ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: jerasak ที่ 18-06-2008, 23:08



หัวข้อ: ==ข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ข้อมูลจากอดีตเอกอัครราชทูตไทย==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-06-2008, 23:08
อ่านดูแล้วคิดว่าเป็นเอกสารที่มีเนื้อหาน่าสนใจนะครับ ท่านผู้เขียนก็เป็นถึงอดีตเอกอัครราชทูตไทย
และอดีตปลัดกระทรวงต่างประเทศ ที่มีส่วนใกล้ชิดและอยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่แรกเริ่มปัญหาเรื่องนี้
ก่อนเรื่องจะไปถึงศาลที่เนเธอร์แลนด์
นำมาฝากให้สมาชิกเสรีไทยได้ศึกษาร่วมกันนะครับ  :slime_smile:

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาในคดีปราสาทพระวิหาร
โดย ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทย

ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง ผมขอแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับข่าวสารและคำวิพากษ์วิจารณ์ในหน้าหนังสือพิมพ์
วิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ ที่พาดพิงถึงคดีปราสาทพระวิหารอย่างคลุมเครือ และโดยที่ผมบังเอิญมีส่วนใกล้ชิด
และอยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่แรกเริ่มมีปัญหา ขัดแย้งอันส่งผลไปถึงข้อพิพาทซึ่งเป็นคดีความในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

ก่อนอื่น ผมขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายพื้นฐานบางประการที่อาจอำนวยความ กระจ่างแจ้งแก่ประชาชนชาวไทย
เกี่ยวกับสถานภาพและผลทางกฎหมายของคำพิพากษาศาล ยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1962 ในคดี
ปราสาทพระวิหาร ตลอดจนปฏิบัติการและท่าทีของไทยรวมทั้งการคัดค้านคำพิพากษาและข้อสงวนซึ่ง ไทยได้แถลงต่อคณะ
กรรมการที่ 6 (กฎหมาย) ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญที่ 17 ในปีเดียวกัน

1. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศต่างกับศาลภายในในข้อที่ศาลระหว่างประเทศไม่มี อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความใดๆ ทั้งสิ้น
นอกจากจะได้รับความยินยอมจากรัฐคู่กรณี ในคดีปราสาทพระวิหาร ไทยได้คัดค้านอำนาจศาลแล้วแต่แรกเริ่ม แต่ศาลได้มี
คำพิพากษาเบื้องต้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ.1961 ยืนยันอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทั้งๆ ที่ได้เคยมีการกล่าวอ้าง
ในศาลในคดีอื่นก่อนหน้านั้นว่าคำรับอำนาจศาลถาวรของ ไทยฉบับแรกมิได้โอนย้ายมาใช้ในศาลยุติธรรมปัจจุบันซึ่งรับช่วงปฏิญญา
รับ อำนาจศาลจากศาลถาวรภายใต้องค์การสันนิบาตชาติตามความในข้อ 36 วรรค 5 แห่งธรรมนูญศาลปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจาก
ไทยมิได้เป็นสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งสหประชาชาติมาแต่แรกเริ่มเมื่อ ค.ศ.1945

2.คำฟ้องของกัมพูชาระบุเฉพาะอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้ง อยู่ มิอาจขยายให้กว้างออกไปนอกพื้นที่
จนครอบคลุมเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของทิวเขาดงรัก ฉะนั้น การกล่าวถึงข้อพิพาทในคดีว่าเป็น ‘คดีเขาพระวิหาร’ หรือ
‘คดีปราสาทเขาพระวิหาร’ จึงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ที่ถูกต้องคือ ‘คดีปราสาทพระวิหาร’ โดยจำกัดพื้นที่เฉพาะบริเวณ
ที่ตั้งของปราสาท

3.คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจึงจำกัดเฉพาะภายในกรอบคำร้องที่ กัมพูชายื่นฟ้องโดยไม่อาจขยายพื้นที่
นอกเหนือจากบริเวณที่ตั้งของปราสาท

4.ข้อ 59 แห่งธรรมนูญศาลกำหนดไว้ว่า คำพิพากษาของศาลไม่มีผลผูกมัดผู้หนึ่งผู้ใดยกเว้นคู่กรณี ได้แก่ไทยและกัมพูชา
และเฉพาะส่วนที่เป็นประเด็นในข้อพิพาทเท่านั้น

ฉะนั้น คำพิพากษาจึงไม่อาจขยายไปถึงคำขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และไม่ผูกพันองค์การยูเนสโกหรือทบวงการชำนัญพิเศษอื่นๆ
รวมทั้งศาลซึ่งเป็นองค์กรของสหประชาชาติและศาลระหว่างประเทศอื่นๆ อาทิ ศาลกฎหมายทะเล

5.คำพิพากษาของศาลไม่มีกลไกบังคับคดี ในทางปฏิบัติจึงไม่อาจนำมาบังคับคดีได้ แต่ไทยก็ได้ปฏิบัติตามโดยไม่ขัดขืน
หรือละเมิดคำพิพากษา ไทยได้ถอนบุคคลากรไทยผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาปราสาทพระวิหาร ย้ายเสาธงชาติไทยออกมา
นอกพื้นที่ปราสาทพระวิหารและสร้างรั้วล้อมตัวปราสาท ไว้ เป็นการถอนการครอบครองปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษา

6.เนื่องจากไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา จึงไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาและยื่นประท้วงคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าว
และตั้งข้อสงวนไว้ โดยไทยถือว่าปราสาทพระวิหารยังอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย
และจะกลับไปครอบครองปราสาทพระวิหารอีก
เมื่อคำพิพากษาได้รับการพิจารณาทบทวน แก้ไขอีกครั้ง

7.ด้วยเหตุผลดังกล่าว ไทยจึงไม่สมควรเปลี่ยนท่าทีหรือยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระ วิหาร ซึ่งจะทำได้
ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบในระดับรัฐบาลและประชามติ

6.หากพิจารณาตามความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ กัมพูชาไม่อาจเข้ามาครอบครองปราสาทพระวิหารได้โดยง่าย เพราะทางขึ้น
เป็นหน้าผาสูงชัน การเดินทางไปปราสาทพระวิหารของชาวกัมพูชาจึงจำเป็นต้องใช้เส้นทางที่ผ่าน ประเทศไทย

อย่างไรตาม ปัจจุบันปรากฏว่าไทยได้ปล่อยปละละเลยและไม่เข้มงวดในการสงวนเส้นทางซึ่งเป็น ของไทย และปล่อยให้ชาวกัมพูชา
ผ่านไปมาได้โดยเสรี ไม่มีการตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือเก็บค่าผ่านทางแต่ประการใด ฉะนั้น จึงสมควรที่จะนำมาตรการที่ถูกต้อง
และเหมาะสมในการเข้าออกประเทศมาใช้อย่าง เข้มงวด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเข้าใจผิดและถือสิทธิ์อันมิชอบ ทั้งนี้ โดยยึดหลัก
การปักปันเขตแดนดั้งเดิมตามเส้นสันปันน้ำซึ่งไม่มีการทับซ้อนโดย เด็ดขาด

7.คำพิพากษาของศาลในคดีนี้มิได้เป็นคำพิพากษาเอกฉันท์ เนื่องจากมีเสียงข้างมากเพียง 9 ต่อ 3 และ 7 ต่อ 5 ในบางประเด็น
จึงถือได้ว่าเกือบครึ่งหนึ่งของศาลยังมีความเห็นว่าไทยสมควรมีอำนาจอธิปไตย เหนือปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้ โดยที่กฎหมาย
ระหว่างประเทศมีการพัฒนาก้าวหน้าต่อเนื่อง จึงเป็นไปได้ที่ความเห็นจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
ซึ่งหมายถึงคำพิพากษาแย้ง
ที่มีเหตุผลอาจเป็นที่ยอมรับนับถือและปฏิบัติตาม

8.หากพิจารณาในภาพรวมจะเห็นได้ว่าศาลเชื่อในหลักการว่าเส้นสันปันน้ำยังคง เป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณ
เทือกเขาดงรัก เส้นสันปันน้ำที่เขาพระวิหารอยู่ที่ขอบหน้าผา ฉะนั้น ถ้าจะมีการสำรวจใหม่ เส้นแบ่งเขตน่าจะเป็นเช่นเดิมโดยใช้
สันปันน้ำเป็นหลัก ปราสาทพระวิหารจึงยังอยู่ในเขตแดนไทย

9.เพื่อความเข้าใจในคำพิพากษาอย่างแจ่มแจ้ง จำเป็นต้องศึกษาโดยอ่านอย่างละเอียดเริ่มแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย ในกรณีพิพาท
คดีปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่หน้า 1 ถึงหน้า 146 เป็นคำพิพากษาโดยรวม ประกอบด้วยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาแย้งและ
คำพิพากษาเอกเทศ จึงจำเป็นต้องอ่านโดยตลอดจึงจะเห็นภาพรวมที่สมบูรณ์

ผมได้ตั้งข้อสังเกตข้างต้นเพื่อให้ประชาชนชาวไทยเข้าใจภูมิหลัง จุดยืนและข้อเท็จจริงตลอดจนหลักกฎหมายที่ถูกต้องในส่วนของไทย
ก่อนที่จะชี้แจงหรือโต้แย้งกับฝ่ายกัมพูชาซึ่งต้องดำเนินตามข้อเท็จจริงและ หลักฐานที่ปรากฏอย่างชัดเจนว่าปราสาทพระวิหาร
เป็นของไทยและอยู่ในเขตอำนาจ อธิปไตยของไทย โดยที่กัมพูชาเป็นสมาชิกใหม่ของสมาคมอาเซียน จึงควรที่จะเปิดการเจรจา
อย่างสันติวิธีและเที่ยงธรรมโดยอาศัยกฎหมายและข้อ เท็จจริงเป็นหลัก

อนึ่ง ผมขอเรียนย้ำอีกครั้งว่า ข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นคดี ‘ปราสาทพระวิหาร’ ทั้งในภาษาไทย อังกฤษและฝรั่งเศส
หาใช่คดี ‘เขาพระวิหาร’ หรือ ‘ปราสาทเขาพระวิหาร’ ไม่


หัวข้อ: Re: ==ข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในปราสาทพระวิหาร โดย อดีตเอกอัครราชทูตไทย==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-06-2008, 23:15
วันนี้ นพ.ชูชัย อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้อ้างอิงถึงข้อมูล
จาก อดีตเอกอัครราชทูต สมปอง สุจริตกุล เอาไว้ด้วยครับ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
'นพ.ชูชัย'ชี้ข้อตกลงเขาพระวิหารขัดรธน.

http://www.bangkokbiznews.com/2008/06/18/thumb/268252_1thumb3bkk.gif
นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์:

" หมอชูชัย"เตือนการลงนามสนธิสัญญาเขาพระวิหาร กระทบสิทธิอธิปไตยเหนือดินแดน ขัดรัฐธรรมนูญ ม.190
ต้องนำเข้าสภา เสนอ63ส.ว.เข้าชื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด่วน

กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณี
ปราสาทเขาพระวิหารว่า นายนพดล ปัทมะ รวม.การต่างประเทศ และครม.เห็นชอบกับแผนที่การขอขึ้นทะเบียน
ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ของประเทศกัมพูชา เป็นการกระทำที่กระทบสิทธิอธิปไตยของประเทศ
ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

ซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ไม่ใช่การตัดสินใจของคนๆ เดียว หรือคนกลุ่มเดียว จะใช้ความเคยชิน
ทำกับประเทศไทย เหมือนกับรัฐบาลทักษิณไม่ได้ เพราะทำลายหลักการที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญ
พ.ศ.2550 ซึ่งไม่อาจตีความเป็นอื่นได้

นพ.ชูชัย กล่าวอีกว่า เรื่องปราสาทพระวิหารนั้นจำกัดเฉพาะพื้นที่ตั้ง แตกต่างจากเขาพระวิหาร เรื่องนี้สลับซับซ้อน
เพราะมีพัฒนาการความเป็นมาค่อนศตวรรษ ควรนำข้อมูลทั้งหมดมาเปิดเผยและอภิปรายในรัฐสภา ให้ประชาชน
คนไทยทั้งประเทศได้มีส่วนร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตามมาตรา 87 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

"ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคือ อดีตเอกอัครราชทูต สมปอง สุจริตกุล ได้ให้ข้อมูลต่อสาธารณะว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ได้ทำการพิพากษาตัดสิน โดยที่ไทยในฐานะคู่กรณีได้คัดค้านอำนาจศาลในการพิจารณาเรื่องตั้งแต่แรก ก่อนที่จะมี
คำพิพากษา และเมื่อพิพากษาแล้ว ก็ยังยื่นประท้วงคัดค้านคำพิพากษาและตั้งข้อสงวนไว้ ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ไม่มีกลไกในการบังคับคดี ดังนั้นไทยจึงไม่เคยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหารแต่ อย่างใด"
นพ.ชูชัย กล่าว

นพ.ชูชัย กล่าวอีกว่าจึงมีคำถามที่ต้องพิจารณา ให้เกิดความกระจ่างชัดในรัฐสภา ดังนี้

1.เมื่อพิจารณาแนวปฏิบัติของรัฐบาลไทยตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ที่ไม่ยอมรับคำพิพากษา และตั้งข้อสงวนไว้ ถือว่า
ปราสาทพระวิหารยังอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยของไทย ใช่หรือไม่

2.ในระหว่างการเจรจาทำความตกลงกับ กัมพูชา ได้มีการหยิบยกข้อสงวนของไทย ขึ้นมาพิจารณาด้วยหรือไม่

3.กรณีที่ไทยยังถือว่าปราสาทพระวิหาร ยังอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย การที่รัฐบาลของนายสมัคร เร่งรีบยอมรับ
ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่าย เดียว รวมถึงการไปยอมรับแผนที่ของกัมพูชา
ถือเป็นการยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหารใช่หรือไม่

"เรื่องนี้มีนัยอย่างสำคัญเกี่ยวกับ สิทธิอธิปไตยของประเทศ การที่นายนพดล อ้างว่าไทยไม่ได้เสียดินแดนให้กัมพูชาเลย
ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่กระทบต่อสิทธิอธิปไตย เพราะอาจสูญเสียสิทธิที่จะอ้างอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร
ในอนาคตเลยก็ได้ และการที่นายนพดล อ้างว่าพร้อมจะลาออกจากตำแหน่ง ก็เทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
ต่ออธิปไตยของประเทศไทยใน อนาคต"

นพ.ชูชัย กล่าวด้วยว่าการพิจารณาเรื่องนี้ควรให้วุฒิสมาชิก 63 คน ซึ่งเป็นจำนวนหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมด
ของทั้งสองสภา เสนอเรื่องนี้ต่อประธานวุฒิสภาโดยตรง แล้วให้ประธานวุฒิสภาเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า ตามมาตรา 154 (1) ทั้งนี้ เหตุที่เสนอให้วุฒิสภาเสนอ
ความเห็นต่อประธานวุฒิสภาก็เพราะท่านเป็นบุคคลที่ น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้


หัวข้อ: Re: ==ข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ข้อมูลจากอดีตเอกอัครราชทูตไทย==
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 18-06-2008, 23:44
ตุลาการเพิ่งเริ่มเข้ารับงาน มีเรื่องค้างอยู่เกือบๆ 100 เรื่อง

หนักใจแทนศาลรัฐธรรมนูญจริง ๆ


หัวข้อ: Re: ==ข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ข้อมูลจากอดีตเอกอัครราชทูตไทย==
เริ่มหัวข้อโดย: เพื่อนร่วมชาติ ที่ 18-06-2008, 23:50
ชัดเจนครับ

บรรพบุรุษเราแค่ยอมระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้ยอมทั้งหมด ยังกั๊กไว้เผื่อว่าจะมีโอกาสในอนาคต

ไอ้เหล่มันเป็นใคร มันเป็นลูกจ้างใคร มันถึงอยากเป็นคนไทยคนแรกที่รับรองสิทธิ์ของเขมร


หัวข้อ: Re: ==ข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ข้อมูลจากอดีตเอกอัครราชทูตไทย==
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 18-06-2008, 23:57
เรื่องแบบนี้หากภาคประชาชน ยอมให้ไอ้บ้าที่ไหน...เตะหมาเข้าปากหมูไปง่ายๆ

ก็ไม่สมควร ที่เกิดมาใช้บัตรประชาชนระบุ ว่า สัญชาติไทย


หัวข้อ: Re: ==ข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ข้อมูลจากอดีตเอกอัครราชทูตไทย==
เริ่มหัวข้อโดย: moon ที่ 19-06-2008, 07:21
น่ากลัวที่สุด คือ ไอ้เหล่มันแม่นกฏหมาย (หมายถึง พยายามหาทางเลี่ยงกฏหมาย)

มันจะต้องหาข้ออ้างจากมาตราอื่นๆ เช่น มาตรานี้ให้อำนาจรัฐมนตรีไว้ หรืออะไรประมาณนี้

แล้วก็แถไปเรื่อยว่าไม่ผิด ใช้ช่องโหว่ของกฏหมายเล็กๆ น้อยๆ เพื่อประโยชน์ของตัวเอง :slime_mad:


หัวข้อ: Re: ==ข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ข้อมูลจากอดีตเอกอัครราชทูตไทย==
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 19-06-2008, 08:10
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากคุณจีระศักดิ์ :slime_agreed:

ผมเพิ่งรู้ว่า มันเกี่ยวโยงกับผลประโยชน์เรื่องบ่อก๊าซด้วย ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเขตแดน

ต้องนำมาขยายให้ละเอียดครับ และให้คนเข้าใจง่ายกว่าการอ่านตัวบท

งานนี้..อาจต้องลงทุนลงแรงพร้อมใจกันทั้งประเทศแล้วล่ะ


หัวข้อ: Re: ==ข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ข้อมูลจากอดีตเอกอัครราชทูตไทย==
เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 19-06-2008, 08:47
ขอนำข้อมูลมาเรื่องเกี่ยวข้องพร้อมภาพประกอบครับ

จากโอเคเนชั่น บล็อกครับมาให้เราได้แลกเปลี่ยนกันครับ

จากนักวิชาการนอกกรอบ คุณวรณัย

http://www.oknation.net/blog/voranai/2008/06/13/entry-1

และบล็อกคุณอาคม

http://www.oknation.net/blog/akom/2008/06/18/entry-1

รวมถึงบล็อกคุณเมธา

http://www.oknation.net/blog/talkwithMetha/2008/06/18/entry-1


หัวข้อ: Re: ==ข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ข้อมูลจากอดีตเอกอัครราชทูตไทย==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-06-2008, 13:28
ขอนำข้อมูลมาเรื่องเกี่ยวข้องพร้อมภาพประกอบครับ

จากโอเคเนชั่น บล็อกครับมาให้เราได้แลกเปลี่ยนกันครับ

จากนักวิชาการนอกกรอบ คุณวรณัย

http://www.oknation.net/blog/voranai/2008/06/13/entry-1

และบล็อกคุณอาคม

http://www.oknation.net/blog/akom/2008/06/18/entry-1

รวมถึงบล็อกคุณเมธา

http://www.oknation.net/blog/talkwithMetha/2008/06/18/entry-1

ขอบคุณมากครับ ทั้ง 3 entry เป็นข้อมูลที่มีเนื้อหาน่าสนใจมาก
จะหาทางติดต่อเจ้าของบล็อกนำสำเนามาลงที่นี่นะครับ  :slime_smile: