ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: คนรักชาติ ที่ 02-10-2007, 08:57



หัวข้อ: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักชาติ ที่ 02-10-2007, 08:57
พุทธศาสนา…เป็นศาสนาประจำชาติอิตาลี...แล้วครับ

ที่มา : ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.siamrath.co.th/Education.asp?ReviewID=89725
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=buddhiststudies&id=61




ราวสิบกว่าปีมาแล้ว สื่อมวลชนในยุโรปได้แถลงกันยกใหญ่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จะเติบโตเร็วที่สุดในสมัยศตวรรษที่ 21 เพราะเห็นว่ากระแสผู้นับถือเติบโตเร็วมากทั้งในทวีปยุโรป, ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ ไม่ว่าฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, อังกฤษ, สเปน, ออสเตรเลีย ฯลฯ วัดวาอารามผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง คนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศฝรั่งเหล่านี้แต่ไหนแต่ไรมาส่วนมากแล้วนับถือศาสนาคริสต์มาก่อน และกระแสชาวคริสต์หันมานับถือพระพุทธศาสนานี้ก็ก่อตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19
ประเทศยุโรปบางแห่ง เช่น อิตาลีได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ยกพระพุทธศาสนาให้เป็นหนึ่งในศาสนาสำคัญของชาติ ไม่ต่างอะไรกับศาสนาคริสต์

สมเด็จพระสันตปาปา จอห์น ปอล ที่สองซึ่งเป็นประมุขของคริสตจักร นิกายโรมันคาทอลิก
ทรงมองเห็นกระแสดังกล่าว ครั้งได้ประทานสัมภาษณ์แก่วิตโดริโอ เมสซุรี่ นักเขียนและนักสื่อมวลชนที่มีชื่อของอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 2536 อันเป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองครบ 15 นับแต่ที่พระองค์ได้ ทรงรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสันตปาปา จึงทรงตั้งพระทัยวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาพระพุทธศาสนาอย่างตรงๆ ต่อมาบทประทานสัมภาษณ์ซึ่งมีหลายตอนนี้มาพิมพ์รวมเล่มในรูปหนังสือชื่อ Crossing the Threshhold of Hope (London, Jonathan Cape, 1994) มีทั้งหมด 244 หน้า (รวมดรรชนีคำศัพท์)
ตอนที่ทรงวิพากษ์วิจารณ์คำสอนพระพุทธเจ้า (ซึ่งทรงเข้าพระทัยผิดๆ อยู่มาก) อยู่ในบทที่ 12 มีทั้งหมด 7 หน้า (ตั้งแต่หน้า 84-90)
สาเหตุที่ทรงวิจารณ์พระพุทธศาสนา มีกล่าวชัดในบทประทานสัมภาษณ์ กล่าวคือทรงต้อง การเตือนสติชาวคริสต์ทำนองว่าไม่ควรด่วนเข้าไปนับถือคำสอนพระพุทธศาสนา แต่ควรใช้วิจารณญาณ (For this reason, it is not inappropriate to caution those Christians who enthusiastically welcome certain ideas originating in the religious traditions of the Far East, pp.89-90) ที่เป็นดังนี้ เพราะกระแสคนหันมานับถือพระพุทธศาสนา และช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างแข็งขันในยุโรป ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมักเป็นชาวคริสต์มาก่อน หลายคนเคยเป็นบาทหลวงระดับสูง ต่อมาก็มีฝรั่งนักวิชาการชาวพุทธหลายคนทั้งพระ ทั้งฆราวาส ซึ่งเคยเป็นชาวคริสต์มาก่อน ได้เขียนตอบโต้พระองค์ลงวารสารต่างๆ มากมาย ที่โดดเด่นก็ คือ กลุ่มพระสงฆ์ชาวอิตาเลี่ยนในอิตาลี นำโดย พระฐานวโร ได้เข้าเฝ้าเพื่อทูลชี้แจงให้สมเด็จพระสันตปาปาทรงทราบด้วยซ้ำว่าทรงอธิบายพระพุทธศาสนาผิดๆ

ยุโรปตอนนี้จึงเหมือนอินเดียครั้งพุทธกาล ศาสนาเดิมที่ผู้คนนับถือคือศาสนาพราหมณ์ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาก็มีผู้เคยนับถือศาสนาพราหมณ์มานับถือ และขวนขวายเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่
ที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงเดือดเนื้อร้อนพระทัยว่าใครจะหันมานับถือศาสนาของพระองค์หรือไม่ ทรงสอนให้ผู้ฟังเทศน์ของพระองค์รู้จักไตร่ตรองหาเหตุผลให้รอบคอบก่อนถึงจะเชื่อ หลายคนที่หันมานับถือคำสอนของพระองค์เคยให้ความอุปถัมภ์ศาสนาอื่นมาก่อนก็มี พระองค์ก็ทรงแนะให้คนเหล่านี้กลับไปคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ มิหนำซ้ำพระองค์ยังคงแนะให้บรรดาผู้หันมานับถือพระพุทธศาสนาเหล่านี้ยังคงอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นๆ ที่ตนเคยนับถือตามปกติไปด้วย
แต่เดิม ศาสนาคริสต์ถูกลัทธิมาร์กซ์โจมตีอย่างรุนแรงมาร์กซ์ได้ประณามศาสนาว่า คือยาเสพติด เพราะสอนให้ประชาชนศรัทธาแบบหัวปักหัวปำโดยไม่ใช้ปัญญาไตร่ตรอง หลายอย่างขัดแย้งหลักวิทยาศาสตร์ เช่น โลกแบน, โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ฯลฯ นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบความจริงใหม่ ๆ หลายคนถูกศาสนจักรลงโทษจนตายในคุก
แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่ยุโรป พระพุทธศาสนาได้สอนให้ปัญญาชนชาวยุโรปได้เข้าใจความหมายของ Religion เสียใหม่ว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคำสอน ซึ่งทรงสอนให้ผู้ฟังใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ ไม่ใช่เทวโองการ (Gospel)จากพระเจ้าซึ่งแย้งไม่ได้ พระสงฆ์หรือพุทธสาวกก็มิใช่มิชชันนารี ซึ่งมีภารกิจหลักคือจาริกไปชี้ชวนให้ใครต่อใครมานับถือพระศาสนา พระสงฆ์หรือพุทธสาวกมีหน้าที่เพียงอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟังเท่านั้น ใครไม่สนใจฟัง ชาวพุทธก็ไม่เคยใช้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญบังคับให้นับถือ ไม่เคยตั้งกองทุนให้การศึกษาฟรี แล้วสร้างเงื่อนไขให้ผู้รับทุนเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธ ไม่เคยสร้างที่พักอาศัยให้หรือแจกทานให้อาหารฟรีๆ แล้ววางเงื่อนไขให้คนมาขออาศัยตนต้องหันมานับถือศาสนาในภาวะจำยอม

ขณะที่ศาสนาคริสต์ต้องใช้ความพยายาม อย่างหนักเพื่อดึงศรัทธาชาวยุโรปให้นับถือเหมือนเดิม ในเวลาเดียวกัน
ก็พยายามแสวงหาผู้นับถือใหม่ๆ ในประเทศเอเชียให้มากยิ่งขึ้น การเผยแพร่หนังสือ “พลังชีวิต”
ซึ่งจัดพิมพ์โดยมูลนิธิอาร์เธอร์ เอส เดอมอส ในประเทศไทยคือหนึ่งในความพยายามดังกล่าวนี้

ความใจกว้างและมีหลักคำสอนที่เป็นสัจธรรม เชิญชวนให้มาพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติเองและเน้นให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนนับถือ ทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับจากวิญญูชนไปทั่วโลก นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ดัง ๆ ระดับโลกจำนวนมาก เช่น โซเพน ฮาวเออร์, ไอน์สไตน์ ต่างหันมานับถือพระพุทธศาสนา
นับแต่พระพุทธศาสนาเข้ายุโรปสมัยศตวรรษที่ 19 ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงสถิติว่าคนยุโรปและอเมริกาชาติต่าง ๆ หันมาเข้าวัดในพระพุทธศาสนามากขึ้นบ้าง ประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้นบ้าง สถานปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาซึ่งรวมทั้งวัดวาอารามเพิ่มขึ้นที่นั่นที่นี่ประจำบ้าง

เดือน ธ.ค. ที่ผ่านมาก็มีข่าวออกมาอีกว่า ดาราฮอลลี้วูดอังกฤษ ชื่อ ออร์นันโด บลูม
ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้แสดงนำในหนังเรื่อง The Lord of the Rings ได้ทำพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะต่อหน้าสาธารณชนอย่างเป็นทางการไปเรียบร้อยแล้ว

ระหว่างทหารอเมริกันพยายามไล่บี้ทหารอิรักอย่างเมามันตามคำสั่งของประธานาธิบดีบุชไม่นานมานี้ ทหารอเมริกันคนหนึ่งนามว่า เจเรมี่ ฮินซ์แมน วัย 26 ปี ได้ตัดสินใจหนีทัพอเมริกาในอิรักไปปักหลักลี้ภัยในแคนาดา เขาให้เหตุผลว่าสงครามที่อเมริกาทำกับชาวอิรักเป็นสงครามผิดกฎหมาย ประเด็นที่น่าสนใจก็คือเขาเป็นชาวพุทธที่สนใจปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง เขาให้สัมภาษณ์ว่าคำสอนพระพุทธศาสนาสอนให้เขาไม่อยากทำสงคราม เขาตั้งปฏิญาณว่าจะรับใช้ชาติหรือพิทักษ์ชาติจากการรุกรานของข้าศึกศัตรู แต่มิใช่ไปทำสงครามแบบก้าวร้าวต่อชาติอื่นดังที่ทหารอเมริกันกำลังทำอยู่ในอิรักเวลานี้

ผมได้ข่าวจากหนังสือพิมพ์ Lanka Daily News ในลังกาตั้งแต่ 23 ต.ค. ที่แล้วว่าปัจจุบันพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในแคนาดา ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างที่สุดในอเมริกาเหนือ พระพุทธศาสนาเข้าแคนาดาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และมาบูมขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2503-2513 (1960s) เป็นต้นมา ช่วงนั้นมีการสำรวจพบว่าวัดชาวพุทธมีแค่ 18 วัด มีชาวแคนาดาปฏิบัติธรรมราวๆ 10,000 คน แต่เมื่อสำรวจผู้นับถือพระพุทธศาสนาอีกครั้งในพ.ศ. 2528 ชาวพุทธมีเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 คน หกปีหลังจากนั้นคือพ.ศ. 2534 รัฐบาลสำรวจคร่าวๆ อีกครั้งพบว่าผู้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะมีเพิ่มเป็น
163,415 คน รัฐมาสำรวจครั้งล่าสุดอีกครั้ง เมื่อพ.ศ. 2544 พบว่าพุทธมามกะแท้ ๆ มีไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน แซงหน้าจำนวนผู้นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาซิกข์ ซึ่งเคยตามหลัง จำนวนผู้นับถือยังเติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ทุกปี

ผลสำรวจยังบอกว่าวัด, สถานที่ปฏิบัติธรรม หรือศูนย์กลางของชาวพุทธในแคนาดาตอนนี้มีเกือบๆ จะถึงหนึ่งพันแห่งทั่วประเทศ เมืองที่มีชาวพุทธมากที่สุดคือ ออนตาริโอ, บริติชโคลัมเบีย และควิเบก ข่าวยังลงด้วยว่าแม้จำนวนคนนับถือจะยังอยู่เรือนแสน แต่จำนวนผู้แสดงความสนใจและเริ่มศึกษาพระพุทธศาสนาบ้างแล้วมีหลายล้านคนทั่วประเทศ

เมื่อ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา โฆษกประจำรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย กระพือข่าวว่า
องค์ทะไลลามะจะได้รับอนุญาตให้เข้ารัสเซีย หลังจากถูกแบนเพราะเกรงจะกระทบความสัมพันธ์กับจีน หลังจากรัสเซียเซ็นสัญญามิตรภาพกับจีน เมื่อ พ.ศ. 2544 แต่ชาวรัสเซียก็แสดงจุดยืนชัดเจน
ว่าองค์ทะไลลามะจะมาเยือนด้วยภารกิจศาสนา เมื่อกระแสประชาชนเรียกร้องหนักขึ้น รัสเซียก็ยอมอนุญาตให้ท่านเข้ารัสเซียแต่โดยดี ปลาย พ.ย.ที่ผ่านมา ท่านทะไลลามะจึงมีโอกาสแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทและประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกที่เมืองกัลมิเกีย ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงมอสโกประมาณหนึ่งพันไมล์
ชาวรัสเซียหลายคนในเมืองนี้มีบรรพบุรุษเป็นชาวมองโกลซึ่งอพยพจากทางตะวันตกของจีนเข้าสู่รัสเซียเมื่อราว 4 ร้อยกว่าปีมาแล้ว พระพุทธศาสนาที่นำเข้ามาจึงเป็น พระพุทธศาสนาแบบทิเบต ผลปรากฏว่า มีชาวพุทธและผู้สนใจทั่วๆ ไปชาวรัสเซียแห่กันมาฟังธรรมล้นหลามเป็นจำนวนหลายพันคน
ผู้สื่อข่าวรายงานลงใน Ireland Online ว่าจากจำนวนประชากรของเมืองนี้ ทั้งหมดราว 3 แสนคน ประมาณครึ่งหนึ่งนับถือพระพุทธศาสนา รัสเซียมีประชากรราว 144 ล้านคน ในจำนวนนี้มีราว 1 ล้านคน ที่ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ

ผมดูภาพรวมพระพุทธศาสนาจากข่าวสารต่างๆ แล้วก็รู้สึกได้ว่าวัฒนธรรมแบบพุทธกำลังเติบโตและเบ่งบานในหลาย ๆ ประเทศของทวีปยุโรป, ออสเตรเลีย และอเมริกาบางแห่ง เช่น รัสเซียแม้จะเติบโตช้า แต่ปีที่กำลังจะผ่านไปนี้ก็เริ่มมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ผมคิดว่าปัญญาชนในประเทศทุนนิยมทั่วโลกเวลานี้คงเอือมระอากับ “ทุนนิยมเสรี” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า กระแสโลกาภิวัตน์กันไม่น้อยและก็คงเห็นชัดเจนแล้วว่ามีแต่ศาสนาเท่านั้นที่จะช่วยเปลี่ยนให้มนุษย์มีความเป็นผู้เป็นคน(ใจสูง) มากขึ้น ท่ามกลางกระแสสังคมที่มีแต่นายทุนจอมตะกละตะกรามแสวงหากำไรสูงสุดอยู่ทุกแห่ง ดังนั้น จึงเริ่มผ่อนปรนให้ผู้นำศาสนาทำงานได้สะดวกขึ้น


จาก วิชาการ ดอท คอม


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: (ลุง)ถึก สไลเดอร์ ที่ 02-10-2007, 12:34
ในกลุ่มของบรรดาผู้ที่มีความรู้ ปัญญาชนในยุโรป เริ่ม
หันมาสนใจพุทธศาสนากันมากขึ้น พวกเขาเหล่านั้นจะหันมาสนใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ที่เป็นสัจจะธรรม มากกว่าพิธีกรรมทางศาสนา
  เรียกว่าเข้าถึงแก่นได้มากกว่า คนที่เป็นพุทธฯตามทะเบียนบ้านเสียอีก....เอิ้กกกก


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 02-10-2007, 12:53
น่าคิดนะครับว่า เหตุผลของการเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธของชาวต่างชาตินั้น เพราะเค้าเห็นว่ามันสามารถนำไปใช้ได้ มีเหตุมีผล และสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  มากกว่าการเปลี่ยนมานับถือเพราะเป็นแฟชั่นตามดารา หรือเรื่องอภินิหาร อย่างที่คนไทยเราเป็นกัน 

ประเทศไทยมีของดีอยู่มากมาย วัฒนธรรมประเพณี ต่างๆ แต่คนไทยเราเองกลับไม่ศึกษามันอย่างจริงจัง มองเป็นสิ่งไร้ค่า  อีกหน่อยคงได้เห็นพระต่างชาติต้องมาเทศนาให้คนไทยได้ฟัง เพราะพระสงฆ์ไทยหันไปบูชาเทวดากันหมด   

แต่ก็อีกน่ะละ  ขนาดเทศน์เป็นภาษาไทยยังฟังกันไม่ค่อยจะเข้าใจ ถ้าเทศน์เป็นภาษาอังกฤษจะฟังกันรู้เรื่องมั้ยนี่  ใม่ใช่ฟังเป็นแต่ วันๆ ทู ๆ แล้วก็เอาไปตีเป็นตัวเลข เพราะคิดว่าพระท่านใบ้หวย  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: ชัย คุรุ เทวา โอม ที่ 02-10-2007, 14:34
หลักพระพุทธศาสนานั้นสอนให้ได้เห็นจริง และปฎิบัติจริง ไม่งมงาย

แต่ภิกษุในไทยกลับทำให้มันงมงาย ทั้งที่หลักคำสอนนั้น เป้นปรัชญาทั้งสิ้น

ลองอ่านหนังสือ ของท่านติช นัท ฮันต์ ดูก็ได้

แต่อย่างไรก็ตาม
Imagine there's no countries
It isn't hard to do
Nothing to kill or die for
And no religion too
Imagine all the people
Living life in peace


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 02-10-2007, 20:49
คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาธิลิกส์ รู้ถึงภยันตรายจากพุมธศาสนามานานแล้ว และเพียรพยายามทำอะไรบางอย่างตลอดมา เพื่อความสมานฉันท์จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ เพราะอาจสะเทือนใจศาสนิกของศาสนานี้ค่ะ

แต่อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำหนังสือสักเล่ม ที่อาจจะชี้ให้เห็นอะไรบางอย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้ว แต่ท่านๆยังไม่รูกันค่ะ  :slime_worship:

(http://img219.imageshack.us/img219/9403/64116317jg2.jpg)


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: เล่าปี๋ ที่ 02-10-2007, 21:02
ในกลุ่มของบรรดาผู้ที่มีความรู้ ปัญญาชนในยุโรป เริ่ม
หันมาสนใจพุทธศาสนากันมากขึ้น พวกเขาเหล่านั้นจะหันมาสนใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ที่เป็นสัจจะธรรม มากกว่าพิธีกรรมทางศาสนา
  เรียกว่าเข้าถึงแก่นได้มากกว่า คนที่เป็นพุทธฯตามทะเบียนบ้านเสียอีก....เอิ้กกกก



   เฮ้อ...คุณลุงถึกไม่น่าจะ เปิดเผยนะครับ  ผมก็อดแย่จิครับ

   ต่อไปวัดครึ่งหนึ่ง  กรรมการครึ่งหนึ่ง ก็คงจะสูญพันธ์ไปนะครับ




              :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:



หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 02-10-2007, 21:16
ในกลุ่มของบรรดาผู้ที่มีความรู้ ปัญญาชนในยุโรป เริ่ม
หันมาสนใจพุทธศาสนากันมากขึ้น พวกเขาเหล่านั้นจะหันมาสนใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ที่เป็นสัจจะธรรม มากกว่าพิธีกรรมทางศาสนา
  เรียกว่าเข้าถึงแก่นได้มากกว่า คนที่เป็นพุทธฯตามทะเบียนบ้านเสียอีก....เอิ้กกกก


*  ขอ ...........  รีเควช     ได้ป่าวค่ะลุงถึก

    ในฐานะ .... ที่   เอ้    เป็นคนหน้าตาดีคนหนึ่ง .........   55555

    ( ลุง ....... อย่าเพิ่งหมั่นไส้หนูหล่ะ ...  หนูล้อเล่นนนนนนน  )

    คืองี้ .... เอ้   อ่ะ  อยากให้ลุงเล่าเรื่องราวของคนไทยในต่างแดนที่ผูกพันกะ วัดไทย   ............  ว่าเป้นไงมั่ง  !!

    คำว่า .................  ศาสนา พุทธ  ในมุมมองของคนที่ไกลบ้าน

    บางทีมันก็ ....  สื่อความหมายได้ดีกว่า  อะไรใกล้ ๆ ตัว  ....  ใช่ป่าว ค่ะ :slime_smile:

   


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: (ลุง)ถึก สไลเดอร์ ที่ 02-10-2007, 22:00
คนไทยในต่างประเทศ ชอบที่จะไปวัดมากกว่าคนไทยในประเทศไทย
เรียกว่าไปกันทุกเทศกาลมิได้ขาด นอกเทศกาลก็ยังไปกันทุกเสาร์-อาทิตย์
  มันมีสาเหตุปัจจัยมาจาก ความว้าเหว่ คิดถึงบ้าน บางคนก็เป็นห่วงพระ เกรงว่าจะไม่มีใครนำ
อาหารไปถวาย บางคนก็ไปช่วยดูแลวัด ทำความสะอาดวัด ปลูกต้นไม้ ปลูกผักปลูกหญ้า
  การไปวัดของคนไทย ก็มุ่งเน้นที่การทำบุญเป็นหลัก นอกจากจะได้ร่วมพิิธีทางศาสนาแล้ว ก็ยังได้มีโอกาส
พบปะเพื่อนฝูง ได้มีโอกาสรับประทานอาหารไทยหลากหลายชนิดร่วมกัน ในบางโอกาสก็ยังได้ไปนั่งดู
ูรายการแสดงต่างๆบนเวทีอีกด้วย
  คนไทยในต่างประเทศจะมีความผูกพันกับวัดกับพระ พระจะมีกิจนิมนต์ไปทำบุญบ้าน ทำบุญครบรอบวันเกิด
ให้พระตัดผมไฟให้ลูกๆเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต
  ที่คล้ายๆกับคนไทยในประเทศไทย มีอยู่อย่างเดียว คือการฟังเทศน์ พอพระเริ่มเทศน์ญาติโยมที่เป็นผู้
หญิงส่วนมากจะชวนกันไปเตรียมอาหารกันในครัวเสียนี่
  สรุปแล้วคนไทยในต่างประเทศก็ยังเน้นที่การทำบุญ มากกว่าที่จะเข้าใจในธรรม.....เอิ้กกกก


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 04-10-2007, 02:08
พุทธศาสนา…เป็นศาสนาประจำชาติอิตาลี...แล้วครับ

ที่มา : ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.siamrath.co.th/Education.asp?ReviewID=89725
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=buddhiststudies&id=61

...
ขณะที่ศาสนาคริสต์ต้องใช้ความพยายาม อย่างหนักเพื่อดึงศรัทธาชาวยุโรปให้นับถือเหมือนเดิม ในเวลาเดียวกัน
ก็พยายามแสวงหาผู้นับถือใหม่ๆ ในประเทศเอเชียให้มากยิ่งขึ้น การเผยแพร่หนังสือ “พลังชีวิต”
ซึ่งจัดพิมพ์โดยมูลนิธิอาร์เธอร์ เอส เดอมอส ในประเทศไทยคือหนึ่งในความพยายามดังกล่าวนี้
...


ก็เห็นด้วยก้บแนวโน้มในบทความนะครับ และผมคิดว่าชาวต่างประเทศที่หันมานับถือพุทธเป็นพุทธแท้ๆ
มากกว่าชาวไทยพุทธจำนวนมากในประเทศไทยที่ประกาศว่ามีีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

จะมีข้อสังเกตแค่เรื่องเดียวข้างบนนี้ เนื่องจากประโยคก่อนหน้าพูดถึงคริสต์นิกาย "โรมันคาทอลิค"
ซึ่งมีพระสันตปาปาเป็นประมุข และตามด้วยสถานการณ์ทางศาสนาในยุโรป แต่พอถึงประโยคข้างบน
อ้างเรื่องศาสนาคริสต์ในยุโรป และยกตัวอย่าง หนังสือพลังชีวิต ที่เคยเผยแพร่ฮือฮาในประเทศไทย
ซึ่งหนังสือดังกล่าวจัดทำโดยคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ไม่ใช่โรมันคาทอลิคครับ และมูลนิธิที่จัดทำ
ก็อยู่ในสหรัฐอเมริกาไม่ใช่ยุโรป

สรุปว่าหนังสือ "พลังชีวิต" ที่ยกมาไม่เกี่ยวข้องกับคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคและพระสันตปาปานะครับ
เป็นคนละกลุ่มคนละนิกายกันเลย ผมอ่านดูแล้วก็กลัวจะมีคนอ่านแล้วเข้าใจสับสนปนกันครับ


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 04-10-2007, 09:05
ที่ฟิลิปปินส์ไม่มีวัดพุทธ ครับส่วนใหญ่คือศานาคริสต์และอิสลาม อยากให้องค์กรอย่าง สถานทูตไทย ประสานกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงวัฒนธรรม เริ่มเผยแพร่หรือจัดทำสัญลักษณ์ของพุทธใฟลิปปินส์บ้าง เช่น มีแหล่งศูนย์รวมตัวคนไทยเพื่อทำบุญ หรือ พบปะ เพราะอยู่ที่นี่จะได้เจอคนไทยด้วยกันในวันที่๕ ธันวาเท่านั้นครับ อย่างน้อยเพื่อนๆชาวปินส์ผมเองก็สนใจแนวคิดแบบทางพุทธเราครับ


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา ในต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 04-10-2007, 09:52
ก็เห็นด้วยก้บแนวโน้มในบทความนะครับ และผมคิดว่าชาวต่างประเทศที่หันมานับถือพุทธเป็นพุทธแท้ๆ
มากกว่าชาวไทยพุทธจำนวนมากในประเทศไทยที่ประกาศว่ามีีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

จะมีข้อสังเกตแค่เรื่องเดียวข้างบนนี้ เนื่องจากประโยคก่อนหน้าพูดถึงคริสต์นิกาย "โรมันคาทอลิค"
ซึ่งมีพระสันตปาปาเป็นประมุข และตามด้วยสถานการณ์ทางศาสนาในยุโรป แต่พอถึงประโยคข้างบน
อ้างเรื่องศาสนาคริสต์ในยุโรป และยกตัวอย่าง หนังสือพลังชีวิต ที่เคยเผยแพร่ฮือฮาในประเทศไทย
ซึ่งหนังสือดังกล่าวจัดทำโดยคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ไม่ใช่โรมันคาทอลิคครับ และมูลนิธิที่จัดทำ
ก็อยู่ในสหรัฐอเมริกาไม่ใช่ยุโรป

สรุปว่าหนังสือ "พลังชีวิต" ที่ยกมาไม่เกี่ยวข้องกับคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคและพระสันตปาปานะครับ
เป็นคนละกลุ่มคนละนิกายกันเลย ผมอ่านดูแล้วก็กลัวจะมีคนอ่านแล้วเข้าใจสับสนปนกันครับ

มีข้อมูลให้คุณจีค่ะ

หนังสือพลังแห่งชีวิต ได้รับทุนมาจากหน่วยงานการกุศล A Ministry of the Arthur S. Demoss Foundation ในประเทศสหรัฐอเมริกา จุดมุ่งหมายของมูลนิธินี้ เพื่อเผยแพร่พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า หรือที่เรียกกันว่า Christian Gospel ซึ่งไม่ได้เจาะจงแบ่งแยกลัทธิหรือนิกายในศาสนาคริสต์ ดังนั้นแม้แต่สมาคมพระคริสตธรรมไทย (THAILAND BIBLE SOCIETY) ก็ให้การสนับสนุนโครงการแจกหนังสือนี้ และพรีเซนเตอร์หลายคนในโครงการนี้ก็เป็นโรมันคาธอ ลิกส์ แต่วาติกันนั้นไม่ได้อยู่ร่วมในโครงการนี้ และไม่ได้ขัดขวางหรือมีปัญหากับโครงการนี้แต่อย่างไร เพราะส่วนใหญ่ของการเผยแพร่นั้น ไม่ขัดอะไรกับความเชื่อแบบวาติกัน โครงการนี้เป็นเพียงต้องการถ่ายทอดไบเบิ้ล ออกเป็นภาษาง่ายๆ เท่านั้นเอง

ปัญหาของโปรแตสแตนท์ (Protestant) เชิร์ชออฟอิงแลนด์ (Church of England) ออร์โธดอกซ์ (orthodox) กับโรมันคาธอลิกส์นั้นไม่ค่อยกระไรนักหนา คงคล้ายๆ มหานิกายและธรรมยุติในบ้านเรา แต่ปัญหาของโรมันคาธอลิกส์กับ มอร์มอน (mormon) ดูจะเยอะกว่า สิทธิชนยุคสุดท้ายในบ้านเรา ถึงกับถูกห้ามเข้าประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จากการผลักดันของโรมันคาธอลิกส์สายวาติกันในประเทศไทย แต่วันนี้ก็ยังเห็นมอร์มอนจูงจักรยานผูกเนคไทอยู่ในหลายแห่ง เพราะกฎที่เข้มวงดในยุคหนึ่งนั้นผ่อนคลายลงไปแล้วค่ะ