ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: pornchokchai ที่ 14-03-2008, 21:01



หัวข้อ: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: pornchokchai ที่ 14-03-2008, 21:01
บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

โสภณ พรโชคชัย
14 มีนาคม 2551

เช้านี้ผมได้อ่านการตอบโต้ของคุณรสนา โตสิตระกูล (สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง) ต่อคำวิจารณ์ของ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล (คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์) เห็นว่า ข้อมูลที่คุณรสนา ชี้แจง ซึ่งถือเป็นประเด็นหลักในการตอบโต้ อาจมีความคลาดเคลื่อน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ จึงขออนุญาตแสดงความเห็น เผื่อจะได้มองให้กว้างดังเจตนารมณ์ของคุณรสนาเอง

1. ที่ว่า กฟผ.มีสินทรัพย์มูลค่าสุทธิสูงถึง 3.8 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลพยายามขายทรัพย์สินเหล่านี้ผ่านการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าเพียง 20,000 ล้านบาท ข้อมูลนี้อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกโกรธทันทีว่าทำไมรัฐบาลจึงแย่ขนาดนี้ แต่หากคิดให้ดี ๆ จะเป็นไปได้หรือที่รัฐบาลจะโง่หรือกล้าทำร้ายชาติได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นข้อกล่าวหาที่มีมูลความจริงหรือ คุณทำให้คนเข้าใจว่าคุณรักชาติมากกว่าทักษิณ ชวน ชวลิต และอีกหลายท่านที่รับผิดชอบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาโดยตลอดหรือ

2. ที่ว่า “ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างรีบเร่ง . . . คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ท่อส่งก๊าซ ยังคงเป็นสมบัติของรัฐ . . . รัฐบาลทักษิณ ยกเลิกมติ ครม.นี้ ทำให้ ปตท.ได้ครอบครองทรัพย์สมบัติของชาติ . . . นี่คือ การขโมยในรูปแบบหนึ่ง” คุณฟ้องศาลให้ยกเลิกการแปรรูปของ ปตท. แต่เดชะบุญ ศาลไม่ได้พิพากษาตามคำฟ้อง แต่สั่งให้แบ่งแยกสมบัติให้ถูกต้อง เรื่องนี้ไม่มีใครต้องคำพิพากษาว่า “ขโมย” เลย

3. ที่ว่า “ในการต่อสู้คดีคอร์รัปชันทางนโยบาย ดิฉันไม่เคยใช้การประท้วงบนท้องถนน มีแต่พึ่งพาศาลยุติธรรม” แต่คุณก็ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ แจกใบปลิว เคยให้สัมภาษณ์ส่งเสริมการเดินขบวน ประชุมกับแกนนำเดินขบวน และขบวนการที่ร่วมกันเรียกร้องก็ได้ก่อม็อบจนเหตุการณ์บานปลายก็มี

4. ที่ว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ นักการธนาคารที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง ได้กล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ตลาดหุ้น และอนาคตของชาติไม่ได้ขึ้นอยู่แต่กับ จีดีพีเท่านั้น” คุณอ้างอิงบุคคลเพียงคนเดียวมาโต้แย้งได้อย่างไร คุณจะว่าอย่างไรถ้าผมกลับเชื่อว่านักการธนาคารที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่อาจเห็นต่างจากคุณ

5. คุณไม่ควรยกเอาคำพูดบางคำของคุณพ่อของ ม.ล.ณัฐกรณ์ หรือของ ดร.ป๋วย มาอ้างอิงการกระทำของคุณ เพราะเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระ แต่แสดงให้สังคมเห็นว่า คุณใช้กลเม็ดอ้างอิงบุคคลสำคัญเพื่อเข้าข้างตัวเอง

6. คุณกล่าวถึง “การกระจายความมั่งคั่งให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า 70% ที่เป็นคนยากจน” นี่คงเป็นเรื่องพ้นสมัยไปแล้ว ประชาชนไทยที่ยากจนจริง ๆ มีเพียง 10% เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนจนมาตั้ง 20 ปีแล้ว คุณคงอ้างอิงผิดเวลาไป 50 ปี หรือยังมีมโนภาพแบบ 50 ปีก่อนที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ยากจน

7. ที่ว่า “เราไม่ควรพูดถึงประเทศอื่นในทางดูถูกเหยียดหยาม” หรือ “ดิฉันมีสิทธิที่จะปกป้องชื่อเสียงของตัวเอง โดยการฟ้องคุณในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ดิฉันเป็นคนไทยที่ได้รับการอบรมสั่งสอนด้วยคำสอนของขงจื๊อ ดิฉันระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษของคุณ . . . ” ข้อนี้แสดงตัวตนของคุณในหลายแง่มุม เช่น การเป็นคนมีมธุรสวาจา ฉลาดที่รู้จักยกตนและเอาคืน และเป็นปุถุชนที่มีโทสะที่อยู่เบื้องลึกโดยไม่ละวางให้อภัย

การที่คุณได้รับเลือกตั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้มีสิทธิออกเสียงในกรุงเทพมหานครเห็นด้วยกับคุณ สมัครก็ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการที่มีคะแนนสูงสุด นิติภูมิก็เคยได้รับเลือกเป็น สว. ด้วยคะแนนสูงสุด แสดงว่าการสร้างภาพมีประสิทธิผลสูงมากในการได้คะแนน ถ้านิติภูมิที่ภาพลักษณ์ไม่ถูกทำลายและลงสมัคร สว. ได้ คุณก็คงไม่ได้รับเลือก

โดยสรุปแล้ว ผมเห็นว่าดีครับที่มีการวิวาทะระหว่างคุณกับ มล. ณัฐกรณ์ ไม่ใช่ดีในประเด็นการทะเลาะกัน หรือไม่ใช่ดีที่ได้เห็นการห้ำหั่นอย่างมีศิลปะที่มีเปลือกนอกเป็นสุภาพชน แต่ดีในการที่ประชาชนจะได้เห็นและมีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ เพื่อร่วมกันส่งเสริมให้เกิด “สังคมอุดมปัญญา” และไม่มืดบอด ด้วยการตรวจสอบตรรกะและแนวคิดโดยไม่ติดกับการสร้างภาพหรือการพูดความจริงเพียงบางส่วน


อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
หมัดต่อหมัด ปลื้ม VS รสนา วิวาทะว่าด้วย ส.ว. คนกรุงเทพฯ ทำแทนคนกรุงเทพฯ ไม่ได้
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 14-03-2008, 21:51
โต้เค้าก็ไม่เห็นมีข้อมูลอะไรมาชี้แจงเลยเนอะ
ขอสองข้อสุดท้ายแล้วกัน

6. คุณกล่าวถึง “การกระจายความมั่งคั่งให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า 70% ที่เป็นคนยากจน” นี่คงเป็นเรื่องพ้นสมัยไปแล้ว ประชาชนไทยที่ยากจนจริง ๆ มีเพียง 10% เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนจนมาตั้ง 20 ปีแล้ว คุณคงอ้างอิงผิดเวลาไป 50 ปี หรือยังมีมโนภาพแบบ 50 ปีก่อนที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ยากจน

จริงหรอครับนี่คนจนในประเทศตอนนี้มีแค่ 10 %  แต่เห็นข่าวยิงกันตายเพราะไม่ยอมใช้หนี้กันแทบทุกวัน

7. ที่ว่า “เราไม่ควรพูดถึงประเทศอื่นในทางดูถูกเหยียดหยาม” หรือ “ดิฉันมีสิทธิที่จะปกป้องชื่อเสียงของตัวเอง โดยการฟ้องคุณในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ดิฉันเป็นคนไทยที่ได้รับการอบรมสั่งสอนด้วยคำสอนของขงจื๊อ ดิฉันระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษของคุณ . . . ” ข้อนี้แสดงตัวตนของคุณในหลายแง่มุม เช่น การเป็นคนมีมธุรสวาจา ฉลาดที่รู้จักยกตนและเอาคืน และเป็นปุถุชนที่มีโทสะที่อยู่เบื้องลึกโดยไม่ละวางให้อภัย

การที่คุณได้รับเลือกตั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้มีสิทธิออกเสียงในกรุงเทพมหานครเห็นด้วยกับคุณ สมัครก็ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการที่มีคะแนนสูงสุด นิติภูมิก็เคยได้รับเลือกเป็น สว. ด้วยคะแนนสูงสุด แสดงว่าการสร้างภาพมีประสิทธิผลสูงมากในการได้คะแนน ถ้านิติภูมิที่ภาพลักษณ์ไม่ถูกทำลายและลงสมัคร สว. ได้ คุณก็คงไม่ได้รับเลือก
โดยสรุปแล้ว ผมเห็นว่าดีครับที่มีการวิวาทะระหว่างคุณกับ มล. ณัฐกรณ์ ไม่ใช่ดีในประเด็นการทะเลาะกัน หรือไม่ใช่ดีที่ได้เห็นการห้ำหั่นอย่างมีศิลปะที่มีเปลือกนอกเป็นสุภาพชน แต่ดีในการที่ประชาชนจะได้เห็นและมีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ เพื่อร่วมกันส่งเสริมให้เกิด “สังคมอุดมปัญญา” และไม่มืดบอด ด้วยการตรวจสอบตรรกะและแนวคิดโดยไม่ติดกับการสร้างภาพหรือการพูดความจริงเพียงบางส่วน

คนเขียนมันต๊องป่าววะ  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 14-03-2008, 22:24
บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

โสภณ พรโชคชัย
14 มีนาคม 2551

เช้านี้ผมได้อ่านการตอบโต้ของคุณรสนา โตสิตระกูล (สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง) ต่อคำวิจารณ์ของ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล (คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์) เห็นว่า ข้อมูลที่คุณรสนา ชี้แจง ซึ่งถือเป็นประเด็นหลักในการตอบโต้ อาจมีความคลาดเคลื่อน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ จึงขออนุญาตแสดงความเห็น เผื่อจะได้มองให้กว้างดังเจตนารมณ์ของคุณรสนาเอง

1. ที่ว่า กฟผ.มีสินทรัพย์มูลค่าสุทธิสูงถึง 3.8 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลพยายามขายทรัพย์สินเหล่านี้ผ่านการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าเพียง 20,000 ล้านบาท ข้อมูลนี้อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกโกรธทันทีว่าทำไมรัฐบาลจึงแย่ขนาดนี้ แต่หากคิดให้ดี ๆ จะเป็นไปได้หรือที่รัฐบาลจะโง่หรือกล้าทำร้ายชาติได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นข้อกล่าวหาที่มีมูลความจริงหรือ คุณทำให้คนเข้าใจว่าคุณรักชาติมากกว่าทักษิณ ชวน ชวลิต และอีกหลายท่านที่รับผิดชอบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาโดยตลอดหรือ

http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

คนเขียน ต๊องหรือไม่ ผมคงไม่ทราบ แต่ประเด็นคนเขียน เราต้องไล่ดูทีล่ะข้อ ๆ ไป และเข้าใจว่า ต้นตระกูล พรโชคชัย มาแปะกระทู้ด้วยตนเอง

ข้อแรก การแปรสภาพ รัฐวิสาหกิจ โดยที่รัฐถือครองอยู่โดยมากกว่ากึ่งหนึ่ง และ นักการเมืองกระหายเงิน ก็ไปเข้าถือครองอีกส่วนหนึ่ง

คือการแบ่งทรัพย์สินที่เป็นของรัฐ ตีมูลค่าในราคาถูก ๆ แต่ชาวบ้านซื้อยาก เพื่อไปเอากำไรเข้ากระเป๋านักการเมืองเอาข้างหน้า ? อย่างนี้ถือว่าพวกปล้นชาติได้หรือไม่


ถ้าเรื่องหุ้นที่ผูกขาด ตีราคาพาร์ละ สิบบาท

ไปดูปตท. ไม่ทราบว่า หุ้นไปถึงกี่เท่า ของราคาพาร์

เช่นเดียวกัน การไฟฟ้า ทั้งเรื่องสายส่ง จะตีราคาอย่างไร และการเวนคืนที่ของประชาชนโดย เวนคืนการรอนสิทธิ ซึ่งมิใช่ราคาเต็ม แต่ห้ามไปใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ตามข้อกำหนด


สามแสนแปด กะสองหมื่น บอกให้ คนเขียนคิดเอาง่าย ๆ ว่าถ้าพาร์สิบบาท หุ้นก็แค่ ร้อยเก้าสิบบาท  ถือว่าชิว ๆ มาก


ตีราคาถูกใว้ก่อน ส่วนที่เหลือเอาไปแบ่งกันน่ะรึ 


ไอ้ควาย


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: democrazy ที่ 14-03-2008, 22:32
ไม่ได้มีข้อมูลและสาระอะไรในความคิดเห็น 7 ข้อของคุณเลยนะครับ มีแต่แถเข้าว่า

อยากเกาะกระแสดังหรือครับ :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 14-03-2008, 22:37
บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

โสภณ พรโชคชัย
14 มีนาคม 2551

เช้านี้ผมได้อ่านการตอบโต้ของคุณรสนา โตสิตระกูล (สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง) ต่อคำวิจารณ์ของ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล (คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์) เห็นว่า ข้อมูลที่คุณรสนา ชี้แจง ซึ่งถือเป็นประเด็นหลักในการตอบโต้ อาจมีความคลาดเคลื่อน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ จึงขออนุญาตแสดงความเห็น เผื่อจะได้มองให้กว้างดังเจตนารมณ์ของคุณรสนาเอง



2. ที่ว่า “ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างรีบเร่ง . . . คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ท่อส่งก๊าซ ยังคงเป็นสมบัติของรัฐ . . . รัฐบาลทักษิณ ยกเลิกมติ ครม.นี้ ทำให้ ปตท.ได้ครอบครองทรัพย์สมบัติของชาติ . . . นี่คือ การขโมยในรูปแบบหนึ่ง” คุณฟ้องศาลให้ยกเลิกการแปรรูปของ ปตท. แต่เดชะบุญ ศาลไม่ได้พิพากษาตามคำฟ้อง แต่สั่งให้แบ่งแยกสมบัติให้ถูกต้อง เรื่องนี้ไม่มีใครต้องคำพิพากษาว่า “ขโมย” เลย




อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
หมัดต่อหมัด ปลื้ม VS รสนา วิวาทะว่าด้วย ส.ว. คนกรุงเทพฯ ทำแทนคนกรุงเทพฯ ไม่ได้
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491


เรื่องท่อก๊าซ  รัฐเอาคืนมาแล้ว ส่วนใครขโมยไป หรือไม่ ไม่ทราบ  แต่มีแน่ ไม่งั้นจะตามคืนจากโจรได้รึ  :slime_doubt:

มันคงอิ่มหมีพีมันไปแล้วละตอนนั้น

จ่ายค่าเช่ามา มิใช่เอาไปใช้ฟรี ๆ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 14-03-2008, 22:43
1. ที่ว่า กฟผ.มีสินทรัพย์มูลค่าสุทธิสูงถึง 3.8 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลพยายามขายทรัพย์สินเหล่านี้ผ่านการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าเพียง 20,000 ล้านบาท ข้อมูลนี้อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกโกรธทันทีว่าทำไมรัฐบาลจึงแย่ขนาดนี้ แต่หากคิดให้ดี ๆ จะเป็นไปได้หรือที่รัฐบาลจะโง่หรือกล้าทำร้ายชาติได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นข้อกล่าวหาที่มีมูลความจริงหรือ คุณทำให้คนเข้าใจว่าคุณรักชาติมากกว่าทักษิณ ชวน ชวลิต และอีกหลายท่านที่รับผิดชอบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาโดยตลอดหรือ

ตอบ - โรงไฟฟ้าของกฟผ. มีทั้งหมด 20 กว่าโรง มีทั้งโรงไฟฟ้าแบบ Combined Cycle แบบ Thermal และแบบ Hydro ยังไม่รวมสายส่งและสถานีไฟฟ้าที่มีอยู่กว่า 300 สถานีทั่วประเทศ

ระบบสายส่งมีทั้ง 500 KV , 230 KV และ 22 KV อีกบางส่วน รวมทั้งยังมีระบบสาย Fiber Optic และอุปกรณ์สื่อสารทั้งแบบ SDH และ PLC ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ยังไม่รวมที่ดิน สิ่งก่อสร้างอีกมูลค่ามหาศาล และยังไม่รวมบุคคลากร, Credit Line, Branding เข้าไปด้วยนะ

คนฉลาดและขายชาติต่างหากครับ ที่จะเอาทรัพย์สินมากขนาดนี้ ไปเข้าตลาดด้วยราคาแค่ 20,000 ล้าน เพื่อให้พวกตัวเองเข้าไปโกยหุ้น ก่อนจะปล่อยต่อในราคาสูงลิบ กินส่วนต่างของกำไร สบายพุง

ส่วนขายไปแล้วหุ้นจะไปอยู่ในมือของสิงคโปร์ จีน หรือชาติอื่น ๆ พวกมันก็คงไม่สนหรอกครับ เพราะถึงเวลานั้นก็หอบครอบครัวไปเสวยสุขที่อังกฤษหมดแล้ว

แปรรูปแล้วผลประโยชน์ตกกับคนทั้งประเทศ จะไม่ห้ามเลยสักคำ แต่นี่ก็อีหรอบเดียวกับ ปตท. นั่นแหละ หุ้นไปอยู่กับนายทุนหมด

แล้วอย่ามาอ้างนะครับ ว่าถ้า กฟผ. จะระดมทุนขยายกิจการได้ยากถ้าไม่แปรรูป เพราะขนาดอยู่เฉย ๆ ยังมีธนาคารทั้งในและนอกประเทศวิ่งเข้ามาแย่งให้กู้เงินจนหัวกระไดไม่แห้ง

2. ที่ว่า “ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างรีบเร่ง . . . คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ท่อส่งก๊าซ ยังคงเป็นสมบัติของรัฐ . . . รัฐบาลทักษิณ ยกเลิกมติ ครม.นี้ ทำให้ ปตท.ได้ครอบครองทรัพย์สมบัติของชาติ . . . นี่คือ การขโมยในรูปแบบหนึ่ง” คุณฟ้องศาลให้ยกเลิกการแปรรูปของ ปตท. แต่เดชะบุญ ศาลไม่ได้พิพากษาตามคำฟ้อง แต่สั่งให้แบ่งแยกสมบัติให้ถูกต้อง เรื่องนี้ไม่มีใครต้องคำพิพากษาว่า “ขโมย” เลย

ตอบ - ไม่ได้ฟ้องศาลข้อหาลักทรัพย์นี่ครับ ศาลจะได้ตัดสินว่าจำเลยขโมยหรือเปล่า  

3. ที่ว่า “ในการต่อสู้คดีคอร์รัปชันทางนโยบาย ดิฉันไม่เคยใช้การประท้วงบนท้องถนน มีแต่พึ่งพาศาลยุติธรรม” แต่คุณก็ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ แจกใบปลิว เคยให้สัมภาษณ์ส่งเสริมการเดินขบวน ประชุมกับแกนนำเดินขบวน และขบวนการที่ร่วมกันเรียกร้องก็ได้ก่อม็อบจนเหตุการณ์บานปลายก็มี


ตอบ - รสนาส่งเรื่องให้ศาลพิจารณาและตัดสินครับ ไม่ได้ยกพวกไปพังบ้านป๋าแบบ นปก. อันนั้นมันแก้ปัญหาแบบคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ครับ

4. ที่ว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ นักการธนาคารที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง ได้กล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ตลาดหุ้น และอนาคตของชาติไม่ได้ขึ้นอยู่แต่กับ จีดีพีเท่านั้น” คุณอ้างอิงบุคคลเพียงคนเดียวมาโต้แย้งได้อย่างไร คุณจะว่าอย่างไรถ้าผมกลับเชื่อว่านักการธนาคารที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่อาจเห็นต่างจากคุณ

ตอบ - ใครจะพูดยังไงก็ได้ครับ สำคัญที่ว่าจะยกคำพูดของใครมาประกอบคำโต้แย้ง คุณโสภณลองยกคำพูดของนักการธนาคารที่มีความเห็นต่างจากรสนามาประกอบซักคนซิครับ

คำพูดของคนคนเดียว ถ้าเป็นคำพูดที่ถูกต้อง ย่อมมีค่ากว่าคำพูดของคนโกหกแสนคน

5. คุณไม่ควรยกเอาคำพูดบางคำของคุณพ่อของ ม.ล.ณัฐกรณ์ หรือของ ดร.ป๋วย มาอ้างอิงการกระทำของคุณ เพราะเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระ แต่แสดงให้สังคมเห็นว่า คุณใช้กลเม็ดอ้างอิงบุคคลสำคัญเพื่อเข้าข้างตัวเอง

ตอบ - ตอบเหมือนเดิมครับ คำพูดของคนคนเดียว ถ้าเป็นคำพูดที่ถูกต้อง ย่อมมีค่ากว่าคำพูดของคนโกหกแสนคน

การยกเอา Qoute จากบุคคลสำคัญมาประกอบความคิดเห็น เป็นเรื่องปรกติครับนี่ครับ ที่ประชาไทเป็นแม่แบบเรื่องนี้เสียด้วยซ้ำ

6. คุณกล่าวถึง “การกระจายความมั่งคั่งให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า 70% ที่เป็นคนยากจน” นี่คงเป็นเรื่องพ้นสมัยไปแล้ว ประชาชนไทยที่ยากจนจริง ๆ มีเพียง 10% เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนจนมาตั้ง 20 ปีแล้ว คุณคงอ้างอิงผิดเวลาไป 50 ปี หรือยังมีมโนภาพแบบ 50 ปีก่อนที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ยากจน

ตอบ - คุณโสภณเอาตัวเลขคนยากจนของประเทศว่ามีเพียง 10 % มาจากไหน ขอข้อมูลอ้างอิงมาประกอบด้วยครับ ผมขอความรู้หน่อย หวังว่าคงไม่รบกวนมากเกินไป

7. ที่ว่า “เราไม่ควรพูดถึงประเทศอื่นในทางดูถูกเหยียดหยาม” หรือ “ดิฉันมีสิทธิที่จะปกป้องชื่อเสียงของตัวเอง โดยการฟ้องคุณในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ดิฉันเป็นคนไทยที่ได้รับการอบรมสั่งสอนด้วยคำสอนของขงจื๊อ ดิฉันระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษของคุณ . . . ” ข้อนี้แสดงตัวตนของคุณในหลายแง่มุม เช่น การเป็นคนมีมธุรสวาจา ฉลาดที่รู้จักยกตนและเอาคืน และเป็นปุถุชนที่มีโทสะที่อยู่เบื้องลึกโดยไม่ละวางให้อภัย

ตอบ - ผมข้องใจกับตรรกะนี้ของคุณโสภณครับ ดูราวกับว่าคุณจะเป็นคนที่ตีความคำพูดของคนอื่นโดยเอามาตรฐานของตัวคุณเองเป็นตัวตั้งกระมังครับ ลองเอาตรรกะนี้ไปจับกับคำพูดของ ม.ล. ณัฐกร ดูบ้างนะครับ เพราะผมไม่อยากให้คุณโสภณ Bias ไปด้านเดียว

ยังรอคำตอบจากคุณโสภณครับ



หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 14-03-2008, 22:56
มล. ณัฐกรณ์ กับ รสนา นี่รู้จัก

แต่

โสภณ พรโชคชัย

ใครอ่ะ ไม่รู้จัก








:slime_smile2:




หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 14-03-2008, 23:04
บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

โสภณ พรโชคชัย
14 มีนาคม 2551



3. ที่ว่า “ในการต่อสู้คดีคอร์รัปชันทางนโยบาย ดิฉันไม่เคยใช้การประท้วงบนท้องถนน มีแต่พึ่งพาศาลยุติธรรม” แต่คุณก็ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ แจกใบปลิว เคยให้สัมภาษณ์ส่งเสริมการเดินขบวน ประชุมกับแกนนำเดินขบวน และขบวนการที่ร่วมกันเรียกร้องก็ได้ก่อม็อบจนเหตุการณ์บานปลายก็มี


ผมไม่เคยเห็นคุณรสนา ประท้วงบนท้องถนน เหมือนกัน

และการขึ้นเวทีพูด บนเวทีพันธมิตร ก็เป็นเรื่องที่ชนะในศาลปกครองแล้ว ประชาชนส่วนหนึ่ง ก็คงอยากให้ขึ้นพูดเหมือนกัน

ปัญหาอยู่ที่ว่า แล้วผิด บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายข้อหนึ่งข้อใดหรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ไม่ใช่ประเด็นที่มาบอกว่า เห็นคนนี้กินข้าวข้างถนน

เห็นคนนั้นไปเดินกะคนนี้



เมื่อคนมาตามวิถีทางที่ชอบธรรม ก็ไม่มีเหตุอันใดที่เอาเรื่องเหล่านี้มาแขวะ

แขวะไปก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากนั่งมองใบตองแห้ง แล้วแห้งอีกต่อไป  :slime_smile2:


ว่าแต่คุณจะประท้วงในเว็บม่ะ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 14-03-2008, 23:11
บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

โสภณ พรโชคชัย
14 มีนาคม 2551

เช้านี้ผมได้อ่านการตอบโต้ของคุณรสนา โตสิตระกูล (สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง) ต่อคำวิจารณ์ของ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล (คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์) เห็นว่า ข้อมูลที่คุณรสนา ชี้แจง ซึ่งถือเป็นประเด็นหลักในการตอบโต้ อาจมีความคลาดเคลื่อน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ จึงขออนุญาตแสดงความเห็น เผื่อจะได้มองให้กว้างดังเจตนารมณ์ของคุณรสนาเอง



4. ที่ว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ นักการธนาคารที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง ได้กล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ตลาดหุ้น และอนาคตของชาติไม่ได้ขึ้นอยู่แต่กับ จีดีพีเท่านั้น” คุณอ้างอิงบุคคลเพียงคนเดียวมาโต้แย้งได้อย่างไร คุณจะว่าอย่างไรถ้าผมกลับเชื่อว่านักการธนาคารที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่อาจเห็นต่างจากคุณ




อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
หมัดต่อหมัด ปลื้ม VS รสนา วิวาทะว่าด้วย ส.ว. คนกรุงเทพฯ ทำแทนคนกรุงเทพฯ ไม่ได้
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ตลาดหุ้น และอนาคตของชาติไม่ได้ขึ้นอยู่แต่กับ จีดีพีเท่านั้น


ถูกต้องด้วยประการทั้งปวงแล้ว ใครตัวไหนบอกว่าประเทศไทยมีอยู่แค่สองอย่างนี้ ผมบอกตรง ๆ ว่ามันบร้าไปแล้ว


ที่คุณเชื่อว่าส่วนใหญ่เห็นต่างไปจากนี้

พามาประจานหน่อยดิ ว่ามีใครมั่ง

ถ้ามันคิดว่าเมืองไทยมีสองอย่างนี้ ผมบอกให้คุณหายโง่ไปเลยว่า


ไม่ใช่ ถ้าแย้ง เอามาชื่อนึงก็แล้วกัน ว่าใครบร้าคิดอย่างนั้นได้


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 14-03-2008, 23:13
มล. ณัฐกรณ์ กับ รสนา นี่รู้จัก

แต่

โสภณ พรโชคชัย

ใครอ่ะ ไม่รู้จัก

:slime_smile2:

ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการ
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

(http://www.thaiappraisal.org/images/Dr.Sopon98.gif)

ดร.โสภณเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ทำงานประเมินค่าทรัพย์สิน การพัฒนาเมือง และการใช้ที่ดินมาแต่ปี 2525 เคยเป็นที่ปรึกษาในโครงการของ ESCAP, UN-Habitat, ADB, World Bank, FAO และ ILO สำหรับประสบการณ์การสอนเริ่มแต่ปี 2523 สอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เบลเยียม ดร.โสภณ จบวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ที่ดินที่อยู่อาศัย จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), ได้รับประกาศนียบัตรการประเมินค่าทรัพย์สิน จากสถาบันนโยบายที่ดินลินคอห์น และ ประกาศนียบัตรการพัฒนาที่อยู่อาศัย มหาวิทยาลัยคาธอลิกลูแวง

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย อันเป็นองค์กรสมาชิกของ FIABCI ซึ่งเป็นสมาคมอสังหาฯ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก, ประธานกรรมการบริหาร บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส, ผู้แทนประจำประเทศไทยของ IAAO และกรรมการบริหาร สภาผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งอาเซียน ผลงานสำคัญคือการค้นพบสลัม 1,020 แห่ง (ปี 2528), การสร้างแบบจำลอง Computer-assisted Mass Appraisal: CAMA (ปี 2533), การพยากรณ์บ้านว่างอย่างถูกต้อง (ปี 2538 และ 2541) การศึกษาเพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (ปี 2543) และการสร้างแบบจำลองการประมาณราคาที่ดิน (ปี 2545) การวางแผนพัฒนาวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินเวียดนาม (พ.ศ. 2549)

http://www.thaiappraisal.org/Thai/contact/Default_Dr.Sopon.htm


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 14-03-2008, 23:16
บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491



5. คุณไม่ควรยกเอาคำพูดบางคำของคุณพ่อของ ม.ล.ณัฐกรณ์ หรือของ ดร.ป๋วย มาอ้างอิงการกระทำของคุณ เพราะเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระ แต่แสดงให้สังคมเห็นว่า คุณใช้กลเม็ดอ้างอิงบุคคลสำคัญเพื่อเข้าข้างตัวเอง




อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
หมัดต่อหมัด ปลื้ม VS รสนา วิวาทะว่าด้วย ส.ว. คนกรุงเทพฯ ทำแทนคนกรุงเทพฯ ไม่ได้
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

เด็กเมื่อวานซืนมันกะเกาะชื่อเสียงของคุณรสนา หากินนะครับ สงสารเด็กมันหน่อย   ยั้งใว้บ้าง แค่นี้ก็สะบักสะบอกแร๊น :mrgreen:  :mrgreen:  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 14-03-2008, 23:18
ยิ่งอ่านดูก็ยิ่งคิดว่้าคุณรสนาพูดถูกทุกข้อ
และยิ่งอ่านทวนความเห็นของ จขกท. ยิ่งมั่นใจว่า จขกท.แค่พยายามใช้"ภาษา"ทำให้มันดูต่างไปบ้าง
เหตุผลที่ยกขึ้นมาโต้ล้วนไม่มีน้ำหนักไม่มีข้อมูลใดๆมาแย้งได้
ซ้ำร้ายตัวอย่างเรื่องประเทศไทยมีคนจนแค่10%ที่คุณอ้าง
กลับมีความหมายว่าว่าคุณเองต่างหากที่ไม่ได้มีข้อมูลอะไรที่นำมาใช้ในการเขียนบทความบทความของคุถณ
เพียงแต่นั่งหน้าคีย์บอร์ด แล้วก็พิมพ์ข้อความออกมาเพื่อ "แก้ต่าง"อย่างโง่ๆเท่านั้น

คราวหน้าหากต้องการจะหักล้างคนอื่นกรุณาหาอ้างอิงถึงคำพูดนั้น และหาเหตุผลมาหักล้างให้ชัดเจนด้วย
ไม่ใช่แถมาหาเรื่องด่าคนอื่นว่าไม่ควร ไม่ถูกแล้วก็เปิดตูดหนีแบบนี้


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 14-03-2008, 23:53
สงสัยว่าคุณโสภณคนนี้กระมังครับ ที่ตีมูลค่าทรัพย์สิน กฟผ. ทั้งประเทศไว้ที่สองหมื่นล้าน  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 14-03-2008, 23:54
 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 15-03-2008, 00:03
สงสัยว่าคุณโสภณคนนี้กระมังครับ ที่ตีมูลค่าทรัพย์สิน กฟผ. ทั้งประเทศไว้ที่สองหมื่นล้าน  :slime_bigsmile:

คงใช่มั๊งครับ

ประเภทวัวสันหลังหวะ มีคนพูดถึงเรื่องนี้ก็รีบร้อนออกมาแก้ตัวเชียว  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: pornchokchai ที่ 15-03-2008, 00:29
ถ้าใครยังคิดว่าประเทศไทยมีคนจนมาก
คงเป็นความเข้าใจผิดแล้วครับ
มี 10% จริง ๆ และลดลงมาโดยตลอด
โปรดดูที่

ธนาคารโลก
http://siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/CDP-PAM/392031-1163056585570/cdp-pam_phase_ii_monitoring_report_thai.pdf
โดยเฉพาะหน้า 5 เส้นความยากจน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
http://www.boi.go.th/thai/how/demographic.asp

หรือดูเว็บของ CIA
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html#Econ

หรือของ TDRI
http://siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/333200-1089943634036/475256-1151398840534/oct26_Poverty_Somchai.ppt#312,4,Poverty Trend
(หน้า 4)


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 15-03-2008, 00:46
The World Bank defines poverty in absolute terms. The bank defines extreme poverty as living on less than $1 per day US (PPP), and moderate poverty as less than $2 a day.

It has been estimated that in 2001, 1.1 billion people had consumption levels below $1 a day and 2.7 billion lived on less than $2 a day. The proportion of the developing world's population living in extreme economic poverty has fallen from 28 percent in 1990 to 21 percent in 2001.

Much of the improvement has occurred in East and South Asia. In Sub-Saharan Africa GDP/capita shrank with 14 percent and extreme poverty increased from 41 percent in 1981 to 46 percent in 2001. Other regions have seen little or no change. In the early 1990s the transition economies of Europe and Central Asia experienced a sharp drop in income. Poverty rates rose to 6 percent at the end of the decade before beginning to recede. [3]

There are various criticisms of these measurements.[4][5]




UN ไม่ใช่พ่อ
world bank ก็ม่ายช่ายพ่อ :slime_bigsmile:




หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 15-03-2008, 00:49
ไม่น่าเชื่อ....ยังมีคนเชื่อวิธีแต่งตัวเลขของแม้วอยู่ด้วย

ไม่แปลกใจเลยจริงๆที่เขียนบทความประเภทนี้ออกมา


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 15-03-2008, 00:54
กระทู้อย่างนี้ เนื้อหาอย่างนี้อยู่ในห้องราชดำเนินของเวบพันทิพ
หรือห้องสังคมและการเมืองของเวบประชาไท คงไม่มีคนคัดค้านหรือวิพากษ์วิจารณ์หรอก....

น่าจะเอออวยห่อหมกด้วยซ้ำไป.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า



หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 15-03-2008, 00:59
The World Bank defines poverty in absolute terms. The bank defines extreme poverty as living on less than $1 per day US (PPP), and moderate poverty as less than $2 a day.

It has been estimated that in 2001, 1.1 billion people had consumption levels below $1 a day and 2.7 billion lived on less than $2 a day. The proportion of the developing world's population living in extreme economic poverty has fallen from 28 percent in 1990 to 21 percent in 2001.

Much of the improvement has occurred in East and South Asia. In Sub-Saharan Africa GDP/capita shrank with 14 percent and extreme poverty increased from 41 percent in 1981 to 46 percent in 2001. Other regions have seen little or no change. In the early 1990s the transition economies of Europe and Central Asia experienced a sharp drop in income. Poverty rates rose to 6 percent at the end of the decade before beginning to recede. [3]

There are various criticisms of these measurements.[4][5]




UN ไม่ใช่พ่อ
world bank ก็ม่ายช่ายพ่อ :slime_bigsmile:




การมี 1$ใน USA ต่างจาก 1$ในประเทศไทย
ตัวเลขของเวิร์ลแบงค์จึงเป็นเป็นการมองความยากจนแต่เพียงด้านเดียว
เป็นแค่ตัวเลขคร่าวๆที่ไม่ได้คำนึงถึงสภาพสังคมและความเป็นอยู่ในท้องถิ่น
ดังนั้นการอ้างตัวเลขนี้จึงไม่สามาถนำมาอ้างอิงได้ว่าประชากรในประเทศนั้นจนจริงๆหรือไม่


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Kittinunn ที่ 15-03-2008, 01:02
เข้ามาขำ พวกชอบเกาะกระแสคนอื่น


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 15-03-2008, 01:57
เหตุผลของพวก ทุนสามานย์ ไง


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 15-03-2008, 02:08
สำหรับผมถ้าจะมองว่าสังคมไหนรวยหรือจน ผมไม่ไปดูหรอกครับเส้นกราฟ
แค่ดูว่าสังคมไหนมีปัญหาน้อย  ก็น่าจะบอกได้ว่าสังคมนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือรวยขึ้น
สังคมไหนมีปัญหามากขึ้น ก็น่าจะบอกได้ว่าสังคมนั้นมีความเป็นอยู่ที่แย่ลง หรือจนลง

ถ้าบอกว่าคนไทยจนน้อยลง แล้วทำไมมันถึงได้มีข่าวว่ามีคนไปขโมยตัดสายไฟบ้าง น๊อตเสาบ้าง ฝาท่อน้ำบ้าง ฯลฯ หรือข่าวการโดนหลอกลวงจนเสียเงินเสียทองกันไปเป็นแสนเป็นล้าน
อีกทั้งปัญหาการคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งจนแทบจะเป็นเรื่องปกติของสังคมไทยไปแล้ว  ข่าวพวกนี้นับวันยิ่งจะมีมากขึ้น ซึ่งมันก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าคนที่รวยแล้วจะต้องมาทำเรื่องพวกนี้


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Ires ที่ 15-03-2008, 03:11
คุณกล่าวถึง “การกระจายความมั่งคั่งให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า 70% ที่เป็นคนยากจน” นี่คงเป็นเรื่องพ้นสมัยไปแล้ว ประชาชนไทยที่ยากจนจริง ๆ มีเพียง 10% เท่านั้น

ถ้าสังคมหนึ่งมีคนจนแค่ 10% นั่นหมายความว่าใน 10 คนจะมีคนจนเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่เหลืออีก 9 คนเป็นคนรวย แล้วถ้าสังคมที่มีคนรวยถึง 9 คนไม่สามารถช่วยเพื่อนร่วมสังคมเพียงคนเดียวให้พ้นไปจากความยากจนได้ ผมว่าสังคมนั้นเป็นสังคมที่เลวว่ะ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: คาคาชิ ที่ 15-03-2008, 03:38
ทำไมผมเริ่มพบว่า คนจบด็อกเตอร์ แม่งเลวว่ะ ถึงจะไม่ทุกคนก็เถอะ
แต่ไอ้คนเลว ๆ พวกนี้ มันทำไมอยู่ในสังคมได้อย่างไม่สะทกสะท้าน
การศึกษาไม่ได้ช่วยให้คนมีความดีเลยหรือไง


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-03-2008, 03:59
คนหนึ่งมีรายได้ 2000 บาทต่อเดือนแต่มีหนี้ 1 ล้านบาท กับอีกคนมีรายได้ 1000 บาทต่อเดือนแต่ไม่มีหนี้ ถามว่าใครจนกว่าใคร


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 15-03-2008, 04:32
เลือก สว. ให้ถูกกับงาน ก็น่าจะถูกต้องแล้วนะ

เค้าเลือก สว. ให้ไปทำงานตรวจสอบ

ไม่ได้ไปกำหนดนโยบายรัฐบาลซักหน่อย

นาทีนี้ใครไปแตะ สว. ที่มีฐานเสียง 700,000 เหนื่อยนะครับท่านผู้ชม

แต่ละคนที่เลือก สว. คนนี้ ต่างก็มีเหตุผลในใจทั้งนั้น


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: วิหค อัสนี ที่ 15-03-2008, 07:51
...ช่างแถกไปได้อย่างน่าสมเพชเวทนา  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 15-03-2008, 10:12

เรียนท่าน ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย


ในฐานะที่ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านอสังหาริมทรัพย์และที่ดินในระดับต้นของประเทศ กระผมใคร่ขอเรียนถามท่าน ดร. โสภณสามหัวข้อดังนี้

1. เนื่องจากท่านเป็น"ผู้ค้นพบ" สลัม 1,020 แห่งในปีพุทธศักราช 2528 อยากเรียนถามว่าในปัจจุบัน จำนวนสลัมจากการวิจัยของท่านนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด และจำนวนผู้อาศัยในสลัมบวกกับคนต่างถิ่นที่เข้ามาอาศัยใหม่ในสลัมนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดครับ

2. ในการสร้างโมเดลทางอสังหาริมทรัพย์และที่ดินนั้น ท่านได้ใช้ตัวเลขอ้างอิงในการคำนวนประชากรยากจนจากการสำรวจพื้นที่จริง หรือตัวเลขจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ครับ และผลที่ได้รับจากการคำนวนในโมเดลของท่าน มีค่าความเบี่ยงเบน (Deviation) อยู่เท่าใด ทั้งนี้ทั้งนั้น กระผมมองว่าตัวเลขประชากรยากจนที่ 10% นั้น มีนัยยะสำคัญทางสถิติเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการนำเอาตัวเลขนี้มาใช้เป็น input ของโมเดลทางคณิตศาสตร์

3.ในฐานะของประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ท่านมีความคิดเห็นเช่นไรต่อกรณี "ที่ดินรัชดา" ซึ่งมีการประเมินราคาที่ดินต่ำกว่าราคาในท้องตลาด (Market Value) ท่านคิดว่าราคาที่ผู้ชนะการประมูลใช้นั้นเป็นราคาที่เหมาะสม (Fair Value) หรือไม่ อย่างไร อีกทั้งการดำเนินการประเมินราคาทรัพย์สินในครั้งนั้น ส่งผลกระทบต่อหลักปฎิบัติและหลักจริยธรรมของผู้ประเมินราคาทรัพย์สินย์หรือไม่ เพียงใด ครับ

กระผมใคร่ขอรบกวนท่าน ดร. โสภณในขั้นนี้เพียงเท่านี้ และกระผมจะมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งถ้าท่าน ดร. โสภณจะกรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่าน เพื่อตอบคำถามทั้งสามข้อของกระผมครับ

ขอแสดงความนับถือ
 





หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: เพื่อนร่วมชาติ ที่ 15-03-2008, 10:14
ถ้าใครยังคิดว่าประเทศไทยมีคนจนมาก
คงเป็นความเข้าใจผิดแล้วครับ
มี 10% จริง ๆ และลดลงมาโดยตลอด
โปรดดูที่

ธนาคารโลก
http://siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/CDP-PAM/392031-1163056585570/cdp-pam_phase_ii_monitoring_report_thai.pdf
โดยเฉพาะหน้า 5 เส้นความยากจน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
http://www.boi.go.th/thai/how/demographic.asp

หรือดูเว็บของ CIA
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html#Econ

หรือของ TDRI
http://siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/333200-1089943634036/475256-1151398840534/oct26_Poverty_Somchai.ppt#312,4,Poverty Trend
(หน้า 4)

กรุณาแจงด้วยว่า 10% ที่ว่ายากจนนั้นเป็นความยากจนสัมบูรณ์ หรือความยากจนสัมพัทธ์ ใช้เกณฑ์อะไรตัดสิน

10% ที่ว่าอาจหมายถึงคนที่อยู่ใต้เส้นของความยากจนแค้น ประเภทปีนึงมีรายได้ไม่กี่พันบาท

แต่การพิจารณาความยากจนจะพิจารณาความยากจนสัมบูรณ์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องพิจารณาความยากจนสัมพัทธ์ด้วย

นั่นคือมองถึงช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนเกือบจน (คนที่ฐานะดีกว่าคนจน 10% ที่คุณว่า แต่ก็ยังประสบความยากลำบากทางการเงิน)

ผมไม่มีตัวเลขตรงนี้ แต่ดูเหมือนคุณพรโชคชัยน่าจะรู้ และสมควรจะเสนอข้อมูลตรงนี้ด้วย

ไม่อย่างงั้นจะเป็นการเสนอข้อมูลส่วนเดียว เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนความคิดเห็นของตน โดยปิดบังข้อมูลส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

ลองเปิดเผยออกมาสิครับ ว่าช่องว่างทางเศรษฐกิจของคนไทยมันห่างแค่ไหน

ผมแน่ใจได้เลยว่า เมื่อเปิดเผยข้อมูลตรงนี้ออกมาแล้ว

เราจะยิ่งมั่นใจว่า ที่คนกรุงเทพฯ 700,000 กว่าคน เลือกคุณรสนานั้นเป็นการเลือกที่ถูกต้องแล้ว

เพราะคุณรสนาทำงานเพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศที่เกือบจน (ใช้คำนี้เพราะคุณไม่ยอมรับว่าคนเหล่านี้จน) ไม่ได้สนองตัณหาของคนรวยส่วนหนึ่งที่ชีวิตนี้อยู่เพื่อกอบโกยและไม่รู้จักพอ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: jumjim ที่ 15-03-2008, 10:19
ปริมาณคนจนที่ลดลง ที่ เอ็งกล่าวอ้าง เอ็งเอาตัวเลขมั่ว ๆ ที่ไหนมาอ้างก็ไม่สำคัญหรอก  เอ็งหัดไปดู หนี้ประชากรที่เพิ่มขึ้น ให้มากกว่าหน่อย  ตัวเลขหนี้ต่อหัว เอ็งอย่าลืม ถ่วงน้ำหนัก ไอ้พวกที่ตลาดหุ้นมันรวยขึ้นมาด้วย

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เอ็งจะได้ไม่ปวดหัว   

สมมติว่า เดี๋ยวนี้ เอ็งมีเงิน ในกระเป๋ามากกว่า แต่ก่อน 200 บาท แต่ เป็นหนี้มากกว่า เดิม 1000 บาท อย่างนี้ มันฐานะดีขึ้นป่าวว่ะ 

เอาตัวเลขบางตัวที่มันดูดีมาอวด แต่ ไม่ลงรายละเอียด  เอ็งนี่มัน พรชัย ศิษย์เหลี่ยม ของแท้เลยนี่หว่า ไอ้พวกชอบพูดความจริง ครึ่งเดียว หรือบางส่วน

อย่าตอบมั่ว ๆ เอาไว้หลอกควายที่ประชาไท อย่างเดียวก็พอมั๊ง มาแถวนี้ เดี๋ยวถามไปสองสามที ก็ใบ้แดกแล้ว


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: เพื่อนร่วมชาติ ที่ 15-03-2008, 11:11
ผมคลิกไปอ่านในลิงค์ที่คุณให้แล้ว

คุณน่าจะพูดถึงสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้ด้วย (อยู่ถัดไปหน้าเดียว)

เพราะนั่นคือปัญหาที่ทำให้ประเทศไทยต้องมีคนอย่างคุณรสนามากยิ่งกว่านี้

ส่วนเรื่องตัวเลข 10% ที่ต่างจากคุณรสนาพูดถึง ผมมองว่าเป็นการพูดถึงความยากจนในคนละมิติ

คุณจะสนใจความยากจนสัมบูรณ์อย่างเดียวก็เชิญ

แต่ผมสนใจทั้งความยากจนสัมบูรณ์และความยากจนสัมพัทธ์

เพราะถ้าแก้แต่ความยากจนสัมบูรณ์ ไม่แก้ปัญหาความยากจนสัมพัทธ์ - คือความไม่เท่าเทียมของการกระจายรายได้ การเข้าถึงทรัพยากร การมีที่ดินทำกิน

มันก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาแบบขอไปที


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 15-03-2008, 12:02
บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

โสภณ พรโชคชัย
14 มีนาคม 2551



6. คุณกล่าวถึง “การกระจายความมั่งคั่งให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า 70% ที่เป็นคนยากจน” นี่คงเป็นเรื่องพ้นสมัยไปแล้ว ประชาชนไทยที่ยากจนจริง ๆ มีเพียง 10% เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนจนมาตั้ง 20 ปีแล้ว คุณคงอ้างอิงผิดเวลาไป 50 ปี หรือยังมีมโนภาพแบบ 50 ปีก่อนที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ยากจน




อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
หมัดต่อหมัด ปลื้ม VS รสนา วิวาทะว่าด้วย ส.ว. คนกรุงเทพฯ ทำแทนคนกรุงเทพฯ ไม่ได้
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491


20. It is expected that Thailand will reach most of the MDG targets by 2015; however,
poverty reduction continues to be the foremost development challenge. Although less than 2%
of Thailand’s population lives below the $1-a-day poverty line, just under a third, more than 20
million people, subsists on less than $2 a day.21 In other words, a large segment of Thai society
remains extremely vulnerable and may fall back into poverty if economic growth is not sustained
and its benefits distributed more equitably.

21. Some regions and social groups have clearly not benefited from Thailand’s economic
expansion. The vast majority of the poor (more than 85%) live in rural areas, and there are
striking income disparities across regions. For example, in 2004 the incidence of poverty in the
north was 16.2%, while in the northeast it was 17.2% (compared with the national incidence of
11.3%). Poverty in Bangkok and its vicinity was only 1.6%.22 More than one third of Thailand’s
poor are children, and more than 10% are elderly. Income inequality is also pronounced; less
than 7% of total income goes to the poorest 20% of the population and more than 33% goes to
the top 10% (footnote 21)

http://www.adb.org/Documents/CPSs/THA/2007/CPS-THA-2007-2011.pdf


การที่สามารถยืนแบบมีลมหายใจอยู่ได้  กะความยากจน


ผมว่าประเด็นที่พูดคนละความหมายกัน


วันละสามสิบสองบาทต่อวัน เลยมีแค่สิบเปอร์เซ็นต์ คุณว่ามีลมหายใจอยู่ต่อไปได้มั๊ยล่ะ

ตัวเลขคนที่มีรายได้ น้อยกว่า หกสิบสี่บาทต่อวัน มีมากกว่า ยี่สิบเปอร์เซ็นต์
 :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 15-03-2008, 12:15
ไปอ่านกระทู้นี้ในราชดำเนิน ไม่มีอะไรเพิ่มเติมเลย


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 15-03-2008, 12:20
สามสิบสองบาทต่อวัน ?

แถวบ้านผมตอนนี้ กระเพราไก่ไข่ดาว สามสิบห้าบาทแล้วครับ

สามสิบสองบาทตอนนี้ เติมน้ำมันดีเซลได้แค่ลิตรเดียว


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 15-03-2008, 12:23
สามสิบสองบาทต่อวัน ?

แถวบ้านผมตอนนี้ กระเพราะไก่ไข่ดาว สามสิบห้าบาทแล้วครับ

$1-a-day poverty line

คนกลุ่มนี้ จะไม่สามารถยืนอยู่ได้ไงครับ ต้องไปหาลักวิ่งชิงปล้นเอา  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 15-03-2008, 12:28
นิยามคำว่าคนจนของผมกับของท่าน ดร. โสภณ คงจะต่างกันมากแล้วครับ

Poverty Line - 1 USD per day ?

ยังรอท่าน ดร. มาตอบคำถามอยู่นะครับ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 15-03-2008, 12:35
เส้นวัดความยากจน ยูเอ็น เค้าให้มาตรฐานมาแค่นั้น

เรื่องพวกนี้ ต้องไปเข้าเว็บคณะกรรมการกระจายรายได้

จะได้มีมุมมองอีกด้าน ว่ามันขาดด้านไหนกันแน่

หรือในเว็บสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ ก็มีข้อมูลเยอะ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 15-03-2008, 13:33
(http://img81.imageshack.us/img81/4035/povertyof4.jpg) (http://poverty.nesdb.go.th/poverty_new/default.aspx)


ปีสี่เก้า ได้วันละ 46 บาท ก็หลุดจาก ความยากจน แล้ว  :slime_bigsmile:

                    :slime_o:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 15-03-2008, 13:57

ปีสี่เก้า ได้วันละ 46 บาท ก็หลุดจาก ความยากจน แล้ว  :slime_bigsmile:

                    :slime_o:

เดี๋ยวเงินบาทแข็งดอลล่าอ่อนอีกหน่อย
คนจนก็จะหมดไปจากประเทศไทย

อาจสามารถโมเดล...

ไชโย!!! :slime_fighto:



หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 15-03-2008, 14:01
บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

โสภณ พรโชคชัย
14 มีนาคม 2551

เช้านี้ผมได้อ่านการตอบโต้ของคุณรสนา โตสิตระกูล (สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง) ต่อคำวิจารณ์ของ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล (คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์) เห็นว่า ข้อมูลที่คุณรสนา ชี้แจง ซึ่งถือเป็นประเด็นหลักในการตอบโต้ อาจมีความคลาดเคลื่อน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ จึงขออนุญาตแสดงความเห็น เผื่อจะได้มองให้กว้างดังเจตนารมณ์ของคุณรสนาเอง

1. ที่ว่า กฟผ.มีสินทรัพย์มูลค่าสุทธิสูงถึง 3.8 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลพยายามขายทรัพย์สินเหล่านี้ผ่านการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าเพียง 20,000 ล้านบาท ข้อมูลนี้อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกโกรธทันทีว่าทำไมรัฐบาลจึงแย่ขนาดนี้ แต่หากคิดให้ดี ๆ จะเป็นไปได้หรือที่รัฐบาลจะโง่หรือกล้าทำร้ายชาติได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นข้อกล่าวหาที่มีมูลความจริงหรือ คุณทำให้คนเข้าใจว่าคุณรักชาติมากกว่าทักษิณ ชวน ชวลิต และอีกหลายท่านที่รับผิดชอบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาโดยตลอดหรือ


อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
หมัดต่อหมัด ปลื้ม VS รสนา วิวาทะว่าด้วย ส.ว. คนกรุงเทพฯ ทำแทนคนกรุงเทพฯ ไม่ได้
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11491

(http://img526.imageshack.us/img526/5417/p42199659iw6.jpg)

 :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: pornchokchai ที่ 15-03-2008, 19:39
1. เรื่องความยากจนมีข้อมูลยังไง โปรดดูความเห็นข้างบนพร้อมอ้างอิงที่ให้ไปแล้ว การที่มี 10% ยากจน อีก 90% ไม่ได้ยากจน แต่ "อยากจน" เป็นต้น ถ้าเรายังหลงเชื่อว่าประเทศไทยมีคนจน 70% อย่างที่คุณรสนาบอก แล้วลาว เขมร อาฟริกา ไม่เกิน 100% หรือครับ เราต้องเข้าใจใหม่ให้ได้นะครับ

2. เรื่อง กฟผ โปรดอ่าน รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ...ต้านแปรรูป กฟผ. ใครทำลายสมบัติชาติกันแน่? http://exmba.nisit.ku.ac.th/forums/index.php?showtopic=238

3. เรื่องเดินขบวน คุณรสนาบอกไม่เคย แต่เป็นเรื่องไม่จริง ลอง search ดูในกูเกิล ได้เลยครับ

4. เรื่องจุดยืน ทุกคนเปลี่ยนกันได้ แม้แต่คุณรสนา อย่ามัวมองจุดยืนอะไรนั่น ควรพิจารณาจากเหตุผลและใช้วิจารณญาณ

5. เรื่องสลัม ตอนนี้ลดลง โปรดดูที่ http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market170.htm

6. ในการสร้างโมเดลทางอสังหาริมทรัพย์และที่ดินนั้น ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความยากจนเลย โปรดดูที่ http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market51.htm

7.ในฐานะของประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ท่านมีความคิดเห็นเช่นไรต่อกรณี "ที่ดินรัชดา" ซึ่งมีการประเมินราคาที่ดินต่ำกว่าราคาในท้องตลาด (Market Value) ท่านคิดว่าราคาที่ผู้ชนะการประมูลใช้นั้นเป็นราคาที่เหมาะสม (Fair Value) หรือไม่
ข้อนี้ผมไม่ได้เป็นคนประเมิน และในกรณีการเมืองเช่นนี้ อยู่ดี ๆ ผมคงไม่กล้าให้ความเห็น แต่ผมบอกได้ชัด ๆ เลย (ถ้าจำเป็น) ว่ามัน 1. เหมาะสมแล้ว หรือ 2.ต่ำเกินไป แต่อยู่ดี ๆ ให้ผมพูด คงไม่ได้ หวังว่าคงจะเข้าใจนะครับ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 15-03-2008, 21:14
ขอบคุณ ดร. โสภณครับ

1. 70% จากคุณรสนาผมคิดว่าสูงเกินไป แต่ 10% ของท่าน ดร.โสภณ ผมก็ทำใจยังเชื่อได้ยากครับ

    ถ้าคนจนในเมืองไทยมีแค่ 10% จริง ๆ นโยบายประชานิยม จะไม่มีความจำเป็น และไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อสังคมแน่นอนครับ 

   ในความเป็นจริง เราพบว่าหนี้สินต่อครัวเรือนสูงขึ้นขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้คืนลดลงครับ ในขณะเดียวกันพรรคการเมืองหลาย ๆ พรรค กลับชูนโยบายเรื่อง ประชานิยมเป็นหลัก โดยไม่ได้ต้องการจะปรับไปสู่รูปแบบรัฐสวัสดิการแต่อย่างใด ถ้าพรรคการเมืองเหล่านั้นต่างเข้าใจเหมือนกับท่าน ดร. โสภณถึงจำนวนประชากรยากจนแค่ 10% คงไม่ต้องใช้มาตรการและนโยบายประชานิยมใด ๆ มาใช้เป็นแคมเปญในการหาเสียงกระมังครับ

   ประเด็นนี้ผมคิดว่าคงมีคนเข้ามาถกเถียงกับ ดร. โสภณ ได้อีกมากครับ


2. งานของอาจารย์พิชิตผมตามอ่านมาโดยตลอด เรียนตามตรง ในมุมของความเป็นนักวิชาการผมคิดว่าอาจารย์พิชิตเลยธงนักวิชาการไปไกลมากแล้วในขณะนี้ งานในยุคหลัง ๆ Bias อย่างแรงครับ ยิ่งได้ข่าวว่าอาจารย์พิชิตไปขึ้นเวที นปก. ที่สนามหลวง หรือการไปแจ้งความจับคนที่ทัศนคติทางการเมืองไม่ตรงกับตน ยิ่งแสดงจุดยืนทางความคิดและตัวตนอย่างชัดเจน และเลยหน้าที่ของความเป็นนักวิชาการไปมาก ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมไม่ได้มองว่าการที่อาจารย์พิชิตไปแสดงออกบนเวที นปก. หรือการไปแจ้งความจับคนอื่น เป็นเรื่องผิดนะครับ ขณะเดียวกัน คนที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเขียนของอาจารย์พิชิต ก็คงไม่ผิดเช่นกัน ผมเป็นหนึ่งในนั้นครับ


3.สำหรับผมแล้วการที่รสนาจะไปเดินขบวนหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นปัญหา เพราะเป็นการใช้สิทธิอันชอบธรรมของแต่ละบุคคลตามรัฐธรรมนูญครับ

   ประเด็นสำคัญคือ ในท้ายที่สุดแล้ว รสนาใช้กระบวนการทางกฏหมายในการแก้ปัญหาครับ นั่นเป็นสิ่งที่ผมยอมรับได้ ส่วนการใช้กำลังทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ก่อความไม่สงบนั้น ผมคงรับไม่ได้แน่นอน


4. จุดยืนเป็นสิ่งที่แสดงตัวตนของตนต่อสังคมครับ ถ้าเขาไม่มีจุดยืน เราคงไม่ทราบว่าตัวตนเขาเป็นอย่างไร ส่วนจุดยืนนั้นเปลี่ยนแปลงได้ อันนี้เห็นด้วยครับ


5. จำนวนสลัมและพื้นที่ของสลัมลดลงจากการเวนคืนและไล่ที่ แต่จำนวนประชากรในสลัมเดิมน่าจะเพิ่มขึ้นนะครับ ทั้งจากประชากรเดิมที่มีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น และประชากรที่โยกย้ายมาจากถิ่นอื่น

6. เรื่องของโมเดล ผมอาจจะมองเรื่องตัวแปรที่มีมากเกินไปครับ เช่นเรื่องความสามารถทางการเงินของประชากรในการครอบครองที่ดินในเขตเมือง หรือราคาเช่าที่ดินภาคเอกชน ถ้าโมเดลนี้ไม่ต้องใช้ตัวแปรเรื่องดัชนีที่เกี่ยวข้องกับความยากจนของประชากร ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้

7. เข้าใจครับว่าโดยตำแหน่งและหน้าที่ท่านคงแสดงความคิดเห็นในทางการเมืองได้ไม่สะดวกนัก

ขอขอบคุณท่าน ดร. โสภณที่สละเวลาอันมีค่า มาช่วยตอบคำถามของผมครับ ในกรณีที่มีคำถามเพิ่มเติม จะขอรบกวนอีกเป็นครั้งคราวครับ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 15-03-2008, 21:37
ถ้าเชื่อ แบงค์โลก ว่ามีเงินเกิน 1$ ต่อวันก็ไม่จนแล้วก็เชิญเชื่อต่อไป
แต่ห้ามขึ้นรถเมล์เกิน 3 เที่ยวก็แล้วกัน :lol:

คุณรสนาบอกว่า “การกระจายความมั่งคั่งให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า 70% ที่เป็นคนยากจน” แล้วแบงค์โลกมีตัวเลขการกระจายรายได้ว่าไงบ้างครับ
ทรัพยากรของส่วนรวมถ้าให้ใครมือยาวสาวได้สาวเอา มันก็ปล้นกันดีๆนี่แหละ (ถึงจะเจียดให้กันตายวันละ 1$ ก็เหอะ)



ปล.ต่อต้านการฮุบสมบัติชาติ ต่อต้านการแปรรูปฯ กับ ต่อต้านโลกาภิวัฒน์ อาจฟังดูคล้ายๆกัน
แต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกันนะ



หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 15-03-2008, 22:49
4. เรื่องจุดยืน ทุกคนเปลี่ยนกันได้ แม้แต่คุณรสนา อย่ามัวมองจุดยืนอะไรนั่น ควรพิจารณาจากเหตุผลและใช้วิจารณญาณ


จุดยืนที่เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆเมื่อมีผลประโยชน์เข้ามาแทรกต้องดูจากนักการเมืองนั่นแหละครับ
โดยเฉพาะพวก นรกป่วนกรุง และรัฐบาลชุดนี้ แต่ละคนล้วนมีอดีตอันหอมหวานจูบปากกันมาแล้วทั้งนั้น
และกรุณาอย่าถามหาวิจารณญาณ เหตุผล หรือจริยธรรมกับคนพวกนี้นะครับ
ไม่งั้นคุณอาจจะโดนด่ากลับมาว่า "โง่" "มีมันสอมงแค่นี้" "เกมการเมือง" "ใส่ร้ายป้ายสี"

 :slime_worship:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-03-2008, 23:24
ถ้า 1$ ต่อวันก็ไม่จนนี่ ขอทานก็ไม่จนสิ เพราะเท่าที่เห็นรายได้เกิน 32 บาทต่อวันอีก :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 16-03-2008, 00:32
ไม่ว่าคนจนจะมี 10% หรือ 70% ก็ตาม ก็ไม่ได้ทำให้สิ่งที่คุณรสนาจะสื่อ ผิดเพี้ยนไปแต่อย่างใด
เจ้าของบทความคงต้องจับประเด็นให้ถูก ไม่ใช่จับผิดตรงจุดนั้นจุดนี้ โดยไม่มีสาระอันใด


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 16-03-2008, 05:52
ประเด็นย้อนกลับ น่าจะถามท่านด็อกเตอร์ว่า คนที่อยู่ในตลาดทุนมีจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของประชากร

มองจากคนละมุม ก็มักมองเห็นภาพไม่เหมือนกัน...ฝ่ายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการซื้อหุ้น ก็ย่อมมองการแปรรูปในแง่ลบ

ส่วนนักลงทุนที่หวังเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ของตนเอง ย่อมมองบวกต่อการแปรรูป กฟผ. หรือ ปตท.

เพราะในนั้นมันมีส่วนที่เป็นสิทธิประโยชน์ของประชาชนที่ถูกเวนคืนไปด้วย

วันขายหุ้น ปตท. ที่เห็นคนรวยมีเงินไปเข้าคิวซื้อหุ้น แล้วมามองราคาปัจจุบัน คนที่ไม่มีปัญญาซื้อหุ้นก็ได้แต่มองตาปริบๆ

ในส่วนของ กฟผ. ยิ่งแล้วใหญ่ วางเสาพาดสายลงไปในที่ดินประชาชนแล้วชดเชยราคาถูก

แต่ที่นาหรือที่ดินของชาวบ้าน ราคาตกทั้งผืน ขายก็ไม่ได้ราคา...หนีจากทำนาโรงงานก็ไม่ซื้อ ถึงซื้อก็กดราคา

ท่านอาจารย์ ไม่ลองประเมินที่ดินที่ถูกผลกระทบ จาก ปตท. หรือ กฟผ. บ้างเหรอครับ

ส่วนเรื่องคนเลือกคุณรสนา เป็น สว. ผมคิดว่าถ้าหากเป็นการเลือกตั้งแล้ว ใครเข้าวินก็ต้องยอมรับครับ

เพราะเราไม่ทราบหรอกว่า จริงๆ แล้วใครกันแน่ ( กลุ่มไหน ) เป็นคนเลือก

ถ้าหากบอกว่าคนในตลาดทุนไม่เลือก ก็ไม่แปลกอยู่ดี เพราะเค้าตัดสินกันที่ว่า ใครมีพวกมากกว่ากัน

กติกามันเป็นแบบนั้น

เฉพาะ กฟผ. ก็สู้กันประเด็นจะกู้หรือจะขายหุ้น มันก็มีแค่สองมุมมองแค่นี้ ที่เค้านำเสนอข้อมูลสู้กัน



หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: pornchokchai ที่ 16-03-2008, 08:45
เฉพาะเรื่องความยากจน เรายังทำใจยอมรับความจริงไม่ได้ว่าเราไม่ได้ "ยากจน" แต่มี "อยากจน" มากมาย ถ้าไทยจนขนาด 70% แล้วเขมร พม่า ลาวล่ะครับ  เราถูกกรอกหู ให้เข้าใจอย่างนี้ เพื่อว่า ngo บางส่วนจะได้ไปหาเงินไปเป็นขอทาน inter นั่นเอง เขาต้องการให้ไทยดูจนจะได้มีต่างชาติมาช่วยเหลือ จะได้มีงานทำ

ธนาคารโลก
siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/CDP-PAM/392031-1163056585570/cdp-pam_phase_ii_monitoring_report_thai.pdf
โดยเฉพาะหน้า 5 เส้นความยากจน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
www.boi.go.th/thai/how/demographic.asp

หรือดูเว็บของ CIA
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html#Econ

หรือของ TDRI
siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/333200-1089943634036/475256-1151398840534/oct26_Poverty_Somchai.ppt#312,4,Poverty Trend
(หน้า 4)


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 16-03-2008, 09:14
อาจารย์ครับ บางทีเราก็ไม่ได้เห็นด้วยกับผู้แทนของเราในทุกประเด็นนะครับ

เราเลือกเค้าไป ก็เพราะเราเชื่อมั่นในจุดยืน แค่นั้นเอง

ส่วนประเด็นโต้แย้ง คงเล่นกันไม่จบ เพราะมันเป็นเรื่องมุมมอง

อะไรคือยากจน อะไรคืออยากจน เรื่องแบบนี้ คนไม่จนก็เดือดร้อนจากนโยบายของรัฐ มีให้เห็นกันอยู่

แต่ยึดเอาคำจำกัดความตาม ยูเอ็น หรือ ธนาคารโลก ก็ว่ากันไปครับ

NGO ที่เป็นมูลนิธิเล็ก ๆ ไม่ได้ขอเงินก็เยอะ

พวกรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่ไม่หวังกำไร เค้าเรียก NGO ทั้งนั้น ถ้าไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ

ภาพรวม NGO ไม่น่าจะเป็นแบบที่อาจารย์ว่า

อาจารย์พอจะมีข้อมูล NGO ไปขอทาน inter น่าจะนำมาเผยแพร่บ้างนะครับ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: เพื่อนร่วมชาติ ที่ 16-03-2008, 09:36
เฉพาะเรื่องความยากจน เรายังทำใจยอมรับความจริงไม่ได้ว่าเราไม่ได้ "ยากจน" แต่มี "อยากจน" มากมาย ถ้าไทยจนขนาด 70% แล้วเขมร พม่า ลาวล่ะครับ  เราถูกกรอกหู ให้เข้าใจอย่างนี้ เพื่อว่า ngo บางส่วนจะได้ไปหาเงินไปเป็นขอทาน inter นั่นเอง เขาต้องการให้ไทยดูจนจะได้มีต่างชาติมาช่วยเหลือ จะได้มีงานทำ

ธนาคารโลก
siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/CDP-PAM/392031-1163056585570/cdp-pam_phase_ii_monitoring_report_thai.pdf
โดยเฉพาะหน้า 5 เส้นความยากจน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
www.boi.go.th/thai/how/demographic.asp

หรือดูเว็บของ CIA
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html#Econ

หรือของ TDRI
siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/333200-1089943634036/475256-1151398840534/oct26_Poverty_Somchai.ppt#312,4,Poverty Trend
(หน้า 4)


กรุณาระบุออกมาเป็นตัวอย่างด้วยครับว่า NGO รายไหน กล่าวหาลอย ๆ เพื่อดิสเครดิตแบบนี้ เป็นนิสัยเหมือนหนูเหลี่ยมนะครับ

เรื่องเส้นความยากจน หลายคนในนี้ตั้งคำถามไปแล้ว ว่าถ้าจะให้เชื่อตามธนาคารโลกว่า ได้เกินวันละหนึ่งดอลลาร์กว่า ๆ แปลว่าพ้นความยากจนแล้ว

มันไม่หน่อมแน้มไปหน่อยเหรอครับ

แล้วในเอกสารพวกนั้น ก็มีส่วนที่พูดถึงการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน ทำไมคุณไม่พูดถึงบ้าง

คนอื่นไม่ได้ตาบอดนะคุณ

ถ้าคุณยังเอาแต่ดันทุรังอ้างแต่เส้นความยากจน

ผมก็จะขอขอบคุณที่อุตส่าห์มาเปิดเผยตัวให้ผมรู้ตัวตนที่ไม่น่าเคารพของด๊อกเตอร์คนหนึ่ง

ซึ่งผมจะไม่ยอมเรียกด้วยคำว่า "อาจารย์" แน่ ๆ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ
เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 16-03-2008, 10:26
ผมนั่งอ่านบทความคุณอยู่สองวัน สามสี่ครั้ง.....ยิ่งอ่าน ก็ยิ่งรู้สึกมันมั่ว ๆ ยังไงพิกล.....

ผมไม่รู้ ว่า คิดได้ยังไง ว่า คนจนในเมืองไทย มี เพียง 10 % คุณยกตัวเลข ยกลิ้งค์ สารพัด เอามาชี้แจง....

ก่อนหน้าผม ก็เอาตัวเลขมาให้ดูแล้ว คุณ กลับไม่ได้อ่าน และพยายามไม่เข้าใจ.....หรือแกล้งทำเป็นไม่เข้าใจไม่รับรู้

คุณไม่รู้เหรอครับ ว่าหลายปีที่ผ่านมารายได้ มันกระจุกตัว อยู่ที่กลุ่มคนบางกลุ่ม ซึ่ง คนบางกลุ่มที่ว่า...ก็คือ คนที่ไม่ใช่คนจนอยู่แล้ว

นั่นหมายถึง คนจน ก็ยังคงจนอยู่เหมือนเดิม แต่ คนรวย ก็กลับรวยเพิ่มขึ้น  มีรายได้มากขึ้น (เฉพาะกลุ่มอีกนั่นแหละ)......

ลองคิดดูครับ รัฐบาล พปช.(นอมินี ทักษิณ) เพิ่งเป็นได้เพียงเดือนเดียว ...นโยบายเร่งด่วน อันนึ่ง ที่ใช้ ก็คือ "นโยบายพักชำระหนี้"ไม่เคยสงสัยบ้างเลยเหรอครับ  ว่า ทำไมมันถึงเป็นนโยบายเร่งด่วน.....

มีความเห็นบางประการ จากเพื่อนสมาชิกก่อนหน้านี้..เรื่องการหาเสียงเลือกตั้ง...หากคนจนยังมีเพียง สิบเปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าเป็นความจริง

คุณคิดว่า ทุกพรรคการเมือง จะออกนโยบายประชานิยม มาแข่งกันในการหาเสียง หรือไม่ครับ.....แล้วคนที่ชนะเลือกตั้ง ก็เป็น พปช.

ที่ มีนโยบายประชานิยม เป็นจุดเด่น เป็นจุดขายมาตลอด ...ไม่สงสัยบ้างเลยหรือครับว่า ทำไม นโยบาย ลด แลก แจกแถม ยังคงได้รับการตอบรับ

อย่างอุ่นหนาฝาคั่ง...นั่นเพราะ คนส่วนใหญ่ ของประเทศ ยังเป็นคนจนอยู่......



2. ที่ว่า “ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างรีบเร่ง . . . คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ท่อส่งก๊าซ ยังคงเป็นสมบัติของรัฐ . . . รัฐบาลทักษิณ ยกเลิกมติ ครม.นี้ ทำให้ ปตท.ได้ครอบครองทรัพย์สมบัติของชาติ . . . นี่คือ การขโมยในรูปแบบหนึ่ง” คุณฟ้องศาลให้ยกเลิกการแปรรูปของ ปตท. แต่เดชะบุญ ศาลไม่ได้พิพากษาตามคำฟ้อง แต่สั่งให้แบ่งแยกสมบัติให้ถูกต้อง เรื่องนี้ไม่มีใครต้องคำพิพากษาว่า “ขโมย” เลย

คำอธิบาย อันนี้ ก็เช่นกัน....ถ้า คิดและอธิบายได้เพียงแค่นี้ ผมว่า แย่แล้วครับ...ที่จะมาถกเถียงเรื่องที่เป็นรายละเอียดซับซ้อน เกี่ยวกับเรื่องรายได้ของคนไทย ฐานะของคนไทย


การที่คุณได้รับเลือกตั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้มีสิทธิออกเสียงในกรุงเทพมหานครเห็นด้วยกับคุณ สมัครก็ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการที่มีคะแนนสูงสุด นิติภูมิก็เคยได้รับเลือกเป็น สว. ด้วยคะแนนสูงสุด แสดงว่าการสร้างภาพมีประสิทธิผลสูงมากในการได้คะแนน ถ้านิติภูมิที่ภาพลักษณ์ไม่ถูกทำลายและลงสมัคร สว. ได้ คุณก็คงไม่ได้รับเลือก

แสดงว่า คุณคงไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า อะไร ทำให้ คุณรสนา ได้รับเลือกตั้งมา......

ถ้าคุณพูดถึงว่า สมัคร ก็เคยได้รับการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ด้วยคะแนน สูงสุด....คุณ ก็คงต้องไม่ลืมว่า คุณจำลอง กับพรรคพลังธรรม เคยได้ สส.มากที่สุด ในกรุงเทพฯด้วยเช่น...และ พรรคพลังธรรม ก็ตกต่ำสุด ๆ ในยุคที่มีหัวหน้าพรรค ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร...



โดยสรุปแล้ว ผมเห็นว่าดีครับที่มีการวิวาทะระหว่างคุณกับ มล. ณัฐกรณ์ ไม่ใช่ดีในประเด็นการทะเลาะกัน หรือไม่ใช่ดีที่ได้เห็นการห้ำหั่นอย่างมีศิลปะที่มีเปลือกนอกเป็นสุภาพชน  แต่ดีในการที่ประชาชนจะได้เห็นและมีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ เพื่อร่วมกันส่งเสริมให้เกิด “สังคมอุดมปัญญา” และไม่มืดบอด ด้วยการตรวจสอบตรรกะและแนวคิดโดยไม่ติดกับการสร้างภาพหรือการพูดความจริงเพียงบางส่วน

ตรงตัวแดง ๆ นั่นใช่เลย ครับ เป็นวิธีการ ของ คุณทักษิณ และ พวกพ้อง.....ที่มักพูดความจริง บางส่วน แล้ว ปกปิด ความจริงไว้บางส่วน...ทำให้ทุกอย่างมันยุ่ง ๆ ไว้ พัวพันกับคนมาก ๆ เข้าไว้......

กรณี ปตท. เช่นกัน คุณลองนึกดู ถ้า ศาลตัดสิน ให้ คืน ปตท. เข้ารัฐ คุณว่า มันจะวุ่นวายขนาดไหน....ในเมื่อหุ้นมันกระจาย ไปยังผู้ถือรายย่อย เป็นจำนวนมาก...ผลการตัดสินของศาล ไม่ผิดจากความคาดหมายของผมเท่าใดนักหรอกครับ.....ไม่ต่างกับ กรณี ที่ดิน อัลไพน์ ที่ เป็นที่ธรณีสงฆ์ หรอกครับ ลองนึกดูถ้าศาล ตัดสินแบบให้ถูกต้องตรง ๆ จะมีคน เดือดร้อนที่ซื้อ ที่ดินแถบนั้นไว้ ขนาดไหน.....ผลกำไร ของ ปตท.ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา น่าจะทำให้ ราคาน้ำมันลดลงได้ ซึ่ง จะส่งผลต่อดีเศรษฐกิจโดยรวม...หากไม่ถูกแปรรูปไป แล้ว แบ่งกัน ในหมู่ผู้ถือหุ้น ไม่กี่ราย

คุณปลื้ม มองมิติเดียว คือ ตลาดทุน หรือ การลงทุน....แต่ ไม่ได้มอง ผลที่เกิดขึ้นในระยะยาว.....

หวังว่า ต่อไปคงไม่เขียนบทความมั่ว ๆ แบบนี้ออกมาอีกน๊ะครับ


 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: baby ที่ 16-03-2008, 10:53
ขอพูดถึงประเด็นที่มีการเลือกคุณรสนาเป็นตัวแทนสว. ของคน  กทม. ด้วยคะแนนที่ท่วมท้นในอีกมุม

การที่คุณรสนา ได้รับเลือกเข้ามาน่าจะเปรียบเสมือนสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง  คือ 

สังคมของคนกรุง (ส่วนใหญ่) ต้องการแสดงให้เห็นถึงการ   ต่อต้าน   ในเรื่องของพวกนักการเมืองหลายสี

เพราะ สว. มีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล  ซึ่งนัยยะแล้วมีความสำคัญมาก  แต่หลายคนมองข้ามความสำคัญตรงนี้ไป 

เลยทำให้บทบาท   ไม่เด่นชัด  สำหรับคนอีกกลุ่มหนึ่ง

ส่วน  รัฐบาลชุดนี้ เป็นที่รับทราบกันอยู่กลาย ๆ ว่าเปรียบเสมือนตัวแทนของอดีตนายก

ถ้าจะเปรียบว่า  7 แสนกว่าคะแนน คือ การแสดงออกของถึงการไม่ยอมรับคณะรัฐบาล รวมถึง อดีตนายก  เป็นไปได้หรือไม่ ?

เป็นความเห็นส่วนตัว ...


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: pornchokchai ที่ 16-03-2008, 17:50
การที่รสนาได้ที่หนึ่ง
ก็เหมือนสมัครเคยได้ที่หนึ่ง
ก็เหมือนจำลองเคยได้ที่หนึ่ง
ก็เหมือนนิติภูมิเคยได้ที่หนึ่ง
ก็เหมือนพิจิตตเคยได้ที่หนึ่ง

อยู่ที่จังหวะและโอกาส
(การสุกงอมและโชคดีไม่มีใครดีกว่า)
แห่งการสร้างภาพของแต่ละคน

ถ้าวันนี้สารี อ๋องสมหวัง ลง คงไม่ได้ คงได้รสนา
ถ้าวันนี้ใครที่ภาพดีกว่ารสนาลง รสนาก็ไม่ได้
ถ้าวันนี้จับทุกคนมาเลือกใหม่ รสนาก็อาจได้
เพราะภาพที่สร้างยังสดอยู่
(เหมือนจำลองก็เคยแพ้พิจิตตมาแล้ว)

คนที่ได้ ก็ไม่ได้สะท้อนคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง
เพราะคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง (ประชาชน)
ก็สามารถเปลี่ยนขั้ว เปลี่ยนคนเลือกได้แบบ 180 องศา

แปลกที่คนกรุงเทพฯ "ซื่อสัตย์" น้อยกว่าคนใต้ และคนอีสาน
เพราะอะไร
เพราะคนกรุงเทพฯ ฉลาดกว่า ภักดีน้อยกว่า ขาดอุดมการณ์ ??? ฯลฯ


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 16-03-2008, 18:17
ประสบการณ์เลือกตั้งมาตั้งแต่ปี 2512 บอกในใจตัวเองว่า

คนกทม.ชอบเลือกตรงข้ามรัฐบาล

คะแนน กทม. ไม่ภักดีใครหรอกครับ ประมาณ 40 % พร้อมย้ายข้าง

อาจไม่ตรงนัก แต่มักย้ายข้างบ่อย ๆ

เที่ยวนี้ ส่วนใหญ่อาจหมั่นไส้ นปก. หรือ พลังประชาชน

แต่เลือก สว. นี่เค้าเลือกคนไปตรวจสอบ กลั่นกรองกฎหมาย


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 16-03-2008, 19:35
วิธีการตอบของคุณก็มุ่งเน้นไปเพื่อ discradit คุณรสนาเท่านั้น
ผมยังไม่เห็นคุณโสภณตอบคำถามที่หลายๆความเห็นถามไว้เลยครับ

หากจะให้บทความน่าเชื่อถือ กรุณาหาเหตุผลมามากกว่านี้

มากกว่า link world bank 1$ ที่เอามาใช้จริงในเมืองไทยไม่ได้
เพราะแค่ค่าแรงขั้นต่ำก็เกือบจะสองร้อยบาทต่อวันแล้วแต่เขาเหล่านั้นก็ยังเป็นคนจนอยู่

มากกว่า ที่คุณบอกว่าไม่มีคำว่า "ขโมย" เพราะจริงๆแล้ว พฤติกรรมแบบนี้สมควรเรีกว่า "ปล้น"มากกว่า
และที่คุณพูดแบบนี้ก็เหมือนกับการที่มีกฎหมายตัวแทน แต่คุณสดศรีบอกว่าในกฎหมายไม่มีคำว่านอมินีนั่นแหละครับ

มากกว่า คำว่า"ซื่อสัตย์" ที่คุณกำลังใช้ดิสเครดิตคุณรสนา
เพราะจริงๆแล้วคนกรุงเทพเป็นทาสข่าวสารมากกว่าเป็นทาสอามิส และยึดติดกับตัวบุคคล
จากข่าวสารนั้นคนกรุงเทพก็ตัดสินใจแล้วว่า คุณรสนา เหมาะสมกับตำแหน่ง สว. มากกว่าผู้สมัครท่านอื่นๆ

หากทำไม่ได้และยังมาแสดงระดับความคิดตรรกะที่บิดเบี้ยวแบบนี้
คุณเองก็ยิ่งตกต่ำลงเท่านั้น


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 16-03-2008, 20:23
ผมว่า ประเด็นที่คุณตอบมันมั่ว ๆ แถไถ ออกห่างจากประเด็น ไปเรื่อย ๆ ยังไงก็ไม่รู้ครับ...

การที่คุณได้รับเลือกตั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้มีสิทธิออกเสียงในกรุงเทพมหานครเห็นด้วยกับคุณ สมัครก็ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการที่มีคะแนนสูงสุด นิติภูมิก็เคยได้รับเลือกเป็น สว. ด้วยคะแนนสูงสุด แสดงว่าการสร้างภาพมีประสิทธิผลสูงมากในการได้คะแนน ถ้านิติภูมิที่ภาพลักษณ์ไม่ถูกทำลายและลงสมัคร สว. ได้ คุณก็คงไม่ได้รับเลือก

ประเด็น คือ คุณเอานิติภูมิ ไปเทียบกับ...คุณรสนา....แล้วไปบอกว่า ว่าถูกทำลายภาพลักษณ์ ไม่งั้น คงชนะ หากลงเลือกตั้ง.....นิติภูมิ จุดยืนไม่แน่นอน การพยายามส่งลูกชายลงสมัครพรรคพลังประชาชน ในขณะที่ตัวเองขึ้นเวทีพันธมิตรด่าคุณทักษิณเป็นบ้าเป็นหลัง อาการกั๊ก แบบนี้ คนกรุงเทพฯ เกลียดครับ......ในขณะ ที่ คุณรสนา จุดยืนหนักแน่น เรื่องการแปรรูป..เคยค้านมาแล้วทุกพรรค ในอดีต.....ไม่อิงพรรคการเมืองใด....คุณนิติภูมิ ลงมาชั่วโมงนี้ ยังไงก็แพ้ครับ...ผมว่าคุณมั่วแล้ว

ตกลงไอ้เรื่องคนจน มีเพียง สิบเปอร์เซ้นต์ ของประเทศไทย ไม่พูดต่อแล้วใช่มั๊ยครับ ข้อมูลเพ้อเจ้อ แบบนั้น



หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 16-03-2008, 20:35
เรื่องความคิดของคนนะครับ


ใครจะเลือกใครหรือไม่เลือกใคร ก็เป็นสิทธิ


แล้วแต่ความคิดของตน


ส่วนจะเลือกด้วยเหตุบังคับ ขู่เข็น อามิสสินจ้าง


ก็มิใช่ว่าจะไม่มี


การเปลี่ยนนิสัยคน ก็เหมือนที่ สมัคร ไปเป็น สว. เมื่อไม่ได้เป็น ก็มาลง สส.

แม้ว่า การตัดสินใจไปเป็นสว. คือ ต้องการเข้าไปตรวจสอบแล้วเช่นกัน ใจคนก็ยังเปลี่ยนได้


หรือว่า อย่างเช่น วิเชียรโชติ โฆษกฯ ก็เคยเป็น ปปช. ซึ่งหน้าที่อะไรเราก็รู้กันอยู่  ก็ยังกลับมาพรรค นอมินีเหลี่ยม

เมื่อเหตุมันเปลี่ยน


คนกาคะแนน ก็ย่อมเปลี่ยนได้ เช่นกัน


ผมบ่นเฉย ๆ ไม่ได้สีซอให้ใครควัง  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 20-03-2008, 17:32
ไอ้กาพ้มนี่มันก็เป็นซามาชิกไม่เอาไหน  ปล่อยกาทู้ถูกฝังตั้งนานและเพิ่งจะมาขุด

เข้าเรื่องเลยดีกว่า

ตอนผมอ่านบทความคุณโสภณครั้งแรก  ก็รู้อ่ะนะว่าคุณพยายามโต้แย้งคุณรสนา
อย่างไรก็ดี  ตรรกะในข้อที่ 1 ของคุณมันก็แปลกชอบกลนะครับ

" รัฐบาลไม่น่าจะหลอกคนทั้งประเทศ = มูลค่าของ กฟผ 20000ล้าน เป็นความจริง"   เหรอ??

ตัวท่านเองก็เป็น expert ด้านการประเมินราคาทรัพย์สินอยู่แล้ว
ทำไมท่านไม่แสดงวิธีการประเมินราคาของท่านให้ดูบ้างเล่าครับ ว่าทำไมมันถึงได้ 20000 ล้าน
กลับไปหยิบยกตรรกะแบบนั้นมาซะได้

อ้ะ ลองดูวิธีการประเมินของคนนี้ดู
เค้าประเมินออกมาว่า ถ้าตัดหุ้นขาย 25% ควรจะเป็นมูลค่า 9.8หมื่นล้าน - 9.5 แสนล้าน เลยนะครับ



http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q1/2006january30p3.htm

มูลค่า กฟผ.

ด้วยวิธีประเมินและสมมติฐานที่วางไว้ดังกล่าวข้างต้น ผลของการประเมินมูลค่าของ กฟผ. ปรากฏว่าเมื่อใช้อัตราคิดลดที่ร้อยละ 4.87 แล้ว มูลค่าทั้งหมด (100%) ของ กฟผ. หากโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการกำกับดูแลไม่มีการเปลี่ยนแปลง (สถานการณ์ที่หนึ่ง) จะอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท หากรัฐมีการเปลี่ยนโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในอนาคตไปในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ กฟผ. และมีการใช้วิธีการกำกับดูแลที่เข้มงวดแล้ว (สถานการณ์ที่สาม) มูลค่าของ กฟผ. จะต่ำลงมาอยู่ที่ 3.9 แสนล้านบาท แต่หากว่ารัฐกระทำในสิ่งตรงกันข้ามอันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ กฟผ. (สถานการณ์ที่สอง) แล้วมูลค่าที่ได้จะสูงถึง 3.8 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนโครงสร้างกิจการไฟฟ้า การจัดตั้งองค์กรกำ กับดูแล และการวางวิธีการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าดูแลนั้น มีผลต่อมูลค่า กฟผ.เป็นอย่างมาก (ดูตาราง มูลค่าของ กฟผ. เมื่อรัฐเป็นเจ้าของประกอบ)

มูลค่าที่ประเมินได้นี้สะท้อนให้เห็นว่าหากรัฐต้องการจะขายหรือแปรรูป กฟผ. ออกไปราคาที่ขาย (sale price) ได้ไม่ควรต่ำกว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐต้องการจะแปรรูป กฟผ. บางส่วนเพียงร้อยละ 25 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการกำกับดูแลแต่อย่างใด (สถานการณ์ที่ 1) ราคาที่ขายได้ไม่ควรต่ำกว่า 5 แสนล้าน หากรัฐจะแปรรูป กฟผ. โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการกำกับดูแลไปในทางที่เอื้อประโยชน์แก่ กฟผ.แล้ว (สถานการณ์ที่ 2) ราคาที่ขายได้จะต้องสูงถึง 9.5 แสนล้านบาท และหากรัฐจะแปรรูป กฟผ. โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและการกำกับดูแลนั้นส่งผลเสียแก่ กฟผ.แล้ว (สถานการณ์ที่ 3) ราคาที่ขายได้ควรเป็น 9.8 หมื่นล้านบาท
หากราคาที่ขายได้ต่ำกว่านี้เท่ากับว่ารัฐขาดทุนจากการแปรรูป กฟผ. บางส่วน เนื่องจากต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการขายของรัฐในรูปของกำไรที่หายไป (forgone earning) หากยังคงเก็บรักษา กฟผ.ไว้สูงกว่าราคาที่ขายได้

สมมติว่ารัฐสามารถจำหน่ายหุ้นของ กฟผ.ได้ในราคาหุ้นละ 28 บาท (ราคาสูงสุดตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญ บมจ. กฟผ.) จำนวนทั้งสิ้น 1,500 ล้านหุ้น (คิดจากร้อยละ 25 ของ 6,000 ล้านหุ้น) รัฐจะได้รับเงิน (sale proceed) เป็นจำนวน 4.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าของ กฟผ. บางส่วน (ร้อยละ 25) หากรัฐยังคงเก็บรักษา กฟผ.ไว้ ยกตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ที่หนึ่ง รัฐจะขาดทุนสุทธิจากการแปรรูป กฟผ. บางส่วนเป็นมูลค่า 4.6 แสนล้านบาท (ดูตารางขาดทุนสุทธิจากการแปรรูป กฟผ.บางส่วนประกอบ)




หัวข้อ: Re: บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
เริ่มหัวข้อโดย: Cylonn ที่ 21-03-2008, 06:33
ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการ
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

(http://www.thaiappraisal.org/images/Dr.Sopon98.gif)

ดร.โสภณเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ทำงานประเมินค่าทรัพย์สิน การพัฒนาเมือง และการใช้ที่ดินมาแต่ปี 2525 เคยเป็นที่ปรึกษาในโครงการของ ESCAP, UN-Habitat, ADB, World Bank, FAO และ ILO สำหรับประสบการณ์การสอนเริ่มแต่ปี 2523 สอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เบลเยียม ดร.โสภณ จบวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ที่ดินที่อยู่อาศัย จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), ได้รับประกาศนียบัตรการประเมินค่าทรัพย์สิน จากสถาบันนโยบายที่ดินลินคอห์น และ ประกาศนียบัตรการพัฒนาที่อยู่อาศัย มหาวิทยาลัยคาธอลิกลูแวง

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย อันเป็นองค์กรสมาชิกของ FIABCI ซึ่งเป็นสมาคมอสังหาฯ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก, ประธานกรรมการบริหาร บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส, ผู้แทนประจำประเทศไทยของ IAAO และกรรมการบริหาร สภาผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งอาเซียน ผลงานสำคัญคือการค้นพบสลัม 1,020 แห่ง (ปี 2528), การสร้างแบบจำลอง Computer-assisted Mass Appraisal: CAMA (ปี 2533), การพยากรณ์บ้านว่างอย่างถูกต้อง (ปี 2538 และ 2541) การศึกษาเพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (ปี 2543) และการสร้างแบบจำลองการประมาณราคาที่ดิน (ปี 2545) การวางแผนพัฒนาวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินเวียดนาม (พ.ศ. 2549)

http://www.thaiappraisal.org/Thai/contact/Default_Dr.Sopon.htm

โปรไฟล์หรู จบ ดร. แต่ได้แค่นี้เองหรอ  วันก่อนดูนิสิตมาแสดงความคิดเห็นรายการดร.เจิม ยังแสดงเหตุผลผังความคิดดีกว่าดร.นี่เลย

ถ้าบอกรายได้วันละ$1พ้นความยากจนแล้ว  ทำไมไม่ลองดำรงค์ชีวิตด้วยเงินวันละ$1ดูละว่าอยู่ได้ไหม แล้วค่อยมาแสดงความเห็น ถ้าอยู่ได้จริงผมจะยอมนับถือ