ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ********Q******** ที่ 24-01-2008, 07:36



หัวข้อ: เสถียรภาพทางการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-01-2008, 07:36


เสถียรภาพทางการเมือง    http://www.manager.co.th/Lite/ViewNews.aspx?NewsID=9510000009408
 
โดย ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน 23 มกราคม 2551 15:11 น.
 
 
       เสถียรภาพทางการเมือง (political stability) เป็นสิ่งซึ่งคนในสังคมอยากให้เกิดขึ้นทุกสังคม ทั้งนี้เมื่อมีเสถียรภาพเกิดขึ้นแล้วก็จะเกิดความมั่นใจว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามครรลอง มีความอุ่นใจว่ากระบวนการทางการเมืองจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ต่างๆ มีการแก้ปัญหาอย่างสัมฤทธิผล สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนและนักธุรกิจ
       
        แต่คนจำนวนไม่น้อยยังไม่เข้าใจกระจ่างถึงคำว่าเสถียรภาพทางการเมือง จึงมีคำกล่าวที่ว่า ถ้าการเมืองนิ่งซึ่งหมายถึงไม่มีการประท้วงรัฐบาล ไม่มีความปั่นป่วน ทุกอย่างลื่นไหลไปอย่างเรียบร้อยก็จะส่งผลดีต่อการลงทุน และต่อความเจริญรุ่งเรืองของธุรกิจ ต่อการบริหารประเทศ และการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข ฯลฯ แต่ในความเป็นจริงบางคนเข้าใจว่าการเมืองนิ่งหมายถึงมีความสงบเรียบร้อย เช่น จอมพลถนอม กิตติขจร เคยตอบผู้สื่อข่าวต่างประเทศว่า เมืองไทยไม่มีการประท้วงทางการเมือง ทำนองว่าทุกอย่างเรียบร้อย ซึ่งคำกล่าวที่กล่าวนี้กล่าวขึ้นก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คำว่า นิ่ง หลายคนเข้าใจคำว่านิ่งอย่างผิดๆ เพราะการเมืองนิ่งในความหมายดังกล่าวมาแล้วนั้นคือความแน่นิ่ง (static ) หรือ immobilism จะเกิดขึ้นได้ในเฉพาะระบบเผด็จการเด็ดขาดที่คนไม่มีสิทธิ์มีเสียง อยู่ในอำนาจรัฐอย่างสมบูรณ์แบบ ระบบการเมืองเช่นนี้ไม่เป็นที่พึงประสงค์ ขาดจิตวิญญาณ
       
        เสถียรภาพทางการเมืองนั้นมี 2 ส่วน ส่วนแรกได้แก่ เสถียรภาพของระบบการเมือง ส่วนที่สองได้แก่ เสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งได้แก่คณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจรัฐ การกล่าวถึงเสถียรภาพทางการเมืองจึงต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งสองส่วนมีความเกี่ยวพันกัน ในเบื้องต้นเสถียรภาพของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ย่อมขึ้นอยู่กับว่าเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบระบบรัฐสภาของอังกฤษหรือแบบระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ระบบการปกครองแบบรัฐสภาอังกฤษไม่มีหลักประกันใดว่ารัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจรัฐจะอยู่ครบวาระ 4 ปี เพราะรัฐบาลอาจจะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ อาจมีการลาออก อาจมีการปรับ ครม.อาจมีการผลัดเปลี่ยนกันมาเป็นรัฐบาล ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจในการยุบสภาให้เลือกตั้งใหม่ ดังนั้น จึงอาจมีการเปลี่ยนรัฐบาลหลัง 6 เดือน 1 ปี 2 ปี หรืออาจจะมีการยุบสภาหลัง 1 ปี 2 ปี 3 ปี แล้วแต่กรณี แต่ตราบเท่าที่ทุกอย่างยังดำเนินไปตามครรลอง มีการตั้งรัฐบาลใหม่ได้ มีการเลือกตั้งตามปกติหลังการยุบสภา ก็ต้องถือว่าระบบยังอยู่ทั้งโครงสร้างและกระบวนการ อย่างนี้เรียกว่ามีเสถียรภาพทางการเมืองของระบบ ส่วนเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
       
        ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนโดยมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ส.ส. และวุฒิสมาชิกก็มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน โดยวุฒิสมาชิกอยู่ในตำแหน่ง 6 ปี ส.ส. 2 ปี ไม่มีการยุบสภา ไม่มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี ประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งครบ 4 ปี ยกเว้นจะถูกถอดถอนเนื่องจากทำผิดกฎหมาย ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีนี้มีเสถียรภาพต่อเนื่องทั้งของระบบและของรัฐบาล แต่ประธานาธิบดีก็อยู่ได้เพียง 2 สมัยคือ 8 ปี บางคนก็อยู่เพียง 1 สมัย คือ 4 ปี
       
        ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของอังกฤษนั้น ถ้ารัฐบาลเปลี่ยนบ่อยครั้งก็อาจจะส่งผลกระทบในทางลบดังต่อไปนี้ คือ
       
        1. นโยบายที่รัฐบาลนำไปปฏิบัตินั้นอาจจะไม่สำเร็จเพราะมีการเปลี่ยนรัฐบาล
       
        2. ข้าราชการประจำอาจจะหวั่นไหว ไม่มั่นใจว่าควรจะทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ
       
        3. นักลงทุนภายในและต่างประเทศไม่กล้าที่จะลงทุน เพราะไม่มั่นใจในความมั่นคงในนโยบายของรัฐบาล
       
        4. นักการเมืองไม่มีความมั่นใจว่าจะอยู่ในตำแหน่งครบวาระ
       
        5. ประชาชนทั่วไปอาจจะหวั่นไหวไม่มั่นใจนโยบายต่างๆ จึงอาจระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ
       
        ซึ่งในส่วนนี้ย่อมจะส่งผลในทางลบทางการเมืองโดยเฉพาะรัฐบาล หรือมีการเลือกตั้งบ่อยครั้งประชาชนเองก็อาจเกิดความเบื่อหน่าย แต่ตราบเท่าที่ระบบยังอยู่ กล่าวคือ โครงสร้างและกระบวนการยังเหมือนเดิม รัฐบาลลาออกก็ตั้งใหม่ เมื่อยุบสภาก็เลือกตั้งใหม่ จากนั้นก็ตั้งรัฐบาลใหม่ ก็ถือได้ว่าเสถียรภาพทางการเมืองของระบบยังคงอยู่ แต่ก็เป็นเรื่องปกติของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ในความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่กล่าวมานั้นก็คือส่วนหนึ่งของการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล ถ้ากระบวนการเป็นที่ยอมรับและเกิดความเคยชินก็จะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องที่ขาดเสถียรภาพทางการเมืองแต่อย่างใด
       
        การที่รัฐบาลต้องออกจากตำแหน่งเนื่องจากถูกกดดันโดยการถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือเนื่องจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชน และการต่อต้านของประชาชน กลับเป็นการชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาของระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจรัฐได้โดยสันติวิธี ภายใต้กลไกของสถาบันการเมือง การกุมอำนาจโดยเด็ดขาดโดยไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เช่น ระบบการปกครองภายใต้ซูฮาร์โตในอินโดนีเซีย หรือรัฐบาลทหารพม่าในปัจจุบัน กลับกลายเป็นเรื่องอันตราย เพราะดูภายนอกเหมือนจะมีเสถียรภาพแต่เป็นการผูกขาดโดยคนกลุ่มเดียว นั่นคือสภาวะความแน่นิ่งทางการเมืองอย่างแท้จริง การเมืองที่พัฒนาต้องมีความพลวัต มีการเปลี่ยนแปลง มีการขยับตัวเป็นระยะๆ แต่หลักการและกระบวนการใหญ่ๆ อันได้แก่ การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล การปรับ ครม. การผลัดกันเป็นรัฐบาล การยุบสภา การเลือกตั้ง ยังเป็นไปตามปกติ ก็ต้องถือว่าเสถียรภาพทางการเมืองยังคงอยู่
       
        ความวิตกวิจารณ์ในขณะนี้คือ ระบบการเมืองยังไม่เข้ารูปเข้ารอย เพราะอยู่ในช่วงที่กำลังจัดระเบียบการเมืองขึ้นใหม่ การจัดระเบียบการเมืองขึ้นใหม่จะต้องผ่าน 5 ขั้นตอน คือ 1. มีกฎกติกาคือรัฐธรรมนูญ 2. มีการเลือกตั้งอย่างเรียบร้อย 3. มีรัฐสภาครบถ้วน 4. มีรัฐบาล 5. รัฐบาลบริหารประเทศและเข้าสู่สภาวะปกติ
       
        ถ้าทุกอย่างเดินไปตามนี้ก็แปลว่าระบบการเมืองกำลังเข้ารูปเข้ารอย และถ้าดำเนินไปเป็นระยะเวลาหนึ่งก็ถือว่าเสถียรภาพทางการเมืองของระบบเกิดขึ้นแล้ว ส่วนรัฐบาลอาจจะเปลี่ยนแปลงหลังจาก 6 เดือน หรือ 1 ปี แล้วแต่กรณี แต่ตราบเท่าที่ยังอยู่ในกรอบของกฎกติกา ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ การพูดถึงเสถียรภาพทางการเมืองจึงต้องแยกแยะให้เห็นชัดและเข้าใจกระจ่างดังที่กล่าวมานี้
 


หัวข้อ: Re: เสถียรภาพทางการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-01-2008, 07:39


อยากจะเตือนนักการเมืองและสื่อ ด้วยว่า

หากจะแตะต้องรัฐธรรมนูญแบบ พวกมากลาก ไร้หลักคิดที่ดีแล้ว

การเมืองไทยจะอ่อนแอ ไร้พลัง และบ้านเมืองจะวุ่นวายครับ..


หัวข้อ: Re: เสถียรภาพทางการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 24-01-2008, 07:41


อยากจะเตือนนักการเมืองและสื่อ ด้วยว่า

หากจะแตะต้องรัฐธรรมนูญแบบ พวกมากลาก ไร้หลักคิดที่ดีแล้ว

การเมืองไทยจะอ่อนแอ ไร้พลัง และย้านเมืองจะวุ่นวายครับ..

*บ้าน

อิอิ


หัวข้อ: Re: เสถียรภาพทางการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-01-2008, 07:47


สวัสดีครับ แก้ไขแล้ว  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เสถียรภาพทางการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 24-01-2008, 07:50
มีใครมี sound ของหนังเรื่อง jaws มั้ย
ที่มีปลาฉลามโหดๆน่ะ

มันจะมีเสียงสยองขวัญตอนปลาฉลามกำลังมาน่ะ

ผมอยากเอาไปทำมิวสิควีดีโอเรื่องทักษิณจะกลับไทย


หัวข้อ: Re: เสถียรภาพทางการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-01-2008, 08:39
มีใครมี sound ของหนังเรื่อง jaws มั้ย
ที่มีปลาฉลามโหดๆน่ะ

มันจะมีเสียงสยองขวัญตอนปลาฉลามกำลังมาน่ะ

ผมอยากเอาไปทำมิวสิควีดีโอเรื่องทักษิณจะกลับไทย



Jaws Theme.wma
http://www.esnips.com/nsdoc/8a6e67b1-919c-4e2e-82ba-52d834f131bb/?id=1201138576546
movie soundtracks - Jaws Theme.mp3
http://www.esnips.com/nsdoc/78497b24-bd79-48de-8fea-0f06e7096169/?id=1201138643078


หัวข้อ: Re: เสถียรภาพทางการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 24-01-2008, 09:07

Jaws Theme.wma
http://www.esnips.com/nsdoc/8a6e67b1-919c-4e2e-82ba-52d834f131bb/?id=1201138576546
movie soundtracks - Jaws Theme.mp3
http://www.esnips.com/nsdoc/78497b24-bd79-48de-8fea-0f06e7096169/?id=1201138643078

 :slime_smile2:  :slime_bigsmile:

จิ้มฟังดูกันแล้วนึกถึงหน้าทักษิณไปด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: เสถียรภาพทางการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-01-2008, 09:33
เหอ เหอ แต่จะทำยังไง ให้ "หัวใจเสถียร" อิ อิ
 :slime_inlove: :slime_inlove:


หัวข้อ: “พลังแม้ว” ลั่นฮุบ 9 กระทรวงหลัก ยัน “เลี้ยบ” ไม่ใช่มือสมัครเล่น
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-01-2008, 18:19



“พลังแม้ว” ลั่นฮุบ 9 กระทรวงหลัก ยัน “เลี้ยบ” ไม่ใช่มือสมัครเล่นhttp://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000009952
 
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 มกราคม 2551 15:51 น.
 
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
 
นพดล ปัทมะ

 
 
 
  “พลังแม้ว” ลั่นไม่ปล่อย 9 กระทรวงหลัก “กลาโหม-คลัง-ยุติธรรม-มท.-คมนาคม-พาณิชย์” ให้พรรคร่วมเด็ดขาด “ทนายนายใหญ่” ฮึ่มใส่ “เติ้ง” อย่าเรื่องมาก ย้ำโควตา 9 ต่อ 1 ที่เหลือขึ้นอยู่กับความเมตตาปรานี ยัน “เลี้ยบ” ไม่ใช่มือสมัครเล่น คุมคลังได้สบาย มอบอำนาจให้ “น้องเขยแม้ว” คุมจัดโผ
       
       วันนี้ (24 ม.ค.) นายนพดล ปัทมะ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน แถลงถึงกรณีที่ นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) วิจารณ์ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน ที่คาดหมายจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นมือใหม่ ว่า ขณะนี้การจัดสรรคนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี มีความคืบหน้าไปมาก แต่ในส่วนที่มีข่าวระบุว่า นพ.สุรพงษ์ จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น ขณะนี้เรื่องการจัดสรรตำแหน่งต่างๆ ยังไม่นิ่ง อย่างไรก็ตาม หากในท้ายที่สุด นพ.สุรพงษ์ จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวจริง ก็ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีสมัครเล่น และไม่ใช่ลูกแหง่ ที่ต้องมีพี่เลี้ยง แต่เป็นตัวจริงเสียงจริงแน่นอน เพราะคนที่เป็นแพทย์ ถือว่าเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ และทำอะไรได้หลายอย่าง
       
       “การทำงานเรามีที่ปรึกษา มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เราจะทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชน พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจ และเรารู้ว่า ปัญหาของประเทศมีอะไร ดังนั้น การจะตีคน ต้องให้โอกาสทำงานก่อน ถ้าอยากจะวิพากษ์วิจารณ์ ก็ให้วิจารณ์ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ทำงานมาระยะหนึ่งแล้ว” นายนพดล กล่าว
       
       รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า หลังจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว ในวันรุ่งขึ้น จะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กับพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรค โดยมีตน และ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค ไปร่วมหารือถึงแนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนภาครัฐและเอกชน การอนุมัติโครงการต่างๆ ที่ยังค้างอยู่ในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) การอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ อาทิ โครงการรถไฟฟ้า 5 สาย เป็นต้น
       
       นายนพดล กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าว ส.ส.อีสานของพรรคต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี ว่า ในภาคอีสาน ได้ ส.ส.จำนวนมาก และทุกคนมีความสามารถ ซึ่งการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี ทางพรรคยืนยันว่า จะจัดสรรตำแหน่งให้อย่างเป็นธรรม ส่วนกรณีที่พรรคชาติไทยต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี โดยจะขอโควตา ส.ส.5 คน ต่อรัฐมนตรี 1 ตำแหน่ง นั้น เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้ง เพราะจะต้องมีการพูดคุยกันเรื่องโควตา ถ้าคิดจากจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 315 คน หารด้วยจำนวนรัฐมนตรี 36 คน จะอยู่ที่ ส.ส.8-9 คน ต่อรัฐมนตรี 1 ตำแหน่ง แต่สามารถอะลุ่มอล่วยให้พรรคร่วมรัฐบาลได้ตำแหน่งให้มากขึ้น เพราะสถานการณ์ขณะนี้ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ ก็ต้องมีการจัดสรรให้เหมาะสม และดูว่า พรรคใดต้องการงานด้านใด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ไม่มีข้อครหาระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล
       
       “ไม่ได้ให้สิทธิพิเศษกับพรรคชาติไทย และต้องบอกว่า ผมไม่ได้เป็นคนเคาะ นพ.สุรพงษ์ กับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน จะเป็นคนเคาะ แต่โดยหลักการจะยึดแนวทางดังกล่าวกับทุกพรรคการเมือง” นายนพดล กล่าว
       
       นายนพดล กล่าวว่า พรรคพลังประชาชน จะดูแล 9 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงยุติธรรม ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อยู่ระหว่างการเจรจากับพรรคชาติไทย กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างการเจรจากับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ซึ่งความจริงทางพรรคต้องการดูแลกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ สำหรับตำแหน่งรองนายกรฐมนตรี คาดว่า จะมี 4 คน ดูแล 4 ด้าน คือ ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และกฎหมาย และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะมีประมาณ 4-5 คน
       /0110
 
 
 
 
 
 


หัวข้อ: Re: เสถียรภาพทางการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-01-2008, 20:36


อยากเห็นฝ่ายตรวจสอบมืออาชีพ ฝ่ายค้านมืออาชีพ

แสดงความรู้ ในเรื่องที่ตรวจสอบครับ

ส่วนเรื่องโกง ก็ควรส่งข้อมูลให้ ยกระดับปปช.และการบวนการยุติธรรมทั้งระบบต่อกรณีนักการเมือง

และนักะรกิจนักลงทุนรายใหญ่ การทำผิดกำหมายฟอกเงินข้ามชาติ..ฯลฯ :slime_fighto: :slime_cool: