ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: น้องแบ๊งค์เองครับ ที่ 29-02-2008, 18:25



หัวข้อ: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: น้องแบ๊งค์เองครับ ที่ 29-02-2008, 18:25
 :slime_cool:

เอาไหม พนันกันไหม ผมว่า รสนา เบอร์ 5 มาแน่นอน 100000%


วิ่งรอบสนามหลวงไม่ได้ เสียดายจัง เค้ากั้นพื้นที่ไว้


แต่เอาไงดี

ถามว่า จะเกินล้านไหม


ผมว่าเกินแน่ๆ


เพราะต่อให้คนใช้สิทธิน้อยยังไง


คนชนะจะต้องได้คะแนนถล่มแน่ๆ เพราะมันจะมาแบบเท

รอบนี้ไม่ค่อยมีคู่แข่ง


รสนา ไม่เอาแม้วชัดเจนมาก ผลงานโดดเด่น


อนุสรณ์ ธรรมใจ แบบว่า เฮียแกเมโลดราม่าและเอะอะก็จะเอาแต่นักลงทุน บทบาทไม่ชัดเจน

แต่เค้าว่ากันว่า ฝ่ายแม้วเทให้เบอร์ 15 มานิต วิทยาเต็ม

ส่วนพี่ดี้ นิติพงษ์ มาแบบน้ำจิ้มๆ น่าจะสอบตก


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 29-02-2008, 18:30
ที่บ้านหนูก็ได้หลายเสียงอยู่  แต่กลัวๆว่า คนจะออกไปใช้สิทธิ์น้อยค่ะ

เอาเป็นว่า ถ้าออกมาเกิน 45 % ของ กทม. น่าจะได้เกินล้านเสียงค่ะ

แต่อย่านิ่งนอนใจนะคะ ยังไงก็ออกมาใช้สิทธิ์กัน เลือกใครก็ไม่ว่ากันค่ะ แต่อย่านอนหลับทับสิทธิ์  :slime_v:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: boyk ที่ 29-02-2008, 18:53
ถ้าคนกทม.เลือกกันจริงๆ ไม่ต้องซื้อ
เบอร์นี้ก็มีสิทธิได้คับ
ผลงานเข้าตา


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 29-02-2008, 18:57
ผมก็คิดว่า คนจะไปใช้สิทธิกันน้อย

หน่วยเลือกตั้งผมมะก่อน เดินข้ามถนนไปแป๊บเดียวก็ถึง

ตอนนี้มันเปลี่ยนใหม่ ไกลกว่าเดิม เซ็งเลย  :slime_shy:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 29-02-2008, 19:08
เลือกตั้งครั้งนี้ในกทม.คึกคักมีผู้มาใช้สิทธิ 60%กว่า
คะแนนที่ได้คงจะประมาณ7-8แสน

แต่รอบนอก เลือกตั้งสว.รอบนี้เงียบเหงา
คิดว่ามีผู้มาใช้สิทธิ 50%ฉิวเฉียด
ได้สว.แบบสัตว์สี่ขาเข้าสภาอีกอื้อ


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: O_envi ที่ 29-02-2008, 19:41
ผมว่าน้องแบ๊งค์พนันว่าถ้าไม่ถึงล้านเสียงจะแก้ผ้าวิ่งรอบสนามหลวงดีกว่านะ

 :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: วิหค อัสนี ที่ 29-02-2008, 20:02
จขกท. มาท้าเดิมพันทีไร เป็นเรื่องฮือฮาทุกรอบสิน่า   :slime_o:

...ว่าแต่ถ้าวิ่งรอบสนามหลวงไม่ได้ ลองไปวิ่งรอบสุวรรณภูมิแทนมั๊ยครับ  :slime_v:



หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ลับ ลวง พราง ที่ 29-02-2008, 20:56
ยังไงก็เลือก รสนาอยู่แล้ว  ประหยัดไฟเบอร์ 5  :slime_v:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 01-03-2008, 00:14
จขกท. มาท้าเดิมพันทีไร เป็นเรื่องฮือฮาทุกรอบสิน่า   :slime_o:

...ว่าแต่ถ้าวิ่งรอบสนามหลวงไม่ได้ ลองไปวิ่งรอบสุวรรณภูมิแทนมั๊ยครับ  :slime_v:


ผมว่าวิ่งรอบสยามดีกว่าครับ  :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: Iona ที่ 01-03-2008, 00:39
กทม.มีสว.ได้คนเดียว หลายคนยังไข้วเขวอยู่เลย ว่าจะเป็นแบบอดีตที่มีได้หลายคนเรียงตามคะแนนหรือไม่

อ้างอิง http://www.ect.go.th/thai/download51/post16_51.pdf (จังหวัดละ1คนเท่านั้น)

ใครมีข้อมูลแน่นอนถึงพื้นที่กทม.ว่าเป็น เขตยกเว้นหรือไม่ หรือถือเป็นจังหวัดช่วยเอามา บอกต่อๆกันที่

เพื่อป้องกันความสับสนในการลงคะแนน


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 01-03-2008, 00:46
พวกสามแอล (ลิ่วล้อเหลี่ยม) เขาโจมตีว่ารสนา จบอะไรเนี่ยแหละ เกี่ยวกับวารสาร พร้อมดูแคลนเรื่องจะมาทำหน้าที่กลั่นกรองกฏหมาย

แต่กระนั้น ในเวลาเดียวกันพวกสามแอลผู้มี 10 มาตรฐาน ก็ชูนิติพงษ์ ห่อนาค
 :slime_doubt: :slime_dizzy:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: Kittinunn ที่ 01-03-2008, 00:55
อ้าว ไม่ช่วยมานิตย์ วิทยาเต็มแล้วเหรอ หันมางัดพี่ดี้ เดี๋ยวกลายเป็นลิ่วล้ออากู๋ล่ะแย่เลย


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 01-03-2008, 01:32
กทม.มีสว.ได้คนเดียว หลายคนยังไข้วเขวอยู่เลย ว่าจะเป็นแบบอดีตที่มีได้หลายคนเรียงตามคะแนนหรือไม่

อ้างอิง http://www.ect.go.th/thai/download51/post16_51.pdf (จังหวัดละ1คนเท่านั้น)

ใครมีข้อมูลแน่นอนถึงพื้นที่กทม.ว่าเป็น เขตยกเว้นหรือไม่ หรือถือเป็นจังหวัดช่วยเอามา บอกต่อๆกันที่

เพื่อป้องกันความสับสนในการลงคะแนน

กทม. ก็เลือกได้แค่คนเดียว ประเทศไทยมี 76 จังหวัด ก็จะได้ ส.ว. 76 คน
รวมกับที่สรรหาอีก 74 คน เป็น 150 พอดีครับ


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: Gemini ที่ 01-03-2008, 01:45
ไม่พนัน เพราะไม่มีประโยชน์ ไม่น่าสนใจ

ส.ว. ชุดนี้ ใครจะได้ ก็คงเป็นได้ไม่กี่วันเหมือนชุดก่อนนะแหละ
เพราะอีกไม่กี่วันก็จะนองเลือดกันแล้ว
หลังจากนั้น ใครจะมาดูแลประเทศ จะยุบ จะเลิกอะไร ก็สุดแท้แต่เวรกรรม


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: คาคาชิ ที่ 01-03-2008, 01:55
ผมไม่พนันเรื่องนี้
แต่ผมขอพนันเรื่อง
ไอ้เอี้ยเหลี่ยม มันจะหลุดทุกคดี  ดีกว่า

เรื่องนี้ ผมมั่นใจจริง ๆ  ว่าคนเลว ๆ มันสามารถทำได้ทุกเรื่อง
แม้แต่ด่าป๋าเปรม ซึ่งป๋าเปรม ก็ดูเหมือน จะหงอย ไปเลย สงสัยกลัว


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: boyk ที่ 01-03-2008, 02:19
พวกบอร์ดฟ้าเดียวกันมันโหวตเบอร์อื่นเสียมากกว่า
ส่วนพวกนักเล่นหุ้นก็ไม่เอาเบอร์นี้ กลัวจะไปฟ้องเอาหุ้นอะไรออกอีกจะเสียบรรยากาศการลงทุน

เบื่อการเมือง แต่...
ผมมีคำตอบ

http://www.youtube.com/watch?v=ywEjbAfDtDw


หัวข้อ: ลุงแคน อยู่บ่.. อุบลไผเป็นตาเอาแหน่น้อ สว..
เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 01-03-2008, 02:25
ยังไม่รู้เลยจริงๆ ว่า สว อุบล มันมีตัวอะไรบ้าง
 :slime_cool:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 01-03-2008, 06:31
ใส่รสนาไปแล้วหนึ่งเสียงครับ


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: grave accent ที่ 01-03-2008, 08:53
แพ้พนันแล้วแก้ผ้าอาบน้ำ นี่ไม่เอานะน้องแบ๊งค์ เดี๋ยวกองเชียร์เซ็ง :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: น้องแบ๊งค์เองครับ ที่ 01-03-2008, 09:27
ราชดำเนินกำลังดิ้นพร่านๆๆๆๆๆ

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6381062/P6381062.html


http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6380831/P6380831.html


http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6380069/P6380069.html




หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 01-03-2008, 14:10
ไม่รับพนันครับ เพราะงานนี้นอนมาแบบไม่ต้องลุ้่นเลยผมว่า  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: เพื่อนร่วมชาติ ที่ 01-03-2008, 14:54
อยากเลือกรสนาครับ แต่เลือกไม่ได้จริง ๆ  :slime_shy:

เพราะบ้านผมอยู่สมุทรปราการ   :slime_bigsmile:

เอ่อ คือว่า ยังไม่รู้จะเลือกใครเลย

ช่วยแนะนำหน่อยสิครับ


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 01-03-2008, 16:57
ดิ้นพล่าน
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6381948/P6381948.html

 :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: kano ที่ 01-03-2008, 18:59
อาจจะไม่ถึงน้ะ คนไม่ค่อยไปใช้สิทธิ์มั้ง


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ::วิญญาณห้อง2:: ที่ 01-03-2008, 19:47
ผมว่า ไม่เกินนะ

เพราะว่า คนเบื่อ เลือกไปก็เท่านั้น



หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: boyk ที่ 02-03-2008, 03:21
Date: Wed, 27 Feb 2008
From: saynotorosana@gmail.com
Subject: คำถามที่รสนาต้องตอบ

คำถามที่รสนาต้องตอบ

คนจำนวนไม่น้อยทำใจเลือกรสนาได้ยาก

เพราะรสนาไม่เคยตอบคำถามที่สำคัญสี่ข้อ

ข้อแรก รสนาค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกินในกรณี ปตท. แต่รสนากลับเป็นกรรมการบริหาร อสมท.ที่แปรรูปแล้ว ทั้งที่รสนาไม่ได้เป็นตัวแทนของคนกลุ่มไหน ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในกิจการสื่อสารมวลชนเลยสักนิด แต่กลับมีตำแหน่งบริหารองค์กรแบบนี้ มีรายได้จากการประชุม เงินปันผล ฯลฯ ปีละหลายแสน



พฤติกรรมลักลั่นขัดแย้งกันเองแบบนี้ต้องการคำอธิบาย

ข้อสอง รสนาหาเสียงด้วยการโจมตีนักการเมือง ทั้งที่รสนาเป็นนักการเมือง หาเสียงและชิงตำแหน่งการเมืองเหมือนนักการเมืองทั้งหมด การหาเสียงแบบนี้ให้ร้ายนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง พรรคการเมือง และประชาธิปไตยรัฐสภา
โดยลืมไปว่าตำแหน่งสว.ก็เป็นตำแหน่งการเมืองไม่ต่างจากนักการเมืองคนอื่น

พฤติกรรมหาเสียงแบบใส่ร้ายป้ายสีระบบประชาธิปไตยแบบนี้ต้องการคำอธิบาย

ข้อสาม รสนาอ้างว่าสนับสนุนประชาธิปไตย ทั้งที่รสนาเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรฯ
มีบทบาทสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยายน รวมทั้งมีจุดยืนรับรัฐธรรมนูญ คมช. ที่เป็นต้นตอของความไม่เป็นประชาธิปไตยหลายอย่าง เช่น การกำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภา 74 คน จากการแต่งตั้ง ซ้ำยังเข้าไปรับตำแหน่งกรรมการปฏิรูปกฎหมายและกรรมการพัฒนาการเมืองที่แต่งตั้งโดยรั
ฐบาลจากการรัฐประหาร

ภูมิหลังการเมืองที่พิรุธแบบนี้ต้องการคำอธิบาย

ข้อสี่ รสนาอ้างว่าเล่นการเมืองแบบคานธี ทั้งที่คานธีนุ่งเจียมห่มเจียม สนับสนุนการผลิตแบบพึ่งตนเอง ไม่ยึดติดกับอำนาจการเมืองทุกชนิด ขณะที่รสนาแสวงหาอำนาจการเมือง เคลื่อนไหวการเมืองเพื่อเป็นฐานของการเข้าสู่อำนาจในอนาคต ให้สัมภาษณ์เปลี่ยนไปมาตามกลุ่มผู้ฟังผู้ชมสื่อ บางเวทีก็ว่าไม่เห็นด้วยกับทุนนิยม บางเวทีก็ว่าสนับสนุนทุนนิยมเสรีทุกชนิด

พฤติกรรมแสดงความเห็นที่ไม่แน่นอน เปลี่ยนไปมาแบบนี้ ต้องการคำอธิบาย

ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีผู้แสวงหาอำนาจที่หาเสียงด้วยวิธีการแบบรสนา คนกรุงเทพเคยเลือกนักการเมืองด้วยทัศนคตินี้นับครั้งไม่ถ้วน


จึงจำเป็นต้องถามคำถามคุณรสนาให้มากกว่านี้

เพราะคุณรสนาเป็นนักการเมือง แสวงหาอำนาจการเมือง และกำลังเล่นการเมืองไม่ต่างจากนักการเมืองทุกราย

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

รสนา โตสิตระกูล

ขอตอบคำถาม คุณ "saynotorosana" และผู้อ่านคำถามทั้ง 4 ข้อ ดังนี้

1.ดิฉันได้รับการทาบทามให้เป็นบอร์ดอสทม. ตั้งแต่ปลายปี 2549 ดิฉันเคยปฏิเสธไม่รับในครั้งแรก ภายหลังมีเพื่อนและพี่บางคนบอกว่าสมควรเข้าไปให้มีพื้นที่ของฝ่ายผู้บริโภคบ้าง คุณคงไม่ทราบกระมังว่าดิฉันจบวารสารธรรมศาสตร์ เมื่อมีการทาบทามครั้งที่ 2 ดิฉันจึงยอมรับเป็นกรรมการ ส่วนคนที่ทาบทามให้เข้าไป บอกเหตุผลว่าอยากให้เข้าไปดูว่า อสมท. จะแก้ไขให้ถูกกฎหมายได้โดยไม่ต้องถอนการแปรรูปได้อย่างไร

ดิฉันเข้าประชุมครั้งแรก เมื่อ 18 ธันวาคม 2550 และบอร์ดก็ได้หยิบยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา (เนื่องจากศาลปกครองเพิ่งตัดสินให้ปตท. ต้องคืนทรัพย์สินส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติให้รัฐ) และบอร์ดมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ

บางคนบอกว่าดิฉันต่อต้านการแปรรูปทุกชนิด ดิฉันก็ต้องขอบอกจุดยืนว่ากิจการที่ผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน และเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่กระทบชีวิตประชาชนในสังคม ไม่ควรแปรรูป เพราะเป็นการโอนการผูกขาดไปให้เอกชนในการทำกำไรเข้ากระเป๋าโดยเอาเปรียบผู้บริโภค ส่วนกิจการใดแปรรูปแล้วแข่งขันได้ก็จะมีประสิทธิภาพ และราคาที่เป็นธรรม เป็นสิ่งที่ยอมรับได้

ในการประชุมบอร์ดครั้งแรกนั้น ดิฉันยังได้พบข้อมูลว่ามีลูกจ้างรายวันของอสมท.จำนวนกว่าร้อยชีวิตที่ทำงานกับอสมท.เป็นเวลาหลายปีตั้งแต่ก่อนแปรรูป โดยไม่เคยได้รับสวัสดิการประกันสังคม เพราะเป็นลูกจ้างรายวัน ดิฉันเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนลูกจ้างรายวันเหล่านั้นให้เป็นพนักงานประจำ เพื่อพวกเขาจะได้รับสวัสดิการการประกันสังคม ซึ่งในที่ประชุมเห็นด้วย และมีมติให้ปรับเปลี่ยนให้เสร็จในต้นปี 2551

การเป็นกรรมการอสมท. ดิฉันได้เพียงค่าตอบแทนเบี้ยประชุม ซึ่งไม่ได้มากมายอย่างที่คิด โบนัสไม่มี ทั้งไม่มีสิทธิประโยชน์อื่นๆ นอกจากโทรศัพท์มือถือที่ทางฝ่ายสำนักงานจะจัดให้ดิฉันในฐานะกรรมการ แต่ดิฉันก็ปฏิเสธไม่รับ

2.ดิฉันพูดถึงหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นไปตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว เพราะหากขาดการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหาร ก็จะเกิดการใช้อำนาจในทางที่ผิด และเกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้ ดังที่ลอร์ด แอกตัน เคยพูดว่า "อำนาจนำไปสู่การคอรัปชั่น อำนาจเบ็ดเสร็จย่อมนำไปสู่การคอรัปชั่นเบ็ดเสร็จ" การพูดถึงระบบการเมืองปัจจุบันที่ว่า การถ่วงดุลตามหลักการแบ่งแยกอำนาจเป็น 3 ส่วน คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ไม่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ จึงทำให้การตรวจสอบไม่สามารถเกิดขึ้นจริง ทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในหมู่นักการเมืองอย่างกว้างขวาง ซึ่งนำไปสู่วงจรอุบาทว์ของการรัฐประหารซ้ำซาก เพราะมีข้ออ้างให้กับกลุ่มอำนาจอีกฝ่ายในการทำรัฐประหาร เพื่อช่วงชิงอำนาจจากรัฐบาลที่คอรัปชั่นเท่านั้น และก็ไม่สามารถหยุดยั้งการคอรัปชั่นได้ พูดอย่างนี้ใส่ร้ายนักการเมืองตรงไหน?(หรือ?)

ดิฉันเห็นว่า ถ้าผู้แทนของประชาชนสามารถทำให้ระบบรัฐสภาเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านความยุติธรรมท
างสังคมอย่างแท้จริง ประชาชนก็ไม่ต้องออกมาเดินบนท้องถนน ให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนจนต้องเสียเลือดเสียเนื้อกัน

3. ดิฉันไปปราศรัยบนเวทีพันธมิตร เพราะรัฐบาลไม่สามารถถูกตรวจสอบภายในระบบของรัฐสภาได้ ทำให้ประชาชนต้องออกมาเคลื่อนไหวนอกสภา แต่ไม่นอกรัฐธรรมนูญ แต่ดิฉันไม่เคยเชื่อไม่เคยสนับสนุนการรัฐประหารว่าเป็นการแก้ปัญหาการทุจริตของนักกา
รเมืองและรัฐบาล ดิฉันเคยเขียนบทความว่า การรัฐประหาร 19 กันยา เป็นการฉวยโอกาส และตัดตอนการเรียนรู้ของประชาชนในการจัดการกับรัฐบาลเผด็จการทุนนิยมสามานย์ ทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการเรียนรู้ที่จะจัดการกับเผด็จการในคราบประชาธิปไตย โดยไม่ให้เสียเลือดเนื้อเหมือนอดีต

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่โหวตไม่รับรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าคุณจะบอกว่า "ถ้างั้น ดิฉันก็ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเป็นกรรมการต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ และการสมัคร ส.ว. ด้วยละก้อ" ดิฉันก็อยากให้คุณไปตั้งคำถามนี้กับพรรคพลังประชาชนด้วยว่า เมื่อโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญแล้ว มาลงเลือกตั้งทำไม คุณไม่มีคำถามกับพรรคนี้บ้างหรือ ทำไมไม่ประนามพรรคนี้บ้างว่ามีพฤติกรรมลักลั่นขัดแย้งกันเอง แบบนี้ต้องมีคำอธิบายบ้างล่ะ

4. ดิฉันพูดถึงทุนนิยมเสรีว่าต้องมีธรรมาภิบาล และมีความรับผิดชอบต่อสังคมจึงจะยอมรับได้ แต่ทุนนิยมสามานย์นั้นยอมรับไม่ได้ และทุนนิยมเสรีนั้นต้องไม่ใช่ เป็นเพียงเสรีภาพของหมาจิ้งจอกในเล้าไก่

ดิฉันขอขอบคุณคำถามทั้ง 4 ข้อ และคนถามที่ให้ความสนใจดิฉันเป็นอันมาก ทั้งที่ตำแหน่งส.ว. ไม่ได้บริหารงบประมาณแผ่นดิน คุณยังตรวจสอบดิฉันเข้มข้นขนาดนี้ ดิฉันขอให้คุณตรวจสอบรัฐบาล และบรรดาคณะเลขา ที่ปรึกษาที่เป็นผู้ใช้อำนาจและภาษีของพวกเราบ้างเถิด เพราะถ้ามีประชาชนที่ตรวจสอบใกล้ชิดเข้มข้นเช่นนี้ รัฐบาลน่าจะดีกว่านี้ได้มาก ขออย่าใช้แค่อคติในการดิสเครดิตดิฉัน เพียงเพื่อให้ผู้อ่าน"saynotorosana" หากคิดว่าการ "saynotorosana" แล้วจะทำให้บ้านเมืองดีกว่านี้ โปร่งใสกว่านี้ ได้รัฐบาลดีกว่านี้ มีธรรมาภิบาลมากกว่านี้ก็เชิญดิสเครดิตไปเถิด แต่ที่จะรีบร้อนตัดสินดิฉันแบบรับเหมาตัดสินแทนผู้อื่น อย่างที่มักกล่าวหาพวก NGO เป็นพวกชอบรับเหมาทำแทนละก้อ น่าจะลองดูกันยาวๆ ดีไหม ยังไม่สายที่จะตัดสินกันก่อนตายจากกัน แต่ก่อนอื่นคนตั้งคำถาม น่าจะมีความกล้าหาญพอที่จะบอกชื่อแซ่ของตัวเองให้ผู้อื่น และผู้ตอบคือดิฉันได้ทราบบ้าง อย่าหลบอยู่หลังฉากเพื่อดิสเครดิตคนอื่นโดยไม่ให้เขาเห็นตัวตนของคุณบ้างว่าบริสุทธิ
์ สะอาดสักแค่ไหน ไม่งั้นก็จะถูกมองได้ว่า เป็นแค่มือปืนรับจ้าง หรือคุณจะเป็นอัศวินของประชาชนที่จะต่อสู้กับสิ่งไม่ถูกต้องกันแน่ ถ้าคุณเป็นอย่างแรก ดิฉันก็ไม่อยากให้ค่ากับคุณมากนัก แต่ถ้าเป็นอย่างหลัง ดิฉันก็ขอคาวระ.


รสนา โตสิตระกูล
29 กุมภาพันธ์ 2551

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

จดหมายจากจอน อึ๊งภากรณ์


เรียนเพื่อนๆที่ร่วมสังคม

เป็นเรื่องที่เพี้ยนสุดๆตามรัฐธรรมนูญยุคคมช. ที่ประชาชนทั้งประเทศมีสิทธิเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้เพียง 76 คน ในขณะที่มี 7 อรหันต์จากศาลและองค์กรอิสระได้รับสิทธิเลือกสมาชิกวุฒิสภาถึง 74 คน (คำนวณดูแล้ว 1 อรหันต์จากศาลและองค์กรอิสระมีค่าเท่ากับประชาชนทีมีสิทธิเลือกตั้งถึง 4 ล้านกว่าคน)

แล้วความจริงก็ปรากฏแล้วว่า 74 ส.ว. ผู้ที่ได้รับการเลือกจาก 7 อรหันต์นั้น เกือบทั้งหมดไม่ใช่ผู้แทนผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างแน่นอน

การเลือกตั้งส.ว. อีก 76 คน ก็ปรากฏเป็นเรื่องเพี้ยนอีกที่ชาวกรุงเทพฯ 6 ล้านคนจะมีผู้แทนเป็น ส.ว.เพียงคนเดียวแทนที่จะได้ 7 คนตามสัดส่วนของอัตราพลเมือง

ในฐานะที่ผมเคยได้รับเลือกตั้งเป็นส.ว.กรุงเทพฯหนึ่งใน 18 คนเมื่อปี 2543 ผมขอยืนยันว่าบทบาทของสมาชิกวุฒิสภามีความสำคัญมากในเรื่องของการตรวจสอบนโยบายและกา
รปฏิบัติของรัฐบาล ตลอดจนการปกป้องผลประโยชน์และสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเรื่องต่างๆ

เราไม่ควรปล่อยให้วุฒิสภาเป็นตรายางเป็นอันขาด !

เราควรต้องใช้สิทธิ์อย่างคุ้มค่าที่สุดโดยการเลือกผู้แทนที่เรามั่นใจว่าจะทำหน้าที่
ส.ว.ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ในฐานะคนกรุงเทพฯ ผมเองจะเลือก รสนา หมายเลขห้า เพราะถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้เห็นด้วยกับรสนาในทุกเรื่อง แต่รสนาเป็นคนที่ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ถูกซื้อไม่ได้ กล้าท้าทายผู้ที่ใช้อำนาจในทางผิด กล้าต่อสู้กับระบบผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม กล้าปกป้องผลประโยชน์ของผู้ด้อยโอกาสและประชาชนโดยรวม ผลงานในการเปิดโปงคอรัปชั่นในกระทรวงสาธารณสุขและในการหยุดยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่า
ยผลิตก็เป็นที่ประจักษ์


ด้วยความเคารพ

จอน อึ๊งภากรณ์


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: คาคาชิ ที่ 02-03-2008, 04:03
อูยยยยยส์
อ่านของคุณรสนา แล้วโดน โดยเฉพาะ ประโยคท้าย ๆ


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: Kittinunn ที่ 02-03-2008, 04:58
สุดยอด... :slime_v: :slime_v: :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 02-03-2008, 05:46
ผมเห็นด้วยกับ จอน อึ๊งภากรณ์ เรื่อง 7 อรหันต์ มันดูไม่ยุติธรรมเท่าไร ที่คน 7 คน สามารถเลือก สว.ได้เยอะขนาดนั้น แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยกับ จอน ที่บอกว่าควรให้มี สว.ตามสัดส่วนพลเมืองของจังหวัด เพราะมันดูไม่ยุติธรรม จังหวัดใหญ่ได้เปรียบเสมอไป แต่ผมก็เห็นด้วยที่แต่ละจังหวัดจะมีจำนวน สส.คิดตามสัดส่วนของประชาชนในแต่ละจังหวัด

คือผมเห็นว่า ระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ เป็นระบบที่ดีมากระบบหนึ่ง อุดมไปด้วยกลไก ตรวจสอบและถ่วงดุลย์  สภาสหรัฐฯ มี 2 สภาเหมือนกัน สส.มีจำนวนตามสัดส่วนของประชาชนในแต่ละรัฐ  แต่จำนวน สส.ทั้งหมดก็คงที่ เวลาที่จำนวนประชากรเปลี่ยนแปลงก็ปรับสัดส่วนของประชาชนให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ในการเลือกตั้ง สส.บางครั้ง จะมีเขตเลือกตั้งในบางรัฐที่ได้ สส.น้อยลง เพราะคนในเขตลดลง แต่ก็จะมีบางเขตเลือกในรัฐเดียวกันที่ได้ สส.เพิ่มขึ้น เพราะมีประชากรเพิ่มขึ้น  ส่วน สว.มีได้รัฐละ 2 คนเท่ากัน

เพราะฉะนั้น เสียงของรัฐเล็กอย่างฮาวาย ในวุฒิสภา ก็เท่าเทียมกับรัฐใหญ่อย่างแคลิฟอร์เนีย หรือนิวยอร์ค เสียงของรัฐที่พึ่งพิงการเกษตรอย่างมอนตาน่า ก็เท่าเทียมกับรัฐที่อุดมไปด้วยอุตสาหกรรมอย่างอิลลินอยส์ เพราะมี 2 เสียงเท่ากัน

ผมว่าข้อกำหนดเรื่อง จำนวน สส.กับจำนวน สว.ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ดีขึ้นกว่าเก่านิดหนึ่งในเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างจังหวัดใหญ่กับจังหวัดเล็ก แต่ก็บกพร่องอย่างมากที่นำเอาอำนาจของประชาชนไปไว้ในมือคนเพียงแต่ 7 คน แล้วยังมีสิทธิ์เลือกได้เกือบเท่ากับจำนวน สว.ที่ประชาชนมีสิทธิ์เลือก

ผมไม่คิดว่าการสรรหา เป็นเรื่องเลวร้าย แต่สรรหาเยอะขนาดนี้ มันไม่แฟร์

แต่ก็เอาเถอะ ได้ความเท่าเทียมระหว่างจังหวัดใหญ่กับจังหวัดเล็กมานิด ส่วนบกพร่องอื่นก็ค่อยหาทางแก้กันไป

พูดอย่างนี้ จะหาว่าผมโปรอเมริกัน จริง ๆ ไม่ใช่ ประเทศนี้มีความดีความเลว ไม่ต่างประเทศจากประเทศอื่น ๆ ในโลกเท่าใดนัก นักการเมืองก็มีทั้งเลวและดี คละ ๆ กัน แต่ผมเห็นว่า ระบบการเมือง, กลไกตรวจสอบและถ่วงดุลย์ มันดี ผมก็เห็นว่ามันดี แล้วถ้าเป็นไปได้เราก็ควรใช้สิ่งนี้เป็นแบบอย่าง นำไปปรับปรุงให้สอดคล้องกับระบบสังคมของประเทศไทย

สิ่งที่ผมรู้สึกไม่ชอบอยูตลอดเวลาก็คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ มันควรจะถ่วงดุลย์กันอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่เคยใช่เลย พัวพันกันอีรุงตุงนังไปหมด

สส. เลือกประธานรัฐสภา ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ แล้ว สส.อีกเหมือนกัน เลือก นรม. หัวหน้าฝ่ายบริหาร  แล้วหัวหน้าฝ่ายบริหาร เลือกประธานศาลฏีกา แล้วมันจะคานอำนาจกันอย่างสัมฤทธิ์ได้อย่างไร

ผมไม่เชื่อว่า จอน อึ๊งภากรณ์ จะไม่รู้เรื่องพวกนี้ แต่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม จอน อึ๊งภากรณ์ ถึงยังเห็นด้วยกับระบบตรวจสอบถ่วงดุลย์ที่พิกลพิการที่เห็นกันอยู่ เพียงครึ่งเดียว

ในฐานะนักวิชาการที่มีหน้าที่ให้ความรู้กับลูกศิษย์ ในฐานะนักวิชาการที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางวิชาการเพื่อชี้นำสังคม ผมเห็นว่า จอน อึ๊งภากรณ์ เลือกเฉพาะบางสิ่งบางเรื่องมาพูดเท่านั้น ก็ต้องดูอเจนด้าของเขากันต่อไป


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: sakdapolitics ที่ 02-03-2008, 14:17
ประเทศเราเป็นรัฐเดี่ยวเอาไปเทียบกับของมะกันลำบากครับ
มลรัฐแต่ละมลรัฐเขาต้องมีอำนาจจัดการดูแลตัวเองค่อนข้างสูง ต่างจากจังหวัดของเราที่เป็นแค่การแบ่งเขตการปกครอง
(ในทางทฤษฎี การควบรวม แยก ตั้งจังหวัดใหม่ แค่ตราพระราชบัญญัติออกมาก็ทำได้แล้ว)

แล้วก็ฐานคิดที่ทำให้วุฒิสมาชิกของมะกันมี2คนเท่ากันทุกรัฐ จริงๆแล้วมาจากความพยายามสมัยรวมประเทศครับ
เนื่องจากต้องการให้แต่ละมลรัฐลงนามรับรองรัฐธรรมนูญ/รวมประเทศ ก็เลยให้แต่ละมลรัฐมีเท่ากันมลรัฐเล็กๆจะได้ยอมลงนาม
ไม่ใช่เพราะเห็นว่าระบบนี้ดีเด่นแต่อย่างใดเลย :slime_smile:

ส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าระบบที่เหมาะสมกับประเทศเรามากกว่าคือการให้มีส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งในระดับประเทศด้วย
งานของส.ว.เป็นงานระดับประเทศ และที่จริงแล้วควรมีลักษณะของการยึดติดกับท้องถิ่นน้อยกว่าส.ส.(ขนาดส.ส.ยังมีระบบสัดส่วน)
อีกทั้งการทำงานของส.ว.ต้องการวิชาชีพที่หลากหลาย เพราะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องต่างๆ
การเลือกตั้งที่อิงกับระดับจังหวัดอย่างเดียวจะทำให้ความหลากหลายตรงนี้มีน้อยเพราะโดยมากมักจะได้ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมา
อีกทั้งยังทำให้ผู้ที่เป็นที่รู้จักในระดับประเทศหรือภูมิภาค แต่ไม่มีเสียงที่แน่นหนาในระดับจังหวัดมีโอกาสเกิดน้อย
ยังไม่นับข้อเสียจากการที่ส.ว.ยึดติดกับท้องถิ่นมากเกินไปแทนที่จะมุ่งเน้นทำเพื่อประเทศชาติในภาพรวม
นอกจากนี้การเลือกตั้งระดับประเทศยังมีลักษณะที่เอื้อต่อการประกันเสียงข้างน้อยมากกว่าและทำให้การซื้อเสียงทำได้ยากมากๆด้วยครับ :slime_v:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: boyk ที่ 02-03-2008, 19:14
คะแนนที่ได้มา คิดว่าส่วนหนึ่งเกิดจากแรงกระตุ้นจากการโยกย้ายเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
แต่ฐานเดิมก็คือคนที่ไม่เอาทักกี้ แค่นั้นเอง...


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 02-03-2008, 20:14
รู้แต่ว่า ถ้าเป็นเลือกตั้งทั้งหมด จะไม่มีเสียงของคนกลุ่มน้อย หรือคนพิการในสภาเลย ไม่ว่าล่างหรือบน  :slime_surrender:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: หน้าเหลี่ยมด้าน ณ ประชาไท ที่ 02-03-2008, 21:31
ผลคะแนน ออกมาแล้ว  น้องแบงค์ กวาดเลียบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ    :slime_v: :slime_v:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 02-03-2008, 22:44
เห็นการตอบคำถามของคุณรสนา
แล้วให้คิดถึงการตอบคำถามของนายสมัคร :slime_dizzy:


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 03-03-2008, 05:09
ประเทศเราเป็นรัฐเดี่ยวเอาไปเทียบกับของมะกันลำบากครับ
มลรัฐแต่ละมลรัฐเขาต้องมีอำนาจจัดการดูแลตัวเองค่อนข้างสูง ต่างจากจังหวัดของเราที่เป็นแค่การแบ่งเขตการปกครอง
(ในทางทฤษฎี การควบรวม แยก ตั้งจังหวัดใหม่ แค่ตราพระราชบัญญัติออกมาก็ทำได้แล้ว)

แล้วก็ฐานคิดที่ทำให้วุฒิสมาชิกของมะกันมี2คนเท่ากันทุกรัฐ จริงๆแล้วมาจากความพยายามสมัยรวมประเทศครับ
เนื่องจากต้องการให้แต่ละมลรัฐลงนามรับรองรัฐธรรมนูญ/รวมประเทศ ก็เลยให้แต่ละมลรัฐมีเท่ากันมลรัฐเล็กๆจะได้ยอมลงนาม
ไม่ใช่เพราะเห็นว่าระบบนี้ดีเด่นแต่อย่างใดเลย :slime_smile:

ส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าระบบที่เหมาะสมกับประเทศเรามากกว่าคือการให้มีส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งในระดับประเทศด้วย
งานของส.ว.เป็นงานระดับประเทศ และที่จริงแล้วควรมีลักษณะของการยึดติดกับท้องถิ่นน้อยกว่าส.ส.(ขนาดส.ส.ยังมีระบบสัดส่วน)
อีกทั้งการทำงานของส.ว.ต้องการวิชาชีพที่หลากหลาย เพราะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องต่างๆ
การเลือกตั้งที่อิงกับระดับจังหวัดอย่างเดียวจะทำให้ความหลากหลายตรงนี้มีน้อยเพราะโดยมากมักจะได้ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมา
อีกทั้งยังทำให้ผู้ที่เป็นที่รู้จักในระดับประเทศหรือภูมิภาค แต่ไม่มีเสียงที่แน่นหนาในระดับจังหวัดมีโอกาสเกิดน้อย
ยังไม่นับข้อเสียจากการที่ส.ว.ยึดติดกับท้องถิ่นมากเกินไปแทนที่จะมุ่งเน้นทำเพื่อประเทศชาติในภาพรวม
นอกจากนี้การเลือกตั้งระดับประเทศยังมีลักษณะที่เอื้อต่อการประกันเสียงข้างน้อยมากกว่าและทำให้การซื้อเสียงทำได้ยากมากๆด้วยครับ :slime_v:


อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฐานคิดนั้นอะครับ รัฐเล็กต้องการความเสมอภาคหรือป่าวครับ รัฐใหญ่เลยต้องยอม ถ้าไม่ยอมรวมประเทศไม่ได้ ถ้าใช่มันก็แสดงให้เห็นว่า ถ้ารัฐใหญ่ต้องการรวมประเทศ ต้องให้ความเสมอภาคนี้กับรัฐเล็ก

ผมอาจจะผิดก็ได้

แต่ก็นั่นแหละครับ ผมบอกไปก่อนแล้วว่า เอามาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสังคมไทย

อีกสองสามปี ผมจะกลับเมืองไทย ว่าจะเอารถคันที่ใช้อยู่กลับไปใช้ต่อ ผมก็คิดว่าผมคงต้องย้ายพวงมาลัย ไม่งั้นเข้าลานจอดรถที คงลำบากพิกล


หัวข้อ: Re: พนันกันไหม สว กทม รอบนี้ รสนามาแน่ แต่คะแนนเกินล้านไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: sakdapolitics ที่ 03-03-2008, 17:08
ผมคงตอบแทนผู้ร่างรัฐธรรมนูญมะกันไม่ได้นะครับ
แต่คิดว่าเหตุผลหลักๆน่าจะเป็นการจูงใจกันธรรมดาๆ
ให้ผลประโยชน์หรืออำนาจมากก็จูงใจให้ยอมลงนามได้ง่ายขึ้น :slime_smile:



รู้แต่ว่า ถ้าเป็นเลือกตั้งทั้งหมด จะไม่มีเสียงของคนกลุ่มน้อย หรือคนพิการในสภาเลย ไม่ว่าล่างหรือบน  :slime_surrender:
นี่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งครับ การเลือกตั้ง(โดยเฉพาะที่อิงกับท้องถิ่นมาก) เป็นการให้น้ำหนักในแง่ของการกระจายตัวของประชากรอย่างเดียว
ผู้ชายคนหนึ่งอาจจะเป็นคนอีสาน(สมมติว่าโคราช) แตคุณค่าของเขาไม่ได้อยู่ที่การเป็นคนอีสานอย่างเดียว เขาอาจจะเป็นผู้ใช้แรงงาน เป็นผู้ประกันตน เป็นพ่อของลูกที่ต้องการให้ลูกๆของเขาได้รับการศึกษา บลาๆๆในขณะเดียวกันด้วย

ในสภาเราเต็มไปด้วยผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ที่แทบไม่เคยสนใจงานระดับชาติมุ่งแต่จะแย่งงบมาลงจังหวัดตัวเองเพื่อสร้างผลงาน และแน่นอนเพื่อผลประโยชน์ตนและพวกพ้อง
ชาวนา มีเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของประชากร เรามีผู้แทนของชาวนากี่คน?
ผู้ใช้แรงงาน มีเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของประชากร เรามีผู้แทนของผู้ใช้แรงงานกี่คน?
มนุษย์เงินเดือน มีเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของประชากร เรามีผู้แทนของมนุษย์เงินเดือนกี่คน?
เรามีตัวแทนของคนอีสานกว่า200คน แต่จริงๆแล้วเราแทบไม่มีตัวแทนของพวกเขา?(ถ้าไม่ใช่ว่าไม่มีเลย)

ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น มีสัดส่วนเท่าไหร่ของประชากรไม่รู้ แต่เรามีตัวแทนของพวกเขามากมาย
นายทุน มีสัดส่วนเท่าไหร่ของประชากรไม่รู้ แต่เรามีตัวแทนของพวกเขามากมาย
นี่คือข้อเสียของการเลือกตั้งที่อิงกับท้องถิ่นเกินไป เรามองข้ามมิติอื่นของผู้ชายที่ผมยกมาก่อนหน้าไปหมด ลดคุณค่าของเขาเหลือแค่การเป็นคนอิสานและคนโคราชเท่านั้น

กลับเข้าประเด็นเรื่องคนพิการ ผมเชื่อว่าเป็นไปได้นะที่คนพิการจะติดอันดับในการเลือกตั้งระดับชาติ หรือถึงแม้คนพิการจะไม่ได้มีที่นั่งโดยตรง เราก็ยังสนับสนุนพรรคที่จริงจังในการสนับสนุนสวัสดิการคนชราได้
แต่การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตุนี้คงต้องหวังให้ปาฏิหาริย์เกิด รึไม่ก็มีเงินซื้อเสียงเป็นถังเท่านั้นถึงจะได้เป็น

ที่จริงผมเคยคิดเรื่องการเลือกตั้งที่มีการให้โควตา สำหรับคนพิการ คนต่างศาสนา คนวิชาชีพต่างๆ บลาๆๆ
(คิดซะว่าโรงเรียนและมหาลัยยังมีการให้โควตาคนพิการได้)
แต่จะมีการยุ่งยากในทางปฏิบัติมากและเป็นไปไม่ไดเลย้ที่จะแบ่งได้อย่างถูกใจทุกฝ่าย เชื่อว่าการเลือกตั้งระดับประเทศเป็นคำตอบที่เหมาะสมกว่า
แล้วก็อย่างที่ผมว่าไป ถ้ามีคนพิการและผู้ที่สนับสนุนคนพิการมากพอ การจะมีเก้าอี้ในสภาก็ไม่เกินฝัน(ในเวทีระดับประเทศ)