ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: สมชายสายชม ที่ 06-12-2007, 18:13



หัวข้อ: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 06-12-2007, 18:13
อ่านข่าวคดีปั่นหุ้นของ TPIPL ที่ถูกกล่าวโทษว่า เจตนาปั่นหุ้นเนื่องด้วย
ผู้บริหารของบริษัทให้ข่าวก่อนการขายหุ้นจำนวน 300 ล้านหุ้นพร้อมทั้งบอกราคา

ถ้าลองดูข่าวที่ผู้บริหารหุ้น WIN ให้ข่าวก่อนการขายหุ้นจำนวน 300 ล้านหุ้นพร้อม
ทั้งบอกราคาหุ้น

สองกรณีนี้ ต่างกันอย่างไร .. ใครรู้ช่วยอธิบายด้วย

.........................................................................................

http://www.newswit.com/news/2005-12-15/70a4107f4402b656b0d6f178dbd4ddb1/

นายภัทรลาภ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินโคสท์ อินดัสเตรียล พาร์ค จำกัด (มหาชน)-WIN เปิดเผยว่า
-บริษัทฯ จะเข้าไปเทรดในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 16 ธค.นี้
โดยหลังจากปรับโครงสร้างทุนจะมีจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 350.2 ล้านหุ้น
พาร์ 1 บาท และจะเข้าเทรดในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยราคาสุดท้ายก่อนที่จะหยุดการซื้อขายครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 พย.2546 อยู่ที่ 2.06 บาท

บริษัทฯ ค่อนข้างเชื่อมั่นในศักยภาพของบริษัทฯ เพราะที่ผ่านมาบริษัทฯ มีกำไร 3 ไตรมาสติดต่อกัน โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีกำไรสะสม 17.54 ล้านบาท และมี book value อยู่ที่ 0.89 บาท/หุ้น ในอนาคตบริษัทฯ กำลังศึกษาแนวทางธุรกิจในการขยายเพื่อทำธุรกิจลอจิสติกส์อย่างครบวงจร

 :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 06-12-2007, 18:23
มีอีกสองข่าว ลองอ่านดู

http://209.85.173.104/search?q=cache:7RiwLgc35IkJ:www.bangkokbiznews.com/2006/02/12/e007_75541.php%3Fnews_id%3D75541+%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2+%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C+%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5+%27%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%27&hl=en&ct=clnk&cd=1&gl=th&client=firefox-a

http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9480000076877

...


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 06-12-2007, 18:59
เอา แฟ้ม ทีพีไอ มาให้อ่าน  ใครที่รู้แล้ว ก็ ถือว่า มาทบทวน ความจำ

ส่วนเรื่อง การปั่นหุ้น  จำได้จริง ๆ ว่าเคยอ่านความเห็น ว่า ไม่เข้าข่าย ปั่นหุ้น แต่ หาไม่เจอ เสียดาย อาจไม่ได้ ก็อปไว้
เลยเอาที่มีมา ฟื้นความจำ ตำนาน ทีพีไอ  เผื่อใครจะมีข้อมูล ความเห็น

ทีพีไอ ของ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ มีอะไรดี..?
* จับตาคำสั่งศาลฯ 27มิ.ย.นี้ วงในคาด ประชัยพ่าย ก.คลังชนะซื้อหุ้นแค่ 3.30 บาท
* My Boss want it...! คือคำตอบ
* ในร่างเงายักษ์ใหญ่ข้ามชาติผนึก ทุนใหม่ในประเทศ
* คาดมีกำไรส่วนต่างหุ้นกว่าแสนล้าน!?!?
http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9480000084367

คนทั่วไปคงจะงงกับข่าวคราวการแย่งชิง ทีพีไอ หรือแม้แต่คนที่ติดตามอย่างใกล้ชิดเองก็ยังเดาไม่ออกว่า

เหตุใดทีพีไอ ถึงได้ถูกกลุ่มคนแย่งชิงหุ้นและอำนาจบริหารจัดการวุ่นวาย จนมีข่าวคราวตอบโต้ระหว่างประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เจ้าของที่สร้างทีพีไอมากับมือตั้งแต่ปี 2521 กับกลุ่มอำนาจที่จะเข้ามายึด ไม่เว้นแต่ละวัน

ทั้งที่ทีพีไอ ก็เป็นบริษัทอยู่ในกลุ่มฟื้นฟูกิจการ ไม่แตกต่างกับอีกหลายสิบบริษัท ในตลาดหุ้น

แต่ทำไม ทีพีไอ กลับถูกแย่งชิงมากที่สุด ขณะที่บริษัทอื่นๆไม่ใครเหลียวตามอง

Why...!!!

กลุ่มบริษัททีพีไอ ของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ มีอะไรดีนักหรือ !?!?

ใคร ? ต้องการยึดกิจการทีพีไอมูลค่ากว่าแสนล้าน ?

ประชัยชนกลุ่มก.คลัง

สถานการณ์ล่าสุดของกลุ่มบริษัททีพีไอ ขณะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อ เพราะจะช่วงชี้ชะตาว่า ประชัย จะได้บริษัทของเขาคืนหรือไม่

มันเป็นการช่วงชิงอำนาจบริหารและหุ้นทีพีไอระหว่างกลุ่มลูกหนี้เดิมที่มี ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นหัวหอกกับกระทรวงการคลังที่นำรัฐวิสาหกิจในเครือเข้ามายึดทีพีไอ ซึ่งฝ่ายประชัยในยื่นคัดค้าน โดยศาลจะนัดพิจารณาในวันที่ 27 มิ.ย.นี้

สำหรับฝ่ายประชัยดึงกลุ่มซีติก รัฐวิสาหกิจจากจีนเข้ามาซื้อหุ้นในราคาหุ้นละ 5.50 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 900 ล้านเหรียญฯหรือประมาณ 36,000 ล้านบาท ซึ่งแผนของประชัยก็คือ ต้องการนำมาจ่ายให้เจ้าหนี้ ซึ่งรวมแล้วมีอยู่ประมาณ 2,700 ล้านเหรียญฯ

“เมื่อจ่ายไปแล้ว 900 ล้านเหรียญฯที่เหลือเราก็กู้เงินมา อีกทั้งการที่เราขายหุ้นละ 5.50 บาท เราขายได้ราคาดีกว่าที่กระคลังขาย 2 บาท (คลังขาย 3.30 บาทต่อหุ้น)”ประชัย บอกถึงแผนของเขา

ตามแผนของประชัยก็คือ เขาต้องการที่จะคืนเงินให้เจ้าหนี้ได้หมดในจำนวน 2,700 ล้านเหรียญฯ โดยเงินจากซิติกส่วนหนึ่งและจะเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นเดิมอีกส่วนหนึ่ง

ขณะที่ฝ่ายของกระทรวงการคลังก็ใช้อำนาจตามที่แผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ระบุให้สิทธิเข้ามาทำการ โดย 1 มิถุนายนที่ผ่านมากระทรวงการคลัง สั่งดำเนินการให้กลุ่มพันธมิตรใหม่ นำโดย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)เข้าซื้อหุ้นของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ โดย ปตท.จะเข้ามาถือหุ้น 31.5% เป็นหุ้นจำนวน 6,112.5 ล้านหุ้น คิดเป็นเงิน 20,270 ล้านบาท ส่วนธนาคารออมสิน, กบข., และกองทุนวายุภักษ์ 1 จะเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 10% สำหรับผู้ถือหุ้นเดิมมีสัดส่วน 20% และเจ้าหนี้ 8.5% โดยพันธมิตรหลักมีระยะเวลาถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 24 เดือน ราคาหุ้นที่ซื้อหุ้นละ 3.30 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 57,915 ล้านบาท หรือ 1,448 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“แม้ว่านายประชัยจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อชะลอการลงนามและมาเงินทุนใหม่มาชำระหนี้ ถ้าหากศาลรับคำร้องของนายประชัย กระทรวงคลังก็พร้อมจะดำเนินการตามการพิจารณาของศาล แต่เชื่อมั่นว่า แนวทางที่ดำเนินการอยู่จะสามารถแก้ไขทีพีไอให้ดีขึ้นได้”

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอก

เขายังยอมรับว่า “ฐานะของทีพีไอเริ่มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและได้กำชับ ให้ทุกฝ่ายเร่งดำเนินการให้ทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูภายใน 2 เดือนนี้ และให้นำทีพีไอออกจากกลุ่มฟื้นฟูกิจการ (รีแฮปโก้) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อเข้ามาซื้อขายในหมวดพลังงานตามปกติ จากนั้นพันธมิตรใหม่จะเร่งนำเงินเข้ามาชำระในการซื้อหุ้น”

ทำให้วันที่ 27 มิถุนายนนี้จะเป็นวันชี้ชะตาว่า ประชัยหรือกระทรวงคลัง ใครจะได้ครองทีพีไอ ซึ่งประชัยบอกว่า

“ลองคิดดูสิ ราคาที่ปตท.จะเข้ามาซื้อหุ้นทีพีไอนั้น ประมาณ 2 หมื่นกว่าล้าน แต่เงินสดหมุนเวียนของทีพีไอทุกวันนี้มีถึง 53,000 ล้านบาท ยังมีมากกว่าเสียอีก”

แฉไอ้โม่งรวมหัวยึด

สาเหตุที่ทำให้มีคนสนใจที่จะเข้ามายึด ทีพีไอ ในมุมของ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เขาไม่ได้มองแค่จิ๊กซอเล็กๆในส่วนของกระทรวงคลังเท่านั้น แต่เขามองว่า เรื่องนี้เป็นสงครามทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับกลุ่มทุนสิงคโปร์ เลยทีเดียว

“ผมมาลองนั่งคิดดูและปะติดปะต่อภาพ ก็พบว่า ตั้งแต่แรกตั้งทีพีไอเมื่อปี 2521 ผมก็มีปัญหาไม่สามารถขอใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานได้ ช่วงนั้นก็ไม่ได้คิดอะไร คิดว่าคุณชัยวัฒน์ (สินสุวงศ์)รมว.อุตสาหกรรม สมัยนั้นทำตามหน้า แต่พอไปดูลึกๆ พบว่ามีคนที่อยู่เบื้องหลังอีกคน ขณะนั้นเป็นรองนายกฯ”ประชัย ฉายภาพอดีต

สำหรับสาเหตุนั้นประชัยมองลึกไปถึง กลุ่มทุนข้ามชาติที่ต้องการสกัดไม่ให้ไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมปิโครเคมีและน้ำมัน เพราะมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เป็น Trend ของโลก และก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ วันนี้อุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี คือหัวใจหลักของอุตสาหกรรมโลก และเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว

“ผมบอกได้เลยว่า ลี กวน ยู สิงคโปร์ไม่ต้องการให้ไทยก่อตั้ง เพราะจะเป็นคู่แข่งสำคัญของเขา ผมกับเขารู้จักกันดี เขายังมาร่วมทุนกับน้องชายผม ทำนิคมอุตสาหกรรมเลย ผมเคยถามว่าจะมาร่วมทุนกันไหม เขาบอกว่าไม่เอา”ผู้ก่อตั้ง ทีพีไอ เล่า

ประชัย ปักใจเชื่อว่า เกมที่เกิดขึ้นระหว่างเขากับทางการไทย หรือรัฐบาลไทย มีเงื่อนงำซับซ้อนอยากที่คนไทยจะเชื่อว่า นี่เป็นสงครามเศรษฐกิจระหว่างชาติ

“คุณลองไปดูสิ แบงก์พาณิชย์เกือบทุกแห่งมีทุนสิงคโปร์เข้ามาถือทั้งนั้น เพียงแต่ผ่านทางนอมินี่ ไม่ได้แสดงตัวจริงๆ แต่เขาจะมีอำนาจ หากใครไม่อยู่ภายใต้เขา เขาจะกดดันผ่านเครดิตไลน์ แค่ไม่ให้เงินกู้คุณก็แย่แล้ว”

สิ่งที่ประชัย กังขาและพยายามเชื่อมโยงก็คือ กลุ่มอำนาจจากสิงคโปร์ จะเป็นผู้อยู่เบื้อหลังที่ต้องการจะเข้ามายึดครองอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของเขา ผ่ายรัฐบาลไทย

“คุณคิดดู เขาซื้อเราหุ้นละ 3.30 บาท แต่ราคาของเรามูลค่า 13-14 บาท ส่วนต่างนี้ใครได้ ผมเชื่อว่ากระทรวงคลังก็อึดอัด ปตท. กบข.ออมสินและคนอื่นๆก็อึดอัด แต่ไม่รู้ทำยังไง เพราะมีคนสั่งให้ทำ ไม่ทำก็ไม่ได้ ผมเข้าใจคนเหล่านี้”

ปริศนาคำ My Boss want it

ความที่ประชัย อยู่ในสถานการณ์หลังชนฝา ทำให้เขาเป็นคนโผงผางมากขึ้น ชอบพูดแบบตรงไปตรงมา ทำให้เขาเคยพูดในเว็ปไซด์ Thaiinsider ของเอกยุทธ์ อัญชันบุตร ผู้ประกาศตัวเป็นปกปักษ์กับรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งล่าสุดได้ถูกกระทรวงไอซีทีสั่งปิดไปแล้ว ในข้อหาให้ข้อมูลทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐบาล โดยเฉพาะการตีแผ่เครือข่ายการถือครองหุ้นของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ที่มีการโยงใยสร้างราคาหุ้น

ว่ากันว่า สาเหตุที่ทำให้เว็ปไซต์ดังกล่าวถูกปิด ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ทีมข่าวของ Thaiinsider ได้ให้ข้อมูลเรื่องใครจะเข้ามาฮุบกิจการทีพีไอของประชัยเช่นกัน

ความตอนหนึ่ง ประชัย พูดในเว็ปดังกล่าวว่า

...รัฐบาลมีความต้องการที่จะเข้ามาครอบครองกิจการทีพีไอ เป็นเพราะมีผลประกอบการที่ดีมาโดยตลอด เฉพาะในช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ากิจการของทีพีไอเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง สามารถทำกำไรได้เป็นแสนล้านบาท ปัจจุบันเฉพาะเงินสด ทีพีไอมีประมาณ 53,000 ล้านบาท คิดดูสิว่า จะมีธุรกิจอะไรบ้างที่สามารถมีผลประกอบการได้ดีเท่านี้ เพราะปัจจุบันธุรกิจปิโตรเคมีนั้น เป็นกิจการที่มีการเติบโตสูง แถมยังเป็นธุรกิจที่ถูกกฎหมายอีกด้วย รัฐบาลจึงพยายามเข้ามายึดทีพีไอ โดยเข้ามาซื้อหุ้นทีพีไอ เพื่อหวังทำให้เป็นรัฐวิสาหกิจ หลังจากนั้นก็จะมีการนำไปแปรรูป เหมือนกับที่ทำกับปตท. โดยเมื่อนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯแล้วก็จะมีกลุ่มพรรคพวกตัวเองเข้ามาถือหุ้น...

...กิจการของทีพีไอ ที่วางโครงการของการทำธุรกิจด้านปิโตรเคมีครบวงจรนั้นเป็นโครงการที่ใหญ่ และมีคนที่เสียผลประโยชน์พยายามขัดขวาง หนึ่งในนั้นก็เริ่มจากนายลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีสิงค์โปร์ที่พยายามสกัดกั้นไม่ให้ทีพีไอ ดำเนินธุรกิจนี้ได้ เพราะเท่ากับว่าจะไปเป็นคู่แข่งกับสิงค์โปร์โดยตรง จึงมีความพยายามอย่างมาก ผ่านมายังคนไทยบางคนเพื่อทำการสกัดกั้น จะเห็นได้ว่ามีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีปัญหา ก็มีบริษัท เอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ จำกัด เข้ามาดูแล แต่ก็มีปัญหาด้านการบริหารจัดการ จนต้องล่าถอยไป ก็เหมือนกับหนีเสือปะจระเข้ เพราะต่อมา กระทรวงการคลังก็เข้ามาควบคุมโดยตรง ผ่านทางกลุ่มผู้บริหารแผนที่มีกันอยู่ 5 คน หรือที่เรียกกันว่า 5 อรหันต์...

“ในตอนแรกที่กระทรวงการคลัง สมัยนั้นมีคุณสุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รับผิดชอบอยู่ ผมก็คิดว่าน่าจะพูดคุยกันเพื่อหาทางออกของปัญหาได้ เพราะอย่างน้อยก็เป็นศิษย์เก่าอัสสัมชัญด้วยกันมา จึงหวังว่า ท่านสุชาติ น่าจะมาเป็นคนกลางในการเจรจาที่ดีได้ ปรากฏว่าวันหนึ่งท่านสุชาติก็บอกกับผมว่า คงช่วยอะไรมากไม่ได้ เพราะ My boss want it คิดดูสิว่า เกิดอะไรขึ้น เพราะคน ๆ นี้ถึงกับส่งคุณบุญคลี ปลั่งศิริ เข้ามาช่วยควบคุมดูแล ผ่านทางผู้บริหารแผนด้วย” ประชัยกล่าวในเว็ปไซต์ Thaiinsider ซึ่งขณะนี้ถูกปิดไปแล้ว รวมถึงเว็ปไซต์ของFM92.25 MH ซึ่งมีประชัยเป็นทุนใหญ่ก็ถูกสั่งปิดเช่นกัน

รสก.ก็ขยาดไม่อยากเข้าทีพีไอ

แม้ดูเหมือนว่ากระทรวงคลังจะพยายามจัดการเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยการนำ 5 รัฐวิสาหกิจเข้าไปซื้อหุ้นทีพีไอ แต่ว่ากันว่า ทั้งหมดต่างก็ไม่ต้องการที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องนี้ เพราะมองว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐเข้าไปจัดการอาจจะทำให้เกิดปัญหาภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อองค์กร บางส่วนก็มองว่า ทีพีไอเองก็มีหลายกลุ่มที่เข้าในไปบริหารจัดการ ทั้งกลุ่มอำนาจเก่า กลุ่มผู้บริหารแผน

“หากเข้าไปคงจะเกิดปัญหาแน่ ทำให้หลายคนคิดว่าจะผ่องถ่ายหุ้นออกไป โดยติดต่อกับกลุ่มทุนใหม่ จากสหรัฐฯซึ่งเป็นกลุ่มน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่ประชัยรู้จักดี”คนในวงการ ปิโตรฯเล่า

ขณะที่ฝ่ายประชัยเองก็ยอมรับว่า เขาเคยนำทีพีไอ ไปเสนอให้กับกลุ่มทุนใหญ่ที่เป็นคู่ค้าเช่นกัน แต่ก็ไม่มีใครเอา จนกระทั่งกลุ่มทุนจากจีน ซึ่งต้องการเข้ามาลงทุน ไม่ต้องการเข้ามาบริหาร

“ผมไม่คิดว่าจะมีกลุ่มทุนอื่น ผมยังกลัวว่า รัฐบาลจะเอาจีนเข้ามาด้วย เพราะกำลังมีการเดินทางไปจีน”ประชัย ตั้งข้อสังเกต

ขณะที่แหล่งข่าวในรัฐบาล ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ต้องการที่จะเข้ายึดครองทีพีไอ เพราะเกรงว่าจะถูกครหา ว่ารัฐเข้าแทรกแซงธุรกิจเอกชน ซึ่งจีนได้คอมเม้นท์เรื่องนี้มาด้วย ทำให้เป็นไปได้ว่า รัฐบาลจะให้กลุ่มซิติก เข้ามาเช่นเดิม แต่การมาของซิติก จะผ่านทางกระทรวงคลัง ไม่ใช่มาทางฝ่ายของประชัย เลี่ยวไพรัตน์

จับตา27มิ.ย.นี้ประชัยพ่าย?

สำหรับอนาคตของทีพีไอจะไปทางไหน ว่ากันว่า ขึ้นอยู่กับ วันที่ 27 มิถุนายนนี้ ซึ่งศาลล้มละลายกลางจะพิจารณากรณีการเข้ามาของพันธมิตรใหม่ ว่าจะให้ฝ่ายไหนกันแน่ระหว่างกระทรวงคลังกับฝ่ายของประชัย เลี่ยวไพรัตน์

จากการตรวจสอบเอกสารในแผนฟื้นฟูพบว่า มีบทกำหนดเรื่องการเข้ามาของกลุ่มทุนใหม่ โดยการระบุชัดเจนว่า กระทรวงคลัง มีอำนาจที่จะจัดการหากลุ่มทุนใหม่รวมไปถึงการจัดสรรหุ้นอีกด้วย ซึ่งประเด็นนี้ทำให้หลายคนมองว่า ศาลฯคงจะต้องยึดหลักเกณฑ์ในแผนฟื้นฟูฯและไฟเขียวให้กระทรวงคลังดึงกลุ่มทุนเข้ามา เท่ากับว่าประชัยมีโอกาสที่จะดึงกลุ่มทุนซิติกเข้ามาก็ยากที่จะเป้นไปได้

หากเป็นเช่นนั้น อนาคตของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ จะเป็นอย่างไร ? เขาจะอยู่หรือไปจากทีพีไอ ?

ประชัย พูดถึงเรื่องนี้ตรงๆว่า เค้าไม่ให้ผมอยู่หรอก ผมต้องไปแน่ๆ แต่ผมมั่นใจว่า ผมชนะ

“ผมสร้างทีพีไอมากับมือ ผมลงทุนไปกว่าแสนล้าน ช่วงที่เกิดวิกฤต ตอนนั้นผมทิ้งไปก็ได้ แต่ผมไม่ทำ ผมยังเอาเงินมาลงทุนต่อก่อสร้างโรงงานให้เสร็จ พอเสร็จแล้วก็ทำเงินได้มหาศาลในวันนี้ทีพีไอมีรายได้ 165,000 ล้านบาท หากเราไม่ถูกฟรีซ เราจะมีรายได้ 2-3 แสนล้าน แต่เราเจอปัญหาตลอด เพราะเขาไม่ต้องการให้เราเกิด”ประชัย บอก

“ผมมันใจว่าผมชนะ ธรรมะย่อมชนะอธรรม”เขาทิ้งท้าย...

รุมทึ้งขุมทรัพย์ TPI แสนล้าน

8ปีที่ บริษัททีพีไอ เข้าสู่แผนฟื้นฟู ขณะที่กิจการนี้เป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งที่มีศักยภาพกว่าแสนล้าน ทำให้“ประชัย เลี่ยวไพรัตน์” ผู้ก่อตั้งบริษัททีพีไอ ต้องต่อสู้สุดชีวิตเพื่อรักษาธุรกิจของตระกูล.....จากหลายฝ่ายที่หมายปอง!

ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ ก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2521 ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีศักยภาพผลิตน้ำมันได้ 215,000 บาร์เรลต่อวัน ก่อนนำไปแยกประเภท โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร

หลังจากนั้นในปี 2523 ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจปูนซีเมนต์ โดยก่อตั้งบริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) มีการสร้างโรงงานที่ อ.แก่งคอย สระบุรี พร้อมทั้งมีการก่อตั้งบริษัท TPI KMAN ISLAND เพื่อออกหุ้นกู้ ระดมเงินจากต่างประเทศเพื่อมาขยายกิจการของบริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)

ทำให้บริษัททีพีไอโพลีนฯ สามารถขยายกำลังการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ในปี 2533 มีกำลังการผลิต 78,000 ตัน/ปี 2535 มีกำลังการผลิต 2,900,000 ตัน/ปี 2538 มีกำลังการผลิต 5,800,000 บาท/ปี 2540 มีกำลังการผลิต 9,000,000 บาท/ปี ซึ่งส่งผลดีกับศักยภาพธุรกิจของกลุ่มบริษัททีพีไออย่างมาก

อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2535 เพื่อขยายกิจการสู่เป้าหมายการทำธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจร ทีพีไอจึงได้ขอกุ้เงินลงทุนจากสถาบันการเงินกว่า 140 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศมาขยายกิจการ
หลังจากรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รวมทั้งสั่งระงับการดำเนินกิจการสถาบันการเงินรวม 58 แห่ง จากสถาบันการเงิน 84 แห่ง อุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ของประเทศจำนวนมากต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดย ทีพีไอ เป็นหนึ่งในนั้น โดยทีพีไอขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีกว่า 69,261 ล้านบาท มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นกว่า 130,000ล้านบาท หรือ 3,500 เหรียญสหรัฐทันที

เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ทีพีไอได้เสนอขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของทีพีไอได้เป็นโต้โผหลักในการรวมตัวกับเจ้าหนี้ทีพีไอรายอื่น ๆ ในนามคณะกรรมการเจ้าหนี้เพื่อทำหน้าที่ในการเจรจาการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับทีพีไอ

คณะกรรมการเจ้าหนี้ได้มีการแต่งตั้งบริษัท เฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน จำกัด ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงินของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ

EP ทึ้งก้อนแรก 1.7 พันล.

15 มีนาคม 2543 และ 15 ธันวาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ และแต่งตั้งให้บริษัท เอ็ฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด (อีพี) เข้ามาเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอ ตามคณะกรรมการเจ้าหนี้เสนอ ซึ่งผู้บริหารทีพีไอคัดค้านเนื่องจาก อีพี เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินของคณะกรรมการเจ้าหนี้ ทำให้กระบวนการฟื้นฟูกิจการเกิดความไม่เป็นธรรมกับลูกหนี้ แต่การคัดค้านไม่ประสบผล เพราะกฎหมายฟื้นฟูกิจการ ระบุให้อำนาจเจ้าหนี้มีสิทธิเลือกผู้บริหารแผนของลูกหนี้

ทั้งนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่กำหนดไว้ จะมีค่าใช้จ่ายในแผนฯ จำนวน 1,364 ล้านบาท ในระยะเวลาบริหาร 5 ปี (1 ม.ค.43-31 ธ.ค.47)

21 เมษายน 2546 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ อีพี พ้นจากผู้บริหารแผนฟื้นฟู หลังจากบริหารไปได้ 2 ปี 3 เดือน

โดยผู้บริหารทีพีไอ ระบุว่าอีพีไม่สามารถหารายได้เพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้เงินต้นของทีพีไอให้กับเจ้าหนี้ได้เลย แต่กลับมีการใช้เงินทีพีไอไปกว่า 1,779 ล้านบาท เป็นค่าตอบแทนจำนวน 15,760,000 บาทต่อเดือน ค่าบริหารแผน 6,737,400 ล้านบาทต่อเดือน และค่าดูแลบริหารจัดการ 6,540,400 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าค่าใช้จ่ายในแผนฟื้นฟูฯที่วางไว้ ทั้งนี้ที่สำคัญแผนฟื้นฟูฉบับเจ้าหนี้บริหารโดยอีพี เป็นฉบับแรกในโลกที่ไม่มีการลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย

นอกจากนี้ อีพี ยังมีการพยายามตัดขายสินทรัพย์ของทีพีไอ โดยเฉพาะการเร่งขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก ทั้งกิจการท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้า รวมถึงที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรมทีพีไอในพื้นที่ต่าง ๆ และยังมีการลดกำลังการผลิตน้ำมันจากกำลังการผลิต 125,000 บาร์เรลต่อวัน ให้เหลือเพียงวันละ 65,000 บาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ทีพีไอไม่มีรายได้เพียงพอในการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ รวมทั้งยังมีการแปลงหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระของทีพีไอที่มีต่อเจ้าหนี้ให้เป็นหุ้นใหม่แก่เจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้มีหุ้นในจำนวนร้อยละ 75 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

ก้อน 2-ผู้บริหารแผนฯ ใช้กว่า 1,185 ล.

11 กรกฎาคม 2546 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้กระทรวงการคลังเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนชุดใหม่ของทีพีไอ โดยกระทรวงการคลังเสนอชื่อ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฎฐ์ (ประธาน) ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา,พละ สุขเวช,ดร.ทนง พิทยะ และ อารีย์ วงศ์อารยะ เป็นตัวแทนกระทรวงการคลังเข้าบริหารแผนฟื้นฟูฯ แทนอีพี

เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซ้อน เมื่อผู้บริหารเดิมทีพีไอ ทำเรื่องร้องเรียนกับวุฒิสภา ว่านับตั้งแต่ผู้บริหารแผนชุดใหม่เข้ามา (ก.ค.46 – ธ.ค. 47) ผู้บริหารแผนมีการใช้เงินของทีพีไอไปแล้วกว่า 1,185 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการซ้ำรอยเดิมกับอีพี

โดยผู้บริหารแผนได้อนุมัติค่าตอบแทนของตัวเองและค่าที่ปรึกษา ตั้งแต่ ก.ค.46- มิ.ย.47 พบว่าได้มีการใช้จ่ายเงินทีพีไอไปกว่า 422 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ค่าตอบแทนผู้บริหารแผนกว่า 42 ล้านบาท (พล.อ.มงคล ได้เงินเดือน 1 ล้านบาทต่อเดือน ปกรณ์,พละ,อารีย์ ดร.ทนง ได้เงินเดือนรายละ 750,000 บาทต่อเดือน) 2.ค่าตอบแทนที่ปรึกษาส่วนบุคคลของผู้บริหารแผนและคณะบุคคลตัวแทนกระทรวงการคลัง 10,857,784.94 ล้านบาท (นิพัทธ พุกกะณะสุต,วิจิตร สุพินิจ,วิเชียร วิริยะประสิทธิ์ และดร.วีรพงษ์ รามางกูร ได้รายละ 200,000 บาทต่อเดือน) 3.ค่าที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารแผนกว่า 368 ล้านบาท

26 สิงหาคม 2546 อารีย์ วงศ์อารยะ, ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ในนามผู้บริหารแผนทีพีไออนุมัติให้ทีพีไอว่าจ้างบริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัด เป็นผู้ให้บริการดำเนินภารกิจและบริหารกิจการและทรัพย์สินของทีพีไอ รวมทั้งจัดทำการปรับปรุงแผนและประสานงานกับเจ้าหนี้ ด้วยค่าจ้างเดือนละ 20 ล้านบาท

มีข้อสังเกตว่าบริษัท ซินเนอจี โซลูชั่นจำกัด เพิ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546 ก่อนหน้าได้รับคัดเลือกให้บริหารงานทีพีไอเพียง 1 วัน และมีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท ทั้งนี้ผู้บริหารแผนฯ ยังอนุมัติให้มีการจ่ายเงินเดือนย้อนหลังให้บริษัทซินเนอจีฯ ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ค. 46 ซึ่ง ณ เวลานั้น บริษัทซินเนอจี ยังไม่ได้ก่อตั้ง นอกจากนี้เงินเดือนพนักงานของบริษัทยังมากเกินความจำเป็น โดยอยู่ในระดับหลักหมื่นจนถึง 350,00 บาทต่อเดือน

10 พฤศจิกายน 2547 ศาลล้มละลายกลาง ไม่ได้ห้ามไม่ให้ผู้ถือหุ้นเดิมเข้ามาลงทุนในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่

8 เมษายน 2548 ศาลล้มละลายกลาง ยกคำร้องของลูกหนี้กรณีร้องขอให้ศาลล้มละลายกลาง ยกคำร้องของลูกหนี้กรณีร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งถอดถอนตัวแทนกระทรวงการคลังในนาม “คณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ” ที่มี พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฎร์ เป็นประธาน พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอ

19 เมษายน 2548 กิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แถลงข่าวกรณีทีพีไอ ว่าเป็นหุ้นที่สามารถออกจากหุ้นหมวดฟื้นฟูกิจการได้แล้ว เนื่องจากมีคุณสมบัติตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ทุกประการ โดยพิจารณาจากผลประกอบการปี 2547 ที่มีกำไรต่อเนื่อง 3 ไตรมาส และสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้เกิน 75% แต่ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แถลงข่าวว่า จะไม่รีบนำ ทีพีไอออกจากหุ้นกลุ่มรีแฮปโก้

ส่ง ป.ป.ช.สอบ-จ่ายเงินเดือนย้อนหลังซินเนอจี

25 กุมภาพันธ์ 2548 ส.ว.กลุ่มหนึ่งนำโดย คำนวณ เหมาะประสิทธิ์ ส.ว.อุตรดิตถ์ ในฐานะผู้ถือหุ้นทีพีไอ เข้าพบผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ อดีต รมช.คลัง ร่วมกับ อารีย์ วงศ์อารยะ อดีต รมช.ศึกษาธิการ ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้ปฏิบัติงานแทนกระทรวงการคลัง จุมพล ศานติวงศ์ และศิริ จิระพงษ์พันธ์ กรรมการบริษัทซินเนอจีฯ ในความผิดฐานเบียดบังเอาทรัพย์สินของทีพีไอเป็นของตนเองหรือของผู้อื่นโดยทุจริต หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

สำหรับกรณีจ่ายเงินเดือนย้อนหลังให้บริษัทซินเนอจี ขณะนี้มีความคืบหน้าจากพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสอบสวนแล้วเห็นว่าคดีมีมูลความผิด จึงได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาเอาผิดต่อคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ

27 มิ.ย.วันตัดสินเจ้าของ TPI

1 มิถุนายน 2548 กระทรวงการคลังแถลงการลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัททีพีไอ ในราคาหุ้นละ 3.30 บาท จำนวน 17,550 ล้านหุ้น แยกเป็นหุ้นเพิ่มทุนใหม่จำนวน 11,651 ล้านหุ้น และหุ้นเดิมของเจ้าหนี้จำนวน 5,899 ล้านหุ้น เป็นเงินทั้งสิ้น 57,915 ล้านบาท โดยบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 31.5 ธนาคารออมสิน ร้อยละ 10 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ร้อยละ 10 กองทุนวายุภักษ์ 1 ร้อยละ 10 ผู้ถือหุ้นเดิม ร้อยละ 20 และเจ้าหนี้ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงิน ร้อยละ 8.5

25 พฤษภาคม 2548 ประชัย ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางในฐานะผู้ค้ำประกัน เพื่อขอชำระหนี้ทีพีไอจำนวน 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยดึงซิติก กรุ๊ป จากจีนเข้ามาร่วมทุน โดยระบุว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมด 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เจ้าหนี้ไม่ต้องตั้งสำรองหนี้สูญอีกต่อไป โดยทีพีไอไม่จำเป็นต้องออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ แต่จะใช้หุ้นที่เจ้าหนี้ถืออยู่ 5899 ล้านหุ้น มาจัดสรร โดยผู้ถือหุ้นเดิมจะได้หุ้นเพิ่ม 5% หรือประมาณ 392 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นละ 6.54 บาท เพื่อรักษาสัดส่วนผู้ถือหุ้นเดิมไว้ที่ 30% แต่ใส่เงินน้อยกว่าเพียง 392 ล้านบาท ทำให้ราคาตามบัญชีอยู่ที่ 12 บาท/หุ้น

27 มิถุนายน 2548 ศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาคำร้องดังกล่าว......และผลการตัดสินครั้งนี้จะชี้ชะตา ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และผู้ถือหุ้น TPI และ TPIPL !

โบรกชี้เลี่ยง TPI รอความชัดเจน แนะเก็บ TPIPL

ความหวังของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้ก่อตั้งบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด(มหาชน) หรือ TPI ที่พาพันธมิตรสัญชาติจีนอย่างซิติก กรุ๊ป (Chaina International Trust & Investment Corp.) เป็นทางเลือกในการแข่งกับผู้บริหารแผนอย่างกระทรวงการคลัง ที่ดึงเอาพันธมิตรที่ประกอบด้วย ปตท. ธนาคารออมสิน กบข. กองทุนวายุภักษ์1 เข้าถือหุ้น 61.5% เมื่อ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ด้วยเงื่อนไขที่เจ้าหนี้ได้รับเงินคืนทันที 1.44 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เหลือเป็นการทยอยชำระ

ขณะที่กลุ่มของประชัยและพันธมิตรเสนอชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทันที 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และใส่เงินใหม่เข้าไปอีก 392 ล้านบาท น้อยกว่าแผนของกระทรวงการคลังทึ่ต้องใส่เงินใหม่อีก 1.28 หมื่นล้านบาท และไม่ต้องขายหุ้นบริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด(มหาชน) จำนวน 249 ล้านหุ้นออกมา โดยที่ผ่านมาเกิดความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริหารแผน(กระทรวงการคลัง)กับกลุ่มของประชัย

ทั้งนี้เมื่อ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมาศาลล้มละลายได้มีคำสั่งให้ประชัยและพันธมิตรสามารถนำเงินมาวางเพื่อชำระหนี้ 2.7 ล้านเหรียญได้ ขณะที่กระทรวงการคลังรีบเร่งหาพันธมิตรที่เป็นเครือข่ายของรัฐเข้าซื้อหุ้น TPI อย่างเร่งด่วนเมื่อ 1 มิถุนายน ขณะนี้ต่างฝ่ายต่างรอผลการพิจารณาของศาลล้มละลายกลางในวันที่ 27 มิถุนายนว่าใครจะได้สิทธิในการฟื้นฟูกิจการทีพีไอ

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้ประมาณการณ์ยากว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ถ้าพิจารณาจาก 2 แนวทางที่จะออกมา คือเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของกระทรวงการคลัง หรือ เป็นไปตามแผนที่กลุ่มประชัยและซีติกเสนอมา

เมื่อพิจารณาจากแผนของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้บริหารแผนปัจจุบัน เงื่อนไขที่เสนอปรับโครงสร้างหนี้ราว 1.8 พันล้านเหรียญชำระด้วยเงินสด อีก 250 ล้านเหรียญใช้วิธีการขายหุ้นที่ทีพีไอถือในทีพีไอ โพลีนออกมา 250 ล้านเหรียญ หนี้อีก 650 ล้านเหรียญใช้วิธีขายส่วนทุนหรือแปลงหนี้เป็นทุน ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระ 250 ล้านเหรียญจะทำเมื่อแก้หนี้ก้อน 650 ล้านเหรียญได้สำเร็จ และจะเพิ่มทุนอีก 1.16 หมื่นล้านบาท

แผนฟื้นฟูของกระทรวงการคลังที่เสนอมาถือว่าเป็นรูปธรรม อีกทั้งชื่อของกระทรวงการคลังช่วยสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนได้ดี

อย่างไรก็ตามแผนการฟื้นฟูของกลุ่มประชัยและซีติกนั้น การนำเงิน 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐมาวางทั้งจำนวน ไม่ต้องขาย TPIPL ออกไป และใช้เงินเพิ่มทุนน้อยกว่าแผนของกระทรวงการคลังมาก ก็อาจโน้มน้าวใจบรรดาเจ้าหนี้ได้ไม่น้อย โดยหลักการถือข้อเสนอที่ดีกว่าของกระทรวงการคลัง แต่ติดตรงที่หลายคนอาจไม่เชื่อใจคุณประชัยเท่านั้น

“หากผลออกมาว่าทีมบริหารแผนของกระทรวงการคลังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ คาดว่าผลตอบรับน่าจะออกมาในทางบวก ตรงกันข้ามหากกลุ่มคุณประชัยเข้ามาบริหารแผนแทน จะเกิดผลกระทบทางลบต่อจิตวิทยาการลงทุน แต่เชื่อว่าคงเป็นแค่ระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากการฟื้นฟูในขั้นต่อไปต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน” นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าว

หันกลับมาที่ราคาหุ้นของ TPI มีการกระตุกราคาจากระดับ 8 บาทเศษในช่วงกลางเดือนเมษายน และไล่ราคาเกินกว่า 14.40 บาทในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม(ก่อนกระทรวงการคลังเซ็นสัญญากับพันธมิตเพียงแค่วันเดียว) เป็นที่น่าสังเกตุว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้บริหารแผนแต่ละครั้งจะมีผลต่อราคาหุ้น TPI ในทางบวกเสมอ รวมทั้งหุ้นของ TPIPL ด้วย

สำหรับราคาหุ้น TPI ที่ระดับ 13 บาทถือว่าค่อนข้างสูง เราแนะนำให้นักลงทุนรอความชัดเจนที่จะเกิดขึ้น เพราะการเข้ามาของพันธมิตรของกระทรวงการคลังโดยมี ปตท.เป็นหัวหอกถือ 3.15% นั้น เป็นเพียงแค่ขั้นตอนแรก เนื่องจากจะต้องมีการเข้าตรวจสอบสถานะที่แท้จริงของ TPI ก่อนตัดสินใจซื้อ อีกทั้งราคาที่ 3.30 บาทนั้นถือว่าค่อนข้างต่ำจากราคาที่ซื้อขายในตลาดมาก หากทุกอย่างเดินไปตามแผนทั้งหมด หุ้น TPI ก็จะถูกกระทบจากหุ้นเพิ่มทุน 1.16 หมื่นล้านหุ้น ซึ่งราคาหุ้นมีสิทธิลดลงมาได้ราว 50%

นักลงทุนต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะเข้ามาลงทุนใน TPI เพราะเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านปิโตรเคมีหรือไม่ ถ้าใช่เราคิดว่ามีหุ้นปิโตรเคมีอีกหลายบริษัทที่น่าสนใจ และไม่มีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนเรื่องการบริหารงาน แต่ถ้าต้องการเข้ามาเก็งกำไรก็ต้องพร้อมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย สำหรับเราแล้วไม่แนะนำในระยะนี้

ความเชื่อมโยงของหุ้น TPI ยังส่งต่อไปยังหุ้น TPIPL เนื่องจากตัว TPI ถือหุ้นอยู่ใน TPIPL ราว 30% ซึ่งผู้บริหารแผน TPI เตรียมเสนอขายหุ้นในส่วนนี้ให้กับผู้สนใจ ดังนั้นคงต้องขึ้นกับผู้ซื้อด้วยว่าจะเป็นใคร แต่คนที่เข้ามาซื้อก็คงต้องคิดหนักเหมือนกันเนื่องจากผู้บริหารแผน TPIPL เป็นคุณประชัย หากผู้ถือหุ้นรายใหม่ใน TPIPL เข้ามาเพียงแค่ถือหุ้นก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าจะเข้ามาปรับเปลี่ยนนโยบายก็อาจจะประสบปัญหา เพราะผู้บริหารแผนคือเจ้าของกิจการเดิม

ด้านราคาหุ้น TPIPL ที่เคลื่อนไหวบริเวณ 30 บาทขณะนี้ถือว่ายังลงทุนได้ เนื่องจากราคาที่ซื้อขายยังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ที่ผ่านมาราคาหุ้น TPIPL ถูกนำไปผูกโยงกับปัญหาที่เกิดขึ้นในตัว TPI และคุณประชัย ทำให้ราคาไปได้ไม่ไกล

TPIPL ยังถือว่าลงทุนได้ เรายังให้ราคาเป้าหมายในเชิงอนุรักษ์นิยมที่ 35 บาท หากทุกอย่างชัดเจนเชื่อว่าราคาน่าจะเข้าใกล้มูลค่าทางบัญชีมากขึ้น

----------------------
ข่าวว่า  คุณประชัย  ไม่ลาออก แล้ว  ขอให้สู้ต่อไป  ให้กำลังใจ

 :slime_smile:

ขอโทษ จขกท  หากไม่ตรงกับกระทู้...

เคยเห็นข่าว นายพายัพ กับพวกวงศ์สวัสดิ์ ปั่นหุ้น ในตลาดทรัพย์ บ่อยมาก


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 06-12-2007, 19:09


คิดง่าย คนนึงขยายกิจการมาเองตลอดประวัติศาสตร์บริษัทฯ จนเข้าตลาดหุ้น

ปูนซิเมนต์ฟื้นได้ ทำไม่ทีพีไอ จะฟื้นไม่ได้ สภาพตลาดเดียวกัน

กับพวกเล่นหุ้นโดยไม่มีความผูกพันกับกิจการเลย พวกไหนจะปั่นหุ้น พวกไหนจะดูแลกิจการ

แง่มุมของกฎหมาย เหมือนเรื่องปกติ มองได้สองแง่..


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 06-12-2007, 19:27




ถึงอย่างไรผมก็สนันสนุนหลักการให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และลงทุนในเมกะโปรเจ็คท์ใหม่ๆ

ที่ต้องระวังคือสาธารณูปโภคหลัก ที่ต้องควบคุมสัดส่วนต่างๆทางการเงินให้ดี เพื่อให้มีราคาบริการต่ำ

และต้องมีหัวใจอยู่ที่รัฐวิสาหกิจส่วนกลางที่สามารถควบคุมแนวทางของกิจการต่างๆโดยเฉพาะสาธารณูปโภคส่วนที่แปรรูปออกไปแล้วได้

อีกอันหนึ่งคือถ้าจ้างงานคนไทย จ่ายเงินเดือนให้คนไทยปันผลให้คนไทยเป็นส่วนใหญ่ ควรเป็นกิจการที่ได้สิทธิพิเศษทางการเงินและในแง่การส่งเสริมต่างๆ


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 06-12-2007, 19:33
ก.ม  เขียนขึ้นเพื่อจัดระเบียบสังคม  และควรจะ มอง หรือ  ตีความ ก.ม. ไปข้างความถูกต้อง 

ขอแปะอีกข่าว จากแฟ้ม

คอลัมน์: ข่าวเชิงวิเคราะห์ : ล้างบางระบอบทักษิณ ล้างมลทินทีพีไอ: ตามรอยเส้นทาง"รวยและมั่งคั่ง" สมุนระบอบ"ทักษิณฯ"ใน"ทีพีไอ"(ตอนที่ 1)

          สำหรับเรื่อง "ผลประโยชน์ก้อนโตในทีพีไอ" ที่ถูกบรรดาสมุนทรราชของระบบทักษิณยักย้ายถ่ายเทหรือไซฟ่อนเข้ากระเป๋าตัวเอง นับว่าเป็นเรื่อง "ท้าทาย" รัฐบาล "ขิงแก่" ที่นำโดย "พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์" และ "พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน" ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในการเข้าไปทลายล้าง "ขุมข่ายอำนาจเก่า" ของระบอบทักษิณที่นั่งยึดกุมทีพีไออยู่ในเวลานี้

          มีคำถามว่าทำไมต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการเข้าไปทลายขุมข่ายอำนาจเก่าของระบอบทักษิณใน "ทีพีไอ" ทั้งนี้จะต้องฟันธงว่า เหตุการณ์คนชั่วกลุ่มหนึ่งเกินจาก "การแผลงฤทธิ์เดช" ของ "อำนาจของเงินที่ทรงอิทธิพล มากกว่าอำนาจจากปลายกระบอกปืน"

          โดยเฉพาะ "อำนาจเงิน" ที่อยู่ในมือของเครือข่ายอำนาจเก่าของระบอบทักษิณที่สูญเสียผลประโยชน์ทางการเมืองนั้น เป็นที่รู้กันว่าพวกเขามีเม็ดเงินอยู่จำนวนมหาศาลหลายแสนล้านบาท ที่ระบุกันว่าสามารถนำมาจ่ายกันได้แบบสดๆ ชนิดไม่อั้นหากถึงคราวจำเป็น ซึ่งเม็ดเงินจำนวนมหาศาลดังกล่าวยังไม่รวมถึงอำนาจเงินที่จ่อคิวใช้เป็น "เสบียงกรัง" ชิงอำนาจรัฐคืน ที่มีอยู่อีก "เต็มกระบุง"

          ทั้งที่ซุ่มซ่อนอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น เม็ดเงินของบรรดาเครือข่ายระบอบทักษิณที่แฝงเร้นอยู่ในรูปแบบ "หุ้น" ของกลุ่มผู้ถือของยักษ์ใหญ่ทางด้านพลังงานอย่าง "ปตท." และเครือข่ายระบอบทักษิณใน "ทีพีไอ" ปัจจุบัน เพราะเพียงลำพัง "ขุมทรัพย์" ของสององค์กรขนาดใหญ่อย่าง "ปตท.กับทีพีไอ" จะมีมูลค่าอีกหลายแสนล้านบาท ซึ่งสามารถนำมา "ป่วนเมือง" ได้ทุกเวลา และสารพัดรูปแบบหากต้องการ และที่สำคัญที่สุดปัจจุบันเม็ดเงินก้อนโตระดับหลายแสนล้านบาทดังกล่าว ยังตกอยู่ใน "อุ้งมือ" ของสมุนลิ่วล้อซึ่งระบอบทักษิณสามารถสั่งซ้ายหันหรือขวาหันได้ทันที
          แฉสมุน "ทักษิณ" ในทีพีไอรวยอู้ฟู้...
          ผุด "คฤหาสน์" สนนราคานับ 100 ล้าน

          ในห้วงระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี ที่กระทรวงการคลังในยุคที่ถูกระบอบทักษิณเข้าครอบงำ ได้ส่งตัวแทนหรือร่างทรงในชื่อ "คณะผู้บริหารแผน" เข้าฟื้นฟูกิจการทีพีไอ นัยว่าเป็นภารกิจลับมากชิ้นหนึ่งจาก "นายใหญ่" ในช่วงนั้นก็คือ การที่อำนาจรัฐในระบอบทักษิณได้เปิดไฟเขียวให้ใช้ "วิชามาร" ทุกรูปแบบในการเข้า "ยึดกิจการทีพีไอ" ไปจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมและกลุ่มของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ จนกระทั่งปัจจุบันกิจการทีพีไอได้ตกไปอยู่ในมือของสมุนและเครือข่ายอำนาจของระบอบทักษิณเรียบร้อยแล้ว

          จนถึงขณะนี้เส้นทางผลประโยชน์ในทีพีไอ ได้สร้างความ "ร่ำรวยและมั่งคั่ง" ให้แก่บรรดาสมุนลิ่วล้อของระบอบทักษิณอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะหลังจากอำนาจทางการเมืองของระบอบทักษิณ ได้ส่งเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากทีพีไอ จึงสามารถสร้างความร่ำรวยชนิดอู้ฟู่ขึ้นอย่างรวดเร็ว จนผิดหูผิดตา ถึงขั้นมีการยืนยันว่า ลิ่วล้อบางรายของระบอบทักษิณกำลังทุ่มเงินนับ 100 ล้านบาท เพื่อสร้าง "คฤหาสน์ส่วนตัว" ซึ่งเป้นสนนราคาแล้วน่าตกใจ เพราะมีราคาค่างวดนับ 100 ล้านบาท ซึ่งมีคำถามตามมาว่า "ผู้ยิ่งใหญ่คนนี้เป็นใคร" ทำไมถึงมีเงินก้อนโตนับ 100 ล้านบาท ในเวลาแค่ไม่กี่ปี ทั้งๆ ที่เส้นทางการทำงานทั้งชีวิตวนเวียนอยู่ในอาชีพรับราชการมาโดยตลอด ในขณะที่บรรดาลิ่วล้อที่ร่วมวงไพบูลย์ได้ "ตกถังข้าวสารทีพีไอ" ก็ร่ำรวยและมั่งคั่งกันถ้วนหน้าไม่แพ้ "โต้โผใหญ่"  ที่ี่ี่นั่งรักษาฐานอำนาจให้กับเครือข่ายอำนาจเก่าของระบอบทักษิณในทีพีไอในปัจจุบัน

          ในเรื่องการเข้าไปกอบโกยผลประโยชน์ก้อนโตในทีพีไอของบรรดาเครือข่ายของระบอบทักษิณ ไม่ใช่เป็นการกล่าวหากันโดยปราศจากหลักฐานยืนยัน แต่ตรงกันข้ามต้อง "ตีแผ่" ข้อเท็จจริง เพื่อเป็นหาร "ชี้ช่อง" ความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของทีพีไอ ที่ถูกระบอบทักษิณ "ปล้นซ้ำซาก" และกอบโกยผลประโยชน์จากทีพีไอ ไปเข้ากระเป๋าตัวเอง จน "รวยพุงปลิ้น" และพรรคพวกอย่าง "อิ่มหมีพีมัน" กันถ้วนหน้า ซึ่งเรื่องผลประโยชน์ของทีพีไอที่ถูกถ่ายเทออกไปอย่างไม่ชอบธรรมดังกล่าว จึงจำเป็นอยู่เองที่รับบาลชุด "ขิงแก่" จะต้องใช้ความเป็น "สุภาพบุรุษนักรบ" เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และคืนความชอบธรรมให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมทีพีไอโดยเร็วไม่ใช่ปล่อยปละละเลยกลายเป็น "เข้าทาง" ขุมข่ายอำนาจเก่าดังเช่นปัจจุบัน

          เส้นทางแวสมุน "ทักษิณ"
          โกยผลประโยชน์จาก "ทีพีไอ"
          ที่ผ่านมาบรรดาลิ่วล้อสมุนระบอบทักษิณในทีพีไอ ได้พยายามออกมาเคลื่อนไหว "โต้ข่าวฉาว"

ด้วยการซื้อหน้าโฆษณาผ่านสื่อพิมพ์หลายฉบับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางเรื่องเป็นการบิดเบือนข้อเท้จจริงอย่างร้ายแรง แต่สื่อสิ่งพิมพ์เหล่านั้น ก็ยัง "ดันทุรัง" เผยแพร่ข้อมูลไปสู่สาธารณะโดยปราศจากการตรวจสอบข้อเท้จจริงและการแสดงความรับผิดชอบต่อกระแสสังคม ทั้งนี้คงเป็นเพราะ "อำนาจเงิน" นั้น "ทรงอิทธิพล" อย่างแท้จริง ไม่ต่างจากสำนวนจีนที่ระบุว่า "เงินปลุกฝีโม่แป้งได้" นั้นเป็นความจริงที่พิสูจน์ได้จนถึงปัจจุบัน

          การเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ไปจากทีพีไอของบรรดาสมุนระบอบทักษิณ พิสูจน์ได้จาก "พฤติกรรมฉาวโฉ่" จนนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ "สวนทาง" กับสมัยที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) ของกรมบังคับคดีกับผู้บริหารทีพีไอเดิม ได้เข้าไปเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอชั่วคราว หลังจากที่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่ง "ตะเพิด" ร่างทางเจ้าหนี้อย่างบริษัท เอฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด(อีพีแอล) พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผนฯ

ทั้งนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้บริหารทีพีไอเดิมได้เข้าไปเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายนถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ปรากฎข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ว่า ไจ้พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่เคยเบิกเงินทีพีไอแม้แต่บาทเดียว"
          แต่ต่อมาในวันที่ 26 สิงหาคม 2546 ตัวแทนกระทรวงการคลัง ซึ่งมี "นายทหารพาณิชย์" อย่าง "พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์" เป็นประธานคณะผู้บริหารแผนทีพีไอ และมีนายอารีย์ วงศ์อารยะ นายพละ สุขเวช นายทนง พิทยะ และนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ได้ร่วมกัน "จ่ายเงินทีพีไอย้อนหลัง" ให้แก่บริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัดตกเดือนละ 20 ล้านบาทหรือปีละ 240 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ตามมติของที่ประชุมของคณะผู้บริหารแผน ในการประชุมครั้งที่ 8/2546 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2546 ทั้งที่ความจริงบริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัด "เพิ่งจดทะเบียนบริษัทในวันที่ 25 สิงหาคม 2546" ซึ่งหากรวมวงเงินที่ตัวแทนกระทรวงการคลัง "สูบไปจากทีพีไอ" เฉพาะค่าใช่จ่ายให้แก่บริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัดในช่วงระยะเวลาประมาณ 3 ปี คิดเป็น "วงเงินสูงถึง 720 ล้านบาท"

          ซ้ำร้ายตัวแทนกระทรวงการคลัง ได้ใช้บริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัดเป็น "ช่องทางในการถ่ายเทผลประโยชน์" อีกชั้นหนึ่ง ไปยังบริษัท โพลิเมอร์ เอ็นจิเนียริ่งแอนด์เทรดดิ้ง จำกัดตกเดือนละ 10 ล้านบาทหรือปีละ 120 ล้านบาท หรือรวมระยะเวลาที่ตัวแทนจากกระทรวงการคลัง "ผ่องถ่ายเงินหรือไซฟ่อนเงินทีพีไอ" ไปยังบริษัท โพลิเมอร์ เอ็นจิเนียริ่งแอนด์เทรดดิ้ง จำกัด "จำนวนสูงถึง 360 ล้านบาท" และมีข้อสังเกตว่าทั้งสองบริษัทดังกล่าวมีนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ลิ่วล้อคนสนิทชนิดแนบแน่นของคณะผู้บริหารแผนเป็น "กรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่"

          มาถึงบรรทัดนี้คงไม่ต้องวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งก็ต้องรู้ว่า เม็ดเงินจำนวนมหาศาลของทีพีไอ ที่ถูกยักย้ายถ่ายเท(ไซฟ่อน) ออกไปเข้ากระเป๋าบรรดาสมุนของระบอบทักษิณที่กุมอำนาจอยู่ในทีพีไอ ในห้วงระยะเวลาประมาณ 3 ปี ที่กุมอำนาจในทีพีไอแบบเบ็ดเสร็จ คิดเป็นวงเงินที่ตรวจสอบได้ "มีจำนวนมากถึง 1,080 ล้านบาท" จึงไม่แปลกประหบาดใจว่า ทำไมบรรดาลิ้วล้อของระบอบทักษิณที่เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ก้อนโตไปจากทีพีไอ ในคราบของตัวแทนจากกระทรวงการคลัง

จึงร่ำรวยและมั่งคั่งขึ้นอย่างรวดเร็วจนผิดหูผิดตา พร้อมกับมีการทุ่มเงินนับ 100 ล้านบาทในการก่อสร้างคฤหาสน์ส่วนตัวหลังงานมาเสริมบารมีอีกต่างหาก
          ในตอนต่อไปมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ "เส้นทางความร่ำรวยและมั่งคั่ง" อย่างรวดเร็วชนิดมีข้อกังขาของบรรดาสมุนระบอบทักษิณที่นั่งทับผลประโยชน์ก้อนโตในทีพีไอ..อ่านต่อฉบับหน้า!--จบ--

 ที่มา: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน

เส้นทางการไล่ แม้ว ระบอบแม้ว  เริ่มต้น ขึ้น ตรง พีทีไอ  92.25  อดไม่ได้ ที่จะแสดงความเห็น
ถ้าคนระดับนี้ ยังถูกรังแกได้ขนาดนี้ 

แล้ว ชาวบ้านร้านตลาด ชาวประชา จะขนาดไหน

 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 06-12-2007, 19:50


ถึงอย่างไรผมก็สนันสนุนหลักการให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และลงทุนในเมกะโปรเจ็คท์ใหม่ๆ

ที่ต้องระวังคือสาธารณูปโภคหลัก ที่ต้องควบคุมสัดส่วนต่างๆทางการเงินให้ดี เพื่อให้มีราคาบริการต่ำ

และต้องมีหัวใจอยู่ที่รัฐวิสาหกิจส่วนกลางที่สามารถควบคุมแนวทางของกิจการต่างๆโดยเฉพาะสาธารณูปโภคส่วนที่แปรรูปออกไปแล้วได้

อีกอันหนึ่งคือถ้าจ้างงานคนไทย จ่ายเงินเดือนให้คนไทยปันผลให้คนไทยเป็นส่วนใหญ่ ควรเป็นกิจการที่ได้สิทธิพิเศษทางการเงินและในแง่การส่งเสริมต่างๆ

เห็นด้วย  กิจการคนไทย  จ้างคนไทย สวัสดิการคนไทย  ทุกอย่างอเพื่อ ประเทศ ชาติไทย  ที่สำคัญ หากทำสำเร็จ
 สิงคโปร์โตก ตายแน่   

ข่าวนี้ จะเห็นว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ  ปตท -----  ที่กำลัง กัดกร่อน หัวใจคนจนทั้งประเทศ -----

ปีที่   14   ฉบับที่  780  วันที่  วันศุกร์ที่ 05 พฤษภาคม พ.ศ. 2549    

รายงานพิเศษ / ผู้สื่อข่าวพิเศษ

อวสานมหากาพย์ทีพีไอ บทสรุปสงครามตัวแทน?
อาจเรียกว่าจบไปเพียง 'ภาคหนึ่ง' ของ 'ตำนานทีพีไอ' ที่เดินเรื่องมานานหลายปีเต็มที

เพราะถึงแม้เวลานี้ อำนาจการจัดการทรัพย์สิน บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย หรือ ทีพีไอ ที่เรารู้จัก จะตกเป็นของ บริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่ไปแล้วเสร็จสรรพ

แต่ 'ภาคต่อไป' ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดขึ้น เมื่อหลายฝ่ายฟันธงว่า คนอย่าง ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้กลายเป็นอดีตผู้ถือหุ้น และผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งปิโตรเคมีกัลผู้นี้ คงไม่จบด้วยง่ายๆ และท้ายสุด 'End Credit' ของเรื่อง จะต้องมีเพียงชื่อของเขาเท่านั้น!

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น หากย้อนไปดูตำนานทีพีไอ จะเห็นได้ทันทีว่าทำไมคนอย่าง 'ประชัย' ถึงไม่ยอมจนมุม

แม้ว่าจริงอยู่ที่ ทีพีไอ เป็นบริษัทมหาชน มิได้มีเจ้าของคนเดียว คือ 'ประชัย' แต่สำหรับเขาแล้ว ในฐานะผู้ลงทุนและผู้ก่อตั้ง ซึ่งนำเม็ดเงินส่วนใหญ่มาจากการแบกหน้าไปกู้หนี้ยืมสิน

จากกิจการอาหารสัตว์ในยุคแรกเริ่ม สู่แนวคิดที่จะรุกเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่สุดก็ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ตั้งบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ขึ้นในวันที่ 3 สิงหาคม 2521 ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท

กระทั่งมีโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกแอลพีดี ที่ระยอง โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในเดือนกันยายน ปี 2525 และสามารถนำพาให้โรงงานเล็กๆ เติบโตเป็นโรงงานปิโตรเคมีกัลครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีแรงดึงดูดมหาศาลจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

ผ่านไปไม่กี่ปี ปี 2532 ก็สามารถรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ในนาม ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) มีโรงงานที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ด้วยความมุ่งมาดจะเป็นหนึ่งของวงการ เหนือปูนซีเมนต์ไทย หรือปูนใหญ่ ผู้ซึ่งมีเครือข่ายธุรกิจไม่ด้อยกว่ากัน

ครั้งหนึ่งเคยมีผู้เขียนถึงเขาว่า

"ความอหังการที่ชัดเจนของประชัย คือการรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร ด้วยเงินลงทุน 40,000 ล้านบาท รวมถึงโครงการสร้างโรงไฟฟ้า โครงการผลิตคาโปรแลกตัม ที่จะต้องใช้เงินลงทุนนับหมื่นล้านบาท จนทุกวันนี้ ถ้ามองในเชิงธุรกิจ ประชัย ยังคงมุ่นมั่นรุกก้าวไปข้างหน้า ด้วยบุคลิกที่ไม่แปรเปลี่ยน ทุกครั้งที่อาณาจักรทีพีไอ ขยับ ย่อมตกเป็นเป้าสายตาของผู้คน และน่าเกรงขามของคู่แข่ง"

ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงทำให้คนชื่อ 'ประชัย' ภาคภูมิใจ จนฝากความหวัง 'ทุกเม็ด ทุดหยด' ไว้กับองค์กร ผ่านทางวงศ์วานว่านเครือ ดังในรายชื่อกรรมการ จะพบว่ามีคนสกุลเลี่ยวไพรัตน์อยู่มากมาย ทั้ง อรพิน, ประหยัด, อธิรา, ภากร และภัทรพรรณ

ที่สำคัญอ ย่าว่าแต่เจ้าตัว แม้แต่คนทั่วไปยังพูดกันติดปากว่า 'ทีพีไอ' เป็นของตระกูล 'เลี่ยวไพรัตน์'

0 0 0

ในวันที่ 'ทีพีไอ' ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ ปี 2540 ที่รัฐบาลประกาศใช้ค่าเงินบาทลอยตัว ทีพีไอขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีกว่า 69,261 ล้านบาท มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นถึง 133,643.82 ล้านบาท เหตุเพราะมีการกู้เงินมาลงทุนจำนวนมหาศาลทั้งในและต่างประเทศ กว่า 150 ราย ที่สุดทีพีไอต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ

มีนาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางประกาศแต่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไออย่างเป็นทางการ คือ บริษัท แอฟแฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ หรือ อีพี และตอนนั้นเองที่เรียกได้ว่าเป็นยกแรกของการหมดอำนาจในทีพีไอของประชัย

อย่างไรก็ดี ประชัยก็ไม่ยอมแพ้ ขุดข้อกฎหมายมาสู้ จน 21 เมษายน 2546 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ อีพี พ้นจากผู้บริหารแผนฟื้นฟู หลังจากที่อ้วนพีไป 1,779 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ 'เกินกว่าเหตุ' จากการเข้าไปบริหารเพียง 2 ปีกับ 3 เดือน และครั้งนี้เองที่เป็นชัยชนะของคนชื่อประชัยอีกครั้ง

แต่ฝนยังไม่ซาสำหรับประชัย เมื่อ 11 กรกฎาคม 2546 ศาลล้มละลายกลาง 'เจ้าเก่า' มีคำสั่งให้กระทรวงการคลัง เข้าเป็นผู้บริหารแผนชุดใหม่ของทีพีไอ อันมี พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธาน, ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา, พละ สุขเวช, ดร.ทนง พิทยะ และ อารีย์ วงศ์อารยะ หรือที่เราคุ้นเคยว่า '5 อรหันต์'

ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องราวดูจะเดินซ้ำรอย 'อีพี' เมื่อ ประชัย แจ้งว่ามีการใช้เงินของทีพีไอเป็นค่าตอบแทนไปกว่า 1,185 ล้านบาท อย่างน่าผิดสังเกต ภายในเวลาเพียง 1 ปี (ก.ค.46-ธ.ค.47) แต่ครั้งนั้นมิได้มีการสอบสวนแต่อย่างใด นอกเสียจากเวลาต่อมา มีผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในทีพีไอ ซึ่งมีตำแหน่งเป็น ส.ว. ได้ดำเนินการแจ้งความเรื่องดังกล่าวจนมีการสอบสวนในที่สุด

แต่กระนั้น ปลายปี 2548 ชะตากรรมของทีพีไอและประชัย ดูจะไม่ 'สมพงศ์' กันได้ เพราะขณะที่ประชัยทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ทีพีไอกลับคืนมา ด้วยการดึงกลุ่มซีติก รัฐวิสาหกิจจากประเทศจีนเข้ามาซื้อหุ้น แต่ดูเหมือนว่ามิอาจต้านทานแนวทางของกระทรวงการคลัง ซึ่งนำรัฐวิสาหกิจในเครือเข้ามา อันมี ปตท. ที่จะเข้ามาถือหุ้น 31.5%, ธนาคารออมสิน, กบข., และกองทุนวายุภักษ์ 1 จะเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 10% สำหรับผู้ถือหุ้นเดิมมีสัดส่วน 20% และเจ้าหนี้ 8.5% โดยพันธมิตรหลักมีระยะเวลาถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 24 เดือน ราคาหุ้นที่ซื้อหุ้นละ 3.30 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 57,915 ล้านบาท หรือ 1,448 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ซึ่งต่อมา 29 พฤศจิกายน 2548 ศาลฎีกาก็ได้ตัดสินว่าประชัยไม่มีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนก่อนกลุ่มปตท. พร้อมกระแสข่าวที่ว่าตลาดหลักทรัพย์เตรียมสั่งปลดประชัย พ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการของทุกบริษัท ทั้ง TPI, TPIPL และ BUI หากพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่ขึ้น

ที่สุด ในวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อ 27 เมษายน 2549 เงามืดก็ทาบทับคนชื่อประชัยทันที เพราะแม้ว่าประชัยจะสู้อีกฮึด ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลให้ระงับการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ และยังยื่นจดทะเบียนกรรมการชุดใหม่ต่อกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งอาจทำให้ซ้ำซ้อนกับกรรมการชุดของทีพีไอ แต่เขาก็มิอาจต้านทานไปได้

เพราะทุกสิ่งทุกอย่างได้มีการเตรียมการไว้แล้วอย่างมีขั้นตอน ราวกับต้องการให้ประชัยมีอันต้องกระเด้งกระดอนออกไปจากทีพีไอให้ไกลที่สุด เมื่อพบว่ามีแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว โดยมี ปิติ ยิ้มประเสริฐ เป็นกรรมการผู้จัดการ, พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธานกรรมการ, ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และ ปกรณ์ มาลากุล เป็นรองประธานกรรมการ

ส่วนคณะกรรมการที่เหลือก็มี พชร ยุติธรรมดำรง, ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา, พละ สุขเวช, วีรพงษ์ รามางกูร, วิสิฐ ตันติสุนทร, เสงี่ยม สันทัด, ไพฑูรย์ พงษ์เกษร, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส, พล.อ.พรชัย กรานเลิศ, ปรัชญา ภิญญาวัธน์ ดูรายชื่อแล้วไม่น้อยเลยที่มาจากกลุ่ม ซึ่งประชัยอ้างว่าต้องการล้มตนเองมาโดยตลอด

ซึ่งเวลานี้สรุปได้เพียงว่า ทีพีไอได้เปลี่ยนเจ้าของจาก ประชัย เป็นของกลุ่ม ปตท. โดยเบ็ดเสร็จไปแล้วนั่นเอง

ดังนั้น คงต้องดูต่อไปว่า 'ทีพีไอยุคใหม่' ในเงาของ ปตท. และพันธมิตร จะเป็นอย่างไร เพราะหลังจากศาลล้มละลายกลางได้ยกคำร้องของประชัยที่ขอให้ยกเลิกการจัดประชุมผู้ถือหุ้น และได้มีการประชุมกันไปแล้วอย่างหน้าชื่นตาบาน วางแผนขยายขนาดกิจการกันเอิกเกริก

สุดท้าย เค้กก้อนใหญ่ อย่าง 'ทีพีไอ' จะหอมหวนชวนชิมขนาดไหน คนอย่างประชัยคงรู้ดีกว่าใครทั้งหมด และน่าจะทำให้เขาไม่ยอมจำนนแต่เพียงเท่านี้

หากชื่อ 'ประชัย' ไม่ได้มีความหมายเดียวกับ 'ปราชัย' ที่แปลว่า 'ความพ่ายแพ้'
   

ขอเอาข้อมูล ที่เก็บไว้ มาให้ อ่าน  ----  ลึก ๆ ก็อยากเอาใจเชียร์ มัชฌิมา  แต่ ด้วย ปวศ การเมือง บ้านเรา

ยังไง ก็ต้องเลือก ปชป  ---- 

ส่วนลุงประชัยใจดี  ยังอยากให้ สู้ต่อไป  ให้กำลังใจท่านเสมอ

 :slime_smile:



หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 06-12-2007, 20:12




ปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่งคือ พรรคข้าราชการครับ..

การบุกเบิกธุรกิจในเมืองไทย ต้องอายนักะรกิจเอกชน..

หรือนักบุกเบิกรัฐวิสาหกิจ ถายใต้นโยบายสนับสนุนจากราชการไทย ไม่เพียงแต่นักการเมือง

เพราะขณะนี้ ส่วนใหญ่ล้วนมีผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งสิ้น...

ใครจะไปใครจะมาทางการเมือง อย่างไรก็ไม่ควรทำประชานิยมสามานย์เพื่อหวังผลในการได้รับเลือกตั้งอย่างผูกขาด


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 06-12-2007, 20:31



ข้าราชการตัวใหญ่ร่ำรวย ชั้นผู้น้อยยากจนเพราะ มีปรัชญาในการทำงานบิดเบี้ยว ไม่รับใช้ประชาชนไทย

แต่รับใช้นักการเมือง เพื่อปกป้องเส้นทางร่ำรวยกอบโกยของตนและพวกพ้อง เช่นเดียวกันกับนักการเมืองรายใหญ่

การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน จึงทำไม่ได้ง่าย แม้นักการเมืองจะร่วมมือกันได้ก็ตาม สู้ร่วมกันย่ำยีประเทศง่ายกว่ากันมาก

ต้องปรัฐปรุง ปปช.ให้ทันสมัยพรั่งพร้อมกว่าคตส.


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 07-12-2007, 09:03
เอาข้อมูลในแฟ้มมาแปะ  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

พรรคข้าราชการที่รับใช้นักการเมือง....มันเป็นความเจ็บปวดของคนไทย...ที่ทำงาน...
-----------------------------------

'พายัพ ชินวัตร' ไผ่แตกกอ..'รวย' แตกแถว ผู้อยู่เบื้องหลัง 'หุ้นร้อน' นับสิบตัวในตลาด

'ร่องรอยของหุ้นทุกตัวที่ 'พายัพ' เข้าไปเกี่ยวข้องล้วนเป็น 'หุ้นสร้าง' จนกลายเป็นหุ้น 'ยอดฮิต' เป็นที่น่าอึดอัดของหน่วยงานภาครัฐ'

ยุคนี้ใคร?ไม่รู้จัก...'เสี่ย พ.' ถือว่าเชย!!! 'พายัพ ชินวัตร' คือ เซียนหุ้น..หมายเลข 1 ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในปี 2548 ยุคที่ 'อำนาจ' ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางมาถึงขีดสุด เป็นยุคที่ 'พายัพ' รวยขึ้นนับ 10 เท่าตัวจาก 'หุ้นร้อน' ในตลาด และเป็นยุคที่ 'เสี่ย' ทุกคนในตลาดต้องหลีกทางให้กับเขา

แค่ชื่อ พายัพ ชินวัตร ไปปรากฏในหุ้นตัวไหน หุ้นตัวนั้นก็จะทะยานขึ้นราวกับมีอภินิหาร

'พายัพ' เคยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า ตนเองเริ่มเข้ามาแสวงหาโอกาสในตลาดหุ้นราวปี 2532-2533 และได้รับบทเรียนกลับออกไปอย่างสาสม

'สมัยก่อนผมก็เล่นไปเรื่อย (หุ้น) มีอนาคตบ้างไม่มีอนาคตบ้าง เข้ามาเล่นแรกๆ ก็เจ๊ง 16 ปีที่แล้ว เข้ามาในตลาดตอนดัชนีขึ้นไปที่ 1,200 จุด แล้วมันก็ดิ่งลงไปเรื่อยๆ จำได้ว่าตอนล้างพอร์ต ปี 2538 จำแม่นๆ เลย ขาดทุนไป 392 ล้านบาท'

แต่ในปี 2548 ไม่เพียง 'พายัพ' จะถอนทุนคืนได้ทั้งหมดแล้ว เขายังได้กำไรกลับคืนมาอีกเกือบ 10 เท่าตัว จากการกลับมาผงาดในตลาดหุ้นเป็นคำรบที่สอง เข้ามาเก็บหุ้นในช่วงที่ดัชนีตกลงไปเหลือ 300 จุด ทั้งหมดเป็นคำยืนยันจาก 'ปาก' ของเขาเอง

ถ้าประเมินจากคำพูดของเขา เท่ากับว่า วันนี้ 'พายัพ ชินวัตร' น่าจะมีเงินที่ได้กำไรจากตลาดหุ้นไปไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท

จากการตามแกะรอยของทีมข่าว 'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek' พบว่า พายัพ เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังในตลาดหุ้นจริงๆเมื่อปี 2547-2548 จากหุ้นปิคนิค (PICNI) แม้จะไม่มีชื่อเขาปรากฏอยู่ แต่คนในวงการโบรกเกอร์ต่างเล่าต่อๆ กันว่า 'ก๊วนพายัพ' ได้กำไรกลับออกไป 'มหาศาล' จากหุ้นตัวนี้

พายัพ เคยกล่าวว่า หุ้นที่ทำกำไรให้เขาที่ผ่านมา มาจากหุ้นในกลุ่ม สื่อสาร, บันเทิง และ กลุ่มรีฮาฟโก้(หมวดฟื้นฟูกิจการ) ที่เพื่อนๆในก๊วนต้องวิ่งมาหาเพื่อให้ช่วยเหลือ (ลงทุน) และทั้งสามกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทำให้กลับฟื้นคืนมาได้

หุ้นบันเทิงที่ 'พายัพ' พูดถึง ก็คือ หุ้น BNT ส่วนหุ้นสื่อสารที่เขาพูดถึง ก็คือ หุ้น IT และ SVOA ส่วนหุ้นกลุ่มรีฮาฟโก้ ก็น่าจะหมายถึงหุ้น EMC, EWC และ PICNI

หุ้นที่เอ่ยมานี้ส่วนใหญ่ เป็น 'หุ้นร้อน' ที่ถูกจับตาโดยหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะ BNT, EWC และ PICNI ล่าสุดยังมีชื่อเขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้น IEC และ ASL ผ่าน 'นอมินี' บางคน

เส้นทางร่ำรวยของ 'พายัพ' อาจแตกต่างจากพี่น้อง 'ชินวัตร'

แม้ปลายทางของผลประโยชน์จำนวนมหาศาลจะอยู่ที่ 'ตลาดหุ้น' (เหมือนกัน) แต่วิธีการให้ได้มาซึ่งความมั่งคั่งของเขากลับแตกต่างจากพี่น้องชินวัตรคนอื่นๆ นั่นคือ 'ไม่เคยรักษาฟอร์ม'

เพราะร่องรอยของหุ้นทุกตัวที่ 'พายัพ' เข้าไปเกี่ยวข้องล้วนเป็น 'หุ้นสร้าง' จนกลายเป็นหุ้น 'ยอดฮิต' และ 'หวือหวา' เป็นที่น่าอึดอัดของหน่วยงานภาครัฐ ด้วยรูปแบบการทำกำไรก็..โฉ่งฉ่าง-ไม่เกรงใคร

เมื่อย้อนตรวจสอบ 'โครงสร้างผู้ถือหุ้น' ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2547-2548) ปรากฏว่ามีชื่อ 'พายัพ ชินวัตร' เข้าไปลงทุนในหุ้นทั้งหมด 11 บริษัท ประกอบด้วย หุ้น ASL, BNT, KTECH, EMC, EWC, IT, SVOA, SPORT, PLE, PATKL และ STRD

แหล่งข่าวในวงการโบรกเกอร์ รายหนึ่ง กล่าวว่า การลงทุนของ 'พายัพ ชินวัตร' ส่วนใหญ่จะทำผ่าน 'นอมินี' (ตัวแทน) ที่กระจายกันเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์หลายแห่ง นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายพันธมิตรที่คนในวงการระบุว่าน่าจะมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับ กลุ่มดิวตี้ฟรี, กลุ่มอีเอ็มซี, กลุ่มเพาเวอร์-พี และ กลุ่มเพาเวอร์ไลน์

เอ่ยชื่อก็จะรู้ทันทีว่ามีใครบ้าง เพราะแกนนำแต่ละกลุ่มล้วนมีฐานะทางสังคม และมีทุนหนาระดับพันล้านบาทขึ้นไปทั้งนั้น

'เครือข่ายเล่นหุ้นส่วนใหญ่เชื่อมโยงมาจากเพื่อน ที่เรียน วปรอ. รุ่นที่ 4414 ด้วยกัน (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน ปีการศึกษา 2544-2545)'

จากการตรวจสอบรายชื่อเพื่อนร่วมรุ่น วปรอ. รุ่นที่ 4414 รุ่นเดียวกันกับ 'พายัพ ชินวัตร' ที่ได้ยินชื่ออยู่บ่อยๆ ในวงการหุ้น และเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงสังคม ประกอบไปด้วย กนกศักดิ์ ปิ่นแสง, ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ, ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล (เจ้าของรพ.วิภาวดี), ไชยยันต์ ชาครกุล, บุญคลี ปลั่งศิริ, ปมุข อัจฉริยะฉาย (เจ้าของกะตะกรุ๊ป-ภูเก็ต), ราชศักดิ์ สุเสวี, สุทธิศักดิ์ โล่ห์สวัสดิ์, พล.ท.หญิงสำอาง ทองปาน(มือการเงิน EMC) และองอาจ เอื้ออภิญญกุล (กรรมการบริหาร-บ้านปู) เป็นต้น

ขณะที่ 'กนกศักดิ์ ปิ่นแสง' ก็เป็นเพื่อนสนิทกับ 'พล.ต.ต.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง” และ 'พล.ต.ต.สมยศ' ก็อยู่กลุ่มเดียวกันกับ 'ทนายมานัส กำเหนิดงาม' และ 'วิชัย รักศรีอักษร'

ทั้งหมดนี้ คือ ก๊วนเล่นหุ้นที่โด่งดังพอๆกับ พายัพ ชินวัตร

นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวระบุว่า พายัพ ยังลงทุนผ่านบุคคลใกล้ชิดหลายคน เช่น 'โยคิน เจริญสุข' ที่ปรากฏในรายชื่อของสำนักงาน ก.ล.ต.ว่า โยคิน เข้าไปไล่เก็บหุ้น BNT และ BOL เกิน 5% และมีการซื้อขายเปลี่ยนมือในหุ้น BNT หลายรอบ ล่าสุดมีรายชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้น IEC

ขณะที่ 'ฉันทิดา กรินพงศ์' ที่ถูกระบุว่าเป็น 'ตัวแทน' ของ พายัพ ชินวัตร พบรายชื่อเข้าไปเล่นรอบหุ้น BNT ซึ่งบุคคลทั้ง 2 รายนี้ เคยถูกเปิดเผยว่า มีฐานะเป็นพนักงานของ บริษัท ชินวัตร ไหมไทย

รายใหญ่อีกคนในตลาดหุ้น ที่มีบทบาทมากในระยะหลังๆ โดยเฉพาะมีผลงานเข้าไปไล่เก็บหุ้น ASL-W4, ASL, TRAF และ THECO ก็คือ 'ชนะชัย ลีนะบรรจง' ที่ข่าววงในระบุว่ามีความใกล้ชิดกับ พายัพ ชินวัตร อย่างมากเช่นเดียวกัน

ใครจะคิดว่า พายัพ น้องชายคนเดียวของนายกฯ ทักษิณ ที่บรรดาพี่น้องในตระกูลต่างห่วงมากที่สุด เพราะเป็นคนเดียวที่ถูกกล่าวขวัญว่าไม่มีชิ้นอันที่ชัดเจน จนพี่ๆ ต้องโอบอุ้มสม่ำเสมอ

ปัจจุบันพายัพมีฐานะเป็น ส.ส.เชียงใหม่ เขต 2 และ มีฐานะมั่งคั่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทั้งที่ย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ปี 2540-2544) บริษัท ชินวัตรไหมไทย ที่เขานั่งเป็นประธานบริษัท ยังประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องกว่า 600 ล้านบาท

พายัพ เคยยอมรับว่า 'ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อก่อนผมไม่เข้าใจธุรกิจ ไม่เข้าใจเรื่องเงิน หาเงินแบบอ้อมโลก เช่น อยากจะขายสินค้าก็ไปตั้งโรงงาน ไปซื้อที่ดิน สร้างโรงงาน ซื้อวัตถุดิบ ฝึกคน ก็จ่ายตังค์ ผลิตได้ ไม่แน่ว่าจะขายได้ ขายได้ ก็ไม่แน่ว่าจะได้กำไร กำไรก็ไม่รู้จะคืนทุนเมื่อไหร่'

วันนี้วิธีคิดของเขาไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เขาเลิกหาทางรวยแบบอ้อมโลกเหมือนในอดีต แค่ 'เลือกหุ้น' จากนั้นก็ 'สร้างหุ้น' และรอจังหวะ 'ขายหุ้น' (เมื่อราคาขึ้นไป 20%)

เพียงแค่นี้ก็..รวยไม่รู้เรื่องแล้ว

กรุงเทพธุรกิจ  ๓๐  กุมภาพันธ์ ๔๙

-------------------  มี พวก ปั่นหุ้น  เยอะ ในตลาดหลักทรัพย์  แต่ไม่เคยเอาผิดได้เลย

คนดี ถูก รังแก เอาธุระกิจ ที่สร้างมากับมือ ไป ต่อหน้าต่อตา ด้วย ระบบ พรรค ---- แล้ว พวกเสือนอนกิน ก็มา คาบไป  พรรคข้าราชการ

--------------------- เอาใจช่วยท่าน ค่ะ ---------------



หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 07-12-2007, 10:01
เอาข่าวปั่นหุ้นมาให้ดู เกี่ยวกับพวก แม้ว  วงศ์สวีดิ์ -----

ศรษฐกิจ

อีโคฯ

26 พฤศจิกายน 2550    กองบรรณาธิการ

ตลท.ดาบทื่อ..เชือดหุ้น (การเมือง) ปั่น

    นับวันประเทศไทยยิ่งร้อนขึ้นแทบทะลุจุดเดือด  แม้จะมีลมหนาวพัดเอื่อยๆ  มาให้เย็นใจกันบ้าง แต่ไม่สามารถต้านองศาความร้อนได้เลย
    ด้านตลาดหุ้นไทย  แม้ว่าดัชนีจะเด้งกลับ  15.43  จุดมาปิดที่  824.25  จุด  เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา  แต่เป็นแค่การ  "รีบาวด์ทางเทคนิค" เท่านั้น  หลังจากที่ดัชนีไหลรูดต่อเนื่องมาเกือบ  1 เดือน  จากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติ  จากที่ดัชนีสูงสุดเมื่อวันที่ 29 ต.ค.50 ที่ระดับ 916 จุด มาแตะจุดต่ำสุดที่ 796 จุด เมื่อวันที่ 22 พ.ย.50

    ช่วงไม่ถึง 1 เดือน ดัชนีร่วงไปกว่า 120 จุด

    สาเหตุหลักที่นักลงทุนต่างชาติทิ้งหุ้นไทย  เป็นผลพวงมาจาก  "ซับไพรม์"  หรือปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐ  ที่บรรดาเหล่ากองทุนเก็งกำไร  หรือ  "เฮดจ์ฟันด์" เข้าไปซื้อไว้ แต่ขาดทุนอย่างหนักจนต้องแห่เทขายหุ้นที่ถืออยู่ในแต่ละตลาด  เพื่อนำเงินสดไปโปะขาดทุนซับไพรม์นั่นเอง

    ตัวเลข  ณ สิ้นปี 2549 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 83,445.97 ล้านบาท และตั้งแต่เดือน ม.ค.-23  พ.ย.2550 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 70,889.06 ล้านบาท แต่แค่ช่วงวันที่ 1-23 พ.ย.50 ต่างชาติขายสุทธิ 38,062.40 ล้านบาท
    เล่นเอาตลาดหุ้นไทยเซนิดตั้งรับไม่ทัน  นักลงทุนได้แต่ปลอบใจตัวเองว่า  หากปัญหาซับไพรม์ทุเลาลง นักลงทุนต่างชาติคงหันมาเก็บหุ้นไทยเข้าพอร์ตใหม่อีกครั้ง สถานการณ์น่าจะฟื้น

    อย่างไรก็ดี  นายสมบัติ  นราวุฒิชัย  เลขาธิการ  สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์  คาดการณ์ว่า  ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับขึ้นไปถึง   900  จุดในช่วงหลังการเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค. หรืออาจจะคาบเกี่ยวไปถึงต้นปีหน้า  เนื่องจากในช่วงเดือน  ธ.ค.จะมีเหตุการณ์  December Effect ขณะเดียวกัน เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่คาดหวังเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพราะจะได้รัฐบาลชุดใหม่มาบริหารประเทศ น่าจะทำให้มีแรงซื้อเข้ามา

    จากสถิติของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ได้เก็บข้อมูลพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในรอบ  4  ปีที่ผ่านมา  พบว่า นักลงทุนต่างชาติจะขายหุ้นประมาณ 5-6 รอบ ในแต่ละรอบจะขายสุทธิประมาณ  2.6-5.5 หมื่นล้านบาท และจะมีระยะเวลาต่อเนื่องประมาณ 1-2 เดือน ดังนั้น จึงเชื่อว่าการขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติใน 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงน่าจะใกล้ครบรอบการขายหุ้นแล้ว ก่อนที่จะกลับเข้ามาซื้อใหม่ในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนเลือกตั้ง

    "เดือน ธ.ค.จะมีทั้ง  December  Effect  และมีประเด็นเรื่องการเลือกตั้ง  หุ้นจึงน่าจะปรับตัวขึ้นมาได้ก่อนกลางเดือน   ธ.ค.

เพราะตอนนั้นฝรั่งคงขายจนสุกงอมแล้ว  น่าจะเป็นจังหวะที่กลับเข้ามาซื้อและอาจจะทำให้ดัชนีมีลุ้นที่ 900 จุด" นายสมบัติกล่าว
    ทั้งนี้  จากการที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงค่อนข้างมากในช่วงนี้  ถือเป็นจังหวะเหมาะสมที่นักลงทุนควรจะเข้าไปช้อนซื้อหุ้น    เพราะจากการประเมินของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์  ณ วันที่ 21 พ.ย.2550   พบว่า 

หุ้นบลูชิปมีราคาปรับลดลงต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานประมาณ  15-20%  ซึ่งนอกจากราคาจะต่ำกว่ามูลค่าแล้ว หุ้นบลูชิปหลายตัวล้วนมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลดี และค่าพี/อี ยังต่ำ นับจากนี้อีก 1 เดือนจะเลือกตั้ง นักวิเคราะห์ระบุตรงกันว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยหลังเลือกตั้งจะดีขึ้นแน่นอน
    ช่วงที่  "หุ้นพื้นฐาน"  ถูกเทขายอย่างหนักจากนัลงทุนต่างชาติ  แต่ในกลุ่มของ  "หุ้นเก็งกำไร" โดยเฉพาะที่เกี่ยวโยงกับ "ก๊วนการเมือง" เหมือนกระดี่ได้น้ำ ปรับขึ้นร้อนแรงและผันผวนอย่างหนัก

    เริ่มด้วย  บมจ.วินโคสท์  อินดัสเทรียล  พาร์ค  (WIN)  ที่มีตระกูล  "วงศ์สวัสดิ์"  ถือหุ้นใหญ่  หลังจากมีการเทขายกลางอากาศจากตระกูลวงศ์สวัสดิ์ล็อตแรก เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2550 จำนวน  172.50 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 1.02 บาท ทำให้ราคาเด้งจาก 0.93 บาท มาอยู่ที่ 1.23 บาท เพิ่มขึ้น 32.25% และปรับสูงสุดถึง 1.58 บาท เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2550
    เมื่อวันที่   14  พ.ย.2550 นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ แจ้งว่า จากที่เคยมีหุ้นอยู่ 82,329,069 หุ้น  หรือ 16.79% ได้ขายออกหมดแล้ว ส่วนนางสาวชยาภา วงศ์สวัสดิ์ เหลือหุ้นอยู่ 14,601,100 หุ้น หรือ  2.98% และนายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ เหลืออยู่ 83,761,299  หุ้น หรือ 17.08% แต่ภายหลังพบว่ามีการเทขายหุ้นบิ๊กล็อต  14,601,100  หุ้นออกมาเท่ากับที่นางสาวชยาภาถืออยู่  เท่ากับขณะนี้หุ้น WIN ที่อยู่ในมือตระกูลวงศ์สวัสดิ์ เหลือเพียงหุ้นของนายยศชนันเท่านั้น

    หุ้น   บมจ.เอ็ม   ลิ้งค์เอเชีย  คอร์ปอเรชั่น  (MLINK)  ซึ่งมีนายยศชนันถือหุ้นอันดับ  2  และ   5  รวม  84,600,000  หุ้น  หรือ  15%  และนางสาวชินณิชา  ถือหุ้นอันดับ 3 และ 4 รวม 70,000,000 หุ้น หรือ 13%
    ราคาซื้อขายหุ้น  MLINK ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกับหุ้น WIN จากราคาเปิดวันที่ 13 พ.ย.50  ที่  0.90  บาท  ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเมื่อวันที่ 19 พ.ย.50 ที่ 1.45 บาท แต่เมื่อวันที่ 23 พ.ย.50 ลดลงมาปิดที่ 1.14 บาท แต่จากวันที่ 13 พ.ย.50 ราคาปรับขึ้น 26.66%

    ส่วนหุ้นที่ร้อนแรงไม่แพ้หุ้นเก็งกำไรอื่นๆ  คงหนีไม่พ้นหุ้น  บมจ.เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน (BWG) ที่ซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่  14  พ.ย.50 จากราคาที่เปิดขายให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (ไอพีโอ) ที่ 3 บาท แต่โดดสูงถึง  10  บาท  ช่วงเปิดซื้อขายวันแรก ส่วนปัจจุบันราคารปิดที่ 6.95 บาท หรือราคาเพิ่มขึ้น 131.66%

    ขณะที่หุ้น  บมจ.มิลล์คอน  สตีล (MILL)  ซึ่งเข้าทำการซื้อขายก่อนหุ้น  BWG  เพียง 1 สัปดาห์ จากราคาไอพีโอ  2.90  บาท ปิดวันแรกที่ทำการซื้อขายที่ 5.80 บาท หรือเพิ่มขึ้น 100% ล่าสุดราคาปิดที่ 5 บาท
    ทั้งหุ้น  BWG  และหุ้น  MILL มีคนในตระกูล "จึงรุ่งเรืองกิจ" ถือหุ้นอยู่ด้วย โดยใน  BWG  มีนายโกมล  จึงรุ่งเรืองกิจ  ถืออยู่  15.50  ล้านหุ้น  หรือ 4.84% ในหุ้น MILL มีชื่อนายโกมลถืออยู่ 25,069,000 หุ้น

    แค่หุ้นเพียง 2 ตัวนี้ นายโกมลฟันกำไรเละแล้ว

    ช่วงที่หุ้นเก็งกำไรที่เกี่ยวโยงกับตระกูล  "วงศ์สวัสดิ์"  และ  "จึงรุ่งเรืองกิจ" ปรับขึ้นหวือหวาแล้ว  ยังมีหุ้นที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มหุ้นเก็งกำไรและเกี่ยวโยงก๊วนการเมืองอีกหลายตัวที่ราคาปรับขึ้นร้อนแรง  เช่น  บมจ.อินเตอร์เนชั่นเนิล  เอ็นจิเนียริ่ง (IEC) หุ้น บมจ.เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม  (NEP) หุ้น บมจ.ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น (LIVE) หุ้น บมจ.นวนคร (NNCL)

    แม้แต่หุ้น  บมจ.ทราฟฟิก  คอร์เนอร์  โฮลดิ้ง (TRAF)  ที่ร้อนแรงจนถูกสั่งห้ามซื้อขายแบบหักกลบราคาซื้อกับราคาขายหุ้นตัวเดียวกันในวันเดียวกัน (เน็ต เซทเทิลเม้นท์) และห้ามสมาชิกให้ลูกค้ายืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (มาร์จิ้น เทรดดิ้ง) จนถึงปีหน้า

    หุ้นก๊วนนี้เกี่ยวโยงกันอย่างไร?

    จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  (ตลท.)  จะพบว่ารายชื่อ  "ผู้ถือหุ้น" เป็นกลุ่มเดียวกันซะส่วนใหญ่

    อย่างกรณีของหุ้น  WIN และ MLINK ก็มีชื่อของ ยศชนัน-ชินณิชา-ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่  ขณะที่หุ้น  IEC  มีชื่อของ โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ฉัตร์สุดา เบ็ญจนิรัตน์ ชนะชัย ลีนะบรรจง เช่นเดียวกับหุ้น LIVE ที่มีทั้งชื่อของฉัตร์สุดา เบ็ญจนิรัตน์ ชนะชัย ลีนะบรรจง และ บมจ.IEC
    ส่วนหุ้น  BWG  และ MILL ก็มีชื่อของ โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ถืออยู่ประมาณ 5% ขณะที่หุ้น บมจ.NEP  หุ้น  LIVE และหุ้น NNCL ก็มีชื่อบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด ที่มีชื่อของ นวลพรรณ ล่ำซำ เป็นกรรมการผู้จัดการ  ถือหุ้นอยู่ด้วย  ซึ่งก่อนหน้านี้นวลพรรณก็มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นด้วย แต่ได้ขายออกไปแล้วบางส่วน

    โครงสร้างผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้โยงกันยิ่งกว่าใยแมงมุมซะอีก

    เกิดคำถามขึ้นว่า   เป็นการปั่นหุ้นตุนเงินเลือกตั้งหรือไม่  และผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำอะไรอยู่   ปล่อยให้หุ้นเหล่านี้ใช้เป็น  "บ่อน"  หาเงิน  แต่ก็ได้รับคำตอบแบบเดิมๆ  ว่า  "ยังไม่พบความผิดปกติ"   หรือ  "ตลาดฯ  มีมาตรการในการดูแลจัดการอย่างดี"  หรือไม่ก็ "การซื้อขายที่ขึ้นลงมาก เป็นไปตามตลาดต่างประเทศเป็นหลัก"

    นางภัทรียา  เบญจพลชัย  กรรมการและผู้จัดการ  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  (ตลท.)  กล่าวว่า  หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับภาวะตลาดหุ้นนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการดูแลการซื้อขายอยู่ตลอด  ยังไม่พบความผิดปกติในการซื้อขาย หากมีการเปลี่ยนแปลงในหุ้นต่างๆ ก็จะต้องมีการรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับทราบ เช่น
การถือครองหุ้นเกิน 5%

    "ช่วงนี้เห็นว่าการซื้อขายเปลี่ยนแปลงดัชนีขึ้นลงมากเป็นไปตามตลาดต่างประเทศเป็นหลัก

โดยแม้หุ้นหลักทรัพย์บางตัวจะเคลื่อนไหวสวนกับตลาดฯ  ที่ลง  แต่ถือเป็นภาวะปกติในการซื้อขาย เช่นเดียวกับหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่อาจมีกลุ่มผู้ถือหุ้นใช้นามสกุลเดียวกันกับนักการเมือง แต่ตลาดฯ ก็มีการดูแล และไม่พบความผิดปกติ" นางภัทรียากล่าว

    ขณะที่  นายสุภกิจ  จิระประดิษฐกุล  ผู้ช่วยผู้จัดการ  สายงานกำกับตลาด  ตลท. หรือที่ถูกตั้งฉายาว่า  "มือปราบตลาดหุ้น"  กล่าวว่า  ตลาดหลักทรัพย์ฯ  จะเข้าไปตรวจสอบการซื้อขายหุ้นว่ามีความผิดปกติหรือไม่  โดยพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นเป็นหลัก ว่าสูงขึ้นมากหรือไม่ หากราคามีการเคลื่อนไหวที่ผันผวนมากเกินระดับปกติ  จึงจะมีการตรวจสอบว่ากลุ่มที่เข้ามาซื้อหุ้นเป็นใคร แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าหุ้นเก็งกำไรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะนี้จะมีความเกี่ยวโยงกับการเมืองหรือไม่

    ขณะที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์  ฟันธงว่า  "เชื่อว่าหุ้นการเมืองที่ปรับตัวขึ้นในขณะนี้  น่าจะมีความเกี่ยวโยงกับเรื่องการเมือง  เพราะหุ้นที่ดีดขึ้นส่วนใหญ่เป็นหุ้นเล็กๆ  และเป็นหุ้นที่มีนักการเมืองและเครือญาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ๆ ทั้งนั้น"

    จากนี้อีก  1 เดือนจะถึงวันเลือกตั้ง นักวิเคราะห์เห็นตรงกันว่าตลาดหุ้นไทยจะดีขึ้น ไม่รู้ว่าหุ้นเก็งกำไรจะคึกต่อหรือไม่ คงต้องติดตาม!!!.

-------------------------  ความยุติธรรม ในตลาดหลักทรัพย์




หัวข้อ: Re: ปกรณ์ มาลากุล ได้รับเลือกเป็น ประธาน ก.ล.ต คนล่าสุด
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 07-12-2007, 14:19
ข่าวแปะ

เกรียวกราว..ค่านั่งประชุม "บิ๊กทีพีไอ" ประธาน "แสนสอง" กรรมการ "9 หมื่น"        
     
เกรียวกราว..ค่านั่งประชุม "บิ๊กทีพีไอ" ประธาน "แสนสอง" กรรมการ "9 หมื่น"

จ่ายกันสะบัดช่อ "บอร์ดทีพีไอ" เคาะค่าเหนื่อย..ค่านั่งประชุม (ไม่รวมเงินเดือน) ของ "คณะกรรมการบริษัท" เฉพาะ "ท่านประธาน" รับค่านั่งประชุม เดือนละ "1.2 แสนบาท" กรรมการธรรมดา รับ "9 หมื่น"

ภายหลังกรรมการชุดใหม่ เข้ามาบริหารกิจการ "ทีพีไอ" จากนั้นก็เกรียวกราวด้วยการชงมติบอร์ดปรับขึ้น "ค่าตอบแทนรายเดือน" และ "ค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง" จากเดิมที่จ่ายกันครั้งละ 25,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น จ่าย "ประธานคณะกรรมการ" ครั้งละ 60,000 บาท และ "กรรมการ" (ธรรมดา) ครั้งละ 45,000 บาท ซึ่งค่าตอบแทนทั้ง 2 ส่วนนี้ไม่รวม "เงินเดือนประจำ" ที่บางคนได้รับอยู่แล้ว ในฐานะ "ผู้บริหารระดับสูง" ของ ทีพีไอ

สำหรับค่าตอบแทนกรรมการบริษัทใหม่นี้ เริ่มมีผลบังคับใช้ มาตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2549 ที่ผ่านมา หลังจากที่ศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งในวันที่ 26 เมษายน 2549 ให้ ทีพีไอ ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการเพียง 1 วัน

จากการคำนวณผลตอบแทน (รายเดือน) ซึ่ง "คณะกรรมการชุดใหญ่" ของ ทีพีไอ จะจัดประชุมกันราว 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง แต่ "คณะกรรมการบริหาร" จะจัดประชุมกันขึ้นเดือนละครั้ง

เท่ากับว่า "ประธานคณะกรรมการ" (พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์) จะได้รับ "ค่าตอบแทนรายเดือน" 60,000 บาท บวก "ค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง" (เดือนละครั้ง) อีก 60,000 บาท รวมเป็น 120,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้รายได้ดังกล่าวยังไม่นับรวม "เงินเดือนประจำ" ที่รับต่างหากอีกก้อน

ขณะที่ "กรรมการ" (ธรรมดา) จะได้รับ "ค่าตอบแทนรายเดือน" 45,000 บาท บวก "ค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง" อีก 45,000 บาท รวมเป็น 90,000 บาทต่อเดือน ซึ่งบางคนก็ยังมี "เงินเดือนประจำ" ที่ได้รับต่างหากเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง

ก่อนหน้านี้ในหนังสือ "สมุดปกขาว" ที่จัดทำขึ้นโดย "คณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา" ในชุดที่มี "พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย" เป็นประธานคณะกรรมาธิการ เคยระบุไว้ว่า ค่าตอบแทนของตัวแทนกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษา (บางคน) ใน ทีพีไอ เช่น "พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์" (บิ๊กหมง) ได้รับค่าตอบแทน (เงินเดือนประจำ) เดือนละ 1 ล้านบาท หรือปีละ 12 ล้านบาท

"ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา" "พละ สุขเวช" และ "อารีย์ วงศ์อารยะ" ได้รับค่าตอบแทน เดือนละ 750,000 บาท (ไม่รวมค่าเบี้ยประชุม) หรือปีละ 9 ล้านบาท ขณะที่ "ดร.วีรพงษ์ รามางกูร" ได้รับค่าตอบแทนประจำ เดือนละ 200,000 บาท หรือปีละ 2.4 ล้านบาท

ทั้งนี้คาดว่าบุคคลดังกล่าว จะได้รับค่าตอบแทนรายเดือน (เงินเดือนประจำ) ไม่น้อยกว่าเดิมอย่างแน่นอน

เมื่อเป็นเช่นนี้ สะพานแห่งผลประโยชน์ที่ "ทอดยาว" ไปสู่ "กระเป๋า" ของบรรดา "บิ๊กๆทีพีไอ" (คณะกรรมการชุดใหม่) ที่มี "พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์" เป็นประธานกรรมการ มี "ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา" และ "ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" เป็นรองประธานกรรมการ และมี "ดร.ปิติ ยิ้มประเสริฐ" เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่

...จะได้รับผลตอบแทนจาก "ทีพีไอ" กลับไปมากขนาดไหน..?

สำหรับ "พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์" (บิ๊กหมง) จะได้รับค่าตอบแทนรายเดือน (ประจำ) 60,000 บาท บวกค่าเบี้ยประชุมรายครั้ง..อีกครั้งละ 60,000 บาท ซึ่งในปีหนึ่งๆ จัดประชุมกันขึ้นทุกเดือน ถ้าเข้าครบทุกครั้ง จะได้รับผลตอบแทนรวม เดือนละ 120,000 บาท เมื่อรวมกับเงินเดือนประจำ (ขั้นต่ำ) ที่ได้อีกเดือนละ 1 ล้านบาท

เท่ากับว่า "บิ๊กหมง" จะได้รับค่าตอบแทนรายปี (ขั้นต่ำ) ไม่น้อยกว่า ปีละ 13.44 ล้านบาท หรือเดือนละ 1,120,000 บาท

ด้าน "ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา" และ "ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" ในฐานะรองประธานกรรมการ คาดว่าต้องได้รับ "เงินเดือน" ไม่น้อยกว่าเดิม คือ เดือนละ 750,000 บาท หรือปีละ 9 ล้านบาท (ไม่รวมค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง)

แต่ที่พิเศษในส่วนของ "ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" ยังดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน จะได้รับค่าเบี้ยประชุม (อีก) ครั้งละ 60,000 บาท

ขณะที่ "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส" ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบ จะได้รับเบี้ยประชุม ครั้งละ 60,000 บาท และได้รับผลตอบแทนรายเดือน ในฐานะกรรมการบริษัทอีกเดือนละ 45,000 บาท

สำหรับการจัดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2549 ที่โรงงานจังหวัดระยอง ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา นอกจากจะมีระเบียบวาระการประชุม รับรองการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทแล้ว ยังมีวาระสำคัญ คือ ปลด ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ พ้นจากตำแหน่งกรรมการ ทีพีไอ เป็นวาระเร่งด่วน รวมอยู่ด้วย



หัวข้อ: Re:นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา อดีตประธานก.ก ธนาคารเอ็กซิมแบงก์:ปล่อยเงินกู้พม่า
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 07-12-2007, 14:26
คตส.พบพิรุธเอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้พม่า จาก 3 พันล้านเป็น 4 พันล้านบาท เอื้อพม่าซื้อ "ไอพีสตาร์" ของบริษัทชินแซท เรียก "ปกรณ์ มาลากุล" แจง 4 เม.ย.นี้

 "มท.1" ว้ากลั่น จะเอาอะไรอีก ยัน 2 เม.ย.ไม่มาชี้แจงเหตุติดภารกิจสำคัญ "นาม" เหน็บ ก.คลังอยู่ใกล้แค่มุดรั้ว แต่ไม่ยอมมาร้องทุกข์หวยบนดิน "อลงกรณ์" จี้ ป.ป.ช.เร่งสอบ "เจ๊แดง" รวยผิดปกติ หวั่นถ่ายโอนทรัพย์สิน-ทำลายหลักฐาน

 แหล่งข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบกรณีธนาคารเพื่อการนำเข้าและการส่งออก (เอ็กซิมแบงก์) ปล่อยกู้วงเงิน 4,000 ล้านบาท ให้แก่รัฐบาลพม่า ที่มีนายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 28 มีนาคมนั้น คณะอนุกรรมการได้รายงานความคืบหน้าในการตรวจสอบต่อที่ประชุมว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว ซึ่งปรากฏว่าคณะอนุกรรมการพบว่า ก่อนที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะออกมติ ครม.ให้ดำเนินการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 ด้วยวงเงินกู้ 4,000 ล้านบาท ได้มีการเสนอวงเงินปล่อยกู้ก่อนหน้านี้ประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยคณะอนุกรรมการรายงานว่า เงินจำนวน 3,000 ล้านบาท ที่มีการเสนอไปก่อนหน้านี้ ไม่ได้รวมเรื่องการโทรคมนาคมมาอยู่ในข้อตกลงในการปล่อยเงินกู้ด้วย แต่กลับมีการเสนอวงเงินเพิ่มอีกประมาณ 900 ล้านบาท เพื่อมาเป็นเงินกู้ในส่วนของกิจการโทรคมนาคม

 “จากข้อเท็จจริงส่วนนี้ทำให้คณะอนุกรรมการจะต้องดูว่าใครเป็นผู้เสนอวงเงินกว่า 900 ล้านบาท เพื่อให้พม่ามากู้สำหรับการทำโทรคมนาคม แต่ยังคงไม่สามารถระบุได้ชัดว่า การปล่อยเงินกู้ลักษณะนี้จะมีความผิดหรือไม่ เพราะต้องรอการชี้แจงของนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา อดีตประธานกรรมการธนาคารเอ็กซิมแบงก์ก่อน ซึ่งคณะอนุกรรมการได้เชิญมาให้ข้อมูลในวันที่ 4 เมษายน เนื่องจากนายปกรณ์เป็นประธานกรรมการธนาคารในสมัยที่มีการปล่อยกู้ในโครงการนี้ ซึ่งเขาเองก็ได้ยืนยันว่าในการช่วงนั้นได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย ถูกขั้นตอนและภายใต้การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย  ซึ่งคณะอนุกรรมการคาดว่า ถ้าได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากนายปกรณ์ จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถสรุปผลสอบภายในเดือนเมษายนอย่างแน่นอน” แหล่งข่าว คตส. กล่าว 

 แหล่งข่าว กล่าวว่า นอกจากนี้ ในการรายงานการทำงานของคณะอนุกรรมการยังระบุว่า ในการปล่อยเงินกู้ของธนาคารเอ็กซิมแบงก์ ที่ให้รัฐบาลพม่านำเงินกู้ไปซื้อดาวเทียมไอพีสตาร์ ของบริษัทชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เป็นมูลค่ารวมเกือบ 1,000 ล้านบาทนั้น บริษัทชินแซท ได้นำเงินที่ได้จากการจ่ายค่าประกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบพลังงานของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 33,028,690 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท มาระบุเป็นรายได้ของบริษัท

 “คณะอนุกรรมการบางคนเห็นว่าเงินจำนวนดังกล่าวควรจะต้องเป็นของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นว่า ให้ดำเนินการตรวจสอบในประเด็นดังกล่าวด้วยว่า การปล่อยกู้ของเอ็กซิมแบงก์จะสามารถปล่อยกู้ในกรณีให้รัฐบาลพม่า สามารถซื้อดาวเทียมไอพีสตาร์ของบริษัทชินแซท ได้หรือไม่ เพราะยังไม่ชัดเจนว่าโครงการดังกล่าวอยู่ในหมวดของการซื้อสินค้าหรือบริการ แต่เป็นเพียงแค่ช่องดาวเทียมช่องหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรกับไทย” แหล่งข่าว ระบุ

มท.1 เมินแจง คตส.ว้ากลั่นเอาอะไรอีก

 นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี คตส.ให้ไปชี้แจงเหตุผลที่ไม่ไปร้องทุกข์กล่าวโทษในคดีการออกสลากเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว (หวยบนดิน) ในวันที่ 2 เมษายนนี้ว่า ได้ชี้แจงทุกอย่างไปตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมาแล้ว อีกทั้งนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส.ก็บอกว่าไม่ต้องไปแล้ว

 "จะมาเอาอะไรกันอีก และวันที่ 2 เมษายน ผมต้องไปเป็นหัวหน้าผลัดเวรส่งเสด็จ ดังนั้นคงไปไม่ได้" รมว.มหาดไทย กล่าว

 ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา รมว.มหาดไทยได้มอบหมายให้ข้าราชการกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย นำโดย นายนนท์ธวัช สิงห์กุล เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษโครงการออกสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว ต่อ คตส.ภายหลังจากที่ คตส.ได้ออกหนังสือเรียกให้ รมว.มหาดไทยและ รมว.การคลัง เข้าชี้แจงในวันที่ 2 เมษายน ถึงสาเหตุที่ไม่เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษคดีดังกล่าว พร้อมทั้งระบุว่า หากไม่มาชี้แจงจะมีความผิดตามกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 118 จำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกระทรวงการคลังยังไม่ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ แต่นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.การคลัง ยืนยันว่าจะมาชี้แจงในวันที่ 2 เมษายน อย่างแน่นอน

"นาม" เหน็บคลังอยู่ใกล้แต่ไม่มาร้องทุกข์

 นายนาม กล่าวถึงกรณี คตส.ทำหนังสือเชิญ รมว.การคลัง และ รมว.มหาดไทย เข้าชี้แจงเหตุที่ไม่ทำหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ การออกสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว โดยล่าสุดกระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือร้องทุกข์มาแล้วว่าเป็นเรื่องปกติ เมื่อมีปัญหาความล่าช้าในการทำงานที่เกิดขึ้น ก็ต้องทำหนังสือไปถึงผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในกระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาด้วยตัวเอง แต่สามารถมอบหมายให้ข้าราชการประจำมาร้องทุกข์กล่าวโทษแทน และเข้าชี้แจงถึงสาเหตุที่ไม่ทำหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษก็ได้

 ส่วนที่ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย ตำหนิ คตส.ให้ข่าวมากเกินไปนั้น ประธาน คตส.ระบุว่า เป็นการพูดไปเรื่อยเปื่อย ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าอะไรเป็นอะไร และ คตส.ส่งหนังสือไปแล้วถึง 2 ครั้ง ดังนั้นนายอารีย์ต้องกลับไปคิดเอง

 นายนาม ยังกล่าวถึงการที่กระทรวงการคลังยังไม่เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษคดีหวยบนดินว่า คาดว่าจะมาภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งความจริงแล้วกระทรวงการคลังก็สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษได้อย่างสะดวก เพราะอยู่ใกล้กับ คตส.

 “ที่จริงกระทรวงการคลังมุดรั้วมาแป๊บเดียวก็ได้แล้ว” นายนาม ระบุ

"ทักษิณ-ศรีสุข"ขอเลื่อนแจงคดีซีทีเอ็กซ์

  นายอำนวย ธันธรา คตส.ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 กล่าวว่า ได้รับหนังสือจากทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาในคดีดังกล่าว เพื่อขอเลื่อนเข้าชี้แจงข้อกล่าวหา จากเดิมที่นัดเอาไว้วันที่ 29 มีนาคม ออกไปเป็นวันที่ 27 เมษายน โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ซึ่งคณะอนุกรรมการไม่ติดใจ อนุญาตให้เลื่อนการชี้แจงไปได้ เพราะอยู่ระหว่างการรอการคัดค้านผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นชาวต่างชาติ จึงไม่ทำให้การทำงานของคณะอนุกรรมการล่าช้าออกไป

 นอกจากนี้ยังมี นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตประธานบอร์ด ทอท.ติดต่อขอเลื่อนการชี้แจงเช่นกัน ทั้งนี้ มีเพียงนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รมว.คมนาคม ที่ยังไม่ได้ประสานขอเลื่อนมารับทราบข้อกล่าวหา จึงเข้าใจว่านายสุริยะจะคงนัดเดิม คือเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 29 มีนาคมนี้

อลงกรณ์แจง ป.ป.ช.คดีเจ๊แดงรวยผิดปกติ

 นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มาให้ปากคำกรณีการร่ำรวยผิดปกติและการแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จของ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ต่อนายเมธี ครองแก้ว กรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะประธานอนุกรรมการคดีดังกล่าว โดยใช้เวลาให้ปากคำกว่า 3 ชั่วโมง

 นายอลงกรณ์ กล่าวว่า มาให้ปากคำในฐานะที่เป็นผู้ร้องเรียนคดีนี้ต่อ ป.ป.ช.พร้อมนำหลักฐานมายื่นต่อ ป.ป.ช.เพิ่มเติม เพื่อชี้ให้เห็นถึงตัวละครที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีนี้ 3 กรณี คือ 1.การให้ผู้อื่นถือหุ้นโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ แทนตัวเอง 2.การซื้อที่ดิน 8 ไร่ มูลค่า 256 ล้านบาท ในโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ 3.การที่บุตรทั้งสามคนเข้ามาซื้อหุ้น 4 บริษัท มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท เมื่อปี 2547 ซึ่งน่าสงสัยว่าเป็นการถือครองหุ้นแทนนางเยาวภา เพราะบุตรทั้งหมดเพิ่งบรรลุนิติภาวะและเรียนอยู่ในระดับอุดมศึกษา จึงน่าสงสัยว่าจะนำเงินจากไหนมาซื้อหุ้นบริษัท

 "ที่เป็นห่วงในคดีนี้คือ เมื่อ ป.ป.ช.ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนนางเยาวภาแล้ว ก็เหมือนกับเป็นการแหวกหญ้าให้งูตื่น อาจทำให้มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินออกไป หรือแก้ไขเอกสารต่างๆ เพื่อทำลายหลักฐานในระหว่างที่ ป.ป.ช.กำลังไต่สวนคดีดังกล่าวอยู่ จึงอยากให้ ป.ป.ช.เร่งไต่สวนคดีให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพราะคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในรัฐบาล “ทักษิณ” เพิ่งจะมี 2 เรื่องเท่านั้น ที่ ป.ป.ช.ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวน"  นายอลงกรณ์ กล่าว

 ด้าน น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะคณะอนุกรรมการไต่สวน กล่าวว่า ข้อมูลที่นายอลงกรณ์มาให้ปากคำ ถือเป็นประโยชน์มาก และเป็นแนวทางที่ให้คณะอนุกรรมการนำไปสอบสวนขยายผลในส่วนของบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ทั้งหมด ซึ่งคงจะต้องพิจารณาเรียกบุคคลที่ถูกพาดพิง รวมถึงนางเยาวภาและบุตรทั้งสามคนมาให้ปากคำต่อไป

----------------------------------
ยุค ทุรชน ครองเมือง  คำอธิบายที่ใช้กันมาก คือ

...เนื่องจากนายปกรณ์เป็นประธานกรรมการธนาคารในสมัยที่มีการปล่อยกู้ในโครงการนี้ ซึ่งเขาเองก็ได้ยืนยันว่าในการช่วงนั้นได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย ถูกขั้นตอนและภายใต้การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย  ซึ่งคณะอนุกรรมการคาดว่า ถ้าได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากนายปกรณ์...

ถูกระเบียบ ถูกขั้นตอน....แต่ ความเป็นจริงคือ  รัฐ ได้รับความเสียหาย.....

และ  น า ย ก ได้ รับผลประโยชน์จาก  งบประมาณ....  ถ้าจะมาบริหารประเทศ เพื่อกอบโกยหากำไร  ก็ไปทำธุรกิจ แข่งกับคนอื่น

ไม่ใช่เอาความเป็น  น า ย ก... มาหาผลประโยชน์  ....

ถ้าทุกคน คิด แบบ นี้ หมด แล้ว  ปชช  จะทำอย่างไร 


หัวข้อ: Re:รายชื่อผู้เข้ามาฟื้นฟู พีทีไอ ...
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 07-12-2007, 14:50
กระทรวงการคลังกับการฟื้นฟูทีพีไอ

โดย พลเอกบัญชร ชวาลศิลป์  มติชนรายวัน  วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10645

ศาลร้องขอกระทรวงการคลัง

จากการ "ทีพีไอ" หรือ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งก็คือ "บมจ.ไออาร์พีซี" ในปัจจุบัน ได้ประสบปัญหาหนี้สินจนถึงอาจขั้นล้มละลาย

และต่อมาศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเมื่อ 15 มีนาคม 2543 ให้บริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แต่หลังจากดำเนินการฟื้นฟูกิจการไประยะหนึ่ง ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้

อีกทั้งยังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าหนี้กับกับผู้บริหารของลูกหนี้ และพนักงานของบริษัท ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข บริษัทอาจต้องล้มละลาย อันจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ทั้งต่อบริษัท พนักงาน และเศรษฐกิจของชาติเป็นส่วนรวม

ดังนั้น ศาลล้มละลายกลางจึงได้ร้องขอให้กระทรวงการคลังในฐานะ "คนกลาง" เข้ามาทำหน้าที่ผู้บริหารแผนฟื้นฟูคนใหม่

กระทรวงการคลังมาตามคำขอ

คำสั่งศาลล้มละลายกลางเมื่อ 13 มิถุนายน 2546 ระบุว่า สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้และพนักงานทีพีไอ เป็นไปอย่างรุนแรง จนกระทั่งมีแนวโน้มว่า การฟื้นฟูกิจการจะล้มเหลวและนำไปสู่การล้มละลาย

"พนักงานของลูกหนี้และบริษัทในเครือ ประมาณ 7,000 คน จะต้องพ้นจากงาน ทำให้ขาดไร้ซึ่งรายได้จุดเจือตนเองและครอบครัว ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม อันจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคและสร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างรุนแรง"

ผลจากความขัดแย้งที่ไม่อาจประนีประนอมกันได้ระหว่างฝ่ายเจ้าหนี้กับลูกหนี้และพนักงานดังกล่าว ศาลจึง "เห็นเป็นการสมควรที่จะขอให้กระทรวงการคลังเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ หากกระทรวงการคลังมีหนังสือยินยอมโดยระบุเหตุผลว่า หากต่อไปคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะละทิฐิปรับเปลี่ยนท่าที หันมาให้ความร่วมมือกับกระทรวงการคลังในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและจริงใจ อันเป็นวิธีการที่เหมาะสมและสร้างสรรค์แล้วย่อมเป็นที่แน่นอนว่าด้วยศักยภาพของรัฐบาล จะทำให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เป็นผลสำเร็จได้ในที่สุด ส่งผลดีแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและประเทศชาติโดยรวม"

ซึ่งต่อมากระทรวงการคลังก็ได้ให้ความยินยอมเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูตามคำร้องขอของศาลล้มละลายกลางครั้งนี้ โดยมอบหมายให้ พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์ นายทนง พิทยะ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา นายพละ สุขเวช และนายอารีย์ วงศ์อารยะ เป็นผู้แทนกระทรวงการคลังทำหน้าที่เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอตั้งแต่ 11 กรกฎาคม 2546 เป็นต้นมา

และต่อมาได้มีการแต่งตั้งให้นายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นผู้บริหารแผนฯ แทนนายทนง พิทยะ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

พนักงานและนักลงทุนรายย่อยสนับสนุนกระทรวงการคลัง

นอกจากนั้น ไม่เพียงแต่ศาลจะเห็นชอบให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่เท่านั้น ฝ่ายพนักงานเองก็มีความเห็นชอบ ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือสหภาพแรงงานในเครือทีพีไอ ที่ สรท.033/2546 ลง 21 มิ.ย.2546 เรื่อง "ขอสนับสนุนกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการพีทีไอคนใหม่" ดังนี้

"พนักงานและสหภาพแรงงานในเครือทีพีไอ เชื่อมั่นว่ากระทรวงการคลังมีความสามารถในการบริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอ ให้บรรลุผลสำเร็จ เพื่อก่อประโยชน์ให้เกิดแก่ทุกฝ่าย ทั้งเจ้าหนี้ลูกหนี้ พนักงานทีพีไอ ประชาชนผู้ถือหุ้น และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติ ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดูแลรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจของประเทศ จึงมีความเป็นกลางและมีศักยภาพในการบริหารท่ามกลางความขัดแย้งรุนแรงของเจ้าหนี้และลูกหนี้ สามารถหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสนับสนุนให้กิจการทีพีไอดำเนินธุรกิจอย่างเต็มกำลังและต่อเนื่องได้"

ยิ่งไปกว่านั้น ความมั่นใจของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่อหุ้นทีพีไอก็มีสูงในรอบสัปดาห์ที่ศาลมีคำสั่งนี้ โดยเฉพาะวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ราคาหุ้นทีพีไอดีดตัวสูงที่ 8.95 บาท เพิ่มขึ้น 18% มูลค่าซื้อขายรวม 2,050 ล้านบาท สูงเป็นอันดับ 1

สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่พร้อมจะเข้ามาลงทุนในรูปของหุ้นทีพีไอ หลังจากกระทรวงการคลังจะเข้ามาเป็นผู้บริหารแผน

จึงสรุปได้อย่างชัดเจนว่า การเข้ามามีบทบาทฟื้นฟูกิจการของกระทรวงการคลังครั้งนี้ มีที่มาจากคำขอของศาลล้มละลายกลาง ซึ่งมีความเป็นกลาง บริสุทธิ์และยุติธรรม

อีกทั้งยังได้รับความเห็นชอบจากพนักงานทีพีไอและนักลงทุนรายย่อยอีกด้วย

ซึ่งการมองการณ์ไกลของศาลล้มละลายกลางครั้งนี้ก็มิได้สร้างความผิดหวังแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เมื่อคณะผู้บริหารแผนตัวแทนกระทรวงการคลัง สามารถนำพาทีพีไอ ผ่านพ้นวิกฤตมาได้อย่างงดงาม อันเป็นที่ประจักษ์ชัดในปัจจุบัน

ฐานะตามกฎหมายของกระทรวงการคลัง

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหารทีพีไอ ได้เคยยื่นคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางว่า "กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่มีอำนาจเข้ามาจัดกิจการ และทรัพย์สินของลูกหนี้ เป็นการแทรกแซงการดำเนินธุรกิจของเอกชน" เป็นการ "ขัดต่อพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และรัฐธรรมนูญ" ซึ่งศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2547 ว่ากระทรวงการคลัง มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยมีคำวินิจฉัยประกอบดังนี้

"แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะแยกอำนาจอธิปไตยไว้อย่างเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ โดยที่ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจตุลาการ แต่ในกระบวนการยุติธรรมนั้น นอกจากศาลยุติธรรมจะทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายบัญญัติ ให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ก็ยังมีหน่วยงานของรัฐที่เป็นฝ่ายบริหารต่างๆ ซึ่งมีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ด้วยกระทรวงการคลัง ก็เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นฝ่ายบริหาร ซึ่งก็ได้ให้ความยินยอมในการเข้ามาเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ที่ประสบปัญหา และอุปสรรคในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ อันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ หากปล่อยให้ลูกหนี้ต้องล้มละลาย ในเมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษตั้งกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผน และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วย

การที่กระทรวงการคลังได้ทำหน้าที่ในฐานะเป็นผู้บริหารแผนตามคำสั่งศาล จึงหาใช่เป็นการกระทำ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ หากแต่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483"

จึงเห็นได้ชัดเจนว่า ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งที่แน่ชัดแล้วว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจอย่างชอบธรรมตาม "พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483" ในการเข้าทำหน้าที่ฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ (หรือไออาร์พีซีปัจจุบัน)

ซึ่งก็ได้สร้างความสมหวังให้แก่พนักงานและผู้ถือหุ้นรายย่อยกว่า 45,000 ราย ในปัจจุบันที่เดือน พ.ค.ปีนี้กำลังจะได้รับเงินปันผลเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

เรื่องราวของ "ทีพีไอ" หรือทุกวันนี้คือ "ไออาร์พีซี" โรงกลั่นน้ำมันและเม็ดพลาสติคที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ซึ่งประสบวิกฤตทางการเงินเมื่อกลางปี 2540 จนเกือบเข้าสู่ภาวะล้มละลายจากมูลหนี้เกือบ 1.5 แสนล้านบาท แต่โชคยังดีที่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้

แต่กระนั้น ตลอดระยะเวลาเกือบทศวรรษที่ผ่านมา เส้นทางการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอก็หาได้ราบรื่นไม่ แต่เต็มไปด้วยขวากหนามและการต่อสู้จากฝ่ายต่างๆ จนกลายเป็นเรื่องระดับตำนานที่ได้รับความสนใจ ไม่เฉพาะแต่ในประเทศเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายแห่ง ที่กำลังให้ความสนใจเพื่อทำการศึกษาสรุปบทเรียนครั้งนี้

ท่ามกลางความใจหายใจคว่ำของนักลงทุนรายย่อย และพนักงานทีพีไอกว่า 8,000 ชีวิต บนเส้นทางมหากาพย์แห่งหนี้ครั้งนี้ แต่ถึงที่สุดแล้ว การฟื้นฟูกิจการก็ประสบความสำเร็จลงได้อย่างงดงาม เมื่อศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้บริษัทออกจากการฟื้นฟูกิจการ เมื่อ 26 เมษายน 2545 ทุกฝ่ายจึงโล่งใจ

เมื่อสิ้นปี 2548 ก่อนออกจากการฟื้นฟูกิจการเพียงไม่กี่เดือน ปรากฏว่าสถานะทางการเงินของทีพีไอ มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

เช่น ทรัพย์สินรวมจากเดิม 130,825 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 152,676 ล้านบาท หนี้สินเดิม 128,787 ล้านบาท ลดเหลือเพียง 51,966 ล้านบาท Book Value ต่อหุ้นจากเดิม 0.26 บาท (พาร์ 10 บาท) เพิ่มขึ้นเป็น 5.16 บาท (พาร์ 1 บาท) ขาดทุนสะสมจากเดิม 89,347 ล้านบาท กลายเป็นกำไรสะสม 29,538 ล้านบาท เป็นต้น

ความสำเร็จในการฟื้นฟูกิจการครั้งนี้ นอกจากความร่วมมือร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวของพนักงานทีพีไอแล้ว ที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การดำเนินการของคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการตัวแทนกระทรวงการคลัง ซึ่งประกอบด้วย พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์ นายทนง พิทยะ นายพละ สุขเวช นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา และนายอารีย์ วงศ์อารยะ (ภายหลังนายทนง พิทยะ เปลี่ยนเป็นนายวีรพงษ์ รามางกูร)

---------------------------------------------
ฟื้นฟู ?????  แต่เจ้าของที่สร้างมากับมือ ลงทุนมากับมือ  เพราะพิษค่าเงินบาท  ทำให้ต้องกลายเป็น ผู้ล้มละลาย....

วิญญูชน ย่อมเข้าใจได้  โดยธรรม
----------------------


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 07-12-2007, 16:37




เอารายละเอียดของข่าวมาแปะไว้เป็นหลักฐานดีครับ

มันต่างกันแน่ ระหว่างผู้บริหารทำราคาหุ้น กับปั่นหุ้นโดยพวกมีอาชีพหากินจากตลาดหุ้น โดยไม่ใช่นักลงทุนอย่างเดียว

หลายกรณีและบางกรณีเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน..


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 07-12-2007, 17:10
จำได้ว่าเคยอ่านเจอเรื่องคดี นี้ แต่หาไม่เจอ  เจอแต่เนื้อหาที่เอามาแปะให้อ่าน  อย่างน้อย ก็เห็นความเชื่อมโยง ของชื่อต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องในสมัย  เอี้ย แม้ว

อย่างที่พูดแหละ

มันต่างกันแน่ ระหว่างผู้บริหารทำราคาหุ้น กับปั่นหุ้นโดยพวกมีอาชีพหากินจากตลาดหุ้น โดยไม่ใช่นักลงทุนอย่างเดียว

จะว่าไปแล้ว  ลำพังกำไรจากปูนซีเมนต์ อย่างเดียวก็มากมาย  สำหรับตระกูล เลี่ยวไพรัตย์

แต่เรื่อง ทีพีไอ  นี่  มันไม่ธรรมดา  -----------  :slime_evil:

อ้า กระทู้ข้าง ๆ ไง   ยึด ร.พ พญาไท  สมัย เอี้ยแม้ว     :slime_mad:


หัวข้อ: Re: คดี TPIPL ปั่นหุ้น แตกต่างอย่างไรกับข่าวนี้ของหุ้นตระกูล "วงศ์สวัสดิ์"
เริ่มหัวข้อโดย: drop ที่ 08-12-2007, 09:03
ข่าวแปะ ให้อ่าน....  เพื่อตอกย้ำว่า ...

ประชัยเฮ!ศาลยกฟ้อง คดีเช่าตึกทีพีไอ90ปี

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม นายวีระ คำมี ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลป์ไทย จำกัด(มหาชน)หรือทีพีไอ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นไออาร์พีซี เปิดเผยว่า เมื่อ เวลา 10.0 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ผู้พิพากษาได้ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาในคดีหมายเลขแดงที่ 4117/2550 กรณีที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์กับพวก 6 คน ในข้อหาทุจริตเช่าตึกทีพีไอเป็นระยะเวลา 90 ปี ซึ่งศาลอาญามีคำสั่งยกฟ้อง โดยระบุว่า เป็นการกระทำการโดยสุจริต

ด้านนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหารทีพีไอ กล่าวว่า ตนน้อมรับในคำสั่งศาลที่ให้ความชอบธรรม โดยมีคำสั่งยกฟ้องในคดีนี้ ถือว่าเป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ของตนและเป็นชัยชนะของบ้านเมือง ที่ถูกอำนาจไม่ชอบธรรมของรัฐบาลเก่ารังแก จากคำสั่งศาลอาญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บ้านเมืองกลับคืนสู่ความมีขื่อมีแปแล้วในขณะนี้

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฎร์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอหรือประธานไออาร์พีซีคนปัจจุบัน และนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา อดีตหนึ่งในคณะผู้บริหารแผนฯ หรือประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(สำนักก.ล.ต.)ในปัจจุบัน ได้ร้องไปยังสำนักงานก.ล.ต. ที่มีนายวิจิตร สุพินิจ เป็นประธานในขณะนั้น เพื่อดำเนินคดีกับนายประชัยกับพวกในความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยระบุว่า เป็นการทุจริตเงินทีพีไอในการเช่าตึกทีพีไอ 90 ปี

โดยเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ซึ่งมีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าวโดยตำแหน่ง และในที่สุดคณะกรรมการดีเอสไอ ในช่วงที่มีพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่รักษาการแทนตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการด่วนให้คณะกรรมการดีเอสไอพิจารณาให้คดีเช่าตึกทีพีไอ 90 ปีเป็นคดีพิเศษ เพื่อเล่นงานทางอาญานายประชัย กับพวก

ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง กรณีสัญญาเช่าตึกทีพีไอ ระยะเวลา 90 ปี ซึ่งมีข้อตกลงต่อสัญญาเช่าทุก ๆ 3 ปี จนกว่าจะครบระยะเวลาการเช่า 90 ปี ในอัตราค่าเช่าที่ต่ำมากเพียง 37.31 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่ค่าเช่าอาคารสำนักงานในย่านเดียวกัน จะแพงกว่ามากถึงตารางเมตรละ 400 บาท และที่สำคัญเช่าตึกทีพีไอ ในฐานะที่ทีพีไอเป็นบริษัทมหาชนนั้น ได้มีการแจ้งให้สำนักงานก.ล.ต.รับทราบมานานกว่า 10 ปีมาแล้ว ซึ่งศาลอาญามีคำสั่งยกฟ้องในคดีดังกล่าว ถือว่าเป็นการคืนความชอบธรรมให้กับนายประชัย และพวกคือ นายประทีป นายประมวล นายประหยัด นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์ และบริษัท พรชัยวิสาหกิจ จำกัด
วันที่ 25/10/2007

คนที่คิดจะเอาของคนอื่น มาเป็น ของตัวเอง โดยอาศัย อำนาจ จากฝ่ายการเมือง...

สมัย เ...ย  แม้ว  เอารัดเอาเปรียบตั้งแต่ระดับชาวบ้าน ไปจนถึง นักธุรกิจ  พวกมันกินทุกอย่าง ที่เป็นของ ปชช
พวกหญ่าย ๆๆ ก็กิน ธุรกิจ หญ่าย  ไอ้พวกหางแถว ก็ กิน โกง ยึด  ของ ชาวบ้านชาวรากหญ้า

หากินกันตลอด กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว  ขอแช่งให้มีอันเป็นไปทั้ง ดค ต ร