ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: prinz_bismarck ที่ 09-05-2008, 08:16



หัวข้อ: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: prinz_bismarck ที่ 09-05-2008, 08:16
สืบเนื่องจากการตั้งกระทู้นี้ที่ฟ้าเดียวกัน การยืนเพื่อเคารพเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็น"หน้าที่"ไม่ใช่"สิทธิ", กฎหมายระบุเอาไว้ชัดเจน http://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=7891&hl=prinz_bismarck

มีผู้ใช้นามแฝง PPh มาเถียงว่าตนเองสามารถแสดงความเคารพด้วยการนั่งได้ และไม่เห็นด้วยที่ว่าการยืนเคารพเพลงเป็นจารีตประเพณี
ผมจึงต้องถามคนในนี้ให้ช่วยยืนยันว่าการยืนเคารพเพลงสังคมไทยปฏิบัติมานานแล้วเป็นประเพณีหรือไม่

แล้วขอถามอีกว่าพวกคุณเคยนั่งเคารพเพลง หรือกราบเคารพเพลง หรือ นอนเคารพเพลงหรือไม่ ตามประเพณีสากลการเคารพเพลงชาติและเพลงสำคัญเขาแสดงออกอย่างไร

ผลสุดท้ายผมทำนายไว้ไม่ผิด ผมอ่าน พ.ร.ฎ. กำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485
แล้วพบว่ายังมีช่องโหว่ตรงคำว่า"เคารพ"ต้องมีคนมาใช้วิชาศรีธนญชัย
ตีความแบบนี้จริงๆครับ เนื่องจากพ.ร.ฎ. กำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485
ดันไม่ระบุว่าการเคารพ ต้องเคารพยังไง ระบุว่า"เคารพ"เฉยๆ ตามหลักสากลก็รู้ๆว่าเคารพธงชาติต้องยืนตรง
สุดท้ายก็มีคนอยากนั่งเคารพ ผมคาดไว้ล่วงหน้าตอนตั้งกระทู้นี้แล้ว
ต้องมีคนอาศัยช่องโหว่ตรงนี้แน่ แล้วสุดท้ายก็เกิดขึ้นจริงๆ

http://www.sameskybooks.org/board/index.php?s=&showtopic=&view=findpost&p=69350
คุณ PPh เขายืนยันว่าเขาจะนั่งเคารพเพลงครับ เพื่อนสมาชิกมีความเห็นอย่างไร


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไ
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 09-05-2008, 08:33
รอดูอีกหน่อยก็รู้มั้งครับ
ต้องไปดูข้อหาที่โดนแจ้งดำเนินคดี :slime_whistle:




หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 09-05-2008, 19:02
เดี๋ยวพอคุณ PPh ลงไปนอนจมกองเลือด เค้าก็คงจะเกิดพุทธิปัญญาได้เองล่ะครับว่าต้องแสดงความเคารพตามประเพณีอย่างไรในครั้งต่อไป

เรียกว่าต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดครับ คนสมัยนี้

ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เดี๋ยวนี้มีทีมงานพี่ ๆ มือหนัก คอยสอดส่องพวกนั่งเท่ห์ช่วงเพลงสรรเสริญในโรงหนังทุกโรงอยู่แล้ว พี่ ๆยินดีดูแล พาไปส่งถึงบ้านคุณพ่อคุณแม่ด้วย
 
ใครอยากเท่ห์ อยาก HIP เหมือนคุณโชติศักดิ์ก็เชิญนะครับ อย่ารอช้า


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไ
เริ่มหัวข้อโดย: sk-sint ที่ 09-05-2008, 19:34
สงสัยจังว่า พวกที่ไม่อยากยืนเคารพเนี่ย

ดูหนังเรื่องอะไรกันมั่ง เคยดู สุริโยทัย กับ นเรศวร บ้างหรือเปล่าไม่รู้

แล้วอีกอย่าง

ไอ้ม็อตโต้ "ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร"เนี่ย ทำไมไม่กล้าๆ ใส่ให้เต็มๆล่ะว่า "ไม่ยืนถวายความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี" ....  :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: DAWN ที่ 09-05-2008, 20:19
 :slime_evil:ข้อกฎหมายที่ท่าน จขกท ยกมาอ้าง ก็บอกอยู่แล้วนี่ครับ ให้เคารพตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณี
ไม่ได้บอกว่า ตามแต่จะทำ หรือตามใจเรียกร้อง
 เอาแค่ประเพณี ประเพณีเป็นเรื่องที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับในสังคม
ญาติผู้ใหญ่มา หรือผู้ที่เราเคารพนับถือมา เราก็ต้องรีบลุกขึ้นต้อนรับ คงไม่มีใครนั่งเฉย ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ แล้วบอกว่าทักทายกันตามประเพณีแล้วนะ
:slime_fighto: :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 09-05-2008, 21:18
ฝากบอกแก๊งค์ไม่ยืนด้วยแล้วกันครับ

"ไม่ยืน ไม่ใช่อาชญากร แต่พวกเอ็งมันอ้อนตีน"

"คิดต่าง ไม่ใช่อาชญากรรม แต่เป็นพวกยำยำของสังคม"

ขอบคุณครับ



หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 09-05-2008, 21:46
จริงสิ ยังไม่รูเลยว่า วันที่เขา ไม่ยืนนั้น

เขาไปดูหนังเรื่อง อะไร ????  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 09-05-2008, 21:55
ฝากบอกแก๊งค์ไม่ยืนด้วยแล้วกันครับ

"ไม่ยืน ไม่ใช่อาชญากร แต่พวกเอ็งมันอ้อนตีน"

"คิดต่าง ไม่ใช่อาชญากรรม แต่เป็นพวกยำยำของสังคม"

ขอบคุณครับ



* ............................     :slime_agreed: :slime_agreed:  :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 09-05-2008, 22:53
ถกเถียงกับคนที่ไม่รู้จักมารยาทสังคม

ชี้แจงปากเปียกปากแฉะ เค้าก็ไม่ยอมรับ

คนที่ทำผิดกฎหมาย เค้าไม่ได้เรียกว่า "อาชญากร" ไปซะทั้งหมด

ต้องเป็นอาชญากรเท่านั้นหรือ ถึงจะมีโทษทางอาญา...

ก็เหมือนทนายหน้าเหลี่ยม ชอบใช้วิธีเช่นนี้ไปใช้กับการบริหารราชการแผ่นดิน ทำนองว่า "กฎหมายไม่บัญญัติไว้ ก็ไม่มีความผิด"

คือเวลาเราพูดถึงกฎหมายมหาชน หรือเรื่องการเมืองพูดถึงสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ มันดันไปหยิบเอาประมวลกฎหมายอาญามาอธิบาย

ความผิดในทางการเมือง เค้าให้สังคมตัดสิน หรือ การรับฟังเสียงประชาชนนอกสภาด้วย มิใช่ดึงดันกันแต่ในสภา

พวกครูบาอาจารย์ ที่ทำตัวเป็นหัวโจกอยู่ทุกวันนี้แหละ ที่ทำตัวเป็น ขยะสังคม


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไ
เริ่มหัวข้อโดย: ชัย คุรุ เทวา โอม ที่ 09-05-2008, 23:15
สงสัยจังว่า พวกที่ไม่อยากยืนเคารพเนี่ย

ดูหนังเรื่องอะไรกันมั่ง เคยดู สุริโยทัย กับ นเรศวร บ้างหรือเปล่าไม่รู้

แล้วอีกอย่าง

ไอ้ม็อตโต้ "ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร"เนี่ย ทำไมไม่กล้าๆ ใส่ให้เต็มๆล่ะว่า "ไม่ยืนถวายความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี" ....  :slime_agreed:

ตำนาน อาจจะจริงครึ่งเดียว หรือ จริงทั้งหมด


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 09-05-2008, 23:24


คิดถึงสมัยโบราณที่เค้าเล่าว่า หากมีผู้ใหญ่เสด็จผ่านหน้า

ให้หยุดก้มหน้า เงยหน้ามองนี้ให้เอาหนังสติ๊กยิงลูกตา

ก็ไม่ทราบว่าจริงเท็จเพียงใด ถึงเมื่อไหร่

สมัยนี้คงต้องว่าตามกฎหมายเป็นหลัก ส่วนเรื่องประเพณีก็ว่าตามแต่ละสังคมครับ

นอกนั้นใครจะไปวิวาทกับใคร ผมคงทำตัวเป็นพลเมืองดีแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือเป็นพยานตามข้อเท็จจริง

คงไม่อ่อนไหวไปด้วย ความเห็นส่วนตัวผมจะยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลักก่อนอื่น


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ชัย คุรุ เทวา โอม ที่ 09-05-2008, 23:30

คิดถึงสมัยโบราณที่เค้าเล่าว่า หากมีผู้ใหญ่เสด็จผ่านหน้า

ให้หยุดก้มหน้า เงยหน้ามองนี้ให้เอาหนังสติ๊กยิงลูกตา

ก็ไม่ทราบว่าจริงเท็จเพียงใด ถึงเมื่อไหร่

สมัยนี้คงต้องว่าตามกฎหมายเป็นหลัก ส่วนเรื่องประเพณีก็ว่าตามแต่ละสังคมครับ

นอกนั้นใครจะไปวิวาทกับใคร ผมคงทำตัวเป็นพลเมืองดีแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือเป็นพยานตามข้อเท็จจริง

คงไม่อ่อนไหวไปด้วย ความเห็นส่วนตัวผมจะยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลักก่อนอื่น

ร.4 เคยถามชายตาบอดคนหนึ่งว่า ตาบอดเพราะเหตุใด

ชายตาบอดคนนั้นบอกว่า ตอนรับเสด็จ ข้าพเจ้าเงยหน้าขึ้นมามอง



หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อธิฏฐาน ที่ 09-05-2008, 23:56
ร.4 เคยถามชายตาบอดคนหนึ่งว่า ตาบอดเพราะเหตุใด

ชายตาบอดคนนั้นบอกว่า ตอนรับเสด็จ ข้าพเจ้าเงยหน้าขึ้นมามอง



เรื่องเล่าอาจเป็นแค่เรื่องที่เล่ากันมาปากต่อปาก บางครั้งหาความจริงไม่ได้


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 10-05-2008, 00:11
ร.4 เคยถามชายตาบอดคนหนึ่งว่า ตาบอดเพราะเหตุใด

ชายตาบอดคนนั้นบอกว่า ตอนรับเสด็จ ข้าพเจ้าเงยหน้าขึ้นมามอง

เรื่องนี้ยังมีเนื้อความต่อเนื่องด้วยว่า เืมื่อ ร.4 ทรงทราบดังนั้น
ก็ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกธรรมเนียม
ดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 00:12
เอาข้อมูลมาประกอบกระทู้ครับ





April 21, 2008
เรื่องการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงมหรสพ   http://www.sameskybooks.org/2008/04/21/the-royal-anthem/
ฟ้าเดียวกัน
 โดย เจ้าน้อย

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสชวาเป็นครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2439 ได้ทรงเห็นการผลิตภาพยนตร์ที่ตำหนักเฮอริเคนเฮาส์ ณ เมืองสิงคโปร์ ซึ่งทรงบรรยายไว้ในจดหมายรายวันว่า

“เป็นรูปถ่ายติดๆ กันเป็นม้วนยาวๆ เอาเข้าไปในเครื่องไฟฟ้าหมุนไป แลเห็นเหมือนรูปนั้นกระดิกได้ ม้วนหนึ่งใช้รูปถึง 1,400 ท่า”
 
และในขณะที่ประทับอยู่ ณ เมืองสิงคโปร์ ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง “God Save the Queen” เป็นเพลงบรรเลงในการรับเสด็จ จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จบ้าง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหารแต่งคำร้องเพื่อประกอบทำนองเพลงเป็นโคลง และให้นายปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurorsky) แต่งทำนองเพลงตามอย่างเพลง “God Save the Queen” ซึ่งภายหลังก็คือเพลงสรรเสริญพระบารมีนั่นเอง (เรื่อง นายชูรอฟสกี้ เป็นผู้แต่งเพลงสรรเสริญพระบารมีหรือไม่นั้น ยังแบ่งความเห็นออกเป็นสองฝ่ายโดยดูได้จากความเห็นของ ดร.สุพจน์ที่โต้แย้งว่า ชูรอฟสกี้ ไม่ใช่ผู้แต่ง จากบทความเรื่อง “เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติไทย” และ ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้เสนอว่า ชูรอฟสกี้ เป็นผู้แต่งเพลงสรรเสริญฯ ดูได้ที่หนังสือ “99 ปีเพลงสรรเสริญพระบารมี”)
 
ภายหลังเมื่อมีภาพยนตร์เข้ามาฉายในสยาม ซึ่งมีแตรวงบรรเลงประกอบ และยังได้มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อถวายความเคารพพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม เมื่อภาพยนตร์ฉายจบ ธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ น่าจะมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 เมื่อเริ่มมีการตั้งโรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะที่โรงหนังญี่ปุ่นหลวง ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ถาวรแห่งแรกในสยาม และเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราแผ่นดิน
 
อาจเชื่อได้ว่าธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้แบบอย่างมาจากเมืองสิงคโปร์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งจะทำการฉายพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ และบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อจบการฉายภาพยนตร์ โดยให้ผู้ชมยืนถวายความเคารพต่อเจ้ากรุงอังกฤษ
 
การให้วงดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเมื่อจบการฉายภาพยนตร์นั้น ในสมัยแรกได้ปฏิบัติกันเป็นธรรมเนียมไปทั่วทุกโรงภาพยนตร์ในสยาม โดยมิได้มีกฎหมายบังคับแต่อย่างใด
 
จนมาถึงในรัชกาลที่ 6 ช่วงต้นรัชกาล การบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีก็ยังมีการบรรเลงหลังจากฉายภาพยนตร์จบดังแบบแผ่นดินที่แล้วอยู่ ตามที่ปรากฏในบทความของ หนังสือพิมพ์รายวันชื่อ บางกอกไตมส์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับสำคัญของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5, 6 และ 7

ในบทความที่ชื่อ OUR CINEMA. (ลงพิมพ์ในฉบับวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2465) ในส่วนท้ายของบทความได้มีการกล่าวถึงเรื่องการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเมื่อจบการฉายภาพยนตร์ได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
 
“แต่แล้วก็มีคำประกาศปรากฏบนจอความว่า ‘ตอนต่อไปของหนังระทึกขวัญเรื่องนี้จะฉายพรุ่งนี้’ แม้จะขัดกับสิ่งไรที่สมควรแห่งเจตนาสำหรับเพลงสรรเสริญพระบารมี แต่พวกเราก็ทะลักกันออกจากโรงหนังทางช่องประตูเล็กๆ ช่องเดียว อันเป็นกับดักแห่งมฤตยูแท้ๆ หากเกิดอัคคีภัยขึ้น ทั้งนี้เพื่อออกมาสู่บรรยากาศเย็นลมยามดึก” (วารสารหนังไทย ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2544)
 
จากบทความนี้ทำให้เราเห็นว่าในช่วงปี พ.ศ. 2465 นั้น การบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ก็ยังบรรเลงกันหลังจากฉายภาพยนตร์จบ แต่ที่สำคัญผมถูกใจในความตรงไปตรงมาของนักข่าวผู้เขียนบทความนี้ ก็ตรงที่เขาบอกว่า “แม้จะขัดกับสิ่งไรที่สมควรแห่งเจตนาสำหรับเพลงสรรเสริญพระบารมี แต่พวกเราก็ทะลักกันออกจากโรงหนัง” นั้นก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ในสมัยนั้น ก็ไม่มีใครอยากที่จะมัวมานั่งสรรเสริญพระบารมีกัน ต่างคนก็ต่างที่จะรีบกลับบ้านกันทั้งนั้น
 
อาจจะเป็นตรงนี้เองที่ต่อมารัชกาลที่ 6 จึงได้มีคำสั่งว่า ก่อนที่จะเล่นมหรสพทุกครั้งให้มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญฯ  แรกๆ ก็เป็นพวกการแสดงลิเก ต่อมาก็รวมไปถึงการแสดงละครต่างๆ จนสุดท้ายก็รวมถึงในโรงภาพยนตร์ด้วย  หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 อะไรหลายๆ อย่างก็เปลี่ยนแปลงไป เรื่องราวต่างๆ ที่เป็นการสรรเสริญ ยกยอปอปั้นเจ้าก็ลดน้อยถอยลงไปเช่นกัน  ในสมัยนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยกเลิกการบรรเลงเพลงสรรเสริญฯ ในโรงมหรสพไปทีหนึ่ง โดยให้มายืนเคารพ “ท่านผู้นำ” แทน เพื่อต้องการปลูกฝังแนวคิดชาตินิยมและเทิดทูนผู้นำ จึงให้มีการเปิดเพลงให้ประชาชนเคารพตนเองในฐานะผู้นำประเทศ
 
ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีระเบียบออกมาว่าด้วยเรื่องให้ยืนตรงทำความเคารพเมื่อได้ยินเพลงชาติและเพลงสรรเสริญฯ โดยที่ยังไม่มีการกำหนดโทษ แล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 จึงได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ 2485 ซึ่งได้กำหนดใน มาตรา 6 ว่า
 
“บุคคลทุกคนจักต้องเคารพตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณี คือ (๑) เคารพธงชาติ(๓) เคารพเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงเคารพอื่นๆ ซึ่งบรรเลงในงานตามทางราชการ ในงานสังคม หรือในโรงมหรสพ”

ต่อมาในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อการรัฐประหาร เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมในการยึดอำนาจ จึงได้เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอ่อนแอลงมากหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และได้เปลี่ยนแปลงการเปิดเพลงเคารพผู้นำในการมหรสพต่างๆ ให้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อถวายความเคารพต่อกษัตริย์แทนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ในระยะแรกนั้นจะเป็นการเปิดเพลงเพลงสรรเสริญฯ หลังจากที่มีการฉายภาพยนตร์จบแล้ว ต่อมาถึงได้มาเปลี่ยนเป็นเปิดเพลงเพลงสรรเสริญฯ ก่อนที่หนังจะฉายเมื่อไม่ถึง 17-18 ปีมานี้เอง
 
โดยที่เพลงสรรเสริญฯ ในสมัยแรกๆ ที่เปิดกันในโรงหนังนั้นด้วยเทคโนโลยียังไม่ดีนัก มีแค่เฟดอัปเฟดดาวน์เท่านั้น มีภาพขึ้นมาสองภาพ ตอนนั้นเป็นแบบภาพสีซีเปียก็คือเป็นภาพที่มีทั่วไปของในหลวงตั้งแต่สมัยทรงพระเยาว์จนมาถึงในเรื่องของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ต่างๆ

 

พัฒนาการของเพลงสรรเสริญฯ ในโรงภาพยนตร์ *


 
โรงภาพยนตร์เครือเมเจอร์ เพลงสรรเสริญฯ เวอร์ชั่นปัจจุบันใช้ชื่อชุด ‘นิทรรศการ’ เปิดมาเป็นคำถวายพระพร เป็นฉากเด็กยืนถวายพระพรหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ตัดเป็นภาพพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ทรงเยี่ยมพสกนิกรตามภาคต่างๆ ภาพที่พระองค์ท่านให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในเรื่องการเกษตรเช่นเรื่องฝนเทียม ตอนท้ายภาพพสกนิกรมากมายยืนไหว้ถวายพระพร ภาพจะตัดสลับระหว่างภาพในหลวงกับประชาชน ภาพในหลวงจากพื้นดินแห้งแล้ง เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ภาพในหลวง พื้นดินแห้งแล้ง มาเป็นภาพฝนตก
 
(เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จัดทำร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ผู้เรียบเรียงดนตรี คือ บรูซ แกสตัน แห่งวงฟองน้ำ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2538 จัดทำบทเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อใช้ในโรงภาพยนตร์ทั้งสิ้น 4 เวอร์ชัน)
 
เอสเอฟ เปิดทำการมาตั้งแต่ปี 2542 ได้เปลี่ยนเพลงสรรเสริญฯ ทั้งหมดทั้งสิ้น 2 เวอร์ชัน ชุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นชุด ‘หยาดฝน’ ที่เป็นเสียงดนตรีไทย ผู้เรียบเรียงดนตรีคือ บรูซ แกสตัน
 
เซ็นจูรี่ เครือใหม่ เปิดมาได้เพียง 2 เดือน เนื่องจากทางโรงภาพยนตร์ได้มองเห็นอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของในหลวงในการเป่าแซ็กฯ เพลงสรรเสริญฯ ชุดที่ใช้อยู่จึงเป็นชุดที่มีเสียงแจ๊ซเป็นดนตรีหลัก และไม่มีเสียงร้อง เรื่องการดำเนินภาพจะเป็นกรอบรูปที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบันขึ้นมาทีละภาพ ซึ่งหนึ่งในรูปภาพเหล่านั้นมีภาพที่ในหลวงทรงกำลังเป่าแซ็กโซโฟนอยู่ด้วย เสียงเป่าแซ็กฯ โดยเศกพล อุ่นสำราญ หรือโก้ แซ็กแมน เรียบเรียงโดย ปราชญ์ มิวสิค
 
ลิโด้, สยาม, สกาล่า เป็นโรงหนังในเครือเดียวกันเปิดทำการมาไล่เลี่ยกัน โดยเปิดมาได้ประมาณ 40 ปีแล้ว เปลี่ยนเพลงสรรเสริญฯ มาแค่เพียง 2 เวอร์ชันเท่านั้น ซึ่งเวอร์ชันล่าสุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นชุด ‘จิ๊กซอว์’ ที่มีภาพออกมาพร้อมกับเพลงสรรเสริญฯ มีภาพในหลวงขึ้นมาเป็นภาพจิ๊กซอว์มาต่อกัน จะมีภาพพระองค์ท่านเสด็จไปสถานที่ต่างๆ แล้วภาพจะค่อยๆ เลื่อนมาเป็นจิ๊กซอว์รูปพระพักตร์ของในหลวง ผู้เรียบเรียงดนตรี บรูซ แกสตัน
 
โรงหนังเฮาส์ เพิ่งเปิดมาได้ปีครึ่ง เพลงสรรเสริญฯ ที่ใช้เป็นเวอร์ชั่นเดียวกับของโรงหนังลิโด้,สยาม และสกาล่า
 
สำหรับเครืออีจีวี ฟิล์มเพลงสรรเสริญฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำเป็นกราฟิก ในหลวงทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในรูปแบบต่างๆ ภาพการขึ้นครองราชย์ ท้ายสุดเป็นภาพเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ เสียงร้องเพลงสรรเสริญฯ นี้มาจากบุคคลมีชื่อเสียงมากมาย อาทิ เจริญ วรรธนะสิน, อุ้ม-สิริยากร พุกกะเวส, ดร.อ้อ-กฤติกา คงสมพงษ์ และดีเจพีเค ซึ่งจะร้องกันคนละท่อน แล้วมีเสียงประสานของ นักร้องอินดี้อย่าง แพม-ลลิตา ตะเวทิกุล เป็นแบ็กกราวนด์

หมายเหตุ
* ผู้เขียนเป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ เพราะได้ตัดมาแต่ข้อความบางส่วนในบทความของคุณภัททิรา ชิงนวรรณ์ โดยที่ชื่อของบทความเต็มนั้นคือ “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ เพลงสรรเสริญฯ ในโรงหนัง”
 





หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ชัย คุรุ เทวา โอม ที่ 10-05-2008, 00:26
เรื่องนี้ยังมีเนื้อความต่อเนื่องด้วยว่า เืมื่อ ร.4 ทรงทราบดังนั้น
ก็ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกธรรมเนียม
ดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ช่ายยยครับ

นี่เป็นเหตุหนึ่งในการที่ ร.4 ทรงพัฒนาประเทศ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-05-2008, 00:42
ผมโตทันตอนจอมพล ส. ปฏิวัติ 2501

ยังได้ยืนเคารพพระบรมฉายาทิศลักษณ์ ที่ฉายเป็นสไลด์ภาพเดียวนิ่งๆ ทั้งหนังขายยาและหนังโรงในอำเภอ

ดูหมอลำ ลิเก ก็มีเพลงสรรเสริญพระบารมี ยิ่งบ้านอยู่ใกล้ๆ โรงลิเกเรียกได้ว่าเพลง "ออกแขก" นี่จำได้ติดหู

ทันดูหนังข่าวยูซิส ที่ส่งให้หนังขายยา เร่ฉายตามชนบท น่าจะเป็นยุค ไอเซ็นฮาวด์

มาจนถึงหนังต่อต้านคอมมูนิสต์ หลายเรื่องเหมือนกัน สลับกับการโฆษณาขายยา ขายแฟ๊บ/ยาสีฟัน

กิจกรรมในทุกโรงเรียน เมื่อมีการประชุมจบลง ก็จะร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

มาจนเรียนจบในมหาวิทยาลัย หากจบกิจกรรมรวมกลุ่มก็จะร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีกัน

ทั้งๆ ที่ไม่มีกฎหมายบังคับ

ช่วง 2511-2514 เพลงสดุดีมหาราชาออกมา ก็พากันร้องในเวลาที่นั่งรถผ่านพระราชวังสวนจิตรฯ

นักกิจกรรมแบบ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล หรือ ประสาร มฤคพิทักษ์ หรือ ธีรยุทธ์ บุญมี ในสายจุฬาฯ ก็ไม่เห็นว่าพวกเค้ามีปฏิกริยาเรื่องสถาบันฯ

แม้แต่ เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ยังมีริ้วขบวน เชิดชูพระบรมสาทิศลักษณ์อย่างสวยงาม ตื่นตาตื่นใจ

ถือเป็นขวัญกำลังใจของผู้ชุมนุม แม้ก่อนเกิดเหตุ 14 ตุลา 2516 พวกเราก็ไปที่บริเวณข้างสวนจิตรลดาฯ ก็เพื่อขอพระบารมีคุ้มครอง

จะว่าไป พวกผมทำกิจกรรมเกี่ยวกับการร้องเพลงสรรเสริญ การยืนถวายความเคารพ ก็ทำกันด้วยใจ

ทำด้วยความเต็มใจ โดยไม่ได้คิดว่ามีใครบังคับ เรียกว่าทำมา 4-50 ปี ก็ไม่เห็นว่าจะขัดเคืองใจอะไร

เพื่อนผมบางคน พอขับรถไปรถติดเพราะ 18.00 น. ถ้าได้ยินเพลงชาติ มันเปิดประตูรถ ลงมายืนตรงเคารพธงชาติ

ก็ไม่เห็นมีใครว่ามันบ้าซักราย เพลงจบก็เปิดประตูขึ้นมานั่ง ผมคิดว่า "เก๋ดีออก"


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 00:56
พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕  http://www.f0nt.com/forum/index.php?PHPSESSID=4b9c7be8146bfb24893d57f7df09a3e3&topic=5183.msg887115#msg887115


     - มาตรา ๖ วัฒนธรรมซึ่งบุคคลจักต้องปฏิบัติตาม นอกจากจะได้กำหนดไว้โดย

พระราชบัญญัติแล้ว ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาได้.....


     - มาตรา ๑๕ ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ มีความผิด

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ


   ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

      จอมพล ป. พิบูลสงคราม

            นายกรัฐมนตรี




พระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕  

   http://www.f0nt.com/forum/index.php?PHPSESSID=4b9c7be8146bfb24893d57f7df09a3e3&topic=5183.msg887115#msg887115


     คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาศัยอำนาจตามความใน

มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ..... จึงให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้


     - มาตรา ๓ บุคคลทุกคนจักต้องรักษาจรรยามารยาทอันดีงามในที่สาธารณะหรือที่ปรากฏแก่สาธารณชน โดย

       (๑) ไม่ก่อให้เกิดเสียงอื้อฉาวโดยใช่เหตุ หรือใช้วาจาเสียดสีหรือลามกหยาบคาย หรือแสดงกิริยาวาจา

เป็นเชิงเสียดสีเย้ยหยันผู้ที่ปฏิบัติตนในทางเชิดชูหรือส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ

       (๒) ไม่ใช้กำลังเบียดเสียดยื้อแย่งในที่ชุมนุมชน เช่น ในการโดยสารยานพาหนะ การเข้าซื้อบัตรผ่านประต

หรือเข้าประตูสถานที่สำหรับมหรสพ เป็นต้น

       (๓) ไม่ก่อความรำคาญด้วยการห้อมล้อมหรือกีดขวางผู้อื่นโดยไม่มีเหตุสมควร

       (๔) ไม่ก่อให้เกิดความปฏิกูล หรือขีดเขียนในที่อันไม่ควรทำ

       (๕) ไม่อาบน้ำตามถนนหลวงอันเป็นที่ชุมนุมชน

       (๖) ไม่นั่ง นอน หรือยืนบนราวสะพาน

       (๗) ไม่นั่ง หรือนอนบนทางเท้า

       (๘) ไม่ใช้กำลังยื้อแย่งทาน หรือรับของแจก


     - มาตรา ๔ ในการปฏิบัติต่อบ้านเรือน บุคคลทุกคนจักต้องรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย

เท่าที่ปรากฏแก่สาธารณชน โดย

       (๑) ไม่ตากผ้าหรือสิ่งอื่นให้รุงรังอย่างอุจาด

       (๒) ไม่ขีดเขียนหรือปิดข้อความหรือภาพอันอุจาด

       (๓) ไม่ปล่อยให้สิ่งของมีลักษณะรุงรัง

       (๔) ไม่ทำส้วมและที่สำหรับทิ้งมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอันมีลักษณะอุจาด


       - มาตรา ๕ บุคคลทุกคนจักต้องรักษาเกียรติของประเทศชาติ

       ภายใน...ที่ที่ข้าหลวงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้

ห้ามมิให้แต่งกายโดยประการที่จะทำให้เกียรติของประเทศชาติเสื่อมเสียไป เช่น นุ่งผ้าหยักรั้ง นุ่งแต่กางเกงใน

นุ่งกางเกงชนิดสำหรับใส่นอน นุ่งผ้าขาวม้าหรือไม่สวมเสื้อ หรือสตรีสวมแต่เสื้อชั้นใน หรือมีแต่ผ้าคาดอก เป็นต้น.....


       - มาตรา ๖ บุคคลทุกคนจักต้องเคารพตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณี คือ

       (๑) เคารพธงชาติขณะที่ชักขึ้นและลงประจำวันพร้อมกัน ตามเวลาประกาศของทางราชการ

       (๒) เคารพธงชาติ ธงไชยเฉลิมพล ธงเรือรบ ธงประจำกองยุวชนทหาร หรือธงประจำกองลูกเสือ

เมื่อชักขึ้นหรือลงประจำสถานที่ราชการ เมื่อเชิญมาตามทางราชการ หรืออยู่กับที่ประจำแถวหรือหน่วยทหาร....

       (๓) เคารพเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงเคารพอื่น ๆ ซึ่งบรรเลงในงานตามทางราชการ

ในงานสังคม หรือในโรงมหรสพ


       - มาตรา ๗ ในที่สาธารณะสถานหรือที่ปรากฏแก่สาธารณชน คนไทยจักต้องไม่ขอ

สิ่งใด ๆ จากคนต่างด้าวอันจะส่อให้เขาดูหมิ่น


       - มาตรา ๘ คนไทยจักต้องมีสมรรถภาพและมารยาทเกี่ยวกับวิธีดำเนินงานอาชีพ

โดยขมักเขม่นและเอาใจใส่ แสดงกิริยาวาจาอันสุภาพในการติดต่อกับลูกค้า ผู้ว่าจ้างและผู้โดยสารยวดยานพาหนะ


       - มาตรา ๙ คนไทยจักต้องส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในทางวรรณกรรมและศิลปกรรม

โดยไม่กระทำการใด ๆ อันจะทำให้เกียรติของประเทศชาติหรือพระพุทธศาสนาเสื่อมเสียไป...........


       - มาตรา ๑๐ คนไทยจักต้องนิยมไทย โดยไม่เหยียดหยามชาติไทยหรือคนไทยใน

ประการที่จะส่อให้เสื่อมเสียเกียรติของชาติ



   ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

      จอมพล ป. พิบูลสงคราม

            นายกรัฐมนตรี



จำุคุกไำม่เกินหนึ่งเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรืิอทั้งจำทั้งปรับ นะ......


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-05-2008, 01:01
ช่ายยยครับ

นี่เป็นเหตุหนึ่งในการที่ ร.4 ทรงพัฒนาประเทศ

สมัยนั้นเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคม ประเทศทางตะวันตกแสวงหาอาณานิคมลามมาทางเอเชีย

แม้ประเทศยิ่งใหญ่อยางจีนก็ยังต้องยินยอมให้ ฮ่องกง มาเก๊า เป็นเขตเช่าของต่างชาติ

เพิ่งจะหลุดสัญญา 99 ปี มาเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง

ไทยก็เสียดินแดนไปมากมาย หากไม่ทำประเทศให้มีธรรมเนียมปฏิบัติเหมือน ประเทศยุโรป คงถูกดูหมิ่นดูแคลน

กลายเป็นจุดที่พวกตะวันตกใช้เป็นข้ออ้างยึดเพื่อพัฒนา

พวกที่ไม่รู้จักบุญคุณคน ไม่ยอมรับว่า ประเทศชาติในการปกครองของราชวงศ์จักรี สร้างคุณูปการมากมายมหาศาลให้กับประเทศชาติ

ไม่โดนยึดไปครอบครอง เหมือนพม่า มาเลยเซีย ( รวมสิงคโปร์ ) ลาว อินโดจีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย

ยืนหยัดเป็นประเทศเอกราชหนึ่งเดียวในภูมิภาคนี้ จะเอายังไงอีกวะ



หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 01:12


รายงาน : ฟังความหลายๆ ข้าง กรณี ‘ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี’   
 
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11985



ตติกานต์ เดชชพงศ 

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่าที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ‘เพลงสรรเสริญพระบารมี’ หรือ Royal Anthem ถือเป็นเพลงปลุกใจชนิดหนึ่ง (1) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเนเธอร์แลนด์ เมื่อราวๆ ค.ศ.1568 หรือ 440 ปีที่แล้ว

 

เพลงสรรเสริญพระบารมีซึ่งเก่าแก่ที่สุดในโลกนี้มีชื่อว่า Het Wilhelmus และถูกแต่งขึ้นเพื่อ ‘ถวายพระเกียรติ’แด่ ‘กษัตริย์วิลเลียมที่ 1’ ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น ‘บิดา’ แห่งเนเธอร์แลนด์ นับตั้งแต่ครั้งที่พระองค์ทรงนำการสู้รบและพาให้ชาวดัทช์หลุดพ้นจากการปกครองของอาณาจักรสเปน จนกระทั่ง ค.ศ.1932 Het Wilhelmus จึงถูกยกให้เป็น ‘เพลงชาติเนเธอร์แลนด์’ อย่างเป็นทางการ (2)

 

ส่วนธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีของไทยครั้งแรก เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายความเคารพแด่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับเพลงสรรเสริญพระบารมีอื่นๆ ทั่วโลก

 

แม้เพลงสรรเสริญพระบารมีของไทยจะถูกใช้ในฐานะ ‘เพลงชาติ’ นับตั้งแต่ช่วง พ.ศ.2431-2475 ทว่า ปัจจุบัน การใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีตามระเบียบสำนักพระราชวัง ว่าด้วยการบรรเลงดุริยางค์ในการพระราชพิธีหรือพิธีการต่างๆ กำหนดให้บรรเลงเพลงสรรเสริญฯ เพื่อรับเสด็จและส่งเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หรือใช้บรรเลงในงานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีผู้แทนพระองค์ โดยจะบรรเลงเมื่อเริ่มและจบงาน เป็นการถวายพระเกียรติยศ (3)

 

ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่า จะต้องบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ แต่ก็เป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่า โรงหนังหรือโรงมหรสพส่วนใหญ่จะบรรเลงเพลงสรรเสริญฯ ก่อนทุกครั้ง และทางโรงจะขอความร่วมมือจากผู้เข้าชม ด้วยข้อความว่า ‘โปรดยืนถวายความเคารพ’ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

 

ด้วยเหตุนี้ การที่ ‘โชติศักดิ์ อ่อนสูง’ และ ‘ชุติมา เพ็ญภาค’ ไม่ลุกขึ้นยืนระหว่างที่มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ขณะเข้าชมภาพยนตร์เรื่องหนึ่งในโรงหนังเซ็นทรัลด์เวิลด์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2550 ทำให้ ‘นายนวมินทร์ วิทยกุล’ ต่อว่าทั้งโชติศักดิ์และชุติมา พร้อมทั้งใช้วาจาสั่งให้ทั้งสองลุกขึ้นยืน ซึ่งไม่มีผู้ใดทำตาม เป็นเหตุให้นายนวมินทร์ขว้างปาข้าวของใส่คนทั้งคู่ ขณะเดียวกัน คนอื่นๆ ในโรงก็ ‘ปรบมือสนับสนุน’ การกระทำของนายนวมินทร์ ทั้งโชติศักดิ์และชุติมาจึงออกจากโรงภาพยนตร์และโทรแจ้งตำรวจ

 

จากการสัมภาษณ์โชติศักดิ์ (4) ได้ระบุว่า ตนแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าถูกนายนวมินทร์ทำร้ายร่างกายและบังคับจิตใจ คู่กรณีของโชติศักดิ์จึงแจ้งข้อหากลับ โดยให้เหตุผลว่าโชติศักดิ์และชุติมา ‘หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ ด้วยการไม่ลุกขึ้นยืนถวายความเคารพ ซึ่งนายโชติศักดิ์ได้เข้าพบตำรวจเพื่อรับฟังข้อกล่าวหาไปเรียบร้อยแล้ว (5) (6) (7)

 

000

 

แม้ว่าข้อหา ‘หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ จะเป็นประเด็นอ่อนไหวอย่างยิ่งของสังคมไทย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การแสดงเจตจำนงส่วนบุคคลต่อเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรเลย เพราะหลายประเทศเคยผ่านเหตุการณ์ทำนองนี้มาก่อน

 

อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศ ประเด็นของการไม่ยืนถวายความเคารพต่อเพลงปลุกใจให้รักชาติและกษัตริย์ เป็นชนวนแห่ง ‘โศกนาฏกรรม’ และนำไปสู่การสูญเสียชีวิต แต่ในอีกบางประเทศ เหตุการณ์เช่นนี้นำไปสู่ ‘การเรียนรู้’ ที่จะเคารพต่อสิทธิของบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายลงได้ด้วยการรับฟังเหตุผลของทุกฝ่าย รวมไปถึงการตีความบริบทหลายๆ ด้านประกอบกัน

 

เพลง Kimigayo ซึ่งเป็นเพลงชาติญี่ปุ่น และมีเนื้อหาเชิดชูถวายพระเกียรติองค์จักรพรรดิ์ ถือเป็น ‘กรณีศึกษา’อันดับแรกๆ ของ ‘อารยะขัดขืน’ ที่มีต่อลัทธิชาตินิยม ความจงรักภักดี และขนบธรรมเนียมประเพณีเก่าแก่ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

เนื่องจากเพลงคิมิงะโยะเคยเป็นเพลงปลุกใจที่กองทัพญี่ปุ่นใช้สร้างกระแสชาตินิยมในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านสงครามจึงมองว่าเพลงคิมิงะโยะคือเครื่องมือชวนเื่ชื่อของรัฐบาลผู้ก่อสงคราม ไม่ควรนำเพลงดังกล่าวมาใช้ซ้ำโดยมุ่งหวังนัยยะใดๆ ทางการเมือง เพราะมันคือ ‘บาดแผลทางประวัติศาสตร์’ ที่ยังไม่ได้รับการชำระ นอกจากนี้ เนื้อเพลงคิมิงะโยะยังเป็นการเชิดชูองค์จักรพรรดิ์แห่งญี่ปุ่นให้มีอายุยืนยาวอีกด้วย จึงมีผู้วิจารณ์ว่าเพลงนี้ไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันของญี่ปุ่นซึ่งชูธง ‘ประชาธิปไตย’ เป็นหลัก

 

เมื่อรัฐบาลกำหนดให้คิมิงะโยะเป็นเพลงประกอบพิธีสำคัญทางการศึกษาในปี พ.ศ.2532 ก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากครูอาจารย์จำนวนมาก โดย ครูที่ต่อต้านเพลงคิมิงะโยะใช้วิธี ‘นั่งสงบนิ่ง’ ระหว่างที่มีการบรรเลงเพลงนี้ในพิธีทางการศึกษา ในขณะที่ครูซึ่งไม่ต่อต้านจะลุกขึ้นยืนตรง เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ

 

จนกระทั่งปี พ.ศ.2541 ครูใหญ่ในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งของฮิโรชิมาถึงกับฆ่าตัวตาย เพราะไม่อาจแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างครูที่ปฏิเสธและครูที่ยอมรับเพลงคิมิงะโยะได้ (8) ทางการญี่ปุ่นจึงกำหนดบทลงโทษครูที่ต่อต้านเพลงคิมิงะโยะขึ้นมาในปี พ.ศ.2542

 

แต่ไม่ว่าจะถูกลงโทษด้วยการทำภาคฑัณฑ์, ตัดเงินเดือน หรือยกเลิกการต่อสัญญาจ้างกับครูที่ไม่ลุกขึ้นยืนในเวลาที่เปิดเพลงคิมิงะโยะ จำนวนครูซึ่ง ‘เลือกที่จะนั่ง’ ก็ยังไม่หมดไป มาตรการล่าสุดที่รัฐบาลใช้กับครูเหล่านี้จึงเพิ่มความกดดันมากขึ้น นั่นคือการสั่งให้คณะกรรมการของโรงเรียนเฝ้าจับตาูพฤติกรรมของคุณครูทั้งหลายที่ต่อต้านเพลงคิมิงะโยะ และบังคับให้เด็กนักเรียนร้องเพลงนี้ในช่วงเข้าแถวฟังโอวาททุกๆ เช้าด้วย

 

ในส่วนของประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็น ‘ต้นทาง’ ของธรรมเนียมการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ไทยรับเอามาใช้ ก็มีการต่อต้านและขัดขืนเช่นกัน และเหตุการณ์ล่าสุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2547 โดย นายเดวิด เมเยอร์ (David Mayer) สมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งเป็นตัวแทนจากเวลส์ ปฏิเสธที่จะยืนขณะที่มีการบรรเลงเพลง God Save the Queen ในพิธีเปิดโรงละคร แม้ว่า God Save the Queen จะเป็นทั้งเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีแด่พระราชินีอังกฤษก็ตาม

 

เดวิด เมเยอร์ ซึ่งเป็นชาวเวลส์ให้เหตุผลว่า เขาได้ยืนทำความเคารพและร้องตามเมื่อมีการบรรเลงเพลงชาติเวลส์ แต่เขาไม่มีเหตุผลที่จะลุกขึ้นยืนเพื่อเพลงก็อดเซฟเดอะควีน เพราะการแสดงความสนับสนุนพระราชินีไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องทำในระบอบประชาธิปไตย

 

การกระทำของเดวิด เมเยอร์ ทำให้ผู้มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และประณามว่าเมเยอร์คือความอับอายของประเทศชาติซึ่ง ‘สิ้นคิด’ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านั้น เช่นเดียวกับที่ประธานสภา ‘บ๊อบ ไบรท์’ กล่าวตอบโต้ผู้ที่เรียกร้องให้เขาจัดการ ‘อะไรบางอย่าง’ กับเมเยอร์ ว่า “เราอยู่ในสังคมเสรี...ผมไม่อาจจะครอบงำความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของใครๆ ได้” (9)

 

การ ‘นั่ง’ เพื่อแสดง ‘จุดยืน’ ที่มีต่อเพลงสรรเสริญพระบารมีเกิดขึ้นหลายสิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะในประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ เช่น แคนาดา นิวซีแลนด์ ซึ่งประชาชนจำนวนมากไม่พอใจกับความเป็น ‘ชาติผู้ยิ่งใหญ่’ ของอังกฤษที่พยายามปกครองประเทศอื่นๆ ทั่วโลกในอดีต

 

นอกจากนี้ยังมีกรณี ‘โทนี สมิท’ นักกีฬาบาสเกตบอลหญิงจากวิทยาลัยแมนฮัตตันวิล ผู้หันหลังให้กับธงชาติอเมริกาและเพลง Star Spangled Banner ซึ่งเป็นเพลงชาติสหรัฐอเมริกา ขณะที่มีการร้องเพลงเพื่อเปิดและปิดการแข่งขัน ซึ่งสมิทให้เหตุผลว่า เธอเป็นชาวอเมริกันที่มีเชื้อสายอินเดียนแดง สัญลักษณ์การรวบรวมหมู่ดาวบนธงชาติและเนื้อร้องของเพลงสตาร์สแปงเกิลแบนเนอร์ จึงไม่ต่างจากการนำประวัติศาสตร์อันโหดร้ายที่ชาวผิวขาวกระทำต่อชาวพื้นเมืองในยุคแรกของการสร้างประเทศมาตอกย้ำโดยปราศจากความเข้าใจรากเหง้าของตัวเอง

 

ผลจากการหันหลังให้กับธงชาติและเพลงชาติ ทำให้โทนี สมิท ถูกขู่ฆ่าจากผู้ที่มีแนวคิดชาตินิยมสุดโต่ง ซึ่งสมิทให้เหตุผลว่าเธอไม่ได้แสดงอาการดูหมิ่นหรือเหยียดหยาม ‘ความเชื่อ’ ของใคร แต่เธอไปอยู่ในสนามเพื่อเล่นกีฬาบาสเกตบอล ซึ่งไม่เห็นว่าจะเกี่ยวอะไรกับการร้องเพลงชาติ (10)

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของวิวาทะในสังคมต่างๆ ทั่วโลก ในเรื่องของการเลือกที่จะ ‘เชื่อ’ หรือ ‘ไม่เชื่อ’ ในสิ่งที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจอย่างยิ่งว่านั่นไม่ใช่ความผิดหรืออาชญากรรมแต่อย่างใด

 

000

 

ย้อนกลับมาที่ ‘กรณี 2 ไม่ยืน เพลงสรรเสริญฯ’ อีกครั้ง ถือว่าเป็นกรณีที่ได้รับความสนใจจากคนจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะสังคมไทย เพราะเรื่องนี้ถูกรายงานไปทั่วโลกโดยสื่อต่างประเทศที่ครอบงำพื้นที่สื่อกระแสหลัก เช่น สำนักข่าวเอพี, รอยเตอร์ และนิวยอร์กไทม์ส

 

ล่าสุด วันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ของไทยบางฉบับ (11) อ้างถึงบทสัมภาษณ์ ‘ทองใบ ทองเปาด์’ ทนายความรางวัลแมกไซไซ ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘ทนายนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน’ โดยระบุคำพูดของนายทองใบว่า การไม่ยืนตรงแสดงความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงหนัง มีความผิดทางอาญา และมีโทษสูงถึงขั้น ‘จำคุก’

 

โดยนายทองใบกล่าวว่า กรณีที่นายโชติศักดิ์ประพฤติตนเช่นนั้น (ไม่ยืนระหว่างมีการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี-ประชาไท) ถือเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุกสูงถึง 7 ปี และถือว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งการยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงชาติ ทุกคนต้องกระทำด้วยความสุภาพ ยืนตัวตรง ห้ามแกว่งแขน หรือ ยืนยิ้ม ต้องยืนด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จะอยู่ ณ ที่แห่งใด เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี และ เพลงชาติ ทุกคนต้องยืนตัวตรงนิ่งทำความเคารพ โดยเฉพาะในโรงภาพยนตร์ทุกแห่งจะมีข้อความระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า “โปรดยืนถวายความเคารพ”

 

“หากบุคคลใดเห็น หรือแจ้งความเอาผิดกับผู้ที่ไม่ลุกขึ้นยืน หรือ ยืนไม่สุภาพ และมีพยานเห็นชัดเจน เจ้าหน้าที่ตำรวจจะรับแจ้งความอยู่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้น และนำเรื่องขึ้นสู่ศาลฎีกามาแล้ว ที่ผ่านมาเคยมีเหตุการณ์นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องติดคุก 2 ปี เพราะไม่ลุกขึ้นยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ขณะไปฟังการปราศรัยที่ท้องสนามหลวงมาแล้วด้วย”

 

นั่นคือถ้อยคำจากปากของทนายความผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และเป็นข้อความที่ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาว่า ในช่วงเวลาสับสนวุ่นวาย ทุกๆ 8 โมงเช้าและ 6 โมงเย็น ตามย่านธุรกิจ สถานีรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน หรือแม้แต่ป้ายรถเมล์ข้างถนน ก็ต้องมีคนที่ไม่สามารถหยุดยืนนิ่งอยู่กับที่ได้เมื่อได้ยินเสียงเพลงแห่งความรักชาติดังขึ้น ซึ่งมันคงชี้วัดกันลำบากว่าเป็นเพราะความเร่งรีบในชีวิตประจำวันไม่เปิดโอกาสให้แสดงความเคารพได้อย่างเต็มที่ หรือเป็นเพราะว่าเขา/เธอคนนั้นกำลังดูหมิ่น ‘ความเป็นชาติ’ กันแน่

 

และถ้าหากว่า “การยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงชาติ ทุกคนต้องกระทำด้วยความสุภาพ ยืนตัวตรง ห้ามแกว่งแขน หรือ ยืนยิ้ม ต้องยืนด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จะอยู่ ณ ที่แห่งใด” หากใครไม่ทำตามนี้ ถือว่า ‘มีความผิด’

 

วันนี้คงมีคนมากมายที่จะต้องติดคุกด้วยข้อหา ‘ไม่แสดงความเคารพ’ ต่อสิ่งที่ควรเคารพ...

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

 

(1)    ความหมาย เพลงสรรเสริญพระบารมี (ประเภท) และ Royal anthem

(2)    ประวัติเพลง Het Wilhelmus

(3)    สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก หมวดเพลงเกียรติยศ โดย รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ 

(4)    สัมภาษณ์ "โชติศักดิ์" ผู้ถูกกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ ในโรงหนัง, ประชาไท (21 เม.ย.2551)

(5)    ‘สองไม่ยืนเพลงสรรเสริญฯ’ รับทราบข้อกล่าวหา เปิดแคมเปญ “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร เห็นต่างไม่ใช่อาชญากรรม”, ประชาไท (23 เม.ย.2551)

(6)    Activist denies charge of lese majeste , หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (23 เม.ย.2551)

(7)    ฟ้องนัวไม่เคารพเพลงสรรเสริญ หนุ่มใหญ่ฉุนขาด นั่งเฉยในโรงหนัง เตือนแล้วยังเมิน ลามชกต่อยชุลมุน ตร.ปิด-สอบทั้งคู่, หนังสือพิมพ์บ้านเมือง(25 เม.ย.2551)

(8)    Hinomaru, 'Kimigayo' express conflicts both past and future

(9)    Anthem protest sparks a row

(10)Interview: College Basketball Player Toni Smith Took a Stand on the Court

(11)เพลงสรรเสริญฯ-ชาติ ไม่เคารพโทษสูงติดคุก, หนังสืิอพิมพ์บ้านเมือง (25 เม.ย.2551)


 


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 01:36
8/5/2551
All Human Rights For All   http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!547.entry
All Human Rights For All
ยังเกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่เกิดอยู่รอบๆตัวในทุกวันนี้
บางทีจะพูดหรืออธิบายอะไร มันก็น่าเบื่อ
เพราะความคิดความเชื่อของแต่ละคน มันเปลี่ยนกันยาก
แต่ที่ยากกว่า คือการยอมรับความคิดและความเชื่อของผู้อื่น
ว่ามีคุณค่าเช่นเดียวกับความคิดความเชื่อของตน

ว่าแล้วก็เอา All Human Rights For All ของสหประชาชาติมาให้อ่าน
จะว่าอะไรก็ได้ ...
แต่ในเมื่อประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
ก็อยากให้พลเมืองไทยมีโอกาสได้อ่านด้วย
ถ้าเราคิดแค่ว่า UN ไม่ใช่พ่อ เหมือนนายกฯบางคนพูดไว้
ก็ไม่ต้องสนใจ
แต่ถ้าเราเป็นส่วนหนึ่ง ในประชาคมโลก
ลองอ่านกันหน่อย ว่าสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ขั้นต้น ควรมีอะไรบ้าง



--------------------------------------------------------------------------------


On December 10, 1948 the General Assembly of the United Nations adopted and proclaimed the Universal Declaration of Human Rights the full text of which appears in the following pages. Following this historic act the Assembly called upon all Member countries to publicize the text of the Declaration and "to cause it to be disseminated, displayed, read and expounded principally in schools and other educational institutions, without distinction based on the political status of countries or territories."

PREAMBLE
      Whereas recognition of the inherent dignity and of the equal and inalienable rights of all members of the human family is the foundation of freedom, justice and peace in the world,

      Whereas disregard and contempt for human rights have resulted in barbarous acts which have outraged the conscience of mankind, and the advent of a world in which human beings shall enjoy freedom of speech and belief and freedom from fear and want has been proclaimed as the highest aspiration of the common people,

      Whereas it is essential, if man is not to be compelled to have recourse, as a last resort, to rebellion against tyranny and oppression, that human rights should be protected by the rule of law,

      Whereas it is essential to promote the development of friendly relations between nations,

      Whereas the peoples of the United Nations have in the Charter reaffirmed their faith in fundamental human rights, in the dignity and worth of the human person and in the equal rights of men and women and have determined to promote social progress and better standards of life in larger freedom,

      Whereas Member States have pledged themselves to achieve, in co-operation with the United Nations, the promotion of universal respect for and observance of human rights and fundamental freedoms,

      Whereas a common understanding of these rights and freedoms is of the greatest importance for the full realization of this pledge,

Now, Therefore THE GENERAL ASSEMBLY proclaims THIS UNIVERSAL DECLARATION OF HUMAN RIGHTS as a common standard of achievement for all peoples and all nations, to the end that every individual and every organ of society, keeping this Declaration constantly in mind, shall strive by teaching and education to promote respect for these rights and freedoms and by progressive measures, national and international, to secure their universal and effective recognition and observance, both among the peoples of Member States themselves and among the peoples of territories under their jurisdiction.

Article 1.
      All human beings are born free and equal in dignity and rights.They are endowed with reason and conscience and should act towards one another in a spirit of brotherhood.

Article 2.
      Everyone is entitled to all the rights and freedoms set forth in this Declaration, without distinction of any kind, such as race, colour, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth or other status. Furthermore, no distinction shall be made on the basis of the political, jurisdictional or international status of the country or territory to which a person belongs, whether it be independent, trust, non-self-governing or under any other limitation of sovereignty.

Article 3.
      Everyone has the right to life, liberty and security of person.

Article 4.
      No one shall be held in slavery or servitude; slavery and the slave trade shall be prohibited in all their forms.

Article 5.
      No one shall be subjected to torture or to cruel, inhuman or degrading treatment or punishment.

Article 6.
      Everyone has the right to recognition everywhere as a person before the law.

Article 7.
      All are equal before the law and are entitled without any discrimination to equal protection of the law. All are entitled to equal protection against any discrimination in violation of this Declaration and against any incitement to such discrimination.

Article 8.
      Everyone has the right to an effective remedy by the competent national tribunals for acts violating the fundamental rights granted him by the constitution or by law.

Article 9.
      No one shall be subjected to arbitrary arrest, detention or exile.

Article 10.
      Everyone is entitled in full equality to a fair and public hearing by an independent and impartial tribunal, in the determination of his rights and obligations and of any criminal charge against him.

Article 11.
      (1) Everyone charged with a penal offence has the right to be presumed innocent until proved guilty according to law in a public trial at which he has had all the guarantees necessary for his defence.

      (2) No one shall be held guilty of any penal offence on account of any act or omission which did not constitute a penal offence, under national or international law, at the time when it was committed. Nor shall a heavier penalty be imposed than the one that was applicable at the time the penal offence was committed.

Article 12.
      No one shall be subjected to arbitrary interference with his privacy, family, home or correspondence, nor to attacks upon his honour and reputation. Everyone has the right to the protection of the law against such interference or attacks.

Article 13.
      (1) Everyone has the right to freedom of movement and residence within the borders of each state.

      (2) Everyone has the right to leave any country, including his own, and to return to his country.

Article 14.
      (1) Everyone has the right to seek and to enjoy in other countries asylum from persecution.

      (2) This right may not be invoked in the case of prosecutions genuinely arising from non-political crimes or from acts contrary to the purposes and principles of the United Nations.

Article 15.
      (1) Everyone has the right to a nationality.

      (2) No one shall be arbitrarily deprived of his nationality nor denied the right to change his nationality.

Article 16.
      (1) Men and women of full age, without any limitation due to race, nationality or religion, have the right to marry and to found a family. They are entitled to equal rights as to marriage, during marriage and at its dissolution.

      (2) Marriage shall be entered into only with the free and full consent of the intending spouses.

      (3) The family is the natural and fundamental group unit of society and is entitled to protection by society and the State.

Article 17.
      (1) Everyone has the right to own property alone as well as in association with others.

      (2) No one shall be arbitrarily deprived of his property.

Article 18.
      Everyone has the right to freedom of thought, conscience and religion; this right includes freedom to change his religion or belief, and freedom, either alone or in community with others and in public or private, to manifest his religion or belief in teaching, practice, worship and observance.

Article 19.
      Everyone has the right to freedom of opinion and expression; this right includes freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information and ideas through any media and regardless of frontiers.

Article 20.
      (1) Everyone has the right to freedom of peaceful assembly and association.

      (2) No one may be compelled to belong to an association.

Article 21.
      (1) Everyone has the right to take part in the government of his country, directly or through freely chosen representatives.

      (2) Everyone has the right of equal access to public service in his country.

      (3) The will of the people shall be the basis of the authority of government; this will shall be expressed in periodic and genuine elections which shall be by universal and equal suffrage and shall be held by secret vote or by equivalent free voting procedures.

Article 22.
      Everyone, as a member of society, has the right to social security and is entitled to realization, through national effort and international co-operation and in accordance with the organization and resources of each State, of the economic, social and cultural rights indispensable for his dignity and the free development of his personality.

Article 23.
      (1) Everyone has the right to work, to free choice of employment, to just and favourable conditions of work and to protection against unemployment.

      (2) Everyone, without any discrimination, has the right to equal pay for equal work.

      (3) Everyone who works has the right to just and favourable remuneration ensuring for himself and his family an existence worthy of human dignity, and supplemented, if necessary, by other means of social protection.

      (4) Everyone has the right to form and to join trade unions for the protection of his interests.

Article 24.
      Everyone has the right to rest and leisure, including reasonable limitation of working hours and periodic holidays with pay.

Article 25.
      (1) Everyone has the right to a standard of living adequate for the health and well-being of himself and of his family, including food, clothing, housing and medical care and necessary social services, and the right to security in the event of unemployment, sickness, disability, widowhood, old age or other lack of livelihood in circumstances beyond his control.

      (2) Motherhood and childhood are entitled to special care and assistance. All children, whether born in or out of wedlock, shall enjoy the same social protection.

Article 26.
      (1) Everyone has the right to education. Education shall be free, at least in the elementary and fundamental stages. Elementary education shall be compulsory. Technical and professional education shall be made generally available and higher education shall be equally accessible to all on the basis of merit.

      (2) Education shall be directed to the full development of the human personality and to the strengthening of respect for human rights and fundamental freedoms. It shall promote understanding, tolerance and friendship among all nations, racial or religious groups, and shall further the activities of the United Nations for the maintenance of peace.

      (3) Parents have a prior right to choose the kind of education that shall be given to their children.

Article 27.
      (1) Everyone has the right freely to participate in the cultural life of the community, to enjoy the arts and to share in scientific advancement and its benefits.

      (2) Everyone has the right to the protection of the moral and material interests resulting from any scientific, literary or artistic production of which he is the author.

Article 28.
      Everyone is entitled to a social and international order in which the rights and freedoms set forth in this Declaration can be fully realized.

Article 29.
      (1) Everyone has duties to the community in which alone the free and full development of his personality is possible.

      (2) In the exercise of his rights and freedoms, everyone shall be subject only to such limitations as are determined by law solely for the purpose of securing due recognition and respect for the rights and freedoms of others and of meeting the just requirements of morality, public order and the general welfare in a democratic society.

      (3) These rights and freedoms may in no case be exercised contrary to the purposes and principles of the United Nations.

Article 30.
      Nothing in this Declaration may be interpreted as implying for any State, group or person any right to engage in any activity or to perform any act aimed at the destruction of any of the rights and freedoms set forth herein.

http://www.un.org/Overview/rights.html


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 01:46


ท่านที่ต้องการศึกษาเพิ่ม ว่าแต่ละฝ่ายทำอะไร หรือควรทำอะไรได้บ้าง?

ก็คงต้องไปต่อสู้กันในชั้นกระบวนการยุติธรรม หรือกระบวนการทางสังคมครับ

แต่ผมขอรณรงค์ให้ยุติการปลุกระดมเพื่อใช้ความรุนแรง ความหยาบคาย การกดขี่ข่มเหงทั้งมวล

โดยให้ใช้หลักการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายไทย และหลักการอื่นๆสากลนิยมที่ไทยยอมรับ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: taecu ที่ 10-05-2008, 02:34
 :slime_hmm:

สากลนิยมมันคือคำหลอกลวงของคนมีอำนาจในการกดขี่คนอื่นครับ

ง่ายๆๆ

ถามหน่อย อเมริกัน บุก อิรัก แบบไม่มีสาเหตุ

เรื่องนิวเครียสไม่มีจริงๆ ผิดกี่ข้อ ทำไรได้ไหม  :slime_surrender:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-05-2008, 03:24
บางเรื่องคนส่วนใหญ่ยอมรับ และมีกฎหมายกำกับ

การแหกกฎเพื่ออ้าง "สิทธิมนุษยชน" ก็อาจติดคุกเอาง่ายๆ

เพราะบ้านเมืองใช้หลักนิติรัฐ คือปกครองด้วยกฎหมาย

หากจะแก้ไข ก็ต้องให้สังคมตัดสิน แล้วไปสิ้นสุดที่การแก้กฎหมาย

เราถึงบอกว่า เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงต้องมีกฎหมายเหล่านี้เพื่อให้ผู้คนในสังคมปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

หากเห็นว่ามันละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ควรไปรณรงค์ทางสภาผู้แทน หรือนำเสนอกฎหมายโดยประชาชน 20,000 คน ผ่านสภา


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 04:12
สิทธิมนุษย์ชนมันขึ้นอยู่กับคนที่ชอบอ้างมันขึ้นมาแล้วก็การนำไปเป็นข้อแก้ตัว สิทธิมนุษย์ชนมันต้องยืนหยัดอยู่บนความถูกต้องของสังคมในส่วนรวมไม่ใช่สังคมของสองคนนั้น แต่ละประเทศมีสิทธิที่จะสร้างกฏเกณท์ขึ้นมาใช้เพื่อสร้างความสงบสุขในประเทศชาติและสังคมของประเทศนั้นๆ
คุณไม่เห็นความพยามที่ทักษิณจะไปยัดเยียดความเป็นไทยให้กับชาวอังกฤษเหรอครับ พวกเค้ายอมรับหรือเปล่า การที่ใครบางคนพยายามที่จะไปยัดเยียดในสิ่งที่พวกเค้าไม่ยอมรับ มันก็เท่ากับเป็นการดูถูกความเป็นชาติของพวกเค้า ทักษิณเองก็ควรจะละอายใจในจุดนี้ถ้าไม่หน้าด้านพอ
ถ้าประเทศที่เรียกตัวเองว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเขียนมันขึ้นมาว่า นี่คือ สิทธิมนุษย์ชนสำหรับประเทศของเรา แล้วเอาไปบอกว่า ประเทศของคุณก็ควรจะเป็นเช่นนี้นะ ผมก็ว่ามันผิดตั้งแต่แรกแล้วครับ แต่ก่อนนั้นสิทธิที่ว่ามันมีเยอะกว่านี้ครับ แต่ว่าพอให้สิทธิมากเกินไปมันก็สร้างปัญหาครับ ถ้าจะไปแก้ไขสิ่งที่เขียนเอาไว้แล้วมันก็ดูจะไม่เข้าท่า ก็เลยต้องแก้ด้วยการเขียนกฏหมายที่มาจากเสียงส่วนมากเพื่อแก้ไขความผิดพลาด และ เพื่อให้ทุกคนในประเทศชาติอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข และสิทธิที่คุณอ้างถึงมันดูดี แม้แต่ในสหรัฐเองก็ยังมีคนนำไปใช้แบบผิดๆ
ยกตัวอย่างง่ายๆ
1. ระหว่างคนที่เป็น US Citizen กับคนที่อยู่แบบมี Green Card ...อ้าวไหนว่ามีสิทธิเท่าเทียมกันงัยหล่ะ ทำไมไม่ยอมให้ผมโหวต ผมก็ Human เหมือนกันนะครับ ไม่ใช่สัตว์ แล้วทำไมผมมีสิทธิน้อยกว่าพวกนั้นหล่ะ

2. สงครามอิรัก - ประเทศสหรัฐพยายามที่ยัดเยียดความเป็นประชาธิปไตยและความมีสิทธิมนุษย์ชนให้กับพวกเค้า โดยที่พวกเค้าไม่อยากได้รับนั่นก็ถือว่าขัดกับสิ่งที่พวกเค้าเขียนเอาไว้แล้วครับ

3. ชาวเกย์ในสหรัฐต้องการสิทธิในการแต่งงาน หญิงแต่งกับหญิง ชายแต่งกับชาย มันเป็นสิทธิของพวกเค้าไม่ใช่เหรอครับ ทำไมบางรัฐถึงแต่งได้แต่ทำไมอีกบางรัฐทำไม่ได้ครับ เหตุผลคือความถูกต้องใช่หรือไม่ครับ มันเป็นความผิดของพวกเค้าเหรอครับที่เกิดมาแบบมีปมด้อยไม่เท่ากับคนอื่น ทำไมไม่ให้เป็นสิทธิของพวกเค้าหล่ะ

มันยังมีอีกเยอะครับที่ขัดกับเนื้อหาที่ว่า....


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายนำชัย ที่ 10-05-2008, 05:50
สืบเนื่องจากการตั้งกระทู้นี้ที่ฟ้าเดียวกัน การยืนเพื่อเคารพเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็น"หน้าที่"ไม่ใช่"สิทธิ", กฎหมายระบุเอาไว้ชัดเจน http://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=7891&hl=prinz_bismarck

มีผู้ใช้นามแฝง PPh มาเถียงว่าตนเองสามารถแสดงความเคารพด้วยการนั่งได้ และไม่เห็นด้วยที่ว่าการยืนเคารพเพลงเป็นจารีตประเพณี
ผมจึงต้องถามคนในนี้ให้ช่วยยืนยันว่าการยืนเคารพเพลงสังคมไทยปฏิบัติมานานแล้วเป็นประเพณีหรือไม่

แล้วขอถามอีกว่าพวกคุณเคยนั่งเคารพเพลง หรือกราบเคารพเพลง หรือ นอนเคารพเพลงหรือไม่ ตามประเพณีสากลการเคารพเพลงชาติและเพลงสำคัญเขาแสดงออกอย่างไร

ผลสุดท้ายผมทำนายไว้ไม่ผิด ผมอ่าน พ.ร.ฎ. กำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485
แล้วพบว่ายังมีช่องโหว่ตรงคำว่า"เคารพ"ต้องมีคนมาใช้วิชาศรีธนญชัย
ตีความแบบนี้จริงๆครับ เนื่องจากพ.ร.ฎ. กำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485
ดันไม่ระบุว่าการเคารพ ต้องเคารพยังไง ระบุว่า"เคารพ"เฉยๆ ตามหลักสากลก็รู้ๆว่าเคารพธงชาติต้องยืนตรง
สุดท้ายก็มีคนอยากนั่งเคารพ ผมคาดไว้ล่วงหน้าตอนตั้งกระทู้นี้แล้ว
ต้องมีคนอาศัยช่องโหว่ตรงนี้แน่ แล้วสุดท้ายก็เกิดขึ้นจริงๆ

http://www.sameskybooks.org/board/index.php?s=&showtopic=&view=findpost&p=69350
คุณ PPh เขายืนยันว่าเขาจะนั่งเคารพเพลงครับ เพื่อนสมาชิกมีความเห็นอย่างไร



อ้อ มาอยู่ตรงนี้นี่เองคุณ prinz_bismarck
มีคนตั้งกระทู้สรรเสริญคุณอยู่ ผมว่าคุณน่าจะกลับไปฉะอีกสักรอบนะ
http://www.sameskybooks.org/board/index.php?s=873c170a317d8bccab155c9816fa2593&showtopic=7953 (http://www.sameskybooks.org/board/index.php?s=873c170a317d8bccab155c9816fa2593&showtopic=7953)

ดูหน่วยก้านคุณก็เข้าท่าดีนะครับ ลีลาไม่บันเบา อ่านกระทู้ของคุณแล้วได้อะไรตั้งเยอะ

แล้วคุณสุภาพด้วยไง ถึงจะด่ากลับไปบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับกักขฬะ
ไม่เหมือนบางท่านในนี้ เขากำลังสนทนาแลกเปลี่ยนกันอยู่ดี ๆ เข้าไปด่ากราดอย่างเดียว
เสียบรรยากาศจริง ๆ

คือถ้าว่าไม่ชอบ รับไม่ได้ก็อย่าเข้าไป หรือถ้ามีเหตุผลจะตอบโต้ก็ว่าไปตามขั้นตอนของบอร์ด

นี่พี่กะเข้าไปป่วนอย่างเดียว ด่าอย่างเดียว
เหมือน ๆ กับที่เกิดขึ้นในประชาไท  ซึ่งก็คงจะคนเดียวกันนี่แหล่ะ

เผลอ ๆ บางคนคลุกคลีอยู่นาน ๆ อุดมการณ์ดันเปลี่ยนไปซะนี่
ขวาอยู่ดี ๆ กลายเป็นซ้ายซะแล้ว

เออ...คนเรานี่เปลี่ยนกันได้อย่างที่เขาว่าจริง ๆ คงเหมือนเหรียญล่ะนะ
ดูด้านเดียวก็เห็นก็รับรู้แต่ด้านนั้น
ถ้าลองได้พลิกดูให้ทั่ว ๆ แล้วพิจารณาดูดี ๆ ก็จะเห็นอะไรที่มันต่างออกไป 
 
 






 








หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 05:56
เอาไปอีกตัวอย่างนะครับคุณ999
เรื่องบุหรี่... ผมมีสิทธิที่จะสูบบุหรี่ใช่มั้ยครับ แต่ทำไมออกกฏหมายไม่ให้สูบในสถานที่สาธารณะทั้งๆที่มันเป็นสิทธิที่ผมควรจะได้รับไม่ใช่เหรอครับและมันก็เป็นสิทธิของเจ้าของร้านอีกไม่ใช่เหรอที่จะให้ลูกค้าสูบบุหรี่ก็ได้ แต่ด้วยเหตุผลของความถูกต้องที่มาจากสังคมส่วนรวมไม่ใช่เหรอครับที่ทำให้กฏหมายผ่านออกมาได้ ผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับคนที่ไม่สูบบุหรี่งัย มันไม่ดีนะควันบุหรี่ของพวกคุณทำให้สุขภาพของพวกเค้าไม่ดี และ เพื่อสังคมส่วนรวมที่จะต้องอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข เราจะไมให้สิทธิคุณมากเกินไป ก็เหมือนกับประเทศไทยที่จะต้องมีสังคมที่แสดงออกถึงความเป็นชาติไทย ถ้าจะให้มันเหมือนกันหมดก็ไม่เรียกว่าประเทศนั้นประเทศนี้ดีกว่ามั้ยครับ ทุกคนจะได้มีสิทธิไปที่ไหนก็ได้
อีกตัวอย่างนะที่มันตรงกันข้าม
เรื่องขับรถนะ... ผมและอีกมากมายเลยชอบปั่นจักรยานไปทำงาน บางคนก็จะเดินบ้างเพราะอากาศที่สดชื่น ส่วนอีกมากมายก็ขับรถไปทำงาน ถ้าพวกผมจะไปเอะอะโวยวาย... พวกที่ขับรถนี่ทำให้สภาพอากาศเป็นพิษนะ พวกผมชอบเดินแล้วก็ปั่นจักรยานไปทำงาน ผมต้องมาสูดอากาศเป็นพิษพวกนี้ที่มาจากเขม่าควันรถของพวกเค้า ออกกฏหมายให้พวกเค้าเลิกขับรถเถอะแล้วมาเดินหรือไม่ก็ปั่นจักรยานเอา เป็นห่วงสุขภาพของผมบ้างสิ คุณคิดว่าพวกเค้าจะเปลี่ยนกฏหมายเพื่อผมมั้ยครับ เพราะเหตุผลเรื่องสุขภาพเหมือนกัน ไม่มีทางครับ...พอมาตอนนี้ดันไม่เป็นห่วงสุขภาพของผมซะแล้ว พอตอนสูบบุหรี่หงัยมันบอกว่าเสียสุขภาพ
เห็นมั้ยครับว่า... ทุกคนมีสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกัน แต่ความเท่าเทียมกันมันหมดไปเมื่อมันต้องขึ้นอยู่กับความถูกต้องโดยเสียงส่วนรวมที่จะทำให้ประเทศชาติและสังคมอยู่ด้วยความสงบสุขต้องมาก่อน ทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงออก แต่ไม่ใช่ว่าแสดงออกแล้วจะต้องให้สังคมยอมรับในสิทธิของเค้า สิทธิมนุษยชนมันมันถูกขีดกรอบเอาไว้ด้วยหลักการของประชาธิปไตยโดยที่เราไม่รู้ตัวครับ
คราวนี้คุณลองบอกสิครับว่า ระหว่างสิทธิมนุษยชน กับ ประชาธิปไตย
สิ่งใดควรจะมาก่อน-สิ่งใดควรจะมาหลัง
เราควรจะเลือกใช้สิ่งไหนดี หรือ ทั้งสองอย่าง
เราถึงจะอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขในสังคมแบบไทยๆในประเทศไทยของเรา


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อยากประหยัดให้ติดแก๊ส ที่ 10-05-2008, 07:19
ถ้าถามโชติศักดิ์ว่า ติดคุกเพราะเหตุใด
แล้วโชติศักดิ์ตอบว่า ตอนมีเพลงสรรเสริญฯ ข้าพเจ้าไม่ได้ยืน

เรื่องนี้ยังมีเนื้อความต่อเนื่องด้วยว่า
ไม่มีคำสั่งใดๆ ให้ยกเลิกธรรมเนียม
ดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา :cry:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 07:24
คุณสหายนำชัยครับ...คุณอยากจะคุยอะไรผมก็คุยได้นะ แต่ถ้าคุณจะพยายามทำในสิ่งคุณอยากให้มันเป็นไปได้ มันก็จะเป็นแค่ความฝันของคุณเท่านั้นเพราะผม
พูดไปหมดแล้ว เลือดของผมมันเข้มข้นกว่าเลือดของคุณมากนัก แทบจะบอกได้เลยว่าแค่หยดเดียวก็เกินพอ ในเมื่อตัวคุณเองเป็นคนที่พยายามที่จะเรียกร้อง
สิทธิมนุษยชนของคุณ แล้วคุณจะต้องตั้งกฎเกณท์หรือขั้นตอนของบอรด์ขึ้นมาเพื่ออะไรครับ มันเป็นการจำกัดสิทธิมนุษย์ชนไม่ใช่เหรอครับ ผมอยากไดัยินคำตอบ
ชัดๆนะ ผมถามหน่อยนะครับ คุณมีความคิดแบบนี้ตั้งแต่ครั้งแรกที่คุณเข้าไปดูหนังหรือเปล่า ตอบคำถามนี้ก่อนที่จะไปว่า

เผลอ ๆ บางคนคลุกคลีอยู่นาน ๆ อุดมการณ์ดันเปลี่ยนไปซะนี่
ขวาอยู่ดี ๆ กลายเป็นซ้ายซะแล้ว

เออ...คนเรานี่เปลี่ยนกันได้อย่างที่เขาว่าจริง ๆ คงเหมือนเหรียญล่ะนะ
ดูด้านเดียวก็เห็นก็รับรู้แต่ด้านนั้น
ถ้าลองได้พลิกดูให้ทั่ว ๆ แล้วพิจารณาดูดี ๆ ก็จะเห็นอะไรที่มันต่างออกไป

เพราะคุณอาจจะกำลังว่าตัวคุณเหมือนกันนะนี่ ลองอ่านที่ผมตอบไปแล้วโต้ตอบซักนิดสิ แต่ของร้องอย่างเดียวและคุณก็รู้คืออะไร


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 07:28
ถ้าถามโชติศักดิ์ว่า ติดคุกเพราะเหตุใด
แล้วโชติศักดิ์ตอบว่า ตอนมีเพลงสรรเสริญฯ ข้าพเจ้าไม่ได้ยืน

เรื่องนี้ยังมีเนื้อความต่อเนื่องด้วยว่า
ไม่มีคำสั่งใดๆ ให้ยกเลิกธรรมเนียม
ดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา :cry:

ผมอยากให้โชติศักดิ์บอกตรงๆอย่างนั้น อาจจะตายในคุกเลยก็ได้ กล้าๆหน่อยนะโชติศักดิ์ ประกาศให้นักโทษเหล่านั้นรู้ไปเลยครับ แล้วอย่าขอย้ายเรือนจำ
หล่ะ  :slime_worship:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไ
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 10-05-2008, 10:18
ผมอยากให้โชติศักดิ์บอกตรงๆอย่างนั้น อาจจะตายในคุกเลยก็ได้ กล้าๆหน่อยนะโชติศักดิ์ ประกาศให้นักโทษเหล่านั้นรู้ไปเลยครับ แล้วอย่าขอย้ายเรือนจำ
หล่ะ  :slime_worship:

ฝากบอกอีกอย่างว่า
อย่าขอพระราชทานอภัยโทษนะครับ
ถ้าถึงวันเฉลิมฯบอกไปเลยว่าไม่นับถืออย่ามาลดโทษให้
อยู่ในคุกนานๆไปเลย


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไ
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 10:19
ฝากบอกอีกอย่างว่า
อย่าขอพระราชทานอภัยโทษนะครับ
ถ้าถึงวันเฉลิมฯบอกไปเลยว่าไม่นับถืออย่ามาลดโทษให้
อยู่ในคุกนานๆไปเลย
:slime_v: :slime_v: :slime_v: :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: (ลุง)ถึก สไลเดอร์ ที่ 10-05-2008, 10:44
มรึงเข้าไปอยู่ในคุกแล้ว พยายามใช้สิทธิมนุษย์ฯ
ให้มากๆด้วยนะ......เอิ้กกกก

 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: นายเกตุ ที่ 10-05-2008, 11:02
สงสัยไอ้โชติศักดิ์ คงเอาส้นเท้ายกไหว้พ่อแม่มันทุกวัน


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 11:27



ก็คุยกันไปครับ พอออกสู่สังคม เราก็ไปดูว่า โรงหนังมีคนไปดูภาพยนต์ มากน้อยเพียงใด

คือว่าไปแล้ว เปิดเพลงก่อนฉายหนัง ก็เพิ่งยี่สิบปีนี้ เมื่อก่อนจำได้ว่าตอนหนังเลิก


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: อธิฏฐาน ที่ 10-05-2008, 11:28

ประเทศไทยที่ยังมีความสงบอยู่ในทุกวันนี้ ก็เพราะยังมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจมากกว่าศาสนาเสียอีก หากปกครองแบบประธานาธิบดีคิดหรือคะว่าจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยได้


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 11:33


ผมขอแวะมาเรื่องโฆษณาในโรงหนังหน่อย 

ผมคิดว่าควรจำกัดปริมาณโฆษณา ถ้ามากไปก็เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 11:40



เรื่องระบบการปกครองนี่ ถ้าพูดจริงๆ

ก็ยังมีปัญหาอยู่มาก เรื่องเผด็จการและประชาธิปไตย

คือประชาธิปไตยของเรา ยังไม่เหมือนประเทศ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือญี่ปุ่น หรือพวกแสกนดินเวียน

คงยังต้องพัฒนาต่อไป...


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 11:41

ผมขอแวะมาเรื่องโฆษณาในโรงหนังหน่อย 

ผมคิดว่าควรจำกัดปริมาณโฆษณา ถ้ามากไปก็เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
อย่าเปลี่ยนเกียร์สิครับคุณ999... รถผมมันติดเทอร์โบชารจ์ทะวินแคมนะ... เห็นหรือยังว่า สิทธิมนุษยชนมันไม่ได้มาก่อนความถูกต้องของเสียงส่วนมาก
ในการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 10-05-2008, 11:43
ไม่ยืน เป็นสิทธิส่วนบุคคล

แต่คนไม่ยืนก็ต้องพร้อมรับตีนของบุคคลอื่นด้วย เพราะเป็นสิทธิของบุคคลอื่นที่จะรู้สึกหงุดหงิดและหมั่นเขี้ยวกับพวกไม่ยืนเหมือนกันครับ

ไม่รู้จักจารีต ควรจะโดนนาบด้วยเตารีด


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 11:44
อย่าเปลี่ยนเกียร์สิครับคุณ999... รถผมมันติดเทอร์โบชารจ์ทะวินแคมนะ... เห็นหรือยังว่า สิทธิมนุษยชนมันไม่ได้มาก่อนความถูกต้องของเสียงส่วนมาก
ในการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม

ถ้าคุณอยากได้อะไรต้องไปที่รัฐธรรมนูญครับ ส่วนสถาบันผมยกไว้ ไม่อยากพาดพิงโดยไม่จำเป็นเลย


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 11:49




อีกเรื่องนะครับ ข้าราชการไทย คือข้าของแผ่นดิน ข้าของประชาชนทั้งแผ่นดินนั่น นี่คือศักดิ์ศรีของข้าราชการครับ

การจะไปแบ่งแยกสถาบันออกจากประชาชนทั้งประเทศคงจะทำไม่ได้ ข้าราชการได้รับสิทธิพิเศษในการทำงานรับใช้ประชาชนครับ

ส่วนกฏหมายก็รักษากันไปตามบทบัญญัติ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 11:51
แต่คุณเอาเรื่อง สิทธิมนุษยชนมาอ้างไม่ใช่เหรอครับ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 11:53


ส่วนเรื่องใครจะไปถีบใคร ด่าใคร เกินกว่าเหตุ ถ้าไม่ใช่การใช้ชีวิตตามปกติทั่วไป

ผมว่ามันเป็นการชวนวิวาท ก็ถือว่ามีความผิดได้ครับ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-05-2008, 11:54
สมัยก่อนเปิดเพลงหลังหนังจบ ก็มักมีภาพที่ไม่งามคือคนรีบแย่งกันออกจากโรงหนัง

จึงเปลี่ยนเปิดเพลงก่อนฉายหนัง หากไม่อยากเข้าไปยืนหรือฟังเพลง ก็รอให้หนังเริ่มฉายก็ยังเข้าไปได้

มันอยู่ที่ว่าคนเราจะหลีกเลี่ยงการกระทำผิดกฎหมายหรือไม่



หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 11:54


ข้อความที่ผมเอามาแปะให้อ่าน ผมไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทั้งหมด

ก็ให้ศึกษาถกเถียงกันไป


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: (ลุง)ถึก สไลเดอร์ ที่ 10-05-2008, 11:56
สมัยก่อน เปิดเพลงสรรเสริญฯ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนามเพลง"ข่าวอ"
ตอนหนังเลิก หรือตอนปิดงานต่างๆ จนกลายเป็นประเพณีอันหนึ่งของไทยไปโดยปริยาย
  ต่อมาเมื่อประมาณ 20ปีก่อน ได้เปลี่ยนมาเป็นเปิดเพลงสรรเสริญก่อนหนังฉาย ระหว่างที่
ยืนเพื่อแสดงความเคารพต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังได้ชมภาพพระกรณียกิจต่างๆของ
พระองค์ควบคู่ไปด้วย ผมไม่เห็นว่ามันจะเป็นเรื่องที่ยากเย็นอะไรนักหนา
  ยกเว้นเสียแต่พวกที่มันไม่อยากให้ประเทศไทยมีสถาบันกษัตริย์เท่านั้นแหละครับ ที่คิดว่าการไม่ยืน
เป็นสิทธิอันชอบธรรมของมัน


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 11:57


อย่างอเมริกา กฏหมายยุบยับผมก็เบื่อครับ แต่มันมากพื้นฐานประเทศเขามันมีพวกร้อยพ่อพันแม่เยอะ :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 12:00

ข้อความที่ผมเอามาแปะให้อ่าน ผมไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทั้งหมด

ก็ให้ศึกษาถกเถียงกันไป
แล้วความคิดเห็นของคุณตอนนี้... สิทธิมนุษยชน ที่ยูเอ็นเขียนไว้มันถูกหรือเปล่าครับ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 12:01


ก็ว่ากันไปครับโรงมหรสพ จะเปิดเพลงหรือไม่อย่างไร? ที่ใดบ้าง?


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-05-2008, 12:02
ก็บอกแล้วไง หากเบื่อกฎหมาย ก็รวบรวมประชาชน 20,000 ชื่อ ร่างกฎหมายใหม่เข้าไปให้สภาแก้ไข

ผลจะเป็นยังไงก็ต้องยอมรับ เพราะเราปฏิเสธกฎหมายไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ว่ากฎหมายให้กระทำหรือกฎหมายห้ามกระทำ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 12:03
แล้วความคิดเห็นของคุณตอนนี้... สิทธิมนุษยชน ที่ยูเอ็นเขียนไว้มันถูกหรือเปล่าครับ

สถานะตอนนี้ประเทศไทยรับเป็นส่วนหนึ่ง แล้วคุณต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-05-2008, 12:05
หากคิดว่ากฎหมายใดละเมิดสิทธิ์ฯ ก็เสนอเรื่องเข้ากรรมการสิทธิมนุษยชนเพื่อพิจารณาได้นี่ครับ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 12:07
หากคิดว่ากฎหมายใดละเมิดสิทธิ์ฯ ก็เสนอเรื่องเข้ากรรมการสิทธิมนุษยชนเพื่อพิจารณาได้นี่ครับ

ก็เห็นด้วยครับ ว่ากันตามกลไกต่างๆที่มีอยู่ทุกฝ่าย


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 12:11
คุณต่างหากเล่าต้องถามตัวคุณเอง...เพราะสิทธิที่คุณมีอยู่ในประเทศไทย...มันมีมากว่าอยู่ที่สหรัฐอีกนะ... แล้วผมจะไปเรียกร้องให้สิทธิของคุณน้อยลง
เพื่ออะไรครับ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไ
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 10-05-2008, 12:11
เชื่อหรือไม่ หากนำเรื่องนี้เสนอเข้าไป
ก็จะถูกถีบออกมาเร็วพอๆกับโชติศักดิ์โดนไล่ออกจากโรงหนังนั่นแหละ
 :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-05-2008, 12:14
พูดง่าย ๆ หากคุณเกลียดทหารแล้วคุณไม่ยอมไปเกณฑ์ทหาร

พอเค้าเอาเรื่องคุณเป็นคดีความเพื่อลงโทษตามกฎหมาย คุณจะไปอ้างแบบนี้ในศาล...มันใช้ได้มั๊ย

พูดง่ายๆ โดยความเชื่อของคุณ คุณมีสิทธิ์เกลียดทหาร

แต่เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องเกี่ยวข้องกับทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ คุณก็ต้องทำตามกฎหมายนั้นนั้น

( ผมไม่แน่ใจ โทษหนีทหารมียังไงบ้าง )


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 12:20


อยากจะพูดถึงบทลงโทษพอดี คือใครต้องการเพิ่มโทษลดโทษต่างๆ ก็แสดงความเห็นหรือสามารถเรียกร้องใด้

คงไม่ต้องใช้วิธีพาดพิงส่อเสียด  หรืออะไรที่มันไม่เหมาะสม


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 12:24



กฏหมายที่สำคัญก็ใช้การรณรงค์และประชามติประกอบด้วย

แต่ถ้าไม่ยอมรับกฏหมายที่ผ่านประชามติ คงต้องออกจากประเทศไทยไป

ส่วนกฏบัตรสหประชาชาติ ประเทศไทยคงละเลยไม่สนใจไม่ได้เหมือนกัน


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 12:33
คุณไม่เคยเห็นข่าวชาวอพยพในสหรัฐถูกส่งกลับบ้านเกิดเมืองนอนเพราะไม่ยอมรับและไม่เคารพกฏหมายของสหรัฐเหรอครับ... ดีนะที่เค้าเชิญกลับจ่าย
ค่าตั๋วเครื่องบินให้พร้อม ถ้าเนรเทศนี่สงสัยคงต้องได้เดินกลับหรือเปล่าครับ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 10-05-2008, 12:33
นอกจากจะเป็นกฎจารีตแล้วก็ยังเป็นกฎหมายด้วย
แต่คนไม่ค่อยสนใจกฎหมายเรื่องนี้ เพราะกฎจารีตมันมีอยู่แล้ว
เหมือนการเข้าคิว มารยาท การขอโทษ ขอบคุณ
คุณไม่ทำก็ได้ แต่คุณก็ไม่มีสิทธิจะห้ามคนอื่นด่าคุณ
เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เพราะคุณละเมิดธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมเอง


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 12:38



ผมว่าความเสมอภาคของประชาชน ก็เป็นสิ่งที่ดี

คงไม่มีใครมีสิทธิมากกว่าใครในบาทบาทสถานะ หน้าที่เดียวกัน



หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 12:43


โดยส่วนตัว ผมคิดว่า สังคมไทยต้องเปลี่ยนแปลงคือ

ต้องชำระกฏหมายให้เหมาะสม แล้วก็ต้องเคารพกฏหมายกันมากกว่านี้


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไ
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 10-05-2008, 12:45
นอกจากจะเป็นกฎจารีตแล้วก็ยังเป็นกฎหมายด้วย
แต่คนไม่ค่อยสนใจกฎหมายเรื่องนี้ เพราะกฎจารีตมันมีอยู่แล้ว
เหมือนการเข้าคิว มารยาท การขอโทษ ขอบคุณ
คุณไม่ทำก็ได้ แต่คุณก็ไม่มีสิทธิจะห้ามคนอื่นด่าคุณ
เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เพราะคุณละเมิดธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมเอง

 :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-05-2008, 12:47
ในเรื่อง"สิทธิ์" ลองเปิดรัฐธรรมนูญมาตรา 28 ดูนะครับ

บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิ์และเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ์และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิ์หรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นต่อสู้ทางศาลได้...


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 10-05-2008, 12:48


ผมว่าความเสมอภาคของประชาชน ก็เป็นสิ่งที่ดี

คงไม่มีใครมีสิทธิมากกว่าใครในบาทบาทสถานะ หน้าที่เดียวกัน



เรื่องความเสมอภาค มีเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ
ซึ่งนายโชติศักดิ์ก็มีสิทธิแย้งได้ว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ

ส่วนศาลจะตัดสินอย่างไร ก็ขอให้เคารพด้วย


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 12:53
เรื่องความเสมอภาค มีเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ
ซึ่งนายโชติศักดิ์ก็มีสิทธิแย้งได้ว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ

ส่วนศาลจะตัดสินอย่างไร ก็ขอให้เคารพด้วย

ก็เป็นเรื่องที่โชติศักดิ์และคู่กรณ๊ต้องไปต่อสู้ และทุกคนต้องเคารพกฏเกณฑ์ของสังคมอย่างเท่าเทียม


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 12:55

โดยส่วนตัว ผมคิดว่า สังคมไทยต้องเปลี่ยนแปลงคือ

ต้องชำระกฏหมายให้เหมาะสม แล้วก็ต้องเคารพกฏหมายกันมากกว่านี้

ฝากประเด็นนี้ลงในรายละเอียดด้วยครับ

แต่พูดตามตรง ระบบการสอบสวน การทำสำนวนของเจ้าหน้าที่ไทย ยังใช้ได้ไม่ดี


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 10-05-2008, 13:14
มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาอยู่แล้ว เรื่องนี้ง่ายมากครับ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: northstar ที่ 10-05-2008, 13:22
ก็เป็นเรื่องที่โชติศักดิ์และคู่กรณ๊ต้องไปต่อสู้ และทุกคนต้องเคารพกฏเกณฑ์ของสังคมอย่างเท่าเทียม
อ้าว... แล้วหงัยมาเรียกให้เคารพกฏเกณฑ์ของในตอนนี้หล่ะ แล้วตอนที่โชติศักดิ์ทำ...หงัยมันไม่เคารพบ้าง แบบนี้เค้าเรียกว่า
ไม่เห็นโรงศพ-ไม่หลั่งน้ำตา หรือเปล่า


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 10-05-2008, 13:24

อ้าว... แล้วหงัยมาเรียกให้เคารพกฏเกณฑ์ของในตอนนี้หล่ะ แล้วตอนที่โชติศักดิ์ทำ...หงัยมันไม่เคารพบ้าง แบบนี้เค้าเรียกว่า
ไม่เห็นโรงศพ-ไม่หลั่งน้ำตา หรือเปล่า

ไปที่เว็บที่โชติศักดิ์เขาอยู่สิครับ ที่นี่ผมคงสนใจแค่เรื่องของทุกคนคงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของใคร

อีกอย่างก็เห็นเขามาตาม แต่ผมคงไม่ตามไปด้วยหรอกครับ


หัวข้อ: Re: ขอให้ช่วยยืนยันหน่อยครับว่าการยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯคือประเพณีของสังคมไ
เริ่มหัวข้อโดย: kontammada ที่ 10-05-2008, 13:31
คิดว่า มันเป็นการปลูกฝังให้เราทำดดยเป็นความเชื่อที่ไร้เหตุแห่งความจริง