ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 01:39



หัวข้อ: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 01:39
(http://www.thairath.co.th/2550/agriculture/Aug/library/07/farming2.jpg)

ดูยังไงมันก็ไม่เป็นปลาซีลาคานธ์อยู่ดี :slime_smile2:

http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=56572


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jrr. ที่ 08-08-2007, 02:03
พรุ่งนี้....มันอาจจะแต่งภาพให้เป็นก็ได้ !!!   :slime_bigsmile:  :slime_bigsmile:  :slime_bigsmile: :

เอาเป็นว่า....ใส่คำบรรยายถูกข้าง ก็นับว่าบุญหลายแล้ว !!!  :slime_smile:  :slime_smile:  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 08-08-2007, 02:04
ไม่มีความรู้เรื่องปลาเลย

หุหุ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 02:07
ไม่มีความรู้เรื่องปลาโบราณเช่นกัน

แต่ความรู้เรื่อง "ความมั่ว" ของไทยรัฐ

รู้เยอะ..... :slime_bigsmile:

ช้างจิ๋วเอย เจลลดไข้กลายเป็นเอเลี่ยนเอย ปาติหานจตุคามยุคดิจิตอลเอย

โอยยยย จาระไน ไม่หวาดไม่ไหว


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 08-08-2007, 02:57
น่าจะเป็น Trilobite มากกว่า
http://en.wikipedia.org/wiki/Trilobite

ส่วนซีลาคานธ์ หน้าตาแบบนี้
(http://www.mnh.si.edu/highlight/coelacanth/images/image_2_lg.jpg)

มีฟอสซิลจริง ยังไม่สูญพันธุ์ แต่ไม่ได้มีวิวัฒนาการมานานแล้ว
บางทีเขาจึงเรียกว่าฟอสซิลมีชีวิต ก็เหมือนนักการเมืองจมูกบานบางคนแหละครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: วิหค อัสนี ที่ 08-08-2007, 03:16
ก็แค่สับสนระหว่างไตรโลไบท์ กับซีลาแคนธ์น่ะครับ (แค่...เรอะ??)  :slime_hmm:



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 03:27


(http://img430.imageshack.us/img430/9357/coelabf0.jpg)

ภาพฟอสซิล ซีลาคานธ์


แต่ทว่าเรียนตามตรงผมไม่เชื่อเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการ  http://forum.serithai.net/index.php?topic=5217.msg75465#msg75465

ยกตัวอย่าง

คราวนี้มาดูว่าไม่ว่า กาลเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเท่าไร ปลา ก็ยังคงเป็น ปลา ครับ หาได้ได้เป็นอย่างอื่นไม่





เจ้า ปลาซีลาคานธ์ นี่แหละที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์วิวัฒนาการ" หน้าแหก " เพราะมันยังเสนอหน้าและมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายในโลกปัจจุบันตามแถบมหาสมุทรอินเดีย



และยังมีหลักฐานทางฟอสซิลมากมายที่แสดงให้เห็นว่าหน้าตาของสิ่งมีชีวิตนั้น ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันเลย คุณ เด็กย้ายถิ่น  หากจะเอาเพียงลักษณะหรือโครงสร้างทางกายภาพที่คล้ายกันมาตัดสินการวิวัฒนาการ คุณควรนำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาด้วย

1.น้ำหนักตัว

2.สภาวะการปรับตัวต่ออุณหภูมิของร่างกาย

3.การใช้น้ำในร่างกาย

4.ระบบไต

5.ระบบการหายใจ

6.และ ฯลฯ

มาร่วมพิจารณาด้วย หากคุณ เด็กย้ายถิ่น  นำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาคุณจะพบว่า มันไม่มีความเป็นไปได้เลยว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะเคยมีบรรพบุรุษร่วมกัน(Common Ancestory) คุณคงไม่ลืมนะครับว่า คุณลักษณะต่าง ๆของสัตว์นั้นถูกควบคุมโดยยีน(gene)ในDNA ของสัตว์แต่ละชนิด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 03:37
ถ้าคนที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการโดยตรงมักจะคิดเช่นนี้ครับ สิ่งมีชีวิตในแต่ละชนิดหรือแค่กลุ่มประชากรก็ได้ จะมีอัตราวิวัฒนาการช้าเร็วต่างกัน และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างตลอด อย่างกรณีปลาซีลาคานธ์ หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตมันก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างแต่อย่างใด ทางอนุกรมวิธานนั้นใช้พื้นฐานทางทฤษฎีวิวัฒนาการนะครับ ถ้าหากไม่เชื่อในทฤษฎีวิวัฒนาการ ก็คงต้องกำหนดอนุกรมวิธานใหม่ขึ้นมาเองหมด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 04:01

ถ้าคนที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการโดยตรงมักจะคิดเช่นนี้ครับ สิ่งมีชีวิตในแต่ละชนิดหรือแค่กลุ่มประชากรก็ได้ จะมีอัตราวิวัฒนาการช้าเร็วต่างกัน และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างตลอด อย่างกรณีปลาซีลาคานธ์ หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตมันก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างแต่อย่างใด ทางอนุกรมวิธานนั้นใช้พื้นฐานทางทฤษฎีวิวัฒนาการนะครับ ถ้าหากไม่เชื่อในทฤษฎีวิวัฒนาการ ก็คงต้องกำหนดอนุกรมวิธานใหม่ขึ้นมาเองหมด

เอ..ยังไม่มีความเชื่อมโยงที่เชื่อถือใดๆได้ว่ายีนและดีเอ็นเอมีการเปลี่ยนแปลงโดย ไม่เป็นหมัน หรือสืบพันธุ์ต่อไปได้จนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมเปลี่ยนไปเป็นชนิดใหม่ครับ


ได้ภาพใกล้็ๆมาครับ

(http://www.pic2you.net/ip/post1201122699222.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 04:17
ทฤษฎีวิวัฒนาการยังมีอยู่เหรอครับ

นักวิทยาศาสตร์/นักชีววิทยา เขาเลิกเชื่อทฤษฎีนี้มาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่เหรอ

หรือผม เข้าใจอะไรผิด

 :slime_doubt: :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 04:38
ทฤษฎีวิวัฒนาการยังมีอยู่เหรอครับ

นักวิทยาศาสตร์/นักชีววิทยา เขาเลิกเชื่อทฤษฎีนี้มาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่เหรอ

หรือผม เข้าใจอะไรผิด

 :slime_doubt: :slime_doubt:
เลิกเชื่อตรงไหนครับ ถ้าเป็นแบบนั้นจริงลองให้เหตุผลสิว่าทำไมทาง Taxonomy&Systematics ถึงยังใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นพื้นฐานอยู่ล่ะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 04:46
เอ..ยังไม่มีความเชื่อมโยงที่เชื่อถือใดๆได้ว่ายีนและดีเอ็นเอมีการเปลี่ยนแปลงโดย ไม่เป็นหมัน หรือสืบพันธุ์ต่อไปได้จนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมเปลี่ยนไปเป็นชนิดใหม่ครับ


ได้ภาพใกล้็ๆมาครับ

ลองอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme หน่อยสิครับ ถ้าอธิบายได้ก็น่าจะเข้าใจเรื่องความแตกต่างของลักษณะพันธุกรรมด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 04:55

ทฤษฏีที่ถูกลบล้างไปจากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์หลาย ๆท่าน นั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าการตั้งทฤษฏีที่ผ่านมาของดาร์วินนั้นสูญเปล่า ถึงแม้ทฤษฏีต่าง ๆ นั้นไม่เป็นจริงก็ตาม แต่ทฤษฏีการวิวัฒนาการใหม่ ๆที่เกิดขึ้นมานั้นก็ได้อิงถึงทฤษฏีของดาร์วินอยู่เสมอ และจากการที่เค้ามีความคิดเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตการก่อกำเนิดโลกขึ้นมาก็เป็นแรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ เกี่ยวกับวิวัฒนามากขึ้น

อ่านอันนี้ก่อนก็ได้ครับ..

http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=24392&page=1


ลองอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme หน่อยสิครับ ถ้าอธิบายได้ก็น่าจะเข้าใจเรื่องความแตกต่างของลักษณะพันธุกรรมด้วยนะครับ

สิ่งมีชีวิตที่เป็นรอยต่อ  ไม่มีครับ.. วิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดทุกสายพันธุ์คงเป็นไปไม่ได้

ฝ่ายเชื่อต้องเป็นฝ่ายแสดงหลักฐานครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 05:20
เลิกเชื่อตรงไหนครับ ถ้าเป็นแบบนั้นจริงลองให้เหตุผลสิว่าทำไมทาง Taxonomy&Systematics ถึงยังใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นพื้นฐานอยู่ล่ะครับ

ไม่สามารถหาเหตุผลทาง Taxonomy&Systematics มาตอบได้หรอกครับ
เพราะผมไม่เชี่ยวด้านนี้
(ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เจ้าสองคำนี้ แปลว่าอะไร)

แต่ถ้าเข้าใจตรงกันว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการ หมายถึง Evolutionary Theory ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ผมพอจะหาเอกสารอ้างอิง มาตอบได้ ว่า ทำไม Evolutionary Theory ถึงไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป
เพราะ น่าจะมี ข้อมูลอ้างอิง มากมาย ทั้งภาษาไทย/อังกฤษ เกี่ยวกับเรื่องนี้

ไม่ทราบว่า เป็น "ทฤษฎีวิวัฒนาการ" อันเดียวกันหรือเปล่าครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 05:25
ที่คุณ Q กล่าวมา
จะบอกว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการ ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ช่วยให้เกิดการต่อยอด ค้นคว้า ต่อไป ก็ได้
หรือ มองอีกมุมหนึ่ง
จะบอกว่า มัน "สูญเปล่า" หาประโยชน์อันใดมิได้เลย ก็ได้นะครับ

เพราะถึงตอนนี้ ก็มีข้อสรุปออกมาแล้วว่า
สิ่งที่ ชาร์ลส์ ดาร์วิน บอกไว้ "ผิดหมดทุกอย่าง" นำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย
และที่สำคัญ ทำให้การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ทางชีววิทยา ผิดพลาด/หลงทาง มาเป็นเวลายาวนาน อีกด้วย

ปล. ทำไปทำไม กระทู้นี้ ไทยรัฐ จะลอยตัวเอานะเนี่ย
 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 05:40
ทฤษฏีที่ถูกลบล้างไปจากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์หลาย ๆท่าน นั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าการตั้งทฤษฏีที่ผ่านมาของดาร์วินนั้นสูญเปล่า ถึงแม้ทฤษฏีต่าง ๆ นั้นไม่เป็นจริงก็ตาม แต่ทฤษฏีการวิวัฒนาการใหม่ ๆที่เกิดขึ้นมานั้นก็ได้อิงถึงทฤษฏีของดาร์วินอยู่เสมอ และจากการที่เค้ามีความคิดเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตการก่อกำเนิดโลกขึ้นมาก็เป็นแรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ เกี่ยวกับวิวัฒนามากขึ้น

อ่านอันนี้ก่อนก็ได้ครับ..

http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=24392&page=1


สิ่งมีชีวิตที่เป็นรอยต่อ  ไม่มีครับ.. วิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดทุกสายพันธุ์คงเป็นไปไม่ได้

ฝ่ายเชื่อต้องเป็นฝ่ายแสดงหลักฐานครับ..
ตกลงว่าคุณยังรู้แต่ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินหรือครับเนี่ย ทฤษฎีวิวัฒนาการปัจจุบันนั้นได้รวมแนวคิดของดาร์วินกับเมนเดลเข้าไว้ด้วยกันแล้วนะครับ แล้วตกลงอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme ได้ไหมครับ เพราะถ้าจะถกเรื่องทฟษฎีวิวัฒนาการในปัจจุบันต้องเข้าใจพื้นฐานเรื่องพวกนี้ก่อน และทฤษฎีวิวัฒนาการนั้นเป็นวิทยาศตร์นะครับ ส่วนเรื่องพระเจ้ายังไม่เป็นวิทยาศาสตร์ การพูดเรื่องวิทยาศาสตร์ แล้วเอาเรื่องที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์มาอ้างอิงหรือถกเถียงกันนี่จะว่าอย่างไรดี
ถึงก็น่าแปลกตรงที่นิตยสารที่ได้รับยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์อย่าง Nature หรือ Science กลับลงบทความที่เกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการบ่อยมาก  :slime_bigsmile: แต่อ่านลิงค์ที่ให้มานั้นมันสนับสนุนเรื่องวิวัฒนาการนะครับ อ.ณัฐพล ก็เข้าใจคิด ให้เด็กใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาแย้งลูซิเฟอร์









หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 05:49
ไม่สามารถหาเหตุผลทาง Taxonomy&Systematics มาตอบได้หรอกครับ
เพราะผมไม่เชี่ยวด้านนี้
(ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เจ้าสองคำนี้ แปลว่าอะไร)

แต่ถ้าเข้าใจตรงกันว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการ หมายถึง Evolutionary Theory ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ผมพอจะหาเอกสารอ้างอิง มาตอบได้ ว่า ทำไม Evolutionary Theory ถึงไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป
เพราะ น่าจะมี ข้อมูลอ้างอิง มากมาย ทั้งภาษาไทย/อังกฤษ เกี่ยวกับเรื่องนี้

ไม่ทราบว่า เป็น "ทฤษฎีวิวัฒนาการ" อันเดียวกันหรือเปล่าครับ
ทฤษฎีของดาร์วินเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีวิวัฒนาการครับ แต่คนที่ไม่ได้ศึกษาด้านนี้โดยตรงมักจะรู้จักแต่ดาร์วินครับ และถ้า Evolutionary Theory ไม่ได้รับการยอมรับ ทำไมนิตยสาร Science ยังเอาเรื่องนี้ลงอยู่เรื่อย ๆ ล่ะครับ ส่วนสองคำนั่นในภาษาไทยใช้ว่าอนุกรมวิธานครับ ซึ่งการ Scientific classification ก็มาจาก 2 อย่างนั้นครับ

(http://img301.imageshack.us/img301/6855/science20070727113ad7.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 06:36


Science report: A third of U.S. schools don't teach evolution

http://archives.cnn.com/2000/NATURE/09/21/evolution.enn/index.html


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 06:57

Science report: A third of U.S. schools don't teach evolution

http://archives.cnn.com/2000/NATURE/09/21/evolution.enn/index.html
ค่อนช้างเก่านะตั้งปี 2000 ที่ไม่สอนนะไม่แปลกหรอก เพราะมันเกี่ยวเนื่องจากความเชื่อ และทฤษฎีวิวัฒนาการจะสอนในวิชาชีววิทยาเท่านั้น
อันนี้ใหม่หน่อยปี 2005 http://www.cnn.com/2005/LAW/12/20/intelligent.design/index.html


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 07:05
ถ้าจะเอาเฉพาะทฤษฎีของดาร์วินลองหานิตยสาร National Geographic อ่านเรื่องนี้ดู

(http://magma.nationalgeographic.com/ngm/0411/feature1/images/ft_hdr.1.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 07:05


ผมไม่พบหลักฐานอะไรที่เชื่อมโยงจุดสำคัญได้เลยเลยครับ มันเป็นเพียงทฤษฎี ตอนหลังก็เบี่ยงเบนออกทะเลไปแล้ว

มีฟอลซิลปลานี่แหละเห็นชัดที่สุด เพราะมีตัวเป็นๆให้ดูด้วย..


http://wiki.cotch.net/index.php/Theory_of_evolution



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 07:17


Popular science           http://wiki.cotch.net/index.php/Popular_science
From EvoWiki
Jump to: navigation, search

Popular science (pop-sci) is a term describing books, journals, documentries etc. about science but in which technical terms and details are usually kept to a minimum so that they can convey scientific theories and concepts to people who have not studied their field in detail.

For lists of popular-science resources see the books and radio pages.
Pop-sci evo-bio Authors


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 07:23
ตกลงอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme ได้ไหมครับ เอาแค่พื้นฐานก่อนเลย และผมก็บอกไปแล้วว่าสิ่งมีชีวิตในแต่ละชนิดหรือแค่กลุ่มประชากรก็ได้ จะมีอัตราวิวัฒนาการช้าเร็วต่างกัน และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างตลอด อย่างกรณีปลาซีลาคานธ์ หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตมันก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างแต่อย่างใด นอกจากปลาซีลาคานธ์ก็ยังมีสัตว์หลายชนิดที่คงรูปร่างไว้ไม่ต่างจากเมื่อก่อนมาก

และที่ว่าเป็นเพียงทฤษฎีนะ ทางวิทยาศาสตร์จะเป็นทฤษฎีได้ต้องพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงถึงแม้จะมีเงื่อนไขบางอย่าง อย่าลืมนะว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพมันก็เป็นเพียงทฤษฎีเหมือนกันนี่


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 07:27


การศึกษาวิทยาศาสตร์ที่ครบถ้วน ก็ต้องสังเกต ทดลอง พิสูจน์ อธิบาย และทำนายได้ครับ

ส่วนเรื่องข้ออ้างเรื่องระยะเวลายาวนานนั้น ใครพูดก็ไม่สำคัญหรอกครับ..

ก็คงต้องดูว่าเนื้อหาจริงๆเชื่อได้แค่ไหน?


อย่างม้ากับลาผสมพันุ์์ออกมาก็เป็นหมัน

เสือกับสิงโตผสมพันธุ์ออกมาก็เป็นหมัน

ส่วนปลาซีลาคานธ์สืบพันธ์ุมาได้ตลอดเวลาที่พวกเขาเชื่อว่ายาวนานจากฟอลซิล..

หรือจะลองตัดต่อพันธุกรรมให้เกิดสัตว์สปีชีใหมๆก็ได้ครับ..

ผมโต้แย้งตรงนี้เพราะเป็นจุดสำคัญ ว่ามีการกระโดดข้ามสปีชีได้จริงหรือไม่ ? ทั้งที่เป็นเพียงสมมุติฐานของทฤษฎี

จะถือว่ามีการพิสูจน์แล้วไม่ได้หรอกครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 07:28

Popular science           http://wiki.cotch.net/index.php/Popular_science
From EvoWiki
Jump to: navigation, search

Popular science (pop-sci) is a term describing books, journals, documentries etc. about science but in which technical terms and details are usually kept to a minimum so that they can convey scientific theories and concepts to people who have not studied their field in detail.

For lists of popular-science resources see the books and radio pages.
Pop-sci evo-bio Authors

ไหน ๆ ก็ยกพวกนิตยสารมาแล้ว ให้อ่านค่า impact factor ประกอบด้วยละกัน http://en.wikipedia.org/wiki/Impact_factor


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 07:34

การศึกษาวิทยาศาสตร์ที่ครบถ้วน ก็ต้องสังเกต ทดลอง พิสูจน์ อธิบาย และทำนายได้ครับ

ส่วนเรื่องข้ออ้างเรื่องระยะเวลายาวนานนั้น ใครพูดก็ไม่สำคัญหรอกครับ..

ก็คงต้องดูว่าเนื้อหาจริงๆเชื่อได้แค่ไหน?


อย่างม้ากับลาผสมพันุ์์ออกมาก็เป็นหมัน

เสือกับสิงโตผสมพันธุ์ออกมาก็เป็นหมัน

ส่วนปลาซีลาคานธ์สืบพันธ์ุมาได้ตลอดเวลาที่พวกเขาเชื่อว่ายาวนานจากฟอลซิล..

หรือจะลองตัดต่อพันธุกรรมให้เกิดสัตว์สปีชีใหมๆก็ได้ครับ..

ผมโต้แย้งตรงนี้เพราะเป็นจุดสำคัญ ว่ามีการกระโดดข้ามสปีชีได้จริงหรือไม่ ? ทั้งที่เป็นเพียงสมมุติฐานของทฤษฎี

จะถือว่ามีการพิสูจน์แล้วไม่ได้หรอกครับ
สังเกต ทดลอง พิสูจน์ อธิบาย และทำนาย ทฤษฎีวิวัฒนาการมีครบนะครับ อย่าลิมเรื่องชีววิทยาโมเลกุลซะล่ะ ส่วนเรื่องม้ากับลาผสมพันธุ์ออกมาก็เป็นหมัน เสือกับสิงโตผสมพันธุ์ออกมาก็เป็นหมันนั้นตกลงคุณอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme ได้ยังล่ะครับ ถ้าอธิบายได้ก็น่าจะเข้าใจเรื่องนี้ 

ป.ล. ต้องถามก่อนว่าคุณนับถือศาสนาอะไร จะได้เจาะประเด็นถูก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 07:36
ตกลงอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme ได้ไหมครับ เอาแค่พื้นฐานก่อนเลย และผมก็บอกไปแล้วว่าสิ่งมีชีวิตในแต่ละชนิดหรือแค่กลุ่มประชากรก็ได้ จะมีอัตราวิวัฒนาการช้าเร็วต่างกัน และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างตลอด อย่างกรณีปลาซีลาคานธ์ หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตมันก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างแต่อย่างใด นอกจากปลาซีลาคานธ์ก็ยังมีสัตว์หลายชนิดที่คงรูปร่างไว้ไม่ต่างจากเมื่อก่อนมาก

และที่ว่าเป็นเพียงทฤษฎีนะ ทางวิทยาศาสตร์จะเป็นทฤษฎีได้ต้องพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงถึงแม้จะมีเงื่อนไขบางอย่าง อย่าลืมนะว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพมันก็เป็นเพียงทฤษฎีเหมือนกันนี่


จากปลาซีลาคานธ์ มันควรวิวัฒนาการต่อไปเป็นอะไรล่ะครับ..??

ผมคงไม่ได้มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ อย่างที่บอกแต่ต้นแล้วว่าไม่เชื่อ เพราะไม่พบหลักฐานเชื่อดยงที่สำคัญ และทำให้เชื่อได้

ส่วนเรื่องกลายพันธุ์ในสปีชีเดียวกัน นั้นเชื่อครับเพราะมีหลักฐาน จะเคลมว่าเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีวิวัฒนาการเพื่อการศึกษาคงจะได้

แต่จะยืนยันว่า สมมุติฐานที่สำคัญเช่น คนมาจากลิง หรือ ฟอลซิลหายไปจนไม่เหลือร่องรอบเชื่อมโยง ก็ว่าไป มันคิดกันไปได้เรื่อยๆแหละครับ

แต่ผมว่าอย่าเพิ่งเชื่อดีกว่า อย่าเชื่อเพียงเพราะหาคำอธิบายอื่นๆไม่ได้นะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 07:38
ทฤษฎีวิวัฒนาการ ประกอบไปด้วยลักษณะทั้ง 5 ของวิทยาศาสตร์ คือ

1. มีความเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ (naturalism) ทฤษฎีวิวัฒนาการใช้อธิบายความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุ
เป็นผลกัน ซึ่งต่างจาก creationism ซึ่งเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ความคิดเห็นทางวิทยา
ศาสตร์มาเกี่ยวข้องได้ ความเชื่อทางศาสนาส่วนใหญ่ถือเป็น supernaturalism ครับ

2. สามารถสังเกตเห็นได้ (empiricism) วิวัฒนาการไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ในอดีตแล้วจบไป
หากแต่เป็นสิ่งที่ยังเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน สามารถทดลองให้เห็นได้ในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
peppered moth ดังที่ผมได้อธิบายไว้แล้วในลิงก์นี้ครับ ส่วนความเชื่อในศาสนาส่วนใหญ่ถือเป็น Revelation ครับ ไม่ใช่ empiricism

3. ถูกพิสูจน์ให้ผิดได้ด้วยหลักฐาน (falsifiability) เช่น ถ้าเราพบหลักฐานฟอสซิลอยู่อย่างสะเปะ
สะปะในชั้นหิน (geological strata) อย่างกระดูกหมาหรือแมว อยู่ในชั้นหินยุค precambrian
แล้วล่ะก็ทฤษฎีวิวัฒนาการจะผิดแน่นอน แต่จากหลักฐานฟอสซิลต่างๆ ไม่มีหลัก
ฐานฟอสซิลแม้แต่ชิ้นเดียวที่อยู่ผิดที่ผิดทาง

4. ใช้ทำนายปรากฏการณ์ได้ (predictive power) ในความหมายนี้ไม่ได้หมายถึงการทำนายอนาคต
ครับ แต่หมายถึงใช้ทฤษฎีในการทำนายว่าควรจะพบเห็นอะไร อย่างกรณีของผีเสื้อกลางคืน
Xanthopan morgani praedicta ที่ดาร์วินทำนายไว้ก็เป็นข้อพิสูจน์ถึงความสามารถ
ในการทำนายของทฤษฎีวิวัฒนาการในแง่ natural selection ได้เป็นอย่างดี

5. มีความเปิดกว้างยอมรับหลักฐานใหม่อยู่เสมอๆ (open-mindedness) มีการปรับปรุงทฤษฏี
วิวัฒนาการให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยหลักฐานและข้อมูลใหม่ๆ คนที่สนับสนุนทฤษฏีวิวัฒนาการไม่
มีใครเห็นว่าทฤษฏีนี้ผิดพลาดไม่ได้หรอกครับ หากแต่ต้องพูดให้ถูกประเด็น ไม่ใช่บอกถูกเป็นผิด
หรือบิดเบือนหลักฐาน อย่างในหลายๆ กรณี ที่เห็นกันบ่อย จากกลุ่ม creationist ที่โจมตีทฤษฏี
วิวัฒนาการครับ ความเชื่อทางศาสนาจะตรงข้ามกันเลยครับเพราะถือเป็นข้อบังคับ เรื่องกำเนิดของ
สิ่งมีชีวิตก็เช่นกัน revelation กับ dogma เป็นสิ่งที่ควบคุมความคิดของกลุ่ม creationist แล้ว
เปรียบเหมือนเทน้ำลงในโถแก้ว น้ำย่อมมีรูปร่างตามโถแก้วนั้นเอง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: chaidan ที่ 08-08-2007, 07:43
เคยฟังพระเทศน์มาครับ แกว่าประมาณนี้ครับ

"วิวัฒนาการเกิดจากเจตนาและปราถนา ไม่มีเจตนาไม่มีปราถนาไม่มีวิวัฒนา"ั

ปล. ไม่รู้ว่าจะกวนบรรยากาศวิชาการ หรือเปล่านะครับ :mozilla_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 07:46
สังเกต ทดลอง พิสูจน์ อธิบาย และทำนาย ทฤษฎีวิวัฒนาการมีครบนะครับ อย่าลิมเรื่องชีววิทยาโมเลกุลซะล่ะ ส่วนเรื่องม้ากับลาผสมพันธุ์ออกมาก็เป็นหมัน เสือกับสิงโตผสมพันธุ์ออกมาก็เป็นหมันนั้นตกลงคุณอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme ได้ยังล่ะครับ ถ้าอธิบายได้ก็น่าจะเข้าใจเรื่องนี้ 

ป.ล. ต้องถามก่อนว่าคุณนับถือศาสนาอะไร จะได้เจาะประเด็นถูก


ผมเข้าใจว่าเป็นการเบี่ยงเข้าประเด็นศาสนามากกว่าครับ

คุณลองอธิบายเชื่อมโยงตรงๆดูสิครับ เข้าใจไม่เข้าใจผมจะบอกเองครับ เอาจากสัตว์ชั้นสูงหน่อยก็ได้

พวกเชื้อโรคที่ต้องส่องกล้อง ผมว่ามันคงนานมากเกินไป..กว่าจะกลายมาเป็นสัตว์อย่าลิงนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 07:46

จากปลาซีลาคานธ์ มันควรวิวัฒนาการต่อไปเป็นอะไรล่ะครับ..??

ผมคงไม่ได้มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ อย่างที่บอกแต่ต้นแล้วว่าไม่เชื่อ เพราะไม่พบหลักฐานเชื่อดยงที่สำคัญ และทำให้เชื่อได้

ส่วนเรื่องกลายพันธุ์ในสปีชีเดียวกัน นั้นเชื่อครับเพราะมีหลักฐาน จะเคลมว่าเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีวิวัฒนาการเพื่อการศึกษาคงจะได้

แต่จะยืนยันว่า สมมุติฐานที่สำคัญเช่น คนมาจากลิง หรือ ฟอลซิลหายไปจนไม่เหลือร่องรอบเชื่อมโยง ก็ว่าไป มันคิดกันไปได้เรื่อยๆแหละครับ

แต่ผมว่าอย่าเพิ่งเชื่อดีกว่า อย่าเชื่อเพียงเพราะหาคำอธิบายอื่นๆไม่ได้นะครับ
แล้ว niche ปลาซีลาคานธ์คงเดิมหรือเปลี่ยนไปอย่างไรล่ะครับ อันนี้สัมพันธ์กับการเกิด species, subspecies, race, cline, deme ฯลฯ ด้วยนะครับ และเรื่องฟอสซิลถึงไม่มีฟอสซิลที่เป็นรอยต่อ แต่ยังมีเรื่องชีววิทยาโมเลกุลนะครับ 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 07:49
ผมเข้าใจว่าเป็นการเบี่ยงเข้าประเด็นศาสนามากกว่าครับ

คุณลองอธิบายเชื่อมโยงตรงๆดูสิครับ เข้าใจไม่เข้าใจผมจะบอกเองครับ เอาจากสัตว์ชั้นสูงหน่อยก็ได้

พวกเชื้อโรคที่ต้องส่องกล้อง ผมว่ามันคงนานมากเกินไป..กว่าจะกลายมาเป็นสัตว์อย่าลิงนะครับ
เอาแค่มนุษย์เลยละกันครับ มีหลักฐานอะไรบอกว่ามนุษย์ทุกคนมีจุดกำเนิดเดียวกัน ความผันแปรในแต่เผ่าพันธุ์กิดขึ้นได้อย่างไร


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 07:56
แปะให้อ่านเฉยๆครับ

ผมตั้งใจค้นหาหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้มากกว่าครับ. :slime_smile:

Anti-evolution revolution   http://www.worldnetdaily.com/news/article.asp?ARTICLE_ID=48536
Posted: January 28, 2006
1:00 a.m. Eastern

Darwinian evolution – the theory that is touted as enlightened truth by education and media elites – is not recognized as fact by many individuals.

In fact, a new survey from the United Kingdom has found that a majority of Brits do not believe in evolution. The BBC survey of 2,000 people in a program titled "Horizon: A War on Science" showed that "more than half the British population does not accept the theory of evolution."

Further, participants largely favored the teaching of either creationism or intelligent design in schools, along with evolution


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 08:01

เอาแค่มนุษย์เลยละกันครับ มีหลักฐานอะไรบอกว่ามนุษย์ทุกคนมีจุดกำเนิดเดียวกัน ความผันแปรในแต่เผ่าพันธุ์กิดขึ้นได้อย่างไร

ผมว่าเป็นเพราะดีเอนเอของชายและหญิงจับคู่กันครับ

มันไม่มีใครมีดีเอ็นเอหมือนกันทุกประการใช่หรือไม่?

ดีเอ็นเอในไมโตคอนเดรียของหญิง จะถ่ายทอดกันเป็นสายตรง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 08:06


ที่เริ่มศึกษาจากมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและหาหลักฐานได้ง่ายที่สุด เชื่อมโยงได้ดีที่สุด

แต่ทว่าน่าเสียดาย มนุษย์เพิ่งมีอักษรใช้ไม่กี่พันปีมานี้เอง

ก็คงต้องหาจากฟอสซิลต่อไป..ปัญหาคือดีเอ็นเอ ไม่เหลือให้เห็นแล้ว

ก็คงต้องไปหาจากมนุษย์น้ำแข็ง ??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 08:10

เอาแค่มนุษย์เลยละกันครับ มีหลักฐานอะไรบอกว่ามนุษย์ทุกคนมีจุดกำเนิดเดียวกัน ความผันแปรในแต่เผ่าพันธุ์กิดขึ้นได้อย่างไร

ผมว่าเป็นเพราะดีเอนเอของชายและหญิงจับคู่กันครับ

มันไม่มีใครมีดีเอ็นเอหมือนกันทุกประการใช่หรือไม่?

ดีเอ็นเอในไมโตคอนเดรียของหญิง จะถ่ายทอดกันเป็นสายตรง

เผ่าพันธุ์มนุษย์ ต้นกำเนิดที่สืบและค้นคว้าได้ตามหลักวิทยาศาสตร์

(http://www.vcharkarn.com/vbiology/pictures/A297p4x2.jpg)


จนกลายเป็นที่มาของคำว่า “ไมโตคอนเดรียล อีฟ (Mitochondrial Eve)” ในที่สุด!

กล่าวสรุปง่ายๆ แบบภาษาชาวบ้านก็ต้องว่า คุณแม่ของมนุษย์ทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ (ไม่ว่าจะเป็นคนผิวขาว ผิวดำ หรือผิวเหลืองก็ตาม) เป็นหญิงสาวแอฟริกานางหนึ่ง (ซึ่งน่าจะเป็นคนผิวดำ) !!!
กล่าวได้ว่า เป็นอีกครั้งนะครับที่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทำให้เห็น “ความเป็นตัวตน” ของคนเราได้อย่างชัดเจนยิ่ง วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราทราบถึงต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์เราเอง (แม้ว่าหลายคนไม่อาจยอมรับความจริงเรื่องนี้ได้ก็ตาม!) น่าเสียดายที่ยังไม่มีใครคิดหาวิธีที่จะระบุมนุษย์ชายคนแรกหรือ “อดัม (Adam)” ตามพระคัมภีร์ไบเบิลได้จากดีเอ็นเอแบบเดียวกับที่ทำได้ในกรณีของไมโตคอนเดรียลอีฟ หากมีใครคิดหาวิธีได้ คงจะต้องลุ้นกันน่าดูนะครับว่า จะได้ผลที่สอดคล้องกันกับผลของไมโตคอนเดรียลอีฟหรือไม่และอย่างไร7

แต่เรื่องราวเกี่ยวกับกำเนิดของมนุษย์ไม่ได้จบลงแต่เพียงแค่นั้นนะครับ

หากพิจารณาเฉพาะในกลุ่มชาวยุโรป เมื่อใช้วิธีการตรวจสอบดีเอ็นเอจากไมโตคอนเดรียในแบบนี้ ก็ได้ผลการทดลองที่น่าสนใจมาก กล่าวคือ คนยุโรปทั้งหลายทั้งปวงที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีกำเนิดมาจากผู้หญิงเพียง 7 คนเท่านั้น หนึ่งในนักวิจัยเรื่องดังกล่าวคือ ดร. ไบรอัน ไซคีส (Bryan Sykes) ถึงกับเขียนหนังสือชื่อ “ลูกสาวทั้งเจ็ดของอีฟ (The Seven Daughters of Eve)” 8(ดังภาพปกใน [รูป 4]) อธิบายรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวนี้ไว้อย่างน่าสนใจ

..................................

ตัดตอนจาก หน้าที่ 4 - ดีเอ็นเอกับกำเนิดและกำพืดมนุษย์

ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์
หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BioTec)
วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com)

http://student.sc.su.ac.th/myBoard/posting.php?mode=topicreview&t=775&sid=4dffe4e4f7189795bf9cdf09861e519e


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 08:11

ผมว่าเป็นเพราะดีเอนเอของชายและหญิงจับคู่กันครับ

มันไม่มีใครมีดีเอ็นเอหมือนกันทุกประการใช่หรือไม่?
แล้วชายหญิงคู่แรกมาจากไหนล่ะครับ ไหน ๆ ก็เข้าเรื่องนี้แล้วพ่วงด้วยทำไมถึงไม่พบซากฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก่อนยุต Permian ทำไมถึงไม่พบซากฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานก่อนยุค Silurian


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 08:13

ดีเอ็นเอในไมโตคอนเดรียของหญิง จะถ่ายทอดกันเป็นสายตรง
เชื่อวิธีนี้ได้หรือ ในเมื่อเขาใช้วิธีเดียวกันนี้ตรวจสอบในสัตว์อื่นด้วย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 08:15

ที่เริ่มศึกษาจากมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและหาหลักฐานได้ง่ายที่สุด เชื่อมโยงได้ดีที่สุด

แต่ทว่าน่าเสียดาย มนุษย์เพิ่งมีอักษรใช้ไม่กี่พันปีมานี้เอง

ก็คงต้องหาจากฟอสซิลต่อไป..ปัญหาคือดีเอ็นเอ ไม่เหลือให้เห็นแล้ว

ก็คงต้องไปหาจากมนุษย์น้ำแข็ง ??
เรื่องตรวจสอบทางชีววิทยาโมเลกุลนะ ล่าสุดมันยังตรวจกระดูก T-rex ได้เลย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 08:21


เรื่องตรวจสอบทางชีววิทยาโมเลกุลนะ ล่าสุดมันยังตรวจกระดูก T-rex ได้เลย

นีผมรอแค่ตัดต่อพันธุกรรมให้ไดสปีชีใหม่้ครับ ตรงนี้ถ้าทำไม่ได้คงอธิบายการวิวัฒนาการข้ามสายพันธุ์ไม่ได้

เพราะผสมพันธุ์ปกติออกมาก็เป็นหมัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 08:25

http://www.talkorigins.org/origins/faqs-qa.html

I thought evolution was just a theory. Why do you call it a fact?


Answer    Biological evolution is a change in the genetic characteristics of a population over time. That this happens is a fact. Biological evolution also refers to the common descent of living organisms from shared ancestors. The evidence for historical evolution -- genetic, fossil, anatomical, etc. -- is so overwhelming that it is also considered a fact. The theory of evolution describes the mechanisms that cause evolution. So evolution is both a fact and a theory. See the Evolution is a Fact and a Theory FAQ, the Introduction to Evolutionary Biology FAQ and the Five Major Misconceptions about Evolution FAQ: Evolution is Only a theory.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 08:27

นีผมรอแค่ตัดต่อพันธุกรรมให้ไดสปีชีใหม่้ครับ ตรงนี้ถ้าทำไม่ได้คงอธิบายการวิวัฒนาการข้ามสายพันธุ์ไม่ได้

เพราะผสมพันธุ์ปกติออกมาก็เป็นหมัน
การเกิดสปีซีส์ใหม่นะเอาทดลองได้ตั้งนานแล้วครับ และเรื่องการผสมพันธุ์ข้ามสปีซีส์แล้วเป็นลูกหมันนะไม่ได้เป็นแบบนี้เสมอไปครับ บางสปีซีส์ผสมแล้วได้ลูกที่ไม่เป็นหมันด้วย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 08:29
http://www.talkorigins.org/origins/faqs-qa.html

I thought evolution was just a theory. Why do you call it a fact?


Answer    Biological evolution is a change in the genetic characteristics of a population over time. That this happens is a fact. Biological evolution also refers to the common descent of living organisms from shared ancestors. The evidence for historical evolution -- genetic, fossil, anatomical, etc. -- is so overwhelming that it is also considered a fact. The theory of evolution describes the mechanisms that cause evolution. So evolution is both a fact and a theory. See the Evolution is a Fact and a Theory FAQ, the Introduction to Evolutionary Biology FAQ and the Five Major Misconceptions about Evolution FAQ: Evolution is Only a theory.
แบบนี้มันก็ไม่ได้เป็นแค่เพียง theory นะสิเป็น Fact อีก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 08:35
แบบนี้มันก็ไม่ได้เป็นแค่เพียง theory นะสิเป็น Fact อีก

(One should also note that the theory of evolution doesn't depend on how the first life began. The truth or falsity of any theory of abiogenesis wouldn't affect evolution in the least.) :slime_smile:

"Evolution is only a theory; it hasn't been proved."  http://www.talkorigins.org/faqs/faq-misconceptions.html#proof

First, we should clarify what "evolution" means. Like so many other words, it has more than one meaning. Its strict biological definition is "a change in allele frequencies over time." By that definition, evolution is an indisputable fact. Most people seem to associate the word "evolution" mainly with common descent, the theory that all life arose from one common ancestor. Many people believe that there is enough evidence to call this a fact, too. However, common descent is still not the theory of evolution, but just a fraction of it (and a part of several quite different theories as well). The theory of evolution not only says that life evolved, it also includes mechanisms, like mutations, natural selection, and genetic drift, which go a long way towards explaining how life evolved.

Calling the theory of evolution "only a theory" is, strictly speaking, true, but the idea it tries to convey is completely wrong. The argument rests on a confusion between what "theory" means in informal usage and in a scientific context. A theory, in the scientific sense, is "a coherent group of general propositions used as principles of explanation for a class of phenomena" [Random House American College Dictionary]. The term does not imply tentativeness or lack of certainty. Generally speaking, scientific theories differ from scientific laws only in that laws can be expressed more tersely. Being a theory implies self-consistency, agreement with observations, and usefulness. (Creationism fails to be a theory mainly because of the last point; it makes few or no specific claims about what we would expect to find, so it can't be used for anything. When it does make falsifiable predictions, they prove to be false.)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 08:36
การเกิดสปีซีส์ใหม่นะเอาทดลองได้ตั้งนานแล้วครับ และเรื่องการผสมพันธุ์ข้ามสปีซีส์แล้วเป็นลูกหมันนะไม่ได้เป็นแบบนี้เสมอไปครับ บางสปีซีส์ผสมแล้วได้ลูกที่ไม่เป็นหมันด้วย

ลองยกตัวอย่างสัตว์ชั้นสูงหน่อยสิครับ...


อย่างน้อยก็พออธิบายได้ว่าลิงกับคนเชื่อมโยงกันด้วยอะไร ? การกลายพันธุ์ของไวรัส..?

หรือสภาพแวดล้อมแบบไหนทำให้มีการก้าวกระโดด หรืือเปลี่ยนช้าๆแต่หาฟอสซิลรอยเชื่อมไม่ได้..เลย

สำหรับปลาที่คิดว่าสูญพันะธู์ ในอนาคตเราอาจพบชนิดอื่นๆอีกนะครับ??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 08-08-2007, 08:53
ลองยกตัวอย่างสัตว์ชั้นสูงหน่อยสิครับ...


อย่างน้อยก็พออธิบายได้ว่าลิงกับคนเชื่อมโยงกันด้วยอะไร ? การกลายพันธุ์ของไวรัส..?

หรือสภาพแวดล้อมแบบไหนทำให้มีการก้าวกระโดด หรืือเปลี่ยนช้าๆแต่หาฟอสซิลรอยเชื่อมไม่ได้..เลย

สำหรับปลาที่คิดว่าสูญพันะธู์ ในอนาคตเราอาจพบชนิดอื่นๆอีกนะครับ??
ยกตัวอย่างเรื่องอะไรครับ การเกิดลูกผสม หรือ การเกิดสปีซีส์ใหม่ แล้วตกลงแล้วชายหญิงคู่แรกมาจากไหนล่ะครับขอเป็นวิทยาศาสตร์ด้วยนะครับ และการใช้ mtDNA ตรวจสอบว่ามนุษย์ทุกคนมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน จะเชื่อวิธีนี้ได้อย่างไร ในเมื่อเขาใช้วิธีเดียวกันนี้ตรวจสอบในสัตว์อื่นด้วย อย่างในมนุษย์กับลิง ใช้วิธีเดียวกับที่ทำในมนุษย์ก็ให้ผลว่ามนุษย์กับลิงมีบรรพบุรุษร่วมกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Bo. ที่ 08-08-2007, 08:55
เอ่อ
ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary theory)
เป็นทฤษฎีที่ยอมรับในปัจจุบัน
เพราะมันสามารถอธิบายอะไร ๆ ได้กว้างขวาง
ใครบอกว่า ถูกล้มล้าง หรือ ไม่ยอมรับ

ในอเมริกา มีความพยายามที่จะสอนเรื่องนี้
ให้นักเรียนทุกระดับ
คือ การโต้เถียงกันไปก็เปล่าประโยชน์
มันจะไปเหมือนกับ กรณี Global Warming
คือ ฝ่ายไม่เชื่อมีหลักฐานเพียบ แต่หาสาระไม่ได้เลย
เพราะไม่ได้มาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
และมุ่งโจมตีทางเทคนิค

ส่วนเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการก็ไม่ต่างกัน
แต่ถ้าเปิดใจศึกษาอย่างเป็นกลาง
จะพบว่าหลักฐานมีเพียบ
ตัวเองโชคดีมากที่มีโอกาสติดสอยห้อยตามอาจารย์
ไปทำวิจัยหลาย ๆ ที่
แม้แต่ในโรงเรียน แคธอลิค ก็ยังให้สอนเรื่องนี้
เอาเป็นว่า อย่าเอาเนื้อความตัดแปะจากเวบเลยค่ะ
ถ้าสนใจจะอ่านงานวิจัยจริง ๆ เข้าไปใน พวก Science Direct หรือ Journal วิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้
เพราะส่วนตัวจะไม่ชอบ Secondary source



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 09:11
เอ่อ
ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary theory)
เป็นทฤษฎีที่ยอมรับในปัจจุบัน
เพราะมันสามารถอธิบายอะไร ๆ ได้กว้างขวาง
ใครบอกว่า ถูกล้มล้าง หรือ ไม่ยอมรับ

ในอเมริกา มีความพยายามที่จะสอนเรื่องนี้
ให้นักเรียนทุกระดับ
คือ การโต้เถียงกันไปก็เปล่าประโยชน์
มันจะไปเหมือนกับ กรณี Global Warming
คือ ฝ่ายไม่เชื่อมีหลักฐานเพียบ แต่หาสาระไม่ได้เลย
เพราะไม่ได้มาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
และมุ่งโจมตีทางเทคนิค

ส่วนเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการก็ไม่ต่างกัน
แต่ถ้าเปิดใจศึกษาอย่างเป็นกลาง
จะพบว่าหลักฐานมีเพียบ
ตัวเองโชคดีมากที่มีโอกาสติดสอยห้อยตามอาจารย์
ไปทำวิจัยหลาย ๆ ที่
แม้แต่ในโรงเรียน แคธอลิค ก็ยังให้สอนเรื่องนี้
เอาเป็นว่า อย่าเอาเนื้อความตัดแปะจากเวบเลยค่ะ
ถ้าสนใจจะอ่านงานวิจัยจริง ๆ เข้าไปใน พวก Science Direct หรือ Journal วิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้
เพราะส่วนตัวจะไม่ชอบ Secondary source




ก็มีเยอะแยะครับ ส่วนที่เชื่อคงจะเป็นเรื่องการศึกษาที่เชื่อถือได้มากกว่า มันก็ออกแนวกว้างอย่างที่บอกไปแล้ว

อย่าบอกว่าคนมาจากลิงโดยไม่มีหลักฐานเลยครับ..เห็นมีกระดูกอยู่นิดหน่อยเอง 

ที่ไม่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการแบบ แฟนตาซี หลักฐานก็ชัดอยูุ่่แล้ว

หางานวิจัยที่เชื่อมโยงลิงกับคนมาได้เลยครับ...


อ้างอิงหน่อยก็ดี.. :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 09:18
Description:   http://www.shop.oxfordancestors.com/view_product.php?product=BM0030

Signed hard back copy of Professor Sykes' best selling book.

The Science that Reveals our Genetic Ancestry. This book written by Prof. Sykes takes the reader on a path of scientific discovery about our genetic past. In this book he gives a first hand account of his research into mitochondrial DNA, which passes from generation to generation through the maternal line, allowing us to track our genetic ancestry through time and space. Prof. Sykes has found that almost all Europeans can trace their ancestry back to one of seven women, whom he named “The Seven Daughters of Eve”. In this book we learn where our ancient genetic ancestors lived and what their lives were like. “The Seven Daughters of Eve” does not only re-examine how we have evolved, but also gives us a new sense of individuality and identity.

What will you receive?
A hardback copy of the book personally signed by Prof. Sykes.
P&P will be added

Price: £10.99


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 08-08-2007, 09:38

 :slime_o:

(http://www4.pantown.com/data/2888/board9/21-20060414010104.jpg)

 :slime_fighto: ข้าง บ้านลูกหิน.. เขาก้อเลี๊ยง เหมือนกันฮะ ตัวคล๊ายๆ ในรูปข้างบนเลย

 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 08-08-2007, 09:46
ก๊ากจริงๆอย่างท่านว่านั่นแหล่ะ....รูปขวามือที่บอกว่า 'ไดโนเสาร์จำลอง' หง่ะ  กร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกอย่างแรงงงงง :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 10:09



mtDNA (Mitochondria) Tests  http://www.geocities.com/teamliddelldna/mtdnaresults.htm

Interpretation

 --18 May 05--

By James W. Liddell, with the Assistance of

the Staff of FamilyTreeDNA.Com


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 10:15


Is evolution in decline?  http://www.geocities.com/lclane2/evolcitation.html

    Billl Dembski predicts that within a decade evolution will no longer be accepted.

    History of the " imminent demise of evolution"

    According to Science Citation Index (online) the number of articles using the keyword "evolution" was:

                2006 - 33,573
                2005 - 33,263
                2004 - 28,818
                2003 - 27,998
                2002 - 24,717
                2001 - 22,310
                2000 - 22,223
                1999 - 21,651
                1998 - 19,727
                1997 - 18,414
                1996 - 17,177
                1995 - 15,554
                1994 - 14,539
                1993 - 13,086
                1992 - 12,547
                1991 - 11,362

    1991 was the first full year that SCI was online.

    This translates into an annual average increase in "evolution" citations of 7% per year


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 08-08-2007, 10:37
 :slime_worship:


 

ถ้าจะเอาตัวอย่างง่ายๆ เห็นผลทันตา

ลองดู สุนัข หรือ หมาน้อยธรรมดา บ้านเรานี่แหละครับ

การกำเนิดสายพันธุ์ใหม่ๆ มีขึ้นได้แทบทุกวัน

สามารถคัดเลือกตามกฎเมนเดลได้แล้วมังป่านนี้ (คือมีการชี้จุดยีนเด่นด้อยได้แล้ว)

จะเอาสีไหน สติปัญญาแบบไหน ตัวเล็กใหญ่ขนาดไหน ขนยาวสั้น

สามารถเลือกมาผสมกันได้แล้ว

------------------------------


                  ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในระดับ Macro evolution ตามนิยามที่ว่า มีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่เหนือกว่าสปีชีย์

                  สุนัขป่า อยู่ใน Genus Canis ร่วมกับสุนับบ้านแทบทุกสายพันธุ์ที่เราเลี้ยงกัน ก็เพราะพวกนี้ถูกมนุษย์เอามาเพราะตั้งแต่ราวๆ 15000 ปีก่อนครับผม จึงแยกซับสปีชีย์มาจากสุนัขป่า

                  แต่ใช่ว่าสุนัขทุกชนิด จะเป็น Genus Canis เสมอไป
                  หมาจิ้งจอก กลับอยู่ใน Genus Vulpes

                  หรือแม้แต่พวกที่อยู่ใกล้พวก จีนัส Canis มากๆก็อยู่คนละ Genus ก็มีเช่น ตัวบุชด็อกที่พบในอเมริกาใต้ อยู่ในจีนัส Speothos จิ้งจอกหิมาลัยอยู่ในจีนัส Cuon

                  อย่างไรก็ดี ทุกๆตัวจัดอยู่ใน family Canidae ทั้งสิ้น เพราะมีบรรพบุรุษร่วมกันมาก่อน

------------------------------------------------------------------------------
ความแตกต่างของ mitrocondria DNA ของหมาป่าสีเทา กับหมาป่าโคโยตี้ ซึ่งอยู่ใน จีนัส Canis เช่นกัน แต่คนละ Sub genus ความแตกต่างของ DNA ของมันคือ 4% ครับ
                  ถ้าหลักฐานนี้เป็นจริง ก็คงจะคาดได้ไม่ยากว่า ขนาดพวก Genus เดียวกัน ยังห่างกันได้ 4%

                  พวกคนละ Genus อย่างสุนัขบ้านกับหมาจิ้งจอก อาจจะมากกว่า 4% ก็เป็นได้ครับ

                  ดังลิงค์ต่อไปนี้
                  http://www.accessexcellence.org/AE/AEPC/WWC/1995/canidae.html
                  และ
                  http://www.idir.net/~wolf2dog/wayne2.htm

-----------------------------------------------------------------------------

                อันนี้เป็นบทความในปี 2003 ครับ เขาอ้างว่า ชิมแปนซีมี DNA ใกล้เคียงคน 99.4%

                  http://news.nationalgeographic.com/news/2003/05/0520_030520_chimpanzees.html

                  ส่วนอันนี้เป็นบทความ การตรวจสอบทางด้าน DNA เขาอ้างว่า คนกับชิมแปนซีแยกทางเดินกันเมื่อ 6-5 ล้านปีก่อน
                  http://www.sciencenews.org/articles/20060520/fob4.asp

            แต่ก็มีการแยกแบบจัดกลุ่ม DNA ตามแบบหน้าที่ต่างๆ บอกว่าได้ความแตกต่างถึง 6%


แต่พิจารณาดูนะครับ ต่าง 4% ยังอยู่ใน genus เดียวกันเลย

กับต่างกัน 6%  ระหว่างคนกับซิมแปนซี จึงอยู่ใน family เดียวกันจึงไม่แปลก


------------------------------------------------------
 และปัจจุบันนี้ลูกต่างสปีชี่ที่เป็นหมันก็ไม่เสมอไปเช่นกันคับ

มีข่าวมาไม่กี่เดือนนี้เอง เรื่องม้ากับม้าลาย ที่เคยเป็นหมันกลับมีแบบไม่เป็นหมันขึ้นมาแล้วครับ

ซึ่งเป็นคนละ genus กันด้วย !!!

http://translate.google.com/translate?u=http://www.safaripark-stukenbrock.de/htm/2007/zebrapferd.htm&langpair=de%7Cen&hl=en&ie=UTF-8&

-------------------------------------------------------

ผมคงไม่กล้าทดลองว่าคนกะลิงจะมีลูกหรือ ลูกเป็นหมันหรือไม่

ซึ่งถ้าลองคงต้องลองหลายตัวอย่างครับ เพราะ ก่อนหน้านี้ ยึดตลอดว่าข้าม สปีชี่ต้องเป็นหมัน

แต่ว่าปัจจุบัน ก็มีบางตัวอย่างออกมาไม่เป็นหมันได้ครับ
------------------------------------------------------



ส่วนเรื่องฟอสซิล คิดง่ายๆครับ

คุณเคยเจอฟอสซิลหมา  , แมว

หรือ สำคัญสุดคือ ฟอสซิลมนุษย์ หรือไม่ครับ





หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 10:45

ลิงค์ตายครับ...


อ้างถึง
และปัจจุบันนี้ลูกต่างสปีชี่ที่เป็นหมันก็ไม่เสมอไปเช่นกันคับ

มีข่าวมาไม่กี่เดือนนี้เอง เรื่องม้ากับม้าลาย ที่เคยเป็นหมันกลับมีแบบไม่เป็นหมันขึ้นมาแล้วครับ

ซึ่งเป็นคนละ genus กันด้วย !!!

http://translate.google.com/translate?u=http://www.safaripark-stukenbrock.de/htm/2007/zebrapferd.htm&langpair=de%7Cen&hl=en&ie=UTF-8&


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-08-2007, 10:57
อ่านความเห็นคุณ Q แล้วไม่แน่ใจว่าผมจับใจความถูกหรือเปล่า..

เหมือนคุณ Q จะบอกว่าไม่มีการวิวัฒนาการข้ามสายพันธุ์ ซึ่งผมก็งงว่า
ถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆ โลกเราก็คงไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเลย
และพวก Index Fossil ต่างๆ อย่าง ตัวไตรโลไบต์ หอยแอมโมไนต์
หรือ ฟูซูลินิด ก็คงใช้ระบุอายุหินตะกอนไม่ได้  และมนุษย์เราก็ต้องมี
รูปร่างหน้าตาแบบนี้มาตั้งแต่เริ่มมีสิ่งมีชิวิตบนโลก และเคยวิ่งเล่นกับ
พวกไดโนเสาร์ ผมว่ามันออกจะแปลกๆ นะครับ

หรือว่าผมเข้าใจความเห็นของคุณ Q ผิดไป ถ้าหากตอนนี้เขาไม่ใช้
ทฤษฎีวิวัฒนาการ แล้วเขาใช้ทฤษฎีอะไรกันอยู่ล่ะครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 10:58
อ้างถึง
ส่วนเรื่องฟอสซิล คิดง่ายๆครับ

คุณเคยเจอฟอสซิลหมา  , แมว

หรือ สำคัญสุดคือ ฟอสซิลมนุษย์ หรือไม่ครับ



คงต้องไปหาในน้ำแข็งมังครับ  แบบเดียวกับที่ผมแสดงเหตุผลแย้งไปแล้วว่า

เพิ่งมีตัวหนังสือไม่กี่พันปีครับ มนุษย์เพิ่งจะฉลาดคิดตัวหนังสือได้กระทันหัน

หรือไม่ก็คงเพิ่งผ่าเหล่ามาไม่นาน  ทั้งที่ค้นหาบรรพบุรษย้อนหลังไปจะง่ายกว่า หากอยากจะพิสูจน์ความเชื่อมโยงกับลิงจริงๆ

ไม่ก็หาวิธีตัดต่อพันธุกรรมหรือผสมพันุ์์ลิงให้กลายมาเหมือนคนมากทึ่สุดก็ได้เหมือนกัน





หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-08-2007, 10:59
ลิงค์ตายครับ...




ลองดูอีกทีครับผมยังเปิดเข้าไปดูได้เลย ข้างในมีรูปประกอบลูกผสมม้ากับม้าลายด้วย

(http://www.safaripark-stukenbrock.de/images/2007/zebra_pferd_037.JPG)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 11:07

ลองดูอีกทีครับผมยังเปิดเข้าไปดูได้เลย ข้างในมีรูปประกอบลูกผสมม้ากับม้าลายด้วย

(http://www.safaripark-stukenbrock.de/images/2007/zebra_pferd_037.JPG)

เข้าอันนี้ได้ครับ..


http://www.safaripark-stukenbrock.de/


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 08-08-2007, 11:13

คงต้องไปหาในน้ำแข็งมังครับ  แบบเดียวกับที่ผมแสดงเหตุผลแย้งไปแล้วว่า

เพิ่งมีตัวหนังสือไม่กี่พันปีครับ มนุษย์เพิ่งจะฉลาดคิดตัวหนังสือได้กระทันหัน

หรือไม่ก็คงเพิ่งผ่าเหล่ามาไม่นาน  ทั้งที่ค้นหาบรรพบุรษย้อนหลังไปจะง่ายกว่า หากอยากจะพิสูจน์ความเชื่อมโยงกับลิงจริงๆ

ไม่ก็หาวิธีตัดต่อพันธุกรรมหรือผสมพันุ์์ลิงให้กลายมาเหมือนคนมากทึ่สุดก็ได้เหมือนกัน


ครับ อันนี้ผมต้องการสื่อเรื่องพวกที่ถามหาฟอสซิลรอยต่อ หนะครับ

ว่าต้องไปพิจารณา ด้านโอกาสการเกิดฟอสซิลบ้าง

ว่าไม่ใช่ว่าทุกสิ่งจะได้เกิดกันเสมอไป หรือ จะเจอกันง่ายๆ

และลองกลับไปค้นหาดูว่ามีฟอสซิลใดบ้างที่ล้มทฤษฎีวิวัฒนาการได้


แค่โครงกระดูกคน กลางก้นกบ ยังมีกระดูกหางที่หดลงมาอยู่เลย

ครีบปลาวาฬ ก็ยังเป็นข้อพับและระยางเหมือนแขน ขาสัตว์ย่อลงมา

ถ้าถามว่ามันมีไว้ทำไม คำตอบเดียวตอนนี้คือ ในอดีต หรือ บรรพบุรุษ มันเคยมี

แต่ก็หดหายไปหมดแล้วในภายนอก แต่ กระดูกหายไปทั้งกลุ่มชิ้นนี่ ต้องใช้เวลายาวนานครับ

จึงเปลี่ยนแปลงเฉพาะภายนอก และส่วนกระดูกจึงแค่หดเล็กลง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 11:15
อ่านความเห็นคุณ Q แล้วไม่แน่ใจว่าผมจับใจความถูกหรือเปล่า..

เหมือนคุณ Q จะบอกว่าไม่มีการวิวัฒนาการข้ามสายพันธุ์ ซึ่งผมก็งงว่า
ถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆ โลกเราก็คงไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเลย
และพวก Index Fossil ต่างๆ อย่าง ตัวไตรโลไบต์ หอยแอมโมไนต์
หรือ ฟูซูลินิด ก็คงใช้ระบุอายุหินตะกอนไม่ได้  และมนุษย์เราก็ต้องมี
รูปร่างหน้าตาแบบนี้มาตั้งแต่เริ่มมีสิ่งมีชิวิตบนโลก และเคยวิ่งเล่นกับ
พวกไดโนเสาร์ ผมว่ามันออกจะแปลกๆ นะครับ

หรือว่าผมเข้าใจความเห็นของคุณ Q ผิดไป ถ้าหากตอนนี้เขาไม่ใช้
ทฤษฎีวิวัฒนาการ แล้วเขาใช้ทฤษฎีอะไรกันอยู่ล่ะครับ?


ผมเห็นแต่การผสมพันธุ์ที่ได้ลูกออกมาเป็นหมัน 


ส่วนเรื่องการแบ่งสัตว์ออกมาอย่างละเีอียดกระโดดข้ามมาเลย ว่าวิวัฒนาการจากลิงมาเป็นคน


หรือจากลากลายเป็นม้าผมไม่เชื่อครับ.. เพราะไม่มีหลักฐาน


หากจะเชื่อมโยงแบบลิงหน้าเหมือนคน คนมีกระดูกเหมือนไดโนเสาร์คงไม่เรียกว่าเชื่อมโยง


และเคลมว่าเป็นวิวัฒนาการไม่ได้ เพราะมันไม่เชื่อมโยง เป็นเพียงการกลายพันธุ์ปกติ


ที่ผมบอกไปแล้วว่าไม่มีมนุษย์คู่ใดที่มีดีเอ็นเอเหมือนกัน ถือว่าเป็นวิวัฒนาการหรือครับ?




หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 11:15
หนูว่าอย่าเพิ่งสับสนกันเลยค่ะ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจคำว่า พื้นฐานที่ว่าด้วย สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันนั้น มันหมายถึงอะไรก่อน

หลายปีมานานแล้วเขาเคยบอก ถ้าสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวผสมพันธ์กัน ลูกออกมาจะไม่เป็นหมั้น คือตัวลูกนั้นสามารถที่จะดำรงเผ่าพันธ์ได้ อย่างเช่นมากับลาไงค่ะ

ที่นี่ทฤษฏีนี้ มันใช้ได้เฉพาะสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างมาก พวกสัตว์ชั้นสูงทั้งหลายนะค่ะ แต่พวกสัตว์ชั้นต่ำมีมีโครงส้รางแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนนั้น หลักการของเรื่อง อนุกรมวิธาน ยังสับสนอยุ่มาก เพราะ เด๋วเปลี่ยนชื่อ ชนิดของสิ่งมีชีวิตจนมั่วไปหมด โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่มีการแพร่กระจายไปทั่วโลกค่ะ

เอาล่ะ มาเรื่องของวิวัฒนาการ ว่าทำไมถึงยังมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่ๆเรื่อยๆๆ ในขณะที่ บางชนิดก็เกือบจะสูญพันธ์ไป เอาง่ายๆ สัตว์ พืช ของประเทศไทยเราหลายชนิดก็เปลี่ยนไป หนูอนาคงไม่กล่าวลึกนะค่ะ เด๋วทุกคนจะมึนไปก่อน

มันเกิดจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปค่ะ แล้วแต่มุมมองนะค่ะ แต่สำหรับอนาเชื่อว่ามีสาเหตุจากอันนี้มากที่สุด  เพราะคุณเข้าใจก่อนว่า สิ่งมีชีวติชนิดใหม่ๆที่เกิดขึ้นนะ เขาใช้หลักการอะไรว่ามันเป็นชนิดใหม่ นี่ล่ะค่ะ เรื่องของ วิวัฒนาการจะได้ใช้ในตอนนี้มากสุด ถ้าเราไม่รู้ว่า ชนิดใหม่นี่ มันใกล้เคียงกับกลุ่มไหน เราก็ให้ชื่อมันไมได้ บอกไม่ว่าว่าทันคืออะไร   :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 11:23
หนูลืมบอกไปว่า หลักการให้ชื่อสิ่งมีชีวิตนนั้น มันมาจากวิวัฒนาการนั่นแระค่ะ
จะใช้ทั้ง External - internal morphology , anatomy  เป็นส่วนใหญ่ ตอนนี้ที่นิยมเป็นเทรนหันไปทางไหนก็เจอก็ทางด้าน ดีเอ็นเอ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จริงๆๆโดยแท้จริงเลย เราต้องยึนทางด้านสัณฐานวิทยาค่ะ ดีเอ็นเอแค่ช่วยในเรื่องสายพันธ์ วิวัฒนาการเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับมากนัก  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Bo. ที่ 08-08-2007, 11:25
คุณ Q คะ

หางานวิจัยที่เชื่อมโยงลิงกับคนมาได้เลยครับ...

คนไม่ได้มาจากลิงแน่นอนค่ะ
มิฉะนั้น เราคงไม่ได้อยู่ร่วมยุคกันหรอก
แต่ลิงกับคน และสัตว์ ไพรเมตอื่นๆ
มีความเกี่ยวพันกัน
หลักฐานหนึ่งคือ การพัฒนาของเอมบริโอ ลักษณะของหัวกะโหลก


ต้องเรียนถาม คุณ Q ก่อนว่า
คุณเชื่อในทฤษฎี Creationism ใช่ไหมคะ
ต้องขอเรียนตามตรงเลยค่ะ ว่าถ้าใครซักคนมีความเชื่อ
อย่างรุนแรง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มันป่วยการที่จะพูดคุยด้วย
แม้ว่าจะงัดหลักฐานหรืออะไรก็ตามมายืนยัน
(เปรียบกรณีของ คน Pro เหลี่ยม)

ดังนั้น ถ้าคุณพร้อมที่จะพูดคุย
เพื่อความรู้ ดิฉันก็ยินดี จะแลกเปลี่ยนค่ะ

ที่คุณถามหา มันคือ ส่วนที่เรียกว่า Missing Link ใช่ไหมคะ
ซึ่งเป็น หัวข้อ ที่พูดกันค่อนข้างเยอะ
แต่ว่าตอนนี้ขอไปทำงานก่อนนะคะ
เดี๋ยวจะเข้ามาใหม่
อาจจะตอนเย็นๆ




หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 11:28
ทฤษฏีที่ถูกลบล้างไปจากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์หลาย ๆท่าน นั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าการตั้งทฤษฏีที่ผ่านมาของดาร์วินนั้นสูญเปล่า ถึงแม้ทฤษฏีต่าง ๆ นั้นไม่เป็นจริงก็ตาม แต่ทฤษฏีการวิวัฒนาการใหม่ ๆที่เกิดขึ้นมานั้นก็ได้อิงถึงทฤษฏีของดาร์วินอยู่เสมอ และจากการที่เค้ามีความคิดเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตการก่อกำเนิดโลกขึ้นมาก็เป็นแรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ เกี่ยวกับวิวัฒนามากขึ้น

อ่านอันนี้ก่อนก็ได้ครับ..

http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=24392&page=1


สิ่งมีชีวิตที่เป็นรอยต่อ  ไม่มีครับ.. วิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดทุกสายพันธุ์คงเป็นไปไม่ได้

ฝ่ายเชื่อต้องเป็นฝ่ายแสดงหลักฐานครับ..


ลองอ่านอันนี้ดูครับ.. ต้องหาดูว่ามีการก้าวกระโดดหรือไม??่ ส่วนที่ว่านานๆนี่นานแค่ไหน อย่างปลาที่ว่าสูญพันธุ์ไปแล้วนี้นานพอไหม?

พวกน้อยๆเซลล์ผมก็ว่าไปแล้วว่า มันก้าวกระโดด ข้ามอาณาจักรหรือเปล่า??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 11:30
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีวิวัฒนาการร่วนมกันค่ะ

มันก็แค่ สาหร่ายเซลเดียว เท่านั้น   :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

อ่ะ  :slime_o:ไม่ต้องเชื่อก็ได้ค่ะ เพราะถ้าคุณเรียนมาก คุณจะไม่เชื่ออะไรเท่าไรหรอก เพราะทฤษฏี กฏ ต่างๆๆ เปลี่ยนแปลงได้ ถ้าคุณสามารถลบล้างมันไปได้ แต่ตอนนี้ อย่าคิดว่ามันเป็นนิยายเลย เพราะหลักฐานเก่าก่อน ความเชื่อเก่าก่อน ทำให้พวกเราพัฒนาได้ถึงทุกวันนี้ค่ะ  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 11:35
สงสัยเพราะภาพนี้ป่าว ลุงคิวไม่เชื่อ

(http://www.joe-ks.com/archives_apr2006/EvolutionOfMan.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 11:35


quote author=Atomic_Bomb link=topic=15839.msg207284#msg207284 date=1186547139]
คุณ Q คะ

หางานวิจัยที่เชื่อมโยงลิงกับคนมาได้เลยครับ...

คนไม่ได้มาจากลิงแน่นอนค่ะ
มิฉะนั้น เราคงไม่ได้อยู่ร่วมยุคกันหรอก
แต่ลิงกับคน และสัตว์ ไพรเมตอื่นๆ
มีความเกี่ยวพันกัน
หลักฐานหนึ่งคือ การพัฒนาของเอมบริโอ ลักษณะของหัวกะโหลก


ต้องเรียนถาม คุณ Q ก่อนว่า
คุณเชื่อในทฤษฎี Creationism ใช่ไหมคะ
ต้องขอเรียนตามตรงเลยค่ะ ว่าถ้าใครซักคนมีความเชื่อ
อย่างรุนแรง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มันป่วยการที่จะพูดคุยด้วย
แม้ว่าจะงัดหลักฐานหรืออะไรก็ตามมายืนยัน
(เปรียบกรณีของ คน Pro เหลี่ยม)

ดังนั้น ถ้าคุณพร้อมที่จะพูดคุย
เพื่อความรู้ ดิฉันก็ยินดี จะแลกเปลี่ยนค่ะ

ที่คุณถามหา มันคือ ส่วนที่เรียกว่า Missing Link ใช่ไหมคะ
ซึ่งเป็น หัวข้อ ที่พูดกันค่อนข้างเยอะ
แต่ว่าตอนนี้ขอไปทำงานก่อนนะคะ
เดี๋ยวจะเข้ามาใหม่
อาจจะตอนเย็นๆ



[/quote]

ผมค้นหาหลักฐาน  ในจุดทึ่ว่าไปแล้วตั้งแต่แรก ลองย้อนอ่านของเดิมดูครับ..

ส่วนรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวเอาไว้ที่หลัง..ครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 11:37


สงสัยเพราะภาพนี้ป่าว ลุงคิวไม่เชื่อ

(http://www.joe-ks.com/archives_apr2006/EvolutionOfMan.jpg)

เริ่มเชื่อมโยงมากขึ้นครับ.. :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 08-08-2007, 11:42
 :slime_sentimental:

สำหรับฟากผมขออธิบายง่ายๆด้วยภาพนี้ครับ

เคยเห็นคนมีหางมั๊ย ??

ถ้าเกิดมาเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว กระดูพวกนี้ใช้ทำอะไร

นอกจากกดทับตอนนั่งเล่นเกมส์จนปวดหลัง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 11:50


คุณต้องตอบให้ได้ก่อนว่าอะไรเป็นสมมุติฐานหลักของทฤษฎีวิวัฒนาการ

แล้วมันอธิบายหรือทำนายได้แค่ไหน??


แต่บอกไปแล้วว่าใครเชื่อว่าคนมาจากลิงโดยอ้างวิวัฒนาการ คงต้องบอกว่าอาการหนักกว่าพวกเชื่อทักษิณอีกครับ..

เพราะหาความเชื่อมโยงตรงๆที่มีนัยสำคัญไม่ได้เลย ทั้งฟอสซิล หรือพันธุกรรม หรือประวัติศาสตร์

ส่วนเรื่องล้มคงไม่ล้มหรอครับแต่เชื่อ เฉพาะที่เชื่อได้เท่านั้นเอง เพราะมันโยงออกมาได้เรื่อยๆอยู่แล้ว

พิสูจน์ได้ก็คงหมดข้อถกเถียง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 11:56

:slime_sentimental:

สำหรับฟากผมขออธิบายง่ายๆด้วยภาพนี้ครับ

เคยเห็นคนมีหางมั๊ย ??

ถ้าเกิดมาเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว กระดูพวกนี้ใช้ทำอะไร

นอกจากกดทับตอนนั่งเล่นเกมส์จนปวดหลัง

ยืนยันอีกรั้งครับ ต้องพิสูจน์ความมีอยู่จริง พิสูจน์ว่าไม่ม ีทำไม่ได้หรอกครับ นอกจากมันไม่มีจริง..ก็บอกไม่มี

กระดูกตนก็กระดูกคนครับ เหมือนไส้ติ่งมันมีอยู่จริง ทำอะไรได้ เป็นอีกเรือ่งหนึ่ง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 11:58

คุณต้องตอบให้ได้ก่อนว่าอะไรเป็นสมมุติฐานหลักของทฤษฎีวิวัฒนาการ

แล้วมันอธิบายหรือทำนายได้แค่ไหน??



ลุงคิวต้องแยกก่อนระหว่าง ทฤษฏี กับเรื่องของวิวัฒนาการ

แล้วตัดทฤษฏีออก มาดิสคัสเฉพาะเรื่องของวิวัฒนาการ  

ที่นี่ถามลุงคิวก่อนว่า ลุงเชื่อไหม ว่ามนุษย์มีวิวัฒนาการ มาจากชิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ?? เป็นไปได้ไมว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีวิวัฒนาการเลย อ้าวว แล้วบางชนิดทำไหมสูญหายไป บางชนิดทำไมมีขึ้นมาใหม่  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 12:05


ลุงคิวต้องแยกก่อนระหว่าง ทฤษฏี กับเรื่องของวิวัฒนาการ

แล้วตัดทฤษฏีออก มาดิสคัสเฉพาะเรื่องของวิวัฒนาการ 

ที่นี่ถามลุงคิวก่อนว่า ลุงเชื่อไหม ว่ามนุษย์มีวิวัฒนาการ มาจากชิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ?? แค่นี้ค่ะ  :slime_smile:


ผมไม่ได้เชื่อทฤษฎีส่วนที่ไม่ได้พิสูจน์  ดังนั้นคงไม่พูดถึงวิวัฒนาการแบบผ่าเหล่าไปเป็นคนละชนิด เช่นคนเป็นลิง ลิงเป็นคน..

ผู้ที่เชื่อแบบนั้น ต้องหาหลักฐานครับ..ส่วนคนเกิดมาไม่เหมือนกันอันนี้เห็นจริงอยู่แล้ว


ยืนยันอีกรั้งครับ ต้องพิสูจน์ความมีอยู่จริง พิสูจน์ว่าไม่มีทำไม่ได้หรอกครับ นอกจากมันไม่มีจริง..ก็บอกไม่มี

กระดูกคนก็กระดูกคนครับ เหมือนไส้ติ่งมันมีอยู่จริง ทำอะไรได้ เป็นอีกเรื่อ่งหนึ่ง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Angleevil ที่ 08-08-2007, 12:07
กระทู้วิวัฒนการเข้ามาในเสรีไทย ด้วยเหรอเนี้ย  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 12:09

Is evolution in decline?  http://www.geocities.com/lclane2/evolcitation.html

    Billl Dembski predicts that within a decade evolution will no longer be accepted.

    History of the " imminent demise of evolution"

    According to Science Citation Index (online) the number of articles using the keyword "evolution" was:

                2006 - 33,573
                2005 - 33,263
                2004 - 28,818
                2003 - 27,998
                2002 - 24,717
                2001 - 22,310
                2000 - 22,223
                1999 - 21,651
                1998 - 19,727
                1997 - 18,414
                1996 - 17,177
                1995 - 15,554
                1994 - 14,539
                1993 - 13,086
                1992 - 12,547
                1991 - 11,362

    1991 was the first full year that SCI was online.

    This translates into an annual average increase in "evolution" citations of 7% per year

ผมก็ใช้คำอีโวลูชั่นได้ครับ คุณก็ใช้ได้เหมือนกัน..อยู่ที่การแปลความหมายและข้อสรุปของงานวิจัยต่างๆ

ยิ่งมีมากยิ่งดีครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 12:12
(http://www.thairath.co.th/2550/agriculture/Aug/library/07/farming2.jpg)

ดูยังไงมันก็ไม่เป็นปลาซีลาคานธ์อยู่ดี :slime_smile2:

http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=56572


เห็นด้วยครับ ขออภัยที่นอกประเด็นมาไกลนะครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 12:12
แหมม  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

เอาเถอะค่ะ อนาเจอแบบนี้มาเยอะ  แต่จะเชื่อไม่เชื่อก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล ซึ่งแล้วแต่มุมมองค่ะ อย่างน้อย ก็อย่าถึงขนาด ว่า ยิ่งกว่าเชื่อทักษินเลย เพราะเรื่องวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเหตุผล อธิบายได้เสมอ ไม่งั้นคงไม่มีมาให้ยินจนถึงปัจจุบัน

หากคนไม่มีวิวัฒนาการจริงๆๆ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ (จริงๆมนุษย์นี้ผู้ทำลายเลยล่ะ) ก็สูญพันธ์ไปหมดแล้วล่ะค่ะ ดูอย่างสิ่งมีชีวิตหลายชนิดซิค่ะ โดยล่า โดยทำลาย โดนธรรมชาติเปลี่ยนแปลงมันจนหายสาบสูญไปเยอะก็มี สิ่งเหล่านี้มันคุณจะอธิบายยังไง  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 12:16


แหมม  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

เอาเถอะค่ะ อนาเจอแบบนี้มาเยอะ  แต่จะเชื่อไม่เชื่อก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล ซึ่งแล้วแต่มุมมองค่ะ อย่างน้อย ก็อย่าถึงขนาด ว่า ยิ่งกว่าเชื่อทักษินเลย เพราะเรื่องวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเหตุผล อธิบายได้เสมอ ไม่งั้นคงไม่มีมาให้ยินจนถึงปัจจุบัน

หากคนไม่มีวิวัฒนาการจริงๆๆ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ (จริงๆมนุษย์นี้ผู้ทำลายเลยล่ะ) ก็สูญพันธ์ไปหมดแล้วล่ะค่ะ ดูอย่างสิ่งมีชีวิตหลายชนิดซิค่ะ โดยล่า โดยทำลาย โดนธรรมชาติเปลี่ยนแปลงมันจนหายสาบสูญไปเยอะก็มี สิ่งเหล่านี้มันคุณจะอธิบายยังไง  :slime_smile:


เอาเท่าที่คนทัวไป เชื่อได้ครับ  :slime_smile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ ที่ 08-08-2007, 12:24
ท่านท้าวขอบอกว่า ข่าวด้านวิทยาศาสตร์ที่ลงในไทยรัฐ หรือหนังสือพิมพ์อื่นๆ เค้าไม่ได้จัดทำเอง มีเอเจนซี่รับเหมาไปทำ ซึ่งเข้าใจว่า เอเจนซี่พวกนี้ก็โคตระมั่ว ถ้ายังจำกันได้ ครั้งหนึ่ง หนังสือพิมพ์ผู้จัดการของแป๊ะลิ้ม มันก็เคยลงข่าวทำนองว่า ไข่แม้วดำกำลังสะสม ปุ๋ยยูเรเนียมไนตรต เกือบครึ่งตันไว้ก่อวินาศกรรม กับข่าวนี้ ท่านท้าวว่า โคตระมั่วเลย ยูเรเนียมไนเตรตครึ่งตัน มันมีซะที่ไหนเล่า อันนี้ไม่มีเอเจนซี่ แต่คนผู้จัดการ มันมั่วเอง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Angleevil ที่ 08-08-2007, 12:37
 ไม่รู้นะครับ แต่มีคนพูดเยอะแล้ว เลยเอาข้อมูล ของ อาจารย์ Practical X 2 มาให้อ่านเป็นข้อมูลแล้วกัน

 http://www.pantown.com/board.php?id=8396&name=board2&topic=2&action=view
http://www.pantown.com/board.php?id=8396&name=board1&topic=2&action=view
http://www.pantown.com/board.php?id=8396&name=board1&topic=23&action=view


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 08-08-2007, 12:39
กระทู้แบบนี้ชอบๆๆๆๆๆๆ ตามอ่านในหว้ากอ สนุกมาก ได้ความรู้ด้วย

มีรวบรวมบางส่วนในหว้ากอนะครับ ภาษาไทย ผสม อังกฤษ พออ่าานได้
อังกฤษล้วน อ่านแล้วหลับ

http://evidence-evolution-theory.pantown.com/

หมายเหตุ: มีหนังสือดีๆ ที่มีรูปเยอะ เกีี่ยวกับเรื่องนี้ให้อ่านไหมครับ
ภาษาอังกฤษก็ได้ครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-08-2007, 12:46

คุณต้องตอบให้ได้ก่อนว่าอะไรเป็นสมมุติฐานหลักของทฤษฎีวิวัฒนาการ

แล้วมันอธิบายหรือทำนายได้แค่ไหน??


แต่บอกไปแล้วว่าใครเชื่อว่าคนมาจากลิงโดยอ้างวิวัฒนาการ คงต้องบอกว่าอาการหนักกว่าพวกเชื่อทักษิณอีกครับ..

เพราะหาความเชื่อมโยงตรงๆที่มีนัยสำคัญไม่ได้เลย ทั้งฟอสซิล หรือพันธุกรรม หรือประวัติศาสตร์

ส่วนเรื่องล้มคงไม่ล้มหรอครับแต่เชื่อ เฉพาะที่เชื่อได้เท่านั้นเอง เพราะมันโยงออกมาได้เรื่อยๆอยู่แล้ว

พิสูจน์ได้ก็คงหมดข้อถกเถียง

งั้นขอถามนิดเดียวนะครับและผมคงไม่ค้านอะไรอีก คำถามก็คือคุณ Q คิดว่าคนมาจากไหน.. ขอแบบชัดๆ น่ะครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 08-08-2007, 12:46
นี่นึกว่า "ห้องย่อยศาสนา" ของห้องสมุด ณ พันทิป เมื่อหลายปีก่อนเสียอีก :slime_bigsmile:

แม้ว่าจะเคยลงทะเบียนเรียนวิชา "วิวัฒนาการ" (Evolution) 3 หน่วยกิตมาก่อน อาจารย์เจ้าของวิชายังพาไปดูร่องรอยที่ภูหินร่องกล้าเลย ถึงตอนนี้ก็ยังคิดว่า ไม่อาจยอมรับได้จริง เพราะยังมีประเด็นที่โต้แย้งได้อีกมาก

ถ้าอ่านความเห็นของทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นทางฝั่ง creationism หรือฝั่ง evolutionism ก็ยังโต้แย้งกันไม่จบ มันจะมีคนทั้งสองฝั่งโยกย้ายไป ๆ มา ๆ ซึ่งเอามาเกทับบลัฟกันอยู่เรื่อย ๆ

ความเห็นส่วนตัวก็คือ สรุปหรือฟันธงไม่ได้แน่ชัดว่าจริงหรือไม่ เพราะสำหรับมุสลิมและคริสตชน โดยหลักการแล้ว ไม่เชื่อ และไม่ยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการแน่นอน

แต่ถ้าพระเจ้ามีจริง ก็ไม่แน่ว่า วิวัฒนาการอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการเนรมิตสร้าง (Creation) ของพระองค์ก็ได้....ใครเลยจะรู้  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 08-08-2007, 12:48

โรงเรียน อนุบาลหมีน้อย ม่ายเคย สอนแบบรูปนี้ อ่ะ!
VVV
(http://www.stonekid.com/uploads/A297p4x3.jpg)

สิ่งที่ ลูกหิน จะโม้ ต่อไปนี้ :slime_agreed:

 :slime_surrender:ต้องกราบขออภัย ล่วงหน้าด๊วย..เพราะ
อาจไม่ถูกใจ  เพื่อนๆ ที่เป้น Pro BIO หน่ะฮะ


โรงเรียน อนุบาลหมีน้อย เขาสอนแบบนี้ ฮะ
ที่มา.. ตึกวิทยาศาสตร์ (ผีดุ) ชั้น สอง
(http://www.stonekid.com/images/event/ucb/stone_UCB017.jpg)

ช่วง 200 ล้านปี ก่อน ยังมีมนุษย์ แล้วฮะ
เผ่า พันธ์ มนุษย์  ถุกแยก ด้วย หลายปัจจัย ต่างหาก!!

เมื่อ ก่อน โลก เคยมี แผ่นดินเดียวกัน !!(ติดกันทั้งหมด)  

1. ถูกแยก ด๊วย เปลือกโลก  ในทุกๆ 1 ปี เปลือกโลกขยับ เลื่อน 20 เซนติเมตร
ดังนั้น 100 ล้านปี มนุษย์ ถูกแยก ออกไป
2 ทำให้ ทฤษฎี นิวเคลียส และ รังสี ของพระอาทิตย์ มีผลกระทบ ต่อ ภุมิศาสตร์
ทำให้ สิ่ง มีชีวิต แปลงเผ่าพันธ์ ตามท้องถิ่น และ องศาแรงดึงดูด
มนุษย์ และสิ่งมีชีวิต เลย เริ่ม แตกต่างกัน

(http://www.stonekid.com/uploads/world-01.jpg)



3. เผ่าพันธ์ ปัจจุบัน
เกิด ช่วงโลกร้อน หลัง ยุคนำแข็ง รุ่นที่ 2
ทำให้น้ำท่วมโลก เมื่อ 10000-8000 ปี ก่อน BC  ดังรูป

การแบ่ง เผ่าพันธ์ ทางวัฒนธรรม จึงชัดเจนขึ้น
ยกเว้น OASIS ที่หายไป แต่มีบางส่วน ไปลง ตุรกี  


(http://www.stonekid.com/uploads/world-02.jpg)



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: เพื่อนร่วมชาติ ที่ 08-08-2007, 12:50
ผมว่าเรื่องนี้ถ้ามีจุดยืนว่าจะถกกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ที่มีความเห็นแตกต่าง ก็คงเป็นบรรยากาศที่ดี

แต่ถ้ามุ่งจะเอาชนะ เปลี่ยนความคิดของอีกฝ่าย หรือพยายามหาข้อสรุปชี้ขาด ก็คงเป็นเรื่องลำบาก ผมเห็นมาในหลายเว็บบอร์ดแล้ว



ในความเห็นของผม ทฤษฎีวิวัฒนาการยังคงเป็นเพียงทฤษฎี และสิ่งที่ยืนยันก็คือการกระทำของผู้สนับสนุนทฤษฎีนั่นเองแหละครับ

เพราะถ้ามันได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นข้อเท็จจริง หรือเป็นกฎทางวิทยาศาสตร์แล้ว ก็คงไม่จำเป็นต้องมีใครออกมาพยายามสร้างความน่าเชื่อถือให้ทฤษฎีนี้อีก

เห็นได้ว่าไม่มีใครพยายามเขียนบทความให้คนเชื่อกฎของเมนเดล กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน กฎของบอยล์ ฯลฯ



สำหรับเรื่องการผสมพันธุ์สิ่งมีชีวิตต่างชนิด แล้วเกิดสิ่งมีชีวิตอีกชนิดนั้น ผมคิดว่าเรื่องนี้จะใช้เป็นเหตุผลประกอบได้ ก็ต้องดูที่รายละเอียด

เพราะหลักการที่ทฤษฎีวิวัฒนาการใช้ก็คือ "การคัดเลือกตามธรรมชาติ"

ดังนั้น การที่มนุษย์จับปลาหมอสีต่างสายพันธุ์มาผสมกัน หรือจับสุนัขที่มีลักษณะเด่นบางอย่างมาผสมกันเพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ จึงไม่น่าจะเป็นข้อสนับสนุนว่ามีการวิวัฒนาการในธรรมชาติ รวมไปถึงความพยายามที่จะสร้างสิ่งมีชีวิตในห้องแล็บด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีการใช้สติปัญญาเข้าไปจัดการ (กลายเป็นว่าไปตรงกับทัศนะของฝ่ายไม่เห็นด้วย ที่ใช้ชื่อแนวคิดว่า "Intelligent Design")


วิวัฒนาการในธรรมชาติมีไหม? นี่คือคำถามที่ท้าทายทฤษฎีวิวัฒนาการมานาน

นักวิทยาศาสตร์แบ่งการวิวัฒนาการเป็น macro กับ micro คือวิวัฒนาการในระดับสูงกว่าสปีซี่ส์ กับในระดับสปีซี่ส์

ตัวอย่างที่ผู้สนับสนุนมักจะยกมาก็คือ
> ในระดับ macro - นกฟินช์ที่กาลาปากอส ซึ่งมีหลายสปีซี่ส์ที่ลักษณะคล้ายกัน แต่มีลักษณะต่างกัน
> ในระดับ micro ผีเสื้อกลางคืนชนิดเดียวกันที่มีสีเข้มกับสีอ่อน

ผู้สนับสนุนบอกว่าตัวอย่างดังกล่าวคือข้อพิสูจน์ว่าวิวัฒนาการมีจริง แต่คำถามหนึ่งที่ยังคาใจผมอยู่ก็คือ

เส้นแบ่งระหว่าง macro กับ micro อยู่ที่ไหน?

เปลี่ยนแปลงแค่ไหนที่ยังเรียกว่าเป็นสปีซี่ส์เดิม แค่ไหนที่เรียกว่าเป็นสปีซี่ส์ใหม่แล้ว?

สุนัขนับร้อยสายพันธุ์ มีความแตกต่างกันมากกว่านกฟินช์ที่กาลาปากอส แต่ก็ยังถือว่าเป็นสปีซี่ส์เดียวกัน ขณะที่ในวิทยาศาสตร์บางสาขา อย่างปักษีวิทยา (นก) ความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ก็ถือว่าเป็นคนละสปีซี่ส์แล้ว

แน่นอน มีหลายสปีซี่ส์ที่เราเห็นชัดเจนว่าเป็นคนละสปีซี่ส์ เช่น เสือกับสิงโต แต่ก็มีหลายสปีซี่ส์ที่คล้ายคลึงกันมาก ๆ เช่นนกหรือผีเสื้อที่อยู่ใน genus เดียวกัน อย่าลืมว่าการแบ่งตรงนี้มนุษย์เป็นผู้แบ่ง และจะตรงกับการแบ่งในธรรมชาติหรือไม่ บ่อยครั้งก็ยังมีข้อถกเถียง (มีหลายครั้งที่สิ่งมีชีวิตที่เคยเป็น sub-species ถูกแยกเป็น full species แล้วหลังจากนั้นที่ถูกรวมกลับเข้าไปในสปีซี่ส์เดิม คือลดระดับเป็น sub-species เหมือนเดิมก็มี)

สิ่งมีชีวิตแต่ละอย่างมีความผันแปรภายในสปีซี่ส์ไม่เท่ากัน สำนวนที่คุ้นเคยกันก็คือ "เหมือนกันอย่างกับแกะ" บอกเป็นนัยว่า แกะมีความผันแปรภายในสปีซี่ส์น้อย แต่มนุษย์ สุนัข มีความผันแปรภายในสปีซี่ส์เยอะ

คำถามต่อมาคือ เราตีความสิ่งที่เห็นถูกต้องหรือไม่? และการตีความของเราเป็นวิธีเดียวที่จะอธิบายสิ่งที่เราเห็นหรือไม่? หรือว่ามันสามารถอธิบายเป็นอย่างอื่นได้อีก?

ยกตัวอย่างเช่น นกฟินช์ที่กาลาปากอส ในธรรมชาติ (ไม่ใช่ตามการแบ่งของมนุษย์) พวกมันเป็นคนละสปีซี่ส์ หรือว่าเป็นสปีซี่ส์เดียวกันที่มีความผันแปร

มีการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ที่ผลการศึกษาชี้ไปในทางที่ว่าเป็นอย่างหลัง คือนกเหล่านี้เป็นเพียงนกที่มีความผันแปร

อ้างถึง

Those different finches are just varieties, not 'different species'. So, they prove NOT a mythical 'macroevolution', they prove NOT a mythical 'speciation'.

Varieties provide a YES to microevolution and a YES to subspeciation.

Do you think that by following that confusing way of thinking started by Darwin and by a neoDarwin Grant will ever be possible to practically discern the difference between varieties and species, even with the clear facts in front of every biologist of today?


อ้างถึง
"The Grants observed cases when a G. scandens father died and his sons subsequently overheard a male G. fortis singing [topic: the Galapagos' finches can interbreed producing fertile offspring]. They learned his song and ended up attracting and mating with G. fortis females." [Science 273(5281), Sep., 1996]


And the same happened with their daughters! They also learned the "new song".

So, not only the lack of fossil intermediates, but also the living facts of genetics and its sub-fields oppose any Theory of Evolution on the basis of a non-existent 'Speciation'.

ผมเห็นด้วยว่า หากวิวัฒนาการมีจริง เราก็น่าจะเห็นตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ระหว่างรอยต่อ ไม่ใช่แค่ในฟอสซิลเท่านั้น แต่ในโลกปัจจุบันด้วย เพราะถ้ายึดทฤษฎีนี้ การวิวัฒนาการก็ต้องดำเนินอยู่

ทำไมชาวเกาะที่มีอยู่มากมายในโลก และอยู่กับทะเลมาหลายชั่วอายุคน จึงไม่เริ่มพัฒนาพังผืดระหว่างง่ามนิ้วมือนิ้วเท้าให้เห็น ในเมื่อมันจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา หรือทำไมจมูกเขาไม่เคลื่อนขึ้นไปทางกระหม่อมมากขึ้น เพื่อช่วยให้หายใจได้เหมือนปลาโลมา ทำไมชาวเอสกิโมไม่พัฒนาขนเหมือนกับหมีขั้วโลก

ผู้สนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการกล่าวว่า กระบวนการนี้ต้องใช้เวลานานมาก แต่ในบรรดาสิ่งมีชีวิตมากมายในโลก เราจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้เชียวหรือ (ระดับที่เริ่มมีการเปลี่ยนลักษณะอวัยวะสำคัญ เพื่อปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม) และอีกประการหนึ่งคือ การใช้เวลานาน ใช่ว่าจะเอื้อต่อความอยู่รอด สัตว์ที่มีกระบวนการ metamorphosis อย่างกบ ผีเสื้อ ถ้าอยู่ในสภาพครึ่ง ๆ กลาง ๆ นาน ก็จะไม่ปลอดภัย ถ้ากิ้งก่าเริ่มเปลี่ยนขาหน้าเป็นปีก แต่ยังบินไม่ได้ และใช้ปีนป่ายก็ไม่คล่องเหมือนเดิม แถมคงอยู่ในสภาพนั้นหลายชั่วอายุ ผมไม่คิดว่ามันจะอยู่รอดมาได้ (นี่ยังไม่พูดถึงว่า ลักษณะการกลายพันธุ์แบบนั้นจะถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้ดีแค่ไหน)

มีคำถามอีกหลายข้อที่ทำให้ทฤษฎีวิวัฒนาการยังเป็นที่กังขา ทำให้เวลานี้หลายคนพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุน หลายคนสงสัย และหลายคนก็ไม่ยอมรับ...



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 12:59
วิวัฒนาการไม่ใช่แต่ external feather ทางด้านกายภาพที่มองเห็นได้เท่านั้นนะค่ะ การเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลก็คือเรื่องของวิวัฒนาการค่ะ  :slime_v: :slime_v:

เพราะการเปลี่ยนของ สิ่งมีชีวิต เริ่มจากระดับโมเลกุลค่ะ

แล้วแต่พิจารณาค่ะ ยิ่งมองลึกจะรู้ว่าตัวเองไม่รู้เรื่องอะไรเลย ยิ่งเรียนยิ่งโง่ 5555555555555


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 08-08-2007, 13:01
วิวัฒนาการไม่ใช่แต่ external feather ทางด้านกายภาพที่มองเห็นได้เท่านั้นนะค่ะ การเปลี่ยนแปลงระดับของโมเลกุล ก็คือเรื่องของวิวัฒนาการค่ะ  :slime_v: :slime_v:

 :slime_smile: ถูกต้อง .. ตามที่ พี่ ดร.อน๊า กล่าวฮะ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: เพื่อนร่วมชาติ ที่ 08-08-2007, 13:06
ลืมบอกไป ว่า G. scandens กับ G. fortis ที่ผมยกภาษาอังกฤษมา เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกฟินช์กาลาปากอส ที่ว่ากันว่าเป็นสองสปีซี่ส์ (จากที่ว่ากันว่ามีหลายสปีซี่ส์) แต่ในธรรมชาติพบว่ามีการผสมข้ามสายพันธุ์กัน แถมยังมีการร้องเพลงเหมือนอีกสายพันธุ์ จนได้เมียต่างสายพันธุ์ด้วย (เสียงร้องเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งที่นักปักษีใช้แยกนกเป็นคนละสปีซี่ส์ คือบางทีนกรูปร่างหน้าตาเหมือนกันแทบทุกอย่าง แต่ร้องต่างกัน ก็ถือเป็นคนละสปีซี่ส์ แต่งานวิจัยนี้คงทำให้เกิดข้อกังขาในการใช้เกณฑ์ดังกล่าวพอสมควร)

ตอบคุณ ใบไม้ทะเล

external feather หรือ external feature ครับ ถ้าตามทฤษฎีวิวัฒนาการ ก็เป็นอย่างที่คุณพูดครับ แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงระดับลักษณะภายนอก ก็คงถือว่ามีการวิวัฒนาการไม่ได้ และทฤษฎีนี้ก็บอกว่า สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันมีลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ ก็เพราะมีการวิวัฒนาการมาจนถึงระดับลักษณะภายนอกนี่แหละครับ


ไม่น่าเชื่อว่าไทยรัฐจะทำให้เกิดเรื่องมีสาระขึ้นมาได้  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ ที่ 08-08-2007, 13:09
บังเอิญท่านท้าวไม่ใช่นักชีววิทยาอ่ะนะ แต่จะอธิบายถึงระบบของการวิวัฒนาการนี้ ท่านท้าวเห็นว่า มันเกิดขึ้นและเป็นไปตามทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) ซึ่งเป้นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ในทางชีววิทยาก็มีการกล่าวถึงความไร้ระเบียบที่มีกรอบนั่นคือ Ameboid Movement หรือการเคลือนที่ของอมีบา ที่ดูจะไม่มีทิศทาง แต่จริงๆแล้วมันกำลังเคลื่อนตัวไปตามสิ่งเร้าต่างๆเช่น แสง สารอาหาร ความเข้มข้นของสารละลายที่มันอาศัยอยู่ต่างหาก ทฤษฎีความอลวน หรือ โกลาหล นั้นกล่าวถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น(เหมือนจะเป็น)แบบสุ่ม(Random Event) แต่ไม่ใช่แบบสุ่ม (เพราะท่านท้าวเชื่อว่า โลกนี้ไม่มีอะไรที่เกิดอย่างสุ่มโดยแท้จริง แม้แต่เหตุการณ์ธรรมชาติ ยังคงมีเพียงเหตุกาณ์ที่เข้าใกล้การสุ่มโดยสมบูรณ์เท่านั้น) มันมีรูปแบบและการเกิดที่เราสามารถหาได้ แต่ไม่อาจะอธิบายได้ด้วยสมการง่ายๆ อย่างพวกสมการเส้นตรง แต่เป็นไปในลักษณะของระบบสมการแบบไม่เชิงเส้น (Non Linear System) ที่มีรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ทำไม หมากับหมี เมื่อย้อนรอยขึ้นไปในยุคบรรพกาลแล้วจึงมีชาติตระกูลเดียวกัน

ถ้าหมีอุบัติขึ้นเป็นหมีตัวแรกแล้ว ในระบบสมการเส้นตรง ที่มีรูปแบบของการวิวัฒน์ที่แน่นอน หมีจะยังคงเป็นหมี จะมีปัจจัยทำให้หมี ตัวใหญ่ ตัวเล็ก และสีขน ที่ต่างกันไปตามปัจจัยของภูมิภาคและภูมิอากาศเท่านั้น แต่หมีจะยังคงเป็นหมี และมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยไปตามกาลเวลา ถ้าหมีขั้วโลก ผสมกับ หมีสีน้ำตาล ลูกที่ออกมา จะยังคงเป็นหมีซักตัวที่ไม่กลายพันธุ์ ไม่เป็นหมัน  

แต่ถ้าหมีที่อุบัติขึ้นมาในครั้งแรกเป็นตัวอะไรซักตัวแล้ว ที่มีรูปแบบการวิวัฒนาการไม่แน่นอน หมีในภายหลังจะไม่ใช่หมีในเบื้องแรก จะมีปัจจัยต่างๆเข้ามากระทำ จนหมีไม่กลายเป็นหมี หมากับหมี จึงมีบรรพบุรุษร่วมกัน แม้หมีขั้วโลกกับหมีสี่น้ำตาลจะผสมพันธุ์กันได้ แต่ลูกที่ออกมาย่อมไม่ใช่หมี เป็นสัตว์ผ่าเหล่าที่เป็นหมัน

ความอลวนก่อให้เกิดผลที่ไม่แน่ชัด แต่สามารถกำหนดกรอบของความไม่แน่ชัดนั้นเอาไว้ได้ เรารู้โอกาสที่จะเกิด แต่กำหนดการให้เกิดนั้นไม่ได้ นี่คือสิ่งที่จะอธิบายวิวัฒนาการ คนกับลิงอาจจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน มันป็นเหตุกาณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าย้อนไปในกรอบเวลาที่นับได้ล้านปี เหตุการณ์อย่างสุ่มที่เราเรียกว่าธรรมชาติมันเกิดขึ้นมากมายพร้อมกับปัจจัยต่างๆที่อาจจะมีผลต่อระบบวิวัฒนาการจากบรรพชีพของมนุษย์มาสู่มนุษย์ จากบรรพชีพของลิงมาสู่ลิง ในชวงหนึ่งของกาลเวลา ที่มีเหตุกาณ์หนึ่งๆเกิดขึ้น มันอาจจะส่งผลต่อเหตุกาณืในปัจจุบันอย่างใหญ่หลวง หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี ความอลวน ถ้าทุกท่านเคยได้ยินคำว่า เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว นั่นคือวลีที่อธิบายถึงการวิวัฒนาการในกรอบของความอลวน    


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 13:10


งั้นขอถามนิดเดียวนะครับและผมคงไม่ค้านอะไรอีก คำถามก็คือคุณ Q คิดว่าคนมาจากไหน.. ขอแบบชัดๆ น่ะครับ?

 :slime_cool:

มาจากบรรพบุรุษครับ สืบสาวขึ้นไปได้เท่าที่มีหลักฐาน..หรือข้อพิสูจน์ที่สอดคล้องเชื่อมโยงมากพอ

อย่างน้อยผมเชื่อสิ่งที่ผมโพสต์ เช่นเรื่องดีเอ็นเอครับ..

และไม่สนับสนุนให้เชื้อแบบสมมุติฐานก้าวกระโดด ถ้าแบบนั้นอ่านนิยายวิทยาศาสตร์จะเห็นว่าพยายามผูกเรื่องอย่างไรได้มากกว่าครับ..



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 13:14
โทษทีค่ะ อนาเขียนผิด external feature or external morphology ค่ะ ขออภัตด้วยค่ะ


อ้างถึง
external feather หรือ external feature ครับ ถ้าตามทฤษฎีวิวัฒนาการ ก็เป็นอย่างที่คุณพูดครับ แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงระดับลักษณะภายนอก ก็คงถือว่ามีการวิวัฒนาการไม่ได้ และทฤษฎีนี้ก็บอกว่า สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันมีลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ ก็เพราะมีการวิวัฒนาการมาจนถึงระดับลักษณะภายนอกนี่แหละครับ

เป็นเรื่องของวิวัฒนาการค่ะ อนายืนยัน ลองไปดูเรื่องของ งานวิจัยที่ใช้ DNA or RNA ในการดูวิวัฒนาการของสิงมีชีวิตซิค่ะ อย่า phylogenic tree ที่แยกความต่างโดยใช้หลักฐานทางด้าน Genetic สิ่งเหล่านี้ระดับโมเลกุลทั้งนั้นเลยค่ะ แล้วก็เป็นเรื่องของวิวัฒนาการค่ะ  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 08-08-2007, 13:17

 :slime_cool:

มาจากบรรพบุรุษครับ สืบสาวขึ้นไปได้เท่าที่มีหลักฐาน..หรือข้อพิสูจน์ที่สอดคล้องเชื่อมโยงมากพอ

อย่างน้อยผมเชื่อสิ่งที่ผมโพสต์ เช่นเรื่องดีเอ็นเอครับ..

และไม่สนับสนุนให้เชื้อแบบสมมุติฐานก้าวกระโดด ถ้าแบบนั้นอ่านนิยายวิทยาศาสตร์จะเห็นว่าพยายามผูกเรื่องอย่างไรได้มากกว่าครับ..



:slime_smile2: ลูกหิน สนับสนุน ในหัวข้อ DNA ของพี่ Q เช่นกันฮะ

 :slime_agreed:
แต่ขอให้ เชื่อเถอะฮะ ว่า ลูกหิน มะด๊าย เล่านิยายวิทยาศาสตร์
เพราะ ที่ เขียนมา เป็นเรื่อง PHYSIC- BIO - นิวเคลียร์ ล้วนๆ
ซึ่งมีความสัมพันธ์ กับ DNA ทาง พันธุกรรม และมีการวิจัย เป้นที่ยอมรับแน่นอน
( ถ้า บอกว่า ม่ายเคยเรียน ม่ายเป้นไรดอกฮะ เพราะ อีกหน่อย ลูกๆ หลาน จะเรียน แบบ ลูกหิน )

ลูกหินถึงบอกเกริน..ก่อนไง ว่า อาจม่ายถูกใจ พวก  Pro BIO อุอุ  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 13:21


ผมถามบ้าง..

ไก่กับไข่คุณว่าอะไรเกิดก่อนกัน? ทำไมครับ..? :slime_bigsmile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ ที่ 08-08-2007, 13:25
ท่านท้าวขอเสริมนิดนึง ในการทำโครงการ Bioinformatic เพื่อคัดแยกสายพันธุ์แบคทีเรีย

โดยการคัดแยกสายพันธุ์ปัจจุบันนั้น ระบบ Data Mining ของ Bioinformatic จะทำการคัดแยกสายพันธุ์

โดยการใช้วิธีการ Clustering Analysis ที่คัดรวมแบคทีเรียที่มีโครงสร้าง DNA คล้ายกันในกรอบความคลาดเคลื่อนที่กำหนด

ให้มาอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์เดียวกัน แม้ว่า รูปร่างภายนอกของแบคทีเรียไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามีโครงสร้าง DNA เหมือนกัน มันจะถูกจับมาอยู่ด้วยกัน

เป็นระบบสากล ที่ใช้ในการคัดแยกสายพันธุ์ ชีวโมเลกุล


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 08-08-2007, 13:39

ผมถามบ้าง..

ไก่กับไข่คุณว่าอะไรเกิดก่อนกัน? ทำไมครับ..? :slime_bigsmile: :slime_cool:

:slime_fighto:  เป็น คำถาม ที่ แม่ค้า ขายข้าวแกง พะโล้  
ชอบถาม ลูกหิน ในเวลาอาหารกลางวันหน่ะฮะ
555

พอ ลูกหิน เอาเงินให้ปะดี๋ยวเดียว... เขาก็ตักมาทั้ง ไก่ ทั้ง ไข่ 2 ฟอง
ม่ายมีอะไรมากดอกฮะ.. No POM..PAM กุ๊กๆๆๆๆๆ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 13:42
พี่ลูกหินต้องถามว่า ไข่ อะไรก่อนค่ะ   :slime_fighto: :slime_fighto:

แล้วก้มหน้ามองต่ำๆๆไว้ ฮี่ๆๆๆ  :slime_p:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 13:42

:slime_fighto:  เป็น คำถาม ที่ แม่ค้า ขายข้าวแกง พะโล้  
ชอบถาม ลูกหิน ในเวลาอาหารกลางวันหน่ะฮะ
555

พอ ลูกหิน เอาเงินให้ปะดี๋ยวเดียว... เขาก็ตักมาทั้ง ไก่ ทั้ง ไข่ 2 ฟอง
ม่ายมีอะไรมากดอกฮะ.. No POM..PAM กุ๊กๆๆๆๆๆ


ตอบได้ครับ..ตายแล้วทั้งไก่ทั้งไข่ในหม้อพะโล้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 13:45

พี่ลูกหินต้องถามว่า ไข่ อะไรก่อนค่ะ   :slime_fighto: :slime_fighto:

แล้วมองต่ำๆๆไว้ ฮี่ๆๆๆ  :slime_p:

ไก่มีอยู่แต่แรกหรือเปล่า? อาจจะเป็นหมูพะโล้?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 13:53



ไว้มาอ่านแล้วกันครับ..  :slime_doubt: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 14:01
โอวววว ดีจังเลยครับ

ชีวิตมีวิวัฒนาการ!!!!!

ถึงแม้จะอยู่ในศตวรรษที่ 21 แล้ว เราก็ควรจะเชื่อว่า ชีวิตมีวิวัฒนาการ อีกต่อไป

เราควรจะเชื่อว่า...

- บรรพบุรุษของยีราฟเคยคอสั้น แต่ลูกหลานวิวัฒนาการคอให้ยาวขึ้น เพื่อจะกินใบไม้ที่อยู่สูง ๆ ได้ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ยีราฟสืบต่อไป
- บรรพบุรุษของปลาในเขตทะเลลึก เมื่อก่อนเคยมีตา แต่เมื่อไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็เลยวิวัฒนาการตาตัวเองให้บอดไปซะ

และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ครั้งกระโน้น ว่าด้วยการ ตัดหางหนูหลาย ๆ ชั้นตระกูลต่อกันไป
เพื่อให้ชีวะของหนูเกิด "เชื่อ" ว่า หางไม่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต
ลูกของหนูสายพันธุ์หางด้วน ชั้นตระกูลที่ 50 ก็จะกลายเป็นหนูไม่มีหาง ไปในที่สุด

เอิ๊ก ๆ ๆ ๆ

ต่อไปเราก็ควรจะกลับไปเชื่อหลักฟิสิกส์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ ไอน์สไตน์
และไม่เชื่อ ทฤษฎีควอนตัม ของ นีลส์ บอห์ร
กันดีกว่า
(แน่ะ...เปิดประเด็นล่อเป้า ต่อซะอีก เพราะประเด็น Evolution เริ่มจะ Mutation แอนด์ Natural Selection ลงไปสู่ส่วนกลางแล้ว)
 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 08-08-2007, 14:05

 :slime_cool:

มาจากบรรพบุรุษครับ สืบสาวขึ้นไปได้เท่าที่มีหลักฐาน..หรือข้อพิสูจน์ที่สอดคล้องเชื่อมโยงมากพอ

อย่างน้อยผมเชื่อสิ่งที่ผมโพสต์ เช่นเรื่องดีเอ็นเอครับ..

และไม่สนับสนุนให้เชื้อแบบสมมุติฐานก้าวกระโดด ถ้าแบบนั้นอ่านนิยายวิทยาศาสตร์จะเห็นว่าพยายามผูกเรื่องอย่างไรได้มากกว่าครับ..


   :slime_smile:  ว่าไปแร๊ววว
นิยาย วิทยาศาสตร์ ก็มีข้อน่าคิดอย่างนึงนะ พี่ Q

โอกาส ที่ นิยาย วิทยาศาตร์ มีความเป็นจริงถึง 80 %
.. มากกว่า นิยายปะรำปะรา... เนอะ

 

( พยักหน้าจิฮะ) น่านๆๆๆ ต้องอย่างน๊านน นน น  :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ชามู ที่ 08-08-2007, 14:11

ผมถามบ้าง..

ไก่กับไข่คุณว่าอะไรเกิดก่อนกัน? ทำไมครับ..? :slime_bigsmile: :slime_cool:

อ่านมาตั้งนาน พอถึงคำถามนี้ของคุณ Q ก็เลิกเลยครับ

เล่นงัดปัญหาโลกแตกมาเลย ฮ่า ฮ่า ฮ่า

 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ ที่ 08-08-2007, 14:16
โอวววว ดีจังเลยครับ

ชีวิตมีวิวัฒนาการ!!!!!

ถึงแม้จะอยู่ในศตวรรษที่ 21 แล้ว เราก็ควรจะเชื่อว่า ชีวิตมีวิวัฒนาการ อีกต่อไป

เราควรจะเชื่อว่า...

- บรรพบุรุษของยีราฟเคยคอสั้น แต่ลูกหลานวิวัฒนาการคอให้ยาวขึ้น เพื่อจะกินใบไม้ที่อยู่สูง ๆ ได้ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ยีราฟสืบต่อไป
- บรรพบุรุษของปลาในเขตทะเลลึก เมื่อก่อนเคยมีตา แต่เมื่อไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็เลยวิวัฒนาการตาตัวเองให้บอดไปซะ

และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ครั้งกระโน้น ว่าด้วยการ ตัดหางหนูหลาย ๆ ชั้นตระกูลต่อกันไป
เพื่อให้ชีวะของหนูเกิด "เชื่อ" ว่า หางไม่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต
ลูกของหนูสายพันธุ์หางด้วน ชั้นตระกูลที่ 50 ก็จะกลายเป็นหนูไม่มีหาง ไปในที่สุด

เอิ๊ก ๆ ๆ ๆ

ต่อไปเราก็ควรจะกลับไปเชื่อหลักฟิสิกส์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ ไอน์สไตน์
และไม่เชื่อ ทฤษฎีควอนตัม ของ นีลส์ บอห์ร
กันดีกว่า
(แน่ะ...เปิดประเด็นล่อเป้า ต่อซะอีก เพราะประเด็น Evolution เริ่มจะ Mutation แอนด์ Natural Selection ลงไปสู่ส่วนกลางแล้ว)
 :slime_bigsmile:

ท่านท้าวจะสอนสั่งให้นะว่า ทฤษฎีควอนตัมนั้นเป็นของ Max Planck ไม่ใช่นีล บอร์ เรียนฟิสิกส์เล่มไหนมา หรือไปจำขี้ปากใครเค้ามา

ทฤษฎีสัมพภาพและกลศาสตร์ควอนตัมนั้นเป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายกลศาสตร์ในยุคปัจจุบัน แทนที่กลศาสตร์ของนิวตัน และกลศาสตร์ไฟฟ้าของแมกว์เวล

กลศาสตร์ควอนตัมน้นถ้ารวมกับทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ จะใช้ชื่อว่า พลศาสตร์สนามไฟฟ้าควอนตัม

และในปัจจุบันถือว่า ทั้งทฤษฎีสัมพันธภาพ(ทั้งธรรมดาและพิเศษ) และ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม เป็นเสาหลักของฟิสิกส์ยุคใหม่ ที่ใช้อธิบายกลศาสตร์ได้ถึงระดับอะตอม ไม่ใช่แค่กลศาสตร์กายภาพแบบของ นิวตัน หรือแมกซ์เวล

ส่วนนีล บอร์น่ะ เค้าสร้างทฤษฎีอะตอมของไฮโดรเจน


ไปอ่านฟิสิกส์ฉบับไหนมา มั่วโคตรๆ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 14:21
กลับไปอ่านมาใหม่นะครับ

ประวัติศาสตร์ มั่วไม่ได้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ ที่ 08-08-2007, 14:23
กลับไปอ่านมาใหม่นะครับ

ประวัติศาสตร์ มั่วไม่ได้


ประวัติศาสตร์อะไร?

กำลังพูดถึงตำราฟิสิกส์

ตำราที่คนทั่วเค้าโลกเรียนกัน ไม่ได้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์

ถ้าจะพดถึงบอร์ ก็ควรจะพูดถึง ทฤษฎีอะตอมไฮโดรเจน ไม่ใช่ควอนตัม หรืออย่างเก่งอนุโลมให้เรียกได้แค่ ทฤษฎีควอนตัมแผนเก่า ที่เป็นแบบจำลอง ไม่ใช่ทฤษฎีควอนตัมของจริงที่ Max Planck ได้โนเบล อย่าไปเที่ยวพูดให้ใครเค้าฟังล่ะว่า ทฤษฎีควอนตัมเป็นของบอร์ อายเค้า


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 08-08-2007, 14:30
กลับไปอ่านมาใหม่นะครับ

ประวัติศาสตร์ มั่วไม่ได้


ลูกหินชอบ คำนี้ฮะ  ประวัติศาสตร์ มั่วไม่ได้ :slime_agreed:

PRO BIO ไม่สามารถ บอกที่มาของ ประวัติศาตร์ ได้ ถ้า ไม่ขุดซาก มาดู
PRO Physic หาก ไม่มี ประวัติศาตร์..  ก็ ไม่สามารถ ทำนายต่อยอด อนาคตได้ เช่นกัน


ปะเดี๋ยว..เชื่อ ตามเพียวๆ มากเกิน จะเหมือนหมอลักษณ์
 :slime_worship: หมอ ลักษณ์ ยัง ฟันธง มั่วๆ  หยิบ หนังสือเล่มโน๊น.. เล่มนี้ มาโม้
หลง ...หยิบ จตุคาม โอริโอ ..แขนยาว..2 คืบ มาโชว์เกร๊ยนๆๆ
:slime_v:

 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 14:40
ว้า มันไม่น่าใช่ประเด็นที่ต้องโต้เถียงกันเลย

แต่เมื่อใช้ถ้อยคำค่อนข้างหยาบหยาม ท้าทาย ผมเลยต้องป้องกันตัวเอง ซะหน่อย

เอางี้


- ผมไม่ได้อ่านตำราฟิสิกส์ฉบับไหนหรอก ไม่ได้เรียนมาทางสายนั้นด้วยซ้ำ
- ผมไม่เคยบอกว่า บอห์ร เป็นคนค้นคิด ทฤษฎีควอนตัม คนแรก ซักทีเลย
- ถ้าไม่เชือในประวัติศาสตร์ ที่เขายกให้ บอห์ร คือ "บิดาแห่งควอนตัมฟิสกส์" เพราะเป็นผู้นำทฤษฎีนี้มาตีความ คัดแย้งกับทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ ไอน์สไตน์ จนเกิดแรงกระเพื่อมให้คนกลับไป ศึกษาเปรียบเทียบ ข้อผิดพลาดของไอน์สไตน์ ซึ่งแม้ตัวไอน์สไตน์เอง ในทางสาธารณะ จะออกมาพูดว่า "พระเจ้าไม่ได้ทอดลูกเต๋าเล่น" ก็ตาม, แต่ไอน์สไตน์เอง ก็ยอมรับ ทฤษฎีควอนตัม ของ บอห์ร ผ่านทางจดหมายส่วนตัวบันลือโลกฉบับนั้น........

ถ้าไม่เชือในประวัติศาสตร์ ก็จนปัญญา....ไปเถียงกับประวัติศาสตร์เอาเองละกัน
เพราะผมไม่ใช่ผู้สร้าง ผู้ครอบครองข้อมูล ผมเพียงแต่เอาข้อมูลทีมีอยู่แล้ว มาบอกต่อ

ส่วนเรื่อง อะตอมไฮโดรเจน ที่ทำให้บอห์ร ได้รับรางวัลโนเบล ก็เป็นเรื่องพื้น ๆ หญ้าปากคอก ที่เรารับรู้กันอยู่แล้ว
เราจะเถียงกันทางตำรา หรือ เถียงกันทางปัญญา ละครับ
เอาให้แน่ สักอย่าง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Priateľ ที่ 08-08-2007, 14:48
อืม ไหนๆก็อ้อนวอนเชิญให้ผมออกความเห็น ผมก็ขอออกความเห็นว่า

ไอ้ที่พิสูจน์ทางสมการคณิตศาสร์ว่าถูกต้องน่ะ มันไปเจ๊งเอาตอนที่ใครสักคนมันไปค้นพบว่ามันมีตัวหรือปรากฎการณ์ใดๆที่สมการดังกล่าวมันอธิบายไม่ได้

นั่นคือสมการหรือทฤษฏีน่ะถูกเสมอ เพราะมันมีกรอบทางคณิตศาสตร์คอยคุ้มครอง มันเป็นเช่นนี้เสมอมา กลศาสตร์นิวตันไม่ได้ผิด มันถูกต้องภายใต้ข้อจำกัดในสถานการณ์เฉพาะอย่างหนึ่ง แค่นั้นเอง

นั่นคือผมขอสรุปว่า ตราบใดที่ไม่เห็นปลาอานนท์ ก็จงอย่าเชื่อว่าไม่มีปลาอานนท์ที่คอยหนุนแผ่นดินนี้ และที่เขากันว่าโลกกลมก็เพราะมันเป็นการพิสูจน์โดยการอาศัยการคุ้มครองจากกรอบทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 08-08-2007, 14:58
ควอนตัม ถือว่าเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ค้นพบนะครับ
ใช้ชื่อคนใดคนหนึ่งไม่ได้ 1 ในนั้นมีไอสไตน์ ที่แกก็ต่อต้าน
ควอนตัม แต่ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้ง ด้วยทฤษฎีโฟตอนของแก!!!!


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: samepong(ยุ่งแฮะ) ที่ 08-08-2007, 14:58
เอาอะไรมากมายกับ นสพ. ที่ขายแม่บ้านอ่านละครเป้นหลัก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 08-08-2007, 15:01
เอาอะไรมากมายกับ นสพ. ที่ขายแม่บ้านอ่านละครเป้นหลัก

อย่าว่าแต่ไทยรัฐเลย วันก่อน ผจก ลงข่าวไต้ฝุ่นปาบึกเข้าเวียดนาม แต่จริงๆๆแล้ว ใต้ผุ่นตัวนี้กำลังเคลื่อนตัวเข้าใต้หวันค่ะ

เอาอะไรกับสื่อไทยค่ะ  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 15:03
อ่า...กลับมาสู่ประเด็นที่ไทยรัฐต้องการซะที
 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:
หรือจะมีใครพูดเรื่อง ฟูโกต์ ต่อไปอีก

ผมจะได้รอ.......... :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 08-08-2007, 15:10
เรื่องการวิวัฒนาการของคนน่าจะจบลงหลังจากคนเริ่มใช้เครื่องมือ
และตุนอาหารเป็นครับ ทำให้คน หมด”ความจำเป็น” ที่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เพื่ออยู่รอด   
    นี่เป็นคำตอบว่าทำไมชาวเอสกิโมถึงไม่ขนยาว  ชาวเรือไม่มีผังผืดครับ
คืออยู่ปกติก็อยู่ได้อยู่แล้ว ชาวเรือจะลงน้ำเองให้เสี่ยงทำไม ฉลาม งูทะเล
ออกเรือหละดีอยู่แล้ว ชาวเอสกิโมจะพัฒนาขนไปทำไมเมื่อเค้าเริ่มคว้านพุงแมวน้ำ
มาทำเสื้อคลุมสวมได้แล้ว
  ดังนั้นหากหาตัวอย่างควรเป็นสัตว์มากกว่านะครับ เพราะมนุษย์หยุดตั้งแต่เริ่มสร้างปัจจัย 4 ได้

ทฤษฎีที่ โดนอ้าง จาก ทฤษฎีวิวัฒนาการอีกทีคือ
  1 ทฤษฎีเจตจำนงเสรี หรือ ความไม่แน่นอน
  2 ทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติ   ผู้แข็งแรงและปรับตัวได้ย่อมอยู่รอด

กล่าวคือสิ่งมีชีวิตที่ ต้องพึ่งพาธรรมชาติย่อมอยู่รอดได้ เพราะว่ามีสรีระ
หรือเคมี(ความทนต่ออาหาร) ตรงตามสิ่งแวดล้อมนั้นๆ

ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นอาจมีความไม่เข้ากันกับธรรมชาติในกลุ่มสปีชี่
แต่การผสมพันธุ์ ย่อมมีการแหวกออกมาเป็นลักษณะที่ต่างออกไป อาจเป็น 1 ใน 10,000
และมีทั้งที่ออกมาแล้วดีหรือไม่ดี ซึ่งอันนี้ผิดระดับโครโมโซม อย่างคนสามขา หรือ อวัยวะกลับด้านทั้งหมดก็มี
ซึ่งแต่ก่อนเราเข้าใจว่าพวกผ่าเหล่า หรือ การผสมข้างสปีชี่นั้น จะเป็นหมัน

แต่ปัจจุบัน มี Zorse , liger ซึ่งมีทั้งเป็นหมันและไม่เป็นหมัน  ตัวเป็นๆ พิสูจน์ได้อีกด้วย
<< เจ้าพวกไม่เป็นหมันพวกนี้ เกี่ยวอะไรด้วย ??
ก็เป็นการยืนยันว่าการผสมข้ามพันธุ์ แล้วก่อเกิดพันธุ์ใหม่มีได้แน่นอน

ดังนั้นพวกผ่าเหล่าอาจโดนละทิ้งแบ่งแยก แล้วอยู่เป็นกลุ่มแบบใหม่ขึ้นมา
อาจจะเป็นกลุ่มหงอยๆ อ่อนแออยู่อีกฟาก หรือ อยู่รวมกับพวกปกติก็ได้
แต่เมื่อเกิดวิกฤติอาหาร อากาศ หรือศัตรูใหม่ๆ กลุ่มเหล่านั้น
ก็มีส่วนหนึ่งที่ได้เจอสภาวะแวดล้อมอื่นที่เหมาะสมกว่า

ถ้ามองระยะแรกก็คงเป็นพวกพืชเซลเดี่ยว เริ่มขยายปกคลุมโลกหนะครับ
พวกใกล้ทางลาดก็เริ่มยึดตัวกันเป็นแพ พวกใกล้น้ำก็จะมีผนังเซลล์ต่างกับชาวบ้านขึ้น
จากนั้นก็เริ่มสังเคราะห์แสง
บางส่วนก็กลายเป็นพืชเชิงซ้อน

บางส่วนก็กลายเป็นสัตว์เซลล์เดียวจากนั้นมาก็เรื่อยๆหละครับ

อย่าวาฬ ถ้าผมจะสร้างให้มันตัวใหญ่ๆอยู่ในน้ำอยู่แล้ว
ผมคงสร้างครีบยึดกล้ามเนื้อทรงพลังให้มันเลย
แต่โครงกระดูกปัจจุบัน กลับกลายเป็นมีแขนขาหน้าหลัง
เหมือนสัตว์บก แต่ว่าขาหลังเล็กลงมาก
ส่วนขาหน้างอพับใช้แค่ข้อมือสะบัดแทนครีบไป ซึ่งครีบก็มีแกนต่างจากปลา
แต่ดันมาเหมือนมือของสัตว์บกอีกเช่นกัน

http://images.google.co.th/images?q=whale+bone+evolution&svnum=10&um=1&hl=th&cr=countryTH&client=firefox-a&rls=org.mozilla:en-GB:official&start=20&sa=N&ndsp=20 (http://images.google.co.th/images?q=whale+bone+evolution&svnum=10&um=1&hl=th&cr=countryTH&client=firefox-a&rls=org.mozilla:en-GB:official&start=20&sa=N&ndsp=20)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 16:15


จริงเท็จแค่ไหนพิจารณากันเอาเองครับ แต่ผมไม่เชื่อครับ :slime_cool:


HYBRID PRIMATES  http://www.messybeast.com/genetics/hybrid-primates.htm
 


PRIMATES (EXCLUDING HUMANS)

In "The Variation Of Animals And Plants Under Domestication" Charles Darwin noted: "Several members of the family of Lemurs have produced hybrids in the Zoological Gardens."

In the primates, many Gibbons are hard to visually identify and are identified by their song. This has led to hybrids in zoos where the Gibbons were mis-identified. For example, some collections could not distinguish between Javan Gibbons, Lar Gibbons or Hoolocks and their supposedly pure breeding pairs were mixed pairs or hybrids from previous mixed pairs. Agile gibbons have also interbred with these. The offspring were sent to other Gibbon breeders and led to further hybridization in captive Gibbons. Hybrids also occur in wild Gibbons where the ranges overlap. Gibbon/Siamang hybrids have occurred in captivity - a female Siamang produced hybrid "Siabon" offspring on 2 occasions when housed with a male Gibbon; one hybrid survived, the other didn't. Anubis Baboons and Hamadryas Baboons have hybridized in the wild where their ranges meet. Different Macaque species can interbreed. In "The Variation Of Animals And Plants Under Domestication" Charles Darwin wrote: "A Macacus, according to Flourens, bred in Paris; and more than one species of this genus has produced young in London, especially the Macacus rhesus, which everywhere shows a special capacity to breed under confinement. Hybrids have been produced both in Paris and London from this same genus." In addition, the Rheboon is a captive-bred Rhesus Macaque/Hamadryas Baboon hybrid with a baboon-like body shape and Macaque-like tail.

Various hybrid monkeys are bred within the pet trade. These include hybrid Capuchins e.g. Tufted (Cebus apella) x Wedge-capped/weeper (C olivaceus); Liontail macaque X Pigtail macaque hybrids and Rhesus x Stumptail hybrids. The Japanese macaque (Macaca fuscata) has interbred with the introduced Taiwanese macacque (M cyclopis); the latter has escaped into the wild from private zoos. Among African monkeys, natural hybridization is not uncommon. There numerous field reports of hybrid monkeys and detailed studies of zones where species overlap and hybrids occur. Among the apes, Sumatran and Bornean orang-utans are separate species with anatomical differences, producing sterile hybrids. Hybrid orang utans are genetically weaker lower survival rates pure animals.

Another unknown ape (the Koolakamba) has been reported in Africa and claimed to be a Gorilla/Chimp hybrid. Larger, flatter faced, larger skulled and more bipedal than a chimp, it may also be a mutation, in which case we are witnessing evolution in action. According to von Koppenfels in 1881: “I believe it is proved that there are crosses between the male Troglodytes gorilla and the female Troglodytes niger, but for reasons easily understood, there are none in the opposite direction. I have in my possession positive proof of this. This settles all the questions about the gorilla, chimpanzee, Kooloo Kamba, N’schigo, M’bouve, the Sokos, Baboos, etc”. Yerkes reported several "unclassifiable apes" with features intermediate between chimpanzee and gorilla in his 1929 book "A Study of Anthropoid Life".

Garner (1896) wrote that an ape called Mafuca exhibited at Dresden Zoo in 1875 was sometimes described as a cross between chimpanzee and gorilla. Different experts identified her as a chimpanzee or as a young gorilla."It would be difficult to believe that two apes of different species in a wild state would cross, but to believe that two that belonged to different genera would do so is even more illogical. Yerkes (1929) reported the case of adult female Johanna at Lisbon, whom Duckworth (1899) considered an unclassifiable ape intermediate between gorilla and chimpanzee and similar to the “Kulu-Kamba” and Mafuca. Others considered Johanna, who had been a performing ape wit Barnum and Bailey's Circus, to be a gorilla.

HUMANZEES (& OTHER CLAIMED HUMAN HYBRIDS)

A reputed "humanzee" (human/chimp hybrid) called Oliver was DNA tested and found to be a chimpanzee, albeit one which slightly differed genetically from the more familiar chimps in being bipedal and having a smaller head. Oliver may have been a mutant or represent an unknown species of ape. It is currently believed that he represents a geographical subspecies of chimpanzee. He did not associate with other chimps in captivity as was sexually attracted to human women instead. This meant he was never bred. Oliver's habitual bipedal gait is now believed to be a result of early training and habit, although he mastered it to a greater degree than most trained chimps. It's worth remembering that evolution is a never-ending process and that it's possible for bipedalism to develop in other apes. In a publicity event, a woman declared her willingness to be inseminated by Oliver (and even to have the mating filmed for scientific purposes), but this offended public sensibilities and did not happen. Had Oliver been a genuine hybrid, then like most male hybrids he would probably have been sterile anyway.

Soviet Professor Ilya Ivanov attempted to create a human-ape hybrid using female chimps impregnated and human sperm and planned to use women volunteers impregnated with chimp sperm. Ivanov's experiments have been documented by Kirill Rossiianov (Institute for the History of Science and Technology of the Academy of Sciences, Moscow), "Beyond Species: Ilya Ivanov and His Experiments on Cross-Breeding Humans with Anthropoid Apes," Science in Context, 2002, p. 277-316.

In a presentation to the World Congress of Zoologists in Graz in 1910, he outlined the possibility of using artificial insemination to create a hybrid. In 1924, while working at the Pasteur Institute in Paris, Ivanov gained permission from the Institute's directors to use its experimental primate station in Kindia, French Guinea, for his hybridisation experiments. He requested backing for this project from the Soviet government, writing to Soviet officials including the People's Commissar on Education and Science Anatoliy Vasilievich Lunacharsky. In September 1925, Nikolai Petrovich Gorbunov, head of the Department of Scientific Institutions helped allocate US$10000 to the Academy of Sciences for Ivanov's human-ape hybridization experiments in Africa.

In March 1926 Ivanov arrived at the Kindia facility, but left after a month because the facility had no sexually mature chimpanzees. Ivanov attempted to organize the insemination of human females with chimpanzee sperm in Guinea, but the French colonial government objected to the proposal. There is no evidence such an experiment was arranged there. Back in France he corresponded with French Guinea's colonial governor and arranged to conduct his experiments at the botanical gardens in Conakry. Ivanov, assisted by his son (also called Ilya), went to Conakry in November 1926 where he oversaw the capture of adult chimpanzees in the interior of the colony. These were caged at the botanical gardens in Conakry. On February 28, 1927, Ivanov artificially inseminated 2 female chimps with human sperm (not sourced from him or his son). On June 25, he injected a third chimpanzee with human sperm. The Ivanovs left Africa in July 1927 with 13 chimps, including the 3 artificially inseminated females. They already knew that the first 2 chimps had not conceived. The third died in France and was also found not to have conceived. The remaining 10 chimps went to the Sukhumi primate station.

Ivanov returned to the Soviet Union in 1927 and attempted to organize experiments at Sukhumi using ape sperm and human females. In 1929, with the help of Gorbunov, he gained the support of the Society of Materialist Biologists (a group associated with the Communist Academy). In Spring 1929 the Society set up a commission to plan Ivanov's experiments at Sukhumi. They required at least 5 volunteer women for the project. In June 1929, before any inseminations had taken place, the only sexually mature ape remaining at Sukhumi (an orangutan) had died. A new set of chimps would not arrive at Sukhumi until Summer 1930. That year, a political shakeup in the Soviet scientific world resulted in Gorbunov and several other Sukhumi scientists losing their positions. In Spring 1930 Ivanov came under political criticism and on December 13, 1930 he was arrested and exiled to Alma Ata, where he died in 1932.

There have been persistent rumours of a Chinese humanzee experiment; the rumoured 3 month foetus died when the mother was killed during civil unrest. There are similar rumours of a humanzee or manpanzee experiment in the USA. In the 1960s there were persistent rumours of a Russian experiment to inseminate either a female chimpanzee or a female gorilla with human sperm. Bernard Grizmek, former Frankfurt Zoo director, wrote of rumours from the Soviet Union that the Russians had created a human/chimpanzee hybrid (probably a mis-reporting of Ilya Ivanov's experiments). More recently, a news story claimed that Stalin ordered his scientists to create an army of human/ape hybrids, because they would be less fussy about what they ate. Though nothing came of this, it may have been the origin of the rumours.

According to a tale by Peter Damain in the 11th century story “De bono religiosi status et variorum animatium tropolagia,” Count Gulielmus had both a pet ape and a wanton wife. The woman was so wanton that she allowed the ape to become her lover. The ape became jealous of the Count and when it found him lying with the Countess, the ape attacked him. The Count died of his grievous injuries. Damain had learned of this from Pope Alexander II. The pope had shown Damain a monster that was supposedly the result of the ape mating with the woman. This apelike boy was called Maimo after his simian father. If Maimo did exist, he was most likely a physically and mentally handicapped child.

In the 19th century, a Khoisan (Hottentot) woman called Saartjie Baartman was exhibited in Europe in a cage. Negro women with enlarged labia and enlarged buttocks were sometimes deemed evidence of chimp/human hybridisation; such hybrids being called a "womanzee". This was based on the supposed resemblance of their genitalia to those of female chimps and fitted with the then prevalent opinion that Negroes were inferior, or less evolved, than Europeans. Enlarged buttocks occur due to a condition called steatopygia (extreme accumulation of fat on the buttocks), while enlarged labia, or "Hottentot Apron" can be either inherited or induced/enhanced by manual stretching (in some regions they were considered attractive). Neither trait is due to hybridisation.

The idea of human/ape hybrids has fascinated people and resulted in several films or TV series, some exploring whether such hybrids would have "human rights" or simply be experimental animals for use in vivisection. It is only a matter of time before curiosity overcomes ethics and an authenticated attempt is made.

Textual content is licensed under the GFDL.



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 16:19
Panthera hybrid  http://en.wikipedia.org/wiki/Panthera_hybrid#Jaglion
From Wikipedia, the free encyclopedia
Jump to: navigation, search
The four living species of Panthera genus (Panthera leo (Lion), Panthera onca (Jaguar), Panthera pardus (Leopard), Panthera tigris (Tiger)) may produce a number of hybrid crosses. These hybrids are usually described with a portmanteau name, and sometimes with a traditional name.

             Lion  Tiger  Jaguar  Leopard 

Lion       Lion Liger Liguar Liard
Tiger     Tigon Tiger Tiguar Tigard
Jaguar   Jaglion Jaguatiger Jaguar Jagupard
Leopard  Leopon Leotig Leguar Leopard


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Tuba ✿゚✎..✿.。.:。ღ ที่ 08-08-2007, 16:34
โห....

แค่เรื่องไทยรัฐ ลงรูปมั่วแค่เนี้ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย กลายเป็นเรื่องขึ้นมาเลย.....



ยิ่งอ่านยิ่งงงครับ เดี๋ยวถ้ากลายเป็นเรื่อง ลิเดีย มะไหร่ จะมาแจมต่อครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: varada ที่ 08-08-2007, 16:46
โอวววว ดีจังเลยครับ

ชีวิตมีวิวัฒนาการ!!!!!

ถึงแม้จะอยู่ในศตวรรษที่ 21 แล้ว เราก็ควรจะเชื่อว่า ชีวิตมีวิวัฒนาการ อีกต่อไป

เราควรจะเชื่อว่า...

และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ครั้งกระโน้น ว่าด้วยการ ตัดหางหนูหลาย ๆ ชั้นตระกูลต่อกันไป
เพื่อให้ชีวะของหนูเกิด "เชื่อ" ว่า หางไม่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต
ลูกของหนูสายพันธุ์หางด้วน ชั้นตระกูลที่ 50 ก็จะกลายเป็นหนูไม่มีหาง ไปในที่สุด[/color]

เอิ๊ก ๆ ๆ ๆ



วันก่อนพาเจ้าตัวเล็กไปตรวจสุขภาพ เห็นคนเอาลูกหมาบางสายพันธุ์ที่เขานิยมเลี้ยงแบบหางกุดๆ
ไปให้หมอตัดหาง..............ที่จริงเขาก็ตัดกันมาหลายปีแล้วนะ
แต่พอออกลูกทีไรมันก็ยังหางยาวอยู่เลย(ต้องวิวัฒตัดฉับอีกนานเท่าไรมันถึงจะยอมด้วนเอง) :slime_doubt:

ขณะที่.............ในรูปนี้ บรรพบุรุษของเจ้าตัวเล็กที่บ้านข้าพเจ้าเอง เมื่อหลายล้านปีก่อน เขา(ที่ไม่ได้งอกบนหัว
เป็นสรรพนาม)ก็มีหางเป็นพวงนะ
ไม่มีสัตวแพทย์คนใหนไปไล่ตัดหาง แต่เขา(สรรพนามอีกรอบ)ก็หางกุดไปเรื่อยๆเองตามการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด
ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นอยู่


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: varada ที่ 08-08-2007, 16:49
ปัจจุบัน ไม่มีหางให้ส่ายดุ๊กดิ๊กๆๆแล้ว
แต่ถ้าคลำตรงก้น จะยังคงพบเป็นติ่งกระดูกก้นกบอยู่
แรกๆสับสนนึกว่าปิกัจจู้ของนังหนุนมันเหมือนกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: varada ที่ 08-08-2007, 16:51
ที่จะบอกก็คือ...........ไม่ต้องมีใครมาตัด ป๋มก็กุดได้ค๊าบบบบบบบบบ
ถ้าลุงๆน้าๆจะยอมรับคำว่าวิวัฒนาการ
แต่ถ้าไม่ยอมรับก็แล้วปาย งั้นช่วยสืบให้ทีแล้วกัน
ว่าครายมันตัดหางป๋มไป
:slime_whistle:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Bo. ที่ 08-08-2007, 17:01
ว่าจะกลับมาต่อซักหน่อย
แต่อ่านไปอ่านมา
งานนี้ขอบายค่ะ

ที่ห้องเรียนอเมริกา นักเรียนสามารถเดินออกจากห้อง
ไม่ต้องเรียนเรื่อง วิวัฒนาการ ก็ได้
ถ้าเค้าไม่ต้องการ

ปล. สิ่งวิเศษสุดของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศคือ
การเปิดโอกาสให้ มีการเปลี่ยนแปลง DNA ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
ถ้าลักษณะพิเศษนี้ถูกออกแบบ หรือ สร้างสรรค์มาก็นับว่าเป็นที่สุดของอัจฉริยะของผู้ออกแบบ
หรือ ถ้าลักษณะพิเศษนี้พัฒนาขึ้นเอง เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
ก็นับว่าธรรมชาติคือสิ่งมหัศจรรย์ที่สุด ที่ตัวเอง รู้สึกคุ้มค่าที่เกิดมา
และได้เรียนรู้มัน


หัวข้อ: จุดกำเนิดของโลก-มนุษยชาติ และการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิวัฒนาการ
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 08-08-2007, 17:09
:slime_smile:
 เห็นว่าสนุกดี.. เพื่อนๆ ชอบ กันเลย เอา Link มาฝากฮะ

ได้ทดลอง ระบบ Server ของตัวเอง ไปในตัว ว่า  แรง แค่ไหน อีกด๊วยยย ฮะ

VDO ชุด.. จุดกำเนิดของโลก-มนุษยชาติ และการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิวัฒนาการ

 :slime_fighto: กด ชมได้เลยฮะ http://www.stonekid.com/modules/news/article.php?storyid=23

(http://www.stonekid.com/uploads/wmv/specialD2005-07-17ID-2545.jpg) (http://www.stonekid.com/modules/news/article.php?storyid=23)


เด็กอนุบาล..แอ๊บแบ๊ว..อย่างลูกหิน..ชอบ สะสม Clip ดีๆ สนุกๆ ใน เวป ตัวเองฮะ
ได้ความรู้ ไปในตัว

เวลาลูกหิน โม้ สาวๆ  จะได้ ม่ายต้อง เพ้อเจ้อ มั่วๆ (เด๋วเขาจะหาว่าเล่านิยายหน่ะฮะ..อิอิ)

 :slime_fighto: มีของจริง..ของดีๆ..ม่ายเคย ไก่กา.. ก้อต้อง โชว์ อ๊อฟ ...กันหน๊อยยยย!!!!
..มะต้อง ตัดแปะ หลายกะทุ๊.. โชว์ พาว..ให้ เมื่อยหน้า






หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Bo. ที่ 08-08-2007, 17:14
คุณลูกหินมีตอนอื่น ๆ ไหมคะ
ชอบสารคดีชุดนี้มาก
โดยเฉพาะตอนวิวัฒนาการของพวกไพรเมต


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-08-2007, 17:39

ผมถามบ้าง..

ไก่กับไข่คุณว่าอะไรเกิดก่อนกัน? ทำไมครับ..? :slime_bigsmile: :slime_cool:

สงสัยว่าคุณ Q จะถามผมหลังจากตอบคำถามก็เลยขอตอบนะครับ  :slime_smile:

ก่อนอื่นถ้าไม่ระบุว่าไข่อะไร ผมก็ฟันธงไปเลยว่าไข่เกิดก่อนเพราะนอกจากไก่ยังมีตัวอะไร
ที่ออกลูกเป็นไข่มากมาย ยกเว้นแต่เพียงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นตัว อย่างพวก
หอยต่างๆ ก็เชื่อว่าน่าจะมีมาก่อนไก่หลายร้อยล้านปีนะครับ

ไม่เอา.. ตอบแบบนี้ถือว่าโกง งั้นขอตั้งโจทย์ใหม่เป็น "ไก่กับไข่ไก่อะไรเกิดก่อน" แล้วกัน
เพราะถ้าไม่ตั้งโจทย์ใหม่ก็ต้องโดนถามแน่ๆ

:slime_bigsmile:
---

คราวนี้จะขอแก้ปัญหาโดยใช้การตีความภาษา ร่วมกับหลักเหตุและผลนะครับ

ก่อนอื่นเราต้องนิยาม "ไข่ไก่" ว่ามันคืออะไร ตามความเห็นของผมน่าจะตีความได้ 2 แบบ
คือ 1.) "ไข่ที่ได้จากแม่ไก่ไข่ออกมา" และ  2.) "ไข่ที่มี(ว่าที่)ลูกไก่อยู่ข้างใน"

ซึ่งในความเห็นผมเราใช้คำว่า "ไข่ไก่" กับ "ไข่ที่ได้จากแม่ไก่ไข่ออกมา" มากกว่า 
คือมองในรูปผลิตภัณฑ์เหมือนกับ "เนื้อหมู" หรือ "นมโค" ทั้งนี้ไม่ว่าไข่ไก่นั้น
จะสามารถฟักเป็นตัวลูกไก่ได้หรือไม่แม้จะเป็น "ไข่ลม" เราก็ยังถือว่าเป็น "ไข่ไก่"

เมื่อนิยาม "ไข่ไก่" ได้แล้วในความเห็นของผมจึงแน่นอนว่า "ไก่ต้องเกิดก่อนไข่ไก่"

ฟันธงครับ!!!  :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 17:42
เอาเป็นว่า ให้เป็นเรื่องของ "ความเชื่อ" ก็แล้วกันนะครับ
ใครเลือกจะเชื่อยังไง ก็เชื่อไป
เพราะคงไปคัดง้างความ "เลือกเชื่อ" กันไม่ได้
ถ้าจะตัดสินเอาแพ้ชนะ คงทำได้วิธีเดียว คือ ยกพวกตีกัน  :slime_bigsmile:
(ซึ่งเชื่อว่า ฝ่ายเชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการมีมากกว่า ตีชนะแน่)

ระดับ จุลภาค เอิ๊กอ๊ากอย่างเสรีไทยเรา เชื่อ/ไม่เชื่อ กันพอหอมปากหอมคอ อย่าถึงกับยกพวกตีกันเลย
เพราะในระดับ มหภาค เขาก็เถียงเรื่องนี้กัน จนจะฆ่ากันตาย ไม่ยอมกัน
จนแบ่งแยกเป็นทฤษฎีให้คน "เลือกเชื่อ" ไปคนละสำนักแล้ว


ปล.แนะนำเบา ๆ ว่า การเลือกเชื่อในศาสตร์แขนงเดียว โดยเฉพาะศาสตร์ที่มีสูตร กฎ ทฤษฎี เป็นตัวกำหนด
มีความเสี่ยงสูง ที่จะกลายเป็นพวกยึดมั่นถือมั่น-Groupies กรี๊ดกร๊าด ได้โดยไม่รู้ตัว
แนะนำว่า ลองหันมาสนใจศึกษาทางปรัชญาดู
ละลายพฤติกรรมยึดมั่นถือมั่นได้มากเลย
แต่จะกลายเป็นพวก "ไม่เชื่ออะไรสักอย่าง" หรือไม่ แล้วแต่ความหนักแน่นของกึ๋นส์ ฮับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: 1ktip ที่ 08-08-2007, 18:34
เป็นกระทู้นอกเรื่องการเมืองที่ย๊าวยาวจริงๆ

ตามความเห็นผม การกลายพันธุ์กับการคัดเลือกทางธรรมชาติมีผลต่อการเกิดสปีชี่ส์ใหม่มากที่สุด

การกลายพันธุ์และการผ่าเหล่าทำให้เกิดความหลายหลายในช่วงเวลาหนึ่ง และการคัดเลือกทางธรรมชาติก็เข้ามามีบทบาท

ถ้าการเปลี่ยนแปลงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีพในสภาวะแวดล้อมนั้น สิ่งมีชีวิตนั้นๆ ก็จะทวีจำนวนมากขึ้น

เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของพันธุกรรมในระดับสูง จนแตกต่างออกไปจากสปีชี่ส์ดั้งเดิมและแยกออกไปเป็นสปีชี่ส์ใหม่ในที่สุด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-08-2007, 20:41
สงสัยว่าคุณ Q จะถามผมหลังจากตอบคำถามก็เลยขอตอบนะครับ  :slime_smile:

ก่อนอื่นถ้าไม่ระบุว่าไข่อะไร ผมก็ฟันธงไปเลยว่าไข่เกิดก่อนเพราะนอกจากไก่ยังมีตัวอะไร
ที่ออกลูกเป็นไข่มากมาย ยกเว้นแต่เพียงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นตัว อย่างพวก
หอยต่างๆ ก็เชื่อว่าน่าจะมีมาก่อนไก่หลายร้อยล้านปีนะครับ

ไม่เอา.. ตอบแบบนี้ถือว่าโกง งั้นขอตั้งโจทย์ใหม่เป็น "ไก่กับไข่ไก่อะไรเกิดก่อน" แล้วกัน
เพราะถ้าไม่ตั้งโจทย์ใหม่ก็ต้องโดนถามแน่ๆ

:slime_bigsmile:
---

คราวนี้จะขอแก้ปัญหาโดยใช้การตีความภาษา ร่วมกับหลักเหตุและผลนะครับ

ก่อนอื่นเราต้องนิยาม "ไข่ไก่" ว่ามันคืออะไร ตามความเห็นของผมน่าจะตีความได้ 2 แบบ
คือ 1.) "ไข่ที่ได้จากแม่ไก่ไข่ออกมา" และ  2.) "ไข่ที่มี(ว่าที่)ลูกไก่อยู่ข้างใน"

ซึ่งในความเห็นผมเราใช้คำว่า "ไข่ไก่" กับ "ไข่ที่ได้จากแม่ไก่ไข่ออกมา" มากกว่า 
คือมองในรูปผลิตภัณฑ์เหมือนกับ "เนื้อหมู" หรือ "นมโค" ทั้งนี้ไม่ว่าไข่ไก่นั้น
จะสามารถฟักเป็นตัวลูกไก่ได้หรือไม่แม้จะเป็น "ไข่ลม" เราก็ยังถือว่าเป็น "ไข่ไก่"

เมื่อนิยาม "ไข่ไก่" ได้แล้วในความเห็นของผมจึงแน่นอนว่า "ไก่ต้องเกิดก่อนไข่ไก่"

ฟันธงครับ!!!  :slime_v:


มีเหตุผลและความเชื่อมโยงดีครับ..

น่าจะทดสอบและพิสูจน์ด้วยสถิติได้ ว่าไม่มีโอกาสที่ไข่จะเกิดและฟักเป็นตัวได้โดยไม่มีแม่ไก่กกไข่ และไม่มีเชื้อ

ขณะที่ไก่สามารถไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบว่าตัวเองเกิดหรือแปรสภาพนานแค่ไหนมาจากไข่อะไรก็ตาม  
                                                                                                                                          :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: 1ktip ที่ 08-08-2007, 21:00
ไก่เกิดก่อนไข่ครับ

ไข่ไก่ฟองแรก ย่อมต้องออกมาจากสิ่งมีชีวิตที่ถูกเรียกว่าไก่เป็นตัวแรกแน่นอน ซึ่งเจ้าไก่ตัวแรก มันอาจจะออกมาจากไข่ของแม่ที่เป็นสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ได้ถูกเรียกว่าไก่


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 08-08-2007, 21:40
เริ่มเข้าไปสู่ประเด็นอภิปัชญากันแล้ว

อีกสักหน่อย ก็คงจะไปสู่เรื่อง creation อันมีสิ่งที่เรียกว่า "พระเจ้า" เป็นตัวชูโรง

ตามด้วยข้อสงสัย ตกลงพระเจ้าสร้างโลก หรือ โลกสร้างพระเจ้า กันแน่

 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 09-08-2007, 03:44


ถ้าไข่(ที่กลายเป็นไก่)ฟองแรกไม่ใช่ไข่ไก่ แสดงว่า ไข่นั้นมีวิวัฒนาการ แต่จะเป็นช่วงยาวนานได้ต้องแข่แข็งหรือฟักนานมาก

ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ทีฟักเป็นไก่ แสดงว่าไก่ตัวแรกเริ่มออกลูกเป็นไข่ไก่ ก่อนใตร

ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ที่ฟักไม่เป็นไก่ แสดงว่ามีไก่ตัวแรกออกไข่อย่างมีวิวัฒนาการจนฟักเป็นไก่ได้.. 

ถ้าไข่(ที่กลายเป็นไก่)ฟองแรกเกิดจากไก่ แสดงว่าไก่มีวิวัฒนาการจากออกลูกเป็นอย่างอื่น มาเป็นไข่ได้..

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกันแสดงว่ามีการผ่าเหล่าอย่างไม่หยุดยั้งในบรรพบุรูษของไก่ กรณีนี้ไก่อาจเติบโตเป็นไข่ได้แต่อยู่ไม่รอด

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งไม่มีชีวิต แสดงว่าโมเลกุลของฝุ่นผงกลายเป็นบักเตรีได้และกลายเป็นไก่ได้

ถ้าหากทั้งหมดเป็นจริง แสดงว่าไม่จริง หรือ มีไก่เหมือนกันเกิดจากหลายบรรพบุรุษอะไรก็ได้ผสมปนเปกันอยู่

ถ้าหากจริงเป็นบางข้อ ก็ต้องมีหลักฐานจากรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระจายอยู่ทั่วไป..

ถ้าหากทั้งหมดไม่จริง แสดงว่าไม่มีวิวัฒนาการมาเป็นไก่หรือไข่ไก่ ซึ่งไม่จริงตามแนวคิดวิวัฒนาการ..ไขฟ

ส่วนไก่หรือไข่ฟองแรกต้องหาแนวคิดรองรับใหม่ เช่น อะไรไม่รู้เสกได้ หรือมีไก่หรือไข่เกิดขึ้นทันทีทันใดจากบิกแบ็งหรือปรากฎการณ์อะไรก็ตาม

ทั้งหมดใช้เวลายาวนานมากจนปะติดปะต่อเป็นอะไรก็ได้ หรือเป็นอะไรไม่ได้เลย..หรือเป็นได้บ้างไม่เป็นได้บ้างว่าเป็นรายกรณี

ก็ต้องเชื่อหลักฐาน ที่อธิบายและทำนายได้ครับ..


ไม่ปรากฎหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า คนมาจากลิง

แต่ปรากฎหลักฐานว่าคนอาจเลียนแบบลิงได้ 

ลิงเลียนแบบคนได้แต่ไม่ฉลาดเท่าคน ปรากฎหลักฐานอยู่ททั่วไป

ส่วนที่ฉลาดกว่าคน หากจะมีมนุษย์ก็คงไม่ทราบแน่ชัด นอกจากสังเกตด้วยความอยากรู้

ตถตา...


ขอบคุณจชกท. ทุกท่านที่ร่วมสนุกและให้ข้อมูลครับ.

คงไม่อยู่สักหลายวันครับ...
                                                         :slime_smile:




หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 09:44

ถ้าไข่(ที่กลายเป็นไก่)ฟองแรกไม่ใช่ไข่ไก่ แสดงว่า ไข่นั้นมีวิวัฒนาการ แต่จะเป็นช่วงยาวนานได้ต้องแข่แข็งหรือฟักนานมาก

ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ทีฟักเป็นไก่ แสดงว่าไก่ตัวแรกเริ่มออกลูกเป็นไข่ไก่ ก่อนใตร

ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ที่ฟักไม่เป็นไก่ แสดงว่ามีไก่ตัวแรกออกไข่อย่างมีวิวัฒนาการจนฟักเป็นไก่ได้.. 

ถ้าไข่(ที่กลายเป็นไก่)ฟองแรกเกิดจากไก่ แสดงว่าไก่มีวิวัฒนาการจากออกลูกเป็นอย่างอื่น มาเป็นไข่ได้..

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกันแสดงว่ามีการผ่าเหล่าอย่างไม่หยุดยั้งในบรรพบุรูษของไก่ กรณีนี้ไก่อาจเติบโตเป็นไข่ได้แต่อยู่ไม่รอด

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งไม่มีชีวิต แสดงว่าโมเลกุลของฝุ่นผงกลายเป็นบักเตรีได้และกลายเป็นไก่ได้

ถ้าหากทั้งหมดเป็นจริง แสดงว่าไม่จริง หรือ มีไก่เหมือนกันเกิดจากหลายบรรพบุรุษอะไรก็ได้ผสมปนเปกันอยู่

ถ้าหากจริงเป็นบางข้อ ก็ต้องมีหลักฐานจากรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระจายอยู่ทั่วไป..

ถ้าหากทั้งหมดไม่จริง แสดงว่าไม่มีวิวัฒนาการมาเป็นไก่หรือไข่ไก่ ซึ่งไม่จริงตามแนวคิดวิวัฒนาการ..ไขฟ

ส่วนไก่หรือไข่ฟองแรกต้องหาแนวคิดรองรับใหม่ เช่น อะไรไม่รู้เสกได้ หรือมีไก่หรือไข่เกิดขึ้นทันทีทันใดจากบิกแบ็งหรือปรากฎการณ์อะไรก็ตาม

ทั้งหมดใช้เวลายาวนานมากจนปะติดปะต่อเป็นอะไรก็ได้ หรือเป็นอะไรไม่ได้เลย..หรือเป็นได้บ้างไม่เป็นได้บ้างว่าเป็นรายกรณี

ก็ต้องเชื่อหลักฐาน ที่อธิบายและทำนายได้ครับ..


ไม่ปรากฎหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า คนมาจากลิง

แต่ปรากฎหลักฐานว่าคนอาจเลียนแบบลิงได้ 

ลิงเลียนแบบคนได้แต่ไม่ฉลาดเท่าคน ปรากฎหลักฐานอยู่ททั่วไป

ส่วนที่ฉลาดกว่าคน หากจะมีมนุษย์ก็คงไม่ทราบแน่ชัด นอกจากสังเกตด้วยความอยากรู้

ตถตา...


ขอบคุณจชกท. ทุกท่านที่ร่วมสนุกและให้ข้อมูลครับ.

คงไม่อยู่สักหลายวันครับ...
                                                         :slime_smile:



ถ้าคุณอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme ได้คุณก็จะเข้าใจเรื่องไข่เกิดก่อนไก่ แต่เมื่อไม่สามารถอธิบายตรงนี้ได้ก็ย่อมไม่เข้าใจเป็นธรรมดา

ส่วนเรื่องคนมาจากลิง ถ้าหมายถึงลิงในปัจจุบันนะ ผมก็ไม่เชื่อและผู้ที่เข้าในในเรื่องวิวัฒนาการก็ไม่เชื่อ แต่ถ้ามีบรรพบุรุษร่วมนี่ผมเชื่อครับ หลักฐานก็จากซากฟอสซิล+ชีววิทยาโมเลกุล ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับที่ใช้บอกว่ามนุษย์ทุกคนในโลกนี้มาจากแหล่งเดียวกันนะแหละ ถ้าคุณบอกว่าไม่เชื่อว่าคนกับลิงมีบรรพบุรุษร่วมกัน ก็ย่อมไม่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมาจากแหล่งเดียวกัน เนื่องจากวิธีการตรวจสอบไม่น่าเชื่อถือ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 09:46
เริ่มเข้าไปสู่ประเด็นอภิปัชญากันแล้ว

อีกสักหน่อย ก็คงจะไปสู่เรื่อง creation อันมีสิ่งที่เรียกว่า "พระเจ้า" เป็นตัวชูโรง

ตามด้วยข้อสงสัย ตกลงพระเจ้าสร้างโลก หรือ โลกสร้างพระเจ้า กันแน่

 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:
ต้องระบุด้วยว่าครับพระเจ้าของใคร ของความเชื่อไหน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 09-08-2007, 10:10

ถ้าไข่(ที่กลายเป็นไก่)ฟองแรกไม่ใช่ไข่ไก่ แสดงว่า ไข่นั้นมีวิวัฒนาการ แต่จะเป็นช่วงยาวนานได้ต้องแข่แข็งหรือฟักนานมาก

อ่าไม่จำเป็นต้องอยู่ในไข่นานครับ แต่กว่าจะแปลงร่างเหมือนไก่หนะ ออกไข่กันซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นหลายร้อยรุ่น หน้าตาเหมือนไก่เข้าไปทุกทีครับ

ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ทีฟักเป็นไก่ แสดงว่าไก่ตัวแรกเริ่มออกลูกเป็นไข่ไก่ ก่อนใตร

ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ที่ฟักไม่เป็นไก่ แสดงว่ามีไก่ตัวแรกออกไข่อย่างมีวิวัฒนาการจนฟักเป็นไก่ได้.. 

ถ้าไข่(ที่กลายเป็นไก่)ฟองแรกเกิดจากไก่ แสดงว่าไก่มีวิวัฒนาการจากออกลูกเป็นอย่างอื่น มาเป็นไข่ได้..

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกันแสดงว่ามีการผ่าเหล่าอย่างไม่หยุดยั้งในบรรพบุรูษของไก่ กรณีนี้ไก่อาจเติบโตเป็นไข่ได้แต่อยู่ไม่รอด

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งไม่มีชีวิต แสดงว่าโมเลกุลของฝุ่นผงกลายเป็นบักเตรีได้และกลายเป็นไก่ได้

ถ้าหากทั้งหมดเป็นจริง แสดงว่าไม่จริง หรือ มีไก่เหมือนกันเกิดจากหลายบรรพบุรุษอะไรก็ได้ผสมปนเปกันอยู่

ถ้าหากจริงเป็นบางข้อ ก็ต้องมีหลักฐานจากรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระจายอยู่ทั่วไป..


หลักฐานก็คือไก่สายพันธุ์ต่างๆ  เป็ด นก


ถ้าหากทั้งหมดไม่จริง แสดงว่าไม่มีวิวัฒนาการมาเป็นไก่หรือไข่ไก่ ซึ่งไม่จริงตามแนวคิดวิวัฒนาการ..ไขฟ

ส่วนไก่หรือไข่ฟองแรกต้องหาแนวคิดรองรับใหม่ เช่น อะไรไม่รู้เสกได้ หรือมีไก่หรือไข่เกิดขึ้นทันทีทันใดจากบิกแบ็งหรือปรากฎการณ์อะไรก็ตาม

ทั้งหมดใช้เวลายาวนานมากจนปะติดปะต่อเป็นอะไรก็ได้ หรือเป็นอะไรไม่ได้เลย..หรือเป็นได้บ้างไม่เป็นได้บ้างว่าเป็นรายกรณี

ก็ต้องเชื่อหลักฐาน ที่อธิบายและทำนายได้ครับ..


ไม่ปรากฎหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า คนมาจากลิง


เพราะคนไม่ได้มาจากลิง แต่เรากับลิงก็ใกล้ชิด กันคล้ายๆ ไก่ฟ้า กับ ไก่บ้าน หละครับ

เรากับลิงมาจากสิ่งๆเดียวกัน

แต่สิ่งนั้นทิ้งลูกหลานไว้ต่างสถานที่ต่างสภาวะ

ทำให้ลูกหลานมีการเลี้ยงดู ความประพฤติ

ลักษณะทางกายภาพที่ต่างกัน และถ่ายทอดเรื่อยๆถึงรุ่นลูกหลานของลูกหลานอีกที

ทีละนิดทีละน้อย



แต่ปรากฎหลักฐานว่าคนอาจเลียนแบบลิงได้ 

ลิงเลียนแบบคนได้แต่ไม่ฉลาดเท่าคน ปรากฎหลักฐานอยู่ททั่วไป

ส่วนที่ฉลาดกว่าคน หากจะมีมนุษย์ก็คงไม่ทราบแน่ชัด นอกจากสังเกตด้วยความอยากรู้


ตถตา...


ขอบคุณจชกท. ทุกท่านที่ร่วมสนุกและให้ข้อมูลครับ.

คงไม่อยู่สักหลายวันครับ...
                                                         :slime_smile:





หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 09-08-2007, 10:29
พระเจ้า

พระยาเวห์ พระยะโฮวา พระอาเลาะห์ - ยิว คริส อิสลาม (องค์เดียวกัน แต่เรียกันคนละชื่อ)
ซูส - กรีก โรมัน
เง็กเซียนฮ่องเต้ - จีน
พระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ - ฮินดู
พระพุทธเจ้า - พุทธมหายานบางลัทธิ
โอดีน - ไวกิ้ง
รา - อียิป
...

เอาแบบไหนล่ะ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 09-08-2007, 10:34
^ ^

ลืม ทักสิน อีกองค์นึงครับ

 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 09-08-2007, 12:33
ตามด้วยข้อสงสัย ตกลงพระเจ้าสร้างโลก หรือ โลกสร้างพระเจ้า กันแน่


เคยได้ยินแต่ has god made man or man made god? อ่ะครับ
ว่าแล้วก็ไปขุด There is no god ของ Extreme มาฟังดีกว่า :slime_evil:

เฮฟวี่ๆ :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 18:28

พระยาเวห์ พระยะโฮวา พระอาเลาะห์ - ยิว คริส อิสลาม (องค์เดียวกัน แต่เรียกันคนละชื่อ)

ขอแย้งครับ คนละองค์กันครับ ดูวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าหาพระเจ้าก็ต่างกันแล้ว ยิวไม่ต้องละหมาดวันละ 5 เวลานี่ แต่มุสลิมต้องทำ ของคริสต์ Jesus เป็นพระเจ้า แต่ยิวกับมุสลิมไม่ถือว่า Jesus เป็นพระเจ้า แล้วมันจะเป็นองค์เดียวกันได้อย่างไรครับ อีกเรื่องก็คือความเป็นรูปธรรม นามธรรม ของยิว คริสต์มีรูปวาดแต่ของอิสลามกลับไม่มี


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 18:47
พระเจ้า

พระยาเวห์ พระยะโฮวา พระอาเลาะห์ - ยิว คริส อิสลาม (องค์เดียวกัน แต่เรียกันคนละชื่อ)
ซูส - กรีก โรมัน
เง็กเซียนฮ่องเต้ - จีน
พระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ - ฮินดู
พระพุทธเจ้า - พุทธมหายานบางลัทธิ
โอดีน - ไวกิ้ง
รา - อียิป
...

เอาแบบไหนล่ะ
เอาพวก Pantheism เข้าไปรวมด้วยสิครับอย่าง Spinoza's God หรือ Tao


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 09-08-2007, 18:52
ขอแย้งครับ คนละองค์กันครับ ดูวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าหาพระเจ้าก็ต่างกันแล้ว ยิวไม่ต้องละหมาดวันละ 5 เวลานี่ แต่มุสลิมต้องทำ ของคริสต์ Jesus เป็นพระเจ้า แต่ยิวกับมสลิมไม่ถือว่า Jesus เป็นพระเจ้า แล้วมันจะเป็นองค์เดียวกันได้อย่างไรครับ

เยซู(จีซัส)เป็นบุตรของพระเจ้า เป็นผู้นำสาร แต่ไม่ใช่พระเจ้าครับ
ตามพระคัมภีร์ นับว่าพระเจ้าเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่ออยู่ต่างเวลาต่างสถานที่
บรรดาสาวกเองจึงใช้คัมภีร์ที่มีรายละเอียดต่างกัน
ซึ่งแม้แต่ในศาสนาคริสเอง ก็มีการชำระคัมภีร์หลายรอบ มีความเชื่อหลายส่วนที่ไม่ตรงกัน
แต่เมื่อมีการกล่าวถึงพระเจ้า และการนับถือคัมภรี์(คำสอนของพระเจ้า)  ยังถือว่าเป็นอย่างเดียวกันอยู่
(แต่ก็ไม่รู้ทำไมถึงชอบตีกันจังว๊า.......)

ปล. พระพุทธเจ้าไม่ใช่พระเจ้า
เง็กเซียน คือพระอินทร์ตามศาสนาพราหมณ์(ไม่รู้ว่าใครก๊อปใคร)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 19:40
เยซู(จีซัส)เป็นบุตรของพระเจ้า เป็นผู้นำสาร แต่ไม่ใช่พระเจ้าครับ
ตามพระคัมภีร์ นับว่าพระเจ้าเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่ออยู่ต่างเวลาต่างสถานที่
บรรดาสาวกเองจึงใช้คัมภีร์ที่มีรายละเอียดต่างกัน
ซึ่งแม้แต่ในศาสนาคริสเอง ก็มีการชำระคัมภีร์หลายรอบ มีความเชื่อหลายส่วนที่ไม่ตรงกัน
แต่เมื่อมีการกล่าวถึงพระเจ้า และการนับถือคัมภรี์(คำสอนของพระเจ้า)  ยังถือว่าเป็นอย่างเดียวกันอยู่
(แต่ก็ไม่รู้ทำไมถึงชอบตีกันจังว๊า.......)

ปล. พระพุทธเจ้าไม่ใช่พระเจ้า
เง็กเซียน คือพระอินทร์ตามศาสนาพราหมณ์(ไม่รู้ว่าใครก๊อปใคร)
ลองไปถามชาวคริสต์นะครับว่า Jesus เป็นพระเจ้าหรือไม่ ผมว่าถ้าชาวคริสต์ไม่ยอมรับว่า Jesus เป็นพระเข้านี่ออกจะพิลึกนะครับ เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับ Trinity ด้วย
ยกตัวอย่างคัมภีร์ที่บอกว่า Jesus เป็นพระเจ้า
ยอห์น
1:1 ในเริ่มแรกนั้นพระวาทะทรงเป็นอยู่แล้ว และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า
5:21 เพราะพระบิดาทรงทำให้คนที่ตายแล้วฟื้นขึ้นมาและมีชีวิตฉันใด ถ้าพระบุตรปรารถนาจะกระทำให้ผู้ใดมีชีวิตก็จะกระทำเหมือนกันฉันนั้น
8:23 พระองค์ตรัสกับเขาว่า "ท่านทั้งหลายมาจากเบื้องล่าง เรามาจากเบื้องบน ท่านเป็นของโลกนี้ เราไม่ได้เป็นของโลกนี้
8:24 เราจึงบอกท่านทั้งหลายว่า ท่านจะตายในการบาปของท่าน เพราะว่าถ้าท่านมิได้เชื่อว่าเราเป็นผู้นั้น ท่านจะต้องตายในการบาปของตัว"
8:58 พระเยซูตรัสกับเขาว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ก่อนอับราฮัมบังเกิดมานั้นเราเป็น"
10:30 เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
10:38 แต่ถ้าเรา ปฏิบัติพระราชกิจนั้น แม้ว่าท่านมิได้เชื่อในเรา ก็จงเชื่อเพราะพระราชกิจนั้นเถิด เพื่อท่านจะได้รู้และเชื่อว่าพระบิดาทรงอยู่ในเรา และเราอยู่ในพระบิดา



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Bo. ที่ 09-08-2007, 19:45
ลองไปถามชาวคริสต์นะครับว่า Jesus เป็นพระเจ้าหรือไม่ ผมว่าถ้าชาวคริสต์ไม่ยอมรับว่า Jesus เป็นพระเข้านี่ออกจะพิลึกนะครับ เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับ Trinity ด้วย
ยกตัวอย่างคัมภีร์ที่บอกว่า Jesus เป็นพระเจ้า
ยอห์น
1:1 ในเริ่มแรกนั้นพระวาทะทรงเป็นอยู่แล้ว และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า
5:21 เพราะพระบิดาทรงทำให้คนที่ตายแล้วฟื้นขึ้นมาและมีชีวิตฉันใด ถ้าพระบุตรปรารถนาจะกระทำให้ผู้ใดมีชีวิตก็จะกระทำเหมือนกันฉันนั้น
8:23 พระองค์ตรัสกับเขาว่า "ท่านทั้งหลายมาจากเบื้องล่าง เรามาจากเบื้องบน ท่านเป็นของโลกนี้ เราไม่ได้เป็นของโลกนี้
8:24 เราจึงบอกท่านทั้งหลายว่า ท่านจะตายในการบาปของท่าน เพราะว่าถ้าท่านมิได้เชื่อว่าเราเป็นผู้นั้น ท่านจะต้องตายในการบาปของตัว"
8:58 พระเยซูตรัสกับเขาว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ก่อนอับราฮัมบังเกิดมานั้นเราเป็น"
10:30 เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
10:38 แต่ถ้าเรา ปฏิบัติพระราชกิจนั้น แม้ว่าท่านมิได้เชื่อในเรา ก็จงเชื่อเพราะพระราชกิจนั้นเถิด เพื่อท่านจะได้รู้และเชื่อว่าพระบิดาทรงอยู่ในเรา และเราอยู่ในพระบิดา



มีหลายนิกายที่ถือว่า พระเยซู คือ พระเจ้า หรือเป็นพระเจ้า
แต่หลายนิกาย ถือว่า เป็นศาสดา
บางนิกาย นับถือเป็นผู้ส่งสาร
อันนี้เราถามมาจากคนที่เรียน Bible Study มาค่ะ

ปล. ส่วนพระพุทธเจ้า
พระองค์ "ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง" ค่ะ
จึงไม่มีพระเจ้าในศาสนาพุทธ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 20:04
มีหลายนิกายที่ถือว่า พระเยซู คือ พระเจ้า หรือเป็นพระเจ้า
แต่หลายนิกาย ถือว่า เป็นศาสดา
บางนิกาย นับถือเป็นผู้ส่งสาร
อันนี้เราถามมาจากคนที่เรียน Bible Study มาค่ะ

ปล. ส่วนพระพุทธเจ้า
พระองค์ "ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง" ค่ะ
จึงไม่มีพระเจ้าในศาสนาพุทธ
เอาดั้งเดิมสิ นิกายคาทอลิค นะ Jesus เป็นพระเจ้าหรือไม่ ส่วนเรื่องพระพุทธเจ้านั้น ศาสนาพุทธบางนิกายถือว่าเป็นพระเจ้าด้วยนะครับ แต่ถ้าเถรวาทนั้นไม่มี


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 20:22
ถ้าเอาของฮินดูบางนิกายก็จะกลายเป็นว่าพระพุทธเจ้าคือนารายณ์อวตาร
ส่วนเรื่องพระเยซูหรือนบีอีซา ถ้าเอาตามอัลกุรอาน ก็จะกลายเป็นว่า พระเยซูไม่ได้ตายบนไม้กางเขน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 09-08-2007, 21:26
ผมยืนยันข้อมูลนะครับ
พระพุทธเจ้าเป็นพระเจ้าในบางลัทธิของมหายาน แต่ต้องขออภัยจำไม่ได้ว่าลัทธิอะไร
เป็นลัทธิหนึ่งของญี่ปุ่น ที่พระแต่งงานได้ นะครับ

ส่วนพระเยชู จำไม่ได้ว่า ยิว นับถือหรือเปล่า แต่อิสลามถือว่าเป็นประกาศกท่านหนึ่ง
ส่วนคริสต์ถือว่าเป็นพระเจ้า แต่มีบางลัทธิ (ส่วนน้อย) ถือเป็นแค่ประกาศกเหมือนกัน

Enki , Ninmah ของสุเมเรียน
Amaterasu, Inari, Hachiman ของชินโต
Hanullim เกาหลี
Hikule'O เกาะTongan
Haruhi จาก..................

เท่าที่หาชื่อได้ น่าจะมีอีกเยอะ แต่อย่าง มายา แอสแซต จะไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ





หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 09-08-2007, 21:44
เง็กเซียน คือพระอินทร์ตามศาสนาพราหมณ์(ไม่รู้ว่าใครก๊อปใคร)

พระอินทร์ก็คือพระเจ้านะครับ ต่อมาตกอันดับ เพราะพวกอารยันชนะ เลยโดนลด
อันดับกลายเป็นเทพธรรมดาไป ส่วนเง็กเซียน อันนี้ไม่ค่อยยืนยัน เอาเป็นว่า
คลับคล้ายคลับคลาว่า เป็นพระเจ้า แต่พอพุทธศาสนาเข้ามาในเมืองจีน เลยเจอ
พวกพระโพธิสัตว์ กับพระพุทธเจ้าไม่รู้กี่พระองค์ เข้ามาลดระดับบารมีลง
กลายเป็นเทพธรรมดา ขนาดลิง (หงอคง) ยังลองดีได้สบายๆ (น่าสงสาร)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: 1ktip ที่ 09-08-2007, 21:48
จากซีลาแคนท์มันมาถึงนี่ได้ยังไงหว่า? :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 22:00

ส่วนพระเยชู จำไม่ได้ว่า ยิว นับถือหรือเปล่า แต่อิสลามถือว่าเป็นประกาศกท่านหนึ่ง

เท่าที่หาชื่อได้ น่าจะมีอีกเยอะ แต่อย่าง มายา แอสแซต จะไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ


จากยอห์น 8:59 คนเหล่านั้นจึงหยิบก้อนหินจะขว้างพระองค์ แต่พระเยซูทรงหลบและเสด็จออกไปจากพระวิหาร เสด็จผ่านท่ามกลางเขาเหล่านั้น  น่าจะเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงว่ายิว(ศาสนา) ไม่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าและพระเมสิยาห์

ส่วนมายาน่าจะเป็น Itzamna
Aztecs น่าจะเป็น Huitzilopochtli


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 09-08-2007, 22:05
อธิบายโดยยึดหลักใหญ่ รวม ๆ (เพราะถ้าแยกย่อยลงรายละเอียดไปอีก ก็คงเถียงกันไม่จบ)

- พระเจ้า ใน 3 ศาสนา (ยิว คริสต์ อิสลาม) โดยหลักการ ย่อมถือว่าคือองค์เดียวกัน เพราะ 3 ศาสนานี้ มีจุดกำเนิดอันเดียวกัน แต่เมื่อแยกออกเป็น 3 ศาสนาแล้ว จะเรียกว่า พระเจ้าคนละองค์ (ในการนับถือ) ก็ได้ เพราะชาวคริสต์ คงไม่เรียกพระอัลเลาะห์ว่าเป็นพระเจ้าของตัวเองแน่

- โดยหลักแห่งคริสตศาสนา พระเยซู ไม่ใช่พระเจ้า เป็นแต่เพียงผู้นำสารจากพระเจ้า (หรือจะเรียกว่าเป็น บุตรแห่งพระเจ้า ก็ว่ากันไป) แม้จะมีบางนิกาย ยกพระเยซูเป็นพระเจ้า ก็ถือว่าเป็นการแยกย่อยออกไป ไม่ใช่หลักใหญ่

- ตรงศาสนาพุทธนี่สิครับ ตอบยาก-ลำบาก เพราะตัวคนตอบ (รวมทั้งพวกเราชาวไทย) เป็นส่วนประกอบภายใน ที่อาจมองภาพรวม/หลักใหญ่ ไม่เห็นเลยด้วยซ้ำไป เพราะเราถูกสอนกันมาหลายชั่วอายุคนแล้วว่า ศาสนาพุทธ ไม่ใช่เทวนิกาย ไม่มีพระเจ้า มีแต่ศาสดาผู้ตรัสรู้ ประกาศคำสั่งสอนด้วยตนเอง แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ก็มีเพียงศาสนาพุทธนิกายเถรวาทที่เรานับถือเท่านั้น ที่เชื่อเช่นนี้ นิกายอื่น พระพุทธเจ้า มีความเป็น "เทพ" หรือ "พระเจ้า" แทบทั้งนั้น


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 22:11
จากซีลาแคนท์มันมาถึงนี่ได้ยังไงหว่า? :slime_hmm:
วกกลับให้ coelacanth ใช้้เรียกปลาใน Subclass Coelacanthimorpha แต่ก็ไทยรัฐไม่น่าลงรูปผิดไปตนละไฟลัม  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 09-08-2007, 22:12
วกกลับให้ coelacanth ใช้้เรียกปลาใน Subclass Coelacanthimorpha แต่ก็ไทยรัฐไม่น่าลงรูปผิดไปตนละไฟลัม  :slime_bigsmile:

โอ๊ย...เดินทางมาไกล เกือบแสนกิโลเมตรแล้ว จะพาวกกลับไปไหน

 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 22:18
อธิบายโดยยึดหลักใหญ่ รวม ๆ (เพราะถ้าแยกย่อยลงรายละเอียดไปอีก ก็คงเถียงกันไม่จบ)

- พระเจ้า ใน 3 ศาสนา (ยิว คริสต์ อิสลาม) โดยหลักการ ย่อมถือว่าคือองค์เดียวกัน เพราะ 3 ศาสนานี้ มีจุดกำเนิดอันเดียวกัน แต่เมื่อแยกออกเป็น 3 ศาสนาแล้ว จะเรียกว่า พระเจ้าคนละองค์ (ในการนับถือ) ก็ได้ เพราะชาวคริสต์ คงไม่เรียกพระอัลเลาะห์ว่าเป็นพระเจ้าของตัวเองแน่

- โดยหลักแห่งคริสตศาสนา พระเยซู ไม่ใช่พระเจ้า เป็นแต่เพียงผู้นำสารจากพระเจ้า (หรือจะเรียกว่าเป็น บุตรแห่งพระเจ้า ก็ว่ากันไป) แม้จะมีบางนิกาย ยกพระเยซูเป็นพระเจ้า ก็ถือว่าเป็นการแยกย่อยออกไป ไม่ใช่หลักใหญ่

ถ้าพูดถึงศาสนาอับราฮัมนั้นถือว่าพระเจ้าองค์เดียวกัน แต่ถ้าแยกเป็น 3 ศาสนาแล้วถือว่าคนละองค์ ส่วนเรื่องพระเยซูนั้นนิกายใหญถือเป็นพระเจ้าครับด้วยหลักแห่ง Trinity ครับ ไม่เชื่อลองถามบาทหลวงดูก็ได้ครับ แต่คนนอกศาสนาคิดว่าพระเยซูไม่ได้เป็นพระเจ้าเนื่องจากไม่ได้ศึกษาตรงนี้โดยตรง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 09-08-2007, 22:20
ถ้ายิวสมัยโบราณนี่ ไม่ต้องเถียงกันเลยครับ เพราะคนที่ตรึงพระเยซู
ถึงแม้ว่าจะเป็นโรมันก็ตาม แต่คนที่บอกให้ตรึงคือชาวยิวนะครับ
ขนาดโรมันสอบสวนว่าไม่ผิด ยิวสมัยนั้นยังไม่ยอมเลยนะครับ


ลากลับเข้ากระทู้บ้าง
----------------------

Coelacanth พบในปัจจุบัน มี 2 ชนิดคือ
Cealacnth ที่มีชื่อเรียกว่า latimeria chalumnae
พบอยู่ที่แถวอาฟริกัน ครั้งแรกที่บันทึก 1938 ทั้งทางฝั่งตะวันตกและตะวันออก
แต่จะพบแถวตะวันตก บริเวณเกาะมาดากัสกามากที่สุด เท่าที่ทราบ ปัจจุบัน
ไม่มีคนเจอมาตั้งนานแล้ว

Indonesian Coelacanth
มีชื่อเรียกว่า Latimeria menadoensis
บันทึกว่าพบครั้งแรก 1998 ซึ่งเดิมทีคิดว่าเป็นชนิดเดียวกันกับข้างบน
แต่พอศึกษา DNA พบว่าเป็นคนละชนิดกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 22:34
Coelacanth พบในปัจจุบัน มี 2 ชนิดคือ
Cealacnth ที่มีชื่อเรียกว่า latimeria chalumnae
พบอยู่ที่แถวอาฟริกัน ครั้งแรกที่บันทึก 1938 ทั้งทางฝั่งตะวันตกและตะวันออก
แต่จะพบแถวตะวันตก บริเวณเกาะมาดากัสกามากที่สุด เท่าที่ทราบ ปัจจุบัน
ไม่มีคนเจอมาตั้งนานแล้ว

Indonesian Coelacanth
มีชื่อเรียกว่า Latimeria menadoensis
บันทึกว่าพบครั้งแรก 1998 ซึ่งเดิมทีคิดว่าเป็นชนิดเดียวกันกับข้างบน
แต่พอศึกษา DNA พบว่าเป็นคนละชนิดกัน
บางคนยังเข้าใจว่าตัวที่อยู่ในหินกับตัวที่ว่ายน้ำอยู่ในปัจจุบันเป็นชนิดเดียวกัน  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 09-08-2007, 22:55
เรื่องกำเนิดสิ่งมีชีวิตกับเรื่องวิวัฒนาการมีปัญหามากสุดกับศาสนาคริสต์ ส่วนอิสลามดูเหมือนจะมีปัญหาเฉพาะเรื่องกำเนิดมนุษย์


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 09-08-2007, 22:59
ว่าแล้ว เราก็ไปพูดเรื่อง จุดกำเนิด ของมนุษย์ โดยทฤษฎีต่าง ๆ และ หลักความเชื่อต่าง ๆ กันเถอะ
(อิ อิ จุดประเด็นล่อ อีกแล้ว ตรู ไม่รู้กี่ประเด็นแร้ววววว)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 10-08-2007, 00:13
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X5695636/X5695636.html
มนุษย์กำเนิดมาจากไหน หลังยุคไดโนเสาร์สูญพันธุ์เมื่อ 65 ล้านปีก่อนครับ???


อ่านเพลินๆ อย่าไปคิดอะไรมาก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 10-08-2007, 01:31
ว่าแต่ใครเคยเห็นลูกผสมระหว่างเซนต์เบอร์นาร์ดกับชิวาวาบ้าง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 02:35
ถ้าคุณอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme ได้คุณก็จะเข้าใจเรื่องไข่เกิดก่อนไก่ แต่เมื่อไม่สามารถอธิบายตรงนี้ได้ก็ย่อมไม่เข้าใจเป็นธรรมดา

ส่วนเรื่องคนมาจากลิง ถ้าหมายถึงลิงในปัจจุบันนะ ผมก็ไม่เชื่อและผู้ที่เข้าในในเรื่องวิวัฒนาการก็ไม่เชื่อ แต่ถ้ามีบรรพบุรุษร่วมนี่ผมเชื่อครับ หลักฐานก็จากซากฟอสซิล+ชีววิทยาโมเลกุล ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับที่ใช้บอกว่ามนุษย์ทุกคนในโลกนี้มาจากแหล่งเดียวกันนะแหละ ถ้าคุณบอกว่าไม่เชื่อว่าคนกับลิงมีบรรพบุรุษร่วมกัน ก็ย่อมไม่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมาจากแหล่งเดียวกัน เนื่องจากวิธีการตรวจสอบไม่น่าเชื่อถือ

ทฤษฏีที่ถูกลบล้างไปจากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์หลาย ๆท่าน นั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าการตั้งทฤษฏีที่ผ่านมาของดาร์วินนั้นสูญเปล่า ถึงแม้ทฤษฏีต่าง ๆ นั้นไม่เป็นจริงก็ตาม แต่ทฤษฏีการวิวัฒนาการใหม่ ๆที่เกิดขึ้นมานั้นก็ได้อิงถึงทฤษฏีของดาร์วินอยู่เสมอ และจากการที่เค้ามีความคิดเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตการก่อกำเนิดโลกขึ้นมาก็เป็นแรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ เกี่ยวกับวิวัฒนามากขึ้น

อ่านอันนี้ก่อนก็ได้ครับ..

http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=24392&page=1


สิ่งมีชีวิตที่เป็นรอยต่อ  ไม่มีครับ.. วิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดทุกสายพันธุ์คงเป็นไปไม่ได้

ฝ่ายเชื่อต้องเป็นฝ่ายแสดงหลักฐานครับ..




อันนี้ตอบไปแล้วครับ  จะยกขึ้นมาในบทสนทนาตอนไหนผมก็ตอบแบบนีแหละครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 02:51

ถ้าไข่(ที่กลายเป็นไก่)ฟองแรกไม่ใช่ไข่ไก่ แสดงว่า ไข่นั้นมีวิวัฒนาการ แต่จะเป็นช่วงยาวนานได้ต้องแข่แข็งหรือฟักนานมาก

อ่าไม่จำเป็นต้องอยู่ในไข่นานครับ แต่กว่าจะแปลงร่างเหมือนไก่หนะ ออกไข่กันซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นหลายร้อยรุ่น หน้าตาเหมือนไก่เข้าไปทุกทีครับ

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกันแสดงว่ามีการผ่าเหล่าอย่างไม่หยุดยั้งในบรรพบุรูษของไก่ กรณีนี้ไก่อาจเติบโตเป็นไข่ได้แต่อยู่ไม่รอด

ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ทีฟักเป็นไก่ แสดงว่าไก่ตัวแรกเริ่มออกลูกเป็นไข่ไก่ ก่อนใตร

ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ที่ฟักไม่เป็นไก่ แสดงว่ามีไก่ตัวแรกออกไข่อย่างมีวิวัฒนาการจนฟักเป็นไก่ได้.. 

ถ้าไข่(ที่กลายเป็นไก่)ฟองแรกเกิดจากไก่ แสดงว่าไก่มีวิวัฒนาการจากออกลูกเป็นอย่างอื่น มาเป็นไข่ได้..

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกันแสดงว่ามีการผ่าเหล่าอย่างไม่หยุดยั้งในบรรพบุรูษของไก่ กรณีนี้ไก่อาจเติบโตเป็นไข่ได้แต่อยู่ไม่รอด

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งไม่มีชีวิต แสดงว่าโมเลกุลของฝุ่นผงกลายเป็นบักเตรีได้และกลายเป็นไก่ได้

ถ้าหากทั้งหมดเป็นจริง แสดงว่าไม่จริง หรือ มีไก่เหมือนกันเกิดจากหลายบรรพบุรุษอะไรก็ได้ผสมปนเปกันอยู่

ถ้าหากจริงเป็นบางข้อ ก็ต้องมีหลักฐานจากรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระจายอยู่ทั่วไป..


หลักฐานก็คือไก่สายพันธุ์ต่างๆ  เป็ด นก  


ถ้าหากทั้งหมดไม่จริง แสดงว่าไม่มีวิวัฒนาการมาเป็นไก่หรือไข่ไก่ ซึ่งไม่จริงตามแนวคิดวิวัฒนาการ..

ส่วนไก่หรือไข่ฟองแรกต้องหาแนวคิดรองรับใหม่ เช่น อะไรไม่รู้เสกได้ หรือมีไก่หรือไข่เกิดขึ้นทันทีทันใดจากบิกแบ็งหรือปรากฎการณ์อะไรก็ตาม

ทั้งหมดใช้เวลายาวนานมากจนปะติดปะต่อเป็นอะไรก็ได้ หรือเป็นอะไรไม่ได้เลย..หรือเป็นได้บ้างไม่เป็นได้บ้างว่าเป็นรายกรณี

ก็ต้องเชื่อหลักฐาน ที่อธิบายและทำนายได้ครับ..


ไม่ปรากฎหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า คนมาจากลิง


เพราะคนไม่ได้มาจากลิง แต่เรากับลิงก็ใกล้ชิด กันคล้ายๆ ไก่ฟ้า กับ ไก่บ้าน หละครับ

เรากับลิงมาจากสิ่งๆเดียวกัน

แต่สิ่งนั้นทิ้งลูกหลานไว้ต่างสถานที่ต่างสภาวะ

ทำให้ลูกหลานมีการเลี้ยงดู ความประพฤติ

ลักษณะทางกายภาพที่ต่างกัน และถ่ายทอดเรื่อยๆถึงรุ่นลูกหลานของลูกหลานอีกที

ทีละนิดทีละน้อย    เปลี่ยนได้ชั่วรุ่นเดียวในคนเดียวครับ

ถ้าหากจริงเป็นบางข้อ ก็ต้องมีหลักฐานจากรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระจายอยู่ทั่วไป.

แต่ปรากฎหลักฐานว่าคนอาจเลียนแบบลิงได้ 

ลิงเลียนแบบคนได้แต่ไม่ฉลาดเท่าคน ปรากฎหลักฐานอยู่ททั่วไป

ส่วนที่ฉลาดกว่าคน หากจะมีมนุษย์ก็คงไม่ทราบแน่ชัด นอกจากสังเกตด้วยความอยากรู้


ตถตา...


ขอบคุณจชกท. ทุกท่านที่ร่วมสนุกและให้ข้อมูลครับ.

คงไม่อยู่สักหลายวันครับ...

                                                                                        :slime_smile:




การอธิบายความเชื่อของคุณก็ดีครับ..

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งไม่มีชีวิต แสดงว่าโมเลกุลของฝุ่นผงกลายเป็นบักเตรีได้และกลายเป็นไก่ได้


ก็ต้องเชื่อหลักฐาน ที่อธิบายและทำนายได้ครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Body&Soul ที่ 10-08-2007, 02:55
ผมว่าไก่กับไข่ เวลาอยู่ในหม้อพะโล้อร่อยพอๆกันครับ :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 03:07
อ้างถึง


ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ทีฟักเป็นไก่ แสดงว่าไก่ตัวแรกเริ่มออกลูกเป็นไข่ไก่ ก่อนใตร

ถ้าไข่ไก่ฟองแรกเป็นไข่ไก่ที่ฟักไม่เป็นไก่ แสดงว่ามีไก่ตัวแรกออกไข่อย่างมีวิวัฒนาการจนฟักเป็นไก่ได้.. 

ถ้าไข่(ที่กลายเป็นไก่)ฟองแรกเกิดจากไก่ แสดงว่าไก่มีวิวัฒนาการจากออกลูกเป็นอย่างอื่น มาเป็นไข่ได้..

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกันแสดงว่ามีการผ่าเหล่าอย่างไม่หยุดยั้งในบรรพบุรูษของไก่ กรณีนี้ไก่อาจเติบโตเป็นไข่ได้แต่อยู่ไม่รอด

ถ้าทุกอย่างค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากสิ่งไม่มีชีวิต แสดงว่าโมเลกุลของฝุ่นผงกลายเป็นบักเตรีได้และกลายเป็นไก่ได้

ถ้าหากทั้งหมดเป็นจริง แสดงว่าไม่จริง หรือ มีไก่เหมือนกันเกิดจากหลายบรรพบุรุษอะไรก็ได้ผสมปนเปกันอยู่

ถ้าหากจริงเป็นบางข้อ ก็ต้องมีหลักฐานจากรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระจายอยู่ทั่วไป..




ถ้าหากจริงเป็นบางข้อ ก็ต้องมีหลักฐานจากรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระจายอยู่ทั่วไป..


หลักฐานก็คือไก่สายพันธุ์ต่างๆ  เป็ด นก


ต้องมีรอยต่อที่ชัดเจน และความเชื่อมโยงที่ชัดเจนในรอยต่อด้วย

หากอยาจะจินตนาการให้อยู่บนพื้นฐานความจริง มิใช่เอาความจริงมาจินตนาการเชื่อมโยงโดยสมมุติฐานที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับและมีข้อโต้แย้งอยู่ทั่วไป


ไม่แปลกอะไรที่ปลาวาฬและปลาโลมาจะอยู่ในน้ำ แต่จะแปลกมากครับถ้าปลาทั้งสองชนิดจะขึ้นมาอยู่บนดินได้ตัวเป็นๆ ไม่ใช่ภาพวาด



แต่ปรากฎหลักฐานว่าคนอาจเลียนแบบลิงได้ 

ลิงเลียนแบบคนได้แต่ไม่ฉลาดเท่าคน ปรากฎหลักฐานอยู่ทั่วไป

ส่วนที่ฉลาดกว่าคน หากจะมีมนุษย์ก็คงไม่ทราบแน่ชัด นอกจากสังเกตด้วยความอยากรู้


ตถตา...







หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 03:13


ผมว่าไก่กับไข่ เวลาอยู่ในหม้อพะโล้อร่อยพอๆกันครับ :slime_v:

นานาจิตตังครับ ไข่เป็นโปรตีนและสารอาหารจากสัตว์ที่มีราคาถูกและคุณภาพดี เช่นเดียวกับน้ำนม

ส่วนเนื้อไก่ โดยปกติ

เราจะรับประทานได้ ก็ต้องฆ่าเสียก่อน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Body&Soul ที่ 10-08-2007, 03:23
บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน บังเอิญป๋มไม่ใช่เวอร์เจทเทอร์เลี่ยนซะด้วย

กินทุกอย่างที่ขวางหน้ายกเว้นอาหารแปลกๆครับ :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 03:27

บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน บังเอิญป๋มไม่ใช่เวอร์เจททีเลี่ยนซะด้วย

กินทุกอย่างที่ขวางหน้ายกเว้นอาหารแปลกๆครับ :slime_bigsmile:

กินได้เพื่อยังชีพ ไม่บาปหรอกรับ อย่าทานไก่ที่เป็นโรคเท่านั้นเอง หวัดนกยังไม่กลายพันธุ์ จนสามารถระบาดจากคนสู่คนได้ครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 03:36


บางคนยังเข้าใจว่าตัวที่อยู่ในหินกับตัวที่ว่ายน้ำอยู่ในปัจจุบันเป็นชนิดเดียวกัน  :slime_doubt:

เป็นคนละตัวกันแน่นอน(ตัวหนึ่งตายไปแล้ว อีกตัวหนึ่งยังมีชีวิต) และอยู่ห่างกันนานมาก  จากที่ว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Body&Soul ที่ 10-08-2007, 03:36
ขอบคุณครับ ผมทานของสุกผ่านความร้อนสูงมากๆ

คุณแม่ผมระวังเรื่องนี้มาก มีลูกชายคนเดียว เลยต้องดูแลเป็นพิเศษ

เมื่อก่อน ไข่ดาวเวลาเอาซ่อมจิ้มต้องไส้ไหล ตอนนี้มีแต่ไข่แดงแข็งๆ

ไม่หนุกและไม่อร่อยเลยง่ะ :slime_dizzy:

ท่านกลัวไม่มีหลานสืบสกุล  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 03:46
Panthera hybrid  http://en.wikipedia.org/wiki/Panthera_hybrid#Jaglion
From Wikipedia, the free encyclopedia
Jump to: navigation, search
The four living species of Panthera genus (Panthera leo (Lion), Panthera onca (Jaguar), Panthera pardus (Leopard), Panthera tigris (Tiger)) may produce a number of hybrid crosses. These hybrids are usually described with a portmanteau name, and sometimes with a traditional name.

             Lion  Tiger  Jaguar  Leopard 

Lion       Lion Liger Liguar Liard
Tiger     Tigon Tiger Tiguar Tigard
Jaguar   Jaglion Jaguatiger Jaguar Jagupard
Leopard  Leopon Leotig Leguar Leopard



เป็นหมัน และอายุสั้น สปีชี่มนุษย์เป็นผู้แบ่งและเปลี่ยนแปลงวิธีแบ่ง

ที่น่าประหลาดคือไปแบ่งสปีชีให้สิ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้วทั้งที่มีฟอสซิลและไม่มีฟอสซิล


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 03:50

ขอบคุณครับ ผมทานของสุกผ่านความร้อนสูงมากๆ

คุณแม่ผมระวังเรื่องนี้มาก มีลูกชายคนเดียว เลยต้องดูแลเป็นพิเศษ

ท่านกลัวไม่มีหลานสืบสกุล  :slime_bigsmile:

ก็ต้องเร่งมือ เตรียมพร้อม ก่อนตั้งหน้าผลิตครับ..

บางคู่ไปหาหมออยู่หลายปี จนเลิกคิดไปก็มี

บางคู่เปิดปุ๊บติดปั๊บ...เลย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Body&Soul ที่ 10-08-2007, 04:03
ไปนอนดีกว่า ผมคงยังไม่พร้อมกับการเจริญพันธุ์แบบไม่ตั้งใจ

สวัสดีคร๊าบบ :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 04:03


คงต้องอินเทรนด์ กับกระทู้หน่อย..

คือเวลามนุษย์พูดถึงพระเจ้านี่..ไม่ว่าในโลกนี้จะมีมนุษย์กี่คน...จะมีอาการเหมือนตาบอดคลำช้างหรือยิ่งกว่า..

เพราะคงเหมือนบักเตรีถกเถียงกัน พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ ถ้าหากมนุษย์มีจริง หรือบักเตรีแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้จริงๆนะครับ
                                                                                                                                                                        :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 04:06
ไปนอนดีกว่า ผมคงยังไม่พร้อมกับการเจริญพันธุ์แบบไม่ตั้งใจ

สวัสดีคร๊าบบ :slime_bigsmile:


ทุกอย่างเมื่อตั้งใจย่อมดีกว่าครับแม้ผลไม่เป็นอย่างที่หวังก็ได้ความรู้ใหม่ๆ ฝันดีครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 04:11



ทุกอย่างเมื่อตั้งใจย่อมดีกว่าครับแม้ผลไม่เป็นอย่างที่หวังก็ได้ความรู้ใหม่ๆ ฝันดีครับ

อ้อลืมกล่าวถึง คือไข่ของหญิง เมื่อรวมกับอสุจิของชาย จะได้เซลล์ใหม่หนึ่งเซลล์ แบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์

ตามดีเอนเอของทั้งฝ่าย ได้มนุษย์หนึ่งคนหรือมากกว่าที่ไม่เหมือนกันโดยสมบูรณ์สักรายเดียวครับ ทั้งลักษณะต่างๆและความรู้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 04:14


ผมเชื่อในหลักสมดุลมากกว่าวิวัฒนาการตามความหมายกว้างครับ

สมดุลย์คือตัวตัดสินตามธรรมชาติ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Priateľ ที่ 10-08-2007, 07:42
แหะ แหะ ตัวที่แหกกฎความสมดุลย์ได้อย่างโจ๋งครึ่มสุดในประวัติศาสตร์สิ่งมีชีวิตน่าจะเป็นมนุษย์กับไวรัสนะครับ มันคือสิ่งมีชีวิตที่พยายามสร้างผลกระทบให้ host ตัวเองตาย ขณะที่ตัวเองก็ยังสืบสายพันธุ์ลงมาได้เรื่อยๆ สิ่งที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดมันอยู่นอกเหนือระดับ DNA เช่นกำลังจะม่องอยู่จากความทรงจำแล้วก็ยังสร้างข่าวให้ฮือฮาด้วยการซื้อสโมสรฟุตบอล ขณะที่ไวรัสก็เปลี่ยนแปลง(หรือถูกเปลี่ยนแปลง) RNA ตัวเองไปซะ แทนที่จะตายในอากาศแบบบรรพบุรุษก็กลายเป็นมีชีวิตในอากาศได้ภายในไม่กี่สัปดาห์

สิ่งไม่มีชีวิตเช่นหนังสือพิมพ์บางฉบับก็ยังสามารถวิวัฒนาการจากแต่งรูปเพราะไม่จงรักภักดีมากลายเป็นแต่งรูปเพราะจงรักภักดีได้ เช่นกัน นับประสาอะไรกับปลาซีลาคานส์ที่วิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตหน้าตาเหมือนแมงดาทะเลดังรูปในหนังสือพิมพ์ได้เช่นกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 10-08-2007, 15:01
อันนี้ตอบไปแล้วครับ  จะยกขึ้นมาในบทสนทนาตอนไหนผมก็ตอบแบบนีแหละครับ
ถ้าคุณเข้าใจเรื่องการเกิด species, subspecies, race, cline, deme ฯลฯ คุณก็จะเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตมันไม่ได้วิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดอย่างที่คุณเข้าใจแต่จะค่อยเป็นไปตามรูปแบบของมัน ส่วนเรื่องตอบนะ ตอบก็เหมือนไม่ได้ตอบเพราะตอบไม่ตรงคำถาม และที่ยกลิงค์มานะครับ ตรงไหนของลิงค์นั้นที่ต้องการอ้างอิงคำตอบ หวังว่าคงไม่ได้อ่านแค่หัวเรื่องนะครับ
หรือว่าคุณจะเอาเรื่องนี้เป็นคำตอบรึครับ

ซึ่งในปัจจุบันนั้นได้มีการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากและ สามารถที่จะนำมาเป็นหลักฐานในการยืนยันการมีการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมี ชีวิต ว่าการที่จะเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตนั้นอาจจะเกิดขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตขนาด เล็ก ๆ เช่น ไมโตรคอนเดรีย ที่อยู่ในออแกเนลล์ของสิ่งมีชีวิตตามทฤษฎี endosymbiosis ซึ่งพบว่าในสิ่งมีชีวิตนั้นมีออแกเนลล์นี้อยู่จริง ซึ่งข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับความคิดของ ลูซิเฟอร์
การศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน นั้นมีการศึกษากันอย่างมากมาย ดังนี้
1. หลักฐานจากการจัดอนุกรมวิธาน (Taxonomy)
การจัดกลุ่มหรือจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตเข้าเป็นหมวดหมู่ อาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ในการจัดอนุกรมวิธานของพืช และสัตว์ จะอาศัยความคล้ายคลึงกันของโครงสร้างร่างกาย สิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดเดียวกัน จะมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกัน แสดงถึงลักษณะร่วมที่ปรากฏอยู่ในบรรพบุรุษเดียวกัน
2. หลักฐานกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (Comparative anatomy)
เปรียบเทียบโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตเช่นการเปรียบเทียบโครงสร้างที่เหมือน กันแต่ทำหน้าที่ต่างกัน (homology) เช่นระยางค์คู่หน้าของสัตว์บกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่ ๆ ต่างกัน หรือโครงสร้างที่ต่างกันแต่ทำหน้าที่เหมือนกัน (analogy) ของสัตว์ทุกระบบ จะทำให้ทราบความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้
3. วิทยาเอมบริโอเปรียบเทียบ (Comparative embryology)
ถ้ามีความสัมพันธ์กัน จะมีการเจริญ เปลี่ยนแปลงคล้ายกัน เพราะการเจริญของเอมบริโอจะสะท้อนให้เห็นถึงความเหมือนกันของเอมบริโอของ บรรพบุรุษ เช่นเอมบริโอของปลา กบ นก คน จะมีการเจริญพัฒนาในขั้นแรกเหมือน ๆ กันจนแยกไม่ได้ จนในระยะต่อมาเมื่อมีอวัยวะต่าง ๆ มากขึ้น ความแตกต่างจึงปรากฏชัด
4. สรีรวิทยาและชีวเคมีเปรียบเทียบ (Comparative physiology and biochemistry)

สิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้เคียงกัน จะมีลำดับของเบส หรือลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน
ฮีโมโกลบิน เหมือนกันมากที่สุด เช่นคน กับชิมแพนซี หรือกับลิงรีซัส
5. หลักฐานจากการปรับปรุงพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์
- การผสมข้ามพันธุ์
- การผสมในสายพันธุ์เดียวกัน
- การชักนำให้เกิดมิวเตชัน
- การรวมตัวของโปรโตพลาสต์
– การใช้พาหะนำยีนใหม่ๆเข้าสู่พืชหรือสัตว์
6. หลักฐานจากการกระจายตามสภาพภูมิศาสตร์
พืชและสัตว์มีแนวโน้มที่จะกระจายจากประชากรออกจากถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมออกไป โดยรอบจนกว่าจะพบสิ่งกีดขวางจึงจะหยุดการแพร่กระจาย และจะก่อให้เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติ
7. หลักฐานทางชีวเคมี (Comparative physiology and biochemistry)
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักเหมือนๆ กัน เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และกรดนิวคลีอิค และจะมีในสัดส่วนที่ไกล้เคียงกัน สิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายจะมีลำดับของเบสบนสาย ดีเอนเอ หรือลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีนฮีโมโกลบินเหมือนกันมากที่สุด (มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด) เช่น คนกับชิมแพนซี หรือกับลิงรีซัส สิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมาด้วยกัน จะแสดงความคล้ายคลึงในด้านโครงสร้าง และทางด้านสรีระ และชีวเคมีด้วย
8. บรรพชีวินวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ (Paleontology and the Fossils)
- หลักฐานที่แท้จริงและสำคัญของวิวัฒนาการคือ ฟอสซิล ที่ถูกทับถมอยู่ในชั้นหินยุคต่าง ๆ
- ฟอสซิลจะปรากฏอยู่ในรูปอะไรก็ได้: รอยคืบคลาน รอยตีน รอยพิมพ์รูปร่าง ฯลฯ
- ซากเหล่านี้สามารถที่จะตรวจสอบได้ว่ามีอายุประมาณเท่าใด อยู่ในยุคใดในอดีต
- โดยถืออายุโลกเป็นเกณฑ์ว่ามีกำเนิดมาเมื่อ 4.5 พันล้านปีล่วงมาแล้ว


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 10-08-2007, 15:11

เป็นคนละตัวกันแน่นอน(ตัวหนึ่งตายไปแล้ว อีกตัวหนึ่งยังมีชีวิต) และอยู่ห่างกันนานมาก  จากที่ว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว  
สับสนอะไรรึเปล่าครับ ผมพูดถึงในเรื่องชนิด(species) ไม่ได้พูดถึงเรื่องตัว(individual) ฉะนั้นเรื่องกายวิภาคและสรีรวิทยาย่อมต่างกันอยู่แล้ว


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 15:59
สับสนอะไรรึเปล่าครับ ผมพูดถึงในเรื่องชนิด(species) ไม่ได้พูดถึงเรื่องตัว(individual) ฉะนั้นเรื่องกายวิภาคและสรีรวิทยาย่อมต่างกันอยู่แล้ว

ในการจัดแบ่งหมวดหมู่อะไรก็ตามก็ใช้หลักความเหมือนและความแตกต่าง ทั้งนั้นแหละครับ..

ผมมองสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงข้อมูล ที่ต้องนำมาเทียบเคียงเปรียบเทียบ..หาข้อมูลทีสำคัญมาแปะหรือแสดงได้เรื่อยๆครับ..

หรือจะเป็นข้อสรุป ของงานวิจัยใดๆก็ได้




หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 16:21
ในการจัดแบ่งหมวดหมู่อะไรก็ตามก็ใช้หลักความเหมือนและความแตกต่าง ทั้งนั้นแหละครับ..

ผมมองสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงข้อมูล ที่ต้องนำมาเทียบเคียงเปรียบเทียบ..หาข้อมูลทีสำคัญมาแปะหรือแสดงได้เรื่อยๆครับ..

หรือจะเป็นข้อสรุป ของงานวิจัยใดๆก็ได้




เอาเป็นว่าผมเข้าใจแนวคิดที่ พูดถึงวิวัฒนาการในความหมายกว้าง

แต่ผมแยกแยะได้ว่ากำลังสื่อสารกับคนหรือลิงที่พูดหรือเขียนได้ครับ..อันนี้เป็นข้อเท็จจริง

หากจะนำไปสู่ข้อสรุป ให้เร็วขึ้นได้ ก็ควร ทดลองสร้างสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ดีเอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอ

หรือลองตัดต่อพันธุกรรมของลิงให้กลายเป็นคนได้ ด้วยวิธีการใดๆก็ตาม หากเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาจัดแบ่ง เราจะจัดด้วยตัวแปรหรือปัจจัยใดๆก็ได้

ในที่สุดเราก็จะพบเส้นแบ่งที่แสดงความแตกต่างและเหมือนกันอยู่ดีแหละครับ..

วิธีการอนุมานไม่สามารถใช้ได้ ถ้าหากทำนายให้แม่นยำไม่ได้.

ส่วนหลักความไม่แน่นอน ก็เพียงใช้อธิบายสิ่งที่เราทำนายไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่ามันไม่แน่นอนในทุกระดับความจริง

วิธีพิสูจน์คือ ความไม่แน่นอน ต่างกันจากการทำนาย ด้วยวิธีการหรือปัจเจกบุคคลที่ต่างกันครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 18:48


นิยามของแต่ละอาณาจักร  http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=39417

อาณาจักรสัตว์
เซลล์ยูคารีโอต มีเนื้อเยื่อ และระยะเอมบริโอ ไม่มีผนังเซลล์ และคลอโรพลาสต์
ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย ตั้งแต่ฟองน้ำ ยัน คน



อาณาจักรพืช
เซลล์ยูคารีโอต มีเนื้อเยื่อและระยะเอมบริโอ มีผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์
ได้แก่ พืชทั้งหลาย ตั้งแต่ มอส ยัน พืชดอก



อาณาจักรโปรติสตา
เซลล์ยูคารีโอต ไม่มีเนื้อเยื่อแท้ และไม่มีระยะเอมบริโอ
- ไม่มีผนังเซลล์ ไม่มีคลอโรพลาสต์ คือ โปรโตซัว
- มีผนังเซลล์ มีคลอโรพลาสต์ คือ สาหร่าย (ยกเว้นสีเขียวแกมน้ำเงิน)



อาณาจักรฟังไจ
เซลล์ยูคารีโอต ไม่มีเนื้อเยื่อแท้และไม่มีระยะเอมบริโอ
มีผนังเซลล์ ไม่มีคลอโรพลาสต์
ได้แก่ เห็ด รา ยีสต์



อาณาจักรมอเนอรา
เซลล์โปรคารีโอต (ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส)
ได้แก่ แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน


ไวรัส ไวรอยด์ บางตำราจะจัดไว้ใน อาณาจักรไวรา

Coriolis   


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 18:51

http://www.lesa.in.th/bio/evolution/evolution.htm

ความหลากหลายทางชีวภาพ
          หลักฐานของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดเป็นฟอสซิลของจุลินทรีย์โบราณ อายุ 3.5 พันล้านปี ในทวีปออสเตรเลีย มีรูปร่างคล้ายแบคทีเรียสีฟ้าเขียวในปัจจุบัน ซึ่งมีความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสง ในการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอาหารและคายก๊าซออกซิเจนออกมา จุลินทรีย์โบราณนี้เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวคือ เซลล์โพรคาริโอต ไม่มีนิวเคลียส และอวัยวะพิเศษอื่นใด ตัวอย่างของเซลล์โพรคาริโอตได้แก่ แบคทีเรียชนิดต่างๆ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 19:36



ผมนำเสนอว่า เส้นแบ่งต่างๆต้องชัดเจนและคงที่ขณะใดขณะหนึ่งและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน

การพูดคุยและข้อมูลต่างๆ จึงจะนำให้เกิดความรู้มากขึ้นได้

โดยไม่เป็นเพียงแต่ข้อมูลหรือแนวคิด ที่เบี่ยงเบนออกจากประเด็นหลักที่สื่อสารร่วมกันได้..

วิวัฒนาการในความหมายกว้าง สังเกตว่ามีทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

มนุษย์มีอิทธิพลมากที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตบนโลก เพราะมีปัญญา และสามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างๆได้

ภาษาเขียนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จัก ไม่เกินเจ็ดพันปีครับ คือภาษาฮีโรกราฟฟิค


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-08-2007, 19:44


ผมนำเสนอว่า เส้นแบ่งต่างๆต้องชัดเจนและคงที่ขณะใดขณะหนึ่งและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน

การพูดคุยและข้อมูลต่างๆ จึงจะนำให้เกิดความรู้มากขึ้นได้

โดยไม่เป็นเพียงแต่ข้อมูลหรือแนวคิด ที่เบี่ยงเบนออกจากประเด็นหลักที่สื่อสารร่วมกันได้..

วิวัฒนาการในความหมายกว้าง สังเกตว่ามีทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

มนุษย์มีอิทธิพลมากที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตบนโลก เพราะมีปัญญา และสามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างๆได้

ภาษาเขียนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จัก ไม่เกินเจ็ดพันปีครับ คือภาษาฮีโรกราฟฟิค

อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติคืออะไร? มีชีวิตหรือไม่? ที่แน่ชัดคือมีความสมดุลย์

สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปได้โดยที่สามารถเป็นอิสระจากกันได้หรือไม่?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 07:33



หากมีวิวัฒนาการข้ามสายพันธุ์จริง เราจะเห็นอัตราเร่ง ในการเกิดสายพันธุ์ใหม่ๆและการกระจายตัวของลักษณะสติปัญญา มากกว่าที่เป็นอยู่

ไม่มีเหตุผลที่จะไม่มีลิงหรือไพรเมตอื่นๆและโฮโมอื่นๆนอกเหนือจากโฮโม ซาเปี้ยน ซาเปียน  ที่ฉลาดมากๆได้อีกและไม่มีหางที่ดีกว่าชิมแปนซีครับ

เนื่องจากมนุษย์กับลิงไม่ได้เป็นศัตรูกันโยตรง มนุษย์ฆ่ากันเองจากสงครามและสภาพแวดล้อมมากกว่า


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 11-08-2007, 19:21
ไว่ว่าทฤษฎีไหนจะจริงจะเท็จ
ผมขอเรียกมันว่า "ความบังเอิญในหัตถ์ของพระเจ้า" ก็แล้วกัน

ปล.ผมก็ไม่ได้นับถือพระ และ เจ้าที่ไหนนะ แต่ผมคิดว่ามันบังเอิญได้น่าอัศจรรย์แค่นั้นเอง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 11-08-2007, 19:44


หากมีวิวัฒนาการข้ามสายพันธุ์จริง เราจะเห็นอัตราเร่ง ในการเกิดสายพันธุ์ใหม่ๆและการกระจายตัวของลักษณะสติปัญญา มากกว่าที่เป็นอยู่

ไม่มีเหตุผลที่จะไม่มีลิงหรือไพรเมตอื่นๆและโฮโมอื่นๆนอกเหนือจากโฮโม ซาเปี้ยน ซาเปียน  ที่ฉลาดมากๆได้อีกและไม่มีหางที่ดีกว่าชิมแปนซีครับ

เนื่องจากมนุษย์กับลิงไม่ได้เป็นศัตรูกันโยตรง มนุษย์ฆ่ากันเองจากสงครามและสภาพแวดล้อมมากกว่า
ดูเหมือนจะไม่ได้เข้าใจเรื่องวิวัฒนาการเลยนะเนี่ย  :slime_hmm: การวิวัฒนาการไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอัตราที่เท่ากันตลอดเวลาแต่จะช้าบ้างเร็วบ้างขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมขณะนั้น ไม่งั้นนกที่ใช้ความยาวขนหางในการเกี่ยวพาราสีทำไมถึงหยุดความยาวของขนหางไว้ล่ะไม่ยาวต่อไปเรื่อย ๆ ในเมื่อขนหางยิ่งยาวมากยิ่งดี และเรื่องเป็นศัตรูโดยตรงโดยอ้อมมีผลหมดไม่ต้องข้ามชนิดกันก็ได้ แค่เอาระดับกลุ่มประชากรในชนิดนั้นก็เห็นภาพชัดแล้ว หวังว่าคุณคงเข้าในเรื่องนิเวศวิทยาด้วยนะครับ
ไหน ๆ ก็ยกเรื่อง Homo sapiens ที่ต้องมีชนิดย่อยนะเพราะมันมีชนิดย่อยอื่น ซึ่งถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้เนื่องจากใช้มนุษย์ปัจจุบันเป็น type specimen อยู่แล้วแต่การที่ใช้ Homo sapiens sapiens เนื่องจากมีชนิดย่อย Homo sapiens neanderthalensis แต่พอมีข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะข้อมูลจากชีวโมเลกุลจึงได้จับแยกไปเป็นอีกชนิดหนึ่งคือ Homo neanderthalensis ทำให้ Homo sapiens sapiens จึงใช้ Homo sapiens เหมือนเดิมก็ได้ถ้าไม่พบอีกชนิดย่อยหนึ่งก็คือ Homo sapiens idaltu


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 11-08-2007, 19:52
เรื่องตัดต่อพันธุกรรมจากลิงให้กลายเป็นคนไม่ต้องห่วงครับจะทำก็ทำได้เนื่องจากโครงการ Human Genome Project กับ Chimpanzee Genome Project ทำให้รู้ลำดับยีนแต่ละยีนแล้ว และรู้ว่ายีนไหนหายไป เพิ่มขึ้นมา หรือหยุดทำงานในสัตว์ทั้ง 2 ชนิด ฉะนั้นถ้าจะทำก็ทำได้ถ้าไม่ติดปัญหาเรื่องจริยธรรมและเงินทุน
 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 11-08-2007, 20:37
นึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาได้ไม่รู้ว่าอาจเป็นตัวอย่างของขั้นตอนวิวัฒนาการได้หรือเปล่านะครับ
เรื่อง "Thumb Generation" หรือคนรุ่นใหม่ที่หัวแม่มือมีพัฒนาการมากกว่าคนรุ่นเก่า
เป็นไปได้หรือเปล่าว่า หากเวลาผ่านไปหลายร้อยปีมนุษย์เราจะหัวแม่มือใหญ่กว่าเดิม

หากจะดูกันในตอนนี้อาจยังเห็นไม่ชัด แต่อาจตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ได้นะครับ  :slime_smile:

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Thumb Generation (ธัมบ์ เจเนอเรชัน) หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่า "คนรุ่นหัวแม่มือ" หรือ "ยุคพันธุ์หัวแม่โป้ง"
เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนรุ่นใหม่ในหลายประเทศทั่วโลก อันเป็นผลจากการที่พวกเขาเหล่านั้นมี "หัวแม่มือ"
เป็นปัจจัยสำคัญต่อบทบาทการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยี

ในต่างประเทศมีการพูดถึง Thumb Generation มาหลายปีแล้ว โดยเป็นคำที่ถูกใช้เรียกกลุ่มคนรุ่นที่อายุต่ำกว่า 25 ปีลงไป
ที่ใช้หัวแม่มือในการส่งข้อความผ่านมือถือหรือเล่นเกม จากการวิจัยของดร.เซดี แพลนท์ ผู้ก่อตั้ง Cybernetic Culture Research Unit
มหาวิทยาลัยวอร์วิค หนึ่งในสถาบันวิจัยที่ดีที่สุดในประเทศอังกฤษ สำรวจพบว่าคนรุ่นใหม่ได้ใช้นิ้วหัวแม่มือในรูปแบบที่ต่างจากเดิม
โดยสิ้นเชิง ลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจคือคนรุ่นนี้จะใช้หัวแม่มือโดยสัญชาตญาณในกิจกรรมที่เราส่วนมากมักจะใช้นิ้วชี้

จากการศึกษาเด็กหลายพันคนใน 8 เมืองใหญ่ทั่วโลก ได้ระบุว่าทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่กำลังกลายเป็น Thumb Generation ด้วยเหตุที่
นิ้วหัวแม่มือกำลังมีบทบาทสำคัญในชีวิตเด็กรุ่นใหม่นี้เพิ่มขึ้น แม้กระทั่งการแคะจมูก เด็กทั้งชายหญิงส่วนใหญ่กลับชอบที่จะใช้นิ้วโป้ง
มากกว่านิ้วอื่นๆ ขณะที่พ่อแม่ของเด็กเหล่านี้ยังใช้นิ้วชี้กดปุ่มโทรศัพท์อยู่ ตรงกันข้ามเด็กหลายคนกลับใช้นิ้วโป้งกดแทน และเมื่อพวกเขา
พิมพ์ข้อความในคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เด็กๆ ก็ยังกดแป้นพิมพ์ด้วยนิ้วโป้งมากกว่าผู้ใหญ่ เช่นเดียวกันกับการกดรีโมตทีวีที่เด็กๆ
จะใช้นิ้วโป้ง แต่คนที่มีอายุมากกว่ามักจะใช้นิ้วชี้

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของคนรุ่นนี้คือในประเทศญี่ปุ่น ขนาดมีศัพท์ที่คนรุ่น Thumb Generation ใช้เรียกตัวเองว่า "โอยา ยูบิ เซดาอิ"
(oya yubi sedai) ซึ่งปัจจุบันเด็กญี่ปุ่นรุ่นนี้ก็เริ่มชี้นิ้วหรือกดกริ่งประตูด้วยนิ้วโป้งแทนนิ้วชี้ สถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่นถึงขนาดจัดแข่งขัน
ความไวของนิ้วโป้งขึ้น โดยปีที่แล้วหญิงสาววัยรุ่นคนหนึ่งสามารถใช้นิ้วโป้งจิ้มตัวอักษรได้ถึง 100 คำต่อนาที ซึ่งความเร็วนี้เท่ากับ
ความเร็วปกติของการพิมพ์โดยใช้ทุกนิ้วบนคีย์บอร์ด!

เด็กญี่ปุ่นที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับเกมบอยส์ที่ต้องใช้นิ้วโป้งบังคับ ได้ค้นพบวิธีใหม่ที่จะคงความว่องไวของนิ้วโป้งไว้โดยใช้ทำหน้าที่
เคาะส่งอีเมลหรือท่องเว็บไซต์ในมือถือ ปัจจุบันเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดของญี่ปุ่นล้วนมีโทรศัพท์มือถือใช้ จึงไม่น่า
แปลกใจเลยที่จะพบว่าในจำนวนทั้งหมดนี้ เด็กญี่ปุ่นคือนักใช้นิ้วโป้งตัวยง ถึงขนาดที่ดร.เซดีออกปากว่า คนพันธุ์หัวแม่โป้งรุ่นใหม่
ของญี่ปุ่นก้าวหน้าสูงที่สุดในโลก

แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของการวิจัยก็คือ ผลสำรวจพบว่านิ้วหัวแม่มือของเด็กๆ ทั่วโลกกำลังมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น  
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถ้าอยากอ่านฉบับเต็มก็ไปที่นี่นะครับ http://www.siam-handicrafts.com/Webboard/question.asp?QID=1655


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 11-08-2007, 20:44
อันนี้เป็นอีกบทความนึงที่เขียนถึงงานวิจัยของ Dr. Sadie Plant เกี่ยวกับ Thumb Generation

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความนิยมในการใช้โทรศัพท์มือถือ เกมบอย เกมเพลย์สเตชั่น ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในหมู่วัยรุ่น วัยมันส์...
พันธุ์นิ้วโป้ง หรือ Thumb Generation 

ดร. เซดี้ พล้านท์ (Dr. Sadie Plant) ผู้ศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือใน 8 เมืองใหญ่ ทั่วโลก ค้นพบว่า
เด็กรุ่นใหม่ใช้นิ้วหัวแม่มือแตกต่างจากเรา โดยสิ้นเชิง โดยเด็กที่ยิ่งเล่นเกมคอมพิวเตอร์มาก  ใช้โทรศัพท์มือถือมากเท่าใด
ก็จะยิ่งคุ้นเคยกับการใช้นิ้วโป้งมากเท่านั้น ดร. พล้านท์ กล่าวว่า ในญี่ปุ่นเห็นได้ชัดเจนที่สุด โดยวัยรุ่นในโตเกียว สามารถใช้
นิ้วหัวแม่มือกดอ่านข้อความ SMS ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องก้มลงมองหน้าจอโทรศัพท์เลย  พวกเขาได้รับการเรียกขานว่า
โอยา ยูบิ เซได (Oya Yubi Sedai) หรือ Thumb Generation หรือ Thumb Tribe หรือ พวกสายพันธุ์นิ้วโป้ง 

เมื่อปีก่อน สถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งในญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันความเร็วนิ้วโป้ง หญิงสาวผู้ชนะการแข่งขันนั้น  สามารถใช้นิ้วโป้ง
กดตัวอักษรจีนได้มากถึง 100 ตัวภายในเวลา 1 นาที คล้ายๆ กับการพิมพ์ดีด 100 คำต่อนาที ซึ่งความเร็วขนาดนี้ เทียบเท่า
กับความเร็วของการใช้นิ้วทุกนิ้วช่วยกันพิมพ์แป้นคีย์บอร์ดเลยทีเดียว 

Thumb Generation จึงหมายถึงเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี ที่ชอบใช้นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วโป้งในการกดข้อความรับ-ส่ง SMS
บนโทรศัพท์มือถือ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ และพวกเขายังใช้นิ้วโป้งชี้สิ่งของต่างๆ หรือ แม้ แต่ใช้กดกระดิ่งหน้าบ้าน แทนที่
จะใช้นิ้วชี้เหมือนคนทั่วไป 

แม้จะมีเทคโนโลยีด้านการสื่อสารใหม่ๆ ผุดขึ้นมามากมาย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่ SMS ก็ยังเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุด
เด็กวัยรุ่นชอบอะไรที่ง่ายๆ และราคาถูก ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา คนนิยมร่วมโหวตทาง SMS มากกว่าโทรศัพท์
เข้าไปร่วมรายการ ในขณะเดียวกันสถิติการส่ง SMS ของวัยรุ่นอังกฤษก็เพิ่มมากขึ้นทุกปีๆ

ไม่ใช่แค่ค่าใช้จ่ายราคาถูกในการส่ง SMS ที่ดึงดูดใจวัยรุ่น แต่ SMS ยังรวดเร็วทันใจ ควบคุมได้ มั่นใจได้ว่ารอดพ้นจาก
สายตาอยากรู้อยากเห็นของพ่อแม่ เพราะวัยรุ่น 70% มักเลือกพิมพ์ข้อความสั้นๆ แต่สื่อความหมาย  เข้าใจกันในหมู่วัยรุ่น
ด้วยกัน แทนที่จะใช้คำเต็มๆ ประโยคยาวๆ ในการพูดคุยสื่อสาร

ในมุมมองของภาษา การใช้นิ้วโป้งกดข้อความดังกล่าว ทำให้ทักษะการเขียนหนังสือ การแบ่งวรรคตอน ย่อหน้าต่างๆ
แย่ลงเรื่อยๆ จากการสำรวจคนญี่ปุ่น 3,000 คน 27% ยอมรับว่าการใช้คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือทำให้ลายมือแย่ลง
และ 52% บอกว่าถึงกับลืมตัวอักษรบางตัวไปเลย การที่ผู้คนหันไปอ่านข่าวสารโฆษณาบนมือถือกันมากขึ้นนั้น ก็ทำให้
ยอดขายหนังสือ และนิตยสารต่างๆ ในญี่ปุ่นลดลงไปในปีก่อน และเป็นปีที่ 5 แล้ว 

คีย์บอร์ดรุ่นใหม่ มีหน้าปัดเอาใจพวกพันธุ์นิ้วโป้ง บริษัทมือถือบางแห่งยังเพิ่มภาพกว่า 200 ภาพ (pictograph) เข้าไปใน
พจนานุกรมคำศัพท์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย 

ในแง่มุมวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ การใช้นิ้วหัวแม่มือมากๆ ทำให้มันแข็งแรงขึ้น โตขึ้น มีกล้ามเนื้อมากขึ้น และอาจ
เปลี่ยนแปลงรูปทรงไปจากอดีต งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บ่งชี้ว่า  นิ้วหัวแม่มือมีอำนาจครอบครองพื้นที่ใหญ่ส่วนหนึ่ง
ในสมอง ในประเทศญี่ปุ่น คนที่สูญเสียนิ้วหัวแม่มือ ตามกฎหมายแรงงานแห่งชาติถือว่าเป็นผู้พิการขั้นร้ายแรงเลยทีเดียว  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 11-08-2007, 21:11
เข้ามาขอความรู้   :slime_agreed: :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 11-08-2007, 21:15
http://www.lesa.in.th/bio/evolution/evolution.htm

ความหลากหลายทางชีวภาพ
          หลักฐานของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดเป็นฟอสซิลของจุลินทรีย์โบราณ อายุ 3.5 พันล้านปี ในทวีปออสเตรเลีย มีรูปร่างคล้ายแบคทีเรียสีฟ้าเขียวในปัจจุบัน ซึ่งมีความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสง ในการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอาหารและคายก๊าซออกซิเจนออกมา จุลินทรีย์โบราณนี้เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวคือ เซลล์โพรคาริโอต ไม่มีนิวเคลียส และอวัยวะพิเศษอื่นใด ตัวอย่างของเซลล์โพรคาริโอตได้แก่ แบคทีเรียชนิดต่างๆ



สิ่งมีชีวิตกลุ่ม โปรคาริโอต ไม่ใช่ไม่มีนิวเคลียส ค่ะลุงคิว แต่มันไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงจัดมันออกมาจากพวกยูคาริโอสค่ะ  เล่าดีๆๆลุงคิว เด๋วเข้าใจผิดกันไปใหญ่  :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 11-08-2007, 21:42

สิ่งมีชีวิตกลุ่ม โปรคาริโอต ไม่ใช่ไม่มีนิวเคลียส ค่ะลุงคิว แต่มันไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงจัดมันออกมาจากพวกยูคาริโอสค่ะ  เล่าดีๆๆลุงคิว เด๋วเข้าใจผิดกันไปใหญ่  :slime_sentimental:
ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้เป็นเนื้อหาระดับไหนครับ กรณีเว็บนั้นใช้ประกอบการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย - ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น http://www.lesa.in.th/about/lesa_concept.htm


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:07


สิ่งมีชีวิตกลุ่ม โปรคาริโอต ไม่ใช่ไม่มีนิวเคลียส ค่ะลุงคิว แต่มันไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงจัดมันออกมาจากพวกยูคาริโอสค่ะ  เล่าดีๆๆลุงคิว เด๋วเข้าใจผิดกันไปใหญ่  :slime_sentimental:


ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้เป็นเนื้อหาระดับไหนครับ กรณีเว็บนั้นใช้ประกอบการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย - ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น http://www.lesa.in.th/about/lesa_concept.htm



ผิดก็ต้องช่วยกันแก้ไขให้ถูกครับ ไม่เกี่ยวกับระดับหรอก เนื้อหาต้องถูกก่อน ความซับซ้อนไว้ทีหลัง

ก็ขอบคุณครับ
                                 :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:12
เรื่องตัดต่อพันธุกรรมจากลิงให้กลายเป็นคนไม่ต้องห่วงครับจะทำก็ทำได้เนื่องจากโครงการ Human Genome Project กับ Chimpanzee Genome Project ทำให้รู้ลำดับยีนแต่ละยีนแล้ว และรู้ว่ายีนไหนหายไป เพิ่มขึ้นมา หรือหยุดทำงานในสัตว์ทั้ง 2 ชนิด ฉะนั้นถ้าจะทำก็ทำได้ถ้าไม่ติดปัญหาเรื่องจริยธรรมและเงินทุน
 

ถ้าหากดีเอ็นเอ ต้นแบบเป็นชิมแพนซีจริง ทำได้เอามาโพสต์ได้เลยครับ เมื่อไหร่ก็ได้.. :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:23
ดูเหมือนจะไม่ได้เข้าใจเรื่องวิวัฒนาการเลยนะเนี่ย  :slime_hmm: การวิวัฒนาการไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอัตราที่เท่ากันตลอดเวลาแต่จะช้าบ้างเร็วบ้างขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมขณะนั้น ไม่งั้นนกที่ใช้ความยาวขนหางในการเกี่ยวพาราสีทำไมถึงหยุดความยาวของขนหางไว้ล่ะไม่ยาวต่อไปเรื่อย ๆ ในเมื่อขนหางยิ่งยาวมากยิ่งดี และเรื่องเป็นศัตรูโดยตรงโดยอ้อมมีผลหมดไม่ต้องข้ามชนิดกันก็ได้ แค่เอาระดับกลุ่มประชากรในชนิดนั้นก็เห็นภาพชัดแล้ว หวังว่าคุณคงเข้าในเรื่องนิเวศวิทยาด้วยนะครับ
ไหน ๆ ก็ยกเรื่อง Homo sapiens ที่ต้องมีชนิดย่อยนะเพราะมันมีชนิดย่อยอื่น ซึ่งถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้เนื่องจากใช้มนุษย์ปัจจุบันเป็น type specimen อยู่แล้วแต่การที่ใช้ Homo sapiens sapiens เนื่องจากมีชนิดย่อย Homo sapiens neanderthalensis แต่พอมีข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะข้อมูลจากชีวโมเลกุลจึงได้จับแยกไปเป็นอีกชนิดหนึ่งคือ Homo neanderthalensis ทำให้ Homo sapiens sapiens จึงใช้ Homo sapiens เหมือนเดิมก็ได้ถ้าไม่พบอีกชนิดย่อยหนึ่งก็คือ Homo sapiens idaltu

อ้างสิ่งทีเกิดขึ้นแล้ว อิงข้อเท็จจริงสร้างสมมุติฐานกันทั้งนั้นแหละครับ สภาพแวดล้อมก็เป็นข้อเท็จจริง ลงในรายละเอียดสิครับ

ลิงที่ฉลาดกว่าชิมแพนซีหายไปไหน.. สภาพแวดล้อมอะไรทำให้ลิงฉลาดขึ้น ในระยะเวลาเป็นล้านๆปี ทำไมมีคนแค่พันธุ์เดียวที่เกิดขึ้นและคงอยู่เราพุดถึงพันธุ์ที่มีสติปัญญาครับ สภาพแวดล้อมมันก็อันเดียวกัน ไม่ได้ต่างกันมากมายอะไร สำหรับสัตว์ที่มีอยู่ทั่วโลก..พบได้ทั่วไป..
หากไม่มีอัตราเร่ง ช่วงไม่กี่พันปี มนุษย์สร้างสิ่งใหม่ๆและเทคโนโลยีมากมายจากความรู้ครับ..เช่นตัวหนังสือเขียนที่ยกมานี่แหละ หัดเข้าใจเรื่องวิวัฒนาการให้ถ่องแท้ครับ
อย่าใช้แต่กล้ามเนื้อหัวแม่โป้ง..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 11-08-2007, 23:25
ถ้าหากดีเอ็นเอ ต้นแบบเป็นชิมแพนซีจริง ทำได้เอามาโพสต์ได้เลยครับ เมื่อไหร่ก็ได้.. :slime_bigsmile:
ดีเอ็นเอต้นแบบไม่ใช่ซิมแปนซี แต่เป็นบรรพบุรุษร่วมขิงคนกับซิมแปนซี อย่าเข้าใจผิดครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 11-08-2007, 23:28
ถ้าหากดีเอ็นเอ ต้นแบบเป็นชิมแพนซีจริง ทำได้เอามาโพสต์ได้เลยครับ เมื่อไหร่ก็ได้.. :slime_bigsmile:

พาให้นึกถึงเรื่อง GMO เลยนะคะเนี่ยะ ตอนนี้ไม่ทราบว่ามีพืชผลจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ที่ถูกแปรสภาพด้วยเทคนิคจาก genetic engineering กลายเป็นพืชจีเอ็มโอ และในอนาคต มนุษย์เราจะมีรูปร่างหน้าตา ระดับสติปัญญา เบี่ยงเบนไปหรือไม่ อันเนื่องมาจากผลกระทบที่รับประทานพืชจีเอ็มโอที่ตอนนี้ไม่สามารถชี้ชัดหรือระบุได้ :slime_bigsmile:



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:29


ดีเอ็นเอต้นแบบไม่ใช่ซิมแปนซี แต่เป็นบรรพบุรุษร่วมขิงคนกับซิมแปนซี อย่าเข้าใจผิดครับ

เอามาจากไหน? ติดตามตรวจสอบก็ดีครับ...??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 11-08-2007, 23:31
อ้างสิ่งทีเกิดขึ้นแล้ว อิงข้อเท็จจริงสร้างสมมุติฐานกันทั้งนั้นแหละครับ สภาพแวดล้อมก็เป็นข้อเท็จจริง ลงในรายละเอียดสิครับ

ลิงที่ฉลาดกว่าชิมแพนซีหายไปไหน.. สภาพแวดล้อมอะไรทำให้ลิงฉลาดขึ้น ในระยะเวลาเป็นล้านๆปี ทำไมมีคนแค่พันธุ์เดียวที่เกิดขึ้นและคงอยู่เราพุดถึงพันธุ์ที่มีสติปัญญาครับ สภาพแวดล้อมมันก็อันเดียวกัน ไม่ได้ต่างกันมากมายอะไร สำหรับสัตว์ที่มีอยู่ทั่วโลก..พบได้ทั่วไป..
หากไม่มีอัตราเร่ง ช่วงไม่กี่พันปี มนุษย์สร้างสิ่งใหม่ๆและเทคโนโลยีมากมายจากความรู้ครับ..เช่นตัวหนงสือเขียนที่ยกมานี่แหละ หัดเข้าใจเรื่องวิวัฒนาการให้ถ่องแท้ครับ
อย่าใช้แต่กล้ามเนื้อหัวแม่โป้ง..

รู้จักยีน FOXP2 ไหมครับ ทั้งมนุษย์และซิมแปนซีก็มีแต่กรดอะมิโนต่างกันแค่บางตัวเท่านั้นเอง ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับซิมแปนซี ลิงที่ฉลาดกว่าซิมแปนซีนั้นหายไปไหน ก็เรื่องการแข่งขันทั้งในระหว่างชนิดเดียวกันเองและต่างชนิดกัน ผมถึงบอกแล้วไงให้คุณทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศให้ดีก่อน ตัวอย่างในระดับกลุ่มประชากรก็มีให้เห็น


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:32
พาให้นึกถึงเรื่อง GMO เลยนะคะเนี่ยะ ตอนนี้ไม่ทราบว่ามีพืชผลจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ที่ถูกแปรสภาพด้วยเทคนิคจาก genetic engineering กลายเป็นพืชจีเอ็มโอ และในอนาคต มนุษย์เราจะมีรูปร่างหน้าตา ระดับสติปัญญา เบี่ยงเบนไปหรือไม่ อันเนื่องมาจากผลกระทบที่รับประทานพืชจีเอ็มโอที่ตอนนี้ไม่สามารถชี้ชัดหรือระบุได้ :slime_bigsmile:



ผมยังไม่เชื่อว่าพืชจีเอ็มโอจะมีผลกระทบต่อระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ตลอดจนการกลายพันธุ์ของมนุษย์ครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 11-08-2007, 23:33

เอามาจากไหน? ติดตามตรวจสอบก็ดีครับ...??
ก็วิธีเดียวกันกับที่ใช้ตรวจสอบที่มาว่ามนุษย์ทุกคนมาจากแหล่งเดียวกันนะแหละครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:37
รู้จักยีน FOXP2 ไหมครับ ทั้งมนุษย์และซิมแปนซีก็มีแต่กรดอะมิโนต่างกันแค่บางตัวเท่านั้นเอง ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับซิมแปนซี ลิงที่ฉลาดกว่าซิมแปนซีนั้นหายไปไหน ก็เรื่องการแข่งขันทั้งในระหว่างชนิดเดียวกันเองและต่างชนิดกัน ผมถึงบอกแล้วไงให้คุณทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศให้ดีก่อน ตัวอย่างในระดับกลุ่มประชากรก็มีให้เห็น

ผมพยายามพูดถึงดีเอ็นเอ เพราะดีเอ็นเอ เป็นตัวกำหนดทั้งหมดครับ หากสามารถตั้งต้นจากดีเอ็นเอ ของสัตว์ชนิดหนึ่ง สร้างสัตว์ชนิดใหม่ได้ อันนี้ชัดเจนว่า เราทราบว่าอะไรมีผลกระทบต่อดีเอ็นเอ นอกเหนือจากการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:39



ความรู้ของมนุษย์ปัจจุบันการโคลนนิ่ง ก็ยังได้สัตว์ที่อายุไม่ยืนเลยครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 11-08-2007, 23:43
ผมพยายามพูดถึงดีเอ็นเอ เพราะดีเอ็นเอ เป็นตัวกำหนดทั้งหมดครับ หากสามารถตั้งต้นจากดีเอ็นเอ ของสัตว์ชนิดหนึ่ง สร้างสัตว์ชนิดใหม่ได้ อันนี้ชัดเจนว่า เราทราบว่าอะไรมีผลกระทบต่อดีเอ็นเอ นอกเหนือจากการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ
ตกลงนี่ผมกำลังคุยกันคนที่ไม่เข้าใจเรื่องพันธุศาสตร์รึนี่ งั้นบอกให้ละกันว่ากรดอะมิโนในแต่ละยีนนั้นสังเคราะห์มาจากลำดับเบสบนดีเอ็นเอทั้งนั้นแหละครับ การที่กรดอะมิโนเปลี่ยนไปย่อมหมายถึงดีเอ็นเอเปลี่ยนไปด้วย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 11-08-2007, 23:45


ความรู้ของมนุษย์ปัจจุบันการโคลนนิ่ง ก็ยังได้สัตว์ที่อายุไม่ยืนเลยครับ..
ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้นแล้วครับ หวังว่าคุณคงไม่รู้เฉพาะเรื่องแกะดอลลี่หรอกนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:49

พูดถึงอัตราเร่งอีกสักนิด ตอนนี้สายพันธุ์ที่มนุษย์รู้จัก มีทั้งหมดกี่สปีชี่ และซับสปีชีครับ..

และอนาคตจะมีเท่าไร??? อะไรจะสูญพันธุ์บ้าง? อะไรจะมีพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน..

จำนวนพันธุ์ที่อยู่รอดจะเป็นตัวขยายพันธุ์ใหม่ๆตามธรรมชาติ หากมีการเปลี่ยนแปลงข้ามสายพันธุ์ได้จริงครับ

ผมไม่เห็นนัยสำคัญที่จะทำให้สูญพันธุ์แตกต่างกัน ในระบบนิเวศน์ปัจจุบัน นอกเหนือจากการล่า และการสงครามครับ

หรือจะเป็นเรื่องพฤติกรรมการสืบพันธุ์อย่างหมีแพนด้า.
                                                                            :slime_bigsmile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 11-08-2007, 23:50
เรื่องตัวอย่างเรื่องของ DNA ระหว่างคนกับซิมแปนซี

Chimpanzee Sequencing and Analysis Consortium (2005). "Initial sequence of the chimpanzee genome and comparison with the human genome". Nature 437: 69-87.

Gene content and function of the ancestral chromosome fusion site in human chromosome 2q13-2q14.1 and paralogous regions by Y. Fan, T. Newman, E. Linardopoulou and B. J. Trask in Genome Research (2002) Volume 12 pages 1663-1672.

Enard W, Przeworski M, Fisher S, Lai C, Wiebe V, Kitano T, Monaco A, Pääbo S (2002). "Molecular evolution of FOXP2, a gene involved in speech and language". Nature 418: 869-72.



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:55


ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้นแล้วครับ หวังว่าคุณคงไม่รู้เฉพาะเรื่องแกะดอลลี่หรอกนะครับ

เรื่องโคลนนิ่งสดๆ ผมเชื่อครับ..

ที่ไม่เชื่อคือการตัดต่อพันธุกรรม..อย่างที่ว่าไปแล้วครับ..เข้าใจว่ามีความลับซ่อนอยู่มาก เช่นเรื่องอายุของเซลล์ และความเข้ากันได้ในภาพรวม


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: qazwsx ที่ 11-08-2007, 23:57
เฮ้ย !
ที่นี่ "สภากาแฟ"
ถกกันเรื่องการเมืองเฟ้ย !!!
( พาออกทะเลทีไร  เลยเถิิดไปถึงมหาสมุทร ทุกทีสิวะ )

 :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-08-2007, 23:59
ตกลงนี่ผมกำลังคุยกันคนที่ไม่เข้าใจเรื่องพันธุศาสตร์รึนี่ งั้นบอกให้ละกันว่ากรดอะมิโนในแต่ละยีนนั้นสังเคราะห์มาจากลำดับเบสบนดีเอ็นเอทั้งนั้นแหละครับ การที่กรดอะมิโนเปลี่ยนไปย่อมหมายถึงดีเอ็นเอเปลี่ยนไปด้วย


ถ้าง่ายอย่างคุณว่า มนุษย์สามารถสร้างสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตนานแล้วครับ โดยไม่ต้องอาศัยการฝากท้องหรือดีเอ็นเอต้นแบบ..

และคงไม่มีปัญหาเรื่องอายุเซลล์ต่างๆด้วย..ดีเอ็นเอที่ตั้งต้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากและละเลยไม่ได้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:00
เฮ้ย !
ที่นี่ "สภากาแฟ"
ถกกันเรื่องการเมืองเฟ้ย !!!
( พาออกทะเลทีไร  เลยเถิิดไปถึงมหาสมุทร ทุกทีสิวะ )

 :slime_doubt:

อีกสักพักคงได้ย้ายที่... :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 00:01
พูดถึงอัตราเร่งอีกสักนิด ตอนนี้สายพันธุ์ที่มนุษย์รู้จัก มีทั้งหมดกี่สปีชี่ และซับสปีชีครับ..

และอนาคตจะมีเท่าไร??? อะไรจะสูญพันธุ์บ้าง? อะไรจะมีพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน..

จำนวนพันธุ์ที่อยู่รอดจะเป็นตัวขยายพันธุ์ใหม่ๆตามธรรมชาติ หากมีการเปลี่ยนแปลงข้ามสายพันธุ์ได้จริงครับ

ผมไม่เห็นนัยสำคัญที่จะทำให้สูญพันธุ์แตกต่างกัน ในระบบนิเวศน์ปัจจุบัน นอกเหนือจากการล่า และการสงครามครับ

หรือจะเป็นเรื่องพฤติกรรมการสืบพันธุ์อย่างหมีแพนด้า.
                                                                            :slime_bigsmile: :slime_cool:

ดูท่าจะไม่เข้าใจเรื่องวิวัฒนาการจริง ๆ ก่อนพูดถึงเรื่องสปีซีส์นะครับ ควรเข้าใจความหมายก่อน ถ้าเข้าใจความหมายแล้วก็ความจะเข้าใจเรื่องการเกิดสปีซีส์ด้วย แต่จนบัดนี้ผมก็ยังไม่ได้คำตอบจากคุณซะที ส่วนเรื่องจำนวนสัตว์มีกี่สปีซีส์ ก็มีประมาณ 1 ล้านกว่าสปีซีส์ เพิ่มลดได้เนื่องจากข้อมูลที่ศึกษา 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 12-08-2007, 00:05
ผมยังไม่เชื่อว่าพืชจีเอ็มโอจะมีผลกระทบต่อระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ตลอดจนการกลายพันธุ์ของมนุษย์ครับ

 :slime_smile: แสดงว่า กล้า ทานใช่มั้ยคะ  :mrgreen:  

ดูเหมือนว่า คนทั่วไปยังปฏิเสธ ไม่ยอมรับ แต่คงทานกันเข้าไปบ้างแล้ว ทำนอง ลูกชิ้นเนื้อวัว แต่ที่กินด้วยความเอร็ดอร่อยคือ ลูกชิ้นเนื้อหมาแบบนั้นน่ะค่ะ :mrgreen: :mozilla_sealed: :mrgreen:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:08


ดูท่าจะไม่เข้าใจเรื่องวิวัฒนาการจริง ๆ ก่อนพูดถึงเรื่องสปีซีส์นะครับ ควรเข้าใจความหมายก่อน ถ้าเข้าใจความหมายแล้วก็ความจะเข้าใจเรื่องการเกิดสปีซีส์ด้วย แต่จนบัดนี้ผมก็ยังไม่ได้คำตอบจากคุณซะที ส่วนเรื่องจำนวนสัตว์มีกี่สปีซีส์ ก็มีประมาณ 1 ล้านกว่าสปีซีส์ เพิ่มลดได้เนื่องจากข้อมูลที่ศึกษา 

เห็นเขาว่าอาจมีถึง30ล้าน แต่ผมไม่ค่อยสนใจครับ..

สนใจประเด็นข้ามสายพันธุ์โดยที่ วิธีการแบ่งคงที่มากกว่า

ที่ถามเพราะอยากให้เห็นว่าจำนวนพันธุ์ตั้งต้น เป็นตัวทำให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมในประเภทของมันครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:11
:slime_smile: แสดงว่า กล้า ทานใช่มั้ยคะ  :mrgreen:  

ดูเหมือนว่า คนทั่วไปยังปฏิเสธ ไม่ยอมรับ แต่คงทานกันเข้าไปบ้างแล้ว ทำนอง ลูกชิ้นเนื้อวัว แต่ที่กินด้วยความเอร็ดอร่อยคือ ลูกชิ้นเนื้อหมาแบบนั้นน่ะค่ะ :mrgreen: :mozilla_sealed: :mrgreen:

ทีต้องระวังคือเนื้อปลาปักเป้าที่เขาอ้างว่าเป็นเนื้อไก่ครับ นั่นอันตรายมาก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 00:12

ถ้าง่ายอย่างคุณว่า มนุษย์สามารถสร้างสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตนานแล้วครับ โดยไม่ต้องอาศัยการฝากท้องหรือดีเอ็นเอต้นแบบ..

และคงไม่มีปัญหาเรื่องอายุเซลล์ต่างๆด้วย..
จะสร้างไปทำไมให้สิ้นเปลืองงบประมาณและเวลาครับในเมื่อมีการทดลองหลายอย่างที่เกิดสิ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายสิ่งมีชีวิตแล้วติดตรงที่เวลาเท่านั้น เพราะถ้าตามสมมติฐานนั้นใช้เวลาหลายร้อยล้านปี แล้วสิ่งที่มีชีวิตต่างกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่างไรบ้างครับ เอาเข้าจริง ๆ สิ่งมีชีวิตมันก็เป็นรูปแบบของกระบวนการทางเคมี และเรื่องการตัดต่อพันธุกรรมให้เป็นมนุษย์ แปลกดีนะครับ คนที่ว่าคนอย่างทักษิณไม่มีจริยธรรมกับคิดเรื่องะพวกนี้ซึ่งไม่มีจริยธรรมยิ่งกว่าได้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 00:15

เห็นเขาว่าอาจมีถึง30ล้าน แต่ผมไม่ค่อยสนใจครับ..

สนใจประเด็นข้ามสายพันธุ์โดยที่ วิธีการแบ่งคงที่มากกว่า

ที่ถามเพราะอยากให้เห็นว่าจำนวนพันธุ์ตั้งต้น เป็นตัวทำให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมในประเภทของมันครับ
จำนวนตั้งต้นเท่าไหร่ไม่มีใครทราบหรอกครับ แต่คงไม่ใช่ 1 คู่ ตามที่บันทึกในคัมภีร์แน่ครับ เพราะลักษณะที่ควบคุมโดย locus เดียวกันมันมีมากกว่า 4 ลักษณธก็มีให้เห็นในสัตว์หลายชนิดซึ่งคงไม่เกิดขึ้นภายในเวลา 10000 ปีหรอกครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:16
ดูท่าจะไม่เข้าใจเรื่องวิวัฒนาการจริง ๆ ก่อนพูดถึงเรื่องสปีซีส์นะครับ ควรเข้าใจความหมายก่อน ถ้าเข้าใจความหมายแล้วก็ความจะเข้าใจเรื่องการเกิดสปีซีส์ด้วย แต่จนบัดนี้ผมก็ยังไม่ได้คำตอบจากคุณซะที ส่วนเรื่องจำนวนสัตว์มีกี่สปีซีส์ ก็มีประมาณ 1 ล้านกว่าสปีซีส์ เพิ่มลดได้เนื่องจากข้อมูลที่ศึกษา 

อยากยกอะไรขึ้นมาอธิบายก็ทำไปได้เลยครับ...


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:22
จะสร้างไปทำไมให้สิ้นเปลืองงบประมาณและเวลาครับในเมื่อมีการทดลองหลายอย่างที่เกิดสิ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายสิ่งมีชีวิตแล้วติดตรงที่เวลาเท่านั้น เพราะถ้าตามสมมติฐานนั้นใช้เวลาหลายร้อยล้านปี แล้วสิ่งที่มีชีวิตต่างกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่างไรบ้างครับ เอาเข้าจริง ๆ สิ่งมีชีวิตมันก็เป็นรูปแบบของกระบวนการทางเคมี และเรื่องการตัดต่อพันธุกรรมให้เป็นมนุษย์ แปลกดีนะครับ คนที่ว่าคนอย่างทักษิณไม่มีจริยธรรมกับคิดเรื่องะพวกนี้ซึ่งไม่มีจริยธรรมยิ่งกว่าได้

ผมไม่เห็นว่าจะไม่มีจริยธรรมตรงไหน หากมีคนรับผิดชอบชีวิตเหล่านั้นในฐานะพ่อแม่หรือผู้ดูแล.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 00:23
"An experimentally created incipient species of Drosophila", Nature 23:289-292 ตัวอย่างการทดลองที่ทำให้เกิดชนิดใหม่ขึ้นมา และมีสัตว์หลายชนิดที่ถึงเกิดสปีซีส์ใหม่แต่ยังใช้ชื่อสปีซีส์เดิมก็เยอะไป แต่สังเกตตรงท้ายชื่อจะมีคำว่า Complex หรือ Group ต่อท้าย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:26


จำนวนตั้งต้นเท่าไหร่ไม่มีใครทราบหรอกครับ แต่คงไม่ใช่ 1 คู่ ตามที่บันทึกในคัมภีร์แน่ครับ เพราะลักษณะที่ควบคุมโดย locus เดียวกันมันมีมากกว่า 4 ลักษณธก็มีให้เห็นในสัตว์หลายชนิดซึ่งคงไม่เกิดขึ้นภายในเวลา 10000 ปีหรอกครับ

จะมึกี่คู่ต้องทราบก่อนว่าสิ่งมีชีวิต ชั้นต่ำอย่างบักเตรีตัวแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร??  :slime_bigsmile::slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 00:27
ผมไม่เห็นว่าจะไม่มีจริยธรรมตรงไหน หากมีคนรับผิดชอบชีวิตเหล่านั้นในฐานะพ่อแม่หรือผู้ดูแล.
ถ้าการทดลองนั้นผิดพลาดจะทำอย่างไรกับเด็กที่เกิดมาแล้วพิการครับ อย่าลืมนะว่ายีนบางตัวไม่ทำงานแต่ถ้าเกิดทำงานมาแล้วจะยุ่ง ตัวอย่างก็มีอยู่


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 00:29

จะมึกี่คู่ต้องทราบก่อนว่าสิ่งมีชีวิต ชั้นต่ำอย่างบักเตรีตัวแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร??  :slime_bigsmile::slime_cool:
นั่นสิ เพราะมันยังเป็นสมมติฐานอยู่ ยังไม่ได้เป็นทฤษฎี แล้วคุณคิดว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร รวมทั้งมนุษย์คู่แรกด้วย(เลี่ยงตอบคำถามนี้มานานแล้วนะครับ)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:35


นั่นสิ เพราะมันยังเป็นสมมติฐานอยู่ ยังไม่ได้เป็นทฤษฎี แล้วคุณคิดว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร รวมทั้งมนุษย์คู่แรกด้วย(เลี่ยงตอบคำถามนี้มานานแล้วนะครับ)

ก็ต้องมีอย่างน้อยคู่แรกที่เรียกได้ว่าเป็นมนุษย์ครับ..

ส่วนจะกลายพันธุ์มาหรือเกิดขึ้นเอง หรือถูกสร้างจากอะไร? ก็คงหาได้ง่ายขึ้น..เพราะเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งตามหลักวิทยาศาสตร์และหรือศาสตร์ต่างๆครับ....


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:39

ถ้าการทดลองนั้นผิดพลาดจะทำอย่างไรกับเด็กที่เกิดมาแล้วพิการครับ อย่าลืมนะว่ายีนบางตัวไม่ทำงานแต่ถ้าเกิดทำงานมาแล้วจะยุ่ง ตัวอย่างก็มีอยู่


ระดับจริยธรรมขึ้นอยู่กับจิตใจ ไม่ใช่สภาพภายนอกหรอกครับ..

เราปฏิบัติต่อทุกสิ่งตามชนิดและสภาพของมัน รวมทั้งจิตใจและพฤติกรรมตามธรรมชาติของเขาด้วย...

ยกตัวอย่างเช่นอาชญากรกับหมอ หรือเพชฆาต มีจิตใจ สติปัญญญาที่แตกต่างกัน มีจริยธรรมที่แตกต่างกัน..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 00:42

ก็ต้องมีอย่างน้อยคู่แรกที่เรียกได้ว่าเป็นมนุษย์ครับ..

ส่วนจะกลายพันธุ์มาหรือเกิดขึ้นเอง หรือถูกสร้างจากอะไร? ก็คงหาได้ง่ายขึ้น..เพราะเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งตามหลักวิทยาศาสตร์และหรือศาสตร์ต่างๆครับ....
แล้วระดับไหนถึงเรียกว่ามนุษย์ล่ะครับ แล้วคู่แรกนี่เกิดที่ไหนหรือครับ แล้วคุณคิดว่ากลายพันธุ์หรือเถูกสร้างล่ะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 00:44
ระดับจริยธรรมขึ้นอยู่กับจิตใจ ไม่ใช่สภาพภายนอกหรอกครับ..

เราปฏิบัติต่อทุกสิ่งตามชนิดและสภาพของมัน รวมทั้งจิตใจและพฤติกรรมตามธรรมชาติของเขาด้วย...

ยกตัวอย่างเช่นอาชญากรกับหมอ หรือเพชฆาต มีจิตใจ สติปัญญญาที่แตกต่างกัน มีจริยธรรมที่แตกต่างกัน..
คุณคิดว่าทุกคนในสังคมจะคิดแบบเดียวกันหมดหรือครับ คุณจะรับประกันได้หรือไม่ว่าเด็กที่เกิดมาพิการจะไม่ถูกล้อเลียน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:46


จริงแล้วอยากให้ลองตั้งต้นปรับปรุงพันธุ์ ทำให้ชิมแพนซีฉลาดขึ้นให้ได้ก่อน..ให้คลายมนุษย์มากขึ้นเท่าที่มีความสามารถ

ไม่น่าตีตนไปก่อนไข้ เพราะไม่ใช่วิธีเรียนรียนลัด เอาพันธุกรรมของคนมาตัดต่อ


อย่างไรก็ตามผมไม่เชื่อเรื่องข้ามสายพันธุ์ เพราะไม่เห็นหลักฐานตามธรรมชาติ มันยังมีเส้นแบ่งชัดเจนอยู่..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 00:51


คุณคิดว่าทุกคนในสังคมจะคิดแบบเดียวกันหมดหรือครับ คุณจะรับประกันได้หรือไม่ว่าเด็กที่เกิดมาพิการจะไม่ถูกล้อเลียน

มีคนพิการและคนมีความคิดเบี่ยงเบนอยู่มากในสังคม ตรงนั้นคือปัญหา..

แค่เรื่องไม่มีระเบียบสร้างปัญหาให้สังคมก็เพราะเพิกเฉยไม่สนใจจะแก้ไข ปล่อยตามธรรมชาตินี่แหละครับ

อาจจะเพราะชื่อเรื่องวิวัฒนาการมากไปหรือเปล่า?? จริงแล้วมันน่าจะกระจายออกไปทั้งด้านดีและด้านร้าย

มนุษย์ดีๆอาจจะสูญพันธุ์เพราะทำลายกันเองทั้งทางตรงทางอ้อม


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 01:00

จริงแล้วอยากให้ลองตั้งต้นปรับปรุงพันธุ์ ทำให้ชิมแพนซีฉลาดขึ้นให้ได้ก่อน..ให้คลายมนุษย์มากขึ้นเท่าที่มีความสามารถ

ไม่น่าตีตนไปก่อนไข้ เพราะไม่ใช่วิธีเรียนรียนลัด เอาพันธุกรรมของคนมาตัดต่อ


อย่างไรก็ตามผมไม่เชื่อเรื่องข้ามสายพันธุ์ เพราะไม่เห็นหลักฐานตามธรรมชาติ มันยังมีเส้นแบ่งชัดเจนอยู่..
มนุษย์กว่าจะพัฒนาถึงจุดนี้ได้ใช้เวลากี่ปีครับ เทียบเมื่อแสนปีก่อนเป็นอย่างไรครับ ซึ่งมันก็ไม่น่าจะต่างกันในเมื่อเป็นชนิดเดียวกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 01:04

มีคนพิการและคนมีความคิดเบี่ยงเบนอยู่มากในสังคม ตรงนั้นคือปัญหา..

แค่เรื่องไม่มีระเบียบสร้างปัญหาให้สังคมก็เพราะเพิกเฉยไม่สนใจจะแก้ไข ปล่อยตามธรรมชาตินี่แหละครับ

อาจจะเพราะชื่อเรื่องวิวัฒนาการมากไปหรือเปล่า?? จริงแล้วมันน่าจะกระจายออกไปทั้งด้านดีและด้านร้าย

มนุษย์ดีๆอาจจะสูญพันธุ์เพราะทำลายกันเองทั้งทางตรงทางอ้อม
ในเมื่อรับประกันเรื่องตรงนี้ไม่ได้ มันก็ไม่มีจริยธรรมสิครับเพราะคิดแต่จะทำแต่ไม่สนผลที่จะตามมา


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 01:07
มนุษย์กว่าจะพัฒนาถึงจุดนี้ได้ใช้เวลากี่ปีครับ เทียบเมื่อแสนปีก่อนเป็นอย่างไรครับ ซึ่งมันก็ไม่น่าจะต่างกันในเมื่อเป็นชนิดเดียวกัน

จำนวนประชากรมนุษย์ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ความหลากหลายจึงมากขึ้น

รวมทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปด้วย.. ชั่วแค่ระยะร้อยปีก็เห็นความแตกต่างอย่างมาก..

มีพวกลูกผสมหรือลูกครึ่งมากมาย แต่สติปัญญาก็ไม่ต่างกันเท่าไร ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และค่านิยม



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 01:11

ในเมื่อรับประกันเรื่องตรงนี้ไม่ได้ มันก็ไม่มีจริยธรรมสิครับเพราะคิดแต่จะทำแต่ไม่สนผลที่จะตามมา

คนทำต้องเป็นผู้รับประกันครับ เหมือนพ่อแม่ของใครก็ต้องรับประกันลูกของตัวให้ได้ในระดับหนึ่ง..

ถึงได้บอกให้เอาลิงมาทำให้ฉลาดขึ้น ไม่มีอะไรเสียหาย ประชากรลิงก็ยังไม่มากจนน่าเป็นห่วงอะไร


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 01:14


รู้มากไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือต้องรู้จริง ทำนายผลและทำซ้ำได้..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 01:23
คนทำต้องเป็นผู้รับประกันครับ เหมือนพ่อแม่ของใครก็ต้องรับประกันลูกของตัวให้ได้ในระดับหนึ่ง..

ถึงได้บอกให้เอาลิงมาทำให้ฉลาดขึ้น ไม่มีอะไรเสียหาย ประชากรลิงก็ยังไม่มากจนน่าเป็นห่วงอะไร
และก็บอกอีกด้วยว่า

หรือลองตัดต่อพันธุกรรมของลิงให้กลายเป็นคนได้ ด้วยวิธีการใดๆก็ตาม หากเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาจัดแบ่ง เราจะจัดด้วยตัวแปรหรือปัจจัยใดๆก็ได้

:slime_bigsmile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 01:24
แล้วระดับไหนถึงเรียกว่ามนุษย์ล่ะครับ แล้วคู่แรกนี่เกิดที่ไหนหรือครับ แล้วคุณคิดว่ากลายพันธุ์หรือเถูกสร้างล่ะครับ
รอคำตอบอยู่นะครับ  :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 01:28



ท้าทายครับ เพราะทราบดีว่า ทำลิงให้กลายเป็นคนไม่ง่ายหรือเป็นไปไม่ได้เลย..หากตั้งต้นจากลิงนะครับ :slime_cool: :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 01:32

รอคำตอบอยู่นะครับ  :slime_sentimental:

คนทั้งโลกหาอยู่ครับ ผมว่าระดับที่มีภาษาใช้ ไม่เกินเจ็ดพันปีครับ..เพราะมีหลักฐานชัดเจนจากการขีดเขียน

สืบสาวราวเรื่องจากตรงนั้นน่าจะง่ายกว่า หรือใช้วิธีการคำนวนย้อนกลับจากจำนวนประชากรตอนนั้นก็ได้..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 12-08-2007, 01:39
เฮ้ย !
ที่นี่ "สภากาแฟ"
ถกกันเรื่องการเมืองเฟ้ย !!!
( พาออกทะเลทีไร  เลยเถิิดไปถึงมหาสมุทร ทุกทีสิวะ )

 :slime_doubt:

การเมืองในองค์กร ได้เป่าคับ

 :slime_bigsmile: :slime_smile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 01:51
คนทั้งโลกหาอยู่ครับ ผมว่าระดับที่มีภาษาใช้ ไม่เกินเจ็ดพันปีครับ..เพราะมีหลักฐานชัดเจนจากการขีดเขียน

สืบสาวราวเรื่องจากตรงนั้นน่าจะง่ายกว่า หรือใช้วิธีการคำนวนย้อนกลับจากจำนวนประชากรตอนนั้นก็ได้..
ภาษานั้นมันไม่ได้จำกัดแค่ภาษาเขียนนี่ครับ อย่าเข้าใจผิดสิครับ :slime_bigsmile: ลองดูเรื่องยีน FOXP2 ก็ดีนะครับเพราะเป็นยีนที่เกี่ยวกับการใช้ภาษา


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 01:56


ภาษานั้นมันไม่ได้จำกัดแค่ภาษาเขียนนี่ครับ อย่าเข้าใจผิดสิครับ :slime_bigsmile: ลองดูเรื่องยีน FOXP2 ก็ดีนะครับเพราะเป็นยีนที่เกี่ยวกับการใช้ภาษา

ตัวอักษรเดิม เริ่มจากเส้นขีด ง่ายๆครับ ในด้านการเปล่งเสียงเราหาหลักฐานจากลมคงไม่ได้

แต่ก็พบว่ามีภาษาพูดที่ตายไปแล้วหลายภาษา มนุษย์ถ้ำก็น่าจะขีดอะไรต่อมีอะไร ด้วยหินตามผนังถ้ำนานแล้วได้มากกว่าที่เราพบหลักฐาน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 02:07

ตัวอักษรเดิม เริ่มจากเส้นขีด ง่ายๆครับ ในด้านการเปล่งเสียงเราหาหลักฐานจากลมคงไม่ได้

แต่ก็พบว่ามีภาษาพูดที่ตายไปแล้วหลายภาษา มนุษย์ถ้ำก็น่าจะขีดอะไรต่อมีอะไร ด้วยหินตามผนังถ้ำนานแล้วได้มากกว่าที่เราพบหลักฐาน
เหอๆ มนุษย์ปัจจุบันหลายเผ่าก็ไม่มีภาษาเขียน และถ้าเอาที่ขีดเขียนได้ล่ะก็มีที่เกิน 7000 ปีเยอะไปครับ อย่างที่พบใน Chauvet Cave นี่ก็ห่างจาก 7000 ปีหลายเท่า  :slime_bigsmile:
(http://www-personal.une.edu.au/~idavidso/images/ID%20at%20Chauvet%20horses%202002.JPG)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 02:12
เหอๆ มนุษย์ปัจจุบันหลายเผ่าก็ไม่มีภาษาเขียน และถ้าเอาที่ขีดเขียนได้ล่ะก็มีที่เกิน 7000 ปีเยอะไปครับ อย่างที่พบใน Chauvet Cave นี่ก็ห่างจาก 7000 ปีหลายเท่า  :slime_bigsmile:
(http://www-personal.une.edu.au/~idavidso/images/ID%20at%20Chauvet%20horses%202002.JPG)


น่าสงสัยเรื่องวิธีตรวจสอบอายุ ภาพนะครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 02:21
น่าสงสัยเรื่องวิธีตรวจสอบอายุ ภาพนะครับ..
การตรวจสอบอายุวัตถุเขาทำกันอย่างไรบ้างครับ ดูท่าคุณคงจะเชี่ยวชาญ  :slime_bigsmile:

ป.ล.ยีน FOXP2 พบการกลายพันธุ์ของยีนนี้ในช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มพบซากฟอสซิลของมนุษย์ปัจจุบันที่มีอายุอยู่ช่วงนั้นพอดี แปลกจริง ๆ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 02:27
การตรวจสอบอายุวัตถุเขาทำกันอย่างไรบ้างครับ ดูท่าคนจะเชี่ยวชาญ  :slime_bigsmile:

ป.ล.ยีน FOXP2 พบการกลายพันธุ์ของยีนนี้ในช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มพบซากฟอสซิลของมนุษย์ปัจจุบันที่มีอายุอยู่ช่วงนั้นพอดี แปลกจริง ๆ

ช่วงกี่ปีครับ..??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 02:29

ม้ากับลา หน้าคล้ายกัน สติปัญญาคล้ายๆกันผสมกันออกมาคงกลายพันธุ์แต่กลายเป็นหมันได้ครับ..

หรืออายุไม่ยืน สืบพันธุ์ต่อไม่ได้   


เท่าที่ดูจากภาพคงฝึกวาดมาพอสมควร..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 02:31
ช่วงกี่ปีครับ..??
ประมาณ 2 แสนปีครับ แล้วตกลงการตรวจสอบอายุวัตถุเขาทำกันอย่างไรบ้างครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 02:32


ประมาณ 2 แสนปีครับ แล้วตกลงการตรวจสอบอายุวัตถุเขาทำกันอย่างไรบ้างครับ  :slime_bigsmile:

ผมไม่ทราบว่าภาพนั้นใช้สีประเภทไหน ติดทนดีจัง...


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 02:40
ม้ากับลา หน้าคล้ายกัน สติปัญญาคล้ายๆกันผสมกันออกมาคงกลายพันธุ์แต่กลายเป็นหมันได้ครับ..

หรืออายุไม่ยืน สืบพันธุ์ต่อไม่ได้   


เท่าที่ดูจากภาพคงฝึกวาดมาพอสมควร..
ลูกเป็นหมันก็ถูกตามนิยามของสปีซีส์แล้วนี่ครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 02:42

ผมไม่ทราบว่าภาพนั้นใช้สีประเภทไหน ติดทนดีจัง...
อ้าวตกลงถามเรื่องภาพรึเนี่ย นึกว่าเรื่องยีน ถ้าภาพนะ 3 หมื่นกว่าปีครับ แล้วตกลงการตรวจสอบอายุวัตถุเขาทำกันอย่างไรบ้างครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 02:43
ลูกเป็นหมันก็ถูกตามนิยามของสปีซีส์แล้วนี่ครับ

มันคงมียีนส์ทีกลายพันธ์แต่สืบพันธ์ต่อไปเป็นอะไรละครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 02:44


อ้าวตกลงถามเรื่องภาพรึเนี่ย นึกว่าเรื่องยีน ถ้าภาพนะ 3 หมื่นกว่าปีครับ แล้วตกลงการตรวจสอบอายุวัตถุเขาทำกันอย่างไรบ้างครับ  :slime_bigsmile:

นั่นคือสิ่งที่ผมบอกไปแล้วว่าน่าสงสัย หาจากสีหรือร่องรอยไม่ดีกว่าหรือครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 02:48

กว่าจะเป็นภาพศิลปินมักไม่วาดภาพเดียวบริเวณเดียวหรอกครับ..

ต้องมีการฝึกฝน ด้วยวิธีการที่เขาถนัด..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 02:49
มันคงมียีนส์ทีกลายพันธ์แต่สืบพันธ์ต่อไปเป็นอะไรละครับ
งงคำถามครับ  :slime_bigsmile: เรียบเรียงคำถามให้ดีก่อนครับ แล้วการที่ล่อเป็นหมันนี่เกิดจากอะไรครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 02:50
กว่าจะเป็นภาพศิลปินมักไม่วาดภาพเดียวบริเวณเดียวหรอกครับ..

ต้องมีการฝึกฝน ด้วยวิธีการที่เขาถนัด..
แล้วโอกาสที่ภาพนั้นจะอยู่ถึงมากน้อยแค่ไหนล่ะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 02:51

นั่นคือสิ่งที่ผมบอกไปแล้วว่าน่าสงสัย หาจากสีหรือร่องรอยไม่ดีกว่าหรือครับ
ตกลงการตรวจสอบอายุวัตถุเขาทำกันอย่างไรบ้างครับ ถ้าไม่ทราบก็บอกมาตรง ๆ ก็ได้ครับผมไม่ว่าอะไร


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 02:52


งงคำถามครับ  :slime_bigsmile: เรียบเรียงคำถามให้ดีก่อนครับ แล้วการที่ล่อเป็นหมันนี่เกิดจากอะไรครับ

ถ้าคุณตอบได้คงไม่งงมังครับ ?เพราะมันขาดการต่อเนื่องในฟอสซิล

แต่ไม่ได้หมายความว่าจะขาดการต่อเนื่อง ก่อนเขียนหนังสือได้ ก็ต้องดูสิครัวว่าในช่วงก่อนเจ็ดพันปีมีโรคภัยพิบัติอะไรบ้างที่ไหน..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 02:53

ตกลงการตรวจสอบอายุวัตถุเขาทำกันอย่างไรบ้างครับ ถ้าไม่ทราบก็บอกมาตรง ๆ ก็ได้ครับผมไม่ว่าอะไร

ผมถามคุณไม่ใช่เหรอ?? อยากทราบจากผมก็ต้องทำการบ้านให้ตรงคำถามครับ   :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 03:00

ถ้าคุณตอบได้คงไม่งงมังครับ ?เพราะมันขาดการต่อเนื่องในฟอสซิล

แต่ไม่ได้หมายความว่าจะขาดการต่อเนื่อง ก่อนเขียนหนังสือได้ ก็ต้องดูสิครัวว่าในช่วงก่อนเจ็ดพันปีมีโรคภัยพิบัติอะไรบ้างที่ไหน..
ถ้าเรื่องความต่อเนื่องในฟอสซิลนะ ไม่จำเป็นก็ได้ครับ เพราะยังมีเรื่องชีววิทยาโมเลกุลมาประกอบครับ หวังว่าคุณคงรู้จักเรื่องนี้นะครับ ว่าแต่ตอนนี้เข้าใจเรื่องการสังเคราะห์ฺกรดอะมิโนจากลำเบสบนรหัสพันธุกรรมรึยังครับ :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:01

ยกตัวอย่างนะครับ ต้นไม้ยืนต้น เขานับอายุจากวงปีครับ

ต้นไม้บางต้น อายุนับได้เป็นพันปี 

ส่วนเรื่องสีนี่ยากครับที่จะอยู่ได้เป็นหลายๆพันปี หากไม่อยุ่บนกระเบื้องเคลือบ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 03:02
ผมถามคุณไม่ใช่เหรอ?? อยากทราบจากผมก็ต้องทำการบ้านให้ตรงคำถามครับ   :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:
ก็คงสงสัยในวิธีตรวจสอบอายุไม่ใช่รึครับ ก็แสดงว่าต้องรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบอายุวัตถุสิครับถึงได้สงสัยได้  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:04

ถ้าเรื่องความต่อเนื่องในฟอสซิลนะ ไม่จำเป็นก็ได้ครับ เพราะยังมีเรื่องชีววิทยาโมเลกุลมาประกอบครับ หวังว่าคุณคงรู้จักเรื่องนี้นะครับ ว่าแต่ตอนนี้เข้าใจเรื่องการสังเคราะห์ฺกรดอะมิโนจากลำเบสบนรหัสพันธุกรรมรึยังครับ :slime_bigsmile:

เข้าใจว่ามี มีการแยกย่อย ที่ยังไม่มีนัยสำคัญให้เห็นในพันธุ์ของลิงครับ พันธุ์ของคนก็เท่าที่เห็นปัจจุบันก็เป็นไปได้ปกติดี

ยังไม่มีใครสอนลิงให้ฉลาดได้มากนัก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 03:06
ยกตัวอย่างนะครับ ต้นไม้ยืนต้น เขานับอายุจากวงปีครับ

ต้นไม้บางต้น อายุนับได้เป็นพันปี 

ส่วนเรื่องสีนี่ยากครับที่จะอยู่ได้เป็นหลายๆพันปี หากไม่อยุ่บนกระเบื้องเคลือบ
แล้วพวกฟอสซิลเขาวัดอายุจากอะไรล่ะครับ คงไม่ใช่นับวงปีนะครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:08


แล้วพวกฟอสซิลเขาวัดอายุจากอะไรล่ะครับ คงไม่ใช่นับวงปีนะครับ  :slime_bigsmile:

คงต้องหาเทคโนโลยีใหม่ครับ ตรงนั้นวัดได้แต่วัตถุ ที่มีอายุนานๆ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 03:09
เข้าใจว่ามี มีการแยกย่อย ที่ยังไม่มีนัยสำคัญให้เห็นในพันธุ์ของลิงครับ พันธุ์ของคนก็เท่าที่เห็นปัจจุบันก็เป็นไปได้ปกติดี

ยังไม่มีใครสอนลิงให้ฉลาดได้มากนัก
ถ้าคนมีความผิดปกติของยีน FOXP2 ก็ไม่เห็นมีใครสอนคนนี้ให้ฉลาดเท่าคนปกติทั่วไปได้  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:10

ถ้าคนมีความผิดปกติของยีน FOXP2 ก็ไม่เห็นมีใครสอนคนนี้ให้ฉลาดเท่าคนปกติทั่วไปได้  :slime_bigsmile:

แสดงว่ายังแยกได้ออกว่าลิงกับคนต่างกันชัดเจนครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 03:14

คงต้องหาเทคโนโลยีใหม่ครับ ตรงนั้นวัดได้แต่วัตถุ ที่มีอายุนานๆ
ทำไมต้องหาครับ ในเมื่อมันก็มีอยู่แล้ว ดูท่าคุณจะไม่รู้จักอีกแฮะ ยกตัวอย่าง 1 วิธีละกัน radiocarbon dating  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 03:15
แสดงว่ายังแยกได้ออกว่าลิงกับคนต่างกันชัดเจนครับ..
ก็ไม่ได้มีแค่ยีนเดียวที่คนต่างจากลิงนี่ครับ อย่านึกว่ามีแค่ยีนเดียวสิครับ :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 03:21
ยีน KRTHAP1 อันนี้ก็กลายพันธุ์เหมือนกัน รู้สึกจะกลายพันธุ์ก่อนหน้า FOXP2 หลายหมื่นปีเหมือนกัน  :slime_bigsmile: แต่ที่แปลกก็คือ ทั้งมนุษย์และซิมแปนซีก็มียีนนี้ เพียงต่อเจ้าจ๋อยีนนี้ยังทำงานสมบูรณ์เท่านั้น  :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: odyssey ที่ 12-08-2007, 03:21
 :slime_doubt:  ดูกระทู้กลายพันธ์นี่มาหลายวันแล้ว  :slime_surrender:

จากที่ทิ้งสมาชิกเลิกโพส์ท(นานๆอ่านที)ไปเกือบจะครบปีแล้ว ต้องสมัครมาโพส์ท  :slime_worship:

ตอนแรกก็กะจะมาแสดงที่ยืน แต่คิดไปคิดมา ไม่เกิดประโยชน์อะไร  

ชกกันมาพอหอมปากหอมคอแล้ว mod(หรือใครที่ทำได้)ก็น่าจะปิดกระทู้ไป



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:22


ทำไมต้องหาครับ ในเมื่อมันก็มีอยู่แล้ว ดูท่าคุณจะไม่รู้จักอีกแฮะ ยกตัวอย่าง 1 วิธีละกัน radiocarbon dating  :slime_bigsmile:

ถ้าวัดได้ระยะสักร้อยปีในวัตถุต่างๆจะดีมากครับ..อย่างต้นไม่ยังวัดได้เป็นหลักปีเลย.

การวัดอายุภาพวาดคุณต้องหาวิธีที่ดีกว่านี้ครับ

ไม่ก็คงต้องขุดถ้ำให้มากกว่านี้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:24

ยีน KRTHAP1 อันนี้ก็กลายพันธุ์เหมือนกัน รู้สึกจะกลายพันธุ์ก่อนหน้า FOXP2 หลายหมื่นปีเหมือนกัน  :slime_bigsmile: แต่ที่แปลกก็คือ ทั้งมนุษย์และซิมแปนซีก็มียีนนี้ เพียงต่อเจ้าจ๋อยีนนี้ยังทำงานสมบูรณ์เท่านั้น  :slime_cool:

ก็รับฟังไว้ครับ แต่อะไรที่นานๆ ต้องระวังว่าข้อสรุปอาจผิดได้ง่าย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:25
:slime_doubt:  ดูกระทู้กลายพันธ์นี่มาหลายวันแล้ว  :slime_surrender:

จากที่ทิ้งสมาชิกเลิกโพส์ท(นานๆอ่านที)ไปเกือบจะครบปีแล้ว ต้องสมัครมาโพส์ท  :slime_worship:

ตอนแรกก็กะจะมาแสดงที่ยืน แต่คิดไปคิดมา ไม่เกิดประโยชน์อะไร  

ชกกันมาพอหอมปากหอมคอแล้ว mod(หรือใครที่ทำได้)ก็น่าจะปิดกระทู้ไป



จะย้ายกระทู้ไปไหนดีครับ ส่วนปิดกระทู้คงไม่จำเป็น..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 03:35

ถ้าวัดได้ระยะสักร้อยปีในวัตถุต่างๆจะดีมากครับ..อย่างต้นไม่ยังวัดได้เป็นหลักปีเลย.

การวัดอายุภาพวาดคุณต้องหาวิธีที่ดีกว่านี้ครับ

ไม่ก็คงต้องขุดถ้ำให้มากกว่านี้
ร้อยปีแค่จิ๊บ ๆ ครับ ใช้ radiocarbon dating กำลังดีเลยถ้าอายุวัตถุไม่เกิน 5 หมื่นปี  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:37


ร้อยปีแค่จิ๊บ ๆ ครับ ใช้ radiocarbon dating กำลังดีเลยถ้าอายุวัตถุไม่เกิน 5 หมื่นปี  :slime_bigsmile:

ลองดูอายุสีหรือยังครับ..??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:38


แล้วก็อายุของซากสัตว์ในน้ำแข็งตื้นๆด้วย..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:47


ถ้าหากนักการเมืองไทย และคนไทย ไม่สนใจวิทยาศาสตร์ผมว่าน่าเป็นห่วงครับ

คงกลายเป็นพวกจตุคามสามสลึงกันหมด น่าเป็นห่วงมากๆ..เพราะเชื่ออะไรแบบไม่รอยคอบ

สรุปอะไรง่ายๆ จึงถูกนักเล่นกลทางการเมืองหลอกอยู่ร่ำไป..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 03:48
ตกลงคุณ Q ไม่รู้วิธีหาอายุวัตถุเลยนอกจากการนับวงปีของต้นไม้รึเนี่ย  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:50

ตกลงคุณ Q ไม่รู้วิธีหาอายุวัตถุเลยนอกจากการนับวงปีของต้นไม้รึเนี่ย  :slime_hmm:

วิธีหาอายุผงคาร์บอนเหรอครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 03:51
วิธีหาอายุผงคาร์บอนเหรอครับ..

เล่ามาได้เลยครับ ว่ามีวิธีการที่รัดกุมอย่างไรบ้าง?  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 04:03
วิธีหาอายุผงคาร์บอนเหรอครับ..
radiocarbon dating ไม่ใช่ผงถ่านนะครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 04:08
radiocarbon dating ไม่ใช่ผงถ่านนะครับ  :slime_bigsmile:

เอาเถอะครับ ผมสงสัยอายุของภาพวาดนั้น

แล้วก็อายุของซากสิ่งมีชีวิตต่างๆครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 04:13
การหาอายุวัตถุมี 2 แบบด้วยกันก็คือ Relative dating กับ Absolute dating การหาอายุด้วยวิธี radiocarbon dating เป็นหนึ่งในวิธี Absolute dating ครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 04:17


การหาอายุวัตถุมี 2 แบบด้วยกันก็คือ Relative dating กับ Absolute dating การหาอายุด้วยวิธี radiocarbon dating เป็นหนึ่งในวิธี Absolute dating ครับ  :slime_bigsmile:

อืมม น่าสนใจครับ..คงมีการเมืองแทรกอยุ่ในทุกวงการ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 04:17
เรื่องวงปีของต้นไม้นะครับ บางปีก็เกิด 2 วงได้ บางปีก็ไม่เกิดวงปี แล้วการนับอายุต้นไม้โดยใช้วงปีจะถูกต้องหรือครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 04:18
เรื่องวงปีของต้นไม้นะครับ บางปีก็เกิด 2 วงได้ บางปีก็ไม่เกิดวงปี แล้วการนับอายุต้นไม้โดยใช้วงปีจะถูกต้องหรือครับ  :slime_bigsmile:

ใช้สถิติช่วยได้ครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 04:22


ผมถามง่ายๆดีกว่า ทำไมคนส่วนใหญ่ถูกทักษิณหลอกได้

หรือทำไมคนส่วนใหญ่ถูก หมอดูหลอกได้ คงไม่ต่างกัน

กับที่ถูกผู้เชี่ยวชาญต่างๆหลอกได้เช่นกัน..

บางอย่างก็เป็นเทคนิคในรายละเอียดครับ..

เช่น ที่คนโบราณเชื่อว่าโลกแบน..ก็เพราะเขาดูไม่ละเอียด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 04:25


บางอย่างก็ไม่มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้ บางกรณีก็หลงทางครับ..

ข้อจำกัดในอดีตไม่ได้หมายความว่าต้องตกกระไดพลอยโจนนะครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 04:29
ใช้สถิติช่วยได้ครับ..
สถิติช่วยได้อย่างไรบ้างครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 04:34
สถิติช่วยได้อย่างไรบ้างครับ  :slime_bigsmile:

เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งตรงนี้ต้นไม้อยู่ในที่เปิด การเติบโตส่วนใหญ่เป็นปกติ ตามสภาพอากาศครับ

และไม่ปรากฎว่ามีใครสร้างเนื้อไม้ที่มีลายวงปีเทียมได้ด้วย..

ดังนั้นก็ลองเอาต้นไม้ต้นที่เขาทราบอายุแน่ชัดมาทดสอบได้ครับว่าตรงหรือไม่ มีค่าผิดพลาดเบี่ยงเบนในค่าเฉลี่ยหรือไม่เพียงใด

สถิติยังทำให้ทราบด้วยว่า ความผิดพลาดของมนุษย์ทั่วไปมีมากเพียงใด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 04:37

ผมถามง่ายๆดีกว่า ทำไมคนส่วนใหญ่ถูกทักษิณหลอกได้

หรือทำไมคนส่วนใหญ่ถูก หมอดูหลอกได้ คงไม่ต่างกัน

กับที่ถูกผู้เชี่ยวชาญต่างๆหลอกได้เช่นกัน..

บางอย่างก็เป็นเทคนิคในรายละเอียดครับ..

เช่น ที่คนโบราณเชื่อว่าโลกแบน..ก็เพราะเขาดูไม่ละเอียด
ถ้าคุณรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นคุณจะโดนหลอกได้หรือครับ ส่วนเรื่องโลกแบนแน่ใจหรือครับว่าเขาดูไม่ละเอียด บางยุคในบางประเทศใครพูดว่าโลกกลมนี่ถูกลงโทษเลยนะครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 04:43
ถ้าคุณรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นคุณจะโดนหลอกได้หรือครับ ส่วนเรื่องโลกแบนแน่ใจหรือครับว่าเขาดูไม่ละเอียด บางยุคในบางประเทศใครพูดว่าโลกกลมนี่ถูกลงโทษเลยนะครับ  :slime_bigsmile:

นิวตันทำไม สังเกตลูกแอปเปิลได้ เพราะเขาละเอียดครับ เขาจึงรู้

ส่วนการพูดแบบสมเหตุสมผลตรงกับความจริง เป็นเรื่องที่พอจะอธิบายได้

ในคนด้วยกันนะผมว่า ถ้าไม่คิดจะหลอกแบบที่ผมยกตัวอย่างไปแล้ว

หลอกตามๆกันมาโดยไม่ฟังเหตุผลนี่ยากสุดครับ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้อยุ่ในเหตุการณ์ เดาเอาแบบไม่ละเอียดในประเด็นสำคัญ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 04:44
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งตรงนี้ต้นไม้อยู่ในที่เปิด การเติบโตส่วนใหญ่เป็นปกติ ตามสภาพอากาศครับ

และไม่ปรากฎว่ามีใครสร้างเนื้อไม้ที่มีลายวงปีเทียมได้ด้วย..

ดังนั้นก็ลองเอาต้นไม้ต้นที่เขาทราบอายุแน่ชัดมาทดสอบได้ครับว่าตรงหรือไม่ มีค่าผิดพลาดเบี่ยงเบนในค่าเฉลี่ยหรือไม่เพียงใด

สถิติยังทำให้ทราบด้วยว่า ความผิดพลาดของมนุษย์ทั่วไปมีมากเพียงใด
เนื่องจากปีนั้นมีสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ปริมาณน้ำไม่คงที่ มันก็ทำให้เกิดวงปี 2 วงได้ ถ้าติดกันสัก 5 ปีก็กลายเป็น 10 วงแล้ว และถ้าเอาไม้ที่ปลูกในเรือนกระจก ได้น้ำคงที่ตลอด สภาพอากาศคงที่ การเกิดวงปีก็ไม่เท่าอายุจริงของต้นไม้ และการที่คุณบอกว่าลองเอาต้นไม้ต้นที่เขาทราบอายุแน่ชัดมาทดสอบก็แสดงว่าการหาอายุต้นไม้ด้วยการนับวงปีนั้นยังไม่แน่นอนยังต้องใช้วิธีอื่นมาประกอบอีก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 04:46


อากาศแปรปรวนขนาด ติดต่อกันหลายปี หายากครับ..

แต่เรื่องน้ำท่วมโลกนี่เรื่องจริง??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 04:49


 จำนวนและขนาดของกลุ่มตัวอย่างก็สำคัญครับ

ต้นไม้มีอยู่ทั่วไป เช่นเดียวกับโครงกระดูกหรือเปลือกหอย



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 04:58

อากาศแปรปรวนขนาด ติดต่อกันหลายปี หายากครับ..

แต่เรื่องน้ำท่วมโลกนี่เรื่องจริง??
หายากแต่ก็มีไหมล่ะครับ แล้วน้ำท่วมโลกนี่ท่วมแค่ไหนล่ะครับและท่วมเมื่อกี่ปีมาแล้ว  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 05:07
หายากแต่ก็มีไหมล่ะครับ แล้วน้ำท่วมโลกนี่ท่วมแค่ไหนล่ะครับและท่วมเมื่อกี่ปีมาแล้ว  :slime_bigsmile:


ทุกอย่างมีร่องรอย หากมีตัวเปรที่สำคัญหลายตัวก็ต้องเช็คทุกตัวครับ

ตรงนี้สำคัญ จะทราบค่าความเบี่ยงเบน..แต่การเชื่อหลักฐานชิ้นเดียว

คงต้องละเอียดมากครับ ถึงแม้ผลสรุปจะตรงกันโดยเทียบเคียงกับเรื่องอื่นก็ตาม

เพราะว่าเป็นคนละเหตุการณ์ หากจะสอดคล้องกัน

ต้องระวังการคัดเลือกเก็บตัวอย่าง การคัดเลือกตัวแปรที่จะใช้ในแต่ละเหตุการณ์

อาจใช้วิธีที่เหมาะสมต่างกันด้วย..

เอแต่เรื่องสำรวจถ้ำไม่น่าจะเป็นเรื่องยากนะครับ.

เหมือนพวกไปขุดปิรามิด..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 05:15

ทุกอย่างมีร่องรอย หากมีตัวเปรที่สำคัญหลายตัวก็ต้องเช็คทุกตัวครับ

ตรงนี้สำคัญ จะทราบค่าความเบี่ยงเบน..แต่การเชื่อหลักฐานชิ้นเดียว

คงต้องละเอียดมากครับ ถึงแม้ผลสรุปจะตรงกันโดยเทียบเคียงกับเรื่องอื่นก็ตาม

เพราะว่าเป็นคนละเหตุการณ์ หากจะสอดคล้องกัน

ต้องระวังการคัดเลือกเก็บตัวอย่าง การคัดเลือกตัวแปรที่จะใช้ในแต่ละเหตุการณ์

อาจใช้วิธีที่เหมาะสมต่างกันด้วย..

เอแต่เรื่องสำรวจถ้ำไม่น่าจะเป็นเรื่องยากนะครับ.

เหมือนพวกไปขุดปิรามิด..

เรื่องตรวจอายุวัตถุเขาก็ไม่ใช้แค่วิธีเดียวตรวจนี่ครับ
แล้วตกลงเรื่องน้ำท่วมว่าไงครับ มีหลักฐานอะไรสนับสนุนข้อความนี้บางรึเปล่าครับเพราะเห็นเชื่อกันหลายคนอยู่เหมือนกัน
ปฐมกาล
7:19 น้ำไหลเชี่ยวทวีมากยิ่งขึ้นบนแผ่นดินโลก และน้ำก็ท่วมภูเขาสูงทุกแห่งทั่วใต้ฟ้า
7:20 น้ำไหลเชี่ยวท่วมเหนือภูเขาสิบห้าศอก



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 05:24
เรื่องตรวจอายุวัตถุเขาก็ไม่ใช้แค่วิธีเดียวตรวจนี่ครับ
แล้วตกลงเรื่องน้ำท่วมว่าไงครับ มีหลักฐานอะไรสนับสนุนข้อความนี้บางรึเปล่าครับเพราะเห็นเชื่อกันหลายคนอยู่เหมือนกัน
ปฐมกาล
7:19 น้ำไหลเชี่ยวทวีมากยิ่งขึ้นบนแผ่นดินโลก และน้ำก็ท่วมภูเขาสูงทุกแห่งทั่วใต้ฟ้า
7:20 น้ำไหลเชี่ยวท่วมเหนือภูเขาสิบห้าศอก



สนใจเรื่องศาสนาและประวัติศาสตร์แล้วหรือครับ..

แต่เรื่องนำท่วมสังเกตนะว่าผมใส่เครื่องหมายคำถาม..ให้กับคุณครับ

ถ้าคุณไม่เชื่อก็แย้งได้ครับ.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 05:48



The Flood: Myth and Science


http://www.mystae.com/restricted/streams/science/flood.html


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: samrung ที่ 12-08-2007, 10:39
(http://www.thairath.co.th/2550/agriculture/Aug/library/07/farming2.jpg)

ดูยังไงมันก็ไม่เป็นปลาซีลาคานธ์อยู่ดี :slime_smile2:

http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=56572

 :slime_v: :slime_v: :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: อธิฏฐาน ที่ 12-08-2007, 11:38


เหมือนอ่านนิยายวิทยาศาสตร์เลยค่ะ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 12:50
สนใจเรื่องศาสนาและประวัติศาสตร์แล้วหรือครับ..

แต่เรื่องนำท่วมสังเกตนะว่าผมใส่เครื่องหมายคำถาม..ให้กับคุณครับ

ถ้าคุณไม่เชื่อก็แย้งได้ครับ.
ถ้าเรื่องศาสนานะลองไปอ่าน #25 ดูนะครับ ส่วนเรื่องน้ำท่วมโลกนะ ต่อให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายหมด ก็ยังแค่ท่วมได้ไม่เกิน 100 เมตร พื้นที่ที่สูงกว่า 100 เมตรก็มีเยอะแยะไป แล้วมันจะท่วมโลกได้ตรงไหน ถ้าจะน้ำท่วมโลกจริงต้องท่วมสูงมากกว่า 8000 เมตร ถ้าใครเชื่อต้องบอกให้ได้นะครับว่าน้ำที่ท่วมสูงขนาดนั้นหายไปไหนและมีหลักฐานอะไรบ้างที่บอกว่าน้ำท่วมถึงขนาดนั้น


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 12:58
มาเรื่องภาพวาดต่อ อันนี้อายุน้อยหน่อยแต่ก็มากกว่า 7000 ปีอยู่ดี

ภาพที่ Lascaux อายุประมาณ 14000 ปี

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/thumb/e/e1/Paleo_ptg_lascaux_unicorn.jpg/250px-Paleo_ptg_lascaux_unicorn.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 15:28
คนมันเชื่ออะไรไปอย่างไม่ลืมหูลืมตาแล้วต่อให้เอาหลักฐานอะไรมาแย้งเขาก็ไม่ฟัง ตัวอย่างก็มีให้เห็นอยู่ ลองไปดูห้องราชดำเนินดูสิ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 12-08-2007, 15:46
จาก Courtin J, Fortea-Përez J J, Gonzäles-Sainz C, Moure-Romanillo A, 2001 "Radiocarbon AMS. dates for paleolithic cave paintings'' Radiocarbon 43: 977-986  :slime_bigsmile:

(http://img237.imageshack.us/img237/9863/1024fi3.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Bo. ที่ 12-08-2007, 16:00
คุณ solidus เป็นอาจารย์ใช่ไหมคะ
หรือไม่ก็เป็นนักวิจัยของสถาบันใด สถาบันหนึ่งแน่ๆ
การเถียงกับกลุ่ม Creationism มันไม่มีประโยชน์หรอกนะคะ
ต้องขอโทษคุณ Q ด้วยนะคะ
เพราะงงกับคำถาม คำตอบ คุณเหลือเกิน
การทำงานด้านวิทยาศาสตร์ก็ต้องก้าวหน้าต่อไป
ไม่ว่าใครจะเชื่อยังไงก็ตาม

ขอบคุณคุณ solidus อีกทีนะคะ สำหรับข้อมูล
เพราะตอนแรกก็คิดว่าจะมาถกเหมือนกัน
แต่ยอมยกธงไปก่อนเพราะเห็นท่าไม่ค่อยดี
 :slime_surrender:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 19:01
คุณ solidus เป็นอาจารย์ใช่ไหมคะ
หรือไม่ก็เป็นนักวิจัยของสถาบันใด สถาบันหนึ่งแน่ๆ
การเถียงกับกลุ่ม Creationism มันไม่มีประโยชน์หรอกนะคะ
ต้องขอโทษคุณ Q ด้วยนะคะ
เพราะงงกับคำถาม คำตอบ คุณเหลือเกิน
การทำงานด้านวิทยาศาสตร์ก็ต้องก้าวหน้าต่อไป
ไม่ว่าใครจะเชื่อยังไงก็ตาม

ขอบคุณคุณ solidus อีกทีนะคะ สำหรับข้อมูล
เพราะตอนแรกก็คิดว่าจะมาถกเหมือนกัน
แต่ยอมยกธงไปก่อนเพราะเห็นท่าไม่ค่อยดี
 :slime_surrender:



อะไรจริงไม่จริง  วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่สรณะครับ

เป็นเครื่องมือที่มนุษย์แต่ละกลุ่มสร้าง ดังนั้นเราจะพบข้อผิดพลาดมากมาย...

อยู่ที่จะค้นหาความจริงแต่ละประเด็นได้จริงหรือไม่เพียงใดเท่านั้น..

ตถตา..

หายงงยังครับ ความจริงบางอย่างไม่ต้องถกก็ได้

เช่น ใครๆก็รู้ว่าน้ำเคยท่วม มากเหมือนกัน   :slime_bigsmile:





หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 19:13

จาก Courtin J, Fortea-P&euml;rez J J, Gonz&auml;les-Sainz C, Moure-Romanillo A, 2001 "Radiocarbon AMS. dates for paleolithic cave paintings'' Radiocarbon 43: 977-986  :slime_bigsmile:

(http://img237.imageshack.us/img237/9863/1024fi3.jpg)



ลองสังกตดูว่า ประเด็นสนทนาเริ่มกว้างขึ้น กลายเป็นวิทยาศาสตร์ กับ อะไรก็ไม่ทราบ..

ประเด็นของผม คือ ไม่มีความเชื่อมโยงที่เชื่อถือได้ หรือสรุปได้ ว่าอะไรวิวัฒนาการเป็นมนุษย์ แล้วทำไมสิ่งนั้นสูญพันธุ์ไป


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 19:22


การค้นคว้าประวัติศาสตร์มนุษย์  ในช่วง

7000ถึง 10000ปี  โดยประมาณน่าสนใจครับ..




หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 12-08-2007, 19:26


The Flood: Myth and Science


http://www.mystae.com/restricted/streams/science/flood.html


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 13-08-2007, 00:02
ห้ามย้ายนะ เรื่องนี้เป็นเรื่อง "การเมือง" แน่นอน
การเมือง คือการแบ่งปันอำนาจ และผลประโยชน์

ศาสนาจักร ก็ต้องการทรัพสินเงินบริจาค ซึ่งก็ได้มาจากพลังศรัทธาของประชาชน ถ้าหากผู้คนเริ่มไม่เชื่อถือ
เรื่องราวที่บันทึกในไบเบิล มันไม่เป็นความจริง นั่นย่อมทำให้การเงินหดหาย เมื่อไบเบิลไม่เป็นจริง
พระเจ้าก็ไม่มีจริงตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องปกป้องอย่างสุดชีวิต อย่างการเผาคนทั้งเป็น ไปถึงการกักขังผู้ที่
ไม่เห็น แถมยังพิสูจน์ความจริง (อย่างกาลิเลโอ) นี่ก็เป็นเพราะอำนาจ และผลประโยชน์ทั้งสิ้น (เพราะพระเยชู
ไม่เคยสนับสนุนเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว)

ส่วนทางวิทยาศาสตร์ การโจมตีของศาสนาจักร นอกจากจะเป็นการตรหน้าว่าพวกนักวิทยาศาสตร์เป็น
พวกจอมโกหกหลอกลวง (ใครจะยอมให้คนมาด่าในเรื่องที่คิดว่าตัวเองไม่ผิดบ้าง) แล้วยังอาจจะทำให้ กองทุน
วิจัยหดหายไปได้ ถ้าหากผู้คนไม่เชื่อว่า การค้นคว้าวิจัยเป็นเรื่องจริง และสร้างประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

ยืนยันว่าเป็นเรื่อง "การเมือง" แน่นอน ยิ่งช่วงหลังๆ กลุ่มผลประโยชน์ทางศาสนา ได้พยายามรุกเข้าไปในโรงเรียน
เพื่อบังคับไม่ให้โรงเรียนสอนเรื่องวิฒนาการ เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นความผิดของไบเบิล พยายมที่จะ
ปิดหูปิดตา ไม่ให้คนรับรู้ความจริงในเรื่องนี้

***************
ข้อมูลจากไบเบิล

1. โลกถูกสร้างขึ้นมาก่อน ดวงอาทิตย์และดวงดาวทั้งหลาย
- ความจริง ดวงอาทิตย์ มีอายุมากกว่าโลก ดวงดาวทั้งหลาย มีทั้งอายุมากกว่า และอายุน้อยกว่า

2. โลกอายุน้อย ประมาณเพียงแค่ 6000-8000 ปี จากการคำนวณ จากไบเบิล เพราะว่ามนุษย์
ถูกสร้างพร้อมๆ กับโลก (ห่างกันไม่กี่วัน) แล้วไบเบิลยังบันทึกว่า ตระกูลของอาดัมว่ามีใครสืบ
สกุลบ้าง ถึงสามารถคำนวณหาปีเกิดของโลกได้
- ความจริง โลกมีอายุยาวนานกว่านั้นมาก ดวงอาทิตย์อายุ 4.6 พันล้านปี โลก 4.56 พันล้านปี

3. สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ถูกสร้างมาพร้อมกับ มนุษย์
- ความจริง จากการขุดสร้างดึกดำบรรณ์ สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างเรียบง่าย จะเกิดก่อนสัตว์ที่มี
โครงสร้างซับซ้อน

4. บันทึกเรื่องเรือโนอา และน้ำท่วโลก
- ความจริง เป็นไปไม่ได้ที่จะเอาสัตว์ทุกชนิดในโลก มาไว้ในเรือเพียงลำเดียว คุณจะให้ตุ๋นปาก
เป็ดว่ายน้ำมาจากออสเตรเลียเพื่อขึ้นเรือโนอาหรือ?? และที่สำคัญ ต่อให้น้ำละลายหมด ก็ไม่มี
ทางท่วมเทือกเขาเอเวอร์เรตได้
 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 02:58
Addendum February 29, 2000: Internet Resources for Flood legends (special thanks to Helen Fryman Setterfield):

http://www.pr.state.az.us/text/pimalegend.html
http://www.answersingenesis.org/docs/3768.asp
http://www.rain.org/camp96/chumash_myth1.html
http://www.chickasaw.net/library/flood.htm
http://www.google.com/search?q=cache:www.cowichan.org/legends/legend2.html
http://www.cybercomm.net/~grandpa/cretion.html
http://www.optonline.com/comptons/ceo/01680_A.html
http://templar.bess.net/Comp_names/bookofgods/cretion.html
http://www.hist.unt.edu/ane-09.htm
http://www.custance.org/
http://www.mistral.co.uk/hammerwood/elgin.htm
http://www.civilization.ca/membrs/fph/haida/happr01e.html
http://www.isd.net/mboucher/choctaw/floodlgn.htm
http://www.wolfe.net/~archive/ch11.html
http://www.ilhawaii.net/~stony/loreindx.html
http://www.across.co.nz/ChineseNoah.htm
http://members.xoom.com/_XOOM/gideons/Articles/haloween.htm
http://home.fireplug.net/~rshand/streams/science/flood.html
http://www.talkorigins.org/faqs/flood-myths.html
http://www.novia.net/~todd/vray2.html
http://www.pibburns.com/flood.htm
http://www.indians.org/welker/greatflo.htm
http://personal.eunet.fi/pp/tilmari/tilmari4.htm
http://www.dreamscape.com/morgana/puck.htm
http://www.prestoweb.ca/peoples-church/halloween.html
http://indigo.ie/~legends/dates.html
http://cristalweb.com/ethno/water.html
http://www.greece-info.net/deucalion/deucalion.html
http://www.eagle-net.org/phikent/orbit/june/waysun.html
http://www.whitestag.org/ceremonies/ws_myth.html
http://www.alchemylab.com/hyper_history.htm
http://www.rae.org/dragons.html
http://members.tripod.com/~Diogenes_MacLugh/ages.html
http://pubpages.unh.edu/~cbsiren/myth.html
http://www.theosophy-nw.org/theosnw/world/africa/rel-rook.htm
http://members.tripod.com/~Pythia/uranus.html
http://carver.pinc.com/home/cowichan/legends/legend2.html
http://www.geocities.com/Athens/Acropolis/8669/hathor.html
http://www.icr.org/pubs/imp/imp-083.htm
http://www.robibrad.demon.co.uk/flood.htm



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 03:05
Startling evidence for Noah’s Flood
Footprints and sand ‘dunes’ in a Grand Canyon sandstone!  http://www.answersingenesis.org/creation/v15/i1/flood.asp


Noah’s Flood - Where did the water come from?  http://www.answersingenesis.org/home/area/tools/flood-waters.asp





หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 03:52
ไหน ๆ ก็ยกเรื่องโนอาห์มาแล้ว
1. โนอาห์รวบรวมสัตว์ทั่วโลกทุกชนิดอย่างไรภายใน 7 วัน
2. มีสัตว์กี่ชนิดที่เข้าเรือโนอาห์
3. หลังน้ำลดแล้วโนอาห์ปล่อยสัตว์ที่ไหน
4. ในเวลา 40 กว่าวันโนอาห์ให้อาหารสัตว์แต่ละชนิดอย่างไร โดยเฉพาะพวกกินเนื้อและกินแมลง อย่าลืมนะว่าสัตว์ป่าไม่ใช่สัตว์เลี้ยงซึ่งบางชนิดไม่กินซาก อย่างตัวกินมดนี่โนอาห์จะหามดจากไหนให้กินในเมื่อเอาสัตว์ขึ้นไปบนเรือได้อย่างละคู่
5. ทำไมทวีปแอนตาร์กติกาถึงไม่มีร่องรอยการถูกน้ำท่วม

เอาแค่นี้ก่อน อย่าลืมนะว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่ถึงหมื่นปี เรื่องโนอาห์เนี่ยมีคำถามเพียบครับทั้งเรื่องชีววิทยา สัตวภูมิศาสตร์ นิเวศวิทยา  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 03:53
งานนี้ได้มีพวกบิดเบือนพระคัมภีร์แน่ครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 04:24
Still searching for the truthThe accuracies—and inaccuracies—of a recent National Geographic Channel “Search for Noah’s Ark” special

October 24, 2006   http://www.answersingenesis.org/home/area/faq/flood.asp

What can science tell us about Noah’s Ark and the Flood? Anything? A recent National Geographic Channel program aimed to find out:



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 04:25
Noah’s Flood Questions and Answers

http://www.answersingenesis.org/home/area/faq/flood.asp   :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 04:32

(http://www.worldwideflood.com/ark/hull_form/prop_hull_form_files/NARK-009.jpg)

http://www.worldwideflood.com/  :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: สมปอง ที่ 13-08-2007, 04:36
ทู้นี้ไม่เห็นเท้าหมามาแถเลยนะครับ :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 04:42

ทู้นี้ไม่เห็นเท้าหมามาแถเลยนะครับ :slime_bigsmile:


ครับ....  :slime_smile:



MEASURABLE 14C IN FOSSILIZED ORGANIC MATERIALS:
CONFIRMING THE YOUNG EARTH CREATION-FLOOD MODEL

http://www.globalflood.org/papers/2003ICCc14.html


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 04:45
แสดงว่าไม่สามารถหาคำตอบได้สินะครับ ถึงได้เอาแต่แปะลิงค์ แต่กลับไม่สามารถยกคำตอบในลิงค์ที่แปะมาตอบคำถามได้  :slime_bigsmile:

แอบอ้างพระวจนะพระเจ้าระวังนรกนะครับ พระเจ้าบอกแล้วไม่ใช่หรือครับว่าน้ำท่วมมันไม่เกินหมื่นปี  :slime_worship: เห็นเอาเรื่องน้ำท่วมแต่ละที่มาแต่ช่วงเวลาที่ท่วมกลับไม่ตรงกันแค่นี้ก็ขัดกันเองแล้ว


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 04:47
คิดสภาพสุขอนามัยบนเรือนี่ไม่อยากคิดเลย สกปรกมากแน่ สารพัดขี้สัตว์ แถมต้องแออัดอยู่ภายในตัวเรืออีก :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 04:52
Population Growth Estimates

http://www.ldolphin.org/popul.html


Historical Estimates of World Population
(from: http://www.census.gov/ipc/www/worldhis.html)
(Population in millions. When lower and upper estimates are the same they are shown
under "Lower.")
-------------------------------------------------------------------------------------
                      McEv-
                       edy
    --Summary-- Bira- --Durand---     and Thomlinson- -UN, 1973--  UN,
Year  Lower Upper  ben Lower Upper Haub Jones Lower Upper Lower Upper 1995 USBC
-------------------------------------------------------------------------------------
-10000   1  10               4   1  10
 -8000   5               5
 -6500   5  10                        5  10
 -5000   5  20               5   5  20
 -4000   7                  7
 -3000  14                 14
 -2000  27                 27
 -1000  50                 50
 -500  100                 100
 -400  162     162
 -200  150  231  231           150
   1  170  400  255  270  330  300  170  200     200  400  300
  200  190  256  256           190
  400  190  206  206           190
  500  190  206  206           190
  600  200  206  206           200
  700  207  210  207           210
  800  220  224  224           220
  900  226  240  226           240
 1000  254  345  254  275  345     265              310
 1100  301  320  301           320
 1200  360  450  400        450  360
 1250  400  416  416                          400
 1300  360  432  432           360  400
 1340  443     443
 1400  350  374  374           350
 1500  425  540  460  440  540     425              500
 1600  545  579  579           545
 1650  470  545           500  545  500     470  545
 1700  600  679  679           610  600
 1750  629  961  770  735  805  795  720  700     629  961  790
 1800  813 1,125  954           900  900     813 1,125  980
 1850 1,128 1,402 1,241       1,265 1,200 1,200    1,128 1,402 1,260
 1900 1,550 1,762 1,633 1,650 1,710 1,656 1,625 1,600    1,550 1,762 1,650
 1910 1,750                               1,750
 1920 1,860                               1,860
 1930 2,070                               2,070
 1940 2,300                               2,300
 1950 2,400 2,556 2,527       2,516 2,500 2,400    2,486    2,520 2,556
-------------------------------------------------------------------------------------
Sources:
Biraben, Jean-Noel, 1980, An Essay Concerning Mankind's Evolution,
   Population, Selected Papers, December, table 2.

Durand, John D., 1974, "Historical Estimates of World Population:
   An Evaluation," University of Pennsylvania, Population Center,
   Analytical and Technical Reports, Number 10, table 2.

Haub, Carl, 1995, "How Many People Have Ever Lived on Earth?" Population
   Today, February, p. 5.

McEvedy, Colin and Richard Jones, 1978, "Atlas of World Population
   History," Facts on File, New York, pp. 342-351.

Thomlinson, Ralph, 1975, "Demographic Problems, Controversy
   Over Population Control," Second Edition, Table 1.

United Nations (UN), 1973, The Determinants and Consequences of
   Population Trends, Population Studies, No. 50., p.10.

United Nations, 1996, "World Population From Year 0 to Stabilization",
   gopher://gopher.undp.org:70/00/ungophers/popin/wdtrends/histor

U.S. Bureau of the Census (USBC), 1995, "Total Midyear Population for
   the World: 1950-2050", Data updated 2-28-96,
   http://www.census.gov/ipc/www/worldpop.html
 


Sources:

Durand: J.D. Durand, 1974. Historical Estimates of World Population: An Evaluation (University of Pennsylvania, Population Studies Center, Philadelphia), mimeo.

D & C: United Nations, 1973. The Determinants and Consequences of Population Trends, Vol. 1 (United Nations, New York).

WPP63: United Nations, 1966. World Population Prospects as Assessed in 1963 (United Nations, New York).

WPP94: United Nations, 1993. World Population Prospects: The 1994 Revision (United Nations, New York)

LR: United Nations, 1992. Long-range World Population Projection: Two Centuries of Population Growth, 1950-2150 (United Nations, New York).

Interp: Estimate interpolated from adjacent population estimates.

6/7/94



--------------------------------------------------------------------------------


II. WORLD POPULATION MILESTONES
Data from the Population Division,
Department for Economic and Social Information and Policy Analysis

World Population reached:

1 billion in 1804
2 billion in 1927, (123 years later)
3 billion in 1960, (33 years later)
4 billion in 1974, (14 years later)
5 billion in 1987, (13 years later)

World Population may reach:

6 billion in 1998, (11 years later)
7 billion in 2009, (11 years later)
8 billion in 2021, (12 years later)
9 billion in 2035, (14 years later)
10 billion in 2054, (19 years later)
11 billion in 2093, (39 years later)

The World-Wide Web Virtual Library: Demography & Population Studies. Source: Demography & Population Studies


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 04:57
Population Growth Estimates

http://www.ldolphin.org/popul.html


Historical Estimates of World Population
(from: http://www.census.gov/ipc/www/worldhis.html)
(Population in millions. When lower and upper estimates are the same they are shown
under "Lower.")
-------------------------------------------------------------------------------------
                      McEv-
                       edy
    --Summary-- Bira- --Durand---     and Thomlinson- -UN, 1973--  UN,
Year  Lower Upper  ben Lower Upper Haub Jones Lower Upper Lower Upper 1995 USBC
-------------------------------------------------------------------------------------
-10000   1  10               4   1  10
 -8000   5               5
 -6500   5  10                        5  10
 -5000   5  20               5   5  20
 -4000   7                  7
 -3000  14                 14
 -2000  27                 27
 -1000  50                 50
 -500  100                 100
 -400  162     162
 -200  150  231  231           150
   1  170  400  255  270  330  300  170  200     200  400  300
  200  190  256  256           190
  400  190  206  206           190
  500  190  206  206           190
  600  200  206  206           200
  700  207  210  207           210
  800  220  224  224           220
  900  226  240  226           240
 1000  254  345  254  275  345     265              310
 1100  301  320  301           320
 1200  360  450  400        450  360
 1250  400  416  416                          400
 1300  360  432  432           360  400
 1340  443     443
 1400  350  374  374           350
 1500  425  540  460  440  540     425              500
 1600  545  579  579           545
 1650  470  545           500  545  500     470  545
 1700  600  679  679           610  600
 1750  629  961  770  735  805  795  720  700     629  961  790
 1800  813 1,125  954           900  900     813 1,125  980
 1850 1,128 1,402 1,241       1,265 1,200 1,200    1,128 1,402 1,260
 1900 1,550 1,762 1,633 1,650 1,710 1,656 1,625 1,600    1,550 1,762 1,650
 1910 1,750                               1,750
 1920 1,860                               1,860
 1930 2,070                               2,070
 1940 2,300                               2,300
 1950 2,400 2,556 2,527       2,516 2,500 2,400    2,486    2,520 2,556
-------------------------------------------------------------------------------------
Sources:
Biraben, Jean-Noel, 1980, An Essay Concerning Mankind's Evolution,
   Population, Selected Papers, December, table 2.

Durand, John D., 1974, "Historical Estimates of World Population:
   An Evaluation," University of Pennsylvania, Population Center,
   Analytical and Technical Reports, Number 10, table 2.

Haub, Carl, 1995, "How Many People Have Ever Lived on Earth?" Population
   Today, February, p. 5.

McEvedy, Colin and Richard Jones, 1978, "Atlas of World Population
   History," Facts on File, New York, pp. 342-351.

Thomlinson, Ralph, 1975, "Demographic Problems, Controversy
   Over Population Control," Second Edition, Table 1.

United Nations (UN), 1973, The Determinants and Consequences of
   Population Trends, Population Studies, No. 50., p.10.

United Nations, 1996, "World Population From Year 0 to Stabilization",
   gopher://gopher.undp.org:70/00/ungophers/popin/wdtrends/histor

U.S. Bureau of the Census (USBC), 1995, "Total Midyear Population for
   the World: 1950-2050", Data updated 2-28-96,
   http://www.census.gov/ipc/www/worldpop.html
 


Sources:

Durand: J.D. Durand, 1974. Historical Estimates of World Population: An Evaluation (University of Pennsylvania, Population Studies Center, Philadelphia), mimeo.

D & C: United Nations, 1973. The Determinants and Consequences of Population Trends, Vol. 1 (United Nations, New York).

WPP63: United Nations, 1966. World Population Prospects as Assessed in 1963 (United Nations, New York).

WPP94: United Nations, 1993. World Population Prospects: The 1994 Revision (United Nations, New York)

LR: United Nations, 1992. Long-range World Population Projection: Two Centuries of Population Growth, 1950-2150 (United Nations, New York).

Interp: Estimate interpolated from adjacent population estimates.

6/7/94



--------------------------------------------------------------------------------


II. WORLD POPULATION MILESTONES
Data from the Population Division,
Department for Economic and Social Information and Policy Analysis

World Population reached:

1 billion in 1804
2 billion in 1927, (123 years later)
3 billion in 1960, (33 years later)
4 billion in 1974, (14 years later)
5 billion in 1987, (13 years later)

World Population may reach:

6 billion in 1998, (11 years later)
7 billion in 2009, (11 years later)
8 billion in 2021, (12 years later)
9 billion in 2035, (14 years later)
10 billion in 2054, (19 years later)
11 billion in 2093, (39 years later)

The World-Wide Web Virtual Library: Demography & Population Studies. Source: Demography & Population Studies

ไม่เห็นช่วงไหนจะลดลงเหลือแค่้ 8 คนเลยนี่


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 04:58
 :slime_cool:



ตกลงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่แน่ครับ มีหลักฐานเป็นพยานอยู่ทั่วโลก

ที่สามามารถทดลองและ ทำนายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ครับ

ไม่มั่วเหมือนหัวกระทู้แน่ครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 04:59
ว่าแต่สัตว์ที่ถูกโนอาห์จับบูชายัญนี่กี่ชนิดครับ อยากรู้  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 05:02


ไม่เห็นช่วงไหนจะลดลงเหลือแค่้ 8 คนเลยนี่

ลองอ่านข้อมูลการคำนวณอย่างละเอียดดูครับ...


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 05:06
:slime_cool:



ตกลงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่แน่ครับ มีหลักฐานเป็นพยานอยู่ทั่วโลก

ที่สามามารถทดลองและ ทำนายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ครับ

ไม่มั่วเหมือนหัวกระทู้แน่ครับ..
หลักฐานเรื่องน้ำท่วมโลกนะ ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่เคยเกิดขึ้นครับ แต่ถ้าเฉพาะบางพื้นที่นั้นมีหลักฐานอยู่ ฉะนั้นอย่าสับสนครับ และภายในเวลาหมื่นปีที่ผ่านมานี้พื้นที่อย่างเช่นเทือกเขาหิมาลัย แอนตาร์กติกา เกาะกรีนแลนด์ก็ไม่เคยถูกน้ำท่วมเลย และต่อให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายหมด น้ำก็ท่วมได้ไม่ถึง 100 เมตร แต่พื้นที่ที่สูงเกิน 100 เมตรก็มีเยอะแยะไป แล้วมันจะท่วมโลกได้อย่างไรครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 05:14

ลองอ่านข้อมูลการคำนวณอย่างละเอียดดูครับ...
ไม่ต้องห่วงครับ ข้อมูลที่คุณยกมานั้นผมเห็นตั้งนานแล้ว เป็นตัวอย่างพื้นฐานในการเรียนเรื่องประชากรเลยครับ แล้วยังมีการใช้โปรแกรมคำนวนอีก หน่วยที่ใช้นั้นเป็นล้านนะครับ ฉะนั้นถ้าประชากรจากหลายล้านคนเหลือไม่ถึง 10 คนนี่ข้อมูลเปลี่ยนแน่ครับ แต่ข้อมูลที่คุณยกมากลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 05:16
ว่าแต่สัตว์ที่ถูกโนอาห์จับบูชายัญนี่กี่ชนิดครับ อยากรู้  :slime_bigsmile:


ผมอ่านเจอแว็บๆ ประมาณหมื่นกว่าสองหมืนชนิด..ไม่ยืนยันครับ :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 05:24

ผมอ่านเจอแว็บๆ ประมาณหมื่นกว่าสองหมืนชนิด..ไม่ยืนยันครับ :slime_cool:
แล้วเอาสัตว์เข้าเรือไปกี่ชนิด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 05:42
FIGURE 1. Searching for our universal common ancestor.
From the following article:
Human evolution:  Pedigrees for all humanity

Jotun Hein

Nature 431, 518-519(30 September 2004)

doi:10.1038/431518a


(http://www.nature.com/nature/journal/v431/n7008/images/431518a-f1.2.jpg)


The figure shows how the number of ancestors of two people alive today builds up in a manner that is close to exponential. Because the human population has a finite size, however, we do not need to go back many generations before we find an ancestor that is common to both people. The same applies in searching for the ancestor of all living humans (universal ancestors are represented as grey balls). In simplified models, the expected time back to this universal ancestor is log2n, where n is the population size. If we were to trace not both parents of each individual, but only one random parent for each (thick lines), we would in effect be tracing the history of gene variants (alleles). In standard models, the number of generations back to the common ancestor of a particular allele will be of the order 2n, which is much longer ago. If we trace the history of genomes, not genes, recombination would complicate matters; this genetic 'shuffling' ensures that each child does not inherit exactly the same genomic information as its siblings, and means that the genealogical relationship of different genome segments can be different.



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ ที่ 13-08-2007, 10:44
ท่านท้าวจะบอกว่า Population Estimated ที่เอามาโชว์น่ะ นั่นมันแค่การ Simulation ที่คำนวนจาก ตารางชีพประชากรทั่วโลก ที่อาศัยอัตราการเกิดและตาย ในช่วงปัจจุบันเท่านั้น ก่อนหน้าปี 1950 ต้องทำการประมาณเอาว่าอัตราการเกิดและตายเป็นเท่าไหร่ เพราะหลายๆประเทศในโลกยังไม่มีระบบการทำ Census ดังนั้นจึงไม่ใช่ข้อมูลที่คำนวนจากระบบประชากรทั่วโลก ยิ่งย้อนหลังไปมากๆ ยิ่งมีความคลาดเคลื่อนมาก ต่อให้ย้อนไปอีกสองหมื่นก่อนคริสตกาล ก็ไม่มีทางเหลือแค่โนอาห์และครอบครัว ไปลองคำนวนดู


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 13-08-2007, 11:34
http://www.don-lindsay-archive.org/creation/index.html

แปะลิงค์บ้างฮับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 15:50
FIGURE 1. Searching for our universal common ancestor.
From the following article:
Human evolution:  Pedigrees for all humanity

Jotun Hein

Nature 431, 518-519(30 September 2004)

doi:10.1038/431518a


(http://www.nature.com/nature/journal/v431/n7008/images/431518a-f1.2.jpg)


The figure shows how the number of ancestors of two people alive today builds up in a manner that is close to exponential. Because the human population has a finite size, however, we do not need to go back many generations before we find an ancestor that is common to both people. The same applies in searching for the ancestor of all living humans (universal ancestors are represented as grey balls). In simplified models, the expected time back to this universal ancestor is log2n, where n is the population size. If we were to trace not both parents of each individual, but only one random parent for each (thick lines), we would in effect be tracing the history of gene variants (alleles). In standard models, the number of generations back to the common ancestor of a particular allele will be of the order 2n, which is much longer ago. If we trace the history of genomes, not genes, recombination would complicate matters; this genetic 'shuffling' ensures that each child does not inherit exactly the same genomic information as its siblings, and means that the genealogical relationship of different genome segments can be different.


เอาเต็ม ๆ ดีกว่ากระมังครับ เผื่อคนอื่นเขาอยากรู้ด้วย  :slime_bigsmile:

(http://img166.imageshack.us/img166/6750/rohdeetal1vv6.jpg)
(http://img175.imageshack.us/img175/375/rohdeetal2du8.jpg)
(http://img207.imageshack.us/img207/3408/rohdeetal3ny4.jpg)
(http://img223.imageshack.us/img223/7331/rohdeetal4copylv5.jpg)
(http://img237.imageshack.us/img237/5179/rohdeetal5lb6.jpg)
(http://img444.imageshack.us/img444/3361/rohdeetal6xp1.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 16:00
แถมให้ ข้อมูลจากเรื่องเดียวกันนะแหละ  :slime_bigsmile:

(http://img169.imageshack.us/img169/5306/popap4.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 19:19

คำว่าอีโวลูชั่น ใครๆก็ใช้ได้ครับ. ผลการค้นหา 1 - 10 รายการจากประมาณ 209,000,000 สำหรับคำว่า evolution (0.14 วินาที)

เหมือนๆกับที่มีคนใช้คำว่าครีเอชั่น รายการจากประมาณ 312,000,000 สำหรับคำว่า creation (0.06 วินาที)


เวลาเก็บข้อมูลเบื้องต้น ผมแนะนำให้ทุกท่านทิ้งสมมุติฐานต่างๆออกไปก่อนครับ  


น้ำเคยท่วมใหญ่แน่นอนครับ ทะเลเดดซีเป็นอีกตัวอย่าง...

ส่วนน้ำมาจากไหน เอาลิงค์มาแปะให้อ่านนานแล้ว

ไม่ทราบว่าน้ำมาจากไหน ไม่ได้หมายความว่าน้ำไม่ท่วมหรอกครับ.. น้ำท่วมครั้งใหญ่พร้อมกันทั่วโลกมีแน่นอน..

น้ำก็มีสูตรแคมีของตัวเอง ลองขุดข้อมูลโลกลงไปลึกๆดู  น่าจะมีน้ำอยู่มาก...


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 19:44



ผมได้ชี้ไว้แล้วว่า

ประวัติศาสตร์ หรือข้อมูลวิทยาศาสตร์ ช่วงระยะเวลา

ตั้งแต่ เจ็ดพันถึงหนึ่งหมืนปี น่าสนใจที่สุดครับ..



ข้อมูลจากการคำนวนต้องอาศัยจากข้อมูลจริงในช่วงเวลาต่างๆด้วย

มาตรฐานในการคำนวณก็ต้องอิงเหตุการณ์จริง..

ผมมีข้อสังเกตคือ ถ้าหากอัตราการเกิดน้อยมากๆ อัตราการตายก็ต้องน้อยไปด้วย มิฉะนั้นก็สูญพันธุ์ครับ

ซึ่งไม่ควรจะเกี่ยวข้องกันโดยตรงเมื่อมีการอพยพเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

หมายความว่าต้องเกิดมาก และตายน้อยก่อนช่วงน้ำท่วม  ทั้งๆที่อพยพมาก และการเดินทางลำบาก มิฉะนั้นมนุษย์คงสูญพันธุ์ไปนานแล้ว





หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 19:56
CONCLUSION   http://www.globalflood.org/papers/2003ICCc14.html

The careful investigations performed by scores of researchers in more than a dozen AMS facilities in several countries over the past twenty years to attempt to identify and eliminate sources of contamination in AMS 14C analyses have, as a by-product, served to establish beyond any reasonable doubt the existence of intrinsic 14C in remains of living organisms from all portions of the Phanerozoic record.  Such samples, with ‘ages’ from 1-500 Ma as determined by other radioisotope methods applied to their geological context, consistently display 14C levels that are far above the AMS machine threshold, reliably reproducible, and typically in the range of 0.1-0.5 pmc.  But such levels of intrinsic 14C represent a momentous difficulty for uniformitarianism.  A mere 250,000 years corresponds to 43.6 half-lives for 14C.  One gram of modern carbon contains about 6 x 1010 14C atoms, and 43.6 half-lives worth of decay reduces that number by a factor of 7 x 10-14.  Not a single atom of 14C should remain in a carbon sample of this size after 250,000 years (not to mention one million or 50 million or 250 million years).  A glaring (thousand-fold) inconsistency that can no longer be ignored in the scientific world exists between the AMS-determined 14C levels and the corresponding rock ages provided by 238U, 87Rb, and 40K techniques.   We believe the chief source for this inconsistency to be the uniformitarian assumption of time-invariant decay rates.  Other research reported by our RATE group also supports this conclusion [7, 23, 42].  Regardless of the source of the inconsistency, the fact that 14C, with a half-life of only 5730 years, is readily detected throughout the Phanerozoic part of the geological record argues the half billion years of time uniformitarians assign to this portion of earth history is likely incorrect.  The relatively narrow range of 14C/C ratios further suggests the Phanerozoic organisms may all have been contemporaries and that they perished simultaneously in the not so distant past.  Finally, we note there are hints that 14C currently exists in carbon from environments sealed from biospheric interchange since very early in the earth history.  We therefore conclude the 14C evidence provides significant support for a model of earth’s past involving a recent global Flood cataclysm and possibly also for a young age for the earth itself.  

ACKNOWLEDGEMENTS
We would like to thank Paul Giem for the helpful input he provided in this project.  We would also like to express earnest appreciation to the RATE donors who provided the financial means to enable us to undertake 14C analysis of our own suite of samples. 



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 20:46
คำว่าอีโวลูชั่น ใครๆก็ใช้ได้ครับ. ผลการค้นหา 1 - 10 รายการจากประมาณ 209,000,000 สำหรับคำว่า evolution (0.14 วินาที)

เหมือนๆกับที่มีคนใช้คำว่าครีเอชั่น รายการจากประมาณ 312,000,000 สำหรับคำว่า creation (0.06 วินาที)


เวลาเก็บข้อมูลเบื้องต้น ผมแนะนำให้ทุกท่านทิ้งสมมุติฐานต่างๆออกไปก่อนครับ  


น้ำเคยท่วมใหญ่แน่นอนครับ ทะเลเดดซีเป็นอีกตัวอย่าง...

ส่วนน้ำมาจากไหน เอาลิงค์มาแปะให้อ่านนานแล้ว

ไม่ทราบว่าน้ำมาจากไหน ไม่ได้หมายความว่าน้ำไม่ท่วมหรอกครับ.. น้ำท่วมครั้งใหญ่พร้อมกันทั่วโลกมีแน่นอน..

น้ำก็มีสูตรแคมีของตัวเอง ลองขุดข้อมูลโลกลงไปลึกๆดู  น่าจะมีน้ำอยู่มาก...
ลึกได้ไม่เท่าไหร่หรอกครับ เพราะมันก็เจอลาวาแล้ว ฉะนั้นเรื่องน้ำท่วมโลกนะมันไม่จริง แต่น้ำท่วมเป็นเฉพาะพื้นที่นั้นจริง และแต่ละพื้นที่นั้นก็ท่วมไม่พร้อมกัน แล้วอีกอย่างน้ำท่วมในลิงค์ที่คุณยกมานะ หลายที่นั่นมันเป็นที่ที่เคยมีน้ำมาก่อนอยู่แล้ว อย่างเรื่องเอเวอเรสต์ ยกเรื่องซากฟอสซิลหอยมาแล้วบอกว่าเห็นไหม น้ำก็เคยท่วม ตลกแล้วครับ คุณเคยเห็นน้ำท่วมน้ำทะเลหรือครับ เขาเอเวอเรสต์นะมันเป็นพื้นทะเลมาก่อน แล้วเกิดการยกตัวของแผ่นทวีปขึ้น จึงไม่แปลกที่จะพบซากฟอสซิลหอยต่าง ๆ แล้วเหตุการณ์นี้ก็เกิดเมื่อหลายล้านปีก่อนไม่ใช่เกิดเมื่อไม่กี่พันปีที่ผ่านมา ส่วนน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ว่านะนั่นมันช่วงปลายยุคน้ำแข้งที่น้ำทะเลจากที่ลดไปกลับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็เกิดก่อนโนอาห์และอดัมจะเกิดซะอีก กลับเอามาอ้างได้ รู้จักเรื่อง กิลกาเมช ไหมครับ เนื้อหาเหมือนกับเรื่องโนอาห์เลย แต่แต่งขึ้นก่อน งานนี้ไม่รู้ใครก๊อปใคร

อีกเรื่อง การคิดจะเอาคำที่หาโดย search engine ว่ามีจำนวนเท่าใด เป็นเรื่องตลกนะครับ ไม่มีใครเขาใช้เรื่องนี้มาอ้างอิงหรอกครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 20:53
CONCLUSION   http://www.globalflood.org/papers/2003ICCc14.html

The careful investigations performed by scores of researchers in more than a dozen AMS facilities in several countries over the past twenty years to attempt to identify and eliminate sources of contamination in AMS 14C analyses have, as a by-product, served to establish beyond any reasonable doubt the existence of intrinsic 14C in remains of living organisms from all portions of the Phanerozoic record.  Such samples, with ‘ages’ from 1-500 Ma as determined by other radioisotope methods applied to their geological context, consistently display 14C levels that are far above the AMS machine threshold, reliably reproducible, and typically in the range of 0.1-0.5 pmc.  But such levels of intrinsic 14C represent a momentous difficulty for uniformitarianism.  A mere 250,000 years corresponds to 43.6 half-lives for 14C.  One gram of modern carbon contains about 6 x 1010 14C atoms, and 43.6 half-lives worth of decay reduces that number by a factor of 7 x 10-14.  Not a single atom of 14C should remain in a carbon sample of this size after 250,000 years (not to mention one million or 50 million or 250 million years).  A glaring (thousand-fold) inconsistency that can no longer be ignored in the scientific world exists between the AMS-determined 14C levels and the corresponding rock ages provided by 238U, 87Rb, and 40K techniques.   We believe the chief source for this inconsistency to be the uniformitarian assumption of time-invariant decay rates.  Other research reported by our RATE group also supports this conclusion [7, 23, 42].  Regardless of the source of the inconsistency, the fact that 14C, with a half-life of only 5730 years, is readily detected throughout the Phanerozoic part of the geological record argues the half billion years of time uniformitarians assign to this portion of earth history is likely incorrect.  The relatively narrow range of 14C/C ratios further suggests the Phanerozoic organisms may all have been contemporaries and that they perished simultaneously in the not so distant past.  Finally, we note there are hints that 14C currently exists in carbon from environments sealed from biospheric interchange since very early in the earth history.  We therefore conclude the 14C evidence provides significant support for a model of earth’s past involving a recent global Flood cataclysm and possibly also for a young age for the earth itself.  

ACKNOWLEDGEMENTS
We would like to thank Paul Giem for the helpful input he provided in this project.  We would also like to express earnest appreciation to the RATE donors who provided the financial means to enable us to undertake 14C analysis of our own suite of samples. 


อ้าว ไม่สงสัยวิธีหาอายุวัตถุแบบนี้แล้วหรือครับ ตอนแรกยังสงสัยอยู่เลยนี่ พอวิธีนี้สนับสนุนความเชื่อตัวเองได้หายสงสัยเลยทันทีเลยหรือครับ อีกอย่างหนึ่งถ้าของที่อายุเกิน 5 หมื่นปีนะเขาจะไม่ใช้ C-14 ครับเพราะความคลาดเคลื่อนจะสูงมากเกินกว่าที่จะยอมรับได้ ถ้าใช้เป็นแนวทางนะพอได้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 20:55
เรื่องน้ำท่วมใหญ่เนี่ย ประเทศไทยก็มีหลายครั้งนี่ อย่างปีที่แล้วก็มี แต่ไม่เห็นน้ำจะท่วมโลกเลย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 20:56
สำหรับท่านที่มองหาข้อมูลเพิ่มเติมครับ..



Thomson Scientific Master Journal List
Journal List Options


  Find a specific journal by title, title words, or ISSN 
 View a list of all journals 
 View a list of all journal coverage changes 


http://www.thomsonscientific.com/cgi-bin/jrnlst/jloptions.cgi?PC=master


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:00
ลึกได้ไม่เท่าไหร่หรอกครับ เพราะมันก็เจอลาวาแล้ว ฉะนั้นเรื่องน้ำท่วมโลกนะมันไม่จริง แต่น้ำท่วมเป็นเฉพาะพื้นที่นั้นจริง และแต่ละพื้นที่นั้นก็ท่วมไม่พร้อมกัน แล้วอีกอย่างน้ำท่วมในลิงค์ที่คุณยกมานะ หลายที่นั่นมันเป็นที่ที่เคยมีน้ำมาก่อนอยู่แล้ว อย่างเรื่องเอเวอเรสต์ ยกเรื่องซากฟอสซิลหอยมาแล้วบอกว่าเห็นไหม น้ำก็เคยท่วม ตลกแล้วครับ คุณเคยเห็นน้ำท่วมน้ำทะเลหรือครับ เขาเอเวอเรสต์นะมันเป็นพื้นทะเลมาก่อน แล้วเกิดการยกตัวของแผ่นทวีปขึ้น จึงไม่แปลกที่จะพบซากฟอสซิลหอยต่าง ๆ แล้วเหตุการณ์นี้ก็เกิดเมื่อหลายล้านปีก่อนไม่ใช่เกิดเมื่อไม่กี่พันปีที่ผ่านมา ส่วนน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ว่านะนั่นมันช่วงปลายยุคน้ำแข้งที่น้ำทะเลจากที่ลดไปกลับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็เกิดก่อนโนอาห์และอดัมจะเกิดซะอีก กลับเอามาอ้างได้ รู้จักเรื่อง กิลกาเมช ไหมครับ เนื้อหาเหมือนกับเรื่องโนอาห์เลย แต่แต่งขึ้นก่อน งานนี้ไม่รู้ใครก๊อปใคร

อีกเรื่อง การคิดจะเอาคำที่หาโดย search engine ว่ามีจำนวนเท่าใด เป็นเรื่องตลกนะครับ ไม่มีใครเขาใช้เรื่องนี้มาอ้างอิงหรอกครับ

ไปหาอ่านตามที่ผมชี้ไว้ก็แล้วกันครับ ถ้าไม่เชื่อก็ขุดถ้ำต่อไป

น้ำหาได้ไม่ยากเข้าใจได้แล้วนะครับ มาจากฝนและที่มีอยู่ภายในโลกนี่แหละ ไม่ใช่เฉพาะที่ผิวโลกในขณะใดขณะหนึ่ง  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:03
อ้าว ไม่สงสัยวิธีหาอายุวัตถุแบบนี้แล้วหรือครับ ตอนแรกยังสงสัยอยู่เลยนี่ พอวิธีนี้สนับสนุนความเชื่อตัวเองได้หายสงสัยเลยทันทีเลยหรือครับ อีกอย่างหนึ่งถ้าของที่อายุเกิน 5 หมื่นปีนะเขาจะไม่ใช้ C-14 ครับเพราะความคลาดเคลื่อนจะสูงมากเกินกว่าที่จะยอมรับได้ ถ้าใช้เป็นแนวทางนะพอได้

สำหรับสิ่งมีชีวต และสารอินทรีย์ ก็หาเอาจากซากต้นไม้โบราณ

โครงกระดูกและเปลือกหอย  สิ่งของเครื่องใช้ที่คงทน..

รอยชีดเขียน ..

อ้าวคิดสูตรคำนวณอายุสีหลังจากขีดได้แล้วเหรอครับ...  :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:06
ไปหาอ่านตามที่ผมชี้ไว้ก็แล้วกันครับ ถ้าไม่เชื่อก็ขุดถ้ำต่อไป

น้ำหาได้ไม่ยากเข้าใจได้แล้วนะครับ มาจากฝนและที่มีอยู่ภายในโลกนี่แหละ ไม่ใช่เฉพาะที่ผิวโลกในขณะใดขณะหนึ่ง  :slime_bigsmile:
เขาถามถึงน้ำที่ท่วมโลกได้สูงถึง 9 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเลกันครับว่าปริมาณน้ำขนาดนั้นมาจากไหนและหายไปไหน ใครเขาถามถึงเฉพาะผิวโลกกันล่ะครับ อย่าสับสน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:08


แกรนแคนยอน มีสภาพเป็นชั้นๆ เปลือกโลกจะยกตัว แต่คงไม่ได้ซ้อนกันเป็นชั้นๆอย่างนั้น

อ่านให้ละเอียดแล้วค่อยยกอะไรมาดีกว่าครับ สงสารนักวิทยาศาสตร์ที่เขาทำงานค้นคว้าภาคสนาม
                                                                                                                           :slime_bigsmile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:10
สำหรับสิ่งมีชีวต และสารอินทรีย์ ก็หาเอาจากซากต้นไม้โบราณ

โครงกระดูกและเปลือกหอย  สิ่งของเครื่องใช้ที่คงทน..

รอยชีดเขียน ..

อ้าวคิดสูตรคำนวณอายุสีหลังจากขีดได้แล้วเหรอครับ...  :slime_cool:
เขาหาได้ตั้งนานแล้วครับ คุณเพิ่งรู้รึเนี่ย  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:11
เขาถามถึงน้ำที่ท่วมโลกได้สูงถึง 9 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเลกันครับว่าปริมาณน้ำขนาดนั้นมาจากไหนและหายไปไหน ใครเขาถามถึงเฉพาะผิวโลกกันล่ะครับ อย่าสับสน

ทำไมต้อง 9 กิโลเมตร อย่าคิดเอาเองทั้งที่สภาพต่างๆในอดีตขณะนั้นยังไม่ทราบแน่ชัดครับ.. :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:13

แกรนแคนยอน มีสภาพเป็นชั้นๆ เปลือกโลกจะยกตัว แต่คงไม่ได้ซ้อนกันเป็นชั้นๆอย่างนั้น

อ่านให้ละเอียดแล้วค่อยยกอะไรมาดีกว่าครับ สงสารนักวิทยาศาสตร์ที่เขาทำงานค้นคว้าภาคสนาม
                                                                                                                           :slime_bigsmile: :slime_cool:
เรื่องพันธุศาสตร์ก็ไม่รู้อะไร เรื่องชีววิทยาก็ไม่รู้อะไร เรื่องประชากรก็ไม่รู้อะไร นี่ยังมีเรื่องธรณีวิทยาอีกรึเนี่ย   :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:13
เขาหาได้ตั้งนานแล้วครับ คุณเพิ่งรู้รึเนี่ย  :slime_bigsmile:

สีอายุหมื่นปี เอามาขีดไม่กี่ปีก็ได้ครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:14
ทำไมต้อง 9 กิโลเมตร อย่าคิดเอาเองทั้งที่สภาพต่างๆในอดีตขณะนั้นยังไม่ทราบแน่ชัดครับ.. :slime_bigsmile:
เขาเอเวเรสต์สูงเท่าไหร่ครับเมื่อ 6000 ปีก่อน คำนวณย้อนกลับไม่น่ายาก  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:15


เรื่องพันธุศาสตร์ก็ไม่รู้อะไร เรื่องชีววิทยาก็ไม่รู้อะไร เรื่องประชากรก็ไม่รู้อะไร นี่ยังมีเรื่องธรณีวิทยาอีกรึเนี่ย   :slime_bigsmile:

อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์อย่าพูดคำโตครับ..

เอาหลักฐานที่เชื่อถือได้มาแสดง..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:17
สีอายุหมื่นปี เอามาขีดไม่กี่ปีก็ได้ครับ..
ไม่รู้เรื่องการหาอายุวัตถุอยู่เฉยไม่มีใครว่านะครับ ถึงสีอายุหมื่นปีแต่เพิ่งขีดก็ให้ผลต่างจากที่ขีดมานานแล้วนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:17


เขาเอเวเรสต์สูงเท่าไหร่ครับเมื่อ 6000 ปีก่อน คำนวณย้อนกลับไม่น่ายาก  :slime_bigsmile:

ลองไปหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ ดูสิครับ..ที่ยอดเขาต่างๆก็ได้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:18

ไม่รู้เรื่องการหาอายุวัตถุอยู่เฉยไม่มีใครว่านะครับ ถึงสีอายุหมื่นปีแต่เพิ่งขีดก็ให้ผลต่างจากที่ขีดมานานแล้วนะครับ

ทราบครับ มีลักษณะเฉพาะ ถึงให้คุณหาสูตรทีติดทนๆให้ได้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:19

อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์อย่าพูดคำโตครับ..

เอาหลักฐานที่เชื่อถือได้มาแสดง..
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ผมยกไปตั้งเยอะแยะแล้ว ไม่ได้ยกเว็บที่เกี่ยวข้องกับศาสนาด้วยเลยครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:21


หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ผมยกไปตั้งเยอะแยะแล้ว ไม่ได้ยกเว็บที่เกี่ยวข้องกับศาสนาด้วยเลยครับ  :slime_bigsmile:

แสดงว่ายังดูไม่ครบถ้วน  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:23
ทราบครับ มีลักษณะเฉพาะ ถึงให้คุณหาสูตรทีติดทนๆให้ได้
สูตรสีนะรึไม่มี เพราะมันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ ถ้าพอเหมาะมันก็อยู่ได้นาน แต่แปลกดีนะครับคนที่รู้วิธีหาอายุวัตถุทำไมถึงเข้าใจว่า Radiocarbon เป็นผงคาร์บอนไปได้หว่า  :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:23
สำหรับท่านที่มองหาข้อมูลเพิ่มเติมครับ..



Thomson Scientific Master Journal List
Journal List Options


  Find a specific journal by title, title words, or ISSN 
 View a list of all journals 
 View a list of all journal coverage changes 


http://www.thomsonscientific.com/cgi-bin/jrnlst/jloptions.cgi?PC=master

ฝากอ่านแล้วเอาข้อสรุปที่เชื่อได้ไม่มีพิรุธ มาเล่าด้วยครับ..

อย่าเอาแต่ตั้งคำถาม..กับคนอื่น จนลืมค้นคว้า..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:26


สูตรสีนะรึไม่มี เพราะมันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ ถ้าพอเหมาะมันก็อยู่ได้นาน แต่แปลกดีนะครับคนที่รู้วิธีหาอายุวัตถุทำไมถึงเข้าใจว่า Radiocarbon เป็นผงคาร์บอนไปได้หว่า  :slime_smile2:

ถ้าคุณเชี่ยวชาญจริงจะได้เล่าได้ไง?? คาร์บอนมีอยู่ทั่วไปครับ ลองหาเพชร จะพบยากหน่อย..

ขอสูตรสี สภาพแวดล้อมปกติครับเอาไม่เกินหมื่นปีก็พอ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:26

ลองไปหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ ดูสิครับ..ที่ยอดเขาต่างๆก็ได้
เรื่องร่อยรอยมนุษย์นี่มีเกิน 6000 ปีอยู่เยอะแยะไป ส่วนใหญ่จะพบบริเวณที่ราบเนื่องจากมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 13-08-2007, 21:27
กระทู้นี้ ตัว หัวเราะ - - -  :slime_bigsmile:

เยอะแยะ เต็มไปหมด

ไม่กลัว กาม เอ๊ย กรามค้าง กันเหรอครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:28


เรื่องร่อยรอยมนุษย์นี่มีเกิน 6000 ปีอยู่เยอะแยะไป ส่วนใหญ่จะพบบริเวณที่ราบเนื่องจากมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต

ศีกษาดีเอ็นเอ หรืออายุโครงกระดูกดูครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:29

ถ้าคุณเชี่ยวชาญจริงจะได้เล่าได้ไง?? คาร์บอนมีอยู่ทั่วไปครับ ลองหาเพชร จะพบยากหน่อย..

ขอสูตรสี สภาพแวดล้อมปกติครับเอาไม่เกินหมื่นปีก็พอ
เรื่องสูตรนะไม่มีเพราะไม่มีใครอายุอยู่ดูถึง คาร์บอนมีอยู่ทั่วไป แต่ปริมาณไอโซโทปของคาร์บอนนี่มันไม่ทั่วไปนะสิ คุณไม่รู้เรื่องนี้รึเนี่ย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:30

ศีกษาดีเอ็นเอ หรืออายุโครงกระดูกดูครับ..
ก็นั่นแหละถึงทำให้รู้ว่ามีอายุเกิน 6000 ปี  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:31
กระทู้นี้ ตัว หัวเราะ - - -  :slime_bigsmile:

เยอะแยะ เต็มไปหมด

ไม่กลัว กาม เอ๊ย กรามค้าง กันเหรอครับ


แค่เห็นตัวหนังสือ หรือร่องรอยขีดเขียนนิดหน่อยก็หัวเราะได้แล้ว..

 :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:33
เรื่องสูตรนะไม่มีเพราะไม่มีใครอายุอยู่ดูถึง คาร์บอนมีอยู่ทั่วไป แต่ปริมาณไอโซโทปของคาร์บอนนี่มันไม่ทั่วไปนะสิ คุณไม่รู้เรื่องนี้รึเนี่ย

CONCLUSION   http://www.globalflood.org/papers/2003ICCc14.html

The careful investigations performed by scores of researchers in more than a dozen AMS facilities in several countries over the past twenty years to attempt to identify and eliminate sources of contamination in AMS 14C analyses have, as a by-product, served to establish beyond any reasonable doubt the existence of intrinsic 14C in remains of living organisms from all portions of the Phanerozoic record.  Such samples, with ‘ages’ from 1-500 Ma as determined by other radioisotope methods applied to their geological context, consistently display 14C levels that are far above the AMS machine threshold, reliably reproducible, and typically in the range of 0.1-0.5 pmc.  But such levels of intrinsic 14C represent a momentous difficulty for uniformitarianism.  A mere 250,000 years corresponds to 43.6 half-lives for 14C.  One gram of modern carbon contains about 6 x 1010 14C atoms, and 43.6 half-lives worth of decay reduces that number by a factor of 7 x 10-14.  Not a single atom of 14C should remain in a carbon sample of this size after 250,000 years (not to mention one million or 50 million or 250 million years).  A glaring (thousand-fold) inconsistency that can no longer be ignored in the scientific world exists between the AMS-determined 14C levels and the corresponding rock ages provided by 238U, 87Rb, and 40K techniques.   We believe the chief source for this inconsistency to be the uniformitarian assumption of time-invariant decay rates.  Other research reported by our RATE group also supports this conclusion [7, 23, 42].  Regardless of the source of the inconsistency, the fact that 14C, with a half-life of only 5730 years, is readily detected throughout the Phanerozoic part of the geological record argues the half billion years of time uniformitarians assign to this portion of earth history is likely incorrect.  The relatively narrow range of 14C/C ratios further suggests the Phanerozoic organisms may all have been contemporaries and that they perished simultaneously in the not so distant past.  Finally, we note there are hints that 14C currently exists in carbon from environments sealed from biospheric interchange since very early in the earth history.  We therefore conclude the 14C evidence provides significant support for a model of earth’s past involving a recent global Flood cataclysm and possibly also for a young age for the earth itself.  

ACKNOWLEDGEMENTS
We would like to thank Paul Giem for the helpful input he provided in this project.  We would also like to express earnest appreciation to the RATE donors who provided the financial means to enable us to undertake 14C analysis of our own suite of samples. 



หาวิธีที่เชื่อได้ดีกว่าครับ วงปีของซากต้นไม้แน่นอนกว่า.. :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:35
สำหรับท่านที่มองหาข้อมูลเพิ่มเติมครับ..



Thomson Scientific Master Journal List
Journal List Options


  Find a specific journal by title, title words, or ISSN 
 View a list of all journals 
 View a list of all journal coverage changes 


http://www.thomsonscientific.com/cgi-bin/jrnlst/jloptions.cgi?PC=master
ฝากอ่านแล้วเอาข้อสรุปที่เชื่อได้ไม่มีพิรุธ มาเล่าด้วยครับ..

อย่าเอาแต่ตั้งคำถาม..กับคนอื่น จนลืมค้นคว้า..
ยกเรื่องฐานข้อมูลนะควรทำความเข้าใจเรื่องฐานข้อมูลนั้นด้วยนะครับ และคำถามที่ผมถามมันก็แค่เรื่องพื้น ๆ ของวิชานั้น ๆ อยู่แล้ว  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:37
ฝากอ่านแล้วเอาข้อสรุปที่เชื่อได้ไม่มีพิรุธ มาเล่าด้วยครับ..

อย่าเอาแต่ตั้งคำถาม..กับคนอื่น จนลืมค้นคว้า..
ยกเรื่องฐานข้อมูลนะควรทำความเข้าใจเรื่องฐานข้อมูลนั้นด้วยนะครับ และคำถามที่ผมถามมันก็แค่เรื่องพื้น ๆ ของวิชานั้น ๆ อยู่แล้ว  :slime_bigsmile:

ลองไปอ่านสิ่งที่ผมโพสต์ในกระทู้นี้มาทั้งหมดครับ..

ไม่เข้าใจโพสต์ให้ผู้รู้มาตอบไม่ได้หรอก..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:39


อีกอย่างผมโพสต์ก่อนจะอ่านข้อมูลโดยละเอียดทั้งสองด้าน ด้วยซ้ำครับ.. :slime_cool: :slime_doubt:



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:40
หาวิธีที่เชื่อได้ดีกว่าครับ วงปีของซากต้นไม้แน่นอนกว่า.. :slime_v:
ถ้านับวงปีของซากต้นไม้ มันก็ได้เฉพาะอายุของต้นไม้เมื่อยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าต้นไม้นั้นตายมานานกี่ปีแล้ว

ขำตรงที่ถามไป #242 กว่าจะหาคำตอบได้นี่ก็ล่อไป #338 ถึงไม่ตรงคำถามก็ถือว่าตอบได้ใกล้เคียงครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:42
ถ้านับวงปีของซากต้นไม้ มันก็ได้เฉพาะอายุของต้นไม้เมื่อยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าต้นไม้นั้นตายมานานกี่ปีแล้ว

ขำตรงที่ถามไป #242 กว่าจะหาคำตอบได้นี่ก็ล่อไป #338 ถึงไม่ตรงคำถามก็ถือว่าตอบได้ใกล้เคียงครับ  :slime_bigsmile:

ผมมักให้ค้นคว้าเองครับ ส่วนต้นไม้ เราก็ทราบไงว่าอายุยืนแค่ไหน..จะได้ต่อรถถูก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:46

ผมสงสัยว่าถ้ำตามธรรมชาติบริเวณที่พบภาพ ถูกขุดไปมากแค่ไหนแล้วอะครับ??

ดูอย่างปิรามิดขุดกันซะพรุนเลย :slime_bigsmile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:50
ผมมักให้ค้นคว้าเองครับ ส่วนต้นไม้ เราก็ทราบไงว่าอายุยืนแค่ไหน..จะได้ต่อรถถูก
เหรอครับ งั้นลองอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme หน่อยครับคำถามที่ติดค้างนานแล้ว ถ้าไม่ตอบ เบี่ยงเบนคำถาม ตอบไม่ตรงคำถาม แปะลิงค์ไม่ยอมตอบ ผมถือว่าคุณตอบไม่ได้นะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:51
ผมสงสัยว่าถ้ำตามธรรมชาติบริเวณที่พบภาพ ถูกขุดไปมากแค่ไหนแล้วอะครับ??

ดูอย่างปิรามิดขุดกันซะพรุนเลย :slime_bigsmile: :slime_cool:
ตามอ่านที่ผมให้ไว้ใน #304 เอาครับ ยกเรื่องฐานข้อมูลได้ก็น่าหาได้นะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:52

ผมถามคุณไม่ใช่เหรอ?? อยากทราบจากผมก็ต้องทำการบ้านให้ตรงคำถามครับ   :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

นี่ตัวอย่างนะ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 21:53
1. โนอาห์รวบรวมสัตว์ทั่วโลกทุกชนิดอย่างไรภายใน 7 วัน
2. มีสัตว์กี่ชนิดที่เข้าเรือโนอาห์
3. หลังน้ำลดแล้วโนอาห์ปล่อยสัตว์ที่ไหน
4. ในเวลา 40 กว่าวันโนอาห์ให้อาหารสัตว์แต่ละชนิดอย่างไร โดยเฉพาะพวกกินเนื้อและกินแมลง อย่าลืมนะว่าสัตว์ป่าไม่ใช่สัตว์เลี้ยงซึ่งบางชนิดไม่กินซาก อย่างตัวกินมดนี่โนอาห์จะหามดจากไหนให้กินในเมื่อเอาสัตว์ขึ้นไปบนเรือได้อย่างละคู่
5. ทำไมทวีปแอนตาร์กติกาถึงไม่มีร่องรอยการถูกน้ำท่วม

รอคำตอบอยู่นะครับ ขอให้ตอบเป็นภาษาไทยโดยไม่ต้องแปะลิงค์นะครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:54
เหรอครับ งั้นลองอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme หน่อยครับคำถามที่ติดค้างนานแล้ว ถ้าไม่ตอบ เบี่ยงเบนคำถาม ตอบไม่ตรงคำถาม แปะลิงค์ไม่ยอมตอบ ผมถือว่าคุณตอบไม่ได้นะครับ

แล้วหาอายุได้มากแค่ไหนครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 21:56
รอคำตอบอยู่นะครับ ขอให้ตอบเป็นภาษาไทยโดยไม่ต้องแปะลิงค์นะครับ  :slime_bigsmile:

มีละเอียดพอสมควรอยู่แล้วทั่วไป..

คุณอยากโต้แย้งอะไรก็หายกมา โต้แย้งได้เอง..เผื่อจะมีคนคิดตามครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 22:00


ตามอ่านที่ผมให้ไว้ใน #304 เอาครับ ยกเรื่องฐานข้อมูลได้ก็น่าหาได้นะครับ

ถ้าขุดหมดแล้วทุกถ้ำก็ดีครับ..แต่ถ้ายังไม่หมดก็ยิ่งดี


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 22:00
ผมถามคุณไม่ใช่เหรอ?? อยากทราบจากผมก็ต้องทำการบ้านให้ตรงคำถามครับ   :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:
นี่ตัวอย่างนะ
ตอนนั้นคุณบอกสงสัยวิธีการไม่ใช่หรือครับ ไม่ได้ถามผม แต่ผมนี่สิที่ถามคุณ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 22:01
มีละเอียดพอสมควรอยู่แล้วทั่วไป..

คุณอยากโต้แย้งอะไรก็หายกมา โต้แย้งได้เอง..เผื่อจะมีคนคิดตามครับ..
ไม่ตอบผมถือว่าตุณตอบไม่ได้นะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 22:02

นี่ตัวอย่างนะ
ตอนนั้นคุณบอกสงสัยวิธีการไม่ใช่หรือครับ ไม่ได้ถามผม แต่ผมนี่สิที่ถามคุณ  :slime_bigsmile:

วิธีการเก็บข้อมูลสำคัญ พอๆกับการเลือกตัวแปร การแปลผล..

ถ้ามีข้อจำกัดใดๆตลอดจนทางเทคนิค ก็ไม่ควรมั่วครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 13-08-2007, 22:03
เหรอครับ งั้นลองอธิบายการเกิด species, subspecies, race, cline, deme หน่อยครับคำถามที่ติดค้างนานแล้ว ถ้าไม่ตอบ เบี่ยงเบนคำถาม ตอบไม่ตรงคำถาม แปะลิงค์ไม่ยอมตอบ ผมถือว่าคุณตอบไม่ได้นะครับ
แล้วหาอายุได้มากแค่ไหนครับ?
เบี่ยงเบนคำถาม ผมถือว่าคุณตอบไม่ได้นะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 22:04
อ้างถึง
http://forum.serithai.net/index.php?topic=15839.msg208516#msg208516


นั่นคือสิ่งที่ผมบอกไปแล้วว่าน่าสงสัย หาจากสีหรือร่องรอยไม่ดีกว่าหรือครับ



http://forum.serithai.net/index.php?topic=15839.msg208516#msg208516


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 22:07


แล้วหาอายุได้มากแค่ไหนครับ?
เบี่ยงเบนคำถาม ผมถือว่าคุณตอบไม่ได้นะครับ

ลองย้อนไปตั้งแต่โพสต์แรกของผมในกระทู้นี้ก็ได้ครับ...


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 22:09

(http://img430.imageshack.us/img430/9357/coelabf0.jpg)

ภาพฟอสซิล ซีลาคานธ์


แต่ทว่าเรียนตามตรงผมไม่เชื่อเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการ  http://forum.serithai.net/index.php?topic=5217.msg75465#msg75465

ยกตัวอย่าง

คราวนี้มาดูว่าไม่ว่า กาลเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเท่าไร ปลา ก็ยังคงเป็น ปลา ครับ หาได้ได้เป็นอย่างอื่นไม่





เจ้า ปลาซีลาคานธ์ นี่แหละที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์วิวัฒนาการ" หน้าแหก " เพราะมันยังเสนอหน้าและมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายในโลกปัจจุบันตามแถบมหาสมุทรอินเดีย



และยังมีหลักฐานทางฟอสซิลมากมายที่แสดงให้เห็นว่าหน้าตาของสิ่งมีชีวิตนั้น ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันเลย คุณ เด็กย้ายถิ่น  หากจะเอาเพียงลักษณะหรือโครงสร้างทางกายภาพที่คล้ายกันมาตัดสินการวิวัฒนาการ คุณควรนำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาด้วย

1.น้ำหนักตัว

2.สภาวะการปรับตัวต่ออุณหภูมิของร่างกาย

3.การใช้น้ำในร่างกาย

4.ระบบไต

5.ระบบการหายใจ

6.และ ฯลฯ

มาร่วมพิจารณาด้วย หากคุณ เด็กย้ายถิ่น  นำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาคุณจะพบว่า มันไม่มีความเป็นไปได้เลยว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะเคยมีบรรพบุรุษร่วมกัน(Common Ancestory) คุณคงไม่ลืมนะครับว่า คุณลักษณะต่าง ๆของสัตว์นั้นถูกควบคุมโดยยีน(gene)ในDNA ของสัตว์แต่ละชนิด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 22:12
กว่าจะเป็นภาพศิลปินมักไม่วาดภาพเดียวบริเวณเดียวหรอกครับ..

ต้องมีการฝึกฝน ด้วยวิธีการที่เขาถนัด..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-08-2007, 22:18


เอาโครงกระดูก ออกจากสภาพแวดล้อม บอกอายุได้แน่นอนหรือไม่.. คิดกันเอาเองครับ..??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 00:14


เอาลิงค์ท่องเที่ยวมาฝากครับ. คุณเชื่อว่าน้ำไม่เคยท่วมเหรอ?? ทำไม?? :slime_cool:

http://www.bathholidaywizard.co.uk/seeinsidebrochure/Voyages-of-Discovery_Antarctica-November-2007-to-February-2008/Antactica-November-2007-to-February-2008/page_5


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 01:22

Quaternary glacial and climate history of Antarctica   http://www.hi.is/~oi/quaternary_glacial_history_of_antarctica.htm#Fig.%2016

&Oacute;lafur Ing&oacute;lfsson

Published in: J. Ehlers & P.L. Gibbard (eds.) 2004:
Quaternary Glaciations - Extent and Chronology, Part III. Elsevier, pp. 3-43.

Contents:

1. Introduction
2. Pre-Quaternary glacial history of Antarctica
3. The Pleistocene in Antarctica - a brief overview
4. Late Quaternary glacial development in Antarctica
5. Methods for reconstructing Antarctic glacial history since the Last Glacial Maximum (LGM)
6. Last Glacial Maximum in Antarctica
7. Deglaciation and Holocene environmental development around Antarctica
8. Summary and conclusions on the glacial history since the LGM
-   References






8. Summary and conclusions

c)      Deglaciation occurred mainly during the time period >14-6 ka BP. Outer- and middle shelf areas deglaciated between 14-8 ka BP, while most inner shelf areas, fjords, bays and most currently ice-free coastal land areas deglaciated prior to 8-6 ka BP. This suggests that Antarctica could have contributed to global sea-level rise at least until mid-Holocene times (cf. Flemming et al., 1998; Ing&oacute;lfsson & Hjort, 1999). There are signs in the East Antarctic record (Bunger Hills) that early Holocene glaciation may have been at least partly driven by rising temperatures.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 14-08-2007, 06:53
Quaternary glacial and climate history of Antarctica   http://www.hi.is/~oi/quaternary_glacial_history_of_antarctica.htm#Fig.%2016

&Oacute;lafur Ing&oacute;lfsson

Published in: J. Ehlers & P.L. Gibbard (eds.) 2004:
Quaternary Glaciations - Extent and Chronology, Part III. Elsevier, pp. 3-43.

Contents:

1. Introduction
2. Pre-Quaternary glacial history of Antarctica
3. The Pleistocene in Antarctica - a brief overview
4. Late Quaternary glacial development in Antarctica
5. Methods for reconstructing Antarctic glacial history since the Last Glacial Maximum (LGM)
6. Last Glacial Maximum in Antarctica
7. Deglaciation and Holocene environmental development around Antarctica
8. Summary and conclusions on the glacial history since the LGM
-   References






8. Summary and conclusions

c)      Deglaciation occurred mainly during the time period >14-6 ka BP. Outer- and middle shelf areas deglaciated between 14-8 ka BP, while most inner shelf areas, fjords, bays and most currently ice-free coastal land areas deglaciated prior to 8-6 ka BP. This suggests that Antarctica could have contributed to global sea-level rise at least until mid-Holocene times (cf. Flemming et al., 1998; Ing&oacute;lfsson & Hjort, 1999). There are signs in the East Antarctic record (Bunger Hills) that early Holocene glaciation may have been at least partly driven by rising temperatures.
แล้วก็ลองนับไล่ปีจากปัจจุบันไปถึงโนอาห์เอานะครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 14-08-2007, 07:00

เอาโครงกระดูก ออกจากสภาพแวดล้อม บอกอายุได้แน่นอนหรือไม่.. คิดกันเอาเองครับ..??
ถ้าเรื่องนั้นมันสนับสนุนข้อความในพระคัมภีร์คุณจะเชื่อเรื่องนี้ทันที  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 14-08-2007, 07:02

เอาลิงค์ท่องเที่ยวมาฝากครับ. คุณเชื่อว่าน้ำไม่เคยท่วมเหรอ?? ทำไม?? :slime_cool:

http://www.bathholidaywizard.co.uk/seeinsidebrochure/Voyages-of-Discovery_Antarctica-November-2007-to-February-2008/Antactica-November-2007-to-February-2008/page_5
ถ้าเรื่องน้ำท่วมอย่างในนิทานโนอาห์นั้นไม่เชื่อหรอกครับ ทำไมนะเหรอ ก็ลองไล่กลับไปอ่านที่ผมได้ตอบไปแล้วสิ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 14-08-2007, 07:07
#387
ผมว่าผมตอบไปแล้วนะ ลองไล่หาคำตอบเอา บางคำถามก็อยู่ในที่ผมถามคุณแล้วคุณตอบไม่ได้นะแหละ อีกอย่างหนึ่ง ซีลาคานธ์นะเป็นระดับ subclass ฉะนั้นเรื่อง น้ำหนักตัว สภาวะการปรับตัวต่ออุณหภูมิของร่างกาย การใช้น้ำในร่างกาย ระบบไต ระบบการหายใจ และ ฯลฯ คงไม่ต้องพูดถึงแล้ว แค่ระดับ Order ก็มีเรื่องพวกนี้ต่างกันแล้ว ตัวอย่างก็มีให้เห็นในปัจจุบัน  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 14-08-2007, 07:10
ผมมักให้ค้นคว้าเองครับ เพราะผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน ส่วนต้นไม้ เราก็ทราบไงว่าอายุยืนแค่ไหน..จะได้ต่อรถถูก
รู้สึกจะตกบางประโยคไปนะ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 08:28
รู้สึกจะตกบางประโยคไปนะ

เพราะผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน

เหมาะสำหรับคุณ solidus ครับ  

(http://www.everestnews2004.com/base_map-tp-333.jpg)

http://www.everestnews2004.com/malloryandirvine2004/stories2004/xijing12152004.htm


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 08:38


CONCLUSION:     :slime_cool:

This study has arrived at the following conclusions.  http://www.21cep.com/nepal/npgeo.htm

1.The Khumbu valley is made up of the Higher-Himalayan and Teyhys Himalayan morph-tectonic belts of the Himalayas.

2.The rock sequences of the Khumbu valley represent a tectonically simple, undisturbed and normal Higher Himalayan and Tethys Himalayan succession, the later succeed broadly transitionally the former.

3.The Higher Himalayan successions are extremely migmatised. The  unmigmatised part of the rocks indicated that the sequence was originally a sedimentary one.  

4.The metamorphism of the Higher Himalaya was of Barrovian type and it is normal, dying out structurally upwards in the Tethys Himalayan succession .

5.Nuptse granite is a intrusive granite sill intruded in the Tertiary period. It is not involved into any major tectonisation.

6.Regionally, folds of Himalayan trend and folds of transeverse orientation have been developed in the Khumbu region.

7.Minor structural  study has shown at least four generation of compressional orogenic folds in the region. Two of the fold episodes orient at perpendicular disposition to the Himalayan trend.

8.World's highest peak Mt Everest Lies on the back of the thrusted Higher. Himalayan sequence and it is structurally and tectonically simple.

  ACKNOWLEDGEMENT - The original material came from "REPORT ON THE GEOLOGY OF THE MOUNT EVEREST REGION" by DR. TORAN SHARMA   & Mr. UPENDRA BHAKTA PRADHANANG. A part of the Regional Geological Mapping Programme of the Department of Mines and Geology, Nepal.



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 10:26


 :slime_bigsmile: :slime_cool:



http://jersey.uoregon.edu/~mstrick/AskGeoMan/RelTimeScale.html

(http://jersey.uoregon.edu/~mstrick/AskGeoMan/AskGeoImages/RelTimeScale.gif)






http://jersey.uoregon.edu/~mstrick/AskGeoMan/geoQuerry17.html

The problem still remains, though: we may know that the sandstone is older than the limestone, but by how much? In order to answer this, we need to know the ages of the sandstone and limestone, and be able to subtract. Subtraction is easy - the trick is knowing the ages. Unfortunately, there is no way to know the age of something just by looking, and it wasn't until Henry Becquerel discovered radioactivity in 1896 that a way was found to figure out how old rocks are. The first radiometric age dates were calculated in 1907 by a study of how long it takes for uranium to decay into lead. The science has evolved, and geologist routinely calculate "absolute" ages for all kinds of rocks and minerals. But what if our assumptions concerning the decay of unstable elements are wrong? As with everything else in geology, use the data as needed, but don't carve them in stone!



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 10:37
ถ้าเรื่องนั้นมันสนับสนุนข้อความในพระคัมภีร์คุณจะเชื่อเรื่องนี้ทันที  :slime_bigsmile:

อันนี้เขาเรียกอวดรู้ครับ....เดาเอาเองเหรอ?? :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 10:42
แค่อ่านประกอบครับ..



Origins of Water  http://jersey.uoregon.edu/~mstrick/RogueComCollege/RCC_Lectures/IntroWater.html


Water has existed on earth from very early in geologic time

Some of the oldest known rocks were originally deposited as sediments in water

This means the rivers and oceans had to have existed at that time

Originally, scientists thought the earth's water came from the earth itself

Usually from volcanic eruptions (some water does come from these sources)

Recent work indicates that some (possibly most) of the water on earth may have arrived from extra-terrestrial sources

Comets - Basically giant snockballs in space

It is assumed that there were more cometary impacts early in earth's history

These led to the addition of massive amounts of water during the early stages of the earth's formation


The Hydrologic Cycle
The overall volume of water on earth, while clearly not static in the long term, can be considered constant at human time scales

However, the spatial distribution of water can and does change

Constantly moving between numerous "temporary storage units"

This movement is called the Hydrologic Cycle (Monroe: Fig. 15-3, pg. 460)

Several important ideas here

Most of the water on earth is the same water that has been here since the earth first formed

However, the spatial distribution of water can and does change constantly

Storage locations include:

The ocean (obviously the largest): 97.2%

1,327,500,000 cubic kilometers

Glacial ice: 2.15%

Groundwater: 0.625%

Lakes: 0.017%

The atmosphere: 0.001%

Streams: 0.0001%

Adds up to 99.9931% of all the available moisture

The remaining 0.0069% is tied up in other minor reservoirs

Organic material - this includes me and you

Cans of Pepsi, Vienna Sausage, Dinty Moore Stew

...and many, many others





หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 11:04

 :slime_cool: :slime_v:


The scientific exploration to Mt. Everest accomplished   http://en.tibet.cn/news/tin/t20050616_36976.htm


(http://en.tibet.cn/news/tin/W020050616334169826317.jpg)


On June 12, 2005, the Beijing Airport welcomed the return of the last group of crew members in the scientific expedition to Mt. Everest(Mt. Qomolangma), led by Prof. Kang Shichang, thus signified the accomplishment of this historical expedition.

To honor their courage and great performance during the expedition, CAS Academician Prof. Zheng Du and Feng Xuehua, people in charge of the scientific activity, picked these crew members up in the airport.

This expedition is credited to have covered the largest area on the plateau for sampling, with a large number of participants and scientific categorization of subjects. Many samples have been collected at various altitudes, even above 7200 m in elevation, waiting for further studies. 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 11:11


ยกมาเพราะขึ้นหน้าใหม่ครับ.. การสำรวจอายุของชั้นน้ำแข็งแถบแอนตาร์กติกาโดยผู้เชี่ยวชาญ



Quaternary glacial and climate history of Antarctica     http://www.hi.is/~oi/quaternary_glacial_history_of_antarctica.htm#Fig.%2016

&Oacute;lafur Ing&oacute;lfsson

Published in: J. Ehlers & P.L. Gibbard (eds.) 2004:
Quaternary Glaciations - Extent and Chronology, Part III. Elsevier, pp. 3-43.

Contents:

1. Introduction
2. Pre-Quaternary glacial history of Antarctica
3. The Pleistocene in Antarctica - a brief overview
4. Late Quaternary glacial development in Antarctica
5. Methods for reconstructing Antarctic glacial history since the Last Glacial Maximum (LGM)
6. Last Glacial Maximum in Antarctica
7. Deglaciation and Holocene environmental development around Antarctica
8. Summary and conclusions on the glacial history since the LGM
-   References






8. Summary and conclusions

c)      Deglaciation occurred mainly during the time period >14-6 ka BP. Outer- and middle shelf areas deglaciated between 14-8 ka BP, while most inner shelf areas, fjords, bays and most currently ice-free coastal land areas deglaciated prior to 8-6 ka BP. This suggests that Antarctica could have contributed to global sea-level rise at least until mid-Holocene times (cf. Flemming et al., 1998; Ing&oacute;lfsson & Hjort, 1999). There are signs in the East Antarctic record (Bunger Hills) that early Holocene glaciation may have been at least partly driven by rising temperatures.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 11:37

เพนกวินก็มาอาศัยอยู่ตั้งแต่ 5500 ปี ถึง 6500 ปีก่อนปัจจุบัน

http://www.hi.is/~oi/quaternary_glacial_history_of_antarctica.htm#Fig.%2016

(http://www.hi.is/~oi/Penguins,%20Hope%20Bay.jpg)



Fig. 11. The large penguin rookery in Hope Bay. Penguins have occupied this site since c. 5.5 ka BP. The earliest Holocene penguin occupation in the Antarctic Peninsula-South Shetland Islands region has been dated to c. 6.5 ka BP in Marguerite Bay.
(Photograph: &Oacute;lafur Ing&oacute;lfsson, 1987)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 14-08-2007, 19:28

ยกมาเพราะขึ้นหน้าใหม่ครับ.. การสำรวจอายุของชั้นน้ำแข็งแถบแอนตาร์กติกาโดยผู้เชี่ยวชาญ
Quaternary glacial and climate history of Antarctica   http://www.hi.is/~oi/quaternary_glacial_history_of_antarctica.htm#Fig.%2016

&Oacute;lafur Ing&oacute;lfsson

Published in: J. Ehlers & P.L. Gibbard (eds.) 2004:
Quaternary Glaciations - Extent and Chronology, Part III. Elsevier, pp. 3-43.

Contents:

1. Introduction
2. Pre-Quaternary glacial history of Antarctica
3. The Pleistocene in Antarctica - a brief overview
4. Late Quaternary glacial development in Antarctica
5. Methods for reconstructing Antarctic glacial history since the Last Glacial Maximum (LGM)
6. Last Glacial Maximum in Antarctica
7. Deglaciation and Holocene environmental development around Antarctica
8. Summary and conclusions on the glacial history since the LGM
-   References






8. Summary and conclusions

c)      Deglaciation occurred mainly during the time period >14-6 ka BP. Outer- and middle shelf areas deglaciated between 14-8 ka BP, while most inner shelf areas, fjords, bays and most currently ice-free coastal land areas deglaciated prior to 8-6 ka BP. This suggests that Antarctica could have contributed to global sea-level rise at least until mid-Holocene times (cf. Flemming et al., 1998; Ing&oacute;lfsson & Hjort, 1999). There are signs in the East Antarctic record (Bunger Hills) that early Holocene glaciation may have been at least partly driven by rising temperatures.

:slime_o: :slime_bigsmile:

2. Pre-Quaternary glacial history of Antarctica

The Antarctic ice sheet has existed for about 35-40 million years, since the mid-Tertiary, and it is widely believed that in East Antarctica it reached continental proportions by the latest Eocene-Early Oligocene (Hambrey et al., 1989; Birkenmayer, 1987, 1991; Prentice & Mathews, 1988; Barrera & Huber, 1993; Barrett et al., 1991; Denton et al., 1991). The nature and timing of the initial glaciation of Antarctica is not well known, and the evolution and nature of the WAIS remains controversial (Wilson, 1995). Existing reconstructions of pre-Quaternary Antarctic ice volumes and ice-extent rely heavily on interpretations of Ocean Drilling Program (ODP) data from offshore cores, such as oxygen isotope (d18O) concentrations, ice-rafted detritus (IRD) concentrations, sediment type and clay mineralogy, microfossil assemblages and occurrences of hiatuses (Fig. 3). The geological literature on Antarctic pre-Quaternary glacial history and palaeoceanography is vast, and the following review relies heavily on overviews by Denton et al. (1991), Kennett & Hodell (1993) and Anderson (1999).


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 14-08-2007, 19:39
เพนกวินก็มาอาศัยอยู่ตั้งแต่ 5500 ปี ถึง 6500 ปีก่อนปัจจุบัน

http://www.hi.is/~oi/quaternary_glacial_history_of_antarctica.htm#Fig.%2016

(http://www.hi.is/~oi/Penguins,%20Hope%20Bay.jpg)



Fig. 11. The large penguin rookery in Hope Bay. Penguins have occupied this site since c. 5.5 ka BP. The earliest Holocene penguin occupation in the Antarctic Peninsula-South Shetland Islands region has been dated to c. 6.5 ka BP in Marguerite Bay.
(Photograph: &Oacute;lafur Ing&oacute;lfsson, 1987)

อ่านเสริมเล่น ๆ
http://biol-chem.uwb.edu.pl/IP/ENG/biologia/bones.htm
http://news.nationalgeographic.com/news/2006/04/0411_060411_penguins.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Penguin#The_basal_fossils
http://www.realscience.org.uk/2007/07/giant-fossil-penguins.html


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 14-08-2007, 20:15
Link เพียบบบบบบบบบบบ

ถ้าลิงค์พวกนี้ เปิดเข้าไปเป็นลิงค์หนังโป๊ ก็คงดี

 :slime_smile: :slime_smile2: :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 14-08-2007, 21:58
 :slime_surrender:

คุณ Q ไม่ยอมย่อรูปให้ด้วยอ่ะ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 14-08-2007, 22:20
เข้าไปอ่าน เรื่อโนอา ที่คุณ Q มาแปะไว้ สงสัยข้อแก้ไข เรื่องชนิดของสัตว์ที่บรรทุกนะครับ

เขาบอกว่าเป็น kinds ไม่ใช่ species แสดงว่า เอามาไม่ครบใช่ไหม แล้วถ้าเป็นแบบนั้น
ถ้าเรื่อง evalution ไม่จริงแล้ว ทำไมถ้าเอามาไม่ครบ แล้วมันถึงได้งอกเป็นสปีชีใหม่ๆ
ได้ล่ะ คำแก้ตัวนี้ ผมรู้สึกว่ามันพัวพันไม่ถูกต้องนะครับ

แล้วเรื่องสัตว์น้ำที่เชียนไว้บอกว่าไม่เอามาด้วย เพราะยังไงมันก็ไม่ตาย อันนี้คิดว่าไม่ตรง
กับความจริงนะครับ ถ้าน้ำท่วมโลก น้ำมันจะเปลี่ยนเป็นอะไรครับ น้ำเค็ม หรือน้ำจืด
ถ้าน้ำจืด สัตว์น้ำเค็มก็จะตาย ถ้าเป็นน้ำเค็ม สัตว์น้ำจืดก็ตาย ดังนั้นก็ต้องเอาขึ้นมา
ด้วยจริงไหม? แล้วเขาจะเอาไปไว้ตรงไหนของเรือ ถ้าน้ำน้อยเกินไป 40 วัน นี่น้ำเน่าแน่นะครับ
สมัยก่อนคงไม่มีเครืองกรองน้ำหรอกนะ หรือว่าโนอามี!!!

แล้วอีกอย่างนะครับ เมือคนตายหมด ดังนั้นประชากรก็ต้องเกิดจากคนบนเรือโนอา
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมคนสมัยหลังๆ ถึงไม่พูดภาษาเดียวกัน ทั้งโครงสร้างภาษา
ก็ต่างกัน อย่างไทยเป็นคำโดด อินเดียใช้คำผสม และเปลี่ยนรูปคำได้ แล้วการเรียง
คำคุณศัพท์ก็ต่างกัน แม้กระทั่งที่ญี่ปุ่นยังเรียงประโยค ประธาน กรรม กริยา ทำไม
มันถึงได้เพี้ยนไปไกลขนาดนี้ล่ะ ถ้ามาจากที่เดียวกัน ภาษามันก็ต้องมารากที่มา
เหมือนกันสิ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 22:52

 :slime_bigsmile: :slime_cool:



http://jersey.uoregon.edu/~mstrick/AskGeoMan/RelTimeScale.html

(http://jersey.uoregon.edu/~mstrick/AskGeoMan/AskGeoImages/RelTimeScale.gif)






http://jersey.uoregon.edu/~mstrick/AskGeoMan/geoQuerry17.html

The problem still remains, though: we may know that the sandstone is older than the limestone, but by how much? In order to answer this, we need to know the ages of the sandstone and limestone, and be able to subtract. Subtraction is easy - the trick is knowing the ages. Unfortunately, there is no way to know the age of something just by looking, and it wasn't until Henry Becquerel discovered radioactivity in 1896 that a way was found to figure out how old rocks are. The first radiometric age dates were calculated in 1907 by a study of how long it takes for uranium to decay into lead. The science has evolved, and geologist routinely calculate "absolute" ages for all kinds of rocks and minerals. But what if our assumptions concerning the decay of unstable elements are wrong? As with everything else in geology, use the data as needed, but don't carve them in stone!



เอามาให้อ่านอีกครั้งครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 23:02
Link เพียบบบบบบบบบบบ

ถ้าลิงค์พวกนี้ เปิดเข้าไปเป็นลิงค์หนังโป๊ ก็คงดี

 :slime_smile: :slime_smile2: :slime_smile:

อาจผิดระเบียบครับ.. :slime_cool:
เข้าไปอ่าน เรื่อโนอา ที่คุณ Q มาแปะไว้ สงสัยข้อแก้ไข เรื่องชนิดของสัตว์ที่บรรทุกนะครับ

เขาบอกว่าเป็น kinds ไม่ใช่ species แสดงว่า เอามาไม่ครบใช่ไหม แล้วถ้าเป็นแบบนั้น
ถ้าเรื่อง evalution ไม่จริงแล้ว ทำไมถ้าเอามาไม่ครบ แล้วมันถึงได้งอกเป็นสปีชีใหม่ๆ
ได้ล่ะ คำแก้ตัวนี้ ผมรู้สึกว่ามันพัวพันไม่ถูกต้องนะครับ

แล้วเรื่องสัตว์น้ำที่เชียนไว้บอกว่าไม่เอามาด้วย เพราะยังไงมันก็ไม่ตาย อันนี้คิดว่าไม่ตรง
กับความจริงนะครับ ถ้าน้ำท่วมโลก น้ำมันจะเปลี่ยนเป็นอะไรครับ น้ำเค็ม หรือน้ำจืด
ถ้าน้ำจืด สัตว์น้ำเค็มก็จะตาย ถ้าเป็นน้ำเค็ม สัตว์น้ำจืดก็ตาย ดังนั้นก็ต้องเอาขึ้นมา
ด้วยจริงไหม? แล้วเขาจะเอาไปไว้ตรงไหนของเรือ ถ้าน้ำน้อยเกินไป 40 วัน นี่น้ำเน่าแน่นะครับ
สมัยก่อนคงไม่มีเครืองกรองน้ำหรอกนะ หรือว่าโนอามี!!!

แล้วอีกอย่างนะครับ เมือคนตายหมด ดังนั้นประชากรก็ต้องเกิดจากคนบนเรือโนอา
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมคนสมัยหลังๆ ถึงไม่พูดภาษาเดียวกัน ทั้งโครงสร้างภาษา
ก็ต่างกัน อย่างไทยเป็นคำโดด อินเดียใช้คำผสม และเปลี่ยนรูปคำได้ แล้วการเรียง
คำคุณศัพท์ก็ต่างกัน แม้กระทั่งที่ญี่ปุ่นยังเรียงประโยค ประธาน กรรม กริยา ทำไม
มันถึงได้เพี้ยนไปไกลขนาดนี้ล่ะ ถ้ามาจากที่เดียวกัน ภาษามันก็ต้องมารากที่มา
เหมือนกันสิ


มันเป็นรายละเอียดที่บรรจุไว้เท่าที่จำเป็นมังครับ. ที่ไม่ระบุละเอียดไม่ได้หมายความว่าไม่มี

ส่วนเรื่องสปีชี เมื่อมีการสืบพันธุ์มันก็มีการแบ่งละเอียดไปเรื่อยๆ บางคนว่ามีได้ถึง30ล้านสปีชี

ผมคงไม่ได้สนใจละเอียด มนุษย์ในโลก ก็มีใกล้เจ็ดพันล้าน ก็เจ็ดพันล้านความคิดอยู่แล้วครับ..

บ่อยครั้งมันเป็นอาชีพหรือเครื่องมือหากิน เหมือนธุรกิจยา เครื่องมือแพทย์ เสริมสวย เครื่องสำอางค์

แม้แต่คำว่าความหลากหลายทางเพศทีพวกเกย์ใช้อธิบายตนเอง หรือพวกอ้างว่าจิตใจไม่มีเพศสภาพ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 23:07
:slime_o: :slime_bigsmile:

2. Pre-Quaternary glacial history of Antarctica

The Antarctic ice sheet has existed for about 35-40 million years, since the mid-Tertiary, and it is widely believed that in East Antarctica it reached continental proportions by the latest Eocene-Early Oligocene (Hambrey et al., 1989; Birkenmayer, 1987, 1991; Prentice & Mathews, 1988; Barrera & Huber, 1993; Barrett et al., 1991; Denton et al., 1991). The nature and timing of the initial glaciation of Antarctica is not well known, and the evolution and nature of the WAIS remains controversial (Wilson, 1995). Existing reconstructions of pre-Quaternary Antarctic ice volumes and ice-extent rely heavily on interpretations of Ocean Drilling Program (ODP) data from offshore cores, such as oxygen isotope (d18O) concentrations, ice-rafted detritus (IRD) concentrations, sediment type and clay mineralogy, microfossil assemblages and occurrences of hiatuses (Fig. 3). The geological literature on Antarctic pre-Quaternary glacial history and palaeoceanography is vast, and the following review relies heavily on overviews by Denton et al. (1991), Kennett & Hodell (1993) and Anderson (1999).

อันนี้เป็นเพียงความเชื่อในอดีต บางส่วนก็ไม่ได้มีการพิสูจน์

สาระสำคัญของงานวิจัยคือข้อสรุป ส่วนการทำให้เป็นข่าวเป็นเพียงเทคนิคทางการตลาด..

เหมือนบริษัทยาหรือบริษัทบุหรี่เป็นสปอนเซอร์กีฬา


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 23:17


เทคนิคการวัดอายุ ก็มีระบุชัดเจนในงานวิจัยที่ผมยกมาครับ

ตรงนั้นผมคิดว่ามีปัญหาสำหรับระยะเวลามากกว่า ในช่วงชีวิตของคาร์บอนประเภทต่างๆ

ต้องนำมาเทียบเคียงมากกว่าหนึ่งชนิด

สำหรับสิ่งมีชีวิตในแถบที่มีน้ำแข็ง น่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะเราวัดอายุชั้นน้ำแข็งได้ด้วย..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 23:24
:slime_surrender:

คุณ Q ไม่ยอมย่อรูปให้ด้วยอ่ะ


ผมไม่ได้เซฟครับ ใส่พรอพเปอร์ตีแอดเดรสเลย ดังนั้นขึ้นอยู่กับสคริปของเพจครับ..

เครดิตของผู้ถ่ายภาพและแหล่งในเว็บยังคงอยู่ครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 23:36
8. Summary and conclusions   http://www.hi.is/~oi/quaternary_glacial_history_of_antarctica.htm#Fig.%2016

Detailed reconstruction of the glacial and climatic history of Antarctica since the LGM is hampered by the scarcity of available archives, low resolution in many datasets and chronological problems. Therefore, any synthesis (Fig. 17) must be regarded as a tentative description of the environmental development. However, the following broad pattern can be recognised:

a)      There is evidence of much more extensive ice cover in Antarctica prior to c. 20-14 ka BP. LGM glaciers from the WAIS and the Antarctic Peninsula generally grounded on the middle-outer shelf, at water depths of &sup3; 400 m, and were probably fringed by ice shelves extending over the outer shelf and the shelf break.  East Antarctic glaciers expanded to mid-shelf positions, and in some areas there was little or no LGM glacial expansion.

b)      Ice retreat from the LGM positions was under way by 17-14 ka BP. The initial ice retreat was probably eustatically-controlled.

c)      Deglaciation occurred mainly during the time period >14-6 ka BP. Outer- and middle shelf areas deglaciated between 14-8 ka BP, while most inner shelf areas, fjords, bays and most currently ice-free coastal land areas deglaciated prior to 8-6 ka BP. This suggests that Antarctica could have contributed to global sea-level rise at least until mid-Holocene times (cf. Flemming et al., 1998; Ing&oacute;lfsson & Hjort, 1999). There are signs in the East Antarctic record (Bunger Hills) that early Holocene glaciation may have been at least partly driven by rising temperatures.

d)      There are no signs in Antarctica of a Younger Dryas glacial or cold climatic event.

e)      The transition from glacial to interglacial conditions in Antarctica, indicated by ice configuration becoming similar to or less than at present, by the onset of lake sediment accumulation in ice-free basins, by moss-bank growth on the islands off the peninsula, and by penguin occupation of coastal rookeries, was broadly completed by 6 ka BP.  
f)        Mid-Holocene glacial- and ice-shelf re-advances have been described from a number of sites.

g)      Terrestrial palaeoclimatic records, based on stratigraphical variables in lake- and moss-bank archives, as well as proliferation of penguin rookeries, suggest a circum-Antarctic climate optimum occurring broadly in the period 4,5-2.5 ka BP. It is best constrained in the stratigraphical records from the Antarctic Peninsula (4-3 ka BP), Bunger Hills in East Antactica (3,5-2,5 ka BP) and Victoria Land (3,6-2,6 ka BP).  

h)      Available data suggest that after c. 2.5 ka BP a distinct Neoglacial cooling occurred, and that many glaciers and ice-shelves expanded during the late Holocene. The Ross Ice Shelf probably continued retreating even after 2.5 ka BP and is still in a retreat mode.  
i)        A rapid and significant warming has occurred in the Antarctic Peninsula region for the past 100 years, which might be causing ice-shelf instability, and coastal areas in the Ross Sea also show signs of warming. The interior East Antarctica is slightly cooling.

 

The available data suggest that Antarctic deglaciation and Holocene climate development lagged that of the Northern Hemisphere (Hjort et al., 1998; Ing&oacute;lfsson et al., 1998; Bentley, 1999; Hall & Denton, 1999, 2000). The late Holocene climate optimum, c. 4.5 – 2.5 ka BP is recognised as broadly synchronous environmental changes in the Antarctic Peninsula, East Antarctica and Victoria Land, which supports the notion of a circum-Antarctic climate optimum. This optimum is not recognised in the Antarctic ice cores. The ice-core records on Holocene climate variability from Byrd, Vostok and Taylor Dome differ considerably in terms of temperature trends for the past, 20 ka and through the Holocene (Blunier et al., 1998, Thompson et al., 1998, Petit et al., 1999, Steig et al., 1998, 2000), and cannot be used as proxies for environmental changes in the coastal areas of the continent. A study by Ciais et al. (1994) on Holocene temperature variations in Antarctica, as expressed by data from 6 ice-cores, indicated only subtle temperature variations (&pound;&plusmn;1oC) for the past 10 ka BP. Although that study recognised somewhat warmer-than-present conditions between c. 4 - 2 ka BP, it places the Antarctic Holocene climate optimum between c. 10 - 8 ka BP. The Palmer Deep record (Domack et al., 2001a), on the contrary, marks this as a period of cool climate. A study on 11 ice-core isotope records for the reconstruction of Holocene climate variability in Antarctica (Masson et al., 2000) likewise demonstrated a widespread early Holocene climate optimum (11.5 - 9 ka calibrated ice-core years: c. 10 - 8.5 ka radiocarbon years), in addition to a second period of climate amelioration in the Ross Sea area between 7 - 5 ka cal. yr BP (c. 6 - 4.5 ka radiocarbon years BP). These periods of relatively warm climate are not apparent in the geological stratigraphical record. The ice-core data further suggests an East Antarctic climate optimum between 6 - 3 ka cal. yr BP (Masson et al., 2000), whereas the geological record from Bunger Hill Oasis indicates the period 7.6 - 4.5 ka cal. yr BP as being relatively cold, and the climate optimum occurring between 3.5 - 2.5 ka cal. yr BP (Kulbe et al., 2001).

The large Antarctic system allows for significant regional variability in the Holocene development of climate and glaciation. Ice-core records from the high-altitude inland continental plateau may not respond to environmental changes in the peripheral maritime areas of the system. White & Steig (1998) suggested that the inland-plateau ice cores might not be entirely representative of Antarctic climate development, and that records from far more sites are needed to complete the story. Perhaps the poor fit between the ice-core and geological records is an illustration of just that problem.

Acknowledgements - This study and my fieldwork in Antarctica on five occasions since 1987 have been generously supported by the Swedish Natural Science Research Council, the Swedish Polar Research Secretariat, the Universities of Lund and G&ouml;teborg, Sweden and The University Centre on Svalbard (UNIS), which is gratefully acknowledged. The following institutions are thanked for providing logistics: Alfred Wegener Institute, Germany (1987), Argentinean Antarctic Institute (1993), National Science Foundation/USA (1994) and British Antarctic Survey (2000).
References

Abreu, V.S. & Anderson, B.J. (1998). Glacial eustasy during the Cenozoic: Sequence stratigraphic implications. American Association of Petroleum Geologists Bulletin, 82, 1385-1400.

Adamson, D. & Pickard, J. (1983). Late Quaternary ice movement across the Vestfold Hills, Antarctica. In: Oliver, R.L., James, P.R. & Jago, J.B. (eds), Antarctic Earth Science. Canberra: Australian Academy of Sciences, 465-469.

Adamson, D. & Pickard, J. (1986). Cainozoic history of the Vestfold Hills. In: Pickard, J. (ed), Antarctic Oasis. Sidney, Academic Press, 63-98.

Adamson, D. A., Mabin, M.C.G. & Luly, J.G. (1997). Holocene isostasy and late Cenozoic development of landforms including Beaver and Radok Lake basins in the Amery Oasis, Prince Charles Mountains, Antarctica. Antarctic Science, 9, 299-306.

Alonso, B. Anderson, J.B., D&iacute;az, J.I. & Bartek, L.R. (1992). Pliocene-Pleistocene seismic stratigraphy of the Ross Sea: evidence for multiple ice sheet grounding episodes. In: Elliot, D.H. (ed.), Contributions to Antarctic Research III: Antarctic Research Series, 57. Washington, Geophysical Union, 93-103.

Anderson, J.B. (1999). Antarctic Marine Geology. Cambridge, Cambridge University Press, 289 pp.

Anderson, J.B. & Andrews, J.T. (1999). Radiocarbon constraints on ice sheet advance and retreat in the Weddell Sea, Antarctica. Geology, 27, 179-182.

Anderson, J.B. & Bartek, L.R. (1992). Cenozoic glacial history of the Ross Sea revealed by intermediate resolution seismic data combined with drill information. Antarctic Research Series, 56, 231-263.

Anderson, J.B. & Shipp, S.S. (2001). Evolution of the West Antarctic Ice Sheet. In: Alley, R. & Bindschadler, R. (eds.), The West Antarctic Ice Sheet, Behaviour and Environments, Antarctic Research Series, 77. Washington DC, American Geophysical Union, 45-57.

Anderson, J.B., Shipp, S.S., Bartek, L.R. & Reid, D.E. (1992). Evidence for a grounded ice sheet on the Ross Sea continental shelf during the late Pleistocene and preliminary paleodrainage reconstruction. In: Elliot, D.H. (ed), Contributions to Antarctic Research Series III, 57, Washington DC, American Geophysical Union, 39-42.

Anderson, J.B., Brake, C.F. & Myers, N.C. (1984). Sedimentation on the Ross Sea continental shelf, Antarctica. Marine Geology, 57, 295-333.

Anderson, J.B., Kurtz, D.D., Domack, E.W., & Balshaw, K.M. (1980). Glacial and glacial-marine sediments of the Antarctic continental shelves. Journal of Geology, 88, 399-414.

Anderson, J. B., Kennedy, D. S., Smith, M. J., and Domack, E. W. (1991a). Sedimentary facies associated with Antarctica’s floating ice masses. In Anderson, J. B. and Ashley, G. M. (eds.), Palaeoclimatic interpretation of glacial marine deposits. Geological Society of America Special Paper, 256, 1-25. 

Anderson, J.B., Andrews, B.A., Bartek, L.R. & Truswell, E.M. (1991b). Petrology and palynology of glacial sediments: implications for subglacial geology of the eastern Weddell Sea, Antarctic. In: Thomson, M.R.A., Crame, J.A. & Thomson, J.W. (eds), Geological Evolution of Antarctic. Cambridge, Cambridge University Press, 231-235.

Anderson, J.B., Shipp, S.S. & Siringan, F.P. (1992). Preliminary seismic stratigraphy of the northwestern Weddell Sea continental shelf. In: Yoshida, Y., Kaminuma, K. & Shiraishi, K. (eds), Recent progress in Antarctic earth sciences. Tokyo, Terra Scientific Publishing Company, 603-612.

Anderson, J.B., Shipp, S.S., Lowe, A.L., Wellner, J.S. & Mosola, A.B. (2002). The Antarctic Ice Sheet during the Last Glacial Maximum and its subsequent retreat history: a review. Quaternary Science Reviews, 21, 49-70.

Andrews, J.T., Domack, E.W., Cunningham, W.L., Levanter, A., Licht, K., Jull, A.J.T., DeMaster, D.J. & Jennings, A.E. (1999). Problems and possible solutions concerning radiocarbon dating of surface marine sediments, Ross Sea, Antarctica. Quaternary Research, 52, 206-216.

Askin, R.A. (1992). Late Cretaceous-early Tertiary Antarctic outcrop evidence for past vegetation and climate. Antarctic Research Series, 56, 61-73.

Augustinus, P.C., Gore, D.B., Leisman, M.R., Zwartz, D. & Colhoun, E.A. (1997). Reconstruction of ice flow across the Bunger Hills, East Antarctica. Antarctic Science, 9, 347-354.

Banfield, L.A. & Anderson, J.B. (1995). Seismic facies investigation of the Late Quaternary glacial history of Bransfield Basin, AntarctiC. Antarctic Research Series, 68, 123-140.

Barcena, M. A., Gersonde, R., Ledesma, S., Fabr&eacute;s, J., Calafat, A.M., Canals, M., Javier, F. & Flores, J.A. (1998). Record of Holocene glacial oscillations in Bransfield Basin as revealed by siliceous microfossil assemblages.  Antarctic Science, 10, 269-285.   

Baroni, C. (1994). Notes on late-glacial retreat of the Antarctic Ice Sheet and Holocene environmental changes along the Victoria Land coast. Memoirs of National Institute of Polar Research Special Issue, 50, 85-107.

Baroni, C. & Orombelli, G. (1991). Holocene raised beaches at Terra Nova Bay, Victoria Land, Antarctica. Quaternary Research, 36, 157-177.

Baroni, C. & Orombelli, G. (1994a). Abandoned penguin rookeries as Holocene palaeoclimatic indicators in Antarctica. Geology, 22, 23-26.

Baroni, C. & Orombelli (1994b). Holocene glacier variations in the Terra Nova Bay area (Victoria Land, Antarctica). Antarctic Science, 6, 497-505.

Barrera, E. & Huber, B.T. (1993). Eocene to Oligocene oceanography and temperatures in the Antarctic Indian Ocean. Antarctic Research Series, 56, 49-65.

Barrett, P.J. (1997). Antarctic palaeoenvironment through Cenozoic times: a review. Terra Antarctica, 3, 103.119.

Barret, P.J, Hambrey, M.J. & Robinson, P.R. (1991). Cenozoic glacial and tectonic history from CIROS-1, McMurdo Sound. In: Thomson, M.R.A., Crame, J.A. & Thomson, J.W. (eds), Geological Evolution of Antarctica. Cambridge: Cambridge University Press, 651-656.

Barrett, P.J., Adams, C.J., McIntosh, W.C., Swisher, C.C. & Wilson, G.S. (1992). Geochronological evidence supporting Antarctic deglaciation three million years ago. Nature, 359, 816-818.

Barron, J., Larsen, B. & Baldauf, J.G. (1991). Evidence for late Eocene to early Oligocene Antarctic glaciation and observations on late Neogene glacial history of Antarctica: results from Leg 119. In: Barron, J. & Larsen, B. (eds), Proceedings of the Ocean Drilling Program, Scientific Results, 119. Texas, College Station, 869-891.

Barsch, D. & M&auml;usbacher, R. (1986a). Beitr&auml;ge zur Vergletscherungsgeschichte und zur Reliefentwicklung der S&uuml;dshetland Insel. Zeitschrift f&uuml;r Geomorphologie 61, 25-37.

Barsch, D. & M&auml;usbacher, R. (1986b). New data on the relief development of the South Shetland Islands, Antarctic. Interdisciplinary Science Reviews, 11, 211-218.

Bart, P.J. & Anderson, J.B. (1995). Seismic record of glacial events affecting the Pacific margin of the nortwestern Antarctic Peninsula. Antarctic Research Series, 68, 75-79.

Bentley, M.J. (1999). Volume of Antarctic ice at the Last Glacial Maximum, and its impact on global sea level change. Quaternary Science Reviews, 18, 1569-1595.

Bentley, M.J. & Anderson, J.B. (1998). Glacial and marine geological evidence for the ice sheet configuration in the Weddell Sea-Antarctic Peninsula region during the Last Glacial Maximum. Antarctic Science, 10, 309-325.

Bentley, M.J., Kubik, P.W. & Sugden, D.E. (2000). Geomorphological evidence and cosmogenic 10Be/26 Al exposure ages for the Last Glacial Maximum configuration of the Antarctic Peninsula Ice Sheet. In: Hjort, C. (ed.), Glaciation of the Weddell Sea basin. ANTIME-Workshop, Abisko, Sweden, 16-19 September 2000. Lund, Department of Quaternary Geology, 5.

Berger, A. & Loutre, M.F. (1991). Insolation values for the climate of the last 10 million years. Quaternary Science Reviews, 10, 297-317.

Berkman, P. (1994). Geochemical signatures of meltwater in mollusc shells from Antarctic coastal areas during the Holocene. Memoirs of National Institute of Polar Research, Special Issue, 50, 11-27.

Berkman, P. (1997). Ecological variability in Antarctic coastal environments: past and present. In: Battaglia, B., Valencia, J. & Walton, D.W.H. (eds), Antarctic Communities, Structure and Survival. Cambridge: Cambridge University Press, 349-357.

Berkman, P.A. & Forman, S.L. (1996). Pre-bomb radiocarbon and the reservoir correction for calcareous marine species in the Southern Ocean. Geophysical Research Letters, 23, 363-366.

Berkman, P.A., Andrews, J.T., Bj&ouml;rck, S., Colhoun, E.A., Emslie, S.D., Goodwin, I.D., Hall, B.L., Hart, C.P., Hirakawa, K., Igarashi, A., Ing&oacute;lfsson, &Oacute;., L&oacute;pez-Mart&iacute;nez, J., Lyons, W.B., Mabin, M.C.G., Quilty, P.G., Taviani, M. & Yoshida, Y. (1998). Circum-Antarctic coastal environmental shifts during the Late Quaternary reflected by emerged marine deposits. Antarctic Science, 10, 345-362.

Bird, M.L., Chivas, A.R., Radnell, C.J. & Burton, H.R. (1991). Sedimentological and stable-isotope evolution of lakes in the Vestforld Hills, Antarctica. Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology, 84, 109-130.

Birkenmajer, K. (1981). Lichenometric dating of raised marine beaches at Admirality Bay, King George Island (South Shetland Islands, West Antarctica). Bulletin de l&acute;Academie Polonaise des Sciences 29, 119-127.

Birkenmajer, K. (1987). Oligocene-Miocene glaciomarine sequences of King George Island (South Shetland Islands), Antarctica. Palaeontologia Polonica 49, 9-36.

Birkenmajer, K. (1988). Tertiary glacial and interglacial deposits, South Shetland Islands, Antarctica: geochronology versus biostratigraphy (a process report). Bulletin of the Polish Academy of Sciences, 36, 133-145.

Birkenmajer, K. (1991). Tertiary glaciation in the South Shetland Islands, West Antarctica: evaluation of data.In: Thomson, M.R.A., Crame, J.A. & Thomson, J.W. (eds), Geological Evolution of Antarctica. Cambridge: Cambridge University Press, 627-632.

Birkenmajer, K., Ochyra, R., Olsson, I.U. & Stuchlik, L. (1985). Mid-Holocene radiocarbon dated peat at Admirality Bay, King George Island (South Shetland Islands, West Antarctica. Bulletin of the Polish Academy of Sciences, 33, 7-13.

Bj&ouml;rck, S., Hjort, C., Ing&oacute;lfsson, &Oacute;. & Skog, G. (1991a). Radiocarbon dates from the Antarctic Peninsula region - problems and potential. Quaternary Proceedings, 1, 55-65.

Bj&ouml;rck, S., Malmer, N., Hjort, C., Sandgren, P., Ing&oacute;lfsson, &Oacute;., Wallen, B., Smith R.I.L. & Liedberg-J&ouml;ns&shy;son, B. (1991b). Stra&shy;tig&shy;ra&shy;phic and palaeocli&shy;ma&shy;tic studies of a 5,500 years old moss bank on Elephant Island, Antarctica. Arctic and Alpine Research 23, 361-374.

Bj&ouml;rck, S., Sandgren, P. & Zale, R. (1991c). Late Holocene Tephrochronology of the Northern Antarctic Peninsula. Quaternary Research, 36, 322-328.

Bj&ouml;rck, S., H&aring;kansson, H., Zale, R., Karl&eacute;n, W.and Liedberg-J&ouml;nsson, B. (1991d). A late Holocene lake sediment sequence from Livingston Island, South Shetland Islands, with palaeoclimatic implications. Antarctic Science, 3, 61-72

Bj&ouml;rck, S., H&aring;kansson, H., Olsson, S., Barnekow, L. & Jansens, J. (1993). Paleoclimatic studies in South Shetland Islands, Antarctica, based on numerous stratigraphic variables inlake sediments. Journal of Paleolimnology, 8, 233-272.

Bj&ouml;rck, S., H&aring;kansson, H., Olsson, S., Ellis-Evans, C., Humlum, O. & Lirio, J.M. (1996a). Late Holocene palaeoclimatic records from lake sediments on James Ross Island, Antarctica. Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology, 113, 195-220.

Bj&ouml;rck, S., Hjort, C. Ing&oacute;lfsson, &Oacute;., Zale, R. & Ising, J. (1996b). Holocene deglaciation chronology from lake sediments. In: L&oacute;pez-Mart&iacute;nez, J., Thomson, M.R.A. & Thomson, J.W. (eds.), Geomorphological map of Byers Peninsula, Livingston Island. BAS GEOMAP Series, Sheet 5-A, 1:25 000. Cambridge: British Antarctic Survey. 65 pp.

Blunier, T., Chappellaz, J., Schwander, J., Dallenbach, A., Stauffer, B., Stocker, T.F. & Raynaud, D. (1998). Asynchrony of Antarctic and Arctic climate change during the last glacial period. Nature, 394, 793-743.

Bolshiyanov, D.Y., Verkulich, S.R., Klokov, V., Makeev, V. & Arslanov, H. (1990). Radiocarbon dating of sediments from the Bunger oasis (East Antarctica). In: Wand, U. & Strauch, G. (eds.), Proceedings of 5th Working Meeting Isotopes in Nature. Leipzig: Zentralinstitut f&uuml;r Isotopenforschung, 47-52.

Bolshiyanov, D., Verkulich, S., Pushina, Z. & Kirienko, E. (1991). Some features of the Late Pleistocene and Holocene history of the Bunger Hills (East Antarctica). Abstracts Sixt International Symposium on Antarctic Earth Science. Tokyo: National Institute of Polar Research, 66-71.

Brachfeld, S. A., Banerjee, S. K, Guydo, Y. & Acton, G. D. (2002). A 13 200 year history of century to millennial-scale paleoenvironmental change magnetically recorded in the Palmer Deep, western Antarctic Peninsula. Earth and Planetary Science Letters, 194: 311-326.

Broecker, W.S. (1963). Radiocarbon ages of Antarctic materials. Polar Record 11, 472-473.

Bronge, C. (1992). Holocene climatic record from lacustrine sediments in a freshwater lake in the Vestfold Hills, Antarctica. Geografiska Annaler, 74A, 47-58.

Burgess, J.S., Spate, A.P. & Shevlin, J. (1994). The onset of deglaciation in the Larsemann Hills, Eastern Antarctica. Antarctic Science, 6, 491-495.

Burgess, J., Carson, C., Head, J. & Spate, A. (1995). Larsemann Hills: Not heavily glaciated during the Last Glacial Maximum. In: Ricci, C.A. (ed.), The Antarctic Region: Geological Evolution and Processes. Siena: Universt&agrave; degli Studi di Siena, 841-843.

Cameron, R.L., Loken, O. & Molholm, J. (1959). Wilkes Station Glaciological Data 1957-58. Ohio State University Research Foundation Report, 825-1, Part 3.

Canals, M., Urgeles, R. & Calafat, A.M. (2000). Deep sea-floor evidence of past ice streams off the Antarctic Peninsula. Geology, 28, 31-34.

Carrara, P. (1979). Former extent of glacial ice in Orville Coast region, Antarctic Peninsula. Antarctic Journal of the United States, 14, 45-46.

Carrara, P. (1981). Evidence for a former large ice sheet in the Orville Coast-Ronne Ice Shelf area, AntarctiC. Journal of Glaciology, 27, 487-491.

Ciais, P., Jouzel, J., Petit, J.R., Lipenkov, V. & White, J.W.C. (1994). Holocene temperature variations inferred from six Antarctic ice cores. Annals of Glaciology, 20, 427-436.

Clapperton, C.M. (1990). Quaternary glaciations in the Southern Ocean and Antarctic Peninsula area. Quaternary Science Reviews, 9, 229-252.

Clapperton, C.M. & Sugden, D.E. (1982). Late Quaternary glacial history of George VI Sound area, West Antarctica. Quaternary Research, 18, 243-267.

Clapperton, C.M. & Sugden, D.E. (1988). Holocene glacier fluctuations in South America and Antarctica. Quaternary Science Reviews, 7, 185-198.

Clapperton, C.M. & Sugden, D.E. (1990). Late Cenozoic glacial history of the Ross embayment, Antarctica. Quaternary Science Reviews, 9, 253-272.

Clark, J.A. & Lingle, C.S. (1979). Predicted sea-level changes (18,000 years BP to present). caused by late-glacial retreat of the Antarctic Ice Sheet. Quaternary Research, 9, 265-287.

Colhoun, E.A. (1997). A review of geomorphological research in Bunger Hills and expansion of the East Antarctic ice sheet during the Last Glacial Maximum. In: Ricci, C.A. (ed.), The Antarctic Region: Geological Evolution and Processes. Siena: Universt&agrave; degli Studi di Siena, 801-807.

Colhoun, E.A. & Adamson, D.A. (1991). Raised beaches of the Bunger Hills. In: Gilleson, D. & Fitzsimons, S. (eds.), Quaternary Research in Australian Antarctica: Future directions. Special Publication No.3. Canberra: Department of Geography and Oceanography, University College, Australian Defence Force Academy, 79-84.

Colhoun, E.A. & Adamson, D.A. (1992a). The Quaternary history of the Bunger Hills, East Antarctica. In: Yoshida, Y., Kaminuma, K. & Shiraishi, K. (eds.), Recent Progress in Antarctic Earth Science. Tokyo: Terra Scientific Publishing Company, 745-750.

Colhoun, E.A. & Adamson, D.A. (1992b). Raised beaches of the Bunger Hills. Australian National Antarctic Research Expedition Report, 136, 47 pp.

Colhoun, E.A., Mabin, M.C.G., Adamsson, D.A. & Kirk, R.M. (1992). Antarctic ice volume and contribution to sea-level fall at 20,000 yr BP from raised beaches. Nature 358, 316-319.

Conway, H., Hall, B.L., Denton, G.H., Gades, A.M. & Waddington, E.D. (1999). Past and future grounding-line retreat of the West Antarctic Ice Sheet. Science, 286, 280-283.

Cooper, A.P.R. (1997). Historical observations of Prins Gustav Ice Shelf. Polar Record, 33, 285-294.

Cunningham, W.L., Levanter, A., Andrews, J.T., Jennings, A.E. & Licht, K.J. (1999). Late Pleistocene-Holocene marine conditions in the Ross Sea, Antarctica: evidence from the diatom record. The Holocene, 9, 129-139.

Curl, J.E. (1980). A glacial history of the South Shetland Islands, AntarctiC. Institute of Polar Studies Report 63. Columbus: Institute of Polar Studies, Ohio State University, 129 pp.

Denton, G.H. (1979). Glacial history of the Byrd-Darwin Glacier area, Transantarctic Mountains. Antarctic Journal of the United States, 14, 57-58.

Denton, G.H. & Hughes, T.J (2000). Reconstruction of the Ross ice drainage system, Antarctica, at the last glacial maximum. Geografiska Annaler, 82A, 143-166.

Denton, G.H. & Marchant, D.R. (2000). The geologic basis for a reconstruction of a grounded ice sheet in McMurdo Sound, Antarctica, at the last glacial maximum. Geografiska Annaler, 82A, 167-212.

Denton, G.H., Armstrong, R.L. & Stuiver, M. (1971). The Late Cenozoic Glacial History of Antarctica. The Late Cenozoic Glacial Ages. New Haven, Yale University Press, 267-306.

Denton, G.H., Andersen, B.G. & Conway, H.W. (1986). Late Quaternary surface fluctuations of Beardmore Glacier, Antarctica. Antarctic Journal of the United States, 21, 90-92.

Denton, G.H., Bockheim, J.G., Wilson, S.C. & Stuiver, M. (1989). Late Wisconsin and Early Holocene glacial history, inner Ross Embayment, Antarctica. Quaternary Research, 31, 151-182.

Denton, G.H., Prentice, M.L. & Burckle (1991). Cainozoic history of the Antarctic ice sheet. In: Tingey, R.J. (ed.), Geology of Antarctica. Oxford: Oxford University Press, 365-433.

Denton, G.H., Sugden, D.E., Marchant, D.R., Hall, B.L. & Wilch, T.I. (1993). East Antarctica Ice Sheet sensitivity to Pliocene climate change from a Dry Valleys perspective. Geografika Annaler, 75A, 155-204.

Domack, E.W. (1992). Modern carbon-14 ages and reservoir corrections for the Antarctic Peninsula and Gerlache Strait area. Antarctic Journal of the United States, 27, 63-64.

Domack, E.W., Jull, A.J.T., Anderson, J.B., Linick, T.W. & Williams, C.R. (1989). Application of Tandem Accelerator Mass-spectrometre dating to Late Pleistocene-Holocene sediments of the East Antarctic Continental Shelf. Quaternary Research, 31, 277-287.

Domack, E.W., Jull, A.J.T. & Donahue, D.J. (1991). Holocene chronology for the unconsolidated sediments at Hole 740A: Prydz Bay, East Antarctica. Proceedings of the Ocean Drilling Program Scientific Results, 119B (207), 1-7.

Domack, E.W., Ishman, S.E., Stein, A.B., McClennen, C.E. & Jull, A.J.T. (1995). Late Holocene advance of the M&uuml;ller Ice Shelf, Antarctic Peninsula: sedimentological, geochemical and palaeontological evidence. Antarctic Science, 7, 159-170.

Domack, E.W., O&acute;Brien, P. Harris, P., Taylor, F., Quilty, P.G., DeSantis, L. & Raker, B. (1998). Late Quaternary sediment facies in Prydz Bay, East Antarctica, and their relationship to glacial advances onto the continental shelf. Antarctic Science, 10, 236-246.

Domack, E,W., Jacobson, E.A., Shipp, S. & Anderson, J.B. (1999a). Sedimentologic and stratigraphic signature of the late Pleistocene/Holocene fluctuations of the West Antarctic Ice Sheet in the Ross Sea: a new perspective Part 2. Geological Society of America Bulletin, 111, 1486-1516.

Domack, E.W., O’Brien, P., Harris, P., Taylor, F., Quilty, P.G., DeSantis, L. & Raker, B. (1999b). Late Quaternary sediment facies in Prydz Bay, East Antarctica, and their relationship to glacial advance onto the continental shelf.  Antarctic Science, 10, 236-246.

Domack, E., Hall, B.L. & Hayes, J.M. (2000). Accurate Antarctic dating technique sought by Quaternary community. EOS, 80(49), 591 and 596.

Domack, E., Levanter, A., Dunbar, R., Taylor, F., Brachfield, S., Sjunneskog, C. & ODP Leg 178 Scientific Party (2001a). Chronology of the Palmer Deep site, Antarctic Peninsula: a Holocene palaeoenvironmental reference for the circum-Antarctic. The Holocene, 11, 1-9.

Domack, E., Levanter, A., Gilbert, R., Brachfeld, S., Ishman, S., Camerlenghi, A., Gavahan, K., Carlson, D. & Barkoukis, A. (2001b). Cruise reveals history of Holocene Larsen Ice Shelf. EOS, 82(2), 13 and 16-17.

Doran, P.T., Wharton Jr., R.A. & Lyons, W.B. (1994). Paleolimnology of the McMurdo Dry Valleys, Antarctica. Journal of Paleolimnology, 10, 85-114.

Doran, P.T., Berger, G.W., Lyons, W.B., Wharton Jr., R.A., Davisson, M.L., Southon, J. & Dibb, J.E. (1999). Dating Quaternary lacustrine sediments in the McMurdo Dry Valleys, Antarctica. Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology, 147, 223-239.

Doran, P. T., Priscu, J. C., Lyons, W. B., Walsh, J. E., Fountain, A. G., McKnight, D. M., Moorhead, D. L., Virginia, R. A., Wall, D. H., Clow, G. D., Fritsen, C. H., McKay, C. P. & Parsons, A. N. (2002).  Antarctic climate cooling and terrestrial ecosystem response. Nature 517.

Dowsett, H.J. Barron, J.A. Poore, R.Z. (1996). Middle Pliocene sea-surface temperatures: a global reconstruction. Marine Micropalaeontology, 27, 13-25.

Drewry, D.J. (1983). Antarctica: Glaciological and Geophysical Folio. Cambridge, Scott Polar Research Institute, 9 sheets.

Drewry, D.J. (1979). Late Wisconsin reconstruction for the Ross Sea region, Antarctica. Journal of Glaciology, 24, 231-244.

Drewry, D.J., Jordan, S.R. & Jankowski, E. (1982). Measured properties of the Antarctic ice sheet: Surface configurations, ice thickness, volume and bedrock characteristics. Annals of Glaciology, 3, 83-91.

Elverh&oslash;i, A. (1981). Evidence for a late Wisconsin glaciation of the Weddell Sea. Nature, 293, 641-642.

Elverh&oslash;i, A. & Maisey, G. 1983. Glacial erosion and morphology of the eastern and southeastern Weddell Sea shelf. In: Oliver, R.L., James, P.R. & Jago, , J.B. (eds.), Antarctic Earth Science. Canberra, Australian Academy of Sciences, 483-487.

Emiliani, C. (1969). Interglacial high sea levels and the control of Greenland ice by the precession of the equinoxes. Science, 166, 1503-1504.

Emslie, S.D. (1995). Age and taphonomy of abandoned penguin rookeries in the Antarctic Peninsula. Polar Record, 31, 409-418.

Emslie, S.D. (2001). Radiocarbon dates from abandoned penguin colonies in the Antarctic Peninsula region. Antarctic Science, 13, 289-295.

Emslie, S.D., Fraser, W., Smith, R.C. & Walker, W. (1998). Abandoned penguin colonies and environmental change in the Palmer Station area, Anvers Island, Antarctic Peninsula. Antarctic Science, 10, 257-268.

Fabres, J., Calafat, A., Canals, M., Barcena, M.A. & Flores, J.A. (2000). Bransfield Basin fine-grained sediments: late-Holocene sedimentary processes and Antarctic oceanographic conditions. The Holocene, 10, 703-718.

Fairbanks, R.G., (1989). A 17,000-year glacio-eustatic sea level record. Nature, 342, 637-642.

Fenton, J.H.C. (1980). The rate of peat accumulation in Antarctic moss banks. Journal of Ecology, 68, 211-228.

Fenton, J.H.C. (1982). The formation of vertical edges on Antarctic moss peat banks. Arctic and Alpine Research, 14, 21-26.

Fitzsimons, S.J. (1997). Depositional models for moraine formation in East Antarctic coastal oases. Journal of Glaciology, 43, 256-264.

Fitzsimons, S.J. & Colhoun, E.A. (1995). Form, structure and stability of the margin of the Antarctic ice sheet, Vestfold Hills and Bunger Hills, East Antarctica. Antarctic Science, 2, 171-179.

Fitzsimons, S.J. & Domack, E.W. (1993). Evidence for early Holocene deglaciation of the Vestfold Hills, Antarctica. Polar Record, 29, 237-240.

Flemming, R.F. & Barron, J.A. (1996). Evidence of Pliocene Nothofagus in Antarctica from Pliocene marine sedimentary deposits (DSDP Site 274). Marine Micropalaeontology, 27, 227-236.

Flemming, K., Johnston, P., Zwartz, D., Yokoyama, Y., Lambeck, K. & Chappell, J. (1998). Refining the eustatic sea-level curve since the Last Glacial Maximum using far- and intermediate-field sites. Earth and Planetary Science Letters, 163, 327-342.

Francis, J.E. (1995). 381 growth forms of fossil trees and climatic implications for the Pliocene Sirius Group, Dominion Range, Transantarctic Mountains. VII International Symposium on Antarctic Earth Sciences Abstracts. Siena, Typografia Senese, 142

Fraser, W.R., Trivelpiece, W.Z., Ainley, D.G. & Trivelpiece S.G. (1992). Increases in Antarctic penguin populations: Reduced competition with whales or a loss of sea ice due to environmental warming. Polar Biology, 11, 525-531.

Fulford-Smith, S.P. & Sikes, E.L. (1996). The evolution of Ace Lake, Antarctica, determined from sedimentary diatom assemblages. Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology, 124, 73-86.

F&uuml;tterer, D.K. & Melles, M. (1990). Sediment patterns in southern Weddell Sea: Filchner shelf and Filchner depression. In: Bleil, U. & Thiede, J. (Eds), Geological History of the Polar Oceand: Arctic versus Antarctic. Boston, Kluwer Academic Publishers, 381-401

Gersonde, R. & Zielinski, U. (2000). The reconstruction of late Quaternary Antarctic sea-ice distribution – the use of diatoms as a proxy for sea-ice. Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology, 162, 263-286.

Gillieson, D.S. (1991). An environmental history of two freshwater lakes in the Larsemann Hills, Antarctica. Hydrobiologia, 214, 327-331.

Gingele, F., Kuhn, G., Maus, B., Melles, M. & Sch&ouml;ne, T. (1997). Holocene ice retreat from the Lazarev Sea shelf, East Antarctica. Continental Shelf Research, 17(2), 137-163.

Goodwin, I.D. (1993). Holocene deglaciation, sea-level change, and the emergence of the Windmill Islands, Budd Coast, Antarctica. Quaternary Research, 40 70-80.

Goodwin, I. D. (1996). A mid to late Holocene readvance of the Law Dome ice margin, Budd Coast, East Antarctica. Antarctic Science, 8, 395-406.

Goodwin, I.D. (1998). Did changes in Antarctic ice volumes influence late Holocene sea-level lowering. Quaternary Science Reviews, 17, 319-332.

Goodwin, I.D. & Zweck, C. (2000). Glacio-isostasy and glacial ice load at Law Dome, Wilkes Land, East Antarctica. Quaternary Research, 53, 285-293.

Gordon, J.E. & Harkness, D.D. (1992). Magnitude and geographic variation of the radiocarbon content in Antarctic marine life: implications for reservoir corrections in radiocarbon dating. Quaternary Science Reviews, 11, 697-708.

Gore, D.B. (1997). Blanketing snow and ice; constraints on radiocarbon dating deglaciation in East Antarctic oases. Antarctic Science, 9, 336-346.

Grobe, H. & Mackensen, A (1992). Late Quaternary climate cycles as recorded in sediments from the Antarctic continental margin. Antarctic Research Series, 56, 349-376.

Grobe, H., Huybrechts, H. & Futterer, D.K. (1993). Late Quaternary record of sea-level changes in the Antarctic. Geologische Rundshau, 82, 263-275.

H&aring;kansson, H., Olsson, S. & Bj&ouml;rck, S. (1995). Diatom records and sediment chemistry of a shallow glaciolacustrine basin on James Ross Island, AntarctiC. PACT, 50, 417-430.

Hall, B.L. (1997). Geological Assessment of Antarctic Ice Sheet Stability. Ph.D. thesis, University of Maine, Orono, 324 pp. (unpublished).

Hall, B.L. & Denton, G.H. (1999). New relative sea-level curves for the southern Scott Coast, Antarctica: evidence for Holocene deglaciation of the Ross Sea. Journal of Quaternary Science, 14, 641-650.

Hall, B.L. & Denton G.H. (2000). Radiocarbon chronology of Ross Sea Drift, Eastern Taylor Valley, Antarctica: Evidence for a grounded ice sheet in the Ross Sea at the Last Glacial Maximum. Geografiska Annaler, 82, 305-336.

Hambrey, M.J. (1993). Cenozoic sedimentary and climatic record, Ross Sea Region, Antarctica. Antarctic Research Series, 60, 91-124.

Hambrey, M.J., Larsen, B. & Ehrmann, W.U. (1989). Forty million years of Antarctic glacial history yielded by Leg 119 of the Ocean Drilling Program. Polar Record 25, 99-106.

Hambrey, M.J., Ehrmann, W.U. & Larsen, B. (1991). Cenozoic glacial record of the Prydz Bay continental shelf, East Antarctica. Proceedings of the Ocean Drilling Programme, Scientific Results, 119, 77-132.

Hansom, J.D. & Flint, C.P. (1989). Short notes. Holocene ice fluctuations on Brabant Island, Antarctic Peninsula. Antarctic Science, 1, 165-166.

Harden, S.L., DeMaster, D.J. & Nittrouer, C.A. (1992). Developing sediment geochronologies for high-latitude continental shelf deposits: a radiochemical approach. Marine Geology, 103, 69-97.

Harris, P.T. & O’Brien, P.E. (1996). Geomorphology and sedimentology of the continental shelf adjacent to to Mac Robertson Land, East Antarctica. Geo-Marine Letters, 16, 287-296.

Harris, P.T. & O&acute;Brien, P.E. (1998). Bottom currents, sedimentation and ice-sheet retreat facies successions on the Mac Robertson shelf, East Antarctica. Marine Geology, 151, 47-72.

Harris, P.T., Taylor, F., Domack, E., DeSantis, L., Goodwin, I., Quilty, P.G. & O’Brien, P.E. (1997). Glacimarine siliclastic muds from Vincennes Bay, East Antarctica; preliminary results of an Exploratory Cruise in 1997. Terra Antarctica, 4, 11-20.

Hayashi, M. & Yoshida, Y. (1994). Holocene raised beaches in the L&uuml;tzow-Holm Bay region, East Antarctica. Memoirs of National Institute of Polar Research Special Issue, 50, 49-84.

Heine, J.C. & Speir, T.W. (1989). Ornithogenic soils of the Cape Bird Ad&eacute;lie penguin rookeries, Antarctica. Polar Biology, 10, 89-99.

Hiemstra, J. F., (2001). Microscopic analyses of Quaternary glacigenic sediments of Marguerite Bay, Antarctic Peninsula. Arctic, Antarctic and Alpine Research, 33, 258-265.

Hill, R.S & Trustwell, E.M. (1993). Nothofagus fossils in the Sirius Group, Transantarctic Mountains; leaves and pollen and their climatic implications. Antarctic Research Series, 60, 67-73.

Hiller, A., Wand, U., K&auml;mpf, H. & Stackebrandt, W. (1988). Occupation of the Antarctic continent by petrels during the past 35000 years: inferences from a 14C study of stomach oil deposits. Polar Biology, 9, 69-77.

Hirakawa, K., Ono, Y., Hayashi, M., Aniya, M., Iwata, S., Fujiwara, K., Moriwaki, K. & Yoshida, Y. (1984). Antarctic Geomorphological Map of Langhovde. Tokyo, National Institute of Polar Research, 63 pp.

Hjort, C. & Ing&oacute;lfsson, &Oacute;. (1990). Studies of the Glacial History in the Antarctic Peninsula Area. In: Karlqvist, A. (ed), Swedish Antarctic Research Programme 1988/89 – A Cruise Report. Stockholm, Swedish Polar Research Secretary, 76-80.

Hjort, C., Ing&oacute;lfsson, &Oacute;., M&ouml;ller, P. & Lirio, J.M. (1997). Holocene glacial history and sea-level changes on James Ross Island, Antarctic Peninsula. Journal of Quaternary Science, 12, 259-273.

Hjort, C., Bj&ouml;rck, S., Ing&oacute;lfsson, &Oacute;. & M&ouml;ller, P. (1998). Holocene deglaciation and climate history of the northern Antarctic Peninsula region - a discussion of correlations between the Southern and Northern Hemispheres. Annals of Glaciology, 27, 110-112.

Hjort, C., Ing&oacute;lfsson, &Oacute;. Bentley, M. J., and Bj&ouml;rck, S. in press: The late Pleistocene and Holocene glacial and climate history of the Antarctic Peninsula region as documented by land and lake sediment records – a review. In Domack E. W., Leventer, A., Burnett, A., Kirby, and Bindschadler, R. (eds.), Antarctic Peninsula Climate Variability: a Historical and Paleoenvironmental Perspective. American Geophysical Union, Antarctic Research Series XX: 000-000.

Hjort, C., Bentley, M.J. & Ing&oacute;lfsson, &Oacute;. (2001). Holocene and pre-Holocene temporary disappearance of the George VI Ice Shelf, Antarctic Peninsula. Antarctic Science, 13, 296-301.

Hollin, J.T. (1962). On the glacial history of Antarctica. Journal of Glaciology, 4, 173-195.

Hughes, T.J. (1975). The West Antarctic Ice Sheet: Instability, disintegration and the initiation of ice ages. Reviews of Geophysics and Space Physics, 15, 1-46.

Hughes, T.J. (1987). Deluge II and the continent of doom: rising sea level and collapsing Antarctic ice. Boreas, 16, 89-100.

Hughes, T.J., Denton, G.H., Andersen, B.G., Schilling, D.H., Fastook, J.L. & Lingle, C.S. (1981). The last great ice sheets: A global view. In: Denton, G.H. & Hughes, T.J. (eds.), The Last Great Ice Sheets. New York: John Wiley & Sons, 263-317.

Igarashi, A., Harada, N. & Moriwaki, K. (1995). Marine fossils of 30-40 m raised beach deposits and late Pleistocene glacial history around Lutzow-Holm Bay, East Antarctica. Proceedings NIPR Symposium on Antarctic Geosciences, 8, 219-229.

Ing&oacute;lfsson, &Oacute;., Hjort, C., Bj&ouml;rck, S. & Smith, R.I.L. (1992). Late Pleistocene and Holocene glacial history of James Ross Island, Antarctic Peninsula. Boreas, 21, 209-222.

Ing&oacute;lfsson, &Oacute;., Hjort, C., Berkman, P., Bj&ouml;rck, S., Colhoun, E., Goodwin, I.D., Hall, B., Hirakawa, K., Melles, M., M&ouml;ller, P. & Prentice, M. (1998). Antarctic glacial history since the Last Glacial Maximum: an overview of the record on land. Antarctic Science, 10, 326-344.

Ing&oacute;lfsson, &Oacute;. & Hjort, C. (1999). The Antarctic contribution to Holocene global sea-level rise. Polar Research, 18, 323-330.

Ing&oacute;lfsson, &Oacute;. & Hjort, C. (in press). Glacial and climate history of the Antarctic Peninsula since the Last Glacial Maximum. Arctic, Antarctic and Alpine Research, 34, 000-000.

John, B.S. (1972). Evidence from the South Shetland Islands toward a glacial history of West Antarctica. Institute of British Geographers, Special Publication, 4, 75-89.

John, B.S. & Sugden, D.E. (1971). Raised marine features and phases of glaciation in the South Shetland Islands. British Antarctic Survey Bulletin, 24, 45-111.

Johnson, C.G. & Vestal, J.R. (1991). Photosythetic carbon incorporation and turnover in Antarctic cryptoendolithic microbial communities: are they the slowest-growing communities on Earth? Applied and Environmental Microbiology, 57, 2308-2311.

Jones, V.J., Hodgson, D.A. & Chepstow-Lusty, A. (2000). Palaeolimnological evidence for marked Holocene environmental changes on Signey Island, Antarctica. The Holocene, 10, 43-60.

Jonsson, S. (1988). Observations on physical geography and glacial history of the Vestfjella nunataks in western Dronning Maud Land, Antarctica. Naturgeografiska Institutionen, Stockholms Universitet, Rapport, 68. 57 pp.

Jouzel, J., Lorius, C., Petir, J.R., Genthon, C., Barkov, N.I., Kotlyakov, V.M. & Petrov, V.M. (1987). Vostok ice core: a continuous isotope temperature record over the last climatic cycle (160,000 years). Nature, 329, 403-408.

Kellogg, T.B., Kellogg D.E. & Stuiver, M. (1990). Late Quaternary history of the southwestern Ross Sea: evidence from debris bands on the McMurdo Ice Shelf, Antarctica. In: Bentley, C.R. (ed.), Contributions to Antarctic Research I. Washington D.C.: American Geophysical Union, 25-56.

Kellogg, T.B., Hughes, T. & Kellogg, D.E. (1996). Late Pleistocene interactions of East and West Antarctic ice-flow regimes: evidence from the McMurdo Ice Shelf. Journal of Glaciology, 42, 486-500.

Kennedy, D.S. & Anderson, J.B. (1989). Glacial-marine sedimentation and Quaternary glacial history of Marguerite Bay, Antarctic Peninsula. Quaternary Research, 31, 255-276.

Kennett, J.P. (1977). Cenozoic evolution of Antarctic glaciation, the circum-Antarctic ocean, and their impact on global palaeoceanography. Journal of Geophysical Research, 82, 3843-3860.

Kennett, J.P. & Barker, P.F. (1990). Latest Cretaceous to Cenozoic climate and oceanographic developments in the Weddell Sea, Antarctica: an ocean drilling perspective. Proceedings of the Ocean Drilling Programme, Scientific Results, 113, 937-960.

Kennett, J.P. & Hodell, D.A. (1993). Evidence for relative climatic stability of Antarctica during the early Pliocene: a marine perspective. Geografiaka Annaler, 75A, 205-220.

Kennett, J.P. & Stott, L.D. (1990). Proteus and Proto-oceanus: ancestral Paleogene oceans as revealed from Antarctic stable isotopic results. Proceedings of the Ocean Drilling Program, Scientific Results, 113, 865-880.

King, J.C. (1994). Recent climate variability in the vicinity of the Antarctic Peninsula. International Journal of Climatology, 14, 357-369.

Kirby, M. E., Domack, E. W. & McClennen, C. E. (1998): Magnetic stratigraphy and sedimentology of Holocene glacial marine deposits in the Palmer Deep, Bellingshausen Sea, Antarctica: implications for climatic change. Marine Geology, 152, 247-259.

Kulbe, T., Melles, M., Verkulich, S.R. & Pushina, Z.V. (2001). East Antarctic climate and environmental variability over the last 9400 years inferred from marine sediments in the Bunger Oasis. Arctic, Antarctic, and Alpine Research, 33, 223-230.

Larter, R.D. & Barker, P.F. (1989). Seismic stratigraphy of the Antarctic Peninsula margin: a record of Pliocene-Pleistocene ice volume and palaeoclimate. Geology, 17, 731-734.

Larter, R.D. & Barker, P.F. (1991). Neogene interaction of tectonic and glacial processes at the Pacific margin of the Antarctic Peninsula. In: Macdonald, D.I.M. (ed.), Sedimentat&shy;ion, tectonics and eustasy: International Association of Sedimentologists Special Publication, 12, 165-186.

Larter, R.D. & Vanneste, L.E. (1995). Relict subglacial deltas on the Antarctic Peninsula outer shelf. Geology, 23, 33-36.

Levanter, A., Domack, E. W., Ishman, S. E., Brachfeld, S., McClennen, C. E. & Manley, P. (1996). Productivity cycles of 200-300 years in the Antarctic Peninsula region: understanding linkages among the sun, atmosphere, oceans, sea ice, and biota. Geological Society of America Bulletin, 108, 1642-1644.

Licht, K.J., Jennings, A.E., Andrews, J.T. & Williams, K.M. (1996). Chronology of the late Wisconsin ice retreat from the western Ross Sea, Antarctica. Geology, 24, 223-226.

Licht, K.J., Dunbar, N.W., Andrews, J.T. & Jennings, A.E. (1999). Distinguishing subglacial till and glacial marine diamictons in the western Ross Sea, Antarctica: implications for last glacial maximum grounding line. Geological Society of America Bulletin, 111, 91-103.

Lintinen, P. & Nenonen, J. (1997). Glacial history of the Vestfjella and Heimefrontfjella nunatak ranges in western Dronning Maud Land, Antarctica. In: Ricci, C.A. (ed.), The Antarctic Region: Geological Evolution and Processes. Siena: Universt&agrave; degli Studi di Siena, 845-852.

L&oacute;pez-Mart&iacute;nez, J., Thomson, M.R.A., Arche, A., Bj&ouml;rck, S., Ellis-Evans, J.C., Hathway, B., Hern&aacute;ndez-Cifuentes, F., Hjort, C., Ing&oacute;lfsson, &Oacute;., Ising, J., Lomas, S., Mart&iacute;nez de Pis&oacute;n, E., Serrano, E., Zale, R. & King, S. (1996). Geomorphological map of Byers Peninsula, Livingston Island. BAS GEOMAP Series, Sheet 5-A, 1:25 000, with supplementary text. Cambridge, British Antarctic Survey, 65 pp.

Lorius, C., Jouzel, J., Ritz, C., Merlivat, L., Narkov, N.I., Korotkevich, Y.S. & Kotlyakov, V.M. (1985). A 150,000-year climatic record from Antarctic ice. Nature 316, 591-596.

Lorius, C., Jouzel, J. & Raynaud, D. (1993). Glacials-interglacials in Vostok: climate and greenhouse gases. Global Planetary Change, 7, 131-143.

Lyons, W.B., Tyler, S.W., Wharton, R.A., McKnight, D.M. & Vaughn, B.H. (1998). Late Holocene desiccation of Lake Hoare and Lake Fryxell, McMurdo Dry Valleys, Antarctica. Antarctic Science, 10, 247-256.

Mabin, M.C.G. (1985). 14C ages for ”heroic era” penguin and seal bones from Inexpressible Island, Terra Nova Bay, North Victoria Land. New Zealand Antarctic Record, 6, 24-25.

Mabin, M.C.G. (1986). The Ross Sea section of the Antarctic ice sheet at 18,000 BP: evidence from Holocene sea-level changes along the Victoria Land coast. South African Journal of Science, 82, 506-508.

Mackensen, A., Grobe, H., Kuhn, G. & F&uuml;tterer, D.K. (1989). Stable isotope stratigraphy from the Antarctic continental margin during the last one million years. Marine Geology, 87, 315-321.

Maemoku, H., Miura, H., Saigusa, S. & Moriwaki, K. (1997). Stratigraphy of Late Quaternary raised beach deposits in the northern part of Langhovde, Lutzow-Holm Bay, East Antarctica. Proceedings NIPR Symposium on Antarctic geosciences, 10, 178-186.

Martinez-Macchiavello, J.C., Tatur, A., Servant-Vildary, S. & Del Valle, R. (1996). Holocene environmental change in a marine-estuarine-lacustrine sediment sequence, King George Island, South Shetland Islands. Antarctic Science, 8, 313-322.

Masson, V., Vimeux, F., Jouzel, J., Morgan, V., Delmotte, M., Ciais, P., Hammer, C., Johnsen, S., Lipenkov, V.Y., Mosley-Thompson, E., Petit, J.R., Steig, E.J., Stievenard, M. & Vaikmae, R. (2000). Holocene climate variability in Antarctica based on 11 ice-core isotopic records. Quaternary Research, 54, 348-358.

M&auml;usbacher, R. (1991). Die Jungkvart&auml;re Relief- und Klimageschichte im Bereich der Fildeshalbinsel, S&uuml;d-Shetland-Inseln, Antarktis. Heidelberger Geographische Arbeiten, 89, 207 pp.

M&auml;us&shy;bacher, R., M&uuml;ller, J. & Schmidt, R. (1989). Evolution of postglacial sedimentation in Antarctic lakes. Zeitschrift f&uuml;r Geomorphologie, 33, 219-234.

Mayewski, P.A. (1975). Glacial geology and late Cenozoic history of the Transantarctic Mountains, Antarctica. Institute of Polar Studies Report, 56, 1-168.

McMinn, A. (2000). Late Holocene increase in sea ice extent in fjords of the Vestfold Hills, eastern Antarctica. Antarctic Science, 12, 80-88.

McMinn, A., Hejnis, H., Harle, K. & McOrist, G. (2001). Late-Holocene climate change recorded in sediment cores from Ellis Fjord, eastern Antarctica. The Holocene, 11, 291-300.

McKelvey, B.C. (1991). The Cainozoic glacial record in south Victoria Land: a geological evaluation of the McMurdo Sound drilling projects. In: Tingey, R.J. (ed.), The Geology of Antarctica. Oxford, Clarendon Press, 434-454.

Melles, M. (1991). Pal&auml;oglaziologie und Pal&auml;ozeanographie im Sp&auml;tquart&auml;r am Kontinentalrand des s&uuml;dlichen Weddellmeres, Antarktis. Berichte zur Polarforshung, 81, 1-190.

Melles, M., Verkulich, S.R. & Hermichen, W-D. (1994). Radiocarbon dating of lacustrine and marine sediments from the Bunger Hills, East Antarctica. Antarctic Science, 6, 375-378.

Melles, M., Kulbe, T., Verkulich, S.R., Pushina, Z.V. & Hubberten, H.-W. (1997). Late Pleistocene and Holocene environmental history of Bunger Hills, East Antarctica, as revealed by fresh-water and epishelf lake sediments. In: Ricci, C.A. (ed.), The Antarctic Region: Geological Evolution and Processes. Siena: Universt&agrave; degli Studi di Siena, 809-820.

Mercer, J.H. (1968). Antarctic ice and Sangamon sea level. Commission of Snow and Ice Reports and Discussions, Publication no. 79 De L&acute;Association Internationale D&acute;Hydrologie Scientifique, 217-225.

Mercer; J.H. (1972). Some observations on the glacial geology of the Beardmore Glacier area. In: Adie, R.D. (ed.), Antarctic Geology and Geophysics. Oslo, Universitetsforlaget, 427-433.

Mercer, J.H. (1978). Glacial development and temperature trends in the Antarctic and in South America. In: van Zinderen, E.M. (ed.), Antarctic Glacial History and World Paleoenvironments. Rotterdam, A.A. Balkema, 73-79.

Mercer, J.H. (1981). Terrestrial deposit of the Ross Ice Shelf area, Antarctica. In: Hambrey, M.J. & Harland, W.B. (eds.), Earths Pre-Pleistocene Glacial Record. Cambridge, Cambridge University Press, 204-207.

Miller, K.G., Wright, J.D. & Fairbanks, R.G. (1991). Unlocking the ice house: Oligocene-Miocene oxygen isotopes, eustasy, and margin erosion. Journal of Geophysical Research, 96, 6829-6848.

Moriwaki, K., Yoshida, Y. & Harwood, D.M. (1992). Cenozoic glacial history of Antarctica - a correlative synthesis. In: Yoshida, Y., Kaminuma, K. & Shiraishi, K. (eds.), Recent Progress in Antarctic Earth Science. Tokyo, Terra Scientific Publishing Company, 773-780.

M&ouml;ller, P. (1995). Subrecent moraine ridge formation on Cuff Cape, Victoria Land, Antarctica. Geografiska Annaler, 77A, 83-94.

Nichols, R.L. (1968). Coastal geomorphology, McMurdo Sound, Antarctica. Journal of Glaciology, 7, 449-478.

Nienow, J.A. & Friedmann, E.I. (1993). Terrestrial lithophytic (rock). communities. In: Friedmann, E.I. (ed.), Antarctic Microbiology. New York, John Wiley & Sons, 343-412.

O&acute;Brien, P.E. & Harris P.T. (1996). Patterns of glacial erosion and deposition in Prydz Bay and the past behaviour of the Lambert Glacier. Papers and Proceedings of Royal Society of Tasmania, 130, 79-85.

O&acute;Brien, P.E., DeSantis, L., Harris, P.T., Domack, E. & Quilty, P. (1999). Ice shelf grounding zone features of western Prydz Bay, Antarctica: sedimentary processes from seismic and sidescan images. Antarctic Science, 11, 78-91.

Omoto, K. (1977). Geomorphic development of the S&ocirc;ya Coast, East Antarctica. Science Reports of Tohoku University, 7th Series, 27, 95-148.

Omoto, K. (1983). The problem and significance of radiocarbon geochronology in Antarctica. In: Oliver, R.L, James, P.R. & Jago, J.B. (eds.), Antarctic Earth Science. Cambridge, Cambridge University Press, 205-209.

Orombelli, G., Baroni, C. & Denton, G.H. (1991). Late Cenozoic glacial history of the Terra Nova Bay region, Northern Victoria Land, Antarctica. Geografia Fisica Dinamica Quaternaria, 13, 139-163.

Payne, A.J.D., Sugden, D.E. & Clapperton, C.M. (1989). Modelling the growth and decay of the Antarctic Peninsula ice sheet. Quaternary Research, 31, 119-134.

Petit, J.R, Basile, I., Leruyuet, A., Raynaud, D., Lorius, C., Jouzel, J., Stievenard, M., Lipenkov, V.Y., Barkov, N.I., Kudryashov, B.B., Davis, M., Saltzman, E. & Kotlyakov, V. (1997). Four climate cycles in Vostok ice core. Nature, 387, 359-360.

Petit, J.R., Jouzel, J., Raynaud, D., Barkov, N.I., Barnola, J-M., Basile, I., Bender, M. & Chappallaz, J. (1999). Climate and atmospheric history of the past 420,000 years from the Vostok ice core, AntarctiC. Nature, 399, 429-436.

Pickard, J. (1982). Holocene winds of the Vestfold Hills, Antarctica. New Zealand Journal of Geology and Geophysics, 25, 353-358.

Pickard, J. (1985). The Holocene fossil marine macrofauna of the Vestfold Hills, East Antarctica. Boreas, 14, 189-202.

Pickard, J. & Seppelt, R.D. (1984). Holocene occurrence of the moss bryum algens Card. in the Vestfold Hills, Antarctica. Journal of Bryology, 13, 209-217.

Pickard, J., Adamson, D.A. & Heath, C.W. (1986). The evolution of Watts Lake, Vestfold Hills, East Antarctica, from marine inlet to freshwater lake. Palaeogeography, Palaeoclimato&shy;logy, Palaeoecology, 53, 271-288.

Pickard, J., Selkirk, P.M. & Selkirk, D.R. (1984). Holocene climates of the Vestfold Hills, Antarctica and Macquarir Island. In: Vogel, J.C. (ed.), Late Cainozoic Paleoclimates of the Southern Hemisphere. Rotterdam, A.A.Balkema, 173-182.

Pope, P.G. & Anderson, J.B. (1992). Late Quaternary glacial history of the northern Antarctic Peninsula&acute;s western continental shelf: evidence from the marine record. American Geophysical Union, Antarctic Research Series, 57, 63-91.

Powell, R.D., Hambrey, M.J. & Krissek, L.A. (1998). Quaternary and Miocene glacial and climatic history of the Cape Roberts drillsite region, Antarctica. Terra Antarctica, 5, 341-351.

Prentice, M.J. & Fastook, J.L. (1990). Late Neogene Antarctic ice sheet dynamics; ice model-data convergence. EOS, 71, 1378.

Prentice, M.J. & Mathews, R.K. (1988). Cenozoic ice-volume history: development of a composite oxygen isotope record. Geology, 17, 963-966.

Pudsey, C.J. & Evans, J. (2001). First survey of Antarctic sub-ice shelf sediments reveals mid-Holocene ice shelf retreat. Geology, 29, 787-790.

Pudsey, C.J., Barker, P.F. & Larter, R.D. (1994). Ice sheet retreat from the Antarctic Peninsula Shelf. Continental Shelf Research, 14, 1647-1675.

Pudsey, C.J., Domack, E.W., Evans, J., Morris, P. & Del Valle, R.A. (2001). Bathymetry and acoustic facies beneath the former Larsen-a and Prince Gustav Ice Shelves, NW Weddell Sea. Antarctic Science, 13, 312-322.

Quilty, P.G. (1992). Late Neogene sediments of coastal East Antarctica. In: Yoshida, Y., Kaminuma, K. & Shiraishi, K. (eds.), Recent Progress in Antarctic Earth Science. Tokyo, Terra Scientific Publishing Company, 699-705.

Rabassa, J. (1983). Stratigraphy of the glacigenic deposits in northern James Ross Island, Antarctic Peninsula. In: Evenson, E., Scl&uuml;chter, C. & Rabassa, J. (eds.), Tills and Related Deposits. Rotterdam, A.A. Balkema Publishers, 329-340.

Richter, W. & Bormann, P. (1995). Geomorphology. In: Bormann, P. & Fritzsche, D. (eds.), The Schirmacher Oasis, Queen Maud Land, East Antarctica, and its surroundings. Gotha, Justus Perthes Verlag, 171-190.

Robert, C. & Kennett, J.P. (1994). Antarctic subtropical humid episode at the Paleocene-Eocene boundary; clay mineral evidence. Geology, 22, 211-214.

Roberts, D. & McMinn, A. (1996). Relationships between surface sediment diatom assemblages and water chemistry gradients in saline lakes of the Vestfold Hills, Antarctica. Antarctic Science, 8, 331-341.

Roberts, D. & McMinn, A. (1999). A diatom-based palaeosalinity history of Ace Lake, Vestfold Hills, Antarctica. The Holocene, 9, 401-408.

Roberts, D., McMinn, A. & Zwartz, D. (2000). An initial palaeosalinity history of Jaw Lake, Bunger Hills, based on a diatom-salinity transfer function applied to sedimentary cores. Antarctic Science, 12, 172-176.

Rott, H., Rack, W., Nagler, T. & Skvarca, P. (1998). Climatically induced retreat and collapse of northern Larsen Ice Shelf, Antarctic Peninsula. Annals of Glaciology, 27, 86-92.

Rozycki, S. Z. (1961). Changements Pleistocenes de l&acute;extesion de l&acute;Inlandis en Antactide Orientale d&acute;apr&egrave;s l&acute;&eacute;tude des anciennes plages &eacute;lev&eacute;es de l&acute;Oasis Bunger, Queen&acute;s Mary Land. Biuletyn Peryglacjalny, 10, 257-283.

Sawagaki, T. & Hirakawa, K. (1997). Erosion of bedforms by subglacial meltwater, Soya Coast, East Antarctica. Geografiska Annaler, 79(A), 223-238.

Scambos, T. A. (2000). The link between climate warming and break-up of ice shelves in the Antarctic Peninsula. Journal of Glaciology, 46, 516-530.

Scherer, R.P., Aldahan, A., Tulaczyk, S., Possnert, G., Engelhardt, H. & Kamb, B. (1998). Pleistocene collapse of the West Antarctic Ice Sheet. Science, 281, 82-85.

Schmidt, R., M&auml;usbacher, R. & M&uuml;ller, J. (1990). Holocene diatom flora and stratigraphy from sediment cores of two Antarctic lakes (King George Island). Journal of Paleolimnology, 3, 55-74.

Sedwick, P.N., Harris, P.T., Robertson, L.G., McMurtry, G.M., Cremer, M.D. & Robinson, P. (2001). Holocene sediments from the continental shelf of MacRobertson Land, East Antarctica. Paleoceanography, 16, 212-225.

Schackleton, N.J. & Kennett, J.P. (1975). Paleotemperature history of the Cainozoic and the initiation of Antarctic glaciation: oxygen and carbon analyses in DSDP sites 277, 279 and 281. Initial Reports of the Deep Sea Drilling Project, 29, 743-755.

Shevenell, A.E., Domack, E.W. & Kernan, G.M. (1996). Record of Holocene palaeoclimate change along the Antarctic Peninsula: evidence from glacial marine sediments, Lallemand Fjord. Papers and Proceedings of the Royal Society of Tasmania, 130, 55-64.

Shipp, S.J. & Anderson, J.B. (1994). High-resolution seismic survey of the Ross Sea continental shelf: implications for ice-sheet retreat behaviour. Antarctic Journal of the United States, 29(5), 137-138.

Shipp, S.J., Anderson, J.B. & Domack, E.W. (1999). Seismic signature of the Late Pleistocene fluctuations of the West Antarctic Ice Sheet system in Ross Sea: a new perspective, Part I. Geological Society of America Bulletin, 111, 1486-1516.

Shipp, S.J., Anderson, J.B., DeSantis, L, Bartek, L.R. Alonso, B. & Zayatz, I. (1994). High- to intermediate resolution seismic stratigraphic analysis of mid-late Miocene to Pleistocene strata in eastern Ross Sea: implications for changing glacial/climate regime. Terra Antarctica, 1, 381-384.

Skvarca, P. Rack, W., Rott, H. & Donangelo, T.L. (1999). Climatic trends and the retreat and disintegration of ice shelves on the Antarctic Peninsula: An overview. Polar Research, 18, 151-157.

Sloan, B.J., Lawer, L.A. & Anderson, J.B. (1995). Seismic stratigraphy of the Palmer Basin. Antarctic Research Series, 68, 235-260.

Smith, R.C., Stammerjohn, S.E. & Baker, K.S. (1996). Surface air temperature variations in the western Antarctic Peninsula region. In: Ross, R.M., Hoffman, E.E. & Quetin, L.B. (eds.), Foundations for Ecological Research West of the Antarctic Peninsula. Washington, American Geophysical Union, 105-121.

Smith, R.C., Ainley, D., Baker, K., Domack, E., Emslie, S., Fraser, S., Kennett, Levanter, A., Mosley-Thompson, E., Stammerjohn, S. & Vernet, M. (1999). Marine ecosystem sensitivity to climate change. BioScience, 49, 393-404.

Speir, T.W. & Cowling, J.C. (1984). Ornithogenic soils of the Cape Bird Ad&eacute;lie penguin rookeries, Antarctica. 1. Chemical properties. Polar Biology, 2, 199-205.

Squyres, S.W., Andersen, D.W., Nedell, S.S. & Wharton Jr., R.A. (1991). Lake Hoare, Antarctica: sedimentation through thick perennial ice cover. Sedimentology, 38, 363-379.

Stackebrandt, W. (1995). Moraines around lake Untersee - indicators of the Late Quaternary regional glacial history. In: Bormann, P. & Fritzsche, D. (eds.), The Schirmacher Oasis, Queen Maud Land, East Antarctica, and its surroundings. Gotha, Justus Perthes Verlag, 237-242.

Stark, P. (1994). Climatic warming in the central Antarctic Peninsula area. Weather 49, 215-220.

Steig, E.J., Brook, E.J., White, J.M.C., Sucher, C.M., Bender, M.L., Lehman, S.J., Morse, D.L., Waddington, E.D. & Clow, G.D. (1998). Synchronous climate changes in Antarctica and the North Atlantic. Science, 282, 92-95.

Steig, E.J., Morse, D.L., Waddington, E.D., Stuiver, M, Grootes, P.M., Mayewski, P.A., Twickler, M.S. & Whitlow, S.I. (2000). Wisconsinan and Holocene climate h


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 23:49
5.4 Chronological control  

The age control on glacial and climatic events since the LGM in Antarctica is primarily through radiocarbon dating. Marine materials such as mollusc shells, marine mammal bones, penguin remains (bones, guano-debris) and snow petrel stomach oil or nest deposits are one source of datable materials. Terrestrial and lacustrine materials like mosses, lake sediment bulk samples, microbial mats, aquatic mosses and algal flakes have also been widely dated for constraining environmental changes in time. Both marine and terrestrial/lacustrine materials often yield ages that appear too old in comparison with the conventional terrestrial-based radiocarbon time-scale (cf. Bj&ouml;rck et al., 1991a; Gordon & Harkness, 1992; Andrews et al., 1999; Domack et al., 2000). A requirement for under&shy;standing the dynamics of the Antarctic glacial system is to have a reliable chronology for both terrestrial and marine materials.

Dating terrestrial materials - Radiocarbon dates on terrestrial materials are mainly from peat deposits, primarily mosses in moss-banks on the islands off the Antarctic Peninsula (e.g. Fenton, 1980; Birkenmajer et al., 1985; Bj&ouml;rck et al., 1991a, 1991b) and bulk sediments, microbial mats, aquatic mosses and algal flakes from Antarctic lake sediments and deltas (e.g. Stuiver et al., 1981; Pickard & Seppelt, 1984; Pickard et al., 1986; Zale & Karl&eacute;n, 1989; M&auml;usbacher et al., 1989; Schmidt et al., 1990; Ing&oacute;lfsson et al., 1992; Bj&ouml;rck et al., 1993, 1996; Doran et al., 1999; Denton & Hughes, 2000).

Samples of moss-bank peat on Elephant Island (Fig. 5) have been found to give some of the most reliable aradiocarbon ages in Antarctica (Bj&ouml;rck et al., 1991a, 1991b), and are thus optimal for constructing a radiocarbon chronology for environmental changes in the Antarctic Peninsula region for the past 5000 years. There is a balance between atmospheric carbon content and the intake of carbon by the mosses; old groundwater or carbon from the bedrock will not influence the carbon content of the mosses and contamination by down-growth of roots from plants living on the surface is minimal. There are difficulties in correlating the peat sequences to other archives (glacial stratigraphical sections and lake sediment sequences), but Bj&ouml;rck et al. (1991c, 1991d) were able to correlate between moss-bank deposits and lake sediments on the Antarctic Peninsula region, using tephrostratigraphy, thus gaining an important chronological control for the lake sediment archives.

There are a number of sources of contamination when dating bulk sediments, microbial mats, aquatic mosses or algal flakes from Antarctic lake basins, often resulting in ages that are too old (e.g. Adamson & Pickard, 1986; Stuiver et al., 1981; Squyres et al., 1991; Bj&ouml;rck et al., 1991a; Melles et al., 1994; Zale, 1994):

a)      Old groundwater or an input of glacial meltwater depleted in 14C, contaminating the submerged flora, can be a serious problem. Adamson & Pickard (1986) and Stuiver et al. (1981) found that the correction needed for reservoir effects in freshwater algae is 450-700 years.

b)      Reduced gas exchange with the atmosphere resulting from the long (in extreme cases perennial or decadal) duration of the ice coverage in lake- and marine environments may lead to much older radiocarbon ages. This effect was described by Weiss et al. (1979) for the Weddell Sea and by Melles et al.,(1997) for the marine basins (epishelf lakes) of Bunger Hills (Fig. 1). In the latter paper, modern reservoir effects of more than, 2000 years were estimated, considerably higher than the marine reservoir effect of 1300 years estimated for the Vestfold Hills area (Adamson & Pickard, 1986).

c)      Contamination by the marine reservoir effect through input from sea mammals and birds to lake basins (Bj&ouml;rck et al., 1991a, Zale, 1994).

d)      Supply of old carbon from soils or weathered carbon-bearing rocks. Stuiver et al. (1981) described two radiocarbon dates from the same delta bed in southern Victoria Land, one from terrestrial algae, the other from a well preserved valve of the scallop Adamussium colbecki. The shell date was 5050&plusmn;50 BP (corrected by 1300 radiocarbon years for marine reservoir age) and the algae 5930&plusmn;200 BP, which Stuiver et al. (1981) thought could reflect contamination by carbonate from local marble bedrock. Doran et al. (1999) concluded that dates of algae that grew on proglacial lake bottoms may require corrections because of the relict dissolved inorganic carbon introduced into the lake by inflow from glacier margins, but that this was not a problem when dating near-shore microbial mats in deltas fed by meltwater streams.

e)      Continuous erosion of lake bottom surface sediments resulting from bottom-freezing in winter, or oxidation of these surface sediments due to periods of desiccation, are processes which could lead to erroneous radiocarbon dates (Bj&ouml;rck et al., 1991a).

f)        Recycling of old carbon in stratified Antarctic lakes (Squyres et al., 1991).

g)      Longevity of organisms may also play a role. Some Antarctic freshwater- and terrestrial algae can survive long periods of desiccation and repeated freeze-thaw cycles (Vincent et al., 1993). Cryptoendolithic algae in suitable rock types in Antarctica are thought to have very slow turnover times, on the order of 10 000 to 17 000 years (Nienow & Friedmann, 1993, Johnson & Vestal, 1991). These algae can be released to the ground when the rock erodes and then be blown or washed into other stratigraphical situations.

h)      Blanketing snow and ice on perennially frozen lakes could hinder lacustrine sedimentation, causing hiatus between the deglaciation and onset of biogenic deposition, resulting in too young minimum dates for deglaciation (Gore, 1997).

 Radiocarbon dates from organic remains (microbial mats, algae, water mosses) in sediment cores sampled from the present Lake Hoare in Taylor Valley, Dry Valleys, southern Victoria Land (Fig. 1), have revealed that there occur large contamination problems (Squyres et al., 1991). These were expressed as very old ages of surface sediments (varying between, 2000 and 6000 radiocarbon years) and samples obtained from deeper in the cores yielded ages similar or younger than the surface material. Squyres et al. (1991) concluded that radiocarbon dates from Lake Hoare sediments were of limited value because of the high degree of contamination, and pointed out that probably the source carbon, which the organisms fix, is old, and that relatively long-term recycling of carbon in the lake could contribute to old apparent ages of radiocarbon dates. A similar explanation is possible for radiocarbon ages of 24 000 and 35 700 BP from the base of marine inlet and lake cores in Bunger Hills, East Antarctica (Melles et al., 1997). In the fresh-water Lake Untersee (Dronning Maud Land, East Antarctica (Fig. 1), a thick, perennial lake ice cover probably leads to a reservoir effect on radiocarbon dates as high as 11 000 years (M. Schwab, personal communication, 1998, quoted in Ing&oacute;lfsson et al., 1998).

Bj&ouml;rck et al. (1991a, 1991d) concluded that the causes of erroneous ages often seem to be a combination of different contamination sources and processes and that great caution is needed when radiocarbon dates on Antarctic lacustrine samples are interpreted and evaluated. A primary control for the reliability of the dates is the stratigraphic consistency in the dated sequence. In addition, the &para;13C-value should always be measured and used to correct the 14C/12C relationship. In some cases, the reported age could be incorrect by hundreds of years without such a correction (Bj&ouml;rck et al., 1991a). Dates on aquatic moss samples, extracted from the bulk sediments, appear to be more reliable than dates on the bulk sediments themselves, or on algae. Bj&ouml;rck et al. (1991d) found that out of 14 radiocarbon dates from a lake basin on Livingston Island, in the South Shetlands, only three determinations could be judged reliable, after controlling the dates by tephrochronological cross-correlations. Two of these were on aquatic mosses.

Dating marine materials - Radiocarbon concentration in the Southern Ocean is dominated by the upwelling of deepwater from the Northern Hemisphere at the Antarctic Divergence. Deepwater is depleted in 14C, and although mixing with ‘younger’ surface water south of the Antarctic Convergence occurs, marine species which live in those waters have apparent radiocarbon ages that are older than 1000-1200 years (Broecker, 1963; Bj&ouml;rck et al., 1991a; Gordon & Harkness, 1992). Other factors which influence spatial and temporal variability in the Antarctic radiocarbon reservoir are inputs of radiocarbon-depleted CO2 from melting ice, regional differences in the upwelling around Antarctica, perennial sea ice cover and local freshwater inputs into nearshore marine basins (Omoto, 1983; Domack et al., 1989; Melles et al., 1994; Melles et al., 1997).

In the geological literature on Antarctica, different authors have taken different approaches to the marine reservoir correction. For example, Sugden & John (1973), Clapperton & Sugden (1982, 1988), Payne et al. (1989), Hansom & Flint (1989) and Clapperton (1990) subtracted 750 years from their Antarctic Peninsula radiocarbon dates, while Barsch & M&auml;usbacher (1986), working on the South Shetland Islands (Fig. 5) used an envelope of 850-1300 years. Ing&oacute;lfsson et al. (1992) and Hjort et al. (1997) applied a sea correction of 1200 years, while Pudsey et al. (1994) used a reservoir correction of 1500 years. In East Antarctica, Adamson & Pickard (1986), Colhoun & Adamson (1992a) and Fitzsimons & Colhoun (1995) used a reservoir correction of 1300 years when dealing with the Late Quaternary glacial history in the Vestfold Hills and Bunger Hills areas in East Antarctica, while Hayashi & Yoshida (1994), working in the L&uuml;tzow-Holm Bay area (Fig. 1), suggested a correction of 1100 years. Verkulich & Hiller (1994) radiocarbon-dated stomach oil deposits in snow petrel colonies in Bunger Hills. They based their chronology for petrel colonisation on conventional radiocarbon dates, but stated that a reservoir correction of 1300 years probably was appropriate. Bird et al. (1991) applied a correction for reservoir effects for marine sediments of 2200 years when studying evolution of marine inlets in the Vestforld Hills oasis, East Antarctica. In the Victoria Land/Ross Sea area Stuiver et al. (1981) and Denton et al. (1989) based their chronology on uncorrected radiocarbon dates. Likewise, Baroni & Orombelli (1991) used conventional dates for their deglaciation chronology for Terra Nova Bay, but calibrated the conventional ages when bracketing a relative sea-level curve for the area. Baroni & Orombelli (1994a) presented both uncorrected conventional- and calibrated radiocarbon chronologies when dealing with the Holocene environmental history of Victoria Land, but Baroni & Orombelli (1994b) based their chronology of Holocene glacier variations in Terra Nova Bay on calibrated radiocarbon dates. Colhoun et al. (1992) used a correction of 1090 years for mollusc dates from the Ross Sea area, while Licht et al. (1996) used a reservoir correction of 1200 years for dates from the same area. Gingele et al. (1997) used a reservoir correction of 1550 years when reporting accelerator mass spectrometre (AMS) radiocarbon ages from the Lazarev Sea. Considerable efforts are being devoted to solving problems concerning radiocarbon dating of Antarctic marine sediments, including dating acid-insoluble organic matter and foraminiferal calcite (Andrews et al., 1999; Domack et al., 2000, 2001a).

A number of investigations have assessed which correction of radiocarbon ages of Antarctic marine organisms has to be applied in order to establish a coherent radiocarbon chronology for Late Wisconsinan-Holocene glacial events. Circumantarctic studies generally show the average correction for reservoir age of marine mollusc shells to be 1100-1400 radiocarbon years (Yoshida & Moriwaki, 1979; Stuiver et al., 1981; Omoto, 1983; Adamson & Pickard, 1986; Bj&ouml;rck et al., 1991a; Gordon & Harkness, 1992; Domack, 1992; Berkman, 1994; Berkman & Forman, 1996). Studies of pre-bomb seal, whale and penguin samples have yielded greater variability than the pre-bomb marine mollusc shells, ranging between 915&plusmn;75 and 1760&plusmn;55 years (Curl, 1980; Mabin, 1985; Whitehouse et al., 1987;, 1989; Baroni & Orombelli, 1991; Gordon & Harkness, 1992), suggesting that longevity and ecology of different species, as well as what material (flesh, bone, feathers, guano) is dated can significantly influence the correction factor required (Mabin, 1986; Baroni & Orombelli, 1991). Berkman & Forman (1996) suggested that reservoir corrections of 1300&plusmn;100 years (molluscs), 1424&plusmn;200 years (seals) and 1130&plusmn;130 years (penguins) should be applied to Antarctic marine organisms.

This paper adopts 1300 radiocarbon years as the best estimate for a circumantarctic correction for all radiocarbon-dated marine organisms, for the sake of comparing glacial histories of the different areas. All radiocarbon ages of fossil marine organisms given in the text have been corrected by that amount, no matter which reservoir correction or calibration was originally made by the authors cited as source of the data. All ages are in uncalibrated radiocarbon years BP, reported as kilo-annum before present (ka BP). At the same time it should be stressed that there are still large uncertainties in the Antarctic marine reservoir effect.  


(http://www.hi.is/~oi/quater8.jpg)

Fig. 4. Reconstruction of grounding line positions of the Antarctic Ice Sheet at LGM. The oldest constraining ages for initial ice retreat are given. Modified after Anderson et al. (2002)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 14-08-2007, 23:58
นี่ก็พูดถึงวิธีคำนวณเวลาที่ใช้กันอยู่ และมีการค้นคว้าสนับสนุน


MEASURABLE 14C IN FOSSILIZED ORGANIC MATERIALS:
CONFIRMING THE YOUNG EARTH CREATION-FLOOD MODEL

http://www.globalflood.org/papers/2003ICCc14.html

Presented: Fifth International Conference on Creationism
August 4-8, 2003
Copyright 2003 by Creation Science Fellowship, Inc.
Pittsburgh, PA  USA - All Rights Reserved 
JOHN BAUMGARDNER, PH.D. LOS ALAMOS NATIONAL LABRATORY*
D. RUSSELL HUMPHREYS, PH.D.INSTITUTE FOR CREATION RESEARCH*
ANDREW A. SNELLING, PH.D.INSTITUTE FOR CREATION RESEARCH*
STEVEN A. AUSTIN, PH.D.INSTITUTE FOR CREATION RESEARCH*

 


CONCLUSION
The careful investigations performed by scores of researchers in more than a dozen AMS facilities in several countries over the past twenty years to attempt to identify and eliminate sources of contamination in AMS 14C analyses have, as a by-product, served to establish beyond any reasonable doubt the existence of intrinsic 14C in remains of living organisms from all portions of the Phanerozoic record.  Such samples, with ‘ages’ from 1-500 Ma as determined by other radioisotope methods applied to their geological context, consistently display 14C levels that are far above the AMS machine threshold, reliably reproducible, and typically in the range of 0.1-0.5 pmc.  But such levels of intrinsic 14C represent a momentous difficulty for uniformitarianism.  A mere 250,000 years corresponds to 43.6 half-lives for 14C.  One gram of modern carbon contains about 6 x 1010 14C atoms, and 43.6 half-lives worth of decay reduces that number by a factor of 7 x 10-14.  Not a single atom of 14C should remain in a carbon sample of this size after 250,000 years (not to mention one million or 50 million or 250 million years).  A glaring (thousand-fold) inconsistency that can no longer be ignored in the scientific world exists between the AMS-determined 14C levels and the corresponding rock ages provided by 238U, 87Rb, and 40K techniques.   We believe the chief source for this inconsistency to be the uniformitarian assumption of time-invariant decay rates.  Other research reported by our RATE group also supports this conclusion [7, 23, 42].  Regardless of the source of the inconsistency, the fact that 14C, with a half-life of only 5730 years, is readily detected throughout the Phanerozoic part of the geological record argues the half billion years of time uniformitarians assign to this portion of earth history is likely incorrect.  The relatively narrow range of 14C/C ratios further suggests the Phanerozoic organisms may all have been contemporaries and that they perished simultaneously in the not so distant past.  Finally, we note there are hints that 14C currently exists in carbon from environments sealed from biospheric interchange since very early in the earth history.  We therefore conclude the 14C evidence provides significant support for a model of earth’s past involving a recent global Flood cataclysm and possibly also for a young age for the earth itself.
 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 00:28
เข้าไปอ่าน เรื่อโนอา ที่คุณ Q มาแปะไว้ สงสัยข้อแก้ไข เรื่องชนิดของสัตว์ที่บรรทุกนะครับ

เขาบอกว่าเป็น kinds ไม่ใช่ species แสดงว่า เอามาไม่ครบใช่ไหม แล้วถ้าเป็นแบบนั้น
ถ้าเรื่อง evalution ไม่จริงแล้ว ทำไมถ้าเอามาไม่ครบ แล้วมันถึงได้งอกเป็นสปีชีใหม่ๆ
ได้ล่ะ คำแก้ตัวนี้ ผมรู้สึกว่ามันพัวพันไม่ถูกต้องนะครับ

แล้วเรื่องสัตว์น้ำที่เชียนไว้บอกว่าไม่เอามาด้วย เพราะยังไงมันก็ไม่ตาย อันนี้คิดว่าไม่ตรง
กับความจริงนะครับ ถ้าน้ำท่วมโลก น้ำมันจะเปลี่ยนเป็นอะไรครับ น้ำเค็ม หรือน้ำจืด
ถ้าน้ำจืด สัตว์น้ำเค็มก็จะตาย ถ้าเป็นน้ำเค็ม สัตว์น้ำจืดก็ตาย ดังนั้นก็ต้องเอาขึ้นมา
ด้วยจริงไหม? แล้วเขาจะเอาไปไว้ตรงไหนของเรือ ถ้าน้ำน้อยเกินไป 40 วัน นี่น้ำเน่าแน่นะครับ
สมัยก่อนคงไม่มีเครืองกรองน้ำหรอกนะ หรือว่าโนอามี!!!

แล้วอีกอย่างนะครับ เมือคนตายหมด ดังนั้นประชากรก็ต้องเกิดจากคนบนเรือโนอา
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมคนสมัยหลังๆ ถึงไม่พูดภาษาเดียวกัน ทั้งโครงสร้างภาษา
ก็ต่างกัน อย่างไทยเป็นคำโดด อินเดียใช้คำผสม และเปลี่ยนรูปคำได้ แล้วการเรียง
คำคุณศัพท์ก็ต่างกัน แม้กระทั่งที่ญี่ปุ่นยังเรียงประโยค ประธาน กรรม กริยา ทำไม
มันถึงได้เพี้ยนไปไกลขนาดนี้ล่ะ ถ้ามาจากที่เดียวกัน ภาษามันก็ต้องมารากที่มา
เหมือนกันสิ

ในไซท์ที่ยกมาก็มีอธิบายครับ.. สภาพแวดล้อมมีรายละเอียดมาก

ซึ่งต้องศึกษาจริงจัง หากต้องการเข้าใจความเป็นไปได้ครับ

เช่น น้ำมาจากไหน คำตอบคือ มีอยู่ในโลก

ตรงไหนบ้าง ในใต้ดินมีไหม? ในใจกลางโลกมีไหม?

เพราะน้ำมี3สถานะ ไม่นับรวมองค์ประกอบทางเคมี ที่ก็คือ ไฮโดรเจนและออกซิเจนที่มีอยู่ทั่วไป เป็นต้น

หินก็มีสามสถานะเหมือนกัน..

ส่วนเรื่องเรือ ปัจจุบันก็มีเรือใหญ่? โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเป็นไปได้..

ตามสมมุติฐานของวิวัฒนาการ ระยะเวลาไม่กี่พันปีมีปัญหากับการวิวัฒน์ครับ

แต่สำหรับการสืบพันธุ์และความหลากหลายทางพันธุกรรม ผมว่าไม่แปลกที่จะเกิดความหลากหลายดังที่ปรากฎ

หากน้ำท่วมหนักจริงสิ่งมีชีวิตต่างๆย่อมตายเป็นจำนวนมาก

เรื่องภาษา มีหลักฐานภาษาที่เป็นระบบที่ค้นย้อนหลังได้เพียงไม่เกิน เจ็ดพันปี

ภาษาของแต่ละบุคคลคงเหมือนสำเนียงที่มีกลิ่นอายต่างกันแม้แต่ภาษาเดียวกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 00:44

สรุปว่า เรื่องความเชื่อมโยง ระหว่างคนกับลิงที่มีสติปัญญาต่างกัน..

อย่างไรก็เชื่อยาก(ไม่เชื่อ)ครับ หากนักวิวัฒนาการเข้าใจ ต้องสามารถทำให้ลิงชิมแพนซีฉลาดมากขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ

จะจากสภาพแวดล้อมหรือพันธุกรรมก็ตาม..

จะกีล้านปี ปลาก็ยังคงเป็นปลา ลิงก็เป็นลิง นกก็เป็นก ช้างก็เป็นช้าง

อาณาจักรสิ่งมีชิวตต่างๆก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ไม่เห็นจะสูญพันธุ์ มีแต่กลายพันธุ์ จนแบ่งแยกย่อยกันได้มากขึ้น

ระดับโมเลกุล มันก็แยกย่อยได้มากขึ้น ผมไม่เปลกใจ จนกว่าจะเห็นรอยต่อ..ที่ทำให้คนทั่วไปแยกไม่ออกว่าคืออะไร?

เรื่องอายุของสิ่งมีชีวิต ผมว่าเริ่มจากระดับอายุของเซลล์สัตว์ทดลองน่าจะดี?



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 01:29
อ้างถึง

อ่านเสริมเล่น ๆ
http://biol-chem.uwb.edu.pl/IP/ENG/biologia/bones.htm
http://news.nationalgeographic.com/news/2006/04/0411_060411_penguins.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Penguin#The_basal_fossils
http://www.realscience.org.uk/2007/07/giant-fossil-penguins.html



ดีครับ..ผมตามไปอ่านถึงการสะกัดโปรตีนของซากไดโนเสาร์ เพื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ปีก

อยากให้ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์โบราณมากๆ  ซากมีน้อยไปหน่อย..

อย่างไรก็ตาม ยารักษาโรคเอดส์ยังทำกันไม่สำเร็จ??



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 01:37


เฉพาะมาสเตอร์เจอนัล ในแวดวงวิชาการ ก็มีเป็นหลักหมื่นฉบับแล้ว

ต่อไปข้อมูลทางเว็บน่าจะ มาแรงกว่า เพราะโพสต์กันได้เรื่อยๆ แต่ความน่าเชื่อถือคงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาว่า

จะเชื่อได้เพียงใด เพราะเฉพาะเจอร์นัลก็มีเป็นหมื่นเป็นแสน..ผู้เชี่ยวชาญคงมีเป็นหลายล้าน..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 06:51

ดีครับ..ผมตามไปอ่านถึงการสะกัดโปรตีนของซากไดโนเสาร์ เพื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ปีก

อยากให้ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์โบราณมากๆ  ซากมีน้อยไปหน่อย..

อย่างไรก็ตาม ยารักษาโรคเอดส์ยังทำกันไม่สำเร็จ??


เรื่องโรคเอดส์นะที่มีปัญหาเพราะไวรัสมันเอาส่วนของ DNA ของ host ด้วย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 06:57
อันนี้เป็นเพียงความเชื่อในอดีต บางส่วนก็ไม่ได้มีการพิสูจน์

สาระสำคัญของงานวิจัยคือข้อสรุป ส่วนการทำให้เป็นข่าวเป็นเพียงเทคนิคทางการตลาด..

เหมือนบริษัทยาหรือบริษัทบุหรี่เป็นสปอนเซอร์กีฬา
ข้อสรุปดูด้วยนะครับว่าเขาทำส่วนไหนของขั้วโลกใต้ แสดงว่าไม่ได้ดูเลยสิเนี่ย แล้วเขาก็บอกแล้วนี่ว่ายุคธารน้ำแข็งหมดไปเมื่อไหร่ น้ำแข็งขั้วโลกใต้นะเป็นชั้น ๆ อยากวัดช่วงไหนต้องเจาะลึกลงไป ถ้าเอาที่ผิว ๆ นะ ไม่แปลกหรอกที่มันจะวัดได้แค่นั้น  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 06:58

เฉพาะมาสเตอร์เจอนัล ในแวดวงวิชาการ ก็มีเป็นหลักหมื่นฉบับแล้ว

ต่อไปข้อมูลทางเว็บน่าจะ มาแรงกว่า เพราะโพสต์กันได้เรื่อยๆ แต่ความน่าเชื่อถือคงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาว่า

จะเชื่อได้เพียงใด เพราะเฉพาะเจอร์นัลก็มีเป็นหมื่นเป็นแสน..ผู้เชี่ยวชาญคงมีเป็นหลายล้าน..
ถึงมีเป็นหมื่นแต่ความน่าเชื่อถือก็ต่างกัน ค่า impact factor ก็ต่างกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 07:01

เทคนิคการวัดอายุ ก็มีระบุชัดเจนในงานวิจัยที่ผมยกมาครับ

ตรงนั้นผมคิดว่ามีปัญหาสำหรับระยะเวลามากกว่า ในช่วงชีวิตของคาร์บอนประเภทต่างๆ

ต้องนำมาเทียบเคียงมากกว่าหนึ่งชนิด

สำหรับสิ่งมีชีวิตในแถบที่มีน้ำแข็ง น่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะเราวัดอายุชั้นน้ำแข็งได้ด้วย..
แสดงว่าไม่รู้จัก O-18 สิเนี่ย  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 07:08
สรุปว่า เรื่องความเชื่อมโยง ระหว่างคนกับลิงที่มีสติปัญญาต่างกัน..

อย่างไรก็เชื่อยาก(ไม่เชื่อ)ครับ หากนักวิวัฒนาการเข้าใจ ต้องสามารถทำให้ลิงชิมแพนซีฉลาดมากขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ

จะจากสภาพแวดล้อมหรือพันธุกรรมก็ตาม..

จะกีล้านปี ปลาก็ยังคงเป็นปลา ลิงก็เป็นลิง นกก็เป็นก ช้างก็เป็นช้าง

อาณาจักรสิ่งมีชิวตต่างๆก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ไม่เห็นจะสูญพันธุ์ มีแต่กลายพันธุ์ จนแบ่งแยกย่อยกันได้มากขึ้น

ระดับโมเลกุล มันก็แยกย่อยได้มากขึ้น ผมไม่เปลกใจ จนกว่าจะเห็นรอยต่อ..ที่ทำให้คนทั่วไปแยกไม่ออกว่าคืออะไร?

เรื่องอายุของสิ่งมีชีวิต ผมว่าเริ่มจากระดับอายุของเซลล์สัตว์ทดลองน่าจะดี?


คุณลองหาลูกผสมเซนต์เบอร์นาร์ดกับชิวาวาให้ผมดูหน่อยสิครับ ที่เกิดด้วยวิธีปกติ น่ามีนะ ชนิดเดียวกันด้วย ขนาดเรื่องพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างโปรตีน-ยีน-กรดอะมิโน-ดีเอ็นเอ คุณยังไม่รู้เลย หรือแค่ให้อธิบายเรื่องการเกิด species ก็ยังทำไมได้ แต่กลับบอกว่าเรื่องพวกนี้ไม่น่าเชื่อถือ หลักฐานที่แสดงไม่น่าเชื่อถือ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 07:17

เรื่องภาษา มีหลักฐานภาษาที่เป็นระบบที่ค้นย้อนหลังได้เพียงไม่เกิน เจ็ดพันปี

ภาษาของแต่ละบุคคลคงเหมือนสำเนียงที่มีกลิ่นอายต่างกันแม้แต่ภาษาเดียวกัน [/color]
ผมไม่รู้นะว่าคุณคิดจะบิดเบือนพระคัมภีร์ไปถึงเมื่อไหร่กัน อดัมนะเกิดมายังไม่ถึง 6 พันปี แค่เกือบ ๆ ส่วนเรื่องน้ำท่วมนะก็แค่ 4 พันกว่าปี แต่เห็นเรื่องที่คุณยกมานะมันเกินช่วงเวลานี้ทั้งนั้น ถ้าคุณคิดจะบิดเบือนพระคัมภีร์ไปเรื่อย ๆ ก็เรื่องของคุณเอง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 15-08-2007, 09:36
ต้องลองตั้งข้อสงสัยในพระคัมภีร์ ไม่ได้ประทานมาโดยตรงจากพระเจ้า

เป็นบันทึกของผู้ติดต่อกับพระเจ้าอีกทีหนึ่ง

ซ้ำยังตกทอดคัดลอกใหม่ ซึ่งความคลาดเคลื่อนและการแต่งเติมอาจเป็นไปได้

----------------------------------

ส่วนเรื่องน้ำท่วมโลกนั้น  ลองคำนวณดูว่า สัตว์สปีชีส์ละคู่ เอาไปวางแล้วจะครบ สปีชีส์ในปัจจุบัน หรือไม่

รวมสัตว์ปีกด้วยนะครับ นกคงบินตลอดน้ำท่วมโลกไม่ไหว

ถ้าไม่ครบ ก็แสดงว่าทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นไปได้อย่างแน่นอน



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 15-08-2007, 11:22
คุณ Q คงไม่เข้าใจที่ผมถาม งั้นจะเขียนให้ละเอียดขึ้น

เว็บที่คุณให้มา อ้างว่ามันเป็นแค่ kind ไม่ใช่ species ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นที่ยอมรับอยู่ที่ว่า
โนอา ไม่มีปัญญาที่จะเอาสัตว์ทุกชนิด (ผมสงสัยว่า ทำไมไม่มีพืช เพราะ 40 วัน มีเมล็ดพืช
กี่ชนิดที่ทนแช่อยู่ในน้ำได้นานขนาดนี้โดยยังงอกใหม่ได้ ไม่เน่าไปเสียก่อน) ซึ่งไม่ต้องคิด
ว่าเอาให้ครบ แค่สัก แสนชนิด บวกกับอาหารที่ต้องมีเพียงพอให้มีชีวิตอยู่มากกว่า 40 วัน
เพราะน้ำลดแล้ว กว่าอาหารจะกลับคืนมา อย่างเช่นเสือ มันก็ต้องรอให้กวางออกลูกออก
หลานมาให้กิน ก็ต้องมีอาหารให้มันกินเป็นปีๆ จะบรรทุกใส่เรือได้หรือ แค่ีนี้ก็เห็นแล้ว่าโม้
ไม่มีทางเป็นจริงได้เลย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:03
คุณ Q คงไม่เข้าใจที่ผมถาม งั้นจะเขียนให้ละเอียดขึ้น

เว็บที่คุณให้มา อ้างว่ามันเป็นแค่ kind ไม่ใช่ species ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นที่ยอมรับอยู่ที่ว่า
โนอา ไม่มีปัญญาที่จะเอาสัตว์ทุกชนิด (ผมสงสัยว่า ทำไมไม่มีพืช เพราะ 40 วัน มีเมล็ดพืช
กี่ชนิดที่ทนแช่อยู่ในน้ำได้นานขนาดนี้โดยยังงอกใหม่ได้ ไม่เน่าไปเสียก่อน) ซึ่งไม่ต้องคิด
ว่าเอาให้ครบ แค่สัก แสนชนิด บวกกับอาหารที่ต้องมีเพียงพอให้มีชีวิตอยู่มากกว่า 40 วัน
เพราะน้ำลดแล้ว กว่าอาหารจะกลับคืนมา อย่างเช่นเสือ มันก็ต้องรอให้กวางออกลูกออก
หลานมาให้กิน ก็ต้องมีอาหารให้มันกินเป็นปีๆ จะบรรทุกใส่เรือได้หรือ แค่ีนี้ก็เห็นแล้ว่าโม้
ไม่มีทางเป็นจริงได้เลย


ผมเข้าใจ สิ่งที่ถามมาครับ..

ผมเพียงไม่เห็นว่า ระหว่างวิวัฒนาการกับอะไรก็ตาม หากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่จริงแล้วอีกสิ่งหนึ่งจะเป็นจริง..

ผมเห็นว่าแนวคิดหลักขอวิวัฒนาการไม่จริง จึงได้โต้แย้ง เพื่อไม่ให้ข้อมูลสำหรับคนทั่วไปผิดพลาดเท่านั้น

เรื่องเหล่านี้ผมไม่ได้ยึดเป็นอาชีพหรือเป้าหมายอะไร?

ความจริงบางอย่าง เหมาะสำหรับแต่ละคนครับ

ความจริงทุกอย่าง สำหรับทุกคนเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้..

อย่างปิรามิด คุณทราบไหมคนโบราณสร้างได้อย่างไร? แต่เราก็เห็นว่ามันตั้งอยู่ตรงนั้น..สโตนเฮ้นส์อีก ฯลฯ ก็ต้องค้นหารายละเอียดกันไป..

ตอนนี้ผมยังคุมประเด็นเท่าที่เสนอไปแล้ว ว่าไม่เชื่อว่า ลิงกับคนมีบรรพบรุษที่มีพันธุกรรมในโลกนี้ร่วมกันครับ.

ซึ่งเป็นประเด็นหลักในเรื่องสมมุติฐานในแนวคิดของวิวัฒนาการ

เช่นเดียวกับที่ไม่เชื่อว่ามีสิ่งมีชีวิตเล็กๆตัวแรกเกิดขึ้นเองจากสิ่งไม่มีชีวิตตามธรรมชาติ.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:08
ผมไม่รู้นะว่าคุณคิดจะบิดเบือนพระคัมภีร์ไปถึงเมื่อไหร่กัน อดัมนะเกิดมายังไม่ถึง 6 พันปี แค่เกือบ ๆ ส่วนเรื่องน้ำท่วมนะก็แค่ 4 พันกว่าปี แต่เห็นเรื่องที่คุณยกมานะมันเกินช่วงเวลานี้ทั้งนั้น ถ้าคุณคิดจะบิดเบือนพระคัมภีร์ไปเรื่อย ๆ ก็เรื่องของคุณเอง

ถ้าหากคุณอยากค้นหาว่าพระคัมภีร์เป็นจริงหรือไม่เพียงไร เปรียบเทียบกับคำพูดของผม คุณคงต้องศึกษาเอาครับ.!!

ในเรื่องนี้คุณประเมินผมไมได้หรอก.. เพราะผมไม่ได้พูดถึงโดยตรงเลย..

ผมเพียงแต่ติดตามค้นหาและต้องการทราบว่าหลักฐานของมนุษย์และโลกช่วง เจ็ดพันถึงหมืนปี ย้อนหลัง มีหลักฐานอยู่เท่าใดบ้าง..มีการค้นพบอะไรใหม่ๆหรือไม่?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 19:10
คุณ Q คงไม่เข้าใจที่ผมถาม งั้นจะเขียนให้ละเอียดขึ้น

เว็บที่คุณให้มา อ้างว่ามันเป็นแค่ kind ไม่ใช่ species ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นที่ยอมรับอยู่ที่ว่า
โนอา ไม่มีปัญญาที่จะเอาสัตว์ทุกชนิด (ผมสงสัยว่า ทำไมไม่มีพืช เพราะ 40 วัน มีเมล็ดพืช
กี่ชนิดที่ทนแช่อยู่ในน้ำได้นานขนาดนี้โดยยังงอกใหม่ได้ ไม่เน่าไปเสียก่อน) ซึ่งไม่ต้องคิด
ว่าเอาให้ครบ แค่สัก แสนชนิด บวกกับอาหารที่ต้องมีเพียงพอให้มีชีวิตอยู่มากกว่า 40 วัน
เพราะน้ำลดแล้ว กว่าอาหารจะกลับคืนมา อย่างเช่นเสือ มันก็ต้องรอให้กวางออกลูกออก
หลานมาให้กิน ก็ต้องมีอาหารให้มันกินเป็นปีๆ จะบรรทุกใส่เรือได้หรือ แค่ีนี้ก็เห็นแล้ว่าโม้
ไม่มีทางเป็นจริงได้เลย
เรื่อง 40 วันนั้นผมจำผิดครับ นั้นเป็นช่วงที่ฝนติดต่อกันตลอดครับ ส่วนน้ำท่วมนั่นเกือบปี


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 19:20
ถ้าหากคุณอยากค้นหาว่าพระคัมภีร์เป็นจริงหรือไม่เพียงไร เปรียบเทียบกับคำพูดของผม คุณคงต้องศึกษาเอาครับ.!!

ในเรื่องนี้คุณประเมินผมไมได้หรอก.. เพราะผมไม่ได้พูดถึงโดยตรงเลย..

ผมเพียงแต่ติดตามค้นหาและต้องการทราบว่าหลักฐานของมนุษย์และโลกช่วง เจ็ดพันถึงหมืนปี ย้อนหลัง มีหลักฐานอยู่เท่าใดบ้าง..มีการค้นพบอะไรใหม่ๆหรือไม่?
เรื่องโนอาห์นะครับมีคน 2 ประเภทคือ
1. ยอมบิดเบือนพระคัมภีร์ เพื่อเข้าหาวิทยาศาสตร์
2. เอาวิทยาศาสตร์เข้าหาพระคัมภีร์
ถึงแม้จะดูคล้ายกันแต่ก็ต่างกันลิบลับเลย ซึ่งคุณจัดอยู่ในประเภทแรกนะครับ และผมบอกให้เลยว่าเรื่องโนอาห์ เรื่องมนุษย์กับลิงหรือเรื่องสร้างโลกใน 6 วันนั่นไม่ขัดกับหลักวิทยาศาสตร์ด้วย เรื่องโนอาห์ที่ผมถามก็เพื่อจะดูว่าจะมีใครยอมบิดเบือนพระคัมภีร์หรือไม่


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:24


ต้องลองตั้งข้อสงสัยในพระคัมภีร์ ไม่ได้ประทานมาโดยตรงจากพระเจ้า

เป็นบันทึกของผู้ติดต่อกับพระเจ้าอีกทีหนึ่ง

ซ้ำยังตกทอดคัดลอกใหม่ ซึ่งความคลาดเคลื่อนและการแต่งเติมอาจเป็นไปได้

----------------------------------

ส่วนเรื่องน้ำท่วมโลกนั้น  ลองคำนวณดูว่า สัตว์สปีชีส์ละคู่ เอาไปวางแล้วจะครบ สปีชีส์ในปัจจุบัน หรือไม่

รวมสัตว์ปีกด้วยนะครับ นกคงบินตลอดน้ำท่วมโลกไม่ไหว

ถ้าไม่ครบ ก็แสดงว่าทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นไปได้อย่างแน่นอน



วิวัฒนาการในระดับที่มีขอบเขต และปัจจัยหลักคือพันธุกรรมมากว่าสภาพแวดล้อมนั้นคงไม่มีปัญหา

เพราะเราเห็นความหลากหลายทางพันธุกรรมในปัจจุบันอยู่แล้ว ตรงนี้ผมไม่โต้แย้งหรอก

หากจะใช้คำว่าวิวัฒนาการหรือการสร้างจากน้ำมือมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม มันก็ไม่ต่างกัน..


ที่ต้องระวังคือเรื่องระยะเวลาครับ..เพราะเป็นสาระสำคัญของแนวคิดวิวัฒนาการด้วย


ส่วนเรื่องพระคัมภีร์ก็ ไม่ได้มีข้อห้ามไม่ให้มีการตรวจสอบว่าอะไรจริงไม่จริงครับ..

ข้อความใดแต่ละคนเข้าใจได้เป็นอย่างไร? ถ้าหากมีกระทู้เรื่องนี้โดยตรงโดยไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ของบอร์ดมากนัก

ผมก็สามารถแสดงความเห็นได้..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:28
เรื่องโนอาห์นะครับมีคน 2 ประเภทคือ
1. ยอมบิดเบือนพระคัมภีร์ เพื่อเข้าหาวิทยาศาสตร์
2. เอาวิทยาศาสตร์เข้าหาพระคัมภีร์
ถึงแม้จะดูคล้ายกันแต่ก็ต่างกันลิบลับเลย ซึ่งคุณจัดอยู่ในประเภทแรกนะครับ และผมบอกให้เลยว่าเรื่องโนอาห์ เรื่องมนุษย์กับลิงหรือเรื่องสร้างโลกใน 6 วันนั่นไม่ขัดกับหลักวิทยาศาสตร์ด้วย เรื่องโนอาห์ที่ผมถามก็เพื่อจะดูว่าจะมีใครยอมบิดเบือนพระคัมภีร์หรือไม่

ถ้าหากคุณรู้เรื่องพระคัมภีร์ มากกว่าผม คุณอาจจะตั้งข้อสังเกตเช่นนั้นได้ครับ

ผมไม่ได้พูดถึงโดยตรงเลย เพียงแต่นำลิงค์มาแปะ และเข้าไปอ่านเท่านั้น

และเห็นว่าคุณยังเข้าใจไม่ตรงกับที่เขาเขียนไว้นะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 19:34
ต้องลองตั้งข้อสงสัยในพระคัมภีร์ ไม่ได้ประทานมาโดยตรงจากพระเจ้า

เป็นบันทึกของผู้ติดต่อกับพระเจ้าอีกทีหนึ่ง

ซ้ำยังตกทอดคัดลอกใหม่ ซึ่งความคลาดเคลื่อนและการแต่งเติมอาจเป็นไปได้

----------------------------------

ลองวิเคราะห์เรื่องอิสอัตกับอิสมาเอล ใครกันที่เป็นผู้ถูกพลี ดูเอานะครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:35
ข้อสรุปดูด้วยนะครับว่าเขาทำส่วนไหนของขั้วโลกใต้ แสดงว่าไม่ได้ดูเลยสิเนี่ย แล้วเขาก็บอกแล้วนี่ว่ายุคธารน้ำแข็งหมดไปเมื่อไหร่ น้ำแข็งขั้วโลกใต้นะเป็นชั้น ๆ อยากวัดช่วงไหนต้องเจาะลึกลงไป ถ้าเอาที่ผิว ๆ นะ ไม่แปลกหรอกที่มันจะวัดได้แค่นั้น  :slime_bigsmile:

งานวิจัยเขาจำกัดขอบเขตครับ..เขาก็ทำควบคู่กับการเก็บตัวอย่างจากสิ่งมีชีวิตที่พบ

จะขุดลึกแค่ไหน หรือนานแค่ไหนก่อนจะสรุปก็ขึ้นกับผู้วิจัยและหัวข้อที่เขาจะวิจัยต่อยอดจากที่ใด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:39

คุณลองหาลูกผสมเซนต์เบอร์นาร์ดกับชิวาวาให้ผมดูหน่อยสิครับ ที่เกิดด้วยวิธีปกติ น่ามีนะ ชนิดเดียวกันด้วย ขนาดเรื่องพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างโปรตีน-ยีน-กรดอะมิโน-ดีเอ็นเอ คุณยังไม่รู้เลย หรือแค่ให้อธิบายเรื่องการเกิด species ก็ยังทำไมได้ แต่กลับบอกว่าเรื่องพวกนี้ไม่น่าเชื่อถือ หลักฐานที่แสดงไม่น่าเชื่อถือ

จะแตกออกไปเท่าไร เสือก็เป็นเสือ ช้างเป็นช้าง ปลาเป็นปลา หอยก็เป็นหอยครับ แยกออกได้ชัดเจนด้วยวิธีการต่างๆ

ภาพเด็กที่คุณเอามานั่นก็เป็นคน



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:43


ลองวิเคราะห์เรื่องอิสอัตกับอิสมาเอล ใครกันที่เป็นผู้ถูกพลี ดูเอานะครับ  :slime_bigsmile:

ลองแตกระทู้ออกไปดีกว่าครับ มันไม่เกี่ยวกับกระทู้นี้โดยตรง..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:48

เรื่องโรคเอดส์นะที่มีปัญหาเพราะไวรัสมันเอาส่วนของ DNA ของ host ด้วย

มีอีกเรื่องในระดับเซลล์ ก็คือเซลล์มะเร็ง พันธุกรรมและสภาพแวดล้อมใดบ้างที่เกี่ยวข้อง??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 19:49
จะแตกออกไปเท่าไร เสือก็เป็นเสือ ช้างเป็นช้าง ปลาเป็นปลา หอยก็เป็นหอยครับ แยกออกได้ชัดเจนด้วยวิธีการต่างๆ

ภาพเด็กที่คุณเอามานั่นก็เป็นคน


เรื่องเด็กผมบอกตรงไหนว่าไม่ใช่คน ผมแค่บอกว่ายีนมันทำงานขึ้นมาแล้วจะยุ่งแค่นั้น ดูเด็กนั่นเป็นตัวอย่างเอาละกัน ที่ยีนลิงมันทำงานขึ้นมา แล้วยีนลิงมันไปอยู่ในคนได้อย่างไร ส่วนเรื่อง เสือก็เป็นเสือ ช้างเป็นช้าง ปลาเป็นปลา หอยก็เป็นหอย ฯลฯ นั่นเป็นการตัดสินจากลักษณะภายนอกบวกกับที่อยู่อาศัยครับ ไม่เชื่อก็ลองตอบสิว่า ปลาโลมา ปลาหมึก ปลาดาวนี่เป็นปลาหรือไม่ ถ้าไม่ทำไมใช้ชื่อปลา


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 15-08-2007, 19:52
มีอีกเรื่องในระดับเซลล์ ก็คือเซลล์มะเร็ง พันธุกรรมและสภาพแวดล้อมใดบ้างที่เกี่ยวข้อง??
ทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างก็มีส่วนให้เกิดเซลล์มะเร็งครับ ส่วนสาเหตุบอกได้ไม่ 100% ครับ เนื่องจากปัจจัยเดียวกันคนหนึ่งเป็นอีกคนไม่เป็นนั่นก็มี แต่สามารถบอกแนวโน้มได้ซึ่งสาเหตุมีเป็นร้อยเป็นพันเลย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:53
เรื่องเด็กผมบอกตรงไหนว่าไม่ใช่คน ผมแค่บอกว่ายีนมันทำงานขึ้นมาแล้วจะยุ่งแค่นั้น ดูเด็กนั่นเป็นตัวอย่างเอาละกัน ที่ยีนลิงมันทำงานขึ้นมา แล้วยีนลิงมันไปอยู่ในคนได้อย่างไร ส่วนเรื่อง เสือก็เป็นเสือ ช้างเป็นช้าง ปลาเป็นปลา หอยก็เป็นหอย ฯลฯ นั่นเป็นการตัดสินจากลักษณะภายนอกบวกกับที่อยู่อาศัยครับ ไม่เชื่อก็ลองตอบสิว่า ปลาโลมา ปลาหมึก ปลาดาวนี่เป็นปลาหรือไม่ ถ้าไม่ทำไมใช้ชื่อปลา

ความลับของพันธุกรรมและดีเอ็นเอ ต้องศึกษาต่อไปครับ..

หากวิเคราะห์ทำนายได้ จากตัวตั้งต้น ก็แสดงว่าแยกแยะได้ในระดับต่างๆ

ส่วนสภาพแวดล้อม ในคนเราก็เห็นว่ามีผลต่อจิตใจพฤติกรรมตกทอด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 19:58

ทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างก็มีส่วนให้เกิดเซลล์มะเร็งครับ ส่วนสาเหตุบอกได้ไม่ 100% ครับ เนื่องจากปัจจัยเดียวกันคนหนึ่งเป็นอีกคนไม่เป็นนั่นก็มี แต่สามารถบอกแนวโน้มได้ซึ่งสาเหตุมีเป็นร้อยเป็นพันเลย

เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่ผมพยายามติดตามความคืบหน้า..

ผมเชื่อว่ามาจากการบริโภคอาหารที่ผลิตด้วยวิธีทางอุตสหากรรมยุคใหม่ครับ ตลอดจนจากมลพิษต่างๆ

เพราะมันทำลายความสมดุลย์ของระบบร่างกายได้ง่าย..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 15-08-2007, 20:00


ไว้มาตามอ่านต่อครับ..ไปธุระก่อน../color] :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 15-08-2007, 20:56

ผมเข้าใจ สิ่งที่ถามมาครับ..

ผมเพียงไม่เห็นว่า ระหว่างวิวัฒนาการกับอะไรก็ตาม หากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่จริงแล้วอีกสิ่งหนึ่งจะเป็นจริง..

ผมเห็นว่าแนวคิดหลักขอวิวัฒนาการไม่จริง จึงได้โต้แย้ง เพื่อไม่ให้ข้อมูลสำหรับคนทั่วไปผิดพลาดเท่านั้น

เรื่องเหล่านี้ผมไม่ได้ยึดเป็นอาชีพหรือเป้าหมายอะไร?

ความจริงบางอย่าง เหมาะสำหรับแต่ละคนครับ

ความจริงทุกอย่าง สำหรับทุกคนเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้..

อย่างปิรามิด คุณทราบไหมคนโบราณสร้างได้อย่างไร? แต่เราก็เห็นว่ามันตั้งอยู่ตรงนั้น..สโตนเฮ้นส์อีก ฯลฯ ก็ต้องค้นหารายละเอียดกันไป..

ตอนนี้ผมยังคุมประเด็นเท่าที่เสนอไปแล้ว ว่าไม่เชื่อว่า ลิงกับคนมีบรรพบรุษที่มีพันธุกรรมในโลกนี้ร่วมกันครับ.

ซึ่งเป็นประเด็นหลักในเรื่องสมมุติฐานในแนวคิดของวิวัฒนาการ

เช่นเดียวกับที่ไม่เชื่อว่ามีสิ่งมีชีวิตเล็กๆตัวแรกเกิดขึ้นเองจากสิ่งไม่มีชีวิตตามธรรมชาติ.

อ้าว แล้วส่ง ลิงค์ โนอา มาให้อ่านทำไมหว่า?

ส่วนเรื่องที่คุณมาโจมตีทฤษฏี วิวัฒนาการ ผมว่าคุณควรศึกษาให้ดีก่อนดีกว่า
การเอาทฤษฏีไปอธิบาย แล้วผิดพลาด มันผิดพลาดที่คนอธิบาย หรือเป็นที่
ตัวทฤษฎีกันแน่ ยกตัวอย่างเช่น

F = ma ถ้า m = 1  และ a=9.8
แล้วมีคนคำนวณว่า F = 10 พอวัดจริงแล้วได้ 9.8 ถามว่า
ทฤษฏีของนัวตันใช้ไม่ได้แล้วใช่ไหม!!!!


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 15-08-2007, 23:04
ทนอ่านมาตั้งนานกลายเป็นว่าคุณ Q ไม่เชื่อเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ
ที่มีพื้นฐานงานวิจัยรองรับสนับสนุนต่อเนื่องกันมามากมาย

แต่คุณ Q กลับเชื่อเรื่องพิสดารอย่างน้ำท่วมโลกที่น่าจะมีการตั้งคำถาม
สงสัยในความเป็นไปได้มากกว่าทฤษฎีวิวัฒนาการหลายเท่า

---

ถ้าคุณ Q ไม่เชื่อว่าในตอนเริ่มต้น สิ่งมีชีวิตยุคแรกเกิดขึ้นจากสิ่งไม่มีชีวิต
แล้วคุณ Q คิดว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาจากอะไรล่ะครับ.. ผมงงนะ

คุณ Q ยังไม่เชื่อด้วยว่าสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน (เช่นมนุษย์) พัฒนาต่อเนื่อง
มาจากสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนน้อยกว่า (คือบรรพบุรุษของลิง) เท่ากับไม่เชื่อ
ด้วยว่าไพรเมท (เช่นบรรพบุรุษของลิง) พัฒนาต่อเนื่องมาจากต้นตระกูล
ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และไม่เชื่อว่าสัตว์เลื้อยคลานพัฒนามาจากสัตว์
ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์น้ำ ไม่เชื่อว่าสัตว์หลายเซลมาจากสัตว์เซลเดียว
เท่ากับปฏิเสธทฤษฎีกำเนิดสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

ตกลงที่คุยกันมานี่คุณ Q จะบอกว่าพระเจ้าเป็นผู้เนรมิตและสิ่งมีชีวิต
ทุกชนิดในโลกเป็นแบบที่เห็นมาตั้งแต่ต้น โดยไม่เคยมีวิวัฒนาการ
อย่างนั้นใช่ไหมครับ ผมจะได้รู้ว่ากำลังอ่านเรื่องศาสนาอยู่

---

อย่างเรื่องน้ำท่วมโลกผมเชื่อเพียงแค่ว่าเคยมีเหตุการณ์อะไรบางอย่าง
ในสมัยโบราณทำให้เกิดตำนานน้ำท่วมโลก และมีการต่อเรือใหญ่ซึ่ง
ได้ใช้ขนสัตว์ชนิดต่างๆ จำนวนมากหนีน้ำท่วม แต่จะมีน้ำท่วมโลกจริง
หรือไม่ หรือเป็นเพียงน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่นั้นผมเชื่ออย่างหลังมากกว่า
(ไม่กี่วันก่อนไปเห็นพระมนูธรรมศาสตร์ ก็มีพูดเรื่องน้ำท่วมโลก และมี
การต่อเรือใหญ่เหมือนเรื่องโนอาร์ แสดงว่าอินเดียก็มีตำนานนี้ด้วย)

ผมเคยดูสารคดีโทรทัศน์ที่เสนอว่ามีน้ำจากใต้โลกขึ้นมาท่วมนะครับ
แต่ดูแล้วก็เชื่อไม่ลงเหมือนกัน สำหรับผมมันออกจะแฟนตาซีเกินไป


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 15-08-2007, 23:38
ก่อน น้ำจะท่วมโลก

เจอกับ น้ำท่วมทุ่ง   ก่อน

 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 16-08-2007, 09:40
ตอนนี้ผมยังคุมประเด็นเท่าที่เสนอไปแล้ว ว่าไม่เชื่อว่า ลิงกับคนมีบรรพบรุษที่มีพันธุกรรมในโลกนี้ร่วมกันครับ.
ถ้าคิดแค่เรื่องพันธุกรรม ต้องดูเรื่อง DNA นะครับ ไม่ต้องไปขุดซากฟอสซิลที่ไหน
ลองเอาหนังสือ มหัศจรรย์ ดีเอ็นเอ มาอ่านดูก็ได้ เขายืนยันว่ามีความเหมือนกัน
98-99% ส่วนมนุษย์ด้วยกัน ต่างกันอยู่ประมาณ 0.1% ถ้าไม่เชื่อต้องไปทำงานวิจัย
ออกมาเถียงนะครับ
(http://www.sarakadee.com/bookstore/cover_img/408_preview.jpg)


ซึ่งเป็นประเด็นหลักในเรื่องสมมุติฐานในแนวคิดของวิวัฒนาการ
อันนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดว่าเป็นประเด็นหลักนะครับ เรื่องเชื่อมโยงซากซอสซิล ไม่ใช่
ประเด็นหลักของทฤษฎี แต่เป็นหลักฐานแสดงว่ามีการวิวัฒนาการจริงตามทฤษฎี
ซึ่งแค่การเรียงลำดับความซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตแต่ละยุค ก็ต้องเรียกว่าพิสูจน์ทฤษฏี
ได้แล้วครับว่าถูกต้อง ตอนนี้ถ้าคิดว่าผิด ต้องหาหลักฐานมายืนยันว่าผิด ไม่ใช่มาบอก
ว่ามันมีหลักฐานว่าผิด แต่ยังหาไม่เจอ ไม่ได้ครับ

เช่นเดียวกับที่ไม่เชื่อว่ามีสิ่งมีชีวิตเล็กๆตัวแรกเกิดขึ้นเองจากสิ่งไม่มีชีวิตตามธรรมชาติ.
นี่ก็ยิ่งเข้าใจผิดไปกันใหญ่ มันเป็นทฤษฏีการกำเนิดสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่ทฤษฎีการกำเนิด
สปีซี คนละคนคนเสนอนะครับ มันต่ีอเนื่องกันก็จริง แต่ไม่ใช่อันเดียวกัน ถึงอันไหนผิด
ไป ก็ไม่ทำให้อีกอันตกไปนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 12:59

อ้าว แล้วส่ง ลิงค์ โนอา มาให้อ่านทำไมหว่า?

ส่วนเรื่องที่คุณมาโจมตีทฤษฏี วิวัฒนาการ ผมว่าคุณควรศึกษาให้ดีก่อนดีกว่า
การเอาทฤษฏีไปอธิบาย แล้วผิดพลาด มันผิดพลาดที่คนอธิบาย หรือเป็นที่
ตัวทฤษฎีกันแน่ ยกตัวอย่างเช่น

F = ma ถ้า m = 1  และ a=9.8
แล้วมีคนคำนวณว่า F = 10 พอวัดจริงแล้วได้ 9.8 ถามว่า
ทฤษฏีของนัวตันใช้ไม่ได้แล้วใช่ไหม!!!!

คุณลองไปอ่านดู ผมไม่ได้เริ่มตรงนั้น แต่มีคนพยายามพูดถึง

ผมก็บอกให้ไปอ่านตามนั้น เท่านั้นแหละ อ่านรู้เรื่องไม่รู้เรื่อง ผมถือว่าเป็นคนละประเด็นครับ

อยากพูดถึงโนอาหรือประเด็นศาสนา ไปตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่า..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 13:02
ตอนนี้ผมยังคุมประเด็นเท่าที่เสนอไปแล้ว ว่าไม่เชื่อว่า ลิงกับคนมีบรรพบรุษที่มีพันธุกรรมในโลกนี้ร่วมกันครับ.
ถ้าคิดแค่เรื่องพันธุกรรม ต้องดูเรื่อง DNA นะครับ ไม่ต้องไปขุดซากฟอสซิลที่ไหน
ลองเอาหนังสือ มหัศจรรย์ ดีเอ็นเอ มาอ่านดูก็ได้ เขายืนยันว่ามีความเหมือนกัน
98-99% ส่วนมนุษย์ด้วยกัน ต่างกันอยู่ประมาณ 0.1% ถ้าไม่เชื่อต้องไปทำงานวิจัย
ออกมาเถียงนะครับ
(http://www.sarakadee.com/bookstore/cover_img/408_preview.jpg)


ซึ่งเป็นประเด็นหลักในเรื่องสมมุติฐานในแนวคิดของวิวัฒนาการ
อันนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดว่าเป็นประเด็นหลักนะครับ เรื่องเชื่อมโยงซากซอสซิล ไม่ใช่
ประเด็นหลักของทฤษฎี แต่เป็นหลักฐานแสดงว่ามีการวิวัฒนาการจริงตามทฤษฎี
ซึ่งแค่การเรียงลำดับความซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตแต่ละยุค ก็ต้องเรียกว่าพิสูจน์ทฤษฏี
ได้แล้วครับว่าถูกต้อง ตอนนี้ถ้าคิดว่าผิด ต้องหาหลักฐานมายืนยันว่าผิด ไม่ใช่มาบอก
ว่ามันมีหลักฐานว่าผิด แต่ยังหาไม่เจอ ไม่ได้ครับ

เช่นเดียวกับที่ไม่เชื่อว่ามีสิ่งมีชีวิตเล็กๆตัวแรกเกิดขึ้นเองจากสิ่งไม่มีชีวิตตามธรรมชาติ.
นี่ก็ยิ่งเข้าใจผิดไปกันใหญ่ มันเป็นทฤษฏีการกำเนิดสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่ทฤษฎีการกำเนิด
สปีซี คนละคนคนเสนอนะครับ มันต่ีอเนื่องกันก็จริง แต่ไม่ใช่อันเดียวกัน ถึงอันไหนผิด
ไป ก็ไม่ทำให้อีกอันตกไปนะครับ

งานวิจัยที่ยกมาแล้วมีเยอะครับ คุณอ่านหรือเปล่าล่ะ..?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 13:05
ก่อน น้ำจะท่วมโลก

เจอกับ น้ำท่วมทุ่ง   ก่อน

 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

ท่วมไปแล้ว ยังไม่ทราบเหรอ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 13:12
ทนอ่านมาตั้งนานกลายเป็นว่าคุณ Q ไม่เชื่อเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ
ที่มีพื้นฐานงานวิจัยรองรับสนับสนุนต่อเนื่องกันมามากมาย

แต่คุณ Q กลับเชื่อเรื่องพิสดารอย่างน้ำท่วมโลกที่น่าจะมีการตั้งคำถาม
สงสัยในความเป็นไปได้มากกว่าทฤษฎีวิวัฒนาการหลายเท่า

---

ถ้าคุณ Q ไม่เชื่อว่าในตอนเริ่มต้น สิ่งมีชีวิตยุคแรกเกิดขึ้นจากสิ่งไม่มีชีวิต
แล้วคุณ Q คิดว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาจากอะไรล่ะครับ.. ผมงงนะ

คุณ Q ยังไม่เชื่อด้วยว่าสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน (เช่นมนุษย์) พัฒนาต่อเนื่อง
มาจากสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนน้อยกว่า (คือบรรพบุรุษของลิง) เท่ากับไม่เชื่อ
ด้วยว่าไพรเมท (เช่นบรรพบุรุษของลิง) พัฒนาต่อเนื่องมาจากต้นตระกูล
ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และไม่เชื่อว่าสัตว์เลื้อยคลานพัฒนามาจากสัตว์
ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์น้ำ ไม่เชื่อว่าสัตว์หลายเซลมาจากสัตว์เซลเดียว
เท่ากับปฏิเสธทฤษฎีกำเนิดสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

ตกลงที่คุยกันมานี่คุณ Q จะบอกว่าพระเจ้าเป็นผู้เนรมิตและสิ่งมีชีวิต
ทุกชนิดในโลกเป็นแบบที่เห็นมาตั้งแต่ต้น โดยไม่เคยมีวิวัฒนาการ
อย่างนั้นใช่ไหมครับ ผมจะได้รู้ว่ากำลังอ่านเรื่องศาสนาอยู่

---

อย่างเรื่องน้ำท่วมโลกผมเชื่อเพียงแค่ว่าเคยมีเหตุการณ์อะไรบางอย่าง
ในสมัยโบราณทำให้เกิดตำนานน้ำท่วมโลก และมีการต่อเรือใหญ่ซึ่ง
ได้ใช้ขนสัตว์ชนิดต่างๆ จำนวนมากหนีน้ำท่วม แต่จะมีน้ำท่วมโลกจริง
หรือไม่ หรือเป็นเพียงน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่นั้นผมเชื่ออย่างหลังมากกว่า
(ไม่กี่วันก่อนไปเห็นพระมนูธรรมศาสตร์ ก็มีพูดเรื่องน้ำท่วมโลก และมี
การต่อเรือใหญ่เหมือนเรื่องโนอาร์ แสดงว่าอินเดียก็มีตำนานนี้ด้วย)

ผมเคยดูสารคดีโทรทัศน์ที่เสนอว่ามีน้ำจากใต้โลกขึ้นมาท่วมนะครับ
แต่ดูแล้วก็เชื่อไม่ลงเหมือนกัน สำหรับผมมันออกจะแฟนตาซีเกินไป


เอที่ผมเอามา อ่านเข้าใจหรือเปล่าละครับ..? นั่นงานวิจัยตรงนะ

เขาก็สรุปมาให้แล้ว ว่าสนับสนุนโลกอายุน้อย

แล้วเป็นล้านๆปี มีปัญหาครับ พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีหลักฐานตรงๆ ที่ยืนยันได้

ชั้นนำแข็งนั้นก็อายุน้อย วิธีตรวจสอบอายุเขาละเอียดพ่วงมาด้วย

แนวคิดวิวัฒนาการ ใช้เวลายาวนาน ถ้าแค่หลักหมืนหรือแสนปีมันก็ผิดอยู่แล้ว


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 13:41
1.เรื่องน้ำเคยท่วมโลกครั้งใหญ่ หรือท่วมภูเขาเช่นแกรนแคนยอน หรือทำให้เกิดเดดซีนั่น นี่แน่นอนครับ..

2.เรื่องบักแตรีตัวแรก ไม่มีใครทราบว่าเกิดที่ไหน..อย่างไร?ไม่มีใครพิสูจน์ด้วย?

3.เรื่องลิงกับคนเป็นสัตว์โลกเหมือนกัน ทราบดีครับ ยีนเหมือนกันบ้างแสดงว่ามีบรรพบุรุษร่วมกัน ตรงนี้ขำนะ..ครับ

ลิงไม่มีหางบอกเกิดจากการวิวัฒนาการมาจากลิงมีหาง นี้ก็ขำ.. ผมเชื่อเรื่องพันธุกรรมและการผ่าเหล่า ส่วนสปีชีใหม่

มาจากการการขยายการแบ่งในรายละเอียด ..นานแค่ไหนลิงก็ยังคนเป็นลิงอันนี้น่าจะถูกต้องกว่า ปัจจุบันก็ยังคงมีลิงให้เห็น มีปลาวาฬให้เห็น

4.สภาพแวดล้อมมีผลต่อพันธุกรรมตรงไหนบ้างครับ.. ผมว่ามีผลไม่มากนะ ส่วนใหญ่มาจาการสืบพันธุ์ การเลี้ยงดูมีผลต่อบุคคลิกภาพและสติปัญญา โดยเฉพาะมนุษย์


ทฤษฎีกำเนิดชีวิตใครเป็นต้นคิดครับ..?? ขอดูงานต้นฉบับหน่อย..?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 16-08-2007, 13:44
เพนกวินก็มาอาศัยอยู่ตั้งแต่ 5500 ปี ถึง 6500 ปีก่อนปัจจุบัน

http://www.hi.is/~oi/quaternary_glacial_history_of_antarctica.htm#Fig.%2016


Fig. 11. The large penguin rookery in Hope Bay. Penguins have occupied this site since c. 5.5 ka BP. The earliest Holocene penguin occupation in the Antarctic Peninsula-South Shetland Islands region has been dated to c. 6.5 ka BP in Marguerite Bay.
(Photograph: &Oacute;lafur Ing&oacute;lfsson, 1987)


http://www.dmr.go.th/news_dmr/data/2211.html

      ข่าวประจำวันจากหนังสือพิมพ์
    
เพนกวินยักษ์เข้าเขตร้อนเร็วกว่าที่คาด หลังพบซากฟอสซิลในเปรู

โดย ผู้จัดการออนไลน์    27 มิถุนายน 2550 15:16 น.

            เอเจนซี/บีบีซีนิวส์ - พบเพนกวินยักษ์อพยพสู่เปรูตั้งแต่เมื่อกว่า 40 ล้านปีที่แล้ว หักล้างความเชื่อเดิมของนักวิจัยที่ว่า นกที่บินไม่ได้เหล่านี้ขยับขยายสู่เขตอบอุ่นเมื่อ 10 ล้านปีก่อน
       
       ใครจะเชื่อว่านักโบราณคดีจะสามารถค้นพบซากฟอสซิลอายุกว่า 36 ปีของเพนกวินยักษ์ผู้รักความหนาวเย็นเป็นชีวิตจิตใจได้ในประเทศแถบใกล้เส้นศูนย์สูตรอย่างเปรู
       
       จูเลีย คลาร์ก (Julia Clarke) นักบรรพชีวินวิทยาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล โลก และบรรยากาศ มหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนา (Proceedings of the National Academy of Sciences : PNAS ) โดยระบุว่า มีเพนกวิน 2 พันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเปรูเมื่อราว 42 ล้านปีที่แล้ว บ่งชี้ว่า เพนกวินมาถึงดินแดนแถบเส้นศูนย์สูตรเร็วกว่าที่เคยคิดกันไว้
       
       เพนกวินพันธุ์ "ไอคาดิบเตส ซาลาซี" (Icadyptes salasi) ที่นักวิจัยค้นพบสูงถึง 1.5 เมตร สูงกว่าเพนกวินในปัจจุบัน และสูงเป็นอันดับ 3 ของเพนกวินที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลก เพนกวินพันธุ์นี้มีจะงอยปากยาว 7 นิ้วและแหลมเหมือนหอก ทว่า นักวิจัยยังไม่สามารถรู้ได้ว่าเพนกวินพันธุ์นี้กินอะไรเป็นอาหาร
       
       นอกจากนี้ นักบรรพชีวินวิทยายังพบโครงกระดูกของเพนกวินพันธุ์เปรูดิบเตส เดฟรีซี (Perudyptes devriesi) ที่มีขนาดใกล้เคียงกับเพนกวินคิง (King Penguin) คือ สูง 0.75-0.9 เมตร ซึ่งแสดงถึงวิวัฒนาการในช่วงต้นๆ ของเพนกวิน โดยเพนกวินทั้ง 2 พันธุ์ที่ค้นพบล่าสุดนี้ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
       
       ซากฟอสซิลของเพนกวินที่พบครั้งนี้ถือว่าสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา และเป็นการท้าทายสมมติฐานในอดีตเกี่ยวกับช่วงเวลาและรูปแบบการวิวัฒนาการและการอพยพเคลื่อนย้ายของเพนกวิน
       
       คลาร์กบอกว่า ปกติแล้ว เพนกวินขนาดใหญ่จะอาศัยอยู่ในเขตหนาวเย็นหรืออยู่บนพื้นที่ที่อยู่บริเวณละติจูดที่สูงกว่า แต่ก็ใช่ว่าเพนกวินส่วนใหญ่จะชอบพื้นที่หนาวเย็น อย่างเพนกวินแอฟริกันหรือกลาปากอสต่างชอบน้ำที่อุ่นกว่าเพนกวินยักษ์
       
       นักบรรพชีวินวิทยาเคยเชื่อกันมาตลอดว่า เพนกวินมีวิวัฒนาการอยู่ในเขตหนาวเย็นของมหาสมุทรแอนตาร์กติกและนิวซีแลนด์ และเพิ่งอพยพสู่พื้นที่อบอุ่นที่อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรมากขึ้นเมื่อราว 4-8 ล้านปีที่แล้ว ทว่าฟอสซิลเพนกวินที่ค้นพบทั้ง 2 พันธุ์นี้กลับบ่งชี้ว่าพวกเขาอยู่ในแถบร้อนมากกว่า 10 ล้านปีเสียอีก

(คอลัมน์:วิทยาศาสตร์)


และอีกมากมายในอากู๋

http://www.google.co.th/search?source=ig&hl=th&q=%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A5+%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2+Google&meta=


คุณ Q ว่า

สัตว์ชนิดใดเก่าแก่ที่สุดในโลกอะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 16-08-2007, 13:48
ทฤษฎีการกำเนิดสิ่งมีชีวิต

http://www.geocities.com/anek04/evolution/naturalistic.html
     โอปาริน (Oparin) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย และ ฮัลเดน (Haldane) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เสนอแนวความคิดว่า สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดในทะเลโดยที่ในขณะนั้นบรรยากาศของโลกดึกดำบรรพ์ประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด เช่น มีเทน แอมโมเนีย ไนโตรเจน ไอน้ำ ฯลฯ แต่ไม่มีออกซิเจนอิสระและอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์ เช่นรังสีอัลตราไวโอเลต รังสีคอสมิก พลังงานจากการสลายสารกัมมันตรังสีบนโลกประกอบกับฟ้าแลบฟ้าผ่าทำให้ก๊าซเหล่านั้นเกิดปฏิกิริยาเคมีรวมกันเป็นสารอินทรีย์ละลายลงในทะเล สารอินทรีย์หลายโมเลกุลจะรวมตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้นโดยบังเอิญ

     มิลเลอร์ (Stanley Miller) ได้ทำการทดลองโดยสร้างเครื่องมือ เป็นภาชนะบรรจุก๊าซชนิดต่างๆ ที่เข้าใจว่าเป็นบรรยากาศของโลกดึกดำบรรพ์ให้หมุนเวียนผ่านน้ำเดือดและไอน้ำแล้วปล่อยไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปในภาชนะนั้น จากนั้นได้ทำการตรวจสอบพบว่ามีกรดอะมิโนและสารอินทรีย์ ที่พบในขบวนการเมตาโบลิซึมเกิดขึ้น ต่อมาได้มีการทดลองในทำนองเดียวกันนี้ โดยใช้แหล่งพลังงานต่างๆ กันไป ปรากฏว่าได้ผลคล้ายคลึงกัน ทำให้คาดว่าครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในโลกของเรานี้มีสารเคมีที่ซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เอง จากสารเคมีง่ายๆ เหมือนกับที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำให้เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 14:04
ทฤษฎีการกำเนิดสิ่งมีชีวิต

http://www.geocities.com/anek04/evolution/naturalistic.html
     โอปาริน (Oparin) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย และ ฮัลเดน (Haldane) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เสนอแนวความคิดว่า สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดในทะเลโดยที่ในขณะนั้นบรรยากาศของโลกดึกดำบรรพ์ประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด เช่น มีเทน แอมโมเนีย ไนโตรเจน ไอน้ำ ฯลฯ แต่ไม่มีออกซิเจนอิสระและอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์ เช่นรังสีอัลตราไวโอเลต รังสีคอสมิก พลังงานจากการสลายสารกัมมันตรังสีบนโลกประกอบกับฟ้าแลบฟ้าผ่าทำให้ก๊าซเหล่านั้นเกิดปฏิกิริยาเคมีรวมกันเป็นสารอินทรีย์ละลายลงในทะเล สารอินทรีย์หลายโมเลกุลจะรวมตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้นโดยบังเอิญ

     มิลเลอร์ (Stanley Miller) ได้ทำการทดลองโดยสร้างเครื่องมือ เป็นภาชนะบรรจุก๊าซชนิดต่างๆ ที่เข้าใจว่าเป็นบรรยากาศของโลกดึกดำบรรพ์ให้หมุนเวียนผ่านน้ำเดือดและไอน้ำแล้วปล่อยไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปในภาชนะนั้น จากนั้นได้ทำการตรวจสอบพบว่ามีกรดอะมิโนและสารอินทรีย์ ที่พบในขบวนการเมตาโบลิซึมเกิดขึ้น ต่อมาได้มีการทดลองในทำนองเดียวกันนี้ โดยใช้แหล่งพลังงานต่างๆ กันไป ปรากฏว่าได้ผลคล้ายคลึงกัน ทำให้คาดว่าครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในโลกของเรานี้มีสารเคมีที่ซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เอง จากสารเคมีง่ายๆ เหมือนกับที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำให้เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ

ตามที่ให้มา ผมยังสับสนครับ ว่ากำเนิดสิ่งมีชิวิตเป็นส่วนหนึ่งของ แนวคิดวิวัฒนาการหรือไม่??แต่ต้นคิดนี่เพิ่งทราบ ขอบคุณครับ..

สิ่งมีชีวิตเกิดจากวิวัฒนาการตามธรรมชาติ (Natural Theory)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 14:11

อ้างถึง
คุณ Q ว่า

สัตว์ชนิดใดเก่าแก่ที่สุดในโลกอะครับ


บอกตามตรงว่าไม่ทราบครับ..แต่ที่ไม่เชื่อว่าเป็นบักเตรีเพราะสาเหตุหลายประการ

ผมเชื่อเรื่องโลกอายุน้อยมากกว่า ดูงานวิจัยที่ผมยกมาก็หนักแน่นดี..เรื่องที่เขาเอาถ่านหินจากแหล่งต่างๆมาทดลอง

การทดลองสร้างสิ่งมีชีวิตแม้เพียงเซลล์เดียวจากสารอินทรีย์ยังไม่เห็นมีใครทำได้..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 16-08-2007, 14:14
ทฤษฎี กำเนิดชีวิตแรก

กับ

ทฤษฎี วิวัฒนาการ คนละส่วนกันครับ

ในเวปที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่ผมให้ไป
มีเรื่องการถือกำเนิดเป็นหลายทฤษฎีเช่นกัน

แต่หลักๆแล้วมีวิวัฒนาการแน่ครับ


ส่วนเรื่องสัตว์นั้นเอาเฉพาะฟอสซิล ก็น่าจะเห็นว่าโลกอายุเป็นล้านปีแล้วนี่ครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 14:27
ทฤษฎี กำเนิดชีวิตแรก

กับ

ทฤษฎี วิวัฒนาการ คนละส่วนกันครับ

ในเวปที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่ผมให้ไป
มีเรื่องการถือกำเนิดเป็นหลายทฤษฎีเช่นกัน

แต่หลักๆแล้วมีวิวัฒนาการแน่ครับ


ส่วนเรื่องสัตว์นั้นเอาเฉพาะฟอสซิล ก็น่าจะเห็นว่าโลกอายุเป็นล้านปีแล้วนี่ครับ

ผมตั้งคำถามนะครับ คาร์บอนหรือออกซิเจนที่เอามาวัดครึ่งชีวิตกัมมันตภาพรังสี อยู่ในระบบปิดหรือมีการถ่ายเทกับสภาพแวดล้อมครับ

อย่างเรื่องน้ำนี่เข้ามาอยู่ในโลกตั้งแต่เมื่อไหร่..?และพบน้ำในดาวอื่นหรือไม่?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 14:36


ทำไมเราไม่พบร่องรอยของมนุษย์ที่เป็นฟอสซิล ในช่วงเจ็ดพันถึงหนึ่งหมืนปีครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 16-08-2007, 15:09
ผมตั้งคำถามนะครับ คาร์บอนหรือออกซิเจนที่เอามาวัดครึ่งชีวิตกัมมันตภาพรังสี อยู่ในระบบปิดหรือมีการถ่ายเทกับสภาพแวดล้อมครับ

อย่างเรื่องน้ำนี่เข้ามาอยู่ในโลกตั้งแต่เมื่อไหร่..?และพบน้ำในดาวอื่นหรือไม่?

แล้วมันต่างอะไรกันหรือ? การอยู่ในระบบปิด จะทำให้การสลายตัวน้อยลงหรือครับ
ไมเคยเได้ยินมาก่อน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 16-08-2007, 15:15

ทำไมเราไม่พบร่องรอยของมนุษย์ที่เป็นฟอสซิล ในช่วงเจ็ดพันถึงหนึ่งหมืนปีครับ?
:slime_shy:

สถาวะแวดล้อม แต่ละยุคมันต่างกันครับ

สิ่งมีชีวิตจึงอยู่รอดเฉพาะที่เข้าได้กับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

การวิวัฒนการในยุคแรก จึงเป็นพวกสัตว์ทะเล ที่เครื่องในไม่จำเพาะหน้าที่ครับ

เพราะเป็นยุคที่บนบกยังมีอาหาร (พืช) น้อยอยู่

จากนั้นมาก็ยุค แห่งสัตว์บกเมื่อพืชแพร่เต็มแผ่นดิน

แต่เปลือกโลกยังไม่นิ่ง สัตว์บนบกจึงเป็นสัตว์ที่มีร่างกายหนา และ มั่นคงด้วย 4 เท้า

ซึ่งคือไดโนเสาร์ยุคแรก

พวกนี้ก็เริ่มมาจากน้ำทั้งนั้นครับ

ยุคแรกไดโนเสาร์ก็น่าจะคล้ายๆ ปลาตีน อยู่ไม่น้อย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 15:20



ภาพในถ้ำที่ว่าอายุ เป็นหมืนๆมี มีการพิสูจน์อายุ จากตัวอย่างอะไรครับ..?

คนเดียววาดภาพเดียวในถ้าเดียวแน่หรือ พบภาพอื่นจากฝีมือคนๆเดียวบ้างกันหรือไม่?

มีรายละเอียดประกอบงานวิจัยหรือไม่?? ว่าทดลองและสรุปได้อย่างไร?ในเรื่องอายุ? มีการเก็บตัวอย่างที่เชื่อถือได้หรือไม่?

ยิ่งที่บอกกระดูกต่างๆอายุเป็นล้านปีนี่ วัดโดยเก็บตัวอย่างอย่างไร ตั้งสมติฐานอย่างไร?ผมสงสัยจริงๆ

แม้แต่นักธรณีวิทยาก็บอกแล้วว่า ใช้ค่าแอ็บโซลูทของธาตุทุกชนิดในโลก มาคำนวนหาอายุโลก

ธาตุเหล่านั้นมีมาอยู่เดิมก่อนกำเนิดโลก หรือว่าเกิดพร้อมกับโลก

ตัวอย่างอย่างโอสิบแปด เป็นอยู่ในน้ำนี่มันไหลไปมาถ่ายเทจากที่ต่างๆได้หรือไม่

ถ้าเราให้สัตว์หายใจโอสิบแปดเข้าไป จะตรวจพบในร่างกายของสัตว์หรือไม่?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 15:26
เอที่ผมเอามา อ่านเข้าใจหรือเปล่าละครับ..? นั่นงานวิจัยตรงนะ

เขาก็สรุปมาให้แล้ว ว่าสนับสนุนโลกอายุน้อย

แล้วเป็นล้านๆปี มีปัญหาครับ พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีหลักฐานตรงๆ ที่ยืนยันได้

ชั้นนำแข็งนั้นก็อายุน้อย วิธีตรวจสอบอายุเขาละเอียดพ่วงมาด้วย

แนวคิดวิวัฒนาการ ใช้เวลายาวนาน ถ้าแค่หลักหมืนหรือแสนปีมันก็ผิดอยู่แล้ว

งานวิจัยใครๆ ก็ทำได้ครับแต่ได้รับการยอมรับขนาดไหนก็อีกเรื่อง
คุณ Q เอามาเยอะแยะขนาดนั้น บอกตามตรงว่าขี้เกียจอ่านน่ะครับ

เอาง่ายๆ เข้าประเด็นสำคัญเลย.. คุณ Q สรุปว่าโลกอายุกี่ปีครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 15:32
ที่ผมถามเพราะสนใจจริงๆ นะครับ เพราะรู้สึกว่าพื้นฐานความเชื่อต่างๆ ของคุณ Q
อยู่นอกกระแสหลักแบบหลุดโลกไปเลย  ผมเองก็เพิ่งจะเคยเจอคนอย่างคุณ Q
ก็เลยอยากศึกษาน่ะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 15:45
ที่ผมถามเพราะสนใจจริงๆ นะครับ เพราะรู้สึกว่าพื้นฐานความเชื่อต่างๆ ของคุณ Q
อยู่นอกกระแสหลักแบบหลุดโลกไปเลย  ผมเองก็เพิ่งจะเคยเจอคนอย่างคุณ Q
ก็เลยอยากศึกษาน่ะครับ

ผมคิดว่าคุณเข้าใจผิดเรื่องหลุดโลกนะครับ

จากที่ผมทดลองเสริชด้วยคีเวิร์ดEvolution กับ creation ในมาสเตอร์เจอร์นัล พบพอๆกันครับ

แต่ถ้าใช้กูเกิลพบ ครีเอชันสามร้อยกว่าล้าน อีโวลูชั่นพบเพียงสองในสามครับสองร้อยกว่าล้านเศษ

งานวิจัยที่ยกมาก็ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอายุชั้นน้ำแข็งเลยครับ ประวัติเขาก็มีรัฐบาลสหรัฐยอมรับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 15:47

งานวิจัยใครๆ ก็ทำได้ครับแต่ได้รับการยอมรับขนาดไหนก็อีกเรื่อง
คุณ Q เอามาเยอะแยะขนาดนั้น บอกตามตรงว่าขี้เกียจอ่านน่ะครับ

เอาง่ายๆ เข้าประเด็นสำคัญเลย.. คุณ Q สรุปว่าโลกอายุกี่ปีครับ?

ถ้าบอกว่าเป็นล้านปีนะครับลองตอบคำถามที่ผมยกมาในเรื่องธรณีวิทยาหรือชั้นน้ำแข็งก่อนจะดีกว่า

และเรื่องน้ำก็ไม่มีใครทราบจริงๆหรอกครับว่าเข้ามาอยู่ในโลกตั้งแต่เมื่อไหร่..

งานวิจัยตรงนั้นไม่มีรองรับ คาร์บอนสิบสี่เข้ามาอยู่ในโลกตั้งแต่เมื่อไหร๋?

ทำให้บอกอายุโลกมั่วๆไม่ได้หรอกครับ ยิ่งไม่อิงงานวิจัยแต่ละประเด็นนี่จะไปกันใหญ่


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 16:18

ครึ่งชีวิตของคาร์บอนสิบสี่เพียง ห้าพันเจ็ดร้อยกว่าปีครับ และเป็นคาร์บอนที่มาจากไหนบ้าง? เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมได้อย่างไร..

มีการถ่ายเทไปมาได้มากน้อยเพียงไรก็ไม่ทราบ อย่างน้ำทะเลเค็มก็เพราะการถ่ายเทของน้ำให้ไหลเวียนลงทะเลได้ตลอดเวลาแม้ฝนไม่ตกในบางพื้นที่ก็ตาม

ก็มีน้ำใต้ดิน..มันมีวัฎจักรของน้ำในโลกเช่นกันครับ..ถ้าบอกอายุของน้ำในโลกได้ตรงๆก็น่าจะบอกอายุของสิ่งมีชิวิตได้มากกว่า..

เพราะสิ่งมีชีวิตมีน้ำเป็นองค์ประกอบ..มันจะนานเกินกว่าอายุน้ำไม่ได้แน่ แต่คาร์บอนสิบสี่เขาเอามาเทียบกับอายุโลกอีกที

ซึงสิ่งมีชีวิตที่เกิดตัวแรกอายุเท่าไรก็ไม่มีการยืนยันการมีอยู่จริงหรืออายุได้อีก เอามาจากสมมุติฐานในอายุแผ่นหินอีกที ซึ่งบอกว่ามีร่องรอยของบักเตรี

แล้วผมสงสัยว่าวัดอายุของเซลล์ตรงๆได้หรือไม่ เรื่องร่องรอยยิ่งไม่ต้องพูดถึง ร่องรอยเกิดขึ้นเมื่อไหร่ทราบได้อย่างไร? น้ำย่อยสลายหินได้ทราบหรือไม่?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 16:50
ผมแค่ถามง่ายๆ คือ .. คุณ Q สรุปว่าโลกอายุกี่ปีก็ระบุมาเลยสิครับ
ยังไม่ต้องอธิบายอะไรประกอบก็ได้.. เอาแค่ตัวเลขอายุโลกน่ะครับ

หรือถ้าไม่อยากระบุเป็นตัวเลขกลมๆ  คุณ Q ตอบคำถามนี้มาก็ได้
คือคุณ Q คิดว่าโลกอายุไม่ถึงหนึ่งหมื่นปี "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" ครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 17:34
ผมแค่ถามง่ายๆ คือ .. คุณ Q สรุปว่าโลกอายุกี่ปีก็ระบุมาเลยสิครับ
ยังไม่ต้องอธิบายอะไรประกอบก็ได้.. เอาแค่ตัวเลขอายุโลกน่ะครับ

หรือถ้าไม่อยากระบุเป็นตัวเลขกลมๆ  คุณ Q ตอบคำถามนี้มาก็ได้
คือคุณ Q คิดว่าโลกอายุไม่ถึงหนึ่งหมื่นปี "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" ครับ?


พอหาขอบเขตได้มั้ยครับ..สำหรับกรณี อิงจากคาร์บอน14?

ในส่วนที่มีสิ่งมีชีวิต ส่วนที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต คุณจีระศักดิ์เชื่อว่ากีล้านปีจากสมุติฐานอะไรครับ งานวิจัยต้นฉบับอะไรก็ได้..

ส่วนผมไม่เชื่อคงไม่จำเป็นต้องทราบจึงจะไม่เชื่อได้ ที่พูดถึงตรงหมืนปี บอกไปแล้วว่าต้องการหาร่องรอยมนุษย์ในส่วนที่ใกล้ๆตัวมากขึ้นครับถ้ามีนะครับ

ก่อนยุคภาษาที่เก่าแก่ที่สุด..ใครเชื่อต้องมีพื้นฐานความคิดที่ว่าทำไมเชื่อคนที่ไม่เชื่อเพียงแสดงว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องนำเสนอแนวคิดใหม่หรอกครับ

คุณจีระศักดิ์พิสูจน์ได้หรือไม่ ว่าชั่วไมงที่แล้ว ในกล่องใบหนึ่งว่างเปล่า??และไม่มีอะไร? หรืออาจะไม่มีกล่องใบนั้นอยู่เลย

ขณะที่คุณไม่เห็นกล่องใบนั้นเลยด้วยซ้ำ หรือเชื่อตามๆกันมา..ครับ คำว่าไม่ทราบแน่ชัด ยังไม่ตัดสินใจพอเป็นคำตอบได้ไหม?




อ่านประกอบแล้วน่าเชื่อถือไหมครับ สั้นๆ


ABSTRACT

Given the short 14C half-life of 5730 years, organic materials purportedly older than 250,000 years, corresponding to 43.6 half-lives, should contain absolutely no detectable 14C. (One gram of modern carbon contains about 6 x 1010 14C atoms, and 43.6 half-lives should reduce that number by a factor of 7.3 x 10-14.)  An astonishing discovery made over the past twenty years is that, almost without exception, when tested by highly sensitive accelerator mass spectrometer (AMS) methods, organic samples from every portion of the Phanerozoic record show detectable amounts of 14C!  14C/C ratios from all but the youngest Phanerozoic samples appear to be clustered in the range 0.1-0.5 pmc (percent modern carbon), regardless of geological ‘age.’ A straightforward conclusion that can be drawn from these observations is that all but the very youngest Phanerozoic organic material was buried contemporaneously much less than 250,000 years ago.  This is consistent with the Biblical account of a global Flood that destroyed most of the air-breathing life on the planet in a single brief cataclysm only a few thousand years ago.



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 17:37
คุณ Q คิดว่าโลกอายุไม่ถึงหนึ่งหมื่นปี "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" ครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 17:45
คุณ Q คิดว่าโลกอายุไม่ถึงหนึ่งหมื่นปี "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" ครับ?


ผมไม่เชื่อเรื่อง หลายพันล้านปีด้วยวิธีที่ไม่มีใครกล้ายืนยันหรอกครับ..

ขอดูงานวิจัยต้นฉบับหน่อยครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 18:03
ผมไม่เชื่อเรื่อง หลายพันล้านปีด้วยวิธีที่ไม่มีใครกล้ายืนยันหรอกครับ..

ขอดูงานวิจัยต้นฉบับหน่อยครับ..

แล้วคุณ Q เชื่อที่กี่ปีล่ะครับ?

ก. หมื่นปี
ข. แสนปี
ค. ล้านปี
ง. สิบล้านปี
จ. ร้อยล้านปี

คำถามง่ายๆ ครับ เลือกมาสักข้อ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 18:05
แล้วคุณ Q เชื่อที่กี่ปีล่ะครับ?

ก. หมื่นปี
ข. แสนปี
ค. ล้านปี
ง. สิบล้านปี
จ. ร้อยล้านปี

คำถามง่ายๆ ครับ เลือกมาสักข้อ

คุณเชื่อต้องเป็นฝ่ายตอบ คำถามง่ายๆคุณตอบเองดีกว่าครับ..ตอบได้หรือเปล่า ? :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 18:08
คุณเชื่อต้องเป็นฝ่ายตอบ คำถามง่ายๆคุณตอบเองดีกว่าครับ..ตอบได้หรือเปล่า ? :slime_bigsmile:

ผมถามความเชื่อ "ของคุณ Q" นะครับ ว่าคุณเชื่ออายุโลกที่กี่ปี
ก็ตัวคุณเองบอกว่าเชื่อเรื่องโลกอายุน้อย

ก็บอกมาสิครับว่า "อายุน้อย" ของคุณ Q น่ะมันกี่ปีครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 18:12



คุณจีรศักดิ์เชื่อจากเอกสารฉบับไหนครับ..

กี่ล้านปีดีครับ..? ขอบเขต ไม่สำคัญเท่าที่มาของความเชื่อมังครับ..

ยิ่งพยายามจะเป็นฝ่ายถาม ต้องหาความสมเหตุสมผลของความเชื่อตนเองก่อนครับ..


หลายพันล้านปีมีอะไรสนับสนุนความคิดได้บ้าง...แล้วมันสมเหตุสมผลอย่างไร?

อันนี้ผมไม่เข้าใจจริงๆ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 16-08-2007, 18:14

ทำไมเราไม่พบร่องรอยของมนุษย์ที่เป็นฟอสซิล ในช่วงเจ็ดพันถึงหนึ่งหมืนปีครับ?
คุณควรทำความเข้าใจเรื่องความหมายของคำว่าฟอสซิลก่อนที่จะนำมาใช้นะครับ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_hominina_fossils


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 18:29


คุณจีรศักดิ์เชื่อจากเอกสารฉบับไหนครับ..

กี่ล้านปีดีครับ..? ขอบเขต ไม่สำคัญเท่าที่มาของความเชื่อมังครับ..

ยิ่งพยายามจะเป็นฝ่ายถาม ต้องหาความสมเหตุสมผลของความเชื่อตนเองก่อนครับ..


หลายพันล้านปีมีอะไรสนับสนุนความคิดได้บ้าง...แล้วมันสมเหตุสมผลอย่างไร?

อันนี้ผมไม่เข้าใจจริงๆ

งานวิจัยทฤษฎี "โลกอายุน้อย" ที่คุณ Q เชื่อเขาบอกว่าโลกอายุกี่ปีล่ะครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 18:32
คุณควรทำความเข้าใจเรื่องความหมายของคำว่าฟอสซิลก่อนที่จะนำมาใช้นะครับ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_hominina_fossils


โครงกระดูกมีไหมครับ.??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 19:21
ตกลงทฤษฎี "โลกอายุน้อย" ที่คุณ Q เชื่อเขาบอกไว้ไหมครับว่าโลกอายุกี่ปี?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 19:26
ตกลงทฤษฎี "โลกอายุน้อย" ที่คุณ Q เชื่อเขาบอกไว้ไหมครับว่าโลกอายุกี่ปี?


ตอบเท่าที่ควรตอบไปแล้วครับ..คุณจีรศักด์อ่านดีๆ ทำความเข้าใจดีกว่าครับ.
 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 19:36

  :slime_cool:

Ask GeoMan...   http://jersey.uoregon.edu/~mstrick/AskGeoMan/geoQuerry3.html

--------------------------------------------------------------------------------

How does the scientific method work?
The classical approach to solving anything in science starts with a "problem," which through experimentation and prediction, evolves through the "hypothesis" and "theory" stages into a scientific "law." This is fine as far as it goes, but I like to adjust the wording of the first step, and add two more steps at the end. My version is as follows:

1. Wild and Crazy Idea

If we assume that all science starts as science fiction, I like this terminology better than just calling it a "problem." Getting beyond this involves setting up experiments to verify your idea.

2. Hypothesis

If your experimental data fail to support your idea, you'll need to go back to Step 1. If your experiments do support your idea, move on to Step 3.

3. Theory

Great, your experiments support your hypothesis, and you are now the proud owner of a theory. Getting beyond this into the law stage requires that you can use your theory to predict the results of additional work, and that your predictions hold. As before, if they don't, return to an earlier step and try again. If your predictions hold consistently, move on to the next stage.

4. Law

This is where most discussions of the scientific method end. However, I feel two additional steps are almost guaranteed to occur.

5. Dogma

Laws tend to be supported to such an extent that they almost become dogma. Take gravity for example. When is the last time you dropped a pencil and it floated away. Pretty stupid idea, huh? We are all so sure that gravity is THE LAW that we don't even consider the possibility that there may be exceptions or situations when it breaks down and doesn't work. This leads to the last and final stage:

6. Stagnation

This is the death of scientific thought, and should have no place in YOUR thoughts. Question all scientific laws, especially the ones that are the most firmly steeped in dogma. (But don't be stupid about it - throwing yourself off a cliff to test gravity doesn't make much sense!)



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 19:39

ตอบเท่าที่ควรตอบไปแล้วครับ..คุณจีรศักด์อ่านดีๆ ทำความเข้าใจดีกว่าครับ.
 :slime_bigsmile:

ต้องทำความเข้าใจอะไรล่ะครับ.. ผมแค่ถามว่าเขาบอกไว้หรือเปล่าว่าโลกอายุกี่ปี
ถ้าเขาไม่ได้บอกคุณ Q ก็ตอบว่าไม่ได้บอก ถ้าเขาบอกไว้คุณ Q ก็แค่ตอบมาว่ากี่ปี

ตกลงจะคุยกันหรือเปล่าครับ มันยากเย็นตรงไหนหรือที่จะตอบ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 20:10
พอหาขอบเขตได้มั้ยครับ..สำหรับกรณี อิงจากคาร์บอน14?

ในส่วนที่มีสิ่งมีชีวิต ส่วนที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต คุณจีระศักดิ์เชื่อว่ากีล้านปีจากสมุติฐานอะไรครับ งานวิจัยต้นฉบับอะไรก็ได้..

ส่วนผมไม่เชื่อคงไม่จำเป็นต้องทราบจึงจะไม่เชื่อได้ ที่พูดถึงตรงหมืนปี บอกไปแล้วว่าต้องการหาร่องรอยมนุษย์ในส่วนที่ใกล้ๆตัวมากขึ้นครับถ้ามีนะครับ

ก่อนยุคภาษาที่เก่าแก่ที่สุด..ใครเชื่อต้องมีพื้นฐานความคิดที่ว่าทำไมเชื่อคนที่ไม่เชื่อเพียงแสดงว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องนำเสนอแนวคิดใหม่หรอกครับ

คุณจีระศักดิ์พิสูจน์ได้หรือไม่ ว่าชั่วไมงที่แล้ว ในกล่องใบหนึ่งว่างเปล่า??และไม่มีอะไร? หรืออาจะไม่มีกล่องใบนั้นอยู่เลย

ขณะที่คุณไม่เห็นกล่องใบนั้นเลยด้วยซ้ำ หรือเชื่อตามๆกันมา..ครับ คำว่าไม่ทราบแน่ชัด ยังไม่ตัดสินใจพอเป็นคำตอบได้ไหม?




อ่านประกอบแล้วน่าเชื่อถือไหมครับ สั้นๆ


ABSTRACT

Given the short 14C half-life of 5730 years, organic materials purportedly older than 250,000 years, corresponding to 43.6 half-lives, should contain absolutely no detectable 14C. (One gram of modern carbon contains about 6 x 1010 14C atoms, and 43.6 half-lives should reduce that number by a factor of 7.3 x 10-14.)  An astonishing discovery made over the past twenty years is that, almost without exception, when tested by highly sensitive accelerator mass spectrometer (AMS) methods, organic samples from every portion of the Phanerozoic record show detectable amounts of 14C!  14C/C ratios from all but the youngest Phanerozoic samples appear to be clustered in the range 0.1-0.5 pmc (percent modern carbon), regardless of geological ‘age.’ A straightforward conclusion that can be drawn from these observations is that all but the very youngest Phanerozoic organic material was buried contemporaneously much less than 250,000 years ago.  This is consistent with the Biblical account of a global Flood that destroyed most of the air-breathing life on the planet in a single brief cataclysm only a few thousand years ago.



อ่านไม่เข้าใจตรงไหนครับ..?สังเกตว่าถามโดยไม่ได้อ่านตรงที่ควรอ่านเลย มาร์คสีแดงไว้แล้ว

ไม่เชื่อวิวัฒนาการแบบคนมีบรรพบุรุษร่วมกับลิงด้วยความไม่เชื่อมโยงขาดความต่อเนื่องสมเหตุสมผล  ตรงตัวนะครับ 

ไว้ผมหาโอกาสสรุปเองได้ คุณจีรศักดิ์โพสต์ได้ ถามตัวเองแล้วได้ความว่าไงครับ..? ตรงนี้น่าสนใจ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 20:28
อ่านไม่เข้าใจตรงไหนครับ..?สังเกตว่าถามโดยไม่ได้อ่านตรงที่ควรอ่านเลย มาร์คสีแดงไว้แล้ว

ไม่เชื่อวิวัฒนาการแบบคนมีบรรพบุรุษร่วมกับลิงด้วยความไม่เชื่อมโยงขาดความต่อเนื่องสมเหตุสมผล  ตรงตัวนะครับ 

ไว้ผมหาโอกาสสรุปเองได้ คุณจีรศักดิ์โพสต์ได้ ถามตัวเองแล้วได้ความว่าไงครับ..? ตรงนี้น่าสนใจ..

ผมไม่ได้ถามว่าคุณ Q เชื่อเรื่องคนมีบรรพบุรุษร่วมกับลิงหรือไม่นะครับ
แต่ผมถามเรื่องทฤษฎี "โลกอายุน้อย" ว่าระบุอายุโลกไว้หรือเปล่า?
ถ้าระบุเขาระบุเอาไว้ว่ากี่ปี?
สีแดงๆ ของคุณ Q มันระบุตรงไหนว่าโลกอายุกี่ปีล่ะครับ  :slime_doubt:

ผมถามตรงๆ ชัดๆ ไปหลายครั้งแล้ว เห็นได้ชัดว่าคุณ Q เลี่ยงที่จะไม่ตอบ
ทั้งที่ผมถามเรื่องเนื้อหางานวิจัยของนักวิจัย ไม่ได้มีอะไรผูกมัดคุณ Q เลย

ถ้าเบื้องต้นยังสรุปเรื่องอายุโลกไม่ได้ แล้วจะคุยเรื่องวิวัฒนาการได้หรือครับ
เพราะพื้นฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการก็คือโลกต้องมีอายุยาวนานหลายล้านปี

ถ้าจะคุยกันต่อว่าทฤษฎีไม่เป็นจริงเพราะโลกไม่ได้มีอายุยาวนานหลายล้านปี
ก็ควรต้องบอกมาว่าจะคุยกันที่อายุเท่าไหร่ เพราะหลักฐานสิ่งมีชีวิตย้อนหลัง
สามารถวางลงไปตามผังธรณีกาลได้อย่างน้อยหลายร้อยล้านปี

ตกลงคุณ Q จะตอบไหมครับว่าโลกอายุเท่าไหร่ ตอบหรือไม่ตอบครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 20:39
5.4 Chronological control  

The age control on glacial and climatic events since the LGM in Antarctica is primarily through radiocarbon dating. Marine materials such as mollusc shells, marine mammal bones, penguin remains (bones, guano-debris) and snow petrel stomach oil or nest deposits are one source of datable materials. Terrestrial and lacustrine materials like mosses, lake sediment bulk samples, microbial mats, aquatic mosses and algal flakes have also been widely dated for constraining environmental changes in time. Both marine and terrestrial/lacustrine materials often yield ages that appear too old in comparison with the conventional terrestrial-based radiocarbon time-scale (cf. Bj&ouml;rck et al., 1991a; Gordon & Harkness, 1992; Andrews et al., 1999; Domack et al., 2000). A requirement for under&shy;standing the dynamics of the Antarctic glacial system is to have a reliable chronology for both terrestrial and marine materials.

Dating terrestrial materials - Radiocarbon dates on terrestrial materials are mainly from peat deposits, primarily mosses in moss-banks on the islands off the Antarctic Peninsula (e.g. Fenton, 1980; Birkenmajer et al., 1985; Bj&ouml;rck et al., 1991a, 1991b) and bulk sediments, microbial mats, aquatic mosses and algal flakes from Antarctic lake sediments and deltas (e.g. Stuiver et al., 1981; Pickard & Seppelt, 1984; Pickard et al., 1986; Zale & Karl&eacute;n, 1989; M&auml;usbacher et al., 1989; Schmidt et al., 1990; Ing&oacute;lfsson et al., 1992; Bj&ouml;rck et al., 1993, 1996; Doran et al., 1999; Denton & Hughes, 2000).

Samples of moss-bank peat on Elephant Island (Fig. 5) have been found to give some of the most reliable aradiocarbon ages in Antarctica (Bj&ouml;rck et al., 1991a, 1991b), and are thus optimal for constructing a radiocarbon chronology for environmental changes in the Antarctic Peninsula region for the past 5000 years. There is a balance between atmospheric carbon content and the intake of carbon by the mosses; old groundwater or carbon from the bedrock will not influence the carbon content of the mosses and contamination by down-growth of roots from plants living on the surface is minimal. There are difficulties in correlating the peat sequences to other archives (glacial stratigraphical sections and lake sediment sequences), but Bj&ouml;rck et al. (1991c, 1991d) were able to correlate between moss-bank deposits and lake sediments on the Antarctic Peninsula region, using tephrostratigraphy, thus gaining an important chronological control for the lake sediment archives.

There are a number of sources of contamination when dating bulk sediments, microbial mats, aquatic mosses or algal flakes from Antarctic lake basins, often resulting in ages that are too old (e.g. Adamson & Pickard, 1986; Stuiver et al., 1981; Squyres et al., 1991; Bj&ouml;rck et al., 1991a; Melles et al., 1994; Zale, 1994):

a)      Old groundwater or an input of glacial meltwater depleted in 14C, contaminating the submerged flora, can be a serious problem. Adamson & Pickard (1986) and Stuiver et al. (1981) found that the correction needed for reservoir effects in freshwater algae is 450-700 years.

b)      Reduced gas exchange with the atmosphere resulting from the long (in extreme cases perennial or decadal) duration of the ice coverage in lake- and marine environments may lead to much older radiocarbon ages. This effect was described by Weiss et al. (1979) for the Weddell Sea and by Melles et al.,(1997) for the marine basins (epishelf lakes) of Bunger Hills (Fig. 1). In the latter paper, modern reservoir effects of more than, 2000 years were estimated, considerably higher than the marine reservoir effect of 1300 years estimated for the Vestfold Hills area (Adamson & Pickard, 1986).

c)      Contamination by the marine reservoir effect through input from sea mammals and birds to lake basins (Bj&ouml;rck et al., 1991a, Zale, 1994).

d)      Supply of old carbon from soils or weathered carbon-bearing rocks. Stuiver et al. (1981) described two radiocarbon dates from the same delta bed in southern Victoria Land, one from terrestrial algae, the other from a well preserved valve of the scallop Adamussium colbecki. The shell date was 5050&plusmn;50 BP (corrected by 1300 radiocarbon years for marine reservoir age) and the algae 5930&plusmn;200 BP, which Stuiver et al. (1981) thought could reflect contamination by carbonate from local marble bedrock. Doran et al. (1999) concluded that dates of algae that grew on proglacial lake bottoms may require corrections because of the relict dissolved inorganic carbon introduced into the lake by inflow from glacier margins, but that this was not a problem when dating near-shore microbial mats in deltas fed by meltwater streams.

e)      Continuous erosion of lake bottom surface sediments resulting from bottom-freezing in winter, or oxidation of these surface sediments due to periods of desiccation, are processes which could lead to erroneous radiocarbon dates (Bj&ouml;rck et al., 1991a).

f)        Recycling of old carbon in stratified Antarctic lakes (Squyres et al., 1991).

g)      Longevity of organisms may also play a role. Some Antarctic freshwater- and terrestrial algae can survive long periods of desiccation and repeated freeze-thaw cycles (Vincent et al., 1993). Cryptoendolithic algae in suitable rock types in Antarctica are thought to have very slow turnover times, on the order of 10 000 to 17 000 years (Nienow & Friedmann, 1993, Johnson & Vestal, 1991). These algae can be released to the ground when the rock erodes and then be blown or washed into other stratigraphical situations.

h)      Blanketing snow and ice on perennially frozen lakes could hinder lacustrine sedimentation, causing hiatus between the deglaciation and onset of biogenic deposition, resulting in too young minimum dates for deglaciation (Gore, 1997).

 Radiocarbon dates from organic remains (microbial mats, algae, water mosses) in sediment cores sampled from the present Lake Hoare in Taylor Valley, Dry Valleys, southern Victoria Land (Fig. 1), have revealed that there occur large contamination problems (Squyres et al., 1991). These were expressed as very old ages of surface sediments (varying between, 2000 and 6000 radiocarbon years) and samples obtained from deeper in the cores yielded ages similar or younger than the surface material. Squyres et al. (1991) concluded that radiocarbon dates from Lake Hoare sediments were of limited value because of the high degree of contamination, and pointed out that probably the source carbon, which the organisms fix, is old, and that relatively long-term recycling of carbon in the lake could contribute to old apparent ages of radiocarbon dates. A similar explanation is possible for radiocarbon ages of 24 000 and 35 700 BP from the base of marine inlet and lake cores in Bunger Hills, East Antarctica (Melles et al., 1997). In the fresh-water Lake Untersee (Dronning Maud Land, East Antarctica (Fig. 1), a thick, perennial lake ice cover probably leads to a reservoir effect on radiocarbon dates as high as 11 000 years (M. Schwab, personal communication, 1998, quoted in Ing&oacute;lfsson et al., 1998).

Bj&ouml;rck et al. (1991a, 1991d) concluded that the causes of erroneous ages often seem to be a combination of different contamination sources and processes and that great caution is needed when radiocarbon dates on Antarctic lacustrine samples are interpreted and evaluated. A primary control for the reliability of the dates is the stratigraphic consistency in the dated sequence. In addition, the &para;13C-value should always be measured and used to correct the 14C/12C relationship. In some cases, the reported age could be incorrect by hundreds of years without such a correction (Bj&ouml;rck et al., 1991a). Dates on aquatic moss samples, extracted from the bulk sediments, appear to be more reliable than dates on the bulk sediments themselves, or on algae. Bj&ouml;rck et al. (1991d) found that out of 14 radiocarbon dates from a lake basin on Livingston Island, in the South Shetlands, only three determinations could be judged reliable, after controlling the dates by tephrochronological cross-correlations. Two of these were on aquatic mosses.

Dating marine materials - Radiocarbon concentration in the Southern Ocean is dominated by the upwelling of deepwater from the Northern Hemisphere at the Antarctic Divergence. Deepwater is depleted in 14C, and although mixing with ‘younger’ surface water south of the Antarctic Convergence occurs, marine species which live in those waters have apparent radiocarbon ages that are older than 1000-1200 years (Broecker, 1963; Bj&ouml;rck et al., 1991a; Gordon & Harkness, 1992). Other factors which influence spatial and temporal variability in the Antarctic radiocarbon reservoir are inputs of radiocarbon-depleted CO2 from melting ice, regional differences in the upwelling around Antarctica, perennial sea ice cover and local freshwater inputs into nearshore marine basins (Omoto, 1983; Domack et al., 1989; Melles et al., 1994; Melles et al., 1997).

In the geological literature on Antarctica, different authors have taken different approaches to the marine reservoir correction. For example, Sugden & John (1973), Clapperton & Sugden (1982, 1988), Payne et al. (1989), Hansom & Flint (1989) and Clapperton (1990) subtracted 750 years from their Antarctic Peninsula radiocarbon dates, while Barsch & M&auml;usbacher (1986), working on the South Shetland Islands (Fig. 5) used an envelope of 850-1300 years. Ing&oacute;lfsson et al. (1992) and Hjort et al. (1997) applied a sea correction of 1200 years, while Pudsey et al. (1994) used a reservoir correction of 1500 years. In East Antarctica, Adamson & Pickard (1986), Colhoun & Adamson (1992a) and Fitzsimons & Colhoun (1995) used a reservoir correction of 1300 years when dealing with the Late Quaternary glacial history in the Vestfold Hills and Bunger Hills areas in East Antarctica, while Hayashi & Yoshida (1994), working in the L&uuml;tzow-Holm Bay area (Fig. 1), suggested a correction of 1100 years. Verkulich & Hiller (1994) radiocarbon-dated stomach oil deposits in snow petrel colonies in Bunger Hills. They based their chronology for petrel colonisation on conventional radiocarbon dates, but stated that a reservoir correction of 1300 years probably was appropriate. Bird et al. (1991) applied a correction for reservoir effects for marine sediments of 2200 years when studying evolution of marine inlets in the Vestforld Hills oasis, East Antarctica. In the Victoria Land/Ross Sea area Stuiver et al. (1981) and Denton et al. (1989) based their chronology on uncorrected radiocarbon dates. Likewise, Baroni & Orombelli (1991) used conventional dates for their deglaciation chronology for Terra Nova Bay, but calibrated the conventional ages when bracketing a relative sea-level curve for the area. Baroni & Orombelli (1994a) presented both uncorrected conventional- and calibrated radiocarbon chronologies when dealing with the Holocene environmental history of Victoria Land, but Baroni & Orombelli (1994b) based their chronology of Holocene glacier variations in Terra Nova Bay on calibrated radiocarbon dates. Colhoun et al. (1992) used a correction of 1090 years for mollusc dates from the Ross Sea area, while Licht et al. (1996) used a reservoir correction of 1200 years for dates from the same area. Gingele et al. (1997) used a reservoir correction of 1550 years when reporting accelerator mass spectrometre (AMS) radiocarbon ages from the Lazarev Sea. Considerable efforts are being devoted to solving problems concerning radiocarbon dating of Antarctic marine sediments, including dating acid-insoluble organic matter and foraminiferal calcite (Andrews et al., 1999; Domack et al., 2000, 2001a).

A number of investigations have assessed which correction of radiocarbon ages of Antarctic marine organisms has to be applied in order to establish a coherent radiocarbon chronology for Late Wisconsinan-Holocene glacial events. Circumantarctic studies generally show the average correction for reservoir age of marine mollusc shells to be 1100-1400 radiocarbon years (Yoshida & Moriwaki, 1979; Stuiver et al., 1981; Omoto, 1983; Adamson & Pickard, 1986; Bj&ouml;rck et al., 1991a; Gordon & Harkness, 1992; Domack, 1992; Berkman, 1994; Berkman & Forman, 1996). Studies of pre-bomb seal, whale and penguin samples have yielded greater variability than the pre-bomb marine mollusc shells, ranging between 915&plusmn;75 and 1760&plusmn;55 years (Curl, 1980; Mabin, 1985; Whitehouse et al., 1987;, 1989; Baroni & Orombelli, 1991; Gordon & Harkness, 1992), suggesting that longevity and ecology of different species, as well as what material (flesh, bone, feathers, guano) is dated can significantly influence the correction factor required (Mabin, 1986; Baroni & Orombelli, 1991). Berkman & Forman (1996) suggested that reservoir corrections of 1300&plusmn;100 years (molluscs), 1424&plusmn;200 years (seals) and 1130&plusmn;130 years (penguins) should be applied to Antarctic marine organisms.

This paper adopts 1300 radiocarbon years as the best estimate for a circumantarctic correction for all radiocarbon-dated marine organisms, for the sake of comparing glacial histories of the different areas. All radiocarbon ages of fossil marine organisms given in the text have been corrected by that amount, no matter which reservoir correction or calibration was originally made by the authors cited as source of the data. All ages are in uncalibrated radiocarbon years BP, reported as kilo-annum before present (ka BP). At the same time it should be stressed that there are still large uncertainties in the Antarctic marine reservoir effect.  


(http://www.hi.is/~oi/quater8.jpg)

Fig. 4. Reconstruction of grounding line positions of the Antarctic Ice Sheet at LGM. The oldest constraining ages for initial ice retreat are given. Modified after Anderson et al. (2002)


อีนนี้ก็ไม่ได้ระบุตรงๆครับ..ต้องประเมินความเป็นไปได้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 20:48
อีนนี้ก็ไม่ได้ระบุตรงๆครับ..ต้องประเมินความเป็นไปได้

ถ้า ระบุตรงๆ ไม่ได้ ก็ประเมินความเป็นไปได้มาเลยสิครับว่าสูงสุดโลกอายุไม่เกินกี่ปี?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 20:52
นี่ก็พูดถึงวิธีคำนวณเวลาที่ใช้กันอยู่ และมีการค้นคว้าสนับสนุน


MEASURABLE 14C IN FOSSILIZED ORGANIC MATERIALS:
CONFIRMING THE YOUNG EARTH CREATION-FLOOD MODEL

http://www.globalflood.org/papers/2003ICCc14.html

Presented: Fifth International Conference on Creationism
August 4-8, 2003
Copyright 2003 by Creation Science Fellowship, Inc.
Pittsburgh, PA  USA - All Rights Reserved 
JOHN BAUMGARDNER, PH.D. LOS ALAMOS NATIONAL LABRATORY*
D. RUSSELL HUMPHREYS, PH.D.INSTITUTE FOR CREATION RESEARCH*
ANDREW A. SNELLING, PH.D.INSTITUTE FOR CREATION RESEARCH*
STEVEN A. AUSTIN, PH.D.INSTITUTE FOR CREATION RESEARCH*

 


CONCLUSION
The careful investigations performed by scores of researchers in more than a dozen AMS facilities in several countries over the past twenty years to attempt to identify and eliminate sources of contamination in AMS 14C analyses have, as a by-product, served to establish beyond any reasonable doubt the existence of intrinsic 14C in remains of living organisms from all portions of the Phanerozoic record.  Such samples, with ‘ages’ from 1-500 Ma as determined by other radioisotope methods applied to their geological context, consistently display 14C levels that are far above the AMS machine threshold, reliably reproducible, and typically in the range of 0.1-0.5 pmc.  But such levels of intrinsic 14C represent a momentous difficulty for uniformitarianism.  A mere 250,000 years corresponds to 43.6 half-lives for 14C.  One gram of modern carbon contains about 6 x 1010 14C atoms, and 43.6 half-lives worth of decay reduces that number by a factor of 7 x 10-14.  Not a single atom of 14C should remain in a carbon sample of this size after 250,000 years (not to mention one million or 50 million or 250 million years).  A glaring (thousand-fold) inconsistency that can no longer be ignored in the scientific world exists between the AMS-determined 14C levels and the corresponding rock ages provided by 238U, 87Rb, and 40K techniques.   We believe the chief source for this inconsistency to be the uniformitarian assumption of time-invariant decay rates.  Other research reported by our RATE group also supports this conclusion [7, 23, 42].  Regardless of the source of the inconsistency, the fact that 14C, with a half-life of only 5730 years, is readily detected throughout the Phanerozoic part of the geological record argues the half billion years of time uniformitarians assign to this portion of earth history is likely incorrect.  The relatively narrow range of 14C/C ratios further suggests the Phanerozoic organisms may all have been contemporaries and that they perished simultaneously in the not so distant past.  Finally, we note there are hints that 14C currently exists in carbon from environments sealed from biospheric interchange since very early in the earth history.  We therefore conclude the 14C evidence provides significant support for a model of earth’s past involving a recent global Flood cataclysm and possibly also for a young age for the earth itself.
 

อันนี้เป็นเพียงข้อสรุป ที่ว่าโลกอายุน้อย โดยอิงจากคาร์บอน14 ประเมินแล้วคงไม่ถึงหลักพันล้านปีตามข้อสรุปของเขา ก็ต้องประเมินความเป็นไปได้ครับ..

จากส่วนที่โพสต์ไปแล้ว..แต่ถ้าไม่มีหลักฐานอื่นหักล้าง ผมว่าค่อยหาเอาจากระยะและวิธีที่เชื่อได้ไปก่อน ความเป็นไปได้มากกว่าครับ

การสรุปชัดเจนตอนนี้ไม่มีความจำเป็นสำหรับผม มันมีมูลเพียงใด สำหรับโลกล้านปี  ดังนั้นผมว่าผมถามเหมาะสมแล้ว และก็ตอบไปได้เหมาะสมแล้ว  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 16-08-2007, 21:13
ขอคำอธิบายได้ไหม อ่านภาษาอังกฤษแล้วจะหลับอ่ะ
จำได้ว่า C14 มันตรวจได้แต่สิ่งมีชีวิต จะหาอายุของโลก มันใช้ C14 แบบไหนล่ะ
ถึงสามารถประเมินอายุของโลกได้น้อยกว่าหลักพันล้านปี

เรื่องน้ำว่ามาจากไหน น้ำนี่หาได้ง่ายในจักรวาลนะครับ ขนาดดาวหางยัง
มีน้ำแข็งเป็งหางเลย

http://en.wikipedia.org/wiki/Earth
อ่านหนังสือกี่เล่มกี่เล่ม รวมทั้งเว็บ มันก็เป็นพันล้านปีตลอดเลย
จะให้เหลือแค่ 6000-8000 ปี คัมภีร์เจเนสิสหรือ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 21:24
อันนี้เป็นเพียงข้อสรุป ที่ว่าโลกอายุน้อย โดยอิงจากคาร์บอน14 ประเมินแล้วคงไม่ถึงหลักพันล้านปีตามข้อสรุปของเขา ก็ต้องประเมินความเป็นไปได้ครับ..

จากส่วนที่โพสต์ไปแล้ว..แต่ถ้าไม่มีหลักฐานอื่นหักล้าง ผมว่าค่อยหาเอาจากระยะและวิธีที่เชื่อได้ไปก่อน ความเป็นไปได้มากกว่าครับ

การสรุปชัดเจนตอนนี้ไม่มีความจำเป็นสำหรับผม มันมีมูลเพียงใด สำหรับโลกล้านปี  ดังนั้นผมว่าผมถามเหมาะสมแล้ว และก็ตอบไปได้เหมาะสมแล้ว  

ข้อความที่ยกมา คือจะสรุปว่าหลักฐานทางบรรพชีวินวิทยาทั้งหมดที่ dating กันว่า
อยู่ใน Phanerozoic (คือรวมหมด 500 ล้านปีตั้งแต่ Cambrian ถึง Quaternary)
ความจริงอยู่ในช่วงอายุเดียวกันคือไม่เกิน 250,000 ปี เพราะทั้งหมดต่างก็ตรวจพบ
Carbon 14 ซึ่งจะตรวจไม่พบเลยถ้าอายุเกิน 250,000 ปี

Conclusion เขาสรุปมาว่าอย่างนี้ใช่ไหมครับคุณ Q ... ใช่หรือไม่ใช่ครับ ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 21:32
เอามาให้อ่านอีกครั้งครับ


อันนี้ที่มาของโลกครับ คำนวณมาจากธาตุและแร่ธาตทุกตัว..แต่เขาบอกมันไม่แน่นอนเพราะ.....


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 16-08-2007, 21:36
จะให้เหลือแค่ 6000-8000 ปี คัมภีร์เจเนสิสหรือ?
พระคัมภีร์ระบุว่าเรื่องสร้างโลกและมนุษย์แค่ 6000 ปีครับ ส่วนน้ำท่วม 4400 ปี


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 22:04
ขอคำอธิบายได้ไหม อ่านภาษาอังกฤษแล้วจะหลับอ่ะ
จำได้ว่า C14 มันตรวจได้แต่สิ่งมีชีวิต จะหาอายุของโลก มันใช้ C14 แบบไหนล่ะ
ถึงสามารถประเมินอายุของโลกได้น้อยกว่าหลักพันล้านปี

เรื่องน้ำว่ามาจากไหน น้ำนี่หาได้ง่ายในจักรวาลนะครับ ขนาดดาวหางยัง
มีน้ำแข็งเป็งหางเลย

http://en.wikipedia.org/wiki/Earth
อ่านหนังสือกี่เล่มกี่เล่ม รวมทั้งเว็บ มันก็เป็นพันล้านปีตลอดเลย
จะให้เหลือแค่ 6000-8000 ปี คัมภีร์เจเนสิสหรือ?

Furthermore, a careful study of the 14C content of carbon that has not been cycled through living organisms, especially carbonates, graphites, and diamonds from environments believed to pre-date life on earth, could potentially place very strong constraints on the age of the earth itself.  The data already present in the peer-reviewed radiocarbon literature suggests there is indeed intrinsic 14C in such materials that cannot be attributed to contamination.   If this conclusion proves robust, these reported 14C levels then place a hard limit on the age of the earth of less than 100,000 years, even when viewed from a uniformitarian perspective.  We believe a creationist research initiative focused on this issue deserves urgent support


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 22:10

วัดจากเพชรที่คิดว่ายาวนานคู่โลก เขาก็ว่ายากที่จะเกินแสนปีครับ..

เพราะคาร์บอน14 ในพวกนี้ ควรจะหมดอายุไปนานแล้ว ถ้านานกว่านั้น ประมาณนี้แหละครับ..

ตรวจจากแล็บที่ว่าตามหลักฐานครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 16-08-2007, 22:28
เพชรที่บอก มันเป็นความเชื่อไม่ใช่หรือ จะรู้ได้ยังไงว่ามันอายุเท่าโลก
เท่าที่ตจำได้ มันตรวจได้เฉาพะที่เป็นสิ่งมีชีวิตนี่ และที่สำคัญ half-live
ของ C14 มันเท่าไหร่ครับ ถ้ามันไม่นาน มันก็บอกไม่ได้นะ

เปิดเว็บบอกว่า 5730 ปี อย่างนี้ ถ้านานมากๆ มันก็ผิดพลาดได้มากนะ
จะมาอ้างว่า ไม่เกิดแสนปี ไม่ได้หรอก ฟอสซิล เขาใช้อะไรตรวจ C14
อย่างเดียวหรือ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 16-08-2007, 22:49
ฟอสซิล เขาใช้อะไรตรวจ C14
อย่างเดียวหรือ?
ก็มี K-40/Ar-40, U-235/Pb-207, U-238/Pb-206, Rb-87/Sr-87ม ฯลฯ 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 22:55
เพชรที่บอก มันเป็นความเชื่อไม่ใช่หรือ จะรู้ได้ยังไงว่ามันอายุเท่าโลก
เท่าที่ตจำได้ มันตรวจได้เฉาพะที่เป็นสิ่งมีชีวิตนี่ และที่สำคัญ half-live
ของ C14 มันเท่าไหร่ครับ ถ้ามันไม่นาน มันก็บอกไม่ได้นะ

เปิดเว็บบอกว่า 5730 ปี อย่างนี้ ถ้านานมากๆ มันก็ผิดพลาดได้มากนะ
จะมาอ้างว่า ไม่เกิดแสนปี ไม่ได้หรอก ฟอสซิล เขาใช้อะไรตรวจ C14
อย่างเดียวหรือ?

ในข้อความที่ยกมา อ่านได้ความว่าไปเจอ C14 ในตัวอย่างที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต
อย่างเช่นเพชร และเนื่องจาก C14 จะสลายตัวหมดภายในเวลา 1 แสนปี
การพบ C14 หลงเหลืออยู่ก็เลยสรุปว่าอายุตัวอย่างไม่เกิน 1 แสนปีน่ะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 23:00
Furthermore, a careful study of the 14C content of carbon that has not been cycled through living organisms, especially carbonates, graphites, and diamonds from environments believed to pre-date life on earth, could potentially place very strong constraints on the age of the earth itself.  The data already present in the peer-reviewed radiocarbon literature suggests there is indeed intrinsic 14C in such materials that cannot be attributed to contamination.   If this conclusion proves robust, these reported 14C levels then place a hard limit on the age of the earth of less than 100,000 years, even when viewed from a uniformitarian perspective.  We believe a creationist research initiative focused on this issue deserves urgent support

คราวก่อนที่ผมถามไว้แล้วคือสรุปว่าช่วง Phanerozoic รวมกันไม่เกิน 250,000 ปี
ส่วนอันนี้คือสรุปว่าโลกอายุไม่เกิน 100,000 ปีใช่ไหมครับ?

ตอบผมหน่อยสิคุณ Q ... ใช่ หรือว่า ไม่ใช่ ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:08
ในข้อความที่ยกมา อ่านได้ความว่าไปเจอ C14 ในตัวอย่างที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต
อย่างเช่นเพชร และเนื่องจาก C14 จะสลายตัวหมดภายในเวลา 1 แสนปี
การพบ C14 หลงเหลืออยู่ก็เลยสรุปว่าอายุตัวอย่างไม่เกิน 1 แสนปีน่ะครับ

สองแสนห้าหมื่นปีเขาบอกว่าถึงแม้ใช้เครื่องมือที่มีความไวสูง ก็ไม่มีโอกาสจะตรวจพบได้เลยครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:10
เพชรที่บอก มันเป็นความเชื่อไม่ใช่หรือ จะรู้ได้ยังไงว่ามันอายุเท่าโลก
เท่าที่ตจำได้ มันตรวจได้เฉาพะที่เป็นสิ่งมีชีวิตนี่ และที่สำคัญ half-live
ของ C14 มันเท่าไหร่ครับ ถ้ามันไม่นาน มันก็บอกไม่ได้นะ

เปิดเว็บบอกว่า 5730 ปี อย่างนี้ ถ้านานมากๆ มันก็ผิดพลาดได้มากนะ
จะมาอ้างว่า ไม่เกิดแสนปี ไม่ได้หรอก ฟอสซิล เขาใช้อะไรตรวจ C14
อย่างเดียวหรือ?



ปัญหาคือเท่าที่อ่านผ่านมา พบว่ามีการวัดอายุจากสภาพแวดล้อมเปรียบเทียบด้วย.

พืชสังเคราะห์แสงด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ สิ่งมีชีวิตที่ตาย และชั้นบรรยากาศ

แลกเปลี่ยนปริมาณคาร์บอนกับที่พบในระบบเปิดด้วยครับ เขาวัดได้เป็นล้านปีจากการคำนวณโดยมีสมุติฐานตั้งต้นว่าโลกมีอายุสีพันหกร้อยล้านปีครับ

จากแร่ธาตุทุกชนิดที่มีในโลก คงเป็นการคำนวณที่ซับซ้อน บนสมมุติฐานโลกมีธาตุทุกชนิดอยู่นานแล้วตั้งแต่เริ่ม

เอาสิ่งมีชีวิตที่ยังอยู่เปรียบเทียบกับที่ตายไปแล้ว เปรียบเทียบกับอายุโลก ฯลฯ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 16-08-2007, 23:12
สนใจเรื่องการวัดอายุวัตถุ ติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา 02-2023746


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 16-08-2007, 23:16
ส่วนสถานที่ดังต่อไปนี้เป็นสถานที่หลอกลวงผู้คนในสายตาของคุณ Q เนื่องจากบอกว่ามีอายุเป็นล้านปี จะปล่อยให้หน่วยงานรัฐหลอกลวงประชาชนต่อไปแบบนี้รึครับคุณ Q  :slime_bigsmile:

(http://www.dmr.go.th/fossil/fossil.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:16
สนใจเรื่องการวัดอายุวัตถุ ติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา 02-2023746

คิดว่าเข้าใจดีก็อธิบายสิครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 16-08-2007, 23:17
คิดว่าเข้าใจดีก็อธิบายสิครับ  :slime_bigsmile:
ไว้อธิบายหลังที่คุณอธิบายคำถามที่ผมถามไว้ก่อนเถอะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:19
ส่วนสถานที่ดังต่อไปนี้เป็นสถานที่หลอกลวงผู้คนในสายตาของคุณ Q เนื่องจากบอกว่ามีอายุเป็นล้านปี จะปล่อยให้หน่วยงานรัฐหลอกลวงประชาชนต่อไปแบบนี้รึครับคุณ Q  :slime_bigsmile:

(http://www.dmr.go.th/fossil/fossil.jpg)

เรื่องสีติดทนมากๆนี่ ก็ไม่เข้าใจจริงๆครับ  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 23:21
สองแสนห้าหมื่นปีเขาบอกว่าถึงแม้ใช้เครื่องมือที่มีความไวสูง ก็ไม่มีโอกาสจะตรวจพบได้เลยครับ..

นั่นสิครับ.. แต่ทำไมคุณ Q ไม่ตอบคำถามผมเสียทีล่ะครับ?

คราวก่อนที่ผมถามไว้คือสรุปว่าช่วง Phanerozoic รวมกันไม่เกิน 250,000 ปี ใช่ไหม
และต่อมาคือคือสรุปว่าโลกอายุไม่เกิน 100,000 ปีใช่ไหม

ตอบผมสิคุณ Q ... ใช่ หรือว่า ไม่ใช่ ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:24
นั่นสิครับ.. แต่ทำไมคุณ Q ไม่ตอบคำถามผมเสียทีล่ะครับ?

คราวก่อนที่ผมถามไว้คือสรุปว่าช่วง Phanerozoic รวมกันไม่เกิน 250,000 ปี ใช่ไหม
และต่อมาคือคือสรุปว่าโลกอายุไม่เกิน 100,000 ปีใช่ไหม

ตอบผมสิคุณ Q ... ใช่ หรือว่า ไม่ใช่ ?

ผมต้องการหลักฐานที่เชื่อถือได้หักล้างมากกว่า


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:26


โครงกระดูกมนุษย์ปัจจุบัน ที่มีอายุไม่นานนักก่อนยุคมีตัวหนังสือ หายไปไหนหมด

มันดูมีความเชื่อมโยงกว่าใช่หรือไม่ละครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 16-08-2007, 23:30
สถานที่หลอกลวงประชาชนอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย รับรองว่าเป็นเรื่องจริงโดยคุณ Q  :slime_bigsmile:
(http://www.dmr.go.th/service/museumkumkaw/001.jpg)
ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 23:33
ผมต้องการหลักฐานที่เชื่อถือได้หักล้างมากกว่า

รู้สึกเป็นเวรกรรมของผมจริงๆ ถามคุณ Q มาตั้งแต่บ่าย 3 โมงครึ่ง
แค่คำถามง่ายๆ แต่ร่วม 8 ชั่วโมงแล้วยังไม่ได้คำตอบอะไรเลย  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:36
รู้สึกเป็นเวรกรรมของผมจริงๆ ถามคุณ Q มาตั้งแต่บ่าย 3 โมงครึ่ง
แค่คำถามง่ายๆ แต่ร่วม 8 ชั่วโมงแล้วยังไม่ได้คำตอบอะไรเลย  :slime_hmm:

หลักฐานมีน้อยมากจะสรุปเป็นล้านปี ผมควรถามหาว่าทำไมเชื่อกันมากกว่า  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 23:37
เอาอย่างนี้นะครับ คุณ Q ต้องการหลักฐานหักล้างประเด็นไหนครับ
ในเมื่อคุณไม่ตั้งโจทย์ให้ผมก่อน เช่น ตั้งว่าโลกอายุไม่เกิน 1 แสนปี
ผมจะได้ไปหาหลักฐานมาหักล้างได้ว่า โลกน่าจะอายุมากกว่านั้น

คุณสรุปมาสิครับว่าจะคุยกันที่อายุโลกกี่ปี ผมจะได้คุยต่อเสียที


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 16-08-2007, 23:37
รู้สึกเป็นเวรกรรมของผมจริงๆ ถามคุณ Q มาตั้งแต่บ่าย 3 โมงครึ่ง
แค่คำถามง่ายๆ แต่ร่วม 8 ชั่วโมงแล้วยังไม่ได้คำตอบอะไรเลย  :slime_hmm:
ไม่ต้องห่วงครับ ขนาดผมถามไปเป็นอาทิตย์แล้วยังไม่ได้คำตอบเลยครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:40


เซลล์ของสิ่งมีชิวตที่ฝ่อไปแล้วตายแล้ว เอาไว้ฟ้าช็อตหนักๆทำให้กลับมีชีวิตได้หรือไม่ครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 23:42
หลักฐานมีน้อยมากจะสรุปเป็นล้านปี ผมควรถามหาว่าทำไมเชื่อกันมากกว่า  

เอาอย่างนี้แล้วกัน .. ผมขออนุญาตสรุปเองว่าคุณ Q เชื่อว่าอายุโลกไม่เกิน 1 ล้านปี
และเชื่อว่าตลอดช่วง Phanerozoic มีระยะเวลารวมกันไม่เกิน 250,000 ปี ตามข้อมูล
ในเอกสารที่คุณ Q ยกมาให้ดู

..ถ้าคุณ Q ไม่แย้งอะไรมา ถือว่ายอมรับข้อสรุปของผมโดยปริยาย..

จะได้คุยกันต่อเสียทีนะครับ เดี๋ยวผมจะเผลอหลับคาคีย์บอร์ดเสียก่อน  :slime_sleeping:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:45
ไม่ต้องห่วงครับ ขนาดผมถามไปเป็นอาทิตย์แล้วยังไม่ได้คำตอบเลยครับ  :slime_bigsmile:

ช่วยกันหาสิครับ..โครงกระดูกคนสัก เจ็ดแปดพันปียังหายาก คงเข้าใจได้ยากว่าที่เขาคิดว่าโครงกระดูกมีอายุหลายล้านปี

เขาคำนวณแบบไหน ถามหาข้อมูลการคำนวณแบบที่ผมยกมาให้ดูกันก็ไม่มี..ที่ยกมาแตกต่างกันตรงความไวของเครื่องมือในการตรวจจับครับ

แล้วไม่เข้าใจครงไหนละครับ เชื่อไม่เชื่ออีกเรื่องหนึ่ง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 16-08-2007, 23:48
เอาอย่างนี้แล้วกัน .. ผมขออนุญาตสรุปเองว่าคุณ Q เชื่อว่าอายุโลกไม่เกิน 1 ล้านปี
และเชื่อว่าตลอดช่วง Phanerozoic มีระยะเวลารวมกันไม่เกิน 250,000 ปี ตามข้อมูล
ในเอกสารที่คุณ Q ยกมาให้ดู

..ถ้าคุณ Q ไม่แย้งอะไรมา ถือว่ายอมรับข้อสรุปของผมโดยปริยาย..

จะได้คุยกันต่อเสียทีนะครับ เดี๋ยวผมจะเผลอหลับคาคีย์บอร์ดเสียก่อน  :slime_sleeping:

ผมต้องการทราบวิธีคำนวณของคนที่เชื่อว่ามีหลักฐานเป็นล้านปีครับ พิจารณาความเป็นไปได้..ของสมมุติฐาน หากมีหลักฐานที่เชื่อได้นะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 16-08-2007, 23:55
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่ไหน?
555 ล้อเล่นครับ.. ความสำเร็จก็อยู่ที่นี่นั่นเอง  :slime_smile:

คุณ Q ไม่แย้งมา.. เท่ากับว่าผมได้รับคำตอบแล้ว
ในที่สุดก็จะได้คุยต่อแล้วครับทุกๆ ท่าน  :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 00:02
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่ไหน?
555 ล้อเล่นครับ.. ความสำเร็จก็อยู่ที่นี่นั่นเอง  :slime_smile:

คุณ Q ไม่แย้งมา.. เท่ากับว่าผมได้รับคำตอบแล้ว
ในที่สุดก็จะได้คุยต่อแล้วครับทุกๆ ท่าน  :slime_sentimental:

คุยแนวไหนละครับ แฟนตาซีหรืออิง ข้อเท็จจริงที่รัดกุมครับ..

ไว้มาอ่านต่อดีกว่า....ผมเริ่มง่วงเหมือนกันละ :slime_sleeping:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 00:06
ผมต้องการทราบวิธีคำนวณของคนที่เชื่อว่ามีหลักฐานเป็นล้านปีครับ พิจารณาความเป็นไปได้..ของสมมุติฐาน หากมีหลักฐานที่เชื่อได้นะครับ

ต้องการหลักฐานเป็นล้านปี ก็เอาอันนี้ไปเลยครับ "หุบเขาแกรนแคนยอน"
มีชั้นหินในช่วง Phanerozoic ระหว่าง Cambrian ถึง Permian period
ซึ่งตามลำดับธรณีกาล คืออายุ 570 ล้านปี มาถึง 245 ล้านปีก่อน

ชั้นหินทั้งหมดในช่วงนี้เป็น "หินตะกอน" ความหนารวมกันร่วม 1 กิโลเมตร
เต็มไปด้วย Index Fossil จำนวนมากตลอดความหนาของชั้นหินทั้งหมด
และขอย้ำว่าเป็น "หิน" นะครับไม่ใช่ "ดินตะกอน"

ชั้นหินทั้งหมดข้างต้น ตลอดลงไปถึงชั้นลึกกว่าถูกแม่น้ำโคโรลาโดกัดเซาะ
ลึกลงไปถึงกว่า 1500 เมตร ซึ่งเกิดจากการยกตัวขึ้นของพื้นที่บริเวณนั้น
อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางน้ำมีแรงกัดเซาะในทางลึกอย่างสูง

(http://www.bobspixels.com/kaibab.org/geology/gc_layer.gif)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 00:10
ถ้าถือตามข้อสรุปในงานวิจัยที่ว่าช่วง Phanerozoic มีอายุรวมกันไม่เกิน 250,000 ปี

ก็เท่ากับว่า Grand Canyon ต้องสะสมตัวกลายเป็นชั้นหินตะกอนหนากว่า 1 กิโลเมตร
และถูกแม่น้ำโคโรลาโดกัดเซาะลงไปลึกกว่า 1500 เมตร ภายในเวลาทั้งหมดแค่เพียง
250,000 ปีเท่านั้น

สำหรับผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ครับ ทั้งนี้โดยไม่ต้องดูการตรวจสอบสารรังสีอะไรทั้งสิ้น


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 17-08-2007, 00:16
ใกล้จะถึงเรื่อง "โลกร้อน" ยังครับ อิ อิ

ตามอ่านก็ได้ความรู้ดี  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 17-08-2007, 00:17
ช่วยกันหาสิครับ..โครงกระดูกคนสัก เจ็ดแปดพันปียังหายาก คงเข้าใจได้ยากว่าที่เขาคิดว่าโครงกระดูกมีอายุหลายล้านปี

เขาคำนวณแบบไหน ถามหาข้อมูลการคำนวณแบบที่ผมยกมาให้ดูกันก็ไม่มี..ที่ยกมาแตกต่างกันตรงความไวของเครื่องมือในการตรวจจับครับ

แล้วไม่เข้าใจครงไหนละครับ เชื่อไม่เชื่ออีกเรื่องหนึ่ง
กลับไปอ่านลิงค์ใน #478 แล้วก็ไปค้นคว้าเรื่องกายวิภาคเพิ่มด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 00:19
และต้องนึกด้วยนะครับว่า Grand Canyon ไม่ได้มีชั้นหินทั้งหมดในช่วง Phanerozoic
ยังมีชั้นหินที่อยู่สูงกว่า Permian อีก ตามลำดับธรณีกาลคืออีกประมาณ 250 ล้านปี

เอาแค่ในช่วง Jurassic อย่างเดียว เช่น ชั้นหินตะกอนที่ภูกระดึงของเราก็หนาเข้าไป
อีกเป็นกิโลเมตรแล้วล่ะครับ ยังไม่นับช่วงอื่นๆ เลย

(http://www.thailandgeographic.com/loei/phukradung/200010230030.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 00:29
เอาเท่าที่เห็นข้อมูลของ Grand Canyon รวมกับ ภูกระดึง
ชั้นหินตะกอนช่วง Phanerozoic น่าจะมีความหนารวมกัน
ทั้งหมดร่วมๆ 3 กิโลเมตร ชั้นหินขนาดนี้จะเกิดได้ในเวลา
เพียงแค่ 2 แสนกว่าปี .. ผมไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ครับ

ยิ่งถ้าจะสรุปว่าโลกอายุไม่เกิน 1 แสนปี ผมนึกไม่ออกเลย
ว่าจะให้ชั้นหินทั้งหมดเกิดในเวลาแค่ 1 แสนปีได้ยังไง

ข้อสังเกตที่ว่าตรวจพบ Carbon 14 ในตัวอย่างต่างๆ นั้น
จึงควรหาคำอธิบายมากกว่าว่ามี Carbon 14 ได้อย่างไร

ไม่ใช่ไปสรุปว่าโลกเราอายุแค่ไม่เกิน 1 แสนปีนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 00:36
เอาเท่าที่เห็นข้อมูลของ Grand Canyon รวมกับ ภูกระดึง
ชั้นหินตะกอนช่วง Phanerozoic น่าจะมีความหนารวมกัน
ทั้งหมดร่วมๆ 3 กิโลเมตร ชั้นหินขนาดนี้จะเกิดได้ในเวลา
เพียงแค่ 2 แสนกว่าปี .. ผมไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ครับ

ยิ่งถ้าจะสรุปว่าโลกอายุไม่เกิน 1 แสนปี ผมนึกไม่ออกเลย
ว่าจะให้ชั้นหินทั้งหมดเกิดในเวลาแค่ 1 แสนปีได้ยังไง

ข้อสังเกตที่ว่าตรวจพบ Carbon 14 ในตัวอย่างต่างๆ นั้น
จึงควรหาคำอธิบายมากกว่าว่ามี Carbon 14 ได้อย่างไร

ไม่ใช่ไปสรุปว่าโลกเราอายุแค่ไม่เกิน 1 แสนปีนะครับ

ก็ว่าไปครับ.. เปลือกหอยในชั้นหินอาจจะเก่ามากนะครับ คะเนด้วยสายตาอายุเท่าไหรครับ..

เปลือกโลกตรงที่เอามายกตัวปีละกี่เซนครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 00:39
กลับไปอ่านลิงค์ใน #478 แล้วก็ไปค้นคว้าเรื่องกายวิภาคเพิ่มด้วยนะครับ

มีของจริง ฝากน้องๆไปผ่าก็ได้ครับ..ถ้าเป็นคน ไม่ไช่ลิงนะครับ :slime_bigsmile: :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 00:54
ส่วนการกำหนดอายุทางธรณีวิทยาและโบราณคดีนั้น ก็พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
เช่นจากเว็บของธรณีวิทยา จุฬาฯ ก็อ้างอิงไว้หลายตัว

- Thermoluminescence-TL (Wintle and Huntley, 1982; Aitken, 1985; Takashima and Honda, 1989)
- Optically stimulated luminescence-OSL (Huntley, Godfrey-Smith, and Thewalt,1985; Aitken,1998)
- Amino acid racemisation (Miller and Brigham-Grette, 1989; Wehmiller and Miller, 2000)
- Fission track (Wagner and Van den haute,1992; Dumitru, 2000)
- U-series (Ivanovich and Harmon, 1992; Schwarcz, 1997; Ku, 2000)
- Electron spin resonance-ESR (Ikeya, 1993; Gr?n, 2001)
- Radiocarbon (Taylor, 1997; Hedges, 2000), dendrochronology (Kuniholm, 2001)
- K/Ar and 40Ar/ 39Ar (McDougall and Harrison, 1999)
- อะไรอื่นๆ อีกเยอะแยะ ฯลฯ

ซึ่งการกำหนดอายุจากแต่ละวิธี ก็มีความเหมาะสมกับตัวอย่างแตกต่างกันไป
และมีความแม่นยำแตกต่างกัน ขึ้นกับช่วงอายุของตัวอย่างที่ต้องการตรวจสอบ
การใช้ Carbon14 จัดอยู่ในกลุ่ม Radiocarbon ซึ่งใช้ได้แม่นยำแค่หลักหมื่นปี
ความเหมาะสมในการใช้งาน dating ในช่วงต่างๆ ก็ดูได้ตามแผนภาพ

(http://geography.otago.ac.nz/Courses/283_389/Lectures/LectureImages/lect08_dating.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 00:58
หรือจากแผนผังนี้อาจจะดูง่ายกว่าอีกหน่อย

(http://www.geo.sc.chula.ac.th/EATGRU%20Hompage/Luminescence%20laboratory/images/TL%20dating/1.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 01:02
ส่วนกราฟนี้เป็นค่าความผิดพลาดโดยประมาณ ในแต่ละเทคนิคการกำหนดอายุ

(http://www.geo.sc.chula.ac.th/EATGRU%20Hompage/Luminescence%20laboratory/images/TL%20dating/2.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 01:05
เว็บธรณีวิทยา จุฬาฯ เขามีอธิบายการ dating แต่ละวิธีเอาไว้พอสมควร ถ้าใครสนใจก็ตามไปอ่านกันเองนะครับเพราะยาวมาก

http://www.geo.sc.chula.ac.th/EATGRU%20Hompage/Luminescence%20laboratory/Luminescence%20dating.htm


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 01:12


ผมเสริมให้ นะครับหินตะกอนแสดงว่าเคยถูกน้ำท่วมถึงครับ

แล้วก็แสนเซ็นติเมตร เท่ากับหนึ่งกิโลเมตร..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 01:32
ก็ว่าไปครับ.. เปลือกหอยในชั้นหินอาจจะเก่ามากนะครับ คะเนด้วยสายตาอายุเท่าไหรครับ..

เปลือกโลกตรงที่เอามายกตัวปีละกี่เซนครับ?

ยังไม่ต้องดูเปลือกหอยหรอกครับ ดูแค่ขนาดของความหนาชั้นหินตะกอนหลายกิโลเมตร
ก็น่าจะรู้แล้วว่าไม่ได้เกิดพร้อมกันในเวลาสั้นๆ

ยังไม่นับเรื่องพอเกิดเป็นชั้นหินแล้ว Grand Canyon ต้องมีเวลาในการยกตัวขึ้นและถูก
ทางน้ำกัดเซาะจนกลายเป็นหุบเหวลึกกว่า 1500 เมตรเข้าไปอีก

และต้องระลึกไว้ด้วยนะครับว่าที่เห็นใหญ่โตขนาดนั้นคือ "หินตะกอน" มีส่วนของ "หินทราย"
ซึ่งเกิดจากเศษหินที่สึกกร่อนมาจาก "หินเดิม" ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้อีก ต้องใช้เวลาเท่าไหร่
ภูเขาหินเดิมถึงจะสึกกร่อนจนกลายเป็นทรายมาสะสมตัวเป็นหินทรายมหาศาลขนาดนี้?

และในส่วนของ "หินปูน" ก็เกิดจากการตกผลึกของแร่ธาตุในน้ำเนื่องจากเกิดสภาพน้ำทะเล
แห้งงวดลงเข้มข้นจนในที่สุดสะสมตัวกลายเป็นชั้นหินปูน หรืออาจเกิดจากการสะสมตัวของ
ปะการังที่ตายทับถมกัน ต้องใช้เวลาเท่าไหร่กว่าจะสะสมกลายเป็นหินปูนหนามากขนาดนั้น
เรื่องนี้ไม่ใช่เหมือนการสะสมตัวของขี้เลนขี้โคลนตามแม่น้ำที่สะสมตัวหนาได้ง่ายๆ

---

เรื่องเปลือกโลกตรงนั้นยกตัวปีละกี่เซนติเมตร ก็อยู่ที่ว่าคุณ Q คิดว่าทั้งหมด 1500 เมตร
ใช้เวลายกตัวกี่ปี สมมุติว่าชั้นหินตะกอนทั้งหมดใช้เวลาก่อตัวก่อนยกตัว 2 แสนปีนะครับ
ก็จะเหลือเวลาแค่ 50,000 ปี เท่ากับ Grand Canyon ต้องยกตัวถึงปีละ 3 เซนติเมตร
ต่อเนื่องกันตลอด คิดว่าเป็นไปได้ไหมล่ะครับ?

แต่ถ้าคิดว่าชั้นหินใช้เวลาก่อตัวเร็วกว่า 2 แสนปี ตีเสียว่าแค่ 1 แสนปีก็ก่อตัวเสร็จแล้ว
Grand Canyon ก็จะมีเวลายกตัว 150,000 ปีตกปีละ 1 เซนติเมตร (ก็ยังเวอร์อยู่นะ)
แต่ถามว่าเวลาแค่ 1 แสนปีชั้นหินจะทันก่อตัวได้หนาเป็นกิโลเมตรเลยหรือครับ

ยิ่งถ้าเอาสมมุติฐานว่าโลกอายุไม่เกิน 1 แสนปีมาจับ ยิ่งไปกันใหญ่เลยเพราะเหลือเวลา
แค่ช่วงละไม่กี่หมื่นปี หินเดิมสึกกร่อน 3 หมื่นกว่าปี หินตะกอนก่อตัว 3 หมื่นกว่าปี ชั้นหิน
ยกตัวถูกกัดเซาะอีก 3 หมื่นกว่าปี  มันจะเป็นไปได้หรือครับ.. ผมไม่เชื่อ  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 01:36

ผมเสริมให้ นะครับหินตะกอนแสดงว่าเคยถูกน้ำท่วมถึงครับ

แล้วก็แสนเซ็นติเมตร เท่ากับหนึ่งกิโลเมตร..

ถ้าคุณ Q จะอ้างโยงไปเรื่องน้ำท่วมโลก..

น้ำท่วมจากฝนตก 40 วัน เข้าใจว่าท่วมอยู่แค่ประมาณปีเดียว
ทำให้เกิดชั้นหินตะกอนหนาเป็นกิโลเมตรเลยหรือครับ

มันจะโอเวอร์ไปนะครับผมว่า  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 01:45
อยากจะยกตัวอย่างเรื่องการสึกกร่อนของหินให้ดูสักหน่อย
เอาตัวอย่างที่เราพอจะรู้อายุอ้างอิงได้นะครับ

พีระมิดคีออปส์ ที่อียิปต์ อายุประมาณ 4600 ปี ณ ตอนนี้
เป็นกองหินปูนสูงประมาณแค่ 150 เมตรเท่านั้น ถ้านับเป็น
สิ่งก่อสร้างก็นับว่าใหญ่ แต่ถ้าเทียบกับภูเขาก็เล็กนิดเดียว

ทั้งที่ตากแดด ตากลม ตากฝน แถมอาจโดนพายุทรายอีก
ผ่านมา 4600 ปีแล้ว ไม่เห็นว่าจะสะดุ้งสะเทือนอะไรเลย
ที่เห็นชัดก็แค่ยอดแหลมข้างบนหายไปนิดเดียวเท่านั้น

แล้วถ้าจะให้ภูเขาหินจริงๆ ที่สูงเป็นกิโลเมตรสึกกร่อนลง
จนกลายเป็นทรายถูกพัดพามาสะสมเกิดเป็นหินทรายใหม่
จะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ แค่ไม่กี่หมื่นปีจะไหวหรือ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 17-08-2007, 02:11
 :slime_sleeping:  ดึกกันจังเลย

เอาเรื่อง C14 ก่อนนะครับ

C14 จะสะสมในตัวของสิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว

และจะเริ่มสลายพลังงานเมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นตายลง

การตรวจ C14 ของซากสิ่งมีชีวิตก็จะเทียบด้วยว่าไม่มีการรบกวนโดย รอบข้าง

กล่าวคือ จะตรวจ C14 ได้ ต่อเมื่อเจอ C14 เฉพาะในร่อยรอยซากเท่านั้น

หากพบมี C14 กระจายบริเวณนั้นถือว่าตรวจสอบแล้วไม่ได้รับผลที่แท้จริง

 :slime_worship:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: อธิฏฐาน ที่ 17-08-2007, 09:57

ยังไม่จบหรือคะ ตาแฉะแล้ว


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 11:19
ยังไม่ต้องดูเปลือกหอยหรอกครับ ดูแค่ขนาดของความหนาชั้นหินตะกอนหลายกิโลเมตร
ก็น่าจะรู้แล้วว่าไม่ได้เกิดพร้อมกันในเวลาสั้นๆ

ยังไม่นับเรื่องพอเกิดเป็นชั้นหินแล้ว Grand Canyon ต้องมีเวลาในการยกตัวขึ้นและถูก
ทางน้ำกัดเซาะจนกลายเป็นหุบเหวลึกกว่า 1500 เมตรเข้าไปอีก

และต้องระลึกไว้ด้วยนะครับว่าที่เห็นใหญ่โตขนาดนั้นคือ "หินตะกอน" มีส่วนของ "หินทราย"
ซึ่งเกิดจากเศษหินที่สึกกร่อนมาจาก "หินเดิม" ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้อีก ต้องใช้เวลาเท่าไหร่
ภูเขาหินเดิมถึงจะสึกกร่อนจนกลายเป็นทรายมาสะสมตัวเป็นหินทรายมหาศาลขนาดนี้?

และในส่วนของ "หินปูน" ก็เกิดจากการตกผลึกของแร่ธาตุในน้ำเนื่องจากเกิดสภาพน้ำทะเล
แห้งงวดลงเข้มข้นจนในที่สุดสะสมตัวกลายเป็นชั้นหินปูน หรืออาจเกิดจากการสะสมตัวของ
ปะการังที่ตายทับถมกัน ต้องใช้เวลาเท่าไหร่กว่าจะสะสมกลายเป็นหินปูนหนามากขนาดนั้น
เรื่องนี้ไม่ใช่เหมือนการสะสมตัวของขี้เลนขี้โคลนตามแม่น้ำที่สะสมตัวหนาได้ง่ายๆ

---

เรื่องเปลือกโลกตรงนั้นยกตัวปีละกี่เซนติเมตร ก็อยู่ที่ว่าคุณ Q คิดว่าทั้งหมด 1500 เมตร
ใช้เวลายกตัวกี่ปี สมมุติว่าชั้นหินตะกอนทั้งหมดใช้เวลาก่อตัวก่อนยกตัว 2 แสนปีนะครับ
ก็จะเหลือเวลาแค่ 50,000 ปี เท่ากับ Grand Canyon ต้องยกตัวถึงปีละ 3 เซนติเมตร
ต่อเนื่องกันตลอด คิดว่าเป็นไปได้ไหมล่ะครับ?

แต่ถ้าคิดว่าชั้นหินใช้เวลาก่อตัวเร็วกว่า 2 แสนปี ตีเสียว่าแค่ 1 แสนปีก็ก่อตัวเสร็จแล้ว
Grand Canyon ก็จะมีเวลายกตัว 150,000 ปีตกปีละ 1 เซนติเมตร (ก็ยังเวอร์อยู่นะ)
แต่ถามว่าเวลาแค่ 1 แสนปีชั้นหินจะทันก่อตัวได้หนาเป็นกิโลเมตรเลยหรือครับ

ยิ่งถ้าเอาสมมุติฐานว่าโลกอายุไม่เกิน 1 แสนปีมาจับ ยิ่งไปกันใหญ่เลยเพราะเหลือเวลา
แค่ช่วงละไม่กี่หมื่นปี หินเดิมสึกกร่อน 3 หมื่นกว่าปี หินตะกอนก่อตัว 3 หมื่นกว่าปี ชั้นหิน
ยกตัวถูกกัดเซาะอีก 3 หมื่นกว่าปี  มันจะเป็นไปได้หรือครับ.. ผมไม่เชื่อ  :mrgreen:


มันเกิดขึ้นพร้อมๆกันทุกเหตุการณ์ครับ..จากน้ำเชี่ยวและคลื่นทรายในน้ำครับ ค่อนข้างเฉียบพลันในการสะสมตะกอนและกัดเซาะจากน้ำ ไม่ได้เกิดจากลม

(http://www.answersingenesis.org/home/area/magazines/images/figure_2.jpg)

Figure 2. Grand Canyon in cross-section showing the names given to the different rock units by geologists.



http://www.answersingenesis.org/creation/v15/i1/flood.asp

Sand waves have been observed on certain parts of the ocean floor and in rivers, and have been produced in laboratory studies. Consequently, it has been demonstrated that the sand wave height is related to the water depth.15 As the water depth increases so does the height of the sand waves which are produced. The heights of the sand waves are approximately one-fifth of the water depth. Similarly, the velocities of the water currents that produce sand waves have been determined.

Thus we have the means to calculate both the depth and velocity of the water responsible for transporting as sand waves the sand that now makes up the cross beds of the Coconino Sandstone. The thickest sets of cross beds in the Coconino Sandstone so far reported are 30 feet (9 metres) thick.16 Cross beds of that height imply sand waves at least 60 feet (18 metres) high and a water depth of around 300 feet (between 90 and 95 metres). For water that deep to make and move sand waves as high as 60 feet (18 metres) the minimum current velocity would need to be over 3 feet per second (95 centimetres per second) or 2 miles per hour. The maximum current velocity would have been almost 5.5 feet per second (165 cm or 1.65 metres per second) or 3.75 miles per hour. Beyond that velocity experimental and observational evidence has shown that flat sand beds only would be formed.

Now to have transported in such deep water the volume of sand that now makes up the Coconino Sandstone these current velocities would have to have been sustained in the one direction perhaps for days. Modern tides and normal ocean currents do not have these velocities in the open ocean, although deep-sea currents have been reported to attain velocities of between 50 cm and 250 cm (2.5 metres) per second through geographical restrictions. Thus catastrophic events provide the only mechanism, which can produce high velocity ocean currents over a wide area.

Hurricanes (or cyclones in the southern hemisphere) are thought to make modern sand waves of smaller size than those that have produced the cross beds in the Coconino Sandstone, but no measurements of hurricane driven currents approaching these velocities in deep water have been reported. The most severe modern ocean currents known have been generated during a tsunami or ‘tidal wave’. In shallow oceans tsunami-induced currents have been reported on occasion to exceed 500 cm (5 metres) per second, and currents moving in the one direction have been sustained for hours.19 Such an event would be able to move large quantities of sand and, in its waning stages, build huge sand waves in deep water. Consequently, a tsunami provides the best modern analogy for understanding how large-scale cross beds such as those in the Coconino Sandstone could form.

Noah's Flood?
We can thus imagine how the Flood would deposit the Coconino Sandstone (and its equivalents), which covers an area of 200,000 square miles (518,000 square kilometres) averages 315 feet (96 metres) thick, and contains a volume of sand conservatively estimated at 10,000 cubic miles (41,700 cubic kilometres). But where could such an enormous quantity of sand come from? Cross beds within the Coconino dip consistently toward the south, indicating that the sand came from the north. However, along its northern occurrence, the Coconino rests directly on the Hermit Formation, which consists of siltstone and shale and so would not have been an ample source of sand of the type now found in the Coconino Sandstone. Consequently, this enormous volume of sand would have to have been transported a considerable distance, perhaps at least 200 or 300 miles (320 or 480 kilometres). At the current velocities envisaged sand could be transported that distance in a matter of a few days!

Thus the evidence within the Coconino Sandstone does not support the evolutionary geologists interpretation of slow and gradual deposition of sand in a desert environment with dunes being climbed by wandering four-footed vertebrates. On the contrary, a careful examination of the evidence, backed up by experiments and observations of processes operating today indicates catastrophic deposition of the sand by deep fast-moving water in a matter of days, totally consistent with conditions envisaged during the Flood.  






หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 11:34
:slime_sleeping:  ดึกกันจังเลย

เอาเรื่อง C14 ก่อนนะครับ

C14 จะสะสมในตัวของสิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว

และจะเริ่มสลายพลังงานเมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นตายลง

การตรวจ C14 ของซากสิ่งมีชีวิตก็จะเทียบด้วยว่าไม่มีการรบกวนโดย รอบข้าง

กล่าวคือ จะตรวจ C14 ได้ ต่อเมื่อเจอ C14 เฉพาะในร่อยรอยซากเท่านั้น

หากพบมี C14 กระจายบริเวณนั้นถือว่าตรวจสอบแล้วไม่ได้รับผลที่แท้จริง

 :slime_worship:



ขอบคุณครับ..เข้าใจว่าสะสมได้จากอาหาร และน้ำ การหายใจและขับถ่าย ขับออกได้บางส่วน :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 11:39
ใกล้จะถึงเรื่อง "โลกร้อน" ยังครับ อิ อิ

ตามอ่านก็ได้ความรู้ดี  



โลกร้อนคงมีผลต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตในโลกไม่น้อย

ทำให้ปริมาณของสิ่งมีชีวิตต่างๆเปลี่ยนไป..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: varada ที่ 17-08-2007, 13:55
โห..........ทู้นี้ไปถึงใหนต่อใหนกันแล้วเนี่ย ยังไม่จบอีกเหรอ
ขอแนะนำให้ตั้งห้องหว้ากอขึ้นมาอีกห้องเลยค่า
:slime_fighto:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 15:56
โห..........ทู้นี้ไปถึงใหนต่อใหนกันแล้วเนี่ย ยังไม่จบอีกเหรอ
ขอแนะนำให้ตั้งห้องหว้ากอขึ้นมาอีกห้องเลยค่า
:slime_fighto:

คิดว่าคงจะจบไม่นานนี้แล้วล่ะครับคุณ varada
ขออภัยที่วิญญาณหว้ากอเก่าเข้าสิงนะครับ
  :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 15:56

มันเกิดขึ้นพร้อมๆกันทุกเหตุการณ์ครับ..จากน้ำเชี่ยวและคลื่นทรายในน้ำครับ ค่อนข้างเฉียบพลันในการสะสมตะกอนและกัดเซาะจากน้ำ

ไม่ได้เกิดจากลม

(http://www.answersingenesis.org/home/area/magazines/images/figure_2.jpg)

Figure 2. Grand Canyon in cross-section showing the names given to the different rock units by geologists.

http://www.answersingenesis.org/creation/v15/i1/flood.asp

...

Noah's Flood?
We can thus imagine how the Flood would deposit the Coconino Sandstone (and its equivalents), which covers an area of 200,000

square miles (518,000 square kilometres) averages 315 feet (96 metres) thick, and contains a volume of sand conservatively estimated

at 10,000 cubic miles (41,700 cubic kilometres). But where could such an enormous quantity of sand come from? Cross beds within

the Coconino dip consistently toward the south, indicating that the sand came from the north. However, along its northern occurrence,

the Coconino rests directly on the Hermit Formation, which consists of siltstone and shale and so would not have been an ample

source of sand of the type now found in the Coconino Sandstone. Consequently, this enormous volume of sand would have to have

been transported a considerable distance, perhaps at least 200 or 300 miles (320 or 480 kilometres). At the current velocities

envisaged sand could be transported that distance in a matter of a few days!

Thus the evidence within the Coconino Sandstone does not support the evolutionary geologists interpretation of slow and

gradual deposition of sand in a desert environment with dunes being climbed by wandering four-footed vertebrates. On the contrary, a

careful examination of the evidence, backed up by experiments and observations of processes operating today indicates catastrophic

deposition of the sand by deep fast-moving water in a matter of days, totally consistent with conditions envisaged during the Flood.

 

บทความที่คุณ Q ยกมาเขาพูดถึงแค่การก่อตัวของชั้นหินทราย (Coconino Sandstone) ซึ่งอยู่เกือบบนสุดของ
ชั้นหินแกรนแคนยอนนะครับ  ซึ่งผมอ่านแล้วก็ยังไม่เชื่อว่าชั้นหินทรายหนาร่วม 100 เมตร และกว้างกว่าประเทศไทย
จะเกิดจากกระแสน้ำพัดอย่างรุนแรงแค่ไม่กี่วันเท่านั้น  ที่ในบทความบอกว่าเกี่ยวเนื่องกับปรากฎการณ์น้ำท่วมโลก

ผมยังตามไปอ่านเจอทฤษฎีว่าชั้นหิน Grand Canyon ทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเวลา แค่ 5 พันปีอีกด้วย ซึ่งผม
ก็สงสัยว่าน้ำท่วมโลกมันท่วมแค่ปีเดียวไม่ใช่หรือ  ถ้าบอกว่า Grand Canyon เกิดจากน้ำท่วมโลกก็ต้องท่วม
นานตั้ง 5 พันปีแล้วมันจะ match กันได้อย่างไร  ตกลงน้ำท่วมอยู่กี่ปีแน่ครับ?

(http://www.bobspixels.com/kaibab.org/geology/gc_layer.gif)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 15:59
และเอาเฉพาะชั้นทราย Coconino ที่ในบทความประมาณว่ามีปริมาณอย่างน้อย 41,700 ลูกบากศ์กิโลเมตร ..
ย้ำว่า "กิโลเมตร" นะครับ  ทรายปริมาณมหาศาลขนาดนี้ต้องเกิดจากการสึกกร่อนของภูเขาขนาดมหึมา
ประมาณขนาดเป็นทรงสี่เหลี่ยมง่ายๆ ก็กว้างยาวข้างละ 120 กิโลเมตร สูงประมาณกว่า 2.7 กิโลเมตร
นึกง่ายๆ ก็เกือบสิบเท่าตึกใบหยก 2 (สูงกว่าดอยอินทนนท์เสียอีกและอันนี้เป็นทรงสี่เหลี่ยมตันๆ นะครับ
ไม่ใช่แค่ยอดแหลมๆ แบบภูเขาทั่วไป คิดเฉพาะพื้นที่ฐานก็เกือบ 10 เท่ากรุงเทพมหานคร เข้าไปแล้ว)

ลองเทียบกับพีระมิดคีออปส์ที่ผมเคยยกตัวอย่าง ขนาดฐานพีระมิดกว้างยาวแค่ 230 เมตร ด้านบนเล็กลงเรื่อยๆ
สูงแค่ครึ่งเดียวของตึกใบหยก 2 เท่านั้น ผ่านมา 4600 ปีส่วนยอดยังสึกไปนิดเดียว แล้วถ้าจะให้ภูเขาหินใหญ่
ขนาดที่ว่าสึกกลายเป็นทรายทั้งหมดต้องใช้เวลาเท่าไหร่ กว่าจะถูกพัดพามาสะสมตัวเป็นชั้นหินทราย Coconino ?

ชั้นหินทราย Coconino ก็เป็นชั้นที่อยู่เกือบบนสุด เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งเดียวทำให้เกิดชั้นหินดินดานและหินปูน
ข้างล่างลงไปอีกเป็นกิโลเมตรมันจะเป็นไปได้หรือ ผมอยากให้สังเกตด้วยว่าช่วงรอยต่อ Cambrian-Devonian
มีการแทรกด้วยชั้น Dolomite ซึ่งเป็นหินปูนแมกนีเซียมสูงหนากว่า 100 m. แสดงถึงการเปลี่ยนองค์ประกอบ
ของน้ำทะเล เทียบกับชั้นหินด้านบนด้านล่างที่เป็นหินปูนธรรมดา เรื่องแบบนี้เกิดจากน้ำท่วมครั้งเดียวไม่ได้
และในส่วนของชั้นหินทรายก็ประกอบไปด้วยซิลิกา ซึ่งเป็นคนละชั้นกับคาร์บอเนตในหินปูน ถ้าเกิดร่วมกันจริง
ต้องมีการปนกันของหินปูนเข้าไปในหินทราย จะไม่แยกออกมาเป็นชั้นๆ การแยกเป็นชั้นๆ บ่งชี้ว่าชั้นหินเกิดขึ้น
คนละช่วงเวลา เหมือนกับวงปีต้นไม้ที่คุณ Q เคยยกตัวอย่าง

อีกประการหนึ่งผมไม่เห็นมีการพูดถึง turbidites ในชั้นหินทราย Coconino ซึ่งถ้าหากมีการพัดพาของกระแสน้ำ
อย่างรุนแรงในเวลาไม่กี่วันจริง เราจะไม่ได้ชั้นทรายที่สะอาดแต่จะต้องมีตะกอนขนาดเล็กใหญ่ผสมปนเปกันมา
นอกจากนี้ถามว่ามีการพูดถึงชั้น conglomerates หรือ breccias ที่เกิดจากการกัดเซาะรุนแรงของกระแสน้ำเชี่ยว
ปรากฏอยู่บ้างหรือไม่  ซึ่งถ้ามีจริงๆ ผู้วิจัยน่าจะต้องอ้างอิงถึงเพราะเป็นลักษณะบ่งชี้สำคัญที่เถียงกันไม่ได้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 16:00
เรื่อง "การกัดเซาะจากน้ำ" ถ้าคุณ Q จะหมายถึงการกัดเซาะ Grand Canyon ของแม่น้ำโคโรลาโดว่าเกิดขึ้น
ในช่วงเดียวกันกับการก่อตัวของ Grand Canyon อันนั้นเป็นไปไม่ได้นะครับ ต้องมีการสะสมตัวของตะกอน
เสร็จก่อนแล้วเซ็ตตัวกลายเป็นชั้นหิน (ภายในไม่กี่วัน?) พอเป็นหินแล้วแม่น้ำถึงจะมากัดเซาะชั้นหินลงไปครับ
จะกัดเซาะก่อนแล้วกลายเป็นหินก็ไม่ได้  และเขามีการประเมินไว้ว่าด้วยอัตรากัดเซาะของแม่น้ำโคโรลาโด
จะผ่า Grand Canyon ได้ขนาดนี้ต้องใช้เวลาอย่างเร็วคือกว่า 7 หมื่นปี และข้อมูลปัจจุบันเชื่อว่าใช้เวลาถึง
70 ล้านปีเพราะเป็นการกัดเซาะตามการยกตัวของชั้นหิน และเป็นไปได้ว่าแม่น้ำอยู่ในตำแหน่งนี้นิ่งๆ มาแล้ว
ถึง 5 ล้านปี

เรื่องตะกอนสะสมแข็งตัวเป็นชั้นหิน Grand Canyon แล้วถูกแม่น้ำกัดเซาะเสร็จภายใน 5 พันปีผมไม่เชื่อครับ

ผมเชื่อทฤษฎีเดิมที่ว่าชั้นหินทราย Coconino เกิดในช่วงที่พื้นที่แกรนแคนยอนแห้งลงเป็นทะเลทรายมากกว่า
ซึ่งสลับกับช่วงเวลาที่เป็นน้ำตื้นที่ทำให้เกิดชั้นหินดินดาน(shale) หินทรายแป้ง (siltstone) และช่วงเวลา
ที่เป็นทะเลที่ทำให้เกิดชั้นหินปูน (limestone) บางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของน้ำทะเลทำให้เกิด
เป็นหินปูน Dolomite แบบนี้สมเหตุสมผลมากกว่าครับ

(http://www.ncseweb.org/resources/rncse_content/vol18/18_4biblio-f1.jpg)

และที่สำคัญที่สุดคุณ Q อธิบายได้ไหมครับว่าทำไม Fossil ในแต่ละชั้นหินของ Grand Canyon ถึงแยกกัน
อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยตามอายุในลำดับธรณีกาล ไม่มีการพบ Index Fossil อายุเก่าปนกับอายุใหม่
ถ้าชั้นหินทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ก็ต้องมี Fossil ปนกันจริงไหมครับ?

นอกจากนี้ถ้าชั้นหินช่วง Phanerozoic ระหว่าง Cambrian ถึง Permian period เกิดขึ้นพร้อมกันจากน้ำท่วมโลก
ชั้นหินก่อนนั้นช่วง Pre-cambrian ก็ต้องพบ Fossil สิ่งมีชีวิตที่อยู่ก่อนโดนน้ำท่วมเช่นสัตว์มีกระดูกสันหลังต่างๆ
แต่ทำไม่ไม่พบเลยล่ะครับ หลักๆ มีแต่ร่องรอย stromatolites ที่บ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มของโลก

คุณ Q อธิบายเรื่องหลักฐาน Fossil ที่เกิดอย่างเป็นระเบียบตามลำดับธรณีกาลเหล่านี้ได้ไหมครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 17-08-2007, 16:48
บทความที่คุณ Q ยกมาเขาพูดถึงแค่การก่อตัวของชั้นหินทราย (Coconino Sandstone) ซึ่งอยู่เกือบบนสุดของ
ชั้นหินแกรนแคนยอนนะครับ  ซึ่งผมอ่านแล้วก็ยังไม่เชื่อว่าชั้นหินทรายหนาร่วม 100 เมตร และกว้างกว่าประเทศไทย
จะเกิดจากกระแสน้ำพัดอย่างรุนแรงแค่ไม่กี่วันเท่านั้น  ที่ในบทความบอกว่าเกี่ยวเนื่องกับปรากฎการณ์น้ำท่วมโลก

ผมยังตามไปอ่านเจอทฤษฎีว่าชั้นหิน Grand Canyon ทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเวลา แค่ 5 พันปีอีกด้วย ซึ่งผม
ก็สงสัยว่าน้ำท่วมโลกมันท่วมแค่ปีเดียวไม่ใช่หรือ  ถ้าบอกว่า Grand Canyon เกิดจากน้ำท่วมโลกก็ต้องท่วม
นานตั้ง 5 พันปีแล้วมันจะ match กันได้อย่างไร  ตกลงน้ำท่วมอยู่กี่ปีแน่ครับ?

(http://www.bobspixels.com/kaibab.org/geology/gc_layer.gif)
คุณ jerasak ต้องเข้าใจนะครับว่ามีพวกที่บิดเบือนพระคัมภีร์อยู่เยอะ เช่น เขาบอกว่าเห็นไหมน้ำท่วมจริง แล้วก็ยกแหล่งอ้างอิงมา แต่แหล่งอ้างอิงนั้นกลับบอกว่าน้ำท่วมก่อนโนอาห์จะเกิดอีก  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 17-08-2007, 17:19
 :slime_shy:

คุณ Q เจอบั๊ก จาก Link Reference ซะแล้วเหรอเนี่ย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 17:50
:slime_shy:

คุณ Q เจอบั๊ก จาก Link Reference ซะแล้วเหรอเนี่ย

ไม่ใช่ครับ พอดีเจอลูกหนี้เช็คเด้งอะครับ เรื่องจริงเสียด้วย..วิวัฒนาการของลูกหนีครับ

ระมัดระวังกันมากๆก็ดีครับ..เพราะเป็นชีวิตจริง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 17:59
เรื่อง "การกัดเซาะจากน้ำ" ถ้าคุณ Q จะหมายถึงการกัดเซาะ Grand Canyon ของแม่น้ำโคโรลาโดว่าเกิดขึ้น
ในช่วงเดียวกันกับการก่อตัวของ Grand Canyon อันนั้นเป็นไปไม่ได้นะครับ ต้องมีการสะสมตัวของตะกอน
เสร็จก่อนแล้วเซ็ตตัวกลายเป็นชั้นหิน (ภายในไม่กี่วัน?) พอเป็นหินแล้วแม่น้ำถึงจะมากัดเซาะชั้นหินลงไปครับ
จะกัดเซาะก่อนแล้วกลายเป็นหินก็ไม่ได้  และเขามีการประเมินไว้ว่าด้วยอัตรากัดเซาะของแม่น้ำโคโรลาโด
จะผ่า Grand Canyon ได้ขนาดนี้ต้องใช้เวลาอย่างเร็วคือกว่า 7 หมื่นปี และข้อมูลปัจจุบันเชื่อว่าใช้เวลาถึง
70 ล้านปีเพราะเป็นการกัดเซาะตามการยกตัวของชั้นหิน และเป็นไปได้ว่าแม่น้ำอยู่ในตำแหน่งนี้นิ่งๆ มาแล้ว
ถึง 5 ล้านปี

เรื่องตะกอนสะสมแข็งตัวเป็นชั้นหิน Grand Canyon แล้วถูกแม่น้ำกัดเซาะเสร็จภายใน 5 พันปีผมไม่เชื่อครับ

ผมเชื่อทฤษฎีเดิมที่ว่าชั้นหินทราย Coconino เกิดในช่วงที่พื้นที่แกรนแคนยอนแห้งลงเป็นทะเลทรายมากกว่า
ซึ่งสลับกับช่วงเวลาที่เป็นน้ำตื้นที่ทำให้เกิดชั้นหินดินดาน(shale) หินทรายแป้ง (siltstone) และช่วงเวลา
ที่เป็นทะเลที่ทำให้เกิดชั้นหินปูน (limestone) บางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของน้ำทะเลทำให้เกิด
เป็นหินปูน Dolomite แบบนี้สมเหตุสมผลมากกว่าครับ

(http://www.ncseweb.org/resources/rncse_content/vol18/18_4biblio-f1.jpg)

และที่สำคัญที่สุดคุณ Q อธิบายได้ไหมครับว่าทำไม Fossil ในแต่ละชั้นหินของ Grand Canyon ถึงแยกกัน
อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยตามอายุในลำดับธรณีกาล ไม่มีการพบ Index Fossil อายุเก่าปนกับอายุใหม่
ถ้าชั้นหินทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ก็ต้องมี Fossil ปนกันจริงไหมครับ?

นอกจากนี้ถ้าชั้นหินช่วง Phanerozoic ระหว่าง Cambrian ถึง Permian period เกิดขึ้นพร้อมกันจากน้ำท่วมโลก
ชั้นหินก่อนนั้นช่วง Pre-cambrian ก็ต้องพบ Fossil สิ่งมีชีวิตที่อยู่ก่อนโดนน้ำท่วมเช่นสัตว์มีกระดูกสันหลังต่างๆ
แต่ทำไม่ไม่พบเลยล่ะครับ หลักๆ มีแต่ร่องรอย stromatolites ที่บ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มของโลก

คุณ Q อธิบายเรื่องหลักฐาน Fossil ที่เกิดอย่างเป็นระเบียบตามลำดับธรณีกาลเหล่านี้ได้ไหมครับ

คุณ jerasak ต้องเข้าใจนะครับว่ามีพวกที่บิดเบือนพระคัมภีร์อยู่เยอะ เช่น เขาบอกว่าเห็นไหมน้ำท่วมจริง แล้วก็ยกแหล่งอ้างอิงมา แต่แหล่งอ้างอิงนั้นกลับบอกว่าน้ำท่วมก่อนโนอาห์จะเกิดอีก  :slime_bigsmile:

ระยะเวลา ที่บอกเป็นเหตุการณ์เดียวก็น่าจะถูกต้องครับ เพราะต้องการบอกว่ามันเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องนานเป็นล้านปีแน่นอนครับ..

มีทั้งแม่น้ำ น้ำใต้ดิน น้ำทะเล น้ำท่วมเล็ก ท่วมใหญ่ สึนามิ ทะเลทราย ลมพายุ ครบองค์ประกอบ ช่วงเวลาสั้นๆเพียงไม่ถึงหมื่นปีจึงเป็นที่พิศวงและถกเถียงได้ครับ..

บรรทัดฐานเป็นล้านปี อาจเป็นเพียงการเทียบบรรญัติไตรยางค์ ที่ประเมินผิดตั้งแต่อายุโลกแล้ว เพราะไปใช้ค่าแอ็บโซลูทของธาตุทุกชนิดบนโลก

แต่ขณะเดียวกันบอกน้ำปริมาณมหาศาลบนโลกมาจากดาวหาง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: สมปอง ที่ 17-08-2007, 18:03
ไม่มีประโยชน์ ไม่รู้จะวิเคราะห์เจาะลึกกันไปถึงไหน ถึงแม้จะทราบว่าน้ำท่วมโลกตอนไหน หรือโลกอายุกี่ล้านปี ก็ไม่ทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นหรอก มาถามผมสิ ผมจะวิเคราะห์แบบชาวบ้านๆให้เข้าใจ :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 18:05
คุณ jerasak ต้องเข้าใจนะครับว่ามีพวกที่บิดเบือนพระคัมภีร์อยู่เยอะ เช่น เขาบอกว่าเห็นไหมน้ำท่วมจริง
แล้วก็ยกแหล่งอ้างอิงมา แต่แหล่งอ้างอิงนั้นกลับบอกว่าน้ำท่วมก่อนโนอาห์จะเกิดอีก  :slime_bigsmile:

ถ้ายุคโนอาร์คือไม่ถึง 5000 ปีที่แล้ว ทำยังไง Grand Canyon ก็ก่อตัวไม่ทันครับ
เพราะต้องมีเวลาที่ชั้นตะกอนจากน้ำท่วมเซ็ตตัวกลายเป็นหินอีก ไหนจะเวลาที่แม่น้ำ
โคโรลาโด กัดเซาะลงไปจนถึงชั้นหิน Pre-Cambrian

สมมุตินับว่า Grand Canyon เกิดเมื่อ 5000 ปีที่แล้วทันที แล้วเกิดการยกตัวของ
พื้นที่จนแม่น้ำกัดเซาะลงไปในแนวดิ่ง ก็จะต้องยกตัวปีละ 1 ฟุตมันจะเป็นไปได้หรือ
  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 18:08

ไม่มีประโยชน์ ไม่รู้จะวิเคราะห์เจาะลึกกันไปถึงไหน ถึงแม้จะทราบว่าน้ำท่วมโลกตอนไหน หรือโลกอายุกี่ล้านปี ก็ไม่ทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นหรอก มาถามผมสิ ผมจะวิเคราะห์แบบชาวบ้านๆให้เข้าใจ :slime_smile2:

มันคงจะมีผลในมุมมองหนึ่งของชีวิต ว่าทุกสิ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่สลับซับซ้อน..

ชาวบ้าน สำคัญมาก เพราะจะตกเป็นทาสในสังคมแห่งความรู้ที่กำลังมาถึงหลังทุนนิยมสามานย์และโรคภัยไข้เจ็บคุกคามโลกครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: สมปอง ที่ 17-08-2007, 18:11
ไม่เห็นสลับซับซ้อนอะไรเลย คิดมากไปเอง

โลกเกิด น้ำเกิด ดินเกิด สิ่งมีชีวิตเกิด สัตว์เกิด คนเกิด

มีหิน มีดิน มีทราย รู้แล้วทำไม รู้แล้วเราจะมีความสุขเพิ่มขึ้นไหมอะ

สมปองก็รู้ว่ามีไดโนเสาร์ มียุค ไทรอาสสิค จูราสสิค ไม่เห็นว่าจะมีความสุขเพิ่มขึ้นเลย :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 18:22
ถ้ายุคโนอาร์คือไม่ถึง 5000 ปีที่แล้ว ทำยังไง Grand Canyon ก็ก่อตัวไม่ทันครับ
เพราะต้องมีเวลาที่ชั้นตะกอนจากน้ำท่วมเซ็ตตัวกลายเป็นหินอีก ไหนจะเวลาที่แม่น้ำ
โคโรลาโด กัดเซาะลงไปจนถึงชั้นหิน Pre-Cambrian

สมมุตินับว่า Grand Canyon เกิดเมื่อ 5000 ปีที่แล้วทันที แล้วเกิดการยกตัวของ
พื้นที่จนแม่น้ำกัดเซาะลงไปในแนวดิ่ง ก็จะต้องยกตัวปีละ 1 ฟุตมันจะเป็นไปได้หรือ
  :slime_doubt:

เคยเห็นหินงอกหินย้อยด้วยใช่ไหมครับ.

กรณีน้ำทำให้เกิดโพรงใต้ดิน มาก่อนแล้วก็น่าจะเป็นไปได้ครับ

ผมยังไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูลชั้นหินเจาะลึกครับ ยังประเมินว่าโลกอายุน้อยกว่าที่เชื่อกัน

และเคยมีน้ำท่วมใหญ่ การยกตัวคงมีบ้าง แต่คงไม่กี่เซ้นต์ต่อปี่ครับ

แรกเริ่มหินบนโลกคงจะมาจากหินภูเขาไฟแน่อน ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นภูเขาไฟใต้น้ำด้วย..

ส่วนฟอสซิลต่างๆต้องนำมาพิจารณาแน่นอนครับ เช่นเดียวกับรอยเดินหนีน้ำของสัตว์ที่พบเห็นจากชั้นหิน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 18:26
ไม่เห็นสลับซับซ้อนอะไรเลย คิดมากไปเอง

โลกเกิด น้ำเกิด ดินเกิด สิ่งมีชีวิตเกิด สัตว์เกิด คนเกิด

มีหิน มีดิน มีทราย รู้แล้วทำไม รู้แล้วเราจะมีความสุขเพิ่มขึ้นไหมอะ

สมปองก็รู้ว่ามีไดโนเสาร์ มียุค ไทรอาสสิค จูราสสิค ไม่เห็นว่าจะมีความสุขเพิ่มขึ้นเลย :slime_bigsmile:


เบื้องหลังข้อมูลข่าวสารต่างๆ มักมีกลุ่มผลประโยชน์ต่างหนุนหลังครับ ทำให้ชาวบ้านเป็นทาสได้อีกแบบหนึ่ง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 17-08-2007, 18:28
ถ้ายุคโนอาร์คือไม่ถึง 5000 ปีที่แล้ว ทำยังไง Grand Canyon ก็ก่อตัวไม่ทันครับ
เพราะต้องมีเวลาที่ชั้นตะกอนจากน้ำท่วมเซ็ตตัวกลายเป็นหินอีก ไหนจะเวลาที่แม่น้ำ
โคโรลาโด กัดเซาะลงไปจนถึงชั้นหิน Pre-Cambrian

สมมุตินับว่า Grand Canyon เกิดเมื่อ 5000 ปีที่แล้วทันที แล้วเกิดการยกตัวของ
พื้นที่จนแม่น้ำกัดเซาะลงไปในแนวดิ่ง ก็จะต้องยกตัวปีละ 1 ฟุตมันจะเป็นไปได้หรือ
  :slime_doubt:
อันนี้ต้องรอคุณ Q ตอบครับ :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 18:29


หากอะไรเป็นจริงถกเถียงค้นคว้า ย่อมให้เราเข้าใจได้มากขึ้นในที่สุดครับ..

หากโนอาอาร์คมีจริง ต้องมีร่องรอย..ไปข้างนอกก่อนนะครับไว้มาตามอ่านครับ
                                                                                                                :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 18:36
ระยะเวลา ที่บอกเป็นเหตุการณ์เดียวก็น่าจะถูกต้องครับ เพราะต้องการบอกว่ามันเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องนานเป็นล้านปีแน่นอนครับ..

มีทั้งแม่น้ำ น้ำใต้ดิน น้ำทะเล น้ำท่วมเล็ก ท่วมใหญ่ สึนามิ ทะเลทราย ลมพายุ ครบองค์ประกอบ ช่วงเวลาสั้นๆเพียงไม่ถึงหมื่นปีจึงเป็นที่พิศวงและถกเถียงได้ครับ..

บรรทัดฐานเป็นล้านปี อาจเป็นเพียงการเทียบบรรญัติไตรยางค์ ที่ประเมินผิดตั้งแต่อายุโลกแล้ว เพราะไปใช้ค่าแอ็บโซลูทของธาตุทุกชนิดบนโลก

แต่ขณะเดียวกันบอกน้ำปริมาณมหาศาลบนโลกมาจากดาวหาง

ถ้าอย่างนั้นนะครับ ฝ่ายเจ้าของทฤษฎี Grand Canyon เกิดภายใน 5 พันปีเขาบอกได้ไหมครับ
ว่าชั้นหินแต่ละชั้นใช้เวลาก่อตัวชั้นละกี่ปี มีแม่น้ำ น้ำใต้ดิน น้ำทะเล น้ำท่วมเล็ก ท่วมใหญ่ สึนามิ
ทะเลทราย ลมพายุ ในตอนปีไหน แม่น้ำโคโรลาโดเริ่มกัดเซาะเมื่อไหร่

ถ้าช่วงเหตุการณ์มันสั้นจุ๊ดจู๋ขนาดนั้น ก็น่าจะระบุได้เลยสิครับว่าเหตุการณ์ไหนเกิดตอนกี่ BC


แล้วต้องไม่ลืมนะครับว่าชั้นหิน Grand Canyon ไม่ใช่ชั้นหินทั้งหมดที่เกิดในช่วง Paleozoic
แต่เป็นเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ยุคไดโนเสาร์ยังไม่ได้อยู่ในชั้นหิน Grand Canyon เลยนะครับ
ตกลงเหตุการณ์หลังจากเกิด Grand Canyon จากน้ำท่วมโลกแล้ว อะไรต่างๆ หลังจากนั้น
อย่างยุคไดโนเสาร์ ก็รวมอยู่ใน 5 พันปีด้วยหรือครับ?

นั่นหมายความว่าเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเกิดใน 500 ล้านปี ต้องเกิดภายในเวลาเพียงแค่ 5 พันปี
เท่ากับเร็วขึ้น 1 แสนเท่านะครับ เหตุการณ์ที่ควรจะเกิดใน 1 แสนปีก็ต้องเกิดภายในปีเดียว

เทียบได้ว่าแค่อายุกรุงเทพฯ 225 ปีก็ต้องเกิดเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาเท่ากับ 22.5 ล้านปีเดิม
หรือเท่ากับว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่ในยุค Miocene  ตอนนั้นน่ะยังไม่มี ม้า เลยนะครับ
มีแต่พวก พาราฮิปปุส ( Parahippus) และไฮโปฮิปปุส( Hypohippus)

ถ้าย้อนหลังไป 700 ปีสมัยพ่อขุนรามคำแหง แห่งอาณาจักรสุโขทัย ก็ต้องเท่ากับ 70 ล้านปี
ทางอีสานของเราก็ต้องมีตัวอะไรคล้ายๆ ไทเรนโนซอรัส ออกมาจับชาวบ้านกิน

คิดจะเขียนประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาใหม่มันไม่ง่ายครับ ยิ่งจะร่นให้เหลือแค่ 5 พันปีแบบนี้
มันมีอะไรบรรจุอยู่เต็มในประวัติศาสตร์แล้วครับ ไม่มีช่องว่างให้พอใส่สิ่งแปลกปลอมหรอก

---

ทั้งเรื่องการแยกตัวของชั้นหินตะกอนต่างชนิด และการกัดเซาะของแม่น้ำที่บอกว่าทั้งหมดนี้
เกิดในเวลาไล่ๆ กันภายใน 5 พันปี ... เร็วกว่าเดิม 1 แสนเท่า ผมว่าฟังไม่ขึ้นทั้งนั้นครับ

แล้วที่ผมถามเรื่องการปรากฏของ Fossil ในชั้นหินอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยตามลำดับธรณีกาล
คุณ Q ยังไม่ตอบคำถามผมเลยนะครับ

ตอบคำถามง่ายๆ ก็ได้ครับ.. ทำไมไม่เจอ Fossil ไดโนเสาร์ที่ Grand Canyon เลยสักตัวเดียว?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 17-08-2007, 19:09
ถ้าอย่างนั้นนะครับ ฝ่ายเจ้าของทฤษฎี Grand Canyon เกิดภายใน 5 พันปีเขาบอกได้ไหมครับ
ว่าชั้นหินแต่ละชั้นใช้เวลาก่อตัวชั้นละกี่ปี มีแม่น้ำ น้ำใต้ดิน น้ำทะเล น้ำท่วมเล็ก ท่วมใหญ่ สึนามิ
ทะเลทราย ลมพายุ ในตอนปีไหน แม่น้ำโคโรลาโดเริ่มกัดเซาะเมื่อไหร่

ถ้าช่วงเหตุการณ์มันสั้นจุ๊ดจู๋ขนาดนั้น ก็น่าจะระบุได้เลยสิครับว่าเหตุการณ์ไหนเกิดตอนกี่ BC


แล้วต้องไม่ลืมนะครับว่าชั้นหิน Grand Canyon ไม่ใช่ชั้นหินทั้งหมดที่เกิดในช่วง Paleozoic
แต่เป็นเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ยุคไดโนเสาร์ยังไม่ได้อยู่ในชั้นหิน Grand Canyon เลยนะครับ
ตกลงเหตุการณ์หลังจากเกิด Grand Canyon จากน้ำท่วมโลกแล้ว อะไรต่างๆ หลังจากนั้น
อย่างยุคไดโนเสาร์ ก็รวมอยู่ใน 5 พันปีด้วยหรือครับ?

นั่นหมายความว่าเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเกิดใน 500 ล้านปี ต้องเกิดภายในเวลาเพียงแค่ 5 พันปี
เท่ากับเร็วขึ้น 1 แสนเท่านะครับ เหตุการณ์ที่ควรจะเกิดใน 1 แสนปีก็ต้องเกิดภายในปีเดียว

เทียบได้ว่าแค่อายุกรุงเทพฯ 225 ปีก็ต้องเกิดเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาเท่ากับ 22.5 ล้านปีเดิม
หรือเท่ากับว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่ในยุค Miocene  ตอนนั้นน่ะยังไม่ ม้า เลยนะครับ
มีแต่พวก พาราฮิปปุส ( Parahippus) และไฮโปฮิปปุส( Hypohippus)

ถ้าย้อนหลังไป 700 ปีสมัยพ่อขุนรามคำแหง แห่งอาณาจักรสุโขทัย ก็ต้องเท่ากับ 70 ล้านปี
ทางอีสานของเราก็ต้องมีตัวอะไรคล้ายๆ ไทเรนโนซอรัส ออกมาจับชาวบ้านกิน

คิดจะเขียนประวัติศาสตร์ธรณ๊วิทยาใหม่มันไม่ง่ายครับ ยิ่งจะร่นให้เหลือแค่ 5 พันปีแบบนี้
มันมีอะไรบรรจุอยู่เต็มในประวัติศาสตร์แล้วครับ ไม่มีช่องว่างให้พอใส่สิ่งแปลกปลอมหรอก

---

ทั้งเรื่องการแยกตัวของชั้นหินตะกอนต่างชนิด และการกัดเซาะของแม่น้ำที่บอกว่าทั้งหมดนี้
เกิดในเวลาไล่ๆ กันภายใน 5 พันปี ... เร็วกว่าเดิม 1 แสนเท่า ผมว่าฟังไม่ขึ้นทั้งนั้นครับ

แล้วที่ผมถามเรื่องการปรากฏของ Fossil ในชั้นหินอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยตามลำดับธรณีกาล
คุณ Q ยังไม่ตอบคำถามผมเลยนะครับ

ตอบคำถามง่ายๆ ก็ได้ครับ.. ทำไมไม่เจอ Fossil ไดโนเสาร์ที่ Grand Canyon เลยสักตัวเดียว?

มีที่ว่างเสมอสำหรับความจริงครับ..

ส่วนของปลอมใส่เข้าไปแล้วก็เป็นเพียงสิ่งแปลกปลอม ต้องออกไปแล้ว ไว้ค่อยคุยนะครับโพสต์ไปก่น


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 19:14
มีที่ว่างเสมอสำหรับความจริงครับ..

ส่วนของปลอมใส่เข้าไปแล้วก็เป็นเพียงสิ่งแปลกปลอม ต้องออกไปแล้ว ไว้ค่อยคุยนะครับโพสต์ไปก่น

คุณ Q ยังไม่ได้ตอบคำถามผมเลยนะครับ ว่าทำไมไม่พบ Fossil ของสิ่งมีชีวิตแต่ละยุคอยู่ปนกัน
แต่กลับแยกกันอยู่ในชั้นหินแต่ละอายุเสมอ และเป็นไปตามลำดับอายุเสียด้วย

เอาตามรูปนี้ก็ได้ครับทำไมเราไม่พบ Fossil ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อยู่ในหินตะกอนชั้นเดียวกันเลย

(http://photos1.blogger.com/blogger/6864/3170/1600/1017_timeline.2.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: นู๋เจ๋ง ที่ 17-08-2007, 19:29
ซีลาคานธ์ หน้าตาเหมือนปลาเก๋า
หน้าตาเหมือนปลาหมอทะเลจังเลย พี่น้องงงง :slime_bigsmile:

รู้แค่ว่า ในหนังเรื่อง final score คนที่ชอบปลา เค้าสอบเข้าไปเรียนที่คณะประมง มก. เจ้าค่ะ :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 17-08-2007, 19:42
เคยดูสารคดีจากต่างประเทศ นานมาแล้ว

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ค้นพบว่า ในอดีตเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในบริเวณที่ลุ่ม แถบเมโสโปเตเมีย

เมื่ออารยธรรมกระจายตัวจากแถบนั้น ก็พาเอาตำนานติดตัวกันไปเผยแพร่ต่อยังแหล่งอารยะธรรมใหม่ ๆ หลังยุคล่มสลายของบาบิโลน

จากเหตุการณ์จริงของน้ำท่วมครั้งใหญ่ในที่ลุ่มครั้งนั้น ก็ค่อย ๆ กลายเป็นตำนานน้ำท่วมโลก

ไม่ว่าจะเป็น มหากาพย์กิลกาเมช

หรือตำนานพระมนู ของอินเดีย จากพวกอารยัน

ก่อนจะกลายเป็น โนอาห์ และเรืออาร์ค จากชาวยิว  ล้วนมีที่มาจากต้นตอเดียวกัน

จริงหรือเปล่า ไม่ทราบครับ เกิดไม่ทัน ถ้าถามลุงสมัคร แกคงรู้ดี เพราะเกิดทัน :slime_smile:



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 19:45
แถมอีกหน่อยนึงครับ รบกวนคุณ Q ช่วยบอกด้วยว่าถ้าเหตุการณ์ 500 ล้านปีเกิดขึ้นภายใน 5000 ปีจริงๆ
แล้วเรื่องการเลื่อนของเปลือกทวีปก็เลื่อนเร็วขึ้น 1 แสนเท่าด้วยหรือครับ?

ผมว่าถ้าจะหดระยะเวลาที่เขาศึกษาไว้ดีแล้ว กลายเป็นทฤษฎีน้ำท่วมโลก Grand Canyon เกิดใน 5 พันปี
มันต้องแก้ประเด็นความไม่เข้ากันกับฐานความรู้ทางธรณีวิทยาทั้งหมดเลยนะครับ .. จะไหวหรือ

---

ภาพแสดงการเคลื่อนตัวของแผ่นทวีปต่างๆ จากเดิมที่ต่อกันเป็นแผ่นเดียว (Pangaea) จนเป็นทวีปในปัจจุบัน

(http://www.platetectonics.com/book/images/Pangaea.gif)


ภาพทวีปต่างๆ ในยุคโบราณที่เคยต่อกันเป็นแผ่นทวีปเดียวในส่วน Gondwana
ซึ่งทำให้สามารถพบ Fossil ของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันในทวีปที่ปัจจุบันแยกกันอยู่

(http://www.joergresag.privat.t-online.de/mybk4htm/gondwana.png)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 19:57
เคยดูสารคดีจากต่างประเทศ นานมาแล้ว

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ค้นพบว่า ในอดีตเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในบริเวณที่ลุ่ม แถบเมโสโปเตเมีย
เมื่ออารยธรรมกระจายตัวจากแถบนั้น ก็พาเอาตำนานติดตัวกันไปเผยแพร่ต่อยังแหล่งอารยะธรรมใหม่ ๆ หลังยุคล่มสลายของบาบิโลน
จากเหตุการณ์จริงของน้ำท่วมครั้งใหญ่ในที่ลุ่มครั้งนั้น ก็ค่อย ๆ กลายเป็นตำนานน้ำท่วมโลก

ไม่ว่าจะเป็น มหากาพย์กิลกาเมช
หรือตำนานพระมนู ของอินเดีย จากพวกอารยัน
ก่อนจะกลายเป็น โนอาห์ และเรืออาร์ค จากชาวยิว  ล้วนมีที่มาจากต้นตอเดียวกัน

จริงหรือเปล่า ไม่ทราบครับ เกิดไม่ทัน ถ้าถามลุงสมัคร แกคงรู้ดี เพราะเกิดทัน :slime_smile:

ฟังแล้วเข้าเค้าครับ.. ดีกว่า Grand Canyon เกิดภายใน 5 พันปีเยอะเลย  :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 17-08-2007, 20:47
คุณ Q ยังไม่เข้ามาตอบ งั้นผมคุยต่ออีกสักหน่อยแล้วกันนะครับ..

คือผมคงไม่สามารถปลงใจเชื่อได้หรอกนะครับ เรื่องโลกอายุน้อย(น้อยมาก)
เพราะมีข้อมูลสาขาต่างๆ มากมาย ที่ยึดโยงฐานความรู้ทางธรณีวิทยาในปัจจุบัน
อย่างสอดคล้องกัน ไม่ได้มีแต่เรื่องการหาอายุหินและฟอสซิล

อย่างเรื่อง Plate Tectonic ที่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสมัยหนึ่งทวีปต่างๆ อยู่ติดกัน
และมีการแยกตัวออกจากกันจริงๆ จนมาเป็นอย่างทีเห็นในปัจจุบัน อย่างเช่น
พื้นที่ Arizona ซึ่งเป็นที่ตั้ง Grand Canyon  ก็ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ พร้อมกัน
กับส่วนอื่นๆ ของโลกด้วย ถ้าจะแก้สมมุติฐานในพื้นที่ Grand Canyon ก็ต้อง
แก้ให้สอดคล้องกับส่วนอื่นๆ ของโลกทั้งหมด ถ้าทำไม่ได้ก็ยอมรับไม่ได้ครับ


ภาพแสดงตำแหน่งที่ตั้งรัฐ Arizona ซึ่งเป็นที่ตั้งของหุบเขา Grand Canyon

(http://worldatlas.com/webimage/countrys/namerica/usstates/azna.gif)


ภาพแสดงแผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทรต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นเปลือกโลกปัจจุบัน

(http://www.iris.edu/seismon/imgs/plates.gif)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 17-08-2007, 22:18
เคยดูสารคดีจากต่างประเทศ นานมาแล้ว

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ค้นพบว่า ในอดีตเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในบริเวณที่ลุ่ม แถบเมโสโปเตเมีย

เมื่ออารยธรรมกระจายตัวจากแถบนั้น ก็พาเอาตำนานติดตัวกันไปเผยแพร่ต่อยังแหล่งอารยะธรรมใหม่ ๆ หลังยุคล่มสลายของบาบิโลน

จากเหตุการณ์จริงของน้ำท่วมครั้งใหญ่ในที่ลุ่มครั้งนั้น ก็ค่อย ๆ กลายเป็นตำนานน้ำท่วมโลก

ไม่ว่าจะเป็น มหากาพย์กิลกาเมช

หรือตำนานพระมนู ของอินเดีย จากพวกอารยัน

ก่อนจะกลายเป็น โนอาห์ และเรืออาร์ค จากชาวยิว  ล้วนมีที่มาจากต้นตอเดียวกัน

จริงหรือเปล่า ไม่ทราบครับ เกิดไม่ทัน ถ้าถามลุงสมัคร แกคงรู้ดี เพราะเกิดทัน :slime_smile:

เคยดูสารคดี รู้สึกว่าจะเป็น New Explorer เขาว่าเจอหลักฐานว่า ทะเลเมดิเตอเรเนียน นี่เมื่อ
ก่อนเป็นหุบเขา เป็นพื้นดิน แต่เกิดการพังทะลายต่อช่องแคบแถวสเปน ทำให้นำทะเลไหลเข้า
ท่วม ก่อให้เกิดเป็นตำนาน น้ำท่วมโลกนะครับ

ถ้าหากเป็นเหมือนที่คัมภีร์บอก แสดงว่าทุกประเทศมันต้องมีตำนานนำท่วมโลกทั้งหมดสิ เพราะ
ทุกคนก็เกิดมากจากครอบครัวโนอาทั้งหมดอยู่แล้ว แล้วควรจะต้องพูดจาภาษาเดียวกันด้วย
แต่เสียงอาจเพี้ยไป อันนี้พอเข้าใจ แต่นี้ภาษามันคนเรื่องเลย ระหว่างจีน กับอังกฤษ ไม่มี
อะไรร่วมกันเลย หรือแม้แต่ภาษาสัญญาลักษณ์ เช่นกัน ส่ายหัว แสดงอาการปฏิเสธ ยังไม่ตรง
กันทั้งโลกเลย อินเดีย - ศรีลังกา ส่ายหัวแสดงอาการยอมรับนะ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-08-2007, 03:22
เพิ่งเข้ามาครับ..

กำลังพยายามทำความเข้าใจประเด็นของคุณจีรศักดิ์อีกครั้งครับ..

ผมเห็นเพียงสองประเด็นสำคัญนะครับ.

1.น้ำเคยท่วม แกรนแคนย่อนหรือไม่  สรุปว่าเคยนะครับในหินตะกอนชั้นบนด้วย


2.อายุของแกรนแคนยอน โดยที่คุณจีรศักดิ์พยายามโยงกับอายุโลก...ด้วยเหตุผลทางธรณีวิทยา

ตอบในประเด็นที่สองดังนี้ก่อนนะครับ..เรื่องสายตาของคุณจีรศักดิ์ผมคงข้ามไปนะครับ 

ขึ้นอยู่กับกรอบความคิดคุณสมเหตุสมผลหรือไม่ ในส่วนการประเมินอายุ...


อายุโลกตามความคิดของนักธรณีวิทยา อยู่ในช่วงไม่เกิน สีพันหกร้อยล้านปีแน่นอน..ซึ่งก็เป็นสิ่งที่หลายคน หลายสาขานำไปใช้คำนวณต่อ..

อย่างที่ผม ได้เรียก ไปว่า วิธีบัญญัติไตรยางค์  

ทีนี้กรอบที่ใช้คำนวณเวลานั้น ผมได้ยกงาน 

เกี่ยวกับอายุชั้นน้ำแข็ง ซึ่งก็อยู่ในช่วงไม่เกินสามหมื่นปีมา

แล้วก็เรื่องคาร์บอนสิบสีที่มีกรอบ ไม่เกินสองแสนห้าหมืนปี ซึ่งก็คงประเมินไปถึงอายุโลกจากงานวิจัยชิ้นนั้นด้วย อยู่ในอัตราบวกลบจากสองแสนห้าหมื่นปีที่ว่า..


ที่นี้ก็ต่อมาที่แกรนแคนยอนที่เคยยกมาเป็นงาน ของนักธรณีวิทยา  ครับ เพื่อยืนยันว่าความสูงระดับสามถึงสีกิโลเมตรตรงนั้นนำเคยท่วมแน่นอน..

ส่วนประเด็นที่ ว่าห้าพันปีหรือไรนี่ คุณจีรศักดิ์เพียงเอ่ยถึง ไม่ได้ยกข้อความมาด้วย ผมขอดูข้อความด้วยครับ..


ต่อมาที่เรื่องธรณีวิทยา ตามความคิดเดิม  จะเห็นว่ายังกำกับด้วย ตัวเลขข้อมูลเป็นหลักร้อยล้านปีอยู่..

คงจะว่ากันต่อไปที่ส่วนนี้นะครับ..
                                                     :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-08-2007, 03:32

เรื่องฟอสสิล ความสอดคล้องต้องกันของชั้นหิน ที่พยายามถามผมนี่

ตอบไปหลายครั้งแล้ว  ว่าปลายังคงเป็นปลา หอยยังคงเป็นหอย ม้ายังคงเป็นม้า ลิงเป็นลิง  คนเป็นคน ตรงนี้ไม่พบหลักฐานที่เชื่อมโยงนะครับ

ส่วนเรื่องการลำดับว่าอะไร ก่อนหลังอย่างไรยังไม่ได้พูดถึงกันมากนัก

แต่ได้ข้อมูลมาบ้างว่า มีสัตว์ที่สูญพันธุ์ไป เช่น ไดโนเสาร์ ซึ่งก็ไม่มีใครเคยเห็นตัว แล้วก็กระดูกนกเพนกวินขนาดใหญ่ ก็ว่ากันไปครับ..

ไม่ทราบว่าจะขัดแย้งกับข้อโต้แย้งหลักของผมอย่างไรแต่แรกเหมือนกัน

แต่ก็ถือว่าเป็นข้อมูล เรื่องลำดับของสิ่งมีชิวิตต่างๆตามความเชื่อคุณจีรศักดิ์ หากมีโอกาสจะนำมาพูดถึงครับ

ที่สำคัญ ชัดเจนนะครับ ว่าไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าบักเตรีตัวแรกมีชีวิตได้โดยบังเอิญ

มีเพียงสมมุติฐานหรือทฤษฎีที่ว่า ทดลองได้กรดอมิโน จากการสะกัดจากน้ำ และแผ่นหินที่คาดว่าเป็นร่องรอยของบักเตรียุคแรกๆ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-08-2007, 03:36


เดี๋ยวคงจะต่อจากตรงนี้ครับ   :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-08-2007, 05:05


เอาข่าวเก่ามาแปะให้อ่านเล่นๆก่อนนะรับ..

http://www.answersingenesis.org/creation/v15/i1/focus.asp


Fraud shock over ‘prehistoric’ art

Chemical analysts have been shocked to find that ‘pre-historic’ cave paintings found in an underground cavern in Spain in 1990 are a fraud.

The cave-explorer who ‘discovered’ the paintings at Alava in northern Spain was honored at the time as a hero. He was awarded 10 million pesetas (about $130,000).

Archaeologists had said the discovery would revolutionize ideas about prehistoric art. Animals depicted included an extinct rhinoceros—the first of its type seen in Europe.

But specialists who were called in to analyse the paintings were shocked to find that the paint contained chemicals that had been applied within only the past five years.

This embarrassment to archaeologists shows the danger of dating paintings or artefacts based only on style. The finding of ‘primitive’ art work or tools does not mean they be-longed to the Stone Age.

Diggings, September 1992 (p. 15).



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-08-2007, 07:37


ถ้าอ่านไม่เข้าใจก็ถามได้ครับ..

The Muav is Cambrian (supposedly, “evolution stage 1”), while the Redwall is Mississippian or lower Carboniferous (“evolution stage 5”). If Grand Canyon is assumed to represent stages in evolution laid out for all to see, where are evolutionary stages 2, 3, and 4 (Ordovician, Silurian, and Devonian)? Evolutionists recognize that’s a serious question. Grandparents can’t have grandchildren without first having children, and plants and animals can’t evolve directly from stage 1 to stage 5 without evolving through stages 2, 3, and 4 first. Everyone agrees that in any “chain of life,” you can’t skip generations!

Evolutionists recognize the problem of rock layers (“150 million years’ worth”) missing from Grand Canyon—but they also have a ready solution to the problem: erosion. Stage 2, 3, and 4 rocks really were deposited, they suggest, but they were uplifted and eroded away; then stage 5 rock (Mississippian Redwall) was laid down directly on top of stage 1 rock (Cambrian Muav). It’s as if erosion tore out three chapters from the story of evolution!




The Muav is Cambrian (supposedly, “evolution stage 1”), while the Redwall is Mississippian or lower Carboniferous (“evolution stage 5”). If Grand Canyon is assumed to represent stages in evolution laid out for all to see, where are evolutionary stages 2, 3, and 4 (Ordovician, Silurian, and Devonian)? Evolutionists recognize that’s a serious question. Grandparents can’t have grandchildren without first having children, and plants and animals can’t evolve directly from stage 1 to stage 5 without evolving through stages 2, 3, and 4 first. Everyone agrees that in any “chain of life,” you can’t skip generations!

Evolutionists recognize the problem of rock layers (“150 million years’ worth”) missing from Grand Canyon—but they also have a ready solution to the problem: erosion. Stage 2, 3, and 4 rocks really were deposited, they suggest, but they were uplifted and eroded away; then stage 5 rock (Mississippian Redwall) was laid down directly on top of stage 1 rock (Cambrian Muav). It’s as if erosion tore out three chapters from the story of evolution!
                                                                                                          :slime_bigsmile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-08-2007, 08:07

Consider Harlan Bretz. For years and years, he studied the “Channeled Scablands” of eastern Washington, a area of 15,000 miles2 (40,000 km2). It looks as if a giant, braided stream cut channels up to 900 feet (250 m) deep in hard basaltic lava (much harder to cut than most of the Grand Canyon layers). Bretz postulated that a tongue of glacial ice blocked off what we now call the Columbia River near Spokane, damming up a huge body of water called glacial Lake Missoula. Then the ice-dam broke. And, according to Bretz,


the stupendous drainage from that lake cut the essential features of those channels 900 feet (250 m) deep over 15,000 miles2 (40,000 km2) in—one or two million years?—no, in “a day or two.” That’s the conclusion presented by the U. S. Geological Survey (USGS) in its pamphlet51  “The Channeled Scablands: the Story of the Great Spokane Flood.”

At first, the “slow and gradual” school of evolutionary thought (“uniformitarians”) laughed Bretz to scorn. But after examining his evidence, a team of geologists decided Bretz was right after all, and they gave him geology’s highest award, the Penrose Medal. In accepting the award, Bretz said that his greatest contribution to geology was reviving the idea that great catastrophes have shaped the physical features of the earth (“neo-catastrophism”).52
                                                                                                                                       :slime_bigsmile: :slime_cool:




หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-08-2007, 08:38
(http://www.answersingenesis.org/home/area/cfol/images/fig-35.jpg)

Figure 35. The eruption of Mt. St. Helens in 1982 formed a 1/40 “scale model” of Grand Canyon in just 5 days. Other effects observed at Mt. St. Helens dramatically and visibly supported Creation/Flood geologist theories about the rapid formation of coal, polystrates, and sediment banding. (There is an excellent video by Dr. Steven Austin available.)


http://www.answersingenesis.org/home/area/cfol/ch3-grand-canyon.asp


Less dramatic in scale, but directly and awesomely visible, was an eruption of Mt. St. Helens. We have described the first eruption in May of 1980, as the force of water flashing to steam blew the top 1300 feet (400 m) off the north side of the volcano. More to the immediate point was the explosion in June of 1982. The heat generated from that explosion melted frozen mud, producing a mud flow that filled up the North Fork of the Toutle River. The smoke cleared five days later to reveal that the mud flow had been eroded into a zig-zag main channel with many sharply tapered side canyons. Horizontal bands of sediment, some thick, and some exceedingly fine, lined the walls of the newly formed canyon. Right before our eyes, a small volcano (which never even produced a lava flow) had stacked up horizontal bands of sediment, and cut channels through it, forming a 1/40th size “scale model” of Grand Canyon in just five days! All sorts of features once thought to take millions of years of time were formed, instead, by a lot of water in just five days! And my wife and I got to see it on a dizzying flight down the length of that “Little Grand Canyon.” (See Austin video,53 Morris,54 and Fig. 35.)



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-08-2007, 08:51


Grand Canyon limestone—fast or slow deposits?Creation Archive > Volume 17 Issue 3 > Grand Canyon limestone—fast or slow deposits?

   
 First published:
Creation 17(3):50–51
June 1995
Browse this issue 
   
Q:'I have read in a book (arguing against Flood geology and recent creation) that Grand Canyon limestones are so similar to modern lime muds (which today form very slowly) that it is obvious the limestone layers must have taken millions of years to form.'

A: It's true that modern shallow-water lime muds, which are primarily formed by the breakdown of sea-creatures containing calcium carbonate, accumulate at a slow rate, such that it would take around 1,000 years to get a thickness of 30 centimetres (one foot).

However, it is not true that such modern-day lime muds are structurally identical to the ancient Canyon limestone layers. The following table summarizes the main differences.

Dominant crystal type

Canyon limestones: Calcite.
Modern lime muds: Aragonite.

Dominant crystal size (diameter)

Canyon limestones: 4 microns or less.
Modern lime muds: About 20 microns.

Evidence of water-current action

Canyon limestones: Contain fossils with a dominant orientation, showing that a water-current was operating.
Modern lime muds: Lack fossils with a dominant orientation, indicating lack of current action.

Evidence for rapid burial

Canyon limestones: Fossil crinoid heads, which would have deteriorated rapidly if not buried quickly.
Modern lime muds: No such evidence.

In addition, many of these Canyon limestones contain quartz sand grains, indicating they were transported by moving water. If there was enough current to shift the sand, there was enough to transport the lime mud as well.

There is ample evidence to indicate that the thick Canyon limestones were not formed as today's lime muds are, by the 'gentle rain of carbonates' over long time-spans, but instead were formed by the transport of sediments by currents of flowing water.  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 18-08-2007, 11:07
http://en.wikipedia.org/wiki/Young_Earth_creationism

Young Earth creationism is a religious doctrine that teaches that the Earth and life on Earth were created by a direct action of God relatively recently (about 6,000 years ago). It is held by those Christians who believe that the Hebrew text of Genesis can only mean a literal account of Earth's creation in six 24-hour days, that evidence for a strict interpretation of scripture as historical fact is present in the world today, and that scientific evidence supporting Darwinian evolution, geological uniformitarianism - or any other theory at odds with a literal interpretation of the Genesis creation account - is either flawed or misinterpreted.

Many of its adherents are active in the development of creation science, a creationist endeavor that holds that the events associated with supernatural creation can be evidenced and modelled through an interpretation of the scientific method. Despite a statement by 68 national and international science academies stating that the Earth is approximately 4.5 billion years old, that life appeared on Earth approximately 3.5 billion years ago, and that scientific evidence has never contradicted this,[1] Young Earth creationists (YECs) claim that the lack of support for a Young Earth theory in professional science journals or among professional science organizations is due to discrimination and censorship

----------
แปะบ้าง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-08-2007, 12:17
(http://www.answersingenesis.org/Home/Area/Magazines/images/CEN213(39)a.jpg)


http://www.answersingenesis.org/creation/v21/i3/fossilwood.asp

In June 1997 a large finger-sized piece of fossil wood was discovered in a Hawkesbury Sandstone slab just cut from the quarry face at Bundanoon (see photo, right).8 Though reddish-brown and hardened by petrifaction, the original character of the wood was still evident. Identification of the genus is not certain, but more than likely it was the forked-frond seed-fern Dicroidium, well known from the Hawkesbury Sandstone.2,7 The fossil was probably the wood from the stem of a frond.



Andrew A. Snelling, B.Sc. (Hons), Ph.D.Director of Research, AiG-US

Biography
Andrew A. Snelling is a geologist, research scientist and technical editor. He completed a Bachelor of Science degree in Applied Geology at the University of New South Wales in Sydney, Australia, graduating with First Class Honors in 1975. His Doctor of Philosophy (in geology) was awarded by The University of Sydney, Australia in 1982 for his research thesis entitled “A geochemical study of the Koongarra uranium deposit, Northern Territory, Australia”. Between studies and since Andrew worked for six years in the exploration and mining industries in Tasmania, New South Wales, Victoria, Western Australia and the Northern Territory variously as a field, mine and research geologist.

Andrew commenced in full-time creation ministry at the end of 1983, first working with the Creation Science Foundation of Australia until late 1998, including three years with Ken Ham before he moved to the U.S.A. From 1983 to 1992 he was still required to be a geological consultant to the Koongarra uranium project. He was involved in research projects with several CSIRO (Commonwealth Scientific and Industrial Organization) scientists, and in major international collaborative research effort with ANSTO (Australian Nuclear Science and Technology Organization) and university scientists across Australia, and with scientists from the USA, Britain, Japan, Sweden and the International Atomic Energy Agency, to investigate the Koongarra uranium deposit as a natural analog of a nuclear waste disposal site. As a result of these research endeavors, Andrew was involved in writing numerous scientific reports, and scientific papers that were published in international science journals.

In late 1998 Andrew joined the Institute for Creation Research near San Diego, as a Professor of Geology. His responsibilities included teaching Masters degree geology courses in ICR’s Graduate School, leading tours to the Grand Canyon, England and Yosemite – Death Valley, and research and writing projects. Andrew was a principal investigator in the 8-year, ICR-led RATE (Radioisotopes and the Age of The Earth) research project to which he made major contributions in rock dating studies using radioisotopes, and in studies of radiation halos (radiohalos) and tracks (fission tracks) in various minerals. He contributed two chapters to the first RATE technical volume in 2000, and three chapters to the second RATE technical volume in 2005, as well as being the primary production editor of both volumes. Andrew’s time at ICR was also spent writing a major new three volume book on geology, Creation and the Genesis Flood, which is expected to be published in early 2008.

In June 2007 Andrew’s employment began with Answers in Genesis as their Director of Research. He continues though to reside in Brisbane, Australia and commute regularly as necessary to the USA.

Andrew’s talents have enabled him to be involved in extensive creationist research in Australia, the USA, Britain, New Zealand and elsewhere, majoring on the radioactive methods for dating rocks and evidence for the Flood. Such research has included the formation of igneous and metamorphic rocks (for example, granites and schists, respectively), all types of mineral deposits, sedimentary strata and landscape features (for example, Grand Canyon, USA, and Ayers Rock or Uluru, central Australia) within the biblical framework of earth history. Technical papers by Dr Snelling on regional metamorphism and rock dating have won the prestigious “Technical Excellence Award” as best technical paper at the 1994 Third and 1998 Fourth International Conference on Creationism respectively. As well as writing regularly and extensively in many international creationist magazines, journals and publications, Andrew was founding editor in 1984, and served as editor for almost 15 years, of the Creation Ex Nihilo Technical Journal (now Journal of Creation), and is currently serving as the Editor-in-Chief for the Sixth International Conference on Creationism.

Andrew has traveled around Australia, the USA, and widely overseas (Britain, New Zealand, South Africa, Korea, Indonesia, Hong Kong, China) speaking in schools, churches, colleges, public and university meetings, to both lay and technical audiences, on the overwhelming scientific evidence consistent with the biblical account of Creation and the Genesis Flood, based largely on his own research. Andrew’s research has demonstrated that a global flood about 4,300 years ago explains many rock layers and most fossil deposits found around the world. Building from that foundation, Dr Snelling has made predictions as to what should be found if a catastrophic global flood actually happened (for example, the existence of extensive, fossil-bearing rock layers). Additionally, Andrew’s research has indicated that radioactive decay rates have not been consistent in the past, having been grossly accelerated, so the radioactive methods for dating rocks at millions and billions of years old are not reliable, and the rock evidence overall is consistent with a young earth.

Andrew was raised in a Christian family in Sydney, Australia, is married to wife Kym, and has three adult children. Andrew’s interest in geology began very soon after his conversion at 9 years of age. His very firm conviction in the authority and veracity of the Scriptures brought him to the creation/evolution controversy early in his teens, so that by the commencement of university studies, Andrew already had a clear Scriptural perspective on the literalness of Creation and Noah’s Flood, and an unmistakable call from the Lord for a life-long involvement in creationist ministry.

Education
B.Sc. Applied Geology, The University of New South Wales, Sydney, Australia, First Class Honours
Ph.D. Geology, University of Sydney, Sydney, Australia

Associations
Geological Society of Australia
Geological Society of America
Geological Association of Canada
Mineralogical Society of America
Society of Economic Geologists
Society for Geology Applied to Mineral Deposits
Creation Research Society

Honors and Awards
At the Third International Conference on Creationism in Pittsburgh (1994), he was presented with the Technical Excellence Award for the best technical paper, a paper on evidence for regional metamorphism within the creationist timeframe.

At the Fourth International Conference on Creationism (1998), he gained the first three prizes for technical excellence: first prize for his studies on anomalous radiometric “dates” of recent lava flows from Mt Ngauruhoe volcano, New Zealand. The second and third prizes were for co-authored papers with John Woodmorappe on the cooling of granites, and Steve Austin on radiometric “dating” of a rock unit in the Grand Canyon respectively.

Publications
Books
Radioisotopes and the Age of the Earth, Vol. 1, edited by Larry Vardiman, Andrew Snelling and Eugene Chaffin

Radioisotopes and the Age of the Earth, Vol. 2, edited by Larry Vardiman, Andrew Snelling and Eugene Chaffin

The NEW Answers Book, Featuring 15 authors such as Ken Ham (who also served as general editor), Dr. David Menton, Dr. Andrew Snelling, Professor Andy McIntosh, Dr. Georgia Purdom, Dr. Jason Lisle, Dr. Terry Mortenson, and Dr. Clifford Wilson



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 15:19
คุณ Q เอาอะไรมาแปะ รบกวนสรุปประเด็นแต่ละชิ้นมาด้วยนะครับ
ว่าที่เอามาน่ะจะคุยประเด็นไหน บอกตรงๆ ขี้เกียจอ่าน ครับ

ถ้าผมจะคุยกับคุณ Q ให้คนอื่นรู้เรื่องด้วยแล้วผมต้องคอยสรุป
ที่คุณ Q เอามาแปะก่อนคุยทุกประเด็นมันไม่ไหวนะครับ

ความจริงถ้าจะคุยกันก็คุยมาเลยว่าคิดเห็นยังไง แล้วค่อยอ้างอิง
ถึงงานวิจัยอะไรตามมา หรือเอาแค่ชาร์ตง่ายๆ มาก็พอแล้ว

ถ้าจะแปะกันเรื่อยๆ แบบนี้ ผมก็ไปหามาได้เยอะแยะเหมือนกัน
แต่จะเหมือนเราไม่ได้คุยกันนะครับ ผมว่าผมก็ถามชัดเจนแล้ว
และถามย้ำแล้วย้ำอีก แต่คุณ Q ไม่เห็นตอบที่ผมถามเลยครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 15:44
เคยเห็นหินงอกหินย้อยด้วยใช่ไหมครับ.
กรณีน้ำทำให้เกิดโพรงใต้ดิน มาก่อนแล้วก็น่าจะเป็นไปได้ครับ
ผมยังไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูลชั้นหินเจาะลึกครับ ยังประเมินว่าโลกอายุน้อยกว่าที่เชื่อกัน
และเคยมีน้ำท่วมใหญ่ การยกตัวคงมีบ้าง แต่คงไม่กี่เซ้นต์ต่อปี่ครับ
แรกเริ่มหินบนโลกคงจะมาจากหินภูเขาไฟแน่อน ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นภูเขาไฟใต้น้ำด้วย..
ส่วนฟอสซิลต่างๆต้องนำมาพิจารณาแน่นอนครับ เช่นเดียวกับรอยเดินหนีน้ำของสัตว์ที่พบเห็นจากชั้นหิน

อันนี้ คคห. เก่าๆ ที่คุณ Q ตอบไว้เมื่อผมถามเรื่องการก่อตัวของชั้นหินที่ต้องใช้เวลานานไม่ใช่แค่ 5 พันปี

เรื่องหินงอกหินย้อยกับการเกิดชั้นหินปูนมันคนละเรื่องกันเลยนะครับ เพราะหินงอกหินย้อยถือเป็นทุติยภูมิ
ต้องมีชั้นหินปูนเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น และถ้าหินงอกหินย้อยทั้งหลายที่เราไปดูกันก็เกิดในภูเขาหินปูนครับ
เรื่องน้ำทำให้เกิดโพรงใต้ดิน ถ้าหมายถึงโพรงที่มีหินงอกหินย้อยโพรงถ้ำเหล่านั้นเป็นโพรงในชั้นหินปูน
สรุปว่าเรื่องหินงอกหินย้อยไม่เกี่ยวกับการเกิดชั้นหินปูนนะครับ และหินงอกหินย้อยไม่ได้เกิดในน้ำครับ

ที่คุณ Q บอกว่ายกตัวไม่กี่เซนต่อปีนั้นมันก็ยกตัวเร็วแล้วนะครับ ถ้ายกปีละเซนต้องใช้เวลา 160,000 ปี
ถึงจะยกได้ถึง 1600 เมตร อย่าลืมว่าช่วงเวลาสูงสุดที่คุณ Q คุยไว้คือรวมทุกอย่างใน 250,000 ปีนะครับ

และที่คุณ Q บอกว่าหินบนโลกคงจะมาจากหินภูเขาไฟนั้น ความจริงน่าจะใช้คำว่า "หินอัคนี" นะครับ
เพราะหินภูเขาไฟ หรือภูเขาไฟใต้น้ำอะไรก็ตามจะจัดว่าเป็นหินตะกอนภูเขาไฟ ส่วนพวกหินแกรนิตนั้น
ไม่เรียกว่าหินภูเขาไฟครับ เพราะเย็นตัวใต้ผิวโลกด้วยเวลานานผลึกถึงออกมาใหญ่เบ่อเริ่มเห็นเป็นเม็ดๆ

เรื่อง Fossil ที่คุณ Q ว่าต้องพิจารณาแน่นอน ผมไม่เห็นคุณ Q ตอบคำถามผมเลยว่าทำไม Fossil ที่
Grand Canyon ถึงแยกปรากฎในหินแต่ละชั้นโดยไม่ปะปนกัน ไหนว่าอายุเท่ากันอยู่ด้วยกันไงครับ?

รอยเดินของสัตว์ 4 เท้าในชั้นหินทราย Coconino ที่น่าจะเกิดจากสัตว์เลื้อยคลานในทะเลทราย
แต่บทความจากคุณ Q บอกว่าเป็นรอยเท้าในน้ำ และตอนนั้นเกิดน้ำท่วม แต่อย่าลืมว่าไม่มีการพบ
ร่องรอยของสัตว์น้ำกุ้งหอยปูปลาเลยนะครับ ถ้าเจอก็ไม่ต้องมาวิเคราะห์ลักษณะการเดิน การจิกนิ้ว
ในรอยเท้า สรุปได้ว่าพื้นที่จมอยู่ในน้ำกันไปนานแล้ว

ขอย้ำว่าคุณ Q ยังไม่ได้ตอบนะครับ ว่าทำไม Fossil แต่ละอายุถึงแยกกันอยู่ในชั้นหินแต่ละชั้นตามลำดับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 15:59
เคยดูสารคดี รู้สึกว่าจะเป็น New Explorer เขาว่าเจอหลักฐานว่า ทะเลเมดิเตอเรเนียน นี่เมื่อ
ก่อนเป็นหุบเขา เป็นพื้นดิน แต่เกิดการพังทะลายต่อช่องแคบแถวสเปน ทำให้นำทะเลไหลเข้า
ท่วม ก่อให้เกิดเป็นตำนาน น้ำท่วมโลกนะครับ

ถ้าหากเป็นเหมือนที่คัมภีร์บอก แสดงว่าทุกประเทศมันต้องมีตำนานนำท่วมโลกทั้งหมดสิ เพราะ
ทุกคนก็เกิดมากจากครอบครัวโนอาทั้งหมดอยู่แล้ว แล้วควรจะต้องพูดจาภาษาเดียวกันด้วย
แต่เสียงอาจเพี้ยไป อันนี้พอเข้าใจ แต่นี้ภาษามันคนเรื่องเลย ระหว่างจีน กับอังกฤษ ไม่มี
อะไรร่วมกันเลย หรือแม้แต่ภาษาสัญญาลักษณ์ เช่นกัน ส่ายหัว แสดงอาการปฏิเสธ ยังไม่ตรง
กันทั้งโลกเลย อินเดีย - ศรีลังกา ส่ายหัวแสดงอาการยอมรับนะ

อันนี้ในไบเบิลเขาบอกไว้ว่าหลังจากน้ำลดแล้วยังพูดภาษาเดียวกันอยู่ครับ ยิ่งถ้าไปดูในอัลกุรอาน
ซึ่งยกย่องโนอาร์เป็น "นบี" (คือเป็นหนึ่งในศาสดาน่ะครับ เป็นผู้ที่สามารถจะติดต่อกับพระเจ้าได้)

จะพบว่า นบีนูฮฺ มีผู้ติดตามขึ้นเรือไปด้วยเป็นชายหญิงที่เป็นคนดีถึง 40 คู่ รวม 80 คน ซึ่งพวกนี้
เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสร้างเรือหนีน้ำท่วมโลกด้วยครับ

แต่ถ้าเอาทางฝ่ายคริสต์จะบอกเพียงว่ามีเพียงครอบครัวโนอาร์ ซึ่งมีบุตรชาย 3 คนและต่อมาบุตร
ทั้ง 3 คนกลายเป็นต้นตระกูลของชนชาติต่างๆ ในปัจจุบัน

หลังจากน้ำลดเรียบร้อยคนจากเรือโนอาร์ก็แยกย้ายกันออกไปทำมาหากิน และในที่สุดเกิดโครงการ
สร้างหอสูงเทียมฟ้าชื่อว่า หอบาเบล เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (ประมาณว่าท้าทายพระเจ้า)
การกระทำดังกล่าวทำให้พระเจ้าบันดาลให้แต่ละคนพูดจาคนละภาษากัน สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง ก็เลยทำให้
โครงการสร้างหอบาเบลต้องล้มเลิกไป และแต่ละคนก็แยกเป็นคนละชาติคนละภาษาแต่นั้นมาครับ

แต่สำหรับนักภาษาศาสตร์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดยเชื่อว่าภาษาที่ต่างกันเกิดจากการแยกกันอยู่ห่างไกล
ทำให้ต่างพัฒนาภาษาของตัวเองขึ้นมานะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 16:21
เพิ่งเข้ามาครับ..

กำลังพยายามทำความเข้าใจประเด็นของคุณจีรศักดิ์อีกครั้งครับ..
ผมเห็นเพียงสองประเด็นสำคัญนะครับ.

1.น้ำเคยท่วม แกรนแคนย่อนหรือไม่  สรุปว่าเคยนะครับในหินตะกอนชั้นบนด้วย

2.อายุของแกรนแคนยอน โดยที่คุณจีรศักดิ์พยายามโยงกับอายุโลก...ด้วยเหตุผลทางธรณีวิทยา
ตอบในประเด็นที่สองดังนี้ก่อนนะครับ..เรื่องสายตาของคุณจีรศักดิ์ผมคงข้ามไปนะครับ 
ขึ้นอยู่กับกรอบความคิดคุณสมเหตุสมผลหรือไม่ ในส่วนการประเมินอายุ...

อายุโลกตามความคิดของนักธรณีวิทยา อยู่ในช่วงไม่เกิน สีพันหกร้อยล้านปีแน่นอน..ซึ่งก็เป็นสิ่งที่หลายคน หลายสาขานำไปใช้คำนวณต่อ..
อย่างที่ผม ได้เรียก ไปว่า วิธีบัญญัติไตรยางค์  

ทีนี้กรอบที่ใช้คำนวณเวลานั้น ผมได้ยกงาน 
เกี่ยวกับอายุชั้นน้ำแข็ง ซึ่งก็อยู่ในช่วงไม่เกินสามหมื่นปีมา

แล้วก็เรื่องคาร์บอนสิบสีที่มีกรอบ ไม่เกินสองแสนห้าหมืนปี ซึ่งก็คงประเมินไปถึงอายุโลกจากงานวิจัยชิ้นนั้นด้วย อยู่ในอัตราบวกลบจากสองแสนห้าหมื่นปีที่ว่า..

ที่นี้ก็ต่อมาที่แกรนแคนยอนที่เคยยกมาเป็นงาน ของนักธรณีวิทยา  ครับ เพื่อยืนยันว่าความสูงระดับสามถึงสีกิโลเมตรตรงนั้นนำเคยท่วมแน่นอน..

ส่วนประเด็นที่ ว่าห้าพันปีหรือไรนี่ คุณจีรศักดิ์เพียงเอ่ยถึง ไม่ได้ยกข้อความมาด้วย ผมขอดูข้อความด้วยครับ..
ต่อมาที่เรื่องธรณีวิทยา ตามความคิดเดิม  จะเห็นว่ายังกำกับด้วย ตัวเลขข้อมูลเป็นหลักร้อยล้านปีอยู่..
คงจะว่ากันต่อไปที่ส่วนนี้นะครับ..
                                                     :slime_smile:

คุณ Q ใช้คำว่า "น้ำท่วม" แต่ผมคิดว่ามันคือช่วงเวลาที่เป็น "ทะเล" นะครับ
สองคำนี้ต่างกันมากมาย น้ำท่วม ก็อย่างที่อยุธยาบ้านเราเคยท่วมหลายเดือน
แต่ ทะเล หมายถึงสภาพอย่าง อ่าวไทย หรือทะเลอันดามัน ครับ

ถ้าคุณ Q จะบอกว่าน้ำเคยท่วม Grand Canyon แน่นอนตกลงท่วมสูงกี่เมตร
และขังอยู่กี่วันครับ หรือหมายถึงการกลายเป็นทะเล คนละเรื่องเลยนะครับ

---

เรื่อง Grand Canyon เกิดภายใน 5 พันปีก็บทความเชียร์น้ำท่วมโลกยุคโนอาร์
ผมไปอ่านเจอหลายที่ไม่ได้คิดเซฟเอาไว้ แต่คุณ Q สนใจขนาดนี้เชื่อว่าต้อง
เคยเห็นผ่านตามามากกว่าผมเสียอีก จะถามหาบทความทำไมครับ

เหตุผลที่พวกนั้นต้องให้ Grand Canyon เกิดใน 5 พันปีให้ได้ก็เพราะจะให้ไป
match กับตำนานน้ำท่วมโลกสมัยโนอาร์ที่เชื่อกันว่าเกิดในช่วงเวลานั้น

ในเมื่อคุณ Q ก็ไม่เคยฟันธงเรื่องระยะเวลา ผมก็สรุปว่าคุยกันที่ 5 พันปีนี่แหละ
จนกว่าคุณ Q จะระบุขอเปลี่ยนเป็นคุยเรื่องน้ำท่วมโลกเมื่อกี่ปีมาแล้วนะครับ

ผมบอกได้เลยว่าจุดอ่อนของพวกโลกอายุน้อยอยู่ที่ระบุไม่ได้ว่าเหตุการณ์ทาง
ธรณีวิทยาทั้งหมดเกิดเมื่อไหร่กันแน่

ในเมื่อบอกว่าไม่เกิน 250,000 ปีแล้ว ก็น่าจะระบุได้สิครับอย่างเช่นเปลือกโลก
เคลื่อนตัวจากช่วง Permian ที่เป็นแผ่นเดียวกัน (Pangaea) กลายเป็น 2 แผ่น
ในช่วง Triassic (Laurasia และ Gondwana) นั้นคือเกิดจริงเมื่อกี่แสนปีมาแล้ว
กลายเป็นสภาพเปลือกโลกปัจจุบันเมื่อกี่หมื่นปีมาแล้ว

ถ้ายุบผังธรณีกาล 500 ล้านปีเหลือ 250,000 ปี (หรือ 5000 ปี) ได้เมื่อไหร่
ค่อยมาอธิบายส่วนย่อยต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ของโลกกันอีกทีครับ

---

ที่คุณ Q ยืนยันมาว่า ที่ความสูงระดับสามถึงสีกิโลเมตรตรงนั้น(Grand Canyon)
น้ำเคยท่วมแน่นอน หมายถึงมีน้ำท่วมสูงจากระดับน้ำทะเล 3-4 กิโลเมตรหรือครับ?

คุณ Q ช่วยตอบผมด้วยนะครับว่า "น้ำท่วม" ของคุณหมายถืออะไรแน่
"ท่วมชั่วคราว" หรือ "กลายเป็นทะเล" เพื่อความเข้าใจตรงกันนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 18-08-2007, 17:12
ถ้าจาก 500 ล้านปี หดเหลือ 5000 ปีนี่ นึกสภาพออกเลย สมัยสุโขทัยคงมี T-rex เดินเล่นอยู่ด้วยกระมัง เพราะ 70 ล้านปีก็จะเหลือแค่ 700 ปีด้วย  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 17:17
เรื่องฟอสสิล ความสอดคล้องต้องกันของชั้นหิน ที่พยายามถามผมนี่

ตอบไปหลายครั้งแล้ว  ว่าปลายังคงเป็นปลา หอยยังคงเป็นหอย ม้ายังคงเป็นม้า ลิงเป็นลิง  คนเป็นคน ตรงนี้ไม่พบหลักฐานที่เชื่อมโยงนะครับ
ส่วนเรื่องการลำดับว่าอะไร ก่อนหลังอย่างไรยังไม่ได้พูดถึงกันมากนัก

แต่ได้ข้อมูลมาบ้างว่า มีสัตว์ที่สูญพันธุ์ไป เช่น ไดโนเสาร์ ซึ่งก็ไม่มีใครเคยเห็นตัว แล้วก็กระดูกนกเพนกวินขนาดใหญ่ ก็ว่ากันไปครับ..
ไม่ทราบว่าจะขัดแย้งกับข้อโต้แย้งหลักของผมอย่างไรแต่แรกเหมือนกัน

แต่ก็ถือว่าเป็นข้อมูล เรื่องลำดับของสิ่งมีชิวิตต่างๆตามความเชื่อคุณจีรศักดิ์ หากมีโอกาสจะนำมาพูดถึงครับ
ที่สำคัญ ชัดเจนนะครับ ว่าไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าบักเตรีตัวแรกมีชีวิตได้โดยบังเอิญ

มีเพียงสมมุติฐานหรือทฤษฎีที่ว่า ทดลองได้กรดอมิโน จากการสะกัดจากน้ำ และแผ่นหินที่คาดว่าเป็นร่องรอยของบักเตรียุคแรกๆ

คุณ Q ตอบไม่ตรงคำถามนะครับ ผมไม่ได้ถามเรื่อง ปลายังคงเป็นปลา หอยยังคงเป็นหอย ม้ายังคงเป็นม้า ลิงเป็นลิง  คนเป็นคน

ผมถามเรื่อง การปรากฏของ Fossil ในชั้นหินต่างๆ ว่าถ้าหากทั้งหมดเคยมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำไมถึงไม่พบรวมกัน
ซึ่งเท่ากับโต้แย้งทฤษฎีโลกอายุน้อย ว่าถ้าชั้นหินแต่ละชั้นมีอายุเท่าๆ กันจริง ก็ควรมี Fossil ของสิ่งมีชีวิตกระจายปนกัน
ไม่ใช่แยกกันอยู่ตามอายุชั้นหิน
ซึ่งทำให้เราสามารถดู Index Fossil เพื่อประมาณอายุของชั้นหินได้

สัตว์ที่คุณ Q ว่าเคยสูญพันธุ์ไปอย่างไดโนเสาร์ ที่บอกว่าไม่มีคนเคยเห็นนั้น ตกลงคุณ Q คิดว่าคนกับไดโนเสาร์เคยอยู่ด้วยกัน
เคยโดนไดโนเสาร์จับกิน หรือจับไดโนเสาร์มากินด้วยอย่างนั้นหรือครับ?

คุณ Q คิดว่าจะค้านทฤษฎีวิวัฒนาการได้สำเร็จ โดยไม่แก้ปัญหาเรื่องการปรากฏของ Fossil แยกกันในชั้นหินแต่ละอายุหรือครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 17:22
ส่วนที่คุณ Q บอกว่า ..

ว่าไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าบักเตรีตัวแรกมีชีวิตได้โดยบังเอิญ
มีเพียงสมมุติฐานหรือทฤษฎีที่ว่า ทดลองได้กรดอมิโน จากการสะกัดจากน้ำ
และแผ่นหินที่คาดว่าเป็นร่องรอยของบักเตรียุคแรกๆ

---

ความจริงที่เขาทำได้ตั้งแต่ร่วมๆ 20-30 ปีก่อนไม่ได้มีแค่กรดอนิโนเฉยๆ นะครับ
นอกจากกรดอะมิโนจำเป็นที่จะใช้สร้างโปรตีนแล้ว ยังได้ นิวคลีโอไทด์ ที่จะใช้
สร้าง RNA ขึ้นมาด้วย

นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ทดลองกับก๊าซหลากชนิดและแหล่งพลังงานต่างๆ
ทำให้ได้กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acids) เกือบครบทั้ง 20 ชนิด
ที่เป็น building blocks ในการสร้างโปรตีน และเบสทั้ง 5 ชนิดที่จำเป็นต่อการ
สร้างสาย DNA และ RNA 

โดยที่ Building blocks เหล่านี้ (กรดอะมิโน+นิวคลีโอไทด์) สามารถทำปฏิกิริยา
polymerization เชื่อมต่อกันเป็นสายเปปไตด์สั้นๆ, โปรตีนและกรดนิวคลีอิกได้
กระบวนการนี้ว่า protobiogenesis (แปลง่ายๆ ว่า กำเนิดชีวิตยุคแรกเริ่ม)

ที่สำคัญคือเราพบว่ามีการจัดตัวของสายโมเลกุลกลายเป็น ทรงกลมปิดขนาดจิ๋ว
(microspheres) ซึ่งสามารถแสดงคุณสมบัติ metabolic หลายอย่างของ
ผนังเซลล์ที่มีชีวิต และที่สำคัญกว่านั้นคือเราพบว่า ในสภาวะที่เหมาะสม
มันสามารถแตกหน่อออกเป็น microsphere ตัวใหม่ได้อีกด้วย!

ลองคิดดูว่าหากในกระบวนการเกิด microsphere บังเอิญห่อเอาสารพันธุกรรม
เอาไว้ข้างใน แล้วต่อมาสารพันธุกรรมมีการทำสำเนาตัวเองอยู่ใน microsphere
ที่ต่อมาก็แตกออกเป็น microsphere ใหม่ มันก็คือ "เซลล์สิ่งมีชีวิต" ใช่ไหม

..แต่ก็แน่นอนว่าจะให้เกิดสิ่งมีชีวิตเซลเดียวขึ้นมาจากหลอดทดลองคงจะยาก..

อย่างลืมว่าตามหลักฐานโลกอายุมาก ต้องผ่านเวลายาวนานเป็นร้อยเป็นพันล้านปี
จึงสามารถเกิดสิ่งมีชีวิตยุคแรก ถ้าเรามีเวลาทำหลอดทดลองอายุ 3 พันล้านปี
ก็อาจเป็นไปได้ว่าเราจะได้สิ่งมีชีวิตแบบปัจจุบันขึ้นมา แต่เวลามันไม่พอไงครับ..

---

ถ้าคุณ Q หรือท่านใดสนใจจริงๆ ก็สามารถค้นหางานวิจัยของ Sidney W. Fox.
เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มากมายเลยครับ (เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี 1998 นี้เอง)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 17:46
ถ้าจาก 500 ล้านปี หดเหลือ 5000 ปีนี่ นึกสภาพออกเลย สมัยสุโขทัยคงมี T-rex เดินเล่นอยู่ด้วยกระมัง เพราะ 70 ล้านปีก็จะเหลือแค่ 700 ปีด้วย  :slime_bigsmile:

รู้สึกว่าคุณ Q จะไม่มั่นใจตัวเลข 5000 ปีแล้วนะครับ แต่จนกว่าคุณ Q จะระบุเป็นตัวเลขอื่น
ผมก็ยืนตัวเลขที่ 5000 ปีเอาไว้อย่างนี้แหละ มันตรงกับน้ำท่วมโลกยุคโนอาร์ดีครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 17:54
เรื่องระยะเวลาการเลื่อนตัวของเปลือกโลก กลายเป็นทวีปต่างๆ คุณ Q ยังไม่ได้ตอบมา
แต่เห็นว่ายังคงยืนตัวเลขอายุโลกสูงสุดอยู่ที่ 250,000 ปีนะครับ

คราวนี้มาดูข้อมูลอีกด้านหนึ่งคือ ข้อมูลสภาพอากาศยุคดึกดำบรรพ์ จากการเจาะแท่งน้ำแข็ง
ที่ Antarctica ลงไปลึกกว่า 3 กิโลเมตร  แสดงข้อมูล ปริมาณก๊าซต่างๆ และอุณหภูมิ
ย้อนหลังไปกว่า 4 แสนปีครับ จะอธิบายยังไงดี หรือจะหดเวลาเหลือ 250,000 ปีอีก?

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/77/Vostok_420ky_4curves_insolation.jpg/800px-Vostok_420ky_4curves_insolation.jpg)

กราฟนี้เอามาจากวิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษนะครับ โดยเขาอ้างอิงที่มาข้อมูลต่อไปที่ ...

Data from: http://www.ngdc.noaa.gov/paleo/icecore/antarctica/vostok/vostok_data.html

Petit J.R., Jouzel J., Raynaud D., Barkov N.I.,Barnola J.M., Basile I., Bender M., Chappellaz J., Davis J., Delaygue G., Delmotte M., Kotlyakov V.M., Legrand M., Lipenkov V., Lorius C., P&eacute;pin L., Ritz C., Saltzman E., Stievenard M. (1999). Climate and Atmospheric History of the Past 420,000 years from the Vostok Ice Core, Antarctica, Nature, 399: 429-436.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 18-08-2007, 18:26
รู้สึกว่าคุณ Q จะไม่มั่นใจตัวเลข 5000 ปีแล้วนะครับ แต่จนกว่าคุณ Q จะระบุเป็นตัวเลขอื่น
ผมก็ยืนตัวเลขที่ 5000 ปีเอาไว้อย่างนี้แหละ มันตรงกับน้ำท่วมโลกยุคโนอาร์ดีครับ
5000 ปีนั่นยุคโนอาห์จริงครับ แต่ถ้าเรื่องน้ำท่วมนั้นต้อง 4400 ปีครับ เพราะน้ำท่วมเมื่อโนอาห์อายุได้ 600 ปี และถ้าคุณ Q ระบุตัวเลขอื่นก็จะกลายเป็นบิดเบือนพระคัมภีร์เช่นเดียวกับเว็บที่คุณ Q ยกมา  :slime_bigsmile: จริง ๆ พระคัมภีร์นั่นไม่ขัดกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์นะครับ ถึงจะเขียนว่าน้ำท่วมโลกจริง แต่โลกของคนที่บันทึกคัมภีร์นั้นขอบเขตแค่ไหนล่ะแถมยังมีความเชื่อว่าโลกแบนอีกซึ่งก็ไม่ได้เหมือนปัจจุบันแน่นอน แต่ปัญหาก็คือคุณ Q ดันยกเรื่องแกรนด์แคนยอนมานะสิ :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 18:31
5000 ปีนั่นยุคโนอาห์จริงครับ แต่ถ้าเรื่องน้ำท่วมนั้นต้อง 4400 ปีครับ เพราะน้ำท่วมเมื่อโนอาห์อายุได้ 600 ปี และถ้าคุณ Q ระบุตัวเลขอื่นก็จะกลายเป็นบิดเบือนพระคัมภีร์เช่นเดียวกับเว็บที่คุณ Q ยกมา  :slime_bigsmile: จริง ๆ พระคัมภีร์นั่นไม่ขัดกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์นะครับ ถึงจะเขียนว่าน้ำท่วมโลกจริง แต่โลกของคนที่บันทึกคัมภีร์นั้นขอบเขตแค่ไหนล่ะแถมยังมีความเชื่อว่าโลกแบนอีกซึ่งก็ไม่ได้เหมือนปัจจุบันแน่นอน แต่ปัญหาก็คือคุณ Q ดันยกเรื่องแกรนด์แคนยอนมานะสิ :slime_sentimental:

อยากนั้นผมต้องขอเปลี่ยนคำพูดจาก 5000 ปี เป็นว่าไม่เกิน 5000 ปีแทนนะครับ
กำหนดคลุมๆ ช่วงเวลาไปเลยก็แล้วกันจะได้ไม่ผิด

แต่เวลายิ่งสั้นก็ยิ่งไม่มีที่ให้ใส่เรื่องต่างๆ ลงไปสิครับ เพราะโลกยิ่งอายุน้อยไปใหญ่


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 18:44
เผื่อสงสัยว่าหลุมเจาะ ice core ที่ vostok station อยู่ตรงไหนของ Antarctica
เทียบกับที่คุณ Q เคยเอาข้อมูลมา ก็เลยเอาภาพถ่ายดาวเทียมมาให้ดูนะครับ
ที่เห็นในวงสีแดงคือที่ตั้ง vostok station ที่เจาะ ico core 4 แสนปีออกมา

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1f/LakeVostok-Location.jpg/250px-LakeVostok-Location.jpg)

---

หรืออย่างโครงการสำรวจที่ Dome Fuji (Dome F) ก็อยู่ลึกเข้าไปข้างในเหมือนกัน
เดิมคิดว่าจะเจาะได้ที่อายุ 3 แสนปีแต่ภายหลังประเมินว่าจะได้ถึงกว่า 7 แสนปีครับ

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/68/Antarctica_base%28Japan%29_English_ver.png/300px-Antarctica_base%28Japan%29_English_ver.png)

---

ส่วนที่เจาะสำรวจได้ ice core เก่ามากๆ ร่วม 9 แสนปี อยู่ที่ Dome C
และ Concordia Research Station อยู่ตรงที่เป็นดาวสีแดงครับ

(http://www.astro.lu.se/~dainis/Images/Antarctica_lowres.jpg)

---

ส่วนภาพนี้คือตำแหน่งสำรวจที่คุณ Q เคยยกมาอ้างอิงอายุไม่เกิน 3 หมื่นปี สังเกตว่าอยู่แถวขอบๆ

(http://www.hi.is/~oi/quater8.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: truly ที่ 18-08-2007, 19:01
เข้ามาดูอินเดียน่า จี.. :roll:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 19:14
เข้ามาดูอินเดียน่า จี.. :roll:

บังเอิญวิญญาณนักธรณีฯ เข้าสิงน่ะครับคุณ truly  :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 19:23
ทีนี้ถ้าใครคิดว่า Antarctica เป็นพื้นที่เล็กๆ และหลุมเจาะก็อยู่ไม่ห่างจากทะเลเท่าไหร่
ก็อยากให้ดูภาพนี้นะครับ เทียบทวีปยุโรป กับพื้นที่ Antarctica

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4c/Europe_antarctica_size.png)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 18-08-2007, 22:00
ถ้าเรื่อง biosphere ครับ อยากรู้ว่าจะหาอ่านจากที่ไหน เอาแบบมีรูปประกอบส่วยๆ นะครับ
จะได้อ่านแล้วหลับยากหน่อย คือพยายามหาอ่าน search ทีไร เจอแต่ลูกแก้วใส่ปลาสาหร่าย
แล้วก็หอยทุกที


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Tuba ✿゚✎..✿.。.:。ღ ที่ 18-08-2007, 22:20
ผมว่า ผมจะตั้งรางวัล ทายกันเล่น ๆ นะ

ห้ามเปิดไปดูหน้าแรกนะครับ

คำถามคือ ต้นเรื่องของกระทู้นี้......

อะไรที่ ไทยรัฐ มั่วนิ่มครับ????? แล้วที่ลากยาวเหยียดมาหกหน้า (ณ ตอนนี้) ประเด็นเริ่มเปลี่ยนที่ ความคิดเห็นที่เท่าไหร่ครับ???

ตอบได้ ให้ไปรับรางวัล 200 บาท ที่เขตอำเภอรอบนอก 300 บาท ที่ตัวจังหวัด และ 500 บาท บริเวณกรุงเทพ และปริมณฑล



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 23:17
ถ้าเรื่อง biosphere ครับ อยากรู้ว่าจะหาอ่านจากที่ไหน เอาแบบมีรูปประกอบส่วยๆ นะครับ
จะได้อ่านแล้วหลับยากหน่อย คือพยายามหาอ่าน search ทีไร เจอแต่ลูกแก้วใส่ปลาสาหร่าย
แล้วก็หอยทุกที

ของผมลองไป search เป็นรูปภาพ เจอแต่ไอ้ลูกกลมๆ อันนี้เต็มเลยครับ (นอกเรื่องไปอีกเรื่องแล้ว  :mrgreen:)

(http://www.ec.gc.ca/EnviroZine/images/Issue59/Biosphere_l.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-08-2007, 23:19
ผมว่า ผมจะตั้งรางวัล ทายกันเล่น ๆ นะ

ห้ามเปิดไปดูหน้าแรกนะครับ
คำถามคือ ต้นเรื่องของกระทู้นี้......

อะไรที่ ไทยรัฐ มั่วนิ่มครับ????? แล้วที่ลากยาวเหยียดมาหกหน้า (ณ ตอนนี้) ประเด็นเริ่มเปลี่ยนที่ ความคิดเห็นที่เท่าไหร่ครับ???
ตอบได้ ให้ไปรับรางวัล 200 บาท ที่เขตอำเภอรอบนอก 300 บาท ที่ตัวจังหวัด และ 500 บาท บริเวณกรุงเทพ และปริมณฑล

ผมแอบไปเปิดดูคำตอบเสียแล้ว ขอสละสิทธิ์ไม่ตอบก็แล้วกัน  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 01:19


ผมเอาข้อมูลมาแปะ เพื่อให้อ่านกันมากๆ ครับ

การพยายามเชื่อด้วยข้อมูลที่ขัดแย้งกันย่อมจะต้องอาศัยความรู้ที่ถูกต้องเท่านั้น

วิธีคำนวณหาอายุ ชั้นหินมีปัญหามากครับ..

ฟอสซิล ต้นไมในชั้นหินทราย ลองคิดดูเองครับ ว่าอายุกีปี?


ไม่มีทางเป็นโลกล้านปีไปได้เลย..

ส่วนกี่ปีผมไม่ได้ตั้งธงเชื่อข้อมูลเก่าครับ

เมื่อคำนวณอายุตัวอย่างผิดแต่แรก ก็ลำดับอายุกันผิดไปหมด

ฟอสสิลที่แกรนแคนยอนมีหลายประเภท  คุณจีรศักดิ์หาข้อมูลปฐมภูมิ หรืองานสำรวจ ที่มีตารางยืนยันมาจากไหน??

แกรนแคนยอนเคยถูกน้ำท่วม ซึ่งก็เป็นน้ำที่ท่วมถึงทะเลด้วย จะเรียกน้ำรวมๆน่าจะดีกว่า น้ำต่างๆก็ไหลไปรวมที่ทะเล


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 01:29


เรื่องทฤษฎีเปลือกโลก ก็เละพอกับวิธีการคำนวณหาอายุชั้นหินและครับ

เปลือกโลกทั้งเคลื่อน ยุบและยกตัวได้ มันไม่นิ่ง ไม่ต่างอะไรจากน้ำ เพียงแต่ขณะที่เรามอง จะเห็นเหมือนกับว่ามันอยู่นิ่งเท่านั้นเอง

ส่วนเรื่องภูเขาก็เอาหลักฐานมาให้ดูว่า เวลาห้าวันก็เกิดภูเขาหินตะกอนได้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 01:34


Do genetic differences disprove that Neandertals and modern humans interbred?by Michael Oard

http://www.answersingenesis.org/docs2003/0618neandertal.asp

18 June 2003

New research results comparing the mitochondrial DNA (mtDNA) have shown substantial divergence between Neandertals and modern humans, including the Cro-Magnons of ice age Europe.1–3 (Mitochondrial DNA, which is not the same as that carried on the chromosomes (nuclear DNA), is generally inherited unchanged from the mother.  Evolutionists believe that the more differences between the mtDNA of two organisms, the longer ago their ancestors branched off from a common ancestor.)  The large differences have been taken as evidence that Neandertals were a different ‘species’ from humans.

However, even some evolutionary scientists are more cautious in their conclusions of the new mtDNA genetic results.  Mark Stoneking, a supporter of the mitochondrial Eve hypothesis (which actually favours the idea of Neandertal non-humanity—see No Bones about Eve), is a bit nervous about the possible DNA contamination that can occur easily.3 Furthermore, the sample size of Neandertals and Cro-Magnons was quite small, and certain modern people groups are over-represented.  Therefore, the results may not apply to larger populations.

แปลว่า หลักฐานน้อยและตีความโอเวอร์ครับ.. :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 01:38


Geological conflict
Young radiocarbon date for ancient fossil wood challenges fossil dating..

http://www.answersingenesis.org/creation/v22/i2/geology.asp


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 01:40


The Historical Development of the Old-Earth Geological Time-Scale

http://www.answersingenesis.org/articles/am/v2/n3/old-earth-time-scale


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 02:20

Do genetic differences disprove that Neandertals and modern humans interbred?by Michael Oard

http://www.answersingenesis.org/docs2003/0618neandertal.asp

18 June 2003

New research results comparing the mitochondrial DNA (mtDNA) have shown substantial divergence between Neandertals and modern humans, including the Cro-Magnons of ice age Europe.1–3 (Mitochondrial DNA, which is not the same as that carried on the chromosomes (nuclear DNA), is generally inherited unchanged from the mother.  Evolutionists believe that the more differences between the mtDNA of two organisms, the longer ago their ancestors branched off from a common ancestor.)  The large differences have been taken as evidence that Neandertals were a different ‘species’ from humans.

However, even some evolutionary scientists are more cautious in their conclusions of the new mtDNA genetic results.  Mark Stoneking, a supporter of the mitochondrial Eve hypothesis (which actually favours the idea of Neandertal non-humanity—see No Bones about Eve), is a bit nervous about the possible DNA contamination that can occur easily.3 Furthermore, the sample size of Neandertals and Cro-Magnons was quite small, and certain modern people groups are over-represented.  Therefore, the results may not apply to larger populations.

แปลว่า หลักฐานน้อยและตีความโอเวอร์ครับ.. :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_fighto:

หลักฐานน้อยนะ น้อยเท่าไหร่ และตัวอย่างของ Neandertal ใช้กี่ตัวอย่าง  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 02:25


หลักฐานน้อยนะ น้อยเท่าไหร่ และตัวอย่างของ Neandertal ใช้กี่ตัวอย่าง  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

ผมว่าพยายามหาโครงกระดูกหลังยุคน้ำท่วมมาศึกษาก็ไม่เลวครับ มีเยอะดีกว่าหาไม่พบ.. :slime_cool: :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 02:29


ประเด็นที่ผมอยากทราบคือ อายุของเซลล์สิ่งมีชีวิต และวิธีรักษาสภาพเซลล์ที่ยังคงมีชีวิต

ตลอดจนการต่อสู้กับ มะเร็งและโรคอันเกิดจากเชื้อไวรัส..

ส่วนเรื่องสภาพแวดล้อมขอให้เป็นการทดลองจากสิ่งมีชีวิตในสภาพจริง หรือเซลล์และรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตก็ยังดีกว่าครับ..
                                                                                                                                                                 :slime_cool: :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 02:36

ผมว่าพยายามหาโครงกระดูกหลังยุคน้ำท่วมมาศึกษาก็ไม่เลวครับ มีเยอะดีกว่าหาไม่พบ.. :slime_cool: :slime_smile:
แล้วยุคน้ำท่วมนะกี่ปีครับ ระบุมาสักทีสิครับ ตกลงไม่ทราบหรือครับว่าที่หลักฐานน้อยนะ น้อยเท่าไหร่ และตัวอย่างของ Neandertal ใช้กี่ตัวอย่าง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 02:37


หากมีถึงสามสิบล้านสปีชี หลายคนคงศึกษาจนตายไม่ก็ตาแฉะไปก่อน..

ไม่ก็เอามือคลำกระดูกก้นกบของตัวเองทุกวัน สลับไปกับการเอามือลูบหินที่เก็บมาเป็นที่ระลึก..

พูดแล้วเหนื่อยแทนนักวิทยาศาสตร์ มันจะต่างอะไรกับนักการเมือง...







หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 02:43


แล้วยุคน้ำท่วมนะกี่ปีครับ ระบุมาสักทีสิครับ ตกลงไม่ทราบหรือครับว่าที่หลักฐานน้อยนะ น้อยเท่าไหร่ และตัวอย่างของ Neandertal ใช้กี่ตัวอย่าง

ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับมนุษย์พันธุ์อืนครับ เชื่อว่าน้ำเคยท่วมใหญ่แน่นอนสักไม่กี่พันปีที่ผ่านมาจากเวลาตอนนี้ ที่เอเวอร์เรส ก็มีหินตะกอนเหมือนกัน

ยังไม่ทราบจำนวนเห็นจีนแก็บไปตรวจ คงยังไม่ได้ข้อสรุปอะไร..



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 02:46


วันก่อนอ่านความเห็นเกี่ยวกับไดโนเสาร์ของนักวิทยาศาสตร์

เขาว่าสูญพันธุ์เพราะภูเขาไฟครับ และตัวจริง คงจะไม่ได้วิ่งเร็วมากเพราะตัวใหญ่เท้าเล็ก
                                                                                                                 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 02:51

หากมีถึงสามสิบล้านสปีชี หลายคนคงศึกษาจนตายไม่ก็ตาแฉะไปก่อน..

ไม่ก็เอามือคลำกระดูกก้นกบของตัวเองทุกวัน สลับไปกับการเอามือลูบหินที่เก็บมาเป็นที่ระลึก..

พูดแล้วเหนื่อยแทนนักวิทยาศาสตร์ มันจะต่างอะไรกับนักการเมือง...






แล้วนักวิทยาศาสตร์ใครเขาจะศึกษาทุกสปีซีส์ล่ะครับ แล้วตกลงอธิบายได้รึยังล่ะครับว่าการเกิดสปีซีส์เกิดได้อย่างไร


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 02:53

ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับมนุษย์พันธุ์อืนครับ เชื่อว่าน้ำเคยท่วมใหญ่แน่นอนสักไม่กี่พันปีที่ผ่านมาจากเวลาตอนนี้ ที่เอเวอร์เรส ก็มีหินตะกอนเหมือนกัน

ยังไม่ทราบจำนวนเห็นจีนแก็บไปตรวจ คงยังไม่ได้ข้อสรุปอะไร..


แล้วตกลงน้ำท่วมตอนไหนล่ะครับ บอกมาสักทีสิครับ บอกแต่ว่าหาโครงกระดูกหลังน้ำท่วมแต่กลับไม่ยอมระบุว่าน้ำท่วมเท่าไหร่


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 02:54

วันก่อนอ่านความเห็นเกี่ยวกับไดโนเสาร์ของนักวิทยาศาสตร์

เขาว่าสูญพันธุ์เพราะภูเขาไฟครับ และตัวจริง คงจะไม่ได้วิ่งเร็วมากเพราะตัวใหญ่เท้าเล็ก
                                                                                                                 
แล้วภูเขาไฟที่ไหนบ้างครับระบุสิครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 02:58


มีอะไรน่าโพสต์ก็จะโพสต์ให้ทราบครับ อย่าลืมรออ่านละกัน.. :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 03:03


อย่างเปลือกหอยนี่ ตอนนี้คงใช้ กล้องส่องและเอาคอมพิวเตอร์คำนวนความเหมือนของยีน..??โดยการสะกัดด้วยวิธีการต่างๆ

ผมคงเลิกตามแล้ว กลับมาสนใจว่าจะมีอาณาจักรใหม่ๆเกิดขึ้นหรือเปล่า?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 03:07


เรื่องบิกแบงค์ก็เห็นว่า ทำท่าจะมีปัญหามากเหมือนกัน.. :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 03:11

ด้านกายวิภาค ผมสนใจเกี่ยวกับการฝึกกระดิกหูในคนครับ..

พอทราบหรือเปล่าฝึกอย่างไรจึงจะทำได้ ผมว่าใช้สือสารได้เหมือนกัน..

กล้ามเนื่อสวนที่ควบคุมบริเวณรอบใบหูก็มีอยู่..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 03:26

อย่างเปลือกหอยนี่ ตอนนี้คงใช้ กล้องส่องและเอาคอมพิวเตอร์คำนวนความเหมือนของยีน..??โดยการสะกัดด้วยวิธีการต่างๆ

ผมคงเลิกตามแล้ว กลับมาสนใจว่าจะมีอาณาจักรใหม่ๆเกิดขึ้นหรือเปล่า?
ไม่ลองสนใจหน่อยรึครับ ลองหาเรื่องนี้อ่านเล่นดูก็ได้นะครับ  :slime_bigsmile:

(http://www.ku.ac.th/kunews/news50/juraporn/0020.gif)
(http://www.ku.ac.th/kunews/news50/juraporn/0021.gif)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 03:27
ด้านกายวิภาค ผมสนใจเกี่ยวกับการฝึกกระดิกหูในคนครับ..

พอทราบหรือเปล่าฝึกอย่างไรจึงจะทำได้ ผมว่าใช้สือสารได้เหมือนกัน..

กล้ามเนื่อสวนที่ควบคุมบริเวณรอบใบหูก็มีอยู่..
นี่คุณไม่รู้เรื่องกายวิภาคเลยรึนี่  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 03:36
นี่คุณไม่รู้เรื่องกายวิภาคเลยรึนี่  :slime_doubt:

ข้อมูลเขาว่าฝึกได้ แต่ผมยังหาวิธีฝึกอยู่ครับ

เอาไว้บอกต่อก็ดีเหมือนกัน..
                                                 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 03:44
การหาความสัมพันธ์ เชื่อมโยง แบบซีเควนส์ มันมีอยู่ในสิ่งมีชิวิต

และเหตุการณ์ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตครับ..


สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างมนุษย์ เป็นผู้กำหนดความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ



อยากได้พันธุ์ปลาดีๆ ควรเลี้ยงอะไรดี ปลาทะเลหรือปลาน้ำจืด..

มันควรเป็นปลาที่ให้สารอาหารได้ดี และไม่มีพยาธิ์


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 03:46


ถ้าเอาปลาทะเลผสมกับปลาน้ำจืด

ควรเอาอะไรมาจับคู่กันดีครับ...??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 19-08-2007, 07:22
ไปคุ้ยมา มันไม่ค่อยมีรายละเอียดเท่าไหร่

การทดลองเกี่ยวกับ origin of live การสร้าง cell จากสิ่งที่ไม่มีชีวิต
Experimental approaches active in  Origin of Life  research... (continued)
   
3rd experimental approach)   PROTOBIONTS... chemically made artificial cell systems...
                  aggregates of prebiotic molecules macromolecules that acquire a boundary to
                  maintain an interior chemical environment distinct from "primordial soup
  Sidney W. Fox  Univ of Miami (1912 - 1998) -  Director of NASA supported Institute for Molecular Evolution at UM.
                                                                           his laboratory conducted analyses of the first moon rock samples... 
he produced proteinoids from amino acid solutions... dropped on hot lava rock, sand or clay.
 
        Experimental Protobionts include coacervates, proteinoid microspheres, and liposomes. 

  • coacervates droplets form from polypeptides, polysaccharides & nucleic acids
     tough skin water molecules held by hydrophobicity, possess osmotic capability
    maybe with enzymatically active interior
    (http://fig.cox.miami.edu/~cmallery/150/life/coacervate.jpg) (http://fig.cox.miami.edu/~cmallery/150/life/phosphorylase.jpg)
  • poteinoids form microspheres or water filled vesicles (1-2um dia), which 
    are osmotically active with selective permeability
    have membrane potentials 
  • liposomes form from phopspholipids,    which
    are microscopic spherical vesicles that form when phospholipids are hydrated
    can engulf smaller proteinoids making more active ones
    in 2003 M. Hanczyc, S.Fujikawa, & J.Szostak made liposomes that grow & divide via clays (reproduce?) & if RNA present it was encapsulated [ a plausible route to 1st cells ?]
    (http://fig.cox.miami.edu/~cmallery/150/chemistry/sf4x6a.jpg) (http://fig.cox.miami.edu/~cmallery/150/life/c26x12protobionts.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 08:24
Dinosaur mass grave discovered in Switzerland   http://www.reuters.com/article/scienceNews/idUSL0888871120070809
Thu Aug 9, 2007 7:36AM EDT
 Email | Print | Digg | Reprints | Single Page | Recommend (0) [-] Text
Featured Broker sponsored link

Power. Price. Service. No Compromises.ZURICH (Reuters) - An amateur paleontologist in Switzerland may have unearthed Europe's largest dinosaur mass grave after he dug up the remains of two Plateosaurus.

The dinosaurs' bones came to light during house-building in the village of Frick, near the German border.

"A hobby paleontologist looked at a construction site for a house and happened to discover the bones," said Monica Ruembeli from the Frick dinosaur museum.

The finds show that an area known for Plateosaurus finds for decades may be much larger than originally thought.

"It could be that the area extends for 1.5 kilometers (0.9 miles) and in that case, you could certainly say it's the biggest site in Europe," said Martin Sander, a dinosaur paleontologist at the university of Bonn in Germany.

The Frick area contained the bones of one animal per 100 square meters, Sander said, so the entire area might contain bones of 100 more Plateosaurus.

The peaceful herbivore -- measuring up to 10 meters from head to tail -- roamed river deltas in large herds some 210 million years ago, according to some scientists, when most of Switzerland was covered with desert and its landscape may have looked much like the estuary of the Nile now.

There are two other large Plateosaurus sites in Germany, Sander said. It is not known how big they are because one is covered by the town of Halberstadt and the other, near Trossingen, by a forest.




หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 12:00

เรื่องทฤษฎีเปลือกโลก ก็เละพอกับวิธีการคำนวณหาอายุชั้นหินและครับ

เปลือกโลกทั้งเคลื่อน ยุบและยกตัวได้ มันไม่นิ่ง ไม่ต่างอะไรจากน้ำ เพียงแต่ขณะที่เรามอง จะเห็นเหมือนกับว่ามันอยู่นิ่งเท่านั้นเอง

ส่วนเรื่องภูเขาก็เอาหลักฐานมาให้ดูว่า เวลาห้าวันก็เกิดภูเขาหินตะกอนได้

คุณ Q ว่าเรื่อง Plate Tectonic "เละ" ยังไงหรือครับ เอาแค่เรื่องที่พบ Fossil ชนิดเดียวกัน
ในพื้นที่ห่างกันหลายพันกิโลเมตร ก็บ่งชี้แล้วว่าแต่ละทวีปเคยอยู่ติดกันมาก่อนในอดีต

และคุณ Q ก็ยอมรับเองว่าเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้แต่เคลื่อนช้ามากจนเราสังเกตไม่เห็น
ก็ใช่ไงครับถึงต้องใช้เวลาหลายร้อยล้านปี จึงกลายเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

หรือคุณ Q จะบอกว่าตามตัวอย่างทวีป Gondwana ข้างล่างนี้ก็ใช้เวลาแค่ 250,000 ปี
(หรือ 5 พันปี) เคลื่อนตัวกลายเป็นตำแหน่งเปลือกทวีปในปัจจุบัน (จากเดิม 200 ล้านปี)

(http://www.joergresag.privat.t-online.de/mybk4htm/gondwana.png)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 12:40

เรื่องทฤษฎีเปลือกโลก ก็เละพอกับวิธีการคำนวณหาอายุชั้นหินและครับ

เปลือกโลกทั้งเคลื่อน ยุบและยกตัวได้ มันไม่นิ่ง ไม่ต่างอะไรจากน้ำ เพียงแต่ขณะที่เรามอง จะเห็นเหมือนกับว่ามันอยู่นิ่งเท่านั้นเอง

ส่วนเรื่องภูเขาก็เอาหลักฐานมาให้ดูว่า เวลาห้าวันก็เกิดภูเขาหินตะกอนได้

(http://www.answersingenesis.org/home/area/cfol/images/fig-35-tn.jpg)

Less dramatic in scale, but directly and awesomely visible, was an eruption of Mt. St. Helens. We have described the first eruption in May of 1980, as the force of water flashing to steam blew the top 1300 feet (400 m) off the north side of the volcano. More to the immediate point was the explosion in June of 1982. The heat generated from that explosion melted frozen mud, producing a mud flow that filled up the North Fork of the Toutle River. The smoke cleared five days later to reveal that the mud flow had been eroded into a zig-zag main channel with many sharply tapered side canyons. Horizontal bands of sediment, some thick, and some exceedingly fine, lined the walls of the newly formed canyon. Right before our eyes, a small volcano (which never even produced a lava flow) had stacked up horizontal bands of sediment, and cut channels through it, forming a 1/40th size “scale model” of Grand Canyon in just five days! All sorts of features once thought to take millions of years of time were formed, instead, by a lot of water in just five days! And my wife and I got to see it on a dizzying flight down the length of that “Little Grand Canyon.” (See Austin video,53 Morris,54 and Fig. 35.)

http://www.answersingenesis.org/home/area/cfol/ch3-grand-canyon.asp

---

ที่คุณ Q ว่า ห้าวันก็เกิดภูเขาหินตะกอนได้ คงหมายถึง คคห.ข้างบน ..  คุณ Q เข้าใจผิดนะครับ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือชั้นดินตะกอนเยือกแข็งละลายกลายเป็นโคลนไหลจากที่สูงลงมาท่วมที่ราบหุบเขา
แล้วชั้นดินตะกอนที่เกิดใหม่ถูกทางน้ำกัดเซาะลึกลงไปภายใน 5 วัน ทั้งหมดเกิดขึ้นเนื่องจากการ
การระเบิดของภูเขาไฟ St. Helens เมื่อปี 1982 หลังจากเคยมีปฏิกิริยามาก่อนเมื่อปี 1980

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ "ชั้นดินตะกอน" ไม่ใช่ "ชั้นหิน" คนละเรื่องเลย อีกกี่ล้านปีจะเป็นหินก็ไม่รู้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 13:12
ภาพถ่ายแถวๆ นั้นของ USGS เมื่อต้นเดือนตุลาคม 1983 ประมาณปีกว่าๆ หลัง ภูเขาไฟ St. Helens ระเบิด

(http://vulcan.wr.usgs.gov/Imgs/Jpg/MSH/Images/MSH83_debris_avalanche_looking_downstream_10-05-83_med.jpg)


ภาพถ่ายอีกมุมนึงแถวๆ นั้นของ USGS เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 1983 ถัดมาจากภาพก่อนเกือบๆ 2 เดือน
จะเห็นว่าเริ่มมีต้นไม้เล็กๆ ขึ้นมาปกคลุมผิวดินตะกอนบางส่วน

(http://vulcan.wr.usgs.gov/Imgs/Jpg/MSH/Images/MSH83_debris_avalanche_north_fork_toutle_11-30-83_med.jpg)

---

ขอตั้งข้อสังเกตข้อความที่ว่า ชั้นดินตะกอนถูกกัดเซาะมีขนาด 1/40th size “scale model” of Grand Canyon นั้น
หมายถึง "ความสูง" ของชั้นดินตะกอน ไม่ใช่ "ปริมาตร" นะครับ เพราะถ้านับปริมาตรจริงๆ คงไม่กี่ลูกบากศ์กิโลเมตร
คลุมพื้นที่ไม่กี่ตารางกิโลเมตร การเทียบว่าเป็น 1 ใน 40 ของ Grand Canyon จึงเทียบแบบจงใจเลือกการนำเสนอ
ให้เห็นว่ามีขนาดใหญ่โต แต่จริงๆ ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอะไร 

เทียบกับชั้นทราย Coconino แค่ชั้นเดียวก็มีปริมาณ "อย่างน้อย" 41,700 ลูกบากศ์กิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่
กว้างกว่าประเทศไทย ไม่ต้องนับว่าเรื่องที่ North Fork แม่น้ำ Toutle River เป็นแค่ดินตะกอน เทียบเรื่องปริมาตร
อย่างเดียวก็เทียบไม่ได้กับชั้นหินเพียงชั้นเดียวของ Grand Canyon แล้วครับ

ส่วนความสูงที่เอามาเทียบก็ประมาณตึกสิบกว่าชั้นนิดหน่อย เทียบกับหุบเขา Grand Canyon ที่ลึก 1600 เมตร
เท่ากับกว่า 5 เท่าของตึกใบหยก 2 ที่สูง 80 ชั้นนะครับ ขนาดความสูงก็เทียบกันไม่ได้ครับ ... สรุปว่าแพ้ราบคาบ

และขอย้ำว่าที่เห็นน่ะเป็น "ชั้นดินตะกอน" ไม่ใช่เป็น "ชั้นหิน" นะครับอย่างเอามาสับสนปนกัน

---

อันนี้ภาพถ่ายอีกมุมนึงแถวนั้นเหมือนกัน เมื่อเร็วๆ นี้ประมาณกลางปี 2005 ครับ ดินตะกอนดังกล่าวปัจจุบันกลายเป็น
ตลิ่งของทางน้ำ อยู่ในที่ราบหุบเขาเห็นได้ชัดเจน เทียบกับขนาดภูเขาก็จะเห้นได้ว่ามีปริมาณนิดเดียว

(http://vulcan.wr.usgs.gov/Imgs/Jpg/MSH/MSH05/MSH05_aerial_hillsides_and_debris_avalanche_07-13-05_med.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 13:31
เผื่อมีคนสงสัยว่า สภาพพื้นที่บริเวณรอบๆภูเขาไฟ St.Helens เป็นอย่างไร
ก็เลยเอาแผนที่มาให้ดูนะครับ มีสเกลระยะทางเป็นกิโลเมตรให้เทียบด้วย

หุบเขาของแม่น้ำ Toutle ที่ว่ามีดินตะกอนมาสะสม อยู่ทางมุมซ้ายบนแผนที่
(N. Fk. Toutle) โดยที่ปล่องภูเขาไฟ St.Helens ทลายลงทางด้านบนนะครับ

(http://vulcan.wr.usgs.gov/Volcanoes/MSH/Eruption04/Monitoring/ImagesGraphics/map_seismic_locations.gif)


ส่วนภาพภูเขาไฟ St.Helens นี้บันทึกเมื่อช่วงต้นปี 1982 ระหว่างที่มีการระเบิด
โดยมุมกล้องหันเขาหาปากปล่องภูเขาไฟที่ทลาย จะเห็นตะกอนไหลเป็น 2 ทาง
โดยทางขวามือคือแนวตะกอนที่ไหลไปลงหุบเขา Toutle River ครับ

(http://www.geology.sdsu.edu/how_volcanoes_work/Images/lahars/laharmsh_l.jpg)


แถมอีกภาพครับ จากกระสวยอวกาศโคลัมเบีย จะเห็นแนวหุบเขา Toutle River
อยู่ค่อนไปทางมุมขวาบนนะครับ .. เป็นร่องน้ำ(เล็กๆ) กลางหุบเขา  :mrgreen:

(http://www.washington.edu/burkemuseum/geo_history_wa/Cascade%20Episode_files/image002.jpg)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 13:43
นอกจากนี้ คุณ eAT ก็เอาข้อมูลการทดลองของ Sidney W. Fox
เกี่ยวกันการกำเนิดสิ่งมีชีวิต จากสิ่งไม่มีชีวิตมาให้ดูแล้วนะครับ

ที่เห็นคือนักวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ผลิตได้แค่กรดอมิโน แต่ยังพบว่า
มีการฟอร์มตัวเป็นรูปแบบคล้ายเซลล์สิ่งมีชีวิตอีกด้วย

ซึ่งถ้ามีเวลานานพอ(หลายๆ ล้านปี) มันก็เป็นไปได้ว่าจะเกิด
วิวัฒนาการไปเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ซับซ้อน และกลายเป็น
สิ่งมีชีวิตหลายเซล(ในอีกหลายๆ ล้านปีต่อมา)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 14:44
นอกจากนี้ คุณ eAT ก็เอาข้อมูลการทดลองของ Sidney W. Fox
เกี่ยวกันการกำเนิดสิ่งมีชีวิต จากสิ่งไม่มีชีวิตมาให้ดูแล้วนะครับ

ที่เห็นคือนักวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ผลิตได้แค่กรดอมิโน แต่ยังพบว่า
มีการฟอร์มตัวเป็นรูปแบบคล้ายเซลล์สิ่งมีชีวิตอีกด้วย

ซึ่งถ้ามีเวลานานพอ(หลายๆ ล้านปี) มันก็เป็นไปได้ว่าจะเกิด
วิวัฒนาการไปเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ซับซ้อน และกลายเป็น
สิ่งมีชีวิตหลายเซล(ในอีกหลายๆ ล้านปีต่อมา)


วัดอายุโลกได้แน่นอนแล้วเหรอครับ..

มันคล้ายกับความฝันนะครับ ขนาดตั้งใจยังทำไม่ได้

เรื่องบังเอิญแบบที่คิดอย่าสอนเด็กเลยครับ
                                                                       :slime_fighto: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 14:53
(http://www.answersingenesis.org/home/area/cfol/images/fig-35-tn.jpg)

Less dramatic in scale, but directly and awesomely visible, was an eruption of Mt. St. Helens. We have described the first eruption in May of 1980, as the force of water flashing to steam blew the top 1300 feet (400 m) off the north side of the volcano. More to the immediate point was the explosion in June of 1982. The heat generated from that explosion melted frozen mud, producing a mud flow that filled up the North Fork of the Toutle River. The smoke cleared five days later to reveal that the mud flow had been eroded into a zig-zag main channel with many sharply tapered side canyons. Horizontal bands of sediment, some thick, and some exceedingly fine, lined the walls of the newly formed canyon. Right before our eyes, a small volcano (which never even produced a lava flow) had stacked up horizontal bands of sediment, and cut channels through it, forming a 1/40th size “scale model” of Grand Canyon in just five days! All sorts of features once thought to take millions of years of time were formed, instead, by a lot of water in just five days! And my wife and I got to see it on a dizzying flight down the length of that “Little Grand Canyon.” (See Austin video,53 Morris,54 and Fig. 35.)

http://www.answersingenesis.org/home/area/cfol/ch3-grand-canyon.asp

---

ที่คุณ Q ว่า ห้าวันก็เกิดภูเขาหินตะกอนได้ คงหมายถึง คคห.ข้างบน ..  คุณ Q เข้าใจผิดนะครับ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือชั้นดินตะกอนเยือกแข็งละลายกลายเป็นโคลนไหลจากที่สูงลงมาท่วมที่ราบหุบเขา
แล้วชั้นดินตะกอนที่เกิดใหม่ถูกทางน้ำกัดเซาะลึกลงไปภายใน 5 วัน ทั้งหมดเกิดขึ้นเนื่องจากการ
การระเบิดของภูเขาไฟ St. Helens เมื่อปี 1982 หลังจากเคยมีปฏิกิริยามาก่อนเมื่อปี 1980

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ "ชั้นดินตะกอน" ไม่ใช่ "ชั้นหิน" คนละเรื่องเลย อีกกี่ล้านปีจะเป็นหินก็ไม่รู้


ครับเป็นผลิตผลของภูเขาไฟครับ ไม่ได้มาจากทะเลหรือน้ำบนดินโดยตรง

ดังนั้นสภาพทางธรณีวิทยาบริเวณนั้นจีงซับซ้อนครับ..มีชั้นหินที่ทับกันเป็นชั้น

อายุต่างกันตามความคิดเดิม.. ก็เห็นกันอยู่ตรงหน้าครับว่าหินละลายน้ำได้

มีโครงสร้างเหมือนฟองน้ำคือมีรูพรุนในเนื้อหินหลายชนิด สถานะเป็นก๊าซก็ได้ด้วย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 15:01
 :slime_smile:

ลองมาดูความเป็นไปได้ของรูปแบบซีวิตที่มีดีเอ็นเอจะเกิดจากสารอินทรีย์ครับ

The Single Law of Chance  http://creationsafaris.com/epoi_c10.htm

&Eacute;mile Borel, a distinguished French expert on probability, stated what he called “the single law of chance,” or merely “the law of chance,” in these words: “Events whose probability is extremely small never occur”29  He calculated that probabilities smaller than 1/1015 were negligible on the terrestrial scale, and, he said:



--------------------------------------------------------------------------------

Could Chance Arrange the Code for One Gene?                167


    We may be led to set at 10-50 the value of negligible probabilities on the cosmic scale.  When the probability of an event is below this limit, the opposite event may be expected to occur with certainty, whatever the number of occasions presenting themselves in the entire universe.30
    By “opposite event,” he means no event, or failure to occur.  Under the single law of chance, therefore, even a single gene would never be arranged in any usable order in the entire universe, if we apply this statement by the eminent mathematician.  One need only to compare the probability of one gene (10-236) with Borel’s 10-50 which he said is the limit of meaningful probabilities on the cosmic scale.  What would he say to the figure we got for the minimum set for smallest life, namely, a probability of 10-57800?  The ameba’s journeys have made it clear that our minds cannot grasp such an extremely small probability as that involved in the accidental arranging of even one gene (10-236).  By the single law of chance, it will never occur.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 15:05

วัดอายุโลกได้แน่นอนแล้วเหรอครับ..

มันคล้ายกับความฝันนะครับ ขนาดตั้งใจยังทำไม่ได้

เรื่องบังเอิญแบบที่คิดอย่าสอนเด็กเลยครับ
                                                                       :slime_fighto: :slime_cool:

ไม่มีทฤษฎีอะไรคัดค้านได้เลยนะครับ ว่าการรวมกันของโมเลกุลสารอินทรีย์
อย่างที่ตรวจพบในการทดลอง จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจริงๆ ไม่ได้
มันอยู่ที่ "เวลา" ว่าจะเกิดได้เมื่อไหร่เท่านั้นเอง

การมี RNA หรือ DNA ไปอยู่ในโครงสร้างโมเลกุลทรงกลม อาจเกิดในทันที
อย่างรวดเร็วมากเลยก็ได้ หรืออาจใช้เวลายาวนานหลายล้านปีก็ได้

ในขณะที่การเกิด "ชั้นหิน" มันทำไม่ได้อย่างรวดเร็วในทันทีนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 15:12

ครับเป็นผลิตผลของภูเขาไฟครับ ไม่ได้มาจากทะเลหรือน้ำบนดินโดยตรง

ดังนั้นสภาพทางธรณีวิทยาบริเวณนั้นจีงซับซ้อนครับ..มีชั้นหินที่ทับกันเป็นชั้น

อายุต่างกันตามความคิดเดิม.. ก็เห็นกันอยู่ตรงหน้าครับว่าหินละลายน้ำได้

มีโครงสร้างเหมือนฟองน้ำคือมีรูพรุนในเนื้อหินหลายชนิด สถานะเป็นก๊าซก็ได้ด้วย

คุณ Q พยายามอธิบายเรื่องอะไรครับ?

ที่ผมอธิบายมาทั้งหมดคือต้องการชี้ว่าตัวอย่างที่ยกมาเป็นการเกิด "ชั้นดิน" ไม่ใช่ "ชั้นหิน"
ยกเอามาอ้างเป็นตัวอย่างว่ามีชั้นหินเกิดขึ้นภายใน 5 วันไม่ได้ครับ
เรื่องหินละลายน้ำได้ มีรูพรุน หรือเป็นก๊าซ ไปพูดถึงทำไมครับไม่เกี่ยวกันเลย?  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 15:17
และอีกประเด็นที่ผมต้องการชี้ก็คือปริมาณของตะกอนตามตัวอย่าง
มีเพียงนิดเดียว ถ้าจะเอามาเทียบกับ Grand Canyon นะครับ

หาที่ขนาดมันใหญ่โต พอสมน้ำสมเนื้อกันมาให้ดูหน่อยสิครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 15:55

อ้นนี้น่าเชื่อกว่า แนวคิดของดาร์วิน


Creative Evolution: An Anti-Darwin Theory Won a Nobel  http://www.icr.org/article/98/
by Jerry Bergman, Ph.D*
Abstract

An anti-Darwinian theory of biological origins that was well received and widely accepted for years was creative evolution. This theory attempted to deal with some of the major problems of Darwin's theory, especially the origin of biological information. Developed by Henri Bergson, the level of the theory's acceptance is indicated by the fact that the author was awarded the Nobel Prize for his work in this area. It is the only Nobel ever awarded for an anti-Darwinian theory of biological origins.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 16:00

ครับเป็นผลิตผลของภูเขาไฟครับ ไม่ได้มาจากทะเลหรือน้ำบนดินโดยตรง

ดังนั้นสภาพทางธรณีวิทยาบริเวณนั้นจีงซับซ้อนครับ..มีชั้นหินที่ทับกันเป็นชั้นๆ

อายุต่างกันตามความคิดเดิม.. ก็เห็นกันอยู่ตรงหน้าครับว่าหินละลายน้ำได้

มีโครงสร้างเหมือนฟองน้ำคือมีรูพรุนในเนื้อหินหลายชนิด สถานะเป็นก๊าซก็ได้ด้วย

คุณ Q พยายามอธิบายเรื่องอะไรครับ?

ที่ผมอธิบายมาทั้งหมดคือต้องการชี้ว่าตัวอย่างที่ยกมาเป็นการเกิด "ชั้นดิน" ไม่ใช่ "ชั้นหิน"
ยกเอามาอ้างเป็นตัวอย่างว่ามีชั้นหินเกิดขึ้นภายใน 5 วันไม่ได้ครับ
เรื่องหินละลายน้ำได้ มีรูพรุน หรือเป็นก๊าซ ไปพูดถึงทำไมครับไม่เกี่ยวกันเลย?  :slime_doubt:


บอกไปแล้วในความเห็นก่อนๆครับ ว่ามีปรากฎการณ์เกิดขึ้นพร้อมกันหลายอย่างในช่วงเวลาไม่ถึงหมืนปีครับ

ไม่ใช่เป็นล้านปี ตามสมมุติฐานของคุณจีรศักดิ์ ซึ่งแม้แต่การคำนวณอายุโลก ผมยังไม่ทราบเลยว่า

ยึดถือและใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการคำนวณและยกมาอ้างครับ คุณจีรศักดิ์ ได้อ่านส่วนที่ว่าชั้นหินข้ามยุคเกิดขึ้นได้อย่างไรทับซ้อนกันเป็นชั้นหรือเปล่าครับ??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 19-08-2007, 16:05
ด้วยความเคารพในภูมิความรู้ของทุกท่าน แต่ดั่งกับคุยกันอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ หรือไม่ก็อยู่คนละลำเรือ และล่องขนานกันไปเรื่อย ๆๆๆๆ ไม่บรรจบกันซักที  :slime_smile:

ขอให้สนุกสนานในการถกประเด็นปัญหาต่อไปนะคะ จะเอาใจช่วยค่ะ (อ่านแต่ความเห็นของทุกท่านทั้งหมด ส่วนทีนำมาแปะ  ขออนุญาตมองข้ามไป อาจจะดูรูปและไฮไลต์ประกอบนิดหน่อยเพราะตาลายยย  :mrgreen:)

 :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 16:13
ไม่มีทฤษฎีอะไรคัดค้านได้เลยนะครับ ว่าการรวมกันของโมเลกุลสารอินทรีย์
อย่างที่ตรวจพบในการทดลอง จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจริงๆ ไม่ได้
มันอยู่ที่ "เวลา" ว่าจะเกิดได้เมื่อไหร่เท่านั้นเอง

การมี RNA หรือ DNA ไปอยู่ในโครงสร้างโมเลกุลทรงกลม อาจเกิดในทันที
อย่างรวดเร็วมากเลยก็ได้ หรืออาจใช้เวลายาวนานหลายล้านปีก็ได้

ในขณะที่การเกิด "ชั้นหิน" มันทำไม่ได้อย่างรวดเร็วในทันทีนะครับ


สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ก็มีเพียงความน่าจะเป็นก็คัดค้านได้แล้วละครับ..ตามตัวอย่างการคำนวณที่ผมยกมาในความเห็นก่อนหน้านี้

ที่สำคัญมันไม่เคยพิสูจน์ว่าเกิดขึ้นได้จริงครับ..จึงนับเป็นเพียงสมมุติฐาน แปลความไปเชื่อมต่อว่าเป็นจุดกำเนิดของชีวิตไม่ได้ ด้วยระยะเวลานานแค่ไหนก้ตาม

โดยบังเอิญ  เพราะแม้ตั้งใจทำยังไม่สามมารถทำได้ เซลล์แบคทีเรียที่ตายแล้วยังไม่สามารถทำให้กลับมีชีวิตได้เลย

อ้างถึง
The Single Law of Chance  http://creationsafaris.com/epoi_c10.htm

&Eacute;mile Borel, a distinguished French expert on probability, stated what he called “the single law of chance,” or merely “the law of chance,” in these words: “Events whose probability is extremely small never occur”29  He calculated that probabilities smaller than 1/1015 were negligible on the terrestrial scale, and, he said:



--------------------------------------------------------------------------------

Could Chance Arrange the Code for One Gene?           


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 16:25
คุณ Q ว่าเรื่อง Plate Tectonic "เละ" ยังไงหรือครับ เอาแค่เรื่องที่พบ Fossil ชนิดเดียวกัน
ในพื้นที่ห่างกันหลายพันกิโลเมตร ก็บ่งชี้แล้วว่าแต่ละทวีปเคยอยู่ติดกันมาก่อนในอดีต

และคุณ Q ก็ยอมรับเองว่าเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้แต่เคลื่อนช้ามากจนเราสังเกตไม่เห็น
ก็ใช่ไงครับถึงต้องใช้เวลาหลายร้อยล้านปี จึงกลายเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

หรือคุณ Q จะบอกว่าตามตัวอย่างทวีป Gondwana ข้างล่างนี้ก็ใช้เวลาแค่ 250,000 ปี
(หรือ 5 พันปี) เคลื่อนตัวกลายเป็นตำแหน่งเปลือกทวีปในปัจจุบัน (จากเดิม 200 ล้านปี)

(http://www.joergresag.privat.t-online.de/mybk4htm/gondwana.png)

ผมไม่คิดจะข้ามประเด็นไปเชื่อมโยงเรื่องอายุไลก เพราะเรื่องเปลือกโลกนักธรณีวิทยาเองก็ยังเถียงกันไม่จบ

สัตว์ที่ว่าพบ มันก็พบได้ทั่วไป ในทุกเขตของโลก อย่างมนุษย์ พบได้ทุกทวีปเลยครับ ไม่ได้เกี่ยวกับเปลือกโลกเคลือนตัว คืออพยพหรือเดินทางได้

สัตว์ต่างๆก็คงเช่นเดียวกัน นกบินอพยพได้หลายพันไมล์


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 16:41
ผมไม่คิดจะข้ามประเด็นไปเชื่อมโยงเรื่องอายุไลก เพราะเรื่องเปลือกโลกนักธรณีวิทยาเองก็ยังเถียงกันไม่จบ

สัตว์ที่ว่าพบ มันก็พบได้ทั่วไป ในทุกเขตของโลก อย่างมนุษย์ พบได้ทุกทวีปเลยครับ ไม่ได้เกี่ยวกับเปลือกโลกเคลือนตัว คืออพยพหรือเดินทางได้

สัตว์ต่างๆก็คงเช่นเดียวกัน นกบินอพยพได้หลายพันไมล์
งั้นลองบอกหน่อยสิว่าสัตว์ที่ถูกจำกัดการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ด้วยอุณหภูมิหรือน้ำทะเล ทำไมถึงแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้ ทั้งเอเชีย ออสเตรเลีย อเมริกา ซึ่งถ้าจะข้ามต้องผ่านน้ำทะเลหรือผ่านในที่ ๆ มีอุณหภูมิเย็นจัด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 16:53
ด้วยความเคารพในภูมิความรู้ของทุกท่าน แต่ดั่งกับคุยกันอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ หรือไม่ก็อยู่คนละลำเรือ และล่องขนานกันไปเรื่อย ๆๆๆๆ ไม่บรรจบกันซักที  :slime_smile:

ขอให้สนุกสนานในการถกประเด็นปัญหาต่อไปนะคะ จะเอาใจช่วยค่ะ (อ่านแต่ความเห็นของทุกท่านทั้งหมด ส่วนทีนำมาแปะ  ขออนุญาตมองข้ามไป อาจจะดูรูปและไฮไลต์ประกอบนิดหน่อยเพราะตาลายยย  :mrgreen:)

 :slime_v:

ครับคุณเม่ย..  :slime_smile:

จะพยายามจัดหารูปสวยๆ มาลงประกอบให้ดูนะครับ
ส่วนเรื่องข้อความถ้าตาลายก็มองข้ามๆ ไปแล้วกัน :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 17:00

งั้นลองบอกหน่อยสิว่าสัตว์ที่ถูกจำกัดการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ด้วยอุณหภูมิหรือน้ำทะเล ทำไมถึงแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้ ทั้งเอเชีย ออสเตรเลีย อเมริกา ซึ่งถ้าจะข้ามต้องผ่านน้ำทะเลหรือผ่านในที่ ๆ มีอุณหภูมิเย็นจัด

คุณยกตัวอย่างมาดีกว่า ถ้าคิดว่าสนับสนุนความคิดคุณนะ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 17:03
ด้วยความเคารพในภูมิความรู้ของทุกท่าน แต่ดั่งกับคุยกันอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ หรือไม่ก็อยู่คนละลำเรือ และล่องขนานกันไปเรื่อย ๆๆๆๆ ไม่บรรจบกันซักที  :slime_smile:

ขอให้สนุกสนานในการถกประเด็นปัญหาต่อไปนะคะ จะเอาใจช่วยค่ะ (อ่านแต่ความเห็นของทุกท่านทั้งหมด ส่วนทีนำมาแปะ  ขออนุญาตมองข้ามไป อาจจะดูรูปและไฮไลต์ประกอบนิดหน่อยเพราะตาลายยย  :mrgreen:)

 :slime_v:

รูปใช้มากไป เนื้อหาก็จะถูกบิดเบือนได้ครับ..อิอิ คงคล้ายกับการโฆษณาสมัยใหม่ หรือหนังฮอลลีวูด  :slime_bigsmile: :slime_cool::slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 17:08
ตัวอย่างข้อมูลความคิดทางธรณีวิทยา ที่เชื่อมโยงกับระยะเวลาที่รวดเร็วโดยตรง  

Recent Rapid Uplift of Today's Mountains  http://www.icr.org/article/98/
by John Baumgardner, Ph.D.

During the rapid subduction, the overlying continental surface tends to be depressed, even below sea level, due to the powerful dynamical forces produced by the sinking ocean slab below, despite the buoyancy of the thick layer of continental crust above. But when the process of rapid subduction shuts down, these dynamical forces disappear, and the buoyancy forces take over to elevate the zone of thickened crust toward a state of isostatic balance. The uplift of high mountains at the close of this episode of rapid subduction is therefore a logical after effect of this runaway process. Within the Flood framework, the timing of the uplift, unfolding in the centuries following the cataclysm, is just what one should expect based on simple mechanics considerations. On the other hand, no mechanical response in terms of uplift during tens of millions of years of tectonic forcing followed by a sudden pulse of uplift poses a serious problem for the uniformitarian framework.

Yet an equally bewildering difficulty for a uniformitarian is the widespread presence of what are known as planation surfaces that pre-date this global pulse of mountain building. Ollier and Pain document dozens of examples where regions that were later uplifted to form mountain ranges were first beveled to nearly flat surfaces by intense erosion just prior to uplift. These authors puzzle how the tectonic forces could have ceased operating long enough for erosion to have abraded away hundreds to thousands of feet of rock to form flat topography and then be unleashed again to uplift rapidly the entire region by many thousands of feet. The Flood framework provides the obvious answer. The beveling flat of such broad expanses of terrain was the logical consequence of the runoff from the Flood. And it would have occurred just prior to when the uplift took place.

Whitcomb and Morris, 45 years ago in their classic book, The Genesis Flood, pointed out the remarkable timing of the uplift of the present mountains as being after the Flood. They write, "It is extremely interesting . . . to note that most of the present mountain ranges of the world are believed to have been uplifted (on the basis of fossil evidence) during the Pleistocene or late Pliocene."4 They then quote a paper that provides documentation from North America, Europe, Asia, South America, and Africa. Surely it is time for evolutionists as well as creationists to give attention to this evidence that so strongly supports a recent global Flood.



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 17:24
คุณยกตัวอย่างมาดีกว่า ถ้าคิดว่าสนับสนุนความคิดคุณนะ
พวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกไงครับ หรือสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นสัตว์บก สัตว์พวกนี้แพร่กระจายผ่านน้ำทะเลหรือผ่านเขตอาร์กติกไปได้อย่างไรครับ เช่น ปาดในสกุล Hyla ที่พบทั้งในเขตโลกเก่าและเขตโลกใหม่ มันแพร่กระจายได้อย่างไรครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 17:43


พวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกไงครับ หรือสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นสัตว์บก สัตว์พวกนี้แพร่กระจายผ่านน้ำทะเลหรือผ่านเขตอาร์กติกไปได้อย่างไรครับ เช่น ปาดในสกุล Hyla ที่พบทั้งในเขตโลกเก่าและเขตโลกใหม่ มันแพร่กระจายได้อย่างไรครับ


คือปัญหาคือ กรอบความคิดคุณถูกจำกัดด้วยระยะเวลาเป็นล้านปี ถูกไม๊?

ผมก็โต้แย้งว่าทราบได้อย่างไร? ในเมื่อวิธีการคำนวณยังไม่ชัดเจน ว่าโลกอายุเท่าไร?

แต่ละทวีปอายุมากกว่ากันจากสมุติฐานอะไร?

ในเมื่อสภาพแวดล้อมมันอยู่ได้ มันก็มีอยู่ ทราบได้อย่างไรว่าประเภทใดอพยพ..?จากที่ใดไปที่ใดบ้าง?

นกผมเชื่อแน่ว่าบินไปได้ ปลาและสัตว์ทะเลก็ว่ายน้ำไปได้..

มนุษย์ก็เป็นพาหะที่ดีมาก ทุกวันนี้มีการซื้อขายสัตว์ทุกชนิด...?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 18:08
เหมือนกับที่ผมพยายามถามครับว่า ทราบได้อย่างไรว่าสัตว์แต่ละชนิดเกิดขึ้นมาในโลกได้อย่างไร?

ท่านที่เชื่อการวิวัฒน์ก็จะหนีไม่พ้น กรอบความคิดที่ชี้นำผลการวิจัยหรือคิดไว้แล้ว ว่าพัฒนาตามกันมาเป็นลำดับ..

ขณะที่พยายามหาความเชื่อมโยงจริงๆ ก็ขาดจุดสำคัญที่ผมท้าทายไว้แล้ว..


ว่าไม่พบว่ามีสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตแม้แต่ครั้งเดียว ในหลายพันปีที่มนุษย์ปัจจุบันเริ่มศึกษาสิ่งต่างๆ

ไม่พบบรรพบุรุษทีเชื่อมโยงมนุษย์ปัจจุบันกับบรรพบุรุษของลิง หรือจะเป็นลิงเองก็ตาม..

ทำไมบรรพบุรุษใกล้ชิดที่สุดของมนุษย์สูญพันธุ์ไปได้อย่างรวดเร็ว และพบตัวอย่างซากหรือฟอลซิลน้อยมาก?

ระยะเวลาต้องมีเครื่องชี้วัดที่แม่นยำครับ เพราะแม้แต่หินต่างๆก็เอนเอียงไปตามสมุมุติฐานทั้งสิ้น

ชั้นน้ำแข็งของคุณจีรศักดิ์ที่ว่าเป็นแสนปีผม ก็ยังไม่เห็นวิธีคำนวณอายุเลย?

คงใช้สมมุติฐานมาคำนวณอายุจริงไม่ได้หรอกครับ

ต้องเก็บตัวอย่าง และมีวิธีการที่เป็นกลาง



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 18:25
 

ฝ้ายก็พบในเขตโลกเก่าและโลกใหม่

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK3/chapter3/t3-3-l1.htm


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 18:59
ผมไม่คิดจะข้ามประเด็นไปเชื่อมโยงเรื่องอายุไลก เพราะเรื่องเปลือกโลกนักธรณีวิทยาเองก็ยังเถียงกันไม่จบ

สัตว์ที่ว่าพบ มันก็พบได้ทั่วไป ในทุกเขตของโลก อย่างมนุษย์ พบได้ทุกทวีปเลยครับ ไม่ได้เกี่ยวกับเปลือกโลกเคลือนตัว คืออพยพหรือเดินทางได้

สัตว์ต่างๆก็คงเช่นเดียวกัน นกบินอพยพได้หลายพันไมล์

คุณ Q ยกตัวอย่างเรื่องการอพยพของคน กับการอพยพของนก .. จะคุยตลกกันหรือครับ

คนต่อเรือได้ ส่วนนกก็มีปีกครับ นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเจอ Fossil คนหรือนก
สายพันธุ์เดียวกันในต่างทวีป  ตัวอย่าง Fossil ที่ยกมาเป็นสัตว์บกไม่มีปีก และไม่ใช่คนครับ

ในเมื่อคุณ Q ก็ยอมรับว่าเปลือกทวีปเคลื่อนที่ได้ ทำไมไม่ยอมรับว่าแต่ละทวีปเคยติดกัน
หรือเพราะมันจะไปขัดกับทฤษฎีโลกอายุน้อย  จะเชื่อเพียงว่าทวีปเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เชื่อว่า
ในอดีตทวีปเคยอยู่ติดกัน แบบนี้ก็ "เลือกเชื่อ" เฉพาะที่ไม่ขัดกับเรื่องโลกอายุน้อยสิครับ

ถ้าจะเปรียบเทียบจากที่คุณ Q บอกว่าสัตว์ต่างๆ ก็พบได้ทั่วไป ในทุกเขตทั่วโลกนะครับ
ถามว่าทำไมเราไม่พบหมีโคอะล่าที่อเมริกา  ทำไมเราไม่พบกระทิงไบซันที่ออสเตรเลีย
ทำไมเราไม่พบยีราฟที่ประเทศไทย (อย่าบอกว่ามีที่สวนสัตว์นะครับ จะตลกไปกันใหญ่)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 19:08
คุณ Q ยกตัวอย่างเรื่องการอพยพของคน กับการอพยพของนก .. จะคุยตลกกันหรือครับ

คนต่อเรือได้ ส่วนนกก็มีปีกครับ นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเจอ Fossil คนหรือนก
สายพันธุ์เดียวกันในต่างทวีป  ตัวอย่าง Fossil ที่ยกมาเป็นสัตว์บกไม่มีปีก และไม่ใช่คนครับ

ในเมื่อคุณ Q ก็ยอมรับว่าเปลือกทวีปเคลื่อนที่ได้ ทำไมไม่ยอมรับว่าแต่ละทวีปเคยติดกัน
หรือเพราะมันจะไปขัดกับทฤษฎีโลกอายุน้อย  จะเชื่อเพียงว่าทวีปเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เชื่อว่า
ในอดีตทวีปเคยอยู่ติดกัน แบบนี้ก็ "เลือกเชื่อ" เฉพาะที่ไม่ขัดกับเรื่องโลกอายุน้อยสิครับ

ถ้าจะเปรียบเทียบจากที่คุณ Q บอกว่าสัตว์ต่างๆ ก็พบได้ทั่วไป ในทุกเขตทั่วโลกนะครับ
ถามว่าทำไมเราไม่พบหมีโคอะล่าที่อเมริกา  ทำไมเราไม่พบกระทิงไบซันที่ออสเตรเลีย
ทำไมเราไม่พบยีราฟที่ประเทศไทย (อย่าบอกว่ามีที่สวนสัตว์นะครับ จะตลกไปกันใหญ่)

ยกตัวอย่างนะครับ..

http://midnightuniv.org/midnight2544/0009999735.html

สัตว์ที่นำมาเลี้ยงให้เชื่องได้
เรามาลองหาเหตุผลย้อนไปอีกขั้นหนึ่งที่ว่า ทำไม Eurasia จึงมีพันธุ์สัตว์ป่าที่คนนำมาเลี้ยงให้เชื่องเป็น "สัตว์เลี้ยง" มากกว่าในทวีปอเมริกา? การที่อเมริกามีสัตว์ป่าเฉพาะถิ่นกว่าหนึ่งพันชนิด น่าจะทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์เลี้ยงชั้นเลิศมิใช่หรือ?

แต่ในความเป็นจริง โลกนี้มีสัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงไม่กี่ชนิด ที่คนนำมาเลี้ยงให้เชื่องได้ ทั้งนี้เพราะการเลี้ยงสัตว์ให้เชื่องมีเงื่อนไขมากมาย: สัตว์ชนิดนั้นต้องกินอาหารประเภทที่มนุษย์สามารถหาให้ได้, มีอัตราการเติบโตสูง, ยอมผสมพันธุ์ในที่กักขัง, มีนิสัยว่านอนสอนง่าย, มีโครงสร้างสังคมที่ยอมตกอยู่ใต้อาณัติของสัตว์อื่นที่มีอำนาจเหนือกว่า, และมีแนวโน้มต่ำที่จะแตกตื่นเมื่อถูกล้อมกรอบ หลายพันปีมาแล้ว สัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดที่เลี้ยงได้ ที่มีคุณสมบัติตรงกับเงื่อนไขที่ยกมา ได้ถูกมนุษย์ทำให้เชื่องเป็นสัตว์เลี้ยงไปหมด ผลก็คือไม่มีสัตว์ป่าพันธุ์อื่นอีกแล้วที่มนุษย์นำมาเลี้ยงหลังจากนั้น แม้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่จะพยายามเพียงใดก็ตาม

ทวีป Eurasia มีพันธุ์สัตว์ป่าที่มนุษย์นำมาเลี้ยง ในจำนวนมากกว่าทวีปอื่นๆ ส่วนหนึ่งเพราะมันเป็นพื้นแผ่นดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีพันธุ์สัตว์ป่ามากที่สุดตั้งแต่แรก ความแตกต่างระหว่าง Eurasia และทวีปอื่นๆ ในแง่นี้ขยายห่างมากกว่าเดิมเมื่อ 13,000 ปีก่อน ณ จุดจบของยุคน้ำแข็งยุคสุดท้าย (the last Ice Age) ที่นำมาซึ่งการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่แทบทั้งหมด ซึ่งอาจเกิดจากการถูกล่าโดยอินเดียนแดงเผ่าแรกๆ ผลที่ตามมาคือ ชาวอินเดียนแดงเผชิญกับภาวะที่จำนวนสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ มีจำนวนน้อยกว่าในทวีป Eurasia มาก คือเหลือเพียงตัวลามะ (llama) และอัลปาก้า (alpaca คือสัตว์ขนปุยคล้ายแกะ) ที่นำมาเลี้ยงได้เท่านั้น


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 19:14


อ้างถึง
ในเมื่อคุณ Q ก็ยอมรับว่าเปลือกทวีปเคลื่อนที่ได้ ทำไมไม่ยอมรับว่าแต่ละทวีปเคยติดกัน
หรือเพราะมันจะไปขัดกับทฤษฎีโลกอายุน้อย  จะเชื่อเพียงว่าทวีปเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เชื่อว่า
ในอดีตทวีปเคยอยู่ติดกัน แบบนี้ก็ "เลือกเชื่อ" เฉพาะที่ไม่ขัดกับเรื่องโลกอายุน้อยสิครับ

มันมีคำอธิบายที่น่าเชื่อถือกว่าครับ เช่นการยกตัว และยุบตัวของเปลือกโลก รวมทั้งการสะสมตัวจากสิ่งที่ออกมาจากภูเขาไฟ และโคลนหรือตะกอนต่างๆ  น้ำท่วมใหญ่ น้ำใต้ดินใต้เปลือกโลกชั้นบนซึ่งมีสภาพเหมือนฟองน้ำ

การที่เปลือกโลกใต้ทะเลก็มีด้วยไม่เพียงส่วนที่เราเหห็นบนบก การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกไม่มากนักก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงแล้วครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 19:30

มันมีคำอธิบายที่น่าเชื่อถือกว่าครับ เช่นการยกตัว และยุบตัวของเปลือกโลก รวมทั้งการสะสมตัวจากสิ่งที่ออกมาจากภูเขาไฟ และโคลนหรือตะกอนต่างๆ  น้ำท่วมใหญ่ น้ำใต้ดินใต้เปลือกโลกชั้นบนซึ่งมีสภาพเหมือนฟองน้ำ

การที่เปลือกโลกใต้ทะเลก็มีด้วยไม่เพียงส่วนที่เราเหห็นบนบก การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกไม่มากนักก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงแล้วครับ..

ตอบอะไรมาครับ ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย  :slime_doubt:

ตกลงคุณ Q ไม่เชื่อว่าอเมริกาใต้ เคยอยู่ติดกับแอฟริกา อย่างนั้นหรือครับ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 19:32
อันนี้บทความบ่งชี้หลักฐาน ประกอบความคิดเขา หลายอันผมสงสัยมาก่อนอ่านบทความนี้

Evidence for a Young World  http://www.icr.org/article/1842/
by D. Russell Humphreys, Ph.D.
 Download Evidence for a Young World PDF


(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-384a.jpg)
 
Spiral galaxy NGC 1232 in constellation Eridanus. Photo: European Southern Observatory


Here are fourteen natural phenomena which conflict with the evolutionary idea that the universe is billions of years old. The numbers listed below in bold print (usually in the millions of years) are often maximum possible ages set by each process, not the actual ages. The numbers in italics are the ages required by evolutionary theory for each item. The point is that the maximum possible ages are always much less than the required evolutionary ages, while the Biblical age (6,000 years) always fits comfortably within the maximum possible ages. Thus, the following items are evidence against the evolutionary time scale and for the Biblical time scale. Much more young-world evidence exists, but I have chosen these items for brevity and simplicity. Some of the items on this list can be reconciled with the old-age view only by making a series of improbable and unproven assumptions; others can fit in only with a recent creation.

1. Galaxies wind themselves up too fast.
The stars of our own galaxy, the Milky Way, rotate about the galactic center with different speeds, the inner ones rotating faster than the outer ones. The observed rotation speeds are so fast that if our galaxy were more than a few hundred million years old, it would be a featureless disc of stars instead of its present spiral shape.1 Yet our galaxy is supposed to be at least 10 billion years old. Evolutionists call this "the winding-up dilemma," which they have known about for fifty years. They have devised many theories to try to explain it, each one failing after a brief period of popularity. The same "winding-up" dilemma also applies to other galaxies. For the last few decades the favored attempt to resolve the puzzle has been a complex theory called "density waves."1 The theory has conceptual problems, has to be arbitrarily and very finely tuned, and has been called into serious question by the Hubble Space Telescope's discovery of very detailed spiral structure in the central hub of the "Whirlpool" galaxy, M51.2

2. Too few supernova remnants.

(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-384b.jpg)

Crab Nebula
Photo: Courtesy of NASA


According to astronomical observations, galaxies like our own experience about one supernova (a violently-exploding star) every 25 years. The gas and dust remnants from such explosions (like the Crab Nebula) expand outward rapidly and should remain visible for over a million years. Yet the nearby parts of our galaxy in which we could observe such gas and dust shells contain only about 200 supernova remnants. That number is consistent with only about 7,000 years worth of supernovas.3

3. Comets disintegrate too quickly.
According to evolutionary theory, comets are supposed to be the same age as the solar system, about five billion years. Yet each time a comet orbits close to the sun, it loses so much of its material that it could not survive much longer than about 100,000 years. Many comets have typical ages of less than 10,000 years.4 Evolutionists explain this discrepancy by assuming that (a) comets come from an unobserved spherical "Oort cloud" well beyond the orbit of Pluto, (b) improbable gravitational interactions with infrequently passing stars often knock comets into the solar system, and (c) other improbable interactions with planets slow down the incoming comets often enough to account for the hundreds of comets observed.5 So far, none of these assumptions has been substantiated either by observations or realistic calculations. Lately, there has been much talk of the "Kuiper Belt," a disc of supposed comet sources lying in the plane of the solar system just outside the orbit of Pluto. Some asteroid-sized bodies of ice exist in that location, but they do not solve the evolutionists' problem, since according to evolutionary theory, the Kuiper Belt would quickly become exhausted if there were no Oort cloud to supply it.

4. Not enough mud on the sea floor.

(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-384c.jpg)
Rivers and dust storms dump mud into the sea much faster than plate tectonic sub-duction can remove it.

 
Each year, water and winds erode about 20 billion tons of dirt and rock from the continents and deposit it in the ocean.6 This material accumulates as loose sediment on the hard basaltic (lava-formed) rock of the ocean floor. The average depth of all the sediment in the whole ocean is less than 400 meters.7 The main way known to remove the sediment from the ocean floor is by plate tectonic subduction. That is, sea floor slides slowly (a few cm/year) beneath the continents, taking some sediment with it. According to secular scientific literature, that process presently removes only 1 billion tons per year.7 As far as anyone knows, the other 19 billion tons per year simply accumulate. At that rate, erosion would deposit the present mass of sediment in less than 12 million years. Yet according to evolutionary theory, erosion and plate subduction have been going on as long as the oceans have existed, an alleged three billion years. If that were so, the rates above imply that the oceans would be massively choked with sediment dozens of kilometers deep. An alternative (creationist) explanation is that erosion from the waters of the Genesis flood running off the continents deposited the present amount of sediment within a short time about 5,000 years ago.

5. Not enough sodium in the sea.

(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-384d.jpg)

Every year, rivers8 and other sources9 dump over 450 million tons of sodium into the ocean. Only 27% of this sodium manages to get back out of the sea each year.9,10 As far as anyone knows, the remainder simply accumulates in the ocean. If the sea had no sodium to start with, it would have accumulated its present amount in less than 42 million years at today's input and output rates.10 This is much less than the evolutionary age of the ocean, three billion years. The usual reply to this discrepancy is that past sodium inputs must have been less and outputs greater. However, calculations that are as generous as possible to evolutionary scenarios still give a maximum age of only 62 million years.10 Calculations11 for many other seawater elements give much younger ages for the ocean.

6. The earth's magnetic field is decaying too fast.

 
(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-384e.jpg)
Electrical resistance in the earth's core wears down the electrical current which produces the earth's magnetic field. That causes the field to lose energy rapidly.


The total energy stored in the earth's magnetic field ("dipole" and "non-dipole") is decreasing with a half-life of 1,465 (&plusmn; 165) years.12 Evolutionary theories explaining this rapid decrease, as well as how the earth could have maintained its magnetic field for billions of years are very complex and inadequate. A much better creationist theory exists. It is straightforward, based on sound physics, and explains many features of the field: its creation, rapid reversals during the Genesis flood, surface intensity decreases and increases until the time of Christ, and a steady decay since then.13 This theory matches paleomagnetic, historic, and present data, most startlingly with evidence for rapid changes.14 The main result is that the field's total energy (not surface intensity) has always decayed at least as fast as now. At that rate the field could not be more than 20,000 years old.15

7. Many strata are too tightly bent.
In many mountainous areas, strata thousands of feet thick are bent and folded into hairpin shapes. The conventional geologic time scale says these formations were deeply buried and solidified for hundreds of millions of years before they were bent. Yet the folding occurred without cracking, with radii so small that the entire formation had to be still wet and unsolidified when the bending occurred. This implies that the folding occurred less than thousands of years after deposition.16

8. Biological material decays too fast.
(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-384f.jpg)
Natural radioactivity, mutations, and decay degrade DNA and other biological material rapidly. Measurements of the mutation rate of mitochondrial DNA recently forced researchers to revise the age of "mitochondrial Eve" from a theorized 200,000 years down to possibly as low as 6,000 years.17 DNA experts insist that DNA cannot exist in natural environments longer than 10,000 years, yet intact strands of DNA appear to have been recovered from fossils allegedly much older: Neandertal bones, insects in amber, and even from dinosaur fossils.18 Bacteria allegedly 250 million years old apparently have been revived with no DNA damage.19 Soft tissue and blood cells from a dinosaur have astonished experts.20

9. Fossil radioactivity shortens geologic "ages" to a few years.
(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-384g.jpg)
Radio Halo, Photo: Courtesy of Mark Armitage
 
Radiohalos are rings of color formed around microscopic bits of radioactive minerals in rock crystals. They are fossil evidence of radioactive decay.21 "Squashed" Polonium-210 radiohalos indicate that Jurassic, Triassic, and Eocene formations in the Colorado plateau were deposited within months of one another, not hundreds of millions of years apart as required by the conventional time scale.22 "Orphan" Polonium-218 radiohalos, having no evidence of their mother elements, imply accelerated nuclear decay and very rapid formation of associated minerals.23,24

10. Too much helium in minerals.

Uranium and thorium generate helium atoms as they decay to lead. A study published in the Journal of Geophysical Research showed that such helium produced in zircon crystals in deep, hot Precambrian granitic rock has not had time to escape.25 Though the rocks contain 1.5 billion years worth of nuclear decay products, newly-measured rates of helium loss from zircon show that the helium has been leaking for only 6,000 (&plusmn; 2000) years.26 This is not only evidence for the youth of the earth, but also for episodes of greatly accelerated decay rates of long half-life nuclei within thousands of years ago, compressing radioisotope timescales enormously.

11. Too much carbon 14 in deep geologic strata.

(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-384h.jpg)
With their short 5,700-year half-life, no carbon 14 atoms should exist in any carbon older than 250,000 years. Yet it has proven impossible to find any natural source of carbon below Pleistocene (Ice Age) strata that does not contain significant amounts of carbon 14, even though such strata are supposed to be millions or billions of years old. Conventional carbon 14 laboratories have been aware of this anomaly since the early 1980s, have striven to eliminate it, and are unable to account for it. Lately the world's best such laboratory which has learned during two decades of low-C14 measurements how not to contaminate specimens externally, under contract to creationists, confirmed such observations for coal samples and even for a dozen diamonds, which cannot be contaminated in situ with recent carbon.27 These constitute very strong evidence that the earth is only thousands, not billions, of years old.

12. Not enough Stone Age skeletons.
Evolutionary anthropologists now say that Homo sapiens existed for at least 185,000 years before agriculture began,28 during which time the world population of humans was roughly constant, between one and ten million. All that time they were burying their dead, often with artifacts. By that scenario, they would have buried at least eight billion bodies.29 If the evolutionary time scale is correct, buried bones should be able to last for much longer than 200,000 years, so many of the supposed eight billion stone age skeletons should still be around (and certainly the buried artifacts). Yet only a few thousand have been found. This implies that the Stone Age was much shorter than evolutionists think, perhaps only a few hundred years in many areas.

13. Agriculture is too recent.
(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-384i.jpg)

The usual evolutionary picture has men existing as hunters and gatherers for 185,000 years during the Stone Age before discovering agriculture less than 10,000 years ago.29 Yet the archaeological evidence shows that Stone Age men were as intelligent as we are. It is very improbable that none of the eight billion people mentioned in item 12 should discover that plants grow from seeds. It is more likely that men were without agriculture for a very short time after the Flood, if at all.31



 

14. History is too short.
According to evolutionists, Stone Age Homo sapiens existed for 190,000 years before beginning to make written records about 4,000 to 5,000 years ago. Prehistoric man built megalithic monuments, made beautiful cave paintings, and kept records of lunar phases.30 Why would he wait two thousand centuries before using the same skills to record history? The Biblical time scale is much more likely.31

References
Scheffler, H. and Elsasser, H., Physics of the Galaxy and Interstellar Matter, Springer-Verlag (1987) Berlin, pp. 352-353, 401-413.
D. Zaritsky, H-W. Rix, and M. Rieke, Inner spiral structure of the galaxy M51, Nature 364:313-315 (July 22, 1993).
Davies, K., Distribution of supernova remnants in the galaxy, Proceedings of the Third International Conference on Creationism, vol. II, Creation Science Fellowship (1994), Pittsburgh, PA, pp. 175-184, order from http://www.icc03.org/proceedings.htm.
Steidl, P. F., Planets, comets, and asteroids, Design and Origins in Astronomy, pp. 73-106, G. Mulfinger, ed., Creation Research Society Books (1983), order from http://www.creationresearch.org/.
Whipple, F. L., Background of modern comet theory, Nature 263:15-19 (2 September 1976). Levison, H. F. et al. See also: The mass disruption of Oort Cloud comets, Science 296:2212-2215 (21 June 2002).
Milliman, John D. and James P. M. Syvitski, Geomorphic/tectonic control of sediment discharge to the ocean: the importance of small mountainous rivers, The Journal of Geology, vol. 100, pp. 525-544 (1992).
Hay, W. W., et al., Mass/age distribution and composition of sediments on the ocean floor and the global rate of sediment subduction, Journal of Geophysical Research, 93(B12):14,933-14,940 (10 December 1988).
Meybeck, M., Concentrations des eaux fluviales en elements majeurs et apports en solution aux oceans, Revue de G&eacute;ologie Dynamique et de G&eacute;ographie Physique 21(3):215 (1979).
Sayles, F. L. and P. C. Mangelsdorf, Cation-exchange characteristics of Amazon River suspended sediment and its reaction with seawater, Geochimica et Cosmochimica Acta 43:767-779 (1979).
Austin, S. A. and D. R. Humphreys, The sea's missing salt: a dilemma for evolutionists, Proceedings of the Second International Conference on Creationism, vol. II, Creation Science Fellowship (1991), Pittsburgh, PA, pp. 17-33, order from http://www.icc03.org/proceedings.htm.
Nevins, S., [Austin, S. A.], Evolution: the oceans say no!, Impact No. 8 (Nov. 1973) Institute for Creation Research.
Humphreys, D. R., The earth's magnetic field is still losing energy, Creation Research Society Quarterly, 39(1):3-13, June 2002. http://www.creationresearch.org/crsq/articles/39/39_1/GeoMag.htm.
Humphreys, D. R., Reversals of the earth's magnetic field during the Genesis flood, Proceedings of the First International Conference on Creationism, vol. II, Creation Science Fellowship (1986), Pittsburgh, PA, pp. 113-126, out of print but contact http://www.icc03.org/proceedings.htm for help in locating copies.
Coe, R. S., M. Pr&eacute;vot, and P. Camps, New evidence for extraordinarily rapid change of the geomagnetic field during a reversal, Nature 374:687-92 (20 April 1995).
Humphreys, D. R., Physical mechanism for reversals of the earth's magnetic field during the flood, Proceedings of the Second International Conference on Creationism, vol. II, Creation Science Fellowship (1991), Pittsburgh, PA, pp. 129-142, order from http://www.icc03.org/proceedings.htm.
Austin, S. A. and J. D. Morris, Tight folds and clastic dikes as evidence for rapid deposition and deformation of two very thick stratigraphic sequences, Proceedings of the First International Conference on Creationism, vol. II, Creation Science Fellowship (1986), Pittsburgh, PA, pp. 3-15, out of print, contact http://www.icc03.org/proceedings.htm for help in locating copies.
Gibbons A., Calibrating the mitochondrial clock, Science 279:28-29 (2 Jan-uary 1998).
Cherfas, J., Ancient DNA: still busy after death, Science 253:1354-1356 (20 September 1991). Cano, R. J., H. N. Poinar, N. J. Pieniazek, A. Acra, and G. O. Poinar, Jr. Amplification and sequencing of DNA from a 120-135-million-year-old weevil, Nature 363:536-8 (10 June 1993). Krings, M., A. Stone, R. W. Schmitz, H. Krainitzki, M. Stoneking, and S. P&auml;&auml;bo, Neandertal DNA sequences and the origin of modern humans, Cell 90:19-30 (Jul 11, 1997). Lindahl, T, Unlocking nature's ancient secrets, Nature 413:358-359 (27 September 2001).
Vreeland, R. H.,W. D. Rosenzweig, and D. W. Powers, Isolation of a 250 million-year-old halotolerant bacterium from a primary salt crystal, Nature 407:897-900 (19 October 2000).
Schweitzer, M., J. L. Wittmeyer, J. R. Horner, and J. K. Toporski, Soft-Tissue vessels and cellular preservation in Tyrannosaurus rex, Science 207:1952-1955 (25 March 2005).
Gentry, R. V., Radioactive halos, Annual Review of Nuclear Science 23:347-362 (1973).
Gentry, R. V. , W. H. Christie, D. H. Smith, J. F. Emery, S. A. Reynolds, R. Walker, S. S. Christy, and P. A. Gentry, Radiohalos in coalified wood: new evidence relating to time of uranium introduction and coalification, Science 194:315-318 (15 October 1976).
Gentry, R. V., Radiohalos in a radiochronological and cosmological perspective, Science 184:62-66 (5 April 1974).
Snelling, A. A. and M. H. Armitage, Radiohalos—a tale of three granitic plutons, Proceedings of the Fifth International Conference on Creationism, vol. II, Creation Science Fellowship (2003), Pittsburgh, PA, pp. 243-267, order from http://www.icc03.org/proceedings.htm. Also archived on the ICR website at ICCRADIOHALOS-AASandMA.pdf.
Gentry, R. V., G. L. Glish, and E. H. McBay, Differential helium retention in zircons: implications for nuclear waste containment, Geophysical Research Letters 9(10):1129-1130 (October 1982).
Humphreys, D. R, et al., Helium diffusion age of 6,000 years supports accelerated nuclear decay, Creation Research Society Quarterly 41(1):1-16 (June 2004). See archived article on following page of the CRS website: http://www.creationresearch.org/crsq/articles/41/41_1/Helium.htm.
Baumgardner, J. R., et al., Measurable 14C in fossilized organic materials: confirming the young earth creation-flood model, Proceedings of the Fifth International Conference on Creationism, vol. II, Creation Science Fellowship (2003), Pittsburgh, PA, pp. 127-142. Archived at http://www.icr.org/pdf/research/RATE_ICC_Baumgardner.pdf. See poster presented to American Geophysical Union, Dec. 2003, AGUC-14_Poster_Baumgardner.pdf.
McDougall, I., F. H. Brown, and J. G. Fleagle, Stratigraphic placement and age of modern humans from Kibish, Ethiopia, Nature 433(7027):733-736 (17 February 2005).
Deevey, E. S., The human population, Scientific American 203:194-204 (September 1960).
Marshack, A., Exploring the mind of Ice Age man, National Geographic 147:64-89 (January 1975).
Dritt, J. O., Man's earliest beginnings: discrepancies in evolutionary timetables, Proceedings of the Second International Conference on Creationism, vol. II, Creation Science Fellowship (1991), Pittsburgh, PA, pp. 73-78, order from http://www.icc03.org/proceedings.htm.
Additional Resources for items 9-11.

DeYoung, D., Thousands ... Not Billions, Master Books (2005) Green Forest, AR.
Vardiman, L, Snelling, A. A., and Chaffin E. F., editors, Radioisotopes and the Age of the Earth, Vol. II, Institute for Creation Research and Creation Research Society (2005) El Cajon, CA and Chino Valley, AZ. (Technical).
*Dr. Humphreys is an Associate Professor of Physics at ICR.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 19:40
ตอบอะไรมาครับ ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย  :slime_doubt:

ตกลงคุณ Q ไม่เชื่อว่าอเมริกาใต้ เคยอยู่ติดกับแอฟริกา อย่างนั้นหรือครับ?

ไม่ได้ศึกษาละเอียด ไม่ทราบ คิดว่าไม่ค่อยเชื่อครับ ว่าจะเคลื่อนตัวมากมายตามที่แผนภาพให้มา

และไม่คิดว่าจะแสดงว่าโลกอายุมากได้ด้วย เพราะมีเปลือกโลกใต้ทะเลด้วย  แผ่นดินคงไหวหนักมากตลอดเวลาที่มีการเคลื่อนตัวครับ

ลองศึกษาเรื่องการยกและยุบตัวดีกว่ามังครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 19:46


คือปัญหาคือ กรอบความคิดคุณถูกจำกัดด้วยระยะเวลาเป็นล้านปี ถูกไม๊?

ผมก็โต้แย้งว่าทราบได้อย่างไร? ในเมื่อวิธีการคำนวณยังไม่ชัดเจน ว่าโลกอายุเท่าไร?

แต่ละทวีปอายุมากกว่ากันจากสมุติฐานอะไร?

ในเมื่อสภาพแวดล้อมมันอยู่ได้ มันก็มีอยู่ ทราบได้อย่างไรว่าประเภทใดอพยพ..?จากที่ใดไปที่ใดบ้าง?

นกผมเชื่อแน่ว่าบินไปได้ ปลาและสัตว์ทะเลก็ว่ายน้ำไปได้..

มนุษย์ก็เป็นพาหะที่ดีมาก ทุกวันนี้มีการซื้อขายสัตว์ทุกชนิด...?
ยกมานะไม่เกี่ยวกับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกับสัตว์เลื้อยคลานเลยครับ อย่างปลานี่ก็ไม่ได้ถูกจำกัดการแพร่กระจายด้วยความเค็มของน้ำทะเล นกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็ไม่ได้ถูกจำกัดการแพร่กระจายด้วยอุณหภูมิ ส่วนเรื่องประเภทใดอพยพไปจากที่ใดก็ดูอายุของซากฟอสซิลว่าพบที่ใดก่อน และการคำนวณอายุวัตถุนี่มีวิธีแน่นอนนะครับ ถ้าคุณจะแย้งคุณควรบอกขั้นตอนการตรวจสอบให้ได้ซะก่อน ไม่ใช่คอยแต่ตัดแปะแต่ไม่สามารถบอกอะไรได้เลยนอกจากนี้ยังไม่ได้บอกขั้นตอนการตรวจสอบอะไรเลย และที่คุณยกมาก็ไม่เห็นมันจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิสักอัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 19:51
ตัวอย่างข้อมูลความคิดทางธรณีวิทยา ที่เชื่อมโยงกับระยะเวลาที่รวดเร็วโดยตรง  

Recent Rapid Uplift of Today's Mountains  http://www.icr.org/article/98/
by John Baumgardner, Ph.D.

...

Whitcomb and Morris, 45 years ago in their classic book, The Genesis Flood, pointed out the remarkable timing of the uplift of the present mountains as being after the Flood. They write, "It is extremely interesting . . . to note that most of the present mountain ranges of the world are believed to have been uplifted (on the basis of fossil evidence) during the Pleistocene or late Pliocene."4 They then quote a paper that provides documentation from North America, Europe, Asia, South America, and Africa. Surely it is time for evolutionists as well as creationists to give attention to this evidence that so strongly supports a recent global Flood.

บทความอ้างอิงงานวิจัยยุคพระเจ้าเหาเลยนะครับนั่น  :slime_hmm:

เมื่อ 45 ปีก่อนน่ะ นีล อาร์มสตรองยังไม่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์
สงสัยตอนนั้น คุณยายมาริรีน มอนโร ยังไม่ตายเลยมั๊งครับ
ขอแบบเน้นอ้างอิงงานวิจัยใหม่ๆ หน่อยนะครับ

หรือกลัวว่าจะไม่ match กับคัมภีร์ Genesis เรื่องน้ำท่วมโลก  :slime_smile:

---

ปล. ตามที่อ้างอิงตำรามาช่วง Pleistocene ต่อเนื่อง Late Pliocene น่ะมัน 2 ล้านปีก่อนแล้ว
      ผมใส่สีแดงขีดเส้นมาให้ดูด้วย.. คุณ Q เคยบอกว่าโลกอายุแค่ 250,000 ปีไม่ใช่หรือ?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 19:52
ทำไมกบในวงศ์ Ranidae ถึงแพร่กระจายข้ามเส้นวอลเลซได้ แต่กบในวงศ์ Bufonidae ถึงไม่พบการแพร่กระจายข้ามเส้นวอลเลซ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 19:58
ยกมานะไม่เกี่ยวกับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกับสัตว์เลื้อยคลานเลยครับ อย่างปลานี่ก็ไม่ได้ถูกจำกัดการแพร่กระจายด้วยความเค็มของน้ำทะเล นกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็ไม่ได้ถูกจำกัดการแพร่กระจายด้วยอุณหภูมิ ส่วนเรื่องประเภทใดอพยพไปจากที่ใดก็ดูอายุของซากฟอสซิลว่าพบที่ใดก่อน และการคำนวณอายุวัตถุนี่มีวิธีแน่นอนนะครับ ถ้าคุณจะแย้งคุณควรบอกขั้นตอนการตรวจสอบให้ได้ซะก่อน ไม่ใช่คอยแต่ตัดแปะแต่ไม่สามารถบอกอะไรได้เลยนอกจากนี้ยังไม่ได้บอกขั้นตอนการตรวจสอบอะไรเลย และที่คุณยกมาก็ไม่เห็นมันจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิสักอัน

เอ งานวิจัยที่ยกมาก็ชี้ชัดวิธีคำนวณอายุ

เช่นใช้คาร์บอนสิบสีจากมอส เป็นต้นครับ แล้วคาร์บอนสิบสีไมได้ว่ากันเป็นล้านปีแน่นอน

คุณไม่พยายามอ่านตามลิงค์เลย บางอันผมก็ยกมาหลายเที่ยวแล้ว

แล้วอย่างซากต้นไม้ที่สมบูรณ์ แทงทะลุชั้นหินสองสมัยก็มี อายุต่างๆและสภาพต้นไม้ในชั้นหินมันขัดแย้งกันกับอายุชั้นหินที่ว่าเป็นล้านปีด้วยครับ

ส่วนเรื่องสัตว์ป่า มันเกิดขึ้นที่ไหนบ้างเมื่อไร หากสภาพแวดล้อมอยู่ได้ผมไม่เห็นแปลก ที่คนเป็นพาหะชักนำก็มาก

หากคุณไม่สำรวจรูปแบบการอพยพจากของจริงคุณทราบได้อย่างไร ว่าต้นกำเนิดอยู่ที่ใด? หากพบในหลายๆแหล่ง สัตว์ป่านะครับไม่ใช่คน

จึงมีโลกเก่าโลกใหม่ ที่เราทราบการอพยพแน่นอน มีประวัติศาตร์รองรับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:01
นี่แค่อันดับกบที่แพร่กระจายกว้างทั่วโลก ก็ยังถูกจำกัดด้วยเขตภูมิศาสตร์ ถ้าหารอยต่อที่ให้มันแพร่กระจายข้ามทวีปยังยากแล้ว ยังไม่นับสัตว์ในอันดับซาลาแมนเดอร์หรืออันดับเขียดงู ทีู่จำกัดการแพร่กระจายยิ่งกว่าในอันดับของกบอีก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:03
บทความอ้างอิงงานวิจัยยุคพระเจ้าเหาเลยนะครับนั่น  :slime_hmm:

เมื่อ 45 ปีก่อนน่ะ นีล อาร์มสตรองยังไม่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์
สงสัยตอนนั้น คุณยายมาริรีน มอนโร ยังไม่ตายเลยมั๊งครับ
ขอแบบเน้นอ้างอิงงานวิจัยใหม่ๆ หน่อยนะครับ

หรือกลัวว่าจะไม่ match กับคัมภีร์ Genesis เรื่องน้ำท่วมโลก  :slime_smile:

---

ปล. ตามที่อ้างอิงตำรามาช่วง Pleistocene ต่อเนื่อง Late Pliocene น่ะมัน 2 ล้านปีก่อนแล้ว
      ผมใส่สีแดงขีดเส้นมาให้ดูด้วย.. คุณ Q เคยบอกว่าโลกอายุแค่ 250,000 ปีไม่ใช่หรือ?

ผมพูดถึงกรอบ ที่คาร์บอนคำนวณได้ครับ..

ถ้าเป็นความจริงที่ยังไม่มีใครหักล้างได้ก็ไม่เห็นแปลกครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:06
เอ งานวิจัยที่ยกมาก็ชี้ชัดวิธีคำนวณอายุ

เช่นใช้คาร์บอนสิบสีจากมอส เป็นต้นครับ แล้วคาร์บอนสิบสีไมได้ว่ากันเป็นล้านปีแน่นอน

คุณไม่พยายามอ่านตามลิงค์เลย บางอันผมก็ยกมาหลายเที่ยวแล้ว

แล้วอย่างซากต้นไม้ที่สมบูรณ์ แทงทะลุชั้นหินสองสมัยก็มี อายุต่างๆและสภาพต้นไม้ในชั้นหินมันขัดแย้งกันกับอายุชั้นหินที่ว่าเป็นล้านปีด้วยครับ

ส่วนเรื่องสัตว์ป่า มันเกิดขึ้นที่ไหนบ้างเมื่อไร หากสภาพแวดล้อมอยู่ได้ผมไม่เห็นแปลก ที่คนเป็นพาหะชักนำก็มาก

หากคุณไม่สำรวจรูปแบบการอพยพจากของจริงคุณทราบได้อย่างไร ว่าต้นกำเนิดอยู่ที่ใด? หากพบในหลายๆแหล่ง สัตว์ป่านะครับไม่ใช่คน

จึงมีโลกเก่าโลกใหม่ ที่เราทราบการอพยพแน่นอน มีประวัติศาตร์รองรับ
แล้วพวก ก็มี K-40/Ar-40, U-235/Pb-207, U-238/Pb-206, Rb-87/Sr-87 ฯลฯ ไม่พูดถึงรึครับ รึรู้จักแค่ C-14/C-12 และเรื่องสัตว์นะผมถามเรื่องการแพร่กระจายข้ามทวีปนะครับ ส่วนเรื่องอย่างไหนเกิดก่อนหลังนั่นประเด็นรองครับ ตอบได้ยังครับว่ามันข้ามไปได้อย่างไร


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:07

นี่แค่อันดับกบที่แพร่กระจายกว้างทั่วโลก ก็ยังถูกจำกัดด้วยเขตภูมิศาสตร์ ถ้าหารอยต่อที่ให้มันแพร่กระจายข้ามทวีปยังยากแล้ว ยังไม่นับสัตว์ในอันดับซาลาแมนเดอร์หรืออันดับเขียดงู ทีู่จำกัดการแพร่กระจายยิ่งกว่าในอันดับของกบอีก

ไม่คิดว่ามันมีอยู่ก่อนในแหล่งต่างๆเหรอครับ ทุกแหล่งมันก็ต้องมีชุดแรกๆ

พบก็มีปัญหา ไม่พบก็มีปัญหาครับ อิอิ

หลายชนิดจากมนุษย์ เช่นพืชป่า หรือแม้แต่เชื้อโรค  



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:13
แล้วพวก ก็มี K-40/Ar-40, U-235/Pb-207, U-238/Pb-206, Rb-87/Sr-87 ฯลฯ ไม่พูดถึงรึครับ รึรู้จักแค่ C-14/C-12 และเรื่องสัตว์นะผมถามเรื่องการแพร่กระจายข้ามทวีปนะครับ ส่วนเรื่องอย่างไหนเกิดก่อนหลังนั่นประเด็นรองครับ ตอบได้ยังครับว่ามันข้ามไปได้อย่างไร

คาร์บอนสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิต และมีอยู่ทั่วไป..

แต่งานวิจัยที่ชี้ความไม่แน่นอนของธาติกรรมมันตรังสีต่างๆก็มีครับ ปัญหาอยู่ที่จำนวน และสภาพแวดล้อมที่พบ..



เรื่องอายุนานๆเป็นล้านปี วัดให้แน่นอน ในสภาพแวดล้อมที่มีตัวอย่างน้อยๆ ขึ้นอยู่กับการแปลความของนักธรณีวิทยาด้วย

หากไม่ตรงกับความคิดเขาก็หาเหตุผลมารองรับ แทนที่จะกำหนดกรอบและวิธีให้รัดกุม


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:17


ฝ้ายก็พบในเขตโลกเก่าและโลกใหม่

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK3/chapter3/t3-3-l1.htm
ดูท่าจะไม่รู้เรื่อง Biogeography เลย พืชนะอาศัยสัตว์ในการแพร่กระจายได้นะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:18
ดูท่าจะไม่รู้เรื่อง Biogeography เลย พืชนะอาศัยสัตว์ในการแพร่กระจายได้นะครับ

คนนั่นแหละ อย่างกาแฟ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:20
ไม่คิดว่ามันมีอยู่ก่อนในแหล่งต่างๆเหรอครับ ทุกแหล่งมันก็ต้องมีชุดแรกๆ

พบก็มีปัญหา ไม่พบก็มีปัญหาครับ อิอิ

หลายชนิดจากมนุษย์ เช่นพืชป่า หรือแม้แต่เชื้อโรค  


ตกลงตอบไม่ได้ใช่ไหมครับว่ามันแพร่กระจายไปได้อย่างไร และผมถามถึงระดับสกุลนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:21


สภาพแวดล้อมใดเหมาะสมจะขยายพันธุ์สัตว์นั้น มันก็อยู่ได้

แล้วทราบถิ่นกำเนิดของสัตว์ต่างๆได้อย่างไรครับ..

ถ้าไม่เห็นตัวมันหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:24
คาร์บอนสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิต และมีอยู่ทั่วไป..

แต่งานวิจัยที่ชี้ความไม่แน่นอนของธาติกรรมมันตรังสีต่างๆก็มีครับ ปัญหาอยู่ที่จำนวน และสภาพแวดล้อมที่พบ..



เรื่องอายุนานๆเป็นล้านปี วัดให้แน่นอน ในสภาพแวดล้อมที่มีตัวอย่างน้อยๆ ขึ้นอยู่กับการแปลความของนักธรณีวิทยาด้วย

หากไม่ตรงกับความคิดเขาก็หาเหตุผลมารองรับ แทนที่จะกำหนดกรอบและวิธีให้รัดกุม
การใช้ C-14 นะเขาเรียกว่า Short-range dating เหมือนเอา volt meter ที่วัดไฟได้สูงสุด 100 โวลต์ แต่มีบางคนดันไปวัดไฟ 1 ล้านโวลต์ แต่เครื่องอ่านค่าได้แค่ 100 โวลต์ ตกลงว่าเครื่องมือผิดหรือผู้วัดใช้วิธีผิด


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:26
ตกลงตอบไม่ได้ใช่ไหมครับว่ามันแพร่กระจายไปได้อย่างไร และผมถามถึงระดับสกุลนะครับ

ก็เพราะคุณเชื่อเรื่องวิวัฒนาการ เป็นล้านปี

แต่ผมยังไม่เห็นจริง ย่อมไม่สามารถคล้อยตามครับ

ว่าอะไรเกิดก่อนอะไร แพร่กระจายสำหรับผมก็คือสืบพันธ์ขยายจำนวน

แต่ไม่ทราบแหล่งกำเนิดครับ นอกจามีบันทึกไว้ว่าไม่พบ..มาก่อนเลย

แล้วทราบว่ามีอะไรนำพาเข้าไป หรือเข้าไปเอง ด้วยวิอะไร?


ที่ยกพืชมา ก็เพราะว่าต้องมีอะไรนำพาพืชที่ไม่มีขาเข้าไปครับ.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:28

สภาพแวดล้อมใดเหมาะสมจะขยายพันธุ์สัตว์นั้น มันก็อยู่ได้

แล้วทราบถิ่นกำเนิดของสัตว์ต่างๆได้อย่างไรครับ..

ถ้าไม่เห็นตัวมันหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้
ตอบได้ยังครับว่ามันแพร่ข้ามทะเลกับทุ่งน้ำแข็งขั้วโลกเหนือไปได้อย่างไรครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:30
ก็เพราะคุณเชื่อเรื่องวิวัฒนาการ เป็นล้านปี

แต่ผมยังไม่เห็นจริง ย่อมไม่สามารถคล้อยตามครับ

ว่าอะไรเกิดก่อนอะไร แพร่กระจายสำหรับผมก็คือสืบพันธ์ขยายจำนวน

แต่ไม่ทราบแหล่งกำเนิดครับ นอกจามีบันทึกไว้ว่าไม่พบ..มาก่อนเลย

แล้วทราบว่ามีอะไรนำพาเข้าไป หรือเข้าไปเอง ด้วยวิอะไร?


ที่ยกพืชมา ก็เพราะว่าต้องมีอะไรนำพาพืชที่ไม่มีขาเข้าไปครับ.
อย่าเบี่ยงเบนประเด็นครับ ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องวิวัฒนาการแต่พูดถึงการแพร่กระจายครับ และสัตว์ที่ผมยกนั้นแพร่กระจายก่อนที่จะมีมนุษย์ซะอีก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:31
การใช้ C-14 นะเขาเรียกว่า Short-range dating เหมือนเอา volt meter ที่วัดไฟได้สูงสุด 100 โวลต์ แต่มีบางคนดันไปวัดไฟ 1 ล้านโวลต์ แต่เครื่องอ่านค่าได้แค่ 100 โวลต์ ตกลงว่าเครื่องมือผิดหรือผู้วัดใช้วิธีผิด

อ้าวผมก็ถามหา เอาว่าที่อ้างๆกัน วัดอย่างไร?

ซากต้นไม้ที่พบในชั้นหินเป็นร้อยล้านปีก็เหมือนกัน

ข่าวที่พบว่าภาพวาดที่เสปนใช้สีไม่กี่ปีก็เหมือนกัน

ผมพยายามอธิบายว่าไม่ชัดเจน ตั้งแต่แรกแล้ว

แกรนแคนยอน ก็บอกว่าชั้นหินมันสลับที่กัน

แต่ก็เห็นอ้างกัน ไม่เห็นเอารายการที่พบในชั้นหินต่างๆมาแสดงเลย..

บอกแต่ว่ามันสอดคล้องกับที่เขารู้มาหรือเชื่อ..เฮ้อ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:35
อย่าเบี่ยงเบนประเด็นครับ ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องวิวัฒนาการแต่พูดถึงการแพร่กระจายครับ และสัตว์ที่ผมยกนั้นแพร่กระจายก่อนที่จะมีมนุษย์ซะอีก


แล้วรู้ได้อย่างไร ว่าแหล่งกำเนิดอยู่ที่ใดครับ.

จึงทราบว่ามันกระจายไปจากทางใด หรือมีสองที่ หรือหลายที่

คุณทราบไหมว่าเชื้อโรคตัวเล็กๆ แพร่กระจายมาจากที่ใด หากมันอยู่ได้ในหลายสภาพแวดล้อม พวกนี้ก็เก่าแก่ตามแนวคิดวิวัฒนาการ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:39
อ้าวผมก็ถามหา เอาว่าที่อ้างๆกัน วัดอย่างไร?

ซากต้นไม้ที่พบในชั้นหินเป็นร้อยล้านปีก็เหมือนกัน

ข่าวที่พบว่าภาพวาดที่เสปนใช้สีไม่กี่ปีก็เหมือนกัน

ผมพยายามอธิบายว่าไม่ชัดเจน ตั้งแต่แรกแล้ว

แกรนแคนยอน ก็บอกว่าชั้นหินมันสลับที่กัน

แต่ก็เห็นอ้างกัน ไม่เห็นเอารายการที่พบในชั้นหินต่างๆมาแสดงเลย..

บอกแต่ว่ามันสอดคล้องกับที่เขารู้มาหรือเชื่อ..เฮ้อ..

จาก Courtin J, Fortea-Përez J J, Gonzäles-Sainz C, Moure-Romanillo A, 2001 "Radiocarbon AMS. dates for paleolithic cave paintings'' Radiocarbon 43: 977-986  :slime_bigsmile:

(http://img237.imageshack.us/img237/9863/1024fi3.jpg)

อ่านฉบับเต็มรึยังครับ คนที่เอาฐานข้อมูลทอมสันมาบอกคนอื่นได้ก็น่าจะรู้วิธีหาฉบับเต็มอ่านได้นะครับ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:44

แล้วรู้ได้อย่างไร ว่าแหล่งกำเนิดอยู่ที่ใดครับ.

จึงทราบว่ามันกระจายไปจากทางใด หรือมีสองที่ หรือหลายที่

คุณทราบไหมว่าเชื้อโรคตัวเล็กๆ แพร่กระจายมาจากที่ใด หากมันอยู่ได้ในหลายสภาพแวดล้อม พวกนี้ก็เก่าแก่ตามแนวคิดวิวัฒนาการ
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับวิวัฒนาการเลยครับ ปาดสกุล Hyla ก็ยังเป็นปาดสกุล Hyla จะเกิดเอเชียหรืออเมริกาก็ได้ครับ ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนี้ ที่ผมถามก็คือ มันข้ามทวีปได้อย่างไรครับ ถ้าเกิดเอเชียแล้วมันข้ามไปยังอเมริกาหรือออสเตรเลียได้อย่างไร ถ้าเกิดอเมริกามันข้ามมายังเอเชียหรืออสเตรเลียได้อย่างไร ถ้าเกิดในออสเตรเลียมันข้ามไปยังเอเชียหรืออเมริกาได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับวิวัฒนาการเลยครับอย่าเอามาปนกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:47
อ่านฉบับเต็มรึยังครับ คนที่เอาฐานข้อมูลทอมสันมาบอกคนอื่นได้ก็น่าจะรู้วิธีหาฉบับเต็มอ่านได้นะครับ  :slime_bigsmile:


ลิงค์ที่ผมเอามาแปะเรื่องการวัดอายุด้วยธาตุต่างๆ ก็ลองอ่านดูครับ

ว่ามันไม่แน่นอนเป็นล้านปีหรอก เขาหาเอาจากสมมุติฐานอื่นๆอีกที

มันก็เบนออกไปชนิดชวนงุนงง อย่าลืมว่าพบได้ตามธรรมชาติทั้งสิ้น

หากไม่พบธาตุกัมมันตรังสีใดเลย จึงจะนับได้ สีพันหกร้อยล้าปีเต็มๆ

ส่วนใหญ่ที่ใช้คาร์บอนสิบสี และสิบสาม สิบสองครับ ไม่เกินแสนปี


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:51
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับวิวัฒนาการเลยครับ ปาดสกุล Hyla ก็ยังเป็นปาดสกุล Hyla จะเกิดเอเชียหรืออเมริกาก็ได้ครับ ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนี้ ที่ผมถามก็คือ มันข้ามทวีปได้อย่างไรครับ ถ้าเกิดเอเชียแล้วมันข้ามไปยังอเมริกาหรือออสเตรเลียได้อย่างไร ถ้าเกิดอเมริกามันข้ามมายังเอเชียหรืออสเตรเลียได้อย่างไร ถ้าเกิดในออสเตรเลียมันข้ามไปยังเอเชียหรืออเมริกาได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับวิวัฒนาการเลยครับอย่าเอามาปนกัน

แล้วมันเกิดหลายแหล่งไม่ได้เหรอครับ..

ยกเว้นคู่แรกหรือตัวแรกเท่านั้น..

อันนี้ต้องหากันต่อไป


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:55
แล้วมันเกิดหลายแหล่งไม่ได้เหรอครับ..

ยกเว้นคู่แรกหรือตัวแรกเท่านั้น..

อันนี้ต้องหากันต่อไป
พระเจ้าสร้างที่ไหนก็ปล่อยที่นั่นสิครับ แถมยังมีเรื่องโนอาห์อีก ยังไงก็เหลือแหล่งเดียวอยู่ดี ตอบได้ยังครับว่ามันข้ามทวีปไปได้อย่างไร


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 20:58
พระเจ้าสร้างที่ไหนก็ปล่อยที่นั่นสิครับ แถมยังมีเรื่องโนอาห์อีก ยังไงก็เหลือแหล่งเดียวอยู่ดี ตอบได้ยังครับว่ามันข้ามทวีปไปได้อย่างไร


 :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 20:59

ลิงค์ที่ผมเอามาแปะเรื่องการวัดอายุด้วยธาตุต่างๆ ก็ลองอ่านดูครับ

ว่ามันไม่แน่นอนเป็นล้านปีหรอก เขาหาเอาจากสมมุติฐานอื่นๆอีกที

มันก็เบนออกไปชนิดชวนงุนงง อย่าลืมว่าพบได้ตามธรรมชาติทั้งสิ้น

หากไม่พบธาตุกัมมันตรังสีใดเลย จึงจะนับได้ สีพันหกร้อยล้าปีเต็มๆ

ส่วนใหญ่ที่ใช้คาร์บอนสิบสี และสิบสาม สิบสองครับ ไม่เกินแสนปี
ลิงค์ไหนครับ เพราะเห็นคุณแปะเกลื่อน ยกมาเลยสิครับ แล้วข้อข้อมูลที่เป็นปฐมภูมินะครับ ขอเป็นรายงายการวิจัยเลยนะครับ และขอที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI ด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 21:02


ฮือ ไว้มาคุยต่อครับ แหมหาเรื่องจริงถ้าไม่เชื่อใครเลย..

ก็ย่อมไม่มีทางเพราะ มันเกิดก่อนเราเกิดทั้งนั้น

ก็ต้องหาว่ามันสมเหตุสมผลหรือไม่จริงมั๊ย..?
                                                                      :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 21:05

ฮือ ไว้มาคุยต่อครับ แหมหาเรื่องจริงถ้าไม่เชื่อใครเลย..

ก็ย่อมไม่มีทางเพราะ มันเกิดก่อนเราเกิดทั้งนั้น

ก็ต้องหาว่ามันสมเหตุสมผลหรือไม่จริงมั๊ย..?
                                                                      :slime_smile:
เรื่องวิวัฒนาการหรือเรื่องการวัดอายุได้เป็นล้านปีมันขัดกับเรื่องพระเจ้าตรงไหนครับ ผมยังไม่เห็นมันจะขัดกันเลย :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 21:05


ผมว่าลองอ่านไบเบิลก็ไม่นาเสียหายนะ

ที่นักวิชาการคุณยังอ่านได้ทุกด้าน..

ผมก็อยากเชื่อนะถ้ามีหลักฐานที่เชื่อได้

บอกไว้ล่วงหน้า และย้อนหลัง..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 21:07

ผมว่าลองอ่านไบเบิลก็ไม่นาเสียหายนะ

ที่นักวิชาการคุณยังอ่านได้ทุกด้าน..

ผมก็อยากเชื่อนะถ้ามีหลักฐานที่เชื่อได้

บอกไว้ล่วงหน้า และย้อนหลัง..
ไบเบิลนะผมอ่านเป็นประจำแหละครับ ถึงได้รู้ว่ามีพวกบิดเบือนพระคัมภีร์อยู่เยอะ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 21:08
ไบเบิลนะผมอ่านเป็นประจำแหละครับ ถึงได้รู้ว่ามีพวกบิดเบือนพระคัมภีร์อยู่เยอะ


อ่านยากมั้ยครับ?
                                                 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 21:16

อ่านยากมั้ยครับ?
                                                 :slime_smile:
ไม่ยากนี่ แล้วอีกอย่างเขาเน้นที่ NT มากกว่านี่ ยกเว้นคุณจะเป็นยิวถึงได้เน้นแต่ OT


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 21:16
Dubious Radiogenic Pb Places U-Th-Pb Mineral Dating in Doubt
by Andrew A. Snelling, Ph.D.

http://www.icr.org/article/462/

Radiohalos - Significant And Exciting Research Results
by Andrew A. Snelling, Ph.D.

http://www.icr.org/article/301/

Dating Niagara Falls
by John Morris, Ph.D.

http://www.icr.org/article/123/

Carbon Dating Undercuts Evolution's Long Ages
by John Baumgardner, Ph.D.

http://www.icr.org/article/117/


"Excess Argon": The "Achillies' Heel" of Potassium-Argon and Argon-Argon "Dating" of Volcanic Rocks
by Andrew A. Snelling, Ph.D.

http://www.icr.org/article/436/


Radioisotopes and the Age of the Earth
by Larry Vardiman, Ph.D.

http://www.icr.org/article/430/

The Dating Gap
by Marvin L. Lubenow, M.S., Th.M.

http://www.icr.org/article/373/




หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 19-08-2007, 21:24
Dubious Radiogenic Pb Places U-Th-Pb Mineral Dating in Doubt
by Andrew A. Snelling, Ph.D.

http://www.icr.org/article/462/

Radiohalos - Significant And Exciting Research Results
by Andrew A. Snelling, Ph.D.

http://www.icr.org/article/301/
1. ไม่ใช่รายงานการวิจัย
2. ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูล ISI


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 21:31
1. ไม่ใช่รายงานการวิจัย
2. ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูล ISI

เดี๋ยวพยายามหาให้ครับ.. :slime_fighto: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: odyssey ที่ 19-08-2007, 21:42
ยังไม่เลิก  :slime_hmm:

 :slime_surrender:

นี่มันบอร์ด เถียงเพื่อชนะอย่างเดียวใช่ไหมเนี่ย

ไม่ต้องตอบคำถามผม เอาคำถามผมไปคิดละกัน เซ็ง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 19-08-2007, 22:10
ลิงค์ไหนครับ เพราะเห็นคุณแปะเกลื่อน ยกมาเลยสิครับ แล้วข้อข้อมูลที่เป็นปฐมภูมินะครับ
ขอเป็นรายงายการวิจัยเลยนะครับ และขอที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI ด้วยนะครับ

คุณ Q แกแปะลิงค์เยอะเกินไปจริงๆ ครับ ต้องสารภาพตามตรงว่าตามอ่านไม่ไหว  :slime_hmm:

ความคิดของตัวเองเป็นยังไงคุณ Q ก็ไม่ยอมบอก เหมือนตั้งหน้าแปะให้เยอะๆ อย่างเดียว
แปะแล้วไม่บอกว่าแปะในประเด็นไหนเสียด้วย แถมเรื่องเก่ายังไม่จบก็เปิดประเด็นใหม่อีก
ถามอะไรไปก็เลี่ยงไม่ยอมตอบเป็นส่วนใหญ่อีกต่างหาก

เพียงแต่ผมเห็นว่าความคิดคุณ Q แปลกดี มีข้อมูลอะไรที่ไม่เคยเห็น มีข้อสรุปแปลกๆ ให้ดู
เลยคุยด้วยมาเรื่อยๆ  ข้อมูลของคุณ Q พวกนี้ถ้าเอามาเรียบเรียงพิมพ์ขายเมืองไทยคงขายดี
แข่งกับตำรามาตรฐานเสียเลย ให้นักศึกษาเอาข้อมูลไปเถียงอาจารย์เล่น

หรือว่าจริงๆ มีคนเอามาพิมพ์ขายบ้างแล้วครับ แต่ก่อนเคยเห็นเรื่อง "พระเจ้าจากอวกาศ"
แปลมาพิมพ์ขายเมืองไทยโด่งดังพอสมควร เรื่องโลกอายุน้อยก็น่าจะขายได้เหมือนกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-08-2007, 23:53
คุณ Q แกแปะลิงค์เยอะเกินไปจริงๆ ครับ ต้องสารภาพตามตรงว่าตามอ่านไม่ไหว  :slime_hmm:

ความคิดของตัวเองเป็นยังไงคุณ Q ก็ไม่ยอมบอก เหมือนตั้งหน้าแปะให้เยอะๆ อย่างเดียว
แปะแล้วไม่บอกว่าแปะในประเด็นไหนเสียด้วย แถมเรื่องเก่ายังไม่จบก็เปิดประเด็นใหม่อีก
ถามอะไรไปก็เลี่ยงไม่ยอมตอบเป็นส่วนใหญ่อีกต่างหาก

เพียงแต่ผมเห็นว่าความคิดคุณ Q แปลกดี มีข้อมูลอะไรที่ไม่เคยเห็น มีข้อสรุปแปลกๆ ให้ดู
เลยคุยด้วยมาเรื่อยๆ  ข้อมูลของคุณ Q พวกนี้ถ้าเอามาเรียบเรียงพิมพ์ขายเมืองไทยคงขายดี
แข่งกับตำรามาตรฐานเสียเลย ให้นักศึกษาเอาข้อมูลไปเถียงอาจารย์เล่น

หรือว่าจริงๆ มีคนเอามาพิมพ์ขายบ้างแล้วครับ แต่ก่อนเคยเห็นเรื่อง "พระเจ้าจากอวกาศ"
แปลมาพิมพ์ขายเมืองไทยโด่งดังพอสมควร เรื่องโลกอายุน้อยก็น่าจะขายได้เหมือนกัน

วิทยาศาสตร์ ก็มีเอาการเมืองเข้าไปแฝง ผมว่าเที่ยงตรงยากครับ...

มนุษย์ส่วนใหญ่  ไม่ซื่อสัตย์ ไม่ค้นหาความจริงครับ

แม้แต่ศาสนา ก็เรื่องพาณิชย์และอำนาจ วิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน

ผมอยากได้ความเชื่อจริงๆและวิธีคิดของคู่สนทนา..
                                                                         :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 20-08-2007, 09:40


ย้ายกระทู้นี้ไป ชายคาพักใจก็น่าจะดีกว่า.. :slime_fighto: :slime_cool: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 20-08-2007, 09:54

ย้ายกระทู้นี้ไป ชายคาพักใจก็น่าจะดีกว่า.. :slime_fighto: :slime_cool: :slime_bigsmile:

ก็ดีเหมือนกันครับ.. ไปตั้งกระทู้ใหม่ที่นั่นเลยเอาเรื่อง "ไม่เคยมีวิวัฒนาการ" ก็ได้
ไว้พอคุยกันเสร็จ ก็ไปรวมเล่มพิมพ์ขายหาตังค์กันดีกว่า  :slime_v:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 20-08-2007, 10:37


ให้เวลาแอดมินสักหน่อย ถ้าไม่ย้าย ผมแปะต่อคุยกันต่อ อย่ามาว่านา

ประเด็นกระทู้ มันเร้าใจอะครับ..ผุ้ร่วมสนทนาก็น่ารักทุกคน
                                                                                                   :slime_v: :slime_cool: :slime_smile:
                                                       


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 21-08-2007, 10:29


HELIUM DIFFUSION RATES SUPPORT
ACCELERATED NUCLEAR DECAY:   
http://www.globalflood.org/papers/2003ICChelium.html

Presented: Fifth International Conference on Creationism
August 4-8, 2003
Copyright 2003 by Creation Science Fellowship, Inc.
Pittsburgh, PA  USA - All Rights Reserved 
D. RUSSELL HUMPHREYS, PH.D.*
STEVEN A. AUSTIN, PH.D.
ANDREW A. SNELLING, PH.D.
INSTITUTE FOR CREATION RESEARCH**     

JOHN R. BAUMGARDNER, PH.D.
LOS ALAMOS NATIONAL LABORATORY**


KEYWORDS
Helium, Diffusion, Radioisotopes, Age, Dating, Nuclear Decay, Zircon, Biotite, Accelerated Decay


ABSTRACT
Two decades ago, Robert Gentry and his colleagues at Oak Ridge National Laboratory reported surprisingly high amounts of nuclear-decay-generated helium in tiny radioactive zircons recovered from Precambrian crystalline rock, the Jemez Granodiorite on the west flank of the volcanic Valles Caldera near Los Alamos, New Mexico [9].  Up to 58% of the helium (that radioactivity would have generated during the alleged 1.5 billion year age of the granodiorite) was still in the zircons.  Yet the zircons were so small that they should not have retained the helium for even a tiny fraction of that time. The high helium retention levels suggested to us and many other creationists that the helium simply had not had enough time to diffuse out of the zircons, and that recent accelerated nuclear decay had produced over a billion years worth of helium within only the last few thousand years, during Creation and/or the Flood.  Such acceleration would reduce the radioisotopic time scale from megayears down to months.

However, until a few years ago nobody had done the experimental and theoretical studies necessary to confirm this conclusion quantitatively.  There was only one (ambiguously reported) measurement of helium diffusion through zircon [18].  There were no measurements of helium diffusion through biotite, the black mica surrounding the zircons.  In 2000 the RATE project [14] began experiments to measure the diffusion rates of helium in zircon and biotite specifically from the Jemez Granodiorite.  The data, reported here, are consistent with data for a mica related to biotite [17], with recently reported data for zircon [19] and with a reasonable interpretation of the earlier zircon data [18].  We show that these data limit the age of these rocks to between 4,000 and 14,000 years.  These results support our hypothesis of accelerated nuclear decay and represent strong scientific evidence for the young world of Scripture.

 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 21-08-2007, 10:41

Gaps in the Geologic Record*   http://origins.swau.edu/papers/geologic/gaps/eng/index.html
&copy;2007
Ariel A. Roth, Ph.D.


Does the DNA similarity between chimps and humans prove a common ancestry?

http://www.christiananswers.net/q-aig/aig-c018.html


The Code of Life: Little Words, Big Message
by Daniel Criswell, Ph.D.*

http://www.icr.org/article/3187/


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 21-08-2007, 11:03
ข่าวใหม่ล่าสุดดีกว่าครับ

นักวิทยาศาสตร์สาย "wet artificial life" อ้างว่าจะสามารถสร้าง Cell สังเคราะห์ได้ภายในสามถึงสิบปีจากสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นมาเป็น DNA

http://news.yahoo.com/s/ap/20070820/ap_on_sc/artificial_life (http://news.yahoo.com/s/ap/20070820/ap_on_sc/artificial_life)


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 21-08-2007, 11:25
ข่าวใหม่ล่าสุดดีกว่าครับ

นักวิทยาศาสตร์สาย "wet artificial life" อ้างว่าจะสามารถสร้าง Cell สังเคราะห์ได้ภายในสามถึงสิบปีจากสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นมาเป็น DNA

http://news.yahoo.com/s/ap/20070820/ap_on_sc/artificial_life (http://news.yahoo.com/s/ap/20070820/ap_on_sc/artificial_life)

One of our readers thought that Szostak’s entry deserved to be called “Stupid Evolution Quote of the Century.”  But then, there are already too many entries in that category.  Tryouts are opening for the millennium class.
    Reality check: they are not creating life from scratch; they are copying existing technology.  To really make life from scratch, they would have to start by inventing the universe.  Copying the packaging, coding, and metabolism of existing life is a huge, huge head start.  These guys think they are dumber than Darwinism, and they are right.  Are they the ones you would trust to tell us that synthetic biology will be safe?  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 21-08-2007, 11:53


A Modern Framework for Earth Sciences in a Christian Context

http://origins.swau.edu/papers/geologic/geology/eng/index.html



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 21-08-2007, 12:51

 :slime_cool:

ข่าวสำคัญขอยกมาหน้าใหมครับ..


ข่าวใหม่ล่าสุดดีกว่าครับ

นักวิทยาศาสตร์สาย "wet artificial life" อ้างว่าจะสามารถสร้าง Cell สังเคราะห์ได้ภายในสามถึงสิบปีจากสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นมาเป็น DNA

http://news.yahoo.com/s/ap/20070820/ap_on_sc/artificial_life (http://news.yahoo.com/s/ap/20070820/ap_on_sc/artificial_life)

One of our readers thought that Szostak’s entry deserved to be called “Stupid Evolution Quote of the Century.”  But then, there are already too many entries in that category.  Tryouts are opening for the millennium class.
    Reality check: they are not creating life from scratch; they are copying existing technology.  To really make life from scratch, they would have to start by inventing the universe.  Copying the packaging, coding, and metabolism of existing life is a huge, huge head start.  These guys think they are dumber than Darwinism, and they are right.  Are they the ones you would trust to tell us that synthetic biology will be safe?  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 22-08-2007, 03:20


อย่างที่เรียนว่า ในแง่วิทยาศาสตร์ ก็ไม่ต่างอะไรจากวงการเมืองและศาสนา หรือแม้แต่ธุรกิจ

มันแปดเปื้อนแนวคิดจากที่คนเป็นพาหะครับ การติดตามข่าวสารก็ถือว่าจำเป็น

เพื่อให้สิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้อง ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องได้ด้วย


ขอบคุณครับสำหรับข่าวคราว

ยังไม่ได้คำตอบเกี่ยวกับการเอาปลาน้ำจืดผสมปลาทะเลเลยครับ..?? :slime_smile:



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 22-08-2007, 06:38

อย่างที่เรียนว่า ในแง่วิทยาศาสตร์ ก็ไม่ต่างอะไรจากวงการเมืองและศาสนา หรือแม้แต่ธุรกิจ

มันแปดเปื้อนแนวคิดจากที่คนเป็นพาหะครับ การติดตามข่าวสารก็ถือว่าจำเป็น

เพื่อให้สิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้อง ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องได้ด้วย


ขอบคุณครับสำหรับข่าวคราว

ยังไม่ได้คำตอบเกี่ยวกับการเอาปลาน้ำจืดผสมปลาทะเลเลยครับ..?? :slime_smile:


แล้วตอบเรื่องการเกิดสปีซีส์ได้รึยังล่ะครับ มันเกี่ยวกับเรื่องการผสมปลาน้ำจืดผสมปลาทะเลด้วยนะ อย่างปลาแซลมอนนี่จะเรียกว่าปลาน้ำจืดหรือปลาทะเลดีล่ะ แล้วตกลงหาได้ยังล่ะครับข้อมูลรายงานการวิจัยที่เป็นแหล่งปฐมภูมิและอยู่ในฐานข้อมูล ISI


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 22-08-2007, 07:24
แล้วตอบเรื่องการเกิดสปีซีส์ได้รึยังล่ะครับ มันเกี่ยวกับเรื่องการผสมปลาน้ำจืดผสมปลาทะเลด้วยนะ อย่างปลาแซลมอนนี่จะเรียกว่าปลาน้ำจืดหรือปลาทะเลดีล่ะ แล้วตกลงหาได้ยังล่ะครับข้อมูลรายงานการวิจัยที่เป็นแหล่งปฐมภูมิและอยู่ในฐานข้อมูล ISI


มีพันธุ์ที่เลี้ยงในบ่อน้ำจืดได้เปล่าครับ..

ที่เอามาแปะก็อ่านดูก่อนครับ พวกเชื่อตามๆกันมายังทำใจไม่ได้มีเยอะครับ

ส่วนพวกประกาศเป็นข่าว นี่ก็หาทางสร้างข่าว ลำบากเพราะชาวบ้านเชื่อง่ายๆมองข้ามจุดสำคัญไปหมด
                                                                                                                                      :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 22-08-2007, 07:33

องค์กรระดับโลก เช่นหน่วยงานทำนาย ภัยพิบัติต่างๆตรงนี้น่าจับตามอง

ตรงนั้นต้องอาศํยคนรู้จริง จึงจะทำงานได้ผล งานวิจัยในฐานข้อมูลก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง

ขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่สังคมนำไปใช้ได้ ที่โต้แย้งเรื่องโลกล้านปี ค่อนข้างใหม่อย่างที่เห็น

อีกสักพักก็จะมีงานของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยออกมาเอง

ไซเบอร์มาแรงกว่าครับ ฐานใหญ่กว่า เว็บไซท์ที่เชื่อถือได้ ก็ดูจากข้อมูลและอิทธิพลต่อความถูกต้องในการทำนายผล


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 22-08-2007, 07:41


ปลาแซลมอน เลี้ยงบ้านเราได้หรือเปล่า สภาพแวดล้อมต้องเป็นอย่างไร? :slime_cool:





หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 22-08-2007, 20:25
ดูท่าจะไม่รู้เรื่องฐานข้อมูล ISI เลยนะเนี่ย ซึ่งน่าแปลกเพราะถ้าทางสายวิทยาศาสตร์ในระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปน่าจะรู้เรื่องนี้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 22-08-2007, 20:51
ถ้าเว็บไซต์อย่างของ IUCN หรือ sciencedirect นั้นพออนุโลมให้ใช้อ้างอิงได้ครับ แต่ถ้าเอาจริง ๆ เขาเอาข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์และอยู่ในฐานข้อมูล ISI รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยพยายามยกระดับมาตรฐานตัวเอง นักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอกจะจบได้ต้องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 22-08-2007, 20:58
ดูท่าจะไม่รู้เรื่องฐานข้อมูล ISI เลยนะเนี่ย ซึ่งน่าแปลกเพราะถ้าทางสายวิทยาศาสตร์ในระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปน่าจะรู้เรื่องนี้

คุณ Q กำลังพยายามบอกว่า ไซเบอร์มาแรงกว่า ฐานข้อมูลใหญ่กว่า น่ะครับ  :slime_smile:

อยากคุยต่อนะครับ แต่รู้สึกอึดอัดใจที่มาคุยเรื่องนี้ในหน้าการเมือง เราย้ายไปคุยต่อที่ชายคาพักใจดีไหม?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 22-08-2007, 21:10
คุณ Q กำลังพยายามบอกว่า ไซเบอร์มาแรงกว่า ฐานข้อมูลใหญ่กว่า น่ะครับ  :slime_smile:

อยากคุยต่อนะครับ แต่รู้สึกอึดอัดใจที่มาคุยเรื่องนี้ในหน้าการเมือง เราย้ายไปคุยต่อที่ชายคาพักใจดีไหม?
ก็น่าสนดีนะครับ ย้ายห้องก็ดี แต่เรื่องไซเบอร์มาแรงกว่า ฐานข้อมูลใหญ่กว่าก็น่าแปลกตรงที่พวกวิทยานิพนธ์ไม่เห็นมันจะใช้แหล่งอ้างอิงพวกนี้เท่าไหร่ แถมยังเป็นแค่ให้อนุโลมอีก และยิ่งพวกอาจารย์นะยิ่งแข่งกันเอาผลงานลงตีพิมพ์วารสารนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI เพื่อเก็บแต้มในการใช้ขอตำแหน่ง  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 23-08-2007, 02:05
ก็น่าสนดีนะครับ ย้ายห้องก็ดี แต่เรื่องไซเบอร์มาแรงกว่า ฐานข้อมูลใหญ่กว่าก็น่าแปลกตรงที่พวกวิทยานิพนธ์ไม่เห็นมันจะใช้แหล่งอ้างอิงพวกนี้เท่าไหร่ แถมยังเป็นแค่ให้อนุโลมอีก และยิ่งพวกอาจารย์นะยิ่งแข่งกันเอาผลงานลงตีพิมพ์วารสารนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI เพื่อเก็บแต้มในการใช้ขอตำแหน่ง  :slime_bigsmile:

พวกที่ผมเอาผลงานเขามาแปะนะครับ เขาผ่านขั้นตอนนั้นไปนานแล้วครับ

ลองอ่านโพรไฟล์เขาดูสิครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 23-08-2007, 06:57
พวกที่ผมเอาผลงานเขามาแปะนะครับ เขาผ่านขั้นตอนนั้นไปนานแล้วครับ

ลองอ่านโพรไฟล์เขาดูสิครับ..
ผลงานอันไหนบ้างล่ะครับ ถ้าผ่านขั้นตอนนั้นจริงแสดงว่าต้องมีรายงานวิจัยที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิและอยู่ในฐานข้อมูล ISI ฉะนั้นคุณควรยกตัวอย่างได้นะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 23-08-2007, 07:06
Does the DNA similarity between chimps and humans prove a common ancestry?

http://www.christiananswers.net/q-aig/aig-c018.html

Don Batten, Ph.D. ทำงานทางด้านพืชแต่เขียนวิจารณ์เรื่องสัตว์ ตรงสายงานดีมากครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 23-08-2007, 07:15
Answers magazine ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูล ISI นะครับ แต่ยกชอบยกมาบ่อยเหลือเกิน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 23-08-2007, 13:53
Does the DNA similarity between chimps and humans prove a common ancestry?

http://www.christiananswers.net/q-aig/aig-c018.html

Don Batten, Ph.D. ทำงานทางด้านพืชแต่เขียนวิจารณ์เรื่องสัตว์ ตรงสายงานดีมากครับ

แสดงว่าเขาไม่เชื่อจริงๆนะสิ

แล้วลองหาผลงานของคนจบชิมแพนซีมาดูหน่อย เผื่อจะมีคนสนใจเรียน


Answers magazine ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูล ISI นะครับ แต่ยกชอบยกมาบ่อยเหลือเกิน

อันนี้ตอบไปแล้ว มันไม่ต่างอะไรกับสื่อที่มีแต่ผลงานเก่าๆ ส่วนของใหม่ไปต่อไม่ได้ ได้แต่ออกข่าวโหมโรง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 23-08-2007, 14:13


Crows Use Tools on Tools   08/21/2007     
Crows can use one tool on another to get food.  A report in Science Daily http://www.sciencedaily.com/releases/2007/08/070816121111.htm says they appear to use analogical reasoning, not just trial and error, to figure out how to manipulate objects.  They used a short stick to get a longer stick out of a toolbox in order to reach a snack too far for the short tool.  In this, “The birds’ tool-use skills rival those seen among great apes, according to the researchers” at University of Auckland.
    Analogical reasoning was thought to be at the core of human innovation.  One said, “It was surprising to find that these ‘bird-brained’ creatures performed at the same levels as the best performances by great apes on such a difficult problem.”

Let’s be good empirical Darwinists and take the evidence where it leads.  Chimps evolved into birds, which evolved into humans.  Mustn’t let species bias cloud our reasoning, now.  Darwinists have made a big deal over intelligence as evidence of our evolutionary kinship to apes.  Now, having to eat crow at this finding, they must be feeling in the mood for some Old Crow at the Crow Bar.
Next headline on:  Birds • Amazing Facts


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 23-08-2007, 14:40
สรุปว่าไม่สามารถหางานวิจัยที่เป็นปฐมภูมิและอยู่ในฐานข้อมูล ISI ได้สิเนี่ย แถมยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับการอ้างอิงทางวิชาการอีก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 23-08-2007, 15:00
สรุปว่าไม่สามารถหางานวิจัยที่เป็นปฐมภูมิและอยู่ในฐานข้อมูล ISI ได้สิเนี่ย แถมยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับการอ้างอิงทางวิชาการอีก

อ้างไปเถอะ ถ้ามันค้านกับความจริงก็ไร้ประโยชน์ เสียเวลาเปล่าๆ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 23-08-2007, 15:10



A "Living Fossil"  http://www.icr.org/article/2707/

So where did these few, isolated Wollemi pines come from? The fossil record contains no Wollemi pines. The closest match yet found is between Wollemi pollen and the fossilized pollen Dilwynites, the last known occurrence of which is in sediment layers "dated" at two million years old. From then on, the record is silent. It was thus assumed the genus to which this pollen belonged had become extinct. However, the discovery of the living, apparently related Wollemi pines makes them a living fossil.


(http://static.icr.org/i/articles/imp/imp-394b.jpg)



Figure 2. A living Wollemi pine (Wollemia nobilis).

The foliage of the Wollemi pine is virtually identical to that of one of its supposed fossil ancestors, the late Jurassic (150 million year old) Agathis jurassica (figure 3). This obvious relationship explains the designation of the Wollemi pine as a "tree from the Dinosaur Age," a "living fossil" that has been "missing for 150 million years." To evolutionary botanists the origin of the Wollemi pine remains an evolutionary enigma. How could this tree go missing for 150 million years when its relative sits fossilized less than 100 kilometers (62 miles) away from the living survivors?



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Priateľ ที่ 23-08-2007, 15:34
คุณ Q กำลังพยายามบอกว่า ไซเบอร์มาแรงกว่า ฐานข้อมูลใหญ่กว่า น่ะครับ  :slime_smile:

อยากคุยต่อนะครับ แต่รู้สึกอึดอัดใจที่มาคุยเรื่องนี้ในหน้าการเมือง เราย้ายไปคุยต่อที่ชายคาพักใจดีไหม?

คงไม่เป็นไรมั้งครับ เพราะอีกห้าหกหน้าก็คงน่าจะสรุปกระทู้ได้แล้วครับว่าไทยรัฐวิวัฒนาการจากลิง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Priateľ ที่ 23-08-2007, 19:50
(http://img204.imageshack.us/img204/3690/154218d4wx1.gif)

สงสัยไม่มีใครขำ แหะ แหะ ไม่มีใครโพสต์ต่อหรือคับ ยังอ่านอยู่นะคับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-08-2007, 09:15
 :slime_cool:


(http://img204.imageshack.us/img204/3690/154218d4wx1.gif)

สงสัยไม่มีใครขำ แหะ แหะ ไม่มีใครโพสต์ต่อหรือคับ ยังอ่านอยู่นะคับ

นักข่าวไทยรัฐควรควรศึกษาให้มากกว่านี้ และระมัดระวังการเขียนข่าวให้ดี

รายงานแต่ข้อเท็จจริง

คอลัมนิสต์ ก็ต้องมีความคิดการให้เหตุผลที่สมเหตุสมผล

การตั้งประเด็น ต้องชัดเจนว่าต้องการจะสื่ออะไร โดยมีเหตุผลประกอบอย่างไร?

ไม่อย่างนั้นก็เหมือนการมอมเมาประชาชนด้วยแนวความคิดบิดเบือนที่ไม่สมเหตุสมผล เป็นเพียง อีกาคาบข่าวมั่วๆ เท่านั้นเอง


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 25-08-2007, 20:57
An Index to Creationist Claims
edited by Mark Isaak

http://www.talkorigins.org/indexcc/

http://www.talkorigins.org/indexcc/list.html#CC400
CD0: Geochronology
(see also CD241: Varves can form quickly.)
CD000: Radiometric dating makes false assumptions
CD001. Radiometric dating falsely assumes rocks are closed systems.
CD002. Radiometric dating falsely assumes initial conditions are known.
CD004. Cosmic rays and free neutrinos affect U and Ar decay rates.
(see also CF200: Radiometric dating)
CD010. Radiometric dating gives unreliable results.
CD011. Carbon dating gives inaccurate results.
CD011.1. Variable C-14/C-12 ratio invalidates C-14 dating.
CD011.2. Vollosovitch and Dima mammoths yielded inconsistent C-14 dates.
CD011.3. Living snails were C-14 dated at 2,300 and 27,000 years old.
CD011.4. A freshly killed seal was C-14 dated at 1,300 years old.
CD011.5. Triassic wood from Australia was dated at 33,000 years old.
CD011.6. Ancient coal and oil are C-14 dated as only 50,000 years old.
CD012. U-Th dating gives inaccurate results for modern volcanic rocks.
CD013. K-Ar dating gives inaccurate results for modern volcanic rocks.
CD013.1. K-Ar dates of 1986 dacite from Mount St. Helens are very old.
CD014. Isochron dating gives unreliable results.
CD014.1. Isochron date of young Grand Canyon lava is excessively old.
CD015. Zircons retain too much helium for an old earth.
CD016. The U-Th-Pb method, properly corrected for neutron capture, gives recent dates.
CD020. Consistency of radiometric dating comes from selective reporting.
CD031. KBS Tuff shows the flaws of radiometric dating.

เจอ ลิงค์ ที่เขาแก้เรื่องการหาอายุของ C14 และนะครับ จะพยายามอ่านทำความเข้าใจ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-08-2007, 06:31
เอาข่าวล่าสุดมาฝากบ้างแล้วกันนะครับ เขาเพิ่งเจอเพชรในผลึก zircon ที่ Australia
วัดอายุได้ถึง 4 พันล้านปี เป็นเพชรเก่าที่สุดที่เคยเจอในโลกครับ

http://www.msnbc.msn.com/id/20394852/

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Diamond find could shed light on early Earth
Gems found in Western Australia are more than 4 billion years old

(http://msnbcmedia2.msn.com/j/msnbc/Components/Photos/070822/diamond.hmedium.jpg)

By Jeanna Bryner

Updated: 3:07 p.m. ET Aug. 22, 2007
Diamonds are indeed forever, or at least nearly as old as the Earth, a new study shows.

Scientists have unearthed diamonds more than 4 billion years old and trapped inside crystals of zircon in the Jack Hills region in Western Australia. Nearly as old as Earth itself and considered the oldest terrestrial diamonds ever discovered, the gems could give insights into the early evolution of our planet's crust.

"Jack Hills is the only place on Earth that can give us this kind of information about the formation of the Earth," said study team member Alexander Nemchin, a geochemist at Curtin University of Technology, Western Australia. "We're dealing with the oldest material on the planet."  


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 26-08-2007, 06:49
อันนี้ข่าวแบบละเอียดๆ หน่อยนะครับ เพชรที่พบในครั้งนี้อยู่ในผลึก Zircon ที่พบกระจายอยู่ในหินอายุ 3 พันล้านปี
และอาจบ่งชี้ว่าเปลือกโลกเย็นตัวเร็วกว่าที่เคยคิดกันไว้ก็เป็นได้

http://www.sciam.com/article.cfm?articleId=8F37399C-E7F2-99DF-30361B86A598909B&chanId=sa013&modsrc=most_popular
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
Nothing Says "Early Earth Was Cool" Like World's Oldest Diamonds : Scientific American
The zircon in imitation diamonds proves the best way to preserve more than four-billion-year-old versions of the real thing
By David Biello

August 22, 2007

Earth is roughly 4.5 billion years old, but her early eons were tempestuous. Not even rock survives from the first 500 million years of her life—an eon known as the Hadean—because geologists speculate the planet's surface boiled and bubbled with molten lava under a steady bombardment of comets and meteorites. But tiny diamonds discovered in antediluvian zircon crystals sprinkled in three-billion-year old rocks from Australia hint that the planet's surface fire might have ceased much earlier than previously believed.

Mineralogy graduate student Martina Menneken of the Westf&auml;lische Wilhelms–University of M&uuml;nster in Germany and her colleagues probed 1,000 of these ancient zircon crystals for inclusions—tiny outcroppings of other minerals hidden in the unusually stable lattice. They discovered diamonds of different shapes and sizes in 45 of the old crystals by using a laser technique called Raman spectroscopy.
 

"The biggest [diamond] we found was about 60 microns [(roughly 0.002 inches, or 35 times smaller than the head of a pin)] but some only were about seven microns," Menneken says. But their sizes or shapes notwithstanding, all of the diamonds are unique, she adds, because they come from zircon grains that can be dated (via the decay of uranium impurities into lead) to as long ago as 4.25 billion years, a scant 250 million years after Earth formed.

Zircon crystals can form in a number of ways—on the moon, for example, the mineral crystallizes in the wake of a meteorite impact. But some geologists suspect, based on minerals and oxygen isotope levels in the current grains, that they crystallized in an ancient crust that formed from cooling granite magmas. Yet diamonds only form when high pressure squeezes graphite into exquisite clarity—more than 45,000 bars of pressure only found at depths of 100 kilometers (62 miles) or more below the surface.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(http://www.sciam.com/media/inline/8F37399C-E7F2-99DF-30361B86A598909B_2.jpg)

Image: THORSTEN GEISLER AND ALEXANDER A. NEMCHIN   
MICROSCOPIC BLING:  The largest of the world's oldest diamonds, bigger than the few micrometers version
pictured here nestled inside its zircon case, is still 35 times smaller than the head of a pin. 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Options are shock, bolide [meteorite] impact or burial" for how the diamonds formed, says geologist Ian Williams of The Australian National University in Canberra. "The key question is whether the zircon grew around the diamonds or the diamonds grew in the zircons."

Because zircon crystals can survive even the dissolution of their host rock by weathering, it is possible that the grains formed in the surface rock, which then disappeared below newer surface rock before resurfacing as their latter hosts' outer layers wore away. The researchers are searching for other signs of the history of these grains, such as coesite, a dense form of silicon dioxide created under similar pressure. "We might have had coesite that is totally transformed to quartz now," which is relatively common in the grains, Menneken says. Because coesite is "not stable at surface conditions."

"According to our findings, probably the early Earth might have been a quiet, cool, habitable place," Menneken says. But more research is needed to say for sure, she notes, such as studies of the carbon isotopes and nitrogen content of the diamonds to determine how long the little gems experienced extreme pressures and temperatures.

"A likely explanation is that the diamonds were formed from graphite inclusions in the zircons during an event when the zircons were buried. If that was so, then the burial must have postdated the youngest zircon in which a diamond was found, about 3.1 [billion years ago]," Williams says. But "if the zircons grew around diamonds as early as 4.2 billion years ago, this implies that there was a very thick crust on the Earth by that time." And that means the early Earth may have cooled sufficiently for a host of other adornments, including life.


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 26-08-2007, 07:29



เรื่องของเวลา เป็นสิ่งที่ต้องมีเหตุการณ์จริงต่อเนื่อง หรืออย่างน้อยสองเหตุการณ์เปรียบเทียบ

น้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด..ทุกรุ่นที่เรารู้จักในโลกด้วยครับ


ส่วนอายุโลก เป็นเรื่องที่จะทราบได้อย่างไร ?ในเมื่อโลกกิดมาอย่างไรก็ยังไม่มีใครยืนยันพิสูจน์ได้โดยวิทยาศาสตร์ ก็ได้แต่จินตนาการ

หรือว่าธาตุต่างๆจะเกิดจากธาตุตั้งต้นเพียงตัวเดียว..?คือไฮโดรเจน..?


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 16:00
 :slime_cool:


ก่อนจะมีธาตุ คงจะมีเพียงอนุภาคไฟฟ้าขนาดเล็ก

และก่อนจะมีอนุภาคไฟฟ้าขนาดเล็กมากๆ คงมีแต่เพียงความว่างเปล่า..


ส่วนในความว่างเปล่ามีอะไร? ถ้าอยากจะคิดเอง ก็คงแล้วแต่จะจินตนาการครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Priateľ ที่ 27-08-2007, 16:30
สมัยผมยังเป็นวัยรุ่น จำได้ว่ามีการพูดถึงสิ่งที่ถือเป็นอนุภาคมูลฐานที่เรียกว่าคว้ากซ์ ซึ่งก็คาดว่าเป็นองค์ประกอบของธาตุระดับเริ่มต้นอย่างไฮโดเจน ผ่านมาหลายปีไม่รู้ว่ามีเป็นอย่างไร จำได้ว่าล่าสุดเคยคุยกับเพื่อนเมื่อหลายปีก่อน มันบอกว่ามีสถานะที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเคลวิน(จากการคำนวน) ผมเลยเลิกคุยไป

สมัยผมที่ยังอ่านวารสารอย่าง "มิติที่ 4" ก็มีความเชื่อว่า โลกเป็นผลิตผลของฟิวชั่นของไฮโดรเจนร้อนๆอย่างดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ก็เป็นผลิตผลจากจากซูเปอร์โนวา บางทีก็ถือบิ๊กแบงโน่น


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 16:45

สมัยผมยังเป็นวัยรุ่น จำได้ว่ามีการพูดถึงสิ่งที่ถือเป็นอนุภาคมูลฐานที่เรียกว่าคว้ากซ์ ซึ่งก็คาดว่าเป็นองค์ประกอบของธาตุระดับเริ่มต้นอย่างไฮโดเจน ผ่านมาหลายปีไม่รู้ว่ามีเป็นอย่างไร จำได้ว่าล่าสุดเคยคุยกับเพื่อนเมื่อหลายปีก่อน มันบอกว่ามีสถานะที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเคลวิน(จากการคำนวน) ผมเลยเลิกคุยไป

สมัยผมที่ยังอ่านวารสารอย่าง "มิติที่ 4" ก็มีความเชื่อว่า โลกเป็นผลิตผลของฟิวชั่นของไฮโดรเจนร้อนๆอย่างดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ก็เป็นผลิตผลจากจากซูเปอร์โนวา บางทีก็ถือบิ๊กแบงโน่น

ในที่สุดมันคงถึงที่สุดของความคิดกันได้ครับ..แต่ก็ถือว่ามีความคืบหน้าในรายละเอียด

อย่างเวลาก็คิดกันเป็นรูปร่าง รูปทรงต่าง อืมม ลับสมองได้เหมือนกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 17:22


ถ้าหากทุกอย่างเกิดโดยบังเอิญ ไม่มีกฎควบคุม

การรักษาไว้ และ พัฒนาเป็นกฎต่อๆไป จะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

อย่างน้อยต้องมีกฎเกิดขึ้นหนึ่งข้อ ซึ่งควบคุมสิ่งต่างๆเอาไว้ในกฎนั้น..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 17:32


ถ้าหากทุกอย่างเกิดโดยบังเอิญ ไม่มีกฎควบคุม

การรักษาไว้ และ พัฒนาเป็นกฎต่อๆไป จะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

อย่างน้อยต้องมีกฎเกิดขึ้นหนึ่งข้อ ซึ่งควบคุมสิ่งต่างๆเอาไว้ในกฎนั้น..


กฏข้อแรกต้องมีอำนาจเหนือกาลเวลา จึงจะควบคุมเวลาและความว่างเปล่าไว้ได้



หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 17:39

กฏข้อแรกต้องมีอำนาจเหนือกาลเวลา จึงจะควบคุมเวลาและความว่างเปล่าไว้ได้




กฎดั้งเดิมมีอำนาจเหนือกาลเวลาและมนุษย์

ที่มนุษย์สับสนเพราะไม่เข้าใจกฏและไม่ยอมรับกฏที่ต้องยอมรับ

??  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 17:59


ความบังเอิญ อยู่ภายใต้กฏของเวลา และเป็นเพียงส่วนหนึ่ง

น่าจะเรียก กฏแห่งความไม่ได้ตั้งใจ มากกว่าครับ เพราะมันต้องมีสาเหตุหรือเหตุการณ์ก่อนหน้า

ในเมื่อมันอยู่ภายใต้กฏของกาลเวลา


ใครสร้างกฏแห่งความบังเอิญ และมันมีอยู่จริงหรือไม่??


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 18:09


ถ้าหากเข้าใจความจริงต่างระดับ เราก็จะเข้าใจความบังเอิญได้..


สรุปแล้วพระเจ้าไม่ได้ทอดลูกเต๋าแน่นอน..คนพูดต่างหากที่ทอดลูกเต๋า


พักก่อนครับ..
                                     :slime_bigsmile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Priateľ ที่ 27-08-2007, 18:16
เวลาใครสักคนถูกล็อตเตอรี่ ไทยรัฐก็จะลงว่า "โอว เขาคนนั้นช่างบังเอิญโชคดีเสียจริง"

จริงๆแล้ว ไทยรัฐมั่ว เพราะไทยรัฐไม่ได้ลงว่า "ใครสักคนก็ต้องถูกล็อตเตอรี่อยู่แล้ว เพราะมีใครอีกหลายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆคนไม่ได้ถูกล็อตเตอรี่"

ถ้าหากไม่มีใครถูกล็อตเตอรี่นี่สิแปลก

บางคนอาจถูกเลขท้ายสองตัว(คนถูกเยอะ) เลขท้ายสามตัว(คนถูกเยอะ) รางวัลที่ห้า สี่ สาม ซึ่งมีคนถูกน้อยลงตามลำดับ

คณิตศาสตร์ความน่าจะเป็นมันใช้ไม่ได้กับประชากรกลุ่มน้อย

เผอิญจักรวาลมันเป็นประชากรกลุ่มใหญ่

สิ่งมีชีวิตตระกูลไฮโดรคาร์บอนมันเป็นไปได้อยู่แล้วนะผมว่า

นั่นคือ  ไทยรัฐพยายามขายข่าวเรื่องล็อตเตอรี่นั่นแหละครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Priateľ ที่ 27-08-2007, 18:21
โอว หากคุณพี่จะถกกันเรื่องพระเจ้านี่ ผมเผ่นนะครับ

ผมไม่ลบหลู่ความเชื่อศาสนาใดน่ะครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: อธิฏฐาน ที่ 27-08-2007, 18:42

ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น



อธิฏฐานม่ายรู้เรื่องว่าเขาถกเรื่องอะไรกัน


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 20:12

เรื่องศาสนา หรือความเชื่อต่างเหตุผลคงต้องยกไว้ก่อนครับ

เพราะคุยให้บรรจบได้อย่างไรก็เหนื่อยแย่เหมือนเดินท่องจักรวาลแห่งจินตนาการด้วยเท้าเปล่า??

ขาดเครื่องทุ่นแรงก็ไม่ใช่มนุษย์ กลายเป็นลิงเล่นคอมฯไป ชะเอิงเงย


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 20:17


คุยมาถึง จุดกำเนิดของเสปซแอนด์ไทม์ครับ คือข้ามบิกแบงค์มาแล้ว

ในเสปซ มีไทม์ ในไทม์มีเสปซ

บีบอัดเข้า ด้วยกฏข้อแรกที่ไม่บังเอิญ อาจจะมีลักษณะเรียกว่า

บิกแบงค์แห่งเสปซแอนด์ไทม์  ประมาณนี้แหละครับ


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 20:22

คุยมาถึง จุดกำเนิดของเสปซแอนด์ไทม์ครับ คือข้ามบิกแบงค์มาแล้ว

ในเสปซ มีไทม์ ในไทม์มีเสปซ

บีบอัดเข้า ด้วยกฏข้อแรกที่ไม่บังเอิญ อาจจะมีลักษณะเรียกว่า

บิกแบงค์แห่งเสปซแอนด์ไทม์  ประมาณนี้แหละครับ

อะไรก่อให้เกิดกฏข้อแรกและบิกแบงค์ ที่ไร้อนุภาค ไร้สิ่งต่างๆที่เราสัมผัสหรือเข้าใจได้ตามปกติมนุษย์??

ผมเรียกว่า ดวงจิตหรือเจตน์จำนงค์ก็แล้วกัน ตามกฎแห่งความไม่บังเอิญไม่สูญหายไป..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 20:32

อะไรก่อให้เกิดกฏข้อแรกและบิกแบงค์ ที่ไร้อนุภาค ไร้สิ่งต่างๆที่เราสัมผัสหรือเข้าใจได้ตามปกติมนุษย์??

ผมเรียกว่า ดวงจิตหรือเจตน์จำนงค์ก็แล้วกัน ตามกฎแห่งความไม่บังเอิญไม่สูญหายไป..

ลักษณะของดวงจิตที่ว่า ควรจะเป็นอย่างไร?

มันจะต้องอยู่เหนือกฏข้อแรก นั่นคือ อยู่เหนือเหตุและผลครับ

ปกคลุมอยู่เหนือกาลเวลาและพื้นที่ว่าง ไม่ใช่การบังเอิญคือมีระบบระเบียบในตัวเอง

และมีอำนาจเหนือกฏข้อที่หนึ่ง ซึ่งน่าจะเรียกว่ากฏแห่งการเกิดขึ้นของสิ่งใดๆทั้งที่มนุษย์รู้จักและไม่รู้จัก


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 20:40
ลักษณะของดวงจิตที่ว่า ควรจะเป็นอย่างไร?

มันจะต้องอยู่เหนือกฏข้อแรก นั่นคือ อยู่เหนือเหตุและผลครับ

ปกคลุมอยู่เหนือกาลเวลาและพื้นที่ว่าง ไม่ใช่การบังเอิญคือมีระบบระเบียบในตัวเอง

และมีอำนาจเหนือกฏข้อที่หนึ่ง ซึ่งน่าจะเรียกว่ากฏแห่งการเกิดขึ้นของสิ่งใดๆทั้งที่มนุษย์รู้จักและไม่รู้จัก

ปัญหาต่อมาตามแนวความคิดนี้ก็คือ มนุษย์จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของดวงจิตได้หรือไม่ถ้ามันมีอยู่จริง

หากรับรู้ได้จะเข้าใจอะไรได้บ้าง? นั่นเป็นขั้นตอนในการประเมินเงื่อนไขและศักยภาพของมนุษย์ตามแนวคิดนี้


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 20:53
 :slime_cool:


ปัญหาต่อมาตามแนวความคิดนี้ก็คือ มนุษย์จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของดวงจิตได้หรือไม่ถ้ามันมีอยู่จริง

หากรับรู้ได้จะเข้าใจอะไรได้บ้าง? นั่นเป็นขั้นตอนในการประเมินเงื่อนไขและศักยภาพของมนุษย์ตามแนวคิดนี้

มนุษย์จะรับรู้ได้ มันต้องมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนหรือสัมผัสกันได้กับดวงจิตนั้น

กล่าวคือมนุษย์ต้องประกอบไปด้วยจิตที่มีลักษณะคล้ายหรือเหมือนกับดวงจิตนั้นอยู่บ้าง..

บางคนเชื่อว่าความคิดเกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมอง ไม่มีดวงจิตมีแต่เพียงความคิด

ท่านละเชื่อว่ามนุษย์มีแต่สมองหรือมีจิตวิญญาณด้วย..

ที่สำคัญเรารู้ได้อย่างไรว่าไทยรัฐเสนอข่าวผิดพลาด ไปจนถึงตั้งใจขายข่าวโดยไม่สนใจความจริง..

ความคิดหรือดวงจิต..??  

พักก่อนครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: Priateľ ที่ 27-08-2007, 21:24
ผมก็เชื่อว่ามันต้องมีความเกี่ยวเชื่อมโยงกันบ้างครับ เพียงแต่ผมเชื่ออีกอย่างว่า

หากปลาหมึกยักษ์(ฉลาดสุดในทะเล)จินตนาการถึงมนุษย์บนบก มันต้องจินตนาการว่ามนุษย์นั้นมีแปดขาและพ่นหมึกได้เวลาที่ตกใจครับ

ปลาหมึกยักษ์อย่างผม จึงต้องยั้งๆในความคิดบางเรื่องเอาไว้ เวลาจินตนาการถึงมนุษย์


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 21:36
ผมก็เชื่อว่ามันต้องมีความเกี่ยวเชื่อมโยงกันบ้างครับ เพียงแต่ผมเชื่ออีกอย่างว่า

หากปลาหมึกยักษ์(ฉลาดสุดในทะเล)จินตนาการถึงมนุษย์บนบก มันต้องจินตนาการว่ามนุษย์นั้นมีแปดขาและพ่นหมึกได้เวลาที่ตกใจครับ

ปลาหมึกยักษ์อย่างผม จึงต้องยั้งๆในความคิดบางเรื่องเอาไว้ เวลาจินตนาการถึงมนุษย์

 :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 27-08-2007, 22:26
ถ้าคุยกันต่อไปตามแนวคุณ Q ไม่จบที่ "พระเจ้า" ก็ต้องไปจบแถวๆ "เต๋า" หรือไม่ก็ "พรหมัน"
แต่ถ้าเป็นจักรวาลวิทยาในทางพุทธ เวลาไม่มีต้นและไม่มีปลาย จักรวาลกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต

แม้กระนั้นจักรวาลก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาผ่านไปนานๆ ก็จะประลัยแล้วก็เกิดขึ้นใหม่ไปเรื่อยๆ
เกิดใหม่ทีนึงก็เรียกว่า 1 กัปป์ (จะเทียบว่าคือ Big Bang ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ)
หน่วยนับที่ใช้นับจำนวนกัปป์ ก็นับกันเป็นอสงไขย (1 คูณ 10 ยกกำลัง 140 !!!)  :slime_sentimental:

และพระพุทธองค์ท่านว่า เรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องอจินไตย คิดแล้วไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข็
องค์ตถาคตจึงไม่ทรงพยากรณ์เอาไว้..
แต่นักวิทยาศาสตร์ปล่อยวางไม่ได้ก็ทนทุกข์กันต่อไป :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 27-08-2007, 22:31
กลับมาที่เรื่องต้นกระทู้นี้กันดีกว่า .. เลยเถิดกันไปไกลจนจะถึงกำเนิดจักรวาลแล้ว  :slime_hmm:

จากลิงค์หน้าข่าวไทยรัฐที่ต้นกระทู้นะครับ

http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=56572
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นายนราเมศวร์ ธีระรังสิกุล นักธรณีวิทยา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิรินธร เผยถึงเรื่องนี้ว่า
เมื่อ พ.ศ.2537-2538 กรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ในสภาพ เกือบสมบูรณ์
ที่บริเวณภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ และบริเวณนี้ ยังพบสัตว์จำพวกสโตมาโตไลด์  
เชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกของโลก ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำยุคก่อนปลาซีลาคานธ์

(http://www.thairath.co.th/2550/agriculture/Aug/library/07/farming2.jpg)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 23:02
กลับมาที่เรื่องต้นกระทู้นี้กันดีกว่า .. เลยเถิดกันไปไกลจนจะถึงกำเนิดจักรวาลแล้ว  :slime_hmm:

จากลิงค์หน้าข่าวไทยรัฐที่ต้นกระทู้นะครับ

http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=56572
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นายนราเมศวร์ ธีระรังสิกุล นักธรณีวิทยา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิรินธร เผยถึงเรื่องนี้ว่า
เมื่อ พ.ศ.2537-2538 กรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ในสภาพ เกือบสมบูรณ์
ที่บริเวณภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ และบริเวณนี้ ยังพบสัตว์จำพวกสโตมาโตไลด์  
เชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกของโลก ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำยุคก่อนปลาซีลาคานธ์

(http://www.thairath.co.th/2550/agriculture/Aug/library/07/farming2.jpg)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ไทยรัฐได้แก้ไขข่าวให้ถูกต้องแล้วนับว่าดีครับ ผิดแล้วรู้จักแก้ไข   :slime_bigsmile: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 23:08
ถ้าคุยกันต่อไปตามแนวคุณ Q ไม่จบที่ "พระเจ้า" ก็ต้องไปจบแถวๆ "เต๋า" หรือไม่ก็ "พรหมัน"
แต่ถ้าเป็นจักรวาลวิทยาในทางพุทธ เวลาไม่มีต้นและไม่มีปลาย จักรวาลกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต

แม้กระนั้นจักรวาลก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาผ่านไปนานๆ ก็จะประลัยแล้วก็เกิดขึ้นใหม่ไปเรื่อยๆ
เกิดใหม่ทีนึงก็เรียกว่า 1 กัปป์ (จะเทียบว่าคือ Big Bang ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ)
หน่วยนับที่ใช้นับจำนวนกัปป์ ก็นับกันเป็นอสงไขย (1 คูณ 10 ยกกำลัง 140 !!!)  :slime_sentimental:

และพระพุทธองค์ท่านว่า เรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องอจินไตย คิดแล้วไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข็
องค์ตถาคตจึงไม่ทรงพยากรณ์เอาไว้..
แต่นักวิทยาศาสตร์ปล่อยวางไม่ได้ก็ทนทุกข์กันต่อไป :slime_smile:

ตามกฎข้อที่หนึ่ง กฎแห่งการเกิดขึ้น ซึ่งก็ต้องนับรวมวัฏจักรต่างๆไว้ด้วย ไม่ว่าเวลาจะมีรูปทรงอย่างไร จักรวาลจะไร้ขอบเขตอย่างไร

ล้วนหนีไม่พ้นกฎข้อนี้ไปได้ครับ เรามาถึงการกำเนิดกฎข้อที่หนึ่งที่มีสภาพเป็นจิตหรือเจตน์จำนงค์แล้วครับ

จะพรหมมัน หรือปรมาตมัน เต๋า อะไร ก็หนีไม่พ้นกฎข้อที่หนึ่งไปได้ครับ ยกเว้นเพียงสิ่งที่อยู่เหนือกฎข้อที่หนึ่งเท่านั้น

สภาพอันหนึ่งตามแนวคิดนี้คือจิตครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 23:11


หากทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ย่อมไม่มีข้อยกเว้นสำหรับ เวลา และจักรวาล ตลอดจนวัฏจักรใดๆด้วยครับ..


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 23:17



ไทยรัฐได้แก้ไขข่าวให้ถูกต้องแล้วนับว่าดีครับ ผิดแล้วรู้จักแก้ไข   :slime_bigsmile: :slime_cool:

กลับไปดูข่าวต้นตอ ยังไม่ได้แก้ไขที่ข้อความกำกับภาพเลยครับ ชื่อผู้เขียนข่าวคือ

ไชยรัตน์ ส้มฉุน
 


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-08-2007, 23:26


หนังสือพิมพ์ จะเขียนข่าว เอาแต่ความเร็วโดยไม่สนใจความถูกต้อง เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

เมื่อให้ข่าวผิด ถ้าหากเป็นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต น่าจะสามารถมีข้อความแก้ไขกำกับที่ข่าวต้นตอได้ เป็นสิ่งที่ควรทำ

ซึ่งก็มีได้สองวิธีคือลบสิ่งที่ผิดออกไปเลย โดยเก็บประวัติการแก้ไขไว้ หรือแก้ไขไว้ตอนท้ายและลงวันที่กำกับ

ก่อนที่ใครจะเอาข้อมูลไปพิมพ์ต่อในถุงกล้วยแขก ข่าวสารแบบวันเวย์ เป็นสิ่งที่ผู้กระทำผิดมักรับผิดชอบไม่ได้เสียด้วย เพราะมันฟุ้งกระจายไปแล้ว


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 27-08-2007, 23:52

หนังสือพิมพ์ จะเขียนข่าว เอาแต่ความเร็วโดยไม่สนใจความถูกต้อง เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

เมื่อให้ข่าวผิด ถ้าหากเป็นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต น่าจะสามารถมีข้อความแก้ไขกำกับที่ข่าวต้นตอได้ เป็นสิ่งที่ควรทำ

ซึ่งก็มีได้สองวิธีคือลบสิ่งที่ผิดออกไปเลย โดยเก็บประวัติการแก้ไขไว้ หรือแก้ไขไว้ตอนท้ายและลงวันที่กำกับ

ก่อนที่ใครจะเอาข้อมูลไปพิมพ์ต่อในถุงกล้วยแขก ข่าวสารแบบวันเวย์ เป็นสิ่งที่ผู้กระทำผิดมักรับผิดชอบไม่ได้เสียด้วย เพราะมันฟุ้งกระจายไปแล้ว

ถ้าหากดูตรงที่ผมทำสีแดงๆ เอาไว้จะเห็นไทยรัฐบรรยายว่าพบ "สัตว์จำพวกสโตมาโตไลด์" ที่ภูกุ้มข้าว
หากเป็นผู้คุ้นเคยกับฟอสซิลจะรู้ว่า "สโตมาโตไลด์" ไม่ใช่ "สัตว์" แต่เป็น "ร่องรอย" สิ่งมีชีวิตโบราณ
ขนาดเล็กมากๆ  ซึ่งที่ถูกแล้วควรจะสะกดว่า "สโตรมาโตไลด์" (stromatolites) และที่ภูกุ้มข้าวก็ไม่น่า
จะพบ สโตรมาโตไลด์ เสียด้วยเพราะปกติเขารายงานกันว่าพบในหินอายุพรี-แคมเบรียนซึ่งเก่ามากๆ

งานนี้จึงกลายเป็นว่าเป็นการผิดแล้วผิดอีกซ้ำไปซ้อนมาอยู่ในบทความเดียวกันยิ่งกว่าที่เราคิดตอนแรก
ทำไปทำมาผมไปพบหน้าเว็บที่แนะนำพิพิธภัณฑ์ภูกุ้มข้าวที่ลิงค์นี้

ย้อนยุคดึกดำบรรพ์ สัมผัส “พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว”
http://www.businessthai.co.th/content.php?data=411554_VIP%20Varieties

อ่านดูแล้วถึงเข้าใจว่าสโตรมาโตไลด์ที่พิพิธภัณฑ์ภูกุ้มข้าวอาจเป็นเพียงบู๊ตบรรยายในโซนที่ 2
ของพิพิธภัณฑ์เท่านั้นเอง และไทยรัฐเอามาจับว่ามีการพบสโตรมาโตไลด์อยู่ที่ภูกุ้มข้าวด้วย
และเอามาแล้วสะกดชื่อผิดอีกต่างหาก
ไม่นับเรื่องไปหารูปไตรโลไบท์มาบรรยายชื่อผิดเป็นปลาซีลาคานธ์อีกกระทง  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-08-2007, 00:26

พิพิธภัณฑ์ คงต้องการขายการท่องเที่ยวและกิจกรรมครอบครัว

การบันทึกข้อมูล ก็ว่าไปตามความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มที่ค้นคว้าต่อๆกันมา

อย่างไรก็ตาม แนวคิดโลกล้านปี และอีกหลายๆเรื่องทางวิทยาศาสตร์ เช่นบิ๊กแบง คงจะต้องบอกให้เด็กไทย

หัดคิดและหัดเชื่อโดยมีกรอบความคิดเข้าใจได้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เชื่อต่อๆกันมาโดยไม่เข้าใจวิธีการทางวิทยาศาสตร์

ซึ่งก็อาจจะผิดได้ตลอดเวลา ตราบเท่าที่ยังไม่มีการพิสูจน์สมมุติฐาน จนเป็นที่ยอมรับอย่างแท้จริง   


ข้อโต้แย้งต่างๆยังคงอยู่ครับ โดยเฉพาะการวัดอายุชั้นหินที่พบสิ่งมีชีวิต และที่มาของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น




หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 30-08-2007, 18:07
 :slime_cool:


เมื่อไม่ได้ย้ายกระทู้ ก็ขอถือโอกาสมาลากระทู้ครับ..

ประเด็นที่ตกค้างอยู่บ้างเล็กน้อย ไว้โอกาสหน้า กระทู้อื่นๆถ้ามีครับ..

ขอบคุณจขกท. และผู้ร่วมพูดคุยอีกครั้ง...

**********************


หัวข้อ: Re: เห็นเรื่องนี้ในไทยรัฐแล้วขำก๊ากให้กับความมั่วเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 02-02-2008, 02:16


Other Web Sites
[Last updated: March 7, 2006]   http://www.talkorigins.org/origins/other-links.html#start

Skip table of contents


 Web Site Category Description
 
Creation/Evolution: http://www.talkorigins.org/origins/other-links.html#evolution
Pro-Evolution or Anti-Creationism  Web sites that approach the creation/evolution controversy from an evolutionary or anti-creationist perspective. 
 
General Science and Evolution  Web sites that deal with general science topics -- especially sites with relevance to evolution.
http://www.talkorigins.org/origins/other-links.html#science 
 
Human Evolution  A list of web sites relevant to human evolution and paleoanthropology. It is part of the Fossil Hominids FAQ of this archive and is maintained independently of this list (separate page).  http://www.talkorigins.org/faqs/homs/links.html
 
Creation/Evolution: http://www.talkorigins.org/origins/other-links.html#creationism
Pro-Creationism or Anti-Evolution
 Web sites that approach the creation/evolution controversy from a creationist or anti-evolution perspective. Sites advocating "intelligent design" as well as traditional creationism will be placed in this category. 
 
RSS feeds  RSS feeds for evolution in particular and science in general. This provides an easy way keep informed on creationist activity or about the wonderful world of science. And it also provides a way to add automatically updated evolution or science headlines to your web site (separate page).  http://www.talkorigins.org/origins/rss.html
 
Discussion:  http://www.talkorigins.org/origins/other-links.html#discussion
Creationism vs. Evolution  Places to discuss and debate creationism and evolution on the Internet. 
 
Critical Thought  Web sites that take a skeptical approach to extraordinary claims.
http://www.talkorigins.org/origins/other-links.html#skepticism 
 
Talk.origins related  Web sites that are relevant to the Usenet newsgroup talk.origins
http://www.talkorigins.org/origins/other-links.html#talkorigins. 
 
Miscellaneous web sites  Relevant sites that do not fit the other categories above (separate page)
http://www.talkorigins.org/origins/other-links-misc.html. 
 
Add a web site  Recommend a web site for inclusion in this list.
http://www.talkorigins.org/origins/other-links.html#addurl