ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: soco ที่ 11-02-2008, 14:12



หัวข้อ: ตำแหน่งทางการเมือง...ไม่ได้ใช้คำว่า "ข้าราชการการเมือง" ??? ใน รดน.วันนี้
เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 11-02-2008, 14:12
บังเอิญไปเจอความเห็นนี้เข้า ก็ตกใจว่า ทำไปคนช่างแถไปได้ขนาดนั้น

************************************************

ความคิดเห็นที่ 23   

คุณเขียนเองไม่ใช่หรือว่า "ไม่ใช่ตำแหน่งทางการเมือง"

==============


ใช่ผมเขียนเอง...ผมใช้คำว่าตำแหน่งทางการเมือง...ไม่ได้ใช้คำว่า "ข้าราชการการเมือง"...

ทำไมผมจะไม่รู้ว่า สำนักเลขารัฐมนตรี เป็นหน่วยงานในกระทรวง และถูกจัดเป็นข้าราชการทางการเมือง...ตาม พรบ. บริหารราชการแผ่นดินฯ มันมีระบุชัดเจน ผมรู้...ไม่ใช่ไม่รู้...

แต่อำนาจหน้าที่ตรงนี้มันไม่มีอำนาจอะไร...มันเป็นตำแหน่งประสานงานของ รัฐมนตรีทางการเมือง กฎหมายระบุชัดว่า ราชการทางการเมือง...ไม่ใช่ราชการแผ่นดิน...หรือการบริหาร...

=========================

พรบ. บริหารราชการแผ่นดินฯ หมวดการจัดระเบียบกระทรวง ทบวง กรม


มาตรา 22 สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีก็ได้

จากคุณ : minimalist  - [ 11 ก.พ. 51 13:09:49 A:58.8.236.47 X: ]

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6321528/P6321528.html
****************************************


พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535

มาตรา 4 ข้าราชการการเมืองได้แก่บุคคลซึ่งรับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังต่อไปนี้
 (1) นายกรัฐมนตรี
 (2) รองนายกรัฐมนตรี
 (3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
 (4) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (5) รัฐมนตรีว่าการทบวง
 (6) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
 (7) รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง
 (8) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
 (9) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
 (10) ที่ปรึกษารัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (11) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
 (12) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
 (13) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (14) รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (15) เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (16) ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
 (17) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
 (18) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
 (19) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
 (20) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
 ข้าราชการการเมืองมิใช่รัฐมนตรีจะมีจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ท้ายพระราชบัญญัตินี้

http://www.kodmhai.com/m4/m4-15/h7/2535.html



 :slime_shy:


หัวข้อ: Re: ตำแหน่งทางการเมือง...ไม่ได้ใช้คำว่า "ข้าราชการการเมือง" ??? ใน รดน.วันนี้
เริ่มหัวข้อโดย: เหล็กน้ำพี้ ที่ 11-02-2008, 15:58
แล้วโฆษกรัฐบาล ที่คุณเพ็ญ เป็นอยู่ใช่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รึเปล่า  :slime_doubt:
อย่างนี้ก็ยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้แล้วนะเนี่ย
ถือเป็นหนูทดลองเลยก็แล้วกัน
 :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: ตำแหน่งทางการเมือง...ไม่ได้ใช้คำว่า "ข้าราชการการเมือง" ??? ใน รดน.วันนี้
เริ่มหัวข้อโดย: Kittinunn ที่ 11-02-2008, 16:19
คราวก่อนก้ "รัฐบาลเงา" ทีนึงแล้ว
ตรรกะเหลี่ยมชัดๆ


หัวข้อ: Re: ตำแหน่งทางการเมือง...ไม่ได้ใช้คำว่า "ข้าราชการการเมือง" ??? ใน รดน.วันนี้
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 11-02-2008, 16:50
ข่าวออกมาแล้วนี่ว่า สส. พลังประชาชน ไม่กล้ารับตำแหน่งเลขา แม้แต่คนเดียว


หัวข้อ: Re: ตำแหน่งทางการเมือง...ไม่ได้ใช้คำว่า "ข้าราชการการเมือง" ??? ใน รดน.วันนี้
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 11-02-2008, 16:52
ข่าวออกมาแล้วนี่ว่า สส. พลังประชาชน ไม่กล้ารับตำแหน่งเลขา แม้แต่คนเดียว


หัวข้อ: Re: ตำแหน่งทางการเมือง...ไม่ได้ใช้คำว่า "ข้าราชการการเมือง" ??? ใน รดน.วันนี้
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 11-02-2008, 22:52
บังเอิญไปเจอความเห็นนี้เข้า ก็ตกใจว่า ทำไปคนช่างแถไปได้ขนาดนั้น

************************************************

ความคิดเห็นที่ 23   

คุณเขียนเองไม่ใช่หรือว่า "ไม่ใช่ตำแหน่งทางการเมือง"

==============


ใช่ผมเขียนเอง...ผมใช้คำว่าตำแหน่งทางการเมือง...ไม่ได้ใช้คำว่า "ข้าราชการการเมือง"...

ทำไมผมจะไม่รู้ว่า สำนักเลขารัฐมนตรี เป็นหน่วยงานในกระทรวง และถูกจัดเป็นข้าราชการทางการเมือง...ตาม พรบ. บริหารราชการแผ่นดินฯ มันมีระบุชัดเจน ผมรู้...ไม่ใช่ไม่รู้...

 แต่อำนาจหน้าที่ตรงนี้มันไม่มีอำนาจอะไร...มันเป็นตำแหน่งประสานงานของ รัฐมนตรีทางการเมือง กฎหมายระบุชัดว่า ราชการทางการเมือง...ไม่ใช่ราชการแผ่นดิน...หรือการบริหาร...

=========================

พรบ. บริหารราชการแผ่นดินฯ หมวดการจัดระเบียบกระทรวง ทบวง กรม


มาตรา 22 สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีก็ได้

จากคุณ : minimalist  - [ 11 ก.พ. 51 13:09:49 A:58.8.236.47 X: ]

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6321528/P6321528.html
****************************************


พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535

มาตรา 4 ข้าราชการการเมืองได้แก่บุคคลซึ่งรับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังต่อไปนี้
 (1) นายกรัฐมนตรี
 (2) รองนายกรัฐมนตรี
 (3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
 (4) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (5) รัฐมนตรีว่าการทบวง
 (6) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
 (7) รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง
 (8) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
 (9) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
 (10) ที่ปรึกษารัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (11) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
 (12) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
 (13) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (14) รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (15) เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 (16) ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
 (17) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
 (18) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
 (19) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
 (20) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
 ข้าราชการการเมืองมิใช่รัฐมนตรีจะมีจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ท้ายพระราชบัญญัตินี้

http://www.kodmhai.com/m4/m4-15/h7/2535.html



 :slime_shy:



 แต่อำนาจหน้าที่ตรงนี้มันไม่มีอำนาจอะไร...มันเป็นตำแหน่งประสานงานของ รัฐมนตรีทางการเมือง กฎหมายระบุชัดว่า ราชการทางการเมือง...ไม่ใช่ราชการแผ่นดิน...หรือการบริหาร...
'นิติกรบริการ'รุ่นใหม่ หน้าด้านกว่า แถไถมากกว่า.........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


หัวข้อ: Re: ตำแหน่งทางการเมือง...ไม่ได้ใช้คำว่า "ข้าราชการการเมือง" ??? ใน รดน.วันนี้
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 12-02-2008, 22:16
(http://www.thairath.co.th/images/header/politics01.gif)
ประเพณีระบบรัฐสภา
[12 ก.พ. 51 - 19:09]
 
รัฐธรรมนูญ 2550 เริ่มมีปัญหาในภาคปฏิบัติ ผู้ที่เจอปัญหาก่อนคนอื่นคือ รัฐบาลชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่ ปัญหาที่พบคือบทบัญญัติว่าด้วยการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ที่แตกสาขาออกไปเป็น “กฎหมายเจ็ดชั่วโคตร” และปัญหาที่ว่า ส.ส.จะเป็นเลขานุการรัฐมนตรี ที่ปรึกษา หรือเป็นข้าราชการการเมืองอื่นๆ เช่น ผู้ช่วยรัฐมนตรีหรือโฆษกรัฐบาลได้หรือไม่?

ขณะนี้ ยังไม่มีรัฐมนตรีคนไหนกล้าตั้ง ส.ส.เป็นที่ปรึกษา หรือเป็นเลขานุการ เนื่องจากกลัวว่าอาจจะหลุดจาก ส.ส. เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 265 เขียนไว้ว่า ส.ส.ต้อง (1) ไม่ดำรงตำแหน่งหรือมีหน้าที่ในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ...โดยตัดข้อความที่ว่า “นอกจากข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรี” ในรัฐธรรมนูญ 2540 ออกไป จึงเกิดมีปัญหา

มีการตีความว่ารัฐธรรมนูญใหม่ ห้าม ส.ส.เป็นเลขานุการรัฐมนตรี และตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ เพราะไม่ได้เขียนยกเว้นเอาไว้เหมือนกับฉบับ 2540 หนังสือ “เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550” ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ฯ ก็ไม่ได้ชี้แจงว่าทำไมจึงตัดข้อความยกเว้นออกไป มีเจตนารมณ์ห้าม ส.ส.เป็นเลขานุการรัฐมนตรีหรือไม่?

แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้เขียนห้ามไว้อย่างชัดแจ้ง ไม่เหมือนกับรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ห้ามไว้ชัดเจนว่า ส.ส.จะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในขณะเดียวกันไม่ได้ เรื่องนี้จึงมีปัญหาที่จะต้องตีความ และถ้าตีความตามประเพณีการปกครองระบบรัฐสภา ก็อาจพูดได้ว่าระบบรัฐสภาไม่ได้แยกอำนาจนิติบัญญัติกับบริหาร ออกจากกันโดยเด็ดขาด เพียงแต่แบ่งหน้าที่กันทำ บางคนเป็นทั้ง ส.ส.และรัฐมนตรี

ประเทศประชาธิปไตยที่ใช้ระบบรัฐสภาโดยทั่วไป มักจะให้ ส.ส. “ฝึกงาน” เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้บริหารในวันข้างหน้า ด้วยการเป็นเลขานุการรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี หรือผู้ช่วยรัฐมนตรี จนกระทั่งมีความเป็นอาวุโส จึงแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้ก้าวกระโดดจากการเป็น ส.ส.ที่ไม่เคยผ่านการบริหารมาเลย ก้าวพรวดเดียวเป็นนายกรัฐมนตรี

ไม่ทราบแน่ชัดว่า คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มีเจตนารมณ์อย่างไรกันแน่? ต้องการห้าม ส.ส.เป็นเลขานุการรัฐมนตรีหรือไม่? ถ้าต้องการเช่นนั้น ต้องถือว่าสวนทางกับประเพณีของระบบรัฐสภา และน่าแปลกใจที่ ไม่ได้ห้าม ส.ส.เป็นรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี ในขณะเดียวกัน เหมือนกับรัฐธรรมนูญ 2540 ซ้ำยังบังคับว่า นายกฯต้องมาจาก ส.ส. แล้วทำไมจะห้ามเป็นเลขานุการ?

จึงเป็นปัญหาที่จะต้องตีความ เพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติ แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ แต่ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ยังไม่ถือว่าเป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันกับองค์กรอื่นๆ ถ้ามีการตั้ง ส.ส.เป็นเลขานุการรัฐมนตรี ก็อาจมีผู้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าผู้นั้นขาดจาก ส.ส.หรือไม่? จึงอาจต้องลองของ ตั้ง ส.ส.สัดส่วนเป็นเลขาฯรัฐมนตรี.