ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ********Q******** ที่ 19-03-2008, 02:12



หัวข้อ: สถานการเศรษฐกิจ การเงิน ของสหรัฐ ยุโรป เอเชียและอื่นๆ จะเป็นอย่างไรต่อไป..?
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-03-2008, 02:12
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 มีนาคม 2551 01:16 น.
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9510000033124
 
 
ประธานไอเอ็มเอฟ  
 
 
       เอเอฟพี - องค์การระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจระดับท็อปของโลก เมื่อวันจันทร์ (17) ต่างประสานเสียงกันเตือนภัยวิกฤตระบบการเงิน จะส่งผลลุกลามกว้างขวาง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ชี้อันตรายที่จะเกิดอัตราเติบโตชะงักงันพร้อมๆ กับภาวะเงินเฟ้อ พร้อมหนุนมาตรการเร่งรักษาเสถียรภาพของตลาด ขณะที่ธนาคารโลกก็ยืนยัน เศรษฐกิจโตเร็วของเอเชียจะถูกกระทบด้วยแน่นอน
       
        เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ลงมือประกาศมาตรการเร่งด่วนฉุกเฉินในคืนวันอาทิตย์ (16) เพื่อประคับประคองให้ระบบการเงินการธนาคารของสหรัฐฯ ไม่ขาดแคลนสภาพคล่อง ทางด้าน โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟก็ออกมากล่าวเตือนว่า เศรษฐกิจของโลก กำลังอยู่ในภาวะ "ชะลอตัวลงอย่างสำคัญ" และทางไอเอ็มเอฟก็จะต้องหั่นลดคำพยากรณ์อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจลงอีก
       
        "เห็นชัดเจนว่าวิกฤตตลาดการเงินที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ มีความร้ายแรงยิ่งกว่าและครอบคลุมไปทั่วโลกมากกว่าเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน" สเตราส์คานห์กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวที่กรุงปารีส พร้อมกับเตือนว่า มีความเป็นไปได้ที่อันตรายจากวิกฤตจะเพิ่มมากขึ้นอีก โดยที่เขาคาดหมายว่าวิกฤตครั้งนี้จะยืดเยื้อ ส่งผลเสียหายหนักหน่วง อีกทั้งยังจะแผ่ลามไปสู่บรรดาเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ด้วย
       
        "ในเวลานี้เรื่องที่มีลำดับความสำคัญมากที่สุดสำหรับพวกรัฐบาลในยุโรป ควรจะเป็นเรื่องการควบคุมจำกัดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่จะมาจากวิกฤตตลาดการเงิน" เขากล่าว "เรื่องนี้เป็นเรื่องยาก เพราะเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ทั้งภาวะเงินเฟ้อและภาวะการเติบโตถดถอย อาจจะเป็นปัญหาได้ทั้งคู่" 
     
        แต่บิ๊กบอสไอเอ็มเอฟก็มองแง่ดีต่อการแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องในระบบการเงินของพวกธนาคารกลางทั้งหลาย และเขาบอกว่า "ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะไปเชื่อว่าพวกเขาจะไม่สามารถ" แก้ปัญหาได้ดีต่อไปอีกในสัปดาห์ถัดๆ จากนี้ไป
       
        ทางด้าน อังเคล กูร์เรีย เลขาธิการโออีซีดี กล่าวในการแถลงข่าวร่วมเวทีเดียวกันกับสเตราส์-คาห์น โดยย้ำว่า สิ่งสำคัญลำดับต้นๆ คือต้องรักษาเสถียรภาพของระบบ โดยจำเป็นจะต้องส่งสัญญาณให้เกิดความมั่นใจ ดังเช่น การเข้ากอบกู้ช่วยเหลือธนาคารนอร์ทเทิร์นร็อก ของทางการอังกฤษ และการช่วยเหลือวาณิชธนกิจ แบร์สเติร์นส์ ของทางการสหรัฐฯ 
     
        ขณะที่ รอเบิร์ต เซลลิก ประธานธนาคารโลก กล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศในนครเจนีวาว่า ไม่มีประเทศไหนจะสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินที่กำลังเกิดขึ้นได้ และเขาไม่เชื่อในทฤษฎีที่ว่าพวกเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียเวลานี้ สามารถที่จะเติบโตชนิด "แยกขาด" จากโลกตะวันตกได้   
   
        เขาชี้ด้วยว่า ภาวะสินเชื่อตึงตัวซึ่งมีชนวนเหตุจากวิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ กำลังทำให้พวกประเทศตลาดเกิดใหม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้นในการกู้ยืมเงินหรือออกตราสารหนี้ รวมทั้งจะกู้ยืมเงินได้น้อยลงกว่าที่ปรารถนาด้วย
 


หัวข้อ: เฟดมีมติหั่นดอกเบี้ยลงอีก 0.75%
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-03-2008, 02:14


เฟดมีมติหั่นดอกเบี้ยลงอีก 0.75%
http://www.manager.co.th/Lite/ViewNews.aspx?NewsID=9510000033129
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 มีนาคม 2551 01:33 น.
 
 
       ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.75 เปอร์เซ็นต์หลังการประชุมเฟดเสร็จสิ้นลงเมื่อวันอังคาร (18) ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนระหว่างธนาคารลดลงมาอยู่ที่ 2.25 เปอร์เซ็นต์
       
       ทั้งนี้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในครั้งนี้มีขึ้นหลังสหรัฐฯ กำลังประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งเกิดปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์)
 
 


หัวข้อ: โครงการเมกะ โปรเจ็กท์ระดับร่วมทุนกับนานาชาติ ควรถูกนำขึ้นมาพิจารณา
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-03-2008, 02:31


จะเป็นรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การขุดคอคอดกระ

ต้อองนำวางให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เรื่องคอร์รัปชั่นก็ให้มีคณะกรรมการระดับชาติโดยเฉพาะ

ตรวจสอบเชื่อมโยงกับการฟอกเงิน และการถือครองหุ้นของนักการเมืองและข้าราชการโดยตรง ตลอดโครงการ


หัวข้อ: Re: โครงการเมกะ โปรเจ็กท์ระดับร่วมทุนกับนานาชาติ ควรถูกนำขึ้นมาพิจารณา
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 22-03-2008, 04:58

จะเป็นรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การขุดคอคอดกระ

ต้องนำวางแผนให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เรื่องคอร์รัปชั่นก็ให้มีคณะกรรมการระดับชาติโดยเฉพาะ

ตรวจสอบเชื่อมโยงกับการฟอกเงิน และการถือครองหุ้นของนักการเมืองและข้าราชการโดยตรง ตลอดโครงการ

เข้าใจว่าเรื่องซับไพร์ม จะมีการอัดฉีดเงินจำนวนสองแสนล้านเหรียญตามข่าว

ยังไม่น่าวิตกตอนนี้...ไทยเราควรสนใจวางอนาคตทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดี :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: สถานการเศรษฐกิจ การเงิน ของสหรัฐ ยุโรป เอเชียและอื่นๆ จะเป็นอย่างไรต่อไป..?
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 23-03-2008, 01:33


เงินทองของบาดใจ พวกพอมีเงินจากการค้าขายนำเข้าส่งออก

ก็คงปวดหัวลุ้นไม่ใคร่ออก ตราบเท่าที่ไม่มีสภาพคล่องในการถือเงินสกุลต่างๆ


รัฐบาลสหรัฐเองก็ไม่สะเทือนมาก เพราะยังมีเครื่องมือต่างๆอีกมากมายพอเพียง

ประชาชนก็คงได้รับผลกระทบบ้าง ก็เป็นความเห็นส่วนตัวครับ


หัวข้อ: Re: สถานการเศรษฐกิจ การเงิน ของสหรัฐ ยุโรป เอเชียและอื่นๆ จะเป็นอย่างไรต่อไป..?
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 23-03-2008, 01:54

สำหรับระดับประเทศไทย ผมเชื่อเรื่องการอิงปัจจัยพื้นฐานมากกว่าปัจจัยเทคนิค

ก็อยากให้พ่อค้าไทย ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อมเพื่อคนไทยครับ

ส่วนใครจะไปเล่นตลาดเงิน ก็ไปเล่นที่ตลาดเละเงินต่างประเทศละกัน เพราะตลาดเขาใหญ่ดี ได้เสียก็คงไม่ต่างกันมาก


อย่าให้บาทแข็งมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆก็ดีครับ จะได้ไม่มีใครอยากมาทุบ  


หัวข้อ: Re: สถานการเศรษฐกิจ การเงิน ของสหรัฐ ยุโรป เอเชียและอื่นๆ จะเป็นอย่างไรต่อไป..?
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 23-03-2008, 01:58
ผลกระทบของไทยในเรื่องซับไพร์มมีน้อยมาก

เพียงแต่ตอนนี้ เราต้องดูแลการไหลเข้าของการเก็งกำไรค่าเงินจาการยกเลิกมาตราการ 30 %

การแข็งค่าของเงินบาทจากส่วนต่างของดอกเบี้ยสหรัฐ ที่ต่างกัน 1 %

ตรงนี้หากรัฐบาลไม่รอบคอบพอ ก็รอชิม ต้มยำกุ้งดีซีส รอบใหม่แล้วกัน


หัวข้อ: Re: สถานการเศรษฐกิจ การเงิน ของสหรัฐ ยุโรป เอเชียและอื่นๆ จะเป็นอย่างไรต่อไป..?
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 26-03-2008, 06:02


เศรษฐกิจสหรัฐฯออกอาการเรื้อรังเหมือนเดิม รอดูว่าประธานาธิบดีใหม่เป็นใคร? พรรคไหน? ต่อจากบุชน้อย

สงสัยต้องลุ้นกันอีกเป็นสิบๆปี... :slime_fighto: