ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: jerasak ที่ 11-05-2008, 12:20



หัวข้อ: ==รายงานข่าวน่าสนใจเกี่ยวกับข้าวครับ ข้อมูลจากหลายฝ่ายถึงสถานการณ์ข้าวปัจจุบัน==
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 11-05-2008, 12:20
รายงานข่าวน่าสนใจเกี่ยวกับข้าวครับ มีข้อมูลรวมกันจากหลายๆ ฝ่ายถึงสถานการณ์ปัจจุบัน

โดยเฉพาะปัญหาการรวมตัวตั้ง OREC ในความเห็นของ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
และความเห็นของ คุณชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
นอกจากนี้มีความเห็น คุณปราโมทย์ วานิชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย
ในประเด็นรัฐบาลตั้งโจทย์ผิดกับ OREC ที่ทำเหมือนตั้งมา "ฮั้ว" กัน และอาจถูกต่อต้าน

มีความเห็นน่าสนใจและตรงจุดจาก อาจารย์ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ว่าจุดสำคัญที่รัฐบาล
ควรเร่งดูแลแก้ไขจริงๆ คือ "ปัญหาต้นทุนการผลิตข้าว" ไม่ใช่ไปวิ่งวุ่นวายกับราคาขาย
เพราะการแก้ปัญหาต้นทุนการผลิต จะเป็นการแก้ปัญหาข้าวได้อย่างยั่งยืนจริงๆ

ส่วนแนวคิดการตั้ง OREC ที่ตั้งใจจะใช้ฮั้วราคากัน เอาเข้าจริงอีกไม่นานตลาดคงพลิกกลับ
แล้วแต่ละประเทศก็จะกลับมาแข่งขันตัดราคากันเองอีก (เรื่องลดต้นทุนการผลิตจึงสำคัญ
และสมควรเร่งดำเนินการ เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต - jerasak)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฟันธงตั้ง OREC ข้าวเกิดยาก.!ชี้ ‘สมัคร’มั่วข้อมูล-ทั่วโลกประณาม
http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9510000054133
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์    10 พฤษภาคม 2551 09:58 น.

       วงในแฉเหตุ ล้มโต๊ะ OREC! ระบุ“สมัคร”ปากไว-ได้ข้อมูลมั่วจนถูกทั่วโลกประณาม ขณะที่ “ผู้ส่งออก-นักวิชาการ”
ประสานเสียงตั้งกลุ่ม OREC ข้าวเกิดได้ยาก เพราะข้าวแต่ละประเทศคนละเกรดไม่เหมือนน้ำมัน ทั้งต้นทุนการผลิตก็ไม่เท่ากัน
ด้าน “ส.โรงสีข้าวไทย” เสนอภาครัฐแจง 4 องค์กรโลกบาล ชี้ราคาข้าวไทยพุ่งเพราะต้องการช่วยชาวนา พร้อมเสนอ
ให้ทั่วโลกรับประกันราคาข้าวไทยหากต้องการช่วยคนจนทั่วโลกมีกิน
       
       เป็นข่าวที่ทั่วโลกให้ความสนใจสำหรับแนวคิดการจัดตั้งกลุ่มของผู้ ผลิตและส่งออกข้าวหรือ OREC (Organization of
Rice Exporting Countries) ที่ไทยประกาศพร้อมจะเป็นเจ้าภาพในการจัดตั้งกลุ่ม โดยแนวคิดการจัดตั้งกลุ่มดังกล่าวจะยึดเอา
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันราย ใหญ่ของโลก หรือโอเปก เป็นแบบอย่างในการกำหนดราคาส่งออกข้าวทั่วโลก เพราะ
ประเทศไทยคือผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับหนึ่ง เวียดนามอันดับสอง และ อินเดียอับดับสาม โดยหาก 3 ประเทศรวมกลุ่มกันได้
จะมีสัดส่วนการส่งออกทั่วโลกมากกว่า 65% แต่จนถึง ณ เวลานี้แนวคิดดังกล่าวทำท่าว่าจะแท้งแล้ว
       
       ล่าสุด “มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันในที่ประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการค้าของ 10 ชาติ
สมาชิกอาเซียนว่าไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกจะไม่ดำเนินตาม 4 ประเทศ (ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม)
และยืนยันจะส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นจากที่เคยส่งออก 9.55 ล้านตัน เมื่อปีที่แล้วนี่ก็จะเป็นอีกครั้งที่แนวคิดก่อตั้งกลุ่มORECของไทย
ไม่มีทาง จะเป็นได้จริงอีกครั้ง
       

แฉเบื้องหลังล้มโต๊ะ OREC
       
       แหล่งข่าวในวงการค้าข้าว เผยสาเหตุรวมกลุ่ม OREC ไม่สำเร็จเนื่องจาก สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศ
ว่า 4 กลุ่มประเทศนำโดย ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนามได้บรรลุข้อตกลงสนับสนุนแนวความคิดไทยให้เป็นเจ้าภาพกลุ่ม OREC
เรียบร้อยแล้วทำให้ประเทศอินเดียซึ่งครั้งนี้มีทีท่าว่ารวมกลุ่มกลับไทยต้อง ถอยห่างออกไปเหตุการณ์ครั้งนี้เหมือนกับเมื่อ 6 ปี
ที่แล้ว ที่อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้นก็มีแนวความคิดดังกล่าวจึงได้เชิญ อินเดีย จีน ปากีสถาน จีน
มาร่วมจัดกลุ่ม OREC ดังกล่าวแต่ครั้งนั้นภายหลังการหารืออินเดียได้ออกมาประกาศว่าไม่ขอเข้าร่วม กลุ่มทำให้แนวความดังกล่าว
ล้มเลิกไป
       
       ทว่าเหตุการณ์หลังจากที่นายกฯสมัครออกมาประกาศ “หงียน ทาห์น เบียน” รมว.อุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม
ก็ออกมาปฏิเสธว่ายังไม่ได้บรรลุข้อตกลง ใดๆกลับไทยทำให้ไทยถูกชาวโลกมองว่าจะทำการค้าในลักษณะ CARTEL
หรือผูกขาดแต่ไม่สำเร็จ
       
       “อยากรู้จริงๆว่าใครเอาข้อมูลหรือเมคข้อมูลให้นายกฯสมัครไปพูดเพราะ พูดออกไปอย่างนั้นหน้าแตกระดับโลกซ้ำยังถูกมอง
ว่าเราผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ1 ของโลกจะฮั้วกับอีก 4 ประเทศแต่ไม่สำเร็จ” แหล่งข่าวในวงการข้าวระบุและว่าเหตุการณ์นี้ทำให้
เสียโอกาสที่จะรวมกลุ่มกับ ประเทศอินเดีย และเวียดนามในการกำหนดราคาข้าวโลกไปอย่างน่าเสียดาย
       

อ.จุฬาฯฟันธง OREC เกิดยาก.!
       
       ด้าน รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสิรฐ อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวถึงแนวคิดจัดตั้ง
กลุ่มORECของไทยว่า ต้องยอมรับว่าแนวโน้มในทางปฏิบัติเป็นไปได้ค่อนข้างยากเพราะการรวมกลุ่มดัง กล่าวไม่เหมือนการ
รวมกลุ่มโอเปกในเรื่องน้ำมัน เพราะข้าวมีหลายราคา มีหลายเกรด แต่ละประเทศก็มีข้าวคนละเกรด อย่างเวียดนามก็ส่งออกข้าว
ในระดับล่าง ขณะที่ไทยและอินเดียจะส่งออกข้างในตลาดบน (premium ) การรวมกลุ่มจึงมีข้อยุ่งยากมากกว่าน้ำมันที่ใช้
มาตรฐานเดียวกันและราคาเดียว กันได้ทั่วโลก
       
       นี่คือโจทย์ใหญ่หากรัฐบาลต้องการจะผลักดันให้เกิดขึ้นจริง อีกทั้งต้นทุนการปลูกข้าวแต่ละประเทศก็ไม่เท่ากัน
การจะหาราคาสมดุลในการส่ง ออกให้ทุกฝ่ายยอมรับจึงเป็นอีกเรื่องที่ยากมาก
       
       นอกจากนี้การรวมกลุ่มในเรื่องยางพาราก็เคยหลอกหลอนเกษตรกรมาแล้ว ที่รวมตัวกันขึ้นมาได้ แต่เกษตรกรกลับไม่ได้
ผลประโยชน์อะไรเลย มีแต่ตัวแทนภาครัฐและนักธุรกิจเข้าไปจัดการและต่อรองราคา แต่ตัวแทนภาคการเกษตรจริงๆกลับไม่มี
ตัวแทนเข้าไปนั่งเป็นคณะกรรมการ ซึ่งหากการตั้งกลุ่มผู้ผลิตและส่งออกข้าวหรือORECขึ้นมาได้จริงๆ ก็เชื่อว่าชาวนาก็จะยัง
ไม่มีโอกาสไปกำหนดราคาข้าวเหมือนเดิม
       

กำหนด “ราคาข้าว” ร่วมกันไม่มีทาง
       
       แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับ “ชูเกียรติ โอภาสวงศ์” นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศที่มองว่า ความร่วมมือตั้งOREC
เป็นไปได้ยาก ซึ่งข้าวต่างจากยางพาราและมันสำปะหลังเพราะข้าวสามารถบริโภคพืชอื่นๆทดแทน ต่างกับน้ำมันที่ขุดเจาะมาใช้
เมื่อใดก็ได้ แต่หากการตั้งกลุ่ม OREC เพื่อความร่วมมือกับประเทศผู้ส่งออกช่วงที่ตลาดเป็นของผู้ขายขณะนี้เป็นสิ่ง ที่ดี แต่ยอมรับ
ว่าความร่วมมืออาจจำกัดเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านราคา, ปริมาณสต็อกของแต่ละประเทศ แต่ปัญหาที่ท้าท้ายที่สุดคือ
การกำหนดราคาร่วมกันคงทำได้ยากเพราะแต่ละประเทศ มีข้าวแต่ละชนิดและราคาก็แตกต่างกัน
       
       “ไม่แน่ว่าสถานการณ์อาจจะกลับสู่ภาวะปกติในช่วงเดือน พ.ย.นี้ก็ได้ จากนั้นทุกประเทศก็จะหันมาแข่งกันขายข้าวเหมือนเดิม
ส่วนความร่วมมือOREC น่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าข้าวซึ่งกันและกัน“
       

ช่วย ‘ชาวนา’ ลดต้นทุนการผลิต
       
       อย่างไรก็ดีสิ่งที่รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ควรดำเนินเร่งด่วน คือเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น100%ทั้งจากราคาปุ๋ย
และ ยาฆ่าแมลงทำให้ราคาข้าวที่สูงขึ้นมากกลับมีราคาต้นทุนการผลิตที่มากขึ้นทำ ให้กำไรจากการปลูกข้าวจึงเท่าเดิม ส่วนพ่อค้า
คนกลางผู้ส่งออกกลับเป็นกลุ่มที่มีกำไรจากการขายข้าวแทน
       
       “หากต้องการช่วยชาวนาอย่างยั่งยืนต้องลงลึกไปถึงต้นทุนการผลิตก่อน ที่จะมาช่วยด้านราคาส่งออก
เพราะนั่นคือคือฐานรากของประเทศ” รศ.ดร.ณรงค์ ระบุ
       
       โดยปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือข้าวนาปีที่ปลูก 2/3ส่วนของพื้นที่ทั่วประเทศเก็บเกี่ยวหมดแล้วและข้าวเหล่านั้นอยู่ในมือพ่อค้า
ผู้ส่งออกการขึ้นราคาช่วงนี้ชาวนาจึงไม่ได้ประโยชน์ ขณะที่พื้นที่ปลุกนาปรัง1/3 ของพื้นที่ปลูกทั่วประเทศก็ทยอยเก็บเกี่ยว
ในการปลูกนาปรังครั้งแรก และเริ่มปลูกนาปรังครั้งที่สองทำให้เกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากราคาข้าว ทั่วโลกมีเพียงเกษตรกร 1/3
ที่ปลูกข้าวนาปรังเท่านั้น
       

ระวัง..!ข้าวในประเทศแพง
       
       ขณะเดียวกันการตั้งกลุ่มประเทศ OREC ที่ถูกต่างชาติประณามว่าเป็นการฉวยโอกาสนั้นก็ค่อนข้างจะเป็นจริง แม้ราคาน้ำมัน
ที่แพงขึ้นทุกประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบ แต่หากขึ้นราคาข้าวที่เป็นเรื่องปากท้องย่อมส่งผลสะเทือนมากกว่าเพราะใน กลุ่ม
ประเทศแอฟริกาที่มีประชนชนกว่า 100 ล้านก็กินข้าวแต่ประเทศเหล่านี้อยู่ในฐานะยากจนคงไม่มีเงินที่จะมาพอซื้อ ข้าวในราคาที่สูงได้
       
       “น้ำมันแพงขึ้นมากก็ไม่ใช้ได้ แต่ข้าวต้องกินทุกมื้อนี่คือสิ่งที่หลายฝ่ายอดห่วงใยไม่ได้”
       
       ปัจจุบันสถานการณ์ของไทยก็ไม่แตกต่างกันเพราะกำลังแรงงานกว่า 37 ล้านคนซึ่งอยู่ในภาคการเกษตรแค่ 15 ล้านคน
แต่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมถึง 22 ล้านคน ซึ่งต้องซื้อข้าวกินหากราคาข้าวในประเทศแพงคนกลุ่มใหญ่ของประเทศก็ได้รับ
ความเดือดร้อนด้วยเช่นกัน
       

ยื่นข้อเสนอต่อ 4 องค์กรโลก
       
       ขณะที่ “ปราโมทย์ วานิชานนท์” นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทยเสนอถึงแนวทางช่วยชาวนาไทยว่า ภาครัฐต้องเสนอ
ข้อมูลต่อ 4องค์กรหลักไม่ว่าจะเป็น World Bank, IMF , WTO , UN ถึงสาเหตุที่ไทยต้องการขึ้นราคาในช่วงนี้เพราะชาวนาไทย
ไม่สามารถแบกรับต้น ทุนการผลิตที่สูงขึ้นได้ ขณะเดียวกันชาวนาไทยก็มีหนี้สินกว่า 80% กว่า 4ล้านครอบครัวที่มีอาชีพทำนา
ซึ่งหากองค์กรระดับโลกต้องการช่วยเหลือประเทศที่ยากจนที่ต้องกินข้าวแพง 4 องค์กรนี้ก็ต้องช่วยชาวนาไทยด้วย เพราะนี่คือ
หลักมุนษยธรรม
       
       อีกทั้งต้องคำนวณต้นทุนการผลิตเสนอไปด้วยว่าต่อไปไทยจะเสนอขายในราคา ไม่ต่ำกว่าเท่านั้นเท่านี้เพื่อต้องการให้ชาวนา
ลืมตาอ้าปากได้ เพราะเมื่อมีการประกันราคาซื้อชาวนาไทยจะได้หมดภาระหนี้สินนี่คือสิ่งที่ ทั่วโลกต้องรับรู้
       
       “ชาวนาไทย อินเดีย เวียดนาม ฐานะยากจน แต่จะให้คนจนเหล่านี้แบกรับภาระปากท้องทั่วโลกโดยไม่ช่วยเหลือเขาได้หรือ
ซึ่งไทยต้องตั้งโต๊ะเจรจาไม่ใช้สุมหัว “ฮั้ว” กันแบบที่ทำกันไปต่างชาติจะประณามได้ แต่หากทำตามข้อเสนอนั้นองค์กรชาวโลก
จะไม่มีสิทธิ์ประณามไทยได้”
       
       นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย ย้ำว่า รัฐบาลชุดนี้ตั้งโจทย์ผิดในการเสนอรวมกลุ่ม OREC เพราะไม่บอกสาเหตุถึง
การขึ้นราคาสินค้าและต้องการช่วยชาวนาไทย หากเปิดโต๊ะเจรจากับประเทศอินเดีย และ เวียดนามรวมกลุ่มกันได้อีกครั้งจะทำให้
ราคาส่งออกข้าวไทยจะสูงขึ้นแต่ต่างชาติรับได้ ขณะที่ชาวนาไทยจะได้ประโยชน์แต่ต้องอธิบายถึงสาเหตุที่รวมตัวกันได้เพราะ
การรวมกลุ่มแบบนี้ใครๆก็ทำกันแต่ต้องนุ่มนวลให้ชาวโลกยอมรับได้ด้วย