาร เป็นการโกงไทยชัดๆ ตามที่ได้บรรยายมาตั้งแต่ต้น
จนมาถึงปัจจุบัน ก็ยังคงตั้งหน้าดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

แต่หนักหนากว่าในอดีตคือรัฐบาลไทยกลับทำตัวเหมือนเป็นรัฐบาลเขมร!!!

...

ผมคงไม่เถียงกับคุณเกี่ยวกับเหตุผล 2 ข้อที่คุณยกมานะครับ เพราะคงพิสูจน์ลำบาก
แต่ความจริงคือรัฐบาลสมัครกลับลำ "ยืนยันการสงวนสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร"
ผมจึงถามคุณไม่เอาพันธมารว่ายังยืนยันคำตอบไหม ถ้าตอนนี้ขัดกับรัฐบาลสมัครแล้ว  :slime_smile:

ส่วนคำถามว่ายืนยันคำตอบไหม ผมก็ยืนยันในความคิดเห็นของผมครับ ส่วนกรณีที่รัฐบาลสมัครกลับลำ
ถ้าคุึณจีไม่มองแบบเข้าข้างตัวเองก็จะทราบว่า เป็นการกลับลำเพื่อลดกระแสสังคมที่มีกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มจุดอยู่
ซึ่งผมก็เคารพในการตัดสินใจของรัฐบาลครับ

ปล เหตุผล 2 ข้อนี่ มันเห็นชัดเจนไม่ใช่หรือครับ ไม่เห็นจะพิสูจน์ลำบากตรงไหน ยิ่งถ้ามองเกมการเมือง
ได้(ซึ่งผมก็เชื่อว่าคุณจีมองออกอยุ่แล้ว  :slime_bigsmile:) ก็เห็นชัดเจนถึงการถอยของรัฐบาล

ปล.2 อันนี้นอกเรื่อง ผมว่ารัฐบาลถอยก็ดีไปอย่าง เพราะจะได้ดูว่าพวกพันธมารจะเล่นอะไรอีก นอกจาก
ปลุกกระแส 70:30 ให้ได้ ซึ่งอันนี้ผมสนับสนุนให้มันปลุกเยอะๆ แนวร่วมจะได้หายไปเยอะๆ
แต่พูดก็พูดเถอะ เรื่องคุมสื่อนี่พันธมารเก่งจริงๆ เพราะในหนังสือพิมพ์แทบไม่ลงเป็นหัวข้อข่าวเลย
คงกลัวว่าถ้าลงตูมแล้วจะโดนคนทั้งประเทศโห่ไล่เอา


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Rule of Law ที่ 30-06-2008, 12:05

รัฐบาลกลับลำเพื่อลดกระแส

อย่างนี้ก็เท่ากับว่า เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ ครม ในเกมส์การเมือง
ครม จะเปลี่ยนท่าทีก็ได้ โดยไม่สนใจหลักการที่ตนเองเคยยึดถือ สนใจแต่ผลประโยชน์เท่านั้น ใช่มั้ย

หรือจะให้แปลว่า การที่ตัดสินใจยอมรับเขมรไปนั้น ก็ไม่ได้อยู่บนความถูกต้อง
นึกจะเปลี่ยนเมื่อไหร่ก็ได้ เหรอ?

การกระทำของรัฐบาล มันไม่ยึดตามหลักการ ไม่มีความชอบธรรม กรณีนี้เห็นชัดเลย

แต่ก็อยากรู้ ว่าคุณไม่เอาพันธมาร จะบอกว่ารัฐบาลทำถูกต้องอีกหรือเปล่า



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 30-06-2008, 12:24
รัฐบาลกลับลำเพื่อลดกระแส

อย่างนี้ก็เท่ากับว่า เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ ครม ในเกมส์การเมือง
ครม จะเปลี่ยนท่าทีก็ได้ โดยไม่สนใจหลักการที่ตนเองเคยยึดถือ สนใจแต่ผลประโยชน์เท่านั้น ใช่มั้ย

คุณจะมัวแต่คิดเรื่องผลประโยชน์เท่านั้นไม่ได้ครับ เพราะไม่ว่าเป็นรัฐบาลไหน ถ้าตัดสินใจทำอะไรแล้ว มันได้รับการต่อต้านมาก
ก็ต้องมีการชะลอทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลของคุณเปรม
เพียงแต่ถามคุณจริงๆ เถอะ คุณไม่เห็นหรือว่าไอ้ขบวนการต่อต้านในเรื่องนี้ มันไม่สนใจที่จะ
คุยข้อมูลเหมือนที่ผมกับคุณหลายๆ คนคุย มันเอาแต่ใส่สีตีไข่ ปลุกระดม อย่างนี้มันถูกหรือไม่

หรือจะให้แปลว่า การที่ตัดสินใจยอมรับเขมรไปนั้น ก็ไม่ได้อยู่บนความถูกต้อง
นึกจะเปลี่ยนเมื่อไหร่ก็ได้ เหรอ?

ก็ตอนนี้เรากำลังถกกันอยู่ไงครับ ถ้าคุณอ่านจริงๆโดยไม่มีอคติ มันก็สามารถมองได้ทั้ง 2 มุม เพราะมันไม่ใช่เรื่องของความถูกต้อง
แต่มันเป็นเรื่องของผลได้-ผลเสียของประเทศ ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเหตุผลของใครดีกว่า
และประชาชนจะเห็นด้วยกับฝั่งไหน แต่ไม่ใช่ให้พันมารมาใส่สีตีไข่ ปลุึกระดมอย่างทุกวันนี้
ปล. ถ้าจะถามหลักฐานการใส่สีตีไข่ ไปดูที่เว็บแมนเนเจอร์ได้เลยนะครับ มีหลายข่าวเลย

การกระทำของรัฐบาล มันไม่ยึดตามหลักการ ไม่มีความชอบธรรม กรณีนี้เห็นชัดเลย

แต่ก็อยากรู้ ว่าคุณไม่เอาพันธมาร จะบอกว่ารัฐบาลทำถูกต้องอีกหรือเปล่า


ส่วนอันสุดท้าย ก็ตอบเหมือนเดิมครับว่า ในความคิดเห็นของผม(ดังที่ได้อธิบายไปหลายความเห็นแล้ว) เห็นว่าการกระทำของรัฐบาล
มีเหตุผลที่ยอมรับได้ และการที่รัฐบาลประกาศกลับลำ(โทษเถอะ ประกาศตรงไหน แค่สมัครบอกว่าทบทวนได้แค่นั้น) ผมก็ยอมรับ
การตัดสินใจของรัฐบาล

ไม่มีรัฐบาลไหนที่สามารถทำทุกอย่างได้ตามใจทุกคนหรอกครับ


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Rule of Law ที่ 30-06-2008, 17:04

คุณบอกว่า ที่เรากำลังถกเถียงกันอยู่นี่ เป็นเรื่องหลักการ

การที่รัฐบาลลงนาม MOU กับเขมร คุณก็บอกว่า ยอมรับได้ตามหลักการของคุณ

แต่พอรัฐบาลเปลี่ยนท่าที ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของท่าทีเดิม คุณก็บอกว่ายอมรับได้อีก

สรุปว่า หลักการมันอยู่อย่างไงก็อย่างงั้น

ส่วนท่าทีของรัฐบาล จะเป็นไปตามหลักการหรือไม่ คุณก็รับได้หมด 

อย่างงี้ ไม่เรียกว่า เชียร์โดยไม่ดูหลักการ แล้วจะเรียกว่าอะไร

 :slime_surrender:
http://forum.serithai.net/index.php?topic=4414.250ถ้าสมาชิกเสรีไทยเว็บบอร์ดมัวแต่คอยตอบคำถามของคนรักทักษิณจะพลาดโอกาส




หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: นักปฏิวัติ ที่ 01-07-2008, 00:13
ขอบอกตรงๆ ผมอ่านผู้นิยมรัฐบาลหุ่นเชิด เขียนมาอ้างหลักการ อะไรต่างๆนี่
อย่าเสียเวลาตอบเลยครับ ทุกท่านรู้อยู่แก่ใจว่า รัฐบาลนี้มันแค่เครื่องมือของทักษิณ เท่านั้น ใครไม่รู้ ก็เป็นทาสเขาเท่านั้น หรือ บางคนติดใจ charisma ของทักษิณ คือหลงนั่นเอง ส่วนคนที่รู้ ก็เป็นพวกนิยมการโกงชาติ บ้านเมือง ผมว่าปล่อยไปเถอะ
ตามพระราชบรมราโชวาทของพระเจ้าอยู่หัว
"...ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ..."

ขอแถม พุทธพจน์ที่เกี่ยวกับการพูด

"ผู้ใด สรรเสริญคนควรนินทา หรือนินทาคนควรสรรเสริญ ผู้นั้นเอาปากเก็บกาลีไว้ จะไม่ได้พบสุขเพราะกาลีนั้น"

“พึงชนะคนพูดปด ด้วยคำพูดจริง “

"คนที่ก้าวล่วงสัจธรรมอันเป็นหนึ่งเดียวเสียแล้ว พูดจามีแต่คำเท็จ ไม่คำนึงถึงปรโลก ความชั่วที่เขาจะไม่ทำ เป็นไม่มี"

"คนพาล ยังไม่ถูกผูก แต่พอพูดเรื่องใด ก็ถูกมัดตัวในเรื่องนั้น"

“อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว”

“คนโง่ กล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว ในเหตุการณ์ทุกอย่าง ในที่ทุกสถาน”

“คนพูดไม่จริง ย่อมดิ่งลงนรก”



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่เอาพันธมาร ที่ 01-07-2008, 18:01
คุณพูดผิดครับ ผมไม่ไ้ด้เชียร์โดย
คุณบอกว่า ที่เรากำลังถกเถียงกันอยู่นี่ เป็นเรื่องหลักการ

การที่รัฐบาลลงนาม MOU กับเขมร คุณก็บอกว่า ยอมรับได้ตามหลักการของคุณ

แต่พอรัฐบาลเปลี่ยนท่าที ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของท่าทีเดิม คุณก็บอกว่ายอมรับได้อีก

สรุปว่า หลักการมันอยู่อย่างไงก็อย่างงั้น

ส่วนท่าทีของรัฐบาล จะเป็นไปตามหลักการหรือไม่ คุณก็รับได้หมด 

อย่างงี้ ไม่เรียกว่า เชียร์โดยไม่ดูหลักการ แล้วจะเรียกว่าอะไร

 :slime_surrender:
http://forum.serithai.net/index.php?topic=4414.250ถ้าสมาชิกเสรีไทยเว็บบอร์ดมัวแต่คอยตอบคำถามของคนรักทักษิณจะพลาดโอกาส

ไม่ใช่เชียร์โดยไม่ดูหลักการครับ แต่กำลังค้านคนที่ค้านโดยไม่ดูเหตุผล
เพราะไอ้คนค้านหลัก เช่นพวกพันธมาร มันค้านทุกเรื่อง โยงทุกเรื่องเป็นเรื่องผลประโยชน์ของทักษิณ
แล้วก็มีคนอีกหลายคนมาให้เชียร์ให้ล้มรัฐบาลตามพันธมาร อย่างนี้ประเทศก็ไม่ไปไหนกันพอดี
พอมีคนพยายามมาอธิบาย ก็หาว่าเป็นพวกรักทักษิณ ห้ามฟัง มันหลอกทุกอย่างเพราะมันคิดไม่เหมือนเรา
แล้วประเทศจะเดินไปอย่างไรหละครับถ้าไม่ฟังความเห็น เอาแต่อคติเป็นที่ตั้ง
สงสารก็แต่ประเทศไทย ที่คนในชาติ(โดยเฉพาะพวกเสียงดัง) คิดแต่แบบนี้

ดูอย่างคุณ agent เฝ้าแต่พร่ำบอกว่า รัฐบาลนี้มันแค่เครื่องมือของทักษิณ แต่ไม่เคยคิดถึงความจริงอีกด้านว่า
ไอ้พวกพันธมาร คตส. คมช. มันก็เป็นแค่อีกกลุ่มอำนาจที่อยู่ตรงข้ามทักษิณ และมันก็ไม่ใช่พ่อพระที่จะมา
ปลดเปลื้องประเทศจากระบอบทักษิณ แต่มันก็เป็นมารที่หาทางก้าวเข้าสู่อำนาจ โดยดึงประชาชน
ที่ไม่ชอบทักษิณมาเป็นเครื่องมือ แค่นั้นเอง
ผมขอบอกไว้เลยนะครับว่าถ้าผ่านไปอีกสัก 10,20 หรือ จะกี่ปีก็ตาม ถ้าคุณสามารถไล่คนที่คุณคิดว่าเป็นพวกทักษิณได้
แล้วดันมีอกีกลุ่มหนึ่ง ใช้กระบวนการแบบที่ทำดึงมวลชนบางส่วนกับสื่อบางสื่อ โหมข่าวไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

แล้วคุณจะรู้สึกว่าไอ้ิสิ่งปัจจุบันที่คุณกำลังสนนับสนุนอยู่มันเป็นการทำลายประเทศไทยอย่างแท้จริง


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emporer ที่ 02-07-2008, 18:23
คณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณาเรื่องปราสาทพระวิหารวันที่ 7 กค.

คณะของไทยเดินทางไปวันที่ 5 กค.(รมต.นพดลน่าจะไปด้วย)

เจ้าหน้าที่UNESCOเป็นผู้เตรียมเอกสารเข้าประชุม

และเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นเรื่องนโยบายของจนท.ระดับสูง

ไทยได้แจ้งข้อมูลคำสั่งศาลปกครองและมติครม.ไปยังคณะกรรมการทุกประเทศทันไหม

ถ้าไม่ทันหรือไม่ได้นำเข้าที่ประชุม

กัมพูชาจะมีเอกสารที่สมบูรณ์(ชงเองกินเอง)

การขึ้นทะเบียนไม่น่ามีปัญหา

ใคร?รับผิดชอบ







หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 04-07-2008, 00:06
สื่อเขมร กระพือข่าว ไทย ประกาศสงครามกับ กัมพูชา ยกเลิกข้อตกลงเท่ากับตัดสัมพันธ์ทางทูต  
สื่อเขมรกระพือข่าวไทยยกเลิกสนับสนุนการ ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเท่ากับประกาศสงครามกับกัมพูชายกเลิกแถลงการณ์ร่วม เท่ากับการตัดสัมพันธ์ทางการทูตทางอ้อม เอเอฟพีรายงาน ตร.ปราบจราจลเข้าอารักขาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ หวั่นม็อบประท้วงหลังไทยระงับการสนับสนุนขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก

สำนัก ข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ทางการกัมพูชาได้จัดส่งตำรวจปราบจลาจลเข้าไปประจำการบริเวณสถานทูตไทยประจำ กรุงพนมเปญ เพราะหวั่นเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงจากการประท้วงของชาวกัมพูชาหลัง รัฐบาลไทยระงับการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปก่อน หน้านี้ ทั้งนี้ ทุช นารุธ หัวหน้าสำนักงานตำรวจกัมพูชาเปิดเผยกับเอเอฟพีว่า ได้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไปประจำการเพื่อให้ความคุ้มครองต่อสถานทูตเพราะ เกรงว่าจะเกิดเหตุไม่ดีกับสถานทูตเหมือนเมื่อครั้งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2548 มาแล้วโดยเมื่อปี 2548 ชาวกัมพูชาก่อจลาจลเผาสถานทูตไทยและธุรกิจของคนไทยในกัมพูชา พร้อมปล้นสะดมภ์ก่อให้เกิดความเสียหายไปไม่น้อย
พล.อ.เขียว โสภาค โฆษกกระทรวงมหาดไทยกัมพูชากล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลถูกส่งไปประจำการหลังจากทางกระทรวงได้รับรายงาน ว่า ชาวกัมพูชาหลายพันคนเตรียมชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าสถานทูตไทย โดยกำลังเจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งให้ประจำการอยู่ในจุดอารักขาตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ

เรา ป้องกันไม่ให้เกิดการประท้วงใดๆขึ้น เราจะป้องกันไม่ให้เกิดอะไรที่ไม่ดีเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับสถานทูตไทย เมื่อปี 2548ขึ้น พล.อ.เขียว โสภาค กล่าว พร้อมกับเสริมว่าสถานการณ์ในเวลานี้ยังคงอยู่ความควบคุมทุกอย่าง

เอ เอฟพีรายงานว่าผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่ามีตำรวจหน่วยปราบจลาจลประจำการ อยู่ด้านนอกที่ทำการสถานทูตโดยมีรถดับเพลิงสำหรับสลายมวลชนเตรียมพร้อมอยู่ ด้วยหลายคัน

ในขณะที่สื่อมวลชนกัมพูชาเสนอข่าวความคืบหน้าหลังคณะ รัฐมนตรีไทยมีมติปฎิ บัติตามคำสั่งศาลปกครองโดยยกเลิกการให้การสนับสนุนกัมพูชาอย่างกว้างขวาง โดยหนังสือพิมพ์รัศมีกัมพูชาระบุว่า รัฐบาลกัมพูชาได้รับหนังสืออย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทยที่ปฏิเสธการให้การ สนับสนุนกัมพูชาตามแถลงการณ์ร่วมระหว่างกันแล้ว แต่ไม่สนใจที่ไทยประกาศให้แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเป็นโมฆะ เพราะปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและอยู่ในดินแดนกัมพูชา

ขณะที่ องค์กรศูนย์วัฒนธรรมและศีลธรรมสังคมแห่งชาติของกัมพูชาประกาศจะ ยื่นขออนุญาตจัดการชุมนุมซึ่งมีผู้เข้าร่วมราว 3,000-5,000 คน โดยจะเดินขบวนจากวิมานเอกราชไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงพนมเปญ เพื่อแสดงความรู้สึกของชาวกัมพูชาว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา หากคนไทยจะคัดค้านการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็แสดงว่าไม่เคารพการตัดสินของศาล โลก

รัศมีกัมพูชารายงานโดยอ้างคำพูดของผู้บังคับการตำรวจกรุงพนมเปญ ยืนยันว่า จะไม่ยอมให้มีการเดินขบวนใดๆ ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง พร้อมระบุด้วยว่าหากมีการเดินขบวนจริงตำรวจก็จะทำการจับกุม

เราจะไม่ ปล่อยให้มีการต่อว่าอย่างผิดกฎหมายเกิดขึ้นเด็ดขาด เพราะเราเคยมีบทเรียนจากการที่กลุ่มผู้ประท้วงบุกเข้าไปทำลายสถานทูต และบริษัทของไทยในพนมเปญ ทำให้รัฐบาลกัมพูชาต้องจ่ายเงินชดเชยหลายล้านดอลลาร์

ขณะที่เจ้า หน้าที่ระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยกัมพูชายืนยันว่า ทางการกัมพูชาจะคุ้มครองความปลอดภัยให้กับสถานทูตไทย คนไทย และผลประโยชน์ของไทยในกัมพูชา โดยนายเขียว สุเพีย โฆษกกระทรวงมหาดไทยกัมพูชา รับว่า ได้ข่าวไม่สู้ดีเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานทูตและประชาชนไทย จึงวางกำลังเพื่อไม่ให้เกิดเหตุร้าย แต่รับประกันความปลอดภัยว่าไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

ด้านหนังสือพิมพ์ เกาะสันติภาพรายงานว่า มีการเพิ่มกำลังตำรวจปราบจราจลอยู่ภายนอกสถานทูตไทยประมาณ 20 นายพร้อมกระบองไฟฟ้า กุญแจมือ และอาวุธครบมือ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีการปลุกกระแสความโกรธเคืองไปตามระบบสื่อสารโทร คมนาคมของกัมพูชาด้วย แต่สถานการณ์ทั่วไปยังอยู่ในความสงบ

ส่วน หนังสือพิมพ์มนสิการแขมร์ถึงกับระบุว่า การประกาศยกเลิกการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่าย เดียวของไทย เท่ากับเป็นการประกาศสงคราม โดยนักการทูตบางคนตั้งข้อสังเกตว่า การประกาศยกเลิกข้อตกลงใดๆ ระหว่างประเทศเป็นเสมือนการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตโดยทางอ้อม แต่รัฐบาลไทยทำเช่นนั้นได้เพราะเคารพการตัดสินใจของประชาชนผ่านฝ่ายค้าน แต่หากเป็นกัมพูชาคงต้องถูกจับเข้าคุก นอกจากนี้ยังมีการอ้างว่ามีข่าวลือว่ามีการเตรียมการเพื่อประท้วงไทยในเร็วๆ นี้หากการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารล้มเหลว เพราะไทยเตรียมคัดค้านในการประชุมที่เมืองควิเบคของแคนาดา

หนังสือ พิมพ์รัศมีกัมพูชาอ้างเจ้าหน้าที่กัมพูชาที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า กัมพูชาไม่ประหลาดใจกับการถอนการสนับสนุนของไทย ซึ่งเคยคัดค้านการขอขึ้นทะเบียนมาแล้ว แต่กัมพูชายังเชื่อว่าจะโชคดีเพราะการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดก โลกไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่กัมพูชาเห็นว่าปราสาทพระวิหารเป็นสมบัติของมนุษยชาติ และขอให้ชาวกัมพูชาตระหนักถึงความเป็นคนที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีวัฒนธรรม

ทั้งนี้คณะกรรมการมรดกโลกได้เห็นชอบในหลักการที่จะ บรรจุปราสาทพระวิหารใน บัญชีมรดกโลกแล้วตั้งแต่การประชุมที่นิวซีแลนด์ เพียงแต่กัมพูชาต้องทำรายงานและแผนการอนุรักษ์ให้เรียบร้อยเท่านั้น และกัมพูชาได้แสดงความจริงใจในฐานะประเทศข้างเคียงไทย โดยได้รับประกันอย่างชัดเจนว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารคจะไม่ทำให้ไทยสูญเสียดินแดน กัมพูชาจึงได้ทำแผนที่ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกใหม่ซึ่งไทยก็ได้ให้ความเห็นชอบ แล้ว คณะกรรมการมรดกโลกจึงต้องเข้าใจว่า กัมพูชาได้ทำสิ่งที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เพื่อให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

ส่วนที่นครควิเบค ประเทศแคนาดา สถานที่จัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 ระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคม เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 400 ปี ซึ่งทำให้ควิเบคเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยที่เก่าแก่ที่สุดในภาคพื้น อเมริกาเหนือ โดยหลังจากพิธีการต้อนรับจากเจ้าภาพต่อผู้เข้าร่วมประชุมในวันที่ 2 กรกฎาคมแล้ว การประชุมที่เป็นสารัตถะเริ่มหารือกันในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ และจะเข้าสู่วาระสำคัญคือการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของประเทศต่างๆ อีก 45 แห่ง รวมทั้งปราสาทพระวิหารของกัมพูชาในระหว่างวันที่ 6-7 กรกฎาคม โดยผลการพิจารณาจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 กรกฎาคม ซึ่งนายรอนนี่ อามีลัน โฆษกขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ระบุว่าเป็นวาระสำคัญที่เป็นหัวใจของการประชุม จนถึงขณะนี้ ยูเนสโก ขึ้นทะเบียนสถานที่ต่างๆเป็นมรดกโลกไปแล้ว 851 แหล่ง ใน 141 ประเทศ และจะพิจารณาเพื่อชี้ขาดในการประชุมครั้งนี้อีก 45 แหล่งจาก 40 ประเทศ


ระฆังยกแรก จะดังเมื่อ ไทยคัดค้านเป็นผล และยูเนสโกขอเลื่อน หรือระงับการจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชา   
สงสารแต่คนไทยที่ไปทำงานที่เขมร   ป่านนี้นอนไม่หลับกันแล้ว
    :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: Cheel2 ที่ 04-07-2008, 01:40

สรุป !!!
เขาพระวิหาร เป็นของ เขมร เรียบร้อยแร้ว เนื่องจากไทยไป ยอมรับ แผนที่เขมร (เมิงจะรีบยอมรับไปทำไมวะ) และไทยอาจจะเสีย พื้นที่รอบๆ อีกมากมาย ประเทศโดนเจียด ( นพดล เคยประกาศ ไว้ว่าไทยจะไม่เสียแม้แต่ตรางนิ้ว ทีวี เดี่ยวนี้แม้งก็โคตรลาว เอาไมค์จ่อปากนักการเมือง แร้วก็จบ) ง่ายๆถ้ากูดูแต่ทีวี
กูยังนั้งโง่อยู่ เลย ตอนนี้มันบอกมันกำลังไปขอร้องเค้าอยู่ และมันจะเป็นคน คืนเขาพระวิหารให้ไทย ? งง ยิ่งดูกรูยิ่ง หลอนกับ รัฐบาล สรุปแร้วยังสรุปไม่ได้

ตอนนี้ เขมรมันจะเลือกตั้งไรไม่รู้มัน เขาพระวิหาร เลยเป็นตัวช่วย + ไทยก็ช่วย คะแนนเสียงบาน
เขาพระวิหาร จะเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว พนัน เศรษกิจที่สำคัญของเขมร ส่วนประเทศไทยมีแต่เสียกับเสีย
ไทยกลัวเขมรจะก่อสงคราม ! เผาสถานทูต ฆ่าคนไทยในเขมร อื่นๆ เดียวนี้ไทยกลัวเขมรแล้ว
เขมรใช้ความรุ่นแรง แล้วไทยไม่มีสิทธิ ตอบโต้หรือทำไรหรือ ? เราถูก ฝรั้งเศษ โกง ไทยนิ่งไม่ยอมรับ  ตอนนี้มีทางออก ไทยยอมรับ ?

รัฐบาลนี้ทำงาน 1 ชิ้นใหญ่ แต่ข่าวออกน้อย  คือ คลี่คลาย พื้นที่ซับซ้อน ไทยเขมรเขาพระวิหาร


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 07-07-2008, 15:48
ความไม่แน่นอนการเมืองไทย ปองพลแฉเหตุเสียปราสาทวิหาร

นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (6 ก.ค.) ในรายการ "เช้าวันใหม่" ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 อสมท วันนี้ (7 มิ.ย.) ถึงปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ว่า การประชุมเพิ่งเริ่มเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา พิจารณา การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 47 แห่ง เป็นมรดกโลก จึงเลื่อนการพิจารณาปราสาทพระวิหาร ไปพิจารณาเป็นลำดับสุดท้าย (คืนวันที่ 7  ก.ค.ตามเวลาท้องถิ่น)  เพื่อให้ได้มีโอกาสพิจารณากันอย่างถี่ถ้วน ป้องกันการก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศ

 

ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวต่อว่า วาระการพิจารณาประเด็นปราสาทพระวิหารคงไม่สามารถเลื่อนการพิจารณาออกไปอีกได้  ส่วนประเด็นรัฐบาลไทยเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกร่วมนั้น เคยเสนอมาหลายครั้ง แต่ทางรัฐบาลกัมพูชาไม่ยินยอม  ต้องการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยดำเนินการเช่นนี้มาถึง 2 ปี แล้ว ทำให้มีความได้เปรียบ รวมทั้งกรรมการทั้ง 21 ชาติ มีข้อมูลพร้อมแล้ว สำหรับการตัดสินใจ เนื่องจาก icomos หน่วยทำงานให้คณะกรรมการมรดกโลกในการวิเคราะห์วิจัย ทำรายงาน และประเมิน เสนอแนะเกี่ยวกับมรดกโลกทางวัฒนธรรม  ทำรายงานเผยแพร่เรื่องนี้ออกไปหมดแล้ว รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ก็ช่วยรัฐบาลกัมพูชาล็อบบี้กรรมการทั้ง 21 ชาติ ได้หมดแล้วเช่นกัน
 

นายปองพล กล่าวต่ออีกว่า ในปี 2548 ประเทศไทยมีอำนาจในการต่อรองเรื่องนี้  รัฐบาลไทยได้เจรจาต่อรองกระทั่งรัฐบาลกัมพูชายินยอมให้เสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เกิดการปฏิวัติ ในปี 2549   เปลี่ยนรัฐบาล ความไม่แน่นอนในประเทศไทยเกิดขึ้น รัฐบาลกัมพูชาที่ดำเนินการเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ จึงไปขอความร่วมมือจากสหรัฐอเมริกาช่วยเจรจาประเด็นนี้ให้ ทำให้หลายประเทศเป็นกลางหันไปสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชา  หลังได้รับเชิญไปชมปราสาทพระวิหารแล้ว

 

"ประเด็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายนพดล ปัทมะ) ไปลงนามเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่ประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 สนับสนุนรัฐบาลกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก   ไม่มีผลต่อการลงมติครั้งนี้แต่อย่างใด  เพราะรัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญเรื่องตัวปราสาทพระวิหาร ถือเป็นอัจฉริยภาพในการสร้างสรรค์เพียงประเด็นเดียว ตามคำพิพากษาของศาลโลก ไม่ได้ล้ำดินแดนของประเทศไทยแต่อย่างใด" นายปองพลกล่าว 
 http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=96147
 
 เอาความคืบหน้ามาให้ดูครับ
 
 


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 07-07-2008, 17:26
ทัศนะวิจารณ์ กาแฟดำ
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 05:00:00
ยิ่งดิ้น ยิ่งมัดแน่น
เช้าวันนี้ เราควรจะได้รู้แล้วว่าคณะกรรมการมรดกโลกขององค์การยูเนสโกที่มาจาก 21 ประเทศ ประชุมกันที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ตัดสินว่าจะให้ "เลื่อน" หรือ "รับ" ข้อเสนอของกัมพูชา เรื่องปราสาทพระวิหารหรือไม่

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : และผลที่ออกมาจะเป็นตัวชี้ว่าไทยเราพลาดท่าเสียทีเขามากน้อยเพียงใด

วันนี้เช่นเดียวกันที่อาจจะมีคำตัดสินจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการลงนามของคุณนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศกับรองนายกฯ สกอาน ของกัมพูชา และตัวแทนของยูเนสโก ในแถลงการณ์ร่วมเรื่องนี้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมานั้น ผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่

 ไม่ว่าผลทั้งสองประเด็นนี้จะออกมาอย่างไรก็หนีไม่พ้นคำถามที่ว่าใครในรัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบ

หากคณะกรรมการมรดกโลก ตัดสินใจรับการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกบนพื้นฐานของคำแถลงการณ์ร่วมไทยกับกัมพูชา ก็แปลว่าเขาไม่สนใจไยดีกับการแจ้ง "ระงับ" การใช้เอกสารนั้นหลังจากศาลปกครองกลางของไทยมีคำสั่งเช่นนั้น

ซึ่งก็หมายความว่าเขมรไม่ถอนข้อเสนอนั้นด้วยตนเอง ยังผลักดันเดินหน้าต่อไปเพราะถือว่าการลงนามของรัฐมนตรีต่างประเทศไทยนั้นเป็น "ข้อผูกพัน" หรือ commitment ที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้

ซึ่งก็ตีความได้ว่ากัมพูชา พร้อมจะเผชิญหน้ากับไทยในเวทีสากลอีกหลายๆ เวทีต่อไปในกรณีเขาพระวิหาร

ซึ่งย่อมไม่ใช่สัญญาณที่ดีสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านสองประเทศเป็นแน่แท้

และนั่นก็จะทำให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และรัฐมนตรีต่างประเทศ นพดล ปัทมะ ต้องพิจารณาตนเองว่าจะต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างไร

หากกัมพูชาถอนข้อเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกในนาทีสุดท้ายเพื่อพูดจากับฝ่ายไทยให้เกิดความชัดเจนและเพื่อความเข้าใจอันดีของประชาชนสองประเทศและแก้ข้อครหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนทั้งสองฝั่ง ก็จะทำให้บรรยากาศผ่อนเบาลงบ้าง

แต่ก็ยังต้องขึ้นอยู่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอยู่ดีว่าการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมวันนั้น เข้าข่ายมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญที่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่?

หากศาลรัฐธรรมนูญท่านบอกว่าไม่ผิดมาตรา 190 ก็ลดปัญหาใหญ่ไปเปลาะหนึ่ง แต่หากท่านตัดสินว่าผิด จะกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ผลพวงทางการเมืองอย่างกว้างขวาง

เพราะเท่ากับว่าคณะรัฐมนตรีของนายกฯสมัคร ได้กระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญในมาตราสำคัญยิ่ง

อาจจะหมายถึงการที่ต้องลาออกทั้งคณะรัฐมนตรีและนักการเมืองที่เกี่ยวข้องก็จะต้องโดนลงโทษในข้อหาทำผิดรัฐธรรมนูญอีกด้วย

นี่คือผลของ "ความย่ามใจ" ของคนที่เป็นนักการเมืองที่คิดว่าเมื่อพรรคของตนได้รับเลือกตั้งมาด้วยเสียงข้างมากและไม่มีใครสามารถจะมา "จับผิด" พวกตนได้อีก (เพราะคิดว่าเมื่อมีเสียงมากในสภา จะทำอะไรก็ไม่ผิดอีกต่อไป)

 เมื่อจวนตัว คุณนพดล ก็โยน "เผือกร้อน" กลับไปที่รัฐบาลก่อนที่มีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

โดยบอกว่าในสมัยประชุมครั้งที่ 31 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายนถึง 2 กรกฎาคม 2550 นั้น ไทยสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ในการประชุมครั้งที่ 32

ซึ่งออกจะเป็น "ข้อมูลใหม่" ที่คุณนพดลไม่เคยแถลงมาก่อน เพราะหากเป็นจริงเช่นนั้น จะมีความจำเป็นอันใดที่กัมพูชาจะต้องเจรจากับรัฐบาลคุณสมัคร เพื่อขอ "การสนับสนุนอย่างแข็งขัน" ซ้ำอีกเล่า?

การที่รัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบันเพิ่งเอาเอกสารการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 มาแจกจ่ายผู้สื่อข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากเรื่องราวได้บานปลายไปใหญ่โตแล้ว จึงเท่ากับเป็นการกระทำที่แสดงถึงเจตนาที่จะ "เลือกเสนอข้อเท็จจริงบางด้านในบางเวลา" เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของตนเองเท่านั้น


ยิ่งทำให้คนไทยต้องเรียกร้องให้สืบสาวราวเรื่องประเด็นเขาพระวิหารย้อนกลับไปทุกย่างก้าวอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าผลการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกที่ควิเบก และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาในรูปไหนก็ตาม

สำหรับรัฐมนตรีต่างประเทศคนนี้ ในเรื่องนี้ ยิ่งดิ้นก็ดูเหมือนจะยิ่งติดกับดักของตนเอง

(เข้ามาเกาะติดความเห็นหลากหลายต่อสถานการณ์ร้อนแรงได้ตลอดเวลาที่ www.suthichaiyoon.com โฉมใหม่...ทั้งร้อน ทั้งด่วนทั้งแรง...)


http://www.bangkokbiznews.com/2008/07/07/news_273502.php


การที่รัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบันเพิ่งเอาเอกสารการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 มาแจกจ่ายผู้สื่อข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากเรื่องราวได้บานปลายไปใหญ่โตแล้ว จึงเท่ากับเป็นการกระทำที่แสดงถึงเจตนาที่จะ "เลือกเสนอข้อเท็จจริงบางด้านในบางเวลา" เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของตนเองเท่านั้น......



นายนพดล เคยให้สัมภาษณ์ว่าคนไทยจะต้องรู้สึกถึงบุญคุณของเขาที่ได้ทำงานหนักหลายเดือนมานี้เกี่ยวกับกรณีเขาพระวิหาร ด้วยความที่เป็นคนมี'ต้นทุนต่ำทางสังคม' ของเขา ผมจึงไม่เคยให้ความสนใจ และ คิดว่าเป็นคำพูดไร้สาระ ของคนไร้สาระ เท่านั้น....

วันนี้คนไทยย่อมรู้ดีว่า เขาได้ทำร้ายจิตใจคนไทยที่ไม่ใช่'บัตรเติมเงิน'ทั้งประเทศด้วยการยกดินแดนเขาพระวิหารให้ประเทศเขมรของสมเด็จฮุนเซน เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของนักธุรกิจการเมือง แม๊ว ผู้ต้องคดีทุจริตมากมาย..

พฤติกรรมการปกปิด ปิดบัง ซ่อนเร้นเอกสารการ ข้อตกลงต่างๆ ไม่เสนอให้สาธารณชน ให้ประชาชนรับรู้ข้อตกลงลับ การรับรองเอกสาร 22 พฤษภาคม 2551 และเอกสารการประชุมก่อนหน้านั้น ล้วนแต่มีเจตนาจะกระทำตามคำสั่งของนักธุรกิจการเมืองเจ้าขอ'งพรรคปล้นชาติ' อย่างแท้จริง


ผมเชื่อคนไทยที่ไม่ได้เป็นสาวก ลิ่วล้อของนักธุรกิจการเมือง ไม่ได้เป็น'บัตรเติมเงิน'ในเวบเสรีไทยนี้ นึกไม่ถึงว่า คนที่เคยได้รับพระมหากรุณาฯ พระราชทานทุนรางวัล'อนันทมหิดล'ให้ร่ำเรียนกฏหมายที่ประเทศอังกฤษ มีโอกาส วาสนาดีกว่าคนไทยมากมาย จะขายจิตใจ ขายชีวิตให้อดีตนายกฯ ผู้ต้องหาคดีทุจริตมากมาย ขายแผ่นดินไทยให้เขมร.....

บุญคุณของอดีตนายกฯ คนนั้น นอกจากทรัพย์สินเงินทอง มีอะไรให้มากมายล้นพ้นอย่างไร จึงประพฤติตัวเนรคุณประเทศไทย  ทรยศต่อชาติ บัดซบ เลวสถุนพรรค์นั้น






หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 07-07-2008, 17:34
'หนอนในโถส้วม' เคยตั้งคำถามว่า
ทำไมประเทศไทยจึงปล่อยกรณีเขาพระวิหารมาถึงวันนี้....



สุจริตชน คนไทยย่อมรู้ว่า
เขมรยื่ดเรื่อง หน่วงเหนี่ยวมาถึงวันนี้.....

เพราะประจวบเหมาะ ประเทศไทยมีรัฐบาลนอมินี..
มีนายกฯที่ไร้วุฒิภาวะ อยากจะมีลาภยศอันไม่พึงได้
และรัฐมนตรีต่างประเทศที่ขายชีวิต ขายจิตใจ
ให้นักธุรกิจการเมือง จึงร่วมกันสมคบคิด.....



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: personal jesus ที่ 07-07-2008, 17:40



เราคนไทยต้องสำนึกบุญคุณ ไอ้นพเหล่
ชาติชั่วอีก  เอ๊อออ เกิดมาเพิ่งเคยพบเคยเห็น
มีคนที่โคราช ไปแถวๆบ้านเกิด นพเหล่
พ่อแม่ คงปลื้มสุดๆ กับวีรกรรมลูก

**** ฮ่าฮ่าฮ่า หนอนในโถส้วม
เอิ๊กก แสดงว่ามันไม่เคยทำ
ความสะอาดส้วม


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 07-07-2008, 22:19
http://www.oknation.net/blog/inter/2008/07/07/entry-5 (http://www.oknation.net/blog/inter/2008/07/07/entry-5)
เขมรทำคลิปแฉ สมัครหนุนขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ฟังนาทีที่ 2 เสียงหมักไปพูดตั้งแต่ไปเขมรเหรอ?


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 07-07-2008, 23:20
ข่าวต้นชั่วโมง ช่อง 9 ยืนยันว่า UNESCO อนุมัติแล้ว
ยังไม่มีใครตั้งกระทู้เลย

รอดูผลกระทบในไทย    ในเขมรไม่น่ามีผลกระทบใดๆ   :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: samrung ที่ 08-07-2008, 08:29
[size=1/pt]เราอาจจะต้องเสียอธิปไตยไปด้วย เพราะเขมรมีการขอสิทธิบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนด้วย[/size]

 :slime_surrender: :slime_surrender: :slime_surrender:


หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 08-07-2008, 08:54

ในที่สุดก็ปรากฏผลชัดเจนออกมาแล้วครับว่า
นพดล ปัทมะขายชาติ
นพดล ปัทมะขายชาติ
นพดล ปัทมะขายชาติ


 :slime_evil: :slime_evil: :slime_evil:



หัวข้อ: Re: ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==
เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 16-07-2008, 19:36
ขุดขึ้นมาดูว่าใคร เคยเถียงไว้มั่ง ว่าเราไม่เสียดินแดน.....

ร่วมทั้ง ปองพล ข้างบนด้วย....

วันนี้ ผมบังเอิญได้ฟังวิทยุ อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม ...แฉ เละ...

เดี๋ยวพรุ่งนี้ คงเป็นข่าวใหญ่...

เห็นได้ยินว่า ไอ้พวกชั่วนั่น ไม่เพียงแต่หลอกคนไทย แต่มันยังบังอาจเพ็ดทูล อีกด้วย....